[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 23:10:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ดับคนดัง - วินาทีสังหารบุคคลสำคัญของโลก  (อ่าน 9206 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2558 14:48:29 »

.


ดับคนดัง - วินาทีสังหาร
มหาตมะ  คานธี

๑๗.๐๐ น. ของวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๙๑

มหาตมะ  คานธี โดยการประคองของหลานสาว ๒ คน เดินออกจากบ้านพัก ตามทางในสวน มหาตมะ คานธี มาถึงกลุ่มประชาชนประมาณ ๕๐๐ คน ซึ่งพากันมาคอยร่วมประชุมสวดมนต์กับ มหาตมะ คานธี ตามปกติที่เคยมาทุกเย็น

ทันทีที่เห็นท่านมหาตมะ  คานธี  ประชาชนเหล่านั้นก็จะรีบแยกทางกันให้ท่านผ่านออกหน้าไปก่อน

แต่เสี้ยววินาทีนั้นเอง อย่างไม่มีใครคาดฝัน ก็มีชายหนุ่มคนหนึ่งก้าวพรวดพราดออกมาจากฝูงชน ในมือถือปืนพกสั้นและก่อนที่จะมีใครได้สติเข้าห้ามปรามได้ทัน ปืนในมือก็เหนี่ยวไกลั่นกระสุน ๓ นัดติดๆ กันสู่ร่างท่านมหาตมะ คานธี
 
นัดแรกถูกสะโพกขวา อีกสองนัดถูกที่อกและท้อง มหาตมะ คานธี ล้มลงเลือดสีแดงพุ่งสาดกระจายถูกผ้าที่ห่อหุ้มร่างกายนองพื้น

ชั่วแมลงวันกระพือปีก ขณะที่ผู้คนตกตะลึงพรึงเพริดตื่นเต้นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด มีชายหนุ่มอเมริกันซึ่งอยู่ในที่นั้นด้วยได้ตะครุบจับมือปืนสังหารได้ทันควัน ขณะเดียวกันพอฝูงชนได้สติหายตะลึง ก็พากันกลุ้มรุมทำร้ายประชาทัณฑ์มือปืนเป็นการใหญ่ เคราะห์ดีที่ตำรวจได้มาถึงระยะนั้นพอดี จึงแยกเอาตัวออกไปเสียก่อน มิฉะนั้นมีหวังร่างกายบี้แบนอยู่ตรงนั้น

ส่วนท่านมหาตมะ คานธี นั้น ก็สมกับที่ได้นามว่าบุรุษใจพระ แม้ว่าจะถูกยิงล้มลงแสนเจ็บปวดทรมานอย่างที่สุดนั้น ก็ไม่มีเสียงร้องครวญครางออกมาเลยแม้แต่น้อยนิด ท่านยกมือพนมและหลับตาอย่างสงบ คล้ายกับจะสวดมนต์วิงวอนให้เทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ได้อโหสิกรรมแก่ผู้ทำร้ายท่านแม้ชีวิต

ในนาทีต่อมาร่างอันบอบบางของท่านก็ถูกนำไปยังเฉลียงบ้านพีร์ลาโดยด่วน แพทย์ถูกเรียกตัวมาดูอาการด่วน พร้อมการพยาบาลขั้นต้น แต่ก็ไม่สามารถที่จะยื้อยุดฉุดชีวิตท่านไว้ได้

ท่านมหาตมะ คานธี หายใจแผ่วลงๆ ต่อมาอีก ๒๕ นาที ก็สิ้นลมบนตักของหลานสาว ซึ่งสวดคัมภีร์ภาวัตคีตาของฮินดูอยู่ตลอดเวลา



มหาตมะ คานธี กับเด็กหญิงปรียาทรศินี หรือที่โลกรู้จักในชื่อ "อินทิรา คานธี"
ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอินเดีย
(ภาพถ่ายเมื่อปี ๑๙๒๔)

๓๐ มกราคม ๒๔๙๑ เป็นวันวิปโยคครั้งยิ่งใหญ่

ทันทีที่ข่าวร้ายนี้ถูกกระจายออกโดยวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ หลังจากคานธีสิ้นลม อินเดียทั้งชาติตกตะลึงกันไปหมด รถราหยุดเดิน ห้างร้าน ภัตตาคาร โรงงานต่างพากันหยุดปิดกิจการทั้งหมด ประชาชนพากันออกมาอยู่เต็มถนน โดยไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี ต่างเฝ้าฟังข่าวจากวิทยุ ซึ่งประกาศซ้ำๆ ซากๆ ด้วยสุดซึมเศร้ารันทดใจสุดประมาณ ความโศกเศร้าปกคลุมไปทั่วทุกหนทุกแห่ง มีแต่เสียงสะอึกสะอื้น

ถึงแม้ว่าจะเป็นเวลาค่ำคืน แต่ฝูงชนนับพันนับหมื่นได้พากันหลั่งไหลไปยังบ้านพีร์ลา พอได้พบร่างผู้ใจบุญถูกห่อหุ้มด้วยผ้าขาว นอนอยู่ท่ามกลางกองดอกไม้นานาชนิดก็ยิ่งพากันร่ำไห้ต่อเนื่องกันทั้งคืนทั้งวัน

ในเมืองบอมเบย์ ทันทีที่ข่าวมรณกรรมถูกประกาศออกมา พวกมุสลิมกับฮินดูในบอมเบย์ก็เกิดฆ่าฟันกันอย่างดุเดือด มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายร้อยคน จนรัฐบาลต้องใช้กำลังทหารรักษาความสงบทั่วประเทศเป็นการด่วน

รัฐบาลอินเดียสั่งไว้ทุกข์ทั่วประเทศ มีกำหนด ๑๓ วัน ให้ลดธงครึ่งเสา งดการรื่นเริงทุกชนิด รัฐบาลแห่งปากีสถานสั่งหยุดราชการ ๒๔ ชั่วโมง ตลอดจนวันเสาร์ชาวอินเดียทั่วประเทศพร้อมใจกันอดอาหารและสวดมนต์ภาวนาส่งดวงวิญญาณของท่านมหาตมะ คานธี องค์การสหประชาชาติประกาศลดธงครึ่งเสา ผู้แทนอเมริกันและฝรั่งเศสหยุดไว้อาลัย ๒ นาที บรรดาประมุขทั่วโลกส่งสาส์นไปแสดงความเสียใจต่อรัฐบาลอินเดียเป็นจำนวนมาก รวมทั้งประเทศไทยด้วย

รุ่งขึ้นวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เวลา ๑๖.๐๐ น. พิธีการฌาปนกิจก็เริ่มขึ้น ศพท่านมหาตมะ คานธี จัดเป็นขบวน รถบรรทุกศพออกจากบ้านพีร์ลา จูงด้วยทหาร ตำรวจ และประชาชน ประดับด้วยมวลดอกไม้นานาชนิดและธงชาติ บรรดาญาตินำหน้าศพ เนรูห์นำหน้า คณะรัฐบาลตามหลัง ต่อมาไว้ท์เคานต์เมาท์แบตแตนผู้สำเร็จราชการและเลดี้

ขบวนแห่งมุ่งไปยังแม่น้ำยมนา สองข้างทางจะเนืองแน่นไปด้วยผู้คนโปรยข้าวตอกดอกไม้ เมื่อถึงเชิงตะกอนที่ตำบลราชพัตร์ ก็ยกศพขึ้นสู่เชิงตะกอนไม้จันทน์ซึ่งราดด้วยน้ำมันและเนย

เชิงตะกอนนี้ชาวมุสลิม ๒ คน ได้ร่วมมือกันสร้าง เครื่องบินกองทัพอากาศบินโฉบลงต่ำโปรยปรายดอกไม้มายังศพที่เชิงตะกอนที่มีร่างของท่านมหาตมะ คานธี

เมื่อได้เวลาจุดไฟ เนรูห์ นายกรัฐมนตรีอินเดียได้เข้าไปจูบที่เท้าทั้งสองของท่านมหาตะมะ คานธี แล้วร่ำไห้ไม่อายใคร ขณะเดียวกับฝูงชนเป็นจำนวนมากพังแนวทหาร ตำรวจเข้าไปจุดไฟ มีหญิงแม่ลูกคู่หนึ่งพยายามจะโจนเข้ากองไฟด้วย แต่เลดี้เมาท์แบตแตนได้ขัดขวางไว้ทัน

ตลอดเวลาที่ไฟลุกโชติช่วง เผาไหม้ร่างมหาบุรุษผู้เป็นที่รักอยู่นั้น ประชาชนทั้งหลายต่างยืนนิ่ง มองดูด้วยน้ำตานองใบหน้า ด้วยดวงใจที่เศร้าโศกรันทดอย่างสุดประมาณ เสียงสะอึกสะอื้นระงมขึ้นไม่ขาดระยะ
“ชีวิตอันเป็นที่รักนี้ ช่างสั้นเหลือเกิน”

ส่วนมือสังหารที่จับได้นั้นปรากฏชื่อว่า นาทุราม วินัย โคทเส   เป็นหนุ่มน้อยชาวฮินดู เผ่ามาราติ มีหัวนิยมคอมมิวนิสต์ ชอบวิธีการรุนแรง เป็นสมาชิกพรรคฮินดูมหาสภา โดยมีตำแหน่งเลขานุการพรรค เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาษามาราติฉบับหนึ่งชื่อ “โลกฮินดู” ออกที่เมือง “ปูนา”

“ผมทำถูกแล้วที่สังหารคานธี” หนุ่มมือปืนให้เหตุผล “เพราะนโยบายของคานธีขัดต่อผลประโยชน์ของฮินดู และคานธีเป็นตัวการแบ่งแยกอินเดีย เป็นอินเดีย และปากีสถาน”

แน่นอนการที่มือปืนบุกสังหารร ท่านมหาตมะ คานธี ครั้งนี้ก็เพราะนโยบายของคานธีขัดต่อผลประโยชน์ของฮินดู ซึ่งเป็นลัทธิศาสนาของเขานั่นเอง

นโยบายของคานธีที่มือสังหารอ้างว่าเขาไม่พอใจนั้นมีดังนี้
“ข้าพเจ้าจะทำงานเพื่ออินเดีย ซึ่งผู้ที่ยากจนที่สุดก็คงจะรู้สึกว่าเขาก็เป็นเจ้าของประเทศเหมือนกัน อินเดียจะต้องมีชีวิตประสานสัมพันธ์กัน อินเดียจะต้องไม่มีการสาปแช่งของการแตะต้องไม่ได้ ผู้หญิงจะต้องมีสิทธิเท่าเทียมผู้ชาย นี่คืออินเดียในความฝันของข้าพเจ้า”

คานธีผู้เสียสละทรัพย์ส่วนตัวและทุกสิ่งทุกอย่างทำการต่อสู้จนได้มาซึ่งเอกราชของอินเดีย ได้กล่าวไว้ดังนี้ ซึ่งในตอนนั้นภายหลังที่ได้เอกราชแล้วไม่นานก็เกิดปัญหาแตกแยกเรื่องศาสนาระหว่างฮินดูกับมุสลิมขึ้น มันเป็นปัญหาที่สร้างความยุ่งยากปั่นป่วนให้แก่คนอินเดียโดยเฉพาะคานธีมาก ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมปรองดองกัน

เพื่อประสานความร้าวฉานระหว่างฮินดูกับมุสลิมซึ่งกำลังแตกแยกกันอยู่ คานธีผู้ถือหลักอหิงสาจึงได้ทำการบำเพ็ญตบะอดอาหารในวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๙๑ แต่ก็อดไปได้เพียง ๖ วัน แพทย์ตรวจอาการแล้วบอกว่าหากอดต่อไปคานธีจะต้องเสียชีวิตแน่นอน ท่านผู้สำเร็จราชการ (ลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบตแตน) และบุคคลสำคัญของอินเดียหลายคนจึงอ้อนวอนขอร้องให้คานธีเลิกวิธีการอดอาหารสีย

ภายหลังยุติการอดอาหารได้เพียง ๒ วัน คานธีก็ประสบกับเหตุร้ายแรงเป็นครั้งแรก มันเป็นสัญญาเตือนให้คานธีรับรู้ว่าการกระทำของคานธีนั้นมีคนไม่เห็นด้วยขัดขวางอยู่ และมุ่งจะสังหารคานธีให้พ้นทางเดินของเขา นั่นคือ
วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๙๑ ที่สวนแห่งคฤหาสน์พีร์ลาอันเป็นที่พักของคานธีเอง ขณะนั้นได้มีประชาชนเป็นจำนวนมากมาร่วมสดมนต์กับคานธีตามปกติ พอดีมีชายคนหนึ่งขว้างระเบิดเข้ามา ปรากฏมีผู้ได้รับบาดเจ็บรวม ๙ คน ส่วนคานธีรอดตายอย่างหวุดหวิด

มือปาระเบิดรายนี้ชื่อมาดามลาล อายุ ๒๓ ปี เป็นพวกฮินดูเช่นเดียวกับมือสังหาร ซึ่งไม่พอใจในการกระทำของคานธีในเรื่องที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างฮินดูกับมุสลิมนั่นเอง

แต่อย่างไรก็ดี เหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นครั้งนี้หาได้ทำให้คานธีหยุดดำเนินงานต่อไปตามนโยบายที่มุ่งมั่นไว้ไม่ ตรงข้ามกลับเป็นแรงใจขึ้นในการที่จะทำให้มุสลิมกับฮินดูสามัคคีกันให้จงได้

ตรงกันข้ามยิ่งนานวันข้อพิพาทสองศาสนายิ่งรุนแรงขึ้นจนเกิดฆ่าฟันกัน เพื่อเอาชัยชนะจากกันให้จงได้ คานธีจึงตัดสินใจไปปากีสถานเพื่อระงับข้อพิพาทนี้ให้สำเร็จ

การตัดสินใจไปปากีสถานของคานธีทำให้ชาวฮินดูซึ่งไม่พอใจอยู่แล้ว ทำให้เคียดแค้นมากขึ้น ดังนั้น ในวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๙๑ “นาทุราม วินัย คานโกโต” เลขานุการพรรคฮินดูมหาสภา ผู้มีหัวรุนแรงจึงตัดสินใจที่จะสังหารคานธีให้จงได้ จะได้สิ้นขวากหนามในกรณีสงครามระหว่างฮินดูกับอิสลามเสีย เพราะเขามุ่งมั่นเหลือเกินว่า ฮินดูกับอิสลามจะต้องพิพาทกันต่อไปจนกว่าจะแตกหัก โดยมีฝ่ายหนึ่งได้รับชัยชนะในที่สุด ฮินดูกับมุสลิมจะประสานสามัคคีกันไม่ได้ เพราะมุสลิมต่ำทรามจนเกินไปที่จะไปคบค้ากับฮินดูผู้สูงศักดิ์

ตกเย็นของวันนั้น นาทุราม วินัย ทราบดีว่าคานธีจะต้องเดินออกจากบ้านพีร์ลาไปสวดมนต์ที่ในสวนร่วมกับประชาชนเช่นเคย เขาจึงเตรียมการโดยพกเอาปืนบรรจุกระสุนเต็มอัตราออกไปรวมกับฝูงชนที่จะไปร่วมสวดมนต์กับท่านคานธี ซึ่งโอกาสทองก็เป็นไปสมใจที่เขามุ่งมาดปรารถนา

เขาสามารถพิชิตคานธีด้วยกระสุนเพียง ๓ นัดเท่านั้นเอง



ประชาชนหลั่งไหลไปร่วมพิธีศพของคานธี
มหาบุรุษผู้นำการต่อสู้อย่างอหิงสา ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

มหาตมะ คานธี นามเดิมว่า โมหัน ตัสกะ รามจัน คานธี เกิดเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๔๑๒ ที่สุหาปาวี ในแหลมกะเตียวอร์ เมืองท่าของแคว้นกาลิยาวาทแห่งรัฐปรพันตร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดีย ตระกูลของคานธี เป็นวรรณะแพทย์ ทั้งปู่และพ่อ เคยเป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐปรพันตร์มาแล้ว ดังนั้น ความเป็นอยู่ของคานธีจึงอยู่ในขั้นคหบดีผู้มีทรัพย์ทีเดียว

ต่อมา เมื่อเขาอายุได้ ๑๓ ปี เขาได้แต่งงานกับเจ้าสาวซึ่งมีอายุ ๑๐ ขวบ และขณะที่คานธีแต่งงาน มีบุตรแล้วคนหนึ่ง คานธีก็ยังศึกษาอยู่ จนจบการศึกษาในมหาวิทยาลัยอาห์เมตาบัด เมื่ออายุ ๑๙ ปีแล้ว จึงไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่กรุงลอนดอน อีก ๓ ปี สำเร็จเนติบัณฑิต และได้รับปริญญาแล้วจึงเดินทางกลับมาอินเดีย

ครั้งแรก เขาทดลองตั้งสำนักงานทนายความขึ้นที่เมืองบอมเบย์ เป็นเวลา ๒ ปีเศษ แต่รู้สึกว่าไม่ได้รับผลดี จึงตัดสินใจไปอยู่แอฟริกาใต้ เพราะที่นั่นมีชาวอินเดียมาก แต่ทว่าในดินแดนแห่งนี้คานธีต้องประสบกับโศกนาฏกรรมหลายอย่างหลายประการ เขาถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม ถูกเตะต่อย ทุบตี แต่คานธีก็เป็นนักสู้อุปสรรคคนหนึ่ง ในที่สุดเขาก็สามารถเอาชนะอุปสรรคทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างดงาม และสามารถตั้งตัวในอาชีพทนายความได้ มีประชาชนนิยมมาก

ต่อมาภายหลังสะสมเงินทองได้มากพอสมควรแล้ว คานธีก็เลิกอาชีพทนายความ หันมาลงทุนตั้งนิคมเกษตรให้แก่ชาวอินเดียที่ยากจน และออกหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ชื่อว่า “Indian Opinion” อีกทั้งแต่งหนังสือเรื่อง “อิสรภาพของชาวอินเดีย” เผยแพร่ลัทธิชาตินิยมพร้อมกับเริ่มใช้วิธี “อหิงสา” ตั้งแต่นั้นมา

คานธีอยู่ในแอฟริกาใต้ได้ ๒๑ ปี ถูกจับ ๓ ครั้ง

และด้วยการต่อสู้โดยใช้ลัทธิอหิงสา เพื่อให้อังกฤษยินยอมให้ชาวอินเดียมีสิทธิ เสรีภาพ เสมอด้วยฐานะพลเมืองชาติผิวขาวเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ทำให้ชาวอินเดียเริ่มสนใจเขาและเคารพบูชาเขาเพิ่มขึ้นทุกๆ วัน สมญานามว่า “มหาตมะ” ได้ถูกเรียกขึ้นโดยเพื่อนร่วมผิวของเขาตั้งแต่นั้นมา

คานธีใช้ชีวิตอยู่ในแอฟริกาใต้ถึง ๒๑ ปีเต็ม แล้วจึงเดินทางกลับอินเดีย ด้วยเจตนารมณ์ที่จะต่อสู้กับอังกฤษ เพื่ออิสรภาพและเสรีภาพของอินเดีย โดยใช้สงคราม “อหิงสา” ของเขาต่อไป ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ อังกฤษได้หลอกอินเดียว่า เมื่ออังกฤษชนะจะให้เอกราชแก่อินเดีย จะให้ความเสมอภาคเท่ากับคนอังกฤษ และจะมอบการปกครองตามระบอบ Dominion State ให้แก่อินเดีย แต่ครั้นแล้วพออังกฤษเป็นฝ่ายชนะ อังกฤษกลับลืมคำมั่นสัญญา มิหนำซ้ำยังบีบคั้นอินเดียต่อไปทุกๆ รูปแบบ

