[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 17:13:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลำดับ การสอนของพุทธเจ้า  (อ่าน 7199 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 14:27:53 »




ลำดับ การสอนของพุทธเจ้า

หลังตรัสรู้ อริยะสัจจะ โอวาทปาฏิโมกข์
พรรษาที่7 มงคลสูตร(โชคดีจากการทำหน้าที่ให้เหมาะสม)

-ช่วงกลาง การฝึกตนตามลำดับชีวิต

ทาน.............สุขจากการเสียสละ..แบ่งปัน..จนถึงจาคะ.สละทั้งชั่วดี
ศีล...............มีวินัย และควบคุมสัญชาติญาน ดิบ
สักคะ...........สวรรค์ ความสุขจากทำหน้าที่ควรทำ(มงคล)
กามฑีนพ....โทษของ ความติด พยาบาท เบียดเบียน ตน ท่าน

เนกขัมมะ....ฝึกออกจาก ความติด พยาบาท อยากเบียดเบียน

โลกุตระปัญญา..ปัญญาที่มองเห็นคุณค่า เสรีภาพจาก กิเลส ตัณหา อุปทาน
ด้วยการปลุกสัมมาสติ โพธิปัญญาตื่นมาดูแลจิต กายฯ

-ปัจฉิม.......สุดท้าย เน้น ธรรมะภาคปฏิบัติ หรึอโพธิปักขิยธรรม ๓๗...-7

สติปัฏฐานสี่ ....ปลุกสติให้ตื่นมั่นคง
สัมมัปปทานสี่...ถอน อกุศล เจริญกุศล เป็นอาหารจิตแทน
อิทธิบาทสี่......ฐานสู่ความสำเร็จทางธรรม ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

อินทรีย์ห้า.....ปลุก สติ วิริยะ สมาธิปัญญา ให้เข้มแข็ง

พละห้า..........พลังแห่ง อินทรีย์เข็มแข็ง ไม่เป็นทาส อายตนะ
โพชฌงค์เจ็ด..วิธีทำงาน อย่างเป็นเหตุเป็นผล
มรรคแปด......ปัญญา ศีล..สมาธิ...มุ่งสู่เสรีภาพความสุขแท้(วิมุติธรรม)




โดย : โพธิปักขิยะธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 18:04:57 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 14:51:27 »




1.บุคคล ที่ยึดติดใน ชีวะ ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็ดี
ว่าเป็นตนของตน เพราะเขาไม่เคย กำหนดรู้
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ตามความเป็นจริง
บ้างก็ยึดเอา รูป ทั้งหยาบ ปราณีต เป็นทิพย์
ว่าเป็นตน ของตน(กรณี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)ก็เช่นกัน

2.เมื่อบุคคล ยึดติดแล้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งหยาบ และเป็นทิพย์ ด้วยการสุตะ คาดคะเน ตรึกเอา
ก็ประกาศว่า อัตตานั้นเที่ยง ศาสดาเช่นนั้นมีอยู่
เป็นการเพิ่ม"สักกายะทิฎฐิ" ที่อริยะเบื้องต้น ทิ้งเสียแล้ว

3.ตถาคต รู้จัก รู้รส รู้รอบ ถึงนิพพานนั้น
แต่ตถาคต ไม่ได้ยินดี ยึดติด สักแต่ว่า รู้
ตถาคต จึงไม่ได้ ประกอบตนไว้ในภพ

ซึ่งเป็นเหตุปัจจัย

ของ การเกิด เมื่อมีการเกิด ก็มีชาติ ชรา มรณา
โสกะ ปริเวทนะ เป็นวัฎฏะ สังสารแห่งทุกข์ไม่สิ้นสุด

4.ปถุชน ที่ยัง ไม่เคยกำหนดรู้ ขันธ์ด้วยความเป็นจริง
ย่อมจะเห็นว่า "เรา เกิด เราแก่ เราเจ็บ เราตาย
เราเป็นผู้เสวยวิบากกรรมนั้น"

ตถาคตและสาวกอริยะ พ้นจากทิฎฐิอันเลว หยาบ
ที่พาลชนนั้น ยึดถืออยู่ ดังนั้น ธรรมใด ที่ชักชวนกัน

"ประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อม มิใช่ธรรมของตถาคต"

------------------------------------------------

หลักตัดสินธรรมวินัย ๘

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เมืองเวสาลี พระนางมหาปชาบดี เสด็จไปเฝ้าทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ
เพื่อหลีกออกปฏิบัติแต่ผู้เดียว พระพุทธองค์ทรงประทาน ลักษณะตัดสิน
ธรรมวินัย ๘ ประการ ให้ทรงปฏิบัติคือ:-

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ

. . . . . ๑. ความกำหนัด
. . . . . ๒. ประกอบสัตว์ไว้ในภพ
. . . . . ๓. ความสั่งสมกิเลส
. . . . . ๔. ความมักมาก
. . . . . ๕. ความไม่สันโดษ
. . . . . ๖. ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
. . . . . ๗. ความเกียจคร้าน
. . . . . ๘. ความเลี้ยงยาก

. . . . . พึงทราบเถิดว่า นั่นไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา
. . . . . ส่วนธรรมเหล่าใดที่มีลักษณะตรงข้ามจากนี้ พึงทราบเถิดว่า
นั่นเป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา

. . . . . . . . . . . . . . . สังขิตตสูตร ๒๓/๒๕๕


 
โดย : สมณะผ่านมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 15:31:29 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 15:18:46 »


รัก รัก (:LOVE:)สาธุ................สาธุ...........................สาธุ รัก รัก รัก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 15:41:07 »




