[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 06:11:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความดื้อ  (อ่าน 1624 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wondermay
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 09 มกราคม 2554 17:38:38 »

ความดื้อเป็นอาการที่จิตใจไม่โอนอ่อนผ่อนตาม

-โดยทั่วไป จิตใจเอนเอียงไปทางความอยาก ความต้องการ ความเชื่อ และความคิดเห็น ที่ยอมรับ
  ความดื้อมีทั้งดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าจิตใจจะยอมรับข้อมูลที่ดีหรือไม่ดี ข้อมูลที่ดีคือข้อมูลที่มาจากความเห็นที่ถูกต้อง
-ความดื้อ มักจะมีความยึดมั่น ความเกร็ง และมีพลังต่อต้านอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ แต่เวลาพูดถึงความดื้อเรามักจะมองว่าเป็นเรื่องไม่ดี
-ดื้อเรื่อย ๆ จะกลายเป็นนิสัย
-คนดื้อมักไม่ชอบคนดื้อที่ขัดแย้งกับตน ไม่ชอบให้ใครมากำหนด ควบคุม หรือตรวจสอบ  ในทางกลับกันคนดื้อส่วนใหญ่ชอบอิสระเสรี (คนไม่ดื้อก็ชอบอิสระเสรีเหมือนกัน)
-คนดื้อมักยอมให้ใจเป็นใหญ่ ให้สติและปัญญาเป็นรอง

ความดื้อโดยธรรมชาติมีหลากหลาย เป็นต้นว่า
- ดื้อไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของใคร
- ดื้อบางครั้งบางคราว
- ดื้อเงียบเรียบร้อย
- ดื้อคนเดียวไม่เกี่ยวกับใคร
- ดื้อแล้วชอบกำหนด ตรวจสอบคนอื่น
- ดื้อเฉย ๆ เพราะไม่รู้
- ดื้อ แม้ว่าจะรู้ แต่ยอมตาม ปล่อยเลยตามเลย
- ดื้อยอมเฉพาะบางเรื่อง เช่น ยอมราคะ
- ดื้อเฉพาะกับบางคน
- ดื้อต่อกิเลสตัณหา (อันนี้หายาก)

ใคร ๆ ก็ดื้อได้ เป็นเรื่องธรรมดา  ไม่ดื้อซิเป็นหนึ่งในร้อย  คำว่า "ดื้อ" ในบทความนี้ ต่อจากนี้จะสนใจเฉพาะความดื้อที่ดื้อต่อสติและปัญญา

การจัดการกับคนดื้อคนอื่น
ถ้าดื้อในทางไม่ดี แล้วเขายังมีกิเลสอยู่ ยังยอมให้ใจเป็นใหญ่ เหนือสติและปัญญา เขาก็มักจะต้องดื้อ  เมื่อเขาแสดงอาการดื้อออกมา เราจะรับรู้ได้ถึงพลังงานนั้น
บ่อยครั้งที่เบื้องลึกของความดื้อนั้นคือความหลง หลงในสิ่งที่ใจเขายอมรับ ณ ช่วงเวลานั้น
ความดื้อซึ่งเป็นความหลง เมื่อประกอบกับกิเลสตัวอื่น เช่น ความโกรธ ความอาฆาต ความโลภ การถือตัวตน หรือความเชื่อ จะทำความเสียหายเดือดร้อนให้คนอื่นมาก
คนดื้อเป็นคนที่น่าสงสาร  เขามีจุดอ่อนที่พร้อมจะทำให้ตัวเองเดือดร้อน ตัวอย่างเช่น
๑. ดื้อไม่รับฟังการสอน ทำให้ไม่เรียน ไม่เชื่อ ไม่รับ ไม่รู้เรื่อง ไม่ทำตาม จนเป็นผลให้เขาเสียโอกาส   
๒. ดื้อไม่ชอบรับฟังคำแนะนำไม่ชอบปรึกษาใคร ก็มักจะถูกเอาเปรียบจากคู่สัญญาหรือผู้ที่เขาไปติดต่อคบค้าด้วย อันเนื่องมาจากว่าตนขาดความรู้ทางเทคนิคในด้านนั้น ๆ ทำให้ถูกเขาหลอก เป็นต้น

และก็ต้องสงสารตัวเราด้วย ถ้าผลจากที่เขาดื้อตัดสินใจกระทำ ไม่ กระทำ หรือขัดขวาง กระทบกับเราด้วย อย่างนี้เราจะนิ่งดูดายหรือ?  คนดื้อที่มีอำนาจ มีศักดิ์ หรือมีเงิน เหนือกว่าเรา  เราจะทำอย่างไร? 
ขอให้ท่านผู้อ่านใช้ดุลยพินิจไตร่ตรองเป็นกรณี ๆ ไป

