[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 18:52:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : โลกกับแผ่นดินไหว-ทำไมถึงถี่และรุนแรงจัง?  (อ่าน 1699 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มีนาคม 2553 07:44:06 »

<CENTER></CENTER>


พืชพันธุ์ป่าไม้กับสัตว์โลกทั้งหลายจำนวนมาก รวมทั้งมนุษย์เรา-ที่มาทีหลังเพื่อน-ที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินของโลกในวันนี้ ในตอนแรกล้วนแล้วแต่ไม่รู้ว่าเราอยู่บนแผ่นดินแผ่นหินเปลือกโลก (crust) ที่สุดแสนจะบางมากเพียงประมาณ 10-40 กิโลเมตร ลิทโธเสฟียร์ (lithosphere) คือเปลือกโลกที่เป็นหินเป็นภูเขาจะมีความหนามากกว่านั้นเล็กน้อย คือหนาประมาณ 0-60 กิโลเมตร นั่น-เมื่อเทียบกับขนาดของโลกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึงราวๆ 12,000 กิโลเมตร แถมที่สำคัญ แผ่นดินแผ่นหินดังกล่าวยังไหลเลื่อนเคลื่อนที่ตลอดเวลา เนื่องจากการที่มันลอยบนของเหลวที่ร้อนจัด โดยเคลื่อนที่ช้ามากเพียงหนึ่งนิ้วต่อปีไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตก เพราะโลกเราหมุนรอบตัวเองไปรอบๆ ดวงอาทิตย์แบบทวนเข็มนาฬิกา จริงๆ แล้วสถิติจะบอกเราว่า ทั่วทั้งโลกจะมีแผ่นดินสั่นไหวน้อยๆ โดยสังเกตไม่รู้ไม่เห็นในทุก 30 วินาที แต่จะมีขนาดใหญ่ที่รุนแรงราวๆ 4-5 มาตรของริกเตอร์ขึ้นไปประมาณ 15-20 ครั้งต่อปี แต่แทบทั้งหมดจะมีความรุนแรงอยู่แค่นั้น แต่ในระยะหลังๆ มานี้โลกเรามีแผ่นดินไหวจริงๆ ถี่ขึ้นกว่านี้ และที่สำคัญอย่างยิ่ง ในส่วนที่ใหญ่กว่าจะมีความรุนแรงมากว่าก่อนหน้านี้มากนัก เฉพาะปีนี้ปีเดียวและเพิ่งผ่านไปสองเดือนเศษๆ เท่านั้น โลกเราได้มีแผ่นดินไหวตั้งแต่ร่วม 6 มาตรของริกเตอร์ไปแล้วถึงแปดครั้ง รวมทั้งที่ไต้หวัน-ตุรกีซึ่งมีขนาดราวๆ 6-7 มาตรของริกเตอร์ มีสองครั้งที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 8.5 ริกเตอร์สเกล

