[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:25:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิสุทธิมรรค กรรมฐาน 40 กอง  (อ่าน 15736 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 ธันวาคม 2552 11:19:01 »

07-23-2008, 07:20 PM   
มดเอ๊ก
บอร์ด อกาลิโก


วิสุทธิมรรค กรรมฐาน 40 กอง

--------------------------------------------------------------------------------

วิสุทธิมรรค ภาคสมาธิ


1. สมาธิ คืออะไร

สมาธิ คือ อารมณ์จิตมีความฉลาดตั้งมั่นอยู่ในกรรมฐาน 40
ตั้งมั่นอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร อันใดอันหนึ่งใน 40 อย่างนั้น

2. จิตตั้งมั่น หมายความว่าอย่างไร

หมายความว่า มีสติความรู้อยู่ตลอดเวลากับลมหายใจเข้าออก โดยที่จิตไม่วอกแวก
ไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อื่นๆ นอกจากรู้ลมหายใจเข้าออก หรือกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง
ชั่วเวลาใดเวลาหนึ่ง เรียกว่า มีสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวไม่ส่ายไปส่ายมา

3. อะไรเป็นลักษณะ อะไรเป็นรส อะไรเป็นอาการปรากฏ และอะไรเป็นผลของสมาธิ

ตอบ ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะของสมาธิ

ความมีพลังจิตเป็นหนึ่ง เป็นรสของสมาธิ

ความไม่หวั่นไหว ไม่หวาดกลัว เป็นอาการปรากฏของสมาธิ

ความสุข สงบ สดชื่น เป็นผลของสมาธิ
 
 
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
 
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2552 11:21:15 »

4. สมาธิมีกี่อย่าง

สมาธิมี 2 อย่าง คือ

1. มิจฉาสมาธิ สมาธิฝ่ายดำ ฝ่ายทำลายล้างกัน ฝ่ายเพิ่มทุกข์ ไสยศาสตร์เป็นต้น
เป็นฝ่ายไม่ฉลาดมีอวิชชา ตัณหา อุปทาน ตายไปจิตก็ไปรับโทษทุกข์ทรมานในนรก

2. สัมมาสมาธิ สมาธิฝ่ายขาว ฝ่ายฉลาด ฝ่ายเมตตา คือพุทธศาสตร์ ฝ่ายเข้ากระแส

นิพพาน ฝ่ายเพิ่มความสุขกาย ใจเป็นบุญกุศล มีหลายแบบคือ

1. ขนิกสมาธิ           3. อัปปนาสมาธิ (ฌาณ)
2. อุปจารสมาธิ        4. โลกุตตระสมาธิ(ญาณ)



บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2552 11:23:33 »


อารมณ์สมาธิแบ่งตามระดับขั้นองค์ฌานทั้ง 5 คือ

1. ปฐมฌาน มีอาการของจิต 5 อย่าง คือ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาสมาธิ
ข้อสังเกต ลมหายใจเบาลงในเยือกเย็นสบายไม่มีความรำคาญในเสียงรอบนอก

2. ทุติยฌาน มีอาการของจิต 4 อย่าง คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาสมาธิ ลมหายใจ
ช้าลงเบาลงมากจิตเป็นสุขชุ่มชื่นไม่ค่อยสนใจรู้ลมเข้าลมออก

3. ตติยฌาน มีอาการของจิต 3 อย่าง คือ ปีติ สุข เอกัคคตาสมาธิ สังเกตง่ายขึ้น
ลมหายใจน้อยลงๆ ร่างกายคล้ายตึงเหมือนโดนมัดแน่นิ่งไม่กระดุกกระดิก อารมณ์แนบสนิท

4. จตุตถฌาน มีอาการของจิต 2 อย่าง คือ สุข เอกัคคตาสมาธิ จิตนิ่งเป็นหนึ่ง
ลมหายใจละเอียดจนไม่รู้สึกว่าหายใจ จิตแยกจากกายจนไม่รู้สึกว่าหายใจ หูได้ยินเสียงข้างนอกเบามาก

5. ปัญจมฌาน มีอาการของจิต 2 อย่าง คือ อุเบกขา และจิตนิ่งเป็นหนึ่งเดียว
จิตแยกจากกายไม่มีความรู้สึกทางกายเลยไม่ได้ยินเสียงจิตมีความสุขแน่นิ่ง และวางเฉย

บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2552 12:16:24 »

สาธุป้า
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2552 09:46:11 »


5. อะไรเป็นความเศร้าหมองของสมาธิ

กิเลสนิวรณ์ 5 มี กามราคะ ปฏิฆะ ความฟุ้งซ่าน ความหงุดหงิดรำคาญใจ
ความเกียจคร้าน ง่วงเหงาหาวนอน เป็นความเศร้าหมองของสมาธิ

6. อะไรคือความผ่องแผ้วเบิกบานของสมาธิ

ความสุขในการเข้าใจในธรรมชาติของกาย และจิตเป็นคนละส่วนกัน เป็นคุณวิเศษ
ทำให้จิตสะอาดฉลาดเข้าถึงกระแสพระนิพพานได้ไม่ยากเลย เป็นจิตที่อยู่ใน
ฌานมีความสุขสดชื่น
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2552 09:48:03 »


7. สมาธินั้นจะพึงเจริญภาวนาอย่างไร

ตอบ วิธีภาวนาสมาธิ เริ่มแรกให้ตัดเครื่องกังวล 10 ประการออกจากจิตใจ

ไม่กังวลเรื่องที่อยู่อาศัย ไม่กังวลเรื่องชาติตระกูล ไม่ห่วงใยเรื่องลาภสักการะ

ไม่ห่วงใยเรื่องหมู่คณะ ไม่กังวลเรื่องการงานที่ยังทำไม่เสร็จ

ไม่กังวลเรื่องการเดินทาง ไม่กังวลเรื่องญาติครอบครัว

ไม่กังวลเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ไม่กังวลเรื่องการเล่าเรียน

ไม่กังวลเรื่องการแสดงอิทธิฤทธิ์ความดีความเด่นไม่สนใจใน

ความสุขทางโลก เพราะเป็นของชั่วคราว
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2552 17:51:03 »


สมาธิกรรมฐาน 2 อย่าง ที่ต้องทำตลอดเวลา คืออะไร

ตอบ 1. สมาธิกรรมฐานในการแผ่เมตตาตลอดเวลา แผ่ให้ตนเอง
ผู้อื่นทั้งโลกทั่วจักรวาลทั่ว 3 โลก คือ นรกโลก มนุษย์โลก
เทวโลก ให้มีความสุขความเจริญ

2. มรณานุสติกรรมฐาน ระลึกนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก
เป็นการไม่ประมาทตามพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนไว้


จริยา หรือจริต หรืออุปนิสัยของคนมี 6 ประเภท

1. ราคะจริต มีนิสัยรักความเป็นระเบียบงดงาม รักความสวยงาม

2. โทสะจริต เป็นคนมีนิสัยโมโหหงุดหงิดง่ายชอบทำอะไรเร็วไว

3. โมหะจริต ชอบหลงรักง่ายๆ

4. ศรัทธาจริต เป็นคนว่าง่ายสอนง่ายเชื่อฟังง่ายไม่ดื้อ

5. พุทธะจริต มีนิสัยอยากรู้ อยากเห็น อยากพิสูจน์ชอบค้นคว้า

6. วิตกจริต เป็นคนชอบคิดมาก วิตกกังวลด้วยเรื่องเล็กเรื่องใหญ่เก็บมาคิดทั้งหมด
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2552 17:53:26 »


การที่จะเรียนปฏิบัติกรรมฐาน 40 วิธี ผู้ปฏิบัติ หรืออาจารย์ผู้สอนศิษย์
ควรจะรู้อารมณ์อุปนิสัยของตนเอง หรือลูกศิษย์เสียก่อน ถ้าไม่แน่ใจว่า
มีจริตอะไรมากกว่าจริตอื่นๆ ใน 6 จริต ก็ให้เรียนพระกรรมฐาน แบบกลางๆ
เหมาะกับอุปนิสัยจริตทุกอย่าง เรื่องกรรมฐานกับจริตมีความสำคัญมาก
ถ้าไปปฏิบัติไม่ถูกจริตจะไม่ก้าวหน้าทางธรรม ทำให้ถึงจุดหมายปลายทาง
พระนิพพานช้ามาก คือ ต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป

กรรมฐาน 40 แบ่งเป็น 7 หมวดคือ

1. กสิณกรรมฐาน 10 อย่าง

2. อสุภกรรมฐาน 10 อย่าง

3. อนุสสติกรรมฐาน 10 อย่าง

4. พรหมวิหารกรรมฐาน 4 อย่าง

5. อรูปกรรมฐาน 4 อย่าง

6. อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 อย่าง

7. จตุธาตุววัฏฐาน 1 อย่าง

รวมทั้ง 7 หมวดเป็น 40 อย่างพอดี

นักปฏิบัติเพื่อฌานโลกีย์ หรือเพื่อมรรคผลนิพพานก็ตาม ควรรู้อาการ
หรืออารมณ์ หรือจริตอุปนิสัยของจิต เพราะเป็นผลดีมีกำไรในการปฏิบัติ
เพื่อการละกิเลสตัณหาอุปาทานได้รวดเร็ว สมาธิก็ตั้งมั่นวิปัสสนาญาณ
จะแจ่มใส มรรคผลนิพพานก็ปรากฏเร็วไว

บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2552 18:26:03 »


1. กสิณกรรมฐาน 10 อย่าง คือ

กสิณแปลว่า เพ่งเป็นสภาพหยาบ สำหรับให้ผู้ฝึกจับให้ติดตาติดใจ
ให้จิตใจจับอยู่ในกสิณใดกสิณหนึ่งใน 10 อย่าง ให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว
จิตจะได้อยู่นิ่งไม่ฟุ้งซ่าน มีสภาวะให้จิตจับง่ายมีการทรงฌานถึงฌาน 4
ได้ทั้งหมด กสิณทั้ง 10 เป็นพื้นฐานของอภิญญาสมาบัติ

กสิณทั้ง 10 อย่าง แบ่งออกเป็น 2 พวก

พวกที่หนึ่ง คือ กสิณกลาง มี 6 อย่าง คนทุกจริตฝึกกสิณได้ทั้ง 6
เพราะเหมาะกับทุกอารมณ์ ทุกอุปนิสัยของคน

1. ปฐวีกสิณ จิตเพ่งดิน นึกถึงภาพดิน ภาวนาว่า ปฐวี กสิณังๆๆๆ

2. เตโชกสิณ จิตเพ่งไฟ นึกถึงภาพไฟ ภาวนาว่า เตโช กสิณังๆๆๆ

3. วาโยกสิณ จิตเพ่งอยู่กับลม นึกถึงภาพลม ภาวนาว่า วาโย กสิณังๆๆๆ

4. อากาสกสิณ จิตเพ่งอยู่กับอากาศ นึกถึงอากาศ ภาวนาว่า อากาส กสิณังๆๆๆ

5. อาโลกสิณ จิตเพ่งอยู่กับแสงสว่าง นึกถึงแสงสว่าง ภาวนาว่า อาโลก กสิณังๆๆๆ

6. อาโปกสิณ จิตนึกถึงน้ำเพ่งน้ำไว้ ภาวนาว่า อาโป กสิณังๆๆๆ

ให้เลือกภาวนากสิณใดกสิณหนึ่งให้ได้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5
กสิณอื่นๆ ก็ทำได้ง่ายทั้งหมด

 
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2552 18:27:38 »


พวกที่สองคือกสิณเฉพาะอุปนิสัยหรือเฉพาะจริตมี 4 อย่าง
สำหรับคนโกรธง่าย คือพวกโทสะจริต

7. โลหิตกสิณ เพ่งกสิณ หรือนิมิตสีแดงจะเป็นดอกไม้แดง เลือดแดง
หรือผ้าสีแดงก็ได้ทั้งนั้นจิตนึกภาพสีแดงแล้วภาวนาว่า โลหิต กสิณังๆๆๆ

8. นีลกสิณ ตาดูสีเขียวใบไม้ หญ้า หรืออะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว
แล้วหลับตาจิตนึกถึงภาพสีเขียว ภาวนาว่า นีล กสิณังๆๆๆ

