[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 กันยายน 2567 12:23:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2] 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน  (อ่าน 40150 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 มีนาคม 2553 17:03:48 »





กุญแจเซน
โดย  ท่าน ติช นัท ฮัน
ภาค ๑ การกำหนดรู้ในสภาพปัจจุบัน
หนังสือเล่มน้อย



ข้าพเจ้าได้เริ่มเข้าไปปฏิบัติธรรมในวัดเซน เมื่อข้าพเจ้าอายุได้ ๑๗ ปี
หลังจากใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ ในการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตประจำวัน
ในวัดแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้ไปกราบคารวะต่อพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ดูแล
เพื่อขอให้ท่านช่วยสอน " วิถีแห่งเซน " แก่ข้าพเจ้า
แต่ท่านกลับยื่นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ตีพิมพ์ด้วยตัวอักขระภาษาจีนให้
พร้อมกับทั้งกำชับให้ศึกษาหนังสือนั้นจนกว่าจะขึ้นใจ

หลังจากได้กล่าวคำขอบคุณต่อท่านแล้ว ข้าพเจ้าถือหนังสือเล่มนั้น
กลับมายังกุฏิ หนังสือนั้นเป็นที่รู้จักกันอยู่ทั่วไป
ในหมู่พระนิกายเซน หนังสือนี้แบ่งออกเป็นสามตอน คือ

ตอน ๑ ว่าด้วยการนำสารัตถะแห่งพระวินัยมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอน ๒ ว่าด้วยพระวินัยข้อที่สำคัญ ๆ สำหรับผู้บวชใหม่
ตอน ๓ ว่าด้วยเทศนาของท่านกวยซัน อาจารย์


ไม่มีปรัชญาเซนอยู่ในหนังสือเล่มนี้เลย ทั้งสามตอนมุ่งจำเพาะแต่
การปฏิบัติการโดยตรง
ภาคแรก สอนวิธีในการควบคุมจิตและการตั้งดวงจิตให้แน่วแน่
ภาคสอง กำหนดหลักวัตรปฏิบัติและพระวินัยของพระภิกษุสามเณร
ภาคสาม เป็นร้อยแก้วอันมีคุณค่าและไม่อาจปล่อยให้สูญเปล่าไปอย่างไร้ประโยชน์



ข้าพเจ้าได้รับการยืนยันว่าหนังสือเล่มนี้ ( ซึ่งเรียก  ล้วตเถียว  ในภาษา
เวียดนาม อันมีความหมายว่า " คู่มือแห่งวัตรปฏิบัติเล่มน้อย " )
มิได้มีไว้เป็นคู่มือสำหรับพระเณรใหม่ ๆ ที่มีอายุขนาดข้าพเจ้าเท่านั้นเพราะแม้แต่
พระซึ่งมีอายุ ๓๐ หรือ ๔๐ แล้ว
ก็ยังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งคณะโดยนัยนี้เช่นกัน

ข้าพเจ้าได้รับการศึกษาแบบตะวันตกมาบ้างแล้ว ก่อนที่จะเข้ามาในวัดแห่งนี้
และข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจ
ที่วิธีในการสั่งสอนลัทธิในวัดเป็นวิธีแบบดั้งเดิมสมัยก่อนทั้งสิ้น

ประการแรกเราจะต้องอ่านจนจำข้อความทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ให้ได้ ต่อไป
จึงนำสิ่งที่อ่านมาปฏิบัติ โดยจะไม่ได้รับการสอนในเรื่องปรัชญาพื้นฐาน
เกี่ยวกับเรื่องเซนเลย ข้าพเจ้าได้นำความสังสัยนี้ไปปรึกษากับพระฝึกหัด *
อีกรูปหนึ่ง ซึ่งได้อยู่ที่นี่มาสองปีแล้ว ท่านได้บอกว่า
" นี่แหละคือมรรค ประตูแห่งมรรคเริ่มเปิดออกที่จุดนี้ ถ้าเธอปรารถนา
จะศึกษาเซนแล้วละก็ เธอจะต้องยอมรับมรรควิธีนี้ "

ซึ่งข้าพเจ้าได้ฟังแล้วก็ต้องยอมจำนนต่อคำตอบนั้น


* พระฝึกหัด พระที่บวชในนิกายเซน จะต้องศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นพระฝึกหัด
อยู่ระยะหนึ่งก่อน จนกว่าจะได้พิสูจน์ตนให้เห็นแล้วว่า
เป็นผู้ฝักใฝ่ธรรม จึงจะได้รับเลื่อนขึ้นเป็นพระเซนเต็มขั้น




 ยิ้ม :http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?t=5189

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 13:52:27 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 29 เมษายน 2553 19:23:02 »





และยังมีอีกคราวหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า

" สมมติว่ามีบุรุษผู้หนึ่ง ถูกปักตรึงด้วยลูกศรอาบยา และแพทย์ผู้รักษาประสงค์จะผ่าลูกศรนั้นออกในทันที
หากบุรุษนั้นไม่ยินยอมจะผ่าให้ลูกศรออก จนกว่าเขาจะได้รู้ว่าผู้ใดเป็นผู้ยิงมีชื่อว่าอะไร มีอายุเท่าใด

บิดามารดาโคตรวงค์มีนามว่าอะไร ด้วยเหตุใดจึงมาทำร้ายเขาครั้นเมื่อได้รู้สิ่งเหล่านี้แล้ว
จึงจะยอมให้ถอนลูกศรออก ดังนี้แล้วจะยังรู้ละหรือว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับคนคนนั้น
ถ้าเขายังต้องรอให้ได้รับคำตอบทั้งหมดนี้
ตถาคตเกรงว่าบุรุษผู้นั้นคงจะสิ้นชีพไปเสียก่อนจะได้ทันรักษาเยียวยา "

ชีวิตนี้สั้น เราย่อมไม่อาจที่จะใช้ชีวิตที่มีเวลาอยู่อย่างแสนสั้นนี้ไปในการขบคิดใคร่ครวญ
เรื่องทางอภิปรัชญาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด เพราะอภิปรัชญาไม่อาจนำไปสู่สัจจะอันยิ่งใหญ่ได้เลย

แต่ถ้าหากว่าความรู้อันเกิดจากการนึกคิดทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเสียแล้ว เราจะใช้
เครื่องมืออะไรในการแสวงหาความจริง



ถ้าตอบตามแบบพุทธศาสนา ก็ถือว่าบุคคลอาจเข้าถึงสัจภาวะได้ด้วยประสบการณ์โดยตรงเท่านั้น
ด้วยการศึกษาเล่าเรียนและการใคร่ครวญนั้นมีพื้นฐานอยู่บนความนึกคิด

ก็ในกระบวนการนึกคิดนั้นเรามักจะตัดความจริงออกเป็นส่วน ๆ คล้ายกับว่าความจริงเสี้ยวเล็ก ๆ
ที่ตัดออกมาเป็นอิสระ  ไม่เกี่ยวข้องกับความจริงเสี้ยวอื่น ๆ


การจัดระบบเช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นความคิดแบบวิกัลปะ คือการใช้ปัญญาในการคิดแยกแยะ
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในนิกายวิญญาณวาท
ของฝ่ายมหายาน

ส่วนนิกายทางฝ่ายที่เราแสวงหาประสบการณ์จากสัจจะโดยตรง โดยไม่อาจอาศัยประสบการณ์
ผ่านมาทางการนึกคิด เรียกกันว่า นิรวิกัลปญาณ คือความหยั่งรู้โดยไม่ต้องใช้ปัญญาแยกแยะ

ปัญญาชนิดนี้เป็นผลมาจากสมาธิภาวนา ซึ่งนับเป็นความรู้เกี่ยวกับสัจภาวะอย่างสมบูรณ์และเกิดขึ้นโดยตรง
เป็นความรู้ชนิดที่ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างอัตตา ( ผู้รับรู้ ) และกรรม ( ผู้ที่ถูกรู้ สิ่งที่ถูกรู้ )
ซึ่งเป็นความรู้ชนิดที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ความนึกคิดและแสดงออกมาโดยภาษาพูด



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 มิถุนายน 2555 23:51:09 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลียนภาพที่หายไปค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2553 04:01:41 »



เป็นตัวประสบการณ์นั้นเอง

สมมติว่าท่านกำลังอยู่ที่บ้านของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าได้เชิญท่านดื่มน้ำชา
ท่านก็ยกถ้วยขึ้นจิบชาในถ้วย รู้สึกว่าท่านพอใจในรสชาติของชา

ท่านวางถ้วยลงบนโต๊ะและเราก็สนทนากัยต่อไป ทีนี้หากข้าพเจ้าจะถามท่านว่า ท่านรู้สึกว่า
ชาเป็นอย่างไร ท่านย่อมเริ่มใช้ความจำ ความนึกคิด และใช้ศัพท์แสงทางภาษาพูด

เพื่อที่จะบรรรยายถึงรสชาติของชาออกมา เช่น ท่านอาจพูดว่า " ชาดีมากเป็นชาเตี้ยกวนหยิง
ทำจากโรงงานที่กรุงไทเป เมื่อจิบแล้วก้รู้สึกชุ่มชื่น " ท่านอาจแสดงความรู้สึกออกมาได้หลายวิธี

แต่ความคิดและคำพูดเหล่านี้เป็นเพียง " การบรรยายประสบการณ์ที่เกิดจาก
การดื่มชาเท่านั้น หาใช่ตัวประสบการณ์โดยตรงไม่ "




ตามความเป็นจริงแล้ว ในประสบการณ์โดยตรงที่เกิดจากการดื่มชา
ท่านคงไม่ได้แยกว่าตัวท่านเองเป็นผู้ลิ้มรสและชาเป็นรส

ท่านคงไม่ได้คิดว่าชานั้นเป็นชายี่ห้อเตี้ยกวนหยิงชนิดดีหรือเลวจากไทเปหรือจากใหน
ประสบการณ์นี้เป็นประสบการณ์ภายในที่ไม่มีความคิดและคำพูดมาจำกัดขอบเขต

ความรู้สึกล้วน ๆ นี้ย่อมเกิดมาจากประสบการณ์ ท่านอาจบรรยายความรู้สึกออกมา
เท่าที่ท่านต้องการ

แต่มีเพียงตัวท่านเองเท่านั้นที่เป็นพยานในการรับรู้ประสบการณ์ในการดื่มชานั้น
เมื่อผู้อื่นได้มาฟังท่านพูด เขาก็คงได้แต่สร้างความรู้สึกขึ้นมาใหม่

 โดยอาศัยพื้นฐานจากประสบการณ์เกี่ยวกับการดื่มชาที่เขามีอยู่ในอดีต แม้แต่ตัวท่านเอง
ก็เช่นกัน เมื่อท่านพยายามที่จะบรรยายประสบการณ์ของท่านออกมา

คำบรรยายนั้นก็หาใช่ " ตัวประสบการณ์แท้ ๆ " ที่ท่านได้รับไม่ ด้วยประสบการณ์แท้ ๆ นั้น
ท่านได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกับชา ไม่มีผู้ดื่ม ไม่มีชา ไม่มีการให้คุณค่า ไม่มีการแบ่งแยก

ความรู้สึกอันไม่มีอื่นใดเจือปน
นี้แหละ อาจยกมาเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นแทน นิรวิกัลปญาณ
( การหยั่งรู้โดยไม่ต้องใช้ปัญญาแยกแยะ )
ซึ่งเป็นปัญญาเครื่องนำเราให้เข้าสู่หัวใจแห่งความเป็นจริง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 พฤศจิกายน 2553 21:11:36 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2553 04:40:32 »




