[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 01:33:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตายก่อนตายทำไม โดย ชยสาโร ภิกขุ  (อ่าน 3602 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 มกราคม 2554 14:22:54 »




ตายก่อนตายทำไม
โดย ชยสาโร ภิกขุ

วันนี้พวกเราทั้งหลาย ได้มีโอกาสมาบำเพ็ญกุศล เพื่ออุทิศแด่โยมผู้ล่วงลับ การบำเพ็ญกุศลนั้น เป็นสิ่งที่เราแต่ละคนต้องตั้งใจทำ เพราะกุศลไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นเอง เพียงเพราะว่ามาในวัดวาอาราม คือสถานที่ซึ่งสร้างไว้เพื่อเป็นที่บำเพ็ญกุศลโดยเฉพาะ การประกอบพิธีด้วยกายและวาจายังไม่ใช่ตัวกุศล กุศลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจของเราแต่ละคน สิ่งแวดล้อมเป็นแค่ส่วนประกอบ บรรยากาศที่เอื้อต่อการบำเพ็ญ แต่มันสำคัญที่เรา

การขอศีลก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอันงดงามของการบำเพ็ญกุศล ทั้งนี้เพราะเป็นพิธีกรรมของการกล่าวคำยืนยันความมุ่งมั่นในความดีของฝ่าย ญาติโยม พิธีกรรมนี้จะสมบูรณ์ ผู้ที่ขอศีลต้องจริงใจ กุศลจึงเกิดขึ้น หนึ่งด้วยความดำริชอบ การสมาทาน ความตั้งอกตั้งใจที่จะควบคุม กาย วาจาของตน ให้อยู่ในขอบเขตขอบข่ายของศีลธรรม ถ้าหากว่าการกล่าวคำสมาทานศีล เป็นการยืนยันว่าตัวเองพอใจ สมัครใจ ยินดีที่จะรักษาต่อไป กุศลธรรมก็เกิดขึ้นในจิตใจของเราทันที ยิ่งกว่านั้น ในกรณีของผู้ที่มีความรัก มีความเคารพในศีลของตนนานแล้ว การกล่าวคำสมาทานศีลแต่ละข้อ อาจทำให้เกิดปีติ ความปลาบปลื้มอยู่ในใจ พอกล่าวคำว่า “ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปทังสมาทิยามิ” ความรู้ ความมั่นใจว่าตัวเองบริสุทธิ์ในศีลข้อนั้น และพร้อมที่จะรักษาความบริสุทธิ์ต่อไป ทำให้เกิดความชื่นใจ เกิดความรู้สึกที่เรียกว่า ปราโมทย์ ซึ่งนำไปสู่ปีติ ปีติในคุณงามความดีของตนที่เราสังเกตเห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นคือตัวกุศล พิธีกรรมต่างๆ เป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้มีและศรัทธาปัญญา แต่อาจจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยสำหรับผู้ที่ขาดศรัทธา ขาดความตั้งใจ หรือขาดปัญญา

เรามารวมกันวันนี้เพื่อบำเพ็ญกุศล พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า บุญกุศลที่เราถือว่าเป็นสิ่งมีค่า จะเกิดขึ้นด้วยการกระทำหลายอย่าง เกิดด้วยการสมาทานศีลก็มี เกิดด้วยการให้ทานก็มี แต่ที่สำคัญที่สุด หรือที่จะเกิดอย่างสมบูรณ์ที่สุด คือบุญกุศลที่เกิดจากการภาวนา การภาวนานั้น ไม่ใช่เรื่องการนั่งหลับตา กำหนดอารมณ์กรรมฐานอย่างเดียว คำว่าภาวนานั้น มีความหมายว่า ทำให้มีขึ้น ทำให้สิ่งดีงามที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น และสิ่งที่ดีงามที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญงอกงามยิ่งๆ ขึ้นไป นี้คือการภาวนา การภาวนาซึ่งเป็นการมุ่งมั่นที่จะทำให้บุญกุศลเกิดขึ้น และเกิดแล้วเจริญงอกงามอยู่ในจิตใจของเราโดยตรง สิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นที่เรียกว่าบุญกุศลนั้น เราอาจจะแบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทหนึ่งก็คืออารมณ์ฝ่ายดีงาม อย่างเช่นความกตัญญูกตเวที เป็นต้น อีกประเภทหนึ่ง ก็คืออารมณ์ฝ่ายปัญญา

