[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 18:34:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 2 [3]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน  (อ่าน 38826 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 มีนาคม 2553 17:03:48 »





กุญแจเซน
โดย  ท่าน ติช นัท ฮัน
ภาค ๑ การกำหนดรู้ในสภาพปัจจุบัน
หนังสือเล่มน้อย



ข้าพเจ้าได้เริ่มเข้าไปปฏิบัติธรรมในวัดเซน เมื่อข้าพเจ้าอายุได้ ๑๗ ปี
หลังจากใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ ในการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตประจำวัน
ในวัดแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้ไปกราบคารวะต่อพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ดูแล
เพื่อขอให้ท่านช่วยสอน " วิถีแห่งเซน " แก่ข้าพเจ้า
แต่ท่านกลับยื่นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ตีพิมพ์ด้วยตัวอักขระภาษาจีนให้
พร้อมกับทั้งกำชับให้ศึกษาหนังสือนั้นจนกว่าจะขึ้นใจ

หลังจากได้กล่าวคำขอบคุณต่อท่านแล้ว ข้าพเจ้าถือหนังสือเล่มนั้น
กลับมายังกุฏิ หนังสือนั้นเป็นที่รู้จักกันอยู่ทั่วไป
ในหมู่พระนิกายเซน หนังสือนี้แบ่งออกเป็นสามตอน คือ

ตอน ๑ ว่าด้วยการนำสารัตถะแห่งพระวินัยมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอน ๒ ว่าด้วยพระวินัยข้อที่สำคัญ ๆ สำหรับผู้บวชใหม่
ตอน ๓ ว่าด้วยเทศนาของท่านกวยซัน อาจารย์


ไม่มีปรัชญาเซนอยู่ในหนังสือเล่มนี้เลย ทั้งสามตอนมุ่งจำเพาะแต่
การปฏิบัติการโดยตรง
ภาคแรก สอนวิธีในการควบคุมจิตและการตั้งดวงจิตให้แน่วแน่
ภาคสอง กำหนดหลักวัตรปฏิบัติและพระวินัยของพระภิกษุสามเณร
ภาคสาม เป็นร้อยแก้วอันมีคุณค่าและไม่อาจปล่อยให้สูญเปล่าไปอย่างไร้ประโยชน์



ข้าพเจ้าได้รับการยืนยันว่าหนังสือเล่มนี้ ( ซึ่งเรียก  ล้วตเถียว  ในภาษา
เวียดนาม อันมีความหมายว่า " คู่มือแห่งวัตรปฏิบัติเล่มน้อย " )
มิได้มีไว้เป็นคู่มือสำหรับพระเณรใหม่ ๆ ที่มีอายุขนาดข้าพเจ้าเท่านั้นเพราะแม้แต่
พระซึ่งมีอายุ ๓๐ หรือ ๔๐ แล้ว
ก็ยังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งคณะโดยนัยนี้เช่นกัน

ข้าพเจ้าได้รับการศึกษาแบบตะวันตกมาบ้างแล้ว ก่อนที่จะเข้ามาในวัดแห่งนี้
และข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจ
ที่วิธีในการสั่งสอนลัทธิในวัดเป็นวิธีแบบดั้งเดิมสมัยก่อนทั้งสิ้น

ประการแรกเราจะต้องอ่านจนจำข้อความทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ให้ได้ ต่อไป
จึงนำสิ่งที่อ่านมาปฏิบัติ โดยจะไม่ได้รับการสอนในเรื่องปรัชญาพื้นฐาน
เกี่ยวกับเรื่องเซนเลย ข้าพเจ้าได้นำความสังสัยนี้ไปปรึกษากับพระฝึกหัด *
อีกรูปหนึ่ง ซึ่งได้อยู่ที่นี่มาสองปีแล้ว ท่านได้บอกว่า
" นี่แหละคือมรรค ประตูแห่งมรรคเริ่มเปิดออกที่จุดนี้ ถ้าเธอปรารถนา
จะศึกษาเซนแล้วละก็ เธอจะต้องยอมรับมรรควิธีนี้ "