ช่วงเวลาแห่งการตรัสรู้ 

การที่จะเข้าถึงสัจจะได้ มิใช่ด้วยการสะสมความรู้ แต่ด้วยการตื่นขึ้นในท่ามกลางแก่นแท้แห่งความเป็นจริงเท่านั้น ความจริงทั้งสิ้นจะเปิดเผยตัวเองออกมาอย่างหมดจดในช่วงเวลาแห่งการตรัสรู้ ด้วยแสงสว่างแห่งการรู้แจ้งเห็นแจ้งนี้ ย่อมสมบูรณ์ในตนเองชนิดที่เรียกว่า ไม่มีอะไรจะต้องเพิ่มเข้ามา หรือไม่มีอะไรที่ขาดตกบกพร่องไป อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากความนึกคิดนั้นจะไม่สามารถมีอิทธิพลต่อมนุษย์ได้อีกต่อไป ถ้าหากว่าท่านโพธิธรรมเป็นพระอริยบุคคลในอุดมคติแล้ว ก็ด้วยเหตุว่า ท่านมีภาพพจน์เป็นเอกบุรุษ ผู้สามารถทำลายโซ่ตรวนแห่งมายา ซึ่งได้พันธนาการมนุษย์ไว้ในโลกแห่งอารมณ์ลงได้

และค้อนซึ่งใช้ทุบโซ่ตรวนนั้นให้ขาดสะบั้นลงก็คือการปฏิบัติเซน
ในช่วงเวลาแห่งการตรัสรู้นั้น
อาจสังเกตเห็นได้จากเสียงหัวเราะที่ระเบิดขึ้นมา แต่เสียงหัวเราะนี้ มิใช่เสียงหัวเราะของผู้ใดผู้หนึ่ง



ซึ่งได้รับมหาโชคอย่างทันทีทันใด ทั้งมิใช่เสียงหัวเราะของผู้ชนะ แต่เป็นเสียงหัวเราะของผู้หนึ่ง
ซึ่งหลังจากได้แสวงหาอะไรบางอย่าง
อย่างรวดร้าวมาเป็นเวลานาน ในที่สุด เช้าวันหนึ่งก็ได้พบสิ่งนั้นอยู่ในกระเป๋าเสื้อของตนนั่นเอง


วันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงยืนอยู่เบื้องหน้าที่ประชุมสงฆ์ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ขณะที่สงฆ์ทุกรูปกำลังรอสดับพระธรรมเทศนาประจำวันอยู่ แต่พระองค์ก็ยังทรงอยู่ในอาการดุษณีภาพ หาได้เอ่ยวาจาใดไม่ ชั่วขณะหนึ่งพระพุทธองค์ทรงยกหัตถ์ขวาอันบรรจงจับดอกบัวชูขึ้น มองดูสังฆสภาโดยมิได้ตรัสแต่ประการใด พระภิกษุสงฆ์ทุก ๆ รูปเพ่งดูพระองค์อย่างไม่เข้าใจ มีเพียงแต่พระมหากัสสปรูปเดียวเท่านั้นที่แลดูพระพุทธองค์ด้วยดวงตาอันเปล่ง
ประกายจำรัสพร้อมกับรอยยิ้มละไม ครั้นแล้วพระพุทธองค์จึงตรัสขึ้นในท่ามกลางที่ประชุมว่า



" ตถาคตเป็นผู้มีญาณทัสนะอันรู้จบพร้อมในธรรม ตถาคตเป็นผู้มีดวงจิต
อันหลุดพ้นแล้ว
คือมีพระนิพพานเป็นที่พักอาศัย ตถาคตเป็นผู้ธำรงสัจจะอันบริสุทธิ์ไม่เคลือบคลุม
สิ่งใดอันตถาคตเป็น ธรรมใดตถาคตรู้
สิ่งนั้น ธรรมนั้น ตถาคตได้ถ่ายทอดให้แก่มหากัสสปโดยครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว "


พระมหากัสสปถึงช่วงเวลาแห่งการตรัสรู้ เมื่อพระพุทธองค์ชูดอกบัวขึ้นถ้าพูดกันอย่างเซนแล้วก็ต้องว่าท่านได้รับ " ตราแห่งจิต " มาจากพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงส่งทอดปัญญาญาณจากจิตสู่จิต พระพุทธองค์ได้ทรงหยิบดวงตาแห่งจิตอันใช้สำหรับประทับถือไว้ในพระหัตถ์ และทรงประทับตรานั้นลงไปบนดวงจิตของพระมหากัสสป รอยยิ้มของพระมหากัสสปก็เป็นเช่นเดียวกับการเปล่งเสียงหัวเราะของอาจารย์เซนนั่นเอง พระมหากัสสปตรัสรู้โดยอาศัยดอกไม้ ในทำนองเดียวกับอาจารย์เซนหลาย ๆท่าน ที่บ้างก็ตรัสรู้เมื่อได้ยินเสียงสะท้อน บ้างก็ตรัสรู้เมื่อโดนเตะอย่างหนักหน่วง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มกราคม 2554 13:57:22 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2553 18:58:43 »




ภาค ๓ สนในสวน

ภาษาเซน

แก่นหลักของเซนคือการตื่นขึ้น นี่จึงเป็นเหตุที่ทำให้เราไม่อาจพูดคุยกันได้
เกี่ยวกับเรื่องเซน ผู้ใดอยากรู้เรื่องเซน ผู้นั้นจะต้องปฏิบัติเอง
หาประสบการณ์เอง การตื่นขึ้นนั้นเป็นปรากฏการณ์อันยิ่งใหญ่ ฉายรัศมี
แพรวพราวดุจดังดวงอาทิตย์
บุคคลผู้รู้แจ้ง บุคคลผู้ตื่นขึ้นจากความหลับใหลแล้ว ย่อมมีที่ให้สังเกตเห็น
ได้บางประการ ประการแรกคือ ความเป็นอิสรภาพหลุดพ้นจากข้อผูกพันทั้งปวง
เขาย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งความเปลี่ยนแปลงของชีวิต

ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความรื่นเริง ความหงุดหงิด ความสำเร็จ ความล้มเหลว ฯลฯ
ดังนั้นจึงมีพลังอำนาจแห่งจิต ซึ่งแสดงออกมาในรูปของรอยยิ้ม
อันสงบสุขุมอย่างสุดที่จะพรรณา และความสงบรำงับแห่งอากัปกิริยาไม่อาจนับว่า
เป็นเรื่องเกินความจริง หากจะกล่าวว่า รอยยิ้มสายตา ถ้อยคำ
และอาการทั้งหมดของบุคคลผู้ตื่นแล้ว ผู้รู้แจ้งแล้ว ย่อมประกอบขึ้นเป็น
" ภาษาแห่งการรู้แจ้ง "
ซึ่งอาจารย์เซนได้ใช้ภาษาเหล่านี้แหละในการชี้นำศิษย์ของตน

อาจารย์เซนก็ยังคงใช้ความคิดและถ้อยคำเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ
เพียงแต่ว่า ท่านมิได้ถูกจำกัดหรือติดยึดอยู่กับการกับการนึกคิดและถ้อยคำเหล่านั้น
ภาษาของเซนมุ่งที่จะทำลายตัวตนของผู้ที่รู้จักแต่เพียงการคิด
โดยใช้สัญลักษณ์ลงภาษาของเซนทำให้คนเหล่านั้นจนแต้ม ซึ่งอาจจะพลิกเขา
กลับไปสู่มรรคผลแห่งการ ตรัสรู้ ได้ในที่สุด

ขอให้ลองพิจารณาการสนทนาที่ตัดตอนมาสองเรื่องนี้ดู




- ๑ -

เจาจู ถาม นานจว๋าน ว่า อะไรคือมรรค
นานจว๋าน : คือ จิตทุกขณะ
เจาจู : หากเป็นดังนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการบรรลุถึงหรือไม่
นานจว๋าน : ความปรารถนาที่จะบรรลุถึงมรรค ย่อมเป็นสิ่งขัดแย้งกับมรรคอยู่แล้ว
เจาจู : หากไร้ความปรารถนาเสียแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่านั่นคือมรรค
นานจว๋าน : มรรคนั้นมิได้อยู่ที่ว่า " รู้ " หรือ " ไม่รู้ " ถ้ามีใครคนหนึ่งที่ " รู้ "

ความรู้นั้นก็เป็นเพียงสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากความนึกคิด ถ้า " ไม่รู้ " ความไม่รู้
นั้นก็หาได้แตกต่างไปจากสิ่งไร้ชีวิตทั้งหลายไม่
ถ้าท่านได้ไปจนถีงสภาวะอันเป็นที่สิ้นสุดแห่งความสงสัยทั้งมวล ท่านก็จะแลเห็น
จักรวาลอันไร้ขอบเขตเปิดโล่งอยู่เบื้องหน้า
จักรวาลอันสรรพสิ่งได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวนี่แหละ ใครจะเป็นผู้แบ่งแยกสรรพสิ่ง
ในขณะที่อาศัยอยู่ในโลกอันกลมกลืน





พระรูปหนึ่งมาถามอาจารย์เจาจู ว่า : อะไรคือความปรารถนาของท่านโพธิธรรม
เมื่อท่านเดินทางมาสู่ประเทศจีน

อาจารย์เจาจู ตอบว่า : จงมองดูต้นไม้ในสวน

บทสนทนาข้อต้นมุ่งจะชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคซึ่งสร้างขึ้นโดย วิธีการนึกคิด
และในขณะเดียวกัน ก็นำผู้ถามให้กลับไปสู่
การสำนึกถึงการไม่แบ่งแยกสิ่งต่าง ๆ และสภาวธรรมต่าง ๆ ออกเป็นส่วน ๆ

บทสนทนาที่สองมุ่งที่จะสั่นคลอนความนึกคิดของผู้ถามและทำให้ผู้ถามตกตะลึง
เพื่อนำไปสู่การรู้แจ้ง ถ้าหากจิตใจของบุคคลสุกงอมพอแล้ว
การตรัสรู้ก็อาจปรากฏขึ้นมาในตัวของเขา

อาจารย์เซนผู้รู้ชอบแล้ว ย่อมมีญาณพิเศษที่อาจหยั่งรู้ถึงอารมณ์ความนึกคิด
ของศิษย์ ด้วยเหตุที่ท่านล่วงรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของศิษย์นี่เอง ท่านจึงอาจหาวิธีการ
ที่มีประสิทธิภาพที่จะนำศิษย์ของท่านให้ก้าวล่วงสู่ภพอันตื่นแล้ว ภาษาของเซน
อาจนับเป็นหนึ่งในวิธีการเหล่านี้ ด้วยมุ่งที่จะช่วยเหลือผู้ฝึกฝน
ภาษาเหล่านี้จะต้องมีลักษณะ ซึ่ง

๑. ประกอบไปด้วยอำนาจ อันช่วยให้บุคคลหลุดพ้นจากอคติ และความยึดมั่น
ในความรู้ที่ตนมีอยู่
๒. เหมาะสมกับบุคคลแต่ละคน เป็นคน ๆ ไป
๓. เป็นวิธีการที่จัดเจนและมีประสิทธิภาพ




บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7862


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2553 19:39:30 »

สาธุ อนุโมทนาครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 14 มกราคม 2554 12:54:30 »



  นิ้วชี้กับดวงจันทร์

ความจริงนั้นจะสัมผัสได้ ก็ด้วยประสบการณ์จากชีวิตจริงเท่านั้น
หลักการในพระพุทธศาสนาจึงมิได้มีจุดมุ่งหมาย
ที่จะบรรยายให้เห็นถึงความจริง พุทธศาสนาจึงเป็นเพียงวิธีการ
เป็นเครื่องชี้นำให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าถึงความจริงด้วยตนเอง