คนดื้อมักจะถือตัวตนและมีทิฐิมานะ
ความดื้อที่ไม่ดี นั้นไม่ดีจริง ๆ ทำให้คนที่เกี่ยวข้องอึดอัด หนักใจ และนั่นก็เป็นการสร้างวิบากกรรมให้แก่ผู้ดื้อเองด้วย
การที่เราอยู่ในสังคม เราควรเดินสายกลาง คือไม่ทอดทิ้งปล่อยปละละเลย ก็ในเมื่อเราไม่ยุ่งแต่ผลมันจะกระทบกับเรา กระทบสังคมส่วนรวม เราก็ควรยุ่ง แต่ก็ไม่ควรยุ่งหยุมหยิม
จะทำให้ความสงบสุข ความราบรื่น หายไป  เราจึงควรเกี่ยวข้องในลักษณะพอเหมาะพอดีจะแก้ความดื้อในคนอื่นให้ได้จริง ๆ มักจะต้องโน้มน้าวให้เขายอมรับข้อมูลที่ถูกต้อง เกิดความเห็นที่ถูกต้อง มีสติและปัญญาที่มีกำลังเพียงพอ  กับผู้ใหญ่ที่ยึดถือในความเชื่อใดอย่างเหนียวแน่น
เป็นการยากที่สุดที่จะทำให้เขาละความดื้อได้
การดื้อจึงอาจเป็นการต่อสู้ทางความคิดระหว่างสองคน คือคิดเห็นต่างกัน ซึ่งแต่ละคนต่างก็ยึดมั่นในความคิดเห็นของตน

การจะทำให้คนดื้อเกิดความเห็นที่ถูกต้องนั้น ยาก แต่ก็พอมีวิธีอยู่บ้าง เรื่องนี้ต้องใช้ศิลปะ ต้องใช้เวลา และก็ไม่รับประกันผล  หากทำได้แล้วจะเกิดคุณอนันต์ต่อตัว คนดื้อและต่อคนที่เกี่ยวข้องกับเขา

การถือตัวตนและทิฐิมานะของคนดื้อทำให้การแก้ความดื้อในตัวเขายากที่สุด


หรือบ่อยครั้ง การไม่พูดอะไรไม่พยายามเข้าไปแก้ไข กลับจะดีเสียกว่าในเบื้องต้นการจัดการกับคนดื้อสามารถทำได้ด้วยการใช้ปัญญา ศิลปะ เหตุผล ความอดทน และการปล่อยวาง
ปัญญา - คือ รู้ให้เท่าทันปัญหาเป็นกรณี ๆ ไป  เราจะต้องเข้าใจการพูดการทำของคนที่เกี่ยวข้องขณะนั้น เป็นต้นว่า อาจเป็นเพราะ คนอื่นที่เกี่ยวข้องบางคนต่างหาก ที่พูดไม่ถูกกาละเทศะ ไม่มีสติ หรืออาจเป็นเพราะคนดื้อได้เป็นฝ่ายเริ่มพูดโดยไม่มีสติก่อน ก็เป็นได้
ศิลปะ -
ได้แก่ ๑. ยืดหยุ่นในวิธีการ เช่นว่า คนดื้อเกิดทุกข์กายและไม่ยอมรับการรักษาด้วยวิธีนี้ ก็อาจจะเลือกใช้วิธีอื่น   
       ๒. โน้มน้าวเรียกร้องให้เขารับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
ปล่อยวาง - ในกรณีโดยทั่วไป ส่วนมาก เราควรจะปล่อยวาง  เว้นแต่เห็นว่าอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายเดือดร้อนมาก
เหตุผล - ในกรณีที่เราจำเป็นต้องพูดคุยกับคนดื้อ ควรละอคติและมีเมตตาต่อเขา พูดคุยกับเขาอย่างมีเหตุผล ให้ข้อมูลข้อเท็จจริง แต่ไม่ต้องเรียกร้องให้เขาคุยด้วยเหตุผล และไม่จำเป็นต้องร้องขอให้เขามี "เหตุผล" ในการสนทนา  แต่ลองถามเขาว่า "ทำไม" เขาจึงยังยืนกรานอย่างนั้น เขามีเหตุผลอะไร
อดทน - พูดน้อย อดทนอดกลั้นที่จะไม่พูดเกินจำเป็น ๑. บางกรณีก็ไปปลุกการถือตัวถือตนของเขา แทนที่เขาจะเออออเห็นด้วยอย่างที่ควรจะเป็น ก็กลับมาขัดขวาง เพราะการถือตัวของเขาที่มันฟุ้งขึ้นมาแล้ว   
๒. อดกลั้นที่จะไม่แจกแจงรายละเอียดทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะกับคนดื้อเขามักจะมีความคิดของเขา เมื่อเขาไม่เห็นด้วย เขาก็มักจะแสดงความเห็นขัดแย้งในรายละเอียดต่าง ๆ ดังนั้นการพูดน้อย ไ
ม่ให้รายละเอียดเกินจำเป็น ก็จะช่วยได้

