[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 11:09:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เดือนนี้..มีวันสงกรานต์ ช่วยกันสืบสานประเพณีไทย.  (อ่าน 4117 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 เมษายน 2558 19:13:08 »

.

http://ประเพณีไทยๆ.com/wp-content/uploads/2015/03/ประวัติ-ประเพณีสงกรานต์-กิจกรรมในวันสงกรานต์-2558.jpg
เดือนนี้..มีวันสงกรานต์ ช่วยกันสืบสานประเพณีไทย.


ประวัติ ประเพณีสงกรานต์

ประวัติวันสงกรานต์
คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สํ-กรานต” ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือย้ายขึ้น โดยมีนัยความหมายว่า การเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ นั้นเอง โดยเทศกาลสงกรานต์ นั้นเป็นประเพณีที่มีความเก่าแก่และคนไทยสืบทอดกันมาแต่โบราณคู่กับประเพณีตรุษจีนกันเลยทีเดียว จึงได้มีการรวมเรียกกันว่า “ประเพณีตรุษสงกรานต์” ซึ่งแปลว่าการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นั้นเอง
 
วันมหาสงกรานต์
ในสมัยโบราณ คนไทยถือว่า วันขึ้น 1 ต่ำ เดือนอ้าย ซึ่งจะตรงในช่วงเดือน พฤศจิกายนหรือธันวาคม ให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ จนต่อมาในสมัยยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2483 ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นวันสากล คือ วันที่ 1 มกราคม แต่ถึงอย่างไร คนโบราณก็ยังคงคุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยร่วมด้วย

นางสงกรานต์ ในโบราณมีการกำหนดไว้ถึง 7 นางด้วยกัน ซึ่งแต่ละนางก็จะมีความหมาย คำทำนายที่แตกต่างกันออกไป โดยทั้ง 7 นางสงกานต์ จะประกอบไปด้วย
◦ นางทุงษะเทวี
◦ นางรากษเทวี
◦ นางโคราคเทวี
◦ นางกิริณีเทวี
◦ นางมณฑาเทวี
◦ นางกิมิทาเทวี
◦ นางมโหธรเทวี

สำหรับวันสงกรานต์ ปี 2558 นี้ นางสงกรานต์ ได้แก่ “นางโคราคะเทวี” โดย นางสงกรานต์นามว่า “โคราคะเทวี” ทรงพาหุรัด ทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดาหาร ภักษาหารน้ำมัน หัตถ์ขวาทรงขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จยืนมาเหนือหลังพยัคฆ์ (เสือ) เป็นพาหนะ


กิจกรรมในวันสงกรานต์
ทำบุญตักบาตร วันมหาสงกรานต์ ประชาชนจะลุกขึ้นมาตอนเช้าเพื่อที่จะจัดเตรียมอาหารไปตักบาตรถวายพระ พอจัดเตรียมอาหารเสร็จก็จะบรรจงลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามที่สวยงามแล้วเอาวางเรียงลงในถาด เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตน เรื่องการแต่งตัว จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดสวยงามมิดชิดเหมาะแก่การไปวัดของชาวบ้าน

ก่อพระเจดีย์ทราย ในสมัยก่อนทีเรื่องเล่าขานกันว่าทุกคนเมื่อเข้าวัดมาแล้วเวลาเดินออกจากวัดจะ มีเม็ดทรายติดเท้าออกไปด้วยเพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการเติมเต็มจึงมีการขนทรายเข้าวัดหรือการก่อพระเจดีย์ทรายนั้นเองแต่ถึงอย่างไรการก่อพระเจดีย์ทรายก็เป็นเพียงกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมกันทำ เพราะตอนเย็นๆชาวบ้านก็จะพากันไปที่ท่าน้ำแล้วขนทรายกันมาคนละถังเพื่อนำทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์ นั่นถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะให้ชาวบ้านมีความสามัคคี กลมเกลียวเพราะเมื่อขนทรายเข้าวัดแล้วทรายก็จะล้นวัดพระสงฆ์ก็จะนำทรายที่ชาวบ้านขนมานำไปคืนสู่แม่น้ำดังเดิมเพราะไม่รู้จะเก็บไว้ทำอะไร เพราะฉะนั้นแล้วเวลาขนทรายเข้าวัดควรจะขนเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นพอเพราะจะสร้างความลำบากให้พระเณรในภายหลัง