พระพุทธองค์ให้เราเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตทุกอย่าง ตั้งท่าทีของตนไว้ ว่าเราเป็นนักศึกษาชีวิต ถ้าไม่มองชีวิตอย่างนั้น ไม่ตั้งใจอย่างนั้น เรามักจะหลงใหลไปกับความรู้สึกชั่วแวบที่เกิดขึ้นในเมื่อมีสิ่งมากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความรู้สึกที่เป็นอันตรายในขณะนั้นคือความยินดีและความยินร้าย ผู้ที่ไม่มุ่งมั่นในการศึกษา ในการทำให้คุณงามความดีเกิดขึ้น ทำให้คุณงามความดีที่เกิดขึ้นนั้นเจริญงอกงามนั้น มักจะใช้ชีวิตในการสะสมสิ่งที่ทำให้รู้สึกยินดี และในการหนีจากหรือการสู้กับสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกยินร้าย ชีวิตจึงไม่มีวันสงบ เพราะว่าการที่เราจะจัดแจงชีวิต ควบคุมสิ่งแวดล้อม ควบคุมสิ่งทั้งหลายทั้งปวงให้อยู่เป็นที่พอใจตลอดเป็นไปไม่ได้

การที่เราจะไม่ต้องไปเจอกับสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกยินร้ายเป็นไปไม่ได้ จึงเป็นความพยายามที่ลมๆ แล้งๆ ที่ทำให้เราเป็นทุกข์ขัดข้องอยู่ตลอดเวลา ส่วนชาวพุทธเราผู้ที่ไฝ่จะเป็นนักภาวนา ย่อมรู้ดีว่า เราสามารถได้กำไร คือได้บุญได้กุศล แม้จากสิ่งที่เราไม่ชอบ แม้จากสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา มันขึ้นอยู่กับปัญญา อยู่ที่การชำระความยินดีในสิ่งจอมปลอม ด้วยการยินดีในการฝืนกิเลส ยินดีในการสู้สิ่งยาก ยินดีในการฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อคุณงามความดี เพื่อบุญเพื่อกุศล เรียกว่าเป็นพวกบุญนิยม เรานิยมบุญมากกว่าจะนิยมวัตถุ มากกว่าที่จะนิยมสิ่งชอบ หรือสิ่งที่เรายินดี
ไม่ถึงกับปฏิเสธสิ่งที่ชอบทีเดียวหรอก แต่ไม่รักบุญรักกุศลมากกว่า




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2554 14:41:40 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 มกราคม 2554 14:25:55 »



การที่มีผู้ที่มีบุญคุณต่อเรา ผู้ที่เราเคารพรักได้จากเราไป ก็เป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนา แต่ถ้าเราสามารถตั้งสติได้ เรามีโอกาสได้กำไรคือปัญญา เพิ่มคุณงามความดีของเราให้มากขึ้น ในเมื่อคุณงามความดีนั้น ปรากฏชัดอยู่ในใจ เราก็มีของดีที่เราจะได้อุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น น่าจะดีกว่าปล่อยให้จิตแห้งแล้งอยู่ด้วยความเศร้า

ความตายเป็นชื่อของความเปลี่ยนแปลงชนิดหนึ่ง แต่เนื่องจากว่าคนเราไม่มีญาณรู้ถึงอดีตชาติ ไม่มีญาณรู้เห็นภพภูมิอื่น เราก็ยังไม่มั่นใจในเรื่องนี้ อาจจะยังสงสัยอยู่ แต่พอเรามองไม่เห็นว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วไปไหน เราก็รู้สึกว่าความตายคือความจบ ความที่คนนั้นผู้นั้นตายไปคือหมด แต่ที่จริงแล้วเป็นแค่ความดับความสิ้นสำหรับพวกเราที่ยังมีชีวิตอยู่ สำหรับท่านผู้นั้น ท่านล่วงลับไปจากโลกนี้แล้วก็ไปปรโลก ท่านจะอยู่ภพไหนภูมิไหน คงไม่มีใครที่นี่กล้ารับรอง แต่เราเชื่อว่า สิ่งที่หมดไป ไม่ใช่ของแท้ ไม่ใช่ของจริง

ความแปรปรวนมีอยู่ตลอดเวลา ความแปรปรวนช่วงหนึ่ง เราเรียกว่า “ชีวิต” พอความแปรปรวนกระแสหนึ่งพ้นสายตาเรา เราพูดกันว่าคนนั้นตาย แท้ที่จริงแล้วก็คือผู้นั้นตายจากเราไปเท่านั้นเอง

มีคำเทศน์ของครูบา อาจารย์บางองค์ที่เราฟังแล้วอาจจะรู้สึกตกใจหรือไม่เข้าใจ หรืองง นั่นคือที่ท่านชอบสอนว่า คนเราต้องหัดตายหรือว่าต้องตายก่อนตาย ในเมื่อทุกคนรู้สึกว่าไม่อยากตาย คงไม่เข้าใจเลยว่า ทำไมต้องตายก่อนตาย เหมือนกับว่าเพิ่มความทุกข์ขึ้นมาเปล่าๆ ไม่เห็นประโยชน์ ที่จริงแล้ว ความเกิดความตาย เป็นธรรมดาของชีวิตเราอยู่แล้วตั้งแต่วันเกิด เพราะความเกิดดับ เกิดดับ คือตัวแท้ของชีวิต คนที่ไม่เคยพิจารณาชีวิตของตัวเอง อยากอยู่ให้นานที่สุดและไม่อยากตาย หลงงพ่อชาท่านสอนว่า เหมือนกับคนที่หายใจเข้าแต่ไม่อยากจะหายใจออก หายใจเข้าหายใจออกมันต้องอยู่ด้วยกัน ความเกิดความตายต้องอยู่ด้วยกัน ทำไมวัฏสงสาร ความเกิดแก่เจ็บตาย ต้องหมุนไปเรื่อยๆ ก็เพราะว่าตราบใดที่พวกเรายังมีเชื้ออยู่ คือยังมีกิเลสอยู่ มันจบไม่ได้

