[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 03:26:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หัวใจเศรษฐี : ทีฆชาณุสูตร  (อ่าน 3529 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 21:53:02 »





หัวใจเศรษฐี : ทีฆชาณุสูตร
(ทีฆชาณุสูตร ๒๓/๒๕๖)

สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกฬิยะ ชื่อว่ากักกรปัตตะ
ในครั้งนั้น มีชายคนหนึ่งชื่อทีฆชาณุ หรืออีกนามหนึ่งว่าพยัคฆปัชชะ

ได้เข้าไปเฝ้า แล้วกราบทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์เจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ ยังบริโภคกาม อยู่ครองเรือน…
ยังยินดี
ทองและเงินอยู่


ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรม ที่เหมาะแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
 เพื่อความสุขในปัจจุบัน   เพื่อประโยชน์และความสุขในภายหน้าเถิด พระเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า

“พยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ และเพื่อความสุขในปัจจุบัน
แก่กุลบุตร คือ

๑. อุฏฐานสัมปทา ๒. อารักขสัมปทา ๓. กัลยาณมิตตตา ๔. สมชีวิตา…”

(ทีฆชาณุสูตร ๒๓/๒๕๖)


ลายแทง ๔ ข้อนี้ จัดว่าเป็น “หัวใจเศรษฐี” ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่ทีฆชาณุ
ที่เราเอามาย่อว่า อุ อา กะ สะ มีคำอธิบายโดยย่อ ดังนี้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มีนาคม 2554 08:20:25 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 22:03:11 »





1. อุ ย่อมาจากคำว่า อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ให้ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร
ในการแสวงหาความรู้

หนักเอาเบาสู้ในหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย กิจการทั้งหลายต้องรู้จักรับผิดชอบ
โบราณกล่าวว่า ทรัพย์นี้มิไกล ใครปัญญาไว หาได้บ่นาน

ทั่วแคว้นแดนดินมีสิ้นทุกสถาน ผู้ใดเกียจคร้าน บ่พานพบนา ซึ่งหมายถึง ทรัพย์สินเงินทอง
มีอยู่ทุกหนแห่ง ขออย่างเดียวอย่าเกียจคร้านให้ลงมือทำงานทุกชนิดอย่างจริงจังตั้งใจ

งาน คือ ชีวิต ชีวิต คือ งานบันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน มิใช่รอความสุข
จากความสำเร็จของงานอย่างเดียวขาดทุนและขอให้ถือคติว่า ขี้เกียจเป็นแมลงวัน

ขยันเป็นแมลงผึ้ง ขี้หึงเป็นแมลงป่อง จองหองเป็นกิ่งก่า

ความถึงพร้อมด้วย

ความขยันหมั่นเพียร หมายถึง ถ้าอยากเป็นเศรษฐี ก่อนอื่นต้องมีความขยันหมั่นเพียร
เริ่มตั้งแต่ต้องขยันหมั่นเพียรในการแสวงหาความรู้ วิชาการต่าง ๆ

ตลอดจนการเรียนรู้วิชาชีพ ขยันหมั่นเพียรในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมายใ
ห้กระทำโดยไม่บกพร่อง และพยายามแก้ไขการงานที่ได้รับมอบหมาย

หรือที่กระทำอยู่ให้ดียิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา

เพื่อให้การงานมีประสิทธิภาพและได้ผลดีที่สุด ต้องขยันทำมาหากิน โดยไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค
ที่ต้องเผชิญหน้า ตลอดจนต้องคอยศึกษาหาความรู้

สำหรับใช้รักษาตัวเองและครอบครัวมิให้เกิดการเจ็บป่วยด้วย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 พฤษภาคม 2554 10:52:06 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 22:15:25 »


2. อา ความถึงพร้อมด้วยการความหมั่นรักษา หมายถึง
เมื่อได้รับมอบหมายการงานอะไรให้กระทำ หรือเมื่อได้ดำเนินกิจการงานอะไร

ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือของคนอื่นก็ดี

ต้องเป็นคนมีความรับผิดชอบในการงานหรือกิจการนั้น ๆ มิให้บกพร่องต่อหน้าที่
อะไรที่ยังทำไม่ดีก็พยายามทำให้ดี อะไรที่ต้องแก้ไขปรับปรุงให้ดี

เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานต้องหมั่นดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา
โดยไม่ปล่อยปะละเลย เช่น มีอะไรชำรุดเสียหายก็แก้ไขให้ดี

