[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 15:30:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'วิถีชีวิต...จิตอาสา' ความดีคือกำไรใจคือทุน  (อ่าน 1862 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 ธันวาคม 2553 17:26:28 »


เรียนรู้แนวทางแห่ง 'ฉือจี้'
'วิถีชีวิต...จิตอาสา' ความดีคือกำไรใจคือทุน


คำว่า “จิตสำนึกสาธารณะ” “จิตอาสา” อาจเรียกต่างกัน หากแต่ 2 คำนี้ล้วนมีวัตถุประสงค์เดียว ราชบัณฑิตยสถานนิยามความหมายว่า การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติให้ความหมายว่า หมายถึง การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ มีสำนึกและยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม และมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

เรื่องนี้สำคัญยิ่งต่อวิถีชีวิตผู้คนในสังคมปัจจุบัน เมื่อเร็ว ๆ นี้นสพ.“เดลินิวส์” ร่วมเดินทางไปกับคณะของ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ โรงพยาบาลชลประทาน มหา วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ที่ไปศึกษาดูงาน “โมเดลจิตอาสา” ของ มูลนิธิพุทธฉือจี้ แห่งไต้หวัน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดองค์กรการกุศลและอาสาสมัครที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก กล่าวโดยย่อ มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน ก่อตั้งโดยภิกษุณีเมื่อราว 40 ปีก่อน โดยธรรมาจารย์ “เจิ้งเอี๋ยน” มีภารกิจให้บริการแก่สังคม ปัจจุบันมีสาขาและจุดประสานงานกระจายอยู่ 60 ประเทศทั่วโลก

ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของมูลนิธิ มาจากการบริจาคของประชาชนและอาสาสมัคร ซึ่งมีสมาชิกคอยให้การสนับสนุนด้านการเงินประมาณ 10 ล้านคนทั่วโลก และจากจุดเริ่มต้นที่เป็นเพียงกลุ่มแม่บ้านราว 30 คน ปัจจุบันมีอาสาสมัคร หรือที่เรียกกันว่า “ชาวฉือจี้” ทำหน้าที่ปฏิบัติงานกรณีต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วโลกกว่า 4 ล้านคน รวมถึงในประเทศไทยด้วย ทั้ง นอกจากภารกิจบรรเทาทุกข์ ก็ยังมีภารกิจสำคัญ ๆ ทั้งด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล รวมถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใต้ปรัชญาที่มาจากคำว่า “ฉือ” ที่หมายถึง เมตตา และ “จี้” ที่หมายถึง การช่วยเหลือสงเคราะห์ อย่างไรก็ดี ขนาดและจำนวนอาจเป็นเรื่องเล็ก เมื่อพินิจภารกิจและสาระของฉือจี้ เพราะนี่ถือเป็น “ต้นแบบจิตอาสา” ที่สำคัญ

กับมุมมองคนไทยที่ไปดูงานฉือจี้ พงศ์โศภณ ดอนเส ประธานสภานิสิต กล่าวว่า มุมมองในเรื่องจิตอาสาเพิ่มขึ้นมาก หลังได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวฉือจี้ ที่นำเรื่องนามธรรมมาทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดโอกาสให้คนทุกชนชั้นมีโอกาสทำความดีได้โดยง่าย ขณะที่ สังคมไทยมักจะแค่คิด แต่ไม่ทำ มีเพียงความรู้สึก แต่ไม่มีพลังขับเคลื่อนให้เกิดผลจับต้องได้ “พลังจิตอาสาของคนที่นี่เข้มแข็งมาก แม้แต่เด็กที่มาทำงานก็สัมผัสได้ถึงความจริงจังทุ่มเท ทุกคนไม่มีอภิสิทธิ์พิเศษ ไม่เกี่ยวกับคะแนนสอบหรืออะไร แต่เลือกที่จะทำ เพราะเชื่อว่าถ้าสังคมดี ชีวิตเขาจะดีตามด้วย”