9. ปีตกสิณ จิตเพ่งของอะไรก็ได้ที่เป็นสีเหลือง ภาวนาว่า ปีต กสิณังๆๆๆ

10. โอทากสิณ ตาเพ่งสีขาวอะไรก็ได้แล้วแต่สะดวก แล้วหลับตา
นึกถึงภาพสีขาว ภาวนาโอทา กสิณังๆๆๆ จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ไม่วอกแวกไม่รู้ลมหายใจภาพกสิณชัดเจน

ท่านว่าจิตเข้าถึงฌาน 4 พอถึงฌานที่ 5 ก็เป็นจิตเฉยมีอุเบกขา
อยู่กับภาพกสิณต่างๆ ที่จิตจับเอาไว้
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2552 18:30:40 »


2. อสุภะกัมมัฏฐาน 10 อย่าง

อสุภะกรรมฐาน ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแนะนำไว้สำหรับคนที่มีนิสัยรักสวยรักงาม หรือราคะจริต
เพื่อจะได้ทำลายล้างกิเลสความหลงคิดว่ากายคนบ้านช่องเรือนโรง
โลกนี้สวยสดงดงาม ถ้าหากนักปฏิบัติพิจารณา อสุภกรรมฐานได้จน
จิตเป็นหนึ่ง คือ เอกัคตารมณ์ หรืออารมณ์เป็นหนึ่งเดียวจนเป็นฌาน 4
เป็นปกติก็เป็นเหตุปัจจัยเข้าถึงพระอนาคามีได้โดยง่าย และถึง
อรหัตผลได้รวดเร็ว อสุภกรรมฐาน คือ พิจารณากายคน สัตว์เป็นซากศพ
ทั้งหมด 10 ชนิด คือ หลังตายแล้ว 10 วันนั่นเอง คือ

กรรมฐานที่ 11 ถึงกรรมฐานที่ 20 คือ

11. อุทธุมาตกอสุภ หลังตายวันที่ 1 ซากศพตัวแข็ง เย็นชืด
ขาดธาตุไฟธาตุลม

12. วินีลกอสุภ หลังตายวันที่ 2 ซากศพเริ่มบวมพอง เป็นสีเขียว

13. วิปุพพกอสุภ หลังตายวันที่ 3 ซากศพพองมากขึ้น
ชักมีกลิ่นตุๆ จากเน่ามีหนองบวม

14. วิฉิททกอสุภ หลังตายวันที่ 4 พิจารณาซากศพเนื้อหนังปริ
ลิ้นจุกปาก น้ำเลือด น้ำหนองไหล ออกทั่วตัว เพราะเนื้อหนังเริ่มแตกแยก

15. วิกขายิตกอสุภ หลังตายวันที่ 5 เหม็นส่งกลิ่นตลบ
เพราะแขนขากระจุยกระจายแตกแยกหมด
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2552 18:34:20 »


16. วิกขิตตกอสุภ ศพหลังตายวันที่ 6 ซากศพเรี่ยราดไม่
เป็นชิ้นเป็นท่อนเหม็นเน่า

17. หตวิกขิตตกอสุภ ศพหลังตายวันที่ 7 มีแมลงวัน
หนอน มดชอนไชกินซากศพ

18. โลหิตกอสุภ ศพหลังตายวันที่ 8 ซากศพเหลือน้อย
แต่กลิ่นเหม็นมากมีเลือด น้ำ หนอง เนื้อเน่าเละเทะ

19. ปุฬุวกอสุภ ศพหลังตายวันที่ 9 ซากศพกระจัดกระจาย
ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ส่งกลิ่นมากจนทนไม่ไหว

20. อัฏฐิกอสุภ ศพหลังตายวันที่ 10 เหลือแต่ฟันและกระดูก
แขน ขา กะโหลกมีกลิ่นเหม็น ไม่มีหน้าตาเหลืออยู่
เพราะโดนหนอน แมลงกัดกิน มีแมลงวันบินเต็มไปหมด
เพราะกลิ่นเหม็น เน่าคลุ้งกระจาย