มหาตมะ คานธี และประชาชนชาวอินเดียได้พากันคัดค้านและอ้อนวอนอังกฤษ แต่ก็ไร้ผล จึงจำต้องประกาศสงครามอหังสาอีกครั้งหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระเบิดขึ้น เริ่มแรกอังกฤษเป็นรองเยอรมนี อังกฤษส่งทูตมาเจรจากับคานธี โดยขอร้องให้อินเดียช่วยทำการรบ เมื่อสงครามเสร็จจะยกฐานะให้อินเดียเป็น Dominion State

ครั้งแรกอินเดียปฏิเสธ เพราะเข็ดขยาดกลัวจะซ้ำรอยอย่างคราวแรก แต่ทำไปๆ ก็ต้องจับอาวุธขึ้นสู้เพื่ออิสรภาพและเสรีภาพที่มืดมน คราวนี้เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผ่านพ้นไปแล้ว อินเดียก็รอคอยสัจวาจา คราวนี้อังกฤษเริ่มรักษาสัตย์ ได้ประกาศให้อิสรภาพแก่อินเดียเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๔๙๑ สร้างความปีติยินดีให้แก่ชาวอินเดีย อิสรภาพที่คอยมานานถึง ๘๘ ปี ๙ เดือน ๑๔ วัน ได้มาถึงแล้ว

และ มหาตมะ คานธี เป็นผู้อุตส่าห์เสียสละทรัพย์สิน เงินทอง ตลอดจนความสุขส่วนตัวทุกอย่าง เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพแก่มาตุภูมิอย่างน่าชื่น ถึงแม้คนเดียวจะเสียน้ำตา...แต่มันก็เป็นน้ำตาแห่งความปลาบปลื้มใจเพราะที่สุดปรารถนาของชีวิตมนุษย์ก็คือ ความยุติธรรม อิสรเสรีภาพ

รวมเวลาที่คานธีอดอาหาร ๑๕ ครั้ง ครั้งสุดท้าย เมื่อ ๑๓ มกราคม ๒๔๙๑ เพื่อจะพบว่าสุดท้ายชีวิตและความสำเร็จทั้งมวลของคานธี มีค่าเท่ากระสุนปืนเพียง ๓ นัด




ภายในวัยหนุ่มของคานธี ถ่ายเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๘๓



คานธีกับพี่ชาย ลักษมีทาส ถ่ายในอินเดีย เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๘๖



คานธี กับกัสตูรพา ภรรยาของเขา เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๒๒



คานธี เมื่อครั้งเป็นทนายความ พำนักในแอฟริกาใต้



ภาพถ่ายปี ค.ศ. ๑๙๐๘ คานธีกำลังอยู่ช่วงพักฟื้นร่างกาย
หลังถูกทุบตีอย่างรุนแรง ระหว่างที่เขาเดินทาไปพบลูกความของเขาในแอฟริกาใต้




ภาพของคานธีกำลังหลับสบาย ถูกถ่ายไว้เมื่อวันที่ ๒๓ เม.ย. ปี ค.ศ. ๑๙๓๐



คานธี พร้อมผู้ติดตาม เดินเท้าทางไกลที่เรียกว่า สัตยาเคราะห์เกลือ
มุ่งสู่เมืองดันดี เพื่อประท้วงกฎหมายอังกฤษ ที่ห้ามคนอินเดียทำเกลือไว้บริโภคเอง




คานธี ถ่ายภาพคู่กับชาร์ลี แชปลิน นักแสดงตลกชื่อดัง ที่กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ ๓ ก.ย. ปี ๑๙๓๑



คานธีออกจากพระราชวังเซนต์เจมส์ ที่กรุงลอนดอน เมื่อปี ๑๙๓๑



เมื่อเดือนมี.ค. ปี ๑๙๓๓ คานธี อดอาหารประท้วง
เพื่อกดดันให้รัฐบาลอังกฤษยอมผ่านกฎหมายลดการจำกัดสิทธิของชนชั้นวรรณะจัณฑาล




คานธี กับกัสตูรพา ภรรยาคู่ชีวิต ที่เสวาคราม อาศรม เมื่อเดือน ม.ค. ปี ๑๙๔๒



คานธีกำลังยิ้มกว้าง ในอิริยาบถผ่อนคลาย ในช่วงที่การต่อสู้เรียกร้องเอกราชอินเดีย กำลังเข้มข้น
(ภาพถ่ายเมื่อปี ๑๙๔๕ )




คานธี กำลังคุยโทรศัพท์ ที่เสวาคราม อาศรม ในปี ค.ศ.๑๙๔๑




มหาตมะ คานธี และบัณฑิต เยาวะหราล เนห์รู
เข้าร่วมการสาธิตใช้ "จักรา" หรือเครื่องปั่นด้าย เพื่อรณรงค์ให้ชาวอินเดียพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น




วิสเคานท์ เมาท์แบทเทน  อุปราชแห่งอินเดีย พร้อมภริยา เอ็ดวินา
ถ่ายภาพร่วมกับคานธี ที่บ้านพักอุปราช ในเดลี เมื่อปี ๑๙๔๗




คานธี เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการรัฐสภาอินเดีย
ที่กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ ๑๕ ก.ค. ปี ๑๙๔๘




คานธี เดินออกจากบ้านพักเพื่อขึ้นรถ
โดยมีแพทย์ประจำตัวสองคนคอยประคับประคอง


เรื่อง : นิตยสารสกุลไทย
ภาพ-คำบรรยาย : เว็บไซท์
soccersuck.in.th

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 พฤษภาคม 2558 13:31:51 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 พฤษภาคม 2558 15:06:20 »

.


นายพล อู ออง ซาน  แห่งพม่า

ดับคนดัง - วินาทีสังหาร
อู ออง ซาน แห่งพม่า

เหตุการณ์ในพม่าหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ใน ค.ศ.๑๙๔๕

๑๗ พฤษภาคม อังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมพม่าอยู่ ได้ตีพิมพ์สมุดปกขาว อันเป็นการให้คำมั่นสัญญาว่า จะยินยอมให้พม่ามีการปกครองเป็นของตนเองได้ และพม่าจะต้องอยู่ในสถานภาพอันหนึ่งอันเดียวที่เรียกว่าจักรภพพม่า ทั้งนี้ต้องเป็นไปหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลงแล้ว

นายพล อู ออง ซาน นายกรัฐมนตรีพม่า เขาสิ้นชีพเมื่อ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ มันเป็นเหตุร้ายสะเทือนใจชาวพม่าให้หวั่นไหว ตื่นตระหนกเป็นที่สุดในรอบศตวรรษที่ผ่านมา

ในเวลานั้น อู ออง ซาน ผู้เป็นดุจเทพเจ้าของชาวพม่ากับคณะพรรคของเขา กำลังประชุมกันอยู่ในห้องเลขาธิการสภาในนครย่างกุ้ง

บัดดล อย่างไม่คาดฝันก็มีคนร้ายกลุ่มหนึ่งบุกเข้ามาในห้องเลขาธิการสภาอย่างอุกอาจ แล้วสาดกระสุนปืนใส่ อู ออง ซาน และพวกอย่างเมามันชุดแล้วชุดเล่า ส่งเสียงดังสนั่นหวั่นไหวเสียงดังไปเป็นบริเวณโดยรอบ ทำให้หน่วยทหารรักษาการรัฐสภาตื่นตระหนกเข้ามาดูเหตุการณ์และล้อมจับคนร้าย คนร้ายซึ่งเป็นชุดมือสังหารกลับทิ้งอาวุธและยอมให้จับ

ส่วนภายในห้องเลขาธิการสภานั้น สร้างความตกตะลึงให้แก่ผู้ได้พบเห็นก็คือ ร่างของผู้เข้าประชุมรวมทั้งอู ออง ซาน ทุกร่างพรุนไปด้วยกระสุนและโชกไปด้วยเลือด ร่างนั้นทรุดนั่งบนเก้าอี้บ้าง ลงไปกองกับพื้นบ้าง

ทุกคนสิ้นใจไปเสียแล้ว ทั้งหมดมีจำนวน ๕ คน
๑. อู บาวิน พี่ชายของ อู ออง ซาน
๒. มหาบาแดง หัวหน้าเผ่ากะเหรี่ยง
๓. อับดุล ราซัค อาจารย์มหาวิทยาลัย
๔. ตะขิ่น มยา ที่ร่วมงานกู้ชาติมากับ อู ออง ซาน
๕. อุบาโช นักอักษรศาสตร์ นักดนตรี
๖. อู ออง ซาน

เป็นการสังหารหมู่ที่น่าสยดสยอง ข่าวนี้แพร่สะพัดไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางความเสียใจร่ำไห้อาลัยอย่างใหญ่หลวงของชาวพม่า รถราการสัญจรหยุดชะงัก ร้านค้าปิด ยิ่งไปกว่านั้นทางการพม่าได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศภายหลังเกิดเหตุไม่กี่ชั่วโมง

ศพของ ออง ซาน ผู้ทุ่มเทชีวิตและวิญญาณเพื่อนำชาติพม่าไปสู่อิสรภาพจากไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ

คนร้ายมีทั้งหมด ๙ คน ผู้เป็นหัวหน้าใหญ่บัญชาการบุกเข้าไปสังหาร อู ออง ซาน กับคณะชื่อ อูซอ บุคคลชั้นนำคนหนึ่งของพม่า นอกจากจะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคการเมืองเมียวชิตแล้ว ยังเคยเป็นนายกรัฐมนตรีพม่ามาแล้วสมัยหนึ่ง

ช่วงที่ญี่ปุ่นยังมิได้เปิดฉากสงครามโลกครั้ง ๒ ขณะนั้น อังกฤษยังมีอำนาจเหนือพม่า พม่าได้มีการดิ้นรนที่จะปลดแอกจนกระทั่งเกิดความวุ่นวายเป็นปัญหาให้กับอังกฤษมาก อังกฤษพยายามใช้ความนุ่มนวล โดยจัดตั้งรัฐบาลคณะหนึ่งซึ่งประกอบด้วยชาวพม่าและอังกฤษอยู่ภายใต้อำนาจของข้าหลวงใหญ่อังกฤษ หัวหน้ารัฐบาลชุดนี้คืออูซอ พร้อมให้สัญญาว่านี่คืองานชิ้นแรกสำหรับการปกครองตนเอง ต่อเมื่ออังกฤษพิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ทำงานได้ดี ก็จะให้เอกราชแก่พม่าทันที

รัฐบาลของอูซออยู่ภายใต้อุปถัมภ์ค้ำชูของอังกฤษเรื่อยมาจนกระทั่งสงครามมหาเอเชียบูรพาอุบัติขึ้น กองทัพญี่ปุ่นยึดดินแดนประเทศต่างๆ แถบเอเชีย ยึดครองฟิลิปปินส์ มลายู (มาเลเซีย) สิงคโปร์ อินโดจีน ผ่านประเทศไทย บุกเข้ายึดพม่าและไล่ทหารอังกฤษออกไปจากพม่าอย่างง่ายดาย รัฐบาลหุ่นอูซอและอังกฤษจึงพังทลายลง

แต่! จากนั้นไม่นาน
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง โดยฝ่ายพันธมิตรมีชัยชนะอย่างเด็ดขาด ญี่ปุ่นยอมจำนน อังกฤษกลับเข้าไปครอบครองพม่าอีกภายหลังที่ได้จัดการกับรัฐบาลหุ่นของญี่ปุ่น ดร.บามอว์กับคณะโดยตั้งข้อหาว่าทรยศต่อชาติและเป็นอาชญากร พวกเขาถูกนไปขังคุก

ปัญหาเอกราชเป็นเรื่องซึ่งคั่งค้างมาตั้งแต่ก่อนสงคราม คนพม่าเรียกร้องอยู่ตลอดเวลา อังกฤษจึงมอบให้ เซอร์เรยินัลด์ ดอร์มัน-สมิธ ข้าหลวงใหญ่ประจำพม่าเป็นผู้แทน เพื่อเจรจากับ อู ออง ซาน ผู้นำฝ่ายพม่า

ผลการเจรจาประสบความล้มเหลวตั้งแต่ยกแรกโดยอังกฤษเสนอให้อู ออง ซาน วางอาวุธเสียก่อนแล้วค่อยมาพูดกัน แต่ ออง ซาน ไม่ยอม เรื่องของเรื่องคือเสียเวลาพูดกัน

ต่อมาอังกฤษเปลี่ยนท่าทีไปเจรจากับอูซอหัวหน้าพรรคการเมืองใหญ่ผู้เคยเป็นรัฐบาลหุ่นให้อังกฤษมาก่อน เป็นการตัดหน้าอู ออง ซาน ซึ่ง อูซอ ตอบรับทุกอย่างไม่ปฏิเสธ

อู ออง ซาน แตกคอกันตรงนี้กับอูซอ

อูซอเข้าจัดตั้งรัฐบาลทันทีกบอังกฤษ แต่ประชาชนไม่สนับสนุนอูซอมากมายเท่ากับ อู ออง ซาน ไม่ว่าอังกฤษจะหนุนสักเพียงใด ก็ดำเนินต่อไปไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น เซอร์เรยินัลด์  ดอร์มัน-สมิธ ยังถูกปลดอีกด้วย เซอร์ฮิวเบิร์ตแลนด์มาเป็นข้าหลวงคนใหม่ พอเข้ามารับตำแหน่งในพม่า แทนที่จะสนับสนุนอูซอดังที่ข้าหลวงคนเก่าได้ปฏิบัติมา ข้าหลวงคนใหม่นี้เป็นนักประชาธิปไตยพันเปอร์เซ็นต์ กล่าวคือก่อนจะดำเนินการอย่างใดลงไปก็จะฟังเสียงประชาชนเสียก่อน เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์

และเมื่อได้ทราบว่าขณะนี้ชาวพม่ากำลังยกย่อง อู ออง ซาน ราวกับเทพเจ้า ท่านเซอร์ก้หันมาสนับสนุน อู ออง ซาน อย่างเต็มที่ แล้วเขี่ยอูซอออกไปนอกเส้นทาง ทำให้อูซอเป็นเดือดเป็นแค้นมาก ผูกใจเจ็บตั้งแต่ตอนนั้น

ภายหลังที่การเจรจาเรื่องเอกราชผ่านพ้นไป อังกฤษได้มอบคืนเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมเกียรติในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐

การเลือกตั้งครั้งนี้ได้มีพรรคการเมืองต่างๆ ส่งคนของตนลงสมัครมากหลาย รวมทั้งอูซอ และ อู ออง ซาน คู่อริคู่นี้ด้วย คราวนี้อูซอหวังเหมือนกันว่า พรรคของตนอาจจะได้ชัยชนะครองความยิ่งใหญ่เหนือ อู ออง วาน บ้าง  แต่เมื่อการเลือกตั้งผ่านพ้นไป อูซอกลับผิดหวังอย่างหนัก พรรคพม่าอิสระของ อู ออง วาน ได้คะแนนนิยมจากประชาชนชาวพม่าอย่างงดงาม ได้ที่นั่งในสภาถึง ๑๗๓ ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด ๒๓๔ ที่นั่ง ส่วนพรรคเมียวชิตของเขาได้ไม่กี่ที่นั่ง

เป็นอันว่าความยิ่งใหญ่ในประเทศพม่าหลุดลอยไปจากอูซอและจะไม่มีทางก้าวขึ้นมายิ่งใหญ่ได้อีกเลย ตราบใดที่ อู ออง ซาน ยังอยู่

ทั้งนี้เนื่องจากคะแนนนิยมอันล้นหลามจากชาวพม่าทั้งประเทศ มีต่อ อู ออง ซาน คนเดียวเท่านั้น

แต่ อูซอ ก็มิได้สิ้นหวัง ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล แค้นนี้ต้องชำระ ภายหลังที่ได้กบดานอยู่กับความร้อนระอุ เพลิงพยาบาทคุโชน ภายหลังสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมี อู ออง ซาน เป็นใหญ่ ประชุมกันมาได้ ๓ เดือนเศษแล้ว กำลังจะย่างเข้าเดือนที่ ๔ อูซอซึ่งมองไม่เห็นทางชนะ ออง ซาน ได้ ไม่ว่าจะเป็นวันไหน เมื่อไร เวลาไหน อูซอคิดอยู่แค่ว่าเขาจะอยู่ร่วมโลกกับ อู ออง ซาน ซึ่งมาแย่งความยิ่งใหญ่ไปจากเขาไม่ได้

ดังนั้น ชะตากรรมสำหรับบุคคลเช่นนี้ เหมาะที่สุดก็คือตาย...สถานเดียว

อูซอรวบรวมพรรคพวกได้ ๙ คน มีปืนยิงเร็วบุกเข้าไปในรัฐสภา ซึ่งขณะนั้น อู ออง ซาน กำลังประชุมอยู่ในห้องเลขาธิการสภา เพลิงแค้นนั้นลุกโชนสุดขีด ทุกคน ปืนทุกกระบอกสาดกระสุนเข้าใส่เหยื่อที่ยังไม่ทันระวังตัวล้ม และสิ้นใจในทันที บ้างหล่นมาฟุบกับพื้น บ้างคอตกนั่งอยู่บนเก้าอี้ เลือดไหลทะลักเหมือนเทน้ำจากแก้ว

คณะ อู ออง ซาน ตายเรียบสมใจและสะใจ แล้วมือสังหาร ๙ คน ก็ยินดียินยอมให้จับ

“ข้าพเจ้าเป็นคนฆ่า อู ออง ซาน”  อูซอ ตะโกนบอกกับเจ้าหน้าที่ ยินยอมให้จับไม่มีขัดขืน พร้อมทั้งหัวร่อชอบใจ ซ้ำตะโกนว่า “ข้าพเจ้าสบายใจแล้ว ที่ศัตรูของข้าพเจ้าตาย จะทำยังไงกับข้าพเจ้าก็ได้ เชิญเลย”

การพิจารณาคดีฆาตกรรมสะเทือนโลก ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วและเสร็จสิ้นลงทันอกทันใจประชาชนผู้เป็นเดือดเป็นแค้นอูซอ โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง ๓๗ วันเท่านั้น ศาลก็พิพากษาให้ประหารชีวิตอูซอกับพวก โดยการแขวนคอให้ตายตกไปตามกัน

ตลอดเวลาของการสูญเสียเอกราชให้แก่อังกฤษเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๘ ยาวนานถึง ๖๐ ปีเศษ ท่ามกลางความขมขื่นใจของคนพม่าทั้งชาติ และคนที่ต่อสู้ให้ได้มาซึ่งเอกราชจากอังกฤษ ก็ไม่มีใครเกินไปกว่า อู ออง ซาน ไปได้ เพราะสายเลือดพม่านั้นพันเปอร์เซ็นต์ คนพม่าเชื่อกันว่า ฟ้าดินส่งเขามาเกิดเพื่อกู้เอกราชให้แก่ชาวพม่า ทั้งนี้ เพราะขณะที่เขาเกิดชาติบ้านเมืองก็ตกอยู่ในอำนาจของอังกฤษโดยสิ้นเชิงแล้ว ขณะนั้นชาวพม่าถูกกดขี่ข่มเหง ถูกจำกัดลิดรอนเสรีภาพอย่างสุดจะทน ทุกคนปรารถนาอิสรภาพดิ้นรนให้รอดพ้นจากอำนาจผู้เข้ามาเป็นนายอย่างขนานใหญ่



