[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 เมษายน 2567 05:54:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟังธรรมะจากภิกษุณีเท็นซิน พัลโม  (อ่าน 2372 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มกราคม 2554 09:25:33 »




เมื่อวันพุธที่ 10 มกราคม 2550 ผมได้โอกาสอันดีไปฟังธรรมจากท่านภิกษุณีเท็นซิน พัลโม ณ โรงเรียนรุ่งอรุณ จึงขออนุญาตนำเสนอตามความเข้าใจเฉพาะที่ได้ฟัง เพราะผมก็ไม่ค่อยมีพื้นฐานความรู้ทางด้านศาสนา จึงจับความได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

ทานบารมี

          ท่านเล่าว่าเด็ก 4 ขวบคนหนึ่งได้รับการร้องขอให้แบ่งขนมให้คนอื่นบ้าง เด็กคนนั้นไม่ยอมทั้งที่มีขนมอยู่เต็มกล่อง (โลภ) เด็กบอกว่าขนมเป็นของตน จึงไม่แบ่งให้ใคร แต่เมื่อได้ข้อคิดว่า ก็เพราะตนเป็นเจ้าของนี่เอง จึงมีสิทธิแสดงอำนาจที่จะแบ่งให้คนอื่น เด็กคนนั้นใช้เวลาสักครู่จึงได้คิดและแบ่งขนมแก่ทุกคนที่อยู่ในกลุ่มนั้นด้วยความเบิกบานใจ

          นี่เป็นคำอธิบายที่ลึกซึ้ง คือแทนที่เราจะบอกแบบพื้น ๆ ว่าให้เห็นใจคนอื่น มีใจใหญ่ มีน้ำใจ ช่วยเหลือกันและกัน เราก็อธิบายให้เห็นถึงพลังอำนาจและความยิ่งใหญ่ของเรา ที่เราสามารถจะหยิบยื่นหรือกระทำกับคนอื่น (ในทางที่ดีคือการให้ทาน) นับเป็นคำอธิบายที่น่าสนใจยิ่ง บางทีเราอาจพยายามอยากมี เพราะว่าเราจะได้มีโอกาสแบ่งเพื่ออยากมีบารมี!

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว

          ท่านพูดถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (integrity) ระหว่างสิ่งที่คิด พูด และทำ ท่านว่าต่างจากนักการเมืองซึ่งมักเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีร่ำไป (ไม่รู้บาปหรือไม่ที่ลงที่พวกเขาเรื่อย คิดไปก็ชักสงสาร) ท่านว่าโฆษณาต่าง ๆ มักไม่นำเสนอข้อมูลอย่างรอบด้าน พูดความจริงเพียงบางส่วนหรือไม่ก็โกหกไปเลยเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ และด้วยเหตุนี้เลยทำให้สื่อมวลชนพลอยมัวหมองไปด้วยเพราะเป็นผู้เผยแพร่โฆษณา (ความจริงควรแยกแยะกว่านี้)

          การนี้อาจต้องยกประโยชน์ให้ประเทศตะวันตกที่พัฒนากฎหมายและมีการติดตามการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งผู้โฆษณาไม่อาจบิดเบือนความจริงหรือโฆษณาเท็จได้ หาไม่จะได้รับโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา หรืออาจถูกผู้บริโภคฟ้องร้องโดยตรงได้ ความจริงอย่างหนึ่งที่ปรากฏในกรณีนี้ก็คือสังคมเราต้องสร้างระบบบางอย่างเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค จะอาศัยแต่การสอนศีลธรรมเฉพาะปัจเจกบุคคลคงไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับปล่อยให้ผู้เอาเปรียบเสวยสุขต่อไปโดยให้ผู้บริโภคโทษตัวเองที่ใจยังไม่นิ่งพอ

คุณธรรมกับกฎหมาย

          ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างศีลธรรมและกฎหมาย โดยไม่แยก ไม่ขัดกัน ย่อมไม่มีภาวะที่ “ถูกกฎหมายแต่ผิดจริยธรรม” หรือ “มีคุณธรรมแต่ละเมิดกฎหมาย” สิ่งที่ถูกต้องก็คือ “ถูกกฎหมายคือมีจริยธรรมและคุณธรรม” “มีคุณธรรมต้องปฏิบัติตามกฎหมาย” เป็นต้น ส่วนการทำบุญถือเป็นการอาสาบำเพ็ญประโยชน์ หรือการเสียสละตามกำลังตามใจสมัคร ซึ่งไม่ใช่วิสัยที่จะไปกะเกณฑ์อะไร

