[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 16:52:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2] 3 4 ... 10   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเครื่อง  (อ่าน 237167 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2559 20:49:20 »

.


พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

หิ้งพระ ความหมายในกรอบคอลัมน์นี้ ก็คือพระเครื่อง องค์เล็ก องค์ใหญ่ ไม่ว่าเนื้อดิน เนื้อชิน เนื้อผง พระกริ่ง หรือรูปหล่อ ที่ปู่ย่าพ่อแม่ใส่พานวางบนหิ้ง

ลูกหลานไม่ค่อยรู้หรอกว่า พระอะไร...มีคุณ มีค่า แค่ไหน

พระเครื่องบางองค์..อย่างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ องค์ในรูปนี้..เสียดายที่เห็นเป็นภาพขาว-ดำ จึงไม่เห็นผิวฝ้าขาวปรอทเกือบตลอดองค์..มีฝ้าแดงจากรักเก่าที่หลุดลอกไปแล้วเล็กน้อยเหลือให้เห็นจางๆ เป็นสีน้ำตาลอมแดง..ที่พระพักตร์ด้านขวา พระชานุ (เข่า) ซ้าย..

ผิวแป้งโรยพิมพ์ขาว ฝ้าแดง...เป็นทั้งหลักฐานในการดู เป็นทั้งเสน่ห์ดึงดูดใจคนเล่นพระสมเด็จเป็นทุกคน

นี่คือพระสมเด็จวัดระฆังแท้..มาตรฐาน ทั้งพิมพ์ทรง เส้นสายลายพิมพ์ เนื้อหา สภาพสมบูรณ์งดงาม องค์น้องใหม่ วางเทียบเคียงกับองค์ตำนาน อย่างองค์ “ครูเอื้อ สุนทรสนาน” ได้สบายๆ

พระปลอมฝีมือดี..วันนี้มีมาก 5 เซียน 8 เซียน ศูนย์พระเครื่องใหญ่ต้องช่วยกันส่อง กว่าจะซื้อกันได้สักองค์ แล้ว (มึง) เสี้ยน (เซียน) มาจากไหน

ขิงแก่ คนเดียว ตาเดียว ตาดียังไง..ยังไม่พอ เพื่อสร้างความมั่นใจ ขออนุญาตอ้างชื่อ วิวัฒน์ อุดมกัลยารักษ์ ชื่อนี้คนในวงการรู้จักดี ..เป็นประกัน

นี่คือพระสมเด็จวัดระฆังหน้าใหม่ ไม่เคยโผล่หน้าในหนังสือเล่มไหน..เจ้าของรวยมากแล้วก็หวงมาก ได้แค่ภาพมาดูก็ต้องตื๊อกันแทบแย่

จึงอย่าไปเซ้าซี้ ซื้อเข้าเท่าไหร่ หรือจะออกเท่าไหร่..คนรวยซะอย่าง ถามยังไงไม่ตอบ ก็ต่อว่าท่านไม่ได้

คุยกันเรื่องปาฏิหาริย์ พระสมเด็จวัดระฆังในคอ..นักการเมืองดัง ผู้ได้ชื่อว่ามีพระดังๆ แพงสุด สวยสุดๆ วันที่ถูกม็อบการเมืองล้อมกรอบรุมกระหน่ำในกำแพงกระทรวง..รถยนต์หรูคันนั้นใกล้พัง ส่วนคนนั่งฉวดเฉียด เป็น-ตาย

ยกมือกุมพระสมเด็จฯ ขอ“คุณพระช่วย” ไม่น่าเชื่อ ทันทีนั้น คุณพระก็ช่วย มือไม้ที่โหมกระหน่ำหยุดกึก เหมือนมีประกาศิตจากฟากฟ้า

เชื่อกันแต่โบร่ำโบราณ พระสมเด็จนั้น เรื่องอยู่ยงคงกระพัน..เชื่อนักไม่ได้ แต่มั่นใจได้แน่ๆ คือเรื่องแคล้วคลาด

ในหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่มพระสมเด็จฯ ตรียัมปวาย เล่าไว้หลายเรื่อง

ง้างไกปืน เปิดมุ้ง จ่อยิง...เฮ้ย...ไหง เจ้าคู่แค้นที่ตั้งใจจะยิงมันให้ตาย กลายเป็นหลวงตาแก่ๆไปได้

เชื่อกันอย่างนี้ เมื่อเอาไปรวมกับรูปลักษณ์ รูปทรงสี่เหลี่ยมแบบกรีก สัดส่วน 2 คูณ 3 นี่คือการปฏิวัติด้านศิลปะ

มวลสาร ตั้งแต่ปูน ผง ผสมน้ำมันตังอิ้ว แห้งแล้วตกผลึกแข็งแกร่ง..ใช้สึกช้ำพอควร นุ่มหนึก เงาสว่างกระจ่างยังกะน้ำเพชร นี่ก็..ปฏิวัติด้านมวลสาร

โบราณไม่เคยสร้างพระพิมพ์สี่เหลี่ยมไม่เคยสร้างพระเนื้อผง พระสมเด็จทุกพิมพ์ทรงจึงเป็นงานศิลปะแบบใหม่

เส้นสายลายพิมพ์ ฝีมือช่างหลวง หลวงวิจารณ์เจียระไน ส่อเค้าศิลปะรัตนโกสินทร์ยุคกลาง ได้อิทธิพลซุ้มโกธิคศิลปะฝรั่ง ..พลิกมองมุมไหน ด้านหน้าพิมพ์ทรง ถูกต้อง ริ้วรอยธรรมชาติ..หลังก็เข้มข้น ลงตัว

อายุการสร้าง ตัวเลขกลมๆ 150 ปี..เข้าเกณฑ์วัตถุโบราณ ของสวย ของเก่า ของดี แถมเป็นของขลัง

บวก “คุณ” แคล้วคลาด เมตตามหานิยม หลายๆ “คุณ” ไว้ด้วยกันจึงกลายเป็น “ค่า”

สมเด็จวัดระฆัง..เฉลี่ยทุกองค์น้ำหนัก 5-8 กรัม ทอง 2 สลึง (7.5 กรัม) ตอนนี้ราว 1 หมื่น เอาเงินหมื่นไปซื้อ เศษพระสมเด็จแกะองค์เท่านิ้วก้อย..ก็ยังไม่มีทางได้ สมเด็จแกะองค์สวยๆ ซื้อกันเป็นแสนไปตั้งนานแล้ว

งานประมูลเพื่อการกุศล ที่โรงแรมใหญ่แถวซอยรางน้ำ..เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ราคาไล่เลี่ย พระกริ่งปวเรศ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว..เศรษฐีเขาฝากชื่อลือลั่นในสยาม แย่งประมูลกันไปองค์ละกว่า 30 ล้าน

ราคาขนาดนี้! ถ้าไม่เรียกว่าปาฏิหาริย์ แล้วจะให้เรียกอะไรกันเล่า!

