[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 18:17:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาของ "เบี้ยแก้ "เครื่องรางของขลังจากภูมิปัญญาพระเกจิคณาจารย์ของไทย  (อ่าน 11379 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1017


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 43.0.2357.81 Chrome 43.0.2357.81


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 มิถุนายน 2558 09:27:52 »

.


ที่มาของ "เบี้ยแก้"
โดย   ราม วัชรประดิษฐ์

"เบี้ยแก้" ชื่อเรียกวัตถุมงคลชนิดหนึ่งที่ผู้คนให้ความนิยมและศรัทธามาแต่โบร่ำโบราณ ว่ามีความเข้มขลัง สามารถป้องกันสิ่งเลวร้ายและภยันตรายต่างๆ ได้ฉมังนัก
 

แต่เดิม "เบี้ย" คือ เปลือกหอยที่พ่อค้าชาวอาหรับและเปอร์เซียโบราณที่ค้าขายแถบชายฝั่งทะเล นำเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ

เนื่องจากเปลือกหอยดังกล่าวมีความสวยงามคงทนและหายาก ระยะแรกนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ โดยนำมาจากหมู่เกาะมัลดีฟส์ ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่เกิดจากปะการังจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังปรากฏมีการนำหอยเบี้ยจากฟิลิปปินส์เข้ามาด้วย ต่อมาจึงหามาแลกข้าวของสินค้าจนนิยมกันใช้เป็นเงินตรา ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยกล่าวถึง "พนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้" ซึ่งหมายถึง การนำเบี้ยมากองเป็น "พนม" หรือ "ภูเขา" เล็กๆ ลักษณะเหมือนบายศรี
 
เมื่อ "เบี้ย" ถูกนำมาใช้เป็นเงินตรา เบี้ยจึงมีความสำคัญและผูกพันกับคติความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถใช้แก้บน ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวาอารักษ์ ตลอดจนผีสางนางไม้ได้

ตัวอย่างเช่น ในงานวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนได้กล่าวถึงตอนนางเทพทองจะคลอดขุนช้างว่า "บ้างก็เสกมงคลปลายข้าวสาร เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน" และยังนิยมนำเบี้ยจั่นมาทำเครื่องห้อยในแบบเครื่องรางโดยประดับอัญมณี

จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความเกรงว่าเครื่องห้อยหากประดับอัญมณีมีค่าดังกล่าวสืบทอดไป คนจะเข้าใจว่าเป็นราชตระกูล และอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย ถึงกับมีประกาศห้ามราษฎรประดับประดาเหรียญเสมาห้อยคอและภควจั่น ด้วยเพชรพลอยและลงยาราชาวดี (การลงยาสีน้ำเงินหรือสีฟ้า อันเป็นสีในพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ จนเป็นธรรมเนียมการนับเป็นสีกษัตริย์เรียกว่าสีราชาวดี)

ดังนั้น จึงอาจอนุมานได้ว่าคำว่า "เบี้ยแก้" เดิมมาจากคำว่าเบี้ยแก้บน เนื่องจากใช้เป็นเงินบนบานศาลกล่าว และเกิดสัมฤทธิผลความหมายจึงพ่วงการแก้ไขจากร้ายให้กลายเป็นดี จึงมีอานุภาพทางแก้กันสิ่งอาถรรพ์ ที่จะให้โทษและทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตน

อีกทั้งคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ให้ความสำคัญกับหอยทะเลโดยกล่าวถึง "สังข์อสูร" ที่ลักลอบกลืนคัมภีร์พระเวทของพระพรหมลงไป ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องตามมาล้วงคัมภีร์จากท้องหอยสังข์ จึงบังเกิดเป็นร่องพระดัชนีจากพระหัตถ์ขององค์นารายณ์บริเวณร่องกลางของ เปลือกหอยส่วนท้อง พราหมณ์อินเดียจึงเคารพและนำหอยสังข์ที่มีต้นกำเนิดอยู่ในมหาสมุทรอินเดียมา ประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์
 