          คำพูดที่ว่าเราควรใช้คุณธรรมและจริยธรรมนำหน้านั้นฟังดูดี แต่ต้องใช้วิจารณญาณให้ดีเช่นกัน เพราะสมัยนี้มีผู้คนมากมายที่อาศัยการทำดีฉาบหน้าเพื่อปกปิดการทำผิดกฎหมายของตน การที่เราทำถูกต้องตามกฎหมาย ก็คือการที่เรามุ่งหวังคงอยู่อย่างยั่งยืน เข้าทำนอง “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” โดยเคร่งครัด หาไม่เราอาจถูกทั้งจำทั้งปรับ เสียชื่อเสียง การทำถูกต้องตามกฎหมายจึงไม่ใช่การอาสาบำเพ็ญประโยชน์ ไม่ใช่การทำตามคำสอนทางศาสนา แต่เป็นกติกาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และถือเป็นการลงทุนสำคัญประการหนึ่งในการสร้างมูลค่าให้กับชื่อเสียงของเราและกิจการของเราด้วย

กระดาษทราย

          ท่านกล่าวว่าไม้พื้นหยาบแผ่นหนึ่งจะทำให้เรียบ คงอาศัยแพรไหมเนียนลื่นไม่ได้ ต้องใช้กระดาษทรายมาขัดให้ไม้แผ่นนั้นเรียบ คนที่ขี้โกรธก็คงได้อาศัยข้ออุปมาที่กินใจนี้มาดัดแปลงตนเอง เพราะถ้าเราพบแต่คนที่พูดจาด้วยดี ๆ ปฏิบัติต่อเราดี ๆ เราก็คงไม่มีโอกาสขัดเกลา พัฒนาหรือฝึกการควบคุมอารมณ์ได้ เราจึงไม่ควรดีใจที่ได้พบแต่สิ่งดี ๆ ราบรื่น

          อย่างไรก็ตามไม้แผ่นหนึ่งที่จะเรียบได้ คงเริ่มต้นที่การริดกิ่ง ปอกเปลือก โดยมือคนหรือโดยกระแทกกับก้อนหินที่หยาบยิ่ง ต่อมาก็คงต้องพบกับเลื่อย กบเหลาไม้ กระดาษทรายหยาบ จนถึงกระดาษทรายละเอียด ยิ่งเราต้องการความละเอียด เรายิ่งต้องขัดเกลาด้วยสิ่งละเอียดละเมียด นี่เป็นความจริงในอีกกาละเทศะหนึ่ง

ความเมตตาที่สูงส่ง

          ในกรณีคล้ายกัน ท่านยังยกตัวอย่างลามะทิเบตรูปหนึ่งที่ถูกจับเข้าค่ายแรงงานของจีนเป็นเวลานานมากกว่า 20 ปีจนขาพิการ ลามะท่านนั้นมีความเมตตา ไม่คิดแค้น และกลับเห็นเช่นว่าตนได้มีโอกาสไปฝึกปฏิบัติธรรม สิ่งสำคัญที่ลามะรูปนั้นกลัวก็คือกลัวสูญเสียความเมตตา เพราะในห้วงของการถูกทรมานอย่างแสนสาหัส อาจทำให้อารมณ์ขุ่นมัว ทำให้เกิดความโกรธแค้น

          นี่อาจแสดงถึงการเข้าถึงธรรมะอย่างลึกซึ้งของท่านลามะ แต่ในแง่หนึ่ง ก็รู้สึกเหมือนว่า ภาวะนี้คล้ายการพยายามสะกดจิตตัวเองหรือไม่ สะกดจิตเพื่อให้เราสามารถยึดติด หรือมั่นถือมั่นในธรรมะอย่างเคร่งครัดแม้ในภาวะที่ยากลำบากแสนสาหัสก็ตาม กรณีนี้อาจนำมาซึ่งความหลุดพ้นของปัจเจกบุคคลหนึ่งจากมิติหนึ่งไปอีกมิติหนึ่ง แต่จะมีผลต่อการพัฒนาสังคมเพียงใดเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเช่นกัน

“องค์รวม”

