[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 11:32:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สยามประเทศในอดีต : แหล่งรวมสารคดีน่ารู้  (อ่าน 25302 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 10.0 MS Internet Explorer 10.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 มกราคม 2557 11:53:01 »

.

สยามประเทศในอดีต

พระนามเจ้าแผ่นดินต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พระนามรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเรารู้จักกันดีในทุกวันนี้ ล้วนแต่เป็นพระนามที่สถาปนาถวายเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วทั้งสิ้น  โดยเฉพาะพระนามขึ้นต้นด้วยคำว่า “พระพุทธ” ก็ได้เพียงสองพระองค์ด้วยเหตุผลบางประการ

ความจริงของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ ๑ – ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่เคยมีใครรู้จักและได้ยินพระนาม “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” และ “พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” มาก่อน และก็เช่นเดียวกัน คนในสมัยรัชกาลที่ ๓ ก็ไม่รู้จักหรือได้ยินพระนาม “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” อีกเหมือนกัน

เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบดาภิเษกเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ นั้น  พระองค์ทรงพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาศัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบุลยคุณอักนิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทร์ปรมาธิเบศร์ โลกเชษฐวิสุทธิ์ รัตนมกุฎประเทศคตา มหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน”



พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ภาพจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จากพระนามในพระสุพรรณบัฏนั้น จะเห็นได้ว่ารัชกาลที่ ๑ มิได้ทรงมีพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า” มาก่อนเลย เช่นเดียวกัน พระนามในพระสุพรรณบัฏของรัชกาลที่ ๒ ก็มิได้มีระบุว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” เช่นเดียวกันด้วย

ผู้คนในสมัยรัชกาลที่ ๓ จะเรียกพระนามรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒  องค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าชีวิตแห่งตนนั้น มักใช้คำว่า “แผ่นดินต้น” และ “แผ่นดินกลาง” ตามลำดับ  และเมื่อเอ่ยถึงแผ่นดินปัจจุบันคือแผ่นดินในรัชกาลที่ ๓ ก็ใช้คำว่า “แผ่นดินนี้” เป็นพื้น

ด้วยเหตุนี้ รัชกาลที่ ๓ จึงทรงมีพระราชดำริว่า ที่เรียก “แผ่นดินต้น” และ “แผ่นดินกลาง” นั้นไม่เป็นการสมควร เพราะดูราวกับว่าจะมีอีกแผ่นดินเดียวคือ “แผ่นดินปลาย” เท่านั้น อีกประการหนึ่งสืบไปข้างหน้าเมื่อพระเจ้าแผ่นดินล่วงไปหลายพระองค์ขึ้น คนทั้งปวงก็จะพากันเรียกไปได้ต่างๆ อันเป็นการไม่เหมาะสมเช่นที่เคยเรียกกันว่า “แผ่นดินขุนหลวงเสือ” และ “แผ่นดินขี้เรื้อน” ดังนี้เป็นต้น

เมื่อมีพระราชดำริเช่นนั้นแล้ว รัชกาลที่ ๓ ซึ่งขณะนั้นมิได้ทรงมีพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” เช่นเดียวกัน จึงได้ทรงสร้างพระพุทธปฏิมากรห้ามสมุทรสูง ๖ ศอกขึ้นสองพระองค์ เมื่อจุลศักราช ๑๑๙๙ ปีระกา นพศก (พ.ศ. ๒๓๘๐) เป็นพระพุทธหุ้มทองคำเนื้อแปด ทองหนักองค์ละ ๖๓ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ทรงเครื่องต้นอย่างบรมกษัตราธิราช ลงยาราชาวดีทั้งสองพระองค์ แล้วทรงจารึกพระนามพระองค์ที่ประดิษฐานว่า “พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช (รัชกาลที่ ๑) ส่วนอีกพระองค์หนึ่งซึ่งประดิษฐานอยู่ทางทิศใต้จารึกพระนามว่า “พระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระชนกนาถ (รัชกาลที่ ๒) และได้โปรดให้มีการสมโภชสามวัน พระสงฆ์ ๓๐๐ รูปที่สวดมนต์พระราชทานฉันนั้น ทรงถวายไตรจีวรแพรถลกบาตร ย่ามเข้มขาบ และมูลค่าจตุปัจจัยองค์ละ ๔๐ บาท ทั้ง ๓๐๐ รูป

จากนั้น ได้ทรงมีพระบรมราชโองการรับสั่งให้เรียกนามแผ่นดินทั้งสองตามพระนามที่ทรงพระราชอุทิศถวายข้างต้น คือให้เรียกแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ห้ามมิให้ราษฎรเรียกแผ่นดินต้นและแผ่นดินกลาง นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ส่วนพระนามรัชกาลที่ ๓ คือ “พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” นั้น เมื่อเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้วจึงได้มีพระนามนี้ขึ้น กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงตั้งพระนามถวายเมื่อวันพุธ เดือน ๖ แรม ๙ ค่ำ ปีชวด พุทธศักราช ๒๓๙๕

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชวิจารณ์ว่าด้วยการตั้งพระนามถวายรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ไว้ว่า เป็นการสมควรแล้วที่ให้มีคำว่า “พระพุทธ” นำหน้าทั้งสองพระองค์ เพราะว่ารัชกาลที่ ๑ กับรัชกาลที่ ๒ ได้เสวยศิริราชสมบัติเป็นปฐมในพระบรมราชวงศ์นี้ และทรงมีพระเกียรติคุณปรากฏอยู่อย่างอเนกอนันต์ เหมือนพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งสถาปนากรุงเทพทวาราวดี ศรีอยุธยา ซึ่งเป็นโบราณราชธานีเก่า ก็ได้ชื่อว่าเป็นปฐมในพระราชวงศ์ทั้งปวงในกรุงเก่า พระเจ้าแผ่นดินในภายหลังครั้งกรุงเก่าคิดถึงพระเดชพระคุณพระเจ้าอู่ทอง จึงได้ทรงสร้างพระปฏิมากรพระองค์หนึ่ง ขนานพระนามว่าพระเชษฐบิดร ทรงพระราชอุทิศถวายพระเจ้าอู่ทอง ให้เป็นที่เคารพสักการบูชา แห่งพระเจ้าแผ่นดินและข้าราชการทั้งปวงสืบต่อมา



พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประดิษฐาน ณ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ภาพจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำหรับรัชกาลที่ ๓ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงมีพระราชดำริในการตั้งพระนามถวายไว้ว่า จะออกพระนามพระเจ้าแผ่นดินนอกจากรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ โดยใช้คำว่า “พระพุทธ” นำหน้านั้น “ไม่สู้สมควร เพราะมิได้เป็นปฐมในพระบรมราชวงศ์อันนี้” เพราะฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงประกาศว่า ตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช (รัชกาลที่สาม) เป็นต้นไป ถ้าจะออกชื่อแผ่นดินก็ให้บัตหมายใช้อักษรอื่นๆ นำอักษร “เกล้า” แล้วต่อคำว่า “เจ้าอยู่หัว” เป็นคำท้ายเหมือนอย่างพระนามของพระองค์เอง และพระนามของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

พร้อมกับประกาศพระราชดำริดังกล่าว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระนามพระบรมอัฐิในรัชกาลที่ ๓ ไว้ว่า “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” และทรงประกาศให้ราษฎรเรียกแผ่นดินที่ล่วงมาว่า “แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งได้ทรงสร้างพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเช่นเดียวกับที่ได้มีพระพุทธปฏิมากร รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ด้วย

นอกจากทรงให้เรียกแผ่นดินที่ล่วงมาว่า ”แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” แล้ว ยังทรงอนุญาตให้เรียกชื่อแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ ได้อีกชื่อหนึ่งว่า “แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธรังสฤษดิ์” เพราะพระนามพระพุทธรังสฤษดิ์ เป็นพระนามพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์ รัชกาลที่ ๑ ชื่อ พระพุทธเพชรรัตน์  รัชกาลที่ ๒ ชื่อ พระพุทธนฤมิต



บริเวณท่าราชวรดิษฐ์ พระนคร

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤศจิกายน 2558 14:41:43 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 มกราคม 2557 18:15:48 »

.

ภาพเขียนโบราณ ฝีมือชาวฝรั่ง
แสดงท่านั่งและเครื่องแต่งกายของสตรีไทยรุ่นสาว


หญิงชาววัง

หญิงชาววัง หมายถึง ผู้หญิงที่อยู่ในพระราชวัง เป็นคำเก่าที่เรียกขานกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และใช้เรียกสืบมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์  การเป็นผู้หญิงชาววังมิใช่เรื่องที่จะเป็นกันได้ง่ายๆ เพราะใครๆ ก็รู้ว่าพระราชวังเป็นสถานที่อันสูงส่ง จะเปรียบก็เหมือนสวรรค์บนพื้นพิภพนั่นเอง  แม้กระนั้นล่วงมาถึงรัชกาลที่ ๔ สาวชาววังก็เพิ่มปริมาณขึ้นมาอย่างมากมาย ทำให้สิ้นเปลืองเบี้ยหวัด จึงต้องทรงหาทางปลดปล่อยโดยไม่ให้กระทบกระเทือนใจใคร

ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือเจ้าพระยาจักรี (ด้วง หรือทองด้วง)  ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ปฐมกษัตริย์พระบรมราชจักรีวงศ์  ก่อนที่พระองค์จะเถลิงถวัลยราชสมบัตินั้น ทรงเป็นเสนาบดีที่มีบรรดาศักดิ์สูงสุดในแผ่นดิน และมิได้สืบสายพระโลหิตจากพระราชวงศ์ใดทั้งสิ้น  ดังนั้น เมื่อแรกขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงต้องทรงปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติในพระชนมชีพไปโดยสิ้นเชิง จากสามัญชนมาสู่ความเป็นเจ้าแผ่นดินตามโบราณราชประเพณี

ในขณะนั้นตำรับตำราที่เกี่ยวกับพระราชประเพณีในพระราชสำนักถูกทำลายหายไปครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า และในสมัยธนบุรีเกิดการจลาจล บ้านเมืองอยู่ในภาวะระส่ำระสาย ต้องทำสงครามปราบปรามตลอดรัชสมัย จึงยังมิได้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก ในรัชสมัยของพระองค์จึงจำเป็นต้องทรงเร่งฟื้นฟูโบราณราชประเพณีในพระราชสำนักอย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการเสริมสร้างพระบารมีของพระมหากษัตริย์ ที่ราษฎรทั้งปวงเชื่อมั่นกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ

โปรดให้ผู้รู้ ข้าราชบริพารที่ยังมีตัวตนอยู่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น เจ้าฟ้าพินทุวดี พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงถ่ายทอดแบบแผนธรรมเนียมในราชสำนักที่ทรงเห็นและพระบรมวงศ์เคยประพฤติปฏิบัติสืบกันมาช้านาน  โปรดให้อาลักษณ์จดและคัดลอกไว้เป็นตำราต้นแบบของ “ฝ่ายใน”

กล่าวต่อไปถึงบรรดาผู้หญิงชาววัง  ผู้หญิงชาววังหาได้มีฐานะหรือสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนการศึกษาอบรมที่เท่าเทียมกันไปเสียหมดไม่ ผู้หญิงชาววังแบ่งออกไปเป็นสามชั้นด้วยกัน คือ ชั้นสูง ชั้นกลาง และชั้นต่ำ

ผู้หญิงชาววังชั้นสูง เป็นผู้ที่อยู่ในตระกูลสูง ได้แก่พระราชธิดาซึ่งประสูติและได้รับการศึกษาอบรมในพระราชวัง เรื่อยลงมาจนถึงหม่อมเจ้าหญิงที่เกิดในวังของพระบิดา แต่พระบิดาสิ้นพระชนม์และพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณารับเข้าไปเลี้ยงไว้ในพระราชวัง หรือถ้าหากพระบิดายังไม่สิ้นพระชนม์ แต่ส่งหม่อมเจ้าผู้เป็นธิดาเข้าไปอยู่กับในวัง จนเติบโตขึ้นก็รับราชการอยู่ในวังก็นับเป็นผู้หญิงชาววังชั้นสูงด้วยเหมือนกัน นอกจากนี้ บรรดาลูกผู้ดีมีตระกูลเช่นบรรดาราชนิกูลและธิดาของข้าราชการ ก็อาจเป็นชาววังด้วยการถวายตัวได้ และนับเนื่องอยู่ในประเภทผู้หญิงชาววังชั้นสูงด้วย

การถวายตัวเป็นผู้หญิงชาววังนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า “ถ้าผู้ปกครองปรารถนาจะให้ลูกหลานหญิงเล่าเรียนศึกษาในพระบรมมหาราชวัง ต้องฝากกับท่านผู้ใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งเป็นญาติหรือเคยนับถือมาก่อน แล้วส่งไปอยู่ด้วยตั้งแต่ยังเด็ก ท่านผู้ใหญ่นั้นๆ จะอบรมสั่งสอนให้เองบ้าง บางทีก็จะส่งไปฝากแก่ท่านผู้อื่นซึ่งชำนิชำนาญในการฝึกสอน ลักษณะการฝึกสอนเด็กผู้หญิงเมื่อแรกเริ่มเข้าไปอยู่ในวังนี้ จะฝึกหัดมรรยาททั้งกิริยาวาจา และให้รู้จักสัมมาคารวะก่อน แล้วให้เรียนหนังสือและการเรือนอย่างที่เด็กจะพึงทำได้ จากนั้น จึงฝึกสอนชั้นสูงกว่านั้นต่อไป ในทำนองประถมศึกษาขึ้นไปมัธยมศึกษา