พลายชุมพล



ปริศนา? หลังพระสมเด็จร้อยล้าน

วันนี้ ลองมาเริ่มทดสอบวิชา...ดูพระสมเด็จวัดระฆัง...เพื่อประเมินว่าสายตา...ระดับไหน...เห็นด้านหลังพระสมเด็จ...สององค์ในภาพแล้ว จึงยังไม่ขอบอก พิมพ์อะไร

แวดวงชั้นเซียน เขาคุยกันมานาน...ดูด้านหลังไม่ต้องดูด้านหน้า ก็จะรู้ว่าพิมพ์ไหน รู้เก๊รู้แท้

หลักความรู้พื้นฐาน “ตรียัมปวาย” ว่าด้านหลังพระสมเด็จทั้งวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ฐานแซม เกศบัวตูม เอ้า! แถมพิมพ์ปรกโพธิ์ อีกเป็น 5...พอแยกออกได้หลายๆแบบรูพรุนปลายเข็ม รอยปูไต่ รอยหนอนด้น สังขยา ตะไคร่น้ำ กระดาน กาบหมาก...และหลังสุดท้าย “ริ้วระแหง”

หลังแบบสุดท้าย...อาจารย์ตรียัมปวายไม่จัดไว้ คือหลัง “เรียบ” ใครที่ถือพระสมเด็จวัดระฆัง ดูด้านหน้าว่าแท้...แต่หลังเรียบ...เรียบแบนไปทั้งแผ่นหลัง หาริ้วรอย สัญลักษณ์อะไรไม่ได้ ท่านก็ให้ความหวังว่า...“มี”

ว่ากันโดยหลักธรรมชาติของพระ...ในพื้นที่เต็มร้อยของด้านหลัง นอกจากริ้วรอยสัญลักษณ์ยังมีพื้นที่ว่างที่เห็นกับตาว่า “เรียบ” สัดส่วนหลายเปอร์เซ็นต์

ดูภาพหลังพระ แล้วหลับตาจินตนาการตาม...หลังกาบหมาก หลังสังขยา ฯลฯ เป็นไง! พอเห็นเค้าลาง...แล้วก็อย่าเผลอไปยึด จะต้องเป็นเช่นนั้น...ด้านหลังพระสมเด็จองค์เดียว รวมสัญลักษณ์ไว้ด้วยกันหลายประการ...

องค์หนึ่งในภาพ เป็นองค์ครู นักเลงพระสมเด็จคุ้นตา ริ้วรอยยุบแยกย่น...ค่อนละเอียด บางส่วนคล้ายกาบหมาก ถ้าเป็นเส้นขวาง-กว้าง กว่า คล้ายหลังกระดาน บางพื้นที่เล็ก ดูๆ ไปเหมือนรอยย่นตะไคร่น้ำ

หลักเซียนเท้า...วิโรจน์ ใบประเสริฐ ในหนังสือ พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดระฆังโฆสิตาราม ด้านหลังมี 6 แบบ (เล่มนี้ เพื่อนสีกาอ่างพิมพ์ มีภาพหน้า-หลังพิมพ์ใหญ่ 143 องค์ หักภาพซ้ำ 3 องค์ เหลือ 140 องค์)

1.รอยเส้นปาดเนื้อด้านหลัง
2.ขอบพระทั้งสี่ด้าน ระดับสูงกว่าพื้นที่เนื้อพระกลางองค์
3. รอยปริที่เรียกว่า “รอยปูไต่” ปรากฏริมขององค์พระไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง

(รอยปูไต่ อาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ เคยคุยให้ฟัง พระสมเด็จวัดระฆังตัดจากด้านหลังไป-หน้า แรงดึง-หน่วงของมีคมที่ตัดลง...ต่อมาเมื่อพระแห้งตกผลึก ส่งผลให้เกิดรอยลั่นร้าว”

4.รอยพรุนคล้ายปลายเข็มจิ้ม เกิดจากการหลุดร่วงของเม็ดมวลสาร
5.ร่องรอยการหลุดของเนื้อพระที่เกิดจากการตัดขอบพิมพ์ และ
6.รอยยุบ เหี่ยวย่น ที่เกิดจากอายุความเก่า

อ่านคำอธิบายเซียนเท้า เหลือบดูภาพด้านหลังพระองค์ครูหลายๆองค์ไปด้วย ดูให้คุ้นตา...

แม้ด้านหลังของเก๊ ตอนนี้เขาทำดีแค่ไหนก็ยังพอแยกออกได้

ด้านหลังพระเก๊...ส่วนใหญ่ ชัด กระด้างตา... ช่วยลดเวลาส่องเห็นปั๊บก็วางได้เลย

พอมีหลักวิชา...ดูหลังพระสมเด็จวัดระฆังกันบ้าง...คราวนี้ ก็ขอเฉลยว่ากันโดยขนาด และการตัดกรอบ...พระสององค์เป็น “พิมพ์ใหญ่” องค์หนึ่ง คือหลังองค์ “ครูเอื้อ” จะดูให้เป็นกาบหมากหรือสังขยา ตะไคร่น้ำ ก็เป็นได้

องค์ต่อมา องค์ “น้องใหม่” ตอนนี้อยู่ในรังเศรษฐี...รอยยุบ แยก ย่น เข้าเกณฑ์สากล...นักเลงพระใช้คำว่า ดูง่าย

ความจริงเชิงประจักษ์อีกข้อ...ด้านหลังสมเด็จวัดระฆังทุกองค์ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การสร้าง ผ่านกาลเวลา ในสภาพแวดล้อมต่างๆ... มายาวนานถึง 150 ปี...ดูผิวเผินคล้ายกัน ดูกันจริงๆ ไม่มีองค์ไหนเหมือนกันสักองค์เดียว