          ตัวอย่างของ “องค์รวม” ที่ท่านยกมาก็คือโต๊ะ ความเป็นโต๊ะนั้น คงไม่ได้หมายเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของโต๊ะ เช่น ขาโต๊ะ แผ่นไม้ส่วนบนของโต๊ะ หรือตะปู เป็นต้น เพราะเมื่อแยกส่วนแล้ว ก็ไม่มีความเป็นโต๊ะ การนี้ทำให้เรารู้จักมององค์รวมที่กว้างขวางมากกว่าการมองเฉพาะจุด อย่างไรก็ตามในอีกแง่หนึ่งเราก็อาจอธิบายในเชิงการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ คือการนำเอาวัสดุต่าง ๆ มาบวกด้วยการออกแบบ บวกด้วยแรงงานในการผลิต เราก็จะได้คุณภาพใหม่คือโต๊ะตัวหนึ่ง (หรือสิ่งอื่น) ที่ไม่ใช่เพียงวัสดุอีกต่อไป สิ่งที่ทำให้เกิดความเป็นโต๊ะก็คือแรงงานนั่นเอง (รวมทั้งการออกแบบซึ่งเป็นผลจากแรงงานการคิด)

          ผมเห็นว่าความเป็นโต๊ะที่แท้ก็คือที่วางของ ทั้งนี้พิจารณาจากการหน้าที่ของโต๊ะ ดังนั้นแม้หินก้อนหนึ่งที่มีพื้นหน้าแบบราบในระดับหนึ่ง ก็สามารถทำหน้าที่เป็นโต๊ะได้ เราจึงไม่อาจยึดติดกับโต๊ะแบบทั่วไป เราจึงต้องก้าวให้พ้นลักษณะของโต๊ะทั่วไป ไม่เช่นนั้นเราก็อาจจะยึดติดหรือหลงไหลได้ปลื้มกับ “องค์รวม” ข้างต้นโดยไม่ก้าวต่อไป

การเรียนรู้

          ข้อจำกัดในการเรียนรู้ของคนอาจแบ่งเป็น 3 ประเภท ประเภทแรกไม่คิดหรือไม่อาจจะเรียนรู้ได้ เปรียบเหมือนถ้วยชาที่คว่ำอยู่ เทชาลงไปไม่ได้ ประเภทที่สอง “เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา เปรียบเหมือนถ้วยชาที่ก้นรั่วหรือแตกร้าว และประเภทที่สาม มีความขุ่นมัวซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้เปรียบเหมือนถ้วยชาที่เต็มไปด้วยน้ำเสีย

          อย่างไรก็ตามกรณีถ้วยชาที่มีน้ำเสียอยู่นั้น ถ้าไม่เทออก แต่เทน้ำดีเข้าผสม เพียงครั้งแรกก็ทำให้น้ำเสียเหลือเพียงครึ่ง พอเทน้ำดีเข้าไปอีก 1 แก้ว น้ำเสียก็จะเหลือเพียงเสี้ยวเดียว พอเทน้ำดีเข้าไปถึงครั้งที่ 7 ก็จะเหลือน้ำเสียเพียง 1% และถ้าเทน้ำดีเข้าไปถึงครั้งที่ 10 ก็จะเหลือน้ำเสียเพียง 0.1% ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงคงเป็นเรื่องค่อยเป็นค่อยไป คงไม่มีใครเทน้ำเสียออกจากตัวได้ทั้งหมด แต่พึงใช้วิธีใช้น้ำดีไล่น้ำเสียมากกว่า ดังนั้นอุปมาข้างต้นจึงอาจต้องพิจารณาให้รอบด้าน


นักเทศน์ที่ดี


          ผมได้เรียนรู้ว่าการเทศน์ที่ดีไม่ใช่การท่องมนต์หรืออ่านบทสวด แต่เป็นแบบบาทหลวงในคริสตศาสนาที่เน้นไปที่การสนทนาธรรม พระพยอมก็ใช้แนวทางนี้ จนเดี๋ยวนี้พัฒนาไปเป็นแบบ talk show แบบ “ธรรมะ delivery” แล้ว ความลึกและคมของนักเทศน์ก็ขึ้นอยู่กับการยกอุปมาอุปมัยที่ลึกซึ้ง กินใจ กลยุทธในการจูงใจ และที่สำคัญก็คือความศรัทธาของผู้ฟัง ยิ่งผู้ฟังศรัทธามาก ผู้ฟังก็ยิ่งซึ้งใจมาก (อาจจะซึ้งใจตั้งแต่ก่อนฟังแล้วก็ได้)