ธนทัต อนิวรรตน์ นายกองค์การนิสิต กล่าวว่า การบ่มเพาะจิตใจในระบบการศึกษาของฉือจี้มีส่วนช่วยแก้ปัญหาสังคมได้เยอะ ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ทำให้คนเห็นว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว “ชื่นชมที่ฉือจี้ปลูกฝังเรื่องการเคารพตนเอง การเคารพผู้อื่นได้ดีมาก รวมถึงกล่อมเกลาให้ผู้คนมีจิตใจที่อ่อนโยน และกระหายที่จะสร้างความดี ซึ่งแตกต่างจากสังคมไทยในปัจจุบัน” ธนทัตให้ความเห็น

ทพ.วินัย นันทสันติ หนึ่งในคณะ สะท้อนมุมมองว่า เป็นพลังจิตอาสาที่แข็งแรงมาก จุดเด่นที่พบและคิดว่าน่าจะทำให้มูลนิธิแห่งนี้เติบโตและหยั่งรากลงสู่จิตใจผู้คนทั่วโลก น่าจะเกิดจากความเพียรของอาสาสมัครที่ทำงานหนัก โดยทราบว่าทุกคนที่มาช่วยไม่มีใครมีสิทธิพิเศษ ซ้ำยังต้องควักทุนตนเองเพื่อทำงานช่วยเหลือสังคม และไม่เฉพาะคนธรรมดา แม้แต่ ภิกษุณี ก็มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด และทุกคนต้องทำงานโดยไม่มีการแบ่งแยก สิ่งที่ประทับใจคือ แม้งานหนักเหนื่อยแต่ไม่มีใครบ่น หากมีรอยยิ้มเจือปนใบหน้าเสมอ

สิ่งนี้ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการทำความดีอย่างยิ่ง และอีกส่วน คือวิธีการกล่อมเกลาจิตใจของฉือจี้ที่มีการ นำเอาวิชาจริยศาสตร์ เช่น การชงชา, การจัดดอกไม้ ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทุกระดับ ทำให้จิตใจทุกคนดูอ่อนโยน ตรงนี้เป็นความลุ่มลึกที่ลึกซึ้งของฉือจี้ “เมื่อมองย้อนกลับมาที่ระบบการศึกษาไทยที่ส่วนใหญ่เน้นไปที่การผลิตคนเก่ง แต่มีคำถามเรื่องความดีงาม จุดนี้ถ้าเราสามารถนำมาปรับใช้ได้ก็น่าจะเป็นเรื่องดี ถือว่าเป็นวิธีการที่น่าสนใจของฉือจี้”

พญ.กนิษฐา กิจสมบัติ ก็แสดงความเห็นว่า ประทับใจวิธีการที่ใช้ดึงความดีงามในจิตใจของคนออกมาได้โดยไม่ได้ทำให้เป็นคนดีอย่างเดียว แต่ทำให้ความดีแสดงออกมาด้วย ส่วนตัวประทับใจวิธีการที่ฉือจี้ใช้ในการบ่มเพาะ “เมล็ดพันธุ์ความดีงาม” ให้กับผู้คนทุกระดับ โดยเฉพาะการปลูกฝังเรื่องจิตสงสาร เรื่องความเมตตาในบุคลากรทางการแพทย์ทำให้บุคลากรมีความเป็นจิตอาสาพร้อมทำงานช่วยเหลือสังคมเต็มที่แบบไม่ต้องบังคับ เมื่อมองสะท้อนมาที่ไทย เชื่อว่าสังคมไทยมีความเมตตาอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่มีกระบวนการหรือยังไม่มีวิธีการที่มีประสิทธิภาพพอที่จะทำให้ความดีแสดงพลังออกมาได้แบบฉือจี้

