[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 06:13:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมภาพเก่าหาดูยาก : ภาพเก่าเล่าเรื่อง  (อ่าน 15697 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2558 16:26:39 »

.

รวมภาพเก่าหาดูยาก
ชุดภาพประวัติศาสตร์ ของเมืองลพบุรี
ภาพเก่าที่สุดถ่ายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)
(มีจำนวนทั้งสิ้น ๙๙ ภาพ)




















ภาพนี้สันนิษฐานว่าถ่ายที่ 'พระนารายณ์ราชนิเวศน์' ที่อยู่กลางตัวเมืองลพบุรี































๓ ภาพสุดท้าย ผู้โพสท์มีความเห็นว่า เป็นภาพบ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์
'เจ้าพระยาวิชาเยนทร์' เป็นขุนนางคนโปรดของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
บ้านหลังนี้ใหญ่โตราวพระราชวังทีเดียว ตั้งอยู่ใกล้พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ในตัวเมืองลพบุรี
ฝรั่งผู้นี้มีกำเนิดเป็นชาวกรีก มีนามว่า คอนสตันต์ เกราคีส หรือเจราคีส  (Constant  Gerakis or Jarakis)  
หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า คอนสตันต์ ฟอลคอน (Constant  Folcon)









ผู้โพสท์มีความเห็นว่า ภาพข้างบนเป็นบ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

...ว่ากันว่าขุนนางผู้นี้เอง เป็นผู้ถวายแนวคิดแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ให้สร้างหมู่พระที่นั่งต่างๆ ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จ.ลพบุรี
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน โครงสร้างลักษณะสถาปัตยกรรมแบบผสมตะวันตก  
ซึ่งพระราชวังต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้น ยังก่อสร้างด้วยไม้












ภาพด้านบนนี้คือ ปรางค์ ๓ ยอด จ.ลพบุรี



เจ้าของภาพ ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพได้
ทราบแต่ว่าเป็นภาพที่ถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๔ เรื่อยมา
ท่านผู้ใดมีข้อมูลภาพ กรุณาแจ้ง เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยค่ะ

ขอขอบคุณเจ้าของภาพ - (จนท. กรมศิลปากร)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤษภาคม 2559 18:57:44 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2558 15:41:43 »

ชุดภาพประวัติศาสตร์ของเมืองลพบุรี
(ต่อ)






































































มีต่อ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤษภาคม 2559 18:58:27 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2558 16:02:06 »


ชุดภาพประวัติศาสตร์ของเมืองลพบุรี
(จบ)



























































จบ ภาพเมืองลพบุรีในอดีต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤษภาคม 2559 18:58:53 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2558 15:10:45 »

.


รัชกาลที่ ๖ ในพระราชพิธีราชาภิเษกสมโภช เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๔๕๔



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯเปิดพระบรมรูปทรงม้า



ตุ๊กตาจีนรูปคนชาวยุโรป เป็นอับเฉาสำหรับถ่วงน้ำหนักเรือสำเภา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่วัดโพธิ์



พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ ทรงฉายกับกล้องถ่ายรูป


เรือพระที่นั่งสุพรรณหงษ์สำหรับเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑


สะพานพระพุทธยอดฟ้า


ภาพถ่ายทางอากาศพระบรมหาราชวัง ถ่ายเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๖๖


ภาพถ่ายทางอากาศวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร(วัดโพธิ์) พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ ๑


บริเวณสะพานผ่านพิภพลีลา ปี พ.ศ.๒๔๔๕ มองเห็นพระบรมหาราชวัง


พิธีคล้องช้างในเพนียด


งานประชุมรถยนต์ในสมัยรัชกาลที่ ๕


ย่านการค้าบริเวณถนนเยาวราช


“ป้อมมหากาฬ” ชื่อใหม่
เดิมคือ “บ้านสาย-ตรอกพระยาเพชร”

ข้อมูล-ภาพ : มติชนออนไลน์


วิกลิเกพระยาเพชรปาณี ที่ตรอกพระยาเพชร บริเวณป้อมมหากาฬ ชานกำแพงพระนคร ในสมัยรัชกาลที่๕
ยืนยันการเป็นชุมชนเก่าแก่ของป้อมมหากาฬ ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกเรียกในภายหลัง จึงถูกมองจากภาครัฐว่าไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์
(ภาพถ่ายโดย เจ. อันโตนิโย เจ้าของร้านถ่ายรูป เจ. อันโตนิโย ปากตรอกชาร์เตอร์ดแบงก์ ถนนเจริญกรุง)


ชุมชนป้อมมหากาฬ ชานกำแพงพระนคร ตั้งแต่ก่อน ร.๔ มีในภาพถ่ายเก่าจากภูเขาทอง สมัยปลาย ร.๔ ต้น ร.๕
(ซ้าย) เห็นป้อมมหากาฬ (กลาง) สะพานไม้ คือจุดที่สร้างสะพานผ่านฟ้าลีลาศ


บ้านสาย ชุมชนทอสายรัดประคดพื้นที่ต่อเนื่องชุมชนป้อมมหากาฬซึ่งล้วนมีผู้คนอยู่อาศัยตั้งแต่อดีตไม่มีขาดสาย
(ภาพจาก ย่านเก่าในกรุงเทพฯ เล่ม ๑ โดย ปราณี กล่ำส้ม, เมืองโบราณฉบับพิเศษ พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๔๙)


กรุงเทพฯมุมสูง มองเห็นเสาชิงช้า วัดสุทัศน์ ถัดมาด้านหน้าเป็นวัดราชนัดดา วัดเทพธิดาราม
และแนวใบเสมากำแพงเมืองที่ทอดยาวต่อเนื่องถึงป้อมมหากาฬ อันเป็นที่ตั้งของชุมชนชานกำแพงพระนคร
(ภาพโปสการ์ดสมัย ร.๖ พ.ศ.๒๔๖๒ ของสินชัย เลิศโกวิทย์)


ป้อมมหากาฬ ชานกำแพงพระนคร ริมคลองโอ่งอ่าง กรุงเทพฯ
(ซ้าย) ภูเขาทอง (ขวา) เห็นคลองมหานาค เชื่อมคลองโอ่งอ่างและสะพานผ่านฟ้า
[ภาพถ่ายทางเครื่องบิน โดย ปีเตอร์ วิลเลี่ยมส์ ฮันต์ (Peter Williams Hunt)
นักบินฝ่ายพันธมิตร ถ่ายเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ หรือ พ.ศ.๒๔๘๙]


เริ่มที่ประเด็นชื่อชุมชนป้อมมหากาฬที่ไม่เคยพบพานในเอกสารโบราณใดๆ ต่างจากบ้านบาตร บ้านดอกไม้ บ้านพานถม ฯลฯ

เรื่องนี้ต้องผายมือไปที่ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ ผู้มีผลงานมากมายเกี่ยวกับ “กรุงเทพฯ” ซึ่งตอบทันควัน ว่าชื่อชุมชนป้อมมหากาฬจะมีได้อย่างไร เพราะมันเป็นชื่อใหม่ที่เพิ่งเรียกกันภายหลัง แต่เดิมนั้น รู้จักกันในชื่อ “ตรอกพระยาเพชร” เพราะเป็นที่ตั้งของวิกลิเกแห่งแรกในกรุงเทพฯ ยุครัชกาลที่ ๕ ของพระยาเพชรปาณี โดยแต่งตัวเลียนแบบละครพันทางของเจ้าคุณมหินทร์ วิกปรินซ์เธียเตอร์ ท่าเตียน แต่แหกคอก นอกกรอบละคร ชาวบ้านจึงนิยมมาก เพราะดูรู้เรื่องและสนุก

นอกจากนี้เมื่อเขยิบออกไปอีกนิด ก็มีชุมชนยุคต้นรัตนโกสินทร์ชื่อว่า “บ้านสาย” เพราะทำสายรัดประคดของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกัน ชาวบ้านก็เป็นพวกเดียวกันไม่อาจแยกขาดจากกันได้ แล้วจะบอกว่าป้อมมหากาฬไม่ใช่ชุมชนประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

“จะมีชื่อชุมชนป้อมมหากาฬในประวัติศาสตร์ได้ยังไง เพราะมันเป็นชื่อใหม่ที่เพิ่งเรียกกัน จะโดยสื่อมวลชนหรือใครก็แล้วแต่ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจง่าย แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นชุมชนใหม่ เพราะมีหลักฐานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกตรอกพระยาเพชร มีวิกลิเกแห่งแรกในกรุงเทพฯ ของพระยาเพชรปาณี เขยิบไปนิดเดียวเป็นบ้านสาย ชุมชนทำสายรัดประคด อยู่ติดกัน แล้วจะไปแยกกันยังไง จะบอกว่ามีบ้านสาย แต่ตรงป้อมไม่มีชุมชนมันเป็นไปไม่ได้ ตอนเข้ากรุงเทพฯ มาเป็นเด็กวัดเมื่อปี ๒๔๙๗ คนบ้านสายที่อยู่ฝั่งตรงข้ามวัดก็มาใส่บาตรที่วัดเทพธิดารามนี่แหละ” สุจิตต์เล่าอย่างออกรส


‘ลาว’ สร้างกำแพงเมืองกรุงเทพฯ
๒๓๔ ปี กรุงรัตนโกสินทร์


คนลาวในอีสาน และเวียงจันทน์เป็นผู้สร้างกำแพงเมือง
และป้อมปราการในกรุงเทพฯ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕)

เมษายน ๒๓๒๕ รัชกาลที่ ๑ สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ มีกรุงเทพเป็นราชธานี บัดนี้ ครบรอบ ๒๓๔ ปีของมหานครแห่งนี้ ซึ่งไม่ได้ถูกเนรมิตขึ้นในชั่วข้ามคืน หากแต่สร้างขึ้นโดยบรรพชนที่ประกอบด้วยกลุ่มคนหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือ ‘ลาว’ ซึ่งมีบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นผู้สร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการอันแข็งแกร่ง

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ จดจารไว้ว่า ให้ตั้งกองสักเลกไพร่หลวงสมกำลัง และเลกหัวเมืองทั้งปวง แล้วให้เกณฑ์ทำอิฐขึ้นใหม่บ้าง ให้ไปรื้ออิฐกำแพงเมืองกรุงเก่าบ้าง ลงมือก่อสร้างพระนคร ทั้งพระบรมมหาราชวังและพระราชวังบวรสถานมงคล

โปรดให้เกณฑ์ลาวทางภาคอีสานของไทย ลาวจากเวียงจันทน์ ตลอดจนหัวเมืองลาวริมแม่น้ำโขงฟากตะวันตก เข้ามาขุดรากก่อกำแพงพระนคร และสร้างป้อมเป็นระยะๆ รอบพระนคร

ลาวที่ถูกเกณฑมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้กลับถิ่นเดิม เพราะการสร้างแปลงเมืองไม่ได้เสร็จในคราวเดียว แต่ทำต่อเนื่องหลายรัชกาล ชาวลาวเหล่านี้ จึงตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ในกรุงเทพฯ กลายเป็นส่วนหนึ่งของคนกรุงเทพที่มีลูกหลานสืบมาจนถึงปัจจุบัน

ผศ.ดร. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ บันทึกไว้ชัดเจนว่า คนลาวเป็นผู้สร้างกำแพงเมืองกรุงเทพรวมถึงป้อมปราการต่างๆ โดยถูกเกณฑ์มาจากลุ่มน้ำโขง เนื่องจากหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ แรงงานไพร่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเหลือน้อย หากไม่มีแรงงานลาว คงใช้เวลาสร้างนานกว่าที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อย่างมาก

“ผลจากปัญหาสงครามเสียกรุงครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ คนในลุ่มน้ำภาคกลางเหลือน้อย เพราะฉะนั้น พอต้องมีการก่อกำแพงพระนคร อำนาจราชสำนักแผ่ถึงลุ่มน้ำโขง จึงเกณฑ์ลาวมาช่วยสร้างพระนครเป็นการใหญ่ ถ้าไม่ได้แรงงานเหล่านี้ ๓ ปีก็ก่อกำแพงไม่เสร็จ ที่ต้องเน้นกำแพงเพราะใช้เตรียมรับศึก” ผศ.ดร. รุ่งโรจน์กล่าว



ยุคแรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คนลาวถูกเกณฑ์มาสร้างกำแพงและป้อมปราการในกรุงเทพฯ
(ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕)


แม่หญิงลาวมณฑลอุดร

ที่มา (ภาพ-ข้อมูล): มติชนออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มิถุนายน 2561 13:51:39 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2559 16:11:29 »


ฟ้าผ่าเจดีย์ราย วัดภูเขาทอง ทุ่งภูเขาทอง อยุธยา  
ฟ้าผ่าเจดีย์เมื่อฝนตก เคยเกิดขึ้นเสมอ จึงมีบันทึกในตำนานพงศาวดารบ่อยๆ

ฟ้าผ่าเจดีย์ราย วัดภูเขาทอง ทุ่งภูเขาทอง อยุธยา วันพายุร้อนฝนถล่ม ช่วงปลายเมษายน ต้นพฤษภาคม

ฟ้าผ่าเจดีย์เมื่อฝนตก เคยเกิดขึ้นเสมอ จึงมีบันทึกในตำนานพงศาวดารบ่อยๆ

แต่ครั้งสำคัญราว ๖๐๐ ปีมาแล้ว ฟ้าผ่าเจดีย์วัดแห่งหนึ่งในเมืองเชียงราย (จ.เชียงราย) เจดีย์พัง พบพระแก้วมรกตซ่อนในเจดีย์ ร.๔ เคยมีพระราชนิพนธ์เล่าไว้ จะเชิญตอนสำคัญมา โดยจัดย่อหน้าใหม่ ดังนี้

“พระแก้วมรกตองค์นี้อยู่ในพระสถูปใหญ่เก่าองค์หนึ่ง ณ เมืองเชียงราย ครั้นพระสถูปเจดีย์นั้นต้องอสนีบาตพังลงมาแล้ว ชาวเมืองเชียงรายได้เห็นเป็นองค์พระพุทธรูปปิดทองคำทึบทั่วทั้งองค์ ก็สำคัญว่าพระพุทธรูปศิลาสามัญ จึงเชิญไปไว้ในวิหารที่ไว้พระพุทธรูปในวัดแห่งหนึ่ง แต่นั้นไป ๒ เดือน ๓ เดือน ปูนที่ลงรักปิดทองหุ้มทั่วพระองค์นั้น กะเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เจ้าอธิการในอารามนั้นได้เห็นเป็นแก้วสีเขียวงาม จึงแกะต่อออกไปทั้งพระองค์ คนทั้งปวงจึงได้เห็น และทราบว่าเป็นพระพุทธรูปแก้วแท่งทึบทั้งแท่งบริสุทธิ์ดีไม่บุบสลาย

คนชาวเชียงรายและเมืองลาวอื่นๆ ก็ตื่นกันไปบูชานมัสการมากมาย”



วัดพระแก้ว ตั้งอยู่บนถนนไตรรัตน์ ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย เดิมชื่อวัดป่าเยี๊ยะ หรือวัดป่าญะ
(ไม้เยี๊ยะ เป็นไม้ไผ่พันธุ์พื้นเมืองชนิดหนึ่ง ชาวบ้านนิยมนำไม้ชนิดนี้ไปทำหน้าไม้หรือขาธนู)
จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.๑๙๗๗ ได้ค้นพบพระแก้วมรกต ชาวบ้านจึงขนานนามใหม่ว่าวัดพระแก้ว
(ภาพจากหนังสือตำนานพระพุทธรูปสำคัญ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมแช่ม กฤดากร ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์
ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔)


พระเจดีย์วัดพระแก้ว (ก่อนบูรณปฏิสังขรณ์) ถูกอสนีบาต (ฟ้าผ่า) เมื่อ พ.ศ.๑๙๗๗
เมื่อพระเจดีย์พังทลายลงจึงได้ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
ต่อมาชำรุดทรุดโทรมลง เช่น ตอนบนและตอนกลางมีต้นโพธิ์เถาวัลย์และหญ้าขึ้นรกเต็มไปหมด
ตอนล่างอิฐปูนที่โบกไว้ก็หักและพังลง จึงซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์โดยรักษาทรวดทรงเดิม
ไว้ทุกประการ เสร็จและสมโภชเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๙๗ (รูปและคำอธิบายจากหนังสือ
พระแก้วมรกต สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๔๖ หน้า ๒๒๐)

ที่มา (ภาพ-ข้อมูล): สุจิตต์ วงษ์เทศ : ฟ้าผ่าเจดีย์เมืองเชียงราย พบพระแก้วมรกตในเจดีย์ มติชนออนไลน์





'ลิเก' แรกมีสมัย รัชกาลที่ ๕
พระยาเพชรปาณี สร้างสรรค์ลิเกก้าวหน้า

ลิเก แรกมีสมัย ร.๕ จากสวดแขกตามประเพณีในศาสนาอิสลามของชาวมุสลิมจากมลายูปัตตานี ที่ถูกกวาดต้อนขึ้นมาอยู่กรุงเทพฯ สมัย ร.๑ (พร้อมปืนใหญ่พญาตานี หน้ากระทรวงกลาโหม)

ดังนั้น จึงมีกลองรำมะนาตีประโคมรับลิเกในยุคแรกเริ่ม (เหมือนลำตัด เพราะมีกำเนิดจากสวดแขกมาด้วยกัน)
ลิเกยุคแรกไม่เล่นเป็นเรื่องอย่างละคร แต่เล่นเป็นจำอวดชุด เช่น ชุดสิบสองภาษา ต้องเล่นออกสำเนียงภาษาต่างๆ ละแวกเพื่อนบ้านโดยรอบ

เจ้านายนักปราชญ์องค์หนึ่งเขียนเล่าเรื่องลิเกไว้ (จากบทความเรื่อง บ่อเกิดของลิเก โดย ว. ชยางกูร พิมพ์ในสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ มิ.ย.-ส.ค.๒๕๑๐ หน้า ๔๑-๔๖) คัดมาลงตั้งแต่เมื่อวาน จะคัดมาอีก ดังนี้

“ในลิเกชุดสิบสองภาษานี้ ข้าพเจ้าจำได้ว่าชุดที่เราชอบเอามาเล่นมาร้องมากที่สุดคือ ชุดมอญ ตอนพระยาน้อยชมตลาด ขึ้นต้นร้องเกริ่นว่า ‘พระสุริยงส่องฟ้าพระสุริยาเยี่ยมอัมพร ฝ่ายสมิงพระยามอญ ให้เร่าร้อนในอุรา’

ครั้นแล้วพระยาน้อยก็เดินกรีดกรายไปช้าๆ จนมาถึงร้านขายหมากขายพลู จึงมีคำบรรยายว่า ‘ถึงร้านขายหมากพลู นักเลงเจ้าชู้ดูดีดดิ้น ขายหมากไม่อยากกิน เอานมออกปลิ้นให้ชายดู’”

ในขณะนั้น แขกก็เดินตามมาด้วย คราวนั้นพวกแม่ค้าก็โจมตีอาบังเข้าบ้าง แม่ค้าถามอาบัง “อาบังรักที่ตรงไหน จงบอกไปเสียเถิดพี่ รักเนื้อหรือรักนม หรือรักผ้าห่มของน้องนี้” พี่บังตอบว่า “อะไรมันไม่สำคัญ เหมือนน้ำมันตานี” ลูกคู่ร้องรับว่า “เยลันยา ตูหนาลั้นกั่น อะไรมันไม่มันสำคัญเหมือนน้ำมันตานี”

“เมื่อจางวางแย้มออกโรงมาได้สักหน่อยก็เกิดมีผู้เอาอย่าง มีลิเกขึ้นอีกหลายโรง พระยาเพ็ชรปาณีตั้งโรงอยู่นอกกำแพงพระนคร ตรงหน้าวัดราชนัดดา ประชาชนเรียกว่า ลิเกพระยาเพ็ชร”

“พระยาเพ็ชรปาณีได้ดัดแผลงจากของเดิม โดยมีเครื่องแต่งตัวขึ้นบ้าง มีพระ มีนาง และตัวลิเกต่างก็มีบทร้องและเล่นเป็นเรื่องราวตามเรื่อง วงศ์ๆ จักรๆ จากหนังสือซึ่งหลังปกมีปรากฏว่า

‘เล่มละสลึงพึงรู้ท่านผู้ซื้อ ร้านหนังสือหน้าวัดเกาะ เพราะหนักหนา ฯลฯ’ เรื่องที่ดื่นอยู่ในเวลานั้นก็คือ จันทโครบ และลักษณวงศ์ และอื่นๆ”

“ตั้งแต่พระยาเพ็ชรปาณีได้พัฒนามาถึงมีลิเกลูกบท ก็เกือบใกล้ ‘นาฏะดนตรี’ อยู่แล้ว คือ มีปี่พาทย์ลาดตะโพนและดนตรีประกอบคล้ายละคร ผิดกันแต่เพียงตัวลิเก ร้องเอง ไม่มีใครบอกบท”

“ถัดพระยาเพ็ชรปาณีมาก็มีลิเกนาวาตรี หลวงสันทนาการกิจ (โหมด) ประชาชนเรียกว่าลิเกวิกหลวงสัน ตั้งอยู่ตำบลสะพานหัน ถัดจากวิกหลวงสันมาก็มี ลิเกวงหม่อมสุภาพ ซึ่งเป็นวงสุดท้ายที่ข้าพเจ้ารู้จัก”

“จำเนียรกาลนานมาก็มีราษฎรตั้งคณะยี่เกขึ้นอีกหลายคณะ และการพัฒนาก็ตามมาอย่างรวดเร็ว จนถึงบางวงมีพระเอก (ชายจริง) และนางเอก (หญิงแท้) เมื่อลิเกได้บรรลุถึงขีดมาตรฐานอันสูงส่ง ท่านที่คิดแปลกๆ ก็สถาปนาขึ้นเป็น ‘นาฏะดนตรี’ หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ‘ลิเกทรงเครื่อง’”

ข้อความว่า “ท่านที่คิดแปลกๆ” น่าจะหมายถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม (ชื่อจริงว่า แปลก) ผู้มีคำสั่งให้เรียกลิเกด้วยชื่อใหม่ว่า นาฏดนตรี

ที่มา (ภาพ-ข้อมูล): สุจิตต์ วงษ์เทศ : พระยาเพชรปาณี สร้างสรรค์ลิเกก้าวหน้า มติชนออนไลน์



ลิเกบันตน มีกลองรำมะนา คณะหมื่นขับคำหวาน แสดงตอนพระยาน้อยชมตลาด
ที่สังคีตศาลา กรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๕

'ลิเก' ลิเกยุคแรกสุด ไม่เป็นละคร

ลิเก มีกำเนิดยุคกรุงเทพฯ มีในข้อเขียนของเจ้านายรุ่นเก่าก่อน [บ่อเกิดของลิเก โดย ว. ชยางกูร พิมพ์ในสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ มิ.ย.-ส.ค.๒๕๑๐ หน้า ๔๑-๔๖] จะคัดมาดังนี้ “ลิเกมิใช่เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยเลย เพิ่งจะมีขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ ๕ เท่านั้นเอง ข้อพิสูจน์นั้นหาไม่ยาก ถ้าท่านขยันค้น โปรดเปิดดูพงศาวดารไทยตั้งแต่ต้นลงมา ท่านจะไม่พบคำว่า – ลิเก ยี่เก หรือดิเก เลยเป็นอันขาด”

ลิเกยุคแรกสุดไม่เป็นละคร เพราะไม่ได้กำเนิดจากละครรำราชสำนัก อย่างที่วารสารวัฒนธรรม (ของกระทรวงวัฒนธรรม) บอกไว้ ขอให้อ่านหลักฐานดังนี้

“ข้าพเจ้าได้ดูลิเกเป็นครั้งแรกที่วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร คิดตามอายุของข้าพเจ้า คงจะเป็นราว ร.ศ.๑๐๘ ลิเกวงนี้เป็นของจางวางแย้ม (นามสกุลยังไม่มี) เป็นจางวางในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย”

“วิธีดำเนินการเล่นนั้นหาเหมือนละครไม่ คือไม่มีพระเอก นางเอก เล่นแสดงเป็นชุดๆ เรียกว่า ชุดสิบสองภาษา เครื่องประกอบดนตรีก็มีแต่รำมะนา (กลองหน้าเดียว) ใช้ตีให้จังหวะในการร้องเท่านั้นเอง”




“การร้องนั้น ร้องทำนองลิเกเป็นพิเศษ บรรยายเรื่องราวของชุดนั้นๆ เมื่อโหมโรง ด้วยการร้องเกริ่นพอสมควร แล้วแขกก็ออกมาสัมภาษณ์พวกสิบสองภาษา มีการเจรจาด้วยข้อความตลกคะนอง หรือบางทีก็มีหยาบโลนบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นอนาจารเอาทีเดียว ลิเกเลิกก็เมื่อแสดงจบสิบสองภาษาแล้ว”

ลิเกมาจากแขก (ไม่ได้มาจากละครรำราชสำนัก) จึงมีออกแขก แล้วใช้คำแขกๆ มีคำอธิบาย ดังนี้

“ลิเกจางวางแย้ม เห็นจะเป็นวงแรก ซึ่งเล่นมหรสพเช่นนี้ในประเทศไทย เพราะไม่ปรากฏว่ามีวงอื่นอีกต่อมาเป็นเวลานาน โหมโรงเสร็จแล้ว แขก (ของวงลิเก) ก็ออกมาสนทนากับหัวหน้าชุด ถ้าลองสังเกตดู จะทราบว่า แขกที่ออกมานั้นใช้ภาษาแขกถึงสามภาษาคือ

ภาษาฮินดูในคำว่า ฮัชฉาแฮ่ แปลได้ความว่า สวัสดี และแขกว่าอะไรต่อไปเราได้ยินเป็น เต๋าระกินหนา แต่คำว่าเต๋าระกินหนานั้นแขกอะไรก็แปลไม่ได้เพราะเราฟังไม่ได้ศัพท์จับเอามากระเดียด

อีกคำหนึ่งคือ อาบัง คำนั้นแปลว่าพี่ชายในภาษาชวามลายู

อีกภาษาหนึ่งที่แขก (ลิเก) ใช้คือภาษาทมิฬ ซึ่งอยู่ภาคใต้ของประเทศอินเดีย อันเป็นประเทศที่เกิดของพระนางมัทรี ภาษาทมิฬนี้ ฟังเสียงได้ว่า อะเหลวังกา ลักกะตาสิงกะโป คงแปลว่า เชิญมาลักกะตา สิงกะโป สองคำหลังนั้นคือ เมืองที่เราเรียกว่า กะลักกะตา และ สิงคโปร์ เป็นภาษาแขกฮินดูทั้งคู่

เป็นอันว่าแขกในลิเกนั้นใช้ภาษาแขกถึงสามภาษา สักแต่ว่าอะไรเรียกว่าคำแขก เป็นใช้เอามารวมกันได้

ที่มา (ภาพ-ข้อมูล): สุจิตต์ วงษ์เทศ : 'ลิเก' ลิเกยุคแรกสุด ไม่เป็นละคร มติชนออนไลน์


เครื่องบินและสนามบินแห่งแรกในสยามประเทศ
โดย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก


เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ บนเครื่องบิน
(ภาพ:pantip.com)

ย้อนไปเมื่อ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๖ สองพี่น้องตระกูลไรท์ (Orville-Wilbur Wright) ชาวอเมริกัน ประสบความสำเร็จนำเครื่องบินปีก ๒ ชั้นที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ขึ้นบินให้ชาวโลกได้ตื่นเต้นนาน ๑๒ วินาที บินสูง ๒๐ ฟุต ไปไกล ๑๒๐ ฟุต นับถือกันว่ามนุษย์บินได้ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๕๔ ในสมัยในหลวง ร.๖ มร.วอนเดน บอร์น (Vanden Born) นักบินชาวเบลเยียม ถอดเครื่องบินปีก ๒ ชั้น แบบออวิลไรท์บรรจุใส่กล่องใหญ่บรรทุกใส่เรือมาบางกอก แล้วประกอบขึ้นใหม่ บินโชว์อย่างสง่างาม ณ สนามกีฬาขนาดใหญ่ที่เรียกว่า สนามสระปทุม โดยมีกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และพระราชวงศ์ พ่อค้า ประชาชนในบางกอกมารอชมเครื่องบินลำแรกและสนามบินแห่งแรกในสยาม ปัจจุบันคนกรุงเทพฯ เรียกว่าสนามแข่งม้าฝรั่ง (ปทุมวัน)

ชาวสยามต่างตื่นเต้น ฮือฮากับฝรั่งที่สามารถสร้างเครื่องบินและเดินทางไปในอากาศได้เหมือนนก แถมบินมาให้เห็นตัวเป็นๆ สร้างแรงบันดาลใจกับชาวสยามให้เห็นความสำคัญของอากาศยานที่กำลังแพร่หลายไปทั่วโลก

ภาพข้างบน กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงขึ้นไปประทับบนเครื่องบิน




เครื่องบินลำแรกมาลงในสยาม
(ภาพ:pantip.com)

ข้อมูลจากหนังสือ “เจ้าชีวิต” บันทึกว่า กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงสลับกันขึ้นไปบินกับเครื่องบินลำนี้

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๗ มีการพิจารณาหาพื้นที่แห่งใหม่สำหรับอากาศยานขึ้น-ลงโดยพื้นที่ดังกล่าวจะต้องอยู่บนที่ดอน (ที่สูง) น้ำท่วมไม่ถึง ซึ่งพื้นที่ทางเหนือของอำเภอบางเขนเหมาะสมที่สุด และตรงนั้นคือ ท่าอากาศยานดอนเมืองที่ใช้มาถึงปัจจุบัน

เป็นปฐมบทของการบินและสนามบินในแผ่นดินนี้ครับ




นักบินสยาม ๓ ท่านแรก


นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพบก คือ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และชาวสยามทุกหมู่เหล่าได้ประจักษ์ชัดต่อความสำคัญของกิจการบินของสยามในอนาคต

กระทรวงกลาโหมไม่รอช้า คัดเลือกนายทหารบก ๓ นายไปเรียนวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส คือ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) ไปเรียนบินเครื่องบินเบรเกต์ (Brequet) ปีก ๒ ชั้นที่เมืองวิลลาคูเบลย์ (Villacoublay) ส่วนร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร (หลง สิน-ศุข) และร้อยโททิพย์ เกตุทัต ไปเรียนบินเครื่องแบบนิเออปอร์ต(Nieuport) แบบปีกชั้นเดียว

นายทหารทั้ง ๓ ท่านสำเร็จจากโรงเรียนการบินฝรั่งเศสพร้อมประกาศนียบัตรเดินทางกลับถึงบางกอกเมื่อ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๖

ในขณะที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้น ทางราชการได้สั่งซื้อเครื่องบิน รวมทั้งมีผู้บริจาคเงินร่วมสมทบซื้อด้วยเป็นครั้งแรก จำนวน ๘ เครื่อง คือเครื่องบินเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 4 เครื่อง และเครื่องบินนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง

อาจกล่าวได้ว่ากิจการบินของสยาม เริ่มต้นจากนักบินเพียง ๓ คน และเครื่องบินอีก ๘ เครื่อง วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ กระทรวงกลาโหมจัดตั้ง “กรมการบินทหารบก” เพื่อให้นายทหารนักบิน ๓ ท่านเป็นครูฝึกนักบินชาวสยามรุ่นต่อมา

ในช่วงแรกยังคงใช้สนามบินสระปทุมฝึกนักบินของไทยบินขึ้น-ลง ต่อมานายทหารนักบินทั้ง ๓ ท่านเสนอให้ย้ายสนามบิน อาคารและเครื่องมือทั้งปวงไปหาสนามบินแห่งใหม่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ค่อนข้างสูง ณ ตำบลดอนเมือง อำเภอบางเขน

นักบินทั้ง ๓ ท่านนี้ ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ตามลำดับ คือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต และกองทัพอากาศได้ยกย่องให้เป็น “บุพการีของกองทัพอากาศ”

ปวงชนชาวไทยขอยกย่องนายทหาร ๓ ท่านนี้ครับ

ที่มา (ภาพ-ข้อมูล): ภาพเก่า…เล่าตำนาน โดย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก หนังสือพิมพ์มติชน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มิถุนายน 2561 14:12:25 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 กันยายน 2559 14:40:58 »

ภาพเก่า…เล่าตำนาน
ร่ายดาบประหารชีวิตในสยาม



(ภาพบน) ทำพิธีบวงสรวงก่อนการประหาร (ภาพล่าง) การประหารนักโทษ

ภาพชุดนี้มิได้ระบุว่าเกิดขึ้น วัน เดือน ปี อะไร มีข้อความสั้นๆ หลังภาพว่า โรงพักพลตำรวจภูธร มณฑลนครชัยศรี

ผู้เขียนได้รับความกรุณาภาพชุดนี้จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ที่ผู้เขียนไปค้นคว้าหามาเล่าสู่กันครับ

ประวัติศาสตร์สยามบันทึกว่าตั้งแต่ยุคสุโขทัยมาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สยามมีวิธีการประหารนักโทษ ๒๑ วิธี แต่จะใช้ดาบประหารชีวิตนักโทษเป็นหลัก สถานที่ประหารต้องห่างไกลจากชุมชน แต่การประหารทุกครั้งก็จะมีชาวสยามตามไปมุงดูแบบคึกคัก ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเคยใช้วัดโคก หรือวัดพลับพลาชัย เป็นลานประหาร เมื่อมีชุมชนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น จึงขยับไปวัดมักกะสัน และถอยออกไปไกลถึงวัดบางปลากดอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการโน่น



การพิจารณาคดีในชั้นศาล

หลังจากศาลตัดสิน กระบวนการประหารจะเริ่มจากไปสร้างศาลเพียงตาเล็กๆ ใกล้ลานประหารเพื่อสักการะเจ้าที่เจ้าทาง นำนักโทษไปนั่งกลางลาน พนมมือด้วยดอกไม้ธูปเทียน เอาปูนสีไปเขียนเป็นเส้นไว้รอบคอตรงที่จะลงดาบ เพชฌฆาตสองนายจะนุ่งผ้าเตี่ยวสีแดง เสื้อกั๊กสีแดงลงยันต์มหาอำนาจ บางรายจะคาดผ้ารอบศีรษะสีแดง


โรงพักพลตำรวจภูธรมณฑลนครชัยศรี เมื่อวันที่ ๓๑ ส.ค. ร.ศ.๑๒๐

เสียงปี่หลวงที่โหยหวนในพิธีจะกังวานไปทุกทิศ เพชฌฆาตทั้งสองจะเข้าไปขอขมานักโทษ แล้วออกมาร่ายเพลงดาบ วนซ้ายของตัวนักโทษเสมอ เพื่อให้เกิดอัปมงคลแก่นักโทษพร้อมทั้งท่องคาถาอาคมข่มวิชาของนักโทษ ด้วยท่าทางเพลงดาบที่มองไม่ออกว่าใครจะลงดาบก่อน พระสงฆ์สวดประกอบเพลงดาบระคนกันไป

เพชฌฆาตที่จะลงดาบแรกจะฟันจากด้านข้างของตัวนักโทษ ด้วยท่าย่างสามขุม โดยมากจะไม่พลาด ในขณะที่ดาบสองจะรำดาบอยู่ด้านหน้า แต่ถ้าฟันแล้วศีรษะไม่ขาดกระเด็น เพชฌฆาตดาบที่สองจะต้องเข้าไปจับศีรษะแล้วเชือดส่วนที่เหลือให้ขาดทันที





นายบุญเพ็ง หีบเหล็ก ฆาตกรมนต์ดำ


ภาพเก่าขาว-ดำที่ปรากฏต่อสายตาท่านผู้อ่านทั้งหมด คือเหตุฆาตกรรมที่สะเทือนเลื่อนลั่นสนั่นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยฆาตกรคือ นายบุญเพ็ง ที่ฆ่าหั่นศพชายหญิงอย่างโหดเหี้ยม ต่อเนื่องถึง ๗ ศพเมื่อ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา

บุญเพ็งมีพ่อเป็นชาวจีน มารดาเป็นชาวลาว เกิดปีขาล ที่เมืองท่าอุเทน มณฑลอุดร พออายุ ๕ ปี ญาตินำพาเข้ามาอยู่บ้านญาติในย่านบางขุนพรม กรุงเทพฯ มอบให้ตาสุกและยายเพียร เลี้ยงดู

บุญเพ็งไม่สนใจอาชีพการงานทั้งปวง ไปสนิทกับ “ตาไปล่” อาชีพเป็นสัปเหร่อในวัด มีวิชาอาคมกำจัดภูตผีปีศาจ ทำเสน่ห์ยาแฝดและหมอดู

เมื่ออายุครบบวช บุญเพ็งไปบวชเป็นพระที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ด้วยความที่เป็นพระสงฆ์หน้าตาดี พูดจานุ่มนวล มีลูกล่อลูกชนสารพัด ลูกศิษย์ลูกหามากโขทั้งชาย-หญิง ที่ใกล้ชิดสนิทแนบ คือกลุ่มหญิงสาวร่ำรวย แต่ขาดความรัก วิชาอาคมของพระบุญเพ็งเป็นสุดยอดเสน่หาที่สาวน้อยสาวใหญ่หลงใหลได้ปลื้มและต้องการสัมผัสด้วยตัวเอง ทำเอาหัวกระไดกุฏิพระบุญเพ็งไม่เคยแห้ง



นายยบุญเพ็ง, หีบเหล็กใส่ศพ

สีกามากหน้าหลายตาปรารถนาจะได้รับความเมตตาจากพระบุญเพ็ง แม้ค่ำมืดดึกดื่นกุฏิพระบุญเพ็งก็มิได้ว่างเว้น หญิงสาวทุกรายจะเต็มใจปรนเปรอพลีร่างของเธอให้พระบุญเพ็งพร้อมด้วยทรัพย์สินแบบหน้ามืดตามัว งมงายในลีลาของพระบุญเพ็ง เธอทั้งหลายตกเป็นทาสราคะแบบถอนตัวไม่ขึ้นด้วยคาถาอาคมของพระบุญเพ็ง ยิ่งนานวันพระบุญเพ็งยิ่งมีชีวิตที่แสนจะร่ำรวยด้วยทรัพย์สินที่ปอกลอกจากเหยื่อ

ชาวบ้านเริ่มติฉินนินทาส่งเสียงขับไล่ไสส่ง พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตว่า หญิงสาวทาสกามของพระบุญเพ็งค่อยๆ ทยอยหายไปทีละคนพร้อมกับหีบเหล็กที่อยู่ในกุฏิของพระบุญเพ็ง

พระบุญเพ็งย้ายที่อยู่จากวัดในนนทบุรีมาอยู่วัดแห่งใหม่แถวบางลำพู (เอกสารบางฉบับระบุว่าวัดสุทัศน์เทพวราราม) พระบุญเพ็งเป็นพระสงฆ์ที่ละเมิดข้อปฏิบัติของสงฆ์ทั้งสิ้นเป็นนิจสิน เสพสุรา เล่นการพนัน มั่วสีกา ก่อความรำคาญแก่ผู้คนทั่วไปจึงถูกบังคับให้สึก

เอกสารบางชิ้นระบุว่า สึกแล้วจึงมาก่อเวรสร้างกรรม ข้อมูลบางชิ้นระบุว่าทำผิดคิดชั่วมั่วโลกีย์ขณะอยู่ในผ้าเหลือง

ปลายปี พ.ศ.๒๔๖๐ ในสมัยในหลวง ร.๖ ชาวบ้านในคลองบางกอกน้อยได้พบหีบเหล็กในลำคลอง เมื่อเปิดออกมามีศพที่เน่าเปื่อยของชายกลางคนที่สืบทราบภายหลังว่า คือนายล้อม พ่อค้าเพชรพลอยผู้มั่งคั่ง

ต่อมาเมื่อ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๑ หีบโลหะใบหนึ่งลอยไปติดแถวหน้าวัดไทรม้า จังหวัดนนทบุรี ในหีบนั้นมีศพสุภาพสตรีถูกมัดมือมัดเท้าแล้วห่อด้วยมุ้ง และยังมีก้อนอิฐอยู่ในหีบอีก ๘ ก้อน






ประกวดนางสาวสยามคนแรก ในงานฉลองรัฐธรรมนูญ

ภาพเก่าตอนนี้ ลองแวะมาดูตำนานเรื่องสวยๆ งามๆ ของสุภาพสตรีสยามเมื่อครั้งเก่าก่อนในรัชสมัยในหลวง ร.๗ ซึ่งสยามประเทศจัดประกวดนางสาวไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเรียกว่า การประกวดนางสาวสยามในปี พ.ศ.๒๔๗๗

สยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ เมื่อใช้รัฐธรรมนูญจะครบ ๒ ปี รัฐบาลต้องการสร้างสีสันฉลองการมีรัฐธรรมนูญสำหรับปวงชนชาวสยาม จึงมอบให้กระทรวงมหาดไทยไปคัดสาวงามจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศมาประชันความงาม มีสาวงามที่มาเข้าประกวด ๕๐ คน เพื่อคัดเลือกสาวที่สวยที่สุดในแผ่นดินสยาม

การประกวดสาวงามในปี พ.ศ.2๒๔๗๗ เป็นส่วนหนึ่งของการฉลองรัฐธรรมนูญสยามประเทศ

สถานที่ที่ใช้ประกวดสาวงาม คือ บริเวณอุทยานสราญรมย์ ข้างๆ วัดโพธิ์ ถือเป็นพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานครที่โก้หรู สาวงามทั้งปวงต้องเดินผ่านสายตากรรมการรอบแรกเริ่มตั้งแต่คืนวันที่ ๑๐ ธันวาคม (ตรงกับวันรัฐธรรมนูญ) ในที่สุดกรรมการลงความเห็นคัดเลือกสาวงามที่สุดเพียงคนเดียว ที่เรียกว่านางสาวสยาม อย่างเป็นเอกฉันท์ในคืนวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๗

เธอคือ นางสาวกันยา เทียนสว่าง อายุ ๒๑ ปี นางงามจากจังหวัดพระนคร (กรุงเทพฯ)

ไม่มีตำแหน่งรองนางสาวสยาม ต้องใจแข็งคัดเลือกเอาคนเดียวเท่านั้นครับ

นางสาวกันยา เทียนสว่าง ชื่อเดิมคือ เจียเป็งเซ็ง ชื่อเล่นคือ ลูซิล เป็นลูกคนโตของนายสละ นางสนอม เกิดเมื่อ ๓๐ สิงหาคม ๒๔๕๗ ที่ปากเกร็ด นนทบุรี ทำงานเป็นครูโรงเรียนประชาบาลทารกานุเคราะห์ เป็นชาวพระนคร นางสาวกันยามีใบหน้าคมค่อนไปทางฝรั่ง จมูกโด่ง ริมฝีปากเรียวงาม สูงสมส่วน ผิวขาวสวย มีแมวมองไปพบความงามของครูสาวคนนี้จึงชักชวนให้มาขึ้นเวที

ไม่มีรายละเอียดว่า ในการประกวดสาวงามจะต้องใส่ชุดอะไรเดินโชว์บ้าง หรือว่าต้องไปเก็บตัวที่ไหน ใครส่งเข้าประกวด ใช้เครื่องสำอางยี่ห้ออะไร เสื้อผ้าจากร้านไหน?

