[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 18:11:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลิงหลอกเจ้า : ศูนยตา  (อ่าน 3289 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5063


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 มกราคม 2554 17:08:09 »




ศูนยตา
 
 
การผ่าตัดสายตาที่บัญญัติโลกของเรา ด้วยคมดาบของปรัชญาจะทำให้เรา ค้นพบศูนยตา คือ ความไม่มีอะไร ความเปล่า ความว่าง ความปราศจาก ทวิภาค และบัญญัติทั้งปวง พระพุทธพจน์ว่าด้วยธรรมข้อนี้ อันเป็นที่รู้จัก กันดี ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า " หฤทัยสูตร " แต่น่า สนใจยิ่งในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์แทบจะไม่ได้ตรัสอันใดเลย พระองค์ ตรัสเป็นนิคมพจน์เท่านั้นว่า " กล่าวได้ดีแล้ว กล่าวได้ดีแล้ว " แล้วทรงแย้ม พระโอษฐ์ พระองค์ทรงสร้างสภาพการณ์ที่ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินวิสัชนาธรรม ว่าด้วยศูนยตาเอง แทนที่พระองค์จะทรงเทศนาด้วยพระองค์เอง พระองค์ มิได้ทรงสำแดงพระภาษิตของพระองค์ หากทรงสถาปนาสภาพการณ์ขึ้น ซึ่งช่วยให้พระธรรมเทศนาบังเกิดได้ และพระสาวกจะได้รับแรงบันดาลใจ ที่จะค้นพบและสัมผัสศูนยตา วิธีเทศนาธรรมแบบหนึ่ง
 
 
พระสูตรบทนี้เล่าเรื่องเกี่ยวกับอวโลกิเตศวร โพธิสัตว์ผู้เป็นองค์แห่งกรุณา และอุบายวิธี กับพระศารีบุตร ( สารีบุตร ) พระอรหันต์สาวกผู้เป็นธรรม เสนาบดีและองค์แห่งปรัชญาสำนวนญี่ปุ่นแปลกออกไปจากต้นฉบับภาษา สันสกฤตอยู่บ้าง แต่ทั้งหมดก็มุ่งสู่ประเด็นที่ว่า พลานุภาพแห่งปรัชญา ได้ผลักดันให้อวโลกิเตศวร ตื่นขึ้นเห็นศูนยตา เป็นการวิสัชนาธรรมระ หว่างอวโลกิเตศวรกับพระศารีบุตร ผู้เป็นองค์แห่งบุคคลผู้จิตใจเป็นวิทยา- ศาสตร์ อันเรียกได้ว่าความรู้ที่เที่ยงตรง พระศารีบุตรได้กลั่นกรองเอาพระ ธรรมเทศนาของพระพุทธองค์มาแสดง โดยอาจกล่าวได้ว่า มิได้เป็นการ ศรัทธาอย่างงมงาย หากเป็นการพิจารณาปฏิบัติ ทดลองและพิสูจน์พระ ธรรมเทศนานั้นดูแล้ว
 
 
อวโลกิเตศวรได้กล่าว " ดูก่อนศารีบุตร รูปนั้นว่างเปล่า ความว่างเปล่า นั้นก็ไม่ผิดไปจากรูป " เราจะไม่พูดถึงรายละเอียดของพระสูตร แต่พระ สูตร แต่จะพูดถึงความขั้นต้นเกี่ยวกับรูปและความว่างเปล่านี้ อันเป็นประ เด็นหลักของพระสูตร เพราะเหตุนี้ เราจึงเข้าใจความหมายของคำว่า " รูป " ให้แจ่มแจ้งเสียก่อน


รูปคือสิ่งที่เป็นอยู่ ก่อนที่เราจะว่างเค้าโครงบัญญัติอันใดของเราแก่มัน มันเป็นสภาวะเดิมแห่ง " สิ่งที่อยู่ที่นี่ " คือ ลักษณะอันสวยสด บรรเจิด จ้า น่าประทับใจ และสุนทรีย์ อันปรากฏในสภาพการณ์ทุกสภาพ รูป ประทับใจ และสุนทรีย์ อันปรากฏในสภาพการณ์ทุกสภาพ รูปอาจเป็น ใบโพธิ์ล่วงหล่น จากต้นลงสู่พื้นน้ำ อาจเป็นจันทร์วันเพ็ญ เป็นท่อน้ำ ข้างถนนหรือกองเศษอาหาร เหล่านี้แล คือ " สิ่งที่เป็นอยู่ " และทั้งหมด ก็ล้วนเป็นเยี่ยงเดียวกัน ทั้งหมดล้วนเป็นรูป เปิดเสภาวะ เป็นเพียงสิ่งที่ เป็นอยู่ การประเมินพิจารณาสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นในใจเราภายหลัง หาก เราเพียงแต่มองสิ่งเหล่านี้ตามที่มันเป็น มันจะเป็นเพียงรูปทั้งหลาย


ฉะนั้น รูปจึงว่างเปล่า แต่ว่างจากอะไรเล่า รูปนั้นว่างจากบัญญัติล่วง หน้าทั้งหลายของเรา ว่างจากการตัดสินพิจารณาของเรา ถ้าเราไม่ประ เมินและแยกแยะอาการที่ใบโพธิ์ร่วงหล่นพริ้วสู่ผืนน้ำว่าเป็นคู่ปรับกับ กองขยะในเมืองกรุง มันก็จะอยู่ที่นั่น คือสิ่งที่เป็นอยู่ ล้วนว่างจากบัญ ญัติคาดคิดของเรา เป็นตามที่มันเป็นอย่างเที่ยงตรง และแน่ละ กองขยะ ก็คือกองขยะ โบโพธิ์ก็คือใบโพธิ์ " สิ่งที่เป็นอยู่ " คือ " สิ่งที่เป็นอยู่ " รูปนั้นย่อมว่างเปล่า เมื่อเรามองมันโดยปราศจากการตีความของเราเอง


แต่ความว่างเปล่าก็คือรูปด้วย นี่คือประเด็นสำคัญยิ่ง เราคิดว่าเราได้สลัด สิ่งทั้งหลายออกไป เราคิดว่าเราได้แลเห็นสิ่งทุกสิ่งว่า " เหมือนกัน " แล้ว หากเราสลัดบัญญัติคาดคิดทั้งหลายของเราออกไปได้ นั่นย่อมก่อให้เกิด ภาพสวยสด เพราะเราเห็นทั้งสิ่งดีและเลว ว่าล้วนดี เรียบร้อย ราบรื่นยิ่ง แต่ประเด็นต่อมาก็คือ ความว่างเปล่าก็เป็นรูปได้ด้วย ไม่ได้ว่างเปล่าจริง ความว่างเปล่าของกองขยะก็ยังเป็นรูปด้วย การพยายามมองสิ่งทั้งหลาย ว่าว่างเปล่าก็ยังห่อหุ้มมันได้ด้วยบัญญัติรูปกลับมาอีก มันง่ายอยู่ดอก ที่จะ สลัดบัญญัติทั้งหลายออกไป แล้วสรุปว่า ทุกสิ่งล้วนเป็นตามที่มันเป็น แต่นั่นจะเป็นการหนี เป็นการปลอบประโลมตนเองอีกทางหนึ่งได้ เราจะ ต้องรู้สึก ให้ได้จริงถึงสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น คุณลักษณ์แห่งความเป็น กองขยะก็ดี คุณลักษณ์แห่งความเป็นใบของโพธิ์ก็ดี ความเป็น ของสิ่ง ทั้งหลายก็ดี เราจะต้องรู้สึกให้เหมาะเจาะ ไม่ใช่เพียงแต่ประทับตราความ ว่างเปล่าให้แก่มัน นั่นไม่ได้ช่วยอะไรเลย เราจะต้องมองเห็น " ความเป็น " ของสิ่งที่อยู่ที่นั่น เห็นคุณลักษณ์อันหยาบและกระด้างของสิ่งทั้งหลาย ตามที่มันเป็น นี่เป็นวิธีมองโลกได้อย่างแม่นยำยิ่ง ดังนั้น แรกทีเดียวเราจะ ป้ดบัญญัติคาดคิดอันหนักอึ้งทั้งหลายของเราออกไป ใช่แต่เท่านั้น เรายัง ต้องปัดคำอันประณีตลึกซึ้งอย่างคำว่า " ว่างเปล่า " ออกไปด้วย ทำให้ เราไม่อยู่ในแห่งหนตำบลใด หากอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่โดยสิ้นเชิง