หลังพระที่ต้องโฉลก ที่มีสัญลักษณ์ กาบหมาก สังขยา ตะไคร่น้ำ “ตรียัมปวาย” กระซิบว่า...มีน้อยนัก

เห็นกับตาด้านหน้า พิมพ์ทรง เนื้อหาไล่เลี่ยกัน แต่ด้านหลังไม่เหมือนกัน ราคาเปลี่ยนมือจึงต่างกัน องค์หนึ่งภาษาเศรษฐีคุยกัน ตั้งแต่ 30 ล้านขึ้นไป เช่น ทรงเจดีย์ องค์เจ๊แจ๋ว ผมเคยถาม เฮียหนึง ปรีดา ได้ข่าวว่าเฮียประเมินไว้ 50 ล้าน

เฮียส่ายหน้า...บอกเสียงหนักแน่นว่า น่าจะซักร้อยล้าน

ทรงเจดีย์องค์นี้แหละครับ ที่ขอบด้านหลัง...ปรากฏรอยลั่นร้าว...เป็นต้นแบบทฤษฎีอาจารย์รังสรรค์...อาจารย์วางทฤษฎีนี้ได้ เพราะเคยเป็นเจ้าขององค์นี้เป็นนาน นับแต่เปลี่ยนมือ มาจากเจ๊แจ๋ว เจ้าของเดิม.

พลายชุมพล



สมเด็จองค์มีหน้ามีตา

ภาพด้านหน้าพระสมเด็จองค์นี้ แม่พิมพ์คุ้นตา เป็นพิมพ์ทรงเจดีย์ นิยม...นึกถึงทรงเจดีย์วัดระฆัง องค์ที่สวยที่สุด...องค์เจ๊แจ๋ว เส้นอังสา สังฆาฏิ เส้นชายจีวรคมกริบในช่องรักแร้ และเส้นแบ่งท่อนพระบาท...ลึกชัดเอาไว้

ทรงเจดีย์องค์นี้ คราบผิวฝ้า...ชี้ว่า บางขุนพรหมกรุเก่า มองเผินๆ เส้นสายลายพิมพ์ ไม่มีอะไรสวยเลยแผ่นพระอุระ ส่วนพระบาทก็ยุบ... พร่อง เส้นซุ้มด้านบนก็ขาด...

ส่วนสะดุดตาจนต้องนิมนต์มาเป็นองค์ศึกษา...อยู่ที่ส่วนหน้า หูสองข้างคมชัด...พระเกศชัดเห็นเค้าบัวตูม สองส่วนนี้ทรงเจดีย์หลายองค์มี...แต่ส่วนที่ยังไม่มี...ก็คือ เครื่องหน้า ตั้งแต่คิ้ว ตา จมูก ปาก นูนชัด...

เอาล่ะซี พระสมเด็จมีหน้ามีตา...มีหรือ...ถ้าพระแท้ยังไม่มี แล้วเก๊ฝีมือใคร?

นี่คือ...เรื่องที่อยากตั้งวงคุยกันวันนี้...คือ เรื่องแม่พิมพ์

พระสมเด็จทั้งวัดระฆัง ทั้งบางขุนพรหม... 9 แม่พิมพ์ อย่างพิมพ์ใหญ่ เซียนสอนให้ดูด้าน ข้างกรอบหน้าองค์ที่หูติดสองข้างเต็ม พอมีให้เห็น แต่หลายองค์ ติดแต่เส้นนูนรางๆ พอเป็นเค้าหูเดิม

เมื่อเอาไปรวมกับองค์ที่หูติดชัด เป็นที่มาของพิมพ์ฐานแซม...พิมพ์นี้นอกจากหูติดเต็มสองข้าง ฐานแซมยังติดค่อนข้างชัด...สองชั้นเหมือนพิมพ์เกศบัวตูม ย้อนไปนึกถึงเกศบัวตูม วัดระฆัง...องค์คุณมนตรี เส้นอังสา สังฆาฏิ คมชัด...

รวมเส้นสายที่ติดชัด จากพิมพ์นั้นพิมพ์นี้เข้าด้วยกัน ทำให้ชวนคิดว่าแม่พิมพ์สภาพเดิมๆ ของพระสมเด็จทุกพิมพ์...หลวงวิจารณ์เจียระไน ช่างหลวง...สมัยร.5 ท่านตั้งใจแกะไว้สุดฝีมือ สวย-ชัด-คม...พูดภาษาชาวบ้าน มีหน้ามีตาทุกองค์

แล้วเหตุใด...พระสมเด็จร้อยละ 99 จึงไม่มีหน้ามีตา

คำตอบเหมือนกันในใจ...ตอนพิมพ์พระเนื้อยังเปียก...ติดชัด แต่ตอนแห้ง...ยุบหาย...ยุบน้อย ก็พอเห็นเค้าเส้นสาย ยุบมากก็หายไปเลย

ผมมีประสบการณ์เรื่องนี้เฉพาะตัว...ราวๆปี 2519 ถือทรงเจดีย์วัดระฆัง...หักกลางอก...สภาพช้ำองค์หนึ่ง...เอาไปซ่อมที่วัดราชนัดดา พระเนื้อช้ำ ช่างซ่อมแล้วขัดตา ต้องเกลาทิ้งหาวิธีซ่อมใหม่

คุณพรชัย พึ่งพระพุทธ ช่างสีหมู่บ้าน แนะให้เปลี่ยนวัสดุซ่อม จากผงทำฟันกับน้ำยา...ที่ซื้อจากร้านเครื่องมือทันตแพทย์...มาเป็นผงผสมกับน้ำมันตังอิ้ว

น้ำมันตังอิ้ว...เหนียวมาก ยืดหยุ่นมาก...ปาด ลาก เกลี่ย กับเนื้อพระจริง ได้เนียน...สนิทตา สีก็กลมกลืน จนน่าปลื้มใจ

ตังอิ้ว แห้งช้า...ช้ามากๆ เวลาผ่านไปครึ่งถึงหนึ่งปี...เนื้อส่วนที่อุดซ่อม...ก็ยุบตัว...มองเห็นเป็นสัน...ชัดเจน...