พระพุทธองค์จึงให้เราทำความเข้าใจ เผชิญหน้ากับความจริงของชีวิตว่า ความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จากความเกิดแก่เจ็บตาย จะปรากฏชัดแก่ผู้ที่รู้ที่เข้าใจความเกิดแก่เจ็บตายตามความเป็นจริง ถ้าเรากลัวความตาย ไม่อยากจะพูดถึง ไม่อยากจะคิดถึง ก็ต้องเจอความตายอยู่เรื่อยไม่มีที่สิ้นสุด นั้นแหละคือตัวอปมงคล ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายซ้ำซากๆ ไม่มีที่สิ้นสุด จนกระทั่งเกิดความตั้งอกตั้งใจที่จะเรียนรู้ว่า ความเกิดคืออะไร ความแก่คืออะไร ความเจ็บคืออะไร ความตายคืออะไร จะไม่เกิดไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ต้องทำอะไรบ้าง

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 มกราคม 2554 14:39:25 »



เรื่องบุญเรื่องกุศลที่กล่าวถึงที่นี้ มองในแง่หนึ่ง ก็เป็นเรื่องการหัดตายเหมือนกัน เราให้ทานเพื่ออะไร ทำไมจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ความดีที่เกิดขึ้นจากการให้ทานมีมากมายหลายประการ อย่างเช่น เป็นการช่วยลดความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์บ้าง เป็นการบำรุงพระศาสนาบ้าง เป็นการผูกไมตรีจิตในชุมชน เป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม การให้ทานมีผลดีต่อสังคมมากมาย ด้านในเหตุผลที่สำคัญที่สุดภายในจิตใจของผู้ให้ทาน คือการหัดให้ความตระหนี่ความยึดติดในวัตถุตายไป

ทุกครั้งที่เราให้สิ่งที่เราให้ยาก เราสละสิ่งที่มีความหมายสำหรับเรา สละสิ่งที่เรารักในระดับใดระดับหนึ่ง มันเหมือนกับว่า กิเลสของเราผู้ให้ตายไปสักหน่อยหนึ่ง ถ้าเราให้ทานแล้ว เรารู้สึกว่ามีอะไรเหมือนกับตายไปข้างใน นั่นแหละตัวบุญกุศลโดยแท้ นี่คือตายก่อนตาย สิ่งที่ตายคือกิเลส เรารู้จักปล่อยวาง เห็นว่า สิ่งที่ไม่ดีเท่านั้นที่ตายไป ชีวิตของเราไม่ได้ห่อเหี่ยว ชีวิตเราไม่ได้ขาดทุนอะไรเลย ตรงกันข้าม สิ่งที่ไม่ดีตายไป ความรู้สึกสดชื่นเบิกบานก็เพิ่มมากขึ้น เมื่อเราเห็นอย่างนี้ เห็นว่าสิ่งที่เราเคยยึดมั่นถือมั่น สิ่งที่เราเคยถือว่าเป็นเราเป็นของเรา เป็นของหนัก ถ้าเราปล่อยตัณหาในสิ่งนั้นได้ เราก็ยังอยู่เหมือนเดิม ยิ่งกว่านั้น มีความสุขมากกว่าเดิม เพราะทำให้รี้พลของมารคือความกลัวความเครียดความระแวง ตายลงไปบ้าง

เรารักษาศีล ความเห็นแก่ตัว การกระทำตามอำนาจของกิเลสต่างๆ การพูดตามอำนาจของกิเลสต่างๆ ถูกระงับไว้ด้วยความสมัครใจงดเว้น เมื่อเป็นอย่างนั้นความเคยชินบางอย่าง การกระทำบางอย่าง การพูดบางอย่าง ตายจากชีวิตเราไป สิ่งที่เราแต่ก่อนนี้คิดว่า คงเลิกไม่ได้ ละไม่ได้หรอก คิดว่าเลิกไปแล้ว ละไปแล้ว ชีวิตจะอ้างว่างและจืดชืดไม่สนุก เรากล้าฝืนกิเลสแล้ว กล้าปล่อยให้ความคิดที่จะทำบาปตายไป ปรากฏว่า ชีวิตกลับดีขึ้น