อู ออง ซาน และครอบครัว  ออง ซาน ซูจี คือเด็กผู้หญิงในชุดขาว

อู ออง ซาน เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมยกย่องจากเพื่อนร่วมชาติก็ตอนที่เข้าร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อขับไล่อังกฤษ และเมื่อสงครามเริ่มนี่แหละ

ญี่ปุ่นก็รู้ว่าอะไรเป็นความต้องการของพม่าในขณะนั้น สุดยอดก็คือเอกราช คนพม่าปรารถนามันมานานแสนนานแล้ว ดังนั้น เมื่อญี่ปุ่นบุกเข้ามาเหยียบดินแดนพม่าได้ ญี่ปุ่นยังต้องการความร่มมือจากชาวพม่า เพื่อขับอังกฤษในเอเชียอาคเนย์ ไม่มีอะไรดีไปกว่าคำว่า “เอกราช” โดยกล่าวว่า “ในนามพระจักรพรรดิ เราขอรับรองว่าเราจะมอบเอกราชให้กับท่านในไม่ช้านี้”

คำกล่าวดังนี้พม่าทุกคนยินดีปรีดา บรรดาพรรคการเมืองและชาวพม่า ชาวญี่ปุ่น กล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีก ชาวพม่าร่วมมือกับญี่ปุ่นทันที

อู ออง ซาน ได้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ส่วนหนึ่งเข้าเล่นการเมืองต่อสู้กับอังกฤษ ส่วนหนึ่งถูกส่งไปฝึกวิชาการทหารและการใช้อาวุธยังประเทศญี่ปุ่น ใช้เวลาไม่นานนักก็สำเร็จวิชาการทหารกลับมาพม่า ตั้งกองทัพขึ้นถ่ายทอดวิชาทหารให้แก่ประชาชนชาวพม่า ในที่สุดกองทัพเล็กๆ ได้กลายเป็นกองทัพใหญ่ มีจำนวนมากมาย มีชื่อใหม่ว่า “กองทัพกู้เอกราชของพม่า” โดยการนำของ อู ออง ซาน นั่นเอง

กองทัพนี้มีความมุ่งหมายก็คือเอกราชของพม่า โดยจะร่วมกันขับไล่อังกฤษให้พ้นดินแดนพม่า แล้วพม่าก็จะเป็นอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครอีก

ส่วนญี่ปุ่นผิดหวังมาก เพราะเท่าที่สนับสนุน อู ออง ซาน ก็หวังว่าจะได้กำลังส่วนนี้เล่นงานอังกฤษ จนอังกฤษหมดอำนาจ เมื่อเหตุการณ์มิได้เป็นไปตามความมุ่งหมายของตน ญี่ปุ่นเปลี่ยนท่าทีใหม่ เลิกสนับสนุน อู ออง ซาน โดยสั่งปลดอาวุธกองทัพไม่สนับสนุน ออง ซาน ต่อไป แล้วหันมาสนับสนุนคนที่ตนพอใจขึ้นเป็นหัวหน้ารัฐบาลต่อไป และผู้ที่ญี่ปุ่นพอใจก็คือ ดร.บามอว์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค “พม่าใหม่” อันเป็นพรรคการเมืองที่สำคัญพรรคหนึ่งของพม่า


  ดร.บามอว์ทำตามประสงค์ของญี่ปุ่นอย่างรีบด่วนโดยจัดตั้งรัฐบาลขึ้น เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๘๙ และแล้วญี่ปุ่นก็ทำพิธีมอบเอกราชให้บรรดาประเทศที่เป็นมิตรกับญี่ปุ่นในเวลานั้น พร้อมประกาศรับรองรัฐบาลพม่าของ ดร.บามอว์ทันที

มาถึงตอนนี้ดูเหมือนอะไรๆ ในพม่าจะดีขึ้น แต่!
ภายหลังที่ญี่ปุ่นมอบเอกราชให้พม่าแล้ว แทนที่ทุกอย่างจะดีขึ้นโดยคนพม่ามีสิทธิเสรีภาพทุกอย่างเต็มเปี่ยม เยี่ยงประเทศเอกราชอื่นๆ ตรงกันข้ามญี่ปุ่นบีบบังคับให้รัฐบาลพม่าของ ดร.บามอร์ปฏิบัติทุกอย่างตามที่ญี่ปุ่นต้องการตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้นสิทธิเสรีภาพยังถูกจำกัดมากขึ้นกว่าตอนที่อังกฤษอยู่ เข้าทำนองหนีเสือปะจระเข้

คราวนี้พม่าผู้ผิดหวังต้องดิ้นรนสู้ต่อไป โดยหาทางสลัดแอกยังไม่พอ ยังต้องต่อต้านญี่ปุ่นอีกด้วย

อู ออง ซาน ผู้ถูกปลดอาวุธได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าในการต่อสู้กับอำนาจญี่ปุ่น มองไม่เห็นใครเป็นที่พึ่งได้ในยามนี้นอกจากอังกฤษ เขาพาสมัครพรรคพวกหลบหนีเข้าป่าสูงแล้วกลับไปพึ่งอังกฤษใหม่

ขณะนั้น ลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบตแตน เป็นแม่ทัพใหญ่อังกฤษทางเอเชียอาคเนย์ ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่อินเดีย  อู ออง ซาน ได้พาพรรคพวกไปติดต่อกับแม่ทัพใหญ่โดยมีสัญญาต่อกันว่า ขอให้ อู ออง ซาน ร่วมมือกับอังกฤษต่อต้านญี่ปุ่นจนถึงที่สุด เมื่อได้ชัยชนะแล้วจะพิจารณาให้เอกราชอย่างสมบูรณ์แก่พม่า และในการต่อสู้กับญี่ปุ่น อังกฤษจะให้อาวุธทุกชนิด อู ออง ซาน ตกลง

จากนั้นการต่อต้านญี่ปุ่นของ ออง ซาน และชาวพม่าโดยมีอังกฤษสนับสนุนก็เริ่มขึ้น

ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิ ญี่ปุ่นยอมแพ้ สงครามสงบ อังกฤษกลับมาพม่าในฐานะผู้มีชัย การกลับมาคราวนี้ อังกฤษรู้ดีว่า สัญญาที่จะให้เอกราชแก่พม่านั้นยากที่จะปฏิเสธได้ เพราะอย่างน้อยที่สุด พวกกองทัพกู้ชาติของ อู ออง ซาน ก็มีส่วนช่วยในการต่อต้านญี่ปุ่นอย่างเข้มแข็ง ยิ่งไปกว่านั้น ช่วงที่ญี่ปุ่นมอบเอกราชให้พม่า พม่าก็ได้แตะสัมผัสรสชาติของเอกราชแล้ว

ดังนั้น เมื่อได้จัดการกับรัฐบาล ดร.บามอร์ หุ่นเชิดของญี่ปุ่นแล้ว อังกฤษก็นำประเด็นปัญหาเรื่องเอกราชขึ้นมาพิจารณาทันที

เซอร์เรยินัลด์ ดอร์มัน-สมิธ เป็นผู้แทนฝ่ายอังกฤษ อู ออง ซวาน เป็นผู้แทนฝ่ายพม่า ในการเจรจาเรื่องปัญหาเอกราชครั้งนี้ ต้องล้มเหลวลงเพราะ อู ออง ซาน ไม่ยอมวางอาวุธ อังกฤษจึงหันมาสนับสนุนอูซอ ผู้เคยเป็นหุ่นเชิดของตนให้จัดตั้งรัฐบาล แต่อูซอไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนชาวพม่าเหมือน อู ออง ซาน การหักหน้า อู ออง ซาน ครั้งนี้ จึงไม่เป็นผลสำเร็จในที่สุด

เซอร์สมิธ หันกลับมาเจรจรกับ อู ออง ซาน ใหม่ คราวนี้เป็นทีของ อู ออง ซาน เขายืนกระต่ายขาเดียว “ต้องมอบเอกราชให้พม่าโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไข”

โดนเข้าอย่างนี้ท่านเซอร์สมิธถึงกับอึ้งไม่พูดอะไรต่อ เก็บเรื่องเอกราชเข้าแฟ้มจวบจนกระทั่งวาระอันเป็นโชคดีของพม่ามาถึง นั่นคืออังกฤษเปลี่ยนรัฐบาลใหม่โดยนายแอตลี่แห่งพรรคเลเบอร์ เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษและเซอร์สมิธ ข้าหลวงคนเก่าถูกปลด เซอร์ฮิวเบิร์ตแลนด์มาเป็นแทนแอตลี่ นายกรัฐมนตรีต้องการตัดปัญหาความยุ่งยาก ได้เชิญ อู ออง ซาน ไปเจรจาเรื่องเอกราชของพม่าที่กรุงลอนดอน อังกฤษทันที

นโยบายของแอตลี่ผิดกับเซอร์สมิธ แทนที่แอตลี่จะพูดเรื่องการปลดอาวุธอย่างข้อเสนอครั้งก่อนซึ่ง ออน ซาน ปฏิเสธ เขากลับไม่สนใจในวิธีเดิมๆ แอตลี่ใช้วิธีมอบเอกราชให้พม่า เป็นขั้นเป็นตอน ซึ่ง อู ออง ซาน ก็เห็นด้วย ทั้งสองได้ตกลงลงนามเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐

เมษายน ๒๔๙๐ พม่าได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ผลปรากฏว่าพรรคพม่าอิสระของ อู ออง ซาน มีชัยในการเลือกตั้งอย่างงดงาม เพราะได้ที่นั่งในสภาทั้งหมด ๑๗๓ ที่นั่งในจำนวน ๒๓๔ ที่นั่ง

แต่แล้ว! การร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ทันเสร็จ ประชุมกันมาได้ ๓ เดือน เดือนที่ ๔ เพิ่งจะเริ่ม อู ออง ซาน หัวหน้าคณะกู้ชาติก็ถูกสังหารด้วยน้ำมือของอูซอศัตรูคนสำคัญของเขา

การมอบเอกราชให้แก่พม่าก็เกิดขึ้นตามข้อตกลงตามที่แอตลี่ – อู ออง ซาน สัญญามอบเอกราชได้ลงนามกันในวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๐ และถือวันประกาศเอกราชของชาติพม่าเป็นวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑

ความหวัง การดิ้นรนของชาวพม่า เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ได้สิ้นสุดลงด้วยความสำเร็จอย่างงดงาม แต่น่าเสียดายที่พม่าไม่มี “อู ออง ซาน” ในวันแห่งความสำเร็จนี้ด้วย เขาเสียชีวิตเมื่ออายุเพียง ๓๒ ปี แต่สิ่งสำคัญคือเขาได้ทิ้งเลือดเนื้อเชื้อไขที่เป็นความหวังของชาวพม่าไว้ด้วย นั่นคือ นางออง ซาน ซูจี  ผู้นำการต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าในวันนี้



ดร.บามอว์  หัวหน้าคณะรัฐบาลหุ่นเชิดของญี่ปุ่น

ที่มา : คอลัมน์ บันทึกวันวาร โดย สังคีต จันทนะโพธิ นิตยสารสกุลไทย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กรกฎาคม 2558 13:26:19 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2558 13:41:43 »

.


พลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโต้ แห่งญี่ปุ่น

ดับคนดัง - วันสังหาร
พลเรือเอก ยามาโมโต้ แห่งญี่ปุ่น

พลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโต้ เป็นผู้วางแผนและอนุมัติการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นชนวนสำคัญที่ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโลก ครั้งที่ ๒

อเมริกามีคำสั่งลับสุดยอดลงมาว่า “สังหารยามาโมโต้ให้จงได้ ไม่ว่าจะสูญเสียสักเท่าใดก็ตาม”  เขาเสียชีวิตเวลา ๐๙.๓๔ น. วันที่๑๘ เมษายน ๑๙๔๓ ตายเพราะว่าเขาเป็นคน “ตรงต่อเวลา

พลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโต้ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือแห่งราชนาวีญี่ปุ่น เป็นผู้ที่ทำการเจรจาเงื่อนไขสันติภาพที่ทำเนียบขาว เขาเป็นคนตรงต่อเวลา แล้วสิ่งนี้ก็เป็นสาเหตุของการดับสูญของเขา

ยามาโมโต้เดินทางโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดมิตซูบิชิ ซี ๔ เอ็ม “เบตตี้” (Betty) ใหม่เอี่ยมด้วยความเร็ว ๔ ไมล์ต่อ ๑ นาที เครื่องบินบินมาแล้ว ๑๑ นาที นับตั้งแต่ออกจากสนามบินกาฮิลี่ เกาะบูเกนวิล ในหมู่เกาะโซโลมอน มีเครื่องบินซีโร่ฝูงหนึ่งบินคุ้มกัน เขาคิดว่าน่าจะพ้นจากพิสัยของเครื่องบินขับไล่อเมริกันแล้ว

นายพลยาโมโต้ มิได้สังหรณ์ใจเลยว่า ทำเนียบขาวในวอชิงตัน กำหนดให้เขาตายกลางอากาศ

ถ้าเขามองไปทางหน้าต่าง เครื่องบินทิ้งระเบิดอีกเพียง ๖๐ วินาที ก่อนที่เขาจะถึงวาระสุดท้าย เขาจะเห็นมอสกิโต้ ล็อกฮีด ไลท์นิ่งของกองทัพอากาศอเมริกัน ๒ เครื่อง กำลังดำดิ่งลงมา เครื่องบินขับไล่ทั้งสองเครื่อง และอีก ๑๔ เครื่อง เตรียมพ่นกระสุนใส่ตามเวลาและสถานที่ที่กำหนดมาจากวอชิงตัน

นายพลเรือก็ได้บินตรงตามเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ห่างจากราเบาวล์ประมาณ ๔๐๐ ไมล์ ไปยังจุดหนึ่ง ห่างจากสนามบินกาฮิลี่ทางอากาศ ๑๑ นาที ไลท์นิ่งบินห่างจากกัวดัลคะนาล ๔๓๕ ไมล์ ตรงตามเวลาเช่นกัน บินเลี้ยวเข้าโจมตีเป้าหมายตรงเวลา

ความจริงที่ยามาโมโต้ถูกสกัดกั้นและถูกยิงตกนั้น เกิดจากการประสานงานของหลายๆ คน ผู้ที่ให้ความร่วมมือมากที่สุดคือ นายพลยามาโมโต้เอง ถ้าเขาไม่เป็นคนตรงต่อเวลา เขาคงไม่กลับไปโตเกียวในฐานะผู้เสียชีวิต

กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ข่าวสารโดยละเอียดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทุกย่างก้าวที่เขาออกไปเยี่ยมที่ตั้งทางทหารในแปซิฟิกใต้ ในกลางเดือนเมษายน ข่าวนี้ถูกส่งไปยัง พันตรี จอห์น ดับบลิว มิทเชลล์ ในตอนบ่ายของวันที่ ๑๗ เมษายน ค.ศ.๑๙๔๓

ในเอกสารแจ้งว่า พลเรือเอกยามาโมโต้และคณะจะเดินทางทางอากาศมาถึงบริเวณกาฮิลี่ในวันรุ่งขึ้น พร้อมทั้งแจ้งเวลาที่แน่นอนที่จะออกจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และยังออกคำสั่งให้ใช้ความพยายามในการสังหารยามาโมโต้ให้จงได้ ลงชื่อ ดน็อค (แฟรงค์ ดน็อค) รัฐมนตรีทบวงการทหารเรือ

เมื่อการจู่โจมไม่ให้ข้าศึกรู้ตัวเป็นปัจจัยพื้นฐานในการปฏิบัติการ การจู่โจมเช่นนี้จะกระทำได้โดยเครื่องบินที่มีพิสัยบินระยะไกลเท่านั้น “กาฮิลี่” อยู่ห่างจากกัวดัลคะนาล ซึ่งเป็นฐานทัพของอเมริกาถึง ๓๐๐ ไมล์ และจะต้องเพิ่มระยะทางมากขึ้นอีก ๑๐๐ ไมล์ ในการบินวนระดับต่ำเพื่อหลบเรดาร์ของข้าศึก

อเมริกันประมาณอัตราความเร็วของเครื่องบินนายพลยามาโมโต้ว่า อยู่ในประมาณสามไมล์ครึ่งถึงสี่ไมล์ และบินในระดับสูง ๑๐,๐๐ ฟุต หรือต่ำกว่านั้น เพื่อไม่ต้องสวมหน้ากากออกซิเจน เมื่อรู้ว่าเครื่องบินนายพลเรือยามาโมโต้จะมาถึงกาฮิลี่ เมื่อเวลา ๐๙.๔๕ น.