นอกจากนี้ยังมีหอยทะเลที่เรียกว่า "เบี้ย" ยังได้รับความเคารพจากพวกพราหมณ์ในฐานะสัญลักษณ์แห่ง "ศักติ" อันเป็นลัทธิที่บูชาเทวสตรี เช่น พระลักษมี พระอุมา พระสรัสวดี เรียกกันว่า "ภควจั่น" ซึ่งมาจาก ภควดี หมายถึง อิตถีเพศที่ควรเคารพบูชา ลักษณะของหอยเบี้ยนั้นจะเป็นหอยทะเลกาบเดี่ยว เปลือกแข็ง หลังอูมนูน ส่วนท้องแบนเป็นช่อง ปรากฏรอยขยักคล้ายฟันเล็กๆ บ้างรู้จักกันในชื่อ หอยจั่น หรือหอยจักจั่น และหอยพลู มีหลายขนาดตั้งแต่ใหญ่กว่าหัวแม่มือและขนาดเล็กกว่าปลายนิ้วก้อย

"เบี้ยแก้" นับเป็นเครื่องรางของขลังที่เกิดจากภูมิปัญญาพระเกจิคณาจารย์ของไทยโดยแท้ การสร้างสรรค์คัดเลือก "หอยเบี้ยจั่น" ที่ต้องมีฟันครบ 32 มาลงคาถาอาคม กรอกปรอทลงในตัวเบี้ย ปิดปากด้วยชันโรง ห่อด้วยแผ่นตะกั่ว ลงอักขระเลขยันต์ ห่อหุ้มด้วยด้ายถัก ปิดท้ายด้วยการลงรักเพื่อการเก็บรักษา ทุกขั้นตอนดังกล่าวจะต้องมีการบริกรรมคาถาเพื่อสร้างความเข้มขลังตลอดพิธีกรรม โดยแต่ละเกจิก็จะมีเคล็ดวิชาอาคมที่แตกต่างกันไป

สำหรับความเข้มขลังของ "เบี้ยแก้" ก็คือ การแก้การป้องกันคุณไสย สิ่งเลวร้ายต่างๆ ไม่ให้เข้ามากล้ำกราย รวมถึงเมตตามหานิยม
 
"ปรอท" คือแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมีความหนักแต่เป็นของเหลว มวลของปรอทจะแน่นหนามาก คุณสมบัติอย่างหนึ่งของปรอทก็คือ การแยกสิ่งที่แปลกปลอมให้ออกไปให้พ้นไป และยังใช้ในการรักษาโรคต่างๆ อีกด้วย คนโบราณจะโปรยปรอทไว้รอบๆ บ้านเพื่อไล่ธาตุที่แปลกปลอม เสนียดจัญไรต่างๆ

ส่วน "ชันโรง" คือรังของสัตว์มีปีกอยู่ในตระกูลผึ้งแต่ตัวมีขนาดเล็ก จะถ่ายมูลทำรังตามต้นไม้ กิ่งไม้ และใต้ดินทำนองปลวก มีลักษณะเหนียวคล้ายชัน สีน้ำตาลเข้ม นับเป็นวัสดุอาถรรพ์ที่นำมาใช้อุดไม่ให้ปรอทหนีออกจากตัวเบี้ย บางสำนักก็ใช้อุดใต้ฐานพระเมื่อบรรจุเม็ดกริ่ง แผ่นยันต์หรือพุทธาคมต่างๆ
 
เกจิ อาจารย์ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือทางด้านการทำเบี้ยแก้ได้แก่ หลวงปู่รอด วัดนายโรง บางกอกน้อย กทม., พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขันธโชติ) หรือหลวงปู่บุญ หลวงปู่ทอง หลวงปู่เพิ่ม หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว นครชัยศรี นครปฐม, หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ กทม. ฯลฯ ซึ่งแต่ละสำนักล้วนแล้วแต่มีกรรมวิธีการจัดสร้างเบี้ยแก้ตามสูตรโบราณ และมีพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์แก้ไขสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นดีสมดังชื่อจริงๆ ครับผม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1017


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 43.0.2357.81 Chrome 43.0.2357.81


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2558 13:07:28 »

.