ริกเตอร์สเกล หรือมาตรวัดของชาร์ลส์ ริกเตอร์ นั้น เป็นมาตรที่เราใช้วัดความหนักหน่วงรุนแรง (magnitude) ของแผ่นดินไหว จริงๆ แล้วมาตรของริกเตอร์สเกลนี้จะมีแค่ 9 สเกลเท่านั้น แต่แผ่นดินไหวที่ไหนที่มีขนาดหนักเกินกว่า 9 มาตรของริกเตอร์ เราจะถือว่าเกินมาตรปกติของแผ่นดินไหวของริกเตอร์ บางคนจึงคิดว่าริกเตอร์สเกลมี 10 ระดับ ผู้เขียนถึงได้คิดว่าเพื่อให้จำง่าย ทั้งสมัยก่อนไม่ค่อยพบกัน ที่รู้มาก็มีเพียงครั้งเดียวที่ชิลีเหมือนกันในปี 1960 ขนาด 9.7 ริกเตอร์ และก็ที่สุมาตราในมาตรที่ไม่น้อยกว่ากันเท่าไหร่ ซึ่งได้ก่อสึนามิที่ชายฝั่งทะเลอันดามันที่บ้านเรา และมีคนตายไปหลายหมื่นคนเมื่อปลายปี 2004 บางคนที่ว่าจึงนับให้ริกเตอร์สเกลมีทั้งหมดเป็น 10 ระดับเสียเลย อีกอย่างหนึ่งต่อนี้ไปดูจากปริมาณแผ่นดินไหวที่มีถี่ขึ้นและจะรุนแรงหนักขึ้นดังที่สถิติมันบอก แผ่นดินไหวจึงมีแต่หนักหน่วงขึ้น ฉะนั้นต่อไปนี้ระดับริกเตอร์สเกลที่มีเพียง 9 หรือ 8 ระดับด้วยซ้ำคงจะไม่พอ อนึ่ง-ดังที่ผู้เขียนได้เขียนมาแล้วว่า อาจจะมีการย้ายขั้วโลกจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (ซึ่งเคยมีมาแล้วหลายครั้งในอดีต) และอาจจะเกิดอีกเมื่อไรก็ได้หรือเร็วๆ นี้ก็ได้ ระดับของริกเตอร์สเกลนั้น แต่ละระดับจะมีความหนักหน่วงรุนแรงนับเป็น 10 เท่าของระดับที่ต่ำกว่าเสมอไป พูดง่ายๆ ให้เอา 10 ไปคูณกับระดับที่มีความหนักหน่วงรุนแรงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหนึ่งระดับ ฉะนั้นระดับ 6 อาจจะยกตึกขนาดหลายหมื่นตันได้อย่างสบายๆ แต่ขนาด 7 จะให้พลังงานถึง 10 เท่าของระดับ 6

การย้ายที่ของแผ่นดินแผ่นหินของเปลือกโลก (lithosphere) นั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาของโลกเรา เพียงแต่เรายังไม่รู้ว่าแผ่นดินไหวและมหาสมุทรไหวมันเกิดได้อย่างไร? เรารู้แต่สิ่งที่ตามองเห็นหูได้ยินเท่านั้น มิน่าเราถึงเชื่อแต่สิ่งที่อวัยวะสัมผัสบอกเราเท่านั้น เราอยู่กับทฤษฎีกับเหตุผลที่เราใช้ความคิดคิดขึ้น ความรู้ที่เรามีทั้งหมด ครึ่งหนึ่งจึงเป็นความเชื่อที่เชื่อตามๆ กันมาและเราคิดว่ามีเหตุผล อีกครึ่งหนึ่งถึงเป็นความรู้ที่เรารู้จริงๆ เพราะเราเห็นหรือได้ยินหรือสัมผัสได้ และเป็นความจริงทางโลกเท่านั้น เพราะฉะนั้น ปฐพีวิทยา เรื่องของโลก เรื่องของดินของหินนั้น ก็เช่นเดียวกับความรู้ทั้งหลาย คือครึ่งหนึ่งเราไม่รู้ ครึ่งหนึ่งเรารู้เพราะตาเราเห็น เช่นรู้เพราะเชื่อตามที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่า 99% ของธาตุที่ประกอบเป็นแผ่นเปลือกโลกนั้นมีอยู่สิบธาตุเท่านั้น แต่ไม่รู้ว่าเปลือกโลกมีขึ้นมาอย่างไร ทวีปหรืออเมริกาและประเทศไทยเรามีมาอย่างไร? ทั้งหมดเป็นแค่ทฤษฎีที่ไม่มีข้อพิสูจน์ตลอดกาล อยู่ที่ใครเชื่อมากน้อยเพียงใด หรือมีเหตุผลที่เราสมควรเชื่อตามหรือไม่?