วันรุ่งขึ้นจึงตกลงใจที่จะพบกัน ห่างจุดหมายปลายทาง ๓๕ ไมล์

อเมริกามีเครื่องบินสำหรับภารกิจนี้เพียง ๑๘ เครื่อง ต่อเครื่องบินขับไล่ของญี่ปุ่นซึ่งคาดว่าจะมีถึง ๑๐๐ เครื่อง ทำการบินคุ้มกันบริเวณกาฮิลี่ (อเมริกัน) จึงต้องหาเป้าหมายให้พบ ยิงแล้วหลบออกมาทันที โดยแบ่งฝูงบินเข้าโจมตี ฝูงหนึ่งคอยคุ้มกันตอนที่เข้าโจมตี ต้องคอยการมาของท่านนายพลเรือในความสูง ๑๐,๐๐๐ ฟุต ฝ่าซีโร่คุ้มกัน ๖ เครื่อง เข้าไปโดยไม่ทันให้ญี่ปุ่นรู้ตัว

ตอนคุ้มกันล็อกฮีด พันตรีมิทเชลล์เป็นผู้นำฝูงบินไปยังจุดนัดพบอีกด้วย เขาจะต้องบินในระดับสูง ๒๐,๐๐๐ ฟุต

วันรุ่งขึ้น ๑๘ เมษายน ๑๙๔๓ เวลา ๐๗.๒๕ น. ฝูงบินสองลำตัวล็อกฮีด ไลท์นิ่ง ขึ้นบินวนรอบสนาม เพื่อจัดขบวนเริ่มเดินทางด้วยอัตราความเร็ว ๒๑๐ ไมล์ต่อชั่วโมง เริ่มแรกด้วยการบิน ๓๕ ไมล์ เหนือพื้นน้ำ บินครึ่งวงกลมระยะทาง ๔๓๕ ไมล์ รอบที่ตั้งของญี่ปุ่นที่มุนดาเรนไดว่าเวลล่า ลาเวลล์ ชอรทแลนด์ กาฮิลี่ ห้ามพูดวิทยุเป็นอันขาดตลอดทาง

หลังสองชั่วโมงที่บินเรี่ยคลื่นเพื่อหลบเรดาร์ญี่ปุ่น ฝูงบินเพชฌฆาตก็เบนทิศสู่ตะวันออกเฉียงใต้ของบูเกนวิลตามกำหนด บินในอัตราความเร็วเดิม อเมริการู้ดีกับการตรงต่อเวลาของยามาโมโต้ ซึ่งจะต้องรักษาเวลาอย่างมั่นคงอย่างที่เคยปฏิบัติมาตลอดชีวิต

นักบินทุกคนพกถุงเงินชิลลิ่งของอังกฤษติดตัวไปด้วย เพื่อซื้อข้าวของที่จำเป็นจากชาวเกาะโซโลมอน ถ้าต้องลงฉุกเฉินหรือถูกยิงตก เครื่องยนต์ครางกระหึ่มด้วยความหนักเพราะถังเชื้อเพลิงอะไหล่

ส่วนใหญ่ฝูงบินลำตัวคู่บินเรี่ยน้ำและห่างจากฝั่งปิดวิทยุไม่ใช้ตลอดทาง บินตามแสงอาทิตย์ที่ร้อนจัดในตอนสายถึงสองชั่วโมง การบินใช้แค่เข็มทิศและเครื่องวัดความเร็วเท่านั้น เมื่อบินเข้าไปใกล้ชายฝั่งตะวันออกหลังจากบินมาแล้ว ๔๐๐ ไมล์ จึงเชิดหัวไต่ขึ้นพ้นจากการสาดกระเซ็นของระลอกคลื่นทะเล

ทันใดนั้นโทรเลขข่าวแจ้งมาว่า อิโซโรกุ ยามาโมโต้ แจ้งเวลามาของเขาไม่พลาดแม้แต่เสี้ยววินาที ขณะนั้น ๐๙.๓๔ น. บนท้องฟ้าทุกคนเห็นเครื่องบินทิ้งระเบิดของญี่ปุ่นสองเครื่อง พร้อมเครื่องบินขับไล่ “ซีโร่” อีก ๖ เครื่อง

อย่างไม่ละสายตาจากฝูงบินขับไล่ ฝูงบินเพชฌฆาตเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงถังภายในเครื่อง  สลัดถังอะไหล่ใต้ท้อง เพื่อลดน้ำหนัก และให้คล่องตัว และเพิ่มความเร็วขึ้น ทั้งหมดบินเกาะกลุ่ม ๔ เครื่อง บินต่ำกว่าฝูงของนายพลญี่ปุ่น ทันใดฝูงซีโร่ ๓ เครื่อง ซึ่งบินอยู่ทางทะเลก็สลัดถังอะไหล่ออกจากท้อง เป็นเครื่องหมายแสดงให้รู้ว่า กำลังจะเข้าประจัญบาน

ฝูงบินญี่ปุ่นเครื่องบินขับไล่บินระดับสูง ฝูงบินลำตัวคู่มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่า คราวนี้จะเป็นการรบทางอากาศครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดกับการคุ้มกันอย่างหนาแน่นของญี่ปุ่นจากกาฮิลี่

เหลือแยกจากฝูงสองเครื่องเพื่อปฏิบัติภารกิจ คือการยิงทำลายมิตซูบิชิ “เบตตี้” สองเครื่องของยามาโมโต้ และเครื่องบินคุ้มกัน

เครื่องบิน “เบตตี้” บินต่ำลงอยู่เหนือแผ่นดินเรี่ยยอดไม้ ล็อกฮีดลำตัวแฝดดิ่งเข้าหาฝูงบินขับไล่ญี่ปุ่นตามมาติดๆ สามสี่วินาทีกว่าจะได้ระยะและมุมยิงด้านขวาของเครื่องบินทิ้งระเบิด แล้วพ่นกระสุนสาดเข้าทางด้านขวาเป็นมุมฉาก เครื่องยนต์ ได้ผล เครื่องยนต์เครื่องขวาเครื่องบินทิ้งระเบิดและปีกขวาไฟลุกไหม้

ภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อไฟลุกไหม้เครื่องบินบนอากาศ ไม่มีใครสามารถดับได้ นอกจากระเบิดออกเป็นเสี่ยงๆ เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และแล้วปีกเครื่องบินทิ้งระเบิดลำตัวเครื่องบินฉีกขาดลงป่าไปทันที

มันเป็นวาระสุดท้ายของ พลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโต้

“สังหารยามาโมโต้ให้ได้ไม่ว่าจะสูญเสียเท่าไร” เป็นคำขาดจากทำเนียบขาวสหรัฐฯ หลังจากถูกลอบถล่มเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ฮาวาย ฐานทัพเรืออเมริกัน

อีกเดือนเศษต่อมา ญี่ปุ่นยอมรับอย่างเป็นทางการว่า พลเรือเอกอิโซโรกุ ยามาโมไต้ เสียชีวิตจากการรบในเดือนเมษายน เครื่องบินตกในป่า เขาถูกไฟลวกท่วมตัวในเครื่องบินมิตซูบิชิสองเครื่องยนต์ และในขณะที่เสียชีวิต มือของเขายังกุมดาบเอาไว้แน่น.


เรื่อง : คอลัมน์ บันทึกวันวาร โดย สังคีต จันทนะโพธิ นิตยสารสกุลไทย


พลเรือเอกอิโซโรกุ ยามาโมโต้ ผู้วางแผนโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ของสหรัฐอเมริกา


ภาพความเสียหายจากการโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์


ภาพความเสียหายจากการโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์

ที่มา : คอลัมน์ บันทึกวันวาร โดย สังคีต จันทนะโพธิ นิตยสารสกุลไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 สิงหาคม 2558 15:17:45 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2558 17:49:53 »

.


อินทิรา  คานธี นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอินเดีย

ดับคนดัง - วันสังหาร
อินทิรา  คานธี แห่งอินดีย

๓๑ ตุลาคม ๑๙๘๔
ขณะนั้น เพิ่งจะ ๐๙.๑๖ น. ที่บ้านพักของท่านนายกรัฐมนตรีอินเดีย ที่ถนนซิบดาจัง  อินทิรา คานธี ในชุดส่าหรีสีส้ม เดินออกจากบ้านพักพร้อมฝ่ายอารักขา และกลุ่มนักข่าวที่มารอทำข่าวสัมภาษณ์


นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดียเดินนำหน้า มีนาเรนทร์ ซิงห์ ถือร่มกันแดดตามมาติดๆ อินทิรา คานธี เดนนำกลุ่มอย่างช้าๆ ผ่านโรงเก็บรถ ซึ่งอยู่ด้านขวามือเพื่อตรงไปยังสำนักงานด้านถนนอัคบา โดยที่ไม่ได้คาดคิดว่าจะมีเหตุร้ายสะเทือนโลกบังเกิดขึ้น แม้คนอื่นๆ ที่ตามมาด้วยก็มิได้คาดฝัน เพราะทุกคนอยู่ภายในบ้านท่านนายกรัฐมนตรีอินเดีย

ที่มุมขวา สี่แยกโรงเก็บรถที่นายกและคณะผ่านมานั้น มีทหารรักษาการณ์ซึ่งเป็นชาวอินโด-ทิเบตอยู่กลุ่มหนึ่งคอยให้การอารักขาอยู่อย่างเคร่งครัด

เมื่อมาถึงประตูที่เปิดออกไปสู่สำนักงานด้านถนนอัคบานั้นเอง บุรุษหนุ่มก็ก้าวออกมาเปิดประตู และทักทายตามปกติ  ณ เวลานั้น ด้านขวามือของกลุ่มท่านนายกรัฐมนตรี มีบุรุษหนึ่งยืนถือปืนสเตนอยู่ เพื่อรักษาความปลอดภัย

เสี้ยวหนึ่งของวินาที บุรุษคนแรกผู้เปิดประตูให้ ควักปืนสั้นขนาด.๓๘ สเปเชียล ออกมากระหน่ำยิงผู้นำอินเดียอย่างเผาขน ทุกคนตกตะลึงด้วยไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

สามนัดซ้อนๆ ร่างในเสื้อคลุมส่าหรีของ อินทิรา คานธี ซวนเซไปทางซ้ายด้วยแรงปืน ขณะเดียวกันอีกบุรุษหนึ่ง ผู้ถือปืนสเตนอยู่ด้านขวา ก็กราดกระสุนซ้ำอีกถี่ยิบ เสียงปืนดังดุจเสียงข้าวตอกแตก

อินทิราเซถลาราวกับนกปีกหัก ล้มคว่ำลงกับพื้น เลือดสดทะลักสาดกระจายเต็มพื้นแดงฉาน

ราเมส วาตัส จากหน่วยคุ้มกัน ดูเหมือนจะได้สติก่อนใคร เขากระโดดเข้ามาขวางกั้นร่างของนายกรัฐมนตรีเอาไว้ กระสุนเจาะต้นขาเขา ๓ นัด ล้มคว่ำตามร่าง อินทิรา คานธี ไป  หน่วยคุ้มกันที่เหลือ พอได้สติต่างก็เข้ามาบังร่างของอินทิราไว้ แต่ท่านนายกรัฐมนตรีถูกกระสุนเจาะเข้าที่ร่างหลายสิบนัด และร่างที่ฟุบลงไปก็จมกองเลือด หายใจระรวยอยู่ อ่อนแรงเต็มที เกือบจะดับสิ้นอยู่แล้ว

ขณะเดียวกัน บุรุษเพชฌฆาตผู้ชักปืนมาจ่อยิงอินทิราอย่างเผาขนคนแรก ก็ทิ้งปืนลงกับพื้น พร้อมกับร้องขึ้นว่า
“เราได้ทำในสิ่งที่เราต้องการแล้ว ตอนนี้ท่านต้องทำในสิ่งที่ควรทำ”

แล้วหันมาดึงแขนมือสังหารอีกคน วิ่งหลบเข้าไปอยู่ในตู้ยามอย่างรวดเร็วพร้อมกับทิ้งปืน
“ตามจับมันให้ได้”  ดิเนส บัส หัวหน้าหน่วยคุ้มกันตะโกน
“มันยิงท่านนายก” สิ้นเสียงตะโกนสั่ง เหล่าทหารอินโด-ทิเบต ก็กระจายกำลังล้อมตู้ยาม แล้วกระหน่ำยิงจอมฆาตกรในนั้นล้มคว่ำลงไปทั้ง ๒ คน

ช่วงแห่งความเป็นความตายนั้น ดิเนส บัส รีบนำร่างของ อินทิรา คานธี ส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดที่ถนนซิปตาจัง โดยมีโซเนีย ลูกสะใภ้ตามมาด้วย  นายแพทย์โอเทปพยายามช่วยเหลือโดยปั๊มลมหายใจให้แก่ อินทิรา คานธี อย่างสุดความสามารถ แต่ร่างกายท่านนายกไม่มีอาการตอบสนองเอาเลย กระสุนปืนเปิดแผลเป็นรูกว้าง ทำให้เลือดไหลออกมามาก เป็นเรื่องน่าเศร้าที่สุด ด้วยโรงพยาบาลแห่งนี้ ไม่มีเลือดกรุ๊ปนี้อยู่เลยแม้แต่หยดเดียว

เพื่อต่อชีวิตให้ท่านนายกรัฐมนตรีอยู่รอดต่อไปได้ รถพยาบาลจากโรงพยาบาลรามาโนฮา ไลเชีย ถูกเรียกมารับคนไข้ไปที่สถาบันเอไอไอ เอ็มเอส ซึ่งอยู่ห่างออกไปถึง ๔ กิโลเมตร

และเมื่อไปถึง คนไข้ถูกนำเข้าห้องไอ.ซี.ยู อย่างรวดเร็ว แพทย์ผ่าตัดมือดี ดร.เจเอส กูเลอเรีย ซึ่งเชี่ยวชาญทางผ่าตัด หลังจากตรวจสอบหัวใจ กราฟบอกว่ายังพอมีทาง แพทย์จึงนำคนไข้ขึ้นไปชั้น ๘ ของตึกเป็นการด่วน

แต่คณะแพทย์ได้พยายามอย่างที่สุดโดยใช้เวลาหลายชั่วโมง ตั้งแต่เก้าโมงครึ่งตอนเช้าถึงบ่ายสองโมงครึ่ง ทั้งคลื่นหัวใจและสมองก็มิได้ดีขึ้น มีแต่ลดลงตามลำดับ ในที่สุดก็หยุดนิ่ง

อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดีย เสียชีวิตด้วยฝีมือฆาตกรโหด ๒ คนในวันนั้น ทั้งๆ ที่เดินอยู่ในบ้านตัวเอง

ข่าวการเสียชีวิตอย่างโหดเหี้ยมของ อินทิรา คานธี กระจายไปทั่วกรุงเดลี ชาวอินเดียต่างร่ำไห้คร่ำครวญ บางคนทึ้งผมแสดงอาการเสียใจอย่างสุดซึ้ง
นายกของเราตายแล้ว

ห้างร้านต่างๆ พากันหยุดกิจการเพื่อไว้อาลัยแด่ อินทิรา คานธี กันหมดจนกรุงเดลีเงียบเหงาเหมือนเมืองร้าง  ธงชาติถูกลดลงครึ่งเสา สถานีวิทยุโทรทัศน์กระจายข่าวอย่างเศร้าสร้อย



มีชาวอินเดียหลายคนตัดสินใจฆ่าตัวตายตามด้วยการกระโดดเข้ากองไฟและผูกคอตาย บางคนช็อกสิ้นใจทันทีที่ทราบข่าวการตายของ อินทิรา คานธี  หลายคนพยายามฆ่าตัวตาย แต่ตำรวจช่วยเอาไว้ทัน พระผู้ใหญ่จากเมืองอมฤตสารตกตะลึงและเสียใจอย่างสุดซึ้ง

ขณะเดียวกันชาวซิกข์ในแคว้นปัญจาบและต่างประเทศต่างกระโดดโลดเต้นดีใจในการตายของ อินทิรา คานธี พวกเขาจัดงานเลี้ยงฉลองกันเป็นการใหญ่ ทำให้ชาวฮินดูที่กำลังเศร้าโศกโกรธแค้น รวมตัวกันออกลุยชาวซิกข์เป็นการใหญ่

กว่า ๓๐ เมืองที่มีการเข่นฆ่ากันระหว่างฮินดูและซิกข์ ชาวซิกข์ถูกสังหารเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนถูกเผา ข้าวของถูกทำลาย ชาวซิกข์หลายคนถูกลากตัวออกมาตัดผม โกนหนวด โกนเคราจนเกลี้ยง แล้วจับเผาประจานทั้งเป็น เหตุร้ายครั้งนี้มีชาวซิกข์ถูกฆ่ากว่าสองพันคน ชาวฮินดูตามเมืองใหญ่ได้รวมตัวกันแล้วบุกเข้าสถานีรถไฟ หยุดรถทุกขบวน แล้วขึ้นไปลากผู้โดยสารที่เป็นซิกข์ลงมาเชือดคอและเผาทั้งเป็น

ชาวซิกข์ที่เหลืออยู่ต่างเข้าไปหลบซ่อนในค่ายลี้ภัยซึ่งมีเจ้าหน้าที่คุ้มกันอย่างแข็งขันในเมือง ถนนทุกสาย ไม่มีชาวซิกข์เดินให้เห็นเลยแม้แต่คนเดียว

ท่ามกลางความเศร้าโศกครั้งใหญ่ ราจีป คานธี บุตรชายของ อินทิรา คานธี ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบแทน เขาได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ห้ามผู้คนออกนอกบ้าน (ประกาศเคอร์ฟิวส์) เพื่อป้องกันเหตุร้ายรุกลาม

ประกาศถูกยกเลิกวันเสาร์ที่ ๓ พฤศจิกายน เวลาเช้า ๖ นาฬิกาตรง เป็นการชั่วคราว เพื่อให้ประชาชนได้ไปเคารพศพ อินทิรา คานธี ในวาระสุดท้าย





ร่างอันไร้วิญญาณของอินทิรา คานธี ณ เชิงตะกอนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา

ร่างอันไร้วิญญาณของ อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดีย แต่งกายสีขาวนวล คลุมด้วยธงชาติ โปรยด้วยดอกไม้สีขาว นำมาตั้งไว้ที่ คฤหาสน์ทีนมูรติ ซึ่งเป็นบ้านพักของ เยาวหะราล เนรูห์ ถึงวันเสาร์ที่ ๓ พฤศจิกายน เวลา ๑๕.๔๘ น. จึงเคลื่อนย้ายไปเชิงตะกอนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ซึ่ง ณ ที่นั้น ประชาชนกว่าสามล้านคน มายืนเรียงรายเพื่อเคารพศพเป็นระยะทางกว่า ๑๑ กิโลเมตร

แล้ว ราจีป คานธี ก็ใช้คบเพลิงทำจากไม้จันทน์ จุดเพลิงกองฟืนไม้จันทน์ซึ่งชโลมด้วยน้ำมันเนยเป็นคนแรก

เปลวเพลิงลุกไหม้ร่างสตรีเหล็กของอินเดียจนมอดไหม้ ท่ามกลางเสียงร่ำไห้คร่ำครวญอย่างโศกเศร้าแสนสาหัสของประชาชน

จากนั้น ราจีป คานธี ได้นำกระดูกของอินทิรา ขึ้นเครื่องบินไปโปรยบนยอดทิวเขาหิมาลัย สูงเสียดฟ้าที่เต็มไปด้วยน้ำแข็ง ละอองหิมะชั่วนาตาปี ตามความต้องการของมารดา

ส่วนฆาตกรมือปืนสังหาร ถูกทหารอินโด-ทิเบตยิงในป้อมยามนั้น ปรากฏว่าตายเพียงคนเดียว ชื่อ บินซิงห์ ซึ่งเป็นคนแรกที่ชักปืนสั้นออกมาสังหารอินทิรา ส่วนอีกคนที่ยิงซ้ำด้วยปืนกลมือสเตนนั้น อาการแค่สาหัส คนนี้ชื่อ สัตวันต์ เขาได้รับการเยียวยาอย่างดีจนพ้นขีดอันตรายและถูกสอบว่า

“ใครเป็นคนบงการ”

“เรื่องนี้ผมไม่รู้ว่าใครบงการเบื้องหลัง รู้แต่เพียงว่า ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม บินซิงห์ได้พูดกับผมในห้องน้ำ ตรงข้ามห้องแต่งตัวของอินทิราว่า ตอนนี้ชาวซิกข์เจ็บแค้น เพราะแผนการบลูสตาร์ ซึ่งเรื่องนี้อินทิรา คานธี จะต้องรับผิดชอบ และเมื่อเป็นการแก้แค้นแทนชาวซิกข์ เราต้องสังหาร อินทิรา คานธี เสีย”

สัตวันต์ ให้การต่อว่า  “เขาเกลี้ยกล่อมผมอยู่หลายนาที ในที่สุดก็ตัดสินใจจะร่วมงานกับเขา  บินซิงห์ นัดให้ไปพบที่วิหารทองคำ ในวันที่ ๒๐ ตุลาคม และคงจะเห็นว่ารับปากกับเขาง่ายเกินไป เขาจึงไม่ยอมไว้ใจผมจนวินาทีสุดท้าย ก่อนจะยิงอินทิรา   บินซิงห์ เป็นคนบอกให้ผมยิง หากผมเปลี่ยนใจ เขาก็จะยิงผมเสีย ซึ่งตอนขณะนั้น บินซิงห์เอาปืนจ่อหัวผมตลอดเวลา จนท่านนายกอินทิราก้าวใกล้ประตู เขามากระซิบบอกผมว่า ‘มาแล้ว แกต้องยิง และระวังอย่าให้กระสุนพลาดไปถูกคนอื่น’ และทั้งๆ ที่ตกลงกับผมไว้เป็นอย่างดีแล้ว พอท่านนายกเดินผ่านประตูมา บินซิงห์ก็ยังไม่ไว้ใจผมอยู่นั่นเอง เขาลงมือยิงเสียเอง ก่อนที่ผมจะยิง ดังที่ทุกคนเห็น”

สิ้นสุดคำให้การของสัตวันต์ ก็สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่รัฐบาล เพราะไม่รู้อยู่ดีว่าใครอยู่เบื้องหลัง