อีกเรื่องที่ประทับใจ คือเรื่อง “บรมครูผู้ไร้เสียง” หรือที่คนเรียนแพทย์รู้จักดี ในชื่อ “อาจารย์ใหญ่” คือผู้บริจาคร่างสำหรับการเรียนของนิสิตแพทย์โดยกระบวนการคล้ายกับไทย ต่างกันที่รายละเอียด ที่นี่จะนำครอบครัวของผู้บริจาคมาพูดคุยกับนิสิต เพื่อให้ทราบเรื่องราวและเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของผู้บริจาค วิธีการที่เขาใช้ แสดงออกถึงการให้เกียรติและการให้ความเคารพอย่างสูง “ระบบของเราก็คล้ายกัน แต่แตกต่างกันที่รายละเอียด จุดเด่นของฉือจี้คือทำให้นิสิตแพทย์เกิดจิตสงสาร เกิดจิตเมตตา เพราะทำให้เกิดความผูกพันและเห็นความสำคัญของการเป็นผู้ให้ และเคารพในความเป็นมนุษย์”

นพ.สมดี รัตนาวิบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุฯ กล่าวว่า การได้เยี่ยมชมฉือจี้ ทำให้ตระหนักในเรื่องการทำความดี วิธีการที่จะช่วยให้สังคมมั่นใจในการทำความดี แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ได้สัมผัส แต่ก็รู้สึกได้ว่ากระบวนการสร้างความเป็นจิตอาสาของที่นี่มีความลุ่มลึกและยั่งยืนมากในการปฏิบัติ นอกจากจะสร้างจิตอาสาให้กับผู้คนในองค์กรแล้ว ฉือจี้ยังหว่านเมล็ดพันธุ์จิตอาสาออกไปให้กับผู้คนทั้งโลก ผ่านภารกิจและการปฏิบัติตน ทำให้เกิดคำถามไม่รู้จบ ทำให้เกิดความเลื่อมใส นอกจากนี้ ด้วยความที่องค์กรมีปณิธานชัดเจนในการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและความขัดแย้งใด ๆ โดยยึดหลัก “ช่วยเหลือแบบไม่มีข้อแม้” จึงทำให้ฉือจี้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของพรมแดนหรือเชื้อชาติ จึงสามารถเข้าไปปฏิบัติภารกิจในประเทศต่าง ๆ ได้ง่าย โดยที่องค์กรอื่นอาจทำไม่ได้ เรื่องของฉือจี้จึงถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก
“ผมมองว่า แม้ไทยเราจะทำได้ไม่ง่าย แต่เชื่อว่าคงไม่ยากเกินไป ถ้าเข้าใจวิธีการ จุดเด่นของฉือจี้คือผู้คนมีความเป็นจิตอาสาที่เข้มแข็ง ผมมองว่าสังคมไทยควรศึกษาวิธีการและหลักคิดของฉือจี้ ถ้าเราทำได้ผมเชื่อว่าเราคงจะมีโซเชี่ยลโพรฟิต และมีสังคมที่ดีขึ้นกว่านี้แน่นอน”

โมเดลสร้างคนดี

นพ.เฉลิมชัย บุณยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มศว ระบุถึงการเยือนเพื่อศึกษาแนวทางของมูลนิธิฉือจี้ว่า... เพื่อต้องการสะท้อนและทำให้เกิดความมั่นใจว่าเรื่องของ “จิตอาสา” มีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้จริงอยู่ในโลก จิตอาสามีการทำสำเร็จในโลกนี้จริง ซึ่งเวลาเราคิดทำเรื่องจิตอาสา หรือสอนให้คนทำความดี เรามักบอกแต่เรื่องทางนามธรรม แต่ที่นี่สามารถจับต้องรับรู้ได้