ซึ่งข้าพเจ้าได้ฟังแล้วก็ต้องยอมจำนนต่อคำตอบนั้น


* พระฝึกหัด พระที่บวชในนิกายเซน จะต้องศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นพระฝึกหัด
อยู่ระยะหนึ่งก่อน จนกว่าจะได้พิสูจน์ตนให้เห็นแล้วว่า
เป็นผู้ฝักใฝ่ธรรม จึงจะได้รับเลื่อนขึ้นเป็นพระเซนเต็มขั้น




 ยิ้ม :http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?t=5189

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2555 13:52:27 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #41 เมื่อ: 26 มกราคม 2554 12:11:50 »





จิตแท้ จิตไม่แท้



ท่านอาจารย์ฮวงโปได้พูดถึงความจริงแห่งธรรมชาติของจิตที่แท้จริง

" องค์พระสัมมาสัมพุทธะและสรรพสัตว์ทั้งปวง ต่างก็มีส่วนอยู่ในดวงจิต
อันบริสุทธิ์และมหัศจรรย์
ไม่มีการแบ่งแยกว่านี้จิตของพระพุทธองค์ นี้จิตของสัตว์โลก
นับตั้งกัลป์ตั้งอาสงไขยมาแล้วที่จิตชนิดนี้มิได้ถูกสร้างขึ้นหรือถูกทำลายลง
ไม่ใช่เขียวหรือเหลืองไม่รูปหรืออรูป ไม่ใช่สิ่งที่มีหรือไม่มี



ไม่เก่าไม่ใหม่ ไม่สั้นไม่ยาว นับเป็นเครื่องแสดงออกถึงระดับสติปัญญา
ความรู้สึก ถ้อยคำ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ทั้งการเปรียบเทียบและแบ่งแยก
เป็นอยู่ดังที่เป็นอยู่ ถ้าใครพยายามที่จะรับรู้เขาก็จะพลาดไป

เป็นสิ่งไร้ขอบเขตดุจดังห้วงอากาศ ไร้สิ่งผูกพันและมิอาจหยั่งวัดได้
ดวงจิตนี้เป็นเอกภาพ
ของสิ่งทั้งมวล เป็นดวงจิตขององค์พระพุทธเจ้าเองทีเดียว "



ข้ออรรถธรรมของท่านฮวงโปแจ่มชัดทีเดียว เราจะต้องปล่อยให้จิต
เปิดเผยออกมาเอง เพราะถ้าหากไปมังแต่นั่งคิดค้นคำตอบอยู่ละก็
เราจะไม่มีวันได้พบเลย
นี่หมายความว่าการที่จะค้นพบจิตชนิดนั้นได้ จะต้องหาวิธีการอื่น
มาใช้แทนการคิดนึก ทางเดียวที่จะประจักษ์แจ้งต่อจิตที่แท้
หรือจิตแห่งเอกภาพนี้ได้
ก็ด้วยการกลับไปสู่ตนเองและมองลงไปที่ธรรมชาติที่แท้ของตน



จิตที่แท้นั้นเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของความเป็นอยู่ทั้งหมด ( อัตถิภาวะ )
ส่วนจิตไม่แท้เป็นเพียงวิธีการรับรู้และการแบ่งแยกหากจิตที่แท้ปรากฏขึ้น
สัจธรรมแห่งความเป็นอยู่ทั้งหมดก็จะประจักษ์ชัดขึ้นครบบริบูรณ์

นี่คือชีวิตแห่งการตรัสรู้ของเซน โลกที่สร้างขึ้นมาจากความนึกคิดนั้น
แตกต่างออกไปจากโลกแห่งความเป็นจริง โลกมายาที่มีเกิดมีตาย มีดี มีเลว
มีอยู่ตรงกันข้ามกับ ไม่มีอยู่ โลกเช่นนี้เป็นโลกของผู้ที่ยังหลับใหล
แต่เหตุการณ์ในโลกมายานี้หาได้สั่นคลอนโมกษบุรุษได้ ด้วยบุรุษเช่นนี้
ได้เข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริงแล้ว
ได้ละเสียแล้วซึ่งการแบ่งแยกระหว่างความมีอยู่และความสูญสลาย