"เบี้ยแก้" หลวงปู่รอด วัดนายโรง
พันธุ์แท้พระเครื่อง - ราม วัชรประดิษฐ์

ในบรรดา "เบี้ยแก้" ที่เกจิอาจารย์ชื่อดังมากมายนิยมสร้างกันตามสูตรโบราณเฉพาะของแต่ละท่านนั้น ล้วนทรงพุทธคุณเป็นที่ปรากฏทั้งสิ้น แต่ที่ได้รับความนิยมยกย่องและมีชื่อเสียงที่สุดของไทย ก็คือ เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ธนบุรี หนึ่งใน "เบญจภาคีประเภทเครื่องรางของขลัง"

คนโบร่ำโบราณได้เคยแต่งไว้เป็นคำกลอนอย่างคล้องจอง ถึงพุทธคุณอันลือลั่นเป็นที่ปรากฏ ดังนี้ ... "หมากดีที่วัดหนัง ถ้าเบี้ยขลังวัดนายโรง ไม้ครูคู่วัดอินทร์ ส่วนมีดบินวัดหนองโพธิ์ พิสมรวัดพวงมาลัย ครั่งเหลือร้ายวัดโตนดหลวง ราหูคู่วัดศีรษะทอง เเหวนอักขระต้องวัดหนองบัว ลูกเเร่ที่วัดบางไผ่ ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน ทุกสิ่งล้วนเป็นมงคล ทั่วทุกคนควรค้นหา ติดกายยามยาตรา ภัยมิกล้ามาเเผ้วพาน"

หลวงปู่รอด เป็นชาวบ้านบางพรม เขตอำเภอตลิ่ง ชัน ธนบุรี อุปสมบทที่วัดเงิน หรือวัดรัชฎาธิษฐาน ที่คลองบางพรม อันเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ฝ่ายอรัญวาสี  ต่อมาท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดนายโรง จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ของวัดนายโรง ด้วยความที่ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระระดับสูง และล่ำลือถึงคุณวิเศษทางพุทธาคมและวิทยาคม จึงได้รับการนับถือในแถบย่านคลองบางกอกน้อย หลวงปู่รอดเป็นพระคณาจารย์ในยุคสมัยเดียวกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

เบี้ยแก้ ของหลวงปู่รอด จะใช้วัตถุอาถรรพ์ต่างๆ เป็นองค์ประกอบ อันได้แก่ เบี้ยพู ปรอท ชันโรงใต้ดิน (เป็นสัตว์ตระกูลผึ้งนำรังมาใช้ผสมสร้าง) นอกจากนี้ยังมีแผ่นตะกั่วทุบ ซึ่งท่านได้นำวัตถุทั้งหมดมาปลุกเสกลงอักขระขอมโบราณ กำกับด้วยคาถา "พระเจ้า 16 พระองค์" และ "คาถาตรีนิสิงเห" เมื่อเสร็จพิธีก็จะมอบให้กับสานุศิษย์พกติดตัว

คุณลักษณะเฉพาะที่พิเศษของ "เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด" ที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณา คือ ท่านมักจะคัดตัวเบี้ยที่มีขนาดไล่เลี่ยกันและเลือกตัวสมบูรณ์ตามสูตรโบราณ คือ มีฟันเบี้ยครบ 32 ซี่ เหมือนมนุษย์ ถ้าหากนำเบี้ยแก้มาสั่นฟังข้างๆ หู จะมีเสียงดังคลิกเบาๆ อันเป็นเสียงของปรอทที่บรรจุไว้ภายใน

นอกจากนี้ ที่ใต้ท้องเบี้ยจะต้องมีรังชันโรงใต้ดินปิดและเกาะติดแน่นอยู่ในสภาพเก่าและแห้ง ซึ่งเบี้ยแก้ส่วนใหญ่จะหุ้มด้วยแผ่นตะกั่วทุบทั้งลูก มีบ้างบางตัวอาจเปิดด้านหลังเบี้ยไว้ หรือบางตัวอาจไม่มีแผ่นตะกั่วหุ้มก็มี หากมีแผ่นตะกั่วหุ้มจะมีอักขระเลขยันต์เรียงเป็นระเบียบเรียบร้อย และต้องดูความเก่าให้ออกตามวันเวลากว่า 100 ปี

ประการสำคัญ "เบี้ยแก้ หลวงปู่รอด" ส่วนใหญ่จะถักเชือกหุ้มทับเอาไว้ มีทั้งหุ้มปิดหลังเบี้ยและเปิดหลังเบี้ย เบี้ยที่ถักเชือกหุ้มนั้นส่วนมากจะทายางลูกมะพลับ บ้างลงรัก หรือชุบรักเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อความคงทน