มีการวิจารณ์กันว่า แผนสังหารโหดครั้งนี้ วางแผนที่ห่วยที่สุด แต่ที่ประสบความสำเร็จนั้น ก็เพราะหน่วยคุ้มกันรักษาความปลอดภัยของ อินทิรา คานธี ไร้คุณภาพอย่างที่สุดนั่นเอง

มือปืนทั้งสอง หลังจากลั่นกระสุนแล้วก็มิได้มีแผนหนี ยิงอย่างเดียว ยิงเสร็จแล้วก็หลบไปอยู่ในป้อมยาม หน่วยคุ้มกันก็มัวแต่พะวงนำอินทิราไปโรงพยาบาล ไม่มีใครสนใจฆาตกรแต่อย่างใด จนฆาตกรหลบเข้าไปในป้อมแล้วจึงออกติดตามไป ฆาตกรก็งี่เง่า ไม่ได้วางแผนหนีไว้ก่อนอยู่ซ่อนในป้อมให้ถูกยิง ถูกจับเอาง่ายๆ

เป็นคราวเคราะห์ที่ อินทิรา คานธี จะต้องปิดฉากการต่อสู้บนเวทีโลก เธอจึงจบชีวิตทั้งๆ ที่เดินอยู่ในบ้าน

ต้นตอสาเหตุการสังหารสะเทือนโลกนี้ พอลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้
รัฐเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อปัญจาบ อยู่ทางทิศเหนือของอินเดีย อาณาเขตทิศเหนือจรดรัฐหิมาลัย ตะวันออกจรดฮาร์ยานา ทางใต้จรดราชาสถาน ตะวันตกจรดปากีสถาน รัฐปัญจาบนี้แม้จะเป็นรัฐเล็กๆ แต่ก็เป็นหัวใจของอินเดีย เพราะที่นี่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ผลผลิตที่นำไปเลี้ยงคนในรัฐอื่นๆ เกือบทั่วประเทศอินเดีย

ชาวปัญจาบมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว หน้าตาดี เฉพาะสตรีเพศนั้น สวยงามมาก นางเอกภาพยนตร์อินเดียหลายคนมาจากรัฐปัญจาบนี้

ประชากรปัญจาบส่วนใหญ่ ถือศาสนาซิกข์ ซึ่งพวกซิกข์นี้ไม่มีวรรณะ ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมกัน อยู่ร่วมกัน กินด้วยกัน สวดมนต์ร่วมกัน

ซิกข์เป็นขมิ้นกับปูนกับฮินดู ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในอินเดีย และถูกพวกฮินดูข่มเหงและกลั่นแกล้งต่างๆ นานา เพราะไม่อยากให้มีศาสนาใหม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ซิกข์จึงจำเป็นที่จะต้องป้องกันตัว โดยเริ่มสะสมอาวุธต่างๆ ไว้ รวมทั้งเริ่มการฝึกวิธีใช้อาวุธ เพื่อต่อต้านชาวฮินดูที่เข้ามารังแกด้วย

ต่อมาครูคนสำคัญของชาวซิกข์คนที่ ๔ ชื่อ ครูรามดัส ซึ่งกษัตริย์อัคบาได้พระราชทานทรัพย์ส่วนหนึ่งให้นำมาซื้อที่ดินผืนหนึ่ง มีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่โตพอดู ครูรามดัส ลงมือขุดอ่างน้ำขนาดใหญ่ขึ้น แล้วเคลื่อนย้ายสถานที่ตั้งของศาสนาจากหมู่บ้านโตอินวัลมาที่ข้างอ่าง จนบริเวณรอบอ่างน้ำกลายเป็นเมืองใหม่ และเมืองนั้นก็เป็นศูนย์กลางของศาสนาซิกข์ ชาวบ้านเรียกว่า รามดัสจักร

ครูรามดัสได้สร้างวิหารไว้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาในอ่างน้ำนั้นด้วย แต่ก็ไม่ทันสำเร็จ ครูรามดัสสิ้นชีวิตเสียก่อน อาจุน บุตรชายคนเล็กของเขาได้รับตำแหน่งครูซิกข์ คนที่ ๕ และเมื่อได้รับตำแหน่ง อาจุนก็สร้างวิหารต่อจนสำเร็จ

วิหารแห่งนี้แตกต่างจากวิหารทั่วไป โดยฐานของวิหารในระดับที่ต่ำกว่าพื้นดิน มีทางเข้าออก ๔ ทาง ๔ ด้าน และเมื่อสร้างเสร็จพื้นของวิหารจะปริ่มน้ำในอ่างใหญ่พอดี จึงเรียกอ่างน้ำนั้นว่า อมฤตสาร หรือสระน้ำอมฤต ต่อมากลายเป็นชื่อเมือง

ชาวซิกข์ได้พัฒนาตัวเองให้เจริญขึ้นมาพร้อมกับการสะสมอาวุธและฝึกอาวุธไว้ป้องกันตัวเอง โดยเฉพาะปกป้องศาสนาอันเกิดจากการรุกรานทั้งทางตรงและนโยบายทางการเมือง

ศาสนาซิกข์ เป็นปึกแผ่นมั่นคง มีศาสนิกชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนมากกว่าสิบล้านคนในปัจจุบัน

ในรัฐปัญจาบ มีพรรคการเมืองอยู่หลายพรรค แต่พรรคที่ได้รับเลือกให้เป็นรัฐบาลย่อยครั้งที่สุด คือ พรรคกาลีดาล พรรคนี้เป็นรัฐบาลของรัฐปัญจาบ เป็นปากเสียงให้ชาวซิกข์ เรียกร้องสิทธิต่างๆ มากมายจากรัฐบาลกลางที่เดลี ถ้าข้อเรียกร้องนั้นได้รับการตอบสนองที่ดี ทางพรรคก็จะหาข้อเรียกร้องใหม่มาเสมอๆ แต่ถ้าถูกปฏิเสธจากรัฐบาลกลาง ทางพรรคก็จะสร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดความวุ่นวายทันที

พรรคกาลีดาล เป็นหน้าม้าก่อความวุ่นวายต่างๆ ขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้รัฐบาลของ อินทิรา คานธี หันมาเจรจา แต่ถ้ายังทำเฉยเมย ไม่สนใจต่อไป ข้าราชการและประชาชนที่ไม่ได้รู้เห็นอะไรด้วย มักถูกจับเป็นตัวประกัน ถูกลอบทำร้าย ถูกลอบยิงตายเป็นหมู่ เป็นคณะก็มีหลายครั้งหลายคราว และเหตุการณ์ร้ายแรงนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะจัดการอย่างไรก็ไม่ได้ เพราะคนทำเป็นคนของพรรคการเมืองที่มีอำนาจ ใครไปแตะต้องมีหวังถูกย้ายไปอยู่ในป่า อีกประการหนึ่ง ฆาตกรผู้ก่อการร้ายทั้งหลาย เมื่อทำการเสร็จแล้วมักหนีไปซ่อนตัวอยู่ในวิหารต่างๆ ทางศาสนา  พวกตำรวจเข้าไปยุ่มย่ามไม่ได้ โดยเฉพาะในวิหารทองคำที่รัฐปัญจาบอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ใครเข้าไปยุ่งไม่ได้เลย



ในวัยเยาว์ อินทิรา คานธี มีความใกล้ชิดกับ มหาตมะ คานธี
เนื่องจาก เยาวหราล เนห์รู บิดาของเธอเป็นผู้ใกล้ชิด
และร่วมเรียกร้องเอกราชให้แก่อินเดีย ร่วมกับมหาตมะ คานธี

เรื่องเป็นเช่นนี้เรื่อยมา จนหนักเข้าเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๑๙๘๔ มีการตกลงแบ่งเขตแดนรัฐปัญจาบ กับรัฐฮายาน่า ซึ่งเป็นปัญหาขัดแย้งกันมานาน โดยทั้งสองรัฐต่างก็เรียกร้องจะเอาเมืองจันดิการ์ ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกันระหว่าง ๒ รัฐมาไว้กับตน และคราวนี้รัฐบาลกลางโดย อินทิรา คานธี ได้แบ่งใหม่ ให้ตัวเมืองเป็นของปัญจาบ ส่วนบางท้องที่ที่มีชาวฮินดูอยู่ให้เป็นของฮายาน่าไป แต่เรื่องก็ตกลงกันไม่ได้

นอกจากนั้นพรรคกาลีดาลยังเรียกร้องอีกหลายอย่างหลายประการ ที่สำคัญคือให้ประกาศว่า อมฤตสาร์ คือเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ ต้องอยู่เหนือการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญของประเทศ ชาวซิกข์ทุกคนมีสิทธิพิเศษโดยเฉพาะเหมือนกับเป็นดินแดนอิสระ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ให้แยกไปเป็นดินแดนอิสระ ไม่ต้องขึ้นกับรัฐบาลกลางนั่นเอง  

อินทิรา คานธี ไม่ยอมเล่นด้วย ถึงกระนั้นก็ยังเล่นไม้นวมโดยชวนให้มีการนั่งโต๊ะเจรจา และทบทวนข้อตกลงต่างๆ ในอดีตที่เคยทำเอาไว้สักครึ่งหนึ่งก่อน

พรรคกาลีดาล ปฏิเสธ ดึงดันจะทำตามใจที่ตั้งเอาไว้ให้ได้

อินทิราปฏิเสธเด็ดขาด

ดังนั้น แผนสกปรกทั้งหลายก็ถูกนำมาใช้ โดยพรรคกาลีดาล ตัวการสำคัญสร้างสถานการณ์วุ่นวายขึ้นทั้งภายในและภายนอกรัฐ ลอบฆ่านักการเมืองสำคัญ จี้เครื่องบิน ปล้นรถโดยสาร ลักพาตัวประกัน ฆ่าหมู่ชาวบ้าน ทำให้รัฐปัญจาบแตกแยกเป็นก๊ก เป็นเหล่า ตามที่นักการเมืองปั่นหัว และในที่สุดก็ขัดแย้ง ฆ่าฟันกันเอง

อินทิรา คานธี ผู้นำอินเดียก็ได้หาทางจัดการกับพวกก่อความวุ่นวายอย่างเอาจริงเอาจังแต่ไม่สัมฤทธิผล  ต่อมา ซิง ซาฮิบ เกียนี่ ประทับ ซิงห์  ผู้ยิ่งใหญ่ในวิหารศรีอกัลตักห์   ซาฮิบ ได้ถึงแก่ความตายโดยถูก ภิณ ดรันวัล หนึ่งในผู้ก่อการร้ายสังหาร และการตายของ ประทับ ซิงห์ นี่เอง ทำให้ตำแหน่งสำคัญทางศาสนาว่างลง ภิน ดรันวัล เลยถือโอกาสยึดวิหารทองคำไว้ทั้งหมด ทั้งกำลังคน และอาวุธ เขามีอำนาจสิทธิ์ขาดคนเดียวเหนือวิหารทองคำ เหล่าอาชญากร นักฆ่าอาชีพ ต่างเดินทางมายังวิหารทองคำเพื่อสมัครเป็นกำลังของ ภิน ดรันวัล

ภิน ดรันวัล ได้สร้างสถานศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาให้กลายเป็นปราการสำคัญการสู้รบ ที่รวมอาชญากรร้ายทั้งมวลตั้งแต่บัดนั้น

วาระนั้น การเจรจาต่างๆ จากรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลท้องถิ่นกับพวกคลั่งศาสนาพวกนี้ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นทุกขณะ รัฐมนตรีมหาดไทยขอร้องให้หัวหน้าพรรคกาลีดาล จับตัว ภิน ดรันวัล ส่งทางการเสียเพื่อยุติเรื่องราวโหดต่างๆ ที่เกิดขึ้นติดต่อกันมาหลายปี

แต่คำขอเหล่านี้ไม่เป็นผล  การฆ่า-สังหารยังคงมีอยู่เป็นประจำ หลายศพถูกโยนออกมาจากวิหารทองคำ มาให้เป็นอาหารสุนัขข้างถนนภายนอก

บนดาดฟ้าของวิหาร แต่ละแห่งจะมีมือปืนระดับพระกาฬรักษาการณ์อยู่ พร้อมตลอดเวลาไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ คน ที่เป็นมือปืนจากนรกจริงๆ นอกนั้นเป็นอาชญากรที่หนีมาจากรัฐอื่นๆ และพวกคนหนุ่มๆ ที่คลั่งคำสอนของ ภิน ดรันวัล มาสมทบกองกำลังโจรด้วย

เมื่อไม่ว่าทางใดก็ไร้ผล จึงประกาศเอาจริงเรื่องนี้ โดยกล่าวว่า:-
สองสามวันก่อนนั้นได้เกิดการนองเลือดขึ้นที่ปัญจาบ อันเป็นผลเกิดจากการกระทำของผู้ประสงค์ร้าย สร้างสถานการณ์สยองขวัญขึ้นทั่วไป เหมือนจะกดดันให้รัฐบาลสิ้นความอดกลั้น ทางรัฐบาลจึงขอเตือนว่า หากกลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่หยุดยั้งการกระทำดังกล่าว ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับการลงโทษ

เสียงประกาศขู่ของรัฐบาล ไม่ทำให้เหล่าร้ายในปัญจาบสะดุ้งหวาดกลัว สถานีรถไฟหลายแห่งถูกเผา ชาวฮินดูถูกฆ่าโหดหลายร้อยคน

ดังนั้น รัฐบาลจึงประกาศเคอร์ฟิวในเมืองอมฤตสาร์ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๑๙๘๔ และหลังจากประกาศ กำลังทหาร ๗๐,๐๐๐ คน เข้าประจำการจุดสำคัญต่างๆ ทั่วรัฐปัญจาบ โดยเฉพาะรอบๆ วิหารทองคำ มีทหารเข้าไปประจำหนาแน่นเป็นพิเศษ

ความจริงแล้วอินทิราต้องการเพียงแค่ขู่ให้พวกคลั่งศาสนาจนกลายเป็นโจรให้หยุดยั้งการกระทำอันบ้าคลั่ง รัฐบาลคิดผิด เหตุการณ์ร้ายต่างๆ ยังก่อเกิดขึ้นไม่หยุดยั้ง

อินทิราจึงประกาศทางวิทยุและโทรทัศน์ให้กลุ่มต่างๆ ในรัฐปัญจาบเลิกก่อเหตุร้ายเสียแต่ก็ไร้ผล ยังมีเหตุร้ายต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการฆาตกรรม วางเพลิง จี้ ปล้น ทำให้ชาวซิกข์และฮินดู ต้องเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก และทำให้ประเทศชาติเสียหายใหญ่หลวง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนามาบัดนี้ได้กลายเป็นแหล่งซ่อมสุมเหล่าอาชญากร คอยทำร้าย เข่นฆ่า ผู้เข้าไปสักการบูชา ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงขอเตือนเป็นครั้งสุดท้าย ให้หันหน้าเข้าหากันสำหรับทุกกลุ่ม พูดจากัน และนี่คือโอกาสสุดท้ายแล้ว

เหล่าก่อการร้ายไม่สนใจในคำขู่ของอินทิรา พฤติกรรมเดิมๆ ถูกทำซ้ำเติมหนักเข้าไปอีก

เมื่อมีคำตอบเช่นนี้ รัฐบาลก็สิ้นความอดทน กองพันทหารราบหน่วยรบที่ ๑๒ จากรัฐพิหาร ถูกส่งเข้ามาปฏิบัติการในอมฤตสาร์ โดยคำสั่งของ นางอินทิรา คานธี

แรกๆ หน่วยทหารจากรัฐพิหาร เพียงใช้วิธีรายล้อม ต่อมาเปลี่ยนแผนเป็นไปซ่อนตัวบนยอดตึก ซึ่งมีความสูงไล่เลี่ยกับวิหารทองคำ ต่างฝ่ายต่างคุมเชิงกันอยู่ จนกระทั่ง ๓ มิถุนายน ๑๙๘๔  ฝ่ายรัฐต้องการให้ทุกสิ่งยุติลงโดยปราศจากการนองเลือด จึงประกาศขยายเสียงให้ออกมามอบตัว ประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีก และแล้วก็มีคำตอบ คือกระสุนปืนทุกชนิดที่กราดยิงออกมา

นับแต่วินาทีนั้น การเจรจาสันติเป็นอันสิ้นสุดลง

เช้าวันที่ ๔ มิถุนายน ๑๙๘๔ ทางทหารเริ่มตอบโต้ โดยใช้ปืน ๓.๘๗ ซีเอ็ม เมาท์เท่น (C.M.Mountain) แรงทำลายสูง กระหน่ำครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เหล่าร้ายกลับตอบโต้ด้วยจรวด อาร์.พี.จี.(Rocket Power Gum) ทำให้ฝ่ายทหารแตกกระเจิง

มาถึงตอนนี้ ทหารต้องใช้เฮลิคอปเตอร์กับรถถังเข้าถล่ม โดยรายล้อมเมืองอมฤตสาร์ไว้ทุกด้าน ปืน รถถัง หันปากกระบอกไปที่วิหารทองคำ พร้อมที่จะระเบิดวิหารศักดิ์สิทธิ์ให้พังทลายในพริบตา ศพเกลื่อนถนน

ชาวซิกข์พากันหวาดวิตกว่าวิหารศักดิ์สิทธิ์ของตนจะถูกทำลาย พากันทำร้ายทุกคนที่ขวางหน้า เล่นงานตำรวจ และทหาร ตำรวจได้รับคำสั่งให้ใช้กระสุนจริง เมื่อมีประชาชนเข้าร่วมด้วย

รัฐบาลเปลี่ยนแผนใช้หน่วยคอมมานโดปฏิบัติการ เข้าจับตัวผู้ก่อการร้ายในวิหารแบบสายฟ้าแลบ ไม่ให้วิหารทองคำเป็นอันตราย การปฏิบัติการเริ่มเมื่อตอนเที่ยงคืน วันที่ ๕ มิถุนายน ๑๙๘๔

คอมมานโด ๔๐ คน สามเสื้อเกราะกันกระสุน บุกเข้าด้านหลังของวิหาร ความมืดทำให้พวกซิกข์ ซึ่งอยู่บนยอดหอคอยมองไม่เห็น พยายามเล็ดลอดเข้าไปในวิหารครูรามดัสลังการ์ ในที่สุดก็จับได้หมด เมื่อตอนฟ้าสางพอดี ตอนนี้เหลือแต่ตัววิหาร และระเบียงรอบสระเท่านั้น ที่ยังยึดไม่ได้

เจ้าหน้าที่คอมมานโด ๔๐ คน เสียชีวิตไป ๓ คน บาดเจ็บ ๑๙ คน นอกนั้นปลอดภัย

คืนต่อมา หน่วยคอมมานโดถูกส่งเข้าไปปฏิบัติการ ณ วิหารทองคำ อันเป็นที่ซ่อนตัวของ ภิน ดรันวัล หัวหน้ากลุ่มผู้คลั่งศาสนา ขณะที่คอมมานโดบุกเข้ามายังวิหารอกัลดักห์ ก็พบกับ ภิน ดรันวัล เกิดการปะทะกัน ภิน ดรันวัล ถูกสะเก็ดระเบิดชิ้นหนึ่งตัดใบหน้า เสียชีวิตในที่ปะทะ

การต่อสู้ดำเนินการต่อไปจนถึงบ่ายวันที่ ๗ มิถุนายน ๑๙๘๔ พวกก่อการร้ายกลุ่มสุดท้ายชูธงขาวเดินออกจากวิหารทองคำ ยอมแพ้ รัฐบาลเป็นฝ่ายชนะ  เป็นอันว่าปฏิบัติการบลูสตาร์สิ้นสุดลงโดยสมบูรณ์

