[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 02:50:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เถรีคาถา มหานิบาต  (อ่าน 19483 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2557 10:24:54 »

.


คาถาสุภาษิตของนางสุเมธาเถรี

[๔๗๔]  เราเป็นธิดาของพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้าโกญจะ ในนครมันตาวดี ชื่อว่าสุเมธา เป็นผู้อันพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้กระทำตามคำสั่งสอนให้ เลื่อมใสแล้ว เป็นผู้มีศีล มีถ้อยคำไพเราะ เป็นพหูสูต ได้รับแนะนำดีแล้วในพระพุทธศาสนา เข้าไปเฝ้าพระชนกและพระชนนี แล้วกราบทูลว่า ขอพระชนกพระชนนีทั้งสองโปรดฟังคำของหม่อมฉัน หม่อมฉันยินดีในนิพพาน เพราะว่าภพ ถึงแม้เป็นทิพย์ก็เป็นของไม่ยั่งยืน จะป่วยกล่าวไปไยถึงกามทั้งหลายอันเป็นของเปล่า มีความยินดีน้อยมีความคับแค้นมาก กามทั้งหลายเผ็ดร้อนเปรียบด้วยอสรพิษ เป็นที่ทำให้คนพาลหลงหมกมุ่นอยู่ คนพาลเหล่านั้นต้องถึงทุกข์ เดือดร้อนยัดเยียดอยู่ในนรกตลอดกาลนาน และเป็นเหตุทำให้คนพาลผู้มีความรู้ชั่ว ไม่สำรวมด้วยกาย วาจาและใจ ทำความชั่วต่างๆ ย่อมเศร้าโศกในอบาย ในกาลทุกเมื่อ เป็นเหตุทำให้คนพาล ผู้มีปัญญาทราม ไม่มีความคิด ยินดีแล้วในทุกข์และเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้จักธรรมอันพระอริยเจ้าแสดงอยู่ ทั้งไม่รู้จักอริยสัจ

ข้าแต่เสด็จแม่ คนเหล่าใดไม่รู้จักสัจจะอันพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงแล้ว พากันชื่นชมภพ ปรารถนาการเกิดในเทวดา ชนเหล่านั้นมีอยู่เป็นอันมากในโลกนี้ การเกิดแม้ในพวกทิพย์ในภพอันไม่เที่ยง ก็เป็นของไม่ยั่งยืนและพวกคนโง่เขลาย่อมไม่สะดุ้งกลัวต่อการเกิดร่ำไป พวกเขาจึงประสบวินิบาต ๔ คติ ๒ในกาลทุกเมื่อ และการบวชของคนที่ตกอยู่ในวินิบาตทั้งหลาย ย่อมไม่มีในนรก ขอพระชนกชนนีทั้งสองทรงโปรดอนุญาตให้หม่อมฉันบวชในพระศาสนาของพระทศพลเถิด หม่อมฉันจักเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย พยายามเพื่อละการเกิดการตาย จะเป็นประโยชน์อะไรด้วยภพอันพวกคนพาลพากันเพลิดเพลิน เป็นโทษทางกาย ไม่เป็นแก่นสารขอพระชนกชนนี ทรงโปรดอนุญาตเถิด หม่อมฉันจะบวชเพื่อดับตัณหาในภพ

การเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หม่อมฉันไม่ได้พบแล้วขณะอันเป็นขณะไม่ควร หม่อมฉันก็ได้แล้ว หม่อมฉันไม่พึงประทุษร้ายศีลและพรหมจรรย์ตลอดชีวิต เมื่อนางสุเมธาราชกัญญากราบทูลอย่างนี้

