[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 21:40:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คนเราสามารถเป็นคนดี โดยไร้ศาสนาได้หรือไม่ ?  (อ่าน 2428 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 มกราคม 2554 10:32:08 »



       http://img294.imageshack.us/img294/4994/buddha.gif
คนเราสามารถเป็นคนดี โดยไร้ศาสนาได้หรือไม่ ?


คนเราสามารถเป็นคนดี โดยไร้ศาสนาได้หรือไม่ ?
มนูญ - วิศวะ 16 ... ส่งมา

ปู่อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ค เคยเขียนไว้ว่า " โศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษย์คือ  การที่ศีลธรรมถูกศาสนาแย่งชิง ไม่ว่ามันจะมีค่า หรือจำเป็นเพียงใดต่อการบังคับให้คนในยุคโบราณทำดี การรวมของสองสิ่งนี้กลับให้ผลตรงข้าม และในช่วงเวลาที่สองสิ่งนี้ควรถูกแยกออกจากกัน คนโง่ที่คิดว่าตนเองมีศีลธรรมแก่กล้ากว่า  กลับเรียกร้องให้ผู้คนหวนคืนสู่ศีลธรรมด้วยสิ่งเหนือธรรมชาติ "

สำหรับชาวเราที่โตมากับการเรียนวิชาศีลธรรมในโรงเรียน หรือคนที่เข้าโบสถ์ทุกอาทิตย์ อาจรู้สึกว่านี่เป็นคำกล่าวที่ผูกกับระเบิดลูกใหญ่  ความคิดใดๆ ที่แย้งกับสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง มักยอมรับกันได้ยาก คุยเรื่องนี้แล้วอาจถูกตีหัว หรือถูกหาว่าเป็นมารศาสนาได้ง่ายๆ

ทว่าในฐานะของชาวพุทธที่ได้รับการสอนเรื่องกาลามสูตร  นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะไตร่ตรองดูว่า มีความจริงมากน้อยแค่ไหนในคำกล่าวข้างต้น  บางทีมันอาจเป็นโอกาสให้เราปัด " ฝุ่น " ที่เกาะใจเรามาโดยที่ไม่รู้ตัว  ที่สำคัญคือหากเราจะเข้าใจตัวเอง และชีวิตมนุษย์บนโลกดีขึ้น  ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องกล้าตั้งคำถาม  และวิเคราะห์ข้อคิดแย้งใดๆ ให้ถึงแก่น

มนุษย์แทบทุกมุมโลกถูกสั่งสอนมาแต่เด็กให้เชื่อมคำว่า " ศีลธรรม " " การทำดี " เข้ากับคำว่า " ศาสนา "  การเป็น atheist ( คนที่ไม่มีศาสนา, คนที่ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า ) หรือ free thinker ในโลกนี้จึงมักถูกเข้าใจผิดเสมอ หลายคนฝังใจว่าการไร้ศาสนา คือการไร้ศีลธรรม

ทว่าการ " ไร้ศาสนา " กับ  " ไร้ศีลธรรม " เป็นคนละเรื่องกัน  แน่ละ  คนไร้ศาสนาจำนวนมากกระทำเรื่องชั่วร้าย แต่ประวัติศาสตร์โลกเราก็บันทึกตัวอย่างมากมายของการกระทำชั่วโดยคนที่มีศาสนา  ตั้งแต่ฮิตเลอร์ไปจนถึงผู้นำชาติมหาอำนาจที่ก่อสงครามเป็นว่าเล่น  ล้วนแต่เป็นคนที่เข้าโบสถ์สม่ำเสมอ  ดังนั้นการเชื่อมโยง " ไร้ศาสนา " กับ " ไร้ศีลธรรม " ก็เช่นการบอกว่า สุนัขทุกตัวที่ไม่ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ต้องเป็นสุนัขบ้า