ท้ายที่สุด เราจะมาถึงข้อสรุปที่ว่า รูปก็เป็นเพียงรูป ความว่างเปล่าก็เป็น เพียงความว่างเปล่า ในพระสูตรอธิบายว่าเป็นการเห็นรูป ว่าไม่ใช่อะไร อื่นนอกจากความว่างเปล่า และเห็นความว่างเปล่าว่าไม่ใช่อะไรอื่นนอก จากรูป ทั้งสองต่างแบ่งแยกจากกันไม่ได้ เราจะแลเห็นได้ว่า การมองหา ความหมายทางปรัชญาหรือสุนทรียภาพให้แก่ชีวิตเป็นเพียงทางหนึ่งที่เรา ตัดสินตัวเราเอง โดยนึกเสียว่า สิ่งทั้งหลายหาได้เลวร้ายอย่างที่คิดไม่ แต่ อันที่จริงแล้ว สิ่งทั้งหลายล้วนเลวร้ายเพราะความคิดเรานั่นเอง รูปคือรูป ความว่างเปล่าก็คือความว่างเปล่า สิ่งทั้งหลายเป็นสิ่งที่มันเป็น เราไม่ต้อง พยายามมองมันด้วยความลึกซึ้งใด ๆ แล้วเราจะกลับมาติดดิน เห็นสิ่งทั้ง หลายตามที่มันเป็น นี่ไม่ได้หมายความว่า จะบังเกิดมีตาทิพย์ที่น่าตื่นเต้น อันใด ทำนองเห็นเทวดา คนธรรพ์ หรือได้ยินเสียงสวรรค์กระนั้น แต่เรา จะเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นตรงตามคุณลักษณะของมัน ดังนั้น ในกรณี นี้ ศูนยตาจึงเป็นการปราศจากบัญญัติหรือม่านกรองใด ๆ อย่างสิ้นเชิง ปราศ จากแม้กระทั่งบัญญัติว่า " รูปนั้นว่างเปล่า " หรือ " ความว่างเปล่าคือรูป " สิ่งสำคัญอยู่ที่ การมองโลกอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องปรารถนาความ สำนึกรู้ " ขั้นสูง " หรือสาระสำคัญอันลึกซึ้งใด ๆ เป็นเพียงการรับรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างจะจะตรงตามที่มันเป็น


เราอาจสงสัยว่า แล้วเราจะนำเอาหลักธรรมนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ อย่างไร เล่ากันว่า เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระธรรมเทศนา ว่าด้วยศูนยตานี้เป็นปฐม พระอรหันต์เจ้าบางองค์ถึงกับหัวใจกำเริบ แล้ว ดับขันธ์ไปเพราะผลกระทบของพระธรรมเทศนานี้ เพราะในการทำสมาธิ ภาวนาพระอรหันต์เหล่านี้ยังซึมซาบอยู่กับที่ว่าง ยังต้องกำหนดที่ว่างเป็น อารมณ์ เป็นอิงอาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่ายังมีตัวประสบการณ์และ ผู้รับรู้ประสบการณ์อยู่ ส่วนหลักศูนยตานี้เป็นการไม่อิงอาศัยสิ่งใด ไม่แบ่ง แยกระหว่างนี้กับนั้นและไม่อยู่ในแห่งหนตำบลใดทั้งสิ้น

ถ้าเรามองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น เราก็ไม่ต้องตีความหรือวิเคราะห์ มันให้มากความ เราไม่จำเป็นต้องพยายามเข้าใจสิ่งทั้งหลายด้วยการประทับ ตราประสบการณ์ ทางศาสนธรรม หรือความคิดปรัชญาใด ๆ ให้กับมัน นี้เป็นดั่งที่อาจารย์เซ็นเคยกล่าว " เมื่อฉันกิน ฉันก็กิน เมื่อฉันนอน ฉันก็ นอน " ขอเพียงแต่ทำสิ่งที่คุณทำอยู่อย่างบริบูรณ์ อย่างเต็มเปี่ยม การทำดัง นี้คือการเป็น ฤาษี คือบุคคลผู้สัตย์ซื่อ เปี่ยมด้วยความจริงและตรงไปตรง มา ไม่แบ่งแยกระหว่างนี้กับนั้น เขาย่อมทำการอย่างเจาะจงตรงเผ็ง ตาม ที่มันเป็น เขากินเมื่อเขาต้องการกิน เขานอนเมื่อเขาต้องการนอน ในบาง ที่พระพุทธองค์ทรงได้รับการขนานนามว่า มหาฤาษี ฤาษีผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ไม่ พยายามขวนขวายที่จะเป็นอยู่อย่างเปี่ยมด้วยความจริง หากเป็นจริงอยู่แล้ว ในสภาวะอันเปิดแล้วของพระองค์

การตีความศูนยตา ดังที่เรากำลังถกกันอยู่นี้ เป็นมติของปรัชญา มาธยมิก หรือ " ฝ่ายกลาง " ที่ท่านนาคารชุนได้ก่อตั้งขึ้น เป็นประสบการณ์ในความ จริงอันไม่อาจบรรยายได้อย่างแม่นยำ เพราะคำพูดก็ยังไม่ใช่ตัวประสบการณ์ นั้น คำพูดหรือบัญญัติเป็นเพียงเครื่องชี้ ไปยังแง่มุมบางส่วนของประสบ การณ์ จึงเป็นเรื่องชวนสงสัยว่าเราจะสามารถพูดถึงความเป็นจริงที่ได้ " ประ สบ " ได้กระนั้นหรือ เพราะนี่ย่อมเป็นการแบ่งแยกระหว่างตัวผู้ประสบกับ ตัวประสบการณ์นั้น ใช่แต่เท่านั้น ยังน่าสงสัยอีกว่าเราจะพูดถึงตัว " ความ จริง " นั้นได้ล่ะหรือ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะต้องมีตัวผู้รู้อยู่นอกเหนือจาก สิ่งที่รับรู้ ดังกับว่าความเป็นจริงนั้น เป็นสิ่งที่มีบัญญัติ เป็นสิ่งที่มีข้อจำกัด และขอบเขตที่แน่นอน ดังนั้นฝ่ายมาธยมิกจึงเพียงแต่พุดถึงตถตา คือ " ตาม ที่มันเป็น " ท่านนาคารชุนชอบที่จะโต้แย้งสำนักปรัชญาอื่นตามแง่มุมภาษา และวิธีนำเสนอของสำนักนั้น ๆ แล้วใช้ตรรกวิทยาของสำนักนั้นหักล้าง ตนเอง ยิ่งกว่าจะเสนอคำจำกัดความของความเป็นจริงต่างหากไปด้วยตัว ของท่านเอง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5063


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 มกราคม 2554 17:13:44 »




มีปรัชญาอยู่หลายสำนักใหญ่ ๆ ที่พูดถึงสัจจะ และความเป็นจริงมาก่อน หน้านั้น ทั้งยังมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของสำนัก มาธยมิก กระแสความ คิดเหล่านี้ไม่เพียงแต่สำแดงในรูปของสำนักพุทธปรัชญาในยุคที่มาก่อน หากยังรวมถึงสำนักเทวนิยมอย่าง ฮินดู เวทานตะ อิสลาม คริสต์ และ คติทางปรัชญาและศาสนาอื่น ๆ ตามมติของสำนักมาธยมิก อาจจัดสำนัก เหล่านี้ได้เป็นสามกลุ่มคือ ฝ่ายสัสสตวาท ๑ ฝ่ายนัตถิกวาท ๑ และฝ่าย อาตมวาท ๑ สองฝ่ายแรก สำนักมาธยมิกถือว่าเป็นความเห็นผิด ส่วน ฝ่ายหลังสุดถือว่าเห็นถูกเพียงส่วนเดียว