การผลิตคนของฉือจี้เน้น “การสร้างคนดีทุกระดับ” โดยนำวิชาการเชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกับคุณธรรมความดี ซึ่งกับความประทับใจในฉือจี้ แบ่งเป็น 5 ประเด็นใหญ่คือ
1.การชอบทำงานที่คนอื่นคิดว่าทำแล้วทุกข์ มีการสอนว่าทำงานต้องมีความสุข ต้องไม่ลืมว่าความสำเร็จมีวันเดียว แต่วิธีการไปถึงอาจต้องใช้เวลานาน ถ้าคนทำงานมีความสุข ไม่ว่าเป้าหมายจะนานแค่ไหน คนทำก็จะไม่หยุดเพราะมีความสุขในการทำ ซึ่งเป็นวิธีที่ยั่งยืน
2.การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีการปลูกฝังอาสาสมัครว่าต้องเคารพ ให้เกียรติ และขอบคุณคนที่รอความช่วยเหลือว่าเป็นผู้มีพระคุณที่เปิดโอกาสให้ได้ทำดี
3.การสอนให้ทำงานด้วยปณิธาน ปัญญา และประณีต
4.การสอนให้ทำความดีทันทีแบบไม่มีเงื่อนไข ทำได้แค่ไหนเอาเท่านั้น ห้ามตั้งข้อแม้เมื่อจะทำความดี
5.ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

“เรื่องแรก เป็นวิธีสอนให้อดทน
เรื่องที่สอง สอนให้เราลดตัวเองให้เล็กลง
เรื่องที่สาม เตือนว่าเวลาเราทำความดีต้องทำอย่างมีสติ มีเหตุผล มีความ ละเมียดละไม เข้าใจในความเป็นมนุษย์
เรื่องที่สี่ สอนให้เรารู้ว่าความดีทำได้ทุกที่ ไม่ต้องรอให้พร้อมก่อนถึงจะทำ ให้ทำไปเลย ไม่ต้องตั้งเงื่อนไข
เรื่องสุดท้าย คือเมื่อทำงานจิตอาสาซึ่งเป็นงานเสียสละ ไม่ควรร้องขอมากเกินไป เพราะแทนที่จะได้ช่วยอาจกลายไปเป็นการเพิ่มภาระให้คนอื่นแทน

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีคิดที่ฉือจี้ทำออกมาได้ดีมาก เพราะถ้าคุณทำงานแบบนี้ คำถามพวกนี้ต้องไม่มี แล้วงานมันจะเดินง่าย การมาเห็นฉือจี้ทำให้เรารับรู้ว่าแบบไหนที่เรียกว่าจิตอาสาที่แท้จริง”


เดลินิวส์ 5 กย.53

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
จิตอาสา พลังสร้างโลก บทเรียนรู้จากขบวนการพุทธฉือจี้ไต้หวัน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 7 4953 กระทู้ล่าสุด 13 มิถุนายน 2553 16:54:00
โดย มดเอ๊ก
จิตอาสา พลังสร้างโลก บทเรียนรู้ จาก ขบวนการพุทธฉือจี้ ไต้หวัน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
หมีงงในพงหญ้า 9 7984 กระทู้ล่าสุด 24 พฤศจิกายน 2553 11:37:55
โดย หมีงงในพงหญ้า
ภาพเล่าเรื่อง ดูอารยธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่นสมัยโบราณ
สุขใจ ไปรษณีย์
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 5 3821 กระทู้ล่าสุด 09 ธันวาคม 2554 19:38:27
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
รายการ "พื้นที่ชีวิต" ตอน ฉือจี้ ชุมชนคนทำดีที่ไต้หวัน จิตอาสา พลังสร้างโลก
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1699 กระทู้ล่าสุด 07 พฤศจิกายน 2555 22:59:49
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวด่วน] - จิตอาสา มทบ.33 เร่งซ่อมแซมบ้าน ปชช.ที่ป่าตอง หลังประสบวาตภัย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 190 กระทู้ล่าสุด 20 เมษายน 2565 00:08:51
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.372 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 08 เมษายน 2567 19:24:26