[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 22:39:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เชือกคาด สุดยอดเครื่องรางของขลัง  (อ่าน 4911 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 สิงหาคม 2558 17:48:55 »


เชือกคาด ลายกระดูกงู หาดูยาก

เชือกคาด
สุดยอดเครื่องรางของขลัง อีกหนึ่งภูมิปัญญาของเกจิอาจารย์ไทย
สายตรงเครื่องรางของขลัง

เชือกคาด” เป็น "เครื่องรางของขลัง" ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นภูมิปัญญาของเกจิอาจารย์ไทยมาแต่โบราณกาลอย่างแท้จริง  คำว่า “คาดเชือก” เป็นชื่อมวยไทยสมัยเก่าก่อน หากต่อยกันด้วยหมัดรุ่นๆ มันไม่ค่อยถนัด เดี๋ยวเนื้อหนังถลอกปอกเปิก จึงเอาเชือกเส้นเล็กๆ มาพันมือแทนนวม แล้วก็ต่อยกัน ส่วนเชือกนั้นต้องชุบน้ำข้าว เพื่อให้คม จะได้ฉีกเนื้อคู่ต่อสู้ให้เหวอะแตก เรียกว่าให้แพ้เท็คนิเกิลน็อคเอ้าท์ไปเลย

ในอดีตกาล บรมครูมวยไทยของเราคนหนึ่งชื่อ นายขนมต้ม เคยถล่มนักมวยพม่าถึง ๑๐ คนผลัดมาแล้ว ก็ด้วยคาดเชือกนี่แหละ แต่เชือกคาดนั้น คือ เชือกเส้นใหญ่ที่ใช้คาดเอว เพื่อให้เป็นคงกระพันชาตรี จัดอยู่ในชุดเครื่องคาดของไทยชนิดหนึ่ง  การแต่งกายให้สุภาพก็ต้องมีเข็มขัด ซึ่งพัฒนามาจากเชือกคาดเอวในสมัยโบราณ ส่วนรัดประคดของพระสงฆ์ก็จัดอยู่ในสายคาดเอวเหมือนกัน เชือกคาดจึงเป็นสิ่งที่ผูกพันกับชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณ พระเกจิอาจารย์ต่างๆ จึงนิยมสร้างเชือกคาดขึ้นมาเป็นเครื่องรางไว้ป้องกันภัยให้กับลูกศิษย์...สืบทอดวิชามาจนถึงทุกวันนี้

"เชือกคาด" ที่ว่านี้ไม่ใช่เชือกคาดปอ, เชือกกล้วย หรือเชือกมะนิลา แต่เป็นเชือกที่ถักขึ้นเป็นพิเศษพร้อมกับลงคาถาอาคม โดยมีหลักการสร้างดังนี้

๑.ใช้ผ้าขาวที่ห่อศพ หรือคลุมโลงศพ หรือจะใช้ผ้าเหลืองพระที่ได้มาจากบังสุกุลเอามาฉีกเป็นเส้นๆ ก็ได้
๒.ต้องลงอักขระลงไปบนเส้นผ้าที่ฉีกออกนั้นให้ครบทุกเส้น คือลงให้เต็มที่
๓.ถ้าหากไม่ฉีกเป็นเส้นก็เอามาตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม แล้วลงยันต์ นำมาม้วนเป็นก้อนแท่งยาว ๆ แล้วเอาเชือกมาถักหุ้มภายนอกสำหรับคาดเอว อย่างนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน
๔.บางแห่งใช้ "หวาย" ลงอักขระ แล้วถักหุ้มด้วยผ้า เป็นสายคาดเอวก็มี

เชือกคาดเอวที่มีชื่อเสียงโด่งดังมีหลายสำนัก เป็นการสืบทอดวิชามาจากโบราณคณาจารย์ยุคเก่าอย่างไม่ขาดสาย อาทิ เชือกคาดไส้หนุมาน หวายคาดเอว หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว, หวายคาดเอว หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, เชือกคาดเอว หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ , เชือกคาดเอว หลวงพ่อโชติ วัดตะโน, เชือกคาดเอว หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว (ลูกศิษย์หลวงปู่ยิ้ม), เชือกคาดเอว หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง (ลูกศิษย์หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ), เชือกคาดเอว พ่อท่านเขียว วัด                หรงบน,  เชือกขมวดหนุมาน หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค, เชือก ๗ ขอดไปได้กลับได้ หลวงพ่อกวย,เชือกคาดเอว หลวงพ่อหลิว วัดสนามแย้, เชือกขอด หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, เชือกคาดตะกรุด ภุชงค์เบญจฤทธิ์ หลวงพ่อเฮ็น วัดดอนทอง, เชือกคาดเอว หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม ฯลฯ