การยุบตัว เส้นสายลายพิมพ์ชัดๆ รวมทั้ง หู หน้าตาพระสมเด็จทุกองค์ หายไปเพราะความจริงข้อนี้เอง

ความจริง ภาพพระสมเด็จ องค์มีหูมีตา... มีให้เห็นแล้วก็หลายองค์

องค์แรก เกศบัวตูมวัดระฆัง...พิมพ์ฐานสิงห์แคบ (พิมพ์เดียวกับองค์คุณมนตรี) หู ตา จมูก ปาก โปนชัด ...องค์นี้เห็นกันมานาน พิมพ์ซ้ำในหนังสือหลายเล่ม... แต่ขนบในวงการพระ ไม่มีใครเชียร์พระสวยให้ใคร...คนวงนอก จึงไม่ค่อยได้รู้

องค์ต่อๆมา พิมพ์สังฆาฏิองค์หนึ่ง อีกองค์ “คนชอบพระสวย” เขียนไว้ในนิตยสาร อนุรักษ์...พิมพ์เกศบัวตูม (ฐานสิงห์กว้าง) หน้าตาคมชัด...ถึงขนาดเรียก “องค์ยักคิ้วหลิ่วตา”

องค์นี้นายตำรวจ ที่รับหน้าที่อารักขาตอนเปิดกรุสมเด็จวัดใหม่อมตรส ปี 2500 เล็งไว้ตอนแยก-คัดพระ...เมื่ออยู่ในคิวได้ “พระของขวัญ” ก็ขอเลือกเอาไว้ พระสมเด็จที่มีหน้าตาคมชัดลึกที่สุดในปฐพีไทย...เห็นจะต้องยกให้องค์นี้

เรื่องพระสมเด็จ...มีประเด็นให้เรียนรู้ศึกษา...อีกมาก...เริ่มจากแม่พิมพ์ มวลสารเนื้อหา ธรรมชาติ ขนาดไปถึง...น้ำหนัก ฯลฯ อยากดูพระสมเด็จให้เป็น...ก็ต้องค่อยๆสั่งสมความรู้...เหมือนรอน้ำทีละหยดเอาไว้ ไม่ช้า... น้ำ (ความรู้) ก็จะเต็มตุ่ม พอเอาตัวรอดจากพระปลอมได้

พระสมเด็จปลอมวันนี้ ฝีมือเฉียบขาดปาดคอเซียน มือสมัครเล่นเผลอทะนง หลงตัวข้าแน่...เมื่อไหร่...เป็นเสร็จมันเมื่อนั้น.

พลายชุมพล



พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์เล็ก

นักเลงรุ่นเก่า ราว พ.ศ.2500 เล่ากันว่า สมเด็จวัดระฆังมีรังสี (อิทธิปาฏิหาริย์) 5 นางพญา รังสี 3 แต่ปิดตาหลวงพ่อแก้ว...รังสี 1 แม้จะมีรังสีแค่ 1 แต่พุ่งไปไกล ทางด้านโชคลาภ เมตตา ไปไหนไม่มีคนเกลียดมีแต่คนรัก

ตลาดพระสมัยแรกๆ ที่ท่าพระจันทร์ (:UU:)คุยกัน พระสมเด็จมีเข้าตลาดเปลี่ยนมือเดือนละหลายองค์ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ปีละ 1 องค์ ในขณะที่พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว...5 ปี แทบจะมี...สักองค์

เพราะเหตุนี้...ราคาพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว จึงแพงระยับจับหัวใจ...องค์พิมพ์ใหญ่ราคาประมูลเพื่อการกุศล ที่โรงแรมเจ้าของ คิงเพาเวอร์ อภิมหาเศรษฐีสู้กันถึง 34 ล้าน เป็นราคาในระนาบเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ราคาพระกริ่งปวเรศฯ วัดบวร

คนธรรมดาสามัญทำบุญมาน้อย พระปิดตาหลวงพ่อแก้วแทบจะเป็นพระในตำนาน...เห็นแต่รูป จูบแต่เงา หาองค์จริงจับต้องไม่เจอ

ภาพในคอลัมน์ทั้งหน้าหลัง...เป็นพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์เล็ก ทั้งพิมพ์ทรง เนื้อหา รักเก่าที่หลุดล่อน ตามธรรมชาติ มาตรฐานพระแท้ เป็นอีกพิมพ์ที่คุ้นตา...แต่ก็หายาก

เท่าที่เห็นภาพถ่าย ผลัดเปลี่ยนเวียนหน้ากันในหนังสือพระเครื่อง น่าจะราว 6-8 องค์เท่านั้น

องค์นี้ หลังเรียบเหมือนที่พบหลายองค์...หลังแบบองค์เดียว สีกาอ่าง เคยลงสนามพระวิภาวดี...ราคาตอนนั้น 4 ล้าน ชื่อเจ้าของ ตอนนี้เป็นตำรวจใหญ่ ชื่อ จักรทิพย์ ชัยจินดา

พระหลวงพ่อแก้วปลอม ตั้งแต่พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก มากมายหลายฝีมือ แต่พิมพ์เล็กพิมพ์นี้ โชคดี...ของปลอมแทบจะไม่มี ถ้าแม่นพิมพ์ คุ้นเนื้อหา...เสียสตางค์ไปแค่ไหน ...ก็ยังขึ้นคอได้มั่นใจ ไม่ต้องกลัวเซียน

ในรังของคุณวิชัย ศรีวัฒนประภา เจ้าของคิง เพาเวอร์ ดูจากหนังสือศรัทธาแห่งพระเครื่องมีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ปั้น พิมพ์บายศรี (วัดปากทะเล เพชรบุรี) ราว 12 องค์ ไม่มีพิมพ์เล็กพิมพ์นี้

ไม่น่าแปลกใจทุกพิมพ์ของหลวงพ่อแก้ว...มีน้อย...หายาก มีเงินออกใบสั่ง ก็ใช่ว่าจะได้ดังใจนึก

เรื่องที่วงการพระน่าจะร่วมกันสังคายนาหาข้อยุติก็คือ ปี พ.ศ.ที่หลวงพ่อแก้วเกิด ซึ่งจะสัมพันธ์กับปี พ.ศ.ที่หลวงพ่อสร้างพระ และปี พ.ศ.ที่หลวงพ่อมรณภาพ ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน พอจะแยกได้เป็นสองชุด