การเจริญอสุภกรรมฐาน ไม่ใช่ให้ภาวนา หรือไปนั่งจ้องยืนจ้องซากศพ
ที่โรงพยาบาล หรือป่าช้า แต่ท่านให้ใช้ความจำภาพซากศพที่เห็นแล้ว
ใคร่ควรพินิจพิเคราะห์ดูว่าตัวเราที่ยังหายใจอยู่ พูดได้อยู่ มันก็ไม่แตกต่าง
อะไรกับซากศพที่ตายแล้ว เพราะร่างกายเราก็เหม็นเน่าทุกวันต้องชำระล้าง
อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ล้างเอาความเน่าเหม็นออกต้องสระผมเกือบทุกวัน
ถ้าไม่สระหัวก็เหม็น ให้จิตใจรู้ตลอดเวลาว่าร่างกายเราเขาไม่มีใครสะอาด
เหม็นกันหมดทั้งโลก คนกับสัตว์ไม่แตกต่างกันเหม็นเน่าเหม็นคาวเหมือนกัน
เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกันคิดไว้อย่างนี้ตลอดเวลาท่านเรียกว่าจิตทรงฌาน
ในอสุภกรรมฐาน ใครเจ็บป่วยไข้ก็รักษาพยาบาลเป็นการระงับทุกขเวทนา
คิดไว้เสมอว่าเราเขาคือซากศพ ต่างก็สกปรกเช่นกันจะไปหลงรักผูกพัน
กันอะไรกันนักกันหนา จิตเลิกผูกพันตัวเราเขาจิตก็เบาสบาย ความหนักใจก็ไม่มี
ใครจะตายก็เห็นเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าทุกคนเป็นศพที่พูดได้
เดินได้พอจิตออกจากร่างกายเราเรียกว่า ศพที่ตายแล้ว
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2552 14:49:34 »


หมวดอนุสสติกัมมัฏฐาน 10 อย่าง

อนุสสติ แปลว่า จิตใจตามระลึกนึกถึงไว้อย่างเสมอ 1 อย่าง
อนุสสติ 10 อย่างนี้เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับนิสัยอารมณ์ของ
นักปฏิบัติศรัทธาจริต มี 1. พุทธานุสสติ 2. ธรรมานุสสติ
3. สังฆานุสสติ 4. สีลานุสสติ 5. จาคานุสสติ 6. เทวตานุสสติ

กรรมฐานสำหรับผู้มีนิสัยพุทธจริต เชื่อยากต้องพิสูจน์ด้วยตนเองก่อนจึงเชื่อ คือ
7. มรณานุสสติ กับนึกถึงความสุขใจในพระนิพพานเป็นอารมณ์ คือ
8. อุปสมานุสติกรรมฐาน
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2552 14:51:36 »


ผู้ที่มีนิสัยชอบคิดวิตกกังวลสารพัดอย่าง มีกรรมฐานเหมาะสำหรับ
นักคิดวิตกกังวลไปทั่วโลก คือ

9. อานาปานานุสสติ คือ จิตตามติดรู้กำหนดลมหายใจเข้าออก
แทนที่จะคิดฟุ้งซ่านกับปัญหาทั่วโลกก็มาติดตามดูลมหายใจเข้าออก.
ของตนเองจะเป็นบุญกุศลจิตจะสุขสบายทั้งกายและใจ

ผู้ที่ชอบรักของสวยงามนอกจากกสิณภาวนา 10 อย่าง
ของอสุภกรรมฐานทั้ง 10 แบบแล้ว

10. ยังมีกายคตานุสสติกรรมฐาน คือ พิจารณาร่างกายตามความเป็นจริง
ว่ามีแต่สิ่งสกปรกเหม็นคาว เหม็นเน่าจากตัวเอง และผู้อื่นตลอดเวลา
ไม่มีใครสวยงามจริง สกปรกกันทั้งหมดในโลก
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2552 14:55:05 »


อนุสสติ 10 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนไว้มี

กรรมมฐานที่ 21 พุทธานุสสติกรรมฐาน


คือ ให้ระลึกนึกถึงพระคุณความดีขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์
มีพระมหาเมตตากรุณาสอนคน เทวดาพรหมพ้นจากเวียนว่ายตายเกิด
คือให้มุ่งพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของจิตใจเรา จะภาวนาว่า
พุทธโธ , อิติสุคโต , นโมพุทธายะ , สัมมาอรหัง หรือนะมะ พะธะ ดี
ถูกต้องเหมือนกันหมดไม่ใช่ไปตั้งก๊กเหล่า แบ่งแยกสายพุทธโธ
สายสัมมาอรหัง อย่างนี้ไม่ถูก ทุกๆ สายเป็นลูกศิษย์ขององค์พระตถาคต
เราปฏิบัติเพื่อลดละตัวตน และเป็นก๊กเป็นเหล่าเป็นสาย 