มงกุฎของนางสาวสยาม ตัวโครงทำด้วยเงิน หุ้มด้วยกำมะหยี่ปักด้วยดิ้นเงินและเพชร แถมด้วยขันเงินสลักชื่อนางสาวสยาม ๒๔๗๗ และเธอยังได้รับล็อกเก็ตห้อยคอทองคำ เข็มกลัดทองคำลงยาสลักว่ารัฐธรรมนูญ ๗๗ พร้อมเงินสด ๑ พันบาท

สยามมีนางงามเป็นครั้งแรก สังคมในพระนครมีเรื่องพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์ หนังสือพิมพ์ลงภาพประโคมข่าวอย่างตื่นเต้น

เธอสวยประทับใจชาวสยามด้วยรอยยิ้มพิมพ์ใจ

ไม่มีรายละเอียดว่าในตำแหน่งของเธอ ๑ ปี เธอต้องไปโชว์ตัวที่ไหนอย่างไร แต่เมื่อเธอพ้นจากตำแหน่งนางสาวไทย เธอเข้าทำงานที่หอสมุดแห่งชาติ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๖ แต่งงานกับข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ มีบุตรธิดา ๕ คน

คุณกันยา นางสาวสยามคนแรกในประวัติศาสตร์สยาม เสียชีวิตเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ เมื่ออายุ ๔๖ ปี สาเหตุจากมะเร็งปากมดลูก

เธอคือปฐมบทของการประกวดสาวงามมาจนถึงปัจจุบัน


ที่มา (ภาพ-ข้อมูล): ภาพเก่า…เล่าตำนาน โดย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก หนังสือพิมพ์มติชน





หมอปลัดเล.. หมอเทวดาที่มาทำงานในสยาม

แพทย์ที่จบแพทยศาสตร์บัณฑิต ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ของสยามว่าเข้ามาทำงานเป็นแพทย์คนแรกๆ และโดดเด่นที่สุด คือ นายแพทย์ แดน บีช บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley M.D.) เป็นชาวอเมริกันครับ โดยเข้ามาในปลายรัชสมัยในหลวง ร.๓

บรัดเลย์ เกิดเมื่อ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๔๕ ที่เมืองมาเซลลัส (Marcellus) รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อตอนอายุ ๒๐ ปี แดน บรัดเลย์ ป่วยหนักและเกิดอาการหูหนวกไม่ได้ยินเสียง ซึ่งเป็นความทุกข์ทรมานแสนสาหัส แดน บรัดเลย์ ใช้เวลาสวดมนต์ภาวนาในโบสถ์ขอให้หายจากอาการป่วย เขาทำกิจกรรมทุกอย่างเพื่ออุทิศตนให้พระคริสต์ ต่อมาราว ๒ ปี แดน บรัดเลย์ กลับหายเป็นปกติราวกับปาฏิหาริย์ เขามุมานะสุดชีวิตอ่านหนังสือแล้วไปสอบเข้าเรียนแพทย์ เพื่อจะอุทิศชีวิตให้พระคริสต์ แดน บรัดเลย์ จบการศึกษาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย นิวยอร์ก เมื่อเมษายน พ.ศ.๒๓๗๖

หมอบรัดเลย์ แต่งงานและเดินทางพร้อมภรรยาชื่อ Emilie Royce ลงเรือข้ามมหาสมุทรมาขึ้นที่เกาะสิงคโปร์ และต้องพักบนเกาะสิงคโปร์นาน ๖ เดือน เนื่องจากมีพายุคลื่นลมแรงเป็นอันตราย และเมื่อมีเรือโดยสาร หมอและภรรยาจึงออกเดินทางจากสิงคโปร์มุ่งหน้ามาสยาม

เคราะห์ร้ายตามมารังควาน เรือลำนั้นโดนโจรสลัดปล้นในทะเลระหว่างทางจนหมอหมดตัว ลูกเรือที่เดินทางมาโดนฆ่าทิ้งทะเล ๔ คน หมอบรัดเลย์ เข้ามาถึงบางกอก เมื่อ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๗๘ ขอพักอาศัยอยู่กับมิชชันนารีอเมริกันชื่อจอห์นสัน แถวๆ วัดเกาะ สัมพันธวงศ์

หมอหนุ่มอเมริกันจัดตั้ง “โอสถศาลา” เพื่อเป็นสถานที่รักษาโรค แจกหยูกยาสารพัดโดยไม่คิดมูลค่า ขอเพียงคนไข้นำเอกสารเผยแพร่คริสต์ศาสนาติดมือกลับไปด้วยก็ชื่นใจแล้ว

หมอบรัดเลย์ ขยันขันแข็ง มีคนไข้ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนในย่านวัดเกาะ และชุมชนใกล้เคียงเป็นคนไข้หลัก

ชาวสยามออกเสียงเรียกหมอคนนี้ถนัดปากเรียกว่า “หมอปลัดเล”






ต้องเชื่อ…ผบ. ตำรวจคนแรกในสยามเป็นฝรั่งอังกฤษ

ภาพเก่าที่ปรากฏต่อสายตาท่านผู้อ่านขณะนี้ เป็นสุภาพบุรุษชาวอังกฤษที่รัฐบาลสยามว่าจ้างให้มาวางโครงสร้างจัดตั้งหน่วยงานตำรวจแบบยุโรปในสยาม เป็นปฐมบทของกิจการตำรวจมาจนถึงปัจจุบัน ท่านรับราชการในสยามนาน ๓๒ ปี จนได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น หลวงรัถยาภิบาลบัญชา หรือที่ชาวสยามเรียกกันในสมัยในหลวง ร.๔ ว่า กับปิตันเอม ถือได้ว่าท่านเป็นตำรวจคนแรกและเป็นผู้วางรากฐานหน่วยงานตำรวจของสยาม

ในปี พ.ศ.๒๔๐๓ สยามประเทศ มีชาวต่างชาติเข้ามาปรากฏตัวพัวพันติดต่อค้าขายอย่างคึกคัก เรือสำเภาบรรทุกสินค้าวิ่งเข้า-ออกตามลำน้ำเจ้าพระยากันขวักไขว่ ชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ทะลักทลายหนีตายลงเรือแห่กันมาตั้งรกรากในสยามนับหมื่น ชาวตะวันตกผิวขาวที่เรียกว่า ฝรั่ง มาจัดตั้งสถานกงสุลในบางกอก ฝรั่ง แขกอาหรับ เข้ามาขอทำสัญญาทางการค้า บ้างก็มาตั้งรกรากในแผ่นดินอันเขียวขจี เมื่อมีค้ามีขาย ก็เกิดกระทบกระทั่ง ลักขโมย ฉ้อโกง ทะเลาะเบาะแว้ง ส่วนใหญ่เกิดในย่านการค้าของคนจีนในบางกอก

บางกอกในยุคนั้นมีคดีความ ลัก วิ่ง ชิง ปล้น สุราเถื่อนมีแหล่งอบายมุขครบครันหวย บ่อน ซ่อง โรงยาฝิ่น

ระบบราชการของสยามยังไม่มีความสามารถที่จะรับมือกับคดีความทั้งปวง ในหลวง ร.๔ ทรงทราบปัญหาของบ้านเมืองที่กำลังวิกฤต จึงทรงให้ติดต่อว่าจ้าง กัปตัน เอส. เจ. เบิร์ด เอมส์ (Capt. S. J. Bird Ames) ชาวอังกฤษ เพื่อให้มาจัดตั้งกองตำรวจสำหรับรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตนครหลวงตามแบบยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า “กองโปลิศ” ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพระนครบาล

กับปิตันเอม (ตามที่ชาวสยามออกเสียงแบบง่ายๆ) มียศ-ชื่อเดิมว่า Captain Samuel Joseph Bird Ames เกิดที่เมืองเคนท์ ประเทศอังกฤษ เคยทำอาชีพค้าขาย ต่อมาผันตัวเองไปเป็นกัปตันเรือสินค้า

ในช่วง พ.ศ.๒๓๙๖ กัปตันเดินเรือมาแถวอินเดีย ลังกา สิงคโปร์ และบางกอก นานวันผ่านไปกัปตันเกิดเบื่อทะเล จึงขอขึ้นบกปักหลักพร้อมครอบครัว ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยหัวหน้าตำรวจบนเกาะสิงคโปร์

กัปตันเอมส์ จัดตั้ง “กองโปลิศ” ในหลวง ร.๔ โปรดเกล้าฯ ให้ท่านเป็นผู้บังคับหน่วยตำรวจคนแรก พร้อมกับพระราชทานยศร้อยเอก ซึ่งแต่เดิมสยามมีหน่วยที่ทำหน้าที่แบบตำรวจ ชื่อว่าข้าหลวงกองจับและกองตระเวนซ้ายขวา

ในยุคนั้น ชาวสยามไม่สนใจที่จะเข้ารับราชการในกองโปลิศที่ตั้งขึ้นใหม่ กับปิตันเอม ไม่มีลูกน้อง จึงต้องไปติดต่อจ้างลูกน้องเก่าที่เป็นตำรวจในสิงคโปร์มารับราชการเป็นโปลิศในสยาม

ความชุลมุน วุ่นวาย ตลกร้าย ในสยามยามยุคนั้น คือ โปลิศที่มาจากสิงคโปร์เหล่านี้คือแขกอินเดีย แขกมลายู (บางคนมีผ้าโพกศีรษะ) ชาวสยามมองเห็นว่าโปลิศแขกโพกหัว มีหนวดเครารุงรัง เป็นตัวตลกประจำเมือง เมื่อเดินไปตรวจพื้นที่ใดก็จะถูกล้อเลียนเยาะเย้ยจากชาวสยาม แถมยังพูดจากันไม่รู้เรื่องอีกต่างหาก เมื่อเกิดการจับกุมคุมขั ต้องขึ้นโรงพัก ต้องขึ้นศาล เลยเกิดความโกลาหลป่นปี้

ปัญหาหลัก คือพูดกับชาวสยามไม่รู้เรื่องและไม่ได้รับการยอมรับจากชาวสยาม

กับปิตันเอมเครียดหนัก ท่านได้ใช้ความเป็นผู้นำอบรมกวดขันระเบียบวินัยให้โปลิศแขกที่มาจากสิงคโปร์ อดทนต่ออุปสรรคทั้งปวง รีบเร่งสร้างผลงานให้ชาวสยามมั่นใจ เมื่อมีเหตุทะเลาะตบตี โปลิศแขกรูปร่างสูงใหญ่เข้าระงับเหตุ จับคนร้ายได้เกือบทุกคดี ชาวสยามเริ่มประจักษ์ในผลงาน ต่อมาเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย กับปิตันเอมกำหนดให้มีเครื่องแบบของโปลิศ เพื่อให้สง่างามน่ายำเกรงแม้จะต้องมีผ้าโพกศีรษะ เรื่องการล้อเลียนเสียดสีจากชาวสยามจึงค่อยๆ จางหายไป

โรงตำรวจพระนครบาลแห่งแรกตั้งขึ้นในย่านชาวจีนแถวตลาดโรงกระทะ (ปัจจุบันคือที่ทำการเขตสัมพันธวงศ์) เพื่อดูแลย่านสำเพ็ง พาหุรัด ที่ขโมยชุกชุมมากที่สุดในบางกอก

ผลงานของโปลิศภายใต้การบังคับบัญชาของกับปิตันเอม เริ่มเป็นที่ประทับใจ ได้รับคำชมเชยจากชาวต่างชาติและชาวสยาม มีคดีความมากขึ้น จึงย้ายสถานีไปตั้งโรงตำรวจนครบาลแห่งใหม่ บริเวณสามแยกต้นประดู่ ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า โรงพักสามแยก ถนนหนทางในบางกอกยังไม่มีชาวสยามเดินทางด้วยเรือเป็นหลัก ทรัพย์สินที่โดนขโมยมากที่สุดคือ เรือ

ชาวสยามมีมุมมองโปลิศแขกเหล่านี้แบบดูแคลน เพราะเห็นว่าคนพวกนี้ต้องทำงานหนัก โปลิศเป็นงานของพวกแขกยาม กับปิตันเอม วางระบบงานให้พลตระเวนเดินด้วยเท้าเข้าถึงชุมชนชาวจีน และจัดให้โปลิศตระเวนทางเรือในแม่น้ำลำคลอง ยืนยามเฝ้าตรวจ ตามตรอกซอกซอย ภารกิจของโปลิศในบางกอกเป็นรูปเป็นร่าง เป็นระบบมากขึ้นได้รับการยอมรับ ชาวสยามเริ่มสนใจทยอยไปสมัครเป็นโปลิศ ทำงานกับ กับปิตันเอม

ต่อมาในรัชสมัยในหลวง ร.๕ ได้มีการขยายงานตำรวจจากเขตนครหลวงไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยจัดตั้งเป็นกรมตำรวจภูธรขึ้น ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย

ยิ่งนานวัน ในหลวง ร.๕ ยิ่งทรงพอพระทัยในความสามารถของผู้บังคับหน่วยตำรวจชาวอังกฤษท่านนี้ยิ่งนัก จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงรัถยาภิบาลบัญชา” ถือศักดินา ๖๐๐

นางแคทเธอรีน ภรรยาชาวอังกฤษที่ติดตามมาบางกอกด้วยในตอนแรก มาป่วยเสียชีวิตในสยามในปี พ.ศ.๒๔๐๕ กับปิตันเอมแต่งงานใหม่กับหญิงไทยมีลูกด้วยกัน ๖ คน

เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๔๕๘ ในรัชสมัยในหลวง ร.๖ โปรดเกล้าฯ ให้ควบรวม “กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน” เป็นหน่วยเดียวกันเป็น “กรมตำรวจ” ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย นับแต่นั้นจึงถือกันว่า วันที่ ๑๓ตุลาคมของทุกปี คือ “วันตำรวจ”



กับปิตันเอม รับราชการด้วยความซื่อสัตย์จนกระทั่งปลดเกษียณในปี พ.ศ.๒๔๓๕ รวมรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับกองโปลิศซึ่งถือว่าเป็นตำรวจคนแรกของสยามนาน ๓๒ ปี (พ.ศ.๒๔๐๓-๒๔๓๕) หลังเกษียณท่านใช้ชีวิตสงบเรียบง่ายในสยาม เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ เมื่ออายุ ๖๙ ปี ศพถูกฝังไว้ที่สุสานโปรเตสแตนต์ เขตยานาวา กรุงเทพฯ (ตามภาพ ที่ผู้เขียนเดินทางไปค้นหา)

คุณความดีที่กับปิตันเอม สร้างไว้ให้กับกรมตำรวจ ในหลวง ร.๖ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลให้ว่า “เอมซ์บุตร” ซึ่งลูกหลานที่สืบตระกูลมาจนถึงปัจจุบันภาคภูมิใจยิ่งนัก


ที่มา (ภาพ-ข้อมูล): ภาพเก่า…เล่าตำนาน โดย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก หนังสือพิมพ์มติชน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ตุลาคม 2559 16:37:39 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2559 18:42:54 »

http://travel.mthai.com/app/uploads/2016/10/Heritage-Home-11.jpg
รวมภาพเก่าหาดูยาก : ภาพเก่าเล่าเรื่อง

ภาพจาก : travel.mthai.com

อดีตที่หอมหวาน-ตำนานรถเมล์ขาว

ในสมัยในหลวง ร.๔ สยามเปิดประเทศทำมาค้าขายกับนานาอารยประเทศ เรือสำเภา เรือกลไฟบรรทุกสินค้าแล่นในแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างคึกคัก มีชาวตะวันตก (ฝรั่ง) เข้ามาเป็นที่ปรึกษาราชการ แหม่มฝรั่งเข้ามาสอนภาษาอังกฤษในรั้วในวัง ฝรั่งทั้งหลายที่เข้ามาพักอาศัย ณ เมืองบางกอก มีนิสัยชอบนั่งรถม้า เดินออกกำลังกาย ชอบแสงแดด ประสงค์จะท่องเที่ยวสัญจร แต่สยามยังไม่มีถนนสำหรับยานพาหนะ คงมีเพียงทางเดินของผู้คนแบบตรอก ซอก ซอย

ฝรั่งรวมตัวกันทำหนังสือขึ้นไปถวายในหลวง ร.๔ ร้องขอให้ก่อสร้างถนนในบางกอก เพื่อเดินออกกำลังยืดเส้นยืดสาย และเพื่อสะดวกต่อการใช้รถม้าดังเช่นเมืองใหญ่ในยุโรป

ชาวสยามตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ใช้เรือเป็นหลัก ในต้นสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปลอดจากศึกสงครามกับพม่า จึงเน้นการขุดคูคลองเป็นหลักเพื่อป้องกันบ้านเมือง เพื่อการเดินทาง และเพื่อการเกษตร เรื่องถนนสำคัญน้อยกว่าคลอง ตรอก ซอก ซอย ทางเดินในบางกอก ไม่ใช่ถนน ยามหน้าแล้งทางเดินกลายเป็นขี้ฝุ่น ยามหน้าฝนทางเดินเละเป็นโคลน

ประวัติศาสตร์สยามบันทึกว่า ถนนเส้นแรกที่เกิดขึ้นคือถนนเจริญกรุงตามด้วยถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร

ต่อมาในราวปี พ.ศ.๒๔๒๘ ในสมัยในหลวง ร.๕ เมื่อมีการสร้างถนนเพิ่มมากขึ้นอีกหลายสาย ชุมชนสยามเริ่มหันมาใช้ถนนมากขึ้น มีรถม้า รถเจ๊กลาก จนกระทั่งมีการนำรถยนต์เข้ามาใช้ทั้งราชการและส่วนตัว

เครื่องจักร เครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนการใช้แรงงานสัตว์ แรงงานทาส และเพื่อความสะดวกสบาย


นายเลิศ เศรษฐบุตร สุภาพบุรุษหนุ่มชาวสยามที่ถือได้ว่าเป็นนักธุรกิจชั้นนำในสังคมยุคนั้น ติดต่อค้าขายกับฝรั่งในบางกอกมานาน ผ่านการต่อสู้และบุกเบิกการตั้งห้างนายเลิศ ธุรกิจรถเช่า ม้าเช่า ขายจักรยาน ทำธุรกิจส่งออก-นำเข้า มีกิจการเรือเมล์ ทำธุรกิจที่ดิน โรงน้ำแข็ง โรงแรม ตั้งบาร์ขายเหล้า นายเลิศประสบความสำเร็จในธุรกิจทุกสาขา

กิจการเดินเรือเมล์ในคลองแสนแสบของนายเลิศไปได้สวย นายเลิศจึงคิดต่อยอดธุรกิจเรือเมล์ด้วยการเดินรถเมล์บนบกที่จะเชื่อมต่อกับเรือเมล์ของตน ซึ่งยังไม่มีใครลงทุนมาก่อน

พ.ศ.๒๔๕๐ นายเลิศทดลองกิจการรถเมล์ขั้นต้น โดยใช้ม้าลากรถโดยสารจากสะพานยศเส (กษัตริย์ศึก) ถึงประตูน้ำสระปทุม กิจการพอมีกำไรเลี้ยงตัวได้ ปัญหาคือ ความเร็วที่แปรผันไปตามสภาพของม้า นายเลิศจึงหันไปมองที่รถเมล์ใช้เครื่องยนต์แทนม้า

พ.ศ.๒๔๕๓ รถบรรทุกยี่ห้อฟอร์ด จากต่างประเทศ คือตัวเลือกที่นายเลิศตัดสินใจนำเครื่องยนต์และโครงรถเข้ามาต่อตัวถังเป็นรถเมล์ในเมืองไทยที่ทำด้วยไม้ทั้งคันซึ่งนายเลิศออกแบบเอง รถเมล์ใช้เครื่องยนต์ที่วิ่งได้ไกลกว่าม้าลาก นายเลิศขยับขยายเส้นทางวิ่งให้ไกลขึ้น คือจากประตูน้ำสระปทุมไปจนถึงบางลำพู (ประตูใหม่ตลาดยอด)

รถเมล์ยุคแรกยาวประมาณ ๑ ใน ๓ ของรถเมล์ปัจจุบัน นั่งได้ ๑๐ คน ตัวรถทาสีขาว มีเครื่องหมายกากบาทสีแดงในวงกลมแดง คนทั่วไปเรียกรถเมล์นี้ว่า รถเมล์ขาว

รถเมล์ขาวนายเลิศเริ่มขยายพื้นที่กว้างขวางมากขึ้น รถเมล์ขาวชนะใจชาวบางกอกยิ่งนัก ผู้คนหันมาใช้บริการรถเมล์แทนการใช้เรือ นายเลิศมีนโยบายเฉียบขาดว่า “สุภาพ ซื่อสัตย์ ประหยัด ทันใจ เอากำไรน้อย และบริการผู้มีรายได้น้อย” พนักงานรถเมล์ขาวปฏิบัติตามได้จริงเป็นรูปธรรม

ปี พ.ศ.๒๔๖๘ เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ นายเลิศใช้เรือเมล์อพยพประชาชน ขนย้ายสัตว์เลี้ยงให้ชาวบ้านแถวคลองแสนแสบ ขนของบรรเทาทุกข์ วิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารโดยไม่คิดเงิน ในหลวง ร.๖ จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์นายเลิศ เป็น เสวกตรี พระยาภักดีนรเศรษฐ เพื่อตอบแทนความดีงาม

ผู้เขียนเองยังจำภาพลักษณ์รถเมล์ขาวได้ดี พนักงานขับรถเมล์ พนักงานเก็บเงิน พนักงานตรวจตั๋วที่แต่งเครื่องแบบสีขาว มีหมวก รองเท้าสีขาว รถเมล์สะอาด ทั้งภายนอกภายในรถมีสภาพดี พนักงานพูดจาสุภาพ จอดขึ้นลงตรงป้าย กระเป๋ารถเมล์จะช่วยเหลือเด็ก คนชราขึ้น-ลงรถ มีอู่จอดรถเป็นระเบียบทุกแห่ง แม่ค้า-พ่อค้านำกระบุงปุ้งกี๋ใส่ผักไปขายที่ตลาดก็ขึ้นรถเมล์ขาวได้ โดยนั่งตอนท้ายรถเมล์ซึ่งจะมีพื้นที่วางของ รถเมล์ขาวของนายเลิศให้โอกาสคนยากจนได้มีโอกาสทำมาหากิน มีบรรยากาศของการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อต่อกัน

มีผู้ลงทุนกิจการรถเมล์ตามแบบนายเลิศเกิดขึ้นอีก ๒๘ ราย ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในยุคที่เฟื่องฟูที่สุด กิจการรถเมล์ขาวของนายเลิศมีพนักงานกิจการรถเมล์ขาวมียอดราว ๓,๕๐๐ คน มีรถเมล์ขาวทั้งสิ้น ๘๐๐ คัน

ธุรกิจรถเมล์ที่เกิดขึ้นใหม่ในกรุงเทพฯในช่วงเวลาต่อมา มีปัญหาเรื่องเส้นทางเดินรถที่ไม่สอดคล้อง สภาพรถและการบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง น้ำมันขึ้นราคา แต่ราคาค่าโดยสารถูกควบคุม รถเมล์หลายบริษัทเจ๊ง แต่รถเมล์ขาวอยู่ได้

ในเดือนกันยายน ๒๕๑๘ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้รวมรถโดยสารประจำทางทุกสายในกรุงเทพฯ มาเป็นบริษัทเดียวกัน เรียกว่า “บริษัท มหานครขนส่ง จำกัด” ดำเนินกิจการในรูปรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทจำกัด แต่ยังติดขัดด้วยปัญหาข้อกฎหมาย รถเมล์ขาวที่แสนดีที่รับใช้ประชาชนมานาน ๗๐ ปี ใน ๓๖ เส้นทางถูกแปรสภาพยุบรวมละลายหายไปในบริษัทมหานครฯ ดังเช่นตะวันลับขอบฟ้า

ต่อมา สมัยรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ เพื่อฟื้นฟู ชุบชีวิตกิจการรถโดยสารทั้งหมดอีกครั้ง โดยให้มาสังกัดองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. เป็นรัฐวิสาหกิจ

ผู้เขียนขอให้ท่านผู้อ่านประเมินประสิทธิภาพและสถานะการเงินของ ขสมก.ด้วยตัวเอง

พระยาภักดีนรเศรษฐ (นายเลิศ เศรษฐบุตร) เสียชีวิตเมื่อ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เมื่ออายุ ๗๔ ปี

กิจการรถเมล์ขาวของนายเลิศที่ประชาชนกรุงเทพฯชื่นชอบในมาตรฐาน การบริการที่เป็นหนึ่งมาตลอดในแผ่นดิน จึงกลายเป็นตำนานแห่งความสำเร็จอันงดงามที่เคยมีมาในอดีต ที่ปัจจุบันเรายังโหยหาและใฝ่ฝันถึง



อาคารขวามือของภาพคือหอคองคอเดีย สมัยรัชกาลที่ ๕ ปัจจุบันคือ ศาลาสหทัยสมาคม

ก่อนจะเป็น “ศาลาสหทัยสมาคม”
สถานที่ลงนามถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ ๙

ศาลาสหทัยสมาคม มีความเป็นมายาวนาน เดิมเป็นพื้นที่ “โรงหล่อ” สันนิษฐานว่าเป็นที่หล่อวัตถุสำคัญๆ เช่น  ระฆังที่ประดิษฐาน ณ หอระฆังวัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นต้น กระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงหล่อเพื่อสร้างสโมสรมหาดเล็กตามแบบสโมสรที่ได้ทอดพระเนตรมาตั้งแต่ครั้งเสด็จพระราชดำเนินเกาะชวาที่เมืองปะเตเวีย (ปัตตาเวีย) โดยเรียกว่า “หอคองคอเดีย”

ครั้น พ.ศ.๒๔๑๘ โปรดเกล้าฯ ให้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เรียกว่า “มิวเซียม” พร้อมทั้งใส่ประตูหน้าต่างที่เฉลียงให้กลายเป็นห้องโถง และให้กองทหารช่างมหาดเล็กรักษาพระองค์รวบรวมสิ่งของประดับตกแต่งและรักษาความสะอาดในพิพิธภัณฑ์อีกอย่างหนึ่งด้วย

ต่อมามิวเซียมแห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หอศัลลักษณสถาน” และ “หอพระสมุดวชิรญาณ” ตามลำดับ และเมื่อหอสมุดวชิรญาณย้ายออกไปแล้ว จึงใช้ในกิจการของพระราชวัง โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “ศาลาสหทัยสมาคม”

รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นอาคารชั้นเดียวแบบตะวันตก ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทอดยาวไปตามทิศตะวันออกถึงตะวันตก ทางเข้าอาคารสำคัญอยู่ทางด้านทิศเหนือโดยทำเป็นมุขยื่นออกมาจากผนังด้วยเสาลอยตัวและเน้นด้วยประตูทางเข้าต่อเนื่องกัน ๓ ประตู

ส่วนทางเข้ารองมีทั้งด้านทิศตะวันออกและตะวันตก แต่ละประตูมีบันได ๕ ขั้น ปูด้วยหินอ่อน หลังคาทรงปั้นหยาอยู่ส่วนกลางของอาคารมุงด้วยกระเบื้อง





ข้อมูลและภาพถ่ายเก่าจากหนังสือ “สถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวัง เล่ม ๑” - มติชนออนไลน์







‘คดีลักโม่’ คดีแรกที่ตัดสินโดยในหลวง รัชกาลที่ ๙

เฟสบุ๊ค”ราชบัลลังก์จักรีวงค์” ได้แชร์ “คดีลักโม่” คดีแรกที่ตัดสินโดยในหลวง รัชกาลที่ ๙

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงประทับบัลลังก์ตัดสินคดีด้วยพระองค์เองเป็นครั้งแรกใน วันที่ ๒๖ ม.ค. ๒๔๙๕ คดีแรกที่พระองค์ทรงตัดสินคือ “คดีลักโม่”

ในห้องพิจารณาคดีที่ ๑๒ ของศาลอาญา โดยมีนายเล็ก จุณนานนท์ เป็นโจทก์ นายแสวง แดงคล้าย เป็นจำเลยในข้อหาว่า”เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. กับ วันที่ ๑๐ ม.ค.จำเลยได้ลักโม่หินของนายกาญจน์ ตันวิเศษ ราคา ๘๐ บาท เหตุเกิดที่คลองต้นไทร” ศาลได้อ่านคำฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยก็รับสารภาพตลอดทุกข้อกล่าวหา ศาลตัดสินจำคุก ๖ เดือน แต่จำเลยรับสารภาพจึงลดเหลือ ๓ เดือน ประกอบกับการที่เป็นคดีแรกของจำเลยจึงรอลงอาญา ๒ ปีแล้วให้คืนโม่หินแก่เจ้าของ นายแสวงดีใจเป็นล้นพ้นที่ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวประทับบัลลังก์ตัดสินคดีของตน ซ้ำยังได้รับการทรงพระกรุณาให้รอลงอาญา จึงยกมือขึ้นท่วมหัวและสาบานว่า จะเป็นคนดีไม่ลักขโมยของใครอีกต่อไป.


ที่มา : หนังสือ เรื่องเก่า เล่าสนุก ของ : โรม บุนนาค เรียบเรียง : วาทิน ศานติ์ สันติ” - มติชนออนไลน์ 





ทางรถไฟที่…. ไม่ค่อยมีใครพูดถึง

ภาพเก่าที่ปรากฏนี้คือเส้นทางรถไฟที่กองทัพญี่ปุ่นมาสร้างไว้ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นรางรถไฟจากชุมพร-กระบุรี-เขาฝาชี ยาวประมาณ ๙๐ กม. เป็นเส้นทางการส่งกำลังบำรุงจากทะเลอ่าวไทยข้ามไปทะเลฝั่งอันดามัน

ทางรถไฟเส้นนี้ก่อสร้างในเวลาใกล้เคียงกับทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว จ.กาญจนบุรีที่โด่งดังไปทั่วโลกในความหฤโหดของทหารญี่ปุ่น

อ.จุฬา โชติคุต อดีตอาจารย์และเป็นชาวระนองพี่น้องประชาชนในท้องถิ่นใช้ความพยายามที่จะอนุรักษ์ สืบค้น เปิดเผยข้อมูลร่องรอยของทางรถไฟสายนี้ต่อสาธารณชนทั้งในและต่างประเทศมานาน หากปล่อยทิ้งก็จะสาบสูญไปตามกาลเวลาอย่างน่าเสียดาย

อ.จุฬาและชาวบ้านในพื้นที่เคยขุดพบเศษโลหะรางรถไฟเก่าที่บ่งบอกถึงเส้นทางรถไฟ ซากอุปกรณ์ทางทหาร เศษเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม้กระทั่งอุโมงค์หลบภัยของทหารญี่ปุ่น ที่พัก ครัวทำอาหารของกองทัพญี่ปุ่นที่ยังมีสภาพดี หัวรถจักรไอน้ำที่เคยนำมาใช้ในสงคราม ทุกสถานที่สำคัญของอดีตทหารญี่ปุ่นมีป้ายแสดงข้อความ สิ่งของอุปกรณ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ควรได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบโดยทางราชการ และควรได้รับการพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณค่า โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น

ถ้าจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ เราน่าจะเรียกทางรถไฟสายนี้ว่าทางรถไฟสายคอคอดกระ คนไทยคุ้นเคยกับคำว่า “คอคอดกระ” พื้นที่ตรงนี้อยู่บริเวณด้ามขวาน เป็นส่วนที่ผอมบางที่สุดของแผ่นดินไทยที่มีทะเลขนาบ ๒ ด้าน คืออ่าวไทยและมหาสมุทรอินเดีย ท่านผู้อ่านอาจจะไม่เชื่อว่าเมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่แล้ว สมัยในหลวง ร.๕ วิศวกรฝรั่งเศสเข้ามาสำรวจพื้นที่ตรงนี้อย่างละเอียด และจะขอลงทุนขุดคลองเชื่อมระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน ฝรั่งเศสทำแผนที่ แผนงาน โครงการเสร็จสรรพเพื่อถวายในหลวง ร.๕ แต่ไม่ทราบว่าเหตุใดโครงการดังกล่าวจึงเงียบหายไป

รายละเอียดประเด็นนี้นักประวัติศาสตร์อิสระที่ผมยกย่องคือท่านไกรฤกษ์ นานา ไปสืบเสาะตามหาแผนที่โครงการที่จะขุดคอคอดกระฉบับนั้นในฝรั่งเศสจนพบหลังจากตกค้างอยู่ในฝรั่งเศส ๑๓๐ ปี และในที่สุดท่านไกรฤกษ์ได้ไปประมูลแผนที่ต้นแบบและแผนภูมิโครงการขุดคอคอดกระของฝรั่งเศส พ.ศ.๒๔๒๔ ฉบับนั้นเอากลับมาได้ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ และตีพิมพ์ในหนังสือหน้าหนึ่งในสยาม

มาจนถึงวันนี้ ขุด-ไม่ขุดคอคอดกระ หรือจะเชื่อมต่อทำทางลัดโดยไม่ต้องไปอ้อมช่องแคบมะละกาก็ยังเป็นประเด็นที่คุยกันได้เอร็ดอร่อยในทุกโอกาส คอคอดกระยังมีเสน่ห์เย้ายวนไม่คลาย

ทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ชุมพร-ระนอง-เขาฝาชีสายนี้เกิดขึ้นเมื่อกองทัพญี่ปุ่นยาตราเข้ายึดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กองทัพลูกพระอาทิตย์ชนะศึกมาตลอดทางจากเกาะสิงคโปร์ มลายู

ประวัติศาสตร์ที่คนไทยไม่ค่อยเคยได้ยินคือราวตี ๔ ของวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้ามาทางอรัญประเทศ ทางทะเลยกพลขึ้นบก พื้นที่ชายฝั่งทะเล ๗ แห่งคือ ขึ้นที่สมุทรปราการ ประจวบฯ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี

การสู้รบที่ดุเดือดที่สุดคือบริเวณอ่าวมะนาว ประจวบฯเวลาประมาณตี ๔ ทหารอากาศของกองบินน้อยที่ ๕ ที่มีกำลังพล ๑๒๗ นาย ได้พลีชีพ ๔๑ นาย เพื่อต่อต้านการยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่น วันรุ่งขึ้นคือ ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. รัฐบาลสั่งการให้ทหารไทยหยุดยิง ให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยเพื่อรุกเข้าไปในพม่าทางช่องด่านสิงขร

และการยิงต่อสู้ที่สะพานท่านางสังข์ จ.ชุมพรร้อยเอก ถวิล นิยมเสน นำกำลังยุวชนทหารออกมายิงทหารญี่ปุ่นจนเสียชีวิตในแนวรบ ทหารญี่ปุ่นส่วนที่ทำการรบก็รบกันไป กองทัพเดินได้ด้วยท้อง งานส่งกำลังบำรุงหยุดไม่ได้ ทางเดียวที่กองทัพญี่ปุ่นจะรุกต่อไปในพม่า มีข้าวปลาอาหาร มีเสื้อผ้า มีกระสุนใช้อย่างต่อเนื่องต้องใช้รถไฟส่งกำลังบำรุงสายชุมพร-ระนอง-เขาฝาชีเป็นหลัก

กองทัพซามูไรในยามนั้นโหด เลว ดี ดุดัน และเด็ดขาดเพราะต้องการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านเข้าไปยึดประเทศพม่ามาจากอังกฤษ การส่งกำลังบำรุงทางเรือผ่านสิงคโปร์ ผ่านช่องแคบมะละกาเพื่อเข้าไปพม่านั้นสุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากเรือรบของอังกฤษ กองทัพญี่ปุ่นจึงตัดสินใจมาทำรางรถไฟตรงคอคอดกระของไทยซึ่งจะย่นระยะทางไปได้ราว ๑,๐๐๐ กม.