ใน มหาไวปุลยปูรณพุทธสูตร ปรากฏข้อความความว่า
" หลักการทุกประการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ อาจเปรียบได้กับ

   " นิ้วอันชี้นำสู่ดวงจันทร์ "
เราใช้นิ้วเพื่อชี้ดวงจันทร์แต่เราจะต้องไม่เกิดความสับสนระหว่าง
นิ้วชี้กับดวงจันทร์ ด้วยนิ้วนั้นหาใช่ดวงจันทร์ไม่
คำว่า อุปายะ ( อุบาย ) ในภาษาสันสกฤต คือสิ่งที่ดัดแปลงขึ้น
โดยจุดมุ่งหมายที่จะเป็นแนวทางแก่บุคคล 
เพื่อทำความเพียรไปสู่การรู้แจ้ง และถ้าถือเอาวิธีการนี้
มาเป็นตัวจุดมุ่งหมายเสียเองแล้วละก็
ย่อมเหมือนดั่งการถือเอาคำอธิบายเกี่ยวกับการตรัสรู้มาเป็นการตรัสรู้เสียเอง
ทำให้อุบายนั้นไม่อาจสัมฤทธิ์ผลได้ ในทางตรงกันข้าม
ก็จะกลับกลายเป็นเครื่องจองจำอันถาวรเสียอีก ในทันใดที่บุคคล
ไปคิดนึกเอาว่านิ้วมือคือดวงจันทร์เองแล้วไซร้ เขาย่อมไม่ปรารถนา
ที่จะมองต่อไปในทิศทางที่นิ้วได้ชี้ไปยังดวงจันทร์อีกเลย

" อุบาย " ในที่นี้ อาจจะเป็นคำพูดประโยคสั้น ๆ หรืออาจจะเป็น
อากัปกิริยาธรรมดาสามัญก็ได้ อาจารย์ใหญ่ ๆ นั้นมักมี
สิ่งที่เรียกว่า อุปายญาณ คือความสามารถที่จะจัดสรรวิธีการต่าง ๆ
มาใช้ให้เหมาะกับสภาพจิตแบบต่าง ๆ ในโอกาสที่ผิดแผกกันไป
การสนทนาระหว่างท่านเจาจูและนานจว๋าน คือตัวอย่างของอุบายเหล่านี้
" ต้นสนในสวน " และ " ดอกไม้ในอุ้งหัตถ์ของพระพุทธองค์ " ก็คืออุบายเหล่านี้


แต่วิธีการเหล่านี้จะเป็นอุบายที่แท้จริง ก็ต่อเมื่อมีความสอดคล้อง
เหมาะสมกับเหตุการณ์นั้น ๆ
จะต้องมีประสิทธิผลและต้องตอบสนองต่อปัจจัยแห่งอารมณ์ของผู้แสวงหา
หากว่าอาจารย์ไม่เข้าใจถึงสภาพจิตของศิษย์แล้ว
ท่านย่อมไม่สามารถสรรหา อุบายที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาได้
วิธีการแบบเดียวกันไม่อาจนำไปใช้กับทุกเหตุการณ์ ดังนั้นอาจารย์จึง
ต้องสรรหาวิธีการต่าง ๆ นานา แล้วแต่ว่าท่านมีความรู้ชัด
ในสภาวะจิตของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนเพียงใด

ในพุทธศาสนากล่าวกันว่ามีวิธีเข้าสู่ความจริงถึง ๘๔,ooo วิธี
และพุทธศาสนานิกายเซน ได้นำเอาอุบายที่สำคัญยิ่ง
และมีประสิทธิภาพสูงมาใช้
โดยบรรดาอาจารย์เซน มุ่งประสงค์
ที่จะบันดาลให้ศิษย์ทั้งหลายได้เข้าถึงโมกขธรรมโดยทั่วกัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2555 14:07:31 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้า เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 15 มกราคม 2554 17:03:43 »





ถ้าพบพระพุทธองค์ จงสังหารท่านเสีย

สิ่งหนึ่งซึ่งพละกำลังอำนาจอย่างใหญ่ของอุบายนี้คือ การปลดปล่อยตน
ให้พ้นจากที่คุมขังแห่งวิทยาการและอคติ ด้วยบุคคลมักจะยึดมั่น
อยู่กับความรู้ ยึดมั่นอยู่กับนิสัยและอคติของตน
ภาษาเซนจะต้องสามารถช่วยปลดปล่อยให้หลุดพ้นออกมาได้
ในพุทธศาสนาถือว่า ความรู้เป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงของการตรัสรู้ อุปสรรคนี้เอง
ที่เรียกว่าอุปสรรคแห่งความรอบรู้ ความรอบรู้ที่เอ่ยถึงนี้หมายเฉพาะความรู้
ที่อาศัยการนึกคิดเอา คาดคะเนเอา
ถ้าเราติดกับดักของความรู้นี้อยู่ละก็
เราจะไม่มีทางถึงการตรัสรู้ได้เลย



ในพระสูตรแห่งนิทานร้อยเรื่อง ได้เล่าถึงเรื่องราวของพ่อม่ายหนุ่มผู้หนึ่ง ซึ่งอาศัย
อยู่กับลูกชายอายุห้าขวบ เมื่อเขากลับมาบ้านก็ได้พบว่าเรือนได้ถูกไฟใหม้
ราบลงและบุตรก็สูญหายไปใกล้ ๆ กับเรือนที่ไฟใหม้นั้น ปรากฏซากศพเด็กไฟใหม
้เกรียมอยู่ศพหนึ่ง เขาเชื่ออย่างยิ่งว่านั่นคือศพลูกชายของเขา จึงได้ร้องไห้คร่ำครวญถึงลูก
แล้วก็จัดศพนั้นไปเผาตามประเพณีของชาวอินเดียในสมัยนั้น เผาเสร็จแล้ว
ก็นำเอาผ้ามาห่อกระดูกและขี้เถ้า เก็บติดตัวไว้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
ไม่ว่าจะในขณะกำลังทำงานหรือพักผ่อน

ที่จริงบุตรชายของเขามิได้ตายจากไป แต่ถูกลักพาตัวไปโดยโจรคณะหนึ่ง
เมื่อบุตรของเขาหนีออกมาได้
จึงกลับไปหาบิดาที่บ้าน เด็กนั้นไปถึงบ้านในตอนเที่ยงคืน ในขณะที่
บิดากำลังจะเข้านอนพร้อมกับห่อผ้าที่บรรจุกระดูก เด็กจึงเข้าไปเคาะประตู

" ใครกันนั่น " บิดาถาม
" บุตรของท่าน "
" เจ้าโกหก บุตรของเราตายไปได้สามเดือนล่วงมาแล้ว "


บิดานั้นเชื่ออยู่เช่นนั้น และก็หายอมไปเปิดประตูไม่ ในที่สุดบุตรของเขาก็จำใจ
ต้องผละจากไป และบิดาผู้น่าสงสารนี้ได้สูญเสียบุตรสุดที่รักของตนไปตลอดกาล



นิทานเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราได้รู้ในบางสิ่งบางอย่าง เชื่อว่ามันเป็นสัจจะ
อันสูงสุดและยึดติดอยู่เพียงนั้น
เราก็จะไม่ยอมเปิดประตูอีกเลย
แม้ว่าตัวสัจจะจะมาเคาะประตูเองก็ตาม ผู้ฝึกฝนเซนจะต้องปลดปล่อยตัวเอง
ออกจากความยึดมั่นถือมั่น
ในความรอบรู้เพื่อที่จะเปิดประตูแห่งตนออกมา สำหรับการเข้าครอบครองแห่งองค์สัจจะ
อาจารย์เซนจะต้องช่วยศิษย์ของตนในความพยายามนี้

ครั้งหนึ่งอาจารย์หลินจีได้กล่าวว่า

" สหายผู้ร่วมเดินทางธรรม ถ้าท่านประสงค์ที่จะมองให้เห็นถึงความจริง
อันจริงแท้
แล้ว จงอย่าปล่อยตนให้หลงเชื่อไปกับวาทะของผู้ใด เมื่อท่านได้พบ
ใครก็ตาม ไม่ว่าขณะกำลังไปหรือกำลังจะกลับ ท่านต้องฆ่าเขาเสีย
ถ้าท่านพบพระพุทธองค์ จงสังหารพระพุทธองค์ ถ้าท่านพบพระสังฆราช
จงสังหารพระสังฆราช ถ้าท่านพบนักบุญ จงสังหารนักบุญ นี่เป็นหนทางเดียว
ที่ท่านจะปลดปล่อยตัวเองให้หลุดพ้น และเป็นอิสระโดยตัวของท่านเอง "



สำหรับผู้ซึ่งอุทิศตนเพื่อการปฏิบัติธรรม คำประกาศเช่นนี้ออกจะเป็นเรื่องที่น่ากลัว
เพราะทำให้เขางุนงงและสับสน แต่ผลย่อมขึ้นอยู่กับสภาพจิต
และความสามารถในการรับรู้
ของผู้ได้ยิน ถ้าผู้นั้นเข้มแข็งพอ เขาก็จะ
มีความสามารถปลดปล่อยตัวเองออกจากอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของใคร
หรืออะไร และย่อมก่อให้เกิดสัจจะอันสูงสุดขึ้นในตน สัจจะนั้นย่อมเป็นจริง

อยู่ในตัวเองหาใช่การนึกคิดเอาไม่ ถ้าหากเราติดยึดอยู่กับความคิดบางอย่าง
และคิดว่านั่นเป็นความจริงเสียแล้ว เราก็จักห่างไกลออกไปจากความจริง
อย่างลิบลับ นี่แหละจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้อง " สังหารและกำจัด "
ความคิดในเรื่องของความจริง เพื่อองค์แห่งความจริงจะได้เปิดเผย
ปรากฏตัวออกมา การสังหารพระพุทธองค์เป็นทางเดียวที่จะได้พบพระพุทธองค์
ความคิดที่เราจินตนาการขึ้นเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกีดขวางไว้

มิให้ได้เห็นพระพุทธเจ้าโดยแท้




บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 15 มกราคม 2554 18:53:16 »





จงกลับไปล้างจาน

การกลับไปสู่เหย้า การกลับไปแลเห็นธรรมชาติของตน คือ จุดมุ่งหมายของ
ผู้ปฏิบัติธรรม แต่จะกลับไปแลเห็นธรรมชาติเดิมของตนได้อย่างไรเล่า
จำเป็นที่จะต้องมีแสงสว่างสาดส่องอยู่ในการดำรงอยู่ เพื่อจะได้อยู่อย่างมีชีวิตชีวา

อยู่กับปัจจุบัน และมีสติเป็นเครื่องกำหนดรู้ในกิจที่กระทำ หรืออีกนัยหนึ่ง
มีความจำเป็นที่บุคคลจะต้องมองให้เห็นต้นสนในสวน ถ้าหากบุคคลมองไม่เห็น
ต้นสนในสวน ที่อยู่ในสวนของตนเองแล้ว เขาจะแลเห็นธรรมชาติของตนได้อย่างไร

อาจารย์เซนผู้ตรัสรู้ชอบแล้ว คือบุคคลผู้ซึ่งมีดวงตาอันแลเห็นต่อการใช้ชีวิตจริง
ท่านคือผู้ซึ่งได้แลเห็นต้นสนในสวน และรวมทั้งธรรมชาติของตน
หลังจากได้หลงวนเวียนอยู่ในโลกแห่งการนึกคิด โลกแห่งเหตุผล เป็นเวลา
นานนับปี
ดังนั้นท่านจึงไม่ยินยอมที่จะให้ศิษย์ล่องลอยอยู่ในโลกแห่งนึกคิด