ในระยะฝึกสอนชั้นสูงนี้ เวลาผู้ฝึกสอนไปสู่สมาคมจะให้เด็กหญิงถือหีบหมากตามไปด้วย เพื่อที่จะให้ได้เห็นมารยาทและลักษณะการเข้าสมาคมของผู้หลักผู้ใหญ่ ทั้งจะได้รู้จักเพื่อนเด็กๆ ที่อยู่ในวังด้วยกัน วิชาการเรือนก็สอนให้สูงขึ้นไปด้วยเช่นเดียวกัน เช่นให้ทำเครื่องแต่งตัวได้เอง รู้วิชาเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าวของกิน รวมทั้งสอนให้รู้และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาด้วย ในระยะนี้ผู้ใหญ่ที่ฝึกสอนจะสังเกตดูว่าเด็กหญิงผู้นั้นถนัดทางไหน จะได้ฝึกหัดให้ทำราชการทางนั้นต่อไป และเมื่อเห็นว่าพอปฏิบัติราชการได้แล้วก็นำขึ้นถวายตัวเป็นข้าราชการฝ่ายในได้เลยทีเดียว

หน้าที่ราชการของหญิงชาววังชั้นสูง จำแนกออกได้เป็น ๔ ประเภท
ประเภทหนึ่ง หัดเขียนหนังสือ และร่ำเรียนในการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เรียนการช่างสตรี เช่น ร้อยดอกไม้สด ปักสะดึง การพยาบาลคนไข้คนเจ็บ สำหรับพระราชธิดามักชอบเรียนเลขหรือความรู้เรื่องพงศาวดาร ซึ่งในภายหลังมักเป็นพระอาจารย์ฝึกสอนคนรุ่นต่อๆ มาอีกทีหนึ่ง

ประเภทที่สอง เป็นนางพนักงานในพระราชสำนัก เช่น พนักงานพระศรี ฯลฯ

ประเภทที่สาม เป็นนางอยู่งานสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ทรงใช้สอย เช่น เชิญเครื่องราชูปโภคตามเสด็จ เฝ้ารับพระบัญชาอยู่บนพระราชมณเฑียร โดยผลัดเวรกันประจำ เป็นต้น

ประเภทที่สี่ เป็นพวกมโหรี หรือหัดฟ้อนรำเป็นระบำหรือละคร ประเภทนี้มักเลือกตั้งแต่ยังเยาว์และมีแววฉลาด เพราะการฝึกหัดต้องใช้เวลานานกว่าจะชำนาญในทางนี้

ผู้หญิงชาววังชั้นกลาง พวกนี้มิได้ถวายตัวเข้าทำราชการเหมือนหญิงชาววังชั้นสูง  หญิงชาววังชั้นกลางมักเป็นลูกสาวของบรรดาคหบดี ผู้ปกครองอยากให้เข้าถวายตัวเป็นข้าหลวงกับเจ้านายพระองค์หญิง หรือผู้ใหญ่อื่นๆ ในพระราชวังตั้งแต่ยังเด็กๆ รับใช้สอยและศึกษาอยู่จนสำเร็จแล้วก็กลับออกจากวังมามีเหย้ามีเรือนไป แต่บางคนก็เลยอยู่ในวังจนแก่จนเฒ่าไปก็มี นอกจากนี้ยังมีบรรดาพวกพนักงานที่ไม่ได้ถวายตัวอีกบางประเภทที่ควรนับเข้าเป็นผู้หญิงชาววังชั้นกลาง เช่น พนักงานกลางเชิญเครื่องเสวยจากห้องเครื่องขึ้นไปส่งถึงพระราชมณเฑียร พวกทนายเรือนและพวกจ่าโขลน ซึ่งมักขึ้นมาจากผู้หญิงชาววังชั้นต่ำ กล่าวคือเมื่อมีอายุมากขึ้น มีความสามารถในราชการก็ได้เลื่อนขึ้นไปรับตำแหน่ง

ผู้หญิงชาววังชั้นต่ำ จำแนกออกไปเป็นสามพวก พวกหนึ่งเรียกว่า “โขลน” ซึ่งถูกเกณฑ์ให้ผลัดเปลี่ยนเป็นเวรเข้าไปรับราชการในพระราชวังตั้งแต่ยังรุ่นสาว เช่น รักษาประตูวังหรือเป็นกรรมกรในการงานต่างๆ พวกนี้มีลูกมีผัวได้ พวกหนึ่งเป็นคนรับใช้ของบรรดาผู้ดี” ในวัง อีกพวกหนึ่งเกือบจะเรียกไม่ได้ว่าเป็นชาววัง เป็นแต่อยู่ในวังเท่านั้น



ภาพเขียนโบราณ ฝีมือชาวฝรั่ง
แสดงถึงเครื่องแต่งกายของสุภาพสตรีผู้มีฐานะปานกลาง

ต่อมาขนบธรรมเนียมฝ่ายในได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์บ้านเมือง  ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดฯ ให้ยกเลิกการเกณฑ์หญิงรุ่นสาวเข้าไปเป็น “โขลน” แต่ให้เป็นการจ้างตามแต่จะสมัครใจ  จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ธรรมเนียมของสาวชาววังก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปจนเกือบหมดสิ้น

ผู้หญิงชาววังในสมัยก่อน โดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้รับความเข้มงวดกวดขันในการคบหาสมาคมกับคนภายนอก และกับข้าราชการฝ่ายชายในพระราชวังเป็นอันมาก หากได้อ่านกฎมณเฑียรบาลที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ในแผนกพระราชกำหนดว่าด้วยข้อบังคับสำหรับใช้เฉพาะข้าราชการฝ่ายใน จะเห็นได้ว่ามีการวางโทษผู้ละเมิดกฎมณเฑียรบาลไว้อย่างรุนแรงเป็นพิเศษ เช่น
“อนึ่ง ผู้ใดตัดช่องหักแผงแหวกม่านแหวกรั้ว โทษเท่าผิดพระสนม ฟันคอริบเรือน”

“อนึ่ง ผู้ใดเจรจาด้วยสาวใช้ฝ่ายใน ยุดมือถือบ่า ผู้หญิงร้องแรกประกาศหยิกข่วน ให้สักผู้ชายลงหญ้าช้าง ถ้าผู้หญิงลงด้วยกัน ให้ทวนด้วยลวดหนังยี่สิบที แล้วให้ประจานอย่าให้เข้าวังเลย”

“อนึ่ง ข้าฝ่ายในคบผู้ชายหมู่นอก ใช้หนังสือกาพย์โคลงไปมา โทษถึงตาย”

“อนึ่ง ผู้ใดคบข้าท่านเจรจาในวัง จับได้สวนแท้แพ้จริง ให้ทวนหญิง ๓๐ ที ชาย ๕๐ ที เอาบนไว้”

“อนึ่ง ข้าเฝ้าทั้งปวงใช้หนังสือกาพย์ โคลง เข้าวังชักสื่อ คบค้านางกำนัลสาวใช้ฝ่ายในโทษถึงตาย”
ฯลฯ

โดยปกติผู้หญิงชาววังประเภทถวายตัวเข้าทำราชการนั้น จะมีโอกาสลาออกจากราชการ ทิ้งความเป็นผู้หญิงชาววังออกไปมีเหย้ามีเรือนภายนอกพระราชวังได้เสมอ แต่ทั้งนี้ ย่อมอยู่ในเงื่อนไขบางประการซึ่งจะได้กล่าวต่อไป แต่ผู้หญิงชาววังส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีใครลาออกง่ายๆ เพราะนอกจากจะมีเกียรติแล้ว ผู้หญิงชาววังยังได้รับเบี้ยหวัดและมีที่อยู่อย่างสุขสบายในบริเวณพระราชวังอีกด้วย

ผู้ที่ไม่ลาออกนั้น ถ้าโชคดีก็อาจได้เป็นเจ้าจอมไปตลอดรัชกาล ถ้าเปลี่ยนรัชกาลใหม่ก็กลายเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่รอบรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีในพระราชวัง ได้เป็น “ท้าวนาง” มีหน้าที่ควบคุมหญิงชาววังและรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชวังต่อไป บางคนอาจได้เป็น “เจ้าจอมเถ้าแก่” ผู้ฝึกหัดผู้หญิงชาววัง” มีหน้าที่ควบคุมนางในเวลาออกไปนอกพระราชวัง และเป็นผู้ออกใบสั่งกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ชายข้างฝ่ายหน้า ส่วนที่เป็นเจ้าพนักงานต่อไปจนตลอดอายุขัยก็มี

การพ้นสภาพผู้หญิงชาววังด้วยการลาออก มีข้อกำหนดมาแต่ครั้งกรุงเก่าว่า ผู้หญิงชาววังที่ภายหลังได้เป็นเจ้าจอมมารดาพระเจ้าลูกเธอนั้นจะลาออกไปมีสามีภายนอกไม่ได้ เพราะจะทำให้เสียพระเกียรติยศแก่พระเจ้าลูกเธอ

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ จำนวนสาวชาววังได้เพิ่มสูงขึ้นมากจนเหลือใช้เหลือสอย และก็ยังมีการถวายตัวอยู่เรื่อยๆ ทุกปี แม้กระทั่งเด็กอายุ ๕ ขวบ ๖ ขวบ ก็ถูกนำขึ้นถวายตัวรับราชการอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้สถานที่อยู่อาศัยในพระบรมมหาราชวังจึงนับวันจะแออัดยัดเยียดกันมากขึ้น เบี้ยหวัดที่พระราชทานก็เพิ่มพูนเป็นเงาตามตัวไปด้วย ผู้ที่ถวายตัวใหม่ๆ ถ้าเป็นเด็กก็มีเบี้ยหวัดอยู่ในระหว่าง ๓-๗ ตำลึงในปีแรก (ตามยศของบิดา) ปีต่อมาเบี้ยหวัดก็สูงขึ้นระหว่าง ๘-๑๕ ตำลึง ตามความสามารถในหน้าที่ราชการ ส่วนสาวชาววังที่ถวายตัวเมื่อโกนจุกแล้ว หรือเป็นสาวแล้ว ก็มีเบี้ยหวัดอย่างน้อย ๑๐-๑๕ ตำลึง อย่างสูง ๑ ชั่งเศษๆ ขึ้นไปก็มีอยู่มาก

เฉพาะเบี้ยหวัดของสาวชาววังที่ถวายตัวใหม่ใน พ.ศ.๒๔๐๕-๒๔๐๖ ปรากฏว่าต้องสิ้นเปลืองเงินมากกว่า ๕๐๐ ชั่ง ทั้งนี้มิได้รวมถึงเบี้ยหวัดของสาวชาววังที่ถวายตัวมาตั้งแต่แผ่นดินก่อนเข้าไปด้วย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงถึงกับทรงจำหน้าและจำชื่อไม่ได้ โดยมากทรงจำได้ก็เฉพาะแต่คนใกล้เคียงที่ทรงใช้สอยอยู่เป็นประจำ และทรงวิตกว่า การถวายตัวของสาวชาววังเหล่านั้นเท่ากับว่าเข้ามาอยู่ในที่กักขัง อยู่กันอย่างยัดเยียดและอยู่ไปโดย “เปลืองอายุ” เสียเปล่าๆ ประการสำคัญที่ทรงวิตกปรากฏอยู่ในประกาศของพระองค์ฉบับหนึ่งว่า “...เปนที่ให้คนที่ไม่รู้จักผิดชอบตื้นลึกหนาบางเห็นว่า ใจข้าพเจ้าลโมภโลภในสตรีมาก หวงกันกักขังไว้ ความจริงไม่เป็นดังนั้น ข้าพเจ้าเปนผู้รู้ประมาณ รู้เวลาว่าราชการบำเพ็ญการกุศลสวดมนต์ภาวนา จะเพลิดเพลินไปด้วยสตรีไม่มี เวลาก็หามิได้...”



ภาพเขียนที่บาดหลวงปาลเลกัวซ์ นำไปที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕
แสดงถึงเครื่องแต่งกายของเด็กชายและเด็กหญิงไทย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระองค์จึงทรงพระราชดำริจะปลดปล่อยสาวชาววังให้มีอิสระไปเสียบ้าง แต่การที่จะทรงปล่อยออกไปนั้น พระองค์ก็ทรงคิดมากอยู่เหมือนกันว่า ถ้ามีพระบรมราชโองการให้พ้นหน้าที่ราชการฝ่ายในไปโดยพระราชอำนาจ ก็จะยังความเสียใจให้แก่ข้าราชการที่เป็นผู้ปกครอง เพราะข้าราชการเหล่านั้นมีความจงรักภักดีอย่างจริงจัง จึงได้ทรงหาทางออกอย่างนิ่มนวลด้วยการมีประกาศขึ้นฉบับหนึ่ง ลงวันเสาร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีกุนเบ็ญศก ศักราช ๑๒๒๕ (พ.ศ. ๒๔๐๖) มีใจความสำคัญว่า เพราะสถานที่ในวังคับแคบ สาวชาววังมีศักดิ์สูงต้องมาปะปนคลุกคลีกับผู้มีศักดิ์ต่ำกว่า และเพื่อป้องกันข้อครหาว่าหวงแหนสตรีไว้มาก จึงทรงพิจารณาปล่อยให้เป็นอิสระไปด้วยเงื่อนไขดังนี้

“...จะหวงไว้แต่ที่มีบุตรชายบุตรหญิงด้วยข้าพเจ้า แลที่ไม่มีบุตรก็แต่ที่ข้าพเจ้าได้เลี้ยงให้เครื่องยศ แลเบี้ยหวัดตั้งแต่ ๒๐๐ บาทขึ้นไป นอกนั้นข้าพเจ้าอยากจะใคร่ให้ได้ไปตามปรารถนา แลตามชอบใจของบิดามารดาหญิงพวกนั้น บุตรหลานแลญาติของท่านผู้ใดที่เป็นหญิงสาวหญิงรุ่น ไม่ได้เบี้ยหวัดถึง ๒๐๐ บาท แลมิใช่ผู้ที่มีสารกรมขายตัวเป็นทาสฤๅกู้เงินเป็นหนี้ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้ายอมคืนให้ตามใจบิดามารดาแลญาติที่พามาถวาย จงมารับกลับคืนไปให้มีผัว ฤๅจะถวายในเจ้านายโตๆ ฤๅจะยกให้ขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยก็ตามแต่ใจของท่าน ข้าพเจ้าไม่ติเตียนน้อยใจอันใด ข้าพเจ้ายอมคืนให้โดยสะดวก แลจะไม่กระดากหน้าแก่ผู้ที่ได้ไปนั้นเลย...”

สำหรับผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะออกไปได้นั้น ถ้าไม่อยากออก พระองค์ก็ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงต่อไปโดยพระราชทานเบี้ยหวัดตามความสามารถในหน้าที่ราชการ แต่ถ้าภายหลังอยากจะออกเมื่อใด พระองค์ก็ทรงรับรองว่าจะให้ออกเมื่อนั้น

สำหรับเด็กๆ ที่เป็นตัวละครสำคัญๆ เช่นตัวพระเอกนางเอก พระองค์ได้ทรงขอไว้รับราชการก่อน เพื่อแสดงรับแขกบ้านแขกเมืองตามพระราชประเพณี แต่ก็ทรงพระกรุณาไว้ข้อหนึ่งว่า หากบิดามารดาจะรับกลับไปไว้บ้านก็ได้ เมื่อมีงานละครหรือแห่แหนอันใดจะทรงขอแรงมาช่วยเหลือกันทีหลัง เหตุที่ทรงขอไว้ก่อน พระองค์ทรงให้เหตุผลว่า “เพราะยังเป็นเด็กอยู่ไม่ควรจะมีเจ้าของ”

น่าสังเกตว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงใช้พระราชอำนาจ ทั้งๆ ที่มีพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า จะทรงทำดังนี้ก็ได้ กล่าวคือ ยกบรรดาสาวชาววังที่ล้นงานให้ไปทำราชการในพระบวรราชวังบ้าง ให้ไปอยู่วังเจ้าต่างกรมและเจ้ายังมิได้ตั้งกรมบ้าง ยกให้ไปอยู่กับขุนนางผู้ใหญ่ที่มีความชอบในราชการหรือจัดแจงตบแต่งให้อยู่ด้วยหม่อมเจ้า ข้าราชการ ตลอดลงไปจนมหาดเล็กบ้าง พระองค์ทรงเชื่อว่าผู้รับก็คงมีความยินดี  ทรงหาทางออกอย่างนิ่มนวลด้วยการให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ปกครองที่นำเข้าถวายตัวเสียเอง ว่าควรจะจัดชีวิตอนาคตของบุตรหลานเป็นประการใด

อย่างไรก็ดี คงจะเป็นเพราะไม่ค่อยมีผู้หญิงชาววังลาออกไปง่ายๆ หรือไม่ก็มีข้าราชการนำบุตรหลานเข้าถวายตัวอยู่อีกเรื่อยๆ ต่อมาอีกสองปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประกาศย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า “...บรรดาข้าราชการฝ่ายในหรือผู้หญิงชาววังนั้น ใครอยู่ไมสบายใจใคร่กราบถวายบังคมลาออกนอกราชการ ไปอยู่วังเจ้าบ้านขุนนาง บ้านบิดามารดา หรือจะไปมีลูกผัวให้สบายประการใด ก็อย่าให้กลัวความผิด ให้กราบทูลถวายบังคมลาโดยตรง ถ้ามีเครื่องยศก็ถวายคืนเสียจะโปรดให้ไปตามปรารถนา ทั้งจะไม่เอาความผิดแก่ผู้ที่มาเป็นสามีของหญิงชาววังนั้นๆ ด้วย “...ห้ามแต่อย่าให้สนสื่อหาชู้หาผัวแต่ยังอยู่ในราชการด้วยอุบายทางใดทางหนึ่งก่อนกราบบังคมทูลพระกรุณาเป็นอันขาดทีเดียว เป็นดังนั้นจะเสียพระราชกำหนดสำหรับแผ่นดิน

ประกาศฉบับใหม่นี้ได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขมากมายเกี่ยวกับประเภทของหญิงชาววังที่อยากจะลาออก กล่าวคือ เจ้าจอมมารดาในพระเจ้าลูกเธอไม่ทรงโปรดให้ออกจากราชการไปมีสามี จะเสียพระเกียรติยศในพระเจ้าลูกเธอ แต่ถ้าอยากออกจากราการไปอยู่กับพระเจ้าลูกเธอที่วังอื่นโดยไม่มีสามี ก็ทรงพระราชกรุณาอนุญาต

เจ้าจอมมารดาพระองค์เจ้าแต่แผ่นดินก่อน มีพระราชกำหนดไว้ว่า ถ้ายังมีพระองค์เจ้าอยู่ก็ลาออกได้ แต่จะไปมีสามีไม่ได้ แต่ถ้าจะมีสามีให้ได้ต้องกราบทูลพระกรุณาว่า จะตัดรอนพระองค์เจ้าให้ขาดเสียก่อน แล้วจะเรียกเป็นเจ้าจอมมารดาไม่ได้อีกต่อไป เรื่องนี้หากไม่กราบทูลพระกรุณาเสียก่อน ถ้าไปมีสามีเป็นพระองค์เจ้าก็จะลดเบี้ยหวัดเสียกึ่งหนึ่ง ถ้าสามีเป็นหม่อมเจ้าหรือเป็นข้าราชการมีบรรดาศักดิ์ จะยกเบี้ยหวัดเสีย ทั้งจะต้องเสียภาษีปีละ ๑๒ ตำลึงอีกด้วย แต่ถ้าไปมีสามีเป็นข้าราชการมีบรรดาศักดิ์น้อยหรือได้สามีที่เป็นไพร่ จะโปรดให้ลงพระราชอาญา โดยจะริบราชบาทว์สามีเอาตัวไปส่งหญ้าช้างสำหรับเจ้าจอมผู้นั้นจะให้ลงพระราชอาญาจำจนตาย หากพระองค์เจ้า (ผู้เป็นลูก) สงสารกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ ก็จะพระราชทานให้ไปอยู่กับพระองค์เจ้า รับพระราชทานเบี้ยหวัดเหมือนอย่างนางนม และให้เรียกกันแต่ว่ามารดา ไม่ให้เรียกว่าเจ้าจอมอีกต่อไปเช่นกัน

ส่วนบรรดามารดาของหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าที่ตั้งกรมแล้ว หรือยังไม่ได้ตั้งกรมซึ่งสิ้นพระชนม์ไปแล้ว หากหม่อมเจ้า (ผู้ลูก) ยังมีตัวอยู่ ถ้าลาออกไปโดยไม่มีสามีก็ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๖ ตำลึงหรือกว่านั้น แต่ถ้ามีสามีจะยกเบี้ยหวัดเสีย ถ้าได้สามีที่เป็นไพร่จะต้องเสียภาษีปีละ ๖ ตำลึง เป็นเบี้ยเลี้ยงแก่หม่อมเจ้าไปทุกเดือนจนกว่าหม่อมเจ้าจะไม่มีตัว เพราะมารดาของหม่อมเจ้าไม่อยู่เลี้ยงดูหม่อมเจ้า ไปมีสามีก็ควรให้สามีเสียภาษีให้แก่หม่อมเจ้า (ไม่ใช่เข้าหลวง)

สำหรับกรณีที่มารดาของหม่อมเจ้าเกิดไปหย่าร้างกับสามีในภายหลัง ถ้าสาบานได้ทั้งสองข้างว่าหย่าร้างแยกกันอยู่จริงก็ให้ยกภาษีที่จ่ายแก่หม่อมเจ้าดังกล่าวเสีย แต่ถ้าหากทนสาบานเพื่อไม่อยากเสียภาษีแล้วกลับไปคืนดีกัน สืบได้ความจริงจะต้องเสียภาษีที่ขาดส่งเพิ่มเป็นสองต่อ

ในกรณีที่มารดาของหม่อมเจ้าไปมีสามีเป็นพระองค์เจ้าไม่ทรงถือว่าเสียเกียรติยศอันใด แต่โปรดให้ยกเบี้ยหวัดไปให้พระองค์เจ้า แต่ถ้าไปมีสามีแค่หม่อมเจ้า ถ้าหม่อมเจ้าผู้บุตรยินยอมก็แล้วไป ถ้าไม่ยินยอมก็จะทรงพระกรุณาชักเอาเบี้ยหวัดของหม่อมเจ้าสามีแบ่งออกไปให้หม่อมเจ้าผู้บุตรเสีย ๑ ใน ๓ เพราะทรงถือว่าทำให้หม่อมเจ้าผู้บุตรได้รับความอับอายในการกระทำของมารดา

นอกจากนี้บรรดาเจ้าจอมธรรมดาที่ไม่ใช่เจ้าจอมในพระเจ้าลูกเธอ หรือหม่อมพนักงานทุกตำแหน่ง, เจ้าจอมเถ้าแก่, ท่านเถ้าแก่ ตลอดจนนางรำทั้งปวงไม่ได้ทรงกำหนดเงื่อนไขอะไรไว้เลย จึงเป็นที่เข้าใจว่าจะลาออกจากความเป็นผู้หญิงชาววังกับบิดามารดาญาติพี่น้อง หรือเป็นนางห้ามเจ้านายที่ทรงพระกรุณาให้มีบรรดาศักดิ์สูงๆ หรือเป็นภรรยาข้าราชการที่มีศักดินามาก ก็ทรงเห็นใจและพระราชทานเบี้ยหวัดให้ตามสมควร

สำหรับเจ้าจอมมารดาที่มีพระเจ้าลูกเธอซึ่งทรงห้ามมิให้มีสามีนั้น ส่วนใหญ่ก็อยู่ในพระราชวังต่อไปจนตลอดอายุ ที่ออกไปอยู่นอกวังกับญาติๆ เมื่อล่วงเข้าวัยชราแล้วก็มี เมื่อเปลี่ยนรัชกาลใหม่ได้เป็นท้าวนางผู้ใหญ่ หรือเจ้าสำนักฝึกสอนพวกผู้หญิงชาววังรุ่นหลังก็มี ที่เคยมีวิชาทางละครก่อนเป็นเจ้าจอมมารดาก็มักได้เป็นอาจารย์ฝึกหัดละครหลวงรุ่นหลังๆ ต่อไป

ขนบธรรมเนียม “ฝ่ายใน” ดังที่กล่าวมาแล้ว เป็นขนบธรรมเนียมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา มาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยังคงรักษาไว้ให้เหมือนเดิม แต่ต่อมาภายหลังสภาพบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ขนบธรรมเนียมฝ่ายในจึงได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเรื่อยๆ จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงไปเกือบหมดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤศจิกายน 2558 14:39:40 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 07 มกราคม 2557 18:30:48 »

.


ภาพช้างเผือกปัจจัยนาเคนทร์ในจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์หิมพานต์
wikimedia.org

ช้างเผือกที่ถือกำเนิดในเมืองเชือกแรกแห่งกรุงสยาม

ตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา ช้างเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นมงคลแห่งการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังปรากฏในชาดกของพระโพธิสัตว์ ว่าพระองค์เคยเสวยพระชาติเป็นพระยาช้างฉัททันต์และพระยาช้างปัจจัยนาเคนทร์  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการบำเพ็ญบารมีในพระเวสสันดรชาดก และพระยาเศวตมงคลหัตถี หรือพระยามงคลนาคในทุมเมธชาดก และตามพระพุทธประวัติ เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์ ก็ทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกนำดอกบัวมาถวาย อันเป็นนิมิตว่าผู้มีบุญญาธิการสูงได้มาอุบัติเป็นมนุษย์สู่พระครรภ์พระมารดาทางพระนาภีเบื้องขวา

ช้างเผือกจึงเป็นที่นับถือว่าเป็นสัตว์มงคลที่สำคัญในพระพุทธศาสนา โดยจะพบว่าสัญลักษณ์ในมงคล ๑๐๘ ปรากฏในรอยพระพุทธบาทนั้นมีรูปช้างมงคล ๒ ช้าง



ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙  นับเป็นปีมหามงคลยิ่ง ชาวไทยโดยเฉพาะชาวเชียงใหม่ต่างปีติโสมนัสเมื่อปรากฏว่าเกิดช้างเผือกในเมืองขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แทนที่จะถือกำเนิดในป่าดงพงไพร เช่นที่เคยมีมาก่อนหน้านี้นับเป็นร้อยปีตลอดมา

ช้างเผือกเชือกนี้กำเนิดจากแม่ช้าง สูง ๗ ฟุต ๔ นิ้ว ชื่อ พังล่า เป็นช้างของบริษัทบอร์เนียว ผู้ดำเนินกิจการสัมปทานป่าไม้ในประเทศไทย แถบเมืองเหนือ เมื่อตอนเช้าวันศุกร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๙  ตรงกับแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ณ ตำบลป่าแม่ยางมิ้ม อำเภอเมืองฝาง จังหวัดเชียงใหม่