ยางมะพลับหรือรักที่ลงจะมีลักษณะแห้ง มีความเก่า มีสีดำอมแดงไม่ดำสนิททีเดียว หากมีการลงรักปิดทองให้สังเกตความเก่าของรักกับทองให้เป็น และเบี้ยแก้ของท่านจะปรากฏทั้งแบบมีห่วงและไม่มีห่วง บางตัวยังทำพิเศษบรรจุตะกรุดเอาไว้ด้วย เรียกว่าหายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรอีกครับผม

ถ้าลองสังเกตเบี้ยแก้ของ "วัดนายโรง" กับ "วัดกลางบางแก้ว" จะเห็นว่ามีลักษณะหลายๆ อย่างที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งขนาดที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะได้วิชามาจากทางลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีเหมือนกันก็เป็นได้ เพราะเมื่อเทียบเคียงอายุอานามของหลวงปู่แขกและหลวงปู่ทองแล้วน่าจะเป็นพระเกจิรุ่นเดียวกัน จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะได้รับการถ่ายทอดมาจากสำนักเดียวกัน แต่ก็พอสังเกตความแตกต่างระหว่าง 2 สำนัก ได้ที่ "เชือกถัก" เพราะลายถักจะไม่เหมือนกันครับผม
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1017


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 43.0.2357.124 Chrome 43.0.2357.124


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2558 11:58:42 »

.


เบี้ยแก้หลวงปู่เช้า
วัดห้วยลำใย ต.หนองพิกุล อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์

"หลวงปู่เช้า อัตตจิตโต" วัดห้วยลำใย ต.หนองพิกุล อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองปากน้ำโพ สืบสานวิทยาคมเป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และเรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น

ท่านเกิดในสกุล ชัยบุรินทร์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2466 ที่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา  ในช่วงเยาว์วัยเรียนที่โรงเรียนวัดในหมู่บ้าน เรียนจนจบชั้นประถมปีที่ 4 แล้วออกมาช่วยครอบครัวทำนาทำไร่  จากนั้นตอบแทนคุณบิดา-มารดา เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดดงน้อย อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีพระใบฎีกาบุญยัง คังคสโร เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่เช้าประพฤติปฏิบัติตามแบบที่ครูอาจารย์สั่งสอนอย่างเคร่งครัด ท่านเดินทางไปปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัดทางภาคกลาง ร่ำเรียนวิชาจากพระใบฎีกาบุญยัง ซึ่งเคยเป็นพระครูปลัดซ้าย พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า เรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุขจากตำราเอก วิชาตัวอิ อันเป็นบทปฐม 1 ใน 4 ตำราหลัก ของหลวงปู่ศุข คือ อิติปิโส จากพระใบฎีกาบุญยัง จนมีความชำนาญ และยังเดินทางไปเรียนวิชากับหลายพระอาจารย์ ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กับการศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อเดิม ได้รับถ่ายทอดวิชาเสกมีดหมอ คาถาคงกระพัน

ครั้นหลวงปู่เช้าอายุมากล่วงเข้าวัยชรา พระใบฎีกาปรีชา ธัมมโชโต เจ้าอาวาสวัดห้วยลำใย ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชาย ขออาราธนาหลวงปู่เช้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดห้วยลำใย เพื่อจะได้ดูแลใกล้ชิด

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2557 ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ สิริอายุ 92 พรรษา 72

ในปีพ.ศ.2556 หลวงปู่เช้าได้จัดสร้างวัตถุมงคล "เบี้ยแก้" เพื่อหารายได้สมทบทุนการก่อสร้างมณฑปวัดห้วยลำใย จ.นครสวรรค์

วัตถุมงคล "เบี้ยแก้หลวงปู่เช้า" จัดสร้างด้วยเปลือกหอยตัวใหญ่ ขนาดเท่าไข่เป็ด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เบี้ยแก้ตัวที่ถักด้วยด้ายไหมพรมสีแดง เรียกว่า "เบี้ยองค์ครู"  ส่วนเบี้ยแก้ที่ถักด้วยด้ายไหมพรมสีเหลือง (เบี้ยตัวรอง)