คนเราสามารถเป็นคนดีโดยไร้ศาสนาได้หรือไม่ ?  อาจต้องเริ่มที่การตั้งคำถามว่า อะไรคือความดี ? เราวัดความดีอย่างไร ? ช่วยจูงคนแก่ข้ามถนน ? ไม่เป็นเด็กแว๊น เด็กสก๊อย ? อะไรคือศาสนา ?  มันคือการไม่ฆ่าคน ? ไม่โกหก ? ไม่ขโมย ? ไม่ประพฤติผิดในกาม ? มีเมตตาเกื้อกูลเพื่อนร่วมโลก ? ความดีเป็นสิ่งที่เกิดมากับจักรวาลหรือไม่?  หรือว่ามันเกิดขึ้นหลังจากมนุษย์ปรากฏขึ้นบนโลก ? มันเกี่ยวกับการที่เราอยู่กันเป็นสังคมหรือไม่ ?  ทำไมศาสนาเพิ่งถือกำเนิดมาในโลกนานหลังจากมนุษย์สร้างอารยธรรม ? สัตว์มีศาสนาหรือไม่ ?

ถ้าเราใช้ข้อปฏิบัติตามที่บัญญัติในศาสนาเป็นเครื่องวัดความดี  เราก็อาจต้องถามต่อไปว่า ปลาวาฬปลาโลมาที่ช่วยชีวิตคนที่ประสบภัยกลางทะเลก็รู้จักทำดี ?  ลิงบางสายพันธุ์ที่ช่วยกันดูแลลิงที่เจ็บป่วยก็มีศีลธรรม ?

การมองว่าสัตว์ก็สามารถพัฒนา " ศีลธรรม " ได้ ไม่ใช่เรื่องเหลวไหล  หลักฐานทางวิทยาศาสตร์คล้อยไปในทิศทางว่า  สายสัมพันธ์ในสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันเป็นสังคม  มีความเอื้ออาทรแบบเป็นพ่อแม่ลูก  เมื่อพัฒนาสติปัญญาถึงระดับหนึ่ง ก็มักจะเกิดความรู้สึกทางศีลธรรม หรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีโดยเลี่ยงไม่พ้น  เห็นชัดว่ารากฐานของศีลธรรมนั้นเริ่มจากการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ( empathy )

ลองสมมุติว่าคุณเป็นมนุษย์เพียงคนเดียวในโลกที่ไร้สัตว์  มีแต่ธรรมชาติ  คุณยังจะต้อง " ทำดี " หรือไม่ ?  เมื่อวัดด้วยมาตรศีลธรรมของทุกศาสนาในโลก  คำตอบก็คือ ไม่ !  คุณฆ่าคน และสัตว์ไม่ได้เพราะไม่มีอะไรให้คุณฆ่า  คุณโกหกไม่ได้ เพราะไม่มีใครให้คุณโกหก  คุณขโมยของไม่ได้เพราะไม่มีอะไรให้ขโมย ฯลฯ  นี่อาจหมายความว่าการทำดี และศีลธรรม ไปจนถึงศาสนาเป็นผลผลิตของสัตว์สังคม  เป็นวิวัฒนาการทางธรรมชาติของสัตว์ชั้นสูงที่พัฒนาระบบประสาทถึงระดับหนึ่ง  มองในมุมของหลักวิวัฒนาการ  การกำเนิดของศาสนาในโลกเป็นกลไกที่จำเป็น  เป็นระบบที่ทำให้สังคมอยู่รอดได้  เพราะสังคมที่ผู้คนเกื้อกูลกัน  ย่อมมีโอกาสอยู่รอดสูงกว่าสังคมที่คนทะเลาะกัน  เช่นเดียวกับสัตว์หลายชนิดที่อยู่เป็นฝูง  เตือนภัยให้กันเมื่อศัตรูมา  หากพวกมันทะเลาะกัน  ย่อมจะตกเป็นอาหารของสัตว์อื่นจนหมดสิ้นเผ่าพันธุ์


เช่นนั้น  เราสรุปได้ไหมว่า ความดีความเลวเป็นผลผลิตของมนุษยชาติ  รากฐานของการเกิดความดีความชั่วมาจากการกำเนิดสังคม ? และหากก้าวไปไกลอีกขั้น ความดีความเลวเป็นเพียงสิ่งสมมุติที่เราสร้างขึ้นมา ?