ลำดับนั้น พระชนกชนนีได้ตรัสกะนางสุเมธาราชกัญญาว่า มารดาบิดาเป็นคฤหัสถ์ถึงจะตกอยู่ในอำนาจของความตาย ก็จักไม่ยอมละทิ้งมารดาเป็นทุกข์ร้องไห้ และบิดาก็เป็นทุกข์ ถูกความโศกครอบงำแล้วเหมือนกันพยายามปลอบโยนนางสุเมธาซึ่งฟุบอยู่ที่แผ่นดินที่พื้นปราสาทว่า ลุกขึ้นเถิดลูกรัก จะเศร้าโศกไปทำไม มารดาบิดาได้ยกเจ้าให้พระนครวารณวดีแล้ว คือ ได้ยกเจ้าให้พระเจ้าอนิกรัตต์ผู้มีรูปงาม เจ้าจักเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าอนิกรัตต์ ลูกรักเอ๋ย ศีลพรหมจรรย์และการบวชกระทำได้ยาก อำนาจในแว่นแคว้นของพระเจ้าอนิกรัตต์ ทรัพย์ ความเป็นอิสสระ โภคะ ความสุขถึงสกุลนี้และสกุลของพระสวามีทั้งหมดลูกปรารถนาแล้ว ก็จักอยู่ในเงื้อมมือของลูก แม้ลูกก็ยังเป็นสาว จงบริโภคกามทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นมารดาบิดาจึงขอร้องไว้ ขอลูกจงอยู่เถิด

ลำดับนั้น นางสุเมธาราชกัญญาจึงกราบทูลพระชนกชนนีว่า อำนาจเป็นต้นเช่นนี้ขอจงอย่ามีเลย เพราะภพไม่เป็นแก่นสาร หม่อมฉันจักบวช หรือถ้าทรงขอร้องไว้ก็จักตายเท่านั้น หม่อมฉันรู้อยู่ว่า ร่างกายนี้เป็นของเปื่อยเน่าไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป เป็นของน่ากลัว ตัวเป็นดุจกระสอบหนังอันเต็มด้วยซากศพ เต็มด้วยของไม่สะอาด ไหลออกมาอยู่เนืองๆ เหมือนอะไร หม่อมฉันรู้ว่า ร่างกายนี้เป็นดุจซากศพอันปฏิกูลอย่างยิ่ง ฉาบทาไว้ด้วยเนื้อและเลือด เป็นที่อยู่แห่งหมู่หนอน เป็นเหยื่อเลือด พระชนกชนนีจะยกให้ใครทำไม กายนี้ไม่นานนัก มีวิญญาณไปปราศจากแล้ว อันหมู่ญาติเกลียดอยู่ ย่อมทิ้งถมป่าช้า เหมือนท่อนไม้ฉะนั้น มารดาบิดาของตนยังเกลียด พากันนำเอาซากศพนั้นไปทิ้งให้เป็นเหยื่อของสัตว์อื่นในป่าช้า แล้วกลับไปอาบน้ำจะกล่าวไปใยถึงประชุมชนทั่วไป ชนทั้งหลายยินดีแล้วในกายอันเปื่อยเน่า เป็นซากศพ ไม่มีแก่นสาร อันมีกระดูกมีเอ็นเป็นเครื่องผูกรัด เต็มด้วยน้ำลาย น้ำตาและเหงื่อไคล ผู้ใดมาแยกกายนั้นทำให้เห็นทั้งภายในและภายนอก ผู้นั้นไม่อาจทนต่อกลิ่นกายได้ แม้มารดาของตนก็พึงเกลียด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้โดยอุบายอันแยบคายว่าขันธ์ ธาตุและอายตนะ อันปัจจัยปรุงแต่ง มีชาติเป็นมูลเหตุเป็นทุกข์ไม่น่าชอบใจ เพราะเหตุไรหม่อมฉันจะพึงปรารถนาพระดำรัสที่ขอร้องเล่า หอก ๓๐๐ เล่มอันลับแล้วใหม่ๆ พึงตกลงในกายทุกวันๆความกระทบกระทั่ง แม้เป็นไปสิ้นร้อยปียังประเสริฐกว่า ฉันใดความสิ้นไปแห่งทุกข์พึงมี ฉันนั้น ผู้ใดเป็นผู้รู้แจ้งพระดำรัสของพระศาสดา โดยนัยตามที่กล่าวแล้ว พึงประสบความกระทบกระทั่ง แม้ความสิ้นทุกข์ของผู้นั้นพึงประเสริฐยิ่ง และสงสารของคนพาลเหล่านั้นผู้ถูกชรา พยาธิและมรณะเบียดเบียนบ่อยๆ เป็นของยาว ความคับแค้นอันหาประมาณมิได้ บัณฑิตแสดงไว้ในเทวดา หมู่มนุษย์กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อสุรกาย เปรต นรก ในนรกมีทุกข์เป็นอันมากความต้านทานในหมู่เทวดาทั้งหลายไม่มีแก่สัตว์ผู้ไปแล้วในวินิบาต ผู้เศร้าหมอง สุขอื่นจากสุข คือ นิพพานไม่มี ผู้ใดขวนขวายในคำสั่งสอนของพระทศพล เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย พยายามเพื่อละความเกิดและตาย ผู้นั้นชื่อว่าบรรลุนิพพาน