๑๓ พฤษภาคม ๒๔๘๖ ญี่ปุ่นกดดันไทยให้ยอมร่วมมือสร้าง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลงนามร่วมกับนายพลนากามูระ (Gen Nakamura) ผบ.กองทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ญี่ปุ่นนำหัวรถจักรมาเอง รถยนต์ที่วิ่งบนถนนเมื่อถอดเอายางออกเหลือแต่กระทะล้อ สามารถยกรถดังกล่าวขึ้นไปวางบนรางแล้ววิ่งต่อได้เหมือนรถไฟ

๑ มิถุนายน ๒๔๘๖ ญี่ปุ่นเริ่มก่อสร้าง ใช้กรรมกรไทย อินเดีย มลายู และชาวจีนจากมลายูราว ๒๐,๐๐๐-๒๕,๐๐๐ คน แบ่งออกเป็น ๗ เขตงาน มีความยาวตลอดสายประมาณ ๙๐ กม. ทำงานทั้งวันทั้งคืน ใช้เวลาราว ๖ เดือน ทางรถไฟสายนี้จึงแล้วเสร็จ แต่การเร่งรีบสร้างทำให้รางรถไฟด้อยคุณภาพ เคราะห์กรรมที่ญี่ปุ่นนึกไม่ถึงคือคนงานไทยที่รับจ้างทำงานหนีงานเกือบหมด เพราะงานทำหนักทั้งวันทั้งคืน ญี่ปุ่นต้องไปเกณฑ์เอาแขกมลายูขึ้นมาเป็นแรงงานทาสในไทย มีบันทึกการเจ็บป่วยล้มตายแบบทาส แต่ไม่พบว่าญี่ปุ่นไปนำเชลยศึกฝรั่งผิวขาวมาเป็นทาส เมื่อเทียบกับทางรถไฟสายมรณะที่กาญจนบุรีที่ดังไปสนั่นโลก ที่กาญจนบุรีญี่ปุ่นใช้งานแสนทารุณจนฝรั่งตายนับหมื่นคน

ใน ต.บางแก้ว อ.ละอุ่น จ.ระนอง มีอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกว่าพื้นที่ตรงนี้ในอดีตเป็นสถานีปลายทางที่ทหารญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อมาจาก จ.ชุมพร เป็นระยะทางรวม ๙๐ กม.

ญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟเส้นนี้และ ๗ สถานีย่อย เช่น สถานีวังไผ่ สถานีท่าสาร สถานีปากจั่นสถานีทับหลี สถานีกระบุรี สถานีคลองลำเลียงสถานีเขาฝาชีเพื่อเดินขบวนรถไฟลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังปลายทางสถานีเขาฝาชี แล้วถ่ายสิ่งของลงเรือล่องไปตามคลองละอุ่นออกไปบรรจบคลองกระบุรี ประมาณ ๑ กม. แล้วล่องต่อไปเกาะสองประมาณ ๒ ชม. เพื่อส่งกำลังบำรุงให้กองทัพที่ทำการรบในพม่า

ทหารญี่ปุ่นใช้เส้นทางรถไฟนี้ได้ประมาณ ๑๑ เดือน จนเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ เครื่องบินบินมาทิ้งระเบิดทำลายหัวรถจักร ทางรถไฟ เรือเสบียง และเรือบรรทุกอาวุธที่รับขนถ่ายจากขบวนรถไฟ ถูกระเบิดจมน้ำที่คลองละอุ่นที่ยังมีซากเห็นได้ในปัจจุบัน

อ.จุฬายังเล่าต่ออีกว่า ระหว่างสงคราม เครื่องบินพันธมิตรมาทิ้งระเบิดหลายครั้ง และกราดยิงด้วยปืนกลบริเวณสถานีรถไฟ รางรถไฟสายชุมพร-ละอุ่น ค่ายทหารญี่ปุ่นที่เขาฝาชีจึงได้รับความเสียหายมาก ชาวบ้านที่บริเวณสถานีวังไผ่เสียชีวิตจำนวนมาก

ก่อนที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม (กองทัพญี่ปุ่นเสนอยอมแพ้สงครามเมื่อ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๘) ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๘๘ ทหารญี่ปุ่นได้ทำการรื้อถอนทางรถไฟสายนี้บางส่วน โดยแจ้งต่ออนุกรรมการฝ่ายไทยว่า เพื่อนำรางไปซ่อมแซมทางรถไฟบางตอนที่ถูกระเบิดเสียหายทางใต้ ครั้นเมื่อสงครามยุติ ทหารกองกำลังสหประชาชาติได้เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในไทย เมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๘ และรื้อถอนรางรถไฟสายนี้

อ.จุฬาเล่าเสริมตอนท้ายว่า เคยมีชาวญี่ปุ่นที่เคยเป็นทหารคุมการก่อสร้างทางรถไฟสมัยนั้นกลับมาเยี่ยมชมอุโมงค์และรำลึกถึงความหลังที่สุดแสนลำเค็ญในพื้นที่ชุมพรและระนอง ล่าสุดผู้เขียนได้ประสานงานกับสถานทูตญี่ปุ่นใกรุงเทพฯให้ทราบข้อมูลเกร็ดประวัติศาสตร์ชิ้นนี้ อันอาจจะเป็นความร่วมมือเชิงสัญลักษณ์ต่อไป

เล่ามาทั้งหมดนี้ เพื่อเป็นตำนานให้ชนรุ่นหลังทราบนะครับ ว่าญี่ปุ่นเคยมาสร้างทางรถไฟในประเทศไทยแล้วครับ







ที่มา (ภาพ-ข้อมูล): ภาพเก่า…เล่าตำนาน โดย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก หนังสือพิมพ์มติชน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 พฤศจิกายน 2559 19:04:20 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2559 15:37:03 »



เหตุการณ์อัศจรรย์ต่างๆ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าสวรรคต
ในพระนิพนธ์เรื่อง อภินิหารการประจักษ์
ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์

ในพระนิพนธ์เรื่อง อภินิหารการประจักษ์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเขียนเรื่องเหตุการณ์อัศจรรย์ต่างๆ เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าสวรรคต ทางเว็บไซต์นิตยสารศิลปวัฒนธรรมจึงขอคัดมาบางส่วนนำมาให้อ่านกัน (ตัวอักษรคัดตามต้นฉบับเดิม)

“…ทุ่มเศษวันนั้น ท้องฟ้าเปนควัน หมอกกลุ้มโตใหญ่ ใช่น่าน้ำค้าง หมอกลงเหลือใจ บูราณว่าไว้ ทุมเกตุเกิดมี แลดูท้องฟ้า เตี้ยต่ำเต็มที ดวงพระจันทร์นี้ แดงคล้ำหมองไป ครั้นถึงเวลา พระสงฆ์ปวารณา เสด็จสวรรคาไลย สมกับเหตุเดิม ที่ได้ตรัสไว้ วันเพ็ญนี้ไซ้ ก็เหมือนวันเดิม เปนอัศจรรย์ใหญ่ ควรทำในใจ ไว้เชิดชูเฉลิมพระเกียรติต่อไป มาเปนขึ้นได้ เหมือนพระวาจาเดิม ถูกกาลเวลา ไม่ต้องเพิ่มเติม ควรสรรเสริญเสริม เกียรติคุณความดี  ค้ำหนึ่งข้างเช้า ภูมเทพยเจ้าที่ปถมเจดีย์เข้าสิงหญิงมอญ มาแสดงด้วยดี พระสุธรรมไมตรี ถามว่าอย่างไร ว่าเราจะมา บอกให้รู้ไว้ ตัวเรานี้ไซ้ อยู่มาช้านาน ที่พระปรางเจดีย์ เปนที่นมัสการ วิตกรำคาญ ถึงพระราชา เราเข้าไปเยี่ยม พอถึงเวลาฝูงเทพคณาลงมารับไป เวลายามเศษแห่ห้อมล้อมไสว สมเด็จจอมไทยขึ้นทรงวอทอง วอเงินอีกอันมารับท่านนั้น ด้วยบูลย์แล้วพาลอยไป ยิ่งแลยิ่งไกล ลิบลิบลับสูญ เรากลับออกมา บอกให้รู้มูล เหตุท่านสมบูรณ์ สุคติทางไป เหตุนี้อัศจรรย์ สำคัญโตใหญ่ เพราะข่าวนำไป ถึงในสิบโมง เร็วเกินคนนัก เห็นจักไม่โกง เวลาทุ่มโมง ก็ถูกต้องกัน เสียดายท่านรีบ เสด็จเร็วไปสวรรค์ พระคุณมหันต์ แก่หมู่ราษฎร ให้สัตว์เย็นสว่าง ทั่วทุกนคร เปรียบเหมือนจันทร ท่านมีพระคุณ แก่สัตว์มากใหญ่ ไม่เลือกว่าใคร ถ้วนทั่วทุกคน พระชนม์ท่านนั้น สองหมื่นสามพัน สองร้อยเศษพัน ขึ้นไปห้าสิบเก้า ถูกคราวสูรย์คน เกิดไข้เผาลน เสด็จสวรรคาลัย รัชกาลของท่าน นับได้หกพัน สามร้อยเปนไป กับเศษห้าสิบ ครบถ้วนลงใน วันปวารณาใหญ่ เดือนสิบวันเพ็ญ ในศักราช ๑๒๓๐ ปีมโรงสัมฤทธิศก…”



สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์  



Le roi et la reine de Siam assistant au départ du Saghalien

สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
ทรงพระกันแสงด้วยความอาลัยอาวรณ์พระบรมราชโอรส

“พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิยมหาราช เสด็จฯ ไปส่งเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ณ ท่าเรือเมืองสิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๙ (ค.ศ.๑๘๙๖) ในภาพสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงพระกันแสงด้วยความอาลัยอาวรณ์พระบรมราชโอรสที่ต้องพลัดพรากจากกันอีกนานหลายปี

อนึ่งในการเสด็จฯ ครั้งนี้ สมเด็จพระปิยมหาราชและพระราชินีทรงนำสมเด็จเจ้าฟ้าฯ จากกรุงเทพฯ ออกมาด้วยพระองค์เอง โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีจนถึงสิงคโปร์ เพื่อต่อเรือโดยสารอีกลำหนึ่งชื่อ ซากาเลียง (Saghalien) ภายใต้การดูแลของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เพื่อนำเสด็จเจ้าฟ้าต่อไปยังยุโรป มุ่งหน้าไปยังเมืองมาร์เซย์ (Marseilles) ประเทศฝรั่งเศส และจะได้เสด็จต่อไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษเป็นปฐม ต่อมาจึงได้เสด็จไปศึกษาวิชาการทหารต่อไปในประเทศรัสเซีย ภายใต้พระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ (ภาพจากหนังสือพิมพ์ L’ILLUSTRATION ฉบับวันที่  27 Juin 1896)”



พระฉายาลักษณ์ของเจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์
เผยแพร่เมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐)
โดย AFP PHOTO/FRANCE PRESSE VOIR/Bronberger

เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กษัตริย์กัมพูชา
ผู้ตรอมพระทัยสวรรคตเพราะเสียดินแดนให้ไทย

เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ เป็นกษัตริย์กัมพูชาในสมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ครองราชย์ตั้งแต่ ๙ สิงหาคม ๑๙๒๗ (พ.ศ.๒๔๗๐) – ๒๔ เมษายน ๑๙๔๑ (พ.ศ.๒๔๘๔) พระองค์ทรงนิยมมีนางสนม นางบำเรอแวดล้อม แต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไม่นาน พระองค์ได้สั่งปลดนางสนมออกจากตำแหน่งถึง ๑๐๐ คน จากกว่า ๒๐๐ คน เพื่อลดรายจ่ายของราชสำนัก เมื่อเดือนเมษายน ๑๙๓๘ (พ.ศ.๒๔๘๑)

ในช่วงเดือนธันวาคม ๑๙๔๐ (พ.ศ.๒๔๘๓) หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผ่านพ้นไปได้ราว ๑ ปี และฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ให้กับเยอรมนีไปแล้ว พระองค์ทรงประกาศว่าจะยืนหยัดอยู่ข้างฝรั่งเศสในยามยากลำบาก เพราะฝรั่งเศสคือผู้ที่ช่วยกัมพูชาไว้ได้จากความวุ่นวายทางการเมืองเมื่อ ๗๐ ปีก่อน (หมายถึงเหตุการณ์จลาจลต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส)

ขณะเดียวกันนั้นเอง กัมพูชาของพระองค์ก็กำลังถูกคุกคามจากกองทัพไทยที่พยายามอ้างสิทธิยึดดินแดนอาณานิคมที่เสียไปคืนจากฝรั่งเศส จนกระทั่งญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงขอให้ทั้งสองฝ่ายหยุดยิงและจัดการเจรจาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในกรุงโตเกียว

แต่ระหว่างที่การเจรจายังไม่เสร็จสิ้น เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๑๙๔๑ (พ.ศ.๒๔๘๔) ซึ่งสื่อต่างประเทศรายงานว่าเป็นเพราะปัญหาสุขภาพเรื้อรัง บวกกับภาวะซึมเศร้าที่จะต้องเสียดินแดนด้านตะวันตกให้กับไทย




พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

แรกมีปี่พาทย์มอญ ในงานพระศพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อธิบายถึงเรื่อง แรกมีปี่พาทย์มอญในงานศพ ในสาส์นสมเด็จ ดังนี้

ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ ... เรื่องที่ชอบใช้ปี่พาทย์มอญในงานศพนั้น หม่อมฉันเคยได้ยินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสเล่า ว่าปี่พาทย์มอญทำในงานหลวงครั้งแรกเมื่องานพระศพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ด้วยทูลกระหม่อมทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ ทรงเป็นเชื้อมอญ แต่จะเป็นทางไหนหม่อมฉันไม่ทราบ เคยได้ยินแต่ชื่อพระญาติคน ๑ เรียกว่า “ท้าวทรงกันดาล ทองมอญ” ว่าเพราะเป็นมอญ พระองค์ท่านคงจะทรงทราบกันดีกว่า คงเป็นเพราะเหตุนั้น งานพระศพพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดให้มีปี่พาทย์มอญเพิ่มขึ้น โดยเป็นเชื้อสายของสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ

ภายนอกอาจจะเอาอย่างงานพระศพหลวงไปเพิ่ม หรือไปหาเฉพาะปี่พาทย์มอญมาทำในงานศพโดยไม่รู้เหตุเดิม แล้วทำตามกันต่อมา จนเลยเข้าใจว่างานศพต้องมีปี่พาทย์มอญจึงจะเป็นศพผู้ดี เหมือนกับเผาศพชอบจุดพลุญี่ปุ่นกันแพร่หลายอยู่คราวหนึ่ง

อันที่จริงปี่พาทย์มอญ มอญเขาก็ใช้ทั้งในงานมงคลและงานศพเหมือนกันปี่พาทย์ไทย กลองคู่กับปี่ชวาและฆ้องประสมกันซึ่งเรียกว่าบัวลอย ก็ใช้ทั้งในงานศพและงานมงคล เช่น ในงานมหรสพ ไต่ลวด ลอดบ่วง และนอนหอกนอนดาบในสนามหลวง ที่สุดจนกลองชนะก็ใช้ทั้งในงานมงคลและงานศพ เครื่องประโคมที่ใช้เฉพาะงานศพเห็นมีอย่างเดียวแต่ปี่พาทย์นางหงส์ อันมีผู้คิดกลองคู่บัวลอยเข้าประสมวงกับปี่พาทย์ พวกปี่พาทย์เห็นว่าเพลงนางหงส์เข้ากับกลองคู่ดี จึงใช้เพลงนั้น เลยกลายเป็นชื่อเครื่องประโคมอย่างนั้น ดังเช่นท่านทรงพระดำริ

เมื่อครั้งงานศพหม่อมเฉื่อยของหม่อมฉัน เจ้าพระยาเทเวศร์ ท่านจัดปี่พาทย์นางหงส์อย่างประณีตไปช่วยที่สุสานหลวง ณ วัดเทพศิรินทร์ ท่านเพิ่มกลองมลายูขึ้นเป็น ๖ ใบ ปี่พาทย์ก็คือวงหลวงเสนาะและพระประดิษฐ์ (ตาด) ทำไพเราะจับใจคนฟังทั้งนั้น จนหม่อมฉันออกปากเสียดายว่ามีกังวลด้วยงานศพ มิฉะนั้นก็จะนั่งฟังให้เพลิดเพลิน....ดำรงราชานุภาพ


ที่มา : silpa-mag.com




มาริโอ ตามัญโญ สถาปนิกฝีมือขั้นเทพ

ปราสาท ราชวัง วัด สถานที่ราชการ สะพาน พระที่นั่งฯ ที่มีความเป็นอารยะ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในกรุงเทพฯ ที่โอ่อ่าสง่างามมาจนถึงทุกวันนี้ ใครกันหนอคือคนที่เนรมิตรูปแบบให้งดงามตระการตายิ่งนัก

เมื่อครั้งในหลวง ร.๕ เสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ.๒๔๔๐ ความงดงามของถนนหนทาง บ้านเมือง อาคาร สถานที่ รูปปั้น น้ำพุ งานศิลปกรรม เป็นเสน่ห์ให้ในหลวง ร.๕ ตัดสินพระทัยให้ว่าจ้างสถาปนิกชาวอิตาเลียนเข้ามาทำราชการในราชสำนัก เพื่อออกแบบกรุงเทพฯให้สง่างามตระการตาเฉกเช่นเมืองใหญ่ในยุโรป

ในบรรดาสถาปนิกอิตาเลียนที่เข้ามาทำงานในสยาม ที่ต้องจารึกนามไว้ในแผ่นดิน ท่านเป็นสุดยอดฝีมือในยุคนั้นคือ มาริโอ ตามัญโญ (Mario Tamagno) สถาปนิกหนุ่มมืออาชีพ



มาริโอ ตามัญโญ

มาริโอ เกิดเมื่อ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๐ ที่เมืองตูริน เรียนจบสถาปัตยกรรมจากสถาบันศิลปะอัลแบร์ทีน (Albertina Academy) ระหว่างศึกษาเขามีผลการเรียนยอดเยี่ยม และได้รับเหรียญรางวัลนับไม่ถ้วน จึงได้รับทุนการศึกษาโดยตลอด หลังจบการศึกษาในปี พ.ศ.๒๔๓๘ ทำงานเป็นอาจารย์ จนกระทั่งสถาปนิกรุ่นพี่ชื่อ คาร์โอ เซปปี แนะนำให้มาทำงานในสยามซึ่งกำลังจะสร้างกรุงเทพฯ ใหม่สไตล์ตะวันตก

๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๓ มาริโอออกเดินทางด้วยเรือชื่อ “โคนิก อัลเบิร์ต” (Konig Albert) มากรุงเทพฯ ซึ่งในขณะนั้นมีกลุ่มสถาปนิกอิตาเลียนทำงานอยู่บ้างแล้ว มาริโอ เซ็นสัญญาเข้ารับราชการในกรมโยธาธิการ ตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายสถาปัตยกรรม ใน พ.ศ.๒๔๔๖ มีเงินเดือน เดือนละ ๔๘ ปอนด์ เป็นระยะเวลา ๒๕ ปี

ผู้เขียนขอแทรกความรู้เรื่องงานศิลปกรรมของโลกในยุคนั้น ซึ่งต้องยอมรับว่า อิตาลี เป็นดินแดนที่รวมเอาอัจฉริยะของโลกด้านศิลปะไว้ เช่น ไมเคิล แอนเจโล, ดาร์วินชี, ราฟาเอล นอกจากนั้นชาวอิตาเลียนมีความรัก มีพรสวรรค์ด้านงานศิลปะในสายเลือดมาโดยกำเนิด จนเกิดทฤษฎีชื่อว่า “ลักษณะแบบอิตาลี” (Italianate Architecture)

ศิลปกรรมสไตล์อิตาลี โดดเด่นในด้านเรือนร่างของมนุษย์ มีมิติของภาพเป็นประติมากรรม จิตรกรรมที่สมจริง ผสมผสานไปกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ชาวอิตาเลียนนำเอาศิลปะวิทยาการของกรีก-โรมันมาปรับปรุง สามารถสร้างหลังคาทรงโค้ง ต้นเสาที่มีความแข็งแกร่งน่าเกรงขาม สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี มีอิทธิพลสูงสุดในศตวรรษที่ ๑๙ เป็นที่ยอมรับในยุโรปตอนเหนือ แพร่กระจายไปในอเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย

นับเป็นพระอัจฉริยภาพของในหลวง ร.๕ ที่ตัดสินพระทัยสร้างบ้านสร้างเมือง สร้างเกียรติภูมิของราชอาณาจักรให้เป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับคนไทยจนถึงทุกวันนี้

ย้อนประวัติศาสตร์ไปใน พ.ศ.๒๑๙๘ สมัยอยุธยาเป็นราชธานี มิชชันนารีชาวอิตาเลียนคือบาทหลวงโจวันนี มารีอา เลรีอา และบาทหลวงทอมมาโซ เดินทางเข้ามาสร้างไมตรีกับอยุธยา บาทหลวงทอมมาโซ เป็นผู้ออกแบบป้อมปราการรอบตัวเมืองและออกแบบตกแต่งพระราชวังด้วยน้ำพุอย่างงดงาม มิชชันนารีทั้งสองท่านนี้คือผู้ปูทางให้แก่ศิลปินอิตาเลียนที่เข้ามาทำงานต่อในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ผลงานการออกแบบของมาริโอโดดเด่นเป็นประกายต่อสายตาของราชสำนักสยามไปหมด เช่น การออกแบบท้องพระโรงพระที่นั่งอภิเษกดุสิต และวัดเบญจมบพิตร

ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ ในหลวง ร.๕ กำลังจะเสด็จกลับจากประพาสยุโรป ราชสำนักสยามมอบให้มาริโอจัดสร้างซุ้มรับเสด็จสไตล์จีนแถวๆ สะพานผ่านฟ้าลีลาศ และเพื่อให้งานออกแบบสะพานบนถนนราชดำเนินมีสไตล์สอดรับกัน มาริโอ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้านายช่างสถาปนิกการออกแบบและสร้าง สะพานมัฆวานรังสรรค์ ต่อเนื่องไปด้วย

ในชีวประวัติของสุภาพบุรุษอิตาเลียนท่านนี้ ในระหว่างที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ท่านเป็นคนจริงจัง ใช้ทุกเวลานาทีของชีวิตเพื่อการสร้างสรรค์ เขาเกิดมาเพื่อเป็นผู้คิดสร้างสยามประเทศโชคดีที่ได้มาริโอมาทำงานให้บ้านเมือง มาริโอเป็นคนไม่ชอบที่จะสรวลเสเฮฮากับใคร เรื่องความรักมีเกร็ดชีวิตเล่าว่า สาวสวยหน้าคมชื่อ มาเรียนนีนา ซุกกาโร (Marianina Zuccaaro) เดินทางมาจากอิตาลีเพื่อมาเข้าพิธีแต่งงานกับมาริโอที่กรุงเทพฯ ในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๔๔ โดยมี สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ และบรรดาเอกอัครราชทูตในกรุงเทพฯ มาร่วมพิธีแต่งงานโดยมีพระผู้ประกอบพิธีเป็นชาวฝรั่งเศส คู่บ่าวสาวอิตาเลียนเลยต้องกล่าวคำตอบรับเป็นภาษาฝรั่งเศส (oui) แทนที่จะเป็นภาษาอิตาเลียน (si)

สถาปนิกหนุ่มอิตาเลียนใช้ชีวิตเรียบง่ายสมถะ งานระดับอภิมหาโปรเจ็กต์คือ พระที่นั่งอนันตสมาคมที่ออกแบบร่วมกับเพื่อนสถาปนิกชื่อรีก๊อตตี และปรับโฉมสถานีรถไฟหัวลำโพงร่วมกับรีกัซซี

พรสวรรค์ของมาริโอเป็นมนต์เสน่ห์ให้ข้าราชสำนักสยามหันมาใช้บริการ เขาเป็นคนเงียบขรึม ถ่อมตนและขี้อาย แต่มีความสุขกับการทำงาน ผลงานของท่านต่อมาคือคนการออกแบบอาคารกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง แสตมป์และเหรียญที่ระลึกในพิธีต่างๆ ที่เป็นมรดกความงามหมดจรดตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

วังบางขุนพรหม วังปารุสกวัน พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานมัฆวานรังสรรค์ พระที่นั่งราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ และพระราชวังพญาไท




พระที่นั่งอนันตสมาคม

ต่อมาในสมัยในหลวง ร.๖ ผลงานของมาริโอ มีความหลากหลายขยายการออกแบบมากขึ้น เขาออกแบบโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สถานีรถไฟสวนจิตรลดา สะพานขนาดเล็กในชุด “เจริญ” ที่สร้างขึ้นในสมัยในหลวง ร.๖ คือ สะพานเจริญรัช ๓๑ สะพานเจริญราษฎร์ ๓๒ สะพานเจริญพาศน์ ๓๓ สะพานเจริญศรี ๓๔ สะพานเจริญทัศน์ ๓๕ และสะพานเจริญสวัสดิ์ ๓๖

ผลงานที่เป็นอมตะในสยามที่ตามมาคือ ออกแบบบ้านนรสิงห์ของเจ้าพระยารามราฆพ (ปัจจุบันคือ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล) บ้านบรรทมสินธุ์ของเจ้าพระยาอนิรุทธเทวา (ปัจจุบันคือบ้านพิษณุโลก) และห้องสมุดเนลสัน เฮส์

ผลงานการออกแบบในสยามที่สร้างชื่อเสียงให้กับมาริโอ คือ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นพระที่นั่งที่มีสถาปัตยกรรมแบบนีโอเรอเนสซองซ์ และนีโอคลาสสิก ใช้หินอ่อนสีขาวจากอิตาลีแทบทุกตารางนิ้ว จุดเด่นอยู่ที่หลังคาโดมคลาสสิกแบบโรมัน ซึ่งอยู่ตรงกลางพระที่นั่งและล้อมรอบด้วยโดมเล็กๆ อีก ๖ โดม เพดานด้านในของโดมวาดด้วยวิธีเฟรสโก เป็นภาพพระราชกรณียกิจของกษัตริย์ราชวงศ์จักรี นับเป็นพระที่นั่งที่งดงามระดับโลก

พระที่นั่งอนันตสมาคม มีรูปแบบตะวันตกอย่างแท้จริง เป็นพระที่นั่งหินอ่อนเพียงแห่งเดียวของไทย เป็นการรวมสุดยอดฝีมืองานช่างแขนงต่างๆ ทั้งสถาปัตยกรรม การแกะสลักหินอ่อน ประติมากรรม จิตรกรรมฝาผนัง-เพดาน ลวดลายเหล็กดัด-เหล็กหล่อ

หินอ่อนที่ใช้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมมาจากเหมืองคาราร่า ของอิตาลีซึ่งเป็นเหมืองหินอ่อนที่เดียวในโลกที่มีหินอ่อนครบทุกสี ขุดต่อเนื่องกันมา ๔๐๐ ปียังไม่หมด

เมื่อหมดสัญญาจ้างงาน ๒๕ ปี มาริโอ และครอบครัวเดินทางกลับไปบ้านเกิดที่อิตาลี ซึ่งขณะนั้นอิตาลีอยู่ในช่วงเริ่มต้นของระบอบฟาสซิมส์ มาริโอยังคงประกอบวิชาชีพสถาปนิก มาริโอเสียชีวิตในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ด้วยโรคมะเร็ง อายุ ๖๔ ปี

บทความนี้ ผู้เขียนขอชื่นชมผลงานของกลุ่มวิศวกร สถาปนิก จิตรกร ปฏิมากรช่างฝีมือ ช่างตกแต่งชาวอิตาเลียนซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาคกลางตอนเหนือของอิตาลี แคว้นทัสคานี ลิกูเรีย ปิเอมองต์ และบางส่วนจากแคว้นลอมบาร์ดี รวมทั้ง คอร์ราโด เฟโรซี หรือศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มาช่วยสร้างสรรค์งานที่เลอเลิศให้กับคนไทย แผ่นดินไทยตราบจนวันนี้


ที่มา (ภาพ-ข้อมูล): ภาพเก่า…เล่าตำนาน โดย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก หนังสือพิมพ์มติชน





คิม ฟุก เด็กน้อยนาปาล์ม

ราวปี พ.ศ.๒๕๕๕ ผู้เขียนเดินทางไปราชการที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม หลังจากการประชุม ผู้เขียนร้องขอให้เพื่อนชาวเวียดนามพาไปร้านขายหนังสือ ภาวนาในใจขอให้เจอหนังสือสักเล่มที่โดดเด่นที่สุดเรื่องสงครามเวียดนาม และในที่สุดก็ได้หนังสือในฝันชื่อ The Girl in The Picture เขียนโดย Denise Chong ที่จะขอแปลและเรียบเรียงโดยย่อให้ท่านผู้อ่านดังต่อไปนี้ครับ

ภาพขาวดำที่ปรากฏต่อหน้าท่านผู้อ่านขณะนี้ถูกตีพิมพ์ไปทั่วโลกในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ปรากฏร่างอันเปลือยเปล่าของเด็กหญิงชาวเวียดนามชื่อ คิม ฟุก (Kim Phuc) วัย ๙ ขวบ กำลังวิ่งหนีเปลวไฟนรกจากระเบิด๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๕ ระหว่างสงครามในเวียดนามเพื่อนบ้านของเรานี่เอง

ภาพที่แสนสะเทือนใจมนุษย์ปุถุชน สื่อให้เห็นปากของเธอ ณ นาทีนั้นส่งเสียงหวีดร้องบ่งบอกถึงความเจ็บปวดจากความร้อนของเพลิงนรกที่ฉาบลงไปบนตัวเธอ น้ำตาของเธอหลั่งรินอาบแก้ม นัยน์ตาของเด็กน้อยกำลังวิงวอนร้องขอชีวิต

ภาพเก่าเล่าตำนานตอนนี้ ขอนำท่านผู้อ่านย้อนอดีตไปแสดงความรังเกียจ ชิงชัง ขยะแขยงต่อสงครามในเวียดนามที่มหาอำนาจเข้ามาล่าอาณานิคม หาผลประโยชน์ สร้างอุดมการณ์ เสี้ยมให้เป็นปรปักษ์กัน ประเทศเวียดนามมีลักษณะยาวเหมือนถั่วงอก มหาอำนาจไปประชุมกันที่เจนีวาเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ ตกลงขีดเส้นแบ่งตรงเส้นขนานที่ ๑๗ แบ่งกันเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้

ผู้เขียนขอไม่กล่าวถึงมหากาพย์เบื้องหลังของสงครามเวียดนามที่ยาวนาน ๓๐ ปี

ราวบ่าย ๒ โมงของวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๑๕ เครื่องบิน Skyraider ของเวียดนามใต้บินในระยะต่ำเพื่อทิ้งระเบิดทำลายหมู่บ้านเจิ่ง บ่าง (Trang Bang) เพราะสายข่าวรายงานมาว่าทหารเวียดกง (ฝ่ายเวียดนามเหนือ) จำนวนหนึ่งเข้าไปพักพิงในหมู่บ้านแห่งนี้ ผู้สื่อข่าวสงครามที่ทำมาหากินกับภาพและข่าวการรบในสงครามเวียดนาม ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียง เมื่อเห็นการโจมตีทิ้งระเบิดจากระยะไกล จึงมุ่งหน้าบึ่งรถเพื่อเข้าไปถ่ายภาพ โดยเฉพาะคนในทำเนียบขาวที่อยากเห็นภาพสงคราม

เครื่องบินรบแผดเสียงสนั่นเวียนกันเข้าไปทิ้งระเบิดนาปาล์มแบบไร้การต่อต้านจากภาคพื้นดิน

ผู้สื่อข่าวสงครามแห่กันไปกระจุกตัวเก็บภาพนิ่งและถ่ายเป็นภาพยนตร์อยู่บนถนนที่มองเห็นการโจมตีทิ้งระเบิดหมู่บ้านอย่างชัดเจน ภาพที่ปรากฏคือ ลูกไฟบรรลัยกัลป์ ๘ ลูกขนาดมหึมาก่อตัวขึ้นในบริเวณหมู่บ้าน

นักข่าวต่างชาติ และนักข่าวเวียดนามจากหลายสำนักแย่งกันบันทึกภาพของไฟนรกที่ม้วนตัวขึ้นไปสูงเสียดฟ้า สาดความร้อนแผ่ซ่านออกไปผสมกับควันสีดำที่ปกคลุมพื้นที่ มันคือการเผาหมู่บ้านสดๆ ไปพร้อมกับคนและสิ่งที่มีชีวิตทั้งปวงในพื้นที่ตรงนั้น


   ท่ามกลางหมอกควันแห่งความตาย ช่างภาพทั้งหลายแลเห็นมนุษย์ ๕-๖ คน ที่หวีดร้องแหวกเตาเผามฤตยูวิ่งออกมาบนถนนและกำลังวิ่งตรงมาที่กลุ่มนักข่าว นาทีนั้นมีภาพของแม่ที่อุ้มปกป้องลูกในอกเสื้อผ้าขาดรุ่งริ่ง และมีเด็ก ๔ คนวิ่งหนีตายออกมา

เด็กผู้หญิงคนหนึ่งเปลือยเปล่าวิ่งตรงเข้ามาหาช่างภาพทั้งหลาย ปากก็ร้องแสดงความเจ็บปวดจากไฟ นักข่าว ITN ชื่อ Christ Wain จับตัวเธอไว้

เธอยังร้องไม่หยุด ร่างกายเธอสั่นแบบเสียสติ ผิวหนังของเธอบริเวณแผ่นหลังกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้หลุดออกมาเป็นแผ่น เห็นเนื้อสีแดงตลอดแผ่นหลัง แขนซ้ายและผิวหนังบริเวณต้นคอของเธอไหม้เกรียม

ทหารเวียดนามที่อยู่บริเวณนั้นรีบนำน้ำจากกระติกให้เธอดื่ม และราดน้ำลงบนตัวเธอ ทุกคนที่วิ่งออกมาร่างกายไหม้เกรียม

ระเบิดนาปาล์ม (Napalm Bomb) เป็นระเบิดที่มีรูปแบบการทำปฏิกิริยาของเคมีที่ให้ความร้อนสูงมาก นำมาใช้ครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่สอง อุณหภูมิโดยรอบจะสูงประมาณ ๘๐๐-๑,๒๐๐ องศาเซลเซียส

นาปาล์มเมื่อระเบิดจะทำปฏิกิริยาแผ่ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ออกไปโดยรอบ เป็นพิษไปถึงบรรยากาศข้างบนและดึงออกซิเจนโดยรอบ เพื่อการเผาไหม้ตรงจุดศูนย์กลางทำให้เกิดการแผ่รังสีความร้อนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดแผลไฟไหม้ที่ผิวหนังและจะทำลายเนื้อเยื่อ จนถึงกระดูก

นิก อุ๊ต (Nick Ut) นักข่าวสงครามชาวเวียดนามที่ทำงานให้สำนักข่าว AP เป็นผู้ถ่ายภาพเธอไว้ได้ในฉับพลัน และช่วยปลอบเด็กน้อยให้หายช็อก ณ ท่ามกลางความตาย ความโกลาหล ช่างภาพมืออาชีพทุกคนตรงนั้นที่เห็นโศกนาฏกรรมคนถูกไฟเผา ไม่มีใครสามารถช่วยอะไรใครได้ เพราะทุกคนต้องรีบนำฟิล์มถ่ายรูปกลับไปล้างและรีบดำเนินกรรมวิธีส่งกลับอเมริกา เพื่อแย่งชิงกันลงภาพหน้า ๑ น.ส.พ.ในอเมริกาโดยเฉพาะวอชิงตัน

นิก อุ๊ต ก็ต้องกลับไปส่งฟิล์มแข่งกับคนอื่นเช่นกัน แต่เขารับอาสาที่จะพาเด็กน้อย คิม ฟุก และผู้หญิงอีก ๑ คนที่กำลังจะตายเพราะไฟลวกทั้งตัวแวะไปส่งที่โรงพยาบาล Barsky ที่อยู่ระหว่างทางจะไปกรุงไซ่ง่อน ส่วนคนเจ็บที่เหลือนักข่าวก็ช่วยกันนำส่งโรงพยาบาล

แพทย์ที่ดูแลเธอตลอดเวลา ๑๔ เดือน ชื่อ Aarne Rintala ชาวฟินแลนด์ที่อาสาเข้าไปทำงานระหว่างสงครามเวียดนาม ในช่วงแรกแพทย์คิดว่าเธอคงไม่รอด นิก อุ๊ต แวะมาเยี่ยมคิม ฟุก เป็นครั้งคราว

ภาพของเด็กน้อยนาปาล์มไปปรากฏในหน้า ๑ ที่วอชิงตัน ทำเอาคะแนนนิยมประธานาธิบดีนิกสันสั่นสะท้าน สังคมอเมริกันที่ไม่เห็นด้วยกับสงครามเวียดนาม เพิ่มระดับเรียกร้อง เดินขบวนครั้งใหญ่ทั่วอเมริกาให้รัฐบาลถอนทหาร นำลูกหลานอเมริกันกลับบ้าน

สงครามเวียดนามปิดฉากลงเมื่อ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๘ โดยกองทหารเวียดนามเหนือบุกถึงไซ่ง่อน สหรัฐถอนทหารส่วนใหญ่ออกไปแล้วคงเหลือแต่เจ้าหน้าที่ในสถานทูต โฮจิมินห์ขึ้นเป็นผู้นำของเวียดนาม รวมเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้เข้าด้วยกัน ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ตั้งแต่นั้นมา


  หลังจากคิม ฟุก ออกจากโรงพยาบาล เธอไปเรียนต่อระดับประถมและมัธยมซึ่งเป็นการเรียนในระบบสังคมนิยมที่จัดการเรียน เน้นปลูกฝังอุดมการณ์ ความรักชาติ ยกย่องโฮจิมินห์เป็นวีรบุรุษ และจะต้องทำงานรับใช้ระบบสังคมนิยม (Working for Socialism) ในขณะที่เธอเคยได้รับบาดเจ็บร่างกายไม่แข็งแรงเท่าเพื่อนคนอื่น

คิม ฟุก เรียนหนังสือด้วยความขมขื่นแต่ต้องจำทนเพราะรัฐควบคุมและส่งเจ้าหน้าที่ติดตามเธอตลอดเวลา ผลการเรียนเธออยู่ในระดับดีมาก ซึ่งทางการกำหนดให้เธอเตรียมเข้าเรียนแพทย์

และในที่สุดเธอเข้าเรียนแพทย์ได้ในเวียดนาม แต่ระหว่างเรียนมีเจ้าหน้าที่ของรัฐมาคอยสอดส่อง เธอดิ้นรนขอไปเรียนต่อในต่างประเทศ

ในปี พ.ศ.๒๕๒๙ รัฐบาลเวียดนามให้เธอไปเรียนต่อที่คิวบา เธอเปลี่ยนศาสนาไปนับถือคริสต์ และในมหาวิทยาลัยเธอได้พบกับ บุย ฮุย ตว่าน (Bui Huy Toan) นักศึกษาชาวเวียดนาม และแต่งงานกันในปี พ.ศ.๒๕๓๕ คิม ฟุก และคู่สมรสขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปฮันนีมูน ระหว่างทางที่เครื่องบินแวะลงเติมน้ำมันที่นิวฟันด์แลนด์ (Newfound Land) ทั้งคู่ฉวยโอกาสวิ่งหนีจากการควบคุมไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อขอลี้ภัยทางการเมืองไปประเทศที่ ๓ ต่อมารัฐบาลแคนาดาขอรับดูแล คิม ฟุก และสามี โดยให้พักอาศัยอย่างเสรีในเมืองโตรอนโต ทั้งสองโอนสัญชาติเป็นชาวแคนาดาแล้วใช้ชีวิตอย่างสงบเงียบ

แต่แล้ววันหนึ่งในปี พ.ศ.๒๕๓๙ คิม ฟุก ได้รับเชิญให้มาพูดเนื่องในโอกาสวันทหารผ่านศึก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เธอกล่าวให้อภัยกับทุกสิ่ง

ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ เธอตั้งมูลนิธิในสหรัฐ เพื่อช่วยเหลือการรักษาเหยื่อสงครามทั้งหลายและทำหน้าที่เป็นทูตสันติภาพของ UNESCO

ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ สถาบันผิวหนังแห่งไมอามี ติดต่อเพื่อขอรักษาแผลเป็นทั่วร่างของเธอด้วยเลเซอร์ให้ฟรี คุณหมอจิลล์ ไวเบล (Jill Waibell M.D.) เปิดเผยว่า คิม ฟุก คงต้องเข้ารับการรักษาเป็นเวลา ๘-๙ เดือน การรักษาแผลเป็นนี้จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดที่ซ่อนอยู่ภายในของเธอตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้ ปัจจุบันเธออายุ ๕๗ ปี (เกิด พ.ศ.๒๕๐๒)

ภาพถ่ายของคิม ฟุก ภาพนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักข่าว AP และนิก อุ๊ต ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปี ๒๕๑๖


ที่มา (ภาพ-ข้อมูล): ภาพเก่า…เล่าตำนาน โดย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก หนังสือพิมพ์มติชน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มิถุนายน 2561 14:19:54 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2559 15:51:48 »


’สยาม’เมื่อ ๑๕๐ ปีที่แล้ว
ผ่านมุมกล้อง’จอห์น ทอมสัน’


Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images

เรียกว่าเป็นโอกาสสุดท้ายของคนไทย ที่จะได้รับชมภาพถ่ายโบราณและศิลปวัตถุร่วมสมัยในนิทรรศการ “สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน พ.ศ.๒๔๐๘-๒๔๐๙” ซึ่ง ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ ประธานคณะกรรมการจัดนิทรรศการและภัณฑารักษ์ได้นำภาพอันล้ำค่ากว่า ๖๐ ภาพภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันเวลคัมแห่งกรุงลอนดอนมาให้ได้ชม ผ่านการบรรยายของ ไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ ภัณฑารักษ์ ร่วมด้วย เอกรินทร์ เปรี่ยนไทย นักสะสม เจ้าของศิลปวัตถุที่นำจัดแสดง เล่าถึงรายละเอียดของศิลปวัตถุโบราณสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ ที่ปรากฏในภาพถ่าย ณ ห้องอาร์ซีบี แกลเลอเรีย ชั้น ๒ ศูนย์การค้าริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก

ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ ประธานคณะกรรมการจัดนิทรรศการและภัณฑารักษ์ของงานและ CEO ของสำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์ เล่าว่า ภาพถ่ายในนิทรรศการครั้งนี้บันทึกโดย จอห์น ทอมสัน (John Thomson) ช่างภาพชาวสกอตแลนด์ ที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยในช่วง พ.ศ.๒๔๐๘-๒๔๐๙ โดยจอห์น ทอมสัน เป็นช่างภาพชาวต่างชาติที่ฉายพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งภาพมีขนาดจะนำไปตีพิมพ์ต่อได้ งานแสดงภาพสยามโบราณรวม ๖๐ ภาพครั้งนี้ ประกอบด้วยภาพถ่ายที่เกี่ยวกับประเทศไทย ๔๓ภาพ, ภาพนครวัด ประเทศกัมพูชา ๖ ภาพ และภาพเมืองชายฝั่งประเทศจีนและฮ่องกง ๑๑ ภาพ หลังงานแสดงครั้งนี้ ภาพถ่ายทั้งหมดจะถูกส่งคืนเจ้าของลิขสิทธิ์ สถาบันเวลคัม กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทันที





การจัดงานครั้งนี้มีความน่าสนใจอีกข้อคือที่ “ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก” นี้อยู่ตรงข้ามกับบ้านที่นายจอห์น ทอมสัน พำนักอยู่เมื่อครั้งมาที่สยาม หรือสำนักงานเขตคลองสานในปัจจุบัน เปรียบได้กับจอห์น ทอมสัน และผลงานของเขาได้กลับมาอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสถานที่ที่เขาพำนักอีกครั้ง ถึงแม้ว่าจอห์น ทอมสัน จะไม่ใช่ช่างภาพคนแรกที่ได้เข้าไปถ่ายในพระราชสำนัก แต่ภาพของเขาสามารถนำมาตีพิมพ์ซ้ำได้ และเขายังเป็นคนที่โฆษณาตัวเองได้เก่งมากด้วย เพราะหลังจากที่เขากลับไปอังกฤษแล้ว เขาได้นำเรื่องราวของเมืองสยามไปตีพิมพ์ลงนิตยสารและหนังสือพิมพ์มากมาย เพราะฉะนั้นความโด่งดังของไทยสมัยนั้น พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๔ ที่ถูกส่งต่อไปถึงมือกษัตริย์ของอังกฤษและประธานาธิบดีในสมัยนั้น ก็มาจากฝีมือจอห์น ทอมสัน เขาจึงเป็นสื่อกลางที่สร้างความเข้าใจในเมืองสยามว่าเป็นเมืองศิวิไลซ์ ดังจะเห็นจากภาพที่จัดแสดงในนิทรรศการนี้” ม.ร.ว.นริศรากล่าว

ทางด้าน ไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์ จำกัด ในฐานะภัณฑารักษ์ร่วม ผู้ทำหน้าที่ “อ่าน” ผลงานภาพถ่ายชุดนี้กล่าวว่า ภาพที่สำคัญที่สุดและหาชมได้ยากยิ่งในนิทรรศการนี้ คือ พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๔ หลายภาพที่ยังมีความคมชัดมาก แม้จะผ่านกาลเวลามาแล้วกว่า ๑๕๐ ปี นับเป็นภาพที่สำคัญมาก เพราะพระองค์โปรดให้จอห์น ทอมสัน เข้าเฝ้าฯ เพื่อฉายภาพของพระองค์โดยเฉพาะในพระบรมมหาราชวัง อีกภาพหนึ่งคือ พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ และยังไม่ได้เข้าสู่พระราชพิธีโสกันต์ (โกนจุก) นอกจากนี้ ยังมีภาพพาโนรามาของสยาม ที่ถ่ายจากปรางค์วัดอรุณฯ ให้เห็นทิวทัศน์ของแม่น้ำเจ้าพระยา ก็เป็นภาพสำคัญที่สุดของจอห์น ทอมสัน ที่ต้องใช้ภาพถ่ายถึง ๓ ภาพมาต่อกัน”



นอกจากนี้ ยังมีภาพของในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทรงฉลองพระองค์ชุดครุยทองคำตามโบราณราชประเพณี ชุดโจงกระเบนคาดเข็มขัดทองคำ ประทับบนพระที่นั่ง ตั้งเครื่องประกอบพระอิสริยยศ เป็นภาพที่เคยจัดแสดงในงานเอ็กซ์โป ณ กรุงปารีส เมื่อกว่า ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา รวมทั้งภาพพระอัจฉริยภาพของรัชกาลที่ ๔ ในยุคที่ชาติตะวันตกมีการล่าอาณานิคม พระองค์ทรงหาแนวทางแสดงให้ชาติตะวันตกเห็นถึงความศิวิไลซ์ในการฉลองพระองค์ฉายพระรูปในชุดจอมพลฝรั่ง ภาพของรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์จำนวน ๒ ภาพ ภาพสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา ต้นราชสกุลมาลากุล ภาพเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เจ้านายน้อย และนางกำนัลทาสหญิง ที่ทำให้เห็นถึงชนชั้นวรรณะ ระบบเจ้าขุนมูลนาย และระบบทาสในสมัยนั้น ภาพวิวทิวทัศน์วัดวาอาราม บ้านเมืองริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งพระนครและธนบุรี ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นทั้งขนบธรรมเนียมในวัง รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในยุคนั้น และยังมีภาพสถานที่ต่างๆ ของกัมพูชาและเมืองชายฝั่งของประเทศจีนจากฝีมือของจอห์น ทอมสัน อีกด้วย


Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images


Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images


Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images


Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images


Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images


Credit: Wellcome Library, London. Wellcome Images


เอกรินทร์ เปรี่ยนไทย นักสะสม เจ้าของศิลปวัตถุที่นำจัดแสดง กล่าวว่า เนื่องจากสมัยก่อนจะไม่มีเครื่องราชอิสริยยศ เพิ่งจะมีในสมัยรัชกาลที่๕ ใช้เพื่อประกอบยศ ฐานะ และตำแหน่ง เช่น ชั้นเจ้านาย ใช้เครื่องอุปโภคที่ทำมาจากทองคำ ทองคำลงยา ทำโดยฝีมือช่างสิบหมู่จะมีความวิจิตรสวยงาม, ชั้นเจ้าพระยา ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ใช้เครื่องอุปโภคเครื่องเงินถมทอง และชั้นที่ลดหลั่นลงมาจะเป็นเครื่องเงิน ในสมัยนั้นของบางชิ้น เช่น เครื่องกระเบื้องกังไส จะสั่งทำในเมืองจีนเพราะเป็นประเทศที่มีผลิตเครื่องกระเบื้องดีที่สุดในโลก ของพวกนี้จึงมีราคา คนที่จะใช้ได้จะต้องมีฐานะ สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นคนที่จะใช้เครื่องกระเบื้องจากจีนจะมีแต่ในราชสำนักเท่านั้น และในช่วงต้นรัชกาลที่ ๔ ถึงปลายรัชกาลที่ ๕ ก็เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น ไทยเราเองจึงมีการสั่งเครื่องกระเบื้องเหล่านี้มาใช้ในหมู่คหบดี เจ้าสัวที่มีฐานะ ลักษณะของเครื่องอุปโภคโบราณจึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกสถานะทางสังคม รสนิยม และฐานะของผู้ครอบครองของคนไทยในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับสมัยนี้ที่คนนิยมใช้ของแบรนด์เนมเพื่อบอกสถานะของตน”

นิทรรศการภาพถ่ายโบราณและศิลปวัตถุร่วมสมัย “สยาม ผ่านมุมกล้องจอห์น ทอมสัน พ.ศ.๒๔๐๘-๒๔๐๙ “ ระหว่างวันนี้ ถึง 15 มกราคม 2560 ณ ห้องอาร์ซีบี แกลเลอเรีย ชั้น ๒ ศูนย์การค้าริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ค่าเข้าชม ๕๐ บาท สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ได้ทางเฟซบุ๊กเพจ River City Bangkok หรือ www.rivercitybangkok.com


http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/12/51-ถ้ำชากระเบื้องเคลือบลายสีลายผู้หญิงและเด็กในสวน.jpg
รวมภาพเก่าหาดูยาก : ภาพเก่าเล่าเรื่อง

ถ้ำชากระเบื้องเคลือบลายสีลายผู้หญิงและเด็กในสวน

http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/12/50-ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบลายสี-เหลียงซานป๋อ-กับจู้อิงไถ.jpg
รวมภาพเก่าหาดูยาก : ภาพเก่าเล่าเรื่อง

ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบลายสี เหลียงซานป๋อ กับจู้อิงไถ

http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/12/54-ห้องแสดงภาพเมืองชายฝั่งประเทศจีน.jpg
รวมภาพเก่าหาดูยาก : ภาพเก่าเล่าเรื่อง

ห้องแสดงภาพเมืองชายฝั่งประเทศจีน.

http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/12/55-พัดเขียนลายสีบนกระดาษสา-เขียนลายทองลายขุนนางและเถา-ศิลปะจีน.jpg
รวมภาพเก่าหาดูยาก : ภาพเก่าเล่าเรื่อง

พัดเขียนลายสีบนกระดาษสา-เขียนลายทองลายขุนนางและเถา-ศิลปะจีน.
ที่มา : มติชนออนไลน์




เสน่ห์ มนต์ขลัง และต้นมะขาม ณ สนามหลวง

เหตุการณ์สำคัญยิ่งยวดในสยามประเทศตั้งแต่สมัยในหลวง ร.๑ ตั้งกรุงเทพฯ เป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ จะต้องมีสนามหลวงเป็นพื้นที่ประกอบเหตุการณ์ตั้งแต่โบราณกาลมาจวบจนปัจจุบัน

เมื่อครั้งพระพุทธยอดฟ้าฯ ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลให้เป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ใกล้ๆ กันนั้นมี วัดสลัก เป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล มีทุ่งนาขนาดมหึมาอยู่ทางทิศตะวันออก

ในหลวง ร.๑ โปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๖ เนื่องจากในอดีตพระองค์ฯเคยทรงล่องเรือมาหลบทหารพม่าในวัดแห่งนี้ พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวัง จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลัก เป็น วัดนิพพานาราม

ต่อมาในหลวง ร.๑ โปรดเกล้าฯให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ.๒๓๓๑ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ” และใน พ.ศ.๒๓๔๖ พระราชทานนามใหม่อีกครั้งว่า “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร” ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช

มีที่ดินขนาดมหึมา รกร้างว่างเปล่าอยู่บริเวณหน้าวัด ที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “ทุ่งพระเมรุ” เพราะที่ผ่านมาตั้งแต่สมัยในหลวง ร.๑ ที่ดินกว้างใหญ่แปลงนี้เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

ในรัชสมัยในหลวง ร.๓ โปรดเกล้าฯให้ชาวนามาทำนาที่ทุ่งพระเมรุ เพื่อต้องการให้ประจักษ์แก่นานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร พืชพันธุ์ธัญญาหาร ในน้ำมีปลา นามีข้าว ชาวสยามพร้อมทำศึกสงคราม เอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เป็นกำลังของบ้านเมือง

ผ่านมาในรัชสมัยในหลวง ร.๔ โปรดเกล้าฯให้ใช้ทุ่งพระเมรุประกอบพระราชพิธีพืชมงคล พิธีพิรุณศาสตร์สร้างกำแพงล้อมรอบบริเวณทุ่งพระเมรุ ข้างในกำแพงสร้างหอพระพุทธรูปสำหรับการพิธีหลวง สร้างพลับพลาที่ทำการพระราชพิธี มีโรงละครสำหรับเล่นบวงสรวง ด้านเหนือมีพลับพลาน้อยสร้างบนกำแพงแก้วสำหรับประทับทอดพระเนตรการทำนาในท้องทุ่ง นอกกำแพงแก้วยังมีฉางสำหรับใส่ข้าวที่ได้จากการปลูกข้าว

ทุ่งพระเมรุ มีขนาดกว้างยาวเท่าใดไม่ปรากฏ มีสภาพเหมือนท้องทุ่งทั่วไปในกรุงเทพฯที่ผู้คนทำไร่ทำนา ต่อมาในหลวง ร.๔ มีพระราชดำริว่า พื้นที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุฯ มาเรียกว่า “ทุ่งพระเมรุ” นั้นหาชอบไม่ เป็นอวมงคล ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดนั้น ให้เรียกว่า “ท้องสนามหลวง”

สมัยในหลวง ร.๕ โปรดเกล้า ให้ขยายสนามหลวงจากเดิม และรื้อพลับพลาต่างๆ ที่สร้างไว้ทั้งหมด เพราะหมดความจำเป็นที่จะต้องทำนา และให้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพิธีต่างๆ เช่น การฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี งานฉลองเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปใน พ.ศ.๒๔๔๐ เริ่มมีการปลูกต้นมะขามโดยรอบ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้สนามหลวงจัดการแสดง-พิธีในระดับชาติตามแบบมหานครในยุโรป และเริ่มการก่อสร้างถนนราชดำเนิน

สนามหลวงได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีรูปทรงเป็นวงรี มีต้นมะขามเป็นแนวรั้ว ครั้นในรัชสมัยในหลวง ร.๖ ทรงใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ใช้พื้นที่สนามหลวงเสด็จออกมหาสมาคมให้พสกนิกรชมพระบารมี

ตลอด ๒๐๐ ปีเศษที่ผ่านมา สนามหลวง เป็นพื้นที่ที่มีชีวิต มีพลวัต มีพัฒนาการ มีความหลากหลาย รับใช้ในทุกภารกิจและความต้องการ

สนามหลวงในอดีตเคยมีฝูงนกพิราบขนาดมหึมา เคยเป็นตลาดนัด มีนักมายากล มีงูเห่ากัดกับพังพอน ขายพระเครื่องทุกรุ่น ขายยาสารพัดโรค มีของเก๊ ของจริง มีหาบเร่แผงลอย มีคนนอนค้างคืน มีขอทาน แถมบริเวณชายคลองมีร้านขายหนังสือเก่า ยาแผนโบราณ สมุนไพร แขกอินเดียเป่าปี่เรียกงูเห่าออกมาจากหม้อดิน

สนามหลวงมีและเป็นทุกอย่างที่ใจปรารถนา

ณ บริเวณใกล้ๆ สนามหลวงตรงบริเวณเชิงสะพานผ่านพิภพลีลามีสิ่งก่อสร้างสวยงาม มีน้ำไหล ที่ผู้เขียนขอแถมประวัติที่มาที่ไปให้ทราบ ดังนี้ครับ

แต่เดิมเรียกศาลตรงนี้ว่า “อุทกทา” แต่ชื่อนี้เรียกยาก คนทั่วไปไม่คุ้น เลยเรียกกันว่า “แม่พระธรณีบีบมวยผม” ซึ่งเป็นรูปแม่พระธรณีบีบมวยผมอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ประดับลวดลายปูนปั้นสวยงาม สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ จากพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนีพระพันปีหลวงในสมัยในหลวง ร.๕ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ประชาชน มีพระราชประสงค์จะแจกจ่ายน้ำสะอาดให้แก่ประชาชนที่ยังไม่มีระบบประปาในกรุงเทพฯ

ในหลวง ร.๖ ได้พระราชทานคำแนะนำว่าควรทำเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบน้ำออกจากมวยผม และให้สร้างที่บริเวณเชิงสะพานผ่านพิภพลีลา สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงออกแบบเป็นรูปหล่อโลหะอยู่ในซุ้มเรือนแก้วฐานสูง โดยฐานล่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ประดับลวดลายปูนปั้นรูปกลีบบัว และให้น้ำไหลออกจากมวยผม ขนาดกะทัดรัดสวยงาม มีประชาชนมารับน้ำที่ไหลออกมาจากมวยผมเพื่อไปบริโภค บ้างก็มาขอพร

สมัยในหลวง ร.๗ สนามหลวงเป็นสถานที่จัดงานฉลองใหญ่กรุงเทพฯครบ ๑๕๐ ปี และใช้เป็นสถานที่พระราชทานธงชัยเฉลิมพลแก่หน่วยทหาร

ในหลวง ร.๘ เสด็จฯตรวจพลสวนสนามของทหารสหประชาชาติที่สนามหลวงโดยมี ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตอร์น (Lord Louis Mountbatten) ของอังกฤษร่วมพิธีหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง

“เราจะไม่พรากจากกันคือ ความรัก ระหว่างต้นมะขามและสนามหลวง”

ขอย้อนไป พ.ศ.๒๔๔๔ เมื่อคราวในหลวง ร.๕ เสด็จประพาสเกาะชวา (อินโดนีเซีย) เป็นครั้งที่ ๓ ซึ่งในช่วงเวลานั้น ฮอลันดาปกครองชวาเป็นอาณานิคมยาวนาน ชวาเป็นประเทศในภูมิภาคนี้ที่เจริญก้าวหน้าเหมือนเมืองใหญ่ในยุโรปโดยเฉพาะเรื่องผังเมือง บริเวณหน้าพระราชวังสุลต่านเจ้าผู้ครองเมือง มีสนามหญ้าเป็นลานขนาดใหญ่คล้าย สนามหลวง ในหลวง ร.๕ โปรดบรรยากาศสนามหญ้าที่มีต้นไม้รายรอบ ดูสวยงามเรียบร้อย เลยนำแบบอย่างมาปรับปรุงสนามหลวง พระองค์ฯ ขอให้ชาวชวาที่ชำนาญการตกแต่งและปลูกต้นไม้จากชวาเดินทางมาจัดและตกแต่งต้นไม้ในพระบรมมหาราชวังที่กรุงเทพฯ เมื่อเสด็จกลับมาถึงโปรดฯ ให้ปลูกต้นมะขามรอบสนามหลวง เนื่องจากเป็นไม้ใหญ่ คงทนถาวรและมีชื่อ มะขาม เพราะเป็นชื่อที่เป็นสิริมงคล

ในสมัยในหลวง ร.๕ ทรงให้ปลูกไว้รอบสนามหลวงจำนวน ๓๖๕ ต้น และต่อมาปลูกเพิ่มเติมอีกในหลายโอกาสเป็น ๗๐๘ ต้น

ท้องสนามหลวงเคยใช้เป็นสถานที่สำหรับการปราศรัยใหญ่ในการหาเสียงเลือกตั้งตลอดมา เป็นพื้นที่ชุมนุมทางการเมืองทุกยุคทุกสมัย ใน พ.ศ.๒๔๙๑ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก สนามหลวงจึงแปรสภาพเป็นตลาดนัดที่ผูกพันกับคนไทยยาวนาน ๓๓ ปีจนได้ชื่อว่า ตลาดนัดท้องสนามหลวง และย้ายออกไปยังสวนจตุจักร ในปี พ.ศ.๒๕๒๔

สนามหลวงเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเป็นศูนย์รวมจิตใจเป็นจุดกำเนิดความคิด ศิลปวิทยาการ มีมนต์ขลัง และเสน่ห์ตลอดกาล กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๔ ตอนที่ ๑๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๐ มีเนื้อที่ ๗๔ ไร่ ๖๓ ตารางวา
....ที่มา : มติชนออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤษภาคม 2560 15:14:10 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 27 มกราคม 2560 14:32:05 »




Gladiator สู้กันดุเดือด เลือดท่วมสนาม ตามใจคนดู

คนที่ถูกเรียกว่า กลาดิเอเตอร์ (Gladiator) คือ พวกทาสที่ชีวิตบัดซบไร้ค่า ทาสในยุคโรมัน เป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าเยี่ยงสัตว์ พวกมันจะต้องมาประลองฝีมือดาบ มาต่อสู้กันด้วยอาวุธทุกชนิดจนแพ้-ชนะ หรือต้องตายในเวที ให้ชาวโรมันจ้องดูเพื่อความบันเทิง หรือการนำนักโทษที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดมาเป็นคู่ต่อสู้กัน สู้กับสัตว์ร้ายในสนามกีฬา เพื่อความสุขสันต์หรรษา ทั้งในงานมงคลและอวมงคล ตำนานโหดของกลาดิเอเตอร์ในอดีตเคยถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โกยเงินมหาศาลทั่วโลกมาแล้ว

พวกโรมันรับอารยธรรมการต่อสู้นี้มาจากชนเผ่าอิทรัสคัน ต่อมาปรับปรุง เสริมเขี้ยวเล็บให้การแสดงของกลาดิเอเตอร์มีความดุดัน มันส์มากยิ่งขึ้น มีการจำแนกทาสนักสู้ออกเป็นประเภทต่างๆ เหมือนแบ่งประเภทนักมวยตามน้ำหนัก นักสู้เหล่านี้มิได้เป็นทาสที่โดนล่ามโซ่ทุกคน บางคนเป็นประชาชนที่ก่ออาชญากรรมมาก่อน บางคนก็เป็นนักเผชิญโชคเดนตายอิสระที่หิวเงินรางวัล บางคนมีภูมิหลังเป็นนักรบ อดีตทหารนักสู้บางคนก็มีอันจะกิน หรือเป็นบุคคลชั้นสูงที่ต้องการพิสูจน์ความกล้าหาญให้ผู้คนนับถือ

การต่อสู้ประลองฝีมือแบบอยู่หรือตายในยุคจักรวรรดิโรมัน มีคนนับหมื่นส่งเสียงช่วยเชียร์ ช่วยสาปแช่ง ส่งสัญญาณให้ไว้ชีวิต หรือให้ฆ่าทิ้งในสนาม

เรื่องของนักสู้ กลาดิเอเตอร์ ถูกเล่าขานต่อกันมาว่า ในงานศพของคนชั้นสูงในจักรวรรดิโรมัน เจ้าภาพจะจัดให้มีการแสดงชุดเล็กๆ เพื่อเป็นการเคารพต่อผู้ตาย โดยจะนำทาสหรือนักโทษมาต่อสู้กันโดยเชื่อว่าเลือดที่ปรากฏจะเป็นการทำให้วิญญาณของผู้ตายมีความบริสุทธิ์ ต่อมาการแสดงขยายวงกว้างออกไป ในสมัย จูเลียส ซีซาร์ มีการนำนักสู้นับร้อยมาต่อสู้กันในงานศพของบิดาและลูกสาวของตน ประชาชนทั้งหลายชื่นชอบและกลายมาเป็นความบันเทิงที่จัดให้มีอย่างต่อเนื่องที่เป็นธุรกิจทำเงินจั๋งหนับและยังครองใจประชาชนได้อีกด้วย



กลาดิเอเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นทาสมีเจ้าของ และเชลยสงครามโทษประหารชีวิต จักรพรรดิจะนำมาต่อสู้กันเอง โดยบางแมตช์มีกลาดิเอเตอร์คนหนึ่งถืออาวุธ ไปต่อสู้กับอีกคนที่ไม่มีอาวุธ และหลายเกมที่จบลง ฝ่ายที่พ่ายแพ้จะถูกคู่ต่อสู้สังหารทิ้ง จากนั้นฝ่ายผู้ชนะก็จะต้องไปต่อสู้กับกลาดิเอเตอร์คนต่อไป สู้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าไม่เหลือคู่ต่อสู้อีก จึงจะได้ชื่อว่านักสู้ยอดฝีมือเพียงคนเดียว รางวัลที่ได้อาจจะเป็นอิสรภาพจากนายทาส

ผู้เขียนไปค้นข้อมูลจาก history.com ถอดความมาได้ว่า การต่อสู้ในสังเวียนที่มีคนดูคอยเชียร์กระหึ่มนั้นไม่จำเป็นต้องต่อสู้จนตายเสมอไป กลาดิเอเตอร์จะสู้กันโดยมีกฎกติกาชัดเจน แน่นอนที่สุดจะต้องเป็นการเดิมพันชีวิตของชาย ๒ คน มีบ่อยครั้งที่การต่อสู้ไม่ดุเดือดเลือดพล่านพอ คนดูเบื่อหน่ายโห่ไล่ กรรมการก็จะไล่นักสู้ออกจากสนามไป

แต่ถ้าสู้กันด้วยหอก ดาบ แหลนหลาวไปพักใหญ่แบบดุเดือดเลือดพุ่ง ทำคนดูสนุกถึงพริกถึงขิงแล้วกินกันไม่ลง ในกรณีนี้กรรมการอาจจะยุติการต่อสู้ ชูมือกลาดิเอเตอร์ทั้งสองให้ได้รับการยกย่องจากคนดูก็เคยปรากฏในประวัติศาสตร์มาแล้ว นักสู้เหล่านี้ถ้ามีสังกัดมีเจ้านายดูแล มีที่พัก มีสถานที่ฝึกซ้อมอาวุธ กลาดิเอเตอร์คนนั้นจะมีต้นทุนค่าตัวสูงมาก นักสู้ที่แข็งแรงที่สุดจะมีอายุราว ๒๐ ต้นๆ และจะมีอายุสั้น

ความสะใจ ขนาดออกัสซั่มของคนดูชาวโรมันจะมาถึงต่อเมื่อนักสู้บาดเจ็บหรือโยนอาวุธทิ้งเพื่อยอมแพ้ ตามกฎกติกาของโรมันจะให้ผู้เป็นใหญ่ในโคลอสเซียม เป็นผู้ตัดสินว่าจะให้อยู่หรือตาย แต่ในทางปฏิบัติก็จะให้คนดูนับหมื่นตะโกนส่งเสียง “ฆ่ามัน” หรือ “ปล่อยมันไป” หรืออาจใช้ชูหัวแม่มือชี้ขึ้นแปลว่า “ปล่อยไป” และหัวแม่มือชี้ลงดินแปลว่า “จัดการได้” คนดูบางคนก็ใช้การโบกผ้าเช็ดหน้าเพื่อขอชีวิต

หากคนดู ร้องตะโกน “ฆ่ามัน” นักสู้จะใช้ดาบแทงลงไปที่หัวใจของคู่ต่อสู้ ถือเป็นอันจบการต่อสู้

เมื่อมีการต่อสู้ของกลาดิเอเตอร์ ก็ต้องมี โคลอสเซียม เป็นสนามประลองนองเลือด




โคลอสเซียม (Colosseum หรือ Coliseum) ก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ.๗๒ ในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียน (Vespasian) กษัตริย์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฟลาเวียน (Flavian) เรียกกันว่า Flavian Amphitheatre เป็นอาคารสนามกีฬารูปวงกลมรี (Oval) สถานที่ก่อสร้างเป็นบริเวณที่ลุ่มระหว่าง ๔ เนินเขาเดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของพระราชวังของจักรพรรดิเนโร (Nero) ต่อมาจักรพรรดิเนโรได้สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ.๖๘ เกิดการชิงพระราชบัลลังก์อยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งจักรพรรดิเวสปาเซียนทรงได้รับชัยชนะและขึ้นครองราชย์พระองค์มีความประสงค์จะเรียกความนิยมจากชาวโรมัน จึงสั่งรื้อพระราชวังเดิมของจักรพรรดิเนโรออก แล้วสร้างเป็นสนามกีฬาเรียกว่า โคลอสเซียม เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมการแสดงและการแข่งขันกีฬาทุกประเภทในยุคนั้น

โคลอสเซียมเป็นสิ่งก่อสร้างอัจฉริยะด้านการออกแบบสามารถบรรจุผู้ชมได้ราว ๕๐,๐๐๐ คน ใช้เวลาก่อสร้างราว ๑๐ ปีเป็นสนามกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยุคโบราณ อย่างที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน คนดูเข้าและออกจากสนามกีฬาแห่งนี้ได้แบบคล่องตัว กระจายกันเข้า-ออกได้อย่างรวดเร็ว มีห้องใต้ดินขนาดใหญ่สำหรับขังหรือนำนักสู้หรือสัตว์ร้ายโผล่ขึ้นมาจากใต้สนาม ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ทำเงินมหาศาลของอิตาลี

มาจนถึงปัจจุบัน โคลอสเซียมมีอายุเกือบ ๒,๐๐๐ ปีแล้ว

นักสู้สนามนองเลือดที่ประสบความสำเร็จ ปราบเรียบ จะเป็นฮีโร่ของชาวโรมัน เวลาไปไหนมาไหนจะมีคนต้อนรับชื่นชม โดยเฉพาะสาวโรมันที่ใฝ่ฝันจะนำกิ๊บติดผม เครื่องประดับที่เป็นอัญมณีของเธอไปจุ่ม ไปแตะที่หยดเลือดของกลาดิเอเตอร์ผู้ชนะ แล้วกลัดติดกับผมของเธอ เพื่อเป็นการยกย่อง

จะว่าไปแล้ว กลาดิเตอร์ในสมัยโรมันคงมีสถานะในสังคมเฉกเช่นนักกีฬาอาชีพในโลกยุคปัจจุบัน เก่ง หล่อ สวย และร่ำรวย ที่ห้องนอนในโรงแรมที่นักกีฬาขวัญใจคนเก่งเข้าพักและเมื่อออกไปแล้ว ยังมีสาวๆ ขอเข้าไปเกลือกกลิ้ง เปลือยกายเพื่อสูดดมคราบกลิ่นกายของคนเก่งในดวงใจ

เพื่อให้การต่อสู้ของกลาดิเอเตอร์มีสีสันเขย่าเร้าใจ ชาวโรมันแบ่งการต่อสู้ออกเป็นประเภท เช่น แบบที่ให้นักสู้ใส่หมวกที่ปิดสนิทสู้กันด้วยอาวุธ มองไม่เห็นแล้วสู้กัน หรือจะให้สู้กับสัตว์ร้าย เช่น เสือ สิงโต ซึ่งกลาดิเอเตอร์พวกนี้ก็จะสวมเกราะเพียงเล็กน้อย หรือประเภททาสนักสู้อาวุธหนัก โดยนักสู้จะสวมหมวกเหล็กใบใหญ่แบบทหารหรือโรมันในมือถือโล่ และที่มันหยดอีกประเภท คือ การต่อสู้โดยกลาดิเอเตอร์ทั้งคู่จะใช้ตาข่าย และหอกแหลมสามง่ามสู้กันแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน

ที่ฮิตกรี๊ดสลบคือ ทาสกลาดิเอเตอร์นักสู้ ที่สู้กันบนหลังม้า โดยกลาดิเอเตอร์ ๒ คนจะขี่ม้าเข้ามาในสนามคนละมุมแล้วสู้ด้วยอาวุธยาว สั้น บนหลังม้า และที่โดนใจแบบนั่งไม่ติดคือ การต่อสู้ของทาสที่รบกันบนรถม้าแบบภาพยนตร์เรื่องเบนเฮอร์ (Ben Hur)

การต่อสู้ของกลาดิเอเตอร์เป็นสิ่งที่ชาวโรมันชื่นชอบ คลั่งไคล้จนทำให้มีปรากฏสนามประลองนองเลือดแทบทั่วมณฑลในจักรวรรดิโรมัน

ในเวลาต่อมาจึงมีการเปลี่ยนเกมกติกาใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อความสนุกเร้าใจมากกว่าเดิม เมื่อพระจักรพรรดิโรมันได้อนุญาตให้คนธรรมดาหรือทาส ที่อยากได้ยศถาบรรดาศักดิ์และอิสรภาพในสังคม ได้ประลองต่อสู้กับทหารยอดฝีมือของพระองค์

ความบันเทิง รื่นเริงใจอีกประเภทที่ชาวโรมันโปรดปราน คือ การล่าสัตว์เป็นเกมส์กีฬา โคลอสเซียมเคยถูกใช้เป็นสถานที่เพื่อให้ประลองฝีมือความเก่งของคนในการล่าสัตว์ที่ดุร้ายต่อหน้าคนดู

ความบันเทิงอีกหนึ่งรูปแบบ ที่พลาดไม่ได้สำหรับชาวโรมัน คือ การนำอาชญากรที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดเข้าไปสู้กับสัตว์ร้าย เช่น เสือ สิงโต หมาป่า ที่กำลังหิวโหย และแมตช์ที่ร้อนแรงสุดพิเศษสำหรับชาวโรมันคือ การนำนักโทษจำนวนมากเข้าไปในสนามแล้วให้ต่อสู้กันเองจนเสียชีวิตทั้งหมด

ตามบันทึกในอดีตระบุว่าจักรพรรดิโรมันทราบดีว่าการครองใจประชาชนโรมันที่ได้ผลที่สุด คือการจัดให้มีการต่อสู้ของ กลาดิเอเตอร์ในโคลอสเซียมและต้องไปชมร่วมกับประชาชนเพื่อช่วยตัดสิน แต่กระนั้นยังมีจักรพรรดิโรมัน ๓ พระองค์เคยลงไปต่อสู้ในสังเวียนเลือดด้วย คือคาลิกูลา ติตัส และเฮเดรียน และที่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ดังทะลุโลก คือ จักรพรรดิคอมโมดุส (Commodus) ที่เคยลงไปสู้กับเสือต่อหน้าประชาชน แถมยังนึกสนุกเคยลงไปประลองกับนักสู้ในสนามแห่งนี้ด้วยตัวเอง

กลาดิเอเตอร์ ชื่อดังเป็นภาพยนตร์ครองใจคนดูทั่วโลก ชื่อ สปาร์ตาคัส รูปหล่อ กล้ามใหญ่ ใจเด็ดเป็นหนึ่งในตำนานของกลาดิเอเตอร์ด้วยครับ

มีสนามกีฬาสำหรับกลาดิเอเตอร์ในยุคจักรวรรดิโรมัน ๑๘๖ สนาม คาดว่ามีกลาดิเอเตอร์เสียชีวิตในการแสดงเพื่อความบันเทิงในยุคนั้นราว ๕ หมื่นคน

นี่คือตำนานความบันเทิงของมนุษย์ที่หาได้ในจักรวรรดิโรมันเมื่อราว ๒ พันปีที่แล้วครับ


ภาพเก่าเล่าตำนาน : Gladiator สู้กันดุเดือด เลือดท่วมสนาม ตามใจคนดู : โดย พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก, หนังสือพิมพ์มติชน





สุดหรรษา… หาเรื่องใส่ตัว…ลงไปวิ่งให้วัวขวิด

ชีวิตของชาวสเปน ดูเหมือนจะคลุกเคล้านัวเนียเป็นคู่รักคู่แค้นกับวัวกระทิงมาทุกภพทุกชาติ วัวกระทิงทั้งหลายที่เกิดในสเปนก็ไม่รู้ว่าไปทำกรรมอะไรไว้ในชาติปางก่อนที่จะต้องมาชดใช้กรรม สร้างเวรวิ่งไล่ขวิดกับชาวสเปนและต้องโดนสังหารแบบไม่รู้จบ

ชาวโลกรู้จักสเปนในนามของ เมืองกระทิงดุ เทศกาลวิ่งหนีวัวกระทิง (Running of the Bulls) ที่เมืองปัมโปลนา (Pamplona) ต่อเนื่องด้วยการสู้วัวกระทิงในสนามกีฬา เป็นการแสดง เป็นกีฬา เป็นประเพณี เป็นเทศกาลที่เรียกแขกจากทั่วโลกให้มาเยือน เป็นเทศกาลที่เชิดหน้าชูตาประเทศสเปนยิ่งนัก

ภาพเก่า..เล่าตำนาน ตอนนี้ขอนำเสนอตำนานความสะใจไร้กังวลของชีวิตชาวสเปน ในเทศกาลวิ่งหนีวัวกระทิง ที่สนุกแบบหลุดโลกและอันตรายถึงชีวิต

ผู้เขียนขออารัมภบทถึงวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชาวสเปนที่น่ารักสักเล็กน้อยนะครับ

ในศตวรรษที่ ๑๖ ถึง ศตวรรษที่ ๑๘ สเปนเป็นประเทศมหาอำนาจที่เกรียงไกรหนึ่งเดียวในยุโรป สเปนมีกองเรือรบขนาดมหึมา สเปนเป็นชนชาติที่ออกเรือสำรวจโลกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีเรือสินค้าที่เดินทางไปได้เกือบรอบโลก เคยแล่นเรือมาถึงอยุธยาติดต่อค้าขายในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปี พ.ศ.๒๐๓๕ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวสเปน ยอดนักสำรวจของโลกแล่นเรือไปพบทวีปอเมริกา ยึดเอาดินแดนในทวีปอเมริกา ในเอเชียสเปนยึดครองฟิลิปปินส์ เป็นเจ้าอาณานิคมที่ไม่เป็นสองรองใคร จักรพรรดิสเปนเรืองอำนาจอยู่ราว ๓๐๐ ปี

ชาวสเปนถูกจัดอันดับว่าเป็นชนชาติที่มีความโรแมนติกระดับต้นๆ เป็นนักรัก เป็นชนชาติที่มีหน้าตาผสมผสานลักษณะชาวไอบีเรียกับฝรั่งยุโรปและแขกอาหรับรวมไว้ด้วยกัน ผมสีน้ำตาล ใบหน้าคมเข้ม นัยน์ตาวาวหวาน ผู้ชายหล่อหนักมาก ผู้หญิงสวยบาดใจ ภาษาสเปนฟังแล้วเสนาะหู สาวๆ สเปนมีลีลาการเต้นรำส่ายสะโพกได้ร้อนแรงสุดเซ็กซี่ที่เรียกว่าระบำฟลามิงโก

ชาวสเปนใช้ชีวิตสนุกสนาน ชอบเฮฮาปาร์ตี้ ไม่รีบร้อน ชอบพูด ชอบคุย ชอบใช้ชีวิตนอกบ้าน กิน ดื่ม เที่ยว เล่น ร้องรำทำเพลง เล่นดนตรีเก่ง จะเริ่มทำงานระหว่าง   ๑๐.๐๐-๑๔.๐๐ น. แล้วทานกลางวันแบบกลัวอิ่ม เริ่มทำงานอีกครั้ง ๑๖.๐๐-๒๐.๐๐ น. ทานอาหารค่ำราว ๒๑.๐๐ น.