ถ้าเราพยายามฝึกฝนจิตใจของเรา ให้ได้ชิมรสของความสงบระงับ เราจะถึงขั้นที่ความคิดทั้งหลายดับไป หายไปชั่วคราว ในขณะที่จิตนิ่ง ความคิดไม่มี แม้ความรู้สึกว่าร่างกายก็ไม่มี หลายสิ่งหลายอย่างที่คนทั่วไปเชื่อมั่นเหลือเกินว่านี่คือตัวเราโดยแท้ ในขณะที่จิตใจใสสะอาด นิ่งสว่าง สิ่งนั้นไม่ปรากฏ และเรายังอยู่ได้และมีความสุขอย่างยิ่งด้วย ผลคือความยึดมั่นถือมั่นในความคิด ความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ต่างๆ ในบุคลิกนิสัยหลายสิ่งหลายอย่าง ย่อมลดน้อยลง ถ้าไม่ตายทีเดียวก็ลดน้อยลง เพราะเราได้พิสูจน์กับตัวเองว่า ถึงเราจะไม่คิด ถึงจะไม่มีอารมณ์ ถึงจะไม่มีอะไรมากระตุ้นความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราอยู่ได้ อยู่ดี และอยู่ดีอย่างยิ่งด้วยครูบาอาจารย์ทำให้จิตใจสงบนิ่ง เห็นหลายสิ่งหลายอย่างตายไปในเวลานั้น หายไปในเวลานั้น ดับไปในเวลานั้น ท่านบอกว่าความรู้สึกกลัวตาย ได้ลดน้อยลงไปมาก นี่คืออานิสงส์ของความสงบแน่วแน่

ตายก่อนตาย ฟังแล้วแปลกๆ แต่หมายถึงความตายของของปลอม คือความหลงใหลมัวเมา ความงมงายที่ชอบถือว่าร่างกายนี้คือเราคือของเรา เวทนาความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉยๆ สัญญา ความจำได้หมายรู้ สังขาร ความคิดดีคิดชั่ว อารมณ์ที่เป็นกุศล อกุศล วิญญาณความรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรสักอย่าง ที่เป็นตัวของเราโดยแท้ เหมือนความฝัน เราฝึกตาย ฝึกให้สิ่งที่ไม่ดีตายไป แม้สิ่งที่เป็นกลางๆ ตายไป หรือดีมันก็ตายจากเป็นของของเราไป เราก็ยังรู้สึกว่าไม่เป็นไร

เราเรียนรู้เรื่องความเกิดความดับ เรียนรู้เกี่ยวกับความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ปัญญาก็เกิดขึ้น และการเกิดขึ้นของปัญญาทำให้ชีวิตของเรามีค่า เพราะจิตใจเราไม่วุ่นกับการสร้างภาพพจน์ การปกป้องภาพพจน์ของตัวเอง ไม่ต้องคอยเป็นห่วงว่า คนอื่นมองเราอย่างไร เมื่อเราไม่คิดชนะคนอื่น ไม่คิดว่าจะต้องได้อะไรจากคนอื่น เมื่อจิตใจของเรามีสติอยู่ในปัจจุบัน เวลาควรคิดก็คิดตามเหตุตามผล เมื่อไม่จำเป็นต้องคิดก็ไม่ต้องคิด ไม่ต้องกลัวว่าไม่คิดแล้ว จะไม่มีอะไร เพราะรู้ว่าไม่คิดแล้ว จิตใจก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 มกราคม 2554 15:04:28 »



เมื่อเป็นเช่นนั้น ความคิดใหม่มีช่องที่จะเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น เราจะรู้สึกว่าเราอยู่ในโลกนี้กี่ปีแล้ว ก็เป็นบุญของเรา แต่ว่าสิ่งที่ดีงามหลายอย่างที่ยังไม่ได้ทำสักที เราควรจะรีบทำ เพราะไม่รู้เลยว่า เราจะอยู่อีกนานแค่ไหน สิ่งที่ไม่ดีงามมันก็ยังไม่หมด ยังมีเชื้ออยู่ ถ้าเราประมาท อาจกำเริบเสิบสาน เราต้องรีบจัดการแก้ไขให้ได้ บางสิ่งบางอย่างที่เราเคยเอาจริงเอาจังมากเหลือเกิน ตอนนี้เรารู้สึกว่า แหม ! มันก็แค่นั้นเอง การที่เราเคยโกรธคนนั้นคนนี้ แล้วเคยพูดกับตัวเองว่า ไม่มีวันให้อภัยเขาได้เลย ก็จะมีคำถามขึ้นมาในใจว่า แล้วทำไม ทำไมจะให้อภัยเขาไม่ได้ ชีวิตเราสั้นเกินไปที่จะผูกโกรธ ที่จะปล่อยให้จิตใจเราเศร้าหมองเรื่องความผิดพลาด หรือการล่วงเกินของคนอื่นที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีที่แล้ว เรารู้สึกว่าเราโง่มานานแล้ว ไม่ควรจะโง่อีกต่อไป และพอคิดข้อนี้ จะเกิดสัมมาทิฏฐิด้วยว่า คนเราเคยผิดพลาดในอดีตก็จริง คนอื่นเคยผิดพลาดในอดีตก็จริง แต่ว่าเราทุกคนมีศักยภาพที่จะกลับตัวได้ และพระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า ผู้ที่เคยประมาท ผู้ที่เคยผิดพลาด ผู้ที่เคยทำบาปกรรมในอดีต แต่ตอนหลังสำนึกบาป ตั้งใจว่า จะไม่ทำอย่างนั้นต่อไป ผู้นั้นงดงามมาก งดงามเหมือนพระจันทร์เต็มดวงที่โผล่จากเมฆแล้ว