มร.แม็คฟี ผู้จัดการบริษัทบอร์เนียว ได้ออกมาพิจารณาลูกช้างหลังจากคนงานผู้ทำหน้าที่ควาญช้างเข้าไปรายงานลักษณะลูกช้าง ตลอดจนสีสันที่มีสีประหลาดจากลูกช้างสามัญให้ทราบ  แต่ มร. แม็คฟีก็ยังไม่แน่ใจแม้ว่าจะมีความรู้สึกว่าลูกช้างมีลักษณะแตกต่างจากลูกช้างที่เคยพบเห็นมาก่อน เป็นแต่ได้กำชับควาญช้างให้ดูแลลูกช้างให้ดีที่สุด  

การเจริญเติบโตของลูกช้างถูกจับตามองพร้อมกับวิจารณ์อย่างกว้างขวาง สีสันที่ปรากฏบ่งบอกความเป็นช้างเผือกตระกูลชั้นเอก พวกหมอช้างพร้อมด้วยผู้ชำนาญในการดูช้างต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าช้างพลายน้อยลูกแม่พังล่าเชือกนี้เป็นช้างเผือกที่เกิดมาเพื่อคู่พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง และเป็นช้างเผือกเชือกแรกที่เกิดในเมือง

มร.แม็คฟีจึงได้มีหนังสือแจ้งให้ทางราชการทราบอย่างรีบด่วน  หลังมีความเชื่อมั่นว่าช้างน้อยอายุประมาณ ๔ เดือนเชือกนี้เป็นช้างเผือก และถ้าหากทางสำนักพระราชวังจักได้ส่งผู้ชำนาญมาตรวจสอบว่าเป็นช้างเผือกจริงแล้ว ทางบริษัทบอร์เนียวก็พร้อมที่จะขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทางสำนักพระราชวังจึงได้ส่งหลวงศรีนัจวิสัย เจ้าหน้าที่กรมช้างต้น ซึ่งเป็นผู้สัดทัดในเรื่องช้างเผือก พร้อมด้วยช่างเขียน ช่างปั้นฝีมือดี ไปตรวจสอบลักษณะของลูกช้างเผือกเชือกนี้  หลังพิสูจน์กายลักษณะของลูกช้างแล้ว หลวงศรีนัจวิสัยได้ลงความเห็นร่วมกับผู้สันทัดกรณีแห่งกรมช้างต้นว่า ลูกพังล่านี้เป็นช้างเผือกในตระกูล “อัคนีพงศ์” ซึ่งเป็นตระกูลช้างชั้นสูง

ได้มีบันทึกการตรวจรายงานต่อกรม ว่า เมื่อลูกช้างถูกนำไปตรวจตามตำราคชลักษณ์เป็นครั้งแรกนั้น ก็ยินยอมให้ตรวจอย่างว่าง่าย เพราะคงรู้กาลข้างหน้าในชีวิต เจ้าหน้าที่ตรวจดูปาก ดูตามซอกรักแร้และแห่งอื่นๆ ช้างพลายน้อยก็มิได้ขัดขืน  แม้จะตกอยู่ในท่ามกลางคนแปลกหน้าและดึงโน่นจับนี่อยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ที่เฝ้าดูการตรวจพากันพิศวงในความสงบเรียบร้อย อาหารที่ใช้ป้อนลูกช้างเป็นหญ้าอ่อน ใบข้าวโพดอ่อน ฯลฯ

เมื่อเศวตกุญชรนี้ยังไม่หย่านม ชอบเล่นหัวอย่างใกล้ชิดกับบรรดาลูกๆ ของผู้จัดการบริษัทบอร์เนียวฝ่ายเมืองเหนืออย่างสนิทสนม ด้วยสัญชาตญาณในสายเลือดของการถือกำเนิดมาในตระกูลอัคนีพงศ์  ลูกช้างจะไม่ยอมคลุกคลีกับเด็กๆ ที่สกปรก ส่วนใหญ่ก็จะเล่นสนุกสนานกับลูกของ มร.แม็คฟีเท่านั้น  ความรักสะอาดและหวงแหนตัวเองนั้น มิใช่เพียงไม่เล่นกับเด็กที่แต่งกายมอมแมมเท่านั้น แม้เมื่อเวลาตามแม่พังล่าลงไปยังท่าน้ำ ถ้าหากพบมูลช้างอื่นถ่ายทิ้งขวางหน้าไว้ก็จะไม่ยอมลงอาบน้ำท่านั้น ถึงจะเป็นมูลของแม่พังล่าก็ตาม จะต้องเลือกเดินไปลงท่าที่ปราศจากสิ่งโสโครก



การเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพ
ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

ชาวเชียงใหม่ต้อนรับข่าวอันเป็นมหามงคลครั้งนี้กันทั่วหน้าเมื่อปรากฏแน่ชัดว่า ช้างเผือกที่เกิดในเมืองเชือกแรกแห่งกรุงสยามนี้ถือกำเนิดขึ้นในเมืองเชียงใหม่  ทางราชการของเชียงใหม่จัดงานอย่างครึกครื้นรื่นเริงยิ่งกว่างานใดๆ ที่เชียงใหม่ได้เคยมีมาก่อน เพื่อประกอบพิธีแห่แหนช้างเผือกน้อยพร้อมกับพังล่าผู้เป็นแม่

พิธีแห่ช้างเผือกนี้ กำหนดว่าจะนำมาเชิญสู่ขวัญและพำนักไว้ ณ เชิงดอยสุเทพ

แล้ววันอันเป็นมหามงคลที่ชาวเชียงใหม่รอคอยด้วยความกระตือรือร้นก็มาถึง วันนั้นตรงกับวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ขบวนแห่ได้จัดขึ้นเป็นขบวนใหญ่ยิ่ง ประชาชนหลั่งไหลกันมาทุกสารทิศแน่นขนัด เพื่อชมช้างเผือก และจะได้เข้าเฝ้าชมพระบารมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่จะเสด็จประพาสเชียงใหม่และทรงรับการน้อมเกล้าฯ ถวายลูกช้างเผือกของบริษัท บอร์เนียว ซึ่งขณะนั้นช้างพลายน้อยมีความสูง ๔๒ นิ้ว หนังเป็นสีดอกบัวโรย ขนตามตัวและตามศีรษะเป็นสีแดงปลายขาว ดวงตาเป็นสีฟ้าอ่อน (ในตำนานช้างตระกูลอัคนีพงศ์ มีตาดุจน้ำผึ้งรวง มีพรรณละเอียดเกลี้ยง) เพดานขาว ขนที่หูขาว เล็บขาว อันทโกษขาว ขนที่หางแดงปลายขาว เป็นเศวตกุญชรซึ่งมีมงคลลักษณะโดยสงเคราะห์เข้าในอัคนีพงศ์ ต้องตามตำรับว่าเป็น ปทุมหัตถี จัดเป็นช้างเผือกที่มีลักษณะงดงามยิ่ง

เมื่อช้างเผือกจะต้องเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ เปลี่ยนฐานะจากลูกช้างธรรมดาขึ้นสู่ฐานะใหม่ การล่ำลาจากกันระหว่างลูกๆ ของผู้จัดการห้างบอร์เนียวกับลูกแม่พังล่าได้เป็นไปอย่างน่าสงสารและจับใจในเยื่อใยและความผูกพันระหว่างคนกับช้าง  การแสดงความอาลัยอาวรณ์จากจิตใจที่รักใคร่กันมาตั้งแต่เกิดทำให้ผู้ที่ได้เห็นภาพการลาจากครั้งนี้เป็นที่ประทับใจอย่างยิ่งยวด  บุตรๆ ของ มร.แม็คฟีตรงเข้าไปกอดช้าง ส่วนเศวตกุญชรน้อยเล่าก็ใช้งวงไขว่คว้าและกอดรัดตอบ แม้ว่าจะพูดไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่เศร้าใจเพียงใด แต่ก็เป็นการลาจากที่เต็มตื้น แสดงถึงความรักอันลึกซึ้งที่มีต่อกัน

การพบช้างเผือกในเมืองเชียงใหม่เป็นข่าวใหญ่ที่หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวกันอย่างครึกโครม และบางฉบับได้เสนอความคิดเห็นว่า การนำเศวตกุญชรมายังกรุงเทพฯ ควรให้เดินทางมาพร้อมกับพังล่าผู้เป็นแม่


http://www.vcharkarn.com/uploads/26/26566.jpg
สยามประเทศในอดีต : แหล่งรวมสารคดีน่ารู้
http://www.vcharkarn.com/uploads/26/26565.jpg
สยามประเทศในอดีต : แหล่งรวมสารคดีน่ารู้

เป็นประเพณีมาแต่โบราณกาล เมื่อแผ่นดินของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้พบช้างเผือกมาสู่บรมโพธิสมภารเป็นราชพาหนะเฉลิมพระเกียรติยศ เป็นมิ่งมงคลคู่บ้านคู่เมือง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นย่อมทรงบุญญาภินิหารเป็นที่พึ่งของไพร่ฟ้าประชาชนให้รุ่งเรืองสืบไป

ในพระบรมราชวงศ์จักรีได้ปรากฏคล้องช้างเผือกได้จากป่ามาแล้วทุกรัชกาล เพราะในป่าสูงดงดิบยังเต็มไปด้วยโขลงช้าง และเส้นทางอันเต็มไปด้วยความทุรกันดารอย่างเหลือแสนกว่าจะบุกบั่นกันเข้าไปคล้องช้างเผือกได้แต่ละเชือก พวกหมอช้าง ควาญ ต้องประกอบพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมอย่างเคร่งครัดกว่าจะรอนแรมออกไปคล้องช้างแต่ละครั้ง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชย์สมบัติได้เพียงปีเดียวก็เกิดช้างเผือกขึ้น มิหนำซ้ำมิได้จากป่าหากแต่เป็นช้างในเมือง จึงเป็นเรื่องที่กล่าวขวัญถึงกันอย่างมากในลักษณะตามคชลักษณ์ของช้างเผือกซึ่งได้นามว่า พระเศวตคชเดชน์ดิลก นี้เป็นอัคนีพงศ์อย่างสมบูรณ์


 ขบวนแห่ช้างเผือกในเมืองเชียงใหม่เป็นไปอย่างชื่นตาชื่นใจทั่วทุกคน เสียงโห่ร้องด้วยความยินดีปรีดาดังกังวานทั่วไปตลอดเส้นทางที่ช้างเผือกย่างเยื้องผ่านไปอย่างช้าๆ ชาวเหนือทุกจังหวัดใกล้เคียงกับเชียงใหม่เดินทางมาร่วมงานสมโภชน์ครั้งยิ่งใหญ่มโหฬารนี้เป็นประวัติการณ์ ทางเจ้านครเชียงใหม่ยังจัดสาวงามฟ้อนถวายตัวในงานสมโภชน์ครั้งนี้อีกด้วย

เจ้านครเชียงใหม่ ได้เป็นผู้นำช้างเผือกน้อยของบริษัทบอร์เนียว น้อมเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗  และทรงโปรดเกล้าให้นำลงมาสมโภชขึ้นระว่างเมื่อวันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ พระราชทานนามว่า
     “พระเศวตคชเดชน์ดิลก     ประชาธิปชุมรัตนดำรี
     เทวอัคนีรุฒชุบเชิด          กำเนิดนภีสีฉานเฉวียง
     ฉวีเยี่ยงบุษกรโกมล         นขาขนขาวผ่องแผ้ว
     แก้วเนตรน้ำเงินงามลึก      วันวณึกบรรณาการ
     คเชนทรยานยวดยิ่ง         มิ่งมงคลฉนำเฉลิมฉัตร
     ตตมกษัตริย์ทรงศร         อมรรัตนโกสินทร์
     ระบือระบินบารมีทศ         ยืนพระยศธรรมราชัย
     นิรามัยมนุญคุณ             บุณยโกศล เลิศฟ้า"

พระเศวตคชเดชน์ดิลก ช้างเผือกคู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีอาการไม่ปกติ ขณะอายุย่างเข้า ๒๐ ปี ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ต่อมาเกิดน้ำท่วมใหญ่ในเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ พระเศวต ฯ ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ขาดการเอาใจใส่ พระเศวตฯ เจ็บมากขึ้น ไม่จับหญ้า ในที่สุดก็ล้มลงในปี พ.ศ. ๒๔๘๙.


ข้อมูลเรื่องจาก : หนังสืออนุสรณ์จากอดีต โดยชาลี เอี่ยมกระสินธุ์, วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี และหนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด
ภาพประกอบจาก เว็บไซต์ วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี และวิชาการดอทคอม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤศจิกายน 2558 15:00:13 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 07 เมษายน 2557 14:56:32 »

.