ใน มหายานะศรัทโชตปทา มีข้อความเกี่ยวกับสัตยภพ ซึ่งปราศจาก
การแบ่งแยกว่า " ตั้งแต่บรมกัลป์นานมาแล้ว ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น
ย่อมเป็นอิสระอยู่เหนือความคิดและคำพูด ความคิดก็ดี คำพูดก็ดี
ย่อมไม่อาจเปลี่ยนหรือแยกปรากฏการณ์นั้นออกจากธรรมชาติที่แท้ของมันได้ "

ข้อเขียนทางฝ่ายมหายานชิ้นนี้ใช้คำว่า " วูเนียน " ซึ่งแปลได้ความว่า
" คิดกันไม่ได้ " ปัญญาญาณที่มีต้องใช้ความนึกคิด คือปัญญาญาณ
ที่มิได้มีพื้นฐานอยู่บนการนึกคิด คาดเดาของจิตไม่แท้ จิตที่มัวหมอง
ซึ่งอาจจะเรียกปัญญาที่แท้ได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นปัญญาชนิดนิรวิกัลปญาณ


http://i269.photobucket.com/albums/jj73/yyswim/trees1/15.jpg
กุญแจเซน โดย ท่าน ติช นัท ฮัน

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #42 เมื่อ: 26 มกราคม 2554 13:49:41 »





สัจจะในตัวเอง

ธรรมชาติแท้หรือจิตที่แท้นั้น มิใช่สิ่งที่เรียกกันว่าเป็นภาวะในอุดมคติ
แต่นั่นคือตัวความจริงเองทีเดียว คำว่า " จิต "
บางครั้งก็เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " ธรรมชาติ " จิตแท้หรือธรรมชาติแท้
ก็คือความจริงอันเดียวกัน ที่เรียกชื่อแตกต่างกันออกไป
ในแง่ของวิชาความรู้แล้ว เราใช้คำว่าปัญญาญาณและคำว่า " จิต "

เมื่อต้องการพูดถึงสัจภาวะที่มีอยู่เป็นอยู่ในตัวเอง ข้อแตกต่างระหว่าง
ผู้รับรู้ ( กรรตุ ) กับสิ่งที่ถูกรับรู้ ( กรรม ) มิได้คงอยู่อีกต่อไป
นี่เป็นเหตุผลที่ว่า เหตุใดจึงใช้คำว่า " ธรรมชาติแท้ " และ " จิตแท้ "
แทนสัจภาวะ บางครั้งก็นำไปใช้แทนปัญญาญาณอันไร้การแบ่งแยก

ซึ่งสะท้อนภาพพจน์แห่งความเป็นจริงออกมาในตัวเอง
ความเข้าใจ ความรู้ เกี่ยวกับ
ตัวความจริงนี้แหละ
ที่เซนเรียกว่า การมองลงสู่ธรรมชาติของตน



แนวความคิดทางฝ่ายมหายานนิกายอื่น ๆ ความคิดเกี่ยวกับเรื่องตถาคต
และธยาน ( ฌาน ) ได้มาจากลังกาวตารสูตร
ความคิดเกี่ยวกับเรื่องจิตที่แท้ได้มาจากสุรังคมสูตร
ความคิดเกี่ยวกับคุณของธยาน ( ฌาน ) ได้มาจาก
มหาไวปุลยปูรณพุทธสูตร
ความคิดเกี่ยวกับความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันของ จักรวาลได้มาจาก
อวตังสกสูตร

ความคิดเกี่ยวกับสุญญตา ได้มาจากปรัชญาปารมิตาสูตร จิตแห่งเซนนั้น
เป็นอิสระอย่างสมบูรณ์
ทฤษฎีทางพระพุทธศาสนา ที่เซนได้สังเคราะห์ขึ้น เป็นความคิด
ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ เหมือนกับพืชที่ดูดซึม
เอาอากาศและแสงแดดเข้าไปเพื่อคุณประโยชน์ของต้นพืช ฉะนั้น



จิตที่แท้นั้นมิได้เกิดขึ้นในขณะที่ตรัสรู้ ด้วยว่าไม่อาจสร้างขึ้น
หรือถูกทำลายลงได้ การตรัสรู้เป็นเพียงการเปิดเผยตัวออกมา
ให้ปรากฏ ทั้งนิพพานสภาวะหรือพุทธสภาวะ
ก็เช่นเดียวกับจิตที่แท้นี้ ใน มหาปรินิพพานสูตร ปรากฏถ้อยคำว่า