1.นิพพานนั้น มีอยู่

เมื่อดับอุปทานในตัณหา
จึงพบผลของการ ดับไม่เหลือแห่ง เครื่องผูก
อันประกอบด้วย กามภพ ทิฎฐิ อวิชชา

2.สิ่งที่เป็นไปไม่ได้คือ

ไม้สด ชุ่มน้ำ มาสีกันให้เกิดไฟ
ดุจ บุคคล ที่ทำตัวชุ่มในกามคุณ
จิตเต็มไปด้วยกิเลสกาม
ชีวิตจมอยู่ในวัตถุกาม จะปฏิญาณว่า ตนบรรลุมรรคผล
เสวย รสแห่งนิพพานฉันนั้น

3.ควายนั้นมีอยู่ ชอบแบกของหนัก ที่เขาทิ้งแล้ว

--------------------------------------------------

4. ว่าด้วยสักขิธรรม [๗๒๘]
คำว่า ซึ่งสักขิธรรม ในคำว่า ซึ่งสักขิธรรม เครื่องกำจัดอันตราย ความว่า

ธรรมที่ประจักษ์แก่พระองค์ อันพระองค์ทรงทราบดีเอง มิใช่โดยต้องเชื่อต่อผู้อื่น
ว่าธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้ เป็นดังนี้มิใช่โดยฟังต่อๆ กันมา มิใช่โดยถือตามลำดับสืบๆ กันมา

 มิใช่โดยอ้างตำรา มิใช่โดยนึกเดาเอา มิใช่โดยคาดคะเนเอา มิใช่โดยตรึกตามอาการ
มิใช่โดยชอบว่า ควรแก่ทิฏฐิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สักขิธรรม. ชื่อว่าอันตราย

ในคำว่า เป็นเครื่องกำจัดอันตราย ได้แก่อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายปรากฏ ๑ อันตรายปกปิด ๑.

อันตรายปกปิดเป็นไฉน? กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์
พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ
โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธไว้ ความลบหลู่คุณท่าน ความตีเสมอ ความริษยา ความ
ตระหนี่ มารยา ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความ
มัวเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน
ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง อันตรายเหล่านี้เรียกว่า อันตราย
ปกปิด.

--------------------------------------

5.โลภะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด

โลภะยังจิตให้กำเริบ โลภะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น
คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม ความโลภย่อมครอบงำนรชนในขณะใด
ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น

โทสะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด

โทสะยังจิตให้กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น
คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม
ความโกรธย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น

โมหะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด

โมหะยังจิตให้กำเริบ โมหะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น
คนหลงย่อมไม่รู้อรรถ คนหลงย่อมไม่เห็นธรรม
ความหลงย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น.

--------------------------------------

6. ว่าด้วยกิเลส

[๗๖๒] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอดในที่ไหนๆ
ความว่า กิเลสเป็นเครื่องทำความค่อนขอดเป็นไฉน?มีสมณพราหมณ์บางพวก
ผู้มีฤทธิ์  มีทิพยจักษุ รู้จักจิตผู้อื่น
สมณพราหมณ์พวกนั้น คนเห็นได้แต่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง  รู้จักจิตด้วยจิตบ้าง.

พวกเทวดาผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ  รู้จักจิตผู้อื่น  เทวดาพวกนั้น คนเห็นได้แต่ไกลบ้าง
อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง รู้จักจิตด้วยจิตบ้าง สมณพราหมณ์และเทวดาเหล่านั้น
"ย่อมค่อนขอดด้วยกิเลสหยาบบ้าง" ด้วยกิเลสปานกลางบ้าง  ด้วยกิเลสละเอียดบ้าง.

1. กิเลสหยาบเป็นไฉน?

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เหล่านี้เรียกว่า กิเลสหยาบ (จิตแล่นในอกุศลมูล)

2.. กิเลสปานกลางเป็นไฉน?

กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เหล่านี้เรียกว่า กิเลสปานกลาง. (จิตแล่นใน นิวรณ์)

3. กิเลสละเอียดเป็น ไฉน?

ความวิตกถึงญาติ  ความวิตกถึงชนบท  ความวิตกถึงอมรเทพ  ความวิตกอันปฏิสังยุต
ด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น  ความวิตกอันปฏิสังยุตด้วยลาภ สักการะ  และความสรรเสริญ
ความวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น วิตกเหล่านี้ เรียกว่ากิเลสละเอียด.
(จิต แล่นในโลกธรรมแปด)

สมณพราหมณ์และเทวดาเหล่านั้น  พึงค่อนขอดด้วยกิเลสหยาบบ้าง  ด้วยกิเลสปานกลางบ้าง
ด้วยกิเลสละเอียดบ้าง.

ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอด คือไม่ควรทำกิเลสทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด
ไม่ควรยังกิเลสเหล่านั้นให้เกิด  ให้เกิดพร้อม ให้ บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ พึงละ  บรรเทา ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสทั้งหลาย  อันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด พึงเป็นผู้งดเว้น

เว้นเฉพาะ  ออกไป สลัด พ้นขาด  ไม่เกี่ยวข้องด้วยกิเลสอันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด
พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่  คำว่า ใน  ที่ไหนๆ คือ ในที่ไหนๆ  ในที่ทุกๆ แห่ง ภายในบ้าง
ภายนอกบ้าง ทั้งภายในและภายนอกบ้าง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอด ในที่ไหนๆ



โดย : สัพเพสัตตา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 15:35:35 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:18:40 »


