[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 08:32:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศาสนาเต๋า หรือลัทธิเต๋า : ที่มา-ตำนาน  (อ่าน 4896 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2558 13:54:25 »

.



ศาสนาเต๋า หรือลัทธิเต๋า

จากข้อมูลของวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ศาสดาของศาสนาเต๋าชื่อ เล่าจื๊อ (Lao-Tzu, Lao=แก่, Tzu=อาจารย์) แปลว่า นักปราชญ์ผู้เฒ่า ซึ่งเป็นชื่อสมญา ส่วนนามจริงคือ ลี้ตัน ตำนานเล่าว่า เมื่อเกิดมามีผมขาวโพลน เกิดในตระกูลชาวนายากจนทางภาคกลางของจีนเมื่อปี ๖๐๕ ก่อนค.ศ. เล่าจื๊อฉลาดมาตั้งแต่เด็ก ชอบสังเกตธรรมชาติและนิยมการดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ รักสันโดษ

ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมอาลักษณ์ เป็นนักปราชญ์และนักประวัติศาสตร์ประจำราชสำนัก แต่เล่าจื๊อท้อแท้ใจกับการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่มีอยู่ทั่วไป จึงลาออกจากราชการ มุ่งหาความสงบอย่างสันโดษ โดยไปยังภูเขาทางทิศตะวันตก แต่เมื่อถึงประตูเมือง นายประตูผู้รักษาด่านพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือแห่งเมืองโฮนานจำท่านได้ ขอให้ท่านหยุดพักเพื่อเขียนคำสอนทางปรัชญาไว้ให้คนรุ่นหลัง เล่าจื๊อจึงเขียนคัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง หรือเต๋าเต๋อจิง เป็นอักษรจีนประมาณ ๕,๐๐๐ คำ จากนั้นก็เดินทางต่อไป ตั้งแต่นั้นมาไม่มีใครทราบเรื่องราวของท่านอีกเลย

ศาสนาเต๋า เกิดและพัฒนาในสมัยบ้านเมืองระส่ำระสาย ประเทศจีนแตกออกเป็นแคว้นใหญ่ๆ หลายแคว้น มีสงครามยืดเยื้อภายในประเทศ สังคมมีแต่ความสับสนวุ่นวาย เหตุการณ์เลวร้ายเหล่านี้ผลักดันให้นักปราชญ์จีนพยายามหาแนวทางที่จะปรับเปลี่ยนความคิดของนักปกครองเพื่อให้บ้านเมืองมีความสงบ อาจกล่าวได้ว่าศาสนาเต๋าเริ่มต้นด้วยการเป็นปรัชญาการปกครอง คำสอนของเล่าจื๊อเป็นแนวทางครองชีวิตของผู้ใฝ่รู้เพื่อพัฒนาจิตใจของตนเอง โดยเน้นการดำเนินชีวิตอย่างง่ายๆ กลมกลืนกับธรรมชาติ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ เพื่อจะได้มีความสงบในจิต ทั้งเน้นการรู้จักบังคับตนเอง คำสอนของเล่าจื๊อจัดเป็นปรัชญามากกว่าศาสนา เน้นจริยธรรมมากกว่าพิธีกรรม

ปัจจุบันคำสอนของเล่าจื๊อยังคงมีอิทธิพลมหาศาล ไม่ว่าจะรู้จักกันในชื่อศาสนาเต๋า หรือปรัชญาเต๋า หรือลัทธิเต๋า ความรู้ที่นักปราชญ์ฝ่ายเต๋าได้ช่วยกันสะสมและถ่ายทอดสืบต่อกันมาหลายชั่วคนได้กลายมาเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาอันลุ่มลึกและหลากหลายที่โลกปัจจุบันกำลังพยายามศึกษาด้วยความทึ่งและนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง กล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีวิทยาการสาขาใดเลยในอารยธรรมอันยาวนานของประเทศจีนที่ไม่ได้รับอิทธิพลของมรดกทางปัญญาฝ่ายเต๋า

ยังมีข้อมูลจากวิกิพีเดียว่า เล่าจื๊อมีชีวิตอยู่ในช่วงของสงครามปรัชญาและสงครามการเมืองยุคชุนชิว พงศาวดารระบุไว้ว่าเกิดในแคว้นขู่ ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณอำเภอลู่อี้ มณฑลเหอหนาน

บางตำนานกล่าวว่า เมื่อเกิดมามีผมสีขาว และอยู่ในครรภ์มารดานานถึง ๘ ทศวรรษ หรือ ๘๐ ปี เกิดที่หมู่บ้านชีเหยินลี อำเภอขู่เสี้ยน แคว้นฉู่ เมื่อวันที่ ๑๕ เดือนยี่ ก่อน ค.ศ.ราว ๕๗๖ ปี (ก่อนพ.ศ. ๓๓ ปี)

และจากพงศาวดารของซือหม่าเซียนกล่าวว่า เล่าจื๊อมีอายุมากกว่าขงจื๊อ แต่อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน และเคยได้พบปะเสวนาโดยพบเจอกันโดยบังเอิญในแคว้นโจว (ปัจจุบันคือแถบเมืองลั่วหยาง) เมื่อขงจื๊อมาค้นหาตำราในห้องสมุด ทั้งสองได้แลกเปลี่ยนทัศนคติความเห็นในหลายๆ ด้านเป็นเวลาหลายเดือน ขงจื๊อกล่าวว่า "การได้เสวนากับท่านเล่าจื๊อ ถือว่าเป็นการศึกษาที่ล้ำลึกและดีเยี่ยมกว่าหนังสือในห้องสมุดเสียอีก"

คัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง หรือเต๋าเต๋อจิง มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของประเทศจีนอย่างมาก ภายในคัมภีร์มีเนื้อหาด้านปรัชญาบุคคล ความกลมกลืนต่อการใช้ชีวิตกับธรรมชาติ จนถึงปรัชญาการเมือง

จากการตีความ คำว่า เต๋า ในคัมภีร์ มักจะหมายถึงมรรค หรือหนทาง หรือธรรม ซึ่งมีความหมายกว้างๆ และมักตีความหมายในแนวเป็นไปตามธรรมชาติ การกระทำที่สอดคล้องกับวิถีแห่งเต๋าใดๆ จะสามารถบรรลุมรรคผลได้โดยง่าย เล่าจื๊อเชื่อว่า ควรหลีกเลี่ยงความรุนแรงต่างๆ เท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนคำว่า เต็ก หรือ เต๋อ หมายถึงคุณธรรม ซึ่งถึงแม้ว่าเล่าจื๊อจะไม่ได้ปลูกฝังวัฒนธรรมหยั่งลึกได้เทียบเท่ากับ ขงจื๊อในอารยธรรมจีน แต่ท่านก็ยังเป็นที่เคารพนับถือโดยทั่วไป ทั้งแนวความคิดและการปฏิบัติตามหนทางแห่งเต๋า


ข้อมูล-ภาพ : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.251 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 22 เมษายน 2567 19:05:48