ชุดแรก...หลวงพ่อแก้ว เกิดปลายรัชกาลที่ 4 ชุดสอง หลวงพ่อแก้ว เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1

ข้อมูลชุดแรก หนังสือแจกในงานศพอำมาตย์เอก พระยาชลประทานธนารักษ์ ปี 2515 อาจารย์ชื้น วัดมหรรณพ์ นักนิยมพระรุ่นแรกๆ ของไทย เขียนไว้ว่า หลวงพ่อแก้วเกิดที่เพชรบุรี เมื่อปี 2396

ประชุม กาญนวัฒน์ เขียนไว้ในหนังสือภาพพระเครื่องสี หลวงพ่อแก้ว เกิดที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ราวปี 2385 บวชที่วัดพระทรง ปีเศษก็ธุดงค์ ผ่านวัดท่าลาดเหนือ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

เป็นศิษย์หลวงปู่จีน...แล้วก็ไปปักหลักอยู่ที่วัดเครือวัลย์ ชลบุรี และมรณภาพราวปี 2470 ที่วัดเครือวัลย์

เอาข้อมูลพี่ชุม...ไปเทียบเคียงข้อมูลชุด หลวงปู่จีน ท่านเกิดปี 2357 มรณภาพปี 2443 เมื่ออายุ 83...ตัวเลขปีเกิดหลวงพ่อแก้ว...2385 ของพี่ชุม 2396 ของอาจารย์ชื้น...ห่างกัน 11 ปี น่าเชื่อกว่าข้อมูลชุดสอง ที่ใช้ข้อมูลจากวัด เครือวัลย์ หลวงพ่อแจ่มเป็นสมภารปี 2432 แล้วประมาณว่า หลวงพ่อแก้วมรณภาพปีก่อนหน้า 2431

ข้อมูลชุดวัดเครือวัลย์ ย้อนหลังไปกว่า 80 ปี จึงเชื่อว่าหลวงพ่อแก้วเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1

หนังสือคนดีเมืองเพชร อาจารย์บุญมี พิบูลย์สมบัติ เขียนว่า หลวงพ่อแก้ว อายุไล่เลี่ย หลวงพ่อมี วัดพระทรง เคยไปมาหาสู่กันประจำ ผู้ใหญ่หลายคนเคยเห็นหลวงพ่อแก้วกับตา เวลาท่านมาจากเมืองชลฯ จอดเรือใต้ต้นไทร ริมฝั่งวัดมหาธาตุ

ผมเชื่อข้อมูลชุดแรก...เชื่ออาจารย์ชื้น เชื่อพี่ชุม เชื่ออาจารย์บุญมี...หลวงพ่อแก้วเกิดปลาย ร.4 ใกล้อายุคนรุ่นเราๆ พอนึกภาพจับต้องได้ ใช้เป็นข้อพิจารณาเทียบเคียงกับพระปิดตา รุ่นไล่เลี่ยกันได้ง่ายขึ้น.

พลายชุมพล



พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่...กรอบกระจก

นอกเส้นซุ้มนูนสูงครึ่งวงกลม ของพระสมเด็จวัดระฆัง บางขุนพรหม ทุกพิมพ์มีเส้นนูนต่ำสี่เส้นรอบกรอบสี่เหลี่ยมองค์พระ คนในวงการเรียกกันว่า “กรอบกระจก”

ความจริงเส้นนี้ช่างแกะแม่พิมพ์ตั้งใจขุดเซาะเป็นร่องเอาไว้ ตั้งใจให้เห็นเป็นร่อง...เป็นแนว...เวลาตัดขอบสี่ด้าน...องค์ไหน ตัดพอดีเส้น...ก็ไม่เห็น แต่ส่วนใหญ่ตัดนอกเส้น เหลือให้เห็นตั้งแต่ 1 ถึง 3 เส้น

พิมพ์ที่มีเส้นกรอบครบ 4 เส้น เป็นพิมพ์ใหญ่...พิมพ์หนึ่ง ในจำนวนแม่พิมพ์มาตรฐาน 4-6 แม่พิมพ์ พิมพ์นี้จึงเรียกขานพิมพ์กรอบกระจก องค์มีชื่อเสียง มีภาพในหนังสือหลายเล่ม

หนังสือภาพเล่มหนา...พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ วัดระฆังโฆสิตาราม... (เพื่อนสีกาอ่างพิมพ์) มีภาพทั้งหน้าหลังราว 140 องค์ ใครมีใกล้มือลองเปิดดู องค์ที่ 12 ของนายตำรวจใหญ่ ชื่อจิตติ รอดบางยาง องค์ที่ 13 องค์คุณบุญส่งเส้นนูนหนา

องค์ที่ 14 ไม่มีชื่อเจ้าของ บอกจุดเด่นเป็นฉายา “องค์กรอบกระจก” เส้นกรอบด้านซ้ายองค์พระ จากขอบบนพุ่งลงล่าง ขาดหายระหว่างช่วงพระกรซ้าย...นี่ก็เป็น “หมุดหมาย” หนึ่ง ที่วงการใช้เป็นข้อตัดสิน “พระแท้”

องค์พิมพ์ใหญ่ในคอลัมน์นี้...มีข้อด้อย ตัดชิดในเส้นกรอบซ้าย...เหลือให้เห็นสามเส้นชัด...แต่นี่ก็เป็นธรรมดาของพระแท้...องค์หนึ่งในหลายๆ องค์ ที่ทำให้เสียสมดุล เทียบกับองค์มีกรอบกระจกพอดีๆสี่ด้าน ก็ถือว่าสวยน้อยไปหน่อย

จุดเด่นสมเด็จวัดระฆังองค์นี้อยู่ที่องค์รวม แม่พิมพ์องค์พระติดชัดพองาม ผิวพระอยู่ในสภาพเดิมๆ ปรากฏรอยย่น รอยยุบน้อยๆ เห็นเม็ดปูนขาว (ก้อนขาว) ประปราย นอกผิวแป้งโรยพิมพ์มีฝ้าสีน้ำตาลจากการล้างรักเก่า...หนาสลับบาง

เคล็ดลับข้อหนึ่งของผิวพระวัดระฆังแท้ บางองค์ชี้ขาดกันด้วยฝ้ารัก...การมีฝ้ารัก ตั้งแต่สีเข้มไปถึงจาง ช่วยเสริมให้พระดูง่าย เติมเสน่ห์รึงรัดใจนักส่องพระ...ให้ส่องแล้วก็ส่องเล่าวางไม่ลง

แต่องค์ประกอบที่เป็นจุดเด่นที่สุดขององค์นี้อยู่ที่ด้านหลัง...แผ่นหลังนอกจากฝ้ารักหนาบางสลับผิวแป้งโรยพิมพ์ รอยยุบ รอยแยก ธรรมชาติที่คุ้นตา ภาพรวมปรากฏชัดเป็น...หลังสังขยา...