ท่านที่เคยไปเที่ยว เคยไปทำงาน หรือไปเรียนหนังสือในสเปน คงทราบดีนะครับ

ขอนำท่านผู้อ่านที่เคารพกลับมาที่เทศกาลวิ่งหนีวัวกระทิง





ในช่วงศตวรรษที่ ๑๓ โบราณกาลนานมาแล้วในเมืองปัมโปลนา (Pamplona) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสเปน เกษตรกรส่วนหนึ่งดำรงชีพโดยการต้อนฝูงวัวไปที่โรงฆ่าสัตว์ในเมือง การต้อนวัวกระทิงมาเป็นฝูงในระยะทางไกล จะต้องมีเทคนิคพิเศษ มีลูกล่อ ลูกชน ลงแส้ หลอกล่อ แต่วิธีการที่ได้ผลที่สุดคือ การที่คนวิ่งไปอยู่หน้าฝูงวัวกระทิง ยั่วให้มันโกรธและวิ่งไล่ตามมาเพื่อเร่งรัดให้วัวไปถึงที่หมายโดยเร็ว มันเป็นความสนุกของเด็กๆ ในชนบทที่หาได้ไม่ยากนัก

ต่อมาการต้อนฝูงวัวโดยการให้คนวิ่งไปล่อข้างหน้า กลายเป็นการแข่งขันกันว่าฝูงวัวของใครจะไปถึงที่หมายได้เร็วกว่ากัน เป็นความสุขใจจากการทำงาน เรียกเสียงเฮฮาจากผู้คน ประการสำคัญ มันคือการโชว์ความกล้า และต้องการพิสูจน์ว่า ข้าคือพระเอกตัวจริงไม่กลัวกระทิงเว้ย

เมื่อการยั่วกระทิงให้โกรธ แต่วัวทำอันตรายไม่ได้ ขวิดไม่โดนตัวเป็นความสนุกและท้าทาย กิจกรรมเล่นกับวัวที่กำลังมีโมหะจริตขาดสติเลยพัฒนาการไปเป็นกีฬายอดฮิต และต้องมีคนเชียร์ ชาวสเปนเพิ่มสีสันความหวาดเสียวเข้าไป โดยให้คนล่อวัวแต่งตัวชุดสีขาวแต้มสีแดงอย่างหล่อที่เรียกว่า มาทาดอร์ (Matador)

ศตวรรษที่ ๑๘ คนสเปนหลงใหลกีฬาสู้วัวกระทิงจนกระทั่ง นายฟรานซิสโก โรเมโร (Francisco Romero) เปิดโรงเรียนสอนเด็กหนุ่มที่ต้องการมีอาชีพเป็นมาทาดอร์ที่จะต้องมีลีลาล่อวัวแบบ อ่อนช้อย เร้าใจ ปลอดภัย ในสังเวียนสู้วัว

การวิ่งล่อกระทิงเพื่อความสนุกของชาวสเปนถือกำเนิดครั้งแรก ที่เมืองปัมโปลนา ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ ในปีนั้นมีคนตายจากวัวขวิดถึง ๑๔ คน เลยเป็นประเพณีที่ต้องมาจัดในระหว่าง ๖-๑๔ กรกฎาคมของทุกปี และเพื่อรำลึกถึงสาธุคุณ เฟอร์มิน (Saint Fermin)

เออร์เนสท์ เฮมมิงเวย์ (Ernest Hemmingway) นักเขียน นักประพันธ์ระดับโลกได้มาพบเห็นประเพณีการวิ่งล่อวัวกระทิงและนำไปเขียนเป็นนวนิยายเรื่อง The Sun Also Rise เผยแพร่ในปี พ.ศ.๒๔๖๙

เทศกาลวิ่งหนีวัวกระทิงเลยดังระเบิด ตั้งแต่นั้นมาเลยทำให้สังคมโลกหันมาสนใจมาท่องเที่ยว มาขอร่วมเสี่ยงชีวิตกับเทศกาลนี้ในสเปน

กติกาง่ายๆ คือ ๘ โมงเช้าผู้เข้าร่วมความเสียวสยองนับร้อยจะต้องไปคอยที่หน้าคอกวัว แต่งกายด้วยชุดสีขาว และพันผ้าพันคอสีแดง เจ้าหน้าที่จะปล่อยวัวกระทิง ๖ ตัวจากคอกวัวให้วิ่งไปตามถนนในเมืองซึ่งเป็นเส้นทางแคบๆ ระยะทางราว ๘๕๐ เมตร เหล่าผู้กล้าทั้งหลายจะต้องวิ่งไปข้างหน้าฝูงวัวกระทิงกันอย่างอลหม่านเพื่อเอาชีวิตรอด ในช่วงนี้จะใช้เวลาราว ๒ นาที ๓๐ วินาที วัวแต่ละตัวหนักประมาณครึ่งตัน มีเขาแข็งแรงคมกริบ วิ่งปรี่ออกมาจากคอกปานพายุหมุน เสียงกีบที่เท้าวัวทั้งฝูงจะกระทบพื้นถนนเป็นเสียงกึกก้องปานสายฟ้าฟาดระคนกับเสียงกรีดร้องของคนวิ่งและคนดู เมื่อไปสุดถนนแล้วฝูงวัวนี้จะถูกต้อนเข้าสู่สนามสู้วัวกระทิงของเมือง จะมีมาทาดอร์ (Matador) รูปหล่อยืนโบกผ้าแดงและดาบรอต่อสู้กับวัวกระทิงและพวกมันต้องถูกฆ่าตายภายในสนามสู้แห่งนี้ในช่วงบ่าย

สารอะดรีนาลีน (Adrenaline) จะหลั่งออกมาแล้วสูบฉีดไปทั่วร่างของผู้วิ่งอยู่หน้าวัว และจะยิ่งหวีดหวิวเมื่อใครคนนั้นวิ่งอยู่หน้ากระทิงในระยะประชิด มีเขาวัวที่แหลมคมจ่อในระยะเผาขน วัวกระทิงไม่เคยเลือกปฏิบัติกับใคร ขวิดโดนตรงไหนต้องได้เลือด

ความระห่ำของคนที่ยอมเสี่ยงตาย เป็นที่ยอมรับกันของทุกฝ่าย มีการจัดเทศกาลนี้ต่อเนื่องกันมานานตั้งแต่อดีตยาวนานราว ๔๐๐ ปี ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตระหว่างการวิ่งหนีวัว ส่วนใหญ่จะขาพันกัน สะดุด ชนกันเอง บ้างถูกวัวเหยียบ หรือถูกกระทิงขวิดล้มแล้วลากไปขวิดต่อด้วยความมันเขี้ยวมันเขา ผู้กล้าบ้าบิ่นเหล่านี้ไม่ได้มีแค่ชาวสเปนเท่านั้น แต่เป็นนักท่องเที่ยวผจญภัยจากรอบโลกมาขอเสี่ยง

เมืองปัมโปลนา มีประชากรราว ๒๐๐,๐๐๐ คน ในแต่ละปีมีผู้คนจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศมาร่วมวิ่ง มาชม มาเชียร์ ทำเงินรายได้จากนักท่องเที่ยวมหาศาลทุกปี

การบาดเจ็บโดยมากจะเกิดขึ้นจากโดนเขากระทิงแทงเข้าที่ลำตัว ทั้งนี้ จะมีทีมแพทย์คอยช่วยชีวิตคู่ขนานกันไปในระหว่างความมันสุดขีด ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของความสมัครใจของคนกล้า ที่ต้องการความเสียวซ่านทั่วสรรพางค์กาย

ความบันเทิงไร้ขีดจำกัดจากการวิ่งหนีวัวดุ มีข้อกำหนดแบบหลวมๆ เช่น ผู้ที่เข้าร่วมจะต้องมีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ห้ามถือของในมือเพราะจะไม่สะดวกในการวิ่ง จะต้องสวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม ห้ามวิ่งตามหลังวัวกระทิง หรือกระทำการใดๆ ให้วัวกระทิงหยุดวิ่ง

นี่คือกติกาที่ชาวสเปนกำหนดขึ้นมากันเอง เล่นกันเอง เจ็บ ตายกันเอง โดยไม่มีใครบังคับ สนุกกันมายาวนานราว ๔๐๐ ปี ทุกๆ ปีจะมีคนตายคนเจ็บจำนวนมาก แต่ก็หยุดไม่ได้เพราะหัวใจมันเรียกร้อง


ภาพเก่า…เล่าตำนาน : สุดหรรษา… หาเรื่องใส่ตัว…ลงไปวิ่งให้วัวขวิด : โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก, หนังสือพิมพ์มติชน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤษภาคม 2560 15:16:58 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 27 มกราคม 2560 16:04:32 »



สิบโทโทน บินดี นายสิบนักบินคนแรกของสยาม (๑)

เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๓ ชาวเบลเยียมขับเครื่องบินแบบอ็องรีฟาร์มัง มาลงที่สนามราชกรีฑาสโมสร หรือสนามม้าสระปทุมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สยาม ต่อมาในหลวง ร.๖ โปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือกนายทหารบก ๓ นาย คือ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และ ร้อยโททิพย์ เกตุทัต ไปเรียนวิชาการบินในประเทศฝรั่งเศส นายทหารบกทั้ง ๓ ท่านนี้ออกเดินทางใน ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๔ และในเวลาเดียวกันกระทรวงกลาโหมก็สั่งซื้อเครื่องบินแบบนิเออปอร์ต (Nieuport) ปีกชั้นเดียว ๔ เครื่อง เครื่องแบบเบร์เกต์ (Brequet) ปีก ๒ ชั้น ๓ เครื่อง รวม ๗ เครื่อง และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) บริจาคเงินซื้ออีก ๑ เครื่อง รวมเป็น ๘ เครื่อง เมื่อสำเร็จการฝึกจากโรงเรียนการบินของฝรั่งเศส นายทหารนักบินทั้ง ๓ กลับมาถึงกรุงเทพฯ

๑๓ มกราคม ๒๔๕๖ ในหลวง ร.๖ เสด็จไปที่สนามบินในสนามม้าสระปทุม โปรดเกล้าฯ ให้นักบิน ๓ ท่านนี้บินถวายตัวโดยใช้เครื่องบินที่กลาโหมสั่งซื้อมา อันเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนักกลาโหมออกคำสั่งให้ย้ายสนามบินออกไปอยู่ทุ่งดอนเมือง ต่อมา ๘ มีนาคม ๒๔๕๗ การก่อสร้างอาคารโรงบินเสร็จ นักบินทั้ง ๓ ท่านขับเครื่องบินจากสนามม้าสระปทุมไปลงที่ดอนเมือง และ ๒๗ มีนาคม ๒๔๕๗ กลาโหมมีคำสั่งจัดตั้ง “กองบินทหารบก”

กองบินทหารบกเริ่มภารกิจฝึกนักบิน โดยรุ่นแรกคัดเลือกมาจากหน่วยทหารในกองทัพบก เพื่อเข้าฝึกบินชั้นประถม มีนายทหารที่ผ่านการทดสอบ ๘ นาย คือ ร.ท.เจริญ, ร.ต.เหม ยศธร, ร.ต.นพ เพ็ญกูล, ร.ต.ปลื้ม สุคนธสาร, ร.ต.สวาสดิ์, ร.ต.หนอม, ร.ต.ปิ่น มหาสมิติ และ ร.ต.จ่าง นิตินันท์ หากแต่มีนายทหารที่สำเร็จการศึกษาเพียง ๕ นาย

กองบินทหารบกยังขอโอนพลทหารจำนวน ๖๒ นาย ที่มีความรู้ ประสบการณ์งานช่างจากกองพลทหารบกที่ ๑ และกองพลทหารบกที่ ๒ เพื่อมาเป็นช่างเครื่องบินในขั้นตอนตั้งหน่วยใหม่




ย้อนไปปลายปี พ.ศ.๒๔๕๔ นายโทน ใยบัวเทศ ชาวนนทบุรี สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายสิบทหารบก เป็นสิบตรี เงินเดือน ๓๐ บาท เกิดนึกเบื่องานประจำ ประสงค์จะมีวิชาชีพติดตัวไปทำมาหากิน ต้องการไปหาความรู้ในกรมอากาศยาน ใฝ่ฝันอยากทำงานเกี่ยวกับเหล็ก เพื่อจะกลับไปตีเหล็กทำมีดขายตอนเกษียณราชการ

สิบตรีโทนรวบรวมความกล้าพร้อมเพื่อนอีก ๓ คน ชักชวนกันไปกราบพระยาเฉลิมอากาศ เพื่อขอย้ายไปเป็นช่างที่กรมอากาศยาน ที่สระปทุม (สนามม้าสระปทุม)

เจ้ากรมอากาศยานเมตตารับฟังนายสิบชั้นผู้น้อยด้วยความเมตตา แต่ลังเลใจพอสมควร เพราะทหารบกทั้ง ๔ คน ไม่เคยมีพื้นฐานงานทางช่างมาก่อน กรมอากาศยานจะรับเฉพาะคนที่ผ่านงานช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างเครื่องยนต์ มาก่อนเท่านั้น ประการสำคัญจะมีเบี้ยเลี้ยงเพียงเดือนละ ๗ บาท ๕๐ สตางค์เท่านั้น

นายสิบตรีทหารราบทั้ง ๔ คน ตกตะลึงกับจำนวนเบี้ยเลี้ยงที่ลดลงเมื่อเทียบกับเบี้ยเลี้ยงที่หน่วยเดิม ๓ คนกราบลาเจ้ากรมอากาศยาน

เหมือนชะตาฟ้าลิขิต สิบตรีโทนกัดฟันตอบรับ ตกลงกับท่านเจ้ากรม ขอย้ายมาทำงานกรมอากาศยานแต่ผู้เดียว



สิบตรีโทนย้ายเข้าไปกรมอากาศยาน ในขณะที่กลาโหมเพิ่งออกคำสั่งให้เคลื่อนย้ายกรมอากาศยานออกไปอยู่แถวดอนเมืองพอดี งานหลักที่หมู่โทนต้องทำคือคุมทหารปรับพื้นที่ท้องนา และทำรั้วทุ่งดอนเมือง ที่จะเป็นสนามบินแห่งแรกของสยาม

นายสิบชาวนนทบุรีคนนี้ทำงานกลางแจ้งอยู่ ๖ เดือน คุมพลทหารทำรั้วสนามบิน ไปผูกปิ่นโตกับร้านข้าวแกงเดือนละ ๗ บาท เหลือเงินไว้ซื้อใบจากและยาตั้งเดือนละ ๕๐ สตางค์ อดทนกับความยากลำบากทั้งปวงโดยไม่ปริปาก และไม่เคยติดต่อกับพ่อแม่ ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าจะกลับไปกราบบุพการีเมื่อลืมตาอ้าปากได้เท่านั้น

สวรรค์มีตา นับเป็นโชคดีของสิบตรีโทน เจ้าคุณเฉลิมอากาศเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีคุณธรรม เห็นความดีงาม ความซื่อสัตย์ของสิบตรีโทน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง จึงเมตตาให้สิบตรีโทนเข้าเรียนเป็นช่างเครื่องบิน พร้อมกับนายทหารสัญญาบัตร โดยมีพันตรีทะยานพิฆาต และพันโทพระยาเวหาสยานศิลปะสิทธิ์ เป็นครูประจำหลักสูตร

ความฝันที่จะมีความรู้ติดตัวออกไปเป็นช่างตีเหล็กของผู้หมู่โทน เริ่มใกล้ความจริงแล้ว และได้รับการเลื่อนยศเป็นสิบโท

กรมพระกำแพงเพ็ชรฯ เจ้าคุณเฉลิมฯ เจ้าคุณเวหาสฯ และเจ้าคุณทะยานฯ มาเป็นคณะกรรมการสอบไล่เมื่อกำลังพลจบหลักสูตรช่างเครื่องบินนาน ๖ เดือน ปรากฏว่าสิบโทโทน สอบไล่ได้เป็นลำดับที่ ๒ ในขณะที่นายทหารอีกหลายนายถูกลงโทษ

เจ้าคุณเฉลิมอากาศฯปรับเงินเดือนของสิบโทโทนขึ้นมาเป็น ๕ ตำลึงเกือบเท่ากับเงินเดือนตอนเป็นสิบโททหารราบ

สิบโทโทนมุ่งมั่นทำงานช่างเครื่องบินด้วยความรัก ต่อมากระทรวงกลาโหมออกคำสั่งให้นายทหารสัญญาบัตรที่เรียนจบหลักสูตรช่างเครื่องบิน ๕ นายคือ ร.ท.นพ เพ็ญกุล, ร.ท.ปลื้ม คชสาร, ร.ต.จ่าง นิตินนท์, ร.ท.เหม ยศธร และ ร.ต.ปิ่น มหาสมิติ เข้าไปเรียนในโรงเรียนการบิน เจ้าคุณเฉลิมอากาศท่านมีเมตตาให้โอกาสนายสิบที่มีคะแนนการศึกษาดีเยี่ยมคือสิบโทโทนเข้าร่วมฝึกเป็นนักบินในหลักสูตรนี้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ปกติที่นายสิบจะมาเรียนร่วมกับนายทหารสัญญาบัตร

กองบินทหารบกใช้เครื่องบินฝึกเพียง ๒ ลำ คือ แบบเบร์เกต์ (Brequet) ๕๐ แรงม้า และเครื่องแบบนิเออปอร์ต (Nieuport) ปีกชั้นเดียว อีก ๑ เครื่องผลัดกันขึ้นบิน ศิษย์การบินทั้ง ๖ นาย ช่วยกันเติมน้ำมัน เช็ดคราบน้ำมัน บินไปซ่อมไป ในการฝึกช่วงแรกครูจะให้นักบินฝึกบังคับเครื่องบินวิ่งไป-กลับบนทางวิ่งเท่านั้น เจ้าคุณทะยานพิฆาตจะตรวจสอบว่า ถ้าใครเร่งเครื่องเต็มที่ให้หางขนานกับพื้นดินได้อย่างนุ่มนวล ราบรื่นจึงจะอนุญาตให้บินขึ้นสู่อากาศ

ทุกครั้งที่จะอนุญาตให้ศิษย์การบินคนใดนำเครื่องบินขึ้นสู่อากาศได้ จะเป็นความตื่นเต้นของกำลังพลและครอบครัวที่จะต้องมาคอยดูกันแน่น สิบโทโทนบันทึกปูมชีวิตด้วยความน้อยใจว่า ตัวเองเป็นนายสิบเลยไม่ค่อยมีโอกาสได้ฝึกบินตามตาราง เพราะเกรงใจนายทหารสัญญาบัตรอีก ๕ นายที่ฝึกอยู่ด้วยกัน

เช้าวันหนึ่ง เจ้าคุณทะยานพิฆาตขอนำเครื่องนิเออปอร์ตขึ้นบินเองเพื่อทดสอบ เมื่อบินลงมาแล้วท่านสั่งให้สิบโทโทนขึ้นบินทดสอบฝีมือ โดยสั่งให้บินขึ้นสูง ๒๐๐ เมตร เลี้ยวซ้ายและนำเครื่องลง ผลปรากฏว่าสิบโทโทนบินตามสั่งได้อย่างนุ่มนวล และท่านออกปากต่อหน้ากำลังพลทุกคนที่ยืนดูว่าโทนบินได้ดีราวกับนักบินที่บินมาแล้ว ๑๐๐ ชั่วโมง

เจ้าคุณเฉลิมอากาศถอดเครื่องหมายปีกนกจากอินธนูของท่านส่งให้สิบโทโทน “หวังว่าโทนคงเป็นนักบินที่ดีคนหนึ่งของกองทัพ ฉันหวังเป็นอย่างมากว่า เอ็งจะเป็นผู้นำนายสิบทั้งหลายในเรื่องการบิน”

เจ้าคุณกล่าวให้พรอันเป็นมงคลชีวิตแก่สิบโทโทน

การกล่าวชมฝีมือการบินของสิบโทโทนของเจ้าคุณ ต่อหน้ากำลังพลทั้งหลาย เป็นนัยแอบแฝง เพื่อส่งสัญญาณให้ทุกคนทราบว่า เรื่องฝีมือการบินนั้น นายสิบก็บินได้ถ้ามีความตั้งใจฝึกฝน อดทนและไม่กลัวตาย (ในขณะนั้นมีกระแสความไม่พอใจที่ให้นายสิบมาเรียนบินพร้อมกับนายทหารสัญญาบัตร : ผู้เขียน )

สิบโทโทนเจียมเนื้อเจียมตัว จนผ่านการฝึกทั้งภาคอากาศและภาคพื้นดิน ในที่สุด กลาโหมอนุมัติให้เข้าเป็นศิษย์การบินมัธยมหมายเลข ๖ ได้เครื่องหมายปีกนกติดอินธนู ได้เงินเพิ่มอีกเดือนละ ๒๐ บาท รวมเป็นเงินเดือนทั้งสิ้น ๔๐ บาท

สิบโทโทนพร้อมที่จะกลับบ้านไปกราบพ่อแม่ ตามที่สัญญาไว้กับตัวเอง หายจากบ้านไป ๒ ปี เด็กหนุ่มคนนี้กลายเป็นศิษย์การบินของกองทัพไปแล้ว ญาติพี่น้องปลื้มใจสุดขีดแต่ก็แฝงด้วยความห่วงใย

โทนกลับไปฝึกบินต่อ โดยต้องทดสอบการบินเป็นรูปสามเหลี่ยม จากดอนเมืองไปนครปฐม แล้วบินต่อไปอยุธยา และบินกลับดอนเมือง ในระยะความสูง ๘๐๐ เมตร โดยมีเครื่องวัดความสูงแขวนคอไปด้วย สิบโทโทนสำเร็จการศึกษาบรรจุเป็นนักบินกองทัพบก

ผู้เขียนต้องกราบขอโทษท่านผู้อ่านที่จะต้องเปิดเผยวีรกรรมของสิบโทโทน ใยบัวเทศ ในตอนต่อไป ซึ่งบุคคลผู้นี้เป็นเสืออากาศที่ไปสำแดงฝีมือในฝรั่งเศส ที่คนไทยควรรู้จักอย่างยิ่งครับ





สิบโท โทน บินดี ไปแสดงฝีมือการบินในท้องฟ้าฝรั่งเศส (๒)

ความเดิมจากตอนที่แล้ว สิบตรี โทน ใยบัวเทศ นายสิบทหารราบ ผู้ใฝ่ฝันจะมีความรู้เป็นช่างตีเหล็กเพียงเพื่อจะไปทำมีดขายตอนแก่ ได้รับความเมตตาจากเจ้าคุณเฉลิมอากาศให้เข้าเรียนเป็นช่างเครื่องบิน ตอนจบสอบไล่ได้ที่ ๒ และท่านสนับสนุนให้สิบโท โทน เข้าไปฝึกต่อเป็น ศิษย์การบิน เพื่อเป็นนักบินรุ่นแรกของสยามประเทศ

นายทหารสัญญาบัตร ๕ นายและนายสิบ ๓ นายสำเร็จการฝึกเป็นนักบินกองทัพบกเป็นรุ่นแรกในประวัติศาสตร์สยาม ๔ เดือนต่อมา ไปบินถวายตัวต่อในหลวง ร.๖ ที่สนามบิน (สนามม้าสระปทุม) ซึ่งประกอบด้วย ร.ท.ปลื้ม สุคนธสาร ร.ต.นพ เพ็ญกูล ร.ต.ปิ่น มหาสมิติ ร.ต.จ่าง นิตินันท์ ร.ต.เหม ยศธร ส.ท.โทน บินดี ส.ท.เปลื้อง คล้ายเนตร และ ส.ท.เล็ก ทองจรัส

เมื่อในหลวง ร.๖ เสด็จพระราชดำเนินตรวจแถว เจ้าคุณเฉลิมอากาศตามเสด็จฯ แนะนำ ยศและชื่อนักบิน สิบโท โทน คือ ๑ ในบรรดานักบินรุ่นแรกที่ได้ถวายตัว นับเป็นมงคลชีวิตหาที่สุดมิได้ ที่ชะตาชีวิตให้เขามีบุญได้ถวายตัวต่อในหลวงในฐานะนักบิน

โชคชะตาช่างเกื้อกูลต่อชะตาชีวิตของนักบินสยาม ๘ คนแรก เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ ระเบิดขึ้นในยุโรปเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๗ ในหลวง ร.๖ เคยทรงใช้ชีวิตศึกษาในอังกฤษนาน ๙ ปี พระองค์เฝ้าติดตามสถานการณ์สงคราม เพราะตั้งพระทัยจะใช้จังหวะนี้ส่งทหารจากสยามไปร่วมรบ เพื่อจะขอบอกเลิกสัญญาทั้งหลายกับประเทศตะวันตก สยามวางตัวเป็นกลางเฝ้าดูสถานการณ์ราว ๓ ปี

เมื่อสถานการณ์เริ่มกระจ่างจนกระทั่ง ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ รัฐบาลสยามประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมัน

ในหลวง ร.๖ รับสั่งให้กลาโหมเปิดรับทหารอาสาสมัครที่จะไปร่วมสงครามในยุโรป มีการจัดหน่วยทหารขนส่ง หน่วยบิน และหน่วยพยาบาล

กองทหารอาสาสมัครของสยามที่ผ่านการคัดกรองแล้วจำนวน ๑,๒๘๔ นาย ฝึกยิงปืน ขับรถ ขับเครื่องบินอยู่แถวทุ่งดอนเมือง

กลางดึก ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ กองทหารอาสาขึ้นรถไฟจากดอนเมืองเข้ามากรุงเทพฯ ทำพิธีที่หน้ากระทรวงกลาโหม กราบอำลาพระแก้วมรกต แล้วเดินทางไปท่าราชวรดิฐ ลงเรือราชนาวีไทย ๓ ลำ มุ่งหน้าไปเกาะสีชัง ทหารหนุ่มจากสยามทั้งหมดย้ายไปลงเรือชื่อ “มิเตา” ของฝรั่งเศส มุ่งหน้าไปสิงคโปร์-โคลัมโบ-เอเดน-ปอร์ทเสด ไปขึ้นฝั่งที่เมืองมาร์แซลล์ของฝรั่งเศส

หน่วยบินจากสยามพักคอย จัดระเบียบอยู่ ๑๕ วัน หลังจากนั้นได้รับคำสั่งให้ไปเข้าฝึกบินปรับมาตรฐานในหน่วยบินของฝรั่งเศสที่ตำบลเอ็กซ์ ห่างจากชายฝั่งทะเลราว ๑๕ กม. ใช้เวลาฝึกกับครูการบินฝรั่งเศสราว ๑ เดือนร่วมกับศิษย์การบินของญี่ปุ่น โปรตุเกส นักบินจากสยามทั้งหมดสำเร็จตามหลักสูตรการบินของฝรั่งเศส

นักบินหนุ่มจากสยาม รวม ๘ นายและเพื่อนต่างชาติ ถูกส่งไปฝึกบินรบต่อที่โรงเรียนบินผาดโผนที่เมืองโป (Pau) บริเวณชายแดนฝรั่งเศส-สเปน

นายกิมหิน นักเรียนไทยที่ไปเรียนทางด้านศาสนาอยู่ที่ฝรั่งเศสถูกส่งมาเป็นล่ามประจำคณะของนักบินสยาม ที่นี่ฝึกบินด้วยเครื่องแบบนิเออร์ปอร์ต ๘๐ แรงม้า และเมื่อผ่านเกณฑ์ ครูฝึกจึงเริ่มให้บินผาดโผนด้วยการควงสว่าน (Spin Turn)

ผู้เขียนได้พูดคุยกับนายทหารนักบินในปัจจุบัน ได้ความรู้ว่า เครื่องบินในยุคนั้น มีเพียงเครื่องวัดความสูง ไม่มีอุปกรณ์ เครื่องมือที่จะช่วยนักบินตรวจสอบหรือเตือนภัย ต้องใช้สมาธิและความบ้าบิ่น เป็นหลัก

การบินแบบควงสว่านที่ครูการบินฝรั่งเศสให้ฝึก คือ การท้ามฤตยู ล้อเล่นกับความตาย ที่นักบินรบจะต้องปฏิบัติให้ได้





เช้าวันนั้น สิบโท โทน ก้าวออกไปหน้าแถว รับคำท้าครูฝึกนักบินฝรั่งเศส เพื่อขอ “ควงสว่าน” โดยเครื่องนิเออร์ปอร์ท ๑๓ ตารางเมตร ๘๐ แรงม้า เป็นคนแรก พร้อมกับหันมาพูดกับ ร.ท. ประเสริฐ ว่าหากพลาดพลั้งเสียชีวิต ให้นำกระดูกกลับเมืองไทยด้วย

สิบโท โทน นำเครื่องแบบนิเออร์ปอร์ตขึ้นสูงได้ ๒,๐๐๐ เมตร แล้ว ผ่อนกำลังเครื่องยนต์จนหมด ถีบขวาให้เครื่องบินพลิกคว่ำลง

นิเออร์ปอร์ทปักหัวหมุนเป็นเกลียวสว่านลงพื้นดินเหมือนใบไม้ร่วง เมื่อได้ระยะพอสมควร ครูฝึกสั่งให้โทน แก้อาการควงสว่าน เครื่องหยุดหมุนและเงยขึ้นตามเดิม สิบโทน ขนหัวลุก หัวใจสูบฉีดเลือดแรงปรี๊ดทั่วสรรพางกาย และนำเครื่องลงสู่พื้นได้อย่างปลอดภัย

เด็กหนุ่มจากนนทบุรี ฝันจะเป็นแค่ช่างตีเหล็ก กลายมาเป็นนักบินสยามคนแรกที่ไปบินผาดโผนในฝรั่งเศสสำเร็จ บรรดาทีมนักบินของสยามที่เฝ้าเอาใจช่วย ต่างกรูกันเข้าไปยินดีกับสิบโทโทน ซึ่งยังอกสั่นขวัญแขวน ใจเต้นระทึก พูดไม่ออก

“เราต้องทำตามที่ครูสอนทุกประการ ต้องกล้าเสี่ยงตาย ขณะที่ถีบขวาให้เครื่องบินพลิกคว่ำลง ถ้าลังเลใจกลัวตายอาจเป็นอันตรายได้ หรืออาจจะควงไม่สวย ลองกัดฟันยอมตายจริงๆ ไม่ปอดลอยแล้ว มันไม่ยากเย็นอะไรเลย “สิบโท โทน ระบายความดีใจอย่างออกหน้าออกตา หลังจาก “ควงสว่าน” บนท้องฟ้าเมืองน้ำหอมสำเร็จ

ผ่านไปหลายวัน ในที่สุดนักบินสยามทั้ง ๘ นายก็ผ่านหลักสูตรทั้งหมด บางคนก็ทำได้สวยงาม บางคนก็ทุลักทุเล บางคนบินขึ้นไปแล้วไม่ยอมควงลงมา

นักบินด้วยกันเอง จะทราบดีว่า คนบางคนเกิดมามีพรสวรรค์ที่จะบังคับเครื่องบินได้อย่างห้าวหาญและสวยงามในทุกลีลา ที่ฝรั่งจะใช้คำชมว่า Born to Fly สิบโท โทน คือ ๑ ในคนจำพวกนั้นที่โชคชะตานำพาเขามาไกลสุดขอบฟ้าตามที่ลูกผู้ชายเคยฝันไว้

หลักสูตรต่อไปคือ ฝึกการยิงจากอากาศ ยาน ที่โรงเรียนการใช้อาวุธตำบลบิสกาโร (Biscarrotte) นาน ๔๐ วัน เมื่อจบหลักสูตรแล้วนักบินสยามทั้ง ๘ นายได้รับอนุมัติให้เข้าไปพักผ่อนในมหานครปารีส กิน ดื่ม เที่ยวอย่างจุใจนาน ๑๕ วัน แล้วเก็บของย้ายไปฐานทัพอากาศเมือง นังซี (Nancy) เพื่อเตรียมเข้าสู่สนามรบ

นักมวยต้องชก นักบินรบจะต้องฝึกฝนการบิน ร.อ.ปูร์ปอง ผู้บังคับฝูงบินชาวฝรั่งเศสที่มีบุคลิกภาพบ้าบิ่น โลดโผน มักจะท้าทาย ทดสอบนักบินในฝูงให้ห้าวหาญไม่เว้นแต่ละวัน โดยเฉพาะการบินลอดสายไฟฟ้าตามถนนที่ สิบโท โทน ก็บ้าดีเดือด ไม่ยอมให้ฝรั่งดูแคลน

ในเวลาต่อมา ฝูงบินนี้ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนย้ายไปอยู่ที่เมืองเดรสนัก ในดินแดนเยอรมันซึ่งสัมพันธมิตรยึดครองไว้ได้ นักบินรบร้อนวิชาทั้งหลายดีใจสุดขีดที่จะได้ออกไปทำศึกในอากาศ หลังจากรอมานาน

เมื่อเดินทางไปถึง นักบินจากสยามได้ไปรายงานตัวกับจอมพล ฟ้อช (Field Marshal Foch) แม่ทัพใหญ่ฝ่ายสัมพันธมิตร

วันรุ่งขึ้นนักบินได้รับคำสั่งให้ไปรับกระสุนคนละ ๔๐๐ นัดแล้วบรรจุสำหรับปืนกลอากาศ ร.อ.ปูร์ปองสั่งขึ้นเครื่องแล้วส่งสัญญาณให้บินขึ้นตามไป โดยที่ไม่มีใครทราบว่าจะไปที่ไหน ทำอะไร โดยแบ่งเป็นหมู่ละ ๙ เครื่อง ๒ หมู่

บินไปสักพัก นักบินมองเห็นสะพานคอนกรีตยาวประมาณ ๗๐๐ เมตร ข้ามแม่น้ำไรน์อยู่ตรงหน้า ตัวสะพานกว้าง ๓๐ เมตร ใต้สะพานมีช่องตอม่อ ๑๒ ช่อง ผู้นำฝูงนำบินเป็นวงกลมแล้วจิกหัวลงต่ำให้สัญญาณซ้ำ “ตามข้าพเจ้า” ผู้บังคับฝูงเล่นเสียวนำเครื่องบินมุดลอดใต้สะพานช่องที่ ๖

ลูกหมู่ทั้งหลายที่ไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อน แต่ต้องทำตามคำสั่ง ต้องแสดงฝีมือบินลอดใต้สะพานเสี่ยงตายตามกันไป ทุกลำปลอดภัย บินวนอยู่พักใหญ่ นึกว่าจะบินกลับ ผู้ฝูงจอมเพี้ยนพาลูกหมู่บินลอดใต้สะพานซ้ำอีกเป็นรอบที่ ๒ เพื่อตอกย้ำความมั่นใจ ความห้าวหาญ

กลับถึงสนามบิน นักบินทุกคนลงจากเครื่องด้วยสีหน้าบึ้งตึงด้วยความเครียด ไม่มีใครพูดเล่นหยอกล้อ บางคนถอดหมวกเอามาเตะเล่นเพื่อระบายความกดดัน นักบินทุกคนเดือดดาลที่ผู้นำฝูง สติเฟื่องพาไปร้องท้ายมบาลเรียกหาความตาย

ตำนานชีวิตของนักบิน ๘ นายของสยามในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ยังมีสีสันที่ห้าวหาญ น่าภาคภูมิใจ ดีใจ และเศร้าใจ ที่ลูกหลานเหลน ต้องระลึกถึง โปรดติดตามตอนต่อไปครับ


ภาพเก่าเล่าตำนาน : สิบโทโทน บินดี นายสิบนักบินคนแรกของสยาม (๑), (๒) โดยพลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก, หนังสือพิมพ์มติชน




สิบโท โทน บินดี วีรบุรุษนักบินผู้อาภัพ (อวสาน)

๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๑ เยอรมันประกาศยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๑ นักบินรบจากสยาม ๘ นายที่ฝึกบินรบจนกล้าแกร่งในฝรั่งเศสถูกยกเลิกภารกิจ ถ้าเปรียบเหมือนนักมวย คือขึ้นเวทีไปแล้ว แต่ไม่ได้ชก กำลังทหารอาสาสมัครจากสยามบางส่วนได้รับคำสั่งให้เดินทางกลับมาตุภูมิ

กลุ่มชาติพันธมิตรที่ชนะสงครามโลกครั้งที่ ๑ ตระหนักถึง “ความเป็นหุ้นส่วนของสยาม” จึงให้เกียรติกองทหารสยามไปเดินสวนสนามพร้อมธงไชยเฉลิมพลใน ๓ เมืองหลวง คือ ปารีส ลอนดอน และบรัสเซล

ถือว่าเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ ลูก-หลาน-เหลนของทหารอาสาอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง ลองไปค้นหาภาพดูนะครับ

ระหว่างรอเดินทางกลับสยาม รัฐบาลสยามสั่งซื้อเครื่องบิน ๑๒ ลำ รวมทั้งเครื่องอะไหล่ เครื่องยนต์ โดยมอบให้ ร้อยโทชิด มัธยมจันทร์ เป็นผู้ประสานงาน จ่าโทนรับหน้าที่เป็น “นักบินลองเครื่อง” คือจำต้องนำเครื่องบินที่ประกอบขึ้นเสร็จใหม่ๆ ขึ้นบิน เพื่อทดสอบความสมบูรณ์ นี่ก็เป็นภารกิจที่เสี่ยงตาย ที่บรรดานักบินทราบกันดี

รัฐบาลสยามสั่งซื้อ เครื่องบินสปัด ใช้เครื่องยนต์ซุยซ่า ๒๒๐ แรงม้า เครื่องบินนิเออร์ปอร์ต ๑๓ ตารางเมตร และ ๑๕ ตารางเมตร เมื่อทดสอบผ่านแล้ว ร.ท.ชิตจะลงนามให้ทางการฝรั่งเศสถอดประกอบเครื่องบินและเครื่องยนต์ใส่หีบลงเรือกลับมาเมืองไทย

ตามสุภาษิต “ไปลา มาไหว้” นักบินรบของสยามไปอำลาจอมพล ฟ้อชรถไฟขบวนพิเศษนำทหารผ่านศึกของสยามออกจากปารีสไปเมืองมาแซลล์ ลงเรือเดินสมุทรใช้เวลา ๓๑ วันกลับถึงเกาะสีชัง กองทัพเรือสยามนำทหารผ่านศึกทั้งหมดมาขึ้นที่ราชวรดิษฐ มีพิธีต้อนรับมโหฬาร นักรบไทยที่ไปสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทั้งหมดเข้าไปทำพิธีในกระทรวงกลาโหม แล้วแยกย้ายกันกลับภูมิลำเนา

ตามข้อมูลของทางราชการระบุว่า ทหารอาสาของสยามในหน่วยบิน บรรดาช่างเครื่องทั้งหมดได้รับการฝึกจากฝรั่งเศส กลายเป็นช่างเครื่องบินจบจากนอกไปโดยปริยาย

หลังจากลาพักผ่อน ๑ เดือน จ่าโทน บินดี กลับไปทำงานที่ดอนเมือง ทำหน้าที่ประกอบเครื่องบินที่สั่งซื้อมาจากฝรั่งเศส