1. [91] ปปัญจะ, (ธรรม ที่เป็นเหตุแห่งการเนิ่นช้าในการบรรลุธรรม)

ปปัญจธรรม 3 (กิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร
ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ เปิดเผย
ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆและขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา
 — diversification;diffuseness; mental diffusion)

1. ตัณหา

(ความทะยานอยาก, ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอปรนเปรอตน, ความอยากได้อยากเอา — craving; selfish desire)

2. ทิฏฐิ

(ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่างๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงายหรือโดยอาการเชิดชูว่าอย่างนี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น เป็นต้น ทำให้ปิดตัวแคบ ไม่ยอมรับฟังใคร ตัดโอกาสที่จะเจริญปัญญา หรือคิดเตลิดไปข้างเดียว
ตลอดจนเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนบีบคั้นผู้อื่นที่ไม่ถืออย่างตน, ความยึดติดในทฤษฎี ฯลฯ ถือความคิดเห็นเป็นความจริง
— view; dogma; speculation)

3. มานะ

(ความถือตัว, ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ถือสูงถือต่ำ ยิ่งใหญ่เท่าเทียมหรือด้อยกว่าผู้อื่น
ความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยิ่งใหญ่ — conceit)
ในคัมภีร์วิภังค์ เรียกปปัญจะ 3 นี้เป็น ฉันทะ (คือตัณหา) มานะ ทิฏฐิ

2.นิปปัญจธรรม

ธรรมอันไม่ทำให้เนิ่นช้า คือธรรมะภาคปฏิบัติ ได้แก่โพธิปักขิยะธรรม37

-สติปัฎฐานสี่
-สัมม้ปปธานสี่
-อธิบาทสี่
-อินทรีย์ห้า
-พละห้า
-โพชฌงค์เจ็ด
-มรรคแปด

-------------------------------------------

การปกครอง ในโลก มี3แบบ

1.อัตตาธิปไตย
คือเอาความคิดเห็น ของใครคนใดคนหนึ่งเป็นใหญ่

ข้อดี ตัดสินใจบริหารจัดการ ได้รวดเร็ว  ข้อเสีย ถ้าคนนั้น ใช้ทิฎฐิชั่วลุแก่อำนาจชั่ว ย่อมเกิดความเดือดร้อน จึงมี

ทศพิธราชธรรม "ธรรมะของพระราชา ผู้ปกครองเพราะทำหน้าที่ ให้เกิดความชอบธรรมแก่ประชาราช"

-ทาน ศีล จาคะ
-ซื่อตรง อ่อนโยน ตะบะ
-ไม่โกรธ ไม่แกล้งใคร อดทน(ต่อการรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และนำคนสู่สันติธรรม)
-ไม่ลุแก่อำนาจ ด้วยความชั่ว

2.ประชาธิปไตย หรึอโลกกาธิปไตย เอาเสียงส่วนใหญ่ ในสังคม เป็นหลักบริหาร

-ข้อดี ทุกคนมีโอกาส แสดงความ ต้องการ และแนวคิดบริหารจัดการ ร่วมแก้ปัญหา
-ข้อเสีย ถ้าตัวแทนที่เลือก ไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม

ใช้เผด็จการ โดยอ้างประชาธิปไตย ก็จะขจัดฝ่ายที่ตนไม่ชอบ ยกย่องคนที่ชอบ
โดยขาดความชอบธรรม ดังพุทธสุภาษิตสุภาษิตว่า

"แมลงวัน ย่อมบ่อนเสพ อาจม
บ่ย่อมชื่นชม งานหมู่ผึ้ง ผู้เสพมธุรสฉันนั้น
เฉกเช่นคนพาล ย่อม ไม่ชื่นชมภาษิต ตถาคตเช่นกัน
เพราะ แมลงวัน ย่อมบ่อาจ ละเสพซึ่งอาจม
(โลกธรรมแปด)"

3.ธรรมาธิปไตย คือการปกครองโดย หลักธรรมภิบาล

-ธรรมะ ที่ให้คนเป็นมนุษย์ มี คุณธรรม จริยะธรรม วัฒนธรรม ปรมัตถธรรม
ละอกุศล ป้องกันอกุศล ไม่ให้เกิด   เจริญกุศล รักษากุศลนั้น
ดูแล รักษา กุลบุตร กุลธิดา สมณะ ผู้เป็นปราชญ์ ประเพณีอันดีงาม
สิ่งมีชีวิต พืชพรรณ เห็นแก่ ความอดทนในการฝึกฝนตน

--------------------------------------------------


ในสมัยพุทธกาล ปรากฏว่า ชาววัชชี มีระบบสังคม เป็นอย่างดี
พระพุทธเจ้า ทรงแสดงให้เห็นว่า ใครๆ ก็ไม่สามารถทำลาย แคว้นวัชชีได้
ตลอดเวลาที่ ชาววัชชียังมั่นคง
อยู่ในสามัคคีธรรม และสมบูรณ์ด้วย ข้อปฏิบัติ ให้เกิดความสวัสดี ทั้งหลาย
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 18:58:49 »


นิพพาน กับนิโรธ เป็นคำพ้อง ที่มีความหมายเดียวกัน

"นิพพาน" ประกอบด้วยศัพท์ นิ(ออกไป, หมดไป, ไม่มี)
+วานะ(พัดไป, ร้อยรัด)
รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป  ไม่มีสิ่งร้อยรัด
 
คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียกกิเลสตัณหา
โดยสรุป นิพพานก็คือไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ


คัมภีร์พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน ๒ ประเภท คือ
(๑) สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