สรงน้ำ รดน้ำ และเล่นน้ำ การสรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปีใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำมาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการรดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวันสงกรานต์
ในวันสงกรานต์ของประเทศไทยในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
◦ วันสงกรานต์ภาคกลาง
   13 เมษายน จะเรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” และถือเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติอีกด้วย
   14 เมษายน จะเรียกว่า “วันเนา” และถือเป็นวันครอบครัว
   15 เมษายน จะเรียกว่า “วันเถลิงศก” ถือว่าเป็นวันเริ่มจุลศักราชใหม่

◦ วันสงกรานต์ภาคเหนือ
   13 เมษายน จะเรียกว่า “วันสงขารล่อง” ความหมายว่า อายุสิ้นปีหมดไปอีกปี
   14 เมษายน จะเรียกว่า “วันเน่า” วันที่ห้ามพูดคำหยาบคาย
   15 เมษายน จะเรียกว่า “วันพญาวัน” ถือว่าเป็นวันเริ่มจุลศักราชใหม่

◦วันสงกรานต์ภาคใต้
   13 เมษายน จะเรียกว่า “เจ้าเมืองเก่า” เชื่อกันว่าวันที่เทวดารักษาบ้านเมืองจะกลับบนสวรรค์
   14 เมษายน จะเรียกว่า “วันว่าง” วันที่ปราศจากเทวดารักษาเมือง
   15 เมษายน จะเรียกว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” วันรับเทวดาองค์ใหม่เพื่อดูแลบ้านเมืองแทนองค์เดิม



ขอขอบคุณ เว็บไซต์ประเพณีไทยๆ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 เมษายน 2558 14:33:53 »

.


"ปีใหม่ของชาวพม่า มุมที่อบอุ่นในเมืองมัณฑะเลย์ระหว่างเทศกาลสาดน้ำ"
(The Burmese New Year, A warm corner in Mandalay during water festival)

สาดน้ำ งานสงกรานต์ เริ่มมีในพม่า?

สงกรานต์ ไม่ใช่ประเพณีของไทยเป็นการเฉพาะ พม่า ลาว เขมร เขาก็มีสงกรานต์เหมือนอย่างไทยเราด้วยเหมือนกัน

สงกรานต์จึงไม่ใช่ ปีใหม่ไทย อย่างที่มักมโนกันขึ้นมาเองอย่างลอยๆ

คำว่า ‘สงกรานต์’ ก็ไม่ใช่คำไทย แต่เป็นคำยืมมาจากภาษาสันสกฤตคือ ‘สังกรานตะ’ ที่แปลว่า ‘การข้ามผ่าน’

ในที่นี้หมายถึงการข้ามผ่านจากเดือนหนึ่งไปสู่อีกเดือนหนึ่ง  ดังนั้น การข้ามผ่านจากเดือนสุดท้ายของปีเก่า ไปเป็นเดือนแรกของปีใหม่ในแต่ละปี จึงไม่ได้เรียกว่า สงกรานต์เฉยๆ แต่เรียกว่า ‘มหาสงกรานต์’  เพราะนอกจากจะเป็นการข้ามผ่านจากเดือนเก่าไปสู่เดือนใหม่แล้ว ยังหมายถึงการข้ามผ่านจากปีเก่าไปสู่ปีใหม่ด้วย  เทศกาลสงกรานต์แบบที่เข้าใจกันอยู่ทุกวันนี้จึงหมายถึงช่วงมหาสงกรานต์

การที่ชาวสยามนับช่วงระยะประมาณเดือน “เมษายน” เท่ากับ “เดือนห้า” มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าไม่ได้เป็นเดือนแรกในแต่ละรอบปี เพราะเดือนแรกของปีคือ “เดือนอ้าย” ซึ่งตรงกับช่วงเวลาประมาณเดือน “ธันวาคม” ตามปฏิทินแบบอธิกสุรทินแบบที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  ดังนั้น แต่ดั้งเดิมชาวสยามจึงนับช่วงเวลาประมาณเดือนธันวาคมเป็นช่วงเริ่มต้นของรอบปีใหม่ รอบฤดูกาลใหม่

ประเพณีดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองสุวรรณภูมิจะมีการลอยกระทง ลอยโคม หรือโล้ชิงช้า นัยว่าเป็นการไล่น้ำและไล่ลม แตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ เพราะในช่วงเวลาก่อนหน้าคือเดือนสิบเอ็ด และเดือนสิบสอง (ประมาณช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) ของแต่ละปี จะเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก จนมีคำ “เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง เดือนอ้ายเดือนยี่น้ำก็รี่ไหลลง” ร้องเล่นกันมาแต่โบราณ แต่หาอายุสมัยที่แน่นอนไม่ได้ว่าร้องเล่นกันมาแต่เมื่อไร

ในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมของล้านนามาก่อน จะนับรอบปีเร็วกว่าพื้นที่ทางภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบันราวสองเดือน

ในภาคกลางไม่ว่ายุคสมัยกรุงเทพฯ หรือสมัยอยุธยา กำลังมีพิธีการลอยกระทงในระยะน้ำนองเต็มตลิ่งช่วงเดือนสิบสอง  ทางแถบล้านนาก็ได้เริ่มลอยโคมควัน “ยี่เป็ง” ที่แปลตรงตัวว่า วันเพ็ญเดือนยี่ ไปแล้ว เพราะลมมรสุมที่พัดพาเอาความอุดมสมบูรณ์ของฤดูกาลผลิตใหม่ได้มาถึงภาคกลางแล้วราวสองเดือน  

เช่นกันกับหลายพิธีในสยามประเทศ  ลอยกระทงก็เป็นพิธีพื้นเมือง   ในอินเดียเขาไม่ลอยกระทงขอขมาพระแม่คงคา แต่พิธีลอยกระทงก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นพราหมณ์แบบไทยๆ ไปด้วยปกรณัมที่ถูกสร้างขึ้นใหม่   ก็อุษาคเนย์มีแม่น้ำคงคากับเขาที่ไหน แล้วจะเคยไปมีพระแม่คงคาที่เป็นบุคลาธิษฐานของแม่น้ำสายดังกล่าวให้ขอขมาไปได้อย่างไรกัน?

เทศกาลสงกรานต์ของสยามก็เป็นเช่นเดียวกัน กับกรณีศึกษาต่างๆ เหล่านี้ เราเอาคติพราหมณ์อินเดียมาเป็นที่ตั้ง สยามประเทศแห่งนี้จึงเคยมีเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่เมื่อขึ้นเดือนห้า

“การสาดน้ำ” ในเทศกาลสงกรานต์เป็นเรื่องพื้นเมืองสุวรรณภูมิ  ในอินเดียไม่มีการสาดน้ำ หรือรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ (และถ้ามีทำไมจึงต้องรดน้ำดำหัวบรรพบุรุษ ผิดธรรมดาพราหมณ์ที่มักสรงน้ำเทพเจ้ามากกว่า) การสาดน้ำจึงไม่เคยเกี่ยวข้องกับการขึ้นปีใหม่อย่างพราหมณ์  

น่าสนใจว่าในหนังสือทวาทศมาศ คือตำราว่าด้วยประเพณีเดือนสิบสองของสยาม ไม่มีที่พูดถึงเรื่องการสาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์เลยสักนิด (จะมีก็แต่พิธีสรงน้ำมนต์ให้ช้างหลวง ในพิธีเชนทรัศวสนาน เดือนห้า ซึ่งก็หมายถึงการสาดน้ำให้ช้างในเดือนที่ร้อนสุดจะทานทน)  เช่นเดียวกับหลักฐานใน ลาว และกัมพูชา ทั้งๆ ที่ตำราพวกนี้ก็มีรายละเอียดอธิบายถึงพระราชพิธีในแต่ละเดือน  

ตำราเล่มท้ายๆ ที่ว่าด้วยเรื่องประเพณีประจำเดือน คือ พระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ ตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อเรือน พ.ศ. ๒๔๕๕ หรือเมื่อประมาณ ๑๐๓ ปีที่แล้ว ก็ไม่ได้พูดถึงการสาดน้ำเลยนักนิด แต่ก็ใช่ว่าเทศกาลสงกรานต์แต่เก่าก่อนในอุษาคเนย์จะไม่มีการสาดน้ำเอาเสียเลย เพราะมีหลักฐานว่าในเทศกาลตะจาน (Thingyan) ซึ่งก็คือคำว่า สงกรานต์ ตามสำเนียงถิ่นพม่า มีการสาดน้ำมาก่อนอย่างน้อยก็เก่ากว่าที่พระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนจะตีพิมพ์ออกมาแล้ว

หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่ชื่อว่า The Graphic ของสหราชอาณาจักร ได้ตีพิมพ์ภาพพิมพ์รูปการละเล่นสาดน้ำในประเพณีปีใหม่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ หรือ ๒๔ ปีก่อนพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ ฉบับนั้น (อย่างไรก็ตาม ควรจะสังเกตไว้ด้วยว่า ภาพนี้ถูกตีพิมพ์ใน The Graphic ฉบับประจำวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๑ หมาความว่า ภาพพิมพ์นี้อาจจะถูกบันทึกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๐ แล้วก็ได้

ในปัจจุบัน ชาวพม่าอธิบายว่าการสาดน้ำในเทศกาลตะจาน เป็นสัญลักษณ์ของการขับไล่และล้างบาปไปจากตัวผู้ที่ถูกสาด และว่ากันว่าในยุคเก่าก่อนก็เชื่อกันอย่างนั้นด้วย

สิ่งที่สมควรนำมาพิจารณาร่วมด้วยเป็นอย่างยิ่งก็คือ การที่ภายหลังจากอังกฤษขับพระเจ้าสีป่อลงจากราชบัลลังก์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ สองปีเศษก่อนมีภาพชาวพม่าสาดน้ำใส่ทหารอังกฤษในวาระปีใหม่  ซึ่งอังกฤษเริ่มปกครองพม่าในฐานะจังหวัดหนึ่งของอินเดีย   สังคมดั้งเดิมของพม่าถูกแทนที่ด้วยการปกครองที่แยกศาสนาออกจากการเมือง เกิดการต่อต้านทั่วไปในพม่าตอนเหนือ ซึ่งแน่นอนว่ามีเมืองมัณฑะเลย์ เป็นศูนย์กลางในฐานะราชธานีเดิมของพระเจ้าสีป่อ สภาพการณ์เช่นนี้ยังคงมีต่อเนื่องไปอีกหลายสิบปี

ช่วงปี ๒๔๓๐-๒๔๓๑ พม่ายังอยู่ในระหว่างบรรยากาศทางการเมืองดังกล่าว และเมื่อนำประกอบกับข้อมูลที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เคยอธิบายไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพม่า” ว่าในพม่ามีประเพณีการสาดน้ำ โดยจะสาดใส่ฐานพระเกศธาตุ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้เปรตที่ยังวนเวียนอยู่ในโลกนี้ (ถึงแม้ว่าทางพม่าจะพยายามลากความว่า การสาดน้ำในเทศกาลตะจานนี้มีความเก่าแก่ไปถึงยุคพุกาม เมื่อราว พ.ศ. ๑๖๐๐-๑๘๐๐ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือและหนักแน่นมากนัก)



ความย่อสรุป จาก : คอลัมน์ On History สาดน้ำ งานสงกรานต์ เริ่มมีในพม่า?  โดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๑๘ ประจำวันที่ ๑๐-๑๖ เมษายน ๒๕๕๘
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 เมษายน 2558 13:17:44 »

.

http://www.sujitwongthes.com/suvarnabhumi/wp-content/uploads/2011/04/รูปภาพ141.jpg
เดือนนี้..มีวันสงกรานต์ ช่วยกันสืบสานประเพณีไทย.

ตุงตัวเปิ้ง หรือ ตุงสิบสองนักษัตร
ที่ชาวเชียงใหม่ ปักถวายบนกองเจดีย์ทรายในวัด เนื่องในวันสงกรานต์
เพื่อความร่มเย็นเป็นสุข เป็นประเพณีที่ผนวกเอา ตุง
ที่เชื่อว่ารับมาจากมอญ ปีนักษัตรของจีน แต่ใช้ช้างแทนหมูในปีกุน
และสงกรานต์จากพราหมณ์อินเดีย มาผสมเข้าด้วยกัน