" ทั้งโดยสภาพและโดยเหตุ นิพพานย่อมเป็นสภาวธรรมแห่งการตรัสรู้
หรือความเป็นพุทธะ พุทธะมิได้ให้ กำเนิด แก่นิพพานนี่แหละจึงเรียกว่า นิพพาน
ที่เป็นไปโดยมิต้องมีเหตุมีเหตุมีปัจจัยเป็นเครื่องช่วย
ธรรมชาติแห่งการตรัสรู้แห่งสรรพสัตว์นั้นเป็นเช่นเดียวกัน ไม่ว่าสัตว์โลก
จะเกิดในภพใด จะมีรูปลักษณ์เช่นไร
สัตว์เหล่านั้นย่อมมี ธรรมชาติ แห่งการ ตรัสรู้ เช่นเดียวกันหมด "

ถ้าพิจารณาตามนี้จะเห็นได้ว่า ผู้ฝึกฝนไม่ควรจะรอการตรัสรู้ด้วยการถ่ายทอด
ปัญญาญาณที่มาจากข้างนอก ด้วยปัญญาญาณไม่อาจจะเข้าถึงได้
และจิตไม่อาจถ่ายทอดได้ ในมหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรได้ยืนยันไว้ว่า
" ไม่มีการเข้าถึงด้วยไม่มีอะไรจะให้เข้าถึง "
ท่านยูเย็นโห อาจารย์เซนชาวเวียดนามในสมัยศตวรรษที่ ๑๒
ได้กล่าวกับศิษย์ของท่านว่า " จงอย่าคอยให้คนอื่นมาถ่ายทอดการตรัสรู้ให้ "



เช่นเดียวกัน ในสามัญโลกอันเป็นโลกแห่งปรากฏการณ์ต่าง ๆ เรามักจะ
น้อมเชื่อไปในทางที่ว่าโลกนี้เป็นมายา เป็นโลกที่แยกออกจากความเป็นจริง
และเรายังมักเชื่ออีกว่า ด้วยการปลีกตนออกจากโลกนี้
ก็จะทำให้เราถึงโลกแห่งจิตที่แท้จริงได้
ถ้าหากคิดเช่นนี้ก็นับว่าผิด ด้วยโลก
ที่มีการเกิดและการตาย โลกที่มีความว่า " คิดกันไม่ได้ " ปัญญาญาณ
ที่มิต้องใช้ความนึกคิด
คือ สัจจะที่อยู่แยกต่างหากออกไปจากต้นมะนาว
และต้นหม่อน ท้องทะเลนั้นไม่ถือว่าสงบหรือมีคลื่นลม

ถ้าเราต้องการทะเลที่สงบราบคาบ ก็ไม่อาจได้มาโดยการไปบัญชาให้คลื่นลม
สงบลง แต่จะต้องรอให้ทะเลสงบลงเอง โลกแห่งสัจจะคือโลกของบรรดา
ต้นมะนาวและต้นหม่อนเหล่านั้นคือโลกแห่งแม่น้ำและขุนเขา ถ้าได้เห็นแล้ว
สัจจะอันเต็มเปี่ยมเที่ยงแท้ก็รวมอยู่ในนี้แหละ มิได้อยู่แยกออกไปเลย
ถ้าเรามองให้เห็นเสียแล้ว โลกนั้นก็ยังคงเป็น
โลกแห่งภูติผี โลกแห่งความนึกคิด การเกิดการตาย เป็นโลกมายาอยู่เช่นเดิม



บันทึกการเข้า
▄︻┻┳═一
SookJai.com
นักโพสท์ระดับ 9
****

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 794


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #43 เมื่อ: 28 มกราคม 2554 00:18:36 »

ขอบคุณครับ
อนุโมทนาธรรมครับ
บันทึกการเข้า

เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #44 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554 17:05:41 »





โคมและแสงสว่าง

นิกายเซาทุงเซน ( โสโตเซน ในภาษาญี่ปุ่น ) ได้นำหลักการทั้งห้า
มาประยุกต์ใช้ในขณะนั่งสมาธิ หลักการเหล่านี้คือ