และต้องสูญเสียชีวิตไปเปล่า สูญเสียโอกาสที่จะตื่นขึ้นไปอีก
ท่านจะรู้สึก
สงสารศิษย์ทุกครั้ง เมื่อเขาตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องธรรมกายหรือ เรื่องตถตะ
ท่านย่อมรำพึงว่า " บุรุษนี้ปรารถนาจะแสวงหาความจริงจากการนึกคิด "
และท่านจะพยายามอย่างยิ่งที่จะนำศิษย์ให้หลุดพ้นออกมาจากโลกแห่งความ
นึกคิด
เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตจริง " จงมองดูต้นสนในสวน "



ครั้งหนึ่งพระรูปหนึ่งได้ขอร้องให้อาจารย์เจาจูอธิบายให้ฟังเกี่ยวกับเซน
อาจารย์เจาจูจึงถามว่าขึ้นว่า

" เธอฉันภัตตาหารเช้าเสร็จแล้วหรือ "
" ฉันเสร็จแล้วท่านอาจารย์ "
" ดังนั้น เธอจงกลับไปล้างจาน "
" จงกลับไปล้างจาน " นี้ก็เช่นเดียวกับ " จงกลับไปอยู่กับเซน "




แทนที่อาจารย์จะตอบคำถามเกี่ยวกับเซน ท่านกลับเปิดประตูออกและเชื้อเชิญ
ให้ศิษย์เข้ามาในโลกแห่งความจริงของเซนเสียเอง " จงกลับไปล้างจาน "
ถ้อยคำเหล่านี้มิได้มีความหมายลึกลับอันใดที่จะต้องอธิบายกัน มันเป็นคำพูดสามัญ
ตรงไปตรงมา และกระจ่างชัด ไม่ต้องตีความ
มิใช่รหัสนัย แต่มันคือข้อเท็จจริงอันเป็นจริงอย่างยิ่ง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2555 15:20:01 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 15 มกราคม 2554 19:40:56 »





อภิวัจนะ

ถ้อยคำในพุทธศาสนา เช่นคำว่า ตถตะ สภาวะ ธรรมกาย นิพพาน ฯลฯ
คือตัวสัญลักษณ์ของความจริง แต่หาใช่ตัวความจริงไม่ ในพุทธศาสนานิกายเซน
มิได้ถือว่านามธรรมและสัญลักษณ์เป็นสิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญคือตัวความจริง
 
การตื่นขึ้นและการมีสติกำหนดรู้ในปัจจุบันสภาพ
จึงน่าที่จะทำความเข้าใจว่า เพราะเหตุใดคำถามเกี่ยวกับตถตะ พุทธะ ธรรมกาย


 
อาจารย์เซนจึงกระตุ้นให้ผุดออกมาจากภายในสู่ภายนอก
ขอให้ลองมาพิจารณาถึงปัญหา ซึ่งศิษย์เซนมักจะถามอาจารย์ของตนว่า
" พุทธะ คืออะไร " และนี่คือตอบต่าง ๆ
อันอาจนับได้ว่าเป็น อภิวัจนะ

http://btgsf1.fsanook.com/weblog/img/url/btgsf1.fsanook.com/album/files/jpg/225/1129748.jpg;r:width=415,height=415;file:49fd2e.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน


" พระพุทธเจ้าหรือ อยู่ในสถานศักดิ์สิทธิ์นั่นไง "
" พระองค์ทำด้วยดินเหนียว และถูกห่อหุ้มด้วยทอง "
" อย่าพูดจาไร้สาระ "
" ภยันตรายมาจากปากของเธอเอง "
" เราถูกล้อมรอบอยู่ด้วยภูเขา "
" จงมองดูชายผู้มีอกเปลือยเปล่า และเดินไปด้วยเท้าเปล่านั่นสิ "


บางทีคำตอบเหล่านี้อาจจะทำให้เรางุนงง แต่บุคคลผู้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ด้วย
การกำหนดรู้ในสภาวะปัจจุบัน ย่อมอาจจะถึงการตรัสรู้ด้วยคำตอบอันใดอันหนึ่ง
ในคำตอบเหล่านี้ และบุคคลผู้ซึ่งหลงวนเวียนอยู่ในความหลงลืม
ก็อาจจะตื่นขึ้นด้วยคำตอบนี้ รวมทั้งบุคคลซึ่งวนเวียนอยู่แต่ในเรื่องของนามธรรม
ก็อาจจะกลับมาสู่ความเป็นจริงด้วยอาศัยคำตอบเหล่านี้เช่นกัน



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 17 มกราคม 2554 08:27:41 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/1281495029.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน


กุงอัน

กล่าวกันว่ามีการสนทนาสั้น ๆ ระหว่างอาจารย์เซนกับศิษย์
กว่า ๑,๗๐๐ ชนิด ซึ่งอาจนำมาใช้เป็นกุงอันได้
มีผู้เข้าใจกันว่ากุงอันเป็นข้อใหญ่ใจความ ที่นำมาใช้ในการฝึกฝนสมาธิชนิดหนึ่ง
แต่หาใช่เสียทีเดียวไม่

กุงอันเป็นภาษาจีน ( อ่านว่า โกอัน ในภาษาญี่ปุ่น ) แปลตามรากศัพท์เดิมว่า
เอกสารทางการตัดสินความ ที่แปลกันอยู่ทั่วไปเป็นภาษาไทย
มักเรียกว่าปริศนาธรรมกุงอัน ใช้เป็นวิธีในการฝึกหัดเซน
ผู้ฝึกฝนย่อมใช้กุงอันในการปฏิบัติสมาธิ จนกระทั่งจิตใจของเขาตื่นขึ้น พูดง่าย ๆ
คืออาจเปรียบกุงอันเหมือนกับโจทย์ทางคณิตศาสตร์
ซึ่งนักเรียนจะต้องทำเพื่อหาคำตอบออกมาแต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อแตกต่างอยู่
ระหว่างกุงอันกับโจทย์คณิตศาสตร์นั้นมีวิธีทำอยู่ในตัวโจทย์เอง
แต่คำตอบของกุงอัน กลับมีอยู่ในชีวิตของผู้ฝึกฝน

กล่าวอีกนัยหนึ่ง กุงอันคือเครื่องมืออันมีประโยชน์ ที่ใช้สำหรับการบำเพ็ญเพียร
เพื่อการตรัสรู้
เหมือนกับจอบเป็นเครื่องมืออันมีประโยชน์สำหรับ
ใช้ทำงานบนพื้นดิน สิ่งที่จะได้รับเป็นผลตอบแทนจากการทำงานบนพื้นดิน
ขึ้นอยู่กับ บุคคล ผู้ทำการงานมิใช่ขึ้นอยู่กับจอบ



กุงอันจึงมิใช่ข้อปัญหาอันจะต้องเฉลย นี่เป็นเหตุที่ทำให้ไม่อาจพูดได้
อย่างเต็มที่ว่า กุงอันเป็นข้อใหญ่ใจความสำคัญของการปฏิบัติสมาธิภาวนา
และมิได้เป็นจุดมุ่งหมายหรือตัวสมาธิภาวนา
ด้วยกุงอัน เป็นเพียงอุบายซึ่งช่วยให้ผู้ฝึกฝนได้ไปถึงจุดหมายของเขา

กุงอันเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ถัง ผู้ฝึกฝนเซนแต่ละคน
ต่างก็มีกุงอันของตนไว้สำหรับพิจารณา แต่ในสมัยก่อนหน้าราชวงศ์ถังขึ้นไป
อาจารย์เซนไม่ค่อยใช้กุงอันกันเท่าไหร่นัก ด้วยการฝึกฝนเซนนั้น
กุงอันมิใช่บางสิ่งบางอย่าง อันสูงสุดชนิดที่มิอาจขาดได้ หากเป็นเพียงอุบาย
ซึ่งอาจารย์เซนได้สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อช่วยศิษย์ในการแสวงหาตามทาง
ของแต่ละคน และกุงอันเองยังอาจจะกลับกลาย เป็นอุปสรรคอย่างใหญ่
ต่อการ ตรัสรู้ ได้เสียอีก หากผู้ฝึกมัวไปคิดว่ามีสัจจะแฝงอยู่ใน กุงอัน
และสามารถแสดงสัจจะนั้นออกด้วยระบบของการใช้ความนึกคิด

ท่านฮะกุอิน อาจารย์เซน( พระเซนชาวญี่ปุ่นนิกายรินซาย )
มักจะยกมือข้างหนึ่งของท่านขึ้น พร้อมกับถามศิษย์ของท่านว่า
" เสียงของการตบมือข้างเดียวเป็นอย่างไร "
นี่แหละคือกุงอัน


ผู้คนมักจะคิดทบทวน มักจะต้องการรู้ว่าเสียงซึ่งเกิดจากมือข้างเดียวนั้นเป็นอย่างไร
จะมีความหมายอันยิ่งใหญ่ซึ่งแฝงเร้นอยู่ในคำถามนี้หรือไม่ ถ้าไม่มี เหตุใดท่านฮะกุอิน
จึงได้ถามปัญหาขึ้นและถ้าหากว่ามีคำตอบอยู่จริงแล้ว จะหาคำตอบนั้นได้อย่างไร

ปัญญาของเรามักจะสร้างหลักการแห่งเหตุผลขึ้น และใช้ในการแสวงหาสัจจะ
ซึ่งที่จริงแล้วเหมือนกับรถไฟ ซึ่งมีรางทอดยาวอยู่เบื้องหน้าและพุ่งตามรางไปเรื่อย ๆ
ครั้นมาบัดนี้ รางได้ถูกตัดขาดและรื้อถอนออกเสีย ความเคยชินแต่ดั้งเดิมก็ยังฝืน
สร้างรางอันเป็น มายา ขึ้น
เพื่อให้รถไฟแห่งปัญญาสามารถแล่นต่อไปเบื้องหน้า
เหมือนแต่ก่อน จงระวังไว้ให้ดี
หากยังขืนแล่นต่อไปเบื้องหน้า ก็จะตกอยู่ในหายนะภัยอันใหญ่หลวง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 06:23:59 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: 17 มกราคม 2554 13:27:24 »




" เสียงของการตบมือข้างเดียวเป็นอย่างไร "

คำถามเช่นนี้ เหมือนกับขวานซึ่งตัดรางที่อยู่เบื้องหน้ารถไฟออก
ทำลายนิสัยชอบคิดชอบค้นคว้าในตัวเรา และถ้าหากว่าผลไม้สุกงอมพอแล้ว
หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าจิตของเราได้ตระเตรียมไว้ดีแล้ว คมขวานที่ฟาดฟัน
ลงไปนี้ก็จะช่วยให้เรา หลุดพ้นจากพันธนาการ ซึ่งได้ผูกมัดเราให้อยู่ในโลกซึ่ง
" มีชีวิตอยู่ดังคนที่ตายแล้ว " มาเป็นเวลาหลายปี และช่วยนำเรากลับมาสููู่่่
การมีชีวิตอยู่ในความเป็นจริง แต่หากเราไม่พร้อมที่จะรับความจริง เราก็ท่องเที่ยว 
" แสวงบุญ "  อย่างไร้สาระต่อไป ในโลกของการ  " นึกคิด "

" เสียงของการตบมือข้างเดียวเป็นอย่างไร "