นับปีแบบเอเชีย ๒ รอบ สิบสองนักษัตร

สงกรานต์ที่ใครๆ เข้าใจว่าเป็นปีใหม่ไทย ที่จริงก่อนสงกรานต์มีหลักนับการขึ้นปีใหม่อยู่ ๒ อย่าง คือ ขึ้นปีใหม่ในปีนักษัตร ทางโหราศาสตร์นับเอา เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ (ราวเดือนมีนาคม) เป็นวันขึ้นปีนักษัตรใหม่ แต่อีกตำราหนึ่งที่ใช้ในปฏิทินหลวงนั้นนับวันขึ้นนักษัตรใหม่ตรงกับวันขึ้นปีใหม่ดั้งเดิม คือ เดือนอ้าย (หมายถึงเดือนที่ ๑) ขึ้น ๑ ค่ำ (ราวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ส่วนสงกรานต์เป็นขึ้นปีใหม่ที่หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับมาจากพราหมณ์อินเดีย (ปรานี วงษ์เทศ,สุจิตต์ วงษ์เทศ. ประเพณี ๑๒ เดือน ในประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม เพื่อความอยู่รอดของคน. สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๘)

บริเวณที่ใช้สิบสองนักษัตรนอกจากในประเทศไทยเราแล้ว ยังมีที่อื่นๆ ในเอเชียด้วย เช่น จีน, สิบสองพันนา, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เขมร, ลาว, เวียดนาม, ทิเบต มีการลำดับปีก่อนหลังตรงกัน แต่บางแห่งมีการเรียกชื่อปีหรือใช้สัตว์แตกต่างกันบ้าง เช่น ปีมะโรง ของจีนใช้มังกร, ปีเถาะ ของญี่ปุ่นใช้แมว, ปีฉลู ของเวียดนามใช้ควาย, ปีกุน ของชาวล้านนาใช้ช้าง ฯลฯ

เรื่องสิบสองนักษัตรนี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ว่ามาจากทางจีน และไม่มีในอินเดีย อีกท่านหนึ่งที่ตรวจสอบแล้วเห็นตรงกัน คือ ส.พลายน้อย ว่าในอินเดียมีดาวนักษัตรแต่ก็มีไม่ครบตรงตามปีนักษัตรที่ทางเราใช้กันอยู่ (ส. พลายน้อย. สิบสองนักษัตร. บำรุงสาส์น, ๒๔๓๔)

ทางญี่ปุ่น เวียดนาม ธิเบต ได้รับอิทธิพลจากจีนแผ่เข้าไปเป็นปกติจึงได้รับแนวคิดปีนักษัตรนี้ไว้ด้วย ส่วนไทยและบ้านเมืองอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คงรับมาผ่านกลุ่มชนชายแดนจีนทางตอนใต้อีกทอดหนึ่ง หรือเมื่อครั้งที่จีนเข้ามาติดต่อค้าขาย

ในประวัติตำนานของจีนมีกล่าวถึง ที่มาการกำหนดปีสิบสองปีเป็นรอบหนึ่ง และตั้งชื่อปีแต่ละปี ในตำนานการสร้างโลกของจีนเรื่อง ไคเภ็ก และบางตำนานกล่าวว่าการใช้ปีนักษัตรของจีน มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. ๕๖๘-๗๖๓)

ส่วนหลักฐานการใช้ปีนักษัตรในดินแดนไทยนั้นคงมีมานานก่อน พ.ศ. ๑๘๓๕ เพราะในจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหง ระบุถึง “๑๒๑๔ สกปีมะโรง” แสดงว่ามีการใช้ปีนักษัตรอยู่แล้ว

ชื่อปีที่ใช้เรียกสิบสองนักษัตรของไทย มีข้อสันนิษฐานจาก กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ในหนังสือพงศาวดารไทยใหญ่ ว่า “ในนามสัตว์ ๑๒ นักษัตรข้างไทยสยามนั้น น่าจะเลียนนามสัตว์ประจำองค์สาขาปีมาจากเขมรอีกต่อ จึงไม่ใช้นามปีตามภาษาไทยเหมือนไทยใหญ่ กลับไปใช้ตามภาษาเขมร ฝ่ายไทยใหญ่เล่าเมื่อคำนวณกาลจักรมณฑล ก็ไพล่ไปเลียนนามปีและนามองคสังหรณ์อย่างไทยลาว หาใช้นามปีของตนเองไม่ และไทยลาวน่าจะถ่ายมาจากแบบจีนอันเป็นครูเดิมอีกต่อ แต่คำจะเลือนมาอย่างไรจึงหาตรงกันแท้ไม่ เป็นแต่มีเค้ารู้ได้ว่าเลียนจีน”