กิเลสทั้งหลาย ความเศร้าหมองทั้งหลาย ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระแสความแปรปรวนที่เราเรียกว่าชีวิต ไม่มีกิเลสตัวไหนที่เป็นของตายตัว ที่จะเป็นสิ่งที่เราแก้ไม่ได้ เพียงแต่ว่าบางสิ่งบางอย่างอาจหลงลึกอยู่ในใจ อาจจะต้องใช้เวลา แต่ไม่มีสิ่งใดเลยที่ทนต่อพลังของธรรมได้
ดังนั้น เมื่อเราเห็นความไม่แน่นอนของชีวิตของตัวเอง หรือเราสำนึก หรือเราทะลุปรุโปร่งเลยว่า ที่พระท่านสอนว่าชีวิตไม่แน่นอน มันจริงของท่านนะ หลายสิ่งหลายอย่าง เราเคยฟังท่านเทศน์ท่านพูด แต่มันไม่ถึงใจ แต่พอมาถึงวันใดวันหนึ่งที่มาถึงเรื่องของเราจริงๆ ไปงานศพไม่รู้กี่งานแล้ว แต่ไม่เคยน้อมเข้ามาจนเห็นจริงๆ แล้วว่า ความตายเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นกับฉันจริงๆ และจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ จุดนี้คือจุดที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในชีวิตของคน เมื่อเรารู้ว่า ชีวิตของเราจะดับไปเมื่อไรก็ได้ แต่เมื่อไรที่จะทำให้คำที่ฟังแล้วเชย ฟังมาไม่รู้กี่ร้อยครั้งกี่พันครั้ง จะเกิดเป็นปัญญา จะเป็นที่พึ่งในใจได้สักที และไม่เชยอีกแล้ว ต้องน้อมเข้าไป น้อมเข้าไปอย่างไม่เบื่อ เราจะได้เกิดความรู้สึกว่าใช่ เราจะถึงขั้นนั้นได้เพราะว่าเรากล้าเผชิญหน้ากับความตาย กล้าปล่อยให้สิ่งไม่ดีไม่งามตายไป กล้าดูความตายเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตของเราที่เกิดขึ้นทุกวัน

เมื่อเราดูหน้าในกระจก เห็นว่ามีรอยหน้าที่แต่ก่อนไม่เคยมี ถ้ารู้สึกเสียใจ นั่นยังไม่ใช่นักภาวนา นักภาวนาต้องได้กำไรได้ปัญญา ว่าเรากำลังจะตายจากความเป็นคนหนุ่มคนสาวเสียแล้ว นี่คือความตาย ความตายมันเกิดรอบตัวเราตลอดเวลา ความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นทุกเวลานาที เราลืมหูลืมตารับรู้ต่อความจริง แล้วน้อมความจริงนั้นเข้ามาเป็นเรื่องของเราด้วย ยิ่งน้อมเข้ามายิ่งฉลาดต่อชีวิตของตน ให้อภัยคนอื่นได้ ให้อภัยตัวเองก็ได้ ให้อภัยตัวเองด้วยการมองว่า ในวันนั้น ในปีนั้น เราเป็นคนมีสติปัญญาแค่นั้น มีกิเลสแค่นั้น ที่ทำในวันนั้น พูดในวันนั้น มันก็ถูกต้องตามเหตุตามปัจจัยที่มีอยู่ในวันนั้น ให้อภัยตัวเองด้วย ให้อภัยคนอื่นด้วย

ทีนี้เมื่อเรามองคนรอบข้าง ผู้ที่เราเคารพ เรารัก เราต้องนึกถึงคำของพระว่า เราต้องมีความพลัดพรากจากสิ่งและคนที่เรารักแน่นอน ทุกสิ่งทุกคน ไม่วันใดวันหนึ่งต้องพลัดพรากจากเรา และจะเป็นเมื่อไรก็ได้ ถ้ายังไม่ตั้งใจพิจารณา อาจจะยอมว่าความตายจะเกิดขึ้นแน่ แต่คงไม่ใช่วันนี้หรอก คนอื่นเขาก็ต้องพลัดพรากจากเราจริง แต่คงไม่ใช่วันนี้ แต่ละวัน คนเสียชีวิตไปตายไปจำนวนมากมาย และในจำนวนนั้น ก็คงมีหลายสิบเปอร์เซ็นต์ทีเดียว ที่เชื่อจนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายว่า คงยังไม่ใช่ คงไม่ใช่วันนี้

