[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 23:48:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บททดสอบที่สำคัญที่สุดของชีวิต พระไพศาล  (อ่าน 2162 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 ธันวาคม 2553 14:18:26 »




บททดสอบที่สำคัญที่สุดของชีวิต
(พระไพศาล วิสาโล)

ความ ตายเป็นสิ่งแน่นอนสำหรับทุกชีวิต แต่ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เพราะเราไม่อาจกำหนดหรือคาดทำนายได้ว่าจะตายเมื่อใด ที่ไหน และด้วยสาเหตุอะไร แม้แต่นักโทษประหารหรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็อาจจบชีวิตด้วยสาเหตุที่ไม่คาด ฝัน ทั้งความแน่นอนและไม่แน่นอนนี้เองมีส่วนทำให้ความตายเป็นเรื่องน่าสะพรึง กลัวมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับผู้คนที่ปรารถนาจะควบคุมทุกอย่างไว้ในอำนาจ

เป็น เพราะเห็นความตายเป็นเรื่องน่าสะพรึงกลัว เราจึงไม่อยากนึกถึงความตายของตนเอง (แต่อาจสนใจอยากรู้ความตายของคนอื่น ทั้งโดยผ่านสื่อนานาชนิดและด้วยพฤติกรรม “ไทยมุง”) สุดท้ายก็เลยลืม (หรือแกล้งลืม)ว่าตนเองจะต้องตาย แต่ไม่ว่าจะปัดไปให้พ้นตัวเพียงใด ในที่สุดความตายก็ต้องมาถึงจนได้

ความตายนั้นเป็นบททดสอบที่ สำคัญที่สุดของชีวิต บททดสอบอื่น ๆ นั้นเราสามารถสอบได้หลายครั้ง แม้สอบตกก็ยังสามารถสอบใหม่ได้อีก แต่บททดสอบที่ชื่อว่าความตายนั้น เรามีโอกาสสอบได้ครั้งเดียว และไม่สามารถสอบแก้ตัวได้เลย ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นบททดสอบที่ยากมาก และสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ โดยไม่ทันได้ตั้งตัว เป็นบททดสอบที่เราแทบจะควบคุมอะไรไม่ได้เลย ไม่ว่าเวลา สถานที่ หรือแม้กระทั่งร่างกายและจิตใจของตนเอง

อย่างไรก็ตาม ทั้ง ๆ ที่ความตายเป็นบททดสอบที่สำคัญอย่างยิ่งของชีวิต แต่น้อยคนนักที่ได้เตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับบททดสอบดังกล่าว ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่หมดไปกับเรื่องอื่น ๆ โดยเฉพาะกาทำมาหากินและการหาความสุขจากสิ่งเสพ เราพร้อมจะให้เวลาเป็นปี ๆ สำหรับการฝึกอาชีพ เข้าคอร์สฝึกร้องเพลงเต้นรำนานเป็นเดือน ๆ ไม่นับเวลานับพันนับหมื่นชั่วโมงกับการช็อปปิ้งและท่องอินเตอร์เน็ต แต่เรากลับไม่เคยสนใจที่จะตระเตรียมตนเองให้พร้อมเผชิญกับความตายหรือภาวะ ใกล้ตาย ส่วนใหญ่นึกราวกับว่าตนเองจะไม่มีวันตาย หาไม่ก็คิดง่าย ๆ ว่าขอ “ไปตายเอาดาบหน้า” ไม่มีความประมาทอะไรที่ร้ายแรงไปกว่าการทิ้งโอกาสที่จะฝึกฝนตนเองให้เผชิญ ความตายอย่างสงบในขณะที่ยังมีเวลาและพละกำลังอย่างพร้อมมูล

เป็นเพราะไม่สนใจเตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อน เมื่อล้มป่วยและเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต ผู้คนเป็นอันมากจึงประสบกับความทุกข์ทรมานอย่างแรงกล้าทั้งกายและใจ ทรัพยากรที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอที่จะเอามาใช้ช่วยตัวเองในยามวิกฤต โดยเฉพาะ “ทุน” ที่สะสมไว้ในจิตใจ ซึ่งสำคัญกว่าทุนที่เป็นทรัพย์สมบัติ ผู้คนจำนวนไม่น้อยลงเอยด้วยการพยายามต่อสู้กับความตายอย่างถึงที่สุด ฝากความหวังไว้กับเทคโนโลยีทุกชนิด แต่การพยายามยืดชีวิตนั้นบ่อยครั้งกลับกลายเป็นการยืดการตายหรือภาวะใกล้ตาย ให้ยาวออกไปพร้อมกับความทุกข์ทรมาน โดยคุณภาพชีวิตและจิตใจหาได้ดีขึ้นหรือเท่าเดิมไม่มีแนวโน้มว่าผู้คนจะใช้ ชีวิตในช่วงสุดท้ายที่โรงพยาบาลกันมากขึ้น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ธันวาคม 2553 16:19:21 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2553 14:20:51 »




โดยเฉพาะคนในเมือง ปัญหาก็ คือระบบการแพทย์ในปัจจุบันเน้นแต่การดูแลรักษาทางกาย โดยไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องจิตใจ เทคโนโลยียืดชีวิตกลายเป็นสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด แต่สิ่งที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องการมากที่สุดนั้น มิใช่ความรู้หรือเทคโนโลยี หากได้แก่กำลังใจและความรัก ไม่เฉพาะจากญาติมิตรและครอบครัวเท่านั้น ขวัญและกำลังใจจากแพทย์และพยาบาลก็เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งในยามที่ความรู้และเทคโนโลยีมาถึงขีดจำกัดในการรักษา สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นหรืออย่างน้อยก็ไม่เลวร้ายลงไปก็คือ ความเมตตาและความใส่ใจโดยบุคคลากรทางการแพทย์