นิพพานธาตุยังมีเชื้อเหลือ หรือนิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์
ในวงการนักธรรม แปลว่า  "ดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ"

(๒) อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

นิพพานธาตุที่ไม่มีเชื้อเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์
ในวงการนักธรรม แปลว่า "ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ"

-------------------------------------

1.สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
 
ท่านอาจารย์พุทธทาส ถอดความว่า "เป็นการดับของทุกข์ชั่วคราว"
เช่นกำลังเพลิน ในกามคุณห้า หรึออยู่ในองค์ฌาน ทุกข์ก็ไม่เกิด
แต่ก็พร้อมจะเกิด เมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อม(นิวรณ์เป็นอาหารของอวิชชา)
ดุจดัง เมล็ดหญ้า ยังไม่สัมผัส รสของดินน้ำ อากาศ ก็ไม่งอก(ยังเพลินในกามคุณ)
หรึอ เมล็ดหญ้า ถูกของหนักทับไว้ ยกออก ก็งอกได้

2.อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

"เป็นการดับทุกข์ อย่างถาวร"
เพราะอาสวะ อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ได้ถอน กำจัดไม่เหลือเชื้อแล้ว

------------------------------------------------

สุญญตา เป็นส่วนขยาย ของ"อนัตตา"
คือความไม่มีจิตปรุงแต่ง ให้ยึดมั่นอีกต่อไป เพราะ

-ละชั่วได้หมดแล้ว
-เจริญกุศล
-ไม่ยึดติด ทั้งเหตุและผล ของดีชั่ว
-ชำระจิตพ้นอาสวะแล้ว

"สุญตาวิหาร" เป็นธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ
คือจิตว่างจาก อุปทานใน กาม ภพ ทิฎฐิ อวิชชา  (ลองศึกษาต่อจาก คู่มือมนุษย์)

ข้อนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็นใจความ โดยสรุปสั้นที่สุดว่า "สิ่งต่าง ๆ ที่คนมีอุปาทาน
เข้าไปยึดถืออยู่นั่นแหละเป็นตัวความทุกข์ หรือเป็นมูลเหตุแห่งความทุกข์" หรือ
"ร่างกายและจิตใจที่คนเข้าไปยึดถือด้วยอุปาทานอยู่ นั่นแหละ เป็นความทุกข์"

http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/buddhadas/bdd-05-04.htm

---------------------------------------------

พุทธะเจ้าทุกพระองค์ ที่กล่าวมา ก็คือ"บุคคลาธิฐาน ของพุทธคุณของพระสัมมาพุทธะเจ้าที่เป็นธรรมาธิฐาน"
ความคิด ที่พุทธะเจ้า ต้องมีเป็นอนันต์ และหลากชื่อ มีมาในคัมภีร์หลังการสังคายนาครั้งที่3
ใครที่แปลพระนามพุทธะเจ้า ทุกพระองค์ได้ ก็จะทราบถึงพุทธคุณนั้น

----------------------------------------------

ตัณหา ทิฎฐิ มานะ เป็นธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ในการพบพระนิพพาน(ปปัญจธรรม)
โพธิปักขิยะธรรม เป็นธรรมให้บรรลุนิพพาน โดยเร็ว(นิปปัญจธรรม)
ถึงแม้นจะจำชื่อ ประวัติพุทธะเจ้าทั้ง500องค์ ก็ไม่เป็นทางแห่งการบรรลุ

"เป็นอาหารแห่งสติปัญญา"

ควร"ใคร่ครวญอย่างรอบคอบ เลือกปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม"

เจริญในกุศลธรรม ทุกท่านเทอญ



โดย : สมณะผ่านมา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 19:14:38 »


ปู่ลิงเคย เขียนไว้ว่า

"ทุกข์เอ๋ย.............เจ้าไม่เคย อยู่ในใจตลอด
หรึอสุข................ครองครอบตลอดนั่น
มันทุกข์ๆ สุขๆ.......สลับกัน
ตรงกลางที่ว่าง.......มีที่เย็น"

----------------------------

นี่เป็นเรื่องที่เราต้อง"กำหนดรู้ ด้วยตนเอง"
ว่าจริงหรึอไม่?
แล้วทุกข์มันโผล่ มาได้อย่างไร?
เพราะอวิชชาเป็นแดนเกิด
อวิชานั้น ไม่มีมาก่อน เพราะมีอาหาร จึงมี
อาหารของอวิชชา คือ กิเลส

1.กิเลสหยาบ คืออกุศลมูล ราคะ โทสะ โมหะ
2.กิเลสกลางๆ คือนิวรณ์ ติด พยาบาท คิดเบียดเบียน หดหู่ ฟุ้งซ่าน ลังเล
3.กิเลสละเอียด คือหลงติดในโลกธรรมแปด

ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
และจิตที่หลงไหล ในกาม ภพ ทิฎฐิ อวิชชา ว่าเป็นที่พึ่งอันเกษม

-------------------------------------------

และหากลด ละ เลิก อาสวะกิเลส นิพพานก็ปรากฎยืนยาวขึ้น
รู้ได้ด้วยตัวเอง ไม่อาจ เอา คิดด้วยตรรกะใดๆ
เจริญ ด้วยการกำหนดรู้ แล้วละเสีย ด้วยตนเอง
ส่วนเมื่อหมดเชื้อ แห่งอุปทานแล้ว จะเป็นอย่างไร ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ได้เฉพาะตน