ความกลัวตาย เป็นสิ่งที่สถิตอยู่ในจิตใจของปุถุชนทุกๆ คน แต่ส่วนมากเราจะเก็บกดความรู้สึกนี้ไว้ ไม่ค่อยจะรู้ตัว คนกลัวตาย หมู่หนึ่งต้องคว้าเอาสิ่งใดสิ่งเป็นผู้คุ้มครอง ผู้ปกป้อง ผู้ที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย อาจจะเป็นพระผู้เป็นเจ้าก็ได้ อาจจะเป็นพ่อก็ได้ อาจจะเป็นสามีภรรยาก็ได้ อาจจะเป็นผู้นำประเทศก็ได้ อาจจะเป็นสถาบันใดก็ได้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง คนใดคนหนึ่ง คอนเซ็ปท์ใดคอนเซ็ปท์หนึ่ง ซึ่งเรารู้สึกว่าสิ่งนั้น ดูแลเรา สิ่งนั้นจะปกป้องเรา ทำให้เรารู้สึกว่า วันนี้ เรายังไม่ตาย

มนุษย์กลัวตายอีกหมู่หนึ่ง ชอบทำอะไรเองทุกสิ่งทุกอย่างไม่พึ่งเคยเลย ช่วยตัวเองได้เป็นคนที่ไม่ต้องอาศัยคนอื่น เป็นคนเก่ง เรียนก็เก่ง ทำงานก็เก่ง หาเงินก็เก่ง ทำอะไรก็เก่ง ก็เอาความเก่งนั่นแหละเป็นที่พึ่ง เพราะอะไร เพราะรู้สึกว่าตัวเองนี่ตายไม่ได้ เก่งเกินไป แน่เกินไป

ความกลัวตาย ปรากฏในบุคลิก นิสัย แนวทางชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอ่อนแอก็พึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อจะมีความรู้สึกว่าปลอดภัย บางคนก็เอาความเก่งกาจของตัวเองความสามารถของตัวเอง เพื่อนำไปสู่ความรู้สึกว่าปลอดภัย แต่พระพุทธเจ้าเตือนว่าอย่างไรๆ ไม่ปลอดภัยอยู่ดี ชีวิตนี้เราไว้ใจไม่ได้

เพราะฉะนั้นในเมื่อชีวิตของเราพร้อมที่จะแตกดับไปเมื่อไรก็ได้ เรามีเวลาที่จะไปทะเลาะเบาะแว้งกับสามีไหม เรามีเวลาที่จะไปทะเลาะเบาะแว้งกับภรรยาไหม เรื่องเล็กเรื่องน้อยโกรธกันทั้งวันทั้งคืน บางทีโกรธกันเป็นเดือนก็มี แล้วเรามีเวลาพอไหม ที่จะจมอยู่กับอารมณ์เศร้าหมองเรื่องแค่นี้เอง ถ้าเราเข้าถึงธรรมแล้วไม่มีเวลา ไม่มีเวลา ที่จะไปโกรธแม้แต่ชั่วโมงเดียว เพราะชีวิตเรามันสั้นเกินไป

ถ้าผู้ที่เราเคารพรักพลัดพรากเราไปแล้ว
ลองดูความแตกต่างระหว่างความรู้สึก ที่ถือว่า ใช้เวลาด้วยกันอย่างเห็นคุณค่าของเวลา อยู่ด้วยการให้อภัยซึ่งกันและกัน ด้วยความเห็นอกเห็นใจกัน ความเคารพซึ่งกันและกันตลอดเวลา มีความรู้สึกพร้อมที่จะรับความจริงอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราพลัดพรากจากคนที่เรารักในลักษณะอย่างนี้ ทำใจได้ง่าย แต่ถ้าหากว่าผู้ที่เราเคารพรักพลัดพรากเราไป พอไปแล้ว อดนึกถึงสิ่งไม่ดีที่เคยพูดไม่ได้ เราก็ไม่มีเวลาจะแก้ไขเสียแล้ว และสิ่งที่เคยคิดจะพูด สิ่งที่ดีที่เคยคิดจะทำไม่ได้ทำ ก็ทำไม่ได้แล้ว

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 10 มกราคม 2554 15:38:22 »




