[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 03:18:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธาตุก่องข้าวน้อย จ.ยโสธร : ตามรอยตำนาน 'ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่'  (อ่าน 3869 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2558 12:39:54 »

.

ธาตุก่องข้าวน้อย มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ
แตกต่างไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องราวทางพุทธศาสนา
แต่ประวัติความเป็นมาของการสร้างธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นนิทานพื้นบ้าน
เล่าสืบต่อๆ กันมาว่า หนุ่มชาวนา (บ้างว่าชื่อ “ทอง”)
สร้างธาตุองค์นี้ขึ้นเพื่อล้างบาปและอุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดา
ที่ตนกระทำอนันตริยกรรมมาตุฆาต ฆ่ามารดาผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดู
เหตุจาก 'โมโหหิว' มารดานำข้าวมาส่งให้ล่าช้า จึงบันดาลโทสะทุบตีจนถึงแก่ความตาย




ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง
ทรวดทรงสัณฐานคล้ายกับกระติบใส่ข้าวเหนียว หรือเรียกกันทั่วไปว่า 'ก่องข้าว'
เป็นศิลปกรรมแบบล้านช้าง พบมากบริเวณจังหวัดหนองคาย เช่น พระธาตุบังพวน เป็นต้น


ธาตุก่องข้าวน้อย
ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

ธาตุก่องข้าวน้อย หรือที่นิยมเรียกกันว่า พระธาตุก่องข้าวน้อย หรือ พระธาตุบ้านทุ่งสะเดา เป็นเจดีย์เก่าแก่ศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กลางทุ่งนา ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๙ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๓ (ยโสธร-อุบลราชธานี) กิโลเมตรที่ ๑๙๔ เลี้ยวซ้ายไปอีก ๑ กิโลเมตร

พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นศิลปกรรมแบบล้านช้าง สร้างในพุทธศตวรรษที่  ๒๓-๒๕ ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยกรุงธนบุรี ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมพื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นเมืองโบราณสมัยขอม (ดังปรากฏจารึก ตาดทองสร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๕ กล่าวถึงพรเจ้าอีศานวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๔๖๘-๑๔๗๑) ได้ส่งพระราชธิดา ชื่อ นางสารัสสวตี พร้อมด้วยข้าทาสบริวรและสิ่งของจำนวนมาก เพื่อให้มาเป็นพระมเหสีเจ้าชายเมืองนี้ ที่บ้านตาดทอง)  

ธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์ธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๒ ชั้น ทำเป็นแอวขัน ฐานพระธาตุกว้างด้านละ ๒ เมตร สูงประมาณ ๑๐ เมตร ตามสถาปัตยกรรมล้านช้าง มีซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ เหนือซุ้มจระนำประดับลายกระหนก ที่ซุ้มจระนำน้้นมีร่องรอยประดิษฐานพระพุทธรูป ช่วงกลางขององค์ธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน มีปลียอดเล็กๆ ประดับอยู่ทั้ง ๔ ด้าน  ลักษณะยอดกลางทำทรงหีบมีกลีบบัวอยู่ที่โคนหีบ สูงชะลูดไปสู่คอขวด แล้วหยักเป็นแอวขันคั่นกับยอดสุด เพื่อให้ยอดสูงดูโดดเด่นยิ่งขึ้น รอบนอกของธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด ๕x๕ เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังองค์ธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้า (เมษายน) จะมีการประเพณีสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น

นอกจากนี้แล้วบริเวณรอบๆ องค์ธาตุ กรมศิลปากรได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ เกี่ยวกับการอยู่อาศัย ณ ที่แห่งนี้ ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของไทยและภาพเขียนสียุคเดียวกับโบราณสถานบ้านเชียงด้วย

อนึ่ง ชื่อที่ถูกต้องของธาตุองค์นี้ ควรจะเรียกว่า "ธาตุก่องข้าวน้อย" มากกว่า "พระธาตุก่องข้าวน้อย" เพราะภายในบรรจุอัฐิบุคคลธรรมดา มิใช่เป็นอัฐิพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนเช่นพระธาตุหรือพระบรมธาตุทั่วไป

กระทรวงวัฒนธรรมซึ่งขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ด้านวรรณกรรมพื้นฐาน ระบุว่า นิทานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่เป็นวรรณกรรมทางภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และถือเป็นนิทาน มีทั้งประเภทมุขปาฐะและลายลักษณ์ (ใบลานและหนังสือ) เป็นนิทานพื้นบ้านที่รับรู้กันโดยทั่วไปในสังคมไทย แม้เชื่อว่าจะมีที่มาจากนิทานพื้นบ้านของอีสาน แต่ในปัจจุบันนิทานเรื่องนี้ได้แพร่หลายและรับรู้กันอย่างกว้างขวางในสังคมไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

นิทานพื้นบ้าน 'ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่' เล่าว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีแม่ลูกยากจนคู่หนึ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ชายทุ่ง มีอาชีพทำนา ลูกชายเป็นคนขยันขันแข็งในการทำงาน เมื่อเจริญวัยรุ่นหนุ่มได้ช่วยแม่ทำนาและประกอบสัมมาอาชีพต่างๆ พยายามที่จะกอบกู้ฐานะของครอบครัว เลี้ยงดูมารดาซึ่งชราภาพมากแล้ว ในฤดูทำนาลูกชายก็ออกไปไถนาตั้งแต่เช้าตามปกติ ส่วนแม่เฒ่าก็เตรียมข้าวปลาอาหารไปส่งลูกที่ท้องนาทุกวัน