เจริญสุข เจริญในธรรม

---------------------------------

ฝากไว้อีกนิด ในยุคพุทธกาล มีผู้บัญญัตินิพพาน อยู่สามหมู่

1.บัญญัติว่า กามคุณห้า คือนิพพาน

ที่สอนดั่งนี้ เพราะมีทิฎฐิว่า "กายคือชีวิตแท้ จิตคือผลพลอยใด้ของการทำงานของกาย"
ดังนั้น"จึง กิน จงเสพ จงดื่ม ให้เต็มที่ เพราะพรุ่งนี้ ชีวิตหามีไม่"
ครู"อชิตะเกสกำพล ผู้นิยมนุ่งผ้าที่ทอจากผมมนุษย์ และพฤหัสฤาษี เป็นต้นคิด"
เป็นลัทธิ อุจเฉททิฎฐิ สุขในวัตุถุนิยม ต่อมาปลอมปนมาใน พุทธศาสนา"นิกายตันตระ"
เจริญในอินเดีย ช่วงพศ1000ถึงพศ.1500 แล้วก็เสื่อมความนิยม สูญสิ้นในที่สุด

2.บัญญัติว่า นิพพาน คือสมาบัติแปด

คือรูปฌานสี่ อรูปฌานสี่
ซึ่งอาฬารดาบส อุทุกดาบส อาจารย์ของพุทธะเจ้า สอนไว้
ทรงทดลองฝึก จนบรรลุ ก็สรุปว่า "ออกจากฌาน"ก็ยังทุกข์ทิ่มแทงอยู่

3.พระพุทธะองค์ ได้พิจารณา วัฎฏะ ของการเกิดดับจิต ของพระองค์เอง
ก็พบ"กฎ ที่เป็นเหตุผล หลักการของธรรมชาติ" หรึอปฏิจจสมุทปบาท
แล้วก็มาแยกเป็นสองวง

ทุกข์
นิโรธ

ก็ทรงพบวิชชาสุดท้ายคือ "ล้างอุปทานของจิต" หรึอ"ทำอาสวะให้สิ้น
จนไม่มีเหตุ แห่งทุกข์เหลือ พบเสรีภาพแห่งความเป็นบรมสุข
จึงบัญญัติว่า "นิพพาน โดยทำอาสวะให้สิ้น"

----------------------------

ดังนั้น นิพพานด้วยการเพลิน ในการคุณ
นิพพานด้วยการเอาฌานข่มไว้
เป็นนิพพานชั่วคราว เราก็ประสพ อยู่ทุกคน



เพราะไม่มีใครเสวยทุกข์ได้24ชั่วโมง

เพราะทุกข์เกิด ก็ดับ ตามกฎธรรมชาติ
แต่เราไม่เคยเอาสติติดตามดู ทุกลมหายใจเข้าออก
และล้างเอาเหตุ ที่เกิดจากการยึด เอากิเลส มาเป็นเครื่องปรุงจิต
ดังวิธีของพระพุทธะเจ้า

ถ้าเรา เพ่งดูจิตตนเองย่อมพบ สัจจะธรรมนี้ ที่พระองค์ประกาศว่า

1.เราตรัสรู้อริยะสัจจะ นี้ด้วยพระองค์เอง
2.เราทำอาสวะให้สิ้นได้แล้ว
3.ธรรมะเราจำแนกแจกแจงดีแล้ว
4.ผู้ปฏิบัติตามวิธีเราได้รับผลนั้น ด้วยตนเองมีอยู่

สาธุ เจริญสุข เจริญธรรม



http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=4189&visitOK=1

โดย : สมณะผ่านมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 15:45:14 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 19:26:45 »


337 คำสอนของอชิตะ เกสกัมพล

ปัญหา ศาสดาอชิตะ เกสกัมพล มีแนวคำสอนว่าอย่างไร ? และแนวคำสอนเช่นนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “อชิตะ เกสกัมพล มีความเห็นว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ที่เกิดผุดขึ้น(โอปปาติกะ) ไม่มี

สมณะพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งชัดโลกนี้และโลกหน้า
ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก

คนเราเป็นแต่เพียงที่ประชุมของมหาภูตรูป ๔ เมื่อใดทำกาลกิริยา(ตาย)
เมื่อนั้นธาตุดินก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ
ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ

บุรุษ ๔ คน รวมเป็น ๕ ทั้งที่วางศพ หามเอาคนตายไป เสียบทสวดสรรเสริญเขา
มีไปจนถึงป่าช้ากระดูกทั้งหลายกลายเป็นสีเทาดุจสีนกพิราบ เครื่องเซ่นสังเวยทั้งหลายสิ้นสุดลงด้วยเถ้า
ท่านนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คนเหล่าใดประกาศลัทธิอัตติกวาท คำของคนเหล่านั้นเป็นคำเปล่าประโยชน์
เป็นคำเท็จ เป็นคำบ่นเพ้อเมื่อร่างกายแตกสลายทั้งพาลและบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศไป
หลังจากความตายไม่มีอะไรเลย...