๑. การนั่งสมาธิโดยไม่ใช้อารมณ์ภาวนา เป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
๒. การนั่งสมาธิกับการตรัสรู้ มิใช่สิ่งสองสิ่งที่แยกอยู่ต่างหากจากกัน
๓. บุคคลไม่ควรรอให้ถึงการตรัสรู้
๔. ไม่มีการตรัสรู้ให้ไปถึง
๕. ทั้งกายและจิตจะต้องรวมเป็นหนึ่งเดียว


       

หลักการเหล่านี้มิได้ขัดแย้งกับการใช้้กุงอันเป็นอุบายในนิกายลินจีเซน
( รินซายเซนในภาษาญี่ปุ่น ) เลย ตรงกันข้าม หลักการของเซาทุง
กลับช่วยให้ผู้ฝึกฝนในนิกายลินจี ไม่ไปมัวนั่งแบ่งแยกระหว่างจุดหมาย
และวิธีการ เพราะมีผู้ฝึกฝนเซนเป็นอันมากที่คิดว่าการนั่งสมาธิ
ิเป็นเครื่องนำไปสู่การตรัสรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายแห่งการฝึกฝน อย่างไรก็ตาม
เราไม่อาจหาเส้นแบ่งระหว่างเป้าหมายและวิธีการได้อย่างชัดเจน

เมื่อเราหันจากความหลงลืมกลับไปสู่การมีสติเป็นเครื่องกำหนดรู้
สถานะเช่นนี้แหละคือการตรัสรู้ที่แท้อยู่แล้ว ดังมีกล่าวในนิกายเซาทุงไว้ว่า
" การนั่งสมาธิก็คือการเป็นพระพุทธเจ้า " เมื่อผู้ใดนั่งสมาธิ
ผู้นั้นก็ได้ตรัสรู้แล้ว และการตรัสรู้นั่นแหละคือการเป็นพุทธะโดยแท้

ในขณะที่เต็มไปด้วยความฟุ้งซ่านและความหลงลืม
เราได้สูญเสียตัวเองไป ชีวิตเราก็สูญเปล่าไปด้วย การนั่งสมาธิคือการ
ฟื้นฟูพละกำลังให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง การนึกคิดย่อม
ปล่อยให้จิตฟุ้งไปที่โน่นที่นี่ ดังนั้นการนั่งสมาธิจึงเป็นการวบรวม
ให้จิตกลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่งโดยฉับพลัน เป็นการนำสภาวะแห่งการดำรงอยู่
โดยบริบูรณ์มาให้ เป็นการกลับไปสู่ชีวิตกลับกลายเป็นพุทธะ




ตามหลักนี้แล้วถือว่า การนั่งสมาธิเป็นปีติสุขอันยิ่งใหญ่
แต่ทำไมจะต้องนั่งในท่าขัดสมาธิเพชรและสมาธิบัลลังก์ด้วย
เพราะการนั่งท่านี้ช่วยให้สามารถคุมลมหายใจได้สะดวก สามารถเพ่งดวงจิต
และกลับคืนสู่สภาวะอันมีสติเป็นเครื่องกำหนดรู้ ไม่ว่าจะ เดิน กิน พูด หรือทำงาน
" พระพุทธเจ้าคือผู้ใดเล่า " "พระพุทธเจ้าคือผู้ซึ่งใช้ชีวิตตลอดชีวิต
ตลอด ๒๔ชั่วโมงอยู่ในเซน ในขณะที่ประกอบธุรกิจประจำวันพร้อมกันด้วย "

พระรูปหนึ่งถามอาจารย์เซียงหลินว่า " เหตุใดพระมหาสังฆราชองค์แรก
จึงมาสู่ประเทศจีน " ท่านเซียงหลินตอบว่า
" เพราะการนั่งสมาธินานเกินไปทำให้เสียสุขภาพ " คำถามเช่นเดียวกันนี้
ได้รับคำตอบจากอาจารย์ต่างท่านต่างกันออกไป เช่น อาจารย์เกียวเฟ็ง
ได้ตอบว่า " ขนเต่าหนักเก้าชั่ง "อาจารย์คองซันตอบว่า
" รอจนกว่าแม่น้ำทงจะไหลย้อนกลับ เมื่อนั้นฉันจึงจะบอกกับเธอ