อย่างไรก็ตามผู้คน แวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกไม่สำคัญเท่ากับจิตใจของผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยที่ยอมรับความตายและได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ล่วงหน้า ย่อมมีโอกาสที่จะเผชิญกับความตายอย่างสงบ หรืออย่างน้อยก็สามารถประคองใจไม่ให้เป็นทุกข์ในภาวะใกล้ตาย หลายคนพบว่าศาสนาเป็นที่พึ่งที่ดีที่สุดของจิตใจในวาระสุดท้าย โดยที่ญาติมิตรหรือคนรักก็ได้รับการเยียวยาทางจิตใจไปด้วยพร้อม ๆ กัน

การ แพทย์แผนใหม่นั้นเห็นความตายเป็นปฏิปักษ์ต่อวิชาชีพแพทย์ ความตายของผู้ป่วยหมายถึงความล้มเหลวของแพทย์ ดังนั้นจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะเอาชนะความตายให้ได้ หรือหากทำไม่ได้ก็พยายามยืดชีวิตผู้ป่วยให้ได้นานที่สุด ดังนั้นจึงไม่ลังเลที่จะทำอย่างไรก็ได้กับร่างกายของผู้ป่วย แม้นั่นจะหมายถึงการสร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยและญาติมิตร จะเป็นการดีกว่าหากแพทย์และพยาบาลมองความสำเร็จและความล้มเหลวของตนในแง่มุมใหม่ คือไม่ได้ถือว่าความสำเร็จอยู่ที่การช่วยหรือยืดชีวิตของผู้ป่วยให้ได้เท่านั้น แต่ยังอยู่ที่การช่วยให้เขาเผชิญความตายอย่างสงบ มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนตาย มองในแง่นี้ความตายของผู้ป่วยจะไม่ได้หมายถึงความล้มเหลวของแพทย์และพยาบาล เสมอไป

ไม่ว่าเขายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปก็ยังถือว่าเป็นความสำเร็จของแพทย์และพยาบาล ได้หากว่าจิตใจของเขาได้รับความใส่ใจไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ในการรักษาพยาบาลนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีผู้ป่วยคนใดตายเลย แต่เป็นไปได้ที่เขาจะจากไปอย่างสงบ เพราะฉะนั้นความสำเร็จในนิยามใหม่นี้จึงสามารถเกิดขึ้นได้ในการรักษาผู้ป่วย ทุกกรณี


นิมิตดีก็คือมีแพทย์และ พยาบาลจำนวนมากขึ้นที่ให้ความสำคัญกับจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย หลายคนแม้จะไม่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตต่อไปได้ แต่ครอบครัวและญาติมิตรของผู้ตายก็ซาบซึ้งที่แพทย์และพยาบาลช่วยให้คนรักของเขาจากไปอย่างสงบ ความสำเร็จของแพทย์และพยาบาลเหล่านั้นอยู่ตรงที่ไม่พยายามยื้อชีวิตของผู้ป่วยให้นานที่สุด แต่พยายามประคับประคองให้เขาบรรลุวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างเจ็บปวดน้อยที่ สุดและมีจิตเป็นกุศลหรือสงบมากที่สุด

การแพทย์แบบประคับประคอง (palliative care) เป็นสิ่งที่ควรจะได้รับความสนใจมากขึ้นจากสถาบันการแพทย์สมัยใหม่ ขณะเดียวกันก็ควรผนวกเอาวิธีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบบูรณาการเข้าไป ด้วย ดังที่ได้มีการริเริ่มบ้างแล้วจากหลายฝ่ายจนเกิดเป็น “เครือ ข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย” ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักบวช และนักปฏิบัติธรรมจำนวนหนึ่ง (ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เครือข่ายพุทธิกา : เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม )

ถ้าเราหันมาใคร่ครวญเกี่ยวกับความตาย และพยายามฝึกใจให้พร้อมรับมือกับบททดสอบที่สำคัญที่สุดของชีวิต ความตายจะมิใช่วิกฤต หากเป็นโอกาสแห่งความสงบในทางจิตใจที่เงินและเทคโนโลยีไม่สามารถหาให้ได้


บททดสอบที่สำคัญที่สุดของชีวิต (พระไพศาล วิสาโล)

เอ็มไทยดอทคอม

Credit by : http://www.dhammadelivery.com/story-detail.php?sto_id=755
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม  * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ท
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น: การเยียวยา ทางจิตใจ ไม่ให้เป็นทุกข์ ในภาวะ ใกล้ตาย 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ทำไมสัตว์โลกถึงเป็นไปตามกรรม? พระไพศาล วิสาโล
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
เงาฝัน 3 3660 กระทู้ล่าสุด 20 มิถุนายน 2554 01:10:46
โดย หมีงงในพงหญ้า
นำผู้ป่วยโคม่าสู่ความสงบ พระไพศาล วิสาโล
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2588 กระทู้ล่าสุด 10 ตุลาคม 2553 19:40:45
โดย หมีงงในพงหญ้า
ธรรมะไม่ใช่ของยาก พระไพศาล วิสาโล
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 2 3094 กระทู้ล่าสุด 08 พฤศจิกายน 2553 11:24:54
โดย หมีงงในพงหญ้า
เพ่งนอก ลืมใน พระไพศาล วิสาโล
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 2 4415 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2554 09:09:02
โดย เงาฝัน
Before I die มรณสนทนา ระหว่าง พระไพศาล และ คุณนิ้วกลม
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 0 1177 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 21:00:35
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.342 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 31 ตุลาคม 2566 03:53:50