 
ในบรรดาบัญญัติผิด ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของความจริงนั้น สัสสตวาท ย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดที่สุด และมักเป็นความเห็นทางเทววิทยาอย่างตื้น ๆ คำสอนฝ่ายสัสสตวาทมักมองปรากฏการณ์ว่า มีตัวตนอันยั่งยืนดำรงอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดดับ แต่สิ่งทั้งหลายก็ยังมีสาระบางอย่างที่เที่ยงแท้ อยู่ เพราะเหตุที่ภาวะอันเป็นนิรันดร์นั้นจะต้องอิงอยู่กับบางสิ่ง ผู้ถือลัทธิ นี้จึงมักสมัครใจเชื่อในพระเจ้า วิญญาณ อาตมัน หรือตัวตนอันไม่อาจ บรรยายได้นั้น และประกาศว่ามีบางสิ่งที่ดำรงอยู่เป็นรูปทรงไม่ดับสูญ เป็นนิรันดร์ เป็นการหารูปทรงบางอย่างไว้ยึดเหนี่ยวอิงอาศัย เป็นความ เข้าใจที่หยุดนิ่ง เกี่ยวกับโลกและความสัมพันธ์ที่ตนมีต่อมัน


อย่างไรก็ดี ต่อมาสัสสตวาทิกนี้เริ่มคลางแคลงใจในพระเจ้าเพราะเหตุ ที่ตนไม่เคยพบเห็นพระเจ้า วิญญาณ หรือสารัตถะอันเป็นนิรันดร์นั้น ความคลางแคลงนี้จึงนำเรามาสู่บัญญัติผิด ๆ เกี่ยวกับความจริงที่ดูซับ ซ้อนยิ่งขึ้น นั้นคือบัญญัติฝ่ายนัตถิกวาท ความเห็นฝ่ายนี้ถือว่า ทุกสิ่ง ล้วนมีกำเนิดมาแต่ความไม่มีอะไร เป็นสิ่งลี้ลับ บางทีนัตถิกวาทก็เป็น ได้ทั้งฝ่ายเทวนิยมและอวเทวนิยม โดยประกาศว่า องค์พระเจ้านั้นเป็น สิ่งที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้ โดยประกาศว่า องค์พระเจ้านั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจ หยั่งรู้ได้ อาทิตย์ส่องแสงมายังโลก ช่วยให้ชีวิตเติบโต ให้ความร้อน และแสงสว่าง แต่เราไม่อาจค้นพบจุดกำเนิดของชีวิตได้ ไม่มีเหตุผล ใดจะอธิบายได้ว่าจักรวาลถือกำเนิดมาสถานใด ชีวิตและโลกล้วนเป็น เพียง มายา เป็นภาพลวง สิ่งทั้งหลายผุดขึ้นมาเอง ไม่ได้กำเนิดมาแต่ ไหน ในแง่นี้ความไม่มีอะไรจึงเป็นสาระสำคัญ ความไม่มีอะไรจึงเป็น ความจริงที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้ ซึ่งอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทั้งหมด จักร- วาลถือกำเนิดมาอย่างลี้ลับ อธิบายไม่ได้เลย และนัตถิกวาทิกอาจถือ ว่า ใจมนุษย์ย่อมไม่อาจเข้าใจความลี้ลับนี้ได้ ในแง่นี้ ความลี้ลับจึงเป็น เสมือนสิ่งหนึ่ง เป็นการให้คำตอบว่า ไม่มีคำตอบใดจะให้ยึดถือหรือ อิงอาศัยได้


นัตถิกวาทจะก่อให้เกิดความเห็นในทางไสยศาสตร์ คุณขบคิดได้ว่า เมื่อ คุณทำสิ่งหนึ่ง สิ่งทั้งหลายจะมีปฏิกริยาโต้ตอบกลับมา คุณจะแลเห็นเหตุ และผลที่ต่อเนื่องกันเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่คุณบังคับควบคุมไม่ได้ และลูกโซ่ นี้ก็ผุดมาแต่ " ความไม่มีอะไร " อันลี้ลับ เพราะฉะนั้นเมื่อคุณฆ่าใครสักคน นั่นเป็นเพราะกรรมบงการ อย่างไม่มีวันเลี่ยงได้ และถูกกำหนดไว้ล่วง หน้าแล้ว และถ้าคุณทำดี นั่นก็ไม่เกี่ยวอะไรกับว่าคุณกำลังมีสติหรือไม่ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนกำเนิดมาแต่ " ความไม่มีอะไร " อันลี้ลับนี้ ฝ่ายนัตถิก- วาทย่อมถือเช่นนี้ แต่วิธีปล่อยทุกสิ่งทุกอย่างไว้ให้กับความลี้ลับนี้เป็นสิ่ง ไร้เดียงสายิ่ง เมื่อใดที่เรารู้สึกลังเลสงสัย ในสิ่งที่อยู่เหนือความคิดบัญญัติ ของเรา เราจะสับสนอลหม่าน เรากลัวว่าเราจะไม่มั่นคง เราจึงหาบางสิ่ง อย่างมากมายมาถมช่องว่างนั้น บางสิ่งบางอย่างนี้มักเป็นความเชื่อทาง ปรัชญา และในกรณีนี้ ก็ได้แก่ความลี้ลับ เราจะดิ้นรนหิวหาความไม่มี อะไร สำรวจไปทุกซอกทุกมุมเพื่อค้นพบความไม่มีอะไรนี้ แต่สิ่งที่เรา พบก็เป็นเพียงเศษขุย ไม่มีอะไรอื่นเป็นความลี้ลับ และตราบใดที่เรายัง เฝ้าหาคำตอบในทางบัญญัติ ตราบนั้นเราก็ยังจะพบแต่ความลี้ลับซึ่งโดย ตัวของมันเองก็เป็นอีกบัญญัติหนึ่ง
 
 
ไม่ว่าจะเป็นสัสสตวาท หรือนัตถิกวาทหรืออาตมวาท ต่างฝ่ายต่างก็ มีสมมุติให้มี " สิ่งลี้ลับ " ด้วยกันทั้งสิ้น อันเป็นสิ่งที่เรารู้ไม่ได้ ได้แก่ ความหมายของชีวิตบ้าง ต้นกำเนิดแห่งจักรวาลบ้าง กุญแจอันจะไข ไปสู่ความสุขบ้าง แล้วเราก็จะพยายามหาสิ่งลี้ลับนี้ พยายามจะเป็น บุคคลผู้รู้และครอบครองความลี้ลับนั้นและอาจตั้งชื่อให้ต่าง ๆ นานา ว่า พระเจ้าบ้าง วิญญาณบ้าง อาตมันบ้าง พรหมบ้าง ศูนยตาบ้าง และ อื่น ๆ มาธยมิกย่อมไม่มองความจริงเยี่ยงนี้ แต่ฝ่ายหินยานในยุคต้น ๆ มักตกหลุมพรางดังกล่าว เป็นเหตุให้พบความจริงได้แต่บางส่วน


การมองความเป็นจริงในแง่ที่ตกหลุมพรางนี้ ทำให้เห็นความไม่เที่ยง ( อนิจจลักษณะ ) ว่าเป็นหนึ่งความลี้ลับอย่างใหญ่ สิ่งใดมีเกิด ย่อมมี ความแปรปรวน และดับไปในที่สุด เป็นธรรมดา แต่เรากลับมองไม่ เห็นตัวความไม่เที่ยงนั้น เราเห็นโฉมหน้าของมันดั่งว่าเป็นรูปลักษณ์ อย่างหนึ่ง ฝ่ายหินยานตกหลุมพรางนี้จึงมองจักรวาลในรูปอัตตาย่อย ๆ ที่ดำรงอยู่ในที่ว่าง และเวลาก็คือตัวตนของชั่วขณะหนึ่ง ๆ ที่มีอยู่อย่าง ต่อเนื่องกันในกาลเวลา ด้วยเหตุนี้จึงนับเป็นพหุอาตมวาท ศูนยตาตาม ความเข้าใจของหินยานนี้ จึงเป็นเพียงธรรมชาติอันแปรเปลี่ยนและไร้ แก่นสารของรูป การภาวนาตามแบบหินยานจึงมักมีสองลักษณะ คือ เฝ้าพิจารณาแง่มุมของความไม่เที่ยง เช่น กระบวนการเกิด เจริญ เสื่อม ดับ และ รายละเอียดของมัน และใช้สติกำหนดรู้ความไม่เที่ยงของสภาพ ทางจิต พระอรหันต์ตามนัยหินยานนี้ จะเห็นสภาพภายใต้จิตและสภาพ วัตถุภายนอกเป็นอย่างความเกิดขึ้นของขณะหนึ่ง ๆ มาต่อกันและอัตตา ส่วนย่อย ๆ มาต่อกัน ด้วยวิธีนี้ จึงพบว่าไม่มีสิ่งที่เที่ยงแท้หรือเป็นตัว เป็นตนดำรงอยู่ แต่วิธีนี้ก็ยังบกพร่องตรงที่ยังบัญญัติภาวะทั้งหลายว่า เป็นสัมพันธภาพ เป็นการดำรงอยู่ของ " นี่ " สัมพันธ์กับ " นั่น "
 