"คำตอบทั้งสองนี้ทำให้เกิดผลเฉพาะอย่างในจิตใจแตกต่างกันไป
แต่คำตอบของท่านเซียงหลินที่ว่า " เพราะการนั่งสมาธินาน
เกินไปทำให้เสียสุขภาพ " เป็นคำตอบธรรมดา ๆ และอาจนำไป
ดัดแปลงใช้กับกรณีต่าง ๆ เกือบทั้งหมด การนั่งเพื่อจุดประสงค์ในการค้นหา
ความหมายของกุงอัน หาใช่การนั่งใน " เซน " ที่แท้จริงไม่เป็นแต่เพียงการ
ใช้เวลาและชีวิตให้หมดไปอย่างไร้ประโยชน์เท่านั้น ถ้าใครนั่งสมาธิ
มิใช่หมายเพียงการค้นหาความหมายของกุงอัน

           

แต่เพื่อเป็นการจุดแสงให้แก่คบไฟแห่งตัวตนที่แท้
ความหมายของกุงอัน ย่อมปรากฏขึ้นโดยธรรมชาติในท่ามกลางแสง
ซึ่งเจิดจ้าขึ้นทุกขณะ
แต่ถ้าหากมิได้จุดโคมไฟนี้ขึ้น ผู้นั้นก็ได้แต่เพียงนั่งอยู่ในเงาแห่งชีวิต
ของตนเท่านั้น เราจะไม่มีโอกาสได้แลเห็นธรรมชาติของตนเอง
สุขภาพของเราจะเสื่อมโทรมลง หากเรานั่งอยู่นานจนเกินไป


กุงอันนั้นไม่อาจถือเอาเป็นแก่นที่จะค้นหาในขณะนั่งสมาธิ ด้วยการ
นั่งสมาธิมิใช่การค้นหาอะไรอย่างหนึ่ง กุงอันมิใช่ชีวิต การนั่งสมาธินั้นแหละ
คือชีวิต กุงอันเป็นเพียงการทดสอบ เป็นการเฝ้าดูและดำรง
ความไม่ประมาทไว้
อาจถือได้ว่ากุงอันเป็นโคมที่ใช้ส่องแสง
ขณะที่เซนเป็นตัวแสงสว่างเลยทีเดียว




โดย.. คุณ มดเอ๊กซ์
http://community.buddhayan.com/index...ic,957.15.html
นำมาแบ่งปันโดย : คุณฝาน
Credit by :http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?t=5189&page=2
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานนี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานนี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ
ไว้ ณ ที่นี้...

อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 เมษายน 2555 12:29:02 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
☂Frowzy Dress ℉ ~♪
นักโพสท์ระดับ 1
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 4


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 16.0.912.63 Chrome 16.0.912.63


ดูรายละเอียด
« ตอบ #45 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2554 22:51:42 »

ชอบมากค่ะ ภาพสวยด้วย  ตลก
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 16.0.912.63 Chrome 16.0.912.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2554 22:54:51 »

ลัลลา ลัลลา ลัลลา ลัลลา ลัลลา
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า:  1 2 [3]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สาระธรรมควรคิด ท่าน ว.วชิรเมธี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
เงาฝัน 0 3283 กระทู้ล่าสุด 26 มิถุนายน 2553 13:34:23
โดย เงาฝัน
หลักคิดชีวิตคู่ อยู่อย่างไรให้เหนียวแน่นหนึบ ท่าน ว.
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
เงาฝัน 3 3321 กระทู้ล่าสุด 09 กุมภาพันธ์ 2554 01:37:59
โดย เอส@_______@
สรรพสิ่งคือของใช้ อย่าเข้าใจว่าเป็นของฉัน ท่าน ว.
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2255 กระทู้ล่าสุด 14 พฤษภาคม 2554 02:32:43
โดย หมีงงในพงหญ้า
สิ่งธรรมดาคือสิ่งพิเศษ :ท่าน ติช นัท ฮันท์
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 2058 กระทู้ล่าสุด 10 มิถุนายน 2555 07:36:41
โดย เงาฝัน
ว่าด้วยเรื่องอนุภาค by S. N. Goenka (ท่าน อ.โกเอ็นก้า )
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2320 กระทู้ล่าสุด 29 กันยายน 2559 10:44:24
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.332 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มกราคม 2567 15:48:19