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ ๓)



สุลต่านสุไลมาน

ราว พ.ศ. ๒๔๑๗ รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ ระหว่างฮอลันดาและโปรตุเกส กำลังล่าเมืองขึ้นแถวชวาและใกล้เคียง เมืองสาเลห์ หรือสเลมาน ถูกรุกรานอย่างหนัก ดะโต๊ะโมกอล ผู้นำพาครอบครัวและบริวารลงเรือสำเภา รอนแรมในทะเลจีนใต้ มาขึ้นชายฝั่งหาดเขาหัวแดง ใกล้เมืองสทิงพระ

ตั้งประชาคมมุสลิมอย่างสงบ โดยไม่มีการขัดแย้งกับชาวเมืองท้องถิ่น

วันเวลาผ่านไป ชุมชนเขาหัวแดง มีผู้คนอพยพมาอยู่มากขึ้น พัฒนาเป็นเมืองท่าปลอดภาษี มีเรือสำเภาแวะเข้ามาแลกเปลี่ยนสินค้าคับคั่ง

ในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้ดะโต๊ะโมกอล เป็นข้าหลวงใหญ่ของสยาม ตำแหน่งนี้สืบทอดมาถึงบุตรชายคนโต ชื่อสุไลมาน รับผิดชอบพื้นที่ตั้งแต่ตอนล่างของนครศรีธรรมราช มาจดเขตปัตตานี ครอบคลุมพื้นที่ครึ่งล่างของเมืองตรัง ปะเหลียน พัทลุง และสงขลา

ต่อมามีการยึดอำนาจในกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคต พระเชษฐาธิราช พระราชโอรสองค์ใหญ่ ถูกเจ้าพระยากลาโหมจับสำเร็จโทษ แล้วตั้งพระอาทิตยวงศ์ พระอนุชาอายุ ๙ ปี ขึ้นนั่งบัลลังก์ โดยเจ้าพระยากลาโหมเป็นผู้สำเร็จราชการ

การเมืองในราชสำนักพลิกผัน เจ้าเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นประเทศราช เห็นเป็นจังหวะแข็งเมือง ส่งกองทัพเรือมาตีข้าหลวงใหญ่เขาหัวแดง ท่านสุไลมานป้องกันเมืองไว้ได้ แต่บ้านเมืองเสียหายมาก จึงมีการปรับปรุงกำลังพล ส่งผลให้ราชสำนักอยุธยาจับตามองด้วยความหวาดระแวง

การเมืองในอยุธยาเปลี่ยนแปลงอีก คราวนี้พระอาทิตยวงศ์ถูกจับสำเร็จโทษ เจ้าพระยากลาโหมขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททอง ท่านสุไลมานจงรักภักดีพระเจ้าทรงธรรม จึงประกาศแข็งเมือง ตั้งรัฐสุลต่าน

สุลต่านสุไลมานได้ครองตำแหน่งพระราชาธิบดีแห่งพัทลุง ราชสำนักอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เรียกท่านว่า พระเจ้าสงขลาสิ้นพระชนม์ในอีก ๒๖ ปีต่อมา

ถึงยุคสุลต่านมุสตาฟา ราชสำนักอยุธยา ส่งพระยารามเดโชเป็นแม่ทัพมาใช้กลยุทธ์จุดไฟเผาตีนเขาให้ระส่ำระสาย แล้วใช้กองเรือบุกโจมตีเวลากลางคืน สุลต่านมุสตาฟาแพ้ เป็นอันว่ารัฐสุลต่านสิ้นสุดลง กลับสู่สภาพหัวเมืองของกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง

สิ้นราชวงศ์ปราสาททอง มาเป็นราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระเพทราชาทรงปรับนโยบายไม่เป็นศัตรู มอบตำแหน่งเจ้าเมืองพัทลุงให้บุตรชายสุลต่านใต้...เป็นพระยาจักรี (ฮุสเซน)

เชื้อสายพระยาจักรี สืบทอดมาจนถึงสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ส่วนใหญ่ได้เป็นพระยาราชวังสัน มีอำนาจหน้าที่ด้านทัพเรือ

หนึ่งในจำนวนนั้น คือ พระยาราชวังสัน (หวัง) สมัยรัชกาลที่ ๑ ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดวัดหงษ์รัตนาราม คลองบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี พระยาราชวังสัน และคุณหญิงชู มีธิดา ๓ คน หนึ่งในนั้นชื่อเพ็ง สมรสกับพระยานนทบุรี (จันท์) เจ้าเมืองนนทบุรี

คุณหญิงเพ็ง มีธิดาชื่อเรียม ได้ถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายใน เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระสนมเรียม เป็นเจ้าจอมมารดาของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทับ (กรมหลวงเจษฎาบดินทร์)

เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๒ กรมหลวงเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ด้วยความเห็นชอบของ “เอนกมหาชนนิกร สโมสรสมมติ” คือจากที่ประชุมของขุนนางผู้ใหญ่และพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

และในรัชกาลนี้เอง เจ้าจอมมารดาเรียม ก็ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย

ว.วินิจฉัยกุลเขียนเรื่องนี้ไว้ในหนังสือสืบตำนานสานประวัติ (สำนักพิมพ์ทรีบีส์) ว่า แม้สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ มิได้มีพระราชโอรสพระองค์ใด ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้า และมิได้ครองราชย์สืบต่อมา

แต่พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์จักรี เริ่มแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ มาถึงรัชกาลปัจจุบัน ล้วนสืบเชื้อสายจากสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ

ทั้งนี้ เพราะพระราชินีในรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เดิม หม่อมเจ้ารำเพย พระธิดาในพระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๓ กับสมเด็จพระเทพศิรินทร์ จึงทรงเป็นพระนัดดา หรือหลานปู่ ในสมเด็จพระนั่งเกล้า

และทรงเป็นเหลนทวด ในสมเด็จพระศรีสุลาไลย

พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของสมเด็จพระเทพศิรินทร์ฯ ก็คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระบรมอัยยาธิราช ในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙

เชื้อสายสุลต่านสุไลมาน จึงเกี่ยวข้องกับราชวงศ์จักรี ผ่านสมเด็จพระศรีสุลาไลย และสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยประการฉะนี้.
...ข้อมูล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 พฤษภาคม 2557 09:57:15 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2557 10:05:21 »

.

ภาพจาก : เว็บไซต์ mildsuju.blogspot.com

รัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ แม้เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจจากหลายๆ ฝ่าย ที่เรียกว่าคณะราษฎร แต่เบื้องหลังความสำเร็จ เกิดจากการรวมตัวกันของสี่ทหารเสือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์อาคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธ

โรม บุนนาค เขียนไว้ในหนังสือ วันนี้ในอดีต ตอนมิถุนาสู่อารยะ (สำนักพิมพ์สยามบันทึก) ว่า

ในขณะที่ฝ่ายอำนาจเก่ากำลังท้อแท้หมดหวัง ก็เกิดเหตุพลิกผัน เมื่อคณะราษฎรได้ตัดสินเชิญพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ขึ้นเป็นประธานคณะราษฎร และต่อมาพระยามโนฯก็เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ กำลังของฝ่ายอำนาจเก่าก็ปรากฏขึ้น

พล.ร.ท.พระยาราชบังสัน ไม้เบื่อไม้เมาของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม แกนนำคณะราษฎร ถูกวางตัวเป็นรัฐมนตรีกลาโหม พระยาศรีวิสารวาจา ผู้ทูลคัดค้านพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก่อนการยึดอำนาจว่า ประชาชนยังไม่พร้อมรับพระราชทานรัฐธรรมนูญ ถูกวางตัวเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ

พระยามโนฯ กุมอำนาจใน ครม.ได้แล้ว ก็รุกเข้าหาทหาร ได้พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์อาคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธมาเป็นพวก ก็เพิ่มความมั่นใจว่าเอาทหารอยู่

ถึงตอนนั้นสี่ทหารเสือ เริ่มแตกแยก เหลือพระยาพหลฯ คนเดียว

โอกาสนั้น พระยามโนฯ ก็เรียกประชุม ครม.นัดพิเศษ ออกพระราชกฤษฎีกา ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ยุบคณะรัฐมนตรี แต่ให้นายกรัฐมนตรีที่ถูกยุบ เป็นนายกฯต่อไป มีอำนาจตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

คำประกาศสำคัญ ที่ทำให้นักกฎหมายทั่วไปงงงันก็คือ ประกาศว่า บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ซึ่งขัดกับพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้...ให้ระงับไว้ก่อน แสดงว่า พระราชกฤษฎีกา ฉบับพระยามโนฯ มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ

หลังจากนั้น ก็มีการประกาศชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ แน่นอน ไม่มีชื่อหลวงประดิษฐ์มนูธรรม และสี่ผู้ใกล้ชิด

๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ พระยามโนฯ รุกคืบหน้า ส่งหลวงประดิษฐ์และภรรยา เดินทางไปศึกษาสภาพเศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยให้รัฐบาลจ่ายเงินยังชีพให้ปีละ ๑ พันปอนด์ คำสั่งนี้ฝ่ายหลวงประดิษฐ์ ใช้คำว่าถูกเนรเทศ

สถานการณ์นั้น แกนนำคณะราษฎรก็ถูกกำจัดจนแทบหมดสิ้น เหลือทหารใหญ่ คือพระยาพหลฯ อีกคนเดียว พระยามโนฯ ต้องการความมั่นใจจากฝ่ายทหาร ส่งสามทหารเสือ พระยาทรง พระยาฤทธิ์ พระประศาสน์ ไปขอร้องให้พระยาพหลฯ วางมือจากการเมือง

พระยาพหลฯ พี่ใหญ่ ฟังสามทหารเสือน้องแล้วก็คล้อยตาม ยอมเซ็นชื่อให้ เป็นอันว่า เมื่อถึงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ครบ ๑ ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครองสี่ทหารเสือ จะลาออกจากทุกตำแหน่ง

ชาวสี่ทหารเสือแปรพักตร์ ทำให้ทหารเสือคนที่ ๕ พ.ท.หลวงพิบูลสงคราม ทนไม่ได้

หลวงพิบูลอ่านเกมการเมืองออก ถ้าอยู่เฉยๆ ต่อไป คณะราษฎรจะหัวขาดกันเป็นแถว จึงเข้าไปบอกพระยาพหลฯ “อาจารย์เสียท่าพระยาทรง” ชวนให้นำทหารทำรัฐประหารยึดอำนาจคืน

พระยาพหลฯรับปากพระยาทรงไปแล้ว แต่เมื่อหลวงพิบูลอธิบายให้เห็นว่า เพื่อนพ้องในคณะราษฎร จะเดือดร้อนกันไปหมด ทั้งยังชี้ให้ดูรถตำรวจที่รัฐบาลส่งมาคุมเชิงหน้าบ้าน พระยาพหลฯ ก็จำเป็นต้องเล่นบทโกหกเพื่อชาติ

๑๙ มิถุนายน ๒๔๗๙ ทหารก็เคลื่อนรถถัง ยึดอำนาจ

การรัฐประหารครั้งนี้ แตกต่างกว่าครั้งต่อๆ ไป คือ ประกาศให้นำรัฐธรรมนูญมาใช้ครบทุกมาตรา

พระยาพหลฯ เป็นนายกฯคนที่ ๒ พระยามโนฯ กลับไปพักที่บ้านชะอำพักใหญ่ แล้วก็ลี้ภัยไปอยู่ปีนัง ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ อายุ ๖๔  ปี ก็ถึงอสัญกรรม.
.
...ข้อมูล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤษภาคม 2557 12:46:10 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2557 12:54:14 »

.


ภาพจาก : tukxinari.blogspot.com

แผนยึดกรุงธนบุรี

หนังสือชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี (สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. ๒๕๕๓) ปรามินทร์ เครือทอง ค้นข้อมูลจากเอกสาร ทั้งจากสองฝ่าย...ออกมาจำแนกแจกแจง ข้อมูลที่ขัดแย้งและเป็นไปได้ เอาไว้ ๑๖ หัวข้อ

หัวข้อที่ ๑๔ สรรเสริญพระบารมี พระชำนิโวหารแต่งเป็นโคลงสรรเสริญพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่เนื้อหา แม้เหมือนอ่านหนังสือพิมพ์ฝ่ายค้าน แต่ก็ถูกเขียนขึ้นเหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง

ลำดับเรื่อง เมื่อเจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปกรุงกัมพูชา เหตุการณ์ด้านกรุงธนบุรีมีสภาพผันแปร กรณีพันศรี พันลา รวบรวมผู้คนคิดกู้บ้านกู้เมือง ต่อด้วยกรณีเร่งเงินไพร่ ทำให้ผู้คนเดือดร้อนหลบหนีเข้าป่า จนกรุงฯ กลายเป็นเมืองร้าง

พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดไว้ว่า “ฝ่ายการในอากาศเล่า ก็วิปริตต่างๆ คอมีอุกกาบาตร และประทุมกาษบันดาล ตกลง เป็นต้น

ต่อมา พระยาสรรค์พาไพร่พลบุกเข้าล้อมกรุงธนบุรี แต่เมื่อกองทัพพระยาสุริยอภัยมาถึง ก็ได้เจรจาความกัน พระยาสรรค์ผู้ที่ “นั่งซัง” อยู่ถึงกับปิดบังตัวตน หน้าถอดสี มือไม้อ่อน ดาบหลุดจากมือ

สงครามกลางเมือง พระยาสุริยอภัย พันศรี พันลา กับพระยาสรรค์ สงบลง ผู้คนก็เฝ้ารอการกลับมาของเจ้าพระยาจักรี ชนิดที่เรียกว่านับวันนับคืนคอย บางรายถึงกับเข้าทรง หรือให้โหรทำนาย พระชำนิโวหารแต่งเป็นโคลงไว้ว่า

เขาดูเขาว่าเข้า คิมหันต์ หึงอีกสักสามวัน เสด็จแล้ว ฟังบอกแบ่งกระศัลย์ เบาโศก น้อยนา ครั้นว่านานวันแคล้ว คลาดช้ากลับตรอม