ในการสนทนา พยายามจูงเข้าสู่ความเป็นเหตุเป็นผล เป็นผู้ใหญ่ ด้วยน้ำเสียงถ้อยทีถ้อยอาศัย
ละความคิดเห็นของเรา - เราจะให้เขายอมรับฟังเรา เทคนิคหนึ่งที่ช่วยได้มากคือการละความคิดเห็นของเราเอง ดูวิธีละความคิดเห็นของตนในท้ายบทความนี้
ดีเสมอต้นเสมอปลาย - จริงใจ ดีกับเขา อย่างสม่ำเสมอ
นอกจากแนวทางข้างต้นแล้ว
๑. อาจจะสนใจดูจิตใจตนเองไปพร้อม ๆ กัน และ
๒. เหมือนเคย คือไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวใด ๆ แม้แต่แนวทางที่กล่าวถึงมาแล้วทั้งหมด ก็ยึดถือยึดติดไม่ได้
การจัดการกับคนผู้มีทิฐิมานะ อาจจะใช้พรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะข้ออุเบกขา และขจัดทิฐิมานะในจิตใจของเราเองด้วย

การจัดการกับความดื้อในจิตใจตนเอง

นิสัยหรือการคิดพูดทำที่เป็นอุปสรรคต่อความสุขและความสำเร็จ "ที่เรารู้แล้วว่ามันไม่ดี  แม้ว่าขณะนั้นจะมีสติรู้ แต่เราแพ้ ไม่ว่าจะแพ้ด้วยความอยากที่มีกำลัง การยอม หรือการไม่รู้" ก็ตาม  เพราะเราดื้อต่อสติและปัญญา สติมีกำลังน้อย ยอมตามใจ

ทางเลือกในการจัดการกับความดื้อในจิตใจ ได้แก่

๑. ดื้อตรงกันข้าม หันมาดื้อต่อนิสัยที่ไม่ดี ที่เป็นอุปสรรค
๒. ยกให้สติและปัญญาเป็นใหญ่ เหนือใจ
๓. ใจเป็นใหญ่ แต่รับฟังสติและปัญญาเสมอ๔. ละความดื้อ เมื่อความดื้อเกิดขึ้น ก็ละความสนใจจากความดื้อนั้น
๕. ปล่อยวาง เหมือนรถยนต์ที่กำลังแล่นเร็ว แล้วชะลอรถ อาการของการปล่อยวางคล้ายอย่างนั้น  ปล่อยวางลง ใจจะสงบ เป็นสุข   แล้วจึงรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง คำสั่ง คำแนะนำที่เป็นลักษณะกำหนดให้
ทำ  ถ้าความคิดที่เสนอมามีเหตุมีผล ก็จะเป็นโอกาสที่จะได้รับรู้ข้อมูลใหม่ ได้ทดลองแนวทางใหม่  ถึงแม้ว่าความคิดเห็นที่เสนอมา ทดลองแล้วพบว่า เป็นความคิดที่ผิดพลาด ก็ให้อภัยกันไป
๖. ละความคิดเห็นของตน

ในการยึดถือความคิดเห็น ความต้องการของเขาเป็นหนึ่งความคิด ความต้องการของเราก็เป็นอีกหนึ่งความคิด เมื่อใดที่ไม่ตรงกัน ใจเราจะไม่ยอมรับความคิดเห็นของเขาหรือความคิดเห็นอื่นใด เขาพูดหรือเราได้รับข้อมูลใหม่ เราก็จะไม่เปลี่ยนความคิด นี่คือการยึดมั่นในความคิดเห็นของตน

ในการละความคิดเห็นของตน ความต้องการของเขามีอยู่ ความต้องการของเราแปลเปลี่ยนเป็นเพียงข้อมูลด้านหนึ่ง เรามองเป็นองค์รวม ใจเรารับฟังเงื่อนไขของเขา และเปิดรับความคิดเห็นอื่นหรือข้อมูลใหม่อื่น ๆ เหล่านี้ถูกนำมาศึกษา ท้ายสุดสรุปเป็นความคิดขั้นสุดท้ายที่จะนำไปสู่การตัดสินใจ

หัวใจของการนี้คือการมองและศึกษาความคิดเห็นต่าง ๆ ในรูปของ "ข้อมูล" โดยมุ่งไปที่ข้อเท็จจริง สิ่งที่ควรจะเป็น และสิ่งที่ดีที่สุดเหมาะที่สุด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 มกราคม 2554 20:03:45 »

ขอบคุณค๊าบบบบบ

ดีนะเราไม่ดื้อ

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.31 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 19 สิงหาคม 2566 17:32:42