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 มกราคม 2554 10:45:41 »



หากถามชาวพุทธทั่วไปที่เรียนวิชาศีลธรรมในห้องเรียนมาตั้งแต่เด็กว่า  อะไรเป็นหัวใจของพุทธศาสนา  คำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่คืออริยสัจจ์ 4 ( ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค ) หรือโอวาทปาติโมกข์ ( ไม่ทำชั่ว-ทำดี-ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ) หรือมัชฌิมาปฏิปทา ( ทางสายกลาง ) น้อยคนเหลือเกินจะตอบว่าคือ อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท  บ้างบอกว่าไม่เคยได้ยินคำนี้เลย 

ทั้งที่มันเป็นสาระหลักที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ร่มศรีมหาโพธิ์ในคืนวิสาขบูชา

อิทัปปัจจยตามองว่าโลกเป็นเพียงการไหลต่อเนื่องของเหตุ และผล ( cause-effect )  โลกไม่มีซ้าย ไม่มีขวา ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีความดี ไม่มีความชั่ว ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีแพ้ ไม่มีชนะ ไม่มีได้ ไม่มีเสีย ไม่มีเทวดา ไม่มีสัตว์นรก ไม่มีอะไรมีอยู่จริง  หรือไม่มีอยู่จริง  การมี หรือไม่มี  ถือเป็นทิฏฐิทั้งคู่ ทั้งนี้เพราะสรรพสิ่งเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน  เหตุทำให้เกิดผล  ผลนั้นทำให้เกิดเหตุ  ซึ่งทำให้เกิดผลและเหตุต่อไปไม่สิ้นสุด การไปหลงติดกับความเป็นคู่เป็นความเขลาอย่างหนึ่งเพราะมันเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น

หากใช้คำของพุทธทาสภิกขุที่เขียนไว้ในหนังสือ อิทัปปัจจยตา  ก็คือ " หลักอิทัปปัจจยตา  มุ่งที่จะขจัดความเห็นผิดสำคัญผิดว่ามีตัวตน  สัตว์  บุคคล  ตามที่คนเรารู้สึกกันได้เองตามสัญชาตญาณ  หรือที่ยิ่งไปว่านั้นอีกก็คือ  มุ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีดี ไม่มีชั่ว ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีการได้ ไม่มีการเสีย และอื่นๆ  ที่เป็นคู่ตรงกันข้าม  เพราะนั่นมนุษย์บัญญัติขึ้นเอง ตามความรู้สึกของมนุษย์ โดยที่แท้แล้วทั้งหมดทุกๆ คู่ ล้วนเป็นเพียงกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาเสมอกันหมด "


พูดง่ายๆ คือ สิ่งต่างๆ ในโลกมนุษย์นี้เป็นเพียงสิ่งที่เราสมมุติขึ้นมาเอง

บางคนอาจแย้งว่า ถ้ามนุษย์เห็นว่าโลกนี้ไม่มีบุญ ไม่มีบาป จะมิพากันทำความชั่วทั้งหมดหรือ  นี่เป็นการจับความไม่ครบเหมือนตาบอดคลำช้าง  ไม่มีบุญ ไม่มีบาป " บอกเราว่า ระวังอย่าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งสมมุติ  มิได้แปลว่าคุณต้องไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น  เพราะอิทัปปัจจยตา คือการไหลต่อเนื่องของเหตุและผล ( cause-effect ) ทุกการกระทำ ( action ) ย่อมมีผลต่อเนื่อง ( consequence ) เสมอ  และหลายผลต่อเนื่องที่ตามมาก็คือ " กรรมตามสนอง " นั่นเอง