คำถามท้าทายอยู่เบื้องหน้าของเราแล้ว และเราก็พากันขบคิดอย่างเคร่งเครียด
เราสร้างภาพพจน์ของ " เสียงตบมือข้างเดียว " ตั้งร้อยตั้งพันแบบต่าง ๆ กัน
แต่อาจารย์ ก็บอกกลับมาว่า " ไม่ใช่ " อยู่เสมอ เมื่อหมดหนทางเข้า เราก็ชัก
จะบ้าคลั่ง ขาดสติสัมปชัญญะ ด้วยเหตุมาจาก " กุงอัน " อันน่าสาปแช่งนี้

และในช่วงเวลาอันเป็นจุดวิกฤติอย่างร้ายแรงนี้เอง แน่นอนอย่างยิ่งว่าหนทาง
กลับไปสู่ตนเองก็ได้เริ่ม ดังนั้น " เสียงของการตบมือข้างเดียว "อาจจะ
กลายเป็นดวงอาทิตย์ซึ่งฉายลงมายังความเป็นอยู่ของเราก็อาจจะเป็นได้

เสียงเหย็น เป็นศิษย์ของอาจารย์โปจัง เสียงเหย็นเป็นคนเอาใจใส่ ขยันขันแข็ง
แม้เมื่ออาจารย์ของท่านมรณภาพไปแล้ว ท่านก็ยังมิได้ตรัสรู้ ท่านจึงได้ไป
ฝากตัวอยู่กับอาจารย์ไหว่ซัน
และปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน วันหนึ่งอาจารย์ไหว่ซันถามเสียงเหย็นว่า



" เธอลองพูดให้ฟีงเรื่องการเกิดและการตายซิ บอกว่าใบหน้าและดวงตาของเธอ
ก่อนที่เธอจะถือกำเนิดขึ้นมานั้นเป็นอย่างไร "

เสียงเหย็นได้พยายามตอบไปต่าง ๆ นานา แต่ก็ไร้ประโยชน์ ท่านจึงกลับมายังกุฏิ
ใช้เวลาทั้งกลางวันและกลางคืนในการอ่านพระสูตรที่ท่านได้ศึกษามา
ค้นหาบันทึกที่ท่านได้ทำไว้สมัยอยู่กับอาจารย์โปจัง แต่ท่านก็ยังมิอาจหาคำตอบได้
ครั้นเมื่อท่านกลับไปหาอาจารย์ไหว่ซัน อาจารย์ก็ได้บอกท่านว่า

" ฉันไม่ได้ต้องการจะรู้ว่าเธอมีความรู้อยู่มากน้อยเพียงใด ฉันเพียงแต่ต้องการ
จะรู้ถึงความล้ำลึกแห่งจิตของเธอเท่านั้น ดีละ ลองบอกอะไรมาซักทีซิ "

" กระผมไม่รู้ที่จะพูดประการใด ขอให้อาจารย์ได้กรุณาสั่งสอนกระผมด้วย "
เสียงเหย็นตอบ แต่ท่านไหว่ซันกลับพูดว่า
" จะมีประโยชน์อะไรเล่า หากฉันจะบอกทัศนะของฉันแก่เธอ "

เสียงเหย็นรู้สึกหมดอาลัยตายอยาก คิดว่าอาจารย์คงไม่เต็มใจที่จะช่วย จึงเผา
หนังสือที่มีอยู่ทั้งหมดทิ้ง และปลีกตัวไปอาศัยอยู่ในที่อันห่างไกล รำพึงกับ
ตนเองว่า " เรื่องอะไรจะต้องไปศึกษาพุทธศาสนาให้ยากเย็น
ไม่เห็นจำเป็นจะต้องไปเป็นผู้รู้ในหลักลัทธิ ฉันอยากจะมีชีวิตอยู่เฉกเช่น
พระภิกษุอันธรรมดาสามัญมากกว่า "

อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่ท่านกำลังเตรียมพื้นดินเพื่อที่จะปลูกถั่วคราดเหล็กที่ท่านถือ
อยู่ฟันไปกระทบก้อนกรวด ทำให้ก้อนกรวดนี้กระเด็นไปกระทบกับกิ่งไผ่
เกิดเสียงดัง " แกร็ก " ขึ้น เสียง " แกร็ก " นี้เองทำให้ท่านได้ตรัสรู้ สิ่งที่
อาจารย์ไหว่ซันเรียกว่า " ใบหน้าและดวงตาของเธอก่อนที่จะถือกำเนิดขึ้นมา "
ทันใดนั้นก็ฉายแสงอยู่ในดวงจิต และท่านก็ได้เข้าถึงความ ตรัสรู้ ในขณะนั้น




อาจารย์ไหว่ซันไม่ต้องการจะนำเสียงเหย็นเข้าไปใน โลกแห่งปัญญา ท่านต้องการให้
เสียงเหย็นกลับไปสู่ ธรรมชาติที่แท้ของตน และแท้จริงแล้วเสียงเหย็นอาจ ตรัสรู้ ได้
ก็โดยที่ท่านได้ " ละ " ความมานะบากบั่น ในการสั่งสมปัญญาทางวิชาการ
ในกรณีนี้แหละที่ กุงอัน ได้กระทำหน้าที่เป็นอย่างดี นับว่ามีประสิทธิภาพ
อย่างสูงในการนำผู้ฝึกฝนให้กลับไปสู่เส้นทางแห่ง
ความชัดเจนทางด้านจิต และช่วยสร้างจุดวิกฤติเพื่อมุ่งที่จะให้เกิด การ ตรัสรู้ ขึ้น



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: 18 มกราคม 2554 07:38:25 »





คำว่า " ไม่ใช่ " ของอาจารย์เจาจู

ภิกษุรูปหนึ่งถามอาจารย์เจาจูว่า " แม้ว่าสุนัขก็มีธรรมชาติแห่งการ ตรัสรู้ อยู่
ใช่หรือไม่ " อาจารย์ตอบว่า " ไม่ใช่ " อยู่ต่อมาภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ก็ถามอาจารย์ว่า " แม้สุนัขก็มีธรรมชาติแห่งการตรัสรู้อยู่ใช่หรือไม่ " เจาจูตอบว่า " ใช่ "



เหตุใดคำตอบทั้งสองจึงตรงกันข้าม ทั้งที่คำถามนั้นเป็นคำถามเดียวกัน อาจอธิบายได้ว่า
เป็นเพราะพระภิกษุผู้ถามคำนามมีสภาพจิตที่แตกต่างกัน
คำตอบว่า " ใช่ "และ " ไม่ใช่ " อาจถือได้ว่าเป็นอุบายที่มุ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบ
อันมีคุณค่าต่อผู้ฝึกฝนเซน ทั้งสองคำนั้นมิอาจถือว่าเป็นสัจจะที่มุ่งมาดได้
แต่ในแง่ของสัญลักขณภาพแล้ว ถือได้ว่าคำตอบที่ว่า " ใช่ " เป็นคำตอบที่ถูก



ดังที่ศาสนาพุทธฝ่ายมหายานถือว่า สัตว์ทุกชนิดมีธรรมชาติแห่งการตรัสรู้อยู่ในตัว
แต่ในแง่ของอสัญลักขณภาพหรือในโลกแห่งความเป็นจริง โลกแห่งสัจจะนั้น คำพูดที่ว่า
" ใช่ "ไม่แตกต่างอะไรไปจากคำพูดที่ว่า " ไม่ใช่ " อีกต่อไป คำว่าใช่จึงดำเนิน
บทบาทที่แตกต่าง
กันออกไป
มีแต่เพียงจิตใจของผู้ฝึกฝนเท่านั้นที่อาจรับรู้ความหมายจากคำพูดนั้นได้โดยตรง



คำว่า " ใช่ " ของอาจารย์เจาจู ได้มีอาจารย์เซนคนอื่น ๆ นำไปใช้เป็นกุงอัน
สำหรับศิษย์ของตน ขอให้ลองมาดู
ข้อเขียนของอาจารย์วูเมน ซึ่งได้เขียนไว้ในเรื่องวูเมนก๋วน เป็นตัวอย่าง

" เพื่อที่จะเข้ามาสู่เซน จำเป็นที่จะต้องผ่านประตูของพระสังฆราช เพื่อที่จะตรัสรู้
จำเป็นที่จะต้องไปถึงก้นบึ้งแห่งจิต ถ้าเธอไม่อาจผ่านประตูของสังฆราช
ไม่อาจไปถึงก้นบึ้งแห่งจิต เธอก็จะเป็นเพียงวิญญาณอันแฝงเร้น อยู่ตามพุ่มไม้ใบหญ้า
อยู่ตลอดไปแต่อะไรเล่าคือประตูของสังฆราช คำว่า ' ไม่ใช่ ' เพียงคำเดียวนี้แหละ



คือประตูของนิกายเซนทั้งหมด
ผู้ซึ่งสามารถผ่านประตูนี้ได้
ย่อมไม่เพียงแต่ได้พบกับตัวอาจารย์เจาจูเท่านั้น แต่ยังจะได้ร่วมเดินเคียงบ่าเคียงไหล่
ไปกับบรรดาพระมหาสังฆราชองค์อื่น ๆ ด้วย เขาจะได้แลเห็นสรรพสิ่งด้วยสายตา
แบบเดียวกันได้ยินเสียงด้วยหูอย่างเดียวกัน
นี่มิใช่เป็นความเบิกบานอันใหญ่ยิ่งหรอกหรือ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มิถุนายน 2555 15:46:59 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: 19 มกราคม 2554 14:52:19 »





ในพวกเธอ จะมีใครบ้างใหมที่ปรารถนาจะ ผ่าน ประตูนี้
ถ้ามีละก็ ฉันจะขอเชื้อเชิญให้เขาลองใช้กายสังขารอันน่าทึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
กระดูก ๓๖o ชิ้น ขุมขนทั้ง ๘๔,ooo
เพื่อพิจารณาในถ้อยคำที่ว่า " ไม่ใช่ " เพียรพยายามอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน
โดยไม่พักผ่อนอย่าเข้าใจเอาว่า
' ไม่ใช่ ' หมายถึง ' ความไม่มี ไม่เป็น อะไรเลย ' อย่าเข้าใจว่า
เป็น สัญลักษณ์ อันตรงกันข้ามกับคำว่า ' ใช่ ' เธอจำเป็นที่จะต้องกล้ำกลืนคำคำนี้ลงไป
เหมือนกับเธอกำลังกลืนกินลูกเหล็กที่ร้อนแดงอยู่ และไม่อาจจะเอากลับออกมาได้



จำเป็นที่เธอจะต้องขจัดความรู้ ความรู้ทั้งหมดที่เธอได้สะสมเอาไว้เป็นเวลานาน
จิตใจของเธอก็จะเริ่มสุกงอมอย่างช้า ๆ สักวันหนึ่งโลกภายในและภายนอก
ก็จะมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว และเธอก็จะตื่นขึ้นคล้ายกับการตื่นขึ้น
จากความฝันของคนผู้นอนซบเซา
เธอก็จะเก็บรักษาสิ่งที่เธอได้ครอบครองไว้ในตัว
โดยไม่สามารถจะอธิบายถึง สิ่งที่เธอเป็นอยู่ให้ใครเข้าใจได้ การตรัสรู้นั้นจะทำให้
ทั่วพิภพและสรวงสวรรค์สะเทือนสะท้าน เหมือนกับเธอได้ถือดาบอันสูงค่าไว้ในมือ

เมื่อเธอพบพระพุทธองค์ จงสังหารพระพุทธองค์เสีย เมื่อเธอได้พบพระสังฆราช
จงสังหารพระสังฆราชเสีย เธอจะไปถึง อิสรภาพ อันสมบูรณ์
ที่ริมขอบของ ชะตาและมรณะ เธอจะเดินฝ่าไปในภูมิทั้งหก *และโยนิทั้งสี่
**ในขณะที่ดำรงอยู่ในสมาธิ