 
เราคงได้แลเห็นแง่มุมของสัสสตวาท นัตถิกวาท และอาตมวาทนี้ได้ใน ระบบปรัชญาและศาสนาหลัก ๆ ทั้งหลายในโลก ไม่มากก็น้อย ในแง่ ของมาธยิก บัญญัติความจริงอย่างผิด ๆ เช่นนี้ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยง ไม่ได้ ตราบใดที่เรายัวงพยายามหาคำตอบให้แก่คำถามที่สมมุติกันขึ้น ตราบใดที่เรายังพยายามตรวจสอบวินิจฉัยสิ่งที่เรียกว่า " ความลี้ลับ " แห่งชีวิต ความเชื่อในสิ่งใดก็ตาม ยังเป็นเพียงการตีตราให้แก่ความลี้ลับ นั้น มีสำนักฝ่ายมหายานสำนักหนึ่งคือ โยคาจาร สำนักนี้พยายามจะ กำจัดความลี้ลับนี้ไปเสีย ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างความลี้ลับดังกล่าว กับโลกแห่งปรากฏการณ์
 
 
หลักใหญ่ใจความของสำนักโยคาจารคือหลักของความรู้โดยถือว่าความ ลี้ลับคือตัวปัญญาที่กระทำความรู้กับปรากฏการณ์เข้าด้วยกัน ว่าแบ่งแยก จากกันหาได้ไม่ ฉะนั้น ผู้รู้ในฐานะ ปัจเจกบุคคล จึงไม่อยู่ แต่เป็นการรู้ ขนิด " รู้ตัวเอง " โยคาจารถือว่า มีเพียง " ใจหนึ่งเดียว " เท่านั้น โดย เรียกว่าเป็น " ความรู้อันโชติช่วงอยู่เอง " และทั้งความคิดและอารมณ์ ทั้งผู้คนและต้นไม้ต่างก็เป็นแง่มุมต่าง ๆ ของสิ่งนั้น ฉะนั้น เมื่อครั้งโบ ราณสมัย สำนักนี้ยังมีชื่อเรียกอีกว่า จิตมาตร หรือ สำนัก " เพียงใจ "


โยคาจารจึงเป็นสำนักพุทธสำนักแรกที่ไปพ้นจากการแบ่งแยก ระหว่าง ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ โยคาจาริกอธิบายว่าความทุกข์และความสับสนทั้งหลาย ล้วนมีมูลมาแต่ความเชื่อผิด ๆ ว่ามีผู้รู้ที่แยกต่างหากอยู่ หากบุคคลเชื่อ ว่าตนรู้โลก ใจจะถูกแบ่งแยก แม้โดยผิวเผินจะดูแจ่มใส แต่ย่อมมีความ สับสนอยู่เอง บุคคลผู้สับสนจะรู้สึกว่า ตนนึกคิดได้ และก่อปฏิกิริยากับ ปรากฏการณ์ภายนอกได้ ดังนี้ เขาจึงถูกกักอยู่ในสภาพการณ์ที่มีกิริยา และปฏิกิริยาโต้ตอบกันอย่างไม่หยุดยั้ง แต่สำหรับบุคคลผู้ตรัสรู้แล้วเขา ย่อมตระหนักได้ว่า ความรู้สึกนึกคิดดี ๆ สิ่งที่เรียกว่าโลกภายนอกก็ดี ทั้งสองฝ่ายล้วนเป็นเพียง " การละเล่นของใจ " เขาย่อมไม่ถูกกักกันอยู่ ในการแบ่งแยกระหว่างตัวผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำ ภายในกับภายอก ผู้รู้กับสิ่งถูกรู้ ฉันกับสิ่งอื่น ๆ เพราะทุกสิ่งล้วนเป็นการรู้ตนเอง


อย่างไรก็ตาม ท่านนาคารชุนก็ยังแย้งหลัก " เพียงใจ " ของโยคาจาริก โดย ตั้งคำถามไปที่การดำรงอยู่ของใจ ท่านมีความแตกฉานในคัมภีร์ปรัชญา- ปารมิตา ทั้งสิบสองเล่ม อันเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเมื่อครั้ง ที่ทรงเคลื่อนกงล้อธรรมจักรเป็นวาระที่สอง เป็นพระธรรมเทศนาในช่วง มัชฌิมของพระองค์ ครั้นแล้ว ท่านนาคารชุนจึงได้สรุปหลักใหญ่ใจความ อยู่ที่ " การไม่อิงอาศัยด้วยประการทั้งปวง " อันเป็นหลักใหญ่ของสำนัก มาธยมิก ท่านระบุว่า ความเห็นทางปรัชญาใด ๆ ล้วนพิสูจน์ว่าผิดได้ทั้งนั้น เราจะต้องไม่อิงอาศัยกับคำตอบหรือคำอธิบายความเป็นจริงใด ๆ เลยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นที่สุดโต่งหรือแม้ที่เป็นสายกลาง รวมทั้งข้อสรุปที่ว่า " ใจหนึ่งเดียว " แม้แต่การระบุว่าคำตอบอยู่ที่การไม่อิงอาศัย ก็ไม่ใช่สิ่งพึงประสงค์ มรรควิถี ของท่านคารชุนก็คือการไม่สร้างปรัชญา ซึ่งมรรควิถีนี้ก็หาได้เป็นปรัชญา อีกแบบหนึ่งแต่อย่างใดไม่ ท่านกล่าวว่า " ผู้ฉลาดย่อมไม่อิงอาศัยแม้ในสาย กลางเช่นกัน "


ปรัชญามาธยมิกจึงเป็นการวิจารณ์ทฤษฏีของฝ่ายโยคาจารที่ว่าทุกอย่าง ล้วนเป็นแง่มุมของใจด้วย โดยแย้งว่า " ถ้ากล่าวว่าใจมีอยู่หรือทุกสิ่งล้วน เป็นการละเล่นของใจหนึ่งเดียว ก็หมายความว่า มีผู้เฝ้าดูใจอยู่ คือผู้รู้ใจ ที่ยืนยันการดำรงอยู่ของ ใจ " เพราะฉะนั้น โยคาจารจึงเป็นทฤษฏีของ ผู้เฝ้าดูอยู่นี้ แต่ตามปรัชญาของโยคาจารที่ว่าด้วยความรู้อันโชติช่วงอยู่เอง นั้น ความคิดเชิงอัตวิสัยเกี่ยวกับสภาพหนึ่ง ๆ ล้วนเป็นมายา จะไม่มีผู้รู้ และผู้ถูกรู้ มีแต่ใจหนึ่งเดียว ซึ่งผู้เฝ้าดูก็เป็นส่วนหนึ่งรวมอยู่ด้วย โดย นัยนี้ การสรุปว่าใจหนึ่งเดียวดำรงอยู่ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ดั่งนัยน์ตาที่ไม่ อาจแลเห็นตัวมันเองได้ หรือมีดโกนก็ไม่อาจกรีดตัวเองได้ฉันใด ความรู้ อันโชติช่วงอยู่เองก็ย่อมไม่อาจแลเห็นตัวเองได้ฉันนั้น เพราะโยคาจาร เองก็ย่อมรับอยู่เช่นกัน ว่าไม่มีผู้ใดไปรับรู้ได้ว่าใจหนึ่งเดียวนั้นมีตัวตน อยู่