ดังนั้นขอทุกท่านเจ้าสำนักโปรดให้ลูกศิษย์ของท่านเข้าใจอย่าได้ยึดติด
สายนั้นสายนี้ สำนักโน้น สำนักนี้ ไม่ใช่จุดพระพุทธประสงค์ของ
องค์พระจอมไตรโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2552 14:58:00 »


ถ้ายังยึดติดกับสำนักครูบาอาจารย์ ยึดติดคำภาวนา
ท่านก็จะต้องเป็นทุกข์กับเวียนว่ายตายเกิดอีกนานกว่าจะได้
เข้าใจพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระพุทธชินวรศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
โดยที่เรานึกถึงพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ
ของพระองค์ท่านตลอดเวลาในไม่ช้าจิตใจเราก็ฉลาด สะอาด
สุขสบาย กิเลสโลภโกรธหลงก็หายไปโดยอัตโนมัติ หรือ
จากการภาวนาพุทธานุสติกรรมฐาน แถมอีกนิด คือ
นึกถึงภาพพระพุทธรูปด้วยยิ่งดี เป็นกสิณทำให้จิตเป็นฌาน
ถึงฌาน 4 ได้ด้วยการจับภาพพระพุทธเจ้าไว้ในจิตใจพอ
ภาพพระพุทธเจ้าเป็นแก้วใสจิตใจท่านก็เข้าถึงฌาน 4 มีสุขสดชื่น
มีปัญญาเฉียบแหลม สามารถตัดกิเลสตัณหาอวิชชาได้อย่างรวดเร็ว
เป็นอรหันต์ได้ง่ายเร็วไว เป็นกรรมฐานที่ลัดตรง และง่ายที่สุด คือ
พุทธานุสสติกรรมฐานจิตเราท่านนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าตลอดเวลา
จิตเรานั้นก็จะเป็นจิตพุทธะ คือ พระอรหันต์ดังที่องค์พระตถาคตทรงตรัส
สอนไว้ดีเลิศประเสริฐเป็นจริงพิสูจน์ได้โดยปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน
ของการหลุดพ้นตามวิสุทธิมรรค มีถึง 40 แบบ แถมด้วยแบบมหาสติปัฏฐานสูตรอีก
1 แบบเป็น 41 แนวทาง เข้าถึงอรหัตผลได้ทุกแบบมีทั้งศีล สมาธิ ปัญญา
รวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด ดีเหมือนกัน ดีเท่ากัน แล้วแต่อุปนิสัยของนักปฏิบัติชอบแนวไหน
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 11:25:18 »

กรรมมฐานที่ 22 ธัมมานุสสติกรรมฐาน

คือ ตั้งสติระลึกนึกถึงคุณความดีของพระธรรม
คำสั่ง คือ ข้อห้ามไม่ให้ทำผิดศีล 5 ข้อ
คำสอน คือสอนให้มีเมตตากรุณา ให้ทำบุญทำทาน
ให้ภาวนาพิจารณาทุกอย่างในโลกเป็นของลำบากยากแค้น
ในการแสวงหาเงินทองมาซื้ออาหารบ้าน รถ เสื้อผ้าเครื่องใช้
เป็นทุกข์เพราะตนทนเหนื่อยยากได้มาแล้วก็เก่าชำรุดทรุดโทรม
ทั้งร่างกายก็มีแต่โรคภัยรบกวนเป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ในไม่ช้าก็ต้องตายกันหมด เกิดมาเท่าไรก็ตายหมดเท่านั้น
ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใครเป็นกฎของธรรมชาติ
แม้แต่องค์สมเด็จบรมโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระวรกายท่านก็เป็นอนัตตา คือ แตกสลาย นับประสาอะไรกับ
ร่างกายของเราก็ตายอยู่ตลอดเวลา ตายจากวัยเด็ก เป็นวัยผู้ใหญ่
เข้าวัยชรา ไม่มีอะไรดี จิตเราจะขอติดตามองค์สมเด็จพระพิชิตมาร
ไปพระนิพพานในชาตินี้ คิดแบบนี้คือเคารพในพระธรรม หรือ
ท่านจะเลือกเอาพระธรรมแบบไหนก็ได้ทั้งกรรมฐาน 40 แบบ หรือ
แบบมหาสติปัฏฐานสูตรดีเหมือนกันทุกแบบ พระธรรมทั้งหมด
ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ 84000 พระธรรมขันธ์ ย่อลงมาเหลือ