ผู้เขียนไปพบเรื่องที่ประหลาดนึกไม่ถึง และต้องนำมาเผยแพร่ต่อลูกหลานครับ

ในยุคสมัยนั้น หาคนที่จะสมัครเป็นนักบินยากมาก ทางราชการจึงมีนโยบายให้ใช้เครื่องบินโชว์ต่อประชาชน เพื่อให้คนสนใจกิจการบิน นายทหารและนายสิบที่เพิ่งกลับมาจากยุโรป จึงใช้การขึ้นบินจากสนามดอนเมืองในราวบ่าย ๔ โมงของทุกวัน เพื่อรอให้ขบวนรถไฟขบวนกรุงเทพฯ-พิษณุโลก มาผ่านช่วงดอนเมือง จ่าโทนและเพื่อนนายสิบจะนำเครื่องลงต่ำ บินขนานไปกับขบวนรถไฟ ตีลังกาบินท่าพลิกแพลงในอากาศ ให้ผู้โดยสารบนรถไฟส่งเสียงกรี๊ด

ผู้โดยสารบนรถไฟ เห็นเครื่องบินครั้งแรกในชีวิตจะตื่นตาตื่นใจ โบกไม้โบกมือกับนักบินจอมทะเล้น บ้างก็โบกผ้าส่งเสียงกันไปมาเอิ๊กอ๊าก สร้างมิตรไมตรีต่อกัน นักบินนายสิบทั้ง ๓ จ่าเปลื้อง จ่าเล็ก และจ่าโทน ปฏิบัติเช่นนี้แทบทุกวัน ชาวสยามเริ่มรู้จักเครื่องบิน เริ่มรู้ว่าคนไทยนี่แหละเหาะได้จริง ขับเครื่องบินตีลังกาได้ด้วย

อยู่มาวันหนึ่ง…จ่าเปลื้องต้องไปแสดงบินควงสว่านให้ทูตอเมริกันชม ขณะปักหัวลงมาเครื่องขัดข้องแก้ไขไม่ทัน โหม่งโลกแหลกละเอียด จ่าเปลื้องตายคาที่

ส่วนจ่าเล็กขณะฝึกศิษย์การบินในช่วงปล่อยเดี่ยว เครื่องบินจ่าเล็กโดนปีกของเครื่องบินลูกศิษย์กระแทกอย่างแรงขณะจะร่อนลง เครื่องของจ่าเล็กตกตายคาที่อีกเช่นกัน คงเหลือเพียงจ่าโทน

๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๒ สยามริเริ่มใช้อากาศยานบินส่งถุงเมล์ใส่จดหมาย จ่าโทนได้รับมอบภารกิจ ๑ ลำและของ ร.อ.ชิด รวดเร็วอีก ๑ ลำ ในการบินระหว่างกรุงเทพฯ – จันทบุรี เครื่องจ่าโทนไปขัดข้องต้องร่อนลงในทุ่งนาห่างสนามบิน ๒๐ กม. ชาวบ้านไปเรียกตำรวจให้มาคุมตัว กว่าจะรู้ว่าใครเป็นใครเกือบซวย แต่ก็จบลงแบบพระเอกหนังไทย คือ ชาวบ้านเอาเหล้ายาปลาปิ้งมาเลี้ยงกันเอิกเกริก ติดต่อช่างมาซ่อมเครื่องบินให้เรียบร้อย จ่าโทน ฯ ขอให้ชาวบ้านถากถางทุ่งนาพอเป็นทางวิ่งขึ้นได้ จ่าโทนนำเครื่องบินขึ้นไปส่งถุงเมล์ที่สนามบินพลอยแหวน จันทบุรี

วันต่อมา จ่าโทน และ ร.อ.ชิด รวดเร็ว นำเครื่องบินโชว์แบบเสียวจี๊ดโดนใจ ชาวเมืองจันท์รวบรวมเงินใส่ถุงให้ทหารนักบินคนเก่งเอาไปให้ทางราชการซื้อเครื่องบินเป็นเงิน ๙,๒๕๐.๗๒ บาท

จ่าโทนได้รับคำสั่งให้บินไปโชว์ที่โคราช ปรากฏว่ามีแถวทหารพร้อมวงดุริยางค์มาบรรเลงเพลงต้อนรับประชาชนแน่นขนัด

ดับเครื่องยนต์แล้ว ประชาชนจำนวนมหาศาลกรูกันเข้ามาขอจับมือ จ่าโทนพักหายเหนื่อยแล้ว ผู้บัญชาการทหารโคราช สั่งให้จ่าโทนขึ้นบินโชว์พี่น้องชาวอีสานที่รอคอยมาแสนนาน

จ่าโทนนำเครื่องนิเออร์ปอร์ตแหวกอากาศทะยานขึ้นบนฟ้า ชาวโคราชตะโกนเชียร์ก้องสนาม จ่าโทนบ้ายอ บินแสดงลวดลาย เหาะเหินเดินอากาศ หกคะเมนตีลังกาแบบ “ตายไม่ว่า ต้องการชื่อเสียง” ทำเอากองเชียร์ตีกลองยาว ฟ้อนรำ ไชโยโห่ฮิ้วกันสนั่นทุ่งโคราช

นักบินสยามบินได้จริงเหมือนพญาอินทรีเสร็จแล้ว เมื่อกลับลงมา ยังได้รับการขอร้องให้กล่าวโฆษณากิจการการบินของสยามให้กับประชาชน จ่าโทนกล่าวเสียงดังว่า

“ทหารสยามได้ไปร่วมในสงครามและฝึกบินจากฝรั่งเศส ฝรั่งบินได้อย่างไร จ่าโทนทำได้ทุกอย่าง หรืออาจจะทำได้ดีกว่าฝรั่ง ไม่ต้องกลัวฝรั่ง ตายเป็นตาย” จ่าโทนตะโกนสุดเสียงบอกชาวสยามที่ปรบมือเชียร์พระเอกตัวจริง เย็นวันนั้นเจ้าคุณรามผู้บัญชาการกองพลโคราชจัดเลี้ยงนักบินเอิกเกริก วันรุ่งขึ้นจ่าโทนบินกลับดอนเมือง

กิจการการบินของกองทัพเจริญขึ้นมาก สร้างฐานทัพอากาศแห่งที่ ๒ ในประจวบคีรีขันธ์ ใช้นักโทษไปหักล้างถางพง ปรับพื้นที่ จ่าโทนได้รับการเลื่อนยศเป็น “นายดาบ” แล้วได้รับคำสั่งให้ไปเป็นครูฝึกการยิงปืนบนอากาศและพื้นดิน และเป็นผู้ฝูงซ่อมเครื่องบิน

ในเวลานั้น กองอากาศยานที่ดอนเมืองประสบความสำเร็จในการสร้างเครื่องบินขึ้นเอง (ยกเว้นเครื่องยนต์ ) ใช้ไม้ทำใบพัด โลหะทุกชิ้นผลิต-เชื่อมต่อขึ้นเอง วัสดุที่นำมาขึงทำเป็นปีก ทำเองได้หมด ข้อบกพร่องทั้งปวงจะพบเมื่อนักบินนำเครื่องขึ้นบินไปแล้ว

“นักบินลองเครื่อง” มีชีวิตสุ่มเสี่ยงที่สุด จ่าโทนเดนตายประสบเหตุแทบเอาชีวิตไม่รอดนับครั้งไม่ถ้วน เช่น กรณีใบพัดแตกในอากาศ โลหะที่เชื่อมไว้หลุดออกจากกัน มีการสูญเสียนักบินจากการลองเครื่อง และข้อบกพร่องหลายราย ทำไป-เรียนรู้ไป-บินไป นับเป็นชีวิตและผลงานของบรรพบุรุษไทยในยุคบุกเบิกการบินที่น่าสรรเสริญ

๒๑ ธันวาคม ๒๔๖๔ จอมพลจอฟฟร์ (Joffre) ของฝรั่งเศสเดินทางมาสยามประเทศเพื่อขอบคุณรัฐบาลที่ส่งทหารไปช่วยทำศึก ในหลวง ร.๖
ทรงให้การต้อนรับ มีพิธีมอบเหรียญให้กับทหารผ่านศึกจ่าโทน คือ ๑ ในจำนวนนั้นครับ

ฝีมือการบินและจิตใจที่กล้าแกร่ง ทำให้โทนได้รับการเลื่อนยศเป็น ร้อยตรี ที่ยังใช้ชีวิต ใช้ลมหายใจไปกับการบิน จนกระทั่งเติบโตได้ยศ ร้อยเอก และในหลวง ร.๖ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสันทัดยนตกรรม ต่อมาได้รับคำสั่งให้ย้ายไปประจำที่ฐานบิน โคกกะเทียม ลพบุรีเพื่อสร้างสนามบินขึ้นใหม่ในพื้นที่ ๔ พันไร่

หมวดโทนคุมชาวบ้านราว ๗๐๐ คน หักล้างถางพงในพื้นที่ใช้เวลา ๔ เดือน ด้วยงบประมาณ ๙ หมื่นบาท นับเป็นความภาคภูมิใจของนายทหารท่านนี้ยิ่งนัก

บ้านเมืองในยุคสมัยนั้นมีกลิ่นไอของความขัดแย้งคุกรุ่น



๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎร นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทำการยึดอำนาจพลโทพระยาเฉลิมอากาศ นักบินหมายเลข ๑ ของสยามประเทศ บุพการีทหารอากาศ เจ้ากรมอากาศยาน ถูกปลดออกจากตำแหน่ง ในวัยเพียง ๔๕ ปี กลายเป็น “นายทหารนอกราชการ” รับพระราชทานบำนาญตั้งแต่ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๕

๑๓-๑๗ ตุลาคม ๒๔๗๖ เกิดกรณี กบฏบวรเดช ทหารจากโคราชและภาคอีสานเคลื่อนทัพเข้ากรุงเทพฯ ต้องการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงรัฐบาล หลังจากเหตุการณ์สงบ ร้อยเอกหลวงสันทัดยนตกรรม หรือ ร้อยเอกโทน บินดี ได้รับคำสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งท่านเองเป็นลูกผู้ชายพอที่จะไม่ขอกล่าวถึงในบันทึก คงมีแต่ความเจ็บปวดสุดชีวิต

ร้อยเอกโทน บินดี หรือ ร้อยเอก หลวงสันทัดยนตกรรม นักบินสยามผู้สำเร็จการบินผาดแผลงเป็นคนแรกในฝรั่งเศสระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ สร้างเกียรติภูมิแก่ประเทศชาติ ได้รับการยอมรับจากเพื่อนนักบิน ถูกปลดออกจากราชการ หลังจากนั้นไม่มีใครทราบเรื่องราวชีวิตของท่านอีก

มีข้อมูลว่า ท่านเสียชีวิตเมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ ที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง หากท่านผู้ใดทราบข้อมูลชีวิตของวีรบุรุษนักบินท่านนี้หลังจากถูกปลดออกจากราชการ กรุณาแจ้งให้ผู้เขียนทราบด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก โทน บินดี จ้าวอากาศคนแรกของเมืองไทย โดย สมบูรณ์ วิริยศิริ


ภาพเก่าเล่าตำนาน สิบโท โทน บินดี วีรบุรุษนักบินผู้อาภัพ (อวสาน) โดยพลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก, หนังสือพิมพ์มติชน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กุมภาพันธ์ 2560 06:33:06 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2560 07:03:15 »



เมืองสยาม…เมื่อแม่น้ำสกปรก
โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน รายวัน

คนไทยในอดีตมักจะเล่าความหลังเรื่อง การอาบน้ำในคลอง การใช้น้ำในแม่น้ำล้างหน้า ล้างตา ใช้หุงต้มทำอาหาร แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ใสสะอาดบางแห่ง ชาวสยามไม่ลังเลใจที่จะใช้ดื่มกินแบบมีความสุข ไม่ต้องหวาดระแวงต่อสิ่งเจือปนทั้งหลาย

ฟังแล้วอยากจะเชื่อ แต่นึกภาพไม่ออก

วันเพ็ญเดือน ๑๒ น้ำนองเต็มตลิ่ง ชาวสยามออกมาลอยกระทงเพื่อระลึกถึงพระคุณ ขออภัยต่อพระแม่คงคา กระทงพร้อมดอกไม้ธูปเทียนลอยกันเต็มท้องน้ำ วัตถุลอยน้ำสารพัดชนิดน้อยใหญ่บรรจุเอาคำอธิษฐานร้องขอสารพัดนึก พอหลุดมือไปแล้วจะลอยไปกระจุกตัวเป็นของเสียขนาดมหึมาเต็มแม่น้ำ มันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นขยะลอยน้ำได้ เป็นภาระที่แสนขมขื่น จะต้องมีคนล่องเรือเก็บกวาด นำไปทำลายทิ้งในวันรุ่งขึ้น แต่บอกกับตัวเองว่า “ได้บุญ”

มีการอวดอ้างสารพัดวัสดุที่เอามาทำกระทง ระบุว่าจะย่อยสลายได้ แต่ในความเป็นจริงเราก็ไม่ควรจะนำวัสดุทั้งปวงไปเจือปนในแม่น้ำลำคลอง เพราะมาถึงปัจจุบัน แหล่งน้ำ แม่น้ำลำคลองทั้งหลายในชุมชนเมืองของแผ่นดินนี้ ปู ปลา กุ้ง หอย ทั้งหลายก็แทบจะอาศัยอยู่ไม่ได้แล้ว




ชาวต่างชาติที่เคยได้อ่านหนังสือท่องเที่ยวว่า กรุงเทพฯคือ นครเวนิสแห่งตะวันออก ชอบหยุดถ่ายภาพบนสะพานข้ามคลองโดยเฉพาะย่านเกาะรัตนโกสินทร์ บางลำพู คลองมหานาค เพื่อจะนำภาพไปอวดเพื่อนๆ ว่า กรุงเทพฯมีแต่ “น้ำมันดิบ” ไหลไปมาทั้งเมือง

รูปแบบของมหานครที่น่าจะมีประชากรมากกว่า ๑๐ ล้านคนแห่งนี้อำนวยให้อาคาร ที่ทำงาน ตลาดสด ชุมชน หมู่บ้านจัดสรร ศูนย์การค้า และโรงงานสารพัด กระหน่ำระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลองได้ ซึ่งบางแห่งก็มีการบำบัดก่อนปล่อยทิ้ง ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือ คลองแสนแสบ ที่เคยมี “ขวัญกับเรียม” ที่ปัจจุบันสัญญากันว่าไม่ขอลงไปพลอดรักกันในคลองแสนแสบแถวบางกะปิอีกต่อไป

เมื่อเทียบกับในอดีต แม่น้ำลำคลองในปัจจุบันไม่สามารถรองรับสิ่งปฏิกูล ขยะ น้ำเสีย วัตถุมีพิษ ได้อีกต่อไปแล้วครับ นิสัยคนไทยที่ชอบจะนำสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ไปโยนทิ้งน้ำ คำกล่าวติดปากว่า “เอาไปโยนทิ้งน้ำ” หรือแช่งให้ใครให้ “ไปโดดน้ำตาย” เหมือนในอดีตต้องได้รับการแก้ไข โดยเริ่มจากตัวบุคคล

ภาพเก่า..เล่าตำนาน ตอนนี้ขอนำเสนอสุขนิสัยที่ไม่ค่อยดีของชาวสยามในอดีตเพื่อเป็นการปรับแก้พฤติกรรมด้านลบของคนไทยครับ




นายแพทย์มัลคอม สมิธ (Dr.Malcolm Smith) ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แพทย์ในราชสำนักในสมัยในหลวง ร.๔ พรรณนาภาพพจน์ของกรุงเทพฯในราว พ.ศ.๒๓๙๔ ไว้ในหนังสือ A Physician at the Court of Siam (แปลโดย พิมาน แจ่มจรัส) อย่างตรงไปตรงมาว่า

เมืองใหม่ (กรุงเทพฯ : ผู้เขียน) เจริญอย่างรวดเร็ว พลเมืองที่ปะปนกันหลายเชื้อชาติ มีจำนวนถึงหนึ่งในสี่ล้าน มีชาวจีนมากกว่าชาวสยาม เป็นปรากฏการณ์ประหลาด ชาวจีนเป็นเจ้าของร้านและนายวาณิช การค้าทั้งหมดของเมืองอยู่ในกำมือของคนเหล่านี้ ส่วนชาวสยามเป็นฝ่ายปกครอง มียศถาบรรดาศักดิ์ และตั้งบ้านเรือนอยู่รายล้อมราชสำนัก

ขอให้ท่านผู้อ่านจินตนาการนะครับ พระมหากษัตริย์ในเวลานั้นประทับในพระบรมมหาราชวัง (ในบริเวณวัดพระแก้ว) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เพิ่งก่อสร้างหลังจากย้ายเมืองหลวงมาจากกรุงธนบุรี ดังนั้นพระบรมมหาราชวัง พื้นที่สนามหลวง วัดมหาธาตุฯ จึงเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดิน ชาวจีนเกาะกลุ่มตั้งร้านทำมาค้าขายอยู่เยาวราช สำเพ็ง มีการขุดคลองในกรุงเทพฯ หลายสาย

แม่น้ำลำคลองในกรุงเทพฯทุกสาย เป็นเส้นทางการเจริญเติบโตของชุมชนที่เกาะแนวขยายตัวออกไปทุกทิศทาง

หมอสมิธพรรณนาต่อไปว่า ในกรุงเทพฯมีคนต่างด้าวจากประเทศใกล้เคียง มีญวน เขมร มอญ มาเลย์ พม่า ใช้ภาษาผสมผสานกันหลายภาษา แต่ละชุมชนแต่งกายตามวัฒนธรรมของตัวเอง ชุมชนยุโรปเกือบทั้งหมดประกอบด้วยมิชชันนารีจำนวนไม่ถึง ๒๐ คน

หมอสมิธ (อังกฤษ) เซอร์จอห์น เบาริ่ง (อังกฤษ) บาทหลวงปาเลอกัวซ์ (ฝรั่งเศส) บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ตรงกันว่าว่าประชากรของกรุงเทพฯเกินกว่าครึ่งใช้ชีวิตอยู่บนเรือแพ การสัญจรของคนกรุงเทพฯทั้งในและนอกเมืองใช้ทางน้ำ ใช้เรือเป็นหลัก

มีถนนก็เฉพาะในตัวเมืองแถวใกล้ๆ ตลาดเท่านั้น ถนนดังกล่าวปูด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ในเมืองหลวงไม่มีรถม้าแม้แต่คันเดียว ตอนปลายฤดูฝน เมื่อชนบทที่อยู่โดยรอบเกิดน้ำท่วม พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองหลวงก็จะจมอยู่ใต้น้ำเช่นเดียวกัน

นี่เป็นข้อมูลที่ชาวต่างชาติบันทึกไว้เมื่อราว ๑๗๐ ปีที่แล้วครับ ชาวสยาม โดยเฉพาะชาวบางกอก อาศัยริมน้ำและบนเรือแพเป็นส่วนใหญ่ น้ำท่วมน้ำน้อยก็อยู่ได้ สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวที่สุดคือ แม่น้ำ

เราลองมาดูข้อมูลในด้านลบของหมอสมิธ ที่อ่านแล้วอึดอัดไม่อยากอ่านต่อ

“ไม่มีสุขาภิบาลและการจัดหาน้ำดื่มที่ถูกต้อง ไม่มีรูปแบบของการควบคุมทางการแพทย์สมัยใหม่ เชื้อโรคแพร่ระบาด แมลงวันชุกชุม โรคบิดและท้องร่วงทำให้เด็กๆ เสียชีวิต อัตราการเสียชีวิตวัย ๓-๔ ขวบอยู่ระหว่าง ๗๐-๗๕% ไข้ทรพิษคือภัยพิบัติประจำ”

มิชชันนารีอเมริกันเป็นผู้นำการปลูกฝีมาใช้ครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.๒๓๘๖ ด้วยวัคซีนสะเก็ดส่งมาจากบอสตัน ใช้เวลาเดินทางราว ๕-๖ เดือน พระเจ้าแผ่นดินทรง (ในหลวง ร.๓ : ผู้เขียน) ไว้วางพระราชหฤทัย ส่งบรรดาหมอหลวงไปศึกษาวิธีการปลูกฝี

ผู้เขียนดีใจมากที่หมอสมิธบรรยายกายภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาไว้อย่างละเอียดครับ

แหล่งน้ำใช้ คือแม่น้ำ ในบางกอกมีน้ำขึ้น-ลงตลอดฤดูฝน จากเดือนตุลาคมถึงเมษายนจะไม่มีฝนตก น้ำในแม่น้ำจะค่อยๆ แห้ง น้ำจะขุ่นมากขึ้น พอถึงเดือนเมษายนน้ำจะกร่อย อหิวาตกโรคเป็นอาคันตุกะประจำปี และในปีที่โชคร้ายจะมีคนตายนับพัน ขบวนแห่ศพจากทุกหมู่บ้านไม่ขาดระยะ

บันทึกทางการแพทย์ของสยามระบุว่า อหิวาตกโรคพบครั้งแรกในสยามเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๒ โดยแพร่ระบาดมาจากอินเดีย

ในปี พ.ศ.๒๓๖๓ เป็นหายนะของชาวสยาม ผู้คนในเมืองล้มตายกันจนเผาไม่ทันเพราะฟืนไม่พอ วัดสระเกศ คือตำบลรวบรวมศพขนาดมหึมา ในที่สุดก็ต้องใช้การโยนศพลงในแม่น้ำให้น้ำพัดพาลับหูลับตาออกไป ศพลอยแพร่กระจายออกไปทุกที่ที่มีลำน้ำ

การระบาดของโรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำในยุคสมัยนั้น ประชาชนไม่สามารถทำอะไรได้ แม้แต่ในยุโรปโดยใช้ยาฝาดสมาน ฝิ่น และแอลกอฮอล์ ก็รักษาไม่ได้

ผู้เขียนพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดอันเกิดมาจากการบริโภคน้ำ มีคนตายนับหมื่นในห้วงเวลานั้น ทางราชการมีคำสั่ง มีการแก้ปัญหาอย่างไร

หนังสือ “แนวพระราชดำริเก้ารัชกาล” ซึ่งกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ในปี พ.ศ.๒๕๒๖ ซึ่งพอจะตอบโจทย์ของปัญหาโรคระบาด และยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต สุขนิสัยด้านลบของชาวสยามในเรื่องความไม่สะอาดของส่วนรวม ชุ่ย เห็นแก่ตัว จึงต้องมีประกาศทางราชการดังนี้ :

ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ เล่ม ๑ ประกาศทรงเตือนไม่ให้ทิ้งศพสัตว์ลงน้ำ และให้ทอดเตาไฟอย่าให้เป็นเชื้อเพลิง พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๐๐, หน้า ๒๕๖-๒๕๘

เรื่องห้ามทิ้งซากสัตว์ลงน้ำ

…ทรงพระกรุณาโปรดฯ สั่งสอนเตือนสติมาว่า แต่นี้ไป ห้ามมิให้ใครผู้ใดผู้หนึ่งทิ้งสุนัขตาย แมวตาย และซากศพสัตว์ต่างๆ ลงในแม่น้ำและคลองใหญ่น้อยทั้งปวงเป็นอันขาด ขอให้คิดอ่านใช้สอยจ้างวานใครๆ เอาไปทิ้งเสียที่ป่าช้าดังซากศพคนนั้นเถิด ถ้าบ้านเรือนอยู่ที่ริมแม่น้ำจะเอาไปป่าช้ายาก ก็ให้ฝังเสียในดินในโคลนให้ลับลี้อย่าให้ลอยไปลอยมาในน้ำได้ และการทิ้งซากศพสัตว์ต่างๆ ลงในน้ำให้ลอยขึ้นลอยลงอยู่ดังนี้ คิดดูโดยละเอียดก็เห็นเป็นที่รังเกียจแก่คนที่ได้ใช้น้ำอยู่ทั้งสิ้นด้วยกัน

พระสงฆ์สามเณรเป็นพระสมณะชาวนอกกรุงเทพฯ คือเมืองลาวและหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง และชาวราษฎรชาวนอกกรุงเทพฯ เมืองมีเหตุติดลงมายังกรุงเทพฯนี้แล้ว ก็รังเกียจติเตียนว่า เพราะวัดใช้น้ำไม่สะอาดจึงเป็นโรคต่างๆ ไม่เป็นสุขเหมือนอยู่นอกกรุงฯ ถึงคนนอกประเทศ คือ ฝรั่ง อังกฤษ จีน แขก ทั้งปวงซึ่งเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯก็ติเตียนดังนั้นอยู่โดยมาก…

ข้อความข้างต้นคัดลอกมาจากประกาศในสมัยในหลวง ร.๔ ซึ่งเป็นการใช้สำนวนภาษาไทยที่ตรงไปตรงมา บ่งบอกสถานการณ์ในยุคนั้นชัดเจนว่า ประชากรมีนิสัยมักง่าย ชอบทิ้งซากสัตว์ทั้งหลายลงในแม่น้ำลำคลอง

แม้ในปัจจุบันผ่านมานานนับร้อยปี คนไทยจำนวนไม่น้อยยังมีนิสัยการทิ้งขยะ ทิ้งของเสียสิ่งปฏิกูลให้ลอยไปตามน้ำจนกระทั่งลอยออกไปในทะเล ความตั้งใจลักลอบปล่อยน้ำเสีย ปล่อยสารพิษจากโรงงานลงแม่น้ำ คู คลอง เป็นสิ่งที่เลวร้ายกว่าการทิ้งศพสัตว์ลงน้ำเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว





พระเอก-นางเอกยอดฮิต มิตร-เพชรา
โดย พลเอกนิพัทธ์  ทองเล็ก
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

ผู้เขียนต้องขออภัยท่านผู้อ่านในบางช่วงอายุ ที่จะเข้าใจบทความตอนนี้ได้ยากสักนิด เพราะเรื่องของ มิตร-เพชรา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ความปลื้ม ความปีติเฉพาะกลุ่มอายุคนไทย ที่มีความหมายลึกซึ้ง งดงาม มีคุณค่าเกินกว่าหน้ากระดาษนี้จะบรรยายได้หมด

มิตร-เพชรา เป็นดาราชาย-หญิง แสดงภาพยนตร์ร่วมกันแบบพระเอกนางเอกให้คนไทยได้ดูรวมแล้วเกือบ ๓๐๐ เรื่องครับ คนไทยในช่วงอายุหนึ่ง จดจำผลงานการแสดงของ ๒ ดาราคู่ขวัญไม่มีวันลืม มีปฏิทินของดาราคู่นี้แทบทุกบ้าน ทุกร้านค้า ร้านตัดผม ตลาดสด

การโฆษณาภาพยนตร์ วิทยุ และรถติดเครื่องขยายเสียงที่วิ่งไปรอบเมืองจะประกาศชื่อภาพยนตร์ และบอกสั้นๆ ว่า นำแสดงโดย มิตร-เพชรา จนกระทั่งคนรุ่นหลังที่มีชีวิตต่างห้วงเวลาจะเข้าใจว่า มิตร นามสกุล เพชรา

มิตร ชัยบัญชา เป็นพระเอกหนังชายรูปหล่อ สูงใหญ่เพชรา เชาวราษฎร์ เป็นนางเอกหนังแสนสวย ได้รับฉายาว่า “นางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง”

มิตร ชัยบัญชา เป็นใคร มาจากไหน?

พลตำรวจ ชม ระวีแสง และ นางสงวน ระวีแสง คือบิดามารดาผู้ให้กำเนิดเด็กชายคนหนึ่งที่ตลาดท่ายาง จ.เพชรบุรี เกิดมาไม่นานพ่อ-แม่แยกทางกัน ชื่อที่เหมาะที่สุดในยุคสมัยนั้น คือ เด็กชายบุญทิ้ง แม่ต้องเอาไปฝากปู่ย่าให้เลี้ยงดู และต่อมาปู่ย่าก็เอาไปฝากอาที่บวชเป็นสามเณรเลี้ยงดูกันต่อไปอีก ชีวิตของ ด.ช.บุญทิ้งซึมซาบความเป็นเด็กวัดที่ต้องรับใช้พระ-เณร ที่วัดสนามพราหมณ์ เพชรบุรี เมื่อแม่ตั้งหลักได้จึงนำบุตรชายเข้ามากรุงเทพฯ อาศัยอยู่แถววัดแคนางเลิ้ง

ด.ช.บุญทิ้งคนนี้สู้ชีวิตทุกรูปแบบ รับจ้างทำงานสารพัด เรียนหนังสือดี เก่งงานศิลปะ เป็นนักกีฬา ชกมวยได้เหรียญทองในรุ่นไลต์เวตและเฟเธอร์เวต ชีวิตของเด็กหนุ่มต้องถูกโอนไปเป็นบุตรบุญธรรม ใช้นามสกุลญาติคนนั้นคนนี้แบบชุลมุนแสนจะวกวน

บุญทิ้งจบมัธยมจาก ร.ร.พระนครวิทยาลัย แล้วไปสอบเข้า ร.ร.จ่าอากาศรุ่น ๑๑ จบแล้วรับราชการในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ในกรมอากาศโยธิน กองทัพอากาศ ดอนเมือง จ่าบุญทิ้งเปลี่ยนชื่อเป็น จ่าโท พิเชษฐ์ พุ่มเหม

ในยุคสมัยนั้นมีโฆษณารับสมัครพระเอกหนังกันแบบเปิดเผย ใครอยากเป็นพระเอก ใครคิดว่าหล่อพอ ก็ให้ส่งภาพถ่ายทางไปรษณีย์มาดูกัน จ่าโทสมจ้อยมองเห็นจ่าเชษฐ์เพื่อนร่วมอาชีพมีรูปร่างสูงสง่า หน้าตาดี สุภาพเรียบร้อย หน่วยก้านดี ๑ ประเภท ๑ เลยส่งภาพเพื่อนรักไปเข้าประกวดกะเค้าด้วย

ประทีป โกมลภิส คือผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ ที่ต้องชะตาเข้าอย่างจังกับจ่าหนุ่มสูงใหญ่คนนี้ โดยเมื่อประทีปตั้งคำถามให้ตอบ ข้อ ๑ “ในชีวิตสิ่งใดสำคัญที่สุด” จ่าพิเชษฐ์ตอบว่า “เพื่อนครับ” ผู้กำกับประทีปชอบใจบอกว่า “เพื่อน คือ มิตร รักเพื่อนก็ดี ให้ใช้ชื่อใหม่ว่า มิตร ก็แล้วกัน”

ยุคสมัยนั้น ชื่อพระเอก-นางเอก เป็นเรื่องคอขาดบาดตายครับ ชื่อพระเอกต้องสั้น พยางค์เดียว หรือ ๒ พยางค์ ถึงจะเท่ ชื่อ-นามสกุลต้องหล่อล้อตามชื่อ และต้องจดจำได้ง่าย ชื่อเดิมไม่สำคัญ ตัดทิ้งไป ให้ใช้ได้เฉพาะในสำมะโนครัว ชื่อ-นามสกุลแบบฝรั่งหรือลูกครึ่งฝรั่งในยุคนั้นยังไม่กล้าเปิดหน้า เปิดตัว เพราะเขินอายที่แม่ไปได้ผัวฝรั่ง

พระเอก-นางเอกต้องหน้าตาคมเข้มและมีอวัยวะเป็นของจริงทั้งเรือนร่าง ไม่มีของปลอมเจือปน ศัลยกรรมตกแต่งทำหน้า ทำนม ทำผม ยังมาไม่ถึงโลกใบนี้

ผู้กำกับประทีปทดสอบทัศนคติของจ่าเชษฐ์ต่อไปอีก โดยตั้งคำถามข้อ ๒ ว่า “ในชีวิตเกิดมาภูมิใจสิ่งใดมากที่สุด” จ่าเชษฐ์อมยิ้มเท่แบบพระเอก แล้วตอบอย่างไม่ลังเลว่า “ผมเคยได้รับหน้าที่อัญเชิญธงชัยเฉลิมพลของหน่วยในพิธีสวนสนามวันปิยมหาราชครับ”

แน่นอนที่สุดครับ ทหารคนที่ได้ทำหน้าที่อัญเชิญธงชัยเฉลิมพลของหน่วยจะต้องผ่านการคัดเลือกในเรื่องรูปร่าง ลักษณะที่สง่างาม ธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารเปรียบเสมือนหลักชัยของหน่วย ที่จะต้องเทิดทูนปกปักรักษาไว้ด้วยชีวิต ในหน่วยทหารจะต้องมีห้องเก็บรักษาธงอย่างดี จะอัญเชิญธงนี้ไปในเฉพาะพิธีการสำคัญ ทหารทุกนายจะได้รับการสั่งสอนอบรมเรื่องของธงชัยเฉลิมพล ในเรื่องแบบแผนและการปฏิบัติต่อธงอย่างเข้มงวด

พิธีการที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “สวนสนามสาบานธง” นั่นแหละคือพิธีการทางทหารที่จ่าเชษฐ์ได้รับมอบให้เป็น “ผู้เชิญธง” ซึ่งตัวธงมีน้ำหนักพอสมควร คนถือจะเป็นลมล้มคว่ำกลางแดดไม่ได้เป็นอันขาด ไอ้พวกตัวเตี้ยผอมแห้งแรงน้อยที่เรียกว่า “อวบ อกโรย” จะไม่มีวันได้เป็นคนเชิญธงอันทรงเกียรตินี้

สมัยก่อนจัดพิธีสาบานธงใน ๒๕ มกราคม ของทุกปี ต่อมาเปลี่ยนเป็นวันที่ ๑๘ มกราคม ซึ่งตรงกับวันที่พระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพม่าในปี พ.ศ.๒๑๓๕

เรื่องการอัญเชิญธงชัยเฉลิมพล จ่าเชษฐ์กินขาดทุกเรื่อง ถือเป็นเกียรติยศสูงสุด และเขาได้ทำหน้าที่นี้ทุกปีตลอดการเป็นทหาร และคำตอบดังกล่าวทำให้ผู้กำกับประทีปตั้งนามสกุลให้พระเอกอย่างเป็นสิริมงคลว่า
“ชัยบัญชา”

มิตร ชัยบัญชา ก้าวสู่วงการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือเรื่อง ชาติเสือ บทประพันธ์ของเศก ดุสิต กำกับโดยประทีป โกมลภิส เป็นเรื่องแรกที่มิตรได้ประกบกับนางเอกที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นถึง ๖ คน เช่น เรวดี ศิริวิไล นัยนา ถนอมทรัพย์ ประภาศรี สาธรกิจ และน้ำเงิน บุญหนัก เป็นภาพยนตร์ที่เริ่มถ่ายทำในปลาย พ.ศ.๒๕๐๐ และเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๑ ภาพยนตร์ทำรายได้กว่าแปดแสนบาท ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต้อง “ตกใจตาย” ของคนสมัยนั้น เรื่องชาตินักเลง หรืออินทรีแดง เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สอง หนังเรื่องนี้ทำรายได้เกิน ๑ ล้านบาท เป็นเรื่องใหญ่สำหรับการสร้างภาพยนตร์ในเมืองไทย

มิตร ชัยบัญชา แจ้งเกิดในสังคมไทยสนั่นเมือง ลั่นทุ่ง เจ็ดคุ้งแม่น้ำ แผ่นโปสเตอร์โฆษณาหนังที่ไปแปะทุกที่ทั่วประเทศ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์มีรูปของมิตร ชัยบัญชา และนางเอกสาวสุดสวย และตัวประกอบ คิวแสดงของมิตรทะลักเข้ามาแน่นเอี้ยด อินทรีแดง จ้าวนักเลง ทับสมิงคลา แสงสูรย์ นวนิยายในอดีตที่เป็นเพียงแค่หนังสือเก่าเก็บบนหิ้ง ถูกขุดมาสร้างเป็นภาพยนตร์เพราะหนุ่มหล่อที่ชื่อ มิตร ชัยบัญชา

เมื่อพระเอกหนังกลับเข้าหน่วยทหาร เขาจะเป็นจ่าโท พิเชษฐ์ พุ่มเหม อันเป็นที่รักของเพื่อนๆ และผู้บังคับบัญชา

นาทีทองของวงการภาพยนตร์ไทยได้มาถึงแล้ว โดยมีมิตร ชัยบัญชา เป็นพระเอกหมายเลข ๑

มิตรดังไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ มิตร ชัยบัญชา จ่าโททหารอากาศ แสดงได้ทั้งบทบู๊ บทรัก รันทด ตลก เชย เฟอะฟะ เด๋อด๋า ชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา คนไทยให้การยอมรับในตัวพระเอกหนุ่มคนนี้

การถ่ายทำภาพยนตร์มีปัจจัยสำคัญประการ ๑ คือ การตรงต่อเวลา ผู้แสดงจะต้องให้เวลากับงานถ่ายทำ จนกว่าผู้กำกับจะพอใจ อาจจะถ่ายซ้ำแล้วซ้ำอีก พระเอกหนุ่มชื่อมิตรเป็นดาราที่ตรงต่อเวลา ทุ่มเท ให้เกียรติกับทีมงานตลอดชีวิตการแสดง ซึ่งดาราอื่นๆ หลายคนลืมตัวลืมตน เป็นที่น่ารังเกียจของเพื่อนร่วมงานยิ่งนัก

พ.ศ.๒๕๐๖ ภาพยนตร์เรื่อง ใจเพชร ทำรายได้สูงสุด ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่มีมิตรแสดงทำรายได้เกินล้านบาท

พ.ศ.๒๕๐๘ ภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน ทำเงินได้ ๓ ล้านบาทในเวลา ๑ เดือน และมิตรเข้ารับพระราชทานรางวัลดาราทอง ต่อมา พ.ศ.๒๕๐๙ ภาพยนตร์เรื่อง เพชรตัดเพชร ก็โกยเงินไปอีกมหาศาล

พ.ศ.๒๕๑๓ ภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง ของรังสี ทัศนพยัคฆ์ เป็นภาพยนตร์เพลงลูกทุ่งที่สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่วงการภาพยนตร์ไทย ทำรายได้มากกว่า ๖ ล้านบาทและยืนโรงได้นานกว่า ๖ เดือนในกรุงเทพฯ ทำรายได้ทั่วประเทศกว่า ๑๓ ล้านบาท

มิตร ชัยบัญชา เป็นพระเอกที่ทำรายได้เป็นอันดับ ๑ ของประเทศแบบไม่มีใครมาเบียดแทรก มิตรใช้ชีวิตเรียบง่าย ประหยัดมัธยัสถ์ ชอบช่วยเหลือผู้คนทั่วไป แสดงหนังแล้วบางทีก็ได้เงินไม่ครบ ให้เพื่อนยืมเงินแล้วเพื่อนหายตัวได้ ชอบทำบุญโดยเฉพาะวัดแคนางเลิ้ง ที่กินข้าววัดมาแต่เด็ก มิตรดูแลวัดนี้เป็นพิเศษ

ชีวิตของมิตร ชัยบัญชา มีแต่คนรัก ชื่นชม นับถือโดยไม่ต้องปรุงแต่ง มีนางเอกผ่านเข้ามาในชีวิตการแสดงถึง ๒๙ คน







โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

คุณเพชรา เชาวราษฎร์ เธอสวยมาตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ เกิดปี พ.ศ.๒๔๘๖ ที่จังหวัดระยอง ชื่อเล่นว่าอี๊ด พ่อแม่ตั้งชื่อจริงว่า เอก ชาวราษฎร์ คุณพ่อมีเชื้อสายจีน คุณแม่เป็นคนไทย ครอบครัวของเธอทำไร่ ทำสวน ค้าขายเล็กๆ น้อยๆ เด็กหญิงอี๊ดเรียนระดับประถมที่บ้านเกิด ยิ่งโตขึ้นยิ่งเปล่งประกายความสวย โตขึ้นมาหน่อยไปเรียนระดับมัธยมที่กรุงเทพฯ

