[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 17:03:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานพระนางพญา จ.พิษณุโลก  (อ่าน 5180 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มิถุนายน 2558 18:24:32 »

.



ตำนานพระนางพญา จ.พิษณุโลก
โดย  ราม วัชรประดิษฐ์

"วัดนางพญา จ.พิษณุโลก" เป็นวัดเก่าแก่ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ "วัดใหญ่" และ "วัดราชบูรณะ"

ที่เรียกว่า "วัดนางพญา" สันนิษฐานว่ามาจากชื่อของพระวิสุทธิกษัตรี ซึ่งเป็นอัครชายาของพระมหาธรรมราชา และพระราชมารดาของพระสุพรรณกัลยา, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าทรงสถาปนาพระอารามแห่งนี้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย

ต่อมาวัดถูกทิ้งร้างเป็นเวลานานอันเนื่องจากศึกสงคราม กระทั่งเมื่อมีการขุดค้นพบ "พระนางพญา" วัดนางพญาจึงกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งหนึ่ง

ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือในปี ร.ศ.120 (พ.ศ.2444) ทรงมีพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า "....อนุสนธิรายงานวันที่ ๑๙ เวลาเช้า ๒ โมงเศษ ลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่วัดมหาธาตุ แล้วเดินไปจนสุดถนน อันเป็นถนนเดิมปูด้วยอิฐลายสองตามถนนริมน้ำไปเข้าวัดนางพญา เดินไปริมคู ฤาสระรอบวัด...อนึ่ง ที่เล่าถึงเมื่อเวลาเช้านี้ขาดไปหน่อยหนึ่ง เมื่อเสร็จการจุดเทียนไชยแล้ว ไปดูวัดนางพญา ซึ่งอยู่ต่อจากวัดมหาธาตุติดกันทีเดียว วัดนี้ มีแต่วิหาร ไม่มีอุโบสถ มีโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมตั้งอยู่ในนั้นโรงหนึ่ง พระสอน มีนักเรียนมาก ที่คับแคบไม่พอ..."

การพบพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก "ตรียัมปวาย" ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนในหนังสือ "ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 2 เรื่อง นางพญาและพระเครื่องสำคัญ" ว่า มีโอกาสได้พบ ผู้ใหญ่เลี่ยว ปาลิวณิช นักพระเครื่องอาวุโสของจังหวัดพิษณุโลก ท่านเล่าว่า "กรุพระนางพญา" เป็นพระเจดีย์ที่พังทลายฝัง จมดินอยู่บริเวณด้านหน้าของวัด ตรงหน้ากุฏิท่านสมภารถนอม คราหนึ่งมีผู้หญิงชาวบ้านคนหนึ่งชื่อ นางถนอม มาขุดพบพระนางพญาที่บริเวณหน้ากุฏิได้พระเป็นจำนวนมาก ในคราวนั้นปรากฏว่าชาวเมืองพิษณุโลกไม่ได้ให้ความสนใจ ดังนั้น พระนางพญาที่ถูกค้นพบจึงถูกเก็บไว้ที่วัดนางพญา และบางส่วนอาจถูกนำไปบรรจุกรุยังที่อื่นๆ อีกด้วย

ท่านตรียัมปวายยังได้บันทึกหลักฐานเพิ่มเติมอีกว่า มีการพบพระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญาขึ้นที่กรุวัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร จากการสืบสาวเรื่องราวได้พบว่าเป็นนางพญาพิมพ์เดียวกับกรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พร้อมหลักฐานที่สอดคล้องกัน จากคำจารึกบนแผ่นลานเงิน ลานทอง และลานนาก มีความว่า "พระพิมพ์ที่บรรจุอยู่ในกรุนี้ เป็นพระพิมพ์ที่เอามาจากวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จประพาสจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนมัสการพระพุทธชินราชและทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ในวาระดิถีอันเป็นมหามงคลนี้ ได้มีราษฎร ผู้จงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท นำพระพิมพ์มาถวายแด่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นอันมาก และเมื่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับไว้ ก็ได้พระราชทานจ่ายแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายใหญ่น้อย ตลอดจนบรรดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จในครั้งนั้นโดยทั่วถึงกัน และเนื่องจากพระพิมพ์นี้มีจำนวนมาก ส่วนหนึ่งจึงได้มีผู้รวบรวมมาบรรจุไว้ในกรุพระเจดีย์นี้ ..."

พระนางพญา วัดนางพญา เป็นพระเนื้อดินเผา รูปทรงสามเหลี่ยม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทำให้ทราบว่าพระนางพญาเป็นการผสมผสานทางด้านศิลปะของสุโขทัยและอยุธยา มีการตัดขอบแม่พิมพ์ด้วยตอกชิดองค์พระ ส่วนด้านหลังจะมีรอยหดตัวด้วยอายุการสร้าง ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าอายุประมาณ 500-600 ปี พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ (หัวเข่า) พระหัตถ์ซ้ายวางตรงหน้าพระเพลา (หน้าตัก) พระเกศเมาลีมีลักษณะคล้ายปลีกล้วย

แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้ทั้งหมด 6 พิมพ์ คือ พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง, พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง, พระนางพญา พิมพ์อกนูนใหญ่, พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ, พระนางพญา พิมพ์เทวดา และ พระนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก

พระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก นับเป็นพระเครื่องที่มีความสำคัญ ที่ปรากฏหลักฐานการสร้างและการค้นพบมาแต่โบราณ มีพุทธลักษณะงดงามสง่า กอปรกับพุทธาคมที่ปรากฏเป็นเลิศเป็นที่เล่าขาน ทำให้ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "พระชุดเบญจภาคี"


พระนางพญาเข่าโค้ง วัดนางพญา จ.พิษณุโลก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ตำนานการสร้างพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 4 12701 กระทู้ล่าสุด 08 ธันวาคม 2564 20:33:21
โดย Kimleng
วัดราชคีรีหิรัญยาราม จ.พิษณุโลก สักการะพระโพธิสัตว์กวนอิมหยกขาวที่ใหญ่ที่สุดในโล
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 10672 กระทู้ล่าสุด 21 กันยายน 2557 10:56:17
โดย Kimleng
พระครูสิทธิธรรมวิภัช (สำลี วราโภ) วัดราชบูรณะ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 898 กระทู้ล่าสุด 16 มีนาคม 2562 09:58:14
โดย ใบบุญ
กลองอินทเภรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก
สุขใจ จิบกาแฟ
Kimleng 1 685 กระทู้ล่าสุด 12 พฤศจิกายน 2565 15:01:17
โดย gallon litter
โรงเจไซทีฮุกตึ๊ง ต.วังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 331 กระทู้ล่าสุด 24 มกราคม 2566 20:04:49
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.285 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 16:43:44