หลังแบบนี้เอง “ตรียัมปวาย” ใช้คำแรกว่า “ต้องโฉลก” และใช้คำต่อมา “หาชมได้ยากยิ่ง”

แม้พระปลอมจะพยายามทำเลียนแบบได้ละม้าย แต่ก็แค่ใกล้เคียง...คนดูพระเป็น เห็นหลังแบบนี้จึงกล้าคุยว่าไม่ต้องดูด้านหน้า...ก็ตัดสินได้ เส้นสายลายพิมพ์ถูกต้อง เนื้อหาคุ้นตา สภาพพระผิวเดิมๆ ธรรมชาติเดิมอยู่ครบเครื่องอย่างนี้

สำหรับเซียน นี่คือพระดูง่าย...ใช้สำนวนในวงไฮโลเหมือน “เปิดถ้วยแทง” ได้เลย

นักเลงพระรุ่นใหม่...ประสบการณ์จากการได้จับองค์จริง ดูพระแท้...มีน้อย หรือแทบจะไม่มี ทุกวันนี้ทำได้แค่ศึกษาเทียบเคียงจากภาพถ่าย แต่ก็ต้องเลือกภาพจากหนังสือที่เชื่อถือได้

ดูแค่ภาพ สั่งสมประสบการณ์ด้านพิมพ์...ยังไม่พอ ยังขาดอีกหลายปัจจัย น้ำหนัก ขนาดผิวสีที่เป็นจริง (ภาพถ่ายหลายองค์สีเพี้ยน) ถ้ามีวาสนาได้ดูพระแท้...บ้าง ก็จะช่วยให้ได้ความรู้จริง...เพิ่มขึ้น

ราวปี 2522 พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่... เป็นข่าวดังในวงการ คุณฮกเจ็ง แซ่ตั้ง ซื้อจากคุณสนาน กฤษณเศรณี 6.5 แสน ผมไปทำข่าวกำนันช้อง ได้ช่องไปขอดู ก็ได้ดูผ่านกล่องพลาสติก ใส่ตลับทอง...แต่แค่นี้ ก็ถือเป็นบุญตาแล้ว

องค์ต่อมานิตยสารสปิริต เรียก “องค์ลายงา” อยู่ในตลับทองคำฝังเพชร...เม็ดใหญ่ อาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ยื่นให้ดูเต็มมือ เต็มตา...นี่เป็นประสบการณ์สำคัญ ที่คนชอบพระรุ่นใหม่ ต้องพยายามหา

ทุกวันนี้ พระปลอม ตั้งแต่ฝีมือสูงซับซ้อน ไปถึงปลอมง่าย...ก็มีลงหนังสือหลายเล่ม ทั้งเล่มเล็กเล่มใหญ่ ใครหลงเชื่อ ดูภาพพระปลอมก็มักไปซื้อพระปลอม...เสียทั้งเงิน เจ็บทั้งใจ

ลีลาเดิมๆ ขายพระให้เจ้าสัวไปแล้ว พิมพ์หนังสือเล่มใหญ่ เอาพระแท้หน้าเก่าๆใส่ไว้ในเล่ม ส่วนองค์ปกเป็นพระปลอม...ฝีมือปลอมก็ไม่ซับซ้อนนักหนา ระดับประถมเท่านั้น คนพอดูพระเป็นมองปราดเดียวก็รู้ว่าเก๊

พระปลอมสภาพนี้เซียนใหญ่ไม่เคยทำ แต่เซียนน้อยข้างวงการยังทำ มุกนี้ยังขายได้ เจ้าสัวน้อยเจ้าสัวใหญ่ ระวังตัวกลัวภัยกันไว้เถิด.

พลายชุมพล



พระสมเด็จนางพญา พิมพ์เทวดา

นักเลงพระรุ่นใหม่เคลิ้มไปกับพระชุดเบญจภาคี ห้าองค์ชุดใหญ่ พระสมเด็จพระนางพญา พระผงสุพรรณ พระรอดและพระทุ่งเศรษฐี จนอาจหลงลืม พระชุด “ไตรภาคี” ชุดย่อม คือ สมเด็จนางพญาและพระรอดไปบ้าง

ตรียัมปวาย...จัดพระสมเด็จเป็นองค์ประธานก็เพราะสัณฐานสี่เหลี่ยมสง่าผึ่งผายเลือกพระนางพญาสามเหลี่ยมขนาดย่อมกว่าไว้ขวา และเลือกพระรอดเล็กกว่าโค้งมนไว้ซ้าย...