ข่าวลือไม่นาน ก็กลายเป็นข่าวจริง เมื่อต้นปีขาล วันเสาร์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ เจ้าพระยาจักรี กลับมาถึง เป็นเสมือนการยุติความวุ่นวายทั้งปวง และยังเป็นการปิดฉากกรุงธนบุรี โดยที่เจ้าพระยาจักรีเองไม่ต้องทำศึกใดๆ

หัวข้อที่ ๑๔ ประหารพระเจ้าตาก เนื้อหาตอนหนึ่ง บรรยายว่า

ในเพลาวันนั้น บังเกิดศุภนิมิตเป็นมหัศจรรย์ปรากฏแก่ตาโลก เพื่อพระราชกฤษดาเดชานุภาพพระบารมีจะถึงมหาเศวตราชาฉัตร บันดาลให้พระรัศมีโชติช่วงแผ่ออกจากพระกายโดยรอบ เห็นประจักษ์ทั่วทั้งกองทัพ

บรรดารี้พลนายไพร่ทั้งปวงผู้ใหญ่ผู้น้อย ชวนกันยกมือขึ้นถวายบังคมพร้อมกัน แล้วเจรจากันว่า เจ้านายเราคงมีบุญเป็นแท้

กองทัพเจ้าพระยาจักรี เคลื่อนพลห้าพันเศษ มาทางด่านพระจารึก ใกล้เขตอรัญประเทศ เขตเมืองปราจีนบุรี ตั้งแต่ก่อนศึกกลางเมือง

แม้ว่า พระราชพงศาวดารพยายามจะระบุว่า ขณะนั้นยังอยู่เสียมราฐ แต่ก็ขัดแย้งกับหลักฐานอื่นอยู่หลายประการ

ประการแรก ตั้งแต่ก่อนพระยาสรรค์จะเข้าตีกรุงธนบุรีสำเร็จ เวลานั้นเจ้าพระยาจักรีก็สั่งให้พระยาสุริยอภัย เคลื่อนทัพมากรุงธนบุรีแล้ว ครั้น เมื่อให้พระยาสุริยอภัยมาแล้ว ก็สั่งให้จับกรมขุนอินทรพิทักษ์ และกรมขุนรามภูเบศไว้ ให้เลิกทัพตามเข้ามา ณ กรุงธนบุรี

แสดงว่า ก่อนที่พระยาสรรค์จะตีกรุงธนบุรีนั้น กองทัพเจ้าพระยาจักรีก็ถอยกลับเข้ามาในอาณาจักรกรุงธนบุรีแล้ว ไม่ได้รั้งรออยู่ที่เสียมราฐ จนกระทั่งศึกกลางเมืองยุติลง

พิจารณาจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกัน กล่าวคือ

เริ่มจากพระยาสรรค์เข้ายึดกรุงธนบุรีได้ ในวันอาทิตย์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ จากนั้นอีก ๑๒ วันต่อมา (วันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕) พระยาสุริยอภัยลงมาถึงกรุงธนบุรี  และอีก ๑๕ วันต่อมา (วันเสาร์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕) เจ้าพระยาจักรีก็มาถึงกรุงธนบุรี

ระยะเวลาระหว่างพระยาสรรค์เข้าตีกรุงธนบุรี ถึงเจ้าพระยาจักรีมาถึงกรุงธนบุรี เป็นเวลา ๒๘ วัน

แต่หากจะถือเอานัยตามพระราชพงศาวดาร คือเมื่อเจ้าพระยาสุริยอภัยเผด็จศึกกลางเมืองเรียบร้อย ในวันพุธ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๕ เจ้าพระยาจักรีจึงค่อยโยธาทัพกลับมาถึงในวันเสาร์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕

ระยะเวลาจะห่างกันเพียง ๓ วัน เป็นไปไม่ได้ ที่จะเป็นการเดินทัพจากเสียมราฐมาถึงกรุงธนบุรี

เมื่อเจ้าพระยาจักรีมาถึงกรุงธนบุรีฝั่งตะวันออก บ้านเมืองก็สงบราบคาบ มีฝูงชนเฝ้ารอรับด้วยความปีติ พระยาสุริยอภัย สั่งให้ปลูกพลับพลารอรับที่ท่าน้ำวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) แล้วให้จัดเรือมารอรับ มีท้าวทรงกันดาล (ทองมอญ) ผู้ที่จุดเผาม่านในพระราชวัง เปิดชนวนศึกกลางเมือง ลงเรือมารับเจ้าพระยาจักรีถึงท่าน้ำ

ปรามินทร์ เครือทอง ทิ้งท้ายบทที่ ๑๕ ในทันใดนั้น ขุนนางราษฎรทั้งหลายก็กราบทูลวิงวอน เชิญเสด็จเจ้าพระยาจักรีขึ้นปราบดาภิเษก ครองแผ่นดินสืบต่อไป

เจ้าพระยาจักรีรับอาราธนา ด้วยอาการดุษณีภาพ แล้วเสด็จไปถวายนมัสการพระแก้วมรกต

คืนแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประทับค้างแรมอยู่ ณ พลับพลาหน้าพระอุโบสถพระแก้วมรกต วัดแจ้ง ในพระราชวังหลวงกรุงธนบุรี.
...นสพ.ไทยรัฐ
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2557 09:33:41 »

.

http://www.siamintelligence.com/wp-content/uploads/2012/12/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg
สยามประเทศในอดีต : แหล่งรวมสารคดีน่ารู้

ภาพจาก : วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ กระแส “ชาตินิยม” ที่ก่อตัวในเยอรมันแพร่กระจายมาถึงไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๖ และเพิ่มระดับความเข้มข้น เมื่อเกิดการปฏิวัติ ๒๔๗๕

ก็เมื่อประเทศสยามขณะนั้น เป็นประเทศหรือชาติของ “คนไทย” เพื่อให้สอดคล้องกับผู้ที่อยู่ในประเทศ จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย เรียกคนที่อยู่ในประเทศว่า คนไทย ให้คนที่ระบุว่า สัญชาติสยามเป็นสัญชาติไทย

นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม ประกาศรัฐนิยมฉบับที่ ๓ (๒ สิงหาคม ๒๔๘๒) ว่า ที่เคยเรียกกันว่า “ไทยเหนือ” และ “ไทยใต้” นั้น ให้เรียกว่าไทยอย่างไม่มีการแบ่งแยก

ผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนชื่อประเทศไทย ทำให้ต้องเปลี่ยนเนื้อ “เพลงชาติสยาม” เป็น “เพลงชาติไทย” ร้องกันถึงวันนี้

วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๒ วันเปลี่ยนชื่อสยามเป็นประเทศไทย รัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม ประกาศให้วันนั้นเป็น “วันชาติ” เพื่อรำลึกถึงการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

งานวันชาติ ปีแรก...นั้น รัฐบาลให้ชื่อว่า “งานเฉลิมฉลองวันชาติ” และสนธิสัญญาที่ได้เอกราชอันสมบูรณ์กลับคืนมาสู่ประเทศ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘....๘๐ ปีก่อน ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ สัญญานี้แม้ไทยจะยังได้ชื่อว่าเป็นประเทศเอกราช  แต่ก็ต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ด้านการศาล และด้านการจัดเก็บภาษีศุลกากร

หลักหนึ่งใน ๖ ประการ ตามประกาศคณะราษฎร เมื่อวันปฏิวัติก็คือ “จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เอกราชทางการเมือง ทางการทหาร ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง”

และวันเดียวกันนั้น พล.ต.หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ก็ได้วางศิลาฤกษ์ สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ณ กลางถนนราชดำเนินกลาง

สัญลักษณ์ของอนุสาวรีย์เป็นการรำลึกถึงการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ของคณะราษฎร ปีกทั้ง ๔ ด้าน สูงขึ้นไปด้านละ ๒๔ เมตร หมายถึงวันแห่งเหตุการณ์ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ความสูงของพานรัฐธรรมนูญ ๓ เมตร หมายถึงเดือน ๓ คือเดือนมิถุนายน (ตามปฏิทินแบบเก่า เมษายนเป็นเดือนหนึ่ง พฤษภาคมเป็นเดือนสอง)

ระยะจากจุดศูนย์กลางถึงปลายขอบ ๒๔ เมตร เมื่อรวมกับปืนใหญ่โบราณ ที่ปักวางรอบอนุสาวรีย์จำนวน ๗๕ กระบอก ก็หมายถึงปี ๒๔๗๕

รูปพระขรรค์ อยู่ที่ประตูทั้ง ๖ หมายถึงหลัก ๖ ประการของคณะราษฎร หลักหนึ่ง เอกราชของประเทศ  หลักสอง เศรษฐกิจ  หลักสาม ความปลอดภัยของประชาชน  หลักสี่ สิทธิเสมอภาค  หลักห้า เสรีภาพ  และหลักหก การศึกษา

ผ.ศ.ธำรงศักดิ์  เพชรเลิศอนันต์ สรุปเรื่อง จอมพล ป.พิบูลสงครามกับการ “ส้างวัธนธัมใหม่” ไว้ว่า พลังประชาธิปไตย และพลังชาตินิยม เป็นพลังปัจจัยของการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ใช้เวลาระยะหนึ่ง  ปรากฏเป็นรูปธรรมแบบรวมศูนย์ ในปีแรกในการขึ้นสู่ตำแหน่งนายกฯ ของ จอมพล ป. ทั้งเรื่องชื่อประเทศไทย เพลงชาติไทย วันชาติไทย และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  พฤศจิกายน ๒๔๘๓ – มกราคม ๒๔๘๔ เกิดสงครามอินโดจีน

นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม ได้เลื่อนยศแบบข้ามขั้นเป็นจอมพล

วันเวลาผ่านมาถึงวันนี้ วันชาติไทย คลายความเข้มข้นลงไป ที่ยังขลังอยู่ คือ เพลงชาติไทย



ที่มา คอลัมน์ ชักธงรบ  “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” โดย กิเลน ประลองเชิง หน้า ๓ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มิถุนายน 2557 19:42:39 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 กันยายน 2557 13:37:31 »

.

ไม้เรียว

คนโบราณแบ่งน้ำหนักการลงโทษต่างกัน ครูหรือพ่อแม่ ใช้ไม้มะยม ก้านพู่ระหง หรือก้านไม้รวกเหลาให้เล็กๆ ก็เรียกว่า "ตี" ตีสั่งสอนให้หลาบจำ

แต่ถ้าใช้หวาย...ก็ต้องเรียกว่า เฆี่ยน เป็นการลงโทษหนักกว่า ประจาน ให้อับอาย มักทำกันต่อหน้าที่ประชุม

และหากเป็นการลงโทษในราชการ ราชสำนัก หน้าที่ของผู้ใช้หวายเฆี่ยน คือ ราชมัล หากโทษสถานหนักขึ้นไป ถึงขั้นบั่นคอประหารชีวิต ผู้ทำหน้าที่ คือ เพชฌฆาต

หลวงนายฤทธิ์ เขียนเรื่อง การเฆี่ยน ไว้ในหนังสือ เรื่องเก่าๆ ของเจ้านาย (สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊คส์ ก.ค. ๕๗) ตอนหนึ่งว่า การเฆี่ยนเพื่อลงพระอาญาของเจ้านายนั้น ปรากฏในประวัติศาสตร์ครั้งแรก เมื่อปลายรัชกาลกรุงธนบุรี

พระราชนิพนธ์ พระราชพิธี ๑๒ เดือน ของรัชกาลที่ ๕ ตอนพระราชพิธีสงกรานต์ ตอนหนึ่งว่า

ได้ยินคำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งเล่าว่า เมื่อถึงหน้าสงกรานต์แล้ว ท่านพวกคุณย่าเหล่านี้มาประชุมกันที่ตำหนักกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์

ขึ้นนั่งบนเตียงอันหนึ่งด้วยกันทั้งหมด เจ้านายที่เป็นหลานๆ พากันไปตักน้ำรด ท่านได้เสด็จไปรดน้ำ แลเห็นหลังคุณย่าทั้งปวง ลายเหมือนกัน เป็นการประหลาด จึงรับสั่งถามว่า ทำไมหลังคุณย่าทั้งปวง จึงลายเหมือนกันหมด เช่นนี้

คุณย่าทั้งนั้นทูลว่า ขุนหลวงตากเฆี่ยน

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีกรณีเฆี่ยนเป็นข่าวใหญ่โจษขานกันทั้งแผ่นดิน

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนพลแก้วของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเป็นนายทหารที่เข้มแข็งเด็ดขาด ทำการใดๆ เห็นแต่แก่แผ่นดิน ไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด

ครั้งหนึ่ง นายสนิท หุ้มแพร (แสง) บุตรชายของท่านริอ่านลักลอบค้าฝิ่น ซึ่งเป็นของต้องห้าม และทางการกำลังเร่งปราบปรามกันอยู่ เจ้าพระยาบดินทรฯ จึงบัญชาให้มัดนายแสงเข้ากับหลักคา ที่หน้าหอนั่ง แล้วให้เฆี่ยนด้วยหวาย ๑๐๐ ที

พอเฆี่ยนได้ ๘๔ ที นายแสงสลบคาหลัก แต่ท่านก็ยังสั่งให้เฆี่ยนจนครบ ๑๐๐ ทีให้จงได้

เจ้าหมื่นสรรเพชรภักดี บุตรเขยของท่าน กราบเรียนว่า "ถ้าเฆี่ยนอีก ๑๖ ที เห็นจะตายในคา"

ท่านกลับมีบัญชาว่า "ตายก็ช่างมันเถิด จะได้ไปเกิดใหม่เป็นคนดี"