ยึดวิหารได้ พวกคลั่งศาสนาเสียชีวิตร่วมพันคน ทหารเสียชีวิตร่วมสองร้อยคน

รัฐบาลชนะ แต่ปัญหาเรื่องศาสนาของซิกข์ยังไม่จบ การเข้ายึดวิหารทองคำของอินทิราครั้งนี้ สร้างความแค้นเคืองให้แก่ชาวซิกข์เป็นอย่างมาก ซิกข์ทุกคนหาทางแก้แค้นแทนชาวซิกข์ที่เสียชีวิตไป

ฮารินเดอร์ ซิงห์ ทูตประจำกรุงออสโล เป็นชาวซิกข์ผู้หนึ่ง ทำงานให้รัฐบาลอินเดียมาสิบกว่าปี ทันทีที่แผนบลูสตาร์ประสบความสำเร็จเขายื่นใบลาออกทันที ด้วยต้องการล้างแค้นอินทิรา คานธี

ฮารินเดอร์ ซิงห์ เริ่มติดต่อกับ บีน ซิงห์ ฆาตกรคนแรกที่ยิงอินทิรา   บีน ซิงห์ เป็นญาติห่างๆ ซึ่งทำหน้าที่หน่วยรักษาความปลอดภัยของอินทิรา คานธี พร้อมกับส่งเงินมาให้หนึ่งแสนเหรียญดอลลาร์ เพื่อชำระแค้นของเขาให้สำเร็จ

นอกจาก บีน ซิงห์   ฮารินเดอร์ยังได้ทาบทาม บัลไบ ซิงห์ รองสารวัตรตำรวจ หน่วยคุ้มกันความปลอดภัย (รปภ.) ของ อินทิรา คานธี ให้ช่วยทำงานสำคัญให้อีกด้วย

ครั้งแรก วางแผนจะให้ บีน ซิงห์ นำระเบิดไปวางไว้ในห้องทำงาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประจำ แล้วใช้รีโมทคอนโทรล แต่ไม่สามารถจะหาได้ ประกอบกับ บัลไบ ซิงห์ เรียกร้องเงินในการนี้สูงเกินไป จึงต้องยกเลิก

อย่างไรก็ตาม การประชุมแบบลับๆ ระหว่างชาวซิกข์ทั้งหลาย มีการประชุมกันเป็นประจำ ที่จะหาทางสังหารนายกรัฐมนตรีอินทิรา คานธี ให้จงได้  ในที่สุด บีน ซิงห์ ก็ได้รับเลือกให้เป็นมือสังหาร

บีน ซิงห์ เป็นคนตำบลบาโลย่า เมืองจันดีการ์ ตามวรรณะ เขาเป็นคนชั้นต่ำ ร่างเตี้ย แต่โชคดีได้เรียนหนังสือจบปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยปัญจาบ ปี ๑๙๗๒ บีนได้รับเลือกให้มาเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยในบ้านพักของ อินทิรา คานธี ตลอดเวลาสิบกว่าปีที่เขาทำงานมา เขาได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชามาก จวบจนกระทั่ง…

ไม่มีใครคาดคิดว่า เขาจะร่วมมือกับพวกหัวรุนแรง คิดสังหารเจ้านายของตนเองได้

เนื่องจากเขาได้รับเงินจาก ฮารินเดอร์ ซิงห์ ถึงหนึ่งแสนเหรียญดอลลาร์ และถูกเป่าหูจาก บาฮาเดอร์ ซิงห์ ผู้เป็นลุง ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญจากกระทรวงเกษตร และเป็นคนเกลียดฝ่ายรัฐบาลรุนแรง พอวิหารทองคำถูกถล่ม บาฮาเดอร์ ซิงห์ ก็หาทางตอบโต้รัฐบาลโดยหันมายุให้หลานชายดำเนินการโหดครั้งนี้ด้วย

บีน ซิงห์ ได้เลือกเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ชื่อ สัตวันต์ ซิงห์ หนุ่มวัย ๒๑ ปี จากตำบลอัตวัน ซึ่งเป็นอำเภอชายแดน ห่างจากปากีสถานเล็กน้อย

สัตวันต์ รับราชการเป็นตำรวจ กองพันที่ ๕ เมื่อปี ๑๙๘๒ ต่อมาถูกส่งไปฝึกหลักสูตรคอมมานโด สำเร็จแล้วย้ายมาอยู่กองพันที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรี ซึ่งแม้สัตวันต์จะรักษาการณ์อยู่ด้านนอก แต่ก็สามารถเปลี่ยนเวรเข้ามารักษาการณ์ภายในได้

สัตวันต์ถูกเกลี้ยกล่อมจาก บีน ซิงห์ จนกระทั่ง ๑๗ ตุลาคม ๑๙๘๔ จึงตอบตกลง ทั้งๆ ที่ตอนนั้น เขากำลังจะแต่งงานอยู่แล้ว  ต่อมาวันที่ ๒๑ ตุลาคม บีนและสัตวันต์ มาพบกันที่วิหารทองคำ เพื่อรับทราบรายละเอียดต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ของพวกหัวรุนแรง พอประชุมเสร็จสัตวันต์ก็เดินทางกลับเดลี โดยมีชายแปลกหน้า ๕ คน ติดตามไปด้วย

เช้าวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๑๙๘๔  บีน ซิงห์ กับ สัตวันต์ ก็ร่วมกันปฏิบัติการโหด โดยลั่นกระสุนสังหารนายกรัฐมนตรีอินทิรา คานธี จนถึงแก่ความตายดังกล่าว  เขาได้ยุติบทบาทของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอินเดีย  แม้ตาย แต่โลกจะจดจำเธอไปตลอดกาล

อินทิรา คานธี เกิดในตระกูลสูง มีฐานะดี บิดาเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดีย ผู้นั้นคือ เยาวหราล เนรูห์  ส่วนมารดาชื่อ กมลา ซึ่งถึงแก่กรรม เมื่ออินทิราอายุ ๑๙ ปี

อินทิรา คานธี เกิด ค.ศ. ๑๙๑๗ ที่เมือง อัลลา ฮาบัต การสูญเสียมารดาไม่ได้ทำให้อินทิราขาดความอบอุ่นในชีวิตแต่อย่างใด เพราะเนรูห์บิดา ได้เอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี ตั้งแต่วัยเด็ก อินทิรา คานธี ได้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ณ คฤหาสน์ของปู่ที่เมืองอัลลา ฮาบัต ในขณะนั้นทั้งบิดา และปู่ และญาติพี่น้อง ที่เป็นชายทุกคนถูกจับขังในเรือนจำ เพราะร่วมในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดีย

อินทิรา คานธี ได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุดเท่าที่กุลสตรีซึ่งเกิดมาในตระกูลมั่งคั่งของอินเดียจะพึงได้รับ  อินทิราศึกษาภาษาต่างประเทศขั้นต้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมาได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย “ศานตินิ เตตัน” ในอินเดีย หลังจากได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ที่ได้จากสถานศึกษาต่างๆ ดูเหมือนจะมีความสำคัญน้อยกว่าความรู้ที่ได้รับจากจดหมายหลายฉบับที่บิดาของอินทิราเขียนถึงในระหว่างที่ถูกกักขังในเรือนจำ จดหมายเหล่านั้นพร่ำสอนด้วยวาทศิลป์อันซาบซึ้ง ได้อบรมบ่มนิสัยอย่างละเอียดอ่อน และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนอุปนิสัยใจคอจากบิดาไปสู่ลูก โดยที่อินทิราเองอาจไม่รู้สึกตัว

อินทิรา คานธี เล่นการเมืองอย่างจริงจังเมื่ออายุ ๒๑ ปี ได้จัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า “หน่วยสื่อสารวานร” เป็นหน่วยที่ถือสารทางการเมืองเล็ดลอดผ่านแนวของอังกฤษ อันเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดีย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กรกฎาคม 2558 17:57:24 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2558 17:56:00 »

.

ดับคนดัง - วันสังหาร
อินทิรา  คานธี แห่งอินดีย (จบ)

อินทิรา คานธี แต่งงานกับ เฟโรย์ คานธี นักกฎหมายหนุ่มเผ่าปารี ซึ่งได้รับการคัดค้านจากบิดาเนห์รู และชาวอินเดียนับล้านคน เพราะเป็นธรรมเนียมของชาวฮินดู ที่ไม่สนับสนุนให้ชนเผ่าฮินดูไปแต่งงานกับชนเผ่าอื่น แต่อินทิราเป็นคนเชื่อมั่นในตัวเอง จึงได้แต่งงาน และเมื่อเธอกลับจากฮันนิมูนกับสามีหนุ่ม เธอก็ถูกอังกฤษจับเข้าคุก ๑๓ เดือน ในข้อหาก่อกวน บ่อนทำลาย

ต่อมาในปี ๒๕๐๓ สามีของเธอถึงแก่กรรม หลังจากที่มีบุตรแล้ว ๒ คน คือ ราจีป และสัญชัย ซึ่งขณะนั้น ทั้งสองมีอายุ ๒๒ และ ๒๐ ปีตามลำดับ และกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

เมื่อศาสตรี นายกรัฐมนตรีอินเดียถึงแก่อาสัญกรรม อินทิรา คานธี บุตรคนเดียวของเนห์รู ก็ได้รับเสียงจากพรรคอินเดียคอมเกรสให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ด้วยคะแนนเสียง ๓๕๕ ต่อ ๑๖๙ การดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคย่อมหมายถึงความรับผิดชอบในการจัดตั้งรัฐบาลอินเดียชุดใหม่ด้วย  ดังนั้น อินทิรา คานธี ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดียในคราวเดียวกัน

การที่ อินทิรา คานธี ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น มิใช่ว่านางเป็นบุตรีของ เนห์รู หากแต่คุณสมบัติส่วนตัว ซึ่งเพราะเธอเป็นนักบริหารที่เปรื่องปราด เป็นนักการเมืองที่เฉลียวฉลาด เป็นผู้ที่มีศัตรูทางการเมืองน้อยที่สุด มีชื่อเสียงโด่งดัง อยู่ในความนิยมของสมาชิกพรรคคองเกรสโดยทั่วไป

สถานการณ์ที่อินเดียเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทำให้รัฐบาลต้องแบกภาระหนักยิ่งกว่าสมัยบิดาของเธอ และทุกรัฐบาลที่ผ่านมา เกิดปัญหาความอดอยากของประชากรอินเดียไม่น้อยกว่า ๑๒ ล้านคน พร้อมๆ กับความแห้งแล้งทั่วประเทศ มิหนำซ้ำยังมีเรื่องวิวาทบาดหมางระหว่างกลุ่มศาสนามากมาย โดยเฉพาะอิสลามกับฮินดู และฮินดูกับซิกข์ ซึ่งขยายออกไปทุกขณะ

อีกทั้งภายนอกประเทศ อินเดียตกอยู่ในวงล้อมของศัตรู จีนคุกคามทางเหนือ ปากีสถานอยู่ทางตะวันตก  อย่างไรก็ดี อินทิรา คานธี ก็สามารถแก้ไขได้อย่างงดงาม และด้วยความสามารถเฉพาะตัว บางครั้งนุ่มนวล บางครั้งแข็งกร้าว จนกระทั่งปี ๑๙๘๔ หลังจากเกิดศึกวิหารทองคำ กับปฏิบัติการบลูสตาร์ ปราบจนราบคาบแล้ว กลับกลายเป็นรอยแค้นของชาวซิกข์ ที่ไม่ยอมให้ใครแตะต้องวิหารทองคำอันศักดิ์สิทธิ์ของเขา

ผลงานของอินทิรา คานธี จึงกลายเป็นเรื่องเศร้า และก่อให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงสะเทือนโลกไปในที่สุด เธอถูกมือปืนชาวซิกข์ ซึ่งเป็นหน่วยอารักขาคุ้มครองของเธอเองสังหาร

อินทิราจบชีวิตในบ้านพักของตัวเอง ปิดฉากชีวิตของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอินเดีย เป็นโศกนาฏกรรมที่โลกไม่เคยลืมเลือน





เยาหราล เนห์รู บิดาอินทิรา คานธี กับ มหาตมะ คานธี


อินทิรา คานธี  กับบุตรชายทั้งสอง คือ ราจีป และ สัญชัย คานธี


อินทิรา คานธี  เข้าพิธีแต่งงานกับ เฟโรย์ คานธี

ที่มา : คอลัมน์ บันทึกวันวาร โดย สังคีต จันทนะโพธิ นิตยสารสกุลไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 สิงหาคม 2558 15:19:08 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2558 15:15:37 »

.


รามอน แม็กไซไซ ประธานาธิบดีคนที่ ๗ ของประเทศฟิลิปปินส์

ดับคนดัง - วันสังหาร
รามอน แม็กไซไซ แห่งฟิลิปปินส์  

รามอน แม็กไซไซ ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เมื่อปี ๑๙๕๓ เขามาจากครอบครัวยากจนที่มีพ่อเป็นช่างเหล็ก และมีแม่เป็นครู

แต่ชื่อของ รามอน แม็กไซไซ ยังอยู่ยั้งยืนยง แม้เขาจะจากไปนานแล้วก็ตาม

แม็กไซไซ เป็นชื่อรางวัลเกียรติยศมอบให้แก่ชาวเอเชียที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม คือรางวัลแม็กไซไซ รางวัลนี้ตั้งเป็นที่ระลึกแก่ประธานาธิบดีรามอน แม็กไซไซ ซึ่งเป็นแบบอย่างของผู้ที่อุทิศตนทำงานเพื่อประชาธิปไตย

รามอน แม็กไซไซ ก็เป็นผู้นำที่หนีไม่พ้นการถูกลอบสังหารกับเขาเหมือนกัน หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหรัฐอเมริกาคืนเอกราชให้ฟิลิปปินส์และแต่งตั้งให้แม็กไซไซเป็นผู้ว่าราชการแห่งเมืองแซมบาเลส ต่อมาเขาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  นักการเมืองหนุ่มผู้นี้โดดเด่นจนประธานาธิบดีคิริโนแต่งตั้งให้เขาเป็นเลขานุการของฝ่ายป้องกันอาณาจักร และสามารถปราบปรามกองโจรก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จ

เรื่องราวการลอบสังหารแม็กไซไซนี้เกิดขึ้นถึงสองครั้งสองครา แต่ก็มีเรื่องไม่น่าเชื่อเกิดขึ้น

ครั้งหนึ่ง อิสลาม ฮุคบาราฮับ ส่งมือสังหารเข้าไปประชิดตัวโดยใช้มีด แต่มือสังหารฆ่าเขาไม่ลง  

ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้สังหารเขาคือ มะนิลา บอย  ซึ่งเตรียมพรรคพวกพร้อมสรรพที่จะรุดเข้าไปสังหารแม็กไซไซ  เขาเดินทางไปหลายวัน จึงจะถึงนครมะนิลาได้เรียบร้อย  ตาร์คได้มอบอาวุธให้เขาไปครบมือ เขาแต่งตัวเป็นชาวนาสวมเสื้อหลวม และตัวใหญ่โต  ภายในเสื้อนั้นเขาได้ซ่อนระเบิดมือกับปืนพกและกระสุนพร้อม

เมื่อไปถึงเขาก็สอบถามที่ตั้งของรัฐบาล และกระทรวงกลาโหมอย่างไม่ให้ใครสงสัย และเมื่อเดินทางไปเกือบถึงกระทรวงกลาโหมอยู่แล้ว เขาก็เดินฝ่าเข้าไปในกลุ่มชาวนาหมู่หนึ่ง ซึ่งกำลังวิพากษ์วิจารณ์การเมืองอยู่พอดี  มะนิลา บอย หยุดยืนฟังการสนทนาอยู่ด้วย  บังเอิญกลุ่มชาวนาดังกล่าวนั้นกำลังยืนพูดยกย่องชมเชยแม็กไซไซว่าเป็นเสมือนมิตรแท้ของประชาชน และยังได้พูดว่า “ฉันนี่แหละจะยิงทหารทุกคนที่ทำร้ายชาวนา”  แต่มะนิลา บอย เคยเห็นตำรวจทำทารุณต่อชาวนา และเคยเห็นชาวนาถูกขับไล่ออกจากที่ทำกินมาแล้ว เขาทนฟังไม่ได้จึงพูดขัดคอชาวนากลุ่มนั้น และเล่าเรื่องราวที่ได้ประสบมาด้วยตาตนเองให้พวกเขาฟังบ้าง และปฏิเสธคำพูดที่ชาวนากลุ่มนั้นพูดโดยสิ้นเชิง เพราะเขาได้ประสบมาด้วยตัวเอง  ระหว่างที่เกิดเถียงกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ก็มีชาวนาคนหนึ่งจำเขาได้ โดยที่ทั้งสองคนเคยร่วมพักแรมด้วยกันมา และเคยร่วมในท้องนาแห่งเดียวกัน ชายคนดังกล่าวดึงตัว มะนิลา บอย ออกมาจากกลุ่ม แล้วกล่าวว่า

“ทำไมไม่ไปพูดกับท่านแม็กไซไซเองล่ะ จะพาไปพบกันท่าน เอาไหม! บางทีแกอาจจะได้รู้อะไรดีๆ”

มะนิลา บอย รีบตกลงทันที เพราะเหตุการณ์นี้มันเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันมาก่อน เขาปรารถนาอยากพบแม็กไซไซยิ่งนัก เพื่อจะทำงานให้พรรคได้สำเร็จลุล่วงได้ ดูเหมือนมันจะง่ายกว่าแผนที่เขากำหนดไว้มากมายนัก

เช้าวันรุ่งขึ้น ชาวฮัคส์ กับ มะนิลา บอย ก็ได้ร่วมกันไปหาแม็กไซไซ เมื่อตอนที่ผ่านเข้าไปในที่ทำการของรัฐบาลนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ตรวจค้นทั้งสองคนเลย และพอเดินผ่านเข้าไปถึงห้องทำงานของแม็กไซไซนั้น  มะนิลา บอย เอามือคลำปืนในกระเป๋าที่ซ่อนไว้ตลอดเลา นอกจากปืนยังมีลูกระเบิดมืออีกสองลูกซ่อนอยู่

เขายืนประจันหน้ากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในระยะห่างกันแค่คืบเดียว ซึ่งเป็นจังหวะที่จะระเบิดรัฐมนตรีกลาโหมให้แหลกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่นั่นก็หมายความว่า เขาจะต้องตายด้วย หรือไม่ก็ถูกจับตัวเอาไว้ แต่อะไรมันจะเกิดมันก็ต้องเกิด โลกแห่งการปฏิวัติต้องไม่ลืมเขาไปอีกนานแสนนาน

แม็กไซไซ กับ มะนิลา บอย พูดอยู่นานเป็นชั่วโมงเต็มๆ ต่างฝ่ายต่างโต้ตอบซึ่งกันและกัน  แม็กไซไซพูดถึงความบอบช้ำของชาวฟิลิปปินส์ที่ได้รับต่างๆ นานา อันเป็นความเดือดร้อนที่ มะนิลา บอย ได้รู้มาก่อนแล้วทั้งสิ้น


http://asean-focus.com/asean/wp-content/uploads/2015/06/376922_513748178642036_324795001_n.jpg
ดับคนดัง - วินาทีสังหารบุคคลสำคัญของโลก