แล้วเราจะพูดถึงใจหรือความเป็นจริงได้อย่างไรเล่า ในเมื่อไม่มีผู้ใด รับรู้ใจหรือความเป็นจริง และที่ระบุการดำรงอยู่เป็น " สิ่ง " หนึ่ง ๆ หรือเป็น " รูป " ก็ล้วนเป็นมายา ความจริงก็ไม่มี ผู้รับรู้ความจริงก็ ไม่มี ความคิดเกิดแต่การรับรู้ความเป็นจริงก็ไม่มี แต่เมื่อเราขจัดสมมติ บัญญัติเกี่ยวกับใจและความเป็นจริงออกไป สภาพการณ์จะผุดขึ้นมา อย่างแจ่มชัดเอง ตามที่มันเป็น ไม่มีผู้ใดเฝ้าดูอยู่ ไม่มีผู้ใดรับรู้อะไร ความเป็นจริงเพียงแต่เป็นอยู่อย่างนั้น และนี่คือความหมายของ " ศูนยตา " ด้วยญาณหยั่งรู้ดังนี้เอง ที่ตัวผู้เฝ้าดู ซึ่งคอยแยกเราจากโลก จะถูก ขจัดออกไป
 
 
แล้วความเชื่อว่ามีตัว " ฉัน " กับความสับสนกระเจิดกระเจิงทั้งหลาย เหล่านี้ถือกำเนิดมาแต่ไหนกัน อธิบายอย่างคร่าว ๆ มาธยมิกเห็นว่า เมื่อ การรับรู้ในรูปเกิดขึ้น จะเกิดปฏิกิริยาในเชิงลุ่มหลงและระส่ำระสายขึ้น ในส่วนที่สมมติกันว่าเป็นผู้รับรู้อยู่โดยนัย ปฏิกิริยานี้นี้แทบจะเกิดขึ้น พร้อมกับการรับรู้ก็ว่าได้ อาจห่างกันแค่เสี้ยวของเสี้ยววินาที และทันที ที่เราจำได้หมายรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เราจะตั้งชื่อให้มัน ครั้นตั้งชื่อให้แล้ว สิ่งที่จะตามมาก็คือบัญญัติปรุงแต่งต่อไป เราจะบัญญัติสิ่งนั้นว่าเป็นเช่น นั้นเช่นนี้ ซึ่งก็หมายความว่า เราไม่สามารถรับรู้สิ่งนั้น ๆ ตามที่มันเป็น แล้ว เราได้สร้างม่านกรองหรือฉากบังตาขึ้นระหว่างตัวเรากับสิ่งนั้น นี่เองที่เป็นสิ่งที่ยับยั้งไม่ให้ความสำนึกรู้อย่างต่อเนื่องดำเนินไปได้ ทั้งใน ระหว่างและหลังการทำสมาธิภาวนา ฉากบังตานี้จะคอยกันเราไม่ให้มี ความสำนึกรู้กว้างไกล ให้เคลื่อนจากสภาวะที่เป็นสมาธิภาวนา เพราะ เราย่อมอาจไม่แลเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นได้ เป็นอยู่อย่างนี้ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า เราถูกบีบให้ตั้งชื่อ แปลความหมาย คิดไปเรื่อยเปื่อย และสิ่งเหล่า นี้ก็จะจูงเราถอยห่างจากการรับรู้ที่ตรงดิ่งแม่นยำ เพราะฉะนั้น ศูนยตาจึง หาใช่เป็นเพียงการสำนึกรู้ว่าเราเป็นไฉน เป็นอย่างไร เมื่อสิ่งนี้สิ่งนั้น มากระทบ หากเป็นความแจ่มชัดซึ่งพ้นไปจากบัญญัติบังตาและความ สับสนสิ้นเปลืองทั้งหลาย เราจะไม่หลงอยู่กับสิ่งภายนอก และก็ไม่ไป ข้องเกี่ยวอย่างมีตัวตน เป็นอิสระจาก นี่ และ นั่น เหลือแต่ที่ว่างที่ปราศ จากแบบแผนแบ่งแยก ระหว่างนี่กับนั่น ความหมายของทางสายกลาง หรือมาธยมิก เป็นดังที่กล่าวมานี้แล



ประสบการณ์ในเรื่องศูนยตา จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากขาดการรู้จักใช้ศีล และกลวิธีเป็นพื้นฐาน กลวิธีจำเป็นต่อการเริ่มต้น แต่ถึงขั้นหนึ่งแล้วก็ จำเป็นต้องละเสีย และถ้ามองจากแง่มุมของผลที่สุดแล้ว กระบวนการ ชนิดเรียนรู้กับปฏิบัติ หาจำเป็นอย่างใดไม่ เราสามารถรับรู้ภาวะไร้อัตตา ได้ ในชั่วขณะหนึ่ง แต่เราย่อมไม่ยอมรับความจริงพื้น ๆ เยี่ยงนั้น กล่าว อีกนัยหนึ่งเราจะต้องเรียนรู้ที่จะไม่เรียนรู้ เพราะกระบวนการทั้งหมด อยูที่การถอดถอนอัตตาออกไป โดยเริ่มตั้งแต่เรียนรู้ที่จะจัดการกับความ คิดและอารมณ์อันกระเจิดกระเจิง ความเข้าใจในเรื่องความว่างและการ เปิดจะขจัดบัญญัติผิดพลาดทั้งหลายออกไป นี้เป็นประสบการณ์แห่ง ศูนยตา อันหมายถึง " ความว่าง " " ความเปล่า " คือ " ที่ว่าง " นั่นเอง เป็นการว่างจากความคิดบัญญัติทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ ท่านนาคารชุนจึง กล่าวไว้ใน ความเห็นเกี่ยวกับมาธยมิก อันเป็นงานชิ้นสำคัญของท่านว่า " ก็ดุจดังดวงอาทิตย์ย่อมขจัดความมืดแล ปราชญ์ผู้อุดมย่อมพิชิตอนุสัย ผิด ๆ ในใจเสียได้ เขาย่อมไม่เห็นจิตใจหรือความคิดใด ๆ อันเกิดแต่ใจ "


หฤทัยสูตร จบลงด้วย " คาถาอันยิ่ง " ได้แก่มนตร์ คือ ที่กล่าวเป็น คติธิเบตว่า " ฉะนั้น ควรเข้าใจเถิดว่า มนตร์แห่งโลกุตรปัญญา มนตร์ แห่งญาณอันลุ่มลึก มนตร์อันมิมีใดเทียบเทียม มนตร์อันมิมีใดเสมอ เหมือน มนตร์อันสงบรำงับทุกข์ทั้งหลายนี้ คือความจริงแล ไม่อาจ เป็นเท็จไปได้ " อานุภาพแห่งมนตร์นี้ หาได้มาจากอำนาจวิเศษลี้ลับ ของคำไม่ หากมาจากความหมายของคำต่างหาก ที่น่าสนใจคือ เมื่อ พระสูตรได้จบใจความอันว่าด้วยศูนยตา คือ รูปนั้นว่าง ความว่าง ก็คือรูป รูปไม่ใช่อะไรอื่นอกจากความว่าง ความว่างเป็นหนึ่งเดียว กับรูป และอื่น ๆ แล้ว ใจความในพระสูตรยังกล่าวถึงมนตร์ต่อไป ใจ ความช่วงแรกเป็นการพูดถึงสภาวะในการบำเพ็ญสมาธิภาวนา ส่วนใน ช่วงท้ายเป็นการพูดถึงมนตร์หรือคำ เพราะแรกทีเดียวเราจะต้องเกิด ความมั่นใจในความรู้ความเข้าใจของเราเสียก่อน ขจัดสมมติบัญญัติ ทั้งหลายของเราออกไป ไม่ว่าจะเป็นสัสสตวาท หรือนัตถิกวาท บุคคลต้องไปพ้น ต้องตัดเชือกความเชื่อทั้งหลาย และเมื่อบุคคลได้ สำแดงตอย่างหมดเปลือก เปลื้องผ้าออกล่อนจ้อน ลอกหน้ากากออก หมดไม่เหลือ เปลือยเปล่าเปิดออกอย่างสิ้นเชิงแล้ว ชั่วขณะนั้นแล เขาจะเห็นอำนาจของคำ เมื่อเราได้ถลกหนังกำพร้าของอาการหน้า ไหว้หลังหลอกทั้งหลายออกไปจนถึงที่สุด เราจะเริ่มเห็นอัญมณีส่ง ประกายสุกสว่างซึ่งเป็นลักษณะอันทรงพลังและมีชีวิตชีวาของการเปิด เป็นลักษณะอันมีชีวิตชีวาของการยอมจำนน เป็นลักษณะอันมีชีวิตชีวา ของการสละละ