ในโลกยุคที่สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนขยายตัวจนแทบล้นโลก  ศาสนาถูกใช้เป็นเครื่องมือในเรื่องต่างๆ  กระทั่งใช้เป็นเครื่องมือทำสงคราม  จนหลายคนสับสนบทบาทของศาสนา  แต่นั่นมิได้หมายความว่าศาสนาไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป  มันเพียงบอกเราว่า  ศาสนาก็เช่นระบบอื่นๆ ในโลก  จำต้องผ่านการ " รีเอ็นจิเนียริง " ( สังคายนา ) เป็นระยะ  เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย

หากจุดหมายของศาสนายังคงเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ  เราใช้ตาชั่งใดมาวัดว่า  การยอมรับความแตกต่างของเพื่อนมนุษย์  การเคารพความจริง  ความรักธรรมชาติ  การดูแลโลกที่กำลังบาดเจ็บจากมลพิษ  การต่อต้านสงคราม  ความรักสันติภาพ  เหล่านี้ใช้แทนศาสนาไม่ได้  บางทีสิ่งเหล่านี้อาจทำหน้าที่ได้เหมาะสมกว่าบทบาทของศาสนาเมื่อหลายพันปีก่อน  เมื่อครั้งพลเมืองโลกมีเพียงไม่กี่ล้านคน ไม่ได้เชื่อมต่อแนบสนิทกันเช่นปัจจุบัน  และโลกยังไม่ถูกข่มขืนทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์เช่นวันนี้




ร่ม ไม่ว่าจะติดยี่ห้อใดก็ใช้กันฝนได้ทั้งนั้น  แต่ร่มมิใช่เครื่องมือเดียวที่ใช้กันฝน
ซึ่งอาจจะเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์  ถุงพลาสติก หรือวัสดุที่หาได้ในท้องที่นั้นๆ

การประนามคนไร้ศาสนาว่าไร้ศีลธรรม  ก็เท่ากับการลืมบทบาทของศาสนานั่นเอง 
ไม่ต่างจากการพร่ำบ่นว่า
การทำดีคือการไม่เบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ ขณะที่ยังฆ่าสัตว์มากินทุกวัน

สรรพสิ่งคือการเปลี่ยนแปลง  และวิวัฒนาการตามกระแสแห่งอิทัปปัจจยตา 
บทบาทของศาสนาก็เช่นกัน

มองไปในอนาคต
บทบาทของศาสนาเพียงเพื่อแค่ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างสันติอย่างเดียวอาจจะยังไม่พอ
ศาสนาในอนาคต ( อันใกล้ ? )
อาจต้องรวมถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิต ไปจนถึงสิ่งไร้ชีวิตอื่นๆ และจักรวาล

วินทร์ เลียววาริณ
www.winbookclub.com
12 เมษายน 2551

คมคำคนคม
When I do good, I feel good ; when I do bad, I feel bad,
and that is my religion.
เมื่อข้าพเจ้าทำดี ข้าพเจ้ารู้สึกดี  เมื่อข้าพเจ้าทำเรื่องแย่ ข้าพเจ้ารู้สึกแย่
และนั่นคือศาสนาของข้าพเจ้า


Abraham Lincoln
อับราแฮม ลินคอล์น


Pic by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 12 มกราคม 2554 11:04:08 »




คมคำคนคม
ผู้ใดที่แสวงหาชื่อเสียงโดยเสี่ยงต่อการสูญเสียตัวตนมิใช่ปราชญ์

จวงจื๊อ

หลักการตลาดทั่วโลกนิยมใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมเป็นพรีเซนเตอร์ หรือผู้นำเสนอสินค้า คนเหล่านี้ส่วนมากมักเป็นดาราหนัง นักกีฬาซึ่งชาวบ้านนิยม หลักการของมันคือใช้ความนิยมชมชอบใครคนหนึ่งเป็นผู้ชี้นำความคิดต่อกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อดาราที่ใครคนหนึ่งชื่นชอบบอกว่า “ฉันใช้ครีมอาบน้ำยี่ห้อนี้” คนที่ชอบดาราคนนั้นก็โน้มเอียงที่จะใช้ตามเธอ

เมื่อนักเทนนิสระดับโลกใช้ไม้เทนนิสยี่ห้อใด คนที่ชอบเขาหรือเธอก็เกิดภาพในใจขึ้นมาทันทีว่า ไม้เทนนิสยี่ห้อนั้นน่าจะดี หรือทำให้ตนเอง ‘ใกล้ชิด’ กับคนที่ชอบอีกนิด!