ฉะนั้น ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลก (plate tectonic theory) ที่มีขนาดใหญ่มากๆ 6 แผ่น และมีขนาดเล็กย่อยๆ อีกสิบกว่าแผ่น (ซึ่งเกิดจากการแตก-เบียดเสียดกันที่รอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกแผ่นใหญ่ที่ว่านั้น) ในปัจจุบันนี้ด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏ แต่นักปฐพีวิทยาบางคนคาดกันว่า เป็นธรรมชาติของโลกที่แผ่นเปลือกโลกใหญ่ๆ จะต้องย้ายเร็วขึ้นเป็นวัฏจักรของมัน และแผ่นเปลือกโลกแผ่นใหญ่ที่มีหกแผ่นนั้น ขณะนี้บางแผ่น เช่น แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกได้มีการย้ายที่มีอัตราเร่งที่เร็วขึ้นมาก และนี่เองอาจอธิบายการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศชิลี ขนาด 8.7 มาตรของริกเตอร์ ที่น้อยกว่าแต่มีจุดศูนย์กลาง (focus) ที่ลึกกว่าแผ่นดินไหวเมื่อปี 1960 ที่มีความรุนแรงถึง 9.6 ริกเตอร์สเกล แต่การไหวที่ประเทศชิลีเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ถึงกับทำให้แกนโลกเอียงไปทางตะวันตกถึง 8 ซม. (ซึ่งได้เคยมีรายงานมาแล้ว (Sciencetific American, 1996 ว่าเพราะน้ำที่กักเอาไว้ที่เขื่อนฮูเวอร์ ทำให้การหมุนรอบตัวเองของโลกฉุดให้แกนโลกต้องเอียงไปทางทิศตะวันตกก่อนหน้านี้อยู่แล้วถึงสามนิ้ว เพราะฉะนั้นแกนโลกหรือขั้วโลกเหนือในขณะนี้ เดี๋ยวนี้ได้ย้ายไปทางทิศตะวันตกไปแล้ว รวมกันประมาณ 15.5 ซม.) หากเกิดแผ่นดินไหวที่บริเวณทวีปอเมริกาใต้หรือบริเวณแอฟริกาใต้สุดอีก และหากแผ่นดินไหวนั้นมีจุดที่ปล่อยพลังงาน (focus) ลึกใต้ผืนดินไปเยอะๆ หรือไม่ก็แผ่นดินไหวในทวีปแอนตาร์กติกเอง ก็อาจทำให้มีการย้ายขั้วโลกได้ การย้ายขั้วโลกเหนือไปมากๆ อาจจะก่อความล่มสลายหายนะให้กับสัตว์โลก รวมทั้งมนุษยชาติด้วยอย่างรุนแรง ยิ่งกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโชิมาและนางาซากิระเบิดพร้อมๆ กันนับแสนนับล้านลูกทีเดียว

อย่าลืมว่าการหมุนรอบตัวเองของโลกและแกนโลกนั้น ให้เรานึกถึงลูกข่างที่กำลังหมุนติ้วๆ อยู่ตลอดเวลา และฐานของมันหรือปลายล่างสุดของลูกข่างที่หมุนกับพื้น หรือทวีปแอนตาร์กติกหรือแอนตาร์กติกานั้น เป็นเทือกเขาสูงเหมือนเทือกเขาแอลป์ในยุโรป แถมยังมีน้ำแข็งปกคลุมบางแห่งที่หนาถึงสี่กิโลเมตร เราพอนึกภาพออกว่าขั้วโลกใต้มันแน่นหนาและหนักเพียงไร นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามันหนักและไม่เปลี่ยนแปลงมากเลย มาตั้งแต่มีแผ่นดินแผ่นหินที่ก่อประกอบเป็นทวีปกอนดาวันแลนด์ ทวีปดึกดำบรรพ์ที่รวมทวีปทั้งหมดของโลกไว้-รวมทั้งทวีปแอนตาร์กติกเอง-เมื่อประมาณ 600 ล้านปีก่อน เพราะฉะนั้น ฐานของลูกข่างหรือขั้วโลกใต้จึงน่าจะไม่ย้ายตำแหน่งเลยมาตั้งแต่ต้น ตรงกันข้ามกับขั้วโลกเหนือที่เคยย้ายที่มาแล้วถึง 200 ครั้งในกว่า 600 ล้านปีก่อน หรืออย่างน้อย 16 ครั้งในระยะหลังหรือไม่กี่ล้านปีมานี้ (Charles Hapgoods: Paths of the Pole, 1970) ที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เขียนคำนำให้และยกย่องแฮปกูดไว้เป็นพิเศษในหนังสือเรื่องเดียวกันที่ตีพิมพ์ก่อนหน้านั้น ก่อนที่ไอน์สไตน์จะเสียชีวิตในปี 1955 แฮปกูดบอกว่าการย้ายที่ของขั้วโลกเหนือนั้นในทุกๆ ครั้งจะย้ายไม่เกิน 30 ดีกรี หรือ 2,000 ไมล์ (3,200 กิโลเมตร)

ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง มีอยู่อีกสองประเด็นที่ชาร์ลส์ แฮปกูด คิดจากการที่ตนค้นคว้ามา นั่นคือ หนึ่งการย้ายขั้วโลก (เหนือ) มักจะเกิดพร้อมๆ กับการเกิดธารน้ำแข็ง หรือทิศทางไหลของเกลซิเอชัน (glaciation) และการเกิดยุคน้ำแข็งที่เกี่ยวข้องกับการลดต่ำของสนามแม่เหล็กโลก (geomagnetics or magnetosphere) และการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ สอง-การย้ายขั้วโลกซึ่งความจริงก็คือการย้ายแผ่นเปลือกโลกทั้งหมดเลย ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นวันๆ แต่จะกินเวลานานหลายปีหรือบางทีนับร้อยๆ ปี แต่เมื่อการย้ายแผ่นเปลือกโลกได้เกิดขึ้นแล้ว ก็จะมีอัตราเร่งเกิดขึ้นมากโดยเราไม่มีทางรู้ตัวเลย หลักฐานที่ชาร์ลส์ แฮปกูด ใช้คือ การใช้การสลายตัวของกัมมันตภาพรังสีของคาร์บอนและไอโอเนียม (radioactive carbon and ionium) ด้วยการตรวจของทั้งสองประการ แฮปกูดบอกว่าด้วยหลักฐานดังกล่าว เขาคิดว่าขั้วโลก (เหนือ) ในตำแหน่งที่เรารู้ว่าอยู่ในตำแหน่งของมันในปัจจุบันนี้นั้น ก่อนหน้านี้เมื่อราวๆ 18,000 ปีก่อน มันได้เริ่มย้ายจากตำแหน่งที่มันเคยอยู่ (ที่กรีนแลนด์) มาอยู่ที่อ่าวฮัดสันซึ่งต่ำกว่าตำแหน่งในปัจจุบันมาก คืออยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 60 องศาเหนือ และเส้นรุ้งที่ 87 องศาตะวันตก ซึ่งในตอนนั้นเป็นเวลาที่ธารน้ำแข็งของอเมริกาเหนือเกิดมีมากที่สุด และเป็นช่วงเวลาที่อากาศหนาวจัดที่สุดของยุคน้ำแข็ง (ซึ่งเริ่มราวๆ 90,000 ปีก่อน และน้ำทะเลที่แข็งได้ทำให้มีทางเดินบนพื้นดินสูงถึง 400 ฟีต เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปอเมริกาเหนือที่อะแลสกาพอดี)