การสละในที่นี้ไม่ได้หมายเพียงการโยนทิ้ง แต่เมื่อเราได้โยนทุกอย่างทิ้ง ไปแล้ว เราจะเริ่มรู้สึกได้ถึงลักษณะอันมีชีวิตชีวาของความสงบสันติ ความสงบนี้ไม่ใช่ความสงบอย่างอ่อนแอ หรือเปิดอย่างอ่อนแอ แต่ได้ รวมเอาความแข็งแกร่งเข้าไว้ เป็นลักษณะอันตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวเพราะ หาได้มีช่องว่างให้แก่อาการหลอก ๆ อันใดไม่ เป็นความสงบที่แผ่ไป ทุกทิศ ไม่เหลือที่แม้แต่น้อยให้แก่ความลังเลสงสัยหรือความหน้าไหว้ หลังหลอก การเปิดอย่างสิ้นเชิงจึงเป็นชัยชนะชั้นเด็ดขาด เพราะเราไม่ กลัวเกรง เราไม่พยายามปกป้องตัวเองแม้แต่น้อย เพราะฉะนั้น นี่จึงเป็น มนตร์อันยิ่ง ที่กล่าวว่า โอม คเต คเต ปรคเต ปรสัมคเต โพธิ สวาหะ หลายคนคงสงสัยว่า ไฉนจึงกล่าวเช่นนี้ แทนที่จะกล่าว โอม ศูนยตา มหาศูนยตา หรืออะไรทำนองนี้ ทำไมไม่กล่าวว่า คเต คเต " ผ่านไป ผ่านไป ผ่านไปสิ้นแล้ว " ก็เพราะการกล่าวเช่นนี้มีน้ำหนักกว่าการกล่าว คำว่า " ศูนยตา " มากทีเดียว เพราะคำว่า " ศูนยตา " อาจกลายเป็นการ ตีความทางปรัชญาไปก็ได้ ฉะนั้น แทนที่มนตร์บทนี้จะสร้างปรัชญา ขึ้นมา กลับสำแดงสิ่งที่ไปพ้นระบบปรัชญาทั้งหลาย จึงใช้ว่า คเต คเต หมายถึง " ผ่านไป ละแล้ว กำจัดแล้ว เปิดแล้ว " คเต ครั้งแรก คือการ " กำจัดอารมณ์ขัดแย้งอันเป็นฉากบังตา " คเต ครั้งหลัง หมายถึงความ เชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับความเป็นจริง ซึ่งก็เป็นฉากบังตา กล่าวอีกนนัยหนึ่ง คเต แรก แทนความคิดว่า " รูปนั้นว่าง " คเต ที่สองแทน " ความว่างเปล่า " มนตร์คำต่อไปคือ ปรคเต หมายถึง " ผ่านพ้นไป ลอกออกสิ้น " ถึงตรงนี้ รูปก็คือรูป ดังที่กล่าวว่า ปรคเต ใช่แต่เท่านั้น ความว่างเปล่าก็คือความว่าง เปล่า ปรสัมคเต " ผ่านไปสิ้นแล้ว " โพธิ ในที่นี้หมายถึง " ตื่นอย่างหมดจด " หมายความก็คือ " ละหมดลอกหน้ากากออกหมด เปล่าเปลือยเปิดเต็มที่ " ส่วน สวาหะ เป็นคำท้ายมนตร์ที่ใช้กันมาแต่โบราณซึ่งหมายถึง " ดังนี้แล " " ผ่านไป ผ่านไป ผ่านไปพ้น ลอกออกสิ้น ตื่นขึ้นอย่างหมดจด ดังนี้แล "
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5063


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 มกราคม 2554 17:19:39 »

ถาม : ความทะยานอยากนำไปสูการเกิดได้อย่างไร
 
 
ตอบ : ทุกครั้งที่เกิดความทะยานอยาก การเกิดจะตามมา เพราะคุณหว่าน เพาะความต้องการไว้ จะเป็นความต้องการทำโน่นทำนี่ก็ดี ความอยากจับ ฉวยนี้จะเชื้อเชิญสิ่งอื่นตามมา การเกิด ( ชาติ ) ในที่นี้หมายถึงการเกิดของ ควาสับสน ความขัดข้องใจและความต้องการยิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อคุณอยากได้ เงิน แล้วคุณหามาได้ คุณก็อยากใช้เงินซื้อนั่นนี่ จากจุดหนึ่งโยงกันต่อ ๆ ไปเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ จนความทะยานอยากนั้นกลายเป็นตาข่ายคุณ คุณ อยากจะได้นั่นได้นี่ อยากจะฉวยสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ ไม่รู้จบ


แต่ประสบการณ์แห่งศูนยตา อันเป็นการแลเห็นสิ่งที่เป็นอยู่ อย่างเที่ยง ตรง คมชัด จะตัดตาข่ายคลุมอันเป็นดั่งใยแมงมุมนี้ เพราะใยแมงมุมนี้ ถูกชักอยู่ในที่ว่างแห่งความทะยานอยาก ที่ว่างแห่งความต้องการ และ อาจกล่าวได้ว่า เมื่อที่ว่างแห่งศูนยตาได้เข้ามาแทนที่ระบบบัญญัติทั้ง หลายของความทะยานอยากจะถูกกำจัดไปสิ้น ราวกับว่าคุณได้ไปถึง ดาวดวงใหม่ที่มีบรรยากาศแตกต่างออกไป เหมือนกับที่ที่ไม่มีอ๊อกซิเจน อยู่เลย ดังนั้น ศูนยตาจึงให้บรรยากาศใหม่ให้สภาพแวดล้อมใหม่ ที่ไม่ อุ้มชูอาการยึดติดหรือจับฉวยอันใด ทั้งยังทำให้เมล็ดพันธุ์แห่งกรรมทั้ง หลายไม่อาจงอกเงยขึ้นได้ เพราะเหตุนี้ ศูนยตาจึงเป็นแดนกำเนิดแห่ง พุทธะทั้งปวง แห่งผู้ตื่นแล้วทั้งปวง คำว่า " ตื่น " หมายถึง การไม่ข้อง เกี่ยวกับปฏิกิริยาลูกโซ่ และกระบวนการอันซับซ้อนแห่งกรรมนั่นเอง


ถาม : อะไรโน้มเอียงเรา ไม่ให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นจริง
 
 
ตอบ : ส่วนใหญ่เป็นเพราะเรากลัวว่าเราจะเห็นอย่างนั้น
 
 
ถาม : แล้วทำไมเราถึงกลัว
 
 
ตอบ : เพราะเราต้องการสายรกมาต่อกับอัตตา จะได้หล่อเลี้ยงมัน ไว้ได้ตลอดไป
 
 
ถาม : ความเข้าใจได้ว่า " ความว่างเปล่าคือรูป " เกิดขึ้นโดยอาศัยวิธี ปฏิบัติสมาธิภาวนา หรือเกิดขึ้นโดยธรรมชาติเอง
 
 
ตอบ : การแลเห็นศูนยตาไม่ได้อาศัยกรีฑาทางใจแต่อย่างใด เป็นเพียง การเห็น จะเป็นในระหว่างนั่งสมาธิ หรือในชีวิตประจำวันก็ได้ ไม่มี รูปแบบใดตายตัว อย่างนโรปะโยคาจารผู้ยิ่งใหญ่จากอินเดีย ท่านแล เห็นศูนยตาก็ตอนที่อาจารย์ของท่านถอดรองเท้าแตะออกมาตบแก้ม ของท่าน ชั่วขณะนั้นแหละ ที่ท่านได้เห็น และการเห็นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับ สภาพการณ์ของบุคคล
 