เดชะบุญ นายแสงมิได้เสียชีวิต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงมีความสลดสังเวชพระทัย พระราชทานเงิน ๕ ชั่งให้นายแสง ไปเจียดยารักษาแผลที่หลัง

ปลายรัชกาลที่ ๕ มีการเฆี่ยนทหารครั้งใหญ่ เรื่องเกิดขึ้นเมื่อพวกทหารตีกับทหารมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ที่หน้าประตูวังรัชทายาท (วังสราญรมย์)

สมเด็จพระบรมฯ ขอให้ทรงลงพระอาญาเฆี่ยนทหารเหล่านั้นตามจารีตนครบาล กรมหลวงราชบุรีฯ กราบทูลคัดค้านว่า ไทยใช้ประมวลกฎหมายอาญา เยี่ยงอารยประเทศแล้ว จึงไม่ควรนำจารีตนครบาลมาใช้


สมเด็จพระบรมฯ ยืนยันจะให้โบย มิฉะนั้นจะทรงเอาออกจากรัชทายาท รัชกาลที่ ๕ จึงต้องทรงยอม

การเฆี่ยนครั้งนั้น กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชทรงสั่งให้โบยต่อหน้าแถวทหารในกระทรวงกลาโหม ทูลเชิญสมเด็จพระบรมฯ มาทอดพระเนตร มีผู้บันทึกไว้ว่า

"เมื่อถึงเวลาราชมัลลงแส้ ซึ่งตามหลักการลงแส้นั้น ครั้งแรกต้องได้เลือด ครั้งที่สองเนื้อต้องปริ ปรากฏว่าผู้ต้องหา ๖ คนสลบคาหยั่ง สร้างความหดหู่ให้แก่นายทหารท่านอื่น เชื่อกันว่าเป็นที่มาของกบฏ (ร.ศ. ๑๓๐)"

พ.ศ. ๒๕๕๔ ในโลกนี้ยังมีการเฆี่ยนอยู่ ๓๓ ประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน แทนซาเนีย และประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลาม จีน เยอรมนี เกาหลี สวีเดน เวียดนาม ที่สหรัฐฯ มีการเฆี่ยนครั้งสุดท้าย ที่รัฐเดลลาแวร์ เมื่อปี คศ. ๑๙๕๒

               ฯลฯ  (มีต่อ)



ที่มา คอลัมน์ ชักธงรบ  “ไม้เรียว” โดย กิเลน ประลองเชิง หน้า ๓ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗

* ความเห็นของผู้โพสท์  : ตัวหนังสือสีแดง คำว่า "เอาออก" น่าจะพิมพ์ผิด และควรเป็นคำว่า "ลาออก" (ตามหนังสือประวัติศาสตร์หลายเล่มที่อ่านมา )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤศจิกายน 2558 14:44:27 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 02 กันยายน 2557 18:47:27 »

.

อนุสนธิ จากกระทู้ "ไม้เรียว"

...ปลายรัชกาลที่ ๕ มีการเฆี่ยนทหารครั้งใหญ่ เรื่องเกิดขึ้นเมื่อพวกทหารตีกับทหารมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ที่หน้าประตูวังรัชทายาท (วังสราญรมย์)

สมเด็จพระบรมฯ ขอให้ทรงลงพระอาญาเฆี่ยนทหารเหล่านั้นตามจารีตนครบาล กรมหลวงราชบุรีฯ กราบทูลคัดค้านว่า ไทยใช้ประมวลกฎหมายอาญา เยี่ยงอารยประเทศแล้ว จึงไม่ควรนำจารีตนครบาลมาใช้

สมเด็จพระบรมฯ ยืนยันจะให้โบย มิฉะนั้นจะทรงเอาออกจากรัชทายาท รัชกาลที่ ๕ จึงต้องทรงยอม

การเฆี่ยนครั้งนั้น กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชทรงสั่งให้โบยต่อหน้าแถวทหารในกระทรวงกลาโหม ทูลเชิญสมเด็จพระบรมฯ มาทอดพระเนตร มีผู้บันทึกไว้ว่า

"เมื่อถึงเวลาราชมัลลงแส้ ซึ่งตามหลักการลงแส้นั้น ครั้งแรกต้องได้เลือด ครั้งที่สองเนื้อต้องปริ ปรากฏว่าผู้ต้องหา ๖ คนลบคาหยั่ง สร้างความหดหู่ให้แก่นายทหารท่านอื่น เชื่อกันว่าเป็นที่มาของกบฏ (ร.ศ. ๑๓๐)" ... ฯลฯ



พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า ราม วชิราวุธ  เล่าถึงประวัติและเหตุการณ์ ตามที่เก็บข้อความจากสมุดจดหมายเหตุรายวัน, และประกอบคำอธิบายและข้อความตามที่ทรงจำได้ แต่มิได้มีจดไว้ในจดหมายเหตุรายวัน

ต้นฉบับตัวพิมพ์ดีดอยู่ในความครอบครองของ พระมหาเทพกษัตรสมุห หรือ ขุนตำรวจเอก พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก)

สำนักพิมพ์มติชน รวบรวมจัดพิมพ์ (พิมพ์ครั้งที่ ๕ : กันยายน ๒๕๕๕) ชื่อปกหนังสือ "ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖"  

ผู้โพสท์เห็นว่ามีสาระเกี่ยวข้องกับแผนการปฏิวัติ ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ.๒๔๕๕ หรือ ค.ศ.๑๙๑๒)  ปรากฎความตาม หน้า ๒๔๗ ดังนี้

               ฯลฯ
เมื่อรับบัตรสนเท่ห์นี้แล้ว ก็เดากันยุ่ง เพราะต้องเข้าใจว่าในเวลานั้นยังมิได้รู้ระแคะระคายเลยถึงเรื่องพวกทหารคิดก่อกำเริบ. ข้อความสำคัญในหนังสือนั้นก็มีอยู่เปน ๒ ข้อ, คือ (๑) เรื่องนายทหารถูกเฆี่ยนเพราะวิวาทกับมหาดเล็กของฉัน,  (๒) เรื่องไม่ปล่อยนักโทษตามแบบ  เรื่องที่ ๑ นั้น เปนเหตุการณ์อันได้เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน, ๒๔๕๒, ในเวลานั้นพวกกรมรถม้าของฉันอยู่ที่วังจันทร์, และกรมทหารราบที่ ๒ อยู่ที่โรงเชิงสพานมัฆวานรังสรรค์, ฉนั้นจึ่งเปนอันมีชายหนุ่มๆ สองพวกอยู่ในที่ใกล้เคียงกัน, ก็เปนธรรมดาอยู่เองที่จะต้องเกิดเหตุระหองระแหงกันบ้าง, เนื่องด้วยการแย่งผู้หญิงกันเปนต้น. การทุ่งเถียงและพูดแดกดันกันนั้นคงจะได้มีแก่กันอยู่นาน, ในที่สุดคืนหนึ่งจึ่งได้ถึงแก่ตีกันขึ้น, และหม่อมราชวงศ์เหรียญ, พนักงานรถม้าของฉันคน ๑ ได้ถูกนายทหารราบที่ ๒ ตีหัวแตก. เมื่อเกิดชำระกันขึ้นได้ความว่าตัวการมีนายร้อยเอกสม. นายร้อยตรีจัน, กับนายดาบบาง, ได้พาพลทหารออกจากโรงไปตีเขา, กรมนครชัยศรีเอาตัวพวกทหารขึ้นศาลทหารชำระได้ความจริงว่าได้ออกจากโรงทหารผิดเวลาและยกพวกไปตีเขาเช่นนั้น, เห็นว่าเปนโทษหนัก, จำเปนต้องลงอาญาให้เปนเยี่ยงอย่าง, กรมนครชัยศรีจึ่งได้กราบบังคมทูลพระเจ้าหลวง (รัชกาลที่ ๕ - ผู้โพสท์) ขอให้ลงพระราชอาญา เฆี่ยนหลังคนละ ๓๐ ทีและถอดจากยศ, การลงอาญาครั้งนั้นไม่ใช่โดยความขอร้องของฉันเลย, ตรงกันข้ามฉันเปนผู้ท้วงว่าแรงเกินไป, แต่กรมนครชัยศรีว่าจะต้องลงโทษให้เปนเยี่ยงอย่าง. หาไม่จะกำราบปราบปรามทหารที่เกะกะไม่ได้, และนายทหารจะถือตนเปนคนมีพวกมาก เที่ยวรังแกข่มเหงเขาร่ำไปให้เสียชื่อทหาร.... ฯลฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กันยายน 2557 09:11:17 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 14 กันยายน 2557 09:31:27 »

.


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
(พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖)
ทรงเครื่องแบบนักเรียนนายร้อยแซนด์เฮอร์ส

ใคร? สั่งโบยหลังทหาร

อันเนื่องจากหัวข้อเรื่อง “ไม้เรียว” คอลัมน์ ชักธงรบ (กิเลน ประลองเชิง) ฉบับวันที่ ๓ ก.ย. คุณวรชาติ มีชูบท ค้นคว้าเรื่องราวที่กล่าวกันว่า เป็นต้นเหตุปฏิวัติ รศ.๑๓๐ เมื่อปลายรัชกาลที่ ๕...โดยตั้งชื่อเรื่องว่า การเมืองเรื่องโบยหลัง ทหาร ประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน...มีเนื้อความบางตอน...ต่อไปนี้

ที่มาของวาทกรรมนี้ มาจากข้อเขียนของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) และ ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ เรื่องปฏิวัติ ร.ศ.๑๓๐ ตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์งานศพ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ ณ เมรุวัดมกุฏฯ ๑๙ เม.ย.๒๕๐๓...มีความว่า

พ.ศ.๒๔๕๒ มีการเฆี่ยนหลังนายทหาร นายดาบ และนายสิบรวม ๕ คน กลางสนามหญ้าในกระทรวงกลาโหม ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระยุพราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และเหล่าข้าราชบริพาร นายทหารกองทัพบก

สาเหตุมาจากพวกทหารกับมหาดเล็กบางคนของสมเด็จพระยุพราช ไปรุมเกี้ยวพาแม่ค้าขาย หมากสมัด...แล้วก็เกิดวิวาทกัน พวกมหาดเล็กใช้ไม้รุมตีศีรษะนายดาบ ราบ ๒ แต่งพลเรือน หนีเข้ากรมทหาร แล้วตามไปท้าทาย

ร.อ.โสม กับ ร.ต.อีกคนพร้อมด้วยนายดาบที่ถูกตี หักกิ่งต้นก้ามปูวิ่งไปตีต่อสู้ มหาดเล็กสู้ไม่ไหว หนีไปทางวังปารุสก์

เมื่อสมเด็จพระยุพราช...ทรงทราบ รับสั่งให้ ผบก.กรมทหารราบที่ ๒ สอบสวน ร.อ.โสมและพวกสารภาพ...แล้วทหารทั้ง ๕ ก็ถูกขัง สมเด็จพระยุพราชนำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมชนกนาถ (รัชกาลที่ ๕) ขอให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนหลังทหาร... ตามจารีตนครบาล

เสด็จในกรมราชบุรี...ทรงชี้แจงว่า ควรให้จัดการ ไปตามกระบิลเมือง เพราะได้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา เยี่ยงอารยประเทศพร้อมมูลแล้ว แต่สมเด็จพระยุพราชยืนกรานจะให้เฆี่ยนหลัง มิฉะนั้นจะทรงลาออกจากรัชทายาท

สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงห่วงว่าเรื่องจะไปกันใหญ่โต จึงทรงอนุมัติไปตามคำขอ.....

วาทกรรม สมเด็จพระยุพราชยืนกรานจะให้เฆี่ยนหลัง คุณวรชาติ มีชูบท บอกว่า ออกจะขัดกับความใน “ประกาศกระแสพระราชดำริในเรื่อง เป็นลูกผู้ชาย” ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ เมื่อ ๑ เม.ย. ร.ศ.๑๒๘ ก่อนมีการโบยทหารครั้งนั้น ๒ เดือน

“การที่จะลงพระราชอาญาด้วยอาการใดๆ มีตีและขังเป็นต้น...น่าจะไม่เป็นประโยชน์ เพราะลูกผู้ดีไม่ใช่สัตว์เดียรัจฉาน ที่จะบังคับบัญชาได้ด้วยอาญา”

ความตอนนี้...สอดคล้องกับ พระราชบันทึก “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” ว่า

เมื่อเกิดการชำระกันขึ้น ได้ความว่า ตัวการมีนายร้อยเอกสม นายร้อยตรีจัน กับนายดาบบาง ได้พาพลทหารออกจากโรงไปตีเขา

กรมนครชัยศรีเอาตัวพวกทหารขึ้นศาลทหารชำระ ได้ความจริงว่า ได้ออกจากโรงทหารผิดเวลาและยกพวกไปตีเขา เช่นนั้น เห็นว่าเป็นโทษหนัก จำเป็นต้องลงอาญาให้เป็นเยี่ยงอย่าง

กรมนครชัยศรีจึงได้กราบบังคมทูลพระเจ้าหลวง ขอให้ลงพระอาญา เฆี่ยนหลังคนละ ๓๐ ที และถอดยศ

การลงอาญาครั้งนั้น ไม่ใช่โดยความขอร้องของฉันเลย

ตรงกันข้าม ฉันเป็นผู้ท้วงว่าแรงเกินไป แต่กรมนครชัยศรีว่า จะต้องลงโทษให้เป็นเยี่ยงอย่าง หาไม่จะกำราบปราบปรามทหารที่เกะกะไม่ได้และทหารก็จะถือตนเป็นคนมีพวกมาก เที่ยวรังแกข่มเหงเขาร่ำไป ให้เสียชื่อทหาร