          โดยทั่วไปการบรรยายธรรมที่ประสบความสำเร็จจะใช้เค้าโครงเรื่องที่ง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งวันนี้ท่านเลือกเรื่อง “บารมี 6” (ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา) สังเกตได้ว่า เวลาส่วนใหญ่จะเน้นไปในข้อแรก ๆ ส่วนกรณีปัญญา ใช้เวลาน้อยที่สุด ทั้งนี้คงเป็นธรรมดาเพราะเป็นเรื่องลึกซึ้ง จึงได้แค่แตะ ๆ ไว้ให้ครบ แต่ในอีกแง่หนึ่งข้อแรก ๆ เป็นสิ่งที่รู้กันอยู่พอสมควรแล้ว เพียงแต่นักเทศน์แต่ละคนอาจใส่อุปมาหรือเรื่องกินใจที่แตกต่างกัน ผมจึงเห็นว่าการเทศน์หรือสนทนาธรรมควรเน้นและให้เวลากับเรื่องปัญญาเป็นพิเศษ ยิ่งเข้าใจยาก ยิ่งต้องอธิบายมาก ไม่เช่นนั้นเราก็จะติดอยู่กับแบบเบื้องต้นร่ำไป

กลยุทธการควบคุมเวที

          ในระหว่างการพูดในช่วงแรก ๆ ทางคณะผู้จัดได้ฉายภาพนิ่งผ่านจอ LCD เป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งปรากฏภาพของภิกษุณีอีกท่านหนึ่ง โดยไม่ได้ฉายภาพหรือแผนภูมิเกี่ยวกับการบรรยายใด ๆ จึงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ท่านกำลังพูด ท่านเห็นคนมองจอก็มีเมตตาและมีกิริยาที่งดงามยิ่ง ท่านให้อรรถาธิบายว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพอาจารย์ของท่านเอง ผู้จัดจึงทราบด้วยปัญญาว่าให้ปิดหน้าจอดังกล่าวได้

          ท่านบรรยายธรรมถึงอีก 30 นาทีจะหมดเวลา (จากทั้งหมด 3 ชั่วโมง) ท่านจึงเปิดโอกาสให้ซักถาม โดยบอกว่าหากไม่มีผู้ซักถามจะพานั่งสมาธิ แต่ก็มีผู้ซักถาม 1 ท่าน หลังจากนั้น ท่านก็บอกว่าจะใช้เวลา 2 นาทีบรรยายเกี่ยวกับการก่อสร้างสำนักปฏิบัติธรรมของภิกษุณีที่ท่านสร้างเสร็จไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่บังเอิญกินเวลาไป 18 นาที ดังนั้นก่อนหมดเวลา 1-2 นาที ท่านจึงถามว่ามีผู้ใดคิดว่าต้องการจริง ๆ ที่จะถามคำถามในเวลานี้ไหม แน่นอนแหละครับ ผมก็ไม่กล้าถามเหมือนกัน ผมเกรงใจและอิ่มในรสพระธรรมแล้วครับ

คำถามที่อยากจะถาม

          ความจริงผมตั้งใจอยากจะถามว่า ขณะนี้ท่านยังใช้ “กระดาษทราย” อยู่หรือเปล่า ทั้งนี้เพราะผมเข้าใจว่าในรอบนับสิบปีหลังมานี้ ท่านก็อยู่อย่างสบาย เผยแพร่ธรรมะ ได้ทานบารมี เป็นที่เคารพยกย่อง และถูกกราบไหว้อย่างนอบน้อมกว่าพวกนักการเมืองที่ยิ่งใหญ่ได้รับเสียอีก เงื่อนไขชีวิตแบบนี้ยังต้อง “ขัดเกลา” หรือมีเงื่อนไขการขัดเกลาใด ๆ หรือไม่ แต่ในอีกแง่หนึ่ง ท่านก็บรรลุธรรมชั้นสูงแล้ว อาจไม่จำเป็นต้องใช้ “กระดาษทราย” อีกต่อไปหรือไม่ อย่างไร

          เสียดายผมไม่กล้าถาม แต่ถ้าท่านใดมีคำตอบ กรุณาบอกผมด้วยครับ

http://www.thaiappraisal.org/thai/market/market_view.php?strquery=market141.htm

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
▄︻┻┳═一
SookJai.com
นักโพสท์ระดับ 9
****

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 794


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 มกราคม 2554 00:23:01 »