ทว่าโฆษณาที่ผูกสินค้ากับคนมีชื่อเสียงต้องระวังด้านลบของมันด้วย นั่นคือการเสื่อมชื่อเสียงชั่วข้ามคืน

ครั้งหนึ่งสินค้าตัวหนึ่งใช้นักมวยยอดนิยมคนหนึ่งเป็นพรีเซนเตอร์ วันที่โฆษณาออกนั้น นักมวยผู้นั้นแพ้น็อกกลางเวที เจ้าของสินค้าต้องถอดโฆษณาของเขาออกทันที เพราะคงเป็นเรื่องขบขันอย่างยิ่งที่นักมวยพรีเซนเตอร์บอกว่า “ใช้ (ชื่อสินค้า) สิ แล้วจะเป็นแชมเปี้ยนเหมือนผม”!

ตัวอย่างด้านลบของการอิงกับคนดังในโลกมีอีกมากมาย นักฟุตบอลระดับดาราชกกันกลางสนาม, นักกอล์ฟระดับโลกมีข่าวฉาวนอนกับผู้หญิงไม่เลือกหน้า, นักมวยตบตีผู้หญิง, นักร้องทำหญิงสาวท้อง, ดาราสาวท้องไม่มีพ่อ ฯลฯ จนกล่าวได้ว่า ชื่อเสียงเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนอย่างยิ่ง

ปรัชญาพุทธสอนเรื่องนี้มาสองพันห้าร้อยกว่าปีแล้ว มีลาภก็มีเสื่อมลาภ มียศก็มีเสื่อมยศ ความรุ่งโรจน์กับความเสื่อมเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน คนฉลาดจึงต้องระวังรู้อยู่เสมอว่า ความเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในนาทีข้างหน้านี้

ผมลองนึกดูว่ามีดาราภาพยนตร์ไทยสักกี่คนที่เคยโด่งดังในสมัยที่ผมยังเป็นเด็ก
และยังเป็นดาวค้างฟ้าจนถึงวันนี้
นับดูได้ไม่ครบนิ้วทั้งสองมือ โดยเฉพาะนักแสดงสตรี ขึ้นง่าย-ลงง่าย

ดาราหญิงในโลกตะวันออกนั้น หากสามารถรักษาความโด่งดังได้สักยี่สิบปี
ก็นับว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์อย่างหนึ่ง

นี่อาจเป็นเหตุผลให้ดาราบ้านเราจำนวนหนึ่งถือคติ ‘น้ำขึ้นให้รีบตัก’ บางคนเล่นหนังหนึ่งปีได้จำนวนเรื่องเท่ากับนักแสดงตะวันตกเล่นสองชาติ

คนมีชื่อเสียงอีกจำนวนหนึ่งยอมทำทุกอย่างเพื่อรักษาสถานะของความโด่งดังให้นานที่สุด บ้างยอมกระทั่งรับบทหรือการสร้างข่าวให้คนจำได้ แม้ว่าหมายถึงการแสดงภาพวาบหวิว เพราะไม่อาจละวางสถานะชื่อเสียงของตนได้

ชื่อเสียงก็เหมือนยาเสพติดชนิดหนึ่ง หามาไม่ง่าย แต่รักษายิ่งยากกว่า
อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างชื่อเสียงกับชื่อเสีย(ง)
บางคนคิดว่าเมื่อมีคนพูดถึงก็คือมีชื่อเสียง

ทว่าความดังไม่ใช่ชื่อเสียง!