 
ถาม : อย่างนั้น มัก็ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องไปแสวงหา
 
 
ตอบ : ถ้าเราช่ำชองจริง ทุ่มเทแสวงหาจริง ทุ่มเทเพื่อจะเข้าใจให้ได้จริง เราก็จะต้องเลิกแสวงหามัน
 
 
ถาม : ผมสงสัยว่าเราจะประสานระหว่างบัญญัติเรื่องศูนยตากับสิ่งที่กำลัง เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้ได้อย่างไร
 
 
ตอบ : เมื่อคุณแลเห็นศูนยตา นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณไม่เห็นอะไรอีก แล้ว ไม่มีชีวิตอยู่บนโลกอีกแล้ว คุณจะยังอาศัยอยู่บนโลก แต่เห็นสิ่งที่ อยู่ตรงนี้ได้อย่างเที่ยงตรงขึ้นต่างหาก เรามักเชื่อกันว่าเรารู้จักสิ่งทั้งหลาย ตามที่มันเป็น แต่ที่จริงเราเห็นแต่ความเห็นของเราที่มีต่อสิ่งนั้นซึ่งยังไม่ สมบูรณ์ ยังมีเรื่องที่เราต้องเรียนรู้อีกมากเกี่ยวกับความละเอียดลุ่มลึกของ ชีวิต สิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นเพียงการรู้เห็นสิ่งที่เป็นอยู่ได้แต่อย่างหยาบ ๆ การ ประสบกับศูนยตาครั้งหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าโลกทั้งโลกจะถูกหลอม ละลายเป็นที่ว่างไปหมด แต่คุณจะเริ่มสังเกตเห็นที่ว่าง โลกจะแออัดยัด เยียดน้อยลง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไปสื่อสารกับใครสักคน เรามักเตรียม ตัวเตรียมใจไว้พร้อม ว่าเราจะพูดอย่างนั้น ๆ ให้เขาสงบใจ อธิบายให้เขา เข้าใจว่าอย่างนี้อย่างนั้น แต่แล้วเขากลับมาด้วยความสลับซับซ้อนของเขา เอง เขากวนตัวเองจนขุ่น จนกระทั่ง กว่าคุณจะรู้ว่าคุณอยู่ที่ไหน คุณก็ สับสนไปกับเขาแล้ว คุณกลับรับเอาความสับสนเข้าไว้ แทนที่จะชัดเจน อย่างที่เตรียมตัวไว้แต่แรก คุณกลับตกเข้าไปในความสับสนของเขา ศูนยตา อยู่ตรงนี้ ตรงที่มองพ้นความสับสนออกไป ตรงที่สามารถดำรงความเที่ยง ตรงและคมชัดไว้เสมอ
 
 
ถาม : ถ้าทำอย่างนี้ได้ เราจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกหรือ
 
 
ตอบ : แน่นอน การตรัสรู้ไม่ได้หมายความถึงการตาย หาไม่ การตรัสรู้ ก็ไม่ผิดอะไรกับการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นเรื่องเหลวไหล ฝ่ายนัตถิกวาทอาจ มองเช่นนั้น ซึ่งเป็นการพยายามหนีโลก


ถาม : ผู้ตรัสรู้แล้วจะเป็นสัพพัญญู รู้หมดทุกสิ่งทุกอย่างหรือเปล่า
 
 
ตอบ : ข้าพเจ้าเกรงว่าความเข้าใจอย่างนั้นจะมาจากทฤษฏีใจหนึ่งเดียว ของฝ่ายโยคาจาร ซึ่งมักปรากฏอยู่ทั่วไปในปรัชญาและศาสนาอีกหลาย สำนัก คือเข้าใจว่าบุคคลผู้ตรัสรู้แล้วจะกลายเป็นใจหนึ่งเดียวนั้น และ รู้ได้ทุกสิ่งทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต ถ้าคุณยังติดข้องอยู่กับสิ่ง " ลี้ลับ " สิ่งที่ไม่อาจรู้ได้ คุณก็มักจะคิดเช่นนี้ แต่ข้าพเจ้าเกรงว่าสิ่งที่เรียกกันว่า ใจหนึ่งเดียวนั้น คงจะไม่มีอยู่จริง


ถาม : เราจะเริ่มเห็นสิ่งที่เป็นอยู่ได้อย่างไร
 
 
ตอบ : ด้วยการไม่เริ่ม ด้วยการละทิ้งความคิดทั้งหลายเกี่ยวกับการเริ่ม ถ้าคุณยังพยายามยืนยันให้มีขอบเขตเฉพาะของคุณ คุณจะไม่มีวันเห็น ศูนยตา คุณจะต้องทิ้งความคิดตีกอบทั้งหลายไปให้หมด ซึ่งทำได้ ไม่ ใช่ทำไม่ได้ ไม่ได้เป็นเพียงการคาดคะเนทางปรัชญา เราสามารถทิ้ง ความคิดตีกรอบทั้งหลายได้ แต่เราไม่สามารถเริ่มได้ดอก
 
 
ถาม : ก่อนที่เราจะละทิ้งได้ ก่อนที่เราจะไม่เริ่ม เราต้องอาศัยการเพียร พยายามอย่างหนักมาจนหมดเรี่ยวแรงหรือเปล่า เราจะละก่อนจะลอง พยายามได้หรือไม่ มีทางลัดหรือไม่ เจ้าลิงจะต้องวิ่งกระแทกกำแพง และเพ้อคลั่งให้เต็มที่เสียก่อนหรือเปล่า
 
 
ตอบ : ผมคิดว่าต้อง การตรัสรู้ฉับพลันย่อมมาพร้อมกับอาการหมดเรี่ยว หมดแรงเท่านั้น ความฉับพลันนี้ไม่จำเป็นต้องหมายความว่ามีทางลัดใน บางกรณี คนบางคนอาจประสบกับการตรัสรู้แวบหนึ่ง ( ตทังควิมุติ ) แต่ถ้าเขาปล่อยตัวปล่อยใจ อนุสัยเดิมก็จะกลับมา แล้วจิตใจของเขาก็ จะยุ่งเหยิงอีก ก็อย่างที่คุณพูดนั่นแหละ ที่เราต้องก้าวเดินก็เพราะถึงจุด ที่คุณเริ่มคับข้องใจเสียเต็มประดานั่นแหละ ที่คุณจะสำเร็จ
 
 
ถาม : นี่เท่ากับว่า ต้องกลับไปหาหินยานมรรค เกี่ยวกับเรื่องความเคร่ง ครัดน่ะสิ ใช่หรือไม่
 
 
ตอบ : ถูกแล้ว สมาธิภาวนาเป็นงานหนัก เป็นงานใช้แรง จะพูดอย่างนี้ ก็ได้



ถาม : เมื่อเริ่มแล้ว ดูคล้ายกับว่ามีบางอย่างที่ต้องทำ
 
 
ตอบ : มีแน่ แต่สิ่งที่คุณต้องกระทำนั้น สัมพันธ์กับชั่วขณะนั้น ๆ มาก กว่าที่จะสัมพันธ์กับการบรรลุเป้าหมายบางประการในอนาคต ซึ่งนี้จะ นำเรากลับไปหาการปฏิบัติสมาธิภาวนา การทำสมาธิภาวนาไม่ใช่การ เริ่มย่างก้าวเข้าไปในมรรค แต่เป็นการตระหนักได้ว่า คุณอยู่บมรรคเรียบ ร้อยแล้ว โดยดำรงอยู่กับสภาวะปัจจุบันของปัจจุบันขณะ เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้ และเดี๋ยวนี้ คุณไม่ต้องเริ่ม เพราะคุณไม่เคยออกจากมรรคเลย
 