สงสัยกรณีภิกษุณีครับ
เหมือนจะสูญหายไปนานมากแล้ว
เพราะไม่มีผู้อุปปัชฌา
และเคยเป็นที่วิพากวิจารณ์มามากรุ่นที่ประเทศไทย
มีคนจะเป็นภิกษุณี จุดนี้ไม่มีข้อมูลเลยครับ
บันทึกการเข้า

มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 31 มกราคม 2554 06:15:45 »

สงสัยกรณีภิกษุณีครับ
เหมือนจะสูญหายไปนานมากแล้ว
เพราะไม่มีผู้อุปปัชฌา
และเคยเป็นที่วิพากวิจารณ์มามากรุ่นที่ประเทศไทย
มีคนจะเป็นภิกษุณี จุดนี้ไม่มีข้อมูลเลยครับ



มีหลาย ๆ มุมมอง ทำไว้แล้ว สองห้อง รวมข้อมูล ความเห็นต่าง ๆ
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ละเอียดอ่อน ล่อแหลม เกี่ยวข้องกับพระธรรมวินัยด้วย
ต้องละเอียดสุด ๆ พวกหัวก้าวหน้า ปะทะสังสรร กับ พวกอนุรักษ์

ถือว่า เป็น จิตวิญญาณทางเลือก ละกัน อนาคตมีแน่ ๆ แต่ไม่รู้จะออกมาในรูปใหน
ถ้า ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ คนจะเข้ามาเอง ถ้ามีแล้วไม่ได้เรื่อง ติดตำแหน่ง พัดยศ
โลกธรรมแปด โลกลากมา ลากไป คนจะเสื่อมศรัทธา ก็ จะสลายตัวไปตามระเบียบ

อ่านอยู่ ศึกษาอยู่ ยากมาก มีหลาย ๆ ประเด็น เช่น ประเด็นโปรดสัตว์ สิทธิสตรี
มาตี กับ ประเด็น พระธรรมวินัย ภิกษุณีขาดสายหรือไม่ บวชควรอยู่ในอาณัติใคร

แอ๊กกกกกก ปวดหัว เลยทำห้องไว้อ่าน หลาย ๆ มุม มองนาน ๆ ดูการก่อตัว
ก้าวผ่าน หลอมรวม และ และ และ และ อื่น ๆ อีกมากมาย ไม่รู้ ดูเอง

โลกยุคใหม่ ยุคอภิญญาใหญ่ ยุคปัญญา ( Era wisdom ) ยุคจิตวิญญาณเบ่งบาน
ยุคอะไร ที่กำลังมา น่ะ จะมี แนวทางนี้หรือไม่ มาในแบบใด ดู ดู คิด คิด พิจารณาต่อไป

ตามแต่เหตุปัจจัย แห่งโลก ธรรม กิเลส และ อีกมากมาย ที่ไม่รู้

2 ห้อง เท่าที่จะรวมมาได้ ไม่ต้อง ค้น เราหามาให้แล้ว เชิญ อ่าน ศึกษา
ทำความเข้าใจ ในหลาย ๆ มุม หลายเหลี่ยม ความต่าง ความเหมือน เด้อ ๆๆๆๆๆ


ศากยธิดา-นานาชาติ

http://agaligohome.fx.gs/index.php?board=38.0

ธรรมมาตา

http://agaligohome.fx.gs/index.php?board=37.0


http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=2372.0

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 8.0.552.224 Chrome 8.0.552.224


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 31 มกราคม 2554 11:42:53 »

อ้างถึง

ประเด็น พระธรรมวินัย ภิกษุณีขาดสายหรือไม่ บวชควรอยู่ในอาณัติใคร


นั่นสิครับ ผมเองก็สงสัยในจุดนี้

เพราะภิกษุณีขาดสายไปนานมาก (เป็นพันปี ?)

แล้วแบบนี้จะอยู่ในอาณัติการดูแลของฝ่ายใด

เพราะทางฝ่ายสงฆ์ก็ไม่ได้

และเรื่องสำคัญคือพระธรรมวินัยนี่แหละครับ

จะขัดต่อพระธรรมวินัยนะผมว่า
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 31 มกราคม 2554 21:27:02 »


กล้วย ล่ะ ลังเล ลังเล




 แบร่ แบร่ แบร่ แบร่ แบร่ แบร่
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ดอกไม้แห่งโพธิ โดย ท่านภิกษุณี เท็นซิน พัลโม
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1500 กระทู้ล่าสุด 21 มิถุนายน 2553 20:29:30
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.408 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 03 มีนาคม 2567 20:07:03