* ภูมิหก นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา
** โยนิสี่ ชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ

เราจะถึงสภาวะนี้ได้ก็เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น คืออุทิศแรงพลังทั้งหมดเท่าที่มี
ในการพิจารณาคำว่า " ไม่ใช่ " โดยไม่หยุดยั้งอยู่แม้แต่วินาทีเดียว
การ ตรัสรู้ ย่อมเป็นของแน่
เหมือนไส้ตะเกียงซึ่งลุกวาบขึ้นในขณะที่อยู่ไกล้กับเปลวไฟฉันนั้น จงดูสิ

' ธรรมชาติแห่ง พุทธะ ของสุนัขนั้น เป็นประกาศิตจากเบื้องบน
มีอยู่แน่แท้ ด้วยความคิดว่า " มีหรือไม่มี " ชีวิตก็จะสูญเปล่าไปเสีย ' "


กลอนบทนี้ของท่านวูเมนก็เป็น กุงอัน อันยิ่งใหญ่อันหนึ่ง วูเมนหมายความว่าอะไร
เมื่อท่านพูดว่า " ... ใช้กายสังขารอันน่าทึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกระดูก ๓๖o ชิ้น
ขุมขนทั้ง ๘๔, ooo เพื่อพิจารณาในถ้อยคำ " ไม่ใช่ "
เพียรพยายามอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยไม่พักผ่อน " ซึ่งเป็นคำพูดธรรมดาอย่างยิ่ง



ท่านหมายถึงว่า ให้เราจุดแสงสว่างให้แก่ชีวิตการดำรงอยู่ของตนเอง
เราจะไม่ยอมให้ความมืดเข้ามาครอบงำ เราจะต้องไม่จมอยู่กับจิตใต้สำนึกและความหลงลืม
เราจะต้องมีชีวิตอยู่ทุกวินาที กระดูกทั้ง ๓๖o ชิ้น และขุมขนทั้ง ๘๔, ooo จะต้องตื่นตัวอยู่่
เหมือนกับแสงเทียน ท่ามกลางแสงเทียนนี้เองที่โฉมหน้าของ" ไม่ใช่ "จักเผยตัวออกมา


นี่เป็นชีวิตจริงที่ไม่เกี่ยวกับความนึกคิดหรือการเล่นคำ การตีฝีปาก ปัญหาเกี่ยวกับ
ชีวิตและความตาย คือลูกเหล็กแดงร้อนก็ถูกกลืนเข้าไป จะคายออกก็ไม่ได้
ด้วยชีวิตเป็นบางสิ่งบางอย่าง
ที่อยู่เหนือกว่าเหตุผล ความคิดคำนึง จงอย่าเข้าใจว่า ไม่ใช่ นั้นคือความเป็นอะไรเลย
อย่าคิดว่าการ ไม่มีอยู่ นั้นตรงกันข้ามกับความ มีอยู่ ด้วยว่า
" หากยังวุ่นวายอยู่ด้วยความคิดว่า " มีหรือไม่มี " ชีวิตก็จะสุญเปล่าไปเสีย "


แน่นอนชีวิตของเราจะสูญเปล่าไป หากเราหลีกหนีการใช้ชีวิตตามความเป็นจริง
เมื่อไปอยู่ในโลกแห่งความคิดอันล้ำลึกแล้ว เราก็จะเป็นเพียงวิญญาณพเนจร
ไร้ทั้งเลือดเนื้อและกระดูกอันได้ประกอบขึ้นเป็นชีวิตจริงของเรา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มิถุนายน 2555 18:44:18 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #34 เมื่อ: 20 มกราคม 2554 09:03:58 »





เข้าสู่วัฏฏะคือวงกลม

อาจารย์ฮวงโป ได้กล่าวไว้ถึงคำว่า " ไม่ใช่ " ของท่านเจาจูว่า

" ทุกผู้คนที่ถือว่าตัวเองเป็นอัศวิน จะต้องเพียรใคร่ครวญต่อกุงอันนี้ จงอยู่กับคำว่า
" ไม่ใช่ " นี้ตลอดทั้ง ๒๔ ชั่วโมง ไม่ว่าเธอจะนั่ง นอน ยืน ไม่ว่ากำลังจะแต่งตัว
รับประทานอาหาร ดื่มน้ำหรือเข้าห้องน้ำ จิตของเธอจะต้องรวบรวมพลังจดจ่ออยู่
กับคำว่า " ไม่ใช่ " นี้ สักวันหนึ่งที่ดอกไม้แห่งจิตจะเบิกบานออก และเธอจะได้
เห็นหนทางแห่ง " อิสรภาพ " อันยิ่งใหญ่เปิดโล่งอยู่เบื้องหน้า
เมื่อนั้นเธอจะไม่ถูกลวงให้หลงโดยพระแก่ ๆ กับ กุงอัน ของท่านอีกต่อไป "



ที่ท่านฮวงโปพูดนั้น ไม่ผิดแผกไปจากคำพูดของท่านวูเมนเลย ท่านฮวงโปถือว่า
กุงอัน เป็น อุบาย ที่นำใช้เป็น ปัจจัย เท่านั้น
ในขณะที่ท่านพูดถึง

" การถูกลวงให้หลงโดยพระแก่ " คืออาจารย์เจาจูผู้คิด กุงอัน ข้อนี้ขึ้น

ลองมาดูถึงตัวอย่างเรื่อง " ต้นสนในสวน " ซึ่งท่านเจาจูพูดกับศิษย์อีกครั้ง ต้นสน
ที่อยู่ในสวนนั้น เป็นต้นไม้ของบุคคลเพียงสองคน
คือท่านเจาจูและศิษย์ของท่านเท่านั้น เมื่อผู้หนึ่งชี้ไปที่ต้นสนในสวนและพูดกับอีกผู้หนึ่ง
ว่า " จงมองดูต้นสนที่อยู่ในสวนสิ " คราวนี้ลองมาสมมติกันว่า มีวัฏฏะคือวงกลม
ล้อมรอบตัวท่านเจาจูและศิษย์กับต้นสนอยู่ส่วนพวกเราต่างอยู่นอกวงกลม
ท่านเจาจูชี้ให้ศิษย์ดูต้นสนมิได้ชี้ให้เราดู เราเป็นเพียง ผู้ดู ที่ไม่เกี่ยวข้อง เราไม่มีทางรู้้
ว่ามีอะไรเกิดขึ้นระหว่าง ท่านเจาจูและศิษย์กับต้นสน และปัญหานั้นจะผุดขึ้นมาในตัวเรา
ก็ต่อเมื่อเราได้มีต้นสนของเราเอง



แต่ที่ว่า " ต้นสนของเราเอง " นั้น หมายความถึงอะไร ต้นสนซึ่งอยู่ในวงกลมนี้ี้
จะเป็นของเราก็ต่อเมื่อเราได้เข้าไปอยู่ในวงกลมเสียเอง
เมื่อเรายอมรับเอา กุงอัน มาเป็นของเราเสียเอง เมื่อเราไม่มัวแต่ไปศึกษากุงอันแทนผู้อื่น

กุงอันจะเป็นกุงอันก็ต่อเมื่อมันเป็นของเรา กุงอันของผู้อื่นหาใช่กุงอันไม่ ดังนั้น
ต้นสนของศิษย์ท่านเจาจูก็ไม่ใช่ต้นสนของเรา
เราจะต้องทำให้ต้นสนกลายมาเป็นของเรา และเมื่อกลายมาเป็นของเราแล้ว ก็จะ
 
" ไม่กลับมาเป็นของคนอื่นอีก " พูดง่าย ๆ ก็คือ " ต้นสนของเรากับของคนอื่น
ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
" ด้วยก็เป็นต้นสนสองต้นที่ " แตกต่างกัน " นั่นเอง



ขั้นแรก เราจะต้องปฏิเสธที่จะเป็นเพียงผู้ดูเท่านั้น จงมองดูต้นสนด้วยตาของเราเอง
ท่านเจาจูอยู่นั่นไง อยู่เบื้องหน้าของเรา และต้นสนก็ขึ้นอยู่ในสวนไม่ห่างไกล
เรากำลังประจันหน้าอยู่กับท่านอาจารย์เจาจู
กำลังประจันหน้าอยู่กับต้นสน เราเห็นต้นสนไหม ถ้าเห็นแล้ว ก็เป็นอันว่ากุงอันนั้นสำเร็จ

จะเป็นต้นสน ต้นมะนาว หรือต้นหลิวก็ไม่สำคัญ อาจจะเป็น ก้อนเมฆ แม่น้ำ
หรือแม้แต่มือที่วางอยู่บนโต๊ะ ถ้า " เห็น " มันละก็ เมื่อนั้น " กุงอัน " ก็สำเร็จผล



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มิถุนายน 2555 19:08:08 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 20 มกราคม 2554 09:23:02 »





บางครั้ง อาจารย์เซนก็นำ กุงอัน เก่า ๆ ที่เคยมีอยู่แล้วมาใช้แทนที่จะคิดค้นขึ้นใหม่
นี่มิได้หมายความว่าท่านปล่อยปละละเลย ให้ศิษย์เป็นเพียงผู้ดู
ใช้แต่สติปัญญาของตัวไปพิจารณากุงอันของผู้อื่น
อาจารย์เซนต้องการให้กุงอันของเก่า
กลับมาเป็นของใหม่และให้ศิษย์รับเอาไปเป็นของตน
ภิกษุรูปหนึ่งได้ถามอาจารย์เดียนง ูเกียกหวง อาจารย์เซนชาวเวียดนามในสมัยศตวรรษที่ ๑๓
ว่า " อะไรคือการทำเพื่อความก้าวหน้าแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน " ท่านเดียนงูตอบว่า
" คือการ คอนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไว้ ที่ปลายไม้เท้า "


" กุงอันเก่ามีประโยชน์อย่างไร " พระภิกษุรูปนั้นถามขึ้น
" ทุกครั้งที่นำกลับมาใช้ กุงอันก็ใหม่อยู่เสมอ " ท่านเดียนงูยิ้ม



หากว่าผู้ใดไม่อาจเห็นต้นสน ก็เป็นด้วยผู้นั้นไม่อาจทำให้ต้นสน กลายเป็นต้นสนใหม่
หรือต้นสนแห่งสัจจะสำหรับตัวเรา
และเป็นเพราะผู้นั้น มัวแต่ไปพึงใจอยู่กับการค้นหา มองหาต้นสนของคนอื่น

หลังจากที่ท่านเจาจูได้มรณภาพแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ไปเล่าเรียนศึกษากับศิษย์
ผู้สำเร็จของท่านเจาจู
" อาจารย์เจาจู ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับต้นสนบ้างหรือไม่ "
ภิกษุรูปนั้นถามขึ้น
" หามิได้ อาจารย์มิได้พูดอะไรเกี่ยวกับต้นสนเลย " ศิษย์สำเร็จตอบ


แต่กุงอันเรื่องต้นสนนี้เป็นี่รู้จักกันโดยทั่วไป ทุกคนในวงการเซนพูดกันถึงต้นสนนี้ทั้งนั้น
เหตุใดศิษย์ของอาจารย์เจาจูจึงปฏิเสธความจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปเล่า
ดังนั้น ภิกษุรูปนี้จึง รบเร้า ต่อไป
" ทุกผู้คนต่างรู้อยู่แก่ใจว่า อาจารย์ของท่านได้ตั้งกุงอันเรื่องต้นสนขึ้น เหตุใดท่าน
จึงปฏิเสธด้วยเล่า "
" อาจารย์ไม่เคยตั้งกุงอันเช่นนั้นขึ้นเลย เธอควรจะหยุดสบประมาทท่านได้แล้ว "