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ
มีอยู่เพราะถือมั่นยึดมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ความเห็นอย่างนี้จึงเกิดขึ้นมา”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑ (๔๒๕)
ตบ. ๑๗ : ๒๕๔ ตท. ๑๗ : ๒๓๔-๒๓๕
ตอ. K.S. ๓ : ๑๑๖-๑๑๗



โดย : อุ้มมาฝาก(ของท่านขรัวกลาง)
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 19:40:16 »


มิจฉาทิฎฐิ หมายถึง ความเห็นผิดจากความเป็นจริง มี ๓ ประการ คือ

๑.นัตถิกทิฏฐิ

มีความเห็นว่า ตายแล้วสูญ(อุจเฉททิฎฐิ)
ทำอะไรก็ตามผลที่พึงได้รับย่อมไม่มี
คือทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว
คุณบิดามารดาไม่มี
การเกิดแบบโอปปาติกะไม่มี
สมณะชีพรามหณ์ ผู้ปฏิบัติดีชอบไม่มี

๒.อเหตุกทิฎฐิ

มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กำลังได้รับความลำบาก หรือความสบายก็ตาม
ไม่ได้อาศัยเหตุใดๆ ให้เกิดขึ้นเลย
เป็นการปฏิเสธเหตุโดยสิ้นเชิง(ทุกอย่างเป็นเรื่องบังเอิญ)

๓.อกิริยาทิฏฐิ

มีความเห็นว่า การกระทำต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น
ไม่สำเร็จเป็นบุญ เป็นบาป แต่ประการใด(ไม่เชื่อในเรื่องกรรม)

-------------------------------------------------

ทั้งสาม นั้นพระพุทธองค์จึงตรัส เรื่อง "เจตนานั่นคือกรรม"

เจตนาของผู้ให้กำเนิด
เจตนา ของกรรมพันธุ์
เจตนาของสิ่งแวดล้อม ที่เราอาศัย
เจตนา ที่จิตเราตั้งไว้

หยาบ ช้า ดี เลว เราย่อมได้รับผลนั้น

และตรัสถึง"กรรม ไม่ดำไม่ขาว"
คือละกรรมดำ เจริญกรรมขาว ไม่ยึดติดว่ากรรมนั้น เป็นตน ของตน


พระองค์จึงได้สมญานามอีกประการว่า "เป็นกรรมวาที"

สาธุ เจริญสุข เจริญในธรรม



โดย : สมณะผ่านมา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 10:57:46 »


เมื่อชีวิต ยังไม่พ้นทุกข์ทิ่มแทง การแก้ปัญหาเพื่อให้พ้นทุกข์

-ตาม ความปราถนา ทางกาย
-ตามความปราถนาทางจิต

ไม่ใช้ทาง อันเกษม ก็มีอีกทางคือ

"ปลุกสัมมาสติ โพธิปัญญา" ให้ตื่นขึ้นมา บริหารชีวิต ให้พ้นอุปทานทุกข์
สติปัฏฐานสี่ ก็คือให้สติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่จิต ที่เรามีอยู่แล้ว
คือนำพาจิต ไปสนใจ จดจ่อในเรื่องใดๆ มาสนใจจดจ่อ

1.-บุคลิกภาพ

ของเราขณะนั้น ที่จะผุดขึ้นที่ขั้วหัวใจ และแผ่ขยาย ทั่วกายหยาบ อย่างฉับพลัน
ยกตัวอย่าง เรากำลังคิดถึงสหายที่เราพึงใจ เขาโผล่มา ความดีใจ จะเกิดที่ใจแผ่สร้านทั่วร่าง
จน ลืมความปราถนาทางกาย(เช่นกำลังหิว)
ความปราถนาทางจิต(กำลังกลุ้มใจ ในกิจการงาน)
"เมื่อกำหนดรู้ กายในกาย ก็จะรู้สึกถึงกรัชกาย ที่ใส ผุดขึ้น(เป็นโอปปาติกะ)ในกายหยาบของเรา"

แต่การที่รู้สึก ถึงกรัชกาย ที่ละเอียด เป็นเรื่องยาก ก็มีกายอีกกาย เป็นสะพานเชื่อมต่อ คือ
กายแห่งสติ ที่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลมหายใจ ที่อยู่ตรงกลางระหว่าง กายหยาบ กับกายละเอียด
จึงมีการฝึก ติดตามลมหายใจ เพื่อจับความรู้สึกจอง"การเกิดบุคลิกภายใน หรือกรัชกาย ได้ทัน"

2.เวทนา

เมื่อเราฝึกจับบุคลิกภายใน(กายในกาย) ที่แผ่สร้าน มาสู่กายหยาบใด้
ลองแยกแยะบุคลิกนั้นดู ว่า ประกอบด้วยความรู้สึก ทุกข์ สุข หรึอสงบ
เป็นการรู้จักตัวตน(ชั่วคราว) ที่ละเอียด อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะเรียกว่า"อารมณ์"

คือความรู้สึกที่ หน่วงเหนี่ยว ผูกพันกับกายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ดีใจ ก็จะผูกกับความสุข
ไม่พอใจ ก็จะผูกกับความทุกข์

3.จิต

เมื่อเรา รู้สึกถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา
ก็จะเห็น หรึอรู้จักจิตของเรา อย่างไม่เคยรู้จักกันมาก่อน!
และเราจะเรี่ม เห็นจิต มีการเปลี่ยนแปลง ทุกครั้งที่เรา เปลี่ยนความคิด
ลองฝึกเปลี่ยนความคิด จะเห็นกรัชกาย เวทนา และจิต ทำงาน รวบรวมข้อมูล จากภายนอก ภายใน
มาปรุง เป็นจินตนาการ ความรู้สึก และจิตจะเสพความรู้สึกนั้น แผ่สร้านทั่วกายหยาบ
เมื่อเจริญเต็มที่ ก็จะเรี่มเสื่อม ดับเมื่อจิตปรุง กรัชกายใหม่ๆมาแทน ดังนั้น
บางครั้งเราก็เป็นเทวดา(สุขอาศัยวัตถุเป็นกุญแจความสุข) เป็นเปรต(กินความอยากโลภ อิจฉา บ้าอำนาจ)