ข้าแต่เสด็จพ่อ วันนี้ หม่อมฉันจักออกบวชแน่นอน จะมีประโยชน์อะไรด้วยโภคสมบัติอันหาสาระมิได้กามทั้งหลายอันเสมอด้วยอาเจียน หม่อมฉันเบื่อหน่ายแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน นางสุเมธาราชธิดากราบทูลแด่พระชนกอย่างนี้ และนางสุเมธาราชธิดานั้น อันพระชนกชนนีประทานให้แก่พระเจ้าอนิกรัตต์ใด พระเจ้าอนิกรัตต์นั้นแวดล้อมด้วยคนหนุ่มๆ ตระเตรียมมาแล้วเมื่อกาลจวนเข้ามาแล้ว ลำดับนั้น นางสุเมธาราชกัญญา ได้ทรงสดับว่าพระเจ้าอนิกรัตต์เสด็จมา จึงเอาพระขรรค์ตัดพระเกศาอันดำสนิท อ่อนสลวย งดงาม ปิดปราสาทแล้วเข้าปฐมฌาน นางสุเมธาราชกัญญาเข้าสมาบัติเจริญอนิจจสัญญาอยู่ในปราสาทนั้นนั่นเอง และพระเจ้าอนิกรัตต์ได้เสด็จมาถึงพระนคร และนางสุเมธาราชกัญญากำลังมนสิการถึงอนิจจสัญญาอยู่ พระเจ้าอนิกรัตต์มีพระองค์อันประดับด้วยแก้วมณีและทองคำได้รีบเสด็จขึ้นสู่ปราสาท ทรงทำอัญชลีอ้อนวอนนางสุเมธาราชกัญญาว่า อำนาจ ทรัพย์ อิสริยยศ โภคะ ความสุข ในราชสมบัติหม่อมฉันขอมอบให้พระน้องนาง พระน้องนางยังเป็นสาว ขอจงบริโภคกามสุขเถิด กามสุขเป็นของหาได้ยากในโลก ราชสมบัติหม่อมฉันยอมสละให้น้องนาง ขอพระน้องนาง จงบริโภคโภคะทั้งหลาย จงให้ทานเถิด อย่าทรงโทมนัสเลย พระชนกชนนีของพระน้องนางทรงเป็นทุกข์

นางสุเมธาราชกัญญาผู้ไม่มีความต้องการด้วยกามทั้งหลาย ปราศจากโมหะ กราบทูลพระเจ้าอนิกรัตต์ว่า พระองค์อย่าทรงเพลิดเพลินในกาม จงทรงเห็นโทษในกามทั้งหลาย พระเจ้ามันธาตุผู้เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ เป็นผู้เลิศกว่าบุคคลผู้บริโภคกามทั้งหลาย ยังไม่ทรงอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ก็สวรรคตไป ความปรารถนาของท้าวเธอก็ยังไม่ทันบริบูรณ์เลย เทวดาผู้เป็นเจ้าแห่งฝน พึงบันดาลรัตนะ ๗ ประการให้ตกโดยรอบทั่วทิศ ๑๐ ทิศ ความอิ่มด้วยกามทั้งหลายมิได้มี นรชนทั้งหลายผู้ไม่อิ่มด้วยกามพากันตายไปหมด กามทั้งหลาย เปรียบด้วยดาบและหลาวเหมือนหัวงูเห่า เปรียบดังคบเพลิงเผาอยู่เนืองๆ เหมือนร่างกระดูกกามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก เหมือนงูที่มีพิษมาก เหมือนก้อนเหล็กอันไฟติดทั่ว เป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ มีทุกข์เป็นผล กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้อันเป็นพิษ เหมือนชิ้นเนื้อนำมาซึ่งทุกข์ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝันเป็นของหลอกลวงเหมือนของที่ยืมเขามา เปรียบด้วยหอกและหลาว เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นความทุกข์ยาก เป็นความลำบาก เช่นดังหลุมถ่านเพลิงเป็นรากเหง้าแห่งความทุกข์เป็นภัย เป็นนายเพชฌฆาต