ถ้ายอมรับในหลักการ นี้ เราจะทำอย่างไร จงน้อมข้อพิจารณาเข้ามาว่า ทุกวันนี้เรากำลังใช้ชีวิตอย่างไร ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิตของเรา พอใจไหม ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิตของคนรอบข้าง แล้วเราพอใจกับสิ่งที่เคยทำสิ่งที่เคยพูดกับคนนั้นไหม มีอะไรบ้างไหมที่เรายังไม่ได้ทำที่คิดว่าดีอยากจะทำ แต่ไม่เคยทำสักที มีแต่ จะจะจะจะจะทำ มีอะไรบางไหมที่เราคิดจะแก้ไขนานแล้วแต่ยังไม่ได้แก้ไขสักที จะจะจะจะจะแก้ ถ้ามีอะไรต้องรีบจัดการ ความตายไม่ได้สนใจความรู้สึกของเรา ไม่เกรงใจเลยว่าเรารู้สึกพร้อมหรือไม่พร้อม มีธุระยังค้างอยู่อย่างไร สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน ไม่เคยเป็นไปความต้องการของเรา มัจจุราชไม่แคร์ความรู้สึกของเรา ท่านทำตามหน้าที่คือกฎแห่งกรรม ความตายไม่มีเข้าข้างใคร เป็นเรื่องของมันอยู่อย่างนั้น

เพราะธรรมชาติเป็นอย่างนี่แหละ ชีวิตเราจึงมีค่า มีค่าทุกลมหายใจ ทำให้เรามีทางเลือกทุกวัน ว่าวันนี้จะเป็นวันที่เราจะภาวนาไหม ทำให้สิ่งที่ดีงาม ที่เป็นบุญเป็นกุศลเพิ่มมากขึ้นไหม หรือวันนี้จะปล่อยตามบุญตามกรรม คืออะไรก็ได้ ถ้ามีโอกาสทำบุญก็ทำไป ใครชวนไม่เคยปฏิเสธ แต่ถ้าจิตเศร้าหมองก็พยายามหนีไปหาความสุขง่ายๆ กลบเกลื่อน แก้ด้วยการกินบ้าง การเล่นบ้าง เที่ยวบ้าง ซื้อของบ้าง คอยปลอบใจตัวเองว่าเรื่องที่ควรจะแก้ไขก็คงมีโอกาสอยู่หรอก แต่ว่ายังไม่พร้อมยังไม่มีเวลา นี่คือเหตุผลเทวดาไม่ใช่เหตุผลมนุษย์ ถ้าเราเป็นเทวดาสนุกและปลอดภัยอยู่เป็นกัปเป็นกัลป์ก็คงเป็นเหตุผลที่พอฟัง ได้ แต่เราไม่ใช่เทวดา เราเป็นมนุษย์ผู้เสี่ยงภัย เราเป็นมนุษย์ที่อาจจะสูญจากโลกนี้ไปลมหายใจใดก็ได้

ผู้รู้ทั้งหลายจึงพร่ำสอนเราว่า ต้องสำนึกว่าชีวิตของตนเป็นของไม่แน่นอน และความตายของตนเป็นของแน่นอน วันใดวันหนึ่งเราต้องจากโลกนี้ไป และทุกคนที่เรารู้จัก ทุกคนที่เรารัก ต้องจากโลกนี้ไปเหมือนกับเรา
ฉะนั้นเราต้องใช้เวลาที่เหลืออยู่ในทางที่ดีที่สุด ทำให้มีบุญมีกุศลอยู่ในใจ บุญกุศลนั้น คือชื่อของความสุขที่สะอาด เมื่อตัวเองก็มีความสุขที่ใสสะอาด ความสุขที่เรียกว่าบุญหรือว่ากุศลนั้น เราเก็บไว้เสวยคนเดียวไม่ได้ มันจะล้นออกมา มันก็แผ่ออกไป เป็นความสุขที่ทำให้คนรอบข้างพลอยมีความสุขด้วย


ประโยชน์อันแท้จริงของตน ประโยชน์อันแท้จริงของคนอื่นสอดคล้องกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าหากว่าความสุขและสิ่งที่เราถือว่าประโยชน์เป็นของเราคนเดียว และยังทำให้คนอื่นทุกข์เดือดร้อน แน่ใจได้ว่านั่นไม่ใช่ความสุขที่เรียกว่าเป็นบุญเป็นกุศล

นอกจากว่า บุญกุศลทำให้ชีวิตของเราสดชื่น ทำให้ชีวิตคนรอบข้างได้พลอยสดชื่นด้วยแล้ว บุญกุศลนั้น มีคุณสมบัติพิเศษคือ เราสามารถอุทิศให้ผู้ที่จากโลกนี้ไปและผู้นั้น ถ้าอยู่ในภพภูมิที่รับได้และอนุโมทนา สามารถรับบุญนั้นได้ ถึงแม้ว่าท่านหายจากเราไป ท่านตายจากเราไป เราก็ยังสามารถสร้างสิ่งที่ดีงามและส่งให้ท่านได้ นี่เป็นเรื่องที่น่าคิดพิจารณามาก น่าอัศจรรย์ เพราะฉะนั้น ถ้าเรารักผู้ที่ตายจากเราไปจริง เราเคารพท่านจริง เรารู้สึกกตัญญูกตเวทีจริง เราก็ต้องมุ่งมั่นสร้างสิ่งที่ดีงาม เพื่อจะได้ส่งให้ท่านด้วย อย่างนี้ทุกคนได้ประโยชน์ทั้งนั้น ผู้ที่อยู่ก็ได้ประโยชน์ ผู้ที่อยู่ก็ได้ความสุข ผู้ที่ตายแล้วและยังต้องการก็ได้รับความสุขและประโยชน์ด้วย

พุทธศาสนาถือเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ คือทำอย่างไรชีวิตของเราจะมีความสุขมากขึ้น มีความทุกข์น้อยลง ทำอย่างไรเราจะได้สร้างประโยชน์แก่ตัวเอง สร้างประโยชน์แก่ครอบครัว สร้างประโยชน์แก่ชุมชน สร้างประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว สร้างประโยชน์ต่อคนที่ยังไม่เกิด คือสร้างสังคมที่น่าอยู่ สร้างสิ่งแวดล้อมที่จะเป็นที่รองรับคนที่ยังไม่เกิด อันนี้ก็เป็นสิ่งท้าทายพวกเราทั้งหลาย

ในวันนี้ เราก็ได้ตั้งอกตั้งใจขอศีล เราก็ได้บำเพ็ญกุศลในระดับของศีล เราก็ได้ฟังธรรมะด้วยความสงบ จิตใจที่มีสติ มีความสงบอยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นจิตใจที่เป็นบุญเป็นกุศล และเราก็ได้ฟังข้อคิดที่เกี่ยวกับความตาย มุ่งมองของพระพุทธศาสนา ได้ปัญญาบ้างก็เป็นบุญเป็นกุศลอีกทางหนึ่ง


ฉะนั้น วันนี้อาตมาขอให้เราทั้งหลาย ได้รวบรวมบุญกุศลนั้น ตั้งใจแผ่ ตั้งใจอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่มีความดีความงามหลายอย่างซึ่งอาตมาเองก็คงรู้น้อยกว่าผู้ที่นั่งฟัง แต่ว่าขอให้เราระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน สิ่งใดที่เราเคยทึ่ง สิ่งใดที่เราเคยประทับใจในตัวท่าน ก็ถือว่าเป็นมรดกที่ท่านฝากพวกเราไว้ ขอให้เรารักษาไว้ให้ดี โดยเฉพาะลูกหลานทั้งหลาย ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมีอะไรที่เรารู้สึกว่า เราเคารพ เราซาบซึ้ง ตั้งใจรักษาไว้ ถือได้ว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณของท่านที่ยอดเยี่ยม

วันนี้ก็ขอให้เราทุกคนระลึกถึงท่าน ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน และอุทิศบุญกุศลให้กับท่าน ขอให้ท่านได้เจริญ ขอให้ท่านได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีงาม ขอให้ท่านได้เจริญด้วยความสุขกายสุขใจ ขอให้ท่านได้เจริญด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ในชาติต่อไป และขอให้ท่านได้พ้นจากวัฏสงสารในที่สุดเทอญ





ตายก่อนตายทำไม
พระธรรมเทศนาในงานพระราชทานเพลิงศพ พล.ต.ต.ประวัติ ปัจฉิมสวัสดิ์
๒๖ มีนาคม ๒๕๔๗



ที่มา : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=35881
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
คำค้น: มรณานุสติ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ลายมือท่านพุทธทาส ภิกขุ
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
sometime 6 6365 กระทู้ล่าสุด 24 กุมภาพันธ์ 2553 14:07:13
โดย เงาฝัน
พุทธทาส ภิกขุ A_13 ผีมีจริงหรือ
เสียงธรรมเทศนา
เงาฝัน 0 2480 กระทู้ล่าสุด 22 มีนาคม 2553 19:28:06
โดย เงาฝัน
แก่นพุทธศาสน์เรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อเป็นอยู่ด้วยความว่าง(ภิกขุ พุทธทาส อินทปัญโญ)
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
หมีงงในพงหญ้า 7 5552 กระทู้ล่าสุด 20 มิถุนายน 2553 20:01:57
โดย หมีงงในพงหญ้า
สรณะ โดย ท่าน ชยสาโร ภิกขุ
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 0 2102 กระทู้ล่าสุด 28 พฤษภาคม 2554 08:34:52
โดย 時々๛कभी कभी๛
พระเทพพัชรญาณมุนี (ฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) สถานพำนักสงฆ์ บ้านไร่ทอสี จ.นครราชสีมา
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 914 กระทู้ล่าสุด 19 สิงหาคม 2563 13:34:32
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.385 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 17 กุมภาพันธ์ 2567 20:00:56