4.ธรรม

เมื่อเรารู้สึก เห็นจิตเราตามความเป็นจริง ก็จะรู้ว่า จิตเอาธรรมะอะไรมาปรุง จิตก็เป็นเช่นนั้น เช่น
เอากุศลธรรม จากบุญ กุศล มงคล บารมี ที่เราเคยทำในอดีต พอระลึก ก็จะปิติสุขทั้นที
ถ้าเอาอกุศล เช่น ราคะ โทสะ โมหะ ปรุง ก็ทุกข์ทันที

---------------------------------------------------------------


น้ำตกอิกวาสุ (Iquazu Falls) ระหว่างประเทศบราซิลกับอาร์เจนตินา มีน้ำตกใหญ่น้อยรวมกันถึง 270 น้ำตก

เมื่อเรากำหนดรู้จัก กาย เวทนา จิต ธรรมที่เอามาปรุงแต่ง ตามความเป็นจริง

เราก็จะเห็นว่า ธรรมะ ในระดับต่อไปจำเป็น เช่น สัมมัปปทานสี่
ลดละเลิก กำหราบอกุศล และเจริญกุศลเป็นอาหารจิตแทน
ดังนั้น"สติปัฏฐานสี่" จึงเป็นประตูสู่นิพพาน แบบพุทธศาสนา โดยแท้
คือพบบรมสุข ถาวร ด้วยการ ล้างขยะจิต ที่ปนในเครื่องปรุงจิตทิ้ง
ด้วยการกำหนดรู้ แล้วใช้ลมหายใจ ถอนความรู้สึกนั้นทิ้งๆๆๆ
ไม่ใช่ดับทุกข์ ด้วยหนีไปเพลินในกามคุณห้า หรึอเข้าฌาน


-------------------------------------------------------------

สติปัฏฐานสี่ จึงเป็นธรรมะ ฝ่ายปฏิบัติ

ไม่ใช่ปริยัติ ที่มัวมาจิจัย แยก แข่งกันจำ
แต่ใช้ความรู้สึกขณะหายใจ ผัสสะขั้วหัวใจตนเอง และสังเกตุอาการ เมื่อจิต รวมข้อมูล ปรุง เสพ รู้สึก
เปลี่ยนแปลง บุคลิกภายในสู่ภายนอก และเจริญ ยึดครองกายหยาบ แล้วเสื่อม ดับ เก็บไว้เป็นความจำ

----------------------------------------------------------

ส่วนบางเรื่องเป็น"กุศโลบาย"ที่จะผูกสติให้อยู่ บางท่านก็ อาจเพ่งภาพ เสียงช่วย
ให้สติอยู่ในกาย
ไม่พาจิตเตลิดไปนอกกาย บางท่านอาจนิยม"หนอ" "พุทโธ" "สัมมาอรหัง"
"โอม"

บางท่านสติตั้งยาก อาจเคลื่อนกายหยาบช่วย บางท่านก็โยกกาย ทำมือหมุนเป็นท่าต่างๆ(มุทรา)
ซึ่งแล้วแต่จริต และเทคนิค ของแต่ละอาจารย์ แต่สุดท้าย ก็เพื่อ ให้สติมีฐานในชีวิตของเรา เห็น
"กาย เวทนา จิต ธรรม" ที่เกิด เจริญ เสื่อม ดับ เป็นวงกลม หมุนวน สร้างดวงจิต ทั้งฝ่ายกุศล
อกุศล
ภายในด้วยตนเองจริงๆ เป็นประสพการณ์ตรง หรึอ"สัจจะกริยา"
นำไปสู่"ทำนิพพานให้แจ้ง"ด้วยตนเอง


------------------------------------------------------

สติปัฏฐานสี่ ที่ฝึกร่วมกับ อานาปานะสติ จึงเป็นประตูสู่นิพพานโดยแท้ เป็นทางลัด ทางตรงที่สุด

เจริญสุข เจริญธรรม สาธุ 



โดย  : สมณะผ่านมา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553 17:10:07 »


1.สัมมาสติ เป็นจิต ที่มุ่งเป้าแน่วแน่ รวดเร็ว ดังลูกศร และสายฟ้า

เป็นไปเพื่อ กำหนดรู้ เห็น รู้สึกถึงการมีอยู่ ของ
กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อฝึกให้รู้จัก ควบคุม ป้องกัน ไม่ให้อาสวะ มาประกอบเป็นเครื่องปรุงจิต

2.สัมปชัญญะ เป็นปัญญา ที่มองเห็น

-เป้าหมายในชีวิต ชัดเจน ว่าเรากำลังฝึกละอาสวะกิเสล
-ทางเดินชัด มีโพธิปักขิยะธรรม เป็นเครื่องมือฝึกฝน
-เลือกเฟ้นธรรมให้พอเหมาะ เช่น เมื่อเผลอสติให้โทสะเกิด
ก็กำหนดรู้ นึกถึงกุศลธรรม ตรงข้าม เช่น ความเมตตากรุณา อภัยทาน ขึ้นมาปรุงจิตแทนทันที
เมื่อจิตปกติสงบ สะอาด สว่าง สมดุลย์ ถึงไปพิจารณากุศลธรรมอื่น ที่จำเป็นในขณะนั้น
-ไม่หลงทาง มีทิฎฐิ นอกศาสนามากมาย ปะปนในพุทธะธรรม สัมปชัญญะต้องเลือกคัดออก
ไม่หลง แบกทิฎฐิอื่น เข้ามาอีก

เมื่อรู้ด้วยตนเองว่าธรรมใดเป็นอกุศล  มีโทษ  ผู้รู้ติเตียน
และการปฏิบัติธรรมเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์  เป็นทุกข์ พึงละเสีย