กามทั้งหลาย บัณฑิตกล่าวว่ามีทุกข์มาก มีอันตรายมากอย่างนี้ เชิญพระองค์เสด็จกลับเสียเถิด หม่อมฉันไม่มีความคุ้นเคยในสมบัติของตนเลย เมื่อไฟไหม้อยู่ที่ศีรษะของตน ผู้อื่นจักช่วยทำประโยชน์อะไรให้หม่อมฉัน เมื่อชราและมรณะติดตามแล้ว ควรจะพยายามเพื่อทำลายชราและมรณะนั้นนางสุเมธาราชกัญญา ทอดพระเนตรเห็นพระชนกชนนีและพระเจ้าอนิกรัตต์เสด็จมายังไม่ทันถึง ประตูปิด ประทับนั่งร้องไห้อยู่ที่แผ่นดินจึงได้กราบทูลว่า สงสารของคนพาลทั้งหลายผู้ร้องไห้ถึงมารดา บิดาพี่ชาย น้องชาย และตนเองซึ่งตายแล้วในสงสาร เป็นสภาพยาวขอพระองค์ทรงระลึกถึงน้ำตา น้ำนม เลือด และกองกระดูก ของสัตว์ทั้งหลายผู้ท่องเที่ยวอยู่ไปมา เพราะความที่สงสารมีที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้

ขอจงทรงนึกถึงมหาสมุทรทั้ง ๔ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงน้อมเข้าไปเปรียบในน้ำตา น้ำนม และเลือด จงทรงนึกถึงกองกระดูกของคนหนึ่งในกัปคนหนึ่งเท่าภูเขาวิบุลบรรพต จงทรงนึกถึงแผ่นดินใหญ่คือ ชมพูทวีป ที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบด้วยมารดาบิดาของบุคคลผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร แผ่นดินใหญ่เมื่อแบ่งออกเป็นก้อนกลมๆ เท่าเมล็ดพุทรา ยังไม่เพียงพอในมารดาบิดาเลย จงทรงนึกถึงหญ้า ไม้กิ่งไม้และใบไม้ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเปรียบด้วยมารดาบิดาของบุคคล ผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร เพราะสงสารมีที่สุดอันรู้ไม่ได้ หญ้าไม้ กิ่งไม้และใบไม้ชิ้นหนึ่งประมาณเท่า ๔ นิ้ว ยังไม่เพียงพอในบิดาทั้งหลายเลย และชิ้นหนึ่งมีประมาณเท่านั้น ยังไม่เพียงพอใน ปู่ ย่า ตา ยาย
ทรงนึกถึงเต่าตาบอด และช่องแอกอันหมุนวนไปในทิศบูรพาและทางอื่นๆ อีก ในมหาสมุทร มาสวมศีรษะเต่าตาบอดตัวนั้น ข้อนี้อุปมาดังการได้อัตภาพเป็นมนุษย์จงทรงนึกถึงรูปแห่งโทษ คือการอันหาสาระมิได้ เปรียบเหมือนก้อนฟองน้ำ จงทรงพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายอันไม่เที่ยง

จงทรงคำนึงถึงนรกอันมีความคับแค้นมาก จงทรงนึกถึงสัตว์ทั้งหลายผู้พอกพูนป่าช้าอยู่บ่อยๆ ในชาตินั้นๆ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
เถรีคาถา มหานิบาต
ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในมหานิบาต
สุเมธาเถรีคาถา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
เงาฝัน 1 2820 กระทู้ล่าสุด 01 มกราคม 2556 18:18:29
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.335 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กุมภาพันธ์ 2567 17:03:09