ไตรภาคี ยังแยกเป็นชุดใหญ่ ชุดเล็ก ถ้าเลือกชุดเล็ก...เริ่มที่สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์ นาง...พิมพ์สังฆาฏิ หรือเทวดา และพระรอด พิมพ์เล็ก...พิมพ์ต้อ...ก็งามสง่า ผึ่งผายไม่น้อย

ถ้าสตางค์น้อย...รักจะเลือก “สักองค์” ในไตรภาคี ราคาตลาดที่ตอนนี้ดูจะน้อยกว่า ขอแนะนำพระนางพญา

เอ่ยชื่อ “นางพญา” ผู้หญิงก็ออกปาก อยากได้ ในฝันทุกนางอยากเป็น “นางพญา” ปรมาจารย์พระเมืองเหนือ...เชียร ธีรศานต์ เขียนไว้ อย่าให้เมีย จะเสียเมีย

แต่ความจริงกลับมีว่า นางพญาขึ้นชื่อในทางคงกระพันชาตรี หนังเหนียวชนิดอย่าบอกใคร ชายชาตรีมากมาย โดยเฉพาะตำรวจ...ต้องการมีไว้ในคอ

นักเลงโบราณ รุ่นสักยันต์เก้ายอด ช่วงสงคราม (พ.ศ.2484-2488) เล่ากันถึงเรื่องตาควาย

ชายขี้เมาถือขวานท้าต่อยท้าตีไปทั่ว...ตำรวจสองคนแรกไปจับ...จับแกไม่ได้ ชุดสองไปเป็นกลุ่มใหญ่ ก็เอาไม่อยู่ เรื่องแบบนี้มีได้ไง...เสียยี่ห้อตำรวจไทย ร.ต.ท.ยอดยิ่ง สุวรรณนาคร เอาตำรวจไปทั้งโรงพักชนะสงคราม...

เล่ากันว่าตาควาย ยิงฟันไม่เข้า สู้กับตำรวจทั้งโรงพัก เหนื่อยนักก็โดดลงน้ำ หายเหนื่อยก็สู้ใหม่

ตำรวจลูกน้อง ไม่กล้าปะทะซึ่งหน้า ร.ต.ท.ยอดยิ่งกระโดดถึงตัว ตาควายฟันด้วยขวานหลายแผล...สลบเข้าโรงพยาบาล ฟื้นขึ้นมาจึงรู้ว่า “ตาควาย” สิ้นฤทธิ์ “ด้วยท่อนไม้ในมือภารโรงโรงพักที่ซุ่มคอยที” โป้งเดียว ตาควายจอดไม่แจว

เรื่องนี้ ร.ต.ท.ยอดยิ่งเล่าให้ “ตรียัมปวาย” ฟังที่พิษณุโลก ขณะออกปากขอนางเขียวพิมพ์สังฆาฏิ ที่เลี่ยมทองแขวนคอ...ด้วยเหตุผล “เหมือนองค์ตาควาย” ตรียัมปวายเสียดาย แต่ทนรบเร้าไม่ไหว ตัดใจให้

ตำนานนางพญาองค์นี้ เป็นที่มาของ “ใบสั่ง” จากตำรวจน้อยใหญ่ แต่ก็ต้องแย่งใบสั่งจาก “คุณนาย” ที่ก็อยากได้ นางพญาไว้เสริมราศีเหมือนกัน

นางพญาในภาพ...เป็นพิมพ์เทวดา...สภาพพระสมบูรณ์แบบเดิมๆ ผิวพระไม่แดงไม่เหลือง ไม่เขียว ออกไปทางคล้ำคล้ายสีลิ้นจี่...ใครมีหนังสือสุดยอดพระเบญจภาคี (กิติ ธรรมจรัส พ.ศ.2536) ไปหาเปิดดู องค์เดิมของอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ผิวสีพระ ทั้งหน้า-หลัง ไปทางเดียวกัน

สมัยก่อนวงการเลือกเล่นสีเหลือง แดง ดูง่าย เจอผิวคล้ำเขียวดำ...ก็วาง แต่สมัยใหม่ภาพพระแท้ที่ซื้อขายหมุนเวียน...เริ่มคุ้นตา ก็กล้าเปลี่ยนมือ ขอแค่ให้แน่ใจว่าแท้และสวย ผิวสีอะไร ดูจะไม่เกี่ยงกันแล้ว

พระนางพญา...ศิลปะงาม เนื้อดินเผาแกร่ง...ใช้ติดตัวได้ไม่ต้องระวังมาก เข้าเกณฑ์วัตถุโบราณ ตรียัมปวาย ให้ทัศนะไว้ในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม 2 พระนางพญา...ว่าสร้างสมัยพระมหาธรรมราชา และพระนางวิสุทธิกษัตรี ครองพิษณุโลก

แต่อุทัย วิชัยสุทธิจิตร (ลิ้ม กรุงไทย) เขียนไว้ในสุดยอดเบญจภาคีว่า สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.2007-2025) อายุมากกว่าสมัยพระมหาธรรมราชาราวร้อยปี

ปัญหาอายุหรือศิลปะจะต้นหรือกลางอยุธยา...นี่เป็นเสน่ห์ของการเล่นพระเก่า...แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ต้องหาพระแท้ไว้ พระนางพญาวันนี้ พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง เข่าตรง องค์สวย หลายล้าน พิมพ์เล็ก สังฆาฏิ เทวดา อกนูนเล็กหลายแสนขึ้นล้าน

ราคายั่วใจอย่างนี้ พระปลอมก็พัฒนาฝีมือ เนื้อใกล้เคียง พิมพ์ใกล้เคียง ตำหนิในพิมพ์ ที่เป็นตัวช่วยสำคัญ นักปลอมก็ตามทัน...จนกล่าวกันว่า หลักการซื้อพระสมัยนี้ ให้เลือกซื้อที่เซียน...ถ้าเซียนแท้ ก็ได้พระแท้.

พลายชุมพล



พระสมเด็จ หลังสังขยา

พระสมเด็จวัดระฆังองค์ครูที่คุ้นตา นอกจากแม่พิมพ์ด้านหน้า เส้นสายลายพิมพ์...ชัด คม สง่า งดงาม ตำหนิเคล็ดลับมีครบ ตามขนบนิยมวงการ เมื่อดูด้านหลังแต่ละองค์มีสัญลักษณ์แตกต่างกันไป ดูผิวเผินคล้ายกันแต่ของจริงไม่เหมือนกัน

เหตุที่หลังไม่เหมือนกัน เพราะด้านหลัง... ไม่มีแบบพิมพ์ ทุกริ้วรอยไม่ว่าจะเรียกว่ารอยปูไต่ รอยหนอนด้น รูพรุนปลายเข็ม รอยย่นตะไคร่น้ำ ฟองเต้าหู้ สังขยา ริ้วระแหง ฯลฯ ผู้รู้เชื่อว่าเกิดตามธรรมชาติ

ส่วนหลังกระดาน ผู้รู้บางท่านว่า ใช้แผ่นกระดานประกบให้เรียบ...ทิ้งรอยไว้ หลังกาบหมาก ก็ว่า พิมพ์พระแล้วเอาไปวาง จึงเกิดร่องรอย แต่ที่แน่ๆ ร่องรอยนั้นไม่ใช่ร่องรอยคงที่