เบี้ยแก้ทั้งสองประเภทใช้ได้ทั้งแขวนหน้ารถยนต์และบูชาที่บ้านหรือร้านค้าก็ได้

ลักษณะเบี้ยแก้ทั้งสองประเภททำจากเปลือกหอยตัวใหญ่ ภายในบรรจุปรอท ปิดด้วยชันโรง ฝังตะกรุด ก้านธูป พลอยเสก และจีวรหลวงปู่เช้า เบี้ยตัวครู สร้าง 800 ตัว เบี้ยตัวรอง สร้าง 1,000 ตัว หลวงปู่เช้าปลุกเสกเดี่ยว 1 ไตรมาส (3 เดือน)

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่พระชนะรัตน์ ชินวังโส วัดห้วย ลำใย อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ โทร.08-0782-1280 ทุกวัน


"เปิดตลับพระใหม่"
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1017


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 43.0.2357.130 Chrome 43.0.2357.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2558 09:07:09 »

.



เบี้ยแก้ แก้สารพัน-กันสารพัด

"เบี้ยแก้นั้นเมื่อเขย่าจะดังขลุกๆ อันเป็นเสียงปรอทกลิ้งไปกลิ้งมาที่กรอกเข้าไปในตัวเบี้ย เนื่องจากสามารถหดและขยายตัวตามอุณหภูมิหากเขย่าเบี้ยแก้ตอนอากาศร้อนจะไม่ค่อยได้ยินเสียง เนื่องจากปรอทขยายตัว"   

คติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่เจริญในยุคพระเวทและยุคมหากาพย์เรื่อยมานั้น ได้ให้ความสำคัญกับหอยทะเล โดยกล่าวถึงสังข์อสูรที่ลักลอบกลืนคัมภีร์พระเวทของพระพรหมลงไป ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องตามมาล้วงคัมภีร์จากท้องหอยสังข์ จึงบังเกิดเป็นร่องพระดัชนีจากพระหัตถ์ขององค์นารายณ์บริเวณร่องกลางของเปลือกหอยส่วนท้อง พราหมณ์อินเดียจึงเคารพและนำหอยสังข์ที่มีต้นกำเนิดอยู่ในมหาสมุทรอินเดียมาประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ด้วยนับถือว่าเคยเป็นที่สถิตแห่งคัมภีร์พระเวท และมีรอยพระหัตถ์พระนารายณ์ปรากฏอยู่
 
นอกจากนี้ยังมีหอยทะเลที่เรียกว่าเบี้ย ยังได้รับความเคารพจากพวกพราหมณ์ในฐานะสัญลักษณ์แห่ง "ศักติ" อันเป็นลัทธิที่บูชาเทวสตรี เช่น พระลักษมี พระอุมา พระสุรัสวดี เรียกกันว่า "ภควจั่น" ซึ่งมาจาก ภควดี หมายถึง อิตถีเพศที่ควรเคารพบูชา ลักษณะของหอยเบี้ยนั้นจะเป็นหอยทะเลกาบเดี่ยว เปลือกแข็ง หลังอูมนูน ส่วนท้องแบนเป็นช่อง ปรากฏรอยขยักคล้ายฟันเล็กๆ บ้าง รู้จักกันในชื่อหอยจั่น หรือหอยจักจั่น และหอยพลู มีหลายขนาดตั้ง แต่ใหญ่กว่าหัวแม่มือและขนาดเล็กกว่าปลายนิ้วก้อย
 
ในสมัยก่อนเมื่อเบี้ยถูกนำมาใช้เป็นเงินตรา เบี้ยจึงมีความสำคัญและผูกพันกับคติความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถใช้แก้บนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวาอารักษ์ตลอดจนผีสางนางไม้ได้ ตัวอย่างเช่นในงานวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนได้กล่าวถึงตอนทางเทพทองจะคลอดขุนช้างว่า "บ้างก็เสกมงคลปลายข้าวสาร เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน" และยังนิยมนำเบี้ยจั่นมาทำเครื่องห้อยในแบบเครื่องรางโดยประดับอัญมณี
 
