[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 23:57:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คนพวน มาจากไหน? โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  (อ่าน 3473 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2558 12:29:11 »

.


ตลาดเชียงขวางที่เมืองพวน ค.ศ. ๑๙๑๙ (พ.ศ. ๒๔๖๒) แขวงเชียงขวาง ลาว

คนพวน มาจากไหน?
ที่ อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี


อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี และพื้นที่ต่อเนื่องหลายชุมชนท้องถิ่น มีคนพวนจำนวนมาก เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งตั้งแต่แผ่นดิน ร.๓ แล้วอยู่สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน

คนพวน มาจากไหน? คำอธิบายต่อไปนี้ปรับปรุงจากหนังสือทอดน่องท่องเที่ยว อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี
พวน แปลว่า ที่ราบสูง, ที่สูง เป็นคำเดียวกับ พูน, โพน
ไทยพวน หมายถึง ชาวพวน หรือคนพวน เพราะคำว่า ไต, ไท, ไทย แปลว่า คน, ชาว
ลาวพวน หมายถึง คนลาวจากเมืองพวน หรือคนพวนจากเมืองลาว เป็นชื่อที่คนในไทยเรียกคนพวนว่า ลาวพวน

 
สำเนียงพวน
คนพวน พูดภาษาพวน สำเนียงพวน จัดอยู่ในตระกูลภาษาลาว-ไทย
อักษรพวนไม่มี แต่ในสมัยโบราณใช้อักษรธรรมลาว หรือตัวธรรมลาว (ได้จากอักษรธรรมของรัฐล้านนา) จารคัมภีร์หรือตำราบนใบลาน



คัมภีร์ใบลาน จารด้วยอักษรธรรมลาว
ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน บ้านดงกระทงยาม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี


เมืองพวน, เมืองคูน
เมืองสำคัญของคนพวน คือ เมืองคูน หมายถึงเมืองอยู่บนที่เนินสูง เป็นศูนย์กลางเก่าของชาวพวน หรือเมืองพวนเก่า

คำว่า คูน แปลว่าบริเวณที่เนินสูง ตรงกับคำภาคใต้ว่า ควน

บรรพชนพวน
บรรพชนคนพวน ชื่อเจ็ดเจือง เป็นเจ้าเมืองพวน อยู่แขวงเชียงขวาง ในลาว

เจ็ดเจือง เป็นลูกชายคนที่เจ็ดของขุนบรม (ลาวเรียกขุนบูฮม) ซึ่งมีลูกชาย ๗ คน บอกไว้ในตำนานเรื่องขุนบรม ลาวยกย่องขุนบรมเป็นเชื้อสายของแถน

เจือง แปลว่า จอม, ยอด, เอก

ขุนเจือง เป็นนามวีรบุรุษทางวัฒนธรรม ข้ามเผ่าพันธุ์สองฝั่งโขง

คนพวนเชื่อว่าขุนเจืองกับเจ็ดเจืองเป็นบุคคลเดียวกัน และเป็นบรรพชนคนพวน

เมื่อขุนเจืองทำสงครามขับไล่พวกแกวที่มารุกรานได้แล้ว สั่งทำไหใส่เหล้า(อุ)เลี้ยงไพร่พลจำนวนมาก ครั้นนานไปไหเหล้าทั้งหมดกลายเป็นหิน อยู่ทุ่งไหหิน คนพวนและคนกลุ่มอื่นในลาวทุกวันนี้เรียกไหหินเหล่านั้นว่าไหเหล้าเจือง


คนพวนเคลื่อนย้าย
บรรพชนคนพวนเคลื่อนย้ายจากถิ่นเดิมไปๆมาๆ ทั้งระยะใกล้และไกล เหมือนคนกลุ่มอื่นๆ ตั้งแต่ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

ราวหลัง พ.ศ. ๑๗๐๐ มีการเคลื่อนย้ายของคนพวนและคนหลายเผ่าพันธุ์ในภูมิภาคสุวรรณภูมิ ด้วยเหตุผลทางการค้าภายใน

ครั้งนั้นคนลาวจากสองฝั่งโขง ทยอยเคลื่อนย้ายลงไปตั้งหลักแหล่งใหม่อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งตอนบนและตอนล่าง

ขณะเดียวกัน คนพวนกลุ่มหนึ่งจากเมืองพวนที่เชียงขวาง ก็เคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณสองฝั่งโขง ตั้งแต่บริเวณเมืองเวียงจัน และดินแดนต่อเนื่องถึงเขตอีสานเหนือ

คนพวนถูกกวาดต้อน

หลังกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ. ๒๓๑๐ คนพวนถูกกวาดต้อนจากบริเวณสองฝั่งโขง ลงไปตั้งบ้านเรือนอยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาหลายคราว

ยุคกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๒๒ พระเจ้าตากโปรดให้เจ้าพระยาจักรี (หลังจากนั้นอีก ๓ ปี คือ ร.๑) ยกทัพตีได้เมืองเวียงจัน แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตลงไปกรุงธนบุรี พร้อมด้วยคนลาวและคนพวนไปตั้งบ้านเรือนอยู่ลุ่มน้ำป่าสัก เมืองสระบุรี

ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ กวาดต้อนคนพวน ๓ คราว

สมัย ร.๑ พ.ศ. ๒๓๒๕

สมัย ร.๓ พ.ศ. ๒๓๗๑

สมัย ร.๕ พ.ศ. ๒๔๑๗ ส่งผลให้ตั้งชื่อมณฑลลาวพวนในอีสาน

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ มี ๑๒ เมืองในภาคอีสาน เช่น เมืองหนองคาย, เมืองหนองบัวลำภู (กมุทาสัย), เมืองขอนแก่น, เมืองนครพนม, เมืองมุกดาหาร, เมืองสกลนคร, ฯลฯ เมืองหล่มสัก (จ. เพชรบูรณ์)


ข้อมูล/ภาพ : คนพวน มาจากไหน? ที่ อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒๑ พ.ย. ๕๗
(ท่านสุจิตต์ วงษ์เทศ ได้กรุณาแจ้งในเว็บไซต์ของท่านว่า "เฉพาะผลงานของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ไม่สงวนลิขสิทธิ์")

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2558 17:19:21 »

.


จุดบั้งไฟ ในบุญบั้งไฟเดือน ๖ ที่วัดต้นโพธิ์ฯ อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี เมื่อหลายปีมาแล้ว

คนพวน อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี
มาจากสองฝั่งโขง ในลาวและอีสาน

คนพวน จากลาว เข้าไทย
พ.ศ. ๒๓๘๐ ชักชวนและกวาดต้อนคนพวนทั้งจากเมืองพวน (เชียงขวาง) กับเมืองเวียงจัน และจากบ้านเมืองสองฝั่งโขง เช่น เมืองหนองคาย (จ. หนองคาย), เมืองหนองหาน (จ. อุดรธานี)

มีคำบอกเล่าว่าคนพวนกลุ่มนี้ตั้งบ้านเรือนชั่วคราวอยู่ที่ปัจจุบันคือ บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ลงไปตั้งบ้านเรือนอยู่ทางดงศรีมหาโพธิ์  จ.ปราจีนบุรี และที่อื่นๆ อีกหลายแห่งในเขตป่าดง ให้เป็นด่านหน้าป้องกันกรุงเทพฯ เมื่อมีศึกมาทางตะวันออก

นับเป็นการเคลื่อนย้ายของกลุ่มชนสองฝั่งโขงลงลุ่มน้ำเจ้าพระยาครั้งใหญ่ และเป็นครั้งสำคัญมาก ทำให้ประชากรในไทยมีมากขึ้น แล้วประสมประสานทางชาติพันธุ์มากกว่าเดิม



ศาลผีปู่ตาบ้าน บ้านโคกไทย ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี

ผีปู่ตา
ผีปู่ตา คือผีบรรพชนทั้งสายแหรกข้างพ่อ คือ ปู่, ย่า และสายแหรกข้างแม่ คือ ตา, ยาย

รวมกัน ๒ สายเป็นปู่ย่าตายาย ฝ่ายผู้ชายคือปู่ตา ฝ่ายผู้หญิงคือย่ายาย

เมื่อสร้างบ้านเรือนเป็นชุมชนแล้ว คนพวนต้องยกย่องผีบรรพชนฝ่ายผู้ชาย

แล้วสร้างหอผีประจำทุกหมู่บ้านเรียกหอผีปู่ตาบ้าน (หรือ ศาลผีปู่ตาบ้าน) ให้ปกป้องคุ้มครองคนในหมู่บ้านโดยมีพิธีเลี้ยงผีทุกปี

คนพวนนับถือพุทธศาสนาเถรวาทที่เมืองพวน (เมืองคูน) มีวัดมีพระพุทธรูปปูนปั้นและมีเจดีย์ ทั้งหมดเป็นศิลปะ (พวน) เชียงขวาง

เมื่อคนพวนตั้งชุมชนหมู่บ้านแล้วสร้างวัดประจำหมู่บ้านจึงสร้างเจดีย์ศิลปะ (พวน) เชียงขวาง เช่น เจดีย์วัดแสงสว่าง บ้านโคกไทย (ชื่อเดิมว่า บ้านโคกมอน) ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี



พระพุทธรูป ๓ องค์แบบล้านช้าง อายุราวหลัง พ.ศ.๒๒๒๐
อยู่ที่วัดบ้านใหม่ดงกระทงยาม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี เล่ากันว่าอัญเชิญมาจากเมืองเวียงจัน
พร้อมการเคลื่อนย้ายลงมาอยู่แถบปราจีนบุรีเมื่อราว ๒๐๐ ปีที่แล้ว



ฆ้อง หรือกังสดาลสัมฤทธิ์ อยู่ที่วัดบ้านใหม่ ดงกระทงยาม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
เล่ากันว่านำมาจากเวียงจันพร้อมพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ เมื่อราว ๒๐๐ ปีมาแล้ว ตัวฆ้องแบนกลม
ด้านหน้ามีปุ่มเล็กๆ ยกขอบเตี้ยรอบตัวฆ้อง ส่วนด้านหลังเป็นแผ่นเรียบไม่ยกขอบเหมือนฆ้องทั่วไป




ข้อมูล/ภาพ : คนพวน อ. ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี มาจากสองฝั่งโขง ในลาวและอีสาน โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒๗ พ.ย. ๕๗
(ท่านสุจิตต์ วงษ์เทศ ได้กรุณาแจ้งในเว็บไซต์ของท่านว่า "เฉพาะผลงานของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ไม่สงวนลิขสิทธิ์")
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.323 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 20:03:34