เมื่อรู้ด้วยตนเองว่าธรรมใดเป็นกุศล ไม่มีโทษ ผู้รู้สรรเสริญ
และการปฏิบัติธรรมเหล่านี้เป็นประโยชน์  เป็นสุข พึงเข้าถึง

--------------------------------------------------

สติ จิตที่ว่องไว จนรู้เท่าทัน กาย เวทนาจิต ธรรม ภายใน

สัมปชัญญะ เห็นเป้าหมายชีวิตชัดเจน(ประโยชน์ปัจจุบัน อนาคต สุงสุด คือพ้นอุปทานทุกข์)

เห็นทางเดินชัดเจน
เลือกเฟ้นกุศลธรรม มาปรุงจิต ได้พอเหมาะ
และไม่หลงทาง สู่อริยะภูมิ ด้วยการพิจารณาทุกสิ่ง"ไม่มีอะไรในธรรมธาตุนี้ พ้นอำนาจไตรลักษ์" 
เพื่อคลาย ความยึดมั่น ในอัตตา ทิฎฐิ สีลัพพัตตุ กาม พัฒนาชีวิตสู่ธรรมเบื้องสูง


-------------------------------------------------- 



โดย : สมณะผ่านมา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553 17:17:49 »


การฝึกจิตเมื่อ เรามีสติ สัมปชัญญะ ทำหน้าที่ที่ควรทำ จะเห็นด้วยตนเองว่า

1.จิต ปรุงแต่งหนึ่ง"ต้องเคลื่อนไหว "แปรปรวน ตลอดเวลา
หน้าที่เรา ก็ติดตาม เอากุศลธรรมปรุงให้จิต ทำงานแทนที่เคยทำงานแบบยถากรรม

2.จิต ที่"เป็นผู้ดู" ได้แก่สติ สัมปชัญญะ ถึงจุดหนึ่ง จะนิ่งเฝ้าดูราวนกฮูก
จ้องดูการเคลื่อนไหวของหนู

3.จิต ที่"เสวยรสของเวทนา" คือ ทุกข์ สุข สงบ ต่อไปจะเหลือแต่ ปิติ สุข อุเบกขา เอตคักตา จิต

4.จิต ที่"เป็นประภัสสร ที่สงบสะอาด สว่าง เป็นเช่นนั้นเอง "

--------------------------------------------------
เมื่อพบจิต ในสี่สภาวะ ก็ให้เห็นว่า เป็นสภาวะธรรมอย่างหนึ่ง
ไม่ใช่ ตัวตนเที่ยงแท้ถาวร เกินกว่านี้ ต้องฝึกฝนเอง
นี่เป็นเพียง ทางที่พุทธองค์ประกาศไว้
ทางนั้นมีอยู่ ที่หมายมีอยู่ ตถาคตเป็นผู้ชี้ทาง การเดินทางเป็นหน้าที่ของเรา ทุกคน

เจริญสุข เจริญในธรรม สาธุ



โดย : สมณะผ่านมา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553 17:41:54 »


มหาสมุทรในพุทธศาสนา

ปัญหา คำว่า 'มหาสมุทร' ตามความหมายของคนธรรมดา และตามความหมายทางพุทธศาสนาหมายถึงอะไร

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ย่อมกล่าวว่า 'มหาสมุทร'
มหาสมุทรนั้นไม่ชื่อว่าเป็นมหาสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า มหาสมุทรนั้นเป็นเพียงแอ่งน้ำใหญ่
เป็นห้วงน้ำใหญ่...

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ เป็นมหาสมุทรของบุรุษ
กำลังของตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ นั้นเกิดจากรูป...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์
บุคคลใดย่อมอดกลั้นกำลังอันเกิดจากรูป...เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารณ์นั้นได้
บุคคลนี้เรียกว่าเป็นพราหมณ์ สามารถข้ามมหาสุมทร คือ ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ ซึ่งมีทั้งคลื่น
มีทั้งน้ำวน มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อ น้ำ แล้วขึ้นฝั่งยืนอยู่บนบกได้...อยู่จนจบพรหมจรรย์
ถึงที่สุดแห่งโลกข้ามถึงฝั่งแล้ว"

สมุทรสูตรที่ ๑ 



โดย : มหาสมุทร
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553 17:57:29 »




"จิตแบบสายฟ้า"หรึอการบรรลุฉับพลัน ของเซ็น"
 
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

1. บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่าเป็นอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธ  มากด้วยความแค้นใจ
ถูกเขาว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดใจ  โกรธเคืองพยาบาทขึ้งเคียด

ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ
เปรียบเหมือนแผลเก่า

ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมให้สิ่งหมักหมมกระจัดกระจายมากมาย.
..บุคคลนี้เรียกว่ามีจิตเหมือนแผลเก่า

2. "บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบคืออย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

เหมือนบุรุษผู้มีดวงตา เห็นรูปในขณะฟ้าแลบในเวลากลางคืนอันมืดมิด.
..บุคคลนี้เรียกว่ามีจิตเหมือนฟ้าแลบ...


3. "บุคคลมีจิตเหมือนเพชรคืออย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้

ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ  ปัญญาวิมุติ  อันหาอาสวะมิได้...
เปรียบเหมือนแก้วมณี

หรือหินชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เพชรจะทำลายไม่ได้ไม่มี.
..บุคคลผู้นี้เรียกว่ามีจิตเหมือนเพชร..."


วชิรสูตร



 รัก  http://www.212cafe.com/boardvip/view.php?user=cm99&id=793
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 24.0.1312.57 Chrome 24.0.1312.57


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 13:15:20 »




บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.479 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 19 เมษายน 2567 22:32:10