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความเกรงว่า หากเครื่องห้อยหากประดับอัญมณีมีค่าดังกล่าวสืบทอดไปคนจะเข้าใจว่าเป็นราชตระกูลและอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้ายถึงกับมีประกาศห้ามราษฎรประดับประดาเหรียญเสมาห้อยคอและภควจั่นด้วยเพชรพลอยและลงยาราชาวดี (การลงยาสีน้ำเงินหรือสีฟ้าอันเป็นสีในพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จนเป็นธรรมเนียมการนับเป็นสีกษัตริย์เรียกว่าสีราชาวดี) ดังความปรากฏว่า
 
"จะแต่งบุตรและหลาน ก็ให้ใส่แต่จี้เสมาภควจั่นจำหลัก ประดับพลอยแดงเขียวเท่านั้น อย่าได้ประดับเพชรถมยาราชาวดี...และห้ามอย่าให้ช่างหล่อทั้งปวงรับจ้างทำจี้เสมาภควจั่นประดับเพชรถมยาราชาวดี และกระจับปิ้งพริกเทศทองคำ กำไลเท้าและแหวนถมยาราชาวดีประดับพลอย ห้ามมิให้ซื้อขายเป็นอันขาดทีเดียว ถ้าข้าราชการผู้น้อยและอาณาราษฎร์ ช่างทองกระทำผิดถ้อยอย่างธรรมเนียมแต่ก่อนจะเป็นโทษอย่างหนัก"




ดังนั้นจึงอาจอนุมานได้ว่า คำว่า "เบี้ยแก้" เดิมมาจากคำว่า เบี้ยแก้บน เนื่องจากใช้เป็นเงินบนบานศาลกล่าวและเกิดสัมฤทธิผลความหมายจึงพ่วงการแก้ไขจากร้ายให้กลายเป็นดี จึงมีอานุภาพทางแก้กันสิ่งอาถรรพณ์ ที่จะให้โทษและทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตน
 
โบราณาจารย์จะทำเบี้ยแก้โดยนำหอยเบี้ยมาบรรจุปรอท แล้วอุดด้วยชันโรง หุ้มด้วยแผ่นตะกั่วหรือผ้า แล้วนำมาทักด้วยเชือกทารักหรือยางมะขวิด ผ่านการปลุกเสกกำกับใช้ผูกเอวหรือห้อยคอ แก้คุณไสยโดยการแช่น้ำมนต์ดื่ม อาบปรอทนั้นคือแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมีความหนักแต่เป็นของเหลว มวลของปรอทจะแน่นหนามากถึงขนาดลอยธาตุอย่างอื่นบนปรอทได้และเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ แต่ก่อนจะใช้ปรอทในการแยกธาตุให้บริสุทธิ์ ดังนั้นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของปรอทก็คือ การแยกสิ่งที่แปลกปลอมให้ออกไปให้พ้นไป และยังใช้ในการรักษาโรคต่างๆ อีกด้วย คนโบราณจะโปรยปรอทไว้รอบๆ บ้านเพื่อไล่ธาตุที่แปลกปลอม เสนียดจัญไรต่างๆ
 
ส่วนชันโรงนั้นคือรังของสัตว์มีปีกอยู่ในตระกูลผึ้ง แต่ตัวมีขนาดเล็ก จะถ่ายมูลทำรังตามต้นไม้ กิ่งไม้ และใต้ดินทำนองปลวก มีลักษณะเหนียวคล้ายชัน สีน้ำตาลเข้ม นับเป็นวัสดุอาถรรพณ์ที่นำมาใช้อุดไม่ให้ปรอทหนีออกจากตัวเบี้ย บางสำนักก็ใช้อุดใต้ฐานพระเมื่อบรรจุเม็ดกริ่ง แผ่นยันต์หรือพุทธาคมต่างๆ

เบี้ยแก้นั้นเมื่อเขย่าจะดังขลุกๆ อันเป็นเสียงปรอทกลิ้งไปกลิ้งมาที่กรอกเข้าไปในตัวเบี้ย เนื่องจากสามารถหดและขยายตัวตามอุณหภูมิหากเขย่าเบี้ยแก้ตอนอากาศร้อนจะไม่ค่อยได้ยินเสียง เนื่องจากปรอทขยายตัว แต่ถ้าอากาศเย็นจะมีพื้นที่ว่างในตัวเบี้ยมากกว่าเสียงจะดังฟังชัด

อ.ราม  วัชรประดิษฐ์
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.362 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 18:08:56