ศิษย์ท่านเจาจูตอบอย่างเฉื่อยชา



เป็นที่น่าประหลาดใจว่า เหตุใดศิษย์ผู้สำเร็จของอาจารย์เจาจูจึงทำเช่นนั้น

คำตอบง่ายแสนง่าย คือ " ต้นสนมิอาจแลเห็นได้ " ด้วย รูปนั้น อยู่นอกวงกลม
มาบัดนี้สิ พระกลับมาแลหาต้นสนซึ่งได้ตายไปแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นละก็
" ฆ่า " ต้นสนนั้น
ให้ตายไปเสียดีกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงคำนินทาว่าร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้

คำตอบของศิษย์อาจารย์เจาจูได้กลายเป็นกุงอันใหม่ อันอาจทำให้ใคร ๆ
อาจแลเห็นต้นสนต้นมหึมาผุดตระหง่านขึ้นมา
ซึ่งจะกลายเป็นพลังแห่งชีวิตใหม่ แต่ไม่ว่าจะมีผู้แลเห็นหรือแลไม่เห็น
ต้นสนใหม่ก็ตาม ต้นสนเก่าของอาจารย์เจาจูก็ยังคงไร้ประโยชน์อยู่เช่นเดิม

หาจำเป็นต้อง เกี่ยวพัน ไปถึงไม่


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 สิงหาคม 2555 20:58:23 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg+จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #36 เมื่อ: 22 มกราคม 2554 13:10:15 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/thita/1281500640.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน


จิตใจจะต้องสุกงอมเสียก่อน

กุงอันมิใช่สิ่งที่ใช้ศึกษาค้นคว้าเท่านั้น แต่กุงอันทุกข้ออาจถือเป็นดรรชนีที่ชี้
ไปสู่ความจริง ความจริงแห่งธรรมชาติของเราความจริงของโลก

ดรรชนีนี้อาจทำหน้าที่ของผู้ชี้ ก็ต่อเมื่อมันได้ชี้ตรงมาที่เราหรือกล่าวได้ว่า
หากเรารู้สึกว่าสัญลักษณ์นี้เป็นสัญญาณของเราโดยตรงแล้ว
เราก็คงจะระมัดระวังเอาใจใส่มาก เพราะเรากำลังเผชิญหน้าอยู่กับ
อาจารย์ผู้เฝ้าสังเกตุดูด้วยสายตาอันคมกริบ และอาจารย์อาจจะเอาไม้ตีเรา
ในขณะใดก็ได้เหมือนดังว่าเราไปอยู่ที่ริมหุบเหวอันสูงชัน และเสี่ยงต่อ
การที่จะร่วงหล่นไปในขณะใดขณะหนึ่ง ในสภาวะเช่นนี้แหละที่ดวงจิตของเรา
จะได้รับความตระหนกและสะดุ้งขึ้น โดยมีกุงอันเป็นเหตุ

และนี่คือกุงอันอีกอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความกระอักกระอ่วนของปัญหา
เกี่ยวกับ " การเกิดและการตาย " วันหนึ่งท่านเสียงเย็นได้กล่าวกับศิษย์ว่า

" หากว่ามีชายผู้หนึ่ง แขวนตัวเองอยู่บนต้นไม้สูง
โดยใช้ฟันคาบกิ่งไม้ไว้
ทั้งมือและเท้าของเขาห้อยโตงเตง จับยึดสิ่งใดมิได้ ยังมีชายอีกผู้หนึ่ง
ยืนอยู่ที่โคนไม้ ถามชายที่อยู่บนกิ่งไม้ว่า
' เหตุใดท่านโพธิธรรมอรหันต์จึงเดินสู่ประเทศจีน ' ดูเอาเองเถิด
ถ้าหากชายคนแรกจะต้องตอบคำถามนี้แล้ว ถ้าเขาอ้าปากพูดขึ้น
เขาก็จะร่วงหล่นลงมาถึงการแตกดับอยู่ในพื้นดินเบื้องล่าง
ดังนั้นแล้วเขาจะทำอย่างไรได้เล่า "

ฮูตูซึ่งเป็นหนึ่งในศิษย์อาสาตอบขึ้นว่า
" ท่านอาจารย์ โปรดอย่าได้ยกกรณีของชายผู้แขวนตัวเอง
อยู่ด้วยฟันขึ้นมากล่าวเลย

แต่จงพูดถึงกรณีของชายผู้ซึ่งลงมาอยู่บนพื้นเรียบร้อยแล้วเถิด "
ท่านเสียงเหย็นได้ฟังดังนั้นก็หัวเราะออกมาดังสนั่น



คงจะคาดกันได้ว่า ท่านเสียงเหย็นรู้สึกผิดหวังเพียงใด
ด้วยท่านใช้กุงอันของเก่ามาเปลี่ยนเป็นกุงอันอันใหม่ล้วนซึ่ง
มีอิทธิพลต่อจิตใจมาก แต่ในวันนั้น ฮูตูและเหล่าสหธรรมิก
ไม่อาจได้รับผลสนองตอบจากอิทธิพลของกุงอันเลย
แต่อาจเป็นไปได้ที่สามร้อยปีต่อมา คนที่อื่น ๆ อาจเข้าถึง
การตรัสรู้ได้ด้วยกุงอันเดียวกันนี้

เตซานมาหาท่านหลุงตันในตอนเที่ยงคืน และยืนอยู่ใกล้ ๆ
ท่านหลุงตันพูดขึ้นว่า" ดึกมากแล้ว เหตุใดเธอจึงยังไม่กลับที่พัก "
เตซานเปิดประตูออกไป และก็ก้าวกลับคืนมาในทันใด
พูดว่า " ข้างนอกมืดมาก " ท่านหลุงตันจึงจุดเทียนส่งให้

แต่ในขณะที่เตซานรับเอาเทียนไป ท่านหลุงตันดับเทียนเสียทันที
ฉับพลันนั้นความมืดก็เข้าครอบงำคนทั้งสองไว้
เตซานได้ตรัสรู้ในขณะนั้นเอง เตซานก้มลงโค้งคำนับท่านหลุงตัน
ความมืดอย่างฉับพลันนั้นเองที่ช่วยให้เตซานเข้าใจถึง
อากัปกิริยา
ของท่านหลุงตันอย่างแจ่มแจ้ง




ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วว่า ท่านเสียงเหย็นเคยคิดว่าไหว่ซัน
ไม่อยากจะสอนความลี้ลับของเซนให้แก่ท่าน
ดังนั้นท่านจึงออกจากสำนักเดินทางไปอยู่ในที่อื่น แต่มิได้มีเพียง
ท่านเสียงเหย็นรูปเดียวเท่านั้นที่คิดได้ดังนี้ แม้พวกศิษย์เซนอื่น
ก็คิดเช่นเดียวกันเมื่อเขาได้ถามปัญหาที่คิดว่าสำคัญ
และอาจารย์กลับทำเป็นไม่สนใจที่จะตอบ พวกนี้พากันบ่นว่า
" ข้าพเจ้ามาอยู่นี่ตั้งปีมาแล้ว
เหตุใดอาจารย์จึงปฏิบัติต่อข้าพเจ้าเหมือนกับผู้มาใหม่
"

มีพระภิกษุรูปหนึ่งถามอาจารย์หลุงตันว่า
" อะไรคือตถตะ อะไรคือปัญญา "ท่านหลุงตันตอบว่า
" ฉันไม่ได้ครอบครองตถตะ ฉันไม่มีปัญญาแม้แต่น้อย "

พระอีกรูปหนึ่งไปรบเร้าอาจารย์เจาจูให้สอนแก่นเซนให้ แทนที่จะตอบ
ท่านเจาจูกลับถามว่า " พระฉันเช้าแล้วหรือ " พระตอบว่าฉันเรียบร้อยแล้ว
ท่านจึงบอกให้พระกลับไปล้างจาน
พระอีกรูปหนึ่งถามอาจารย์หม่าซือถึงเรื่องจุดมุ่งหมาย
ของสังฆราชองค์แรก อาจารย์หม่าซือตอบว่า
" วันนี้ฉันเหนื่อยมาก ไม่อาจให้คำตอบแก่เธอได้ จงกลับไปถามพระภิกษุ

ผู้พี่ของเธอ ลองกลับไปถามเตซานดูสิ " ครั้นเมื่อพระไปถามท่านเตซาน
เตซานกลับถามย้อนว่า " ทำไมเธอจึงไม่ไปถามอาจารย์ "
พระก็ว่า " ถามแล้ว อาจารย์บอกว่าท่านเหนื่อยและให้มาถามเอากับหลวงพี่
" เตซานจึงตอบว่า " ฉันปวดหัว ลองไปถามพระซือไห่ผู้พี่ของเธอดูสิ "

ครั้นเมื่อพระไปถามท่านซือไห่ ซือไห่ก็ตอบว่า " ฉันไม่รู้ "


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #37 เมื่อ: 22 มกราคม 2554 13:25:46 »





การไม่ยอมตอบคำถาม หรือการกล่าวเลี่ยงไปเลี่ยงมา มิได้หมายความว่า
อาจารย์ไม่ยอมช่วยศิษย์ของตน อาจารย์เพียงแต่ต้องการให้ศิษย์หลุดพ้น
ออกจากโลกของความนึกคิด
ซึ่งยากยิ่งที่จะไปถึงการตรัสรู้ได้
ที่จริงแล้วอาจารย์อาจจะลอกข้อความและคำอธิบายมาจากพระสูตร เพื่อแสดงให้
เข้าใจถึงเรื่อง ตถตะ นิพพาน ปัญญาฯลฯ
แต่ที่ท่านไม่ทำด้วยท่านรู้ดีว่าคำอธิายนั้น
หาได้เกิดประโยชน์แก่การตรัสรู้ของศิษย์ไม่

หลุงตันอยู่กับอาจารย์เทียนหวงมากว่าปีโดยไม่ได้รับคำแนะนำใด ๆ
เกี่ยวกับความลี้ลับของเซนเลย วันหนึ่งหลุงตันทนไม่ไหว จึงร้องบอกว่า
" อาจารย์ กระผมอยู่กับท่านมาเป็นปีแล้ว แต่ท่านไม่เคยถ่ายทอดอะไรให้เลย
กระผมขอให้ท่านอาจารย์กรุณากระผมให้มากขึ้น "



เทียนหวงตอบว่า " ฉันสอนความลี้ลับของเซนให้เธออยู่ตลอดเวลานะ นับตั้งแต่
วันแรกที่เธอเข้ามาอยู่ในสำนักทีเดียว เมื่อเธอนำอาหารเย็นมาให้
ฉันก็แสดงความขอบใจ เมื่อเธอก้มคำนับ ฉันก็คำนับตอบ
ดังนี้เธอจะมากล่าวหาฉันว่าไม่ได้สอนหัวใจของเซนให้เธออีกละหรือ "

ท่านตินคอง อาจารย์เซนชาวเวียดนาม ได้กล่าวกับศิษย์ที่เข้ามาตีโพยพีพาย
กับท่านว่า
" เราอยู่ด้วยกันในอารามนี้ เมื่อเธอติดไฟ ฉันก็ซาวข้าว เมื่อเธอขอชาม ฉันก็ยื่น
ชามให้ มีหรือที่ฉันจะได้ละเลยเธอ "