 
ถาม : ที่ท่านอธิบายว่า บุคคลตรัสรู้นั้นพ้นไปจากโซ่ตรวนแห่งกรรมแล้ว ผมสงสัยอยู่ว่าหมายความกระไรแน่เพราะ ผมกำลังคิดอยู่ว่า นั่นอาจก่อ ให้เกิดโซ่ตรวนแห่งกรรมแบบใหม่ก็เป็นได้


ตอบ : คำว่า " กรรม " หมายถึง " ก่อ " หรือ " กระทำ " ปฏิกิริยาลูกโซ่ ตัวอย่าง เช่น เมื่อเรามองไปในอนาคต เราจะหว่านเมล็ดพันธุ์ไว้ใน ปัจจุบัน แต่สำหรับท่านผู้ตรัสรู้แล้ว ท่านไม่ได้วางแผนสำหรับอนาคต เพราะท่านไม่ต้องการความมั่นคงอันใดเพื่อตัวท่านเอง ท่านไม่ประสงค์ จะรู้รูปแบบของอนาคตอีกต่อไป ท่านได้พิชิตสมมติบัญญัติว่า " อนาคต " ได้แล้ว ท่านดำรงอยู่ในปัจจุบันอย่างเต็มเปี่ยม ศักยภาพของอนาคตอยู่ ในปัจจุบันนี้ ตลอดทั้งอดีตด้วยเช่นกัน ก็อยู่ในปัจจุบันนี้ ท่านผู้ตรัสรู้ แล้วย่อมเป็นนายเหนือกรรมแห่งจิต อันร้อนรนและยุ่งเหยิง ท่านดำรง อยู่ในปัจจุบันอย่างสมบูรณ์ ท่านจึงพ้นแล้วจากาการหว่านพืชพันธุ์แห่ง กรรม ท่านไม่หว่านอีกแล้ว เมื่ออนาคตมาถึง ท่านก็ไม่ได้มองว่ามันเป็น ผลมาจากกุศลกรรมในอดีตแต่อย่างใด หากท่านจะเห็นว่ามันเป็นปัจจุบัน อยู่ตลอดเวลา เพราะเหตุนี้ ท่านจึงไม่ได้ก่อปฏิกิริยาลูกโซ่อันใดไว้อีก ต่อไป


ถาม : " ลักษณะตื่นขึ้น " ต่างจากการดำรงอยู่ในปัจจุบันหรือไม่
 
 
ตอบ : ต่างกัน การตรัสรู้คือการตื่นอยู่ในปัจจุบันภาพ เดรัจฉานก็อยู่ใน ปัจจุบัน ทารกก็อยู่ในปัจจุบัน หากแตกต่างกันมากกับการตื่นหรือการ ตรัสรู้


ถาม : ไม่ค่อยเข้าใจว่า ทำไมเดรัจฉานกับทารกจึงอยู่ในปัจจุบัน และ ต่างกับผู้ตรัสรู้แล้วอย่างไร
 
 
ตอบ : สิ่งที่ต่างกันอยู่คือ การอิงอาศัยบางสิ่งบางอย่างกับการดำรงอยู่ ในสภาวะปัจจุบันอย่างแท้จริง ในแง่ของ " การตื่น " ทารกกับเดรัจฉาน ต่างอยู่ในปัจจุบันแต่อิงอาศัยปัจจุบัน และย่อมได้รับผลสะท้อนบางอย่าง จากการรอิงอาศัยนั้น แม้จะไม่สังเกตุเห็นอย่างรู้สำนึก ส่วนบุคคลผู้ตรัส รู้แล้ว เขาไม่อิงกับความคิดว่า " ฉันเป็นภาวะที่ตรัสรุ้แล้ว " เพราะท่าน พ้นไปจากความคิดว่า " ตัวฉัน " ท่านเพียงแต่ดำรงอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ไป พ้นแล้วจากการแบ่งผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำออกจากกัน


ถาม : ถ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ไม่มีอัตตา ไม่รู้สึกโศกเศร้าเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับ ตน แต่รู้สึกเช่นนั้นกับคนอื่น ๆ ที่อยู่รอบข้าง เราจะเรียกความปรารถนา ที่จะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์นั้น ว่า " ความทะยานอยาก " หรือไม่


ตอบ : คงไม่เป็นเช่นนั้น ความทะยานอยากจะเกิดขึ้น เมื่อคุณต้องการ เห็นคนอื่นมีความสุข และเมื่อคน ๆ นั้นเป็นสุข คุณก็จะสุขไปด้วย ที่ได้ ช่วยทำให้เขามีความสุข ในแง่หนึ่ง ก็เท่ากับว่าเป็นการทำความสุขให้ แก่ตัวเอง ไม่ใช่เพื่อผู้อื่น เพราะคุณอยากเห็นเขาเป็นสุข แต่ผู้ตรัสรู้แล้ว หามีความอยากดังนี้ไม่ เมื่อมีคนต้องการความช่วยเหลือ ท่านเพียงแต่ ให้ไป โดยไม่มีความรู้สึกชื่นชมตัวเอง หรือรู้สำนึกบุญคุณของตัวเอง เข้ามาเกี่ยวข้อง


ถาม : ทำไมท่านจึงตั้งชื่อศูนย์นี้ว่า กรรม ซอง
 
 
ตอบ : กรรม หมายถึง " กระทำ " ซึ่งรวมถึง " พุทธจริยา " และ ซอง เป็นภาษาธิเบต แปลว่า " ป้อมปราการ " กล่าวคือ สภาพทั้งหลายล้วน เป็นไปเอง ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีใครกำหนดให้เป็นเช่นนั้น เป็นการบัง เกิดขึ้นและพัฒนนาต่อกันมาอย่างไม่รู้จบ นอกจากนี้ยังดูเหมือนจะมี พลังที่ไม่อาจมีใครบิดเบือนได้ เป็นพลานุภาพที่อยู่ในป้อมปราการ สิ่ง ที่เกิดขึ้นก็เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น กรรม ซองจึงเป็นไปในรูปของกฏแห่ง กรรมที่เป็นไปเอง ยิ่งกว่าจะเป็นงานแบบมิชชันนารี หรืองานเปลี่ยน คนมาเข้ารีตเป็นชาวพุทธ
 
 
ถาม : สมาธิกับนิรวาณ ( นิพพาน ) เกี๋ยวข้องกับศูนยตาอย่างไร
 
 
ตอบ : นี่เป็นเรื่องการใช้คำมากกว่าอื่น เพราะโดยอรรถแล้วคำนี้ต่าง กันเพียงจุดที่เน้น สมาธิเป็การทุ่มเทหมดตัว นิรวาณคืออิสรภาพ ทั้ง สองอย่างล้วนเกี่ยวพันกับศูนยตา กล่าวคือ เมื่อเราประสบกับศูนยตา เราจะทุ่มเทหมดตัว โดยไม่แบ่งแยกเป็นสองระหว่างผู้กระทำหรือ ผู้ถูกกระทำ และเราก็เป็นอิสระจากความสับสนทั้งปวง
 
 
- จาก ลิงหลอกเจ้า โดย ท่านวัชรจารย์ ตรุงปะ รินโปเช -
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 มีนาคม 2554 19:52:04 »




อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณมด


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ลิงหลอกเจ้า : ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ( โดย เชอเกรียม ตรุงปะ )
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 3 11243 กระทู้ล่าสุด 15 มิถุนายน 2553 19:52:13
โดย มดเอ๊ก
ลิงหลอกเจ้า : อริยสัจสี่
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 2 2798 กระทู้ล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2554 08:45:00
โดย เงาฝัน
ลิงหลอกเจ้า : โพธิสัตวมรรค
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 4 3817 กระทู้ล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2554 08:48:04
โดย เงาฝัน
ลิงหลอกเจ้า : ปรัชญา และ กรุณา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 2 2514 กระทู้ล่าสุด 14 มกราคม 2554 10:25:11
โดย เจ้าทึ่ม
ลิงหลอกเจ้า ทะลวงวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ (น่าอ่านทั้ง 2 ฉบับ)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2563 กระทู้ล่าสุด 02 พฤศจิกายน 2560 05:17:10
โดย monopoly6688
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.426 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 พฤศจิกายน 2566 07:03:42