แต่ทำไมชาวฟิลิปปินส์จึงเดือดร้อน ไม่ใช่เพราะญี่ปุ่นมาก่อปัญหาไว้หรือ อเมริกันให้ชาวฟิลิปปินส์มีเอกราชช่วยกำจัดญี่ปุ่น แล้วอเมริกาก็จากไป ก็พวกคอมมิวนิสต์เล่า พวกนี้เป็นใคร ถ้าคนฟิลิปปินส์ปกครองคนฟิลิปปินส์ด้วยกันเอง เพื่อชาวฟิลิปปินส์ด้วยกันเอง อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าพวกเรารวมพลังกันเข้ามาช่วยคนยากคนจนได้ เราจะปฏิบัติการศึกษาและเพิ่มพูนผลผลิตได้มากขึ้น

“เราไม่กังวลว่าใครจะมาครองฟิลิปปินส์” แม็กไซไซกล่าว “แต่คนที่จะมาปกครองนั้นจะต้องเป็นประชาชนที่เกิดบนแผ่นดินนี้ ไม่ใช่บุคคลที่รัสเซียแต่งตั้งขึ้นมาจากมอสโค”
“พวกนั้นมันไม่ใช่พี่น้องของเรา หรือของใครๆ” แม็กไซไซย้ำ
“ส่วนพวกเราล้วนแต่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขฟิลิปปินส์กันทั้งนั้น”

วินาทีนี้ มะนิลา บอย เผชิญกับการตัดสินใจอย่างใหญ่หลวง เขาควรจะสารภาพว่า เขากำลังเข้าใจผิดและทำผิด หรือควรดำเนินงานตามแผนที่ได้รับมอบหมายให้มันเสร็จสิ้นไปเสีย คือเข้าต้องสังหารแม็กไซไซให้จงได้ ตอนนี้วินาทีนี้มันเป็นเวลาที่น่าตื่นตระหนกอย่างที่สุด

มะนิลา บอย เติบใหญ่มาในฐานะคาทอลิกผู้หนึ่ง สิ่งแรกที่เขาคิดก็คือ...แม่ คิดถึงความอดอยากในวัยเยาว์ คิดถึงคำสวดมนต์ที่ยังไม่ได้รับบุญตอบสนอง

เขาพร้อมที่จะชักปืนออกมายิงศัตรูของลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แล้ว แต่แล้วชั่วแมลงวันกระพือปีก มันเหมือนภูตผีร้ายที่กลายร่างเป็นเทพเจ้า เขาควักปืนพกพร้อมทั้งระเบิดมือมาวางไว้บนโต๊ะ พร้อมกับเอ่ยว่า  “ผมมาที่นี่เพื่อจะฆ่าท่านครับ...แต่หากท่านต้องการที่จะรวมฟิลิปปินส์ให้เป็นปึกแผ่น และจะกำจัดหน่วยใต้ดินโซเวียตให้หมดไปจากผืนแผ่นดินฟิลิปปินส์ ผมก็ขอร่วมมือกับท่านด้วย

แม็กไซไซตกตะลึงพรึงเพลิด ไม่ได้แสดงอาการอะไรในขณะที่มะนิลา บอย ล้วงเอาปืนและระเบิดมือวางบนโต๊ะ

ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ การที่จะเข้าไปในสถานที่รัฐบาลเพื่อสังหารรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งแล้วเดินลอยนวลกลับออกไปหาได้ไม่ แม้จะเปลี่ยนใจกลับใจไม่กระทำการนั้นแล้วก็ตาม เขาจะเป็นอิสระไม่ได้

แม็กไซไซไปเยี่ยม มะนิลา บอย ถึงในเรือนจำด้วยตนเอง ได้สัญญาที่จะช่วยมะนิลา บอย อย่างเต็มที่ ในที่สุดศาลก็ได้พิจารณาคดี มันเป็นการพิจารณาที่ตื่นเต้นเมื่อ มะนิลา บอย ได้เล่าให้ศาลฟังเกี่ยวกับขบวนการใต้ดินที่มีโซเวียตเป็นผู้ให้ทุนหนุนหลัง ให้อาวุธกับชาวฮัคส์ ด้วยการรับความช่วยเหลือจากสหภาพชาวเรือของคอมมิวนิสต์ ปกปิดซ่อนอาวุธมาในหีบพัสดุที่แจ้งว่าเป็นอาหาร ได้มีการจัดตั้งโรงเรียน มีการหัดและฝีกการทหารในหมู่คอมมิวนิสต์ที่จัดขึ้น ทั้งยังระบุชื่อสายลับชาวรัสเซีย ซึ่งเข้ามาเป็นครูฝึกชาวฮัคส์ กับชาวจีนคอมมิวนิสต์คนหนึ่ง ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่ปรึกษาของกองบัญชาการสูงสุดของชาวฮัคส์

คำให้การของมะนิลา บอย เป็นที่แตกตื่น แต่ในที่สุด มะนิลา บอย ก็ถูกคำสั่งให้จำคุก แต่รอการลงอาญาเอาไว้

และแล้ว มะนิลา บอย ก็กลับมาทำงานตามคำสั่งของแม็กไซไซบ้าง ในการที่จะเปลี่ยนใจสมาชิกชาวฮัคส์คนอื่นๆ ต่อไปอีก และพยายามอย่างหนักและเสี่ยงอันตราย เขาเปลี่ยนใจบุคคลชั้นหัวกะทิในหมู่ชาวฮัคส์ได้อีก ๑๐ กว่าคน เขาเหล่านี้บางคนก็หันมาใช้ชีวิตตามประสาพลเมืองทั่วๆไป บางคนก็เป็นสายลับคอยสืบข่าวให้กับกองทัพบกฟิลิปปินส์ วิธีการของแม็กไซไซนั้นก็คือ การช่วยชาวนา นำเอาชาวฮัคส์มาเป็นทหารภายใต้ประชาธิปไตย ปีละ ๕,๐๐๐ คน  มะนิลา บอย เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงภายใต้คำสั่งของแม็กไซไซอย่างแข็งขัน

ค.ศ.๑๙๕๐ กองกำลังชาวฮัคส์ อาวุธครบมือจำนวน ๒๐,๐๐๐ คน กับยังมีกำลังสำรองชาวฟิลิปปินส์อีกสองล้านคน ในบางเขต  เช่นที่ลูซอน พวกฮัคส์ยึดได้ ๒-๓ เมือง และที่ทำการรัฐบาลเอาไว้ทำการเก็บภาษีเอาไปช่วยกองทัพแดงทั้งสิ้น  ชาวฮัคส์ก็ใช้วิธีแบบเดียวกับจีนคอมมิวนิสต์ ในระหว่างสงครามกลางเมือง ผู้คนอยู่ในความตื่นตระหนก และเสียชีวิตจำนวนไม่น้อย

ทุกหมู่บ้านที่ฮัคส์ไปยึดครองอย่างน้อยจะมีการสังหารเจ้าหน้าที่ของรัฐคนหนึ่งเสมอๆ โดยจับเอาไปแขวนคอบนต้นไม้ หรือไม่ก็มัดกับหลักประจานแขวนป้ายไว้ว่า “เขาขัดขืนพวกฮัคส์แนวแดงจึงต้องตายแบบนี้”

มะนิลา บอย รู้เรื่องต่างๆ ดี อีกทั้งยังรู้ว่า แผนการลับของคอมมิวนิสต์ที่กำลังหนุนให้ชาวฟิลิปปินส์ลุกฮือในฤดูใบไม้ผลิ ปี ๑๙๕๒ นั้นด้วย อาวุธนั้นทางรัสเซียกำหนดว่าจะถึงฟิลิปปินส์โดยผ่านพม่าและจีน โดยมากับเรือของโปแลนด์ พวกฮัคส์ก็รู้เรื่องดีว่า มะนิลา บอย เล่นไม่ซื่อกับฮัคส์เสียแล้ว โดยนำเอาแผนไปแฉเสียหมด  ดังนั้น จึงมีมติออกมาให้สังหาร ทั้งแม็กไซไซ และ มะนิลา บอย ทั้งสองคน

โดยมอบหน้าที่ให้ “โยส  ไรแซล”  ซึ่งปู่เขาเป็นวีระชนที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์คนหนึ่ง

เขาวางแผนนัดแม็กไซไซ และ มะนิลา บอย เพื่อเจรจาในวันที่ ๑ กันยายน ค.ศ.๑๙๕๑ โดยวางแผนว่าระหว่างที่ “โยส” กำลังเจรจากับ มะนิลา บอย และแม็กไซไซอยู่นั้น ชาวฮัคส์สองคนจะเป็นเพชฌฆาต จะขึ้นรถจิ๊ปบึ่งมาพร้อมกับปืนกลเล็กสังหารเหยื่อเสียทั้งสอง

ครั้นถึงเวลานัดหมาย โยส ไรแซล กลับไปหาแม็กไซไซที่บ้านพักไม่ได้ไปที่ทำงาน  จริงอยู่ โยส ไรแซล เป็นคอมมิวนิสต์คนหนึ่งก็จริง แต่เขาก็เชื่อและรับฟังความคิดเห็นของบุคคลทั้งสองที่กำลังรณรงค์เพื่ออิสรภาพของฟิลิปปินส์

ดังนั้น โยสจึงเป็นอีกคนหนึ่งที่เปลี่ยนใจและรับสารภาพแต่โดยดี ในที่สุดเขาก็เหมือน มะนิลา บอย คือเปลี่ยนใจไปร่วมกับแม็กไซไซ

ทั้งสองได้ให้ความรู้ของพวกฮัคส์ถึงวิธีการสู้กับพวกสมุนโซเวียตที่ดีที่สุด อีกทั้งแนะวิธีชนะใจคนยากคนจน รวมทั้งการออกกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ซึ่งจะต้องทำด่วนที่สุดเพื่อช่วยชาวนา

“ทำไมพวกเราไม่ทำให้เกาะฟิลิปปินส์ทั้งหมดปลอดจากอิทธิพลของชาวต่างด้าว” ชาวฟิลิปปินส์ถูกเร่งเร้าให้ทำตามคำขวัญนี้ทันที

มะนิลา บอย และไรแซล ได้แนะนำให้รัฐบาลล้มระบบนายทุน หรือเจ้าของที่ดินเสียให้สิ้น และให้จัดตั้งรัฐบาลประชาชนที่แท้จริงเสียให้หมด โดยมีรากฐานประชาธิปไตย กำจัดเผด็จการคอมมิวนิสต์ให้สิ้น พร้อมๆ กับยกเลิกระบบเจ้าขุนมูลนายให้สิ้นสุดกันเสียที

สิ่งที่จะต้องทำประการแรกก็คือ รีบทำลายกองบัญชาการสูงสุดของพวกฮัคส์กับบรรดาหัวหน้าคอมมิวนิสต์ที่กำลังปฏิบัติการอยู่ในขณะนี้ไปให้สิ้นซาก ซึ่ง มะนิลา บอย กับไรแซล ต้องรับภาระงานหนัก  มะนิลา บอย รู้ดีว่าผู้หญิงสูงอายุคนหนึ่งซึ่งเขารู้จักดี เป็นผู้นำเอาเสบียงอาหารไปส่งเลี้ยงบรรดาคอมมิวนิสต์ระดับสูงเป็นประจำ  โดยนำเอาอาหารใส่ท่อแล้วรวมใส่กระจาด ตะกร้า  หญิงชราผู้นี้เป็นผู้ซื้อเนื้อ ขนมปัง ไขมัน เอาไปให้พวกคอมมิวนิสต์  มะนิลา บอย กับไรแซลได้ให้สายสืบออกติดตาม เพื่อจะสืบรู้ถึงถิ่นที่อยู่และชื่อของคอมมิวนิสต์ระดับใหญ่ๆ ทุกคน

ใช้เวลาเพียงสัปดาห์เดียว บรรดาหัวหน้าใหญ่ๆ ในฟิลิปปินส์ก็ถูกจับหมดสิ้น สิ่งที่แม็กไซไซตกใจมากก็คือเมื่อได้ทราบว่า หัวหน้าใหญ่ที่จับมาได้นั้น ผู้นั้นคือ ศาสตราจารย์โยส ลาวา จากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ผู้มีใจเมตตากรุณา มารยาทนิ่มนวล น่านับถือ และเป็นบุคคลผู้เดียวที่แม็กไซไซมักจะไปร่วมรับประทานอาหารกลางวันด้วยสัปดาห์ละครั้ง

ปรากฏว่าท่านศาสตราจารย์ผู้นี้ ได้ร่วมงานอยู่กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่พยายามจะเอาชีวิตแม็กไซไซถึงสองหน

การกวาดล้างได้กระทำการเป็นผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ หน่วยราชการลับของทหารไม่เพียงแต่พบบุคคลที่อยู่ในกลุ่มคอมมิวนิสต์เท่านั้น แต่ยังได้ค้นพบอาวุธ เอกสาร และรหัสลับที่ติดต่อโยงใยไปทั่วแปซิฟัก ไม่ช้าบุคคลเหล่านี้ที่ถูกจับก็ถูกนำขึ้นศาลทุกคน แต่ละคนไม่ถูกประหารชีวิต ก็จำคุกตลอดชีวิต

จากการปราบคอมมิวนิสต์ในฟิลิปปินส์ทำให้เด็กจำนวนพันขาดพ่อและแม่ พวกผู้หญิงหลบหนตามกองทัพฮัคส์ ทิ้งลูกเล็กไว้เบื้องหลัง

มะนิลา บอย จับงานสวัสดิการทันที โดยหาทางให้ครอบครัวได้พบกันพ่อแม่ลูก โดยหวังว่าพ่อแม่จะกลับมาพบลูกด้วยวิธีการนี้ ทำให้รู้แหล่งพรรคคอมมิวนิสต์ และได้รู้ว่าจะมีการนัดประชุมใหญ่วางแผนเข้าปล้นคุกชิงตัวหัวหน้าคอมมิวนิสต์ที่ถูกจำขังอยู่ เขาแจ้งให้แม็กไซไซทราบ

ระหว่างที่หัวหน้าคอมมิวนิสต์ร่วมประชุมในป่า ทหารก็บุกเข้าไป บรรดาหัวหน้าขบวนได้ทำการต่อสู้ เสียชีวิตทั้งหมด ๒๖ คน เป็นการกวาดล้างพวกฮัคส์ระดับหัวหน้าที่ยังเหลือเกือบทั้งสิ้น

ทั้ง มะนิลา บอย และไรแซล ได้ช่วยกันปรับปรุงนโยบาย ทั้งสองยังคนเดินเท้าเปล่าไม่สวมรองเท้าวิ่งไปวิ่งมาเช่นเด็กชาวนาคนหนึ่ง พวกเขาช่วยกันปรับปรุงนโยบายของแม็กไซไซ และนายพลดูเก้ได้ออกกฎหมายปฏิรูปที่ดินประกาศใช้จนได้

พร้อมกันนั้นได้มีกฎหมายฉบับใหม่ ซึ่งชาวฮัคส์ มะนิลา บอย และไรแซล ร่วมกับรัฐบาลว่า หากทหารคนใดที่เข้าไปมีผลประโยชน์จากเจ้าของที่ดินให้ส่งตัวขึ้นศาลทหารทันที และหากทหารผู้ใดเผาบ้านเรือนหรือข่มขืนหรือลักขโมยก็เช่นเดียวกัน กองทัพฟิลิปปินส์แปรสภาพเป็นกองทัพใหม่ทันที ทหารกลับตัวเป็นมิตรกับชาวนาผู้ยากจน มีการจัดแบ่งที่ดินที่นาให้กับชาวนาเป็นเจ้าของ

อัตราค่าเช่าบ้านเรือนก็ถูกจำกัดโดยกฎหมาย ชาวนาผู้ไม่รู้หนังสือทุกคนใครจะเก็บภาษีค่าผลิตผลที่ได้รับมากกว่า ๓๐ เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่านา หรืออะไรก็ตาม หากใครเก็บเกินกว่า ๓๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว รัฐบาลก็จะเป็นอัยการจัดฟ้องร้องต่อศาล ชาวฮัคส์ที่เคยเป็นศัตรูก็เลยบูชาเขา พวกที่ถูกจับพ้นโทษออกมาเขาก็จะได้ทำงานทันที

นี่หาก มะนิลา บอย และโยส  สังหารแม็กไซไซเสีย ประธานาธิบดีคนต่อไป เรื่องเช่นนี้คงไม่มี  บัดนี้ ทั้งสามได้มาร่วมงานกัน และก็ภาคภูมิใจในผลงานที่ได้ทำ คำขวัญของเขามีว่า “ชาวฟิลิปปินส์จะเป็นชาวรัสเซียไม่ได้

ประชาชนฟิลิปปินส์เลือก รามอน แม็กไซไซ เป็นประธานาธิบดี เขาเป็นประธานาธิบดีคนที่ ๓ ของฟิลิปปินส์ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๕๓

ในวันที่ ๑๖ มีนาคม ค.ศ.๑๙๕๘ ประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ของฟิลิปปินส์ท่านนี้ไม่ได้เสียชีวิตด้วยการลอบสังหาร  รามอน แม็กไซไซ ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินชนภูเขามานันกัล  เกาะเซบู เสียชีวิตด้วยอายุเพียง ๕๐ ปี



สภาพเครื่องบินตกหลังจากแม็กไซไซประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต

ที่มา : คอลัมน์ บันทึกวันวาร โดย สังคีต จันทนะโพธิ นิตยสารสกุลไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 สิงหาคม 2558 15:19:55 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2558 14:05:33 »

.