เพื่อช่วยให้ศิษย์ข้ามแม่น้ำให้ถึงฝั่งพระนิพพาน อาจารย์เซนมักจะยื่นเสาหลักแห่ง
อุบายให้ ศิษย์อาจจะอาศัยเกาะหลักนี้ไป แต่หากดวงตาของเขายังปิดอยู่
และดวงจิตก้ยังมืดมัว เขาก็จะไม่พบเสาหลัก ภิกษุรูปหนึ่งมาถามอาจารยคามตันว่า



" อะไรคือ พุทธะ " ~ " ทุกสิ่งทุกอย่าง " อาจารย์ตอบ
" อะไรคือจิตแห่งพุทธะ " พระถามสืบไป
" ไม่มีอะไรถูกปิดซ่อน " อาจารย์ตอบ
" ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ "
" เธอได้พลาดโอกาสไปเสียแล้ว " อาจารย์กล่าว


ทุกคราที่มีการยื่นเสาหลักมาให้ ถ้าไม่ยึดจับเอาไว้ก็จะต้องปล่อยไป ไม่มีทางเลือก
ที่สามอีก ยิ่งลังเล ยิ่งจะผิดพลาด
ความลังเลแสดงว่าเรายังไม่พร้อมที่จะผ่านการทดสอบ และเมื่อล้มเหลว
เราก็ไม่ควรเศร้าโศก แต่ควรจะพยายามใหม่ เราจะต้องกลับไปทำกิจประจำวัน ตักน้ำ
ทำครัว ปลูกผัก ด้วยความมีสติ คือเครื่องกำหนด รู้ ให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

สมัยเมื่อท่านตรีเบ๋ายังมิได้ตรัสรู้ อาจารย์ของท่านได้ถามว่า " เธอมาจากใหน
เมื่อตอนเกิด เธอจะไปใหนเมื่อเธอตาย
" ตีเบ๋า พยายามขบคิด อาจารย์ยิ้มและบอกว่า
" ในห้วงแห่งความคิด เมฆหมอกก็ได้ลอยล่วงไปเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ ลี้แล้ว
ถ้าจิตเธอยังไม่สุกงอมแล้วไซร้ ความพยายามทั้งหมดล้วนเปล่าประโยชน์ทั้งสิ้น "



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 สิงหาคม 2555 19:36:32 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7862


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 8.0.552.224 Chrome 8.0.552.224


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 22 มกราคม 2554 17:02:10 »

สุดยอดครับ

อนุโมทนาสาธุครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #39 เมื่อ: 26 มกราคม 2554 11:19:09 »





ภาค ๔
ขุนเขา ยังยง คง ขุนเขา
นที ยังคง ดำรง ไหล




ตราแห่งจิต

เราอาจกล่าวได้ว่า ตราแห่งจิต นี้คือ ลำดับขั้นแห่งสัจธรรม
อันนำไปสู่การตรัสรู้ ดังนั้นตราแห่งจิตจึงไม่อาจถ่ายทอดกันได้
ผู้เป็นอาจารย์ย่อมไม่อาจส่งผ่านการตรัสรู้ไปสู่ศิษย์ของตน
แม้แต่จะไปสร้างการตรัสรู้ขึ้นในตัวศิษย์ก็ทำไม่ได้ อาจารย์เพียงแต่
่่สามารถช่วยให้ศิษย์ตระหนักถึงภาวะแห่งการตรัสรู้
ซึ่งศิษย์มีอยู่ในตนเองแล้ว



คำกล่าวที่ว่า" การส่งผ่านตราแห่งจิต "

เป็นเพียงสัญลักษณ์อันใช้แทนเท่านั้น ดวงตราแห่งจิตซึ่งถือว่า
เป็นตถตะบ้าง เป็นพุทธะบ้าง เหล่านี้ล้วนแสดงถึงธรรมชาติแห่งการตรัสรู้
ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแล้วถือว่า สรรพสัตว์ทั้งหมดทั้งสิ้น
ล้วนมีธรรมชาติแห่งการตรัสรู้ จึงอาจอ้างได้ว่าตราแห่งจิตมีอยู่แล้ว
ในคนทุกคนหาต้องมีการถ่ายทอดกันไม่ อาจารย์ วินีตะรุซี
ผู้ก่อตั้งนิกายเซนขึ้นในเวียดนาม ได้พูดกับฟ๊าบเหียนผู้ศิษย์ว่า



" จิตแห่งพุทธะ คือสัจธรรม นับว่าสมบูรณ์ถึงที่สุด

ไม่สามารถเพิ่มอะไรเข้าไปอีกได้ ไม่มีอะไรอยู่นอกเหนือไปจากนี้
ไม่มีใครอาจได้มา ไมมีใครอาจสูญสียไป ไม่ใช่สิ่งถาวร
และไม่ใช่สิ่งแปรผัน ไม่อาจสร้างหรือทำลาย
ไม่เหมือนและไม่แตกต่าง ชื่อที่ตั้งให้กับจิตชนิดนี้ เป็นเพียงอุบาย
เครื่องบอกเท่านั้น "



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 สิงหาคม 2555 19:27:34 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลียนภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #40 เมื่อ: 26 มกราคม 2554 11:33:57 »





" ชื่อที่ตั้งให้กับจิตชนิดนี้เป็นเพียงอุบายเครื่องบอกเท่านั้น " ข้อความนี้
ทำให้เราเห็นวิธีการในทางพระพุทธศาสนา คำว่านิพพานก็ดี
คำว่าปัญญา คำว่าตถตะก็ดี
เป็นเพียงถ้อยคำ เงื่อนไข ถ้อยคำอันเป็นเงื่อนไข
เครื่องกำหนดเหล่านี้ ย่อมไม่ใช่นิพพานปัญญาและตถตะที่แท้จริง
นี้ก็เป็นเช่นเดียวกับสัจภาวะแห่งการตรัสรู้ ซึ่งเซนเรียกว่า" ตราแห่งจิต "
อันเป็นเพียงสัญลักษณ์ซึ่งใช้เป็นอุบายเครื่องบอก เพื่อเป็นการโต้แย้ง ความคิดที่ว่า
ตราแห่งจิตเป็นสิ่งที่อาจถ่ายทอดหรืออาจรับมอบกันได้ อาจารย์โวงอนทอน
ก่อนท่านที่จะมรณภาพจึงได้ทิ้งบันทึกเล่มนี้ไว้ให้คามตันผู้ศิษย์

ดังที่มีเสียงเล่าลือ
แว่วมาจากจตุรทิศ
ว่าท่านมหาสังฆราช * ของเราเคยอยู่ในอินเดีย
และท่านได้ส่งทอด " ธรรมจักษุ " ต่อ ๆ กันมา



ดอกไม้ พร้อมกลีบทั้งห้า
พืชพันธุ์อันอมตะ
ถ้อยคำลี้ลับ รหัสนัย
และสิ่งคล้ายกันนี้นับด้วยพัน
ถูกถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจิต และธรรมชาติอันบริสุทธิ์
แต่แท้ที่จริงแล้ว

อินเดียอยู่ที่ใดเล่า
อินเดียอยู่ที่นี่

ี่

ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
คือดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในยุคสมัยของเรา
ขุนเขาและแม่น้ำ
คือแม่น้ำและขุนเขา ในยุคสมัยของเรา


การไปวุ่นวายอยู่กับสิ่งใด เท่ากับไปยึดมั่นอยู่กับสิ่งนั้น จะต้องกำจัด
แม้พระพุทธเจ้า หรือพระมหาสังฆราช มีความผิดพลาดเพียงหนึ่ง
ก่อให้เกิดความผิดนับพัน จงพิจารณาดูให้ชัด เพื่อจะได้ไม่ต้อง
หลอกลวงคนรุ่นหลังให้หลงผิด อย่าตั้งคำถามกับฉันต่อไปอีกเลย

ฉันไม่มีอะไรจะกล่าวอีกต่อไป ฉันมิได้เคยพูดอะไรมาเลยด้วยซ้ำ

* มหาสังฆราช ในที่นี้คือท่านโพธิธรรมอรหันต์ พระสงฆ์ชาวอินเดีย
ถือกันว่าเป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายเซน

" ฉันมิได้เคยพูดอะไรมาเลยด้วยซ้ำ " นี่คือถ้อยคำสรุปของอาจารย์โวงอนทอน
หลังจากที่ท่านได้กล่าวถ้อยคำอะไรบางอย่างเสร็จสิ้นลงแล้ว
จะเห็นได้อย่างแจ่มชัด ถึงวิธีการทางพุทธศาสนาคือการปล่อยให้จิตดำเนินไปเอง
การพูดอะไรบางอย่างโดยไม่ให้คนไปยึดมั่นถือมั่นในคำพูดนั้น
คือวิธีการที่เรียกว่าแบบ " โวงอนทอน " ซึ่งแปลว่า " สื่อสารโดยไร้คำพูด "
ซึ่งเป็นฉายาของอาจารย์เซนผู้นี้



ท่านปฏิเสธการยอมรับความคิดที่ว่าการตรัสรู้ถ่ายทอดกันได้ แต่
ในขณะเดียวกัน ท่านก็เกรงว่าศิษย์จะปฏิเสธความคิดเช่นนี้ ดังนั้น
ท่านจึงชี้ให้เห็นว่า " มีความผิดพลาดเพียงหนึ่ง ก่อให้เกิดความผิดนับพัน "
และยังเสริมอีกว่า " ฉันมิได้พูดอะไรออกมาเลย "



การจะได้ตราแห่งจิตมา ก็โดยมองลงไปให้แจ้งชัดในธรรมชาติของตน
ถ้าหากว่าตราแห่งจิตหรือ ตถตะ หรือ พุทธะ ซึ่งเป็นหลักสำคัญทางฝ่ายมหายาน
แต่อาจารย์เซนปฏิเสธที่จะตอบคำถามในเรื่องเหล่านี้ มิได้หมายความว่า
เซนเป็นปฏิปักษ์กับการตอบคำถามแต่เป็นด้วยเซนมุ่งจะป้องกันมิให้ผู้ศึกษา

สูญเวลาไปในการ นึกคิด โดยความเป็นจริงแล้วความคิดเกี่ยวกับเรื่อง
" ธรรมชาติแท้ " ของตถตะและพุทธะนั้น ผูกพันไกล้ชิดอยู่กับความคิด
และการฝึกฝนเซนเป็นอันมาก ความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติแท้อาจกลายเป็น
อุปสรรคของผู้ฝึกเซน
แต่ธรรมชาติแท้อีกนั่นแหละที่เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของเซน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 สิงหาคม 2555 19:26:15 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลียนภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 [2] 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สาระธรรมควรคิด ท่าน ว.วชิรเมธี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
เงาฝัน 0 3422 กระทู้ล่าสุด 26 มิถุนายน 2553 13:34:23
โดย เงาฝัน
หลักคิดชีวิตคู่ อยู่อย่างไรให้เหนียวแน่นหนึบ ท่าน ว.
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
เงาฝัน 3 3577 กระทู้ล่าสุด 09 กุมภาพันธ์ 2554 01:37:59
โดย เอส@_______@
สรรพสิ่งคือของใช้ อย่าเข้าใจว่าเป็นของฉัน ท่าน ว.
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2526 กระทู้ล่าสุด 14 พฤษภาคม 2554 02:32:43
โดย หมีงงในพงหญ้า
สิ่งธรรมดาคือสิ่งพิเศษ :ท่าน ติช นัท ฮันท์
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 2168 กระทู้ล่าสุด 10 มิถุนายน 2555 07:36:41
โดย เงาฝัน
ว่าด้วยเรื่องอนุภาค by S. N. Goenka (ท่าน อ.โกเอ็นก้า )
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2468 กระทู้ล่าสุด 29 กันยายน 2559 10:44:24
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.362 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กรกฎาคม 2567 09:59:07