กลุ่มไท-ลาว ทางอีสานและเหนือ เรียกชื่อปีนักษัตรทั้ง ๑๒ ว่า ไจ้ เป๊า ยี่ เม้า สี ไส้ ซง้า เม็ด สัน เร้า เสด ไก๊ ส่วนกลุ่มลุ่มเจ้าพระยาภาคกลางเรียก ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุน ตามภาษาเขมร เช่นเดียวกับคำและประเพณีพิธีกรรมที่รับเขมรอีกหลายอย่าง

วัฒนธรรมประเพณีร่วมกันของภูมิภาค อาจไม่ใช่หลักฐานถึงการเป็นเชื้อชาติเดียวกันแต่ก็เป็นร่องรอยการติดต่อสัมพันธ์ที่มีมานาน ก่อนการเข้ามาผสมผสานของวัฒนธรรมภายนอก ทำให้เกิดความหลากหลายในแต่ละท้องถิ่น
 ... ที่มา - "นับปีแบบเอเชีย ๑ รอบ สิบสองนักษัตร" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  ตีพิมพ์ในหนังสือสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 เมษายน 2558 15:13:37 »

.


ภาพจาก : money.sanook.com

สงกรานต์อาเซียน
สงกรานต์พม่า

ต้อนรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปลายปีนี้  มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยน่ารู้เกี่ยวกับวิถีอาเซียน อันมีเอกลักษณ์มากกว่าแค่เป็นเพื่อนบ้านร่วมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ใกล้วันสงกรานต์อย่างนี้ ประเดิมด้วยเรื่องราวชาติสมาชิกอาเซียนที่เฉลิมฉลองขึ้นปีใหม่ในช่วงเดือนเมษายนเช่นเดียวกับไทยเรา

เริ่มที่ชาติสมาชิกอาเซียนตอนบน ทั้งพม่า ลาว กัมพูชา และไทย ต่างมีเทศกาลขึ้นปีใหม่อันเป็นประเพณีร่วมทางพุทธศาสนาในเดือนเมษายน ที่สำคัญคือเฉลิมฉลองด้วยการทำบุญ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำเช่นเดียวกัน เพราะเชื่อว่าน้ำจะช่วยชะล้างโรคภัย ไข้เจ็บ และเคราะห์ร้าย

วันปีใหม่ พม่า เรียกว่า “ตะจาน” หรือ “เทศกาลตะจังเหย่ ตะเบงบะแวด่อ” เรียกสั้นๆ ว่า “เหย่บะแวด่อ” โดยเริ่มเฉลิมฉลองในวันที่ ๑๒ เมษายน และจะเล่นสาดน้ำนาน ๕ วัน ก่อนจะฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑๗ เมษายน เมื่อสิ้นวันตะจาน ชาวพม่านิยมจัดงานบวชเณรให้ลูกหลานผู้ชาย และจัดงานเจาะหูให้กับลูกหลานผู้หญิง  ปัจจุบันพม่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวันหยุดปีใหม่อย่างเป็นทางการยาวที่สุดในโลก  โดยรัฐบาลกำหนดให้หยุดได้ตั้งแต่วันที่ ๑๒-๒๒ เมษายน

ข้ามไปบ้านพี่เมืองน้องของไทยคือ ประเทศลาว กันบ้าง ปีใหม่ลาวเรียกเหมือนไทยว่า “วันปีใหม่” และ “วันสงกรานต์” ตรงกับวันที่ ๑๔-๑๖ เมษายน  โดยวันแรกของปีใหม่คือ “วันสังขานล่วง” คล้ายกับ “วันสงกรานต์ล่อง” หรือวันสังขานล่องของชาวไทยล้านนาภาคเหนือ โดยชาวลาวจะทำความสะอาดบ้านเรือนเพื่อรับสิ่งดีๆ ที่จะเข้ามาในปีใหม่