อันวาร์ ซาดัต อดีตประธานาธิบดีอียิปต์
เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ

ดับคนดัง - วันสังหาร
อันวาร์ ซาดัต แห่งอียิปต์

กลางนครหลวงอียิปต์ นครเก่าแก่และรุ่งเรืองที่สุด

วันที่ ๖ ตุลาคม ๑๙๘๑ เวลาเกือบบ่ายโมง แสงแดดแผดกล้าร้อนแรงไปทั่ว มีพิธีสวนสนามของเหล่าทหารหาญนับหมื่น เนื่องในวันครบรอบปีที่ ๘ แห่งการยุติสงครามบ้าเลือด ระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล ที่ยืดเยื้อติดต่อกันมานานถึง ๓๐ ปี

ผู้เป็นประธานในพิธีอันเกริกเกียรติท่ามกลางประชาชนนับหมื่นคนในครั้งนี้ก็คือ ประธานาธิบดีอันวาร์ ซาตัด บุรุษเหล็กแห่งอียิปต์ ผู้เป็นกำลังสำคัญในการยุติสงครามกับอิสราเอล เป็นการสร้างสันติภาพให้แก่ตะวันออกกลาง จนกระทั่งได้รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพโลก

ขณะที่พิธีสวนสนามกำลังดำเนินการไปได้เล็กน้อย ประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ กำลังยืนทำความเคารพแถวทหารที่เดินสวนสนามผ่านหน้าไป โดยมี ออสนี มูบารัค รองประธานาธิบดี และ อบู กาซาร่า รัฐมนตรีมหาดไทย ยืนกระหนาบข้างพร้อมด้วย พลเอก อับเดล รับนาบี ฮาเฟซ เสนาธิการทหารอียิปต์ และผู้ช่วยของประธานาธิบดี รวมทั้งรัฐมนตรีกลาโหม และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งของอียิปต์ และทูตานุทูตต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก

แล้วนาทีสุดสยองก็อุบัติขึ้นอย่างไม่มีใครคาดฝัน นายทหารหน่วยคอมมานโด ๖ คน หัวหน้าใหญ่ยศพันตรี มีผู้ช่วยยศร้อยโท ๒ คน พลทหารอีก ๔ คน นั่งรถจี๊ปเคลื่อนมากับขบวนพาเหรด ขณะที่ผ่านหน้าปะรำพิธีของซาดัต รถจี๊ปคันนั้นก็หยุด และจอดลง ทหารคนหนึ่งโดดลงมาเปิดกระโปรงรถดูคล้ายๆ ว่ารถเกิดเสีย แต่ขณะเดียวกันนั้น ทหารอีก ๓ คน ที่นั่งมาด้วยกลายเป็นเพชฌฆาต ขว้างระเบิด ๓ ลูกใส่ปะรำพิธี เสียงระเบิดดังกึกก้องสนั่นหวั่นไหว พร้อมกันนั้น กลุ่มเพชฌฆาตทั้งหมดก็กระโดดลงจากรถจี๊ปพร้อมกับสาดกระสุนจากปืนกลมืออย่างหูดับตับไหม้ เป้าหมายคือร่างสูงของประธานาธิบดีและทุกๆ คนที่นั่งเป็นแขกในพิธี

เสียงปืนรัวขึ้นอย่างถี่ยิบ พร้อมกับเสียงตะโกนก้องจากกลุ่มมือปืน “อียิปต์จงเจริญ ซาดัต ขี้ข้าต่างชาติ จงพินาศ”

ท่ามกลางเสียงห่ากระสุน ร่างของท่านประธานาธิบดีก็ล้มคว่ำลงจมกองเลือดบนพื้นปะรำพิธี พร้อมด้วยคณะเสนาธิการทหาร ร่างโชกเลือดอีกหลายคน ทุกคนที่เคราะห์ร้าย ถูกหามขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปส่งโรงพยาบาลทหารมาตี ในกรุงไคโรเป็นการด่วน

ที่โรงพยาบาล ร่างประธานาธิบดีถูกนำเข้าห้องผ่าตัดด่วน เพื่อช่วยชีวิตอย่างสุดความสามารถ มีการให้เลือดและปั๊มหัวใจให้ทำงาน แต่ก็ไร้ผล

ประธานาธิบดี อันวาร์ ซาดัต ผู้ใฝ่สันติภาพของอียิปต์ เสียชีวิตด้วยกระสุนปืน เจาะเข้าที่อกด้านซ้าย ๒ รูใหญ่ กระสุนอีกนัดหนึ่งเจาะเข้าที่ลำคอ เหนือกระดูกไหปลาร้าด้านขวา หัวเข่าขวา และด้านหลังสะโพกจนยับเยิน

ผู้ที่เคราะห์ร้ายเสียชีวิตร่วมกับประธานาธิบดีเป็นคนใกล้ชิดกับซาดัต มีถึง ๙ ศพ และบาดเจ็บสาหัสอีก ๒๒ คน ในจำนวนผู้เสียชีวิตนั้น มี พลเอก อับเดล รับนาบี ฮาเฟซ เสานาธิการทหารอียิปต์ และผู้ช่วยของประธานาธิบดี ๒ คน ส่วนนอกนั้นล้วนแต่เป็นบุคคลสำคัญระดับชาติทั้งของอียิปต์และต่างประเทศ ที่มาร่วมพิธีสำคัญครั้งนี้ด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น มือปืนในเครื่องแบบที่ปฏิบัติการสุดโหดครั้งนี้ ถูกหน่วยรักษาความปลอดภัยประจำตัว อันวาร์ ซาดัต ยิงคว่ำไปถึง ๓ คน คนแรกคือ พันตรี หัวหน้าโดนกระสุนหลายนัดเข้าที่สำคัญ ตายคาที่กับลูกน้องอีกหนึ่งคน ส่วนที่เหลืออีก ๓ คน ถูกจับได้ทั้งหมด

หลังจากนาทีสยองผ่านไป กระทรวงมหาดไทย ประกาศภาวะฉุกเฉินไม่ให้ชาวอียิปต์ร่วมชุมนุมหรือเดินขบวน ทั้งนี้เพื่อปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของอียิปต์ แต่ฝูงคนนับหมื่นออกไปที่ทำเนียบรัฐบาล ตำรวจทหารพร้อมอาวุธถูกส่งไปรักษาการณ์ตามสี่แยกทั่วๆไปของกรุงไคโร ประชาชนนับหมื่นร่วมไปแสดงความเสียใจในมรณกรรมของผู้นำของเขา

ขณะเดียวกัน บรรดาผู้นำทางทหารของสหรัฐฯ เปิดประชุมฉุกเฉิน กองทัพเรืองที่ ๖ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เตรียมพร้อม

รองประธานาธิบดีออสนี มูบารัค ประกาศจะก้าวเดินตามรอยเลือดของซาดัต โดยออกโทรทัศน์พบประชาชน แจ้งข่าวการเสียชีวิตของซาดัตว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า ผู้นำอียิปต์ทุกคนพร้อมอุทิศเลือดเนื้อ กาย ใจ และวิญญาณ เพื่อปกป้องรักษารัฐธรรมนูญ และยังผูกพันอยู่กับสนธิสัญญา ข้อตกลงต่างๆ กับนานาประเทศ

ขณะเดียวกัน รัฐสภาอียิปต์ก็แต่งตั้ง ซูพี อาบูทาเล็บ ประธานรัฐสภาเข้ารักษาการณ์เป็นประธานาธิบดี ๖๐ วัน เป็นการชั่วคราว



http://f.ptcdn.info/022/012/000/1384212735-800pxSadat-o.jpg
ดับคนดัง - วินาทีสังหารบุคคลสำคัญของโลก

     อัลวาร์ ซาดัต และ จิมมี่ คาร์เตอร์

ข่าวการถูกสังหารโหดเหี้ยมของประธานาธิบดีอียิปต์แพร่สะพัดกระจายไปทั่วโลก ผู้นำนานาประเทศต่างกล่าวสดุดีและเสียดายซาดัตอย่างยิ่ง ประธานาธิบดีเรแกน แห่งสหรัฐฯ กล่าวอย่างซึมเศร้าว่า ได้สูญเสียมิตรที่ดีอย่างซาดัตไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง นายกเบนาเฮม เบกิ้น ของอิสราเอล ประกาศสดุดีเกียรติคุณของซาดัต และเรียกร้องให้สหรัฐฯ ดำเนินการต่างๆ ตามเจตจำนงของซาดัดก่อนตาย

ทางมอสโกกล่าวว่า การตายของซาดัต เนื่องมาจากซาดัตเจรจาสงบศึกกับยิวผู้รุกราน และเป็นการไปร่วมมือกับสหรัฐฯ

ที่เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ซึ่งกำลังประชุมเครือจักรภพ เมื่อได้รับข่าวการตายของซาดัต ทำให้ทุกคนตกตะลึง ตกใจในวิธีการสังหารอย่างโหดเหี้ยมและแผนชั่วที่ใช้ฆ่าผู้นำประเทศ ต่างเร่งส่งสาส์นแสดงความเสียใจไปยังรัฐบาลอียิปต์

ทางด้านอาหรับหัวรุนแรง กลุ่มประเทศที่เกลียดชังซาดัต ต่างพากันยินดีปรีดา มีการร้องรำทำเพลงไปตามถนน พวกองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ในลิเบีย และที่อื่นๆ บรรดาหัวหน้ากลุ่มอาหรับรุนแรง ต่างสมน้ำหน้าซาดัต บอกว่าคนทรยศใช้หนี้ชีวิตไปแล้ว ถือเป็นบทเรียนเตือนใจคนอาหรับทั้งหลาย

พิธีศพของประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่แห่งอียิปต์ ถูกกำหนดขึ้นอย่างสมเกียรติ ในวันเสาร์ที่ ๑๐ ตุลาคม ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ โดยรองประธานาธิบดีมูบารัค เป็นผู้กำหนดขึ้น ส่วนรัฐบาลไทย ส่ง พลเอก เสริม ณ นคร รองนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น เป็นตัวแทนรัฐบาลไปร่วมพิธีครั้งนี้ พร้อมกันได้อัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงความสลดพระราชหฤทัยไปพระราชทานแก่ มาดามซาดัต และรัฐบาลอียิปต์ด้วย

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนที่ซาดัตจะถูกสังหาร สหรัฐฯ ทุ่มเงินกว่า ๕๐๐ ล้านบาท เพื่อปกปักรักษาชีวิตของซาดัต  นสพ.วอชิงตันโพสต์ เผยว่า เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ได้ส่งเฮลิคอปเตอร์หุ้มเกราะมาให้ใช้ และ ซี.ไอ.เอของสหรัฐฯ จะเป็นหูเป็นตาคอยสอดแนมรายงานความเคลื่อนไหวต่างๆ ต่อแผนการร้ายที่มุ่งสังหารเอาชีวิตซาดัต ทั้งที่อยู่ในประเทศ และขณะเดินทางไปยังต่างประเทศ เครื่องบินพิเศษ ซึ่งมีอุปกรณ์ประดุจหูทิพย์ ตาทิพย์ จะจับตารายงานดูความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่ระดับสูงสหรัฐฯ ยืนยันว่า ซาดัตได้รับการคุ้มกันในขั้นที่เรียกว่า ดีที่สุดในโลกคนหนึ่ง

แต่พวกอาหรับหัวรุนแรงทั้งหลาย ซึ่งจงเกลียดจงชัง อันวาร์ ซาดัต มากที่ยอมทำสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล ผู้รุกรานและรุกรบขับเคี่ยวกันมาถึง ๓๐ ปี หาได้สิ้นความพยายามที่จะสังหารซาดัตไม่ แม้ว่าแผนการร้ายต่างๆ ในการสังหารซาดัต ถูกทำลายครั้งแล้วครั้งเล่า อีกทั้งการปกป้องรักษาชีวิตของซาดัตจะเข้มงวดสักปานใด กลุ่มเพชฌฆาตก็เปลี่ยนแผนทำงานและทำให้สำเร็จจนได้

แม้ว่าวันนั้น วันที่ซาดัตถูกสังหาร ซาดัตจะใส่เสื้อเกราะป้องกันตัวก่อนเกิดเหตุ และมีหน่วย รปภ.มีอาวุธครบมือรายล้อมรอบด้าน แต่แผนสังหารที่แนบเนียนของกลุ่มมือเพชฌฆาตก็ดำเนินไปได้ โดยคนร้ายทำทีว่ารถจี๊ปเสีย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ จนขาดความระมัดระวัง และกลุ่มทหารจากรถกระโดดลงมาอย่างรวดเร็ว ขว้างระเบิดถึง ๓ ลูกเข้าใส่ พร้อมด้วยการยิงด้วยปืนออโตเมติคอันร้ายแรงอย่างหูดับตับไหม้ จนเกราะอ่อนของซาดัตไม่อาจป้องกันได้ อีกทั้งหน่วย รปภ.ตอบโต้ช้าไป โดยเฉพาะเครื่องแบบของซาดัตเป็นสีเขียวสดใส เป็นเป้าหมายเด่น เห็นได้ชัดแต่ไกล จึงเป็นจุดตายที่ดีที่สุดของกลุ่มเพชฌฆาต

สาเหตุที่ซาดัตถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมครั้งนี้ นอกจากจะมีปมสำคัญมาจากพวกอาหรับหัวรุนแรงที่จงเกลียดจงชังซาดัตแล้ว ก็ยังมีผู้ไม่ปักใจเชื่อว่าจะมีเบื้องหลังเป็นอย่างอื่นเป็นสาเหตุอีก ความคิดของพวกอาหรับหัวรุนแรงพวกนี้ถือว่าผู้ที่ยอมก้มหัวให้ยิว ถือว่าเป็นศัตรูของอาหรับทั้งมวล กระทั่งมอสโก รัสเซีย ก็ถือว่าซาดัตเป็นศัตรู โดยประกาศออกทางวิทยุว่า ซาดัตตายเพราะไปเจรจาสงบศึกกับยิว และหันไปร่วมมือกับสหรัฐฯ นั่นเอง

ในบรรดารัฐบุรุษวงการเมืองโลกที่โด่งดังในยุคนั้น นอกจาก จิมมี่ คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือ เบรสเนฟ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แล้ว ซาดัตก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น เขามีข่าวปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วโลกอยู่เสมอ เขาได้รับการกล่าวขวัญถึงในฐานะที่เป็นผู้ตัดสินใจอย่างเฉลียวฉลาดในทางการเมืองและการทหาร ตลอดจนการเจรจาสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่ในตะวันออกกลาง



   

ซาดัต มีชื่อเต็มว่า อันวาร์ เอล ซาดัต เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ที่บ้านมิต อาบู คอม ในดินแดนสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำไนล์ เขาเกิดจากตระกูลที่ไม่สูงส่ง พ่อเป็นเสมียนชั้นผู้น้อยในโรงพยาบาลใกล้บ้าน ส่วนแม่มีเชื้อสายซูดาน ที่อพยพมาอยู่อียิปต์

พ.ศ.๒๔๙๘ ซาดัตได้เข้าโรงเรียนนายร้อยทหารของอียิปต์ และเขาได้พบกับ อับเดล กามาล นัสเซอร์ วีรบุรุษแห่งอียิปต์ ผู้ซึ่งต่อมาได้ทำการรัฐประหารล้มกษัตริย์ฟารุค และได้ประกาศตนเป็นประธานาธิบดี และเปลี่ยนการปกครองประเทศอียิปต์เป็นระบอบสาธารณรัฐ

ซาดัตเข้าสู่การเมืองโดยเหตุผลักดัน ๒ ประการ คือ การคอร์รัปชั่นของบรรดาข้าราชการซึ่งเป็นบริวารของกษัตริย์ฟารุค และการที่อียิปต์ต้องตกเป็นเมืองในอาณัติของอังกฤษ

ครั้งแรก ซาดัตถูกจับเข้าคุกโดยตำรวจลับของฟารุค แต่ก็ติดคุกอยู่ได้ปีกับเจ็ดเดือนเท่านั้น ซาดัตก็ทำการแหกคุกหนีออกมาได้ แต่ก็ต้องหลบๆ ซ่อนๆ อยู่ตลอดเวลา  โดยทำงานเป็นคนขับรถบรรทุกบ้าง สุดแต่โอกาสจะอำนวย เพื่อมีชีวิตรอดไปวันๆ เป็นแม้กระทั่งบ๋อยโรงแรม จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง และเคราะห์กรรมยังไม่สิ้น ซาดัตถูกจับอีกครั้งในข้อหาที่ร้ายแรง คือ พยายามลอบสังหารนักการเมืองที่สนับสนุนอังกฤษ แต่ครั้งนี้ติดคุกเพียง ๒ ปีครึ่ง ก็ได้รับการปลดปล่อยและกลับเข้ารับราชการในกองทัพบกอียิปต์ ด้วยยศเท่าเดิม คือ พันโท

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๓ นัสเซอร์ทำการรัฐประหารสำเร็จ ล้มกษัตริย์ฟารุคได้ และเปลี่ยนการปกครองอียิปต์เป็นระบอบสาธารณรัฐ นัสเซอร์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ซาดัตได้เลื่อนยศเป็นพันเอก และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานาธิบดีจนกระทั่งนัสเซอร์ตายเมื่อปี ๒๕๑๓ ซาดัตจึงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี

ทันทีที่ได้รับตำแหน่ง ก็มีกลุ่มนักการเมืองบางกลุ่ม ต้องการทดสอบลองของทันที ด้วยการทำรัฐประหารโค่นล้มซาดัต เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ แต่ก็ถูกซาดัตจับได้หมด มีการกวาดล้างครั้งใหญ่สำหรับนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม ซึ่งในจำนวนนี้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรวมอยู่ด้วย

เมื่อกวาดล้างศัตรูแล้ว ซาดัตก็เปลี่ยนนโยบายการเมืองระหว่างประเทศใหม่ โดยหันมาสนับสนุนและเป็นมิตรกับอเมริกา หลังจากที่ความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสองต้องขาดสะบั้นลงในสมัยของนัสเซอร์ เมื่อปี ๒๕๑๐ เวลาเดียวกัน ซาดัตสั่งให้รัสเซียถอนทหาร ตลอดจนที่ปรึกษาทางการทหารออกไปเสียจากอียิปต์จนหมดสิ้น สาเหตุมาจากรัสเซียเอาเปรียบอียิปต์มาก

ยิ่งกว่านั้น ซาดัตยังได้ผูกสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดสนิทสนมเป็นอย่างมากกับเศรษฐีน้ำมันซาอุดิอาราเบีย จนได้รับเงินสนับสนุนในการทำสงคราม เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖ ซึ่งสงครามครั้งนี้ได้เปลี่ยนโฉมหน้าทางประวัติศาสตร์ของตะวันออกกลางโดยสิ้นเชิง โดยอียิปต์ได้ดินแดนคืนจากการยึดครองของอิสราเอลเป็นจำนวนมาก ซาดัตได้กลายเป็นวีรบุรุษของโลกอาหรับทันที เพราะเป็นครั้งแรกที่อาหรับชนะยิวในสงครามอันศักดิ์สิทธิ์ ชัยชนะของอียิปต์ครั้งนี้ ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างชาติมหาอำนาจ จนทำให้หวั่นไปว่า จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๓ แต่ในที่สุดก็มีการออมชอมกันระหว่างอียิปต์กับซีเรีย ได้ดินแดนบางส่วนคืน

แต่แล้ว ชาวโลกต้องตกตะลึงจากข่าวใหญ่คือ ซาดัตตัดสินใจไปเยือนกรุงเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล เพื่อเจรจาสันติภาพ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐ การกระทำของซาดัตครั้งนี้ ทำให้โลกของคนอาหรับทั้งมวลมีปฏิกิริยาต่อเขาอย่างรุนแรง ถึงกับประณามว่า “คนทรยศ” ซาดัตต้องใช้หนี้ครั้งนี้ด้วยชีวิต แต่ขณะเดียวกันการกระทำของซาดัตได้เป็นที่กล่าวขวัญมากที่สุดไปทั่วโลก เขาได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุรุษหมายเลข ๑ แห่งปี และยังได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพของโลก ในปีนั้นด้วย

เพราะการกระทำอย่างห้าวหาญของซาดัตในครั้งนี้ ทำให้ชาวอาหรับหัวรุนแรงผู้เคร่งศาสนาและชิงชังชาวยิวทั้งมวลหาทางสังหารเขา เพื่อชนใช้หนี้ทรยศให้จงได้ ท่ามกลางการทุ่มเทเงินทอง เงินลงขัน เพื่อปกป้องอารักขาชีวิตซาดัตอย่างมหาศาล ที่สหรัฐฯ ผู้เป็นตัวการให้ซาดัตจับมือทำสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล ทุ่มมาให้ถึง ๕๐๐ ล้านบาท

แต่วาระสุดท้ายของเขาก็มาถึงจนได้ ประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่แห่งอียิปต์ อันวาร์ ซาดัต ถูกกลุ่มเพชฌฆาตในคราบทหาร สาดกระสุนปืนใส่จนสิ้นชีวิต เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๒๔ เขามีชีวิตยืนยาวบนเวทีการต่อสู้มาอย่างทรหดถึง ๖๒ ปีเต็ม

ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสืบมา คือ ออสนี มูบารัค รองประธานาธิบดี ผู้ประกาศเดินตามรอยเลือดของเขานั่นเอง



ที่มา : คอลัมน์ บันทึกวันวาร โดย สังคีต จันทนะโพธิ นิตยสารสกุลไทย
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.757 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 21 เมษายน 2567 04:53:56