อยู่มาวันหนึ่งลูกชายออกไปไถนา ส่วนแม่เฒ่าตื่นสายไปหน่อยจึงเตรียมข้าวปลาอาหารช้ากว่าทุกวัน ในเวลาเที่ยงลูกชายซึ่งกำลังไถนา รู้สึกหิวข้าว แม่ก็ยังไม่มาส่งข้าวเหมือนทุกวัน ลูกชายได้แต่รอคอยด้วยความหิว ก็ยังไม่เห็นแม่มาสักที ครั้นเมื่อแม่เฒ่ามาถึงพร้อมกับก่องข้าวที่เคยใช้ใส่อาหารมา ด้วยความหิวลูกชายมองเห็นก่องข้าวเล็กนิดเดียว คิดว่าคงจะไม่พอกิน จึงเกิดโทสะว่าแม่นำข้าวมาเพียงเล็กน้อยไม่พอกัน ไม่เห็นใจที่ตนพยายามทำงานเพื่อครอบครัว

ด้วยความหิวและความโกรธจนลืมตัว หยิบได้ไม้ท่อนหนึ่งตีแม่ แล้วนั่งกินข้าวจนอิ่ม แม้อิ่มแล้วข้าวก็ยังไม่หมดกล่อง (ก่อง) หวนคิดได้ว่าตนหิวจนตาลาย ได้กระทำร้ายแม่ไปเสียแล้ว จึงรีบมาอุ้ม แต่แม่สิ้นใจไปแล้ว ลูกชายเกิดความรู้สึกเสียใจที่ทำร้ายแม่จนถึงขั้นมาตุฆาต จึงมามอบตัวสารภาพผิดต่อเจ้าเมือง และขอบวชไถ่บาป เจ้าเมืองอนุญาต เมื่อบวชก็ปฏิบัติเคร่งครัดในวินัยจนชาวบ้านตลอดจนเจ้าเมืองเลื่อมใสมาก ถวายไม้กวาดลานวัดทำด้วยด้ามทองคำ ภายหลังเรียกชื่อหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านตาดทอง" พระภิกษุรูปนี้เจริญภาวนาและตั้งจิตจะสร้างพระธาตุเจดีย์เพื่อไถ่บาปแก่แม่ของตน เมื่อชาวบ้านรู้ก็มาช่วยกันสร้างพระธาตุเจดีย์สูงชั่วลำตาลจนสำเร็จ เรียกว่า "พระธาตุก่องข้าวน้อย" สืบมาจนทุกวันนี้

นอกจากนั้น ยังพบมีเรื่องเล่าประวัติความเป็นมาของการสร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยอีกสำนวนหนึ่งว่า มีผู้คนในลุ่มแม่น้ำมูนส่วนหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี ทราบข่าวว่ามีการบูรณะพระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม จึงพร้อมใจกันรวบรวมวัตถุมงคลสิ่งของมีค่าหมายจะนำไปบรรจุไว้ในองค์พระธาตุพนมด้วย โดยเดินทางมาพักอยู่ข้างๆ บ้านตาดทอง

ขณะนั้นชาวบ้านตาดทองที่ไปช่วยบูรณะพระธาตุพนมเดินทางกลับมาถึงบ้านพอดี แจ้งให้พวกที่มาพักทราบว่าการบูรณะพระธาตุพนมได้เสร็จสิ้นแล้ว ผู้คนเหล่านั้นจึงพร้อมใจกันสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบวัตถุอันมีค่าที่นำมานั้นไว้ ชาวบ้านตาดทองนำถาดทองที่ใช้เป็นพานอัญเชิญวัตถุมงคลไปบรรจุไว้ในองค์พระธาตุพนมมารองรับวัตถุมงคลที่ญาติพี่น้องจากลุ่มแม่น้ำมูนนำมา แล้วช่วยกันก่อสร้างพระธาตุเจดีย์บรรจุไว้

นิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ดังปรากฏในหลายรูปแบบ ทั้งหมอลำอีสาน ลิเกภาคกลาง ละครซอภาคเหนือ หนังตะลุงภาคใต้ เพลงลูกทุ่ง เพลงแหล่ เทศน์แหล่ บทสวดสรภัญญะ ภาพยนตร์ ภาพจิตรกรรม การแสดง และการ์ตูนแอนิเมชั่น ล้วนนำโครงเรื่องนิทานมาสร้างสรรค์ดัดแปลงเป็นข้อมูลทางวัฒนธรรมของไทย

สาระสำคัญโดยรวม เรื่อง ก่องข้าวน้อย หรือบางทีเรียก ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ เป็นนิทานอธิบายเหตุการณ์สร้างศาสนสถาน คือพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งเป็นศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กลางทุ่งนาบ้านตาดทอง ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ทั้งนี้คำว่า ก่องข้าว หรือกล่องข้าว เป็นเครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียวนึ่งของชาวอีสานและล้านนา




พระพุทธรูป ประดิษฐานในอุโมงค์ข้าง ธาตุก่องข้าวน้อย


อุโมงค์บรรจุพระพุทธรูป (มีร่มสีน้ำเงินกางหน้าอุโมงค์)























พระธาตุบังพวน วัดพระธาตุบังพวน บ้านดอนหมู  ต.พระธาตุบังพวน อ.เมือง จ.หนองคาย
รูปทรงสัณฐานเดียวกับธาตุก่องข้าวน้อย


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กรกฎาคม 2558 13:16:32 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.328 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 27 มีนาคม 2567 12:14:39