เมื่อข้อมูลของฝ่ายกบฏ ร.ศ.๑๓๐ กับพระราชบันทึกรัชกาลที่ ๖ ขัดแย้งกัน คุณวรชาติ มีชูบท จึงได้สืบหาหลักฐานเพิ่มเติม ได้พบหลักฐานสำคัญเป็นลายพระหัตถ์ นายพลโท พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า

“ในเรื่องนี้ เมื่อได้สืบไต่สวนความโดยละเอียดแล้ว เห็นชัดได้ว่า เป็นความผิดในวินัยทหารเป็นอันมาก

เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าสมควรลงโทษทางฝ่ายปกครอง ให้ปรากฏในทันที จะได้เป็นที่สยดสยองยำเกรงสำหรับการต่อไป ดีกว่าที่จะต้องให้ขึ้นพิจารณาทางศาล ซึ่งเป็นการชักช้าไปนั้น

เหตุการณ์กระทำร้าย ซึ่งมีในกรมทหารราบที่ ๒ มาหลายคราวนั้น เป็นที่ให้สงสัยอยู่แล้วว่า จะเป็นด้วยนายทหาร จะนำให้พลทหารเป็นไปในการประพฤติไม่เรียบร้อยต่างๆ ตามที่นายพันเอกพระพิพิธเดชะ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๒ จับได้ครั้งนี้ จะเป็นที่เข็ดขยาดในการเช่นนี้ต่อไป

ถ้าทรงพระราชดำริเห็นสมควรแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดนายทหารที่มีความผิดนี้จากยศบรรดาศักดิ์ลง พระราชอาญาเฆี่ยนทั้ง ๕ คนนี้ คนละ ๓๐ ทีในที่ ประชุมทหารที่ศาลายุทธนาธิการ”

เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อ ๑๗ มิ.ย. ร.ศ.๑๒๘ ว่า เป็นการดีแล้ว อนุญาตให้ถอดนายทหารที่มีความผิดนี้ จากยศบรรดาศักดิ์ แลลงพระอาญาเฆี่ยนทั้ง ๕ คน คนละ ๓๐ ที ตามที่ว่านั้น

ความในพระราชบันทึก ลายพระหัตถ์ผู้บัญชาการยุทธนาธิการ และพระบรมราชวินิจฉัย รวมแจ้งความที่ลงในพระราชกิจจานุเบกษา...ล้วนสอดรับเป็นเรื่องเดียวกัน จึงยืนยันได้ว่า ผู้ที่กราบบังคมทูล...ขอให้ลงพระราชอาญาโบยหลังทหารนั้นคือ พลโท พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ

หาใช่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ดังที่กล่าวอ้างกัน


วรชาติ มีชูบท ทิ้งท้าย...การลงอาญาโบยฐานละเมิดวินัยทหาร เพิ่งยกเลิกเปลี่ยนเป็น  “มัดมือ” แทน เมื่อมีการประกาศใช้ “กฎว่าด้วยยุทธวินัย และการลงอาญาทหารบกละเมิดยุทธวินัย” เมื่อ ๒๓ ก.ย.๒๔๖๔

ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การลงอาญาโบยนายและพลทหารทั้ง ๕ นาย...นั้น เป็นการลงอาญาฐานละเมิดยุทธวินัย หาใช่การลงโทษตามจารีตนครบาล ดังที่คณะกบฏ ร.ศ.๑๓๐ กล่าวอ้างไว้แต่ประการใดเลย.
...บาราย...หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๗


กรุณาอ่านย้อนก่อนหน้ากระทู้นี้ เพิ่มเติมความรู้อีก ๒ กระทู้ค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤศจิกายน 2558 14:42:55 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 17 มีนาคม 2558 11:57:42 »

.


กลุ่มชาวจีนกลุ่มหนึ่ง ที่เคยอาศัยในภูเก็ตเมืองครั้งก่อน
ภาพจาก : เว็บไซต์ภูเก็ตอินเด็กซ์ดอทคอม

เงินผูกปี้

                        ฯลฯ
เปิดสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อ่านเจอเรื่องเงินผูกปี้  “ปี้” เป็นภาษาจีน หมายถึง เงินตราแลกเปลี่ยนซื้อขาย แต่อีกความหมาย ปี้ สำหรับใช้แทนเงินในบ่อน

สมัยก่อนมีโรงบ่อนเบี้ย ปี้ทำด้วยกระเบื้อง ที่ทำด้วยทองเหลืองหรือแก้วก็มี

สมเด็จฯ กรมดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในตำนานเงินตราว่า...ปี้กระเบื้องนั้น เดิมเป็นแต่คะแนน สำหรับเล่นในโรงบ่อน จีนเจ้าของบ่อนคิดทำขึ้นเพื่อให้ใช้ขอลากได้บนเสื่อ สะดวกกว่าเงินตรา เวลาคนไปเล่นเบี้ย ให้เอาเงินไปแลกปี้มาเล่น

สาเหตุที่มีการผูกปี้ข้อมือจีน สมัยอยุธยาตอนปลายถึงต้นรัตนโกสินทร์ มีชาวจีนจำนวนมากอพยพเข้าไทย จีนส่วนใหญ่เป็นแรงงาน โยกย้ายไปทำมาหากินไม่เป็นที่ ต่างกับคนไทยที่ต้องติดที่ ขึ้นกับมูลนายในระบบไพร่

สมัยรัชกาลที่ ๒ เอกสารราชการ ปรากฏครั้งแรก รัชกาลที่ ๓ ชาวจีนเสียเงินผูกปี้ ในอัตรา ๔ บาท ๖ บาท และ ๘ บาท ตามเวลาที่ถูกเกณฑ์แต่ละครั้ง ซึ่งอาจเป็น ๑ เดือน เดือนครึ่ง หรือสองเดือน

ในรัชกาลที่ ๔ เก็บ ๓ ปีต่อ ๑ ครั้ง กำหนดวันทำงานเป็น ๑ เดือน เสียเงินแทนการเกณฑ์แรงงาน ๔ บาท ค่าฎีกา ๑ สลึง

หากไม่ประสงค์จะผูกปี้ ก็ต้องเสียเงินแทน ๖ บาท ค่าฎีกา ๒ สลึง

วิธีผูกปี้ เริ่มที่เจ้าพนักงานจะใช้เชือกป่าน (ต่อมาใช้แถบสีแดง) ผูกข้อมือซ้าย เหลือชายไว้ราว ๑ นิ้ว ใช้ครั่งกดติดที่ปมเชือก ประทับตราด้านละ ๑ ดวง

ผูกปี้แล้ว ก็ต้องผูกปี้ไว้กับข้อมือ ๕ เดือน หากปี้แตกหักจะต้องไปผูกใหม่ จนสิ้นเดือนธันวาคม จึงทิ้งปี้ข้อมือได้

ต่อมารัชกาลที่ ๕ ทรงเห็นความทุกข์ยากและความน่ารังเกียจในการผูกข้อมือจีน และความไม่เท่าเทียมกับคนไทย โปรดให้เลิกเมื่อ ๒๖ มี.ค. ๒๔๕๑
                         ฯลฯ



ที่มา : “เงินผูกปี้” โดย กิเลน ประลองเชิง คอลัมน์ชักธงรบ น. ๓ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันพุธที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๘





สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์
จากข้อเขียนของ ส.พลายน้อย หนังสือ "เกร็ดโบราณคดีประเพณีไทย" ชุดที่ ๑ ว่า เรื่องราวของไม้จันทน์เป็นเรื่องที่ติดอยู่ในพงศาวดารของไทยมาช้านาน เป็นไม้ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและประเพณี มีเรื่องที่ควรแก่การศึกษาอยู่มาก

ที่กล่าวว่ามีเรื่องอยู่ในพงศาวดาร ก็คือการประหารด้วยท่อนจันทน์ ธรรมเนียมการประหารเจ้านายสมัยก่อนเขาจะใช้วิธีประหารด้วยท่อนจันทน์ อย่างเมื่อครั้งพระศรีศิลป์จับเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ออกจากราชสมบัติ "ก็ให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เอาพระศพไปฝัง ณ วัดโคกพระยา" นี่เป็นข้อความที่กล่าวไว้ในหนังสือพงศาวดาร ซึ่งเราจะเห็นว่าการสำเร็จโทษเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์นั้นใช้ท่อนจันทน์สำเร็จโทษทั้งนั้น และวัดที่ฝังพระศพเจ้านายในสมัยนั้นก็คือวัดโคกพระยาแห่งเดียว เมื่อมีการประหารคราวใดก็ต้องพูดถึงวัดนี้ทุกครั้ง และดูเหมือนว่าได้บ่งไว้ในกฎหมายทีเดียว เมื่อประหารแล้วจะต้องฝังที่วัดโคกพระยา หรือใช้วัดโคกพระยาเป็นที่ประหาร คำว่าโคกพระยาก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นสถานที่เฉพาะเจ้านาย ในสมัยรัตนโกสินทร์เขาก็ประหารนักโทษกันแถววัดโคกเหมือนกัน แต่ว่าเป็นวัดโคกเฉยๆ ไม่ใช่โคกพระยา เพราะเป็นสถานที่ประหารนักโทษทั่วไป ไม่ใช่พวกเจ้า ถ้าประหารเจ้านายเขาประหารกันที่วัดสำเพ็ง

การประหารชีวิตนั้นเขาแบ่งชั้นกันด้วย คือคนธรรมดาสามัญประหารที่แห่งหนึ่ง เจ้านายประหารอีกแห่งหนึ่งไม่ปะปนกัน นอกจากนี้วิธีประหารก็ไม่เหมือนกันอีก ต้องเป็นไปตามยศตามศักดิ์ ถ้าเป็นเจ้านายใช้ท่อนจันทน์ประหาร คือตีด้วยท่อนจันทน์ ถ้าเป็นคนธรรมดาก็ใช้ดาบฟันคอ

การประหารด้วยท่อนจันทน์นี้ไทยเราจะได้รับแบบอย่างมาจากไหน หรือคิดขึ้นเอง ยังหาหลักฐานไม่พบ ตามกฎหมายโบราณที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้บัญญัติการลงโทษเจ้านายไว้ตอนหนึ่งว่า "ถ้าแลโทษหนักถึงสิ้นชีวิตไซร้ ให้ส่งแก่ทลวงฟันหลัง แลนายแวงหลังเอาไปมล้างในโคกพญา นายแวงนั่งทับตักขุนดาบ ขุนใหญ่ไปนั่งดู หมื่นทลวงฟัน กราบ ๓ คาบ ตีด้วยท่อนจันทน์แล้วเอาลงขุม นายแวงทลวงฟันผู้ใดเอาผ้าทรงแลแหวนทอง โทษถึงตาย เมื่อตีนั้น เสื่อขลิบเบาะรอง"

นี่เป็นกฎมณเฑียรบาลที่บัญญัติการลงโทษเจ้าฟ้าและเจ้านายชั้นสูงไว้ ดังนี้จะเห็นว่าการตีด้วยท่อนจันทน์ได้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นแล้ว ปัญหาที่น่ารู้ต่อไปก็คือ ทำไมจึงต้องใช้ท่อนจันทน์ การที่คนไทยเราไม่นิยมใช้วิธีประหารชีวิตเจ้านายด้วยการตัดศีรษะ ได้เคยอ่านพบในหนังสือเล่มหนึ่ง เขากล่าวว่า คงจะเนื่องมาจากไม่ต้องการให้เลือดตกถึงพื้นดินนั่นเอง ดังนั้น จึงหาทางประหารด้วยการทุบด้วยท่อนจันทน์ เพื่อจะได้ไม่ต้องมีเลือดตกลงแผ่นดินให้เป็นอุบาทว์แก่บ้านเมือง

การทุบด้วยท่อนจันทน์จึงเท่ากับเป็นการให้เกียรติอย่างหนึ่ง เพราะไม้จันทน์เป็นไม้ที่ถือกันมาแต่โบราณว่าเป็นไม้ดีมีค่าหายากราคาแพง นี่เป็นเหตุผลประการแรก และอีกประการหนึ่ง การถูกประหารด้วยมีดเป็นการทำให้ศีรษะขาดออกจากตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ถือกันมาก ตามประเพณีจีนเขาก็ถือกันว่าการถูกลงโทษตัดศีรษะทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศยิ่งกว่าการลงโทษแบบใดๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้นพวกขุนนางหรือเจ้านายของจีนจึงถือว่าการที่พระเจ้าแผ่นดินประทานผ้าแพรให้รัดคอตายนั้นเป็นเกียรติอย่างยิ่งทีเดียว ในสมัยกุบไลข่านมีเรื่องเล่ากันว่า ครั้งหนึ่งพระองค์ได้จับลุงที่ก่อการจลาจลด้วยการมัดแล้วห่อด้วยพรมให้พวกทหารโยนไปโยนมา จนกระทั่งลุงถึงแก่ความตาย การที่กุบไลข่านต้องทำเช่นนั้นเพราะไม่ต้องการให้เลือดกษัตริย์ต้องตกลงถูกพื้นดินนั่นเอง

การประหารชีวิตด้วยท่อนจันทน์ของไทยเข้าใจว่าจะสิ้นสุดลงในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระราชวงศ์องค์สุดท้ายที่ถูกทุบด้วยท่อนจันทน์คือกรมหลวงรักษ์รณเรศ ซึ่งถูกสำเร็จโทษเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๑
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มิถุนายน 2560 17:19:52 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.553 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 15:39:55