ยุคน้ำแข็งไม่ว่าใหญ่หรือเล็กเป็นคนละเรื่อง หรือมีคนละเหตุปัจจัยกับภาวะโลกร้อนที่เป็นฝีมือของมนุษย์กับเทคโนโลยี และระบบเศรษฐกิจทุนนิยมการตลาดเสรี ในขณะที่ยุคน้ำแข็ง-ไม่ว่าจะมีการย้ายขั้วโลก (เหนือ) หรือไม่?-เป็นเรื่องของวัฏจักรธรรมชาติ และยุคน้ำแข็งนั้นนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสัมพันธ์กับจุดดำในดวงอาทิตย์ (sun spots) และการหายไปของแมกนีโตสเฟียร์ของโลก ซึ่งทั้งสองกรณีก็กำลังเกิดขึ้นในช่วงนี้พอดี แถมเรื่องของแผ่นดินไหวที่มีทั้งถี่ขึ้นและรุนแรงหนักหน่วงยิ่งขึ้น จากการย้ายแผ่นเปลือกโลกแผ่นใหญ่ที่มีหลายๆ จุดและหลายๆ แผ่นด้วย เราไม่รู้ว่าแผ่นดินไหวใหญ่จริงๆ และการย้ายแผ่นเปลือกโลกพร้อมๆ กันทั้งหมดหรือแผ่นใหญ่ๆ เพียงบางส่วน อันเป็นสาเหตุของการย้ายตำแหน่งของขั้วโลกเหนือ-ที่ชาร์ลส์ แฮบกูด บอกว่าการย้ายที่แต่ละครั้งจะมีไม่เกิน 30 ดีกรี และไม่เกิน 2,000 ไมล์ที่ได้กล่าวมา แล้วจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่? เพราะธรรมชาตินั้นเราจะทำนายอย่างเป๊ะๆ ไม่ได้เลย ไม่เหมือนกับภาวะโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ อย่างน้อยก็มากกว่าครึ่งหนึ่งที่บอกได้บ้าง เช่นเมื่ออุณหภูมิของโลกในเทมเพอเรตโซน (ยุโรปและตอนเหนือของสหรัฐอเมริกากับแคนาดา) เกินกว่า 5 องศา และก๊าซคาร์บอนในบรรยากาศเกินกว่า 390-400 ppm ซึ่งกำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ ผู้เขียนคาดว่า-ตรงตามคำสัมภาษณ์ที่ให้กับหนังสือพิมพ์การ์เดียนเมื่อปีที่แล้วของนักวิทยาศาสตร์ใหญ่อังกฤษ เจมส์ ลัฟล็อก เพียงย่นเวลามาใกล้ๆ อีกสักหน่อย-โลกเราจะมีมนุษย์เหลืออยู่ไม่ถึง 20% ทั่วทั้งโลก ที่เกิดขึ้นเพราะภาวะโลกร้อนและน้ำท่วมโลก

ผู้เขียนคิดเอาเอง และเป็นไปได้ที่อาจจะคาดหมายว่าภัยธรรมชาติอันนี้คงจะมาก่อน และที่จะมาทีหลังระยะใกล้ๆ นั้น คือแผ่นดินไหวครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่โลกเคยมีมา จะเกิดทวีปอเมริกา (ใต้หรือเหนือ) พร้อมๆ กันนั้นก็จะมีการย้ายแผ่นเปลือกโลก ที่จะทำให้เกิดการย้ายตำแหน่งของขั้วโลกเหนือไปทางทิศตะวันตก ประเทศไทยจะย้ายที่ไปทางทิศเหนือกับตะวันตก จะเข้าไปใกล้ๆ ขั้วโลกเหนือที่ตำแหน่งใหม่อีกนับเป็นพันๆ กิโลเมตรทีเดียว บวกกับยุคน้ำแข็งที่จะมาถึงพร้อมๆ กันนั้น เนื่องจากการหายไปของจุดดำของดวงอาทิตย์ (Maunder minimum) จึงอาจมีหิมะตกได้ดังที่อาจารย์อาจอง ชมสาย ณ อยุธยา ทำนายไว้.
 
http://www.thaipost.net/sunday/140310/19303

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความทรงจำนอกมิติ : รูป นาม วิญญาณกับจักรวาลวิทยา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2464 กระทู้ล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2553 14:00:45
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ประวัติศาสตร์คือบันทึกความสัมพันธ์ของดินกับฟ้า
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2050 กระทู้ล่าสุด 05 เมษายน 2553 08:47:42
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ทฤษฎีรวมแรงทั้งหมดกับพุทธศาสนา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 1995 กระทู้ล่าสุด 18 เมษายน 2553 17:16:25
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : มนุษย์กับโลกไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2047 กระทู้ล่าสุด 03 พฤษภาคม 2553 08:42:23
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ถึงเวลาที่ต้องยุติระบบต่างๆ ทางสังคมที่ผิด
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 7156 กระทู้ล่าสุด 03 มิถุนายน 2553 08:32:19
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.404 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 08:04:33