เรียนจบมัธยม คุณอี๊ดไปทำงานที่ร้านเสริมสวยของญาติในกรุงเทพฯ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ความงามที่ปกปิดไม่อยู่ ทำให้แมวมองมาทาบทาม ชวนเธอไปประกวดเทพธิดาเมษาฮาวาย ที่มีสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นผู้จัด เธอใช้ชื่อในการประกวดว่า ปัทมา ชาวราษฎร์ ผลปรากฏว่าสาวงามจากระยองคนนี้ชนะใจกรรมการแบบเอกฉันท์ เธอแจ้งเกิดกลายเป็นนางงามในกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร

มิตร ชัยบัญชา เป็นพระเอกดาวรุ่งเกิดใหม่ที่คนไทยปลื้มมาก ผู้สร้างภาพยนตร์มองเห็นเงินลอยอยู่ตรงหน้ากองมหึมา ถ้าจับมิตรประกบเพชราในภาพยนตร์ไทย

“บันทึกรักของพิมพ์ฉวี” เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มิตร-เพชราโคจรมาพบกันในปี พ.ศ.๒๕๐๕ โดย ดอกดิน กัญญามาลย์ และศิริ ศิริจินดา คุณเพชราตอนนั้น เธออายุ ๑๙ ปี ดอกดินเป็นผู้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “เพชรา เชาวราษฎร์” โดยให้เหตุผลว่าชื่อ “ปัทมา” ไม่โดนใจ ส่วนเจน จำรัสศิลป์ ได้ตั้งฉายาให้ว่า “นางเอกสาวนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง”

เพชรามาแจ้งเกิดตูมตามจากภาพยนตร์เรื่องที่สอง คือเรื่องดอกแก้ว แล้วตามด้วย หนึ่งในทรวง อ้อมอกสวรรค์ และได้แสดงคู่กับมิตร ชัยบัญชา รับบทคู่รักในภาพยนตร์อีกหลายเรื่องจนเป็นที่ชื่นชอบของแฟนภาพยนตร์ คนไทยเรียกกันติดปากทั้งเมืองว่า มิตร-เพชรา

ยุคที่เธอโด่งดังมากๆ แต่ละเดือนมีคิวถ่ายหนังประมาณ ๑๒-๑๘ เรื่อง แต่ละวันต้องถ่ายทำภาพยนตร์วันละ ๓-๔ เรื่อง ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ คุณเพชราเข้ารับพระราชทานรางวัลตุ๊กตาทองจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจสูงสุด

คุณเพชรา เชาวราษฎร์ ได้รับฉายาว่า “ราชินีจอเงิน”

แฟนภาพยนตร์คนไทยมักเข้าใจว่าทั้งสองเป็นคู่รัก ถึงไม่ใช่ก็ภาวนาให้เป็นเช่นนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วมิตร-เพชรามีความสนิทสนมจริงใจ เป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี มิตรดูแลเพชราเหมือนน้องสาว คอยปกป้องและเป็นที่ปรึกษาให้เพชรา แต่ก็เคยโกรธกันอยู่บ่อยๆ บางครั้งไม่พูดกันเป็นช่วงๆ ทั้งๆ ที่แสดงหนังด้วยกันอยู่ เพชราเคยปรารภว่า มิตรเป็นคนขี้ใจน้อย

พ.ศ.๒๕๐๖ เมื่อชีวิตของหนุ่มหล่อ มิตรรุ่งโรจน์เจิดจรัสแสดงหนังรับเงินแทบไม่มีเวลาหายใจ ในที่สุด จ่าโทพิเชษฐ์ พุ่มเหม จึงตัดสินใจลาออกจากกองทัพอากาศ เป็นมิตร ชัยบัญชา เต็มพิกัด

มิตร-เพชราเล่นหนังแบบไหน เล่นบทอะไร คนดูชอบไปหมด ชีวิตส่วนตัวนอกจอของดาวค้างฟ้าคู่นี้ไม่เคยมีข่าวในทางลบ ทั้งสองคนมีวินัยในการทำงาน นิสัยและอัธยาศัยต่อเพื่อนร่วมงานเป็นที่กล่าวขวัญในด้านบวกเสมอ คุณกิ่งดาว ดารณี เคยให้สัมภาษณ์ว่า มิตร ชัยบัญชา มีภาพยนตร์ต้องถ่ายทำเดือนละประมาณ ๓๐ เรื่อง ภาพยนตร์เรื่องต่อมาที่สร้างชื่อเสียงให้กับมิตร ชัยบัญชา ได้แก่ ใจเดียว ใจเพชร จำเลยรัก เพลิงทรนง อวสานอินทรีแดง นางสาวโพระดก เก้ามหากาฬ ชายชาตรี ร้อยป่า สมิงบ้านไร่ หัวใจเถื่อน สาวเครือฟ้า ทับเทวา สิงห์ล่าสิงห์ ๕ พยัคฆ์ร้าย ทาสผยอง อินทรีมหากาฬ เดือนร้าว ดาวพระศุกร์ มือนาง พนาสวรรค์ ลมหนาว แสงเทียน พระอภัยมณี ปีศาจดำ พระลอ ทรชนคนสวย ๗ พระกาฬ พยัคฆ์ร้ายใต้สมุทร ชุมทางเขาชุมทอง ไฟเสน่หา ฟ้าเพียงดิน เงิน เงิน เงิน เพชรตัดเพชร มนต์รักลูกทุ่ง ฯลฯ กล่าวกันว่าในช่วงนั้นมิตรมีรายได้เข้าบัญชีธนาคารเฉลี่ยสัปดาห์ละ ๑ แสนกว่าบาท มิตรไปชำระภาษีเงินได้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคม

“ค่านิยม” ในสมัยโน้นหรือแม้ในปัจจุบัน การเป็นดาราขวัญใจประชาชนต้องเป็นคนของประชาชนเท่านั้น การมีคู่ครอง การเป็นผัว เป็นเมียในชีวิตจริง ถือเป็นเรื่องที่คอขาดบาดตาย ดารายอดนิยมทั้งหลายจะต้องปกปิดซ่อนเร้นคู่ชีวิตจริงอย่างมิดชิด กระแสความนิยมจะตกลงทันทีถ้ามีข่าวระแคะระคายว่าพระเอกคนนี้มีเมียแล้ว หรือนางเอกคนนี้มีสามีแล้ว

ปลาย พ.ศ.๒๕๑๑ ไม่ทราบว่าปีศาจร้ายตัวไหนดลใจให้มิตรตัดสินใจเข้าสู่การเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ในนามกลุ่มหนุ่ม เมื่อ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๑ มิตรหาเสียงในเขตบางรัก ยานนาวา สัมพันธวงศ์ ป้อมปราบศัตรูพ่าย มิตรไม่ได้รับเลือก เสียใจมาก หลบไปเลียแผลพักผ่อนในป่าไทรโยค กาญจนบุรีพักใหญ่

เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ มิตรขอพิสูจน์ความนิยมในตัวเองอีกครั้งตามคำขอของเพื่อนๆ โดยขยับขึ้นไปสมัคร ส.ส.เขตพระนคร เพื่อต้องการเข้าไปในสภา จะช่วยเป็นปากเสียงสนับสนุนกิจการภาพยนตร์ไทย ช่วยนักแสดงไทยให้เป็นอาชีพที่มั่นคง มีสวัสดิการ และได้รับการดูแล

คู่แข่ง ส.ส.ของมิตรในเขตไปหาเสียงกับประชาชนว่า ถ้ามิตร ชัยบัญชา ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.เข้าสภา มิตรจะต้องเลิกแสดงหนัง มิตรเลยแพ้การเลือกตั้งอีกเป็นครั้งที่ ๒ ทรัพย์สินเงินทองของมิตรละลายไปมากโข พร้อมกับบ้าน ๑ หลังที่จำนองกับธนาคาร พระเอกมิตรเสียใจแบบซ้ำซาก

พ.ศ.๒๕๑๓ มิตรลงทุนสร้างภาพยนตร์ที่แสดงนำและกำกับการแสดงเองเป็นเรื่องแรก เรื่องอินทรีทอง ซึ่งเป็นภาพยนตร์ชุด “อินทรีแดง” เรื่องที่ ๖ ที่มิตรแสดงในบท โรม ฤทธิไกร หรืออินทรีแดง โดยแสดงร่วมกับเพชรา ที่รับบทเป็น “วาสนา”

๘ ตุลาคม ๒๕๑๓ การถ่ายทำอินทรีทองดำเนินไปอย่างราบรื่น จนกระทั่งมาถึงฉากสุดท้าย ซึ่งถ่ายทำที่หาดดงตาล พัทยาใต้ ชลบุรี ในบทภาพยนตร์ อินทรีแดงจะต้องหนีออกจากรังของคนร้าย โดยการโหนบันไดเชือกจากเฮลิคอปเตอร์

มิตรตัดสินใจว่าจะแสดงฉากนี้ด้วยตัวเอง มิตรเกาะที่บันไดลิงของเฮลิคอปเตอร์ที่ต้องบินขึ้น โดยที่มิตรยังไม่ได้ใช้เท้าเหยียบบนบันไดลิง พระเอกตัวจริงต้องโหนตัวอยู่กับบันไดด้วยแรงแขนเท่านั้น มิตรกระเสือกกระสนหนีตายด้วยการตบเท้าเข้าหากันขณะเกาะบันไดลิงแกว่งในอากาศ แต่กองถ่ายทำไม่เข้าใจ นักบินเองก็มองไม่เห็นและยังดึงเครื่องขึ้นต่อไป ในจังหวะที่เครื่องเลี้ยวกลับเกิดแรงเหวี่ยงมหาศาล นาทีนั้นเชือกบาดข้อมือพระเอกจนเกือบขาด มิตรทนความเจ็บไม่ไหว ปล่อยตัวลงมาจากความสูง ๓๐๐ ฟุต ร่างของพระเอกยอดนิยมขวัญใจชาวไทยกระแทกกับพื้นดินเลือดท่วมตัว

ผลการชันสูตรศพจากโรงพยาบาลศรีราชายืนยันว่าเขาเสียชีวิตทันที เพราะร่างกายเหลวน่วมไม่มีชิ้นดี เชือกบาดข้อมือเป็นแผลลึก ๒ ซม. ยาว ๘ ซม. กระดูกขากรรไกรข้างขวาหัก กระดูกโหนกแก้มซ้ายขวาหัก มีเลือดออกทางหูขวา กระดูกซี่โครงขวาหัก ๕ ซี่ กระดูกโคนขาขวาหัก กระดูกต้นคอหัก โดยเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ ๑๖.๑๓ น.

๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๓ สื่อไทยและต่างประเทศทุกแขนงพาดหัวการเสียชีวิตของมิตร ชัยบัญชา โดยตั้งสวดศพที่วัดแคนางเลิ้ง หลังจากครบ ๑๐๐ วัน พิธีพระราชทานเพลิงศพจัดเมื่อ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งต้องย้ายจากวัดไปเผาที่วัดเทพศิรินทร์ เพราะสถานที่กว้างขวางกว่า

หลังจากมิตรเสียชีวิตในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องอินทรีทอง คุณเพชราก็ยังรับบทนางเอกภาพยนตร์ต่อเนื่องมาอีกหลายปี คู่กับสมบัติ เมทะนี, ไชยา สุริยัน, ลือชัย นฤนาท และพระเอกใหม่ ครรชิต ขวัญประชา, นาท ภูวนัย, ยอดชาย เมฆสุวรรณ, กรุง ศรีวิไล

ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๕ คุณเพชราเธอเริ่มมีปัญหาเรื่องสายตา จักษุแพทย์รักษานัยน์ตาที่แสนหวานจนสุดความสามารถ และในที่สุดตาของเธอบอดสนิททั้งสองข้าง เมื่อราว พ.ศ.๒๕๒๐ ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่เธอแสดงคือเรื่อง ไอ้ขุนทอง หลังจากนั้นเธอก็ไม่ปรากฏตัวที่ไหนอีก หากแต่ทุกกิจกรรมที่เธอมีส่วนร่วมเล็กๆ น้อยๆ ในเวลาต่อมาล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อการกุศลทั้งสิ้น ล่าสุด ๑๓ กันยายน ๒๕๕๙ เธอไปเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้โรงพยาบาลจุฬาฯ ในเรื่องของการดูแลสุขภาพพร้อมกับคุณชรินทร์ นันทนาคร สามีที่ให้การดูแลเธอมาตลอด

เรื่องชีวิตส่วนตัวของคุณมิตร-เพชรา ผู้เขียนให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคล ไม่ขอล่วงเกินครับ ที่ย้อนอดีตเรียบเรียงมาเล่าสู่กันฟังก็ด้วยชื่นชมท่านทั้งสองเป็นแบบอย่างของชีวิตที่ดีงาม มีเมตตา กรุณา มีไมตรีจิตกับสังคมมาโดยตลอด มีแต่คนยกย่องสรรเสริญครับ






















ภาพเก่า “บุนสงกานลาว” ในอดีตจากยุคขาว-ดำ สู่ความวินเทจ


ภายใต้วัฒนธรรมหลากหลายที่ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีร่วมกัน ก็คือ “สงกรานต์” ที่ไม่ได้มีแค่ในไทย หากแต่มีทั่วไปในแทบทุกประเทศในเขตแดนอุษาคเนย์

สงกรานต์ปีนี้ เพจดังของ สปป.ลาว อย่าง “Laos 1,000,000 SHARE” ได้ประมวลภาพถ่ายเก่างานฉลองสงกรานต์ตั้งแต่อดีต หรือ “บุนปีใหม่” ในยุคภาพขาวดำซึ่งคาดว่ามีอายุเฉียดร้อยปี หรือมากกว่านั้น ไล่มาจนถึงภาพสีที่ให้อารมณ์วินเทจ  เหตุการณ์ในภาพ สะท้อนวิถีอันงดงาม ทั้งในวัดวาอารามที่ภิกษุสามเณรร่วมกันสร้างหัตถศิลป์พื้นถิ่นเพื่อใช้ในงานดังกล่าว , ภาพของชาวบ้านนั่งเรียงแถวสองข้างทาง รอสรงน้ำพระพุทธรูปในกระบวนแห่, นาฏยศิลปินลาวร่ายรำทำท่าฟ้อนอย่างงดงาม

นี่คือสงกรานต์ในความทรงจำวันวานของประเทศเพื่อนบ้านที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาพประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ที่มา ภาพ-ข้อมูล : มติชนออนไลน์ (ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤษภาคม 2560 15:21:02 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 23 พฤษภาคม 2560 15:42:58 »




วีรบุรุษนักรบ ชื่อ พลเอก หาญ เพไทย
เรียบเรียงโดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก

ผู้เขียนต้องกราบขอบพระคุณท่านผู้อ่านที่เมตตา ติดตาม และให้คำแนะนำแก่ผู้เขียนเพื่อสร้างสรรค์ประวัติศาสตร์ (บางช่วง) หลายท่านยอมรับว่าหลายเรื่องในอดีต ซึ่งไม่เคยเปิดเผยมาก่อน

ขอบคุณหนังสืองานศพเก่าๆ แต่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ต่อชนรุ่นหลัง กัลยาณมิตรของผู้เขียน คือ พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม อดีตนักรบบาดเจ็บพิการจากเขาค้อ อดีตเจ้ากรมกรมเสมียนตรา เป็นธุระคัดสรรค้นหามาให้ เพื่อให้สมกับคำว่า คนดีไม่มีวันตาย ซึ่งผู้เขียนจะขอทยอยนำมาเปิดเผยให้ชนรุ่นหลังได้ระลึกถึงความสง่างามของชีวิตทั้ง พลเรือน ตำรวจ ทหาร หรือแม้กระทั่งสัตว์

นายทหารที่โดดเด่นท่านนี้ สืบค้นประวัติได้ยาก เพราะเป็นคนถ่อมตัว ไม่ค่อยจะเปิดเผยภารกิจ แต่เพื่อนร่วมตายทั้งหลายพากันแซ่ซ้อง ยกย่องให้เป็นวีรบุรุษสงครามทั้งในและนอกประเทศที่มีนามว่า พล.อ.หาญ เพไทย

ภาพเก่า..เล่าตำนาน ตอนนี้ขอยกย่องวีรกรรมที่ห้าวหาญ กล้าแกร่งของ พล.อ.หาญ เพไทย

เด็กชายหาญ เพไทย เป็นบุตรของ พันตรี สงคราม และนางบุญชอบ เพไทย เกิดเมื่อ ๒๙ ธันวาคม ๒๔๘๒ คุณแม่ไปคลอดที่หน่วยเสนารักษ์ ในกรม ปตอ.เกียกกาย มีพี่น้อง ๘ คน จบประถมจาก ร.ร.วัดราชาธิวาส และจบ ม.๖ จาก ร.ร.วัดเบญจมบพิตร พ.ศ.๒๕๐๒ สอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมนายร้อยรุ่น ๑๘ และศึกษาต่อ ร.ร.นายร้อย จปร.รุ่น ๑๑ สำเร็จการศึกษา เข้ารับพระราชทานกระบี่ใน พ.ศ.๒๕๐๗ บรรจุเป็นผู้บังคับหมวด ทหารสารวัตร กองพลทหารราบที่ ๓ โคราช เข้าฝึกต่อในหลักสูตรโดดร่ม และจู่โจม และต่อมาจึงขอย้ายไปรับราชการในหน่วยรบพิเศษ ลพบุรี เพราะต้องการชีวิตที่เข้มข้น บึกบึนตามแบบฉบับของทหารรบพิเศษ

วิชาที่หาคนสอนได้ยากในโรงเรียนทหาร คือ วิชาผู้นำ ซึ่งเคยมีการใช้คำว่า “ประมุขศิลป์” (Leadership) มีตำราหลากหลาย มีทฤษฎีเยอะ เพื่อให้ศึกษา แต่บางคนไม่ต้องเรียน เพราะเกิดมาเป็น “ผู้นำโดยธรรมชาติ” แต่ “ภาวะผู้นำ” ก็สามารถบ่มเพาะและสร้างขึ้นมาได้

การนำหน่วยทหารที่เห็นในภาพยนตร์ ผู้นำทัพในอดีต คือ คนที่ถือดาบ ๒ มือวิ่งนำหน้ากองทัพ หรือขี่ม้า-ขี่ช้าง ถืออาวุธนำหน้าทหารพุ่งเข้าหาข้าศึก ผู้นำจะต้องนำหน้าไปก่อนเสมอ

ผู้นำต้องขจัดความกลัว ความเจ็บปวด และพร้อมจะเผชิญกับความสูญเสีย




ในตำแหน่งหัวหน้าชุดจู่โจมของหน่วยรบพิเศษ ร้อยโท หาญ เพไทย นำกำลังปะทะ ผกค.ครั้งแรกเมื่อ สิงหาคม ๒๕๑๐ ที่ อ.นาแก จ.นครพนม เทือกเขาภูพาน และปะทะต่อเนื่องถึง ๔ ครั้ง ได้ ๓ ศพ ยึดฐาน ผกค. และอาวุธได้ ผู้หมวดหนุ่มได้รับพระราชทานเหรียญเสรีชนชั้น ๒

สมรภูมิที่จะพิสูจน์ความเป็นผู้นำหน่วย ใช้ชีวิตแบบดุเดือดในยุคสมัยนั้น ต้องไปรบเวียดนาม ร้อยโท หาญ เพไทย สมัครไปรบที่เวียดนาม เลือกตำแหน่ง ผบ.หมวดลาดตระเวนระยะไกล ของกองร้อยลาดตระเวนระยะไกล กองพลทหารอาสาสมัคร หน่วยนี้มีภารกิจคือ การไปควานหาข้าศึกในป่าเขา ล้อกันเล่นว่า ไปล่อเป้าให้ข้าศึกยิง

ผู้หมวดหาญนำหน่วยทหารเดนตายขนาดเล็ก ๑๒ นาย ไปลาดตระเวนค้นหาที่ตั้งทหารเวียดกง ซึ่งถ้าพบข้าศึกจะเข้าปะทะ หรือจะซุ่มโจมตี หรือจะขอการโจมตีทางอากาศ หรือขอปืนใหญ่ยิงสนับสนุน ทหารเหล่านี้คือ นักรบปีศาจที่ต้องมีความเชี่ยวชาญ ฉลาด มีประสาทสัมผัสรอบด้าน ที่สำคัญที่สุดคือ กล้าหาญ

เหตุการณ์ที่ต้องจารึกไว้ คือ ๑๖ เมษายน ๒๕๑๔ หน่วยเหนือต้องการพิสูจน์ทราบกำลังของเวียดกงในพื้นที่ ใกล้ลำน้ำซุยคา อำเภอลองถั่น เฮลิคอปเตอร์นำกำลังของผู้หมวดหาญไปลงในพื้นที่ของเวียดกง

เสมือนการเข้าไปท้ารบในบ้านเค้า เพียงอึดใจเดียวหลังถึงพื้นดิน กำลังพล ๑๒ นายของผู้หมวดหาญ ปะทะกับนักรบเวียดกงที่แห่กันมารุมกินโต๊ะ ความเชี่ยวชาญของนักรบที่ฝึกมาดี แหวกวงล้อมออกมาได้ พลวิทยุส่งคำขอกำลังทางอากาศยิงสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์พลิกกลับ หน่วยของผู้หมวดกลับเป็นฝ่ายรุก ติดตามเข้าไปสังหารเวียดกงถึงในฐาน ระเบิดทำลาย เผาฐานทหารเวียดกง

ท่ามกลางเสียงปืน เสียงระเบิด และความตาย ร้อยโท หาญ เพไทย ชำเลืองเห็นทหารเวียดกงยังคงหลบอยู่ในบังเกอร์ ร้อยโทหนุ่มหยิบลูกระเบิดขว้างออกมาถือ ถอดสลัก แล้วทรุดตัวคลานเข้าไปหาบังเกอร์ (ที่พัก/หลุมที่ตั้งยิง) ของนักรบเวียดกงที่อยู่ตรงหน้า

กระสุน ๒ นัดจากปืนพกของเวียดกง พุ่งใส่หน้าอกด้านซ้ายของผู้หมวดหาญจนผงะหงายหลัง เลือดทะลัก เสือย่อมเป็นเสือ ผู้หมวดหาญพลิกตัวกลับ พาร่างโชกเลือดคลานแนบพื้นดิน มือกำน้อยหน่ามรณะแน่น เพียงชั่วอึดใจ ผู้หมวดใจเพชรเหยียดแขนไปหย่อนระเบิดเพชฌฆาตเข้าไปในบังเกอร์ของเวียดกง เสียงระเบิดดังสนั่นปานฟ้าผ่า ร่างของทหารเวียดกง พร้อมทั้งอาวุธกระสุนระเบิดแหลกเหลวกระจายออก เสียงปืนเสียงจากเวียดกงจึงยุติลง ปิดฉากการต่อสู้แบบเลือดเดือด

ร้อยโทหาญนำกำลังเข้าตีฐานครั้งนั้นสังหารเวียดกงได้ ๘ ศพ ฝ่ายเราบาดเจ็บ ๓ นาย

ร่างของคนเจ็บทั้ง ๓ รวมทั้งผู้หมวด ถูกลำเลียงโดย ฮ.ส่งกลับโรงพยาบาลสนามในค่ายส่วนหลังที่มีทหารบาดเจ็บแขนขาด ขาขาดนอนเกลื่อนไปหมด แม่ทัพของสหรัฐได้รับรายงานพฤติกรรมการเข้าตีฐานเวียดกงอย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของทหารไทย จึงขออนุมัติเหรียญกล้าหาญ Silver Star ของสหรัฐ กองทัพเวียดนามใต้มอบเหรียญกล้าหาญ Gallantry Cross With Palm และเมื่อรักษาตัวหายดีแล้ว ร้อยโท หาญ เพไทย กลับมารับพระราชทานเหรียญกล้าหาญของไทย

เป็นความสำเร็จของหน่วยทหารปีศาจ ผู้หมวดที่ถูกยิง ๒ นัดแล้วยังกัดฟันคลานเข้าไปหย่อนระเบิดใส่บังเกอร์เวียดกงจนเละ เป็นที่กล่าวขวัญ ยกย่องกันกระหึ่ม เพราะที่ผ่านมาฝ่ายอเมริกันและเวียดนามใต้มักจะเป็นฝ่ายสูญเสีย

ร้อยโทหาญสร้างบรรทัดฐานของความเป็นผู้นำไว้สูงมาก จึงทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นนักรบเกิดความศรัทธา เชื่อมั่น จึงเป็นผลทีมงานขนาดเล็กทุ่มเทกายใจ และพยายามที่จะทำให้งานสำเร็จด้วยความเต็มใจ พร้อมจะเป็นผู้ตามที่ดี

ลักษณะผู้นำเยี่ยงนี้ สร้างได้โดยการฝึกฝน การฝืนใจตัวเอง แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ความละอายที่จะเป็นผู้นำที่ขี้ขลาด

จบภารกิจในเวียดนามนาน ๑ ปี ชีวิตของร้อยโท หาญ เพไทย ยังคงผูกพันกับศึกสงครามในภาคเหนือของไทยที่เคยทำมาก่อน ผู้หมวดหาญกลับมาทำงานต่อในพื้นที่ภูหินร่องกล้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ในตำแหน่งนายทหารยุทธการ หน่วย พตท.๑๖๑๗ ผลงานคือ ฝ่ายเราสามารถจัดตั้งฐานปฏิบัติการทหารในพื้นที่สำเร็จเป็นครั้งแรก

ห้วง พ.ศ.๒๕๑๘-พ.ศ.๒๕๒๒ ผู้กองหาญ ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย ลาดตระเวนระยะไกลที่ ๔ กองพลทหารราบที่ ๔ ควบกับตำแหน่งนายทหารยุทธการ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก อ.เขาค้อ ตามพระราชดำริ ท่านนำหน่วยร่วมปฏิบัติตามแผนดอนเจดีย์ ๒ และแผนยุทธการร่วมใจ ๑๐ ในพื้นที่เขาค้อ ร่วมจัดตั้งหมู่บ้านยุทธศาสตร์พัฒนา นำหน่วยคุ้มครองการก่อสร้างเส้นทางในพื้นที่เขาค้อ

ชีวิตของ พันตรี หาญ เพไทย คลุกเคล้า มีความรับผิดชอบสูง สมบุกสมบันอย่างต่อเนื่อง มีชีวิตในป่าเขาที่ไม่ค่อยเป็นข่าวปรากฏ

ท่านผู้อ่านอาจจะพอจำได้ว่า ๑๑ มิถุนายน ๒๕๑๙ กองทัพภาคที่ ๓ ปฏิบัติการกวาดล้าง ผกค.ครั้งใหญ่ มีเครื่องบินขับไล่ F-5 ของกองทัพอากาศที่เข้าร่วมโจมตีที่หมายในป่าลึกถูกยิงตก มีสัญญาณว่านักบินยังคงรอดชีวิต กองทัพภาคที่ ๓ จัดกำลังรบ “ชุดขุนศึก” เดินเท้ามุ่งหน้าสู่บริเวณเครื่องบินตก ทุกนาทีมีค่ายิ่งนัก ทหาร หรือ ผกค.ใครจะเข้าถึงบริเวณเครื่องบินตกก่อนกัน ชุดขุนศึก เข้าไปตกอยู่ในวงล้อมของ ผกค.การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือด หน่วยเหนือไม่สามารถส่งกระสุนและเสบียงให้ชุดขุนศึกได้ พยายามทิ้งร่มลงที่หมายแต่เนื่องจากลมแรงและ ผกค.ระดมยิงอย่างหนัก ทีมนักรบชุดขุนศึกถูกตัดขาด

“ชุดสมเด็จ” ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเดินเท้าเข้าไปช่วย “ชุดขุนศึก” ซึ่งต้องข้ามลำน้ำเข็ก ผกค.ซุ่มยิงทหารเสียชีวิตอีก ๓ นาย ศพลอยไปตามกระแสน้ำหายไป “ชุดสมเด็จ” เข้าไปติดพันกับห่ากระสุนของ ผกค.เคลื่อนที่ต่อไม่ได้ พันตรี หาญ เพไทย นำกำลังเข้าตีผ่าน ผกค.เกิดการปะทะต่อเนื่องอยู่หลายวัน จนกระทั่งสร้างสนาม ฮ.แบบเร่งด่วน จัดวางกำลังคุ้มกันจน ฮ.สามารถร่อนลงมารับคนเจ็บจาก “ชุดสมเด็จ” กลับไปได้ใน ๒๖ มิ.ย.๑๙ ซึ่งการค้นหาของฝ่ายเรานานนับเดือน ไม่พบซากเครื่องบิน F-5A ที่ถูกยิงตก

ชีวิตของพันโทหาญยังคงวนเวียนอยู่ในสมรภูมิ ในห้วงตุลาคม ๒๕๒๓-เมษายน ๒๕๒๔ ในตำแหน่ง ผบ.พัน ร.๓๔๔๔ (หรือกองพันทหารราบที่ ๔ กรมทหารราบที่ ๔) ผู้พันหาญนำกำลังเข้าร่วมแผนยุทธการผาเมืองเผด็จศึก ๑ ยึดสันเขาค้อ (ปางก่อ) ได้ตลอดทั้งสันเขา กำลังทหารฝ่ายเราออกคำสั่งคุ้มครองการก่อสร้างเส้นทาง เขาค้อ-สะเดาะพงได้สำเร็จ

คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๖/๒๓ เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ เป็นเสมือนยารักษาโรคที่ได้ผลชะงัดเมื่อใช้ปฏิบัติควบคู่กับการปฏิบัติการทางทหาร เป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์

ยุทธการผาเมืองเผด็จศึก ๒ (๒๐ กุมภาพันธ์-๓๐ เมษายน ๒๕๒๔) ทหารไทยปฏิบัติยุทธการเคลื่อนย้ายทางอากาศ (Air Mobile Operations) ใช้ ฮ.ติดอาวุธ นำนักรบเดนตายบินเต็มท้องฟ้า ไปลงในพื้นที่สันเขาค้อ เสียง ฮ.กระหึ่มเร้าใจ เย้ายวนให้ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ทหารช่างทหารพราน ทุกระดับมีจิตใจห้าวหาญรุกรบ เพื่อเข้ากวาดล้างศัตรูของแผ่นดินให้หมดสิ้นจากเขาค้อ

พันโทหาญนำกำลังเข้ายึดฐานที่มั่น และศูนย์สั่งการของ ผกค.เขตงาน ๑๕ ยึดโรงเรียนการเมือง การทหาร ในพื้นที่หนองรางช้าง และหนองแม่นาได้สำเร็จ นับเป็นจุดเปลี่ยนปิดฉาก และสลายอิทธิพลของ ผกค.ในพื้นที่เขาค้อ

ผลงานที่โชกโชนในสนามรบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เป็นสิ่งที่ทำให้ พ.อ.หาญ เพไทย ได้รับพระราชทานบำเหน็จความชอบในราชการคือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นอัศวิน จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ ๖ พฤษภาคม ๒๕๒๕

สถานการณ์สู้รบในพื้นที่เขาค้อ สงบลงในปี พ.ศ.๒๕๒๗

พันเอก หาญ เพไทย ย้ายกลับไปเจริญก้าวหน้าในหน่วยรบพิเศษ ถึงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (พลตรี) เจ้ากรมการรักษาดินแดน (พลโท) และเป็นที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก (พลเอก) ท่านเกษียณอายุราชการเมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๓

หลังเกษียณราชการ พล.อ.หาญ เพไทย ได้รับความไว้วางใจจาก พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ อดีตขุนพลนักรบเขาค้อให้ดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน พืชผลการเกษตร เพื่อความกินดีอยู่ดีอย่างต่อเนื่อง

ผู้เขียนขอเพิ่มเติมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ครับ มีทหารพลีชีพ ๒๔ นาย จากการสู้รบเพื่อเข้าไปค้นหาซากเครื่องบิน F-5A ที่ตกในพื้นที่เขาค้อ ซึ่งขณะนั้นหน่วยรบติดพันกับ ผกค.ในป่าเขาหลายวัน ศพทหารเริ่มเน่าและถูกฝังไว้ในพื้นที่การรบ ซึ่งหลังเกษียณอายุราชการ พล.อ.หาญและอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาตั้งทีมเพื่อค้นหาโครงกระดูก ปลายปี ๒๕๔๐ พล.อ.หาญและอดีตนักรบใช้ทุนส่วนตัว เมื่อมกราคม ๒๕๔๑ ทีมงานขุดพบโครงกระดูก ร.อ.ทองใบ อิ่มจิตต์, ร.ต.พจน์ รัตนัย, จ.ส.อ.สละ มาด้วง ซึ่งอดีตนักรบสามารถยืนยันได้ว่าโครงกระดูกเหล่านี้เป็นของผู้ใด เนื่องจากตอนฝังมีการทำสัญลักษณ์ไว้

การค้นหากระดูกนักรบที่เขาค้อระยะที่ ๒ เมื่อมกราคม ๒๕๔๒ สามารถขุดค้นพบโครงกระดูกเพิ่มขึ้นอีก ๘ นาย หลังจากนั้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติและสดุดีวีรบุรุษทั้ง ๑๑ นาย จึงได้ขอพระราชทานเพลิง ณ เมรุวัดเขาค้อพัฒนาราม โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าไตรทอดหน้าศพด้วย ยังความปลื้มปีติต่อครอบครัวผู้วายชนม์เป็นล้นพ้น หลัง พล.อ.หาญเสียชีวิต ภารกิจการค้นหาโครงกระดูกดังกล่าวก็ยกเลิกไป

ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ พล.อ.หาญ เพไทย มีอาการป่วยด้วยมะเร็งตับอ่อน เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลศิริราช ท่านเป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ต่อสู้กับโรคร้ายนานหลายเดือน มีนาคม ๒๕๕๔ อาการทรุดลงไปอีก พล.อ.หาญ เพไทย เสียชีวิตอย่างสงบเมื่อ ๘ เมษายน ๒๕๕๔ รวมอายุได้ ๗๑ ปี

คุณค่าของชีวิตไม่ได้อยู่ที่ได้รับมาเท่าใด คุณค่าของชีวิตอยู่ที่ให้ไปเท่าใด พล.อ.หาญ เพไทย คือ วีรบุรุษนักรบที่ชนรุ่นหลังขอยกย่องสดุดีและระลึกถึงตลอดไป





พระที่นั่งอนันตสมาคม งามสง่า อลังการ คู่ฟ้าเมืองไทย
โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก

ภายหลังจากพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ เสด็จกลับจากประพาสยุโรปเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ มีพระราชดำริจะสร้างพระราชวังที่ประทับแห่งใหม่ แยกออกมาจากพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเริ่มจะแออัด โดยเฉพาะสิ่งปลูกสร้างที่บังทางลม อากาศไม่ถ่ายเท ไม่มีสนามหญ้าหรือสวนหย่อมเพื่อพักผ่อนพระอิริยาบถ

พระบรมมหาราชวังสร้างมาแล้ว ๑๑๕ ปี ระบบสาธารณูปโภคที่มีแต่เดิมไม่สามารถรองรับจำนวนคนที่เพิ่มมากขึ้นได้ มีปัญหาทางด้านสาธารณสุข มีโรคภัยไข้เจ็บด้านทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ

พระราชวังปีเตอร์ฮอฟที่รัสเซีย สวนป่าตามแบบของอังกฤษตามที่ทอดพระเนตรมาในยุโรป เป็นรูปแบบของพระราชวังที่ต้องพระราชหฤทัยยิ่งนัก ในหลวง ร.๕ จึงมีพระราชดำริให้หาที่ดินหัวไร่ปลายนาชายขอบพระนครเพื่อสร้างพระราชวังแห่งใหม่ ซึ่งในยุคสมัยนั้น ที่ดินดังกล่าวล้วนแล้วแต่เป็นที่นาของราษฎร

ในรัชสมัยในหลวง ร.๕ สยามประเทศกำลังเผชิญกับลัทธิล่าอาณานิคมจากชาติมหาอำนาจตะวันตก พระองค์ทรงดำเนินกุศโลบายที่จะแสดงความเป็นอารยะของสยาม เพื่อไม่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นดังเช่นประเทศเพื่อนบ้าน มีสิ่งปลูกสร้าง อาคาร สถานที่ สะพาน ถนน เกิดขึ้นในพระนครหลายแห่ง ในเวลาเดียวกันในหลวง ร.๕ ก็ทรงกังวลเรื่องที่ผู้คนทั้งหลายไม่เข้าใจในแนวพระราชดำริดังกล่าว ถึงกับมีพระราชกระแสรับสั่งกับเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ซึ่งท่านได้บันทึกพระราชกระแสไว้ว่า “พระองค์ทรงแสดงพระราชโทมนัสมาก ถึงแก่รับสั่งว่า ต่อไปข้างหน้าเขาคงพากันติฉินว่า สมัยพระจุลจอมเกล้าฯ นี้ช่างโปรดตึกฝรั่งเสียจริง”



ในหลวง ร.๕ มีพระราชประสงค์ที่จะสื่อสารทางอ้อมให้กับพระมหากษัตริย์และประมุขของนานาชาติได้ทราบว่า พระองค์คือพระมหากษัตริย์แห่งโลกสมัยใหม่ สยามเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในตะวันตก สยามมีสุนทรียภาพ มีศิลปวัฒนธรรม มีความศิวิไลซ์ (Civilization) ในขณะที่อังกฤษและฝรั่งเศสกำลังแย่งยึดดินแดนรอบสยามประเทศ

ในที่สุดพระองค์ทรงเลือกที่ดินที่อยู่ทางทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดให้มีผู้แทนพระองค์เจรจาจัดซื้อที่นาของราษฎรอย่างเป็นธรรม โดยกำหนดราคาที่ดินให้เป็นไปที่ฝ่ายเจ้าของที่ดินเห็นว่าสมควร จะต้องทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน และต่อมารูปแบบของหนังสือสัญญากลายเป็นหลักเกณฑ์สำหรับทางราชการที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

การซื้อที่ดินเริ่มดำเนินการเมื่อกุมภาพันธ์ ๒๔๔๑ ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อจากชาวบ้านรวม ๓๐๑ ราย แล้วเสร็จในเดือนเมษายน ๒๔๔๓ มีการออกโฉนดที่ดินทุกแปลงเป็นครั้งแรก ถือได้ว่าเป็นโฉนดที่ดินแปลงแรกของกรุงเทพฯ

ที่ดินที่จัดซื้อ เป็นรูปทรงเกือบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ในพื้นที่ดังกล่าวมีวัดร้างเก่าแก่สมัยอยุธยาชื่อ “วัดดุสิต” ทรงอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ผาติกรรมที่ดินในส่วนที่เป็นวัดร้าง โดยนำพระราชทรัพย์ไปใช้ในการบูรณปฏิสังขรณ์ “วัดเบญจพิตร” ซึ่งมีความหมายว่า “วัดของเจ้านาย ๕พระองค์” และเมื่อบูรณะแล้วเสร็จ ทรงเปลี่ยนนามใหม่ว่า “วัดเบญจมบพิตร” หมายความว่า “วัดของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕”

ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ โปรดฯ ให้วางผังและก่อสร้างพระที่นั่งและพระตำหนักต่างๆ ขึ้นบนที่ดินแปลงใหม่โดยลำดับ และพระราชทานนามของพระราชฐานที่ประทับแห่งใหม่นี้ว่า “วังสวนดุสิต” ตามชื่อวัดร้างเดิม ต่อมาทรงเปลี่ยนเป็น “พระราชวังสวนดุสิต” และต่อมาเป็น “พระราชวังดุสิต” สืบมาจนทุกวันนี้

การก่อสร้างเริ่มจากพระที่นั่งวิมานเมฆและหมู่พระตำหนักที่ประทับ ตามด้วยพระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งอภิเษกดุสิต ตามลำดับพระที่นั่งดังกล่าวที่สร้างเสร็จแล้ว ไม่กว้างขวางพอแก่การพระราชพิธี เหลืออาคารหลังสุดท้ายคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม

ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ต้องพระประสงค์ให้ก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อให้เป็นเสมือนท้องพระโรงหรือห้องรับแขกประจำพระราชวังดุสิต สำหรับเสด็จพระราชดำเนินออกเพื่อทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะและแขกเมือง รวมทั้งพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหาร และจะทรงใช้ประชุมข้อราชการแผ่นดินเพื่อให้สมพระเกียรติยศ

สถาปัตยกรรมรูปโดมทรงกลมขนาดใหญ่ที่มีหลังคาเป็นโลหะทั้งหลัง ตัวอาคารมีพื้นผิวเป็นหินอ่อนสีขาวนวลทั้งหมด คือ รูปแบบที่ทรงทอดพระเนตรมาจากยุโรป โปรดเกล้าฯให้ ทีมงานสถาปนิก ช่าง วิศวกร ประติมากรชาวอิตาเลียนเข้ามาดำเนินการออกแบบ

โปรดเกล้าฯให้ นายมาริโอ ตามาญโญ (Mario Tamagno) หนุ่มจากอิตาลีอายุ ๒๗ ปี เข้ารับราชการเป็นสถาปนิกในกระทรวงโยธาธิการ มีสัญญาว่าจ้าง ๒๕ ปี และให้นายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) อายุ ๔๖ ปี เป็นวิศวกร และมีจิตรกรจากอิตาลีอีก ๓ คน ควบคุมก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่ถือว่าเป็นการก่อสร้างที่สุดอลังการสำหรับสยามประเทศในเวลานั้น



ในหลวง ร.๕ ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายไทย คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และพระยาประชากรกิจวิจารณ์ (โอ อมาตยกุล) เป็นแม่กองก่อสร้างและผู้ช่วยตามลำดับ โดยทำงานร่วมกับทีมนายช่างจากอิตาลี เสาหินอ่อน ประติมากรรมหินอ่อน ลูกกรง ช่องแสงหินอ่อนทั้งหมด สั่งตรงมาจากอิตาลี มีการขุดเจาะหลุมสำหรับเทปูนเป็นเสาเข็มใช้ระบบ Compactual Pile มีปั้นจั่น ลูกตุ้มเจาะดินหนัก ๒ ตันเป็นอุปกรณ์หลัก ต้องเจาะหลุมและเทปูนเป็นเสาเข็มถึง ๕๐๑ หลุม มีการทำ Pile load test เป็นครั้งแรกในสยาม ว่าจ้างแรงงานไทย จีน จำนวนมากมาก่อสร้าง

การก่อสร้างดำเนินไปด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ในหลวง ร.๕ ทรงโปรดให้ใช้ผนังอาคารปูด้วยหินอ่อนสีขาวนวล จากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี เมื่อเสด็จกลับจากเยือนยุโรปครั้งที่ ๒ แล้ว จึงเสด็จไปวางศิลาพระฤกษ์ใน ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑

ในระหว่างการก่อสร้าง ทุกครั้งที่เรือกลไฟเดินทางมาจากอิตาลีและมาเทียบที่ท่าเรือกรุงเทพฯ พระองค์จะเสด็จไปทอดพระเนตรการขนย้ายและการเปิดหีบห่อ สิ่งของดังกล่าว สวยงามเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับชาวสยามยิ่งนัก

การก่อสร้างเป็นไปตามแผนงานทุกประการ เป็นที่พอพระราชหฤทัย แผนงานก่อสร้างต้องการให้แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๕๖ เพื่อใช้ในการเสด็จออกมหาสมาคมในโอกาสครบรอบ ๖๐ พระชนมพรรษา แต่แล้วเหตุการณ์ที่ชาวสยามต้องเสียใจร่ำไห้กันทั้งแผ่นดิน คือ ในหลวง ร.๕ เสด็จสวรรคตใน ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ ซึ่งการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ในหลวงรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้การก่อสร้างดำเนินต่อไปจนแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ รวมระยะเวลาก่อสร้าง ๘ ปี ใช้งบประมาณ ๑๕ ล้านบาท (อัตราเงินในสมัยนั้น)

รูปแบบสถาปัตยกรรมขององค์พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการของประเทศอิตาลี (ศิลปะเรอแนซองส์ : Renaissance) เป็นรูปแบบศิลปะที่นิยมกันในช่วง พ.ศ.๑๙๕๐ ถึง พ.ศ.๒๑๕๐ ตรงกับสมัยอยุธยาของไทย ซึ่งศิลปินแขนงต่างๆ ของอิตาลีพากันย้อยเวลาไปศึกษารูปแบบศิลปะในยุคกรีกและโรมันเมื่อ ราว ๒ พันปีที่ผ่านมา ศิลปะแนวนี้แพร่หลายเข้ามาในสยามพร้อมกับชาวต่างประเทศที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายกับสยามในสมัยรัชกาลที่ ๔

ส่วนของหลังคาตรงกึ่งกลางของอาคารของพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นโดมขนาดสูงใหญ่ และมีโดมเล็กๆ อีก ๖ โดม รวมทั้งหมดจึงมี ๗ โดม หลังคาแต่ละโดม วิศวกรอิตาเลียนออกแบบใช้แผ่นทองแดงหล่อ เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศและน้ำฝน จึงเกิดเป็นสนิมสีเขียว ลักษณะของโดมมีอิทธิพลมาจากโดมวิหารเซนต์ปีเตอร์ แห่งนครรัฐวาติกัน และโบสถ์เซนต์ปอลแห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

บนเพดานของแต่ละโดม ตกแต่งด้วยภาพเขียนสีน้ำแบบ เฟรสโกเซกโก (Fresco Secco) หรือจิตรกรรมแบบปูนแห้งขนาดใหญ่ เป็นลวดลายแบบนีโอคลาสสิก ผสมผสานรูปแบบอาร์ต นูโว (Art Nouveau) เป็นฝีมือการเขียนภาพของนายคาร์โล ริโกลี (Carlo Rigoli) และนายกาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) จิตรกรชาวอิตาเลียน ภายใต้การกำกับดูแลของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถเป็นอย่างสูงในศิลปกรรมไทยหลายแขนง มีทักษะในการผสมผสานการเขียนภาพศิลปกรรมไทยกับศิลปกรรมตะวันตกเข้าด้วยกัน

ภาพเขียนที่ปรากฏใต้โดม ออกแบบไว้เป็นภาพพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ ๖ รัชกาล สื่อความหมายพระราชกรณียกิจที่โดดเด่นในแต่ละรัชกาล เป็นภาพที่มีชีวิตชีวา มีแสง มีเงา มีมิติที่แตกต่างไปจากภาพวาดแนวเดิม

จิตรกรที่ชื่อนายริโกลี ในขณะเขียนภาพจะต้องนอนหงาย นอนตะแคง บิดซ้ายขวาไปตามลักษณะโดมเพื่อเขียนภาพ พระพุทธเจ้าหลวง ร.๕ ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเขียนเสร็จ โปรดเกล้าฯให้เขียนภาพพุทธประวัติตอนตรัสรู้ และปฐมเทศนาเพิ่มเติม
 
สิ่งที่วิเศษที่สุด คือ ความคงทนของสีที่ใช้คงทนนานนับร้อยปี ก็ยังดูสดใส สง่างามมาจนถึงทุกวันนี้




ในหลวงรัชกาลที่ ๖ ทรงสืบทอดพระราชภารกิจการก่อสร้าง และทรงเปิดใช้งานเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๕๘ เป็นต้นมา ทำให้พื้นที่บริเวณพระราชวังดุสิตงามสง่าโดดเด่นที่สุดในสยามประเทศ

๒๐ กันยายน ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นพื้นที่สวนสนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช

๑๑ มกราคม ๒๔๕๙ ประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่ มีพระราชพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษกสนานที่พลับพลาที่สร้างขึ้น ระหว่างพระที่นั่งอัมพรสถานกับพระที่นั่งอนันตสมาคม และมีพระราชพิธีใคร่พระมหาเศวตฉัตรประจำพระที่นั่งด้วย กับทั้งได้เสด็จออกที่สีหบัญชรด้านทิศใต้ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ เสนาอำมาตย์ ราชเสวก และประชาชนเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล ทั้งในวันที่ ๑๑ และ ๑๒ มกราคม ๒๔๕๙

ในสมัยในหลวงรัชกาลที่ ๗ ทรงใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเป็นฉบับแรก รวมทั้งเป็นอาคารรัฐสภาของชาติแห่งแรก และใช้เป็นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ ณ อาคารรัฐสภาปัจจุบัน

๑๙ มกราคม ๒๕๐๔ มีพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม สมโภชพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชการเสด็จนิวัตพระนคร หลังจากเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรป

๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ที่พสกนิกรชาวไทยต่างปลื้มปีติ คือ พระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับรัชทายาทสืบสันตติวงศ์ ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗

บรรยากาศในห้วงเวลานั้นพสกนิกรต่างชื่นชมยินดี มีการตกแต่งสถานที่ต่างๆ อย่างสวยงามทั่วประเทศ เช่น การประดับประทีปโคมไฟในสถานที่ราชการ การนำพระฉายาลักษณ์มาติดตั้งในหน่วยงาน อาคารของภาคเอกชน ก็มีการตกแต่งสถานที่อย่างสวยงาม (ปรากฏในภาพการตกแต่งไฟพระที่นั่งอนันตสมาคม)

และพระราชพิธีอันสำคัญยิ่งล่าสุด คือเมื่อ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

ในพระราชพิธีดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเสด็จออก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงประทับยืนหน้าพระราชอาสน์หน้าพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ในพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ ๒๐ ซึ่งพสกนิกรชาวไทยต่างชื่นชมพระบารมี และพระราชพิธีอันสง่างามในครั้งนี้ พร้อมทั้งได้ชมความวิจิตรตระการตาภายในพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้ไปพร้อมกัน

ในรัชสมัยในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชวิสัยทัศน์อันกว้างไกลโดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปโฉมกายภาพของกรุงเทพฯครั้งใหญ่ กุศโลบายของพระองค์ ทำให้เกิดสิ่งปลูกสร้าง อาคาร สถานที่ ถนน สะพานในกรุงเทพฯ อันโดดเด่นสวยงามในหลายพื้นที่รวมถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม

ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่มีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ โดยเฉพาะในการดำเนินวิเทโศบายปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทรงเร่งรัดพัฒนาสยามประเทศในทุกด้านเพื่อให้เป็นอารยะ เพื่อความอยู่รอด มุ่งรักษาเอกราช โดยมิให้สยามถูกดูหมิ่นดูแคลนจากชาวโลก ซึ่งพระองค์ทรงใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ในที่สุดพระองค์ทรงนำพาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์มาได้
  ที่มา : มติชนออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มิถุนายน 2561 14:24:29 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2560 17:13:43 »



แผ่นทองคำจำหลักลายปิดพระพักตร์
ใช้ในการพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗

จดหมายเหตุการพระบรมศพ

ข้อข้องใจในเรื่องของการเข้าโกศ
สามสิบปีที่แล้ว ผมมีหน้าที่ไปร่วมงานพระราชพิธีพระราชทานน้ำสรงพระศพเจ้านายองค์หนึ่งที่พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตร แต่ไปผิดเวลามาก ถึงที่นั่นก่อนที่พระศพจะมาถึงหลายชั่วโมง ประตูด้านหน้าห้องยังปิด แต่ประตูด้านหลังเปิดไว้จึงเดินเข้าไป

พวกสนมพลเรือนกำลังตระเตรียมงานอยู่วุ่นวายไปหมด เห็นพระโกศลองในอยู่บนฐาน วางรอไว้กับพื้น เปิดฝาเอาไว้ เห็นก้นเป็นตะแกรง แลลอดลงไปเห็นฐานเว้าเป็นกระทะหงายมีรูตรงกลาง พร้อมกันนั้นก็ได้เห็นกาจับหลักที่เขาวางไว้แถวนั้น จำได้เลาๆ ว่าเป็นแท่งโลหะกลมยาวทาสีแดง ตรงปลายคล้ายเป็นจานเล็กๆ หรือจะเป็นตัว T ตัว Y ก็ไม่แน่ใจ แต่เข้าใจได้ทันทีว่าเจ้านี่แหละที่เป็นตัวปัญหา แต่ดูๆ มันก็ไม่เห็นว่าจะได้รับการออกแบบให้ใช้เสียบอะไรได้ พวกพนักงานกำลังง่วนอยู่กับการประกอบเบญจาในขั้นตอนสุดท้าย ด้านหลังที่ยังเปิดอยู่แลเห็นท่อพลาสติกใส ขนาดสักหนึ่งนิ้ว ต่อจากปลายที่ลอดทะลุพื้นชั้นบนสุดลงมาที่ไหเซรามิคที่วางอยู่บนพื้น มีฝาผนึกปิดไว้อย่างดี พร้อมก้านต่อให้ท่อเสียบลงมาได้สนิท ไม่เห็นมีท่อไม้ไผ่อะไรตามจดหมายเหตุโบราณ หรือคงเพราะมีของอะไรดีกว่าก็ใช้ของนั้น เป็นวิวัฒนาการตามกาลสมัย

ผมอยู่ตรงนั้นสองสามนาทีก็รีบออกไปก่อนที่จะโดนเขาไล่ก็จริง  แต่ภาพที่เห็นมันติดตาเข้าให้แล้วอย่างยาวนานจนถึงบัดนี้ เพิ่งจะมีโอกาสได้ดึงมันออกจากสมองเพื่อทำเป็นภาพและเรื่องก่อนที่ผมจะหลงๆ ลืมๆ ไปกับวัย ภาพนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะมีคนนำไปเผยแพร่ต่อๆ กันไปอย่างกว้างขวางที่สุดในอินเทอร์เน็ต รวมทั้งหนังสือของทางราชการบางเล่มด้วย

มีหลายคำถามที่คาใจเรื่องท่านั่งในโกศ น่าจะเป็นไปได้ว่าแขนจะโอบรอบเข่ามากกว่า ไม่ได้ลอดเข้าไปด้านในเข่า เพราะดูจะเป็นไปได้ยากถ้าผู้นั้นไม่ได้ฝึกโยคะมา พร้อมทั้งยกข้อความนี้เป็นหลักฐาน

“จากนั้นเจ้าพนักงานกรมพระภูษามาลา ถวายเครื่องทรงอย่างบรมขัตติยาธิราช ครั้งนี้ใช้ภูษาสองผืน ผืนแรกใช้อย่างปกติ อีกผืนใช้อย่างหลังเป็นหน้า ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นผ้าไหม ชั้นนอกเป็นฉลองพระองค์ยาว ปักดิ้นทองคลุมทับ ทรงสร้อยสังวาลประดับเพชรคาดระหว่างพระอุระ (หน้าอก) พระเพลา (ขา) อยู่ในท่าประทับนั่ง พระอูรุ (ต้นขา) แนบอยู่กับพระนาภี (ท้อง) พระชานุ (หัวเข่า) เกยอยู่ที่พระหนุ (คาง) พระบาท (เท้า) พันธนาการไว้กับเสาไม้ พระกร (มือ) โอบรอบพระเพลา (ขา) ผูกไว้กับพระภูษาลินินและเส้นด้ายพิเศษ ทรงฉลองพระหัตถ์และพระบาทโยลีตาดสีทอง ทรงสวมพระมาลาไหม พระธำมรงค์ทองคำวางไว้ในพระโอษฐ์ ทรงฉลองพระพักตร์ทองคำ และสิ่งสุดท้ายคือพระชฎาทองคำบนพระเศียร ซึ่งภายหลังก่อนปิดฝาพระโกศจะถอดออกแล้วไปหลอมเป็นพระพุทธรูป แล้วก็สู่ขั้นตอนอัญเชิญไว้ในพระลองเงิน และพระบรมโกศทองใหญ่ตามลำดับ”

ข้อความข้างต้นมาจากหนังสือ “หมอฝรั่งในวังสยาม” ที่หมอมัลคอล์ม สมิธ เป็นผู้บันทึก คุณพิมาน แจ่มจรัส เป็นผู้แปล


โบราณมีจดหมายเหตุบันทึกเรื่องนี้อยู่ว่า

“เมื่อถึงคราเชิญศพออกเมรุ เจ้าพนักงานจักทำการเปลื้องพระสุกำศพลงเสีย แลเปลี่ยนผืนใหม่ แลพระบุพโพนั้นจักเชิญไปเผาพร้อมๆ กับพระสุกำศพ โดยจักกระทำดังนี้ เจ้าพนักงานจักถ่ายพระบุพโพลงในกระทะทอง พร้อมเครื่องหอม อาทิ ลูกฝรั่งสุก ใบเนียม แลจุดเพลิงเคี่ยวไปจนกว่าจะมอดเปนเถ้ายังพระเมรุพระบุพโพ หลังจักการเคี่ยวพระบุพโพเสดสิ้น แลจักนำพระศพนั้นมารูดลงเสีย เปนที่รู้กันทั้งแผ่นดินว่าพระศพนั้นต้องอยู่ในพระโกศตลอดเพลา เพลาผ่านไปนานเท่าใดพระศพจักยิ่งเน่า เนื้อหนังมังสาเอนน้อยเอนใหญ่ต่างพากันเน่าเปื่อยแลเหนไม่มีสง่าราศี หากองค์ใดสิ้นใจในหน้าฝนแล้วไซร้ จักต้องรอถึงหน้าแล้งแลค่อยถวายเพลิง ก่อนจักถวายเพลิงจักเปลื้องผ้าห่อศพนั้นออก แลนำพระศพนั้นไปสำรอกเอาเนื้อหนังมังสา เอนน้อยเอนใหญ่ทั้งหลายออกมาให้หมด ให้อยู่แต่กระดูกขาว แลเชิญกระดูกออกมาต่างที่ แลใส่เครื่องหอมลงกระทะใบบัว เช่น ชะลูด ใบเนียม ลงไปต้มทั้งผ้า อบให้หอม สิ่งที่เหลือในกระทะใบบัวแลจักทิ้งไม่ได้ ต้องเคี่ยวให้แห้ง แลนำไปเผาพร้อมผ้าห่อศพ ที่เรียกขานกันว่าถวายพระเพลิงพระบุพโพ ถ้าเปนศพชั้นเจ้านายจักถวายกันที่วัดมหาธาตุ ส่วนอัฐิที่สำรอกมังสาออกแล้วไซร้ แลเชิญลงพระโกศรอการถวายพระเพลิง”

เมรุที่วัดมหาธาตุข้างสนามหลวงเป็นเมรุผ้าขาวเล็กๆ สร้างเพื่อใช้ชั่วคราว สำหรับเผาพระบุพโพของเจ้านายโดยเฉพาะ แต่ต่อมาเริ่มจากพระบุพโพของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้นำไปพระราชทานเพลิงที่เมรุหลวงวัดเทพศิรินทร์

ที่มาเรื่อง : "ประวัติศาสตร์มีชีวิต" ศพในโกศ : เรื่องที่คนทั้งหลายอยากรู้  โดย หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน์  



พระราชพิธีเถลิงพระราชมณเฑียร พระที่นั่งอนันตสมาคม

พระที่นั่งอนันตสมาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๐ ซึ่งเป็นวันเดียวกับงานพิธีรัชมังคลาภิเษกสมโภชสิริราชสมบัติครบ ๔๐ ปีบริบูรณ์ของพระองค์ท่านโดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เขียนกระแสพระบรมราชโองการบรรจุในศิลาพระฤกษ์ด้วย

เมื่อการก่อสร้างดำเนินไปได้ ๒ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จในพุทธศักราช ๒๔๕๘ ใช้เวลาก่อสร้าง ๘ ปี งบประมาณการก่อสร้าง ๑๕ ล้านบาท

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเถลิงพระราชมณเฑียร ระหว่างวันที่ ๗ – ๑๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๕๙

ศิลปวัฒนธรรมนำเสนอภาพพระราชพิธีเถลิงพระราชมณเฑียร พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๔๕๙ เผยแพร่ภาพโดย ผศ.ดร. พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ภาพทั้งหมดจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร



พระมหาเศวตฉัตรประดิษฐานที่เบื้องหลังพระแท่นมนังคศิลารัตนสิงหาศน์ รอการยกขึ้นกางกั้นเหนือพระแท่น








พระแท่นสรงมุรธาภิเษกสนาน


พลับพลาทองและพระแท่นสรงมุรธาภิเษกสนาน


พลับพลาทอง ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งอนันตสมาคม











ที่มา : "พระราชพิธีเถลิงพระราชมณเฑียร พระที่นั่งอนันตสมาคม" silpa-mag.com

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มิถุนายน 2561 14:26:34 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 23 พฤษภาคม 2561 16:20:41 »



โถกลีบบัว

โถกลีบบัว สมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ใช้เป็นครอบน้ำพระพุทธมนต์ เนื่องจาก มีเชิงเทียนที่ด้านบนของฝา ตัวโถและฝาทำเป็นกลีบบัวนูน เคลือบสีแดงปนส้ม เขียนลายสอดเส้นสีทอง ด้านในของโถและฝาเขียนภาพปลาเงิน ปลาทอง และสาหร่าย เป็นแบบที่สั่งพิเศษจากแหล่งเตาจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเจียงซี ประเทศจีน เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยตามวิถีชีวิตแบบไทย ถือเป็นเครื่องกระเบื้องที่มีความประณีต งดงามอย่างยิ่ง กล่าวได้ว่าเป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมที่สุดชิ้นหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ท่านที่สนใจสามารถชมโถกลีบบัวอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยิ่งชิ้นนี้ได้ ในนิทรรศการ "แผ่นดินไทยในอดีต" ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร




หีบพระธรรม

หีบพระธรรม ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๓ หรือประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว
ไม้ลงรักปิดทอง สูงพร้อมฝา ๕๔ เซนติเมตร ปากกว้าง ๗๘ เซนติเมตร
ได้มาจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔

หีบพระธรรมรูปสี่เหลี่ยม ฐานด้านล่างสอบ มีหูทำด้วยโลหะอยู่ด้านข้าง ฝาหีบแบน เรียกว่า “หีบฝาตัด” ส่วนหีบที่มีฝานูน เรียกว่า “หีบฝาคุ่ม”  สมัยกรุงศรีอยุธยาชนชั้นสูงและคหบดีใช้หีบประเภทนี้สำหรับบรรจุเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเนื่องจากเป็นวัตถุที่สร้างด้วยความประณีต งดงาม เมื่อผู้เป็นเจ้าของสิ้นบุญไปแล้ว ทายาทจึงนำไปถวายวัด และพระภิกษุสงฆ์นำมาใช้เป็นที่เก็บพระคัมภีร์

หีบใบนี้ ทั้ง ๔ ด้าน ตกแต่งด้วยลวดลายรดน้ำ ปิดทองบนพื้นรักสีดำ กรอบเขียนลายกระหนกเปลวเป็นเครือเถาเลื้อย ลายตรงกลางแต่ละด้านเขียนภาพสัตว์หิมพานต์ และลายกระหนกเปลว ด้านหน้าเขียนภาพครุฑยุดนาคขนาบด้วยราชสีห์และคชสีห์ ด้านขวาของหีบเขียนลายสิงโตจีนและวิหค ด้านหลังเขียนภาพเหรา และด้านซ้ายของหีบเขียนภาพกิเลนคู่

ท่านที่สนใจสามารถชมหีบพระธรรมอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยิ่งชิ้นนี้ได้ ในนิทรรศการ "แผ่นดินไทยในอดีต" ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร




พระโพธิสัตว์เมตไตรย

พระโพธิสัตว์เมตไตรย ศิลปะลพบุรี (ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย)
พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว
สำริด สูง ๖๒ เซนติเมตร  พบที่บ้านฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

พระโพธิสัตว์เมไตรยะ เป็นพระโพธิสัตว์สำคัญในพุทธศาสนานิกายมหายาน คู่กับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร มีสัญลักษณ์สำคัญคือ รูปสถูปจำลองที่ปรากฏอยู่บนมวยพระเกศา พระโพธิสัตว์เมไตรยะองค์นี้ เกล้าพระเกศาเป็นมวยสูง และถักพระเกศา แบบที่เรียกว่า ชฎามกุฎ มี ๒ กร ยืนเอียงตนแบบที่เรียกว่า “ตริภังค์” ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าสั้น มีสายรัดผูกเป็นปมทางด้านหน้า ลักษณะเช่นนี้ ถือเป็นเอกลักษณ์ของประติมากรรมกลุ่มประโคนชัย ซึ่งพบในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เทียบอายุได้กับประติมากรรมเขมรโบราณสมัยก่อนเมืองพระนคร ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมโบราณบนแผ่นไทยอดีต

ท่านที่สนใจสามารถชมพระโพธิสัตว์เมตไตรย อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยิ่งชิ้นนี้ได้ ในนิทรรศการ "แผ่นดินไทยในอดีต" ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร




พระนารายณ์ทรงปืน

พระนารายณ์ทรงปืน  สมัยรัตนโกสินทร์

ฝีมือของอัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลี (Alfonso Tonarelli)  ประติมากรชาวอิตาลี ซึ่งเข้ามารับราชการและปั้นรูปประดับต่างๆ ในราชสำนัก ครั้งรัชกาลที่ ๕-๖  สร้างขึ้นตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระราชวังบ้านปืน ประติมากรรมชิ้นนี้ เข้าใจว่าถอดแบบจากต้นแบบปูนปลาสเตอร์ อันเป็นงานที่ทอดลองทำขึ้นในระยะแรก ลักษณะเป็นรูปบุรุษถือคันศรและลูกสร มีกล้ามเนื้อเสมือนจริงตามแนวทางศิลปกรรมแบบตะวันตก ทรงภูษาสั้น อาภรณ์เครื่องประดับได้รับแรงบันดาลใจจากประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะศรีวิชัย เบื้องหน้าศิราภรณ์มีพระอมิตาภะ ปางสมาธิ ประดับอยู่ อันผิดจากความหมายที่ต้องพระประสงค์ อาจเป็นด้วยเหตุนี้ จึงมิได้ขยายแบบเพื่อใช้จริง แบบที่หล่อขยายขึ้นใช้จริงปรับให้ทรงภูษายาว ปัจจุบันจัดตั้งยังเกยข้างหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งใช้ตราพระนารายณ์ทรงปืนเป็นตราประจำพระราชวังมาแต่เดิม อย่างไรก็ดี ประติมากรรมดังกล่าวนี้ ได้ถอดแบบหล่อโลหะเห็บรักษาไว้ยังพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ฐานปรากฏนามช่างผู้สร้างและปีสร้าง ระบุปี ค.ศ.๑๙๑๕ หรือตรงกับ พ.ศ.๒๔๕๘

ท่านที่สนใจสามารถชมพระนารายณ์ทรงปืนอันทรงทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยิ่งชิ้นนี้ได้ ในนิทรรศการ "แผ่นดินไทยในอดีต" ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  


ที่มา (ข้อมูล-ภาพ) : เว็บไซต์ กรมศิลปากร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤษภาคม 2561 16:25:12 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2561 18:19:47 »


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)
ขอขอบคุณภาพจาก : atom.rmutphysics.com

ร.๔ ทรงออก กม. เอาผิด “พระสงฆ์สามเณร”
ผู้มี “ประพฤติการนักเลงแปลงเพศเป็นคฤหัสถ์”

“…พระสงฆ์สามเณรทุกวันนี้มักประพฤติการนักเลง แปลงเพศเป็นคฤหัสถ์ไปเล่นเบี้ย เล่นโป แลสูบฝิ่น กินสุรา ถือศาสตราวุธเที่ยวกลางคืนชุกชุมมากขึ้น จับได้มาเนืองๆ

ครั้นแปลงเพศมาถึงกุฎีแล้วก็สำคัญใจว่าตัวไม่ได้ปลงสิกขาบท กลับเอาผ้าเหลืองนุ่งห่มเข้าตามเพศเดิม

การที่ถือใจว่าไม่ได้ปลงสิกขาบท กลับนุ่งห่มผ้าเหลืองนั้น เป็นความในใจ จะเชื่อถือเอาไม่ได้

ฝ่ายคฤหัสถ์ที่แปลงเพศเป็นภิกษุเข้าร่วมสังฆกรรมในคณะสงฆ์นั้น ตามพระวินัยบัญญัติก็มีโทษห้ามอุปสมบท

เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้สืบไป พระสงฆ์สามเณรรูปใดๆ แปลงเพศเป็นคฤหัสถ์ปลอมไปเล่นเบี้ย เล่นโป แลสูบฝิ่น กินสุรา ถืออาวุธเที่ยวกลางคืน อย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวห้ามไว้นั้น มีผู้จับตัวมาได้ หรือสึกแล้วยังไม่พ้นสามเดือน มีโจทก์ฟ้องกล่าวโทษพิจารณาเป็นสัจแล้ว จะให้สักหน้าว่าลักเพศภิกษุ ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๒ ยก ๖๐ ที ส่งตัวไปเป็นไพร่หลวงโรงสี…”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องพระสงฆ์สามเณรลักเพศ พ.ศ.๒๔๐๔



ภาพถ่าย "ชีวิตในวังของหม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก"
จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
หม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
ขอขอบคุณภาพจาก : scontent-ort2-1.cdninstagram.com

ชอบพัดลมไฟฟ้าหรือเปล่า

"ชอบพัดลมไฟฟ้าหรือเปล่า" เป็นพระดำรัสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ตรัสกับหญิงสาวชาวรัสเซียนางหนึ่ง เป็นพระดำรัสที่เกิดขึ้นขณะที่มีพระอารมณ์สับสนกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น และต้องทรงเผชิญหน้ากับหญิงสาวที่ทรงหลงรัก พระดำรัสนี้เองที่นำไปสู่การขอแต่งงานกับหญิงสาวชาวรัสเซียนางนั้น และเป็นการเริ่มต้นของความเป็นพระสุณิสาชาวต่างชาติคนแรกในราชวงศ์จักรี

หญิงสาวชาวรัสเซียนางนั้นคือ นางสาวเอกาเทรินา อิวาโนวา เดสนิตสกี้ (Ekaterina Ivanova Desnitsky) ซึ่งภายหลังก็คือหม่อมคัทริน หรือที่เรียกเป็นสามัญว่า แคทยา นับเป็นพระสุณิสาชาวต่างชาติคนแรกในราชจักรีวงศ์

เพราะสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงอยู่ในฐานะเจ้าฟ้าผู้มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ ทรงเป็นเจ้าชายที่มีพระสติปัญญาฉลาดเฉลียว มีพระปรีชาสามารถ จึงทรงเป็นความหวังของสมเด็จพระบรมราชชนกชนนี โดยโปรดเลือกให้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารบกที่ประเทศรัสเซีย

ด้วยพระคุณสมบัติที่เพียบพร้อม คือ รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ตลอดจนฐานันดรศักดิ์อันสูงส่ง ทำให้ทรงเป็นที่สนใจของชาวรัสเซียโดยเฉพาะสตรี ทรงไม่อาจหลีกพ้นจากความสัมพันธ์กับสตรีต่างชาติ สตรีหลายคน ทำให้ทรงพอพระทัย ประทับพระทัย แต่ก็ทรงหักพระทัยเมื่อทรงรำลึกถึงพระบรมราชชนกชนนี หน้าที่ที่ทรงมีต่อบ้านเมืองและฐานันดรศักดิ์ของพระองค์ ดังที่ปรากฏในบันทึกถึงสตรีนางหนึ่งว่า

“ฉันคิดว่าถึงเวลาเสียที ที่ฉันควรต้องเลิกติดต่อกับเธอ ในเมื่อเรื่องนี้รู้ไปถึงกรุงเทพฯ แล้ว”

แต่เมื่อทรงได้พบกับ “แคทยา” ความงดงามน่ารักดังที่ทรงพรรณนาว่า เป็นสุภาพสตรีสาวผมสีทอง เกล้าพันรอบศีรษะ ดวงตาสีฟ้าฉายแววซื่อไร้จริตมารยา ท่าทีสง่างาม แคล่วคล่องแต่แฝงไว้ด้วย ความนอบน้อม อ่อนโยนและขี้อาย ยิ่งเมื่อได้ทรงสนทนาด้วยก็ยิ่งทรงรู้สึกว่าพระทัยของพระองค์ดำดิ่งสู่ห้วงแห่งความรัก เพราะน้ำเสียงที่สดใสอ่อนหวาน ความฉลาดเฉลียวในการโต้ตอบทำให้ทรงถวิลหาจนไม่อาจถอนพระทัยจากเธอได้ ยิ่งเมื่อทรงทราบว่า เธอจะต้องจากไกลในฐานะนางพยาบาลอาสาสมัครที่ต้องเดินทางไปกับกองทัพรัสเซีย สู่สนามรบในไซบีเรีย เป็นระยะเวลาที่เจ้าฟ้าชายหนุ่มต้องทรงทุรนทุรายด้วยความคิดถึงห่วงใย และได้แปรเปลี่ยนเป็นความรักที่ลึกซึ้งชนิดที่ทรงรู้สึกว่าในพระชนมชีพจะขาดหญิงสาวผู้นี้เสียมิได้

ในส่วนแคทยา แม้จะมีใจต่อเจ้าชายหนุ่มแห่งสยาม แต่เมื่อรำลึกถึงความแตกต่างกันของเชื้อชาติ ศาสนา ความมืดมนของชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ในอนาคต หากตกลงปลงใจรับรัก จึงเกิดอาการลังเล แต่อานุภาพของความรักนั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ใครจะคาดถึง ทำให้ความคิดอ่านไตร่ตรองและความลังเลสูญสลายไปโดยสิ้นเชิง ดังนั้นการจากกันไกลยิ่งทำให้ความรักของหนุ่มสาวทั้งคู่ยิ่งทวีคุณค่าและรู้สึกตรงกันว่าชีวิตที่จะดำเนินต่อไปนั้นจะขาดซึ่งกันและกันเสียมิได้

เจ้าฟ้าชายชาวสยามทรงคิดถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่จะต้องทรงพบเมื่อเสด็จกลับถึงบ้านเมือง พร้อมกับหม่อมแหม่ม ความรักและความปรารถนาในตัวหญิงสาวทำให้ทรงมองข้ามอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นพระบรมราชชนกชนนี หรือฐานันดรศักดิ์ มีพระดำริว่าน่าจะทรงสามารถแก้ไขได้ แต่ปัญหาความแตกต่างกันของชีวิต ความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอากาศซึ่งแตกต่างอย่างตรงข้าม และไม่อาจทรงแก้ไขได้ ทำให้ทรงพระวิตกถึงเรื่องนี้ มีพระดำริวนเวียนสับสนในระหว่างที่หนุ่มสาวห่างไกลกัน จนเมื่อทั้งสองได้มีโอกาสพบกัน แม้ใจจะตรงกัน แต่ปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าอยู่ในใจทำให้หนุ่มสาวมิอาจกล่าวสิ่งใด ประโยคหนึ่งที่เจ้าชายหนุ่มทรงเอ่ยออกมา ก็คือสิ่งที่มีพระดำริ ว่าจะสามารถแก้ปัญหาที่ค้างคาในพระทัยได้ นั่นคือ

“ชอบพัดลมไฟฟ้าหรือเปล่า”

ท่ามกลางอากาศหนาวจัดที่ต้องเผชิญมาตลอดชีวิต ทำให้หญิงสาวไม่น่าจะมักคุ้นกับพัดลมไฟฟ้าได้ แต่เพราะใจที่เอนเอียงอยู่แล้ว ประกอบกับความที่ไม่อยากแสดงตนว่าไม่รู้จักกับเรื่องราวหรือสิ่งของในบ้านเมืองของคนที่เธอพอใจ จึงทูลตอบว่า “ชอบมาก”

คำตอบของหญิงสาวเป็นเสมือนฟ้าที่เปิดหมอกมัวในพระทัยสลายจนหมดสิ้น ด้วยทรงรู้สึกว่าทรงสามารถ แก้ไขปัญหาสุดท้ายได้ลุล่วงพระองค์จึงตรัสขอหญิงสาวแต่งงานและขอให้เธอติดตามไปใช้ชีวิตคู่ที่เมืองสยาม ด้วยกัน


(คัดมาบางส่วนจากหนังสือ วาทะเจ้านายเล่าประวัติศาสตร์ เขียนโดย ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย พิมพ์โดย สนพ.มติชน.๒๕๕๘)   
ทีมา - นิตยสารศิลปวัฒนธรรม



ภาพประกอบ -กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา

รัชกาลที่ ๔ ทรงสั่งไม่ให้ขุนนางเข้าเฝ้าเจ้านายองค์นั้น

“ประกาศให้ส่งต่อๆ ไปในข้าราชการในพระบรมมหาราชวังทุกหมู่ทุกกรม ว่ากรมหมื่นถาวรวรยศ กรมหมื่นอลงกฏปรีชาเมื่อเสด็จอยู่วังมักทรงเมาอยู่โดยมาก

เพราะฉะนั้นเว้นเสียแต่คนในกรมฝีพาย แลเกณฑ์ขาดกวาดสนามซึ่งเป็นกรมขึ้นกรมหมื่นถาวรวรยศได้ทรงบังคับบัญชาอยู่ แลกรมแสงปืน แลช่างในกรมแสง ซึ่งกรมหมื่นอลงกฏปรีชาได้ทรงบังคับบัญชาอยู่แล้วนั้น  ห้ามไม่ให้คนอื่นนอกนี้ไปเฝ้าที่วังด้วยธุระใดๆ ก็ดี ถึงจะมีผู้บอกว่ารับสั่งให้หาก็อย่าให้ไป ให้คอยเฝ้าเอาเมื่อเสด็จเข้ามาในพระราชวังนี้เถิด อย่าให้ไปเผ้าที่วังเลย เพราะไปพบเสด็จกำลังเมาอยู่เกลือกจะทรงกริ้วด้วยเหตุอันมิได้ควร แลจะทรงเตะถีบชกถองทำการเกินๆ …”

(จาก ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ เรื่อง ประกาศห้ามมิให้เฝ้ากรมหมื่นถาวรวรยศแลกรมหมื่นอลงกฎปรีชาที่วัง นอกจากผู้เป็นกรมขึ้น)

 
ที่มา : วาทะประวัติศาสตร์ "เมื่อเจ้านายทรงเมา" silpa-mag.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มิถุนายน 2561 14:30:49 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 30 มิถุนายน 2561 18:03:45 »


ภาพเก่าพระราชวังบวรสถานมงคล
ภาพจากเว็บไซต์กรมศิลปากร


พระราชวังบวร


คชกรรมประเวศ


คชกรรมประเวศ


เอกอลงกต


เอกอลงกต


ผังวังหน้า พ.ศ.๒๔๖๑


พระราชวังบวร


พระราชวังบวร


พระเมรุมณฑป


พระเมรุพิมาน


ตึกกระทรวงธรรมการ


ผังวังหน้า พ.ศ.๒๔๕๐


ผังวังหน้า พ.ศ.๒๔๖๘


เสด็จเปิดพิพิธภัณฑฯ


หอพระสมุดวชิรญาณ


ผังโอนที่ดินให้ธรรมศาสตร์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มิถุนายน 2561 18:23:07 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
การถ่ายภาพ กับชาวสยาม ภาพเก่าเล่าเรื่อง
สุขใจ ห้องสมุด
ฉงน ฉงาย 1 1047 กระทู้ล่าสุด 26 พฤษภาคม 2563 21:09:36
โดย ฉงน ฉงาย
พระธรรมปาโมกข์ (ถม) : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
Kimleng 3 547 กระทู้ล่าสุด 23 ธันวาคม 2566 16:09:34
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.086 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 01 เมษายน 2567 12:13:25