วันที่สองเรียก “วันเนา” ชาวบ้านจะเดินทางไปทำบุญ สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่และเล่นสาดน้ำ ส่วน “วันสังขานขึ้น” หรือวันฉลองปีใหม่ ส่วนใหญ่จะนิมนต์พระมาฉันภัตตาหารที่บ้าน รดน้ำมนต์เป็นสิริมงคล ก่อนไปก่อเจดีย์ทรายที่วัด

สัปดาห์หน้าตามไปดูกันว่ากัมพูชาฉลองปีใหม่กันแบบไหน วันนี้ทิ้งท้ายด้วยคำอวยพรของชาวพม่าว่า “มิงกะลา นิ ติ ปา” และ “สะบ๋ายดี๋ปี๋ใหม่” แบบชาวลาว.


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า ๒๔ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘



http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2013/04/11/9bbjkihhhc9b8jchbiiab.jpg
เดือนนี้..มีวันสงกรานต์ ช่วยกันสืบสานประเพณีไทย.


สงกรานต์กัมพูชา

ชาวกัมพูชาเรียกเทศกาลนี้ว่า “โจลชนัมทเมย” โดยจะเฉลิมฉลองต่อเนื่องนาน ๓ วัน เริ่มจากวันขึ้นปีใหม่หรือ “วันมหาสงกรานต์” ตรงกับวันที่ ๑๓ หรือ ๑๔ เมษายน ตามปฏิทินสุริยคติในแต่ละปี ชาวกัมพูชาจะตื่นแต่เช้า หลายบ้านนิยมนำน้ำมนต์มาล้างหน้าเพื่อเสริมสิริมงคล จากนั้นแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยงาม และสักการะพระพุทธรูปที่บ้านหรือวัดอย่างพร้อมหน้าครอบครัว

ช่วงกลางวันยังนำน้ำมนต์มาประพรมบริเวณหน้า ตกค่ำก็จะใช้น้ำมนต์ล้างเท้า ประเพณีนี้คล้ายคลึงกับตำนานสงกรานต์ของไทย เมื่อท้าวกบิลพรหมเสด็จลงมาจากสวรรค์ เพื่อประลองปัญญาของธรรมบาลกุมาร โดยถามว่าราศีในช่วงเช้า กลางวันและเย็น สถิตอยู่ที่ใด

ปรากฏว่าธรรมบาลกุมารตอบถูก ท้าวกบิลพรหมจึงต้องทำตามสัญญาด้วยการตัดเศียรตนเอง แต่เศียรของท้าวกบิลพรหมมีพิษมาก ถ้าตั้งไว้บนแผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ ถ้าโยนขึ้นฟ้าฝนจะไม่ตกตามฤดูกาล และถ้าทิ้งลงมหาสมุทรน้ำก็จะเหือดแห้ง ท้าวกบิลพรหมจึงสั่งให้ธิดาทั้ง ๗ องค์ นำเศียรของท้าวกบิลพรหมไปแห่รอบเขาพระสุเมรุ จากนั้นนำไปเก็บไว้ในถ้ำธุลีเขาไกรลาศ อันเป็นที่มาของตำนานนางสงกรานต์ทั้ง ๗ นั่นเอง

ในวันที่สอง ชาวกัมพูชาจะบริจาคทานช่วยเหลือคนยากจน ส่วนวันที่สามจะไปสรงน้ำพระพุทธรูปที่วัด ก่อนรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่และพ่อแม่ จากนั้นเด็กๆ รวมถึงหนุ่มสาวจึงเล่นสาดน้ำอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีและความอุดมสมบูรณ์

สงกรานต์ของไทยเรากับโจลชนัมทเมยของกัมพูชาละม้ายคล้ายกันมาก คือหนึ่งในรากฐานประวัติศาสตร์ที่ผูกพันของเพื่อนบ้านอาเซียน คงต้องทิ้งท้ายกันด้วย “ซัวสเดย ชนัม ทเมย” สวัสดีปีใหม่จ้า...


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า ๒๔ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 เมษายน 2558 15:16:49 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวด่วน] - พิษสงครามรัสเซีย-ยูเครน! เอกชนจ่อขึ้้นราคาสินค้าใน 1-2 เดือนนี้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 170 กระทู้ล่าสุด 10 มีนาคม 2565 13:48:21
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.309 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 20:35:57