ตลอดไปจนถึงต้องรู้จักรักษาทรัพย์สินเงินทองที่เกิดจากการปฏิบัติงาน เกิดจากการทำมาหากิน
หรือที่รับผิดชอบอยู่มิให้สูญเสียหรือใช้ไปให้สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์

หรือปราศจากเหตุผลอันสมควรหน้าที่การงานที่กระทำอยู่ หรือกิจการส่วนตัวที่ดำเนินอยู่ก็อย่าให้ต้อง
หลุดมือไปง่าย ๆ เพราะการงานที่ทำแต่ละอย่างไม่ใช่จะหาได้ง่ายนัก

ฉะนั้น เมื่อได้การงานใด ๆ แล้ว ก็อย่าทำให้งานที่ทำนั้นต้องหลุดไป นอกจากกรณีที่เราได้งาน
หรือกิจการใหม่ที่เราพิจารณาเห็นชัดแล้วว่าจะต้องทำให้เราดีกว่าเดิมได้

จึงค่อยพิจารณาเปลี่ยนแปลง ถ้าการงานหรือกิจการที่ดำเนินการอยู่ดีอยู่แล้ว ต้องพยายามรักษาให้ดีที่สุด
และต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ และประการสำคัญไม่ว่าจะทำงานกับใคร

ที่ไหนก็ตามต้องถือว่างานนั้นเป็นงานของเราเอง เพราะถ้ากิจการของเขาเจริญขึ้น
เราก็จะพลอยได้ผลประโยชน์ไปด้วย ถ้ากิจการของเขาเลวลง เราก็จะต้องพลอยลำบากไปด้วย
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มีนาคม 2554 08:38:54 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 22:31:01 »



3. กะ ย่อมาจากคำว่า กัลยาณมิตตตา แปลว่า การมีเพื่อนเป็นคนดี
ไม่คบคนชั่ว เพราะคบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล

 คบคนจึงต้องดูหน้าว่าเพื่อนเป็นคนดีที่มีลักษณะไม่เป็นคนปอกลอก ไม่ดีแต่พูด
ไม่หัวประจบและไม่เป็นคนชักชวน ไปในทางฉิบหาย

มีการดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน มั่วเมาในการเล่นและผีการพนันเข้าสิงจิตใจ และขอให้ถือคติว่า
มีเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา

เหมือนมีเกลือนิดหน่อยด้อยราคา ดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล



กัลยาณมิตรธรรม 7 องค์คุณของกัลยาณมิตร , คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้

คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ คือ ท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ
ในที่นี้มุ่งเอามิตรประเภทครูหรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ

1.น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม (ปิโย )
2.น่าเคารพ ในฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้ และปลอดภัย (คร)

3.น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุง ตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ ( ภาวนีโย)

4.รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน
เป็นที่ปรึกษาที่ดี ( วตฺตา จ)

5.อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา ชักถาม คำเสนอ และวิพากษ์วิจารณ์ อดทนฟังได้ ไม่เบื่อไม่ฉุนเฉียว ( วจนกฺขโม)

6.แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจและให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ่งยิ่งขึ้นไป
7.ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
(โน จฏฺฐาเน นิโยชเย)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มีนาคม 2554 08:52:22 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 23:03:07 »



มิตรปฏิรูปก์ หรือ มิตรเทียม 4 คนเทียมมิตร , คนที่พึงทราบว่าเป็นศัตรูผู้มาในร่างของมิตร

1.คนปอกลอก คนขนเอาของเพื่อนไปถ่ายเดียว อัญญทัตถุหร มีลักษณะ 4 คือ

1.1 คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
1.2 ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอาให้มาก

1.3 ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
1.4 คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์

2.คนดีแต่พูด วจีบรม มีลักษณะ 4 คือ  

2.1 ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
2.2 ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย

2.3 สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
2.4 เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง

3.คนหัวประจบ อนุปปิยภาณี มีลักษณะ 4 คือ

3.1 จะทำชั่วก็เออออ
3.2 จะทำดีก็เออออ

3.3 ต่อหน้าสรรเสริญ
3.4 ลับหลังนินทา

4.คนชวนฉิบหาย อปายสหาย มีลักษณะ 4 คือ

4.1 คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
4.2 คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน

4.3 คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
4.4 คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน


*****

4. สะ ย่อมาจากคำว่า สมชีวิตา แปลว่า การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้
 รู้จักกำหนดรายรับและรายจ่าย

อย่าให้สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยหรืออัตคัดขัดสนจนเกินไปให้รู้จักออมเงิน

ออมเงินเอาไว้ ฉุกเฉินเมื่อไร จะได้ใช้เงินออม และขอให้ถือคติว่า

มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ แม้มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน



 รัก  :  http://taradharma.exteen.com/20070324/entry
Pics by : Google



โดย : ธารธรรม
เรียนขออนุญาตนำมาเผยแผ่...
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มีนาคม 2554 09:45:26 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 11.0.696.65 Chrome 11.0.696.65


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2554 10:53:58 »




ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔
“ธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในปัจจุบัน”

๑. ความหมายของทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔

เรื่องทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ แปลว่า “ธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในปัจจุบัน” หมายถึงประโยชน์อันพึงได้รับจากการประกอบกิจการหรือมีอาชีพที่สุจริต ถูกต้องทั้งทางกฎหมายและศีลธรรม ผลประโยชน์ที่ได้จากการประกอบกิจนั้น เป็นผลที่ได้ทันตาเห็นไม่ต้องรอถึงภายภาคหน้า

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการประกอบกิจ อาจจะเป็นเงิน สิ่งของ ชื่อเสียง เกียรติยศ การยกย่องสรรเสริญ หรือกลบ่าวอย่างง่าย ๆ ว่าเป็นผลประโยชน์อาจเป็นวัตถุหรือผลตอบแทนทางด้านจิตใจก็ได้ อาจเป็นสิ่งที่บุคคลทั่ว ๆ ไปปรารถนา การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะได้มาซึ่งประโยชน์นั้น จะต้องแสวงหาอย่างมีหลักการและมีแผนการ ซึ่งหลักการและแผนการนี้ เรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในปัจจุบัน อันมีอยู่ ๔ ประการ คือ

๑. ความขยันมั่นเพียร
๒. การรู้จักรักษาทรัพย์และประหยัด
๓. คบคนดีเป็นมิตร
๔. เลี้ยงชีพตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาให้

คนดีเมื่อมีทรัพย์สมบัติและบริวารแล้ว ควรปฏิบัติธรรมเรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
คือ ธรรมอันเป็นเหตุให้ได้ประโยชน์ในปัจจุบัน คือ

๑. อุฏฐานสัมปทา มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบกิจหน้าที่การงานหรือการศึกษาเล่าเรียน (ขยันหา)
๒. อารักขสัมปทา รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ หรือรักษาความดีให้คงอยู่ (รักษาดี)
๓. กัลยาณมิตตา คบแต่คนดีเป็นมิตร (มีกัลยาณมิตร)
๔. สมะชีวิตา ใช้จ่ายเลี้ยงชีพให้เหมาะสมแก่ฐานะ ไม่ฟุ่มเฟือย หรือ สุรุ่ยสุร่าย หากบุคคลใดตั้งอยู่ในคุณธรรมเหล่านี้ จะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ (เลี้ยงชีวิตตามควร)

หลักทางศาสนาเกี่ยวกับการใช้จ่ายเลี้ยงชีพ เป็น “สมะชีวิตา” นั้น ให้แบ่งทรัพย์ที่หามาได้เป็น ๕ ส่วน ดังนี้

“ทิ้งเหว – ใส่ปากงู – ให้เขากู้ – ฝังดินไว้ – ใช้หนี้เก่า”

๑. ใช้หนี้เก่า ๑ ส่วน ให้บำรุงเลี้ยงดูบุพพการี บิดามารดา ญาติ พี่น้องและมิตรสหาย
๒. ทิ้งลงเหว ๑ ส่วน สำหรับใช้จ่ายบริโภค
๓. ใส่ปากงู ๑ ส่วน ให้ภรรยาเก็บไว้ยามขาดแคลนและป่วยไข้ ได้รักษา
๔. ให้เขากู้ ๑ ส่วน ให้เลี้ยงดูบุตรธิดาศึกษาเล่าเรียน
๕. ฝังดินไว้ ๑ ส่วน ให้ทำบุญให้ทานฝากไว้ในพระพุทธศาสนา ทำลายมัจฉริยะตระหนี่

อมฤตธรรม
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarittadham&month=01-2008&date=17&group=7&gblog=19

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.321 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 20:05:16