ฝรั่งมีสองคำ famous กับ notorious หรือชื่อเสียงกับชื่อเสีย(ง)
famous คือชื่อเสียงด้านดี
notorious คือความโด่งดังในด้านไม่ดี

ในปี ค.ศ. 1968 จิตรกรอเมริกัน แอนดี วอร์ฮอล กล่าวว่า “ในอนาคต ทุกคนจะมีชื่อเสียงระดับโลกแค่สิบห้านาที” (In the future, everyone will be world-famous for 15 minutes.) วลี 15 Minutes of Fame กลายเป็นสำนวนฮิต หมายถึงความดังช่วงระยะสั้นๆ ดังเหมือนดาวตก สว่างวูบแล้วตกเลย

โลกเราในวันนี้เต็มไปด้วยคนอยากมีชื่อเสียงโดยไม่นำพาวิธีการ ไม่สนใจว่าจะเป็น famous หรือ notorious ขอให้เป็น ‘talk of the town’ สักนาทีสองนาทีก็แล้วกัน รายการโทรทัศน์ ข่าว เรียลิตี โชว์ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ผู้คนยอมทำเรื่องบ้าคลั่งเพียงเพื่อให้คนอื่นเห็นและพูดถึงเท่านั้น

ถือคติว่ามีคนพูดถึงในเชิงลบดีกว่าไม่มีคนพูดถึงเลย!

การโชว์เนื้อหนังมังสาและเต้า หากทำได้ถึงใจ ย่อมเป็นที่พูดถึงแน่นอน ทว่าสัจธรรมก็คือไม่เคยมีใครจำเต้าของใครได้ตลอดกาล เพราะคนอยากโชว์มีมากเหลือเกิน อาจมีข้อยกเว้น แต่เป็นกรณีพิเศษจริงๆ เช่นท่ายั่วยวนบางท่าของ มาริลีน มอนโร

ชื่อเสียงก็เหมือนแสงของดาว มีสองประเภทดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์
แสงของดาวเคราะห์เกิดจากแสงจากแหล่งต้นกำเนิดมากระทบ ส่วนแสงที่มาจากดาวฤกษ์เกิดขึ้นจากภายในตัวตน

คนฉลาดจึงเลือกสถานะของชื่อเสียงเปล่งจากภายใน เพราะมันอยู่ทนนานกว่าล้านๆๆ เท่า จะเอา 15 Minutes of Fame ไปทำไมในเมื่อมันเป็นแสงสว่างชั่วคราวและไม่ใช่ของเราจริงๆ

ชื่อเสียงที่ดีมาจากการทำดีเสมอ
แต่การเป็น ‘ดาวฤกษ์’ ก็ไม่จำเป็นต้องส่องสว่างแบบส่งเสียง สว่างแบบเงียบๆ ก็ได้
เมื่อกระทำดีแล้วเสียใจว่าไม่เป็นที่รู้เห็นหรือพูดถึง ก็ไม่ใช่เรื่องทำดีแล้ว แต่เป็นเพียงการลงทุนชนิดหนึ่ง
การปิดทองหลังพระไม่ใช่เรื่องที่ต้องป่าวประกาศ อยู่ดึกทำงานก็ไม่ต้องประกาศให้ทุกคนในบริษัทรู้
บริจาคเงินช่วยเด็กก็ไม่ต้องลงข่าวคอลัมน์คนดัง

ความสุขมาจากการรู้สึกดีเมื่อทำดี ไม่ใช่เมื่อมีคนรู้ว่าเราทำดี



วินทร์ เลียววาริณ
8 มกราคม 2554
http://www.winbookclub.com/frontpage.php
Pic by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 มกราคม 2554 13:13:29 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: หัวข้อค่ะ » บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 12 มกราคม 2554 13:26:22 »

ชอบๆๆๆๆๆๆ บ๊าบบาย บ๊าบบาย
บันทึกการเข้า
คำค้น: ไร้ศาสนากับ ไร้ศีลธรรม เป็นคนละเรื่องกัน วิวัฒนาการ  ทางธรรมชาติ ของสัตว์ชั้นสูง 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.62 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 06 ธันวาคม 2566 04:24:50