สรุปแล้ว เชือกคาด ก็คือ การลงอักขระบนผ้า หรือวัสดุอื่นๆ แล้วทำให้เป็นสายยาวๆ ใช้คาดเอวป้องกันอันตราย ส่วนการลงอักขระนั้น ก็แล้วแต่จะเลือกเอา เท่าที่ได้คลี่เชือกคาดของพระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่งของนครปฐม ดูเส้นหนึ่ง (เพราะชำรุดคาดไม่ได้) พบว่า เป็นการลงยันต์แบบปทุมจักรตรงกลาง ล้อมรอบด้วยยันต์องค์พระ เป็นมหาอุด ขมวดมุมทั้งสี่ด้วยยันต์เฑาะว์สมาธิ และมีอักขระกำกับสี่ด้าน เมื่อแกะดูแล้วผู้เป็นเจ้าของยังใช้เป็นผ้ายันต์นำติดตัวไปไหนมาไหนได้ เพราะถือว่าได้ลงอักขระและปลุกเสกไว้แล้วย่อมต้องเข้มขลังเหมือนเดิม

เชือกคาด สุดยอดเครื่องรางของขลัง 3 เชือกคาด มีหลายสำนักทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ... อาทิของ หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ธนบุรี สำนักนี้ถักเป็น ลายจระเข้ขบฟัน หัวเป็นตะกร้อ หางเชือกเป็นบ่วงแน่นหนา มีทั้งผ้าขาว และผ้าเหลือง สมัยก่อน มีผู้คนจำนวนมากนิยมไปหา หลวงพ่อโชติ วัดตะโน เพื่อขอเชือกคาดจากท่าน ต่อมาท่านเกิดตาบอดตอนชราภาพ ก็เพราะว่า การทำเชือกคาดนั้น ต้องเสียค่ายกครูหนึ่งสลึง (สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ เงินเฟื้องเงินสลึง หรือ ๒๕ สตางค์ ถือว่าไม่ใช่เงินน้อยๆ บังเอิญมีเจ้าหนุ่มชาวสวนคนหนึ่ง อยากได้เชือกคาด แต่ไม่มีสตางค์ จึงไปกราบเท้าอ้อนวอนขอให้ท่านช่วยทำเชือกคาดให้ ปรากฎว่าท่านใจอ่อน ก็เลยทำให้ฟรี ไม่เรียกค่ายกครู เท่านั้นแหละ ครูของท่านมาบอกว่า เอ็งจะต้องตาบอดแน่ๆ และท่านก็ตาบอดจริงๆ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐ มาถึง พ.ศ.๒๕๐๐ สิบปีเต็มๆ ที่หลวงพ่อต้องให้ศิษย์ถักเชือกแล้วเอามาให้ท่านปลุกเสกอีกทีหนึ่ง ... ทุกวันนี้ แม้หลวงพ่อโชติจะมรณภาพ

สำหรับเชือกคาดของหลวงพ่อเขียว วัดหรงบน จ.นครศรีธรรมราช ท่านใช้ผ้ารอยมือรอยเท้าของท่านมาม้วนแล้วถักเป็นเชือกคาด ส่วนเชือกคาดของหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ ท่านใช้ผ้าขาวมาถักเป็นเชือกล่ามควาย หัวก็พันเอาดื้อๆ ไม่ค่อยสวย แต่มีผลชะงัดทีเดียว  เชือกคาด นั้นใช้ได้ ๒ อย่างด้วยกัน คือ ๑.คาดเอวแทนเข็มขัด หรือแทนตะกรุด แต่บางคนใช้พันแขนแทน เชือกคาดแขน หรือพิรอดแขน ใช้ได้ทั้ง ๒ อย่าง แล้วแต่จะสะดวก

สุดยอดของเชือกคาด ถ้าจะเอากันให้ดีจริงๆ ต้องปลุกเสกให้เชือกคาดนั้นสามารถเคลื่อนตัว บิดไปบิดมาได้เหมือนกับงู จึงจะใช้การได้อย่างแท้จริง ซึ่งพลังจิตแบบนี้มีพระเกจิอาจารย์น้อยรูปที่สามารถทำได้

การอาราธนาเชือกคาด ใช้พระคาถาดังนี้...ตั้งนะโมฯ ๓ จบ แล้วสวดบูชาระลึกถึงพระศรีรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ และท่านผู้เป็นเจ้าของเชือกคาด เป็นที่สุดแล้วว่า “อุทธัง  อัทโธ นะโมพุทธายะ โธอุท ธังอัท ผุดผัดผิด  ปิดด้วยนะโมพุทธายะ มะอะอุ อุอะมะ นะปิดนะหยุด นะอัตถะยาวะ”ข้อมูล


จากหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.336 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้