3 อย่าง คือ อธิศีล บริสุทธิ์ ทำให้เป็นพระโสดาบัน
อธิจิตมีสมาธิภาวนา ทำให้เป็นพระอนาคามี คือ มีฌาน 4
อธิปัญญา จิตไม่หลงผูกพันติดในร่างกายตนเอง

ทำให้เป็นพระอรหันต์

คุณธรรมทั้งหมดประเสริฐยอดเยี่ยมไม่มีความรู้ใด ๆ ดีกว่า
สูงกว่านี้ ความรู้ทางพระนิพพานที่องค์สมเด็จพระพิชิตมาร
ตรัสสอนไว้ สามารถกำจัดความทุกข์ยากลำบากกายใจ
ได้ทั้งที่มีชีวิตอยู่ และเมื่อตายแล้วยิ่งเป็นสุขมากกว่าคน
คือมีเทวดา พรหม พระนิพพานเป็นที่ไปตามบุญบารมี
ที่ตั้งใจปฏิบัติไว้ตอนเป็นคน สัตว์ ผู้ปฏิบัติธรรมจริง
ก็จะได้ผลความสุขกายจริง ดังนั้นพระธรรมเป็นปัจจัตตัง
บอกกล่าวไปใครจะรู้ผู้ปฏิบัติธรรมอยู่ย่อมรู้ดีกว่าใครๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 11:27:20 โดย CANDY » บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 11:31:18 »

กรมมฐานที่ 23 สังฆานุสสติกรรมฐาน

คือ การระลึกนึกถึงความดีของพระอริยสงฆ์สาวกขององค์
พระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประพฤติปฏิบัติตรงดีจริงตามพระธรรม
คำสั่งสอน ตัดกิเลส โลภโกรธหลง จิตแน่วแน่มุ่งตรงพระนิพพาน
แถมยังสืบทอดพระธรรมคำสั่งสอนมาถึงปวงชนรุ่นหลัง ๆ

ให้เข้าใจพระธรรมวินัย คือ ศีล
เข้าใจพระสุตตันปิฎก คือ สมาธิภาวนา
ให้เข้าใจพระอภิธรรมปิฎก คือ ปัญญา


ผลจากการที่เราเลื่อมใสศรัทธาในพระอริยสงฆ์ทำให้เรา
มีปัญญาเป็นบารมี กำลังใจที่เรามีปีติอิ่มเอิบใจ เชื่อมั่นในความดี
และโมทนากับบุญบารมีของพระอริยสงฆ์ทุกๆ พระองค์
ตั้งแต่สมัยพุทธกาลเนิ่นมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้จิตใจเรา
ได้สำเร็จมรรคผลตามท่านได้ ไม่มีอะไรหนักใจ เรียกว่า
เรามีศรัทธาวิมุตติ คือจิตหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาอุปาทาน
ด้วยเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระธรรม พระอริยสงฆ์ อย่าง่ายดาย

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
กรรมฐาน คืออะไร
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
ไอย 6 6216 กระทู้ล่าสุด 16 ธันวาคม 2552 17:41:49
โดย ไอย
กรรมฐาน ๔๐ « 1 2 »
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
Maintenence 35 12924 กระทู้ล่าสุด 11 เมษายน 2559 09:47:48
โดย Maintenence
หลวงพ่อจรัญ สอนสมาธิ วิปัสสนา กรรมฐาน แบบ เข้าใจง่าย
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 0 1241 กระทู้ล่าสุด 30 กันยายน 2559 00:11:27
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.567 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 02 มกราคม 2567 09:20:41