ยังมีตัวแปร จากปรากฏการณ์ตอนเนื้อพระยังเปียกและเซตตัวจนแห้ง ประกอบด้วย

ยึดหลักนี้ จึงมีพระสมเด็จหลายองค์ ดูด้านหน้าพิมพ์ก็ถูก เนื้อก็ใช่ แต่พอพลิกดูหลัง...ราบเรียบ ไม่มีริ้วรอยสัญลักษณ์เป็นตัวช่วย เซียนน้อยเซียนใหญ่ก็มักวาง

ใครที่มีหนังสือเล่มใหญ่ๆ อย่างเล่มเบญจภาคี ในชุดมรดกไทย พรีเซียส ของอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ สุดยอดพระเบญจภาคี ของคุณกิติ ธรรมจรัส ทำเนียบพระพันตา สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ของเพื่อนสีกาอ่าง ฯลฯ ลองเปิดไล่เรียงดู

องค์ดัง ไม่ว่าองค์ลุงพุฒ องค์ขุนศรี องค์เสี่ยหน่ำ หรือองค์กวนอู ฯลฯ ด้านหลัง สัญลักษณ์...คมลึก ชัดเจน เข้าโฉลกนิยม...ดูแล้วติดตาคาใจ

หลังต้องโฉลกเหล่านี้ ครู “ตรียัมปวาย” ท่านเตือนสติว่า “มีน้อยนัก หาชมได้ยากยิ่ง”

ด้านหลังสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ องค์แรกในภาพ คงพอจำได้ ริ้วรอยยุบ รอยย่น รอย ยับ ลึกแปลกตากว่าองค์ครูองค์อื่นๆ มุมล่างซ้ายมีรอยอุดซ่อม ยืนยันว่าเป็นด้านหลังของ องค์กวนอู

มรดกจากคุณบุญยงค์ นิ่มสมบูรณ์ ปัจจุบัน ตกทอดมาถึงคุณยศ นิ่มสมบูรณ์ บุตรชาย

อีกองค์ เป็นด้านหลังองค์หน้าใหม่...รังใหญ่คนมีบุญ ยังไม่เคยเผยโฉมในวงการ (ด้านหน้าเทียบเคียงกันได้แค่ไหน รออ่านฉบับหน้า) นอกจากริ้วรอยใกล้เคียงกันทุกกระเบียดมือ...

ยังมีส่วนเนื้อเกิน เป็นปุ่มโปนเล็กๆ ที่เห็นเป็นพืดสีดำ คือเนื้อรักที่ยังลอกออกไม่หมด

ปุ่มโปนนี้ บางคนอาจสะดุดตา...แต่ก็พอหาเพื่อนให้อุ่นใจได้ จากปุ่มปมหนึ่งในหลังองค์ลุงพุฒ ...หลังองค์ลุงพุฒ (ของโป้ยเสี่ย) ผมว่า งามลงตัวที่สุดในปฐพี ไม่แปลกใจที่ถูกคัดเลือกไปตีพิมพ์ในดวงตราไปรษณีย์

คำถามที่ตามมา ด้านหลังสององค์ที่ยุบตัวเป็นหลุมเป็นปุ่มสลับกันไปคล้ายกันนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร

ในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง “ตรียัมปวาย” อธิบายในหัวข้อ หลังแบบที่ 6 รอยสังขยา ว่า เป็นด้านหลังที่มีสัณฐานลักษณะเป็นวงๆ ซึ่งมีเส้นรอบวงหยักคดเคี้ยวไปตามธรรมชาติ มักปรากฏบริเวณย่านกลางๆ ของพื้นที่ด้านหลัง

บริเวณนั้นเป็นเนื้อราบเรียบ กอปรด้วยริ้วรอยย่นซ้อนกันของเนื้อกระจายแผ่ออกไปเป็นวงๆ ซ้อนกัน คล้ายกับผิวน้ำเป็นพลิ้วระลอกวงกลม วงรอบของริ้วรอยย่นแต่ละชั้น อาจมีริ้วระแหงละเอียด รอยย่นตะไคร่น้ำ รูพรุนปลายเข็ม ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีเมล็ดแร่ สีน้ำตาลไหม้หรือน้ำตาลอ่อนใสๆ คล้ายปลายเมล็ดงาปรากฏตามผิวเนื้อ เข้าใจว่าในขณะบรรจุเนื้อลงในแม่พิมพ์และกดให้แนบแน่นแม่พิมพ์แล้ว เห็นว่าเนื้อยังพร่องอยู่ จึงมีการเติมเนื้อลงไป โดยไม่มีกดหรือไล้ให้เข้ากับเนื้อเดิม เนื้อจึงยังไม่สมานกันสนิทเข้าที่ หรือเนื้อที่เติมใหม่หมาดกว่าเนื้อเดิม จึงไม่เข้ากับเนื้อเดิม ครั้นเมื่อพระยุบตัวสนิทเป็นของแข็ง จึงเกิดการยุบตัวที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดริ้วรอยธรรมชาตินี้ขึ้น

“ตรียัมปวาย” ทิ้งท้ายว่า รอยสังขยาปรากฏเป็นจำนวนน้อยมากเป็นข้อยืนยันในความเป็นของแท้ได้แน่นอนประการหนึ่ง เพราะยังไม่ปรากฏของปลอมรายใดที่สามารถทำได้ใกล้เคียงเลย.

พลายชุมพล

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2559 05:27:00 »

.

จากกวนอู-ถึงจูล่ง



พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ องค์แรกเป็นพระในตำนาน คุ้นตานักเลงพระรุ่นเก่า คือองค์กวนอู องค์ต่อมา แม่พิมพ์เดียว กัน เป็นพระหน้าใหม่...ด้านหลังก็ให้บังเอิญเป็น “สังขยา” คล้ายกัน
 
นำเสนอให้เทียบเคียง-ศึกษากัน ในปาฏิหาริย์จากหิ้งพระฉบับที่แล้ว
 
ฉบับนี้คุยกันถึงด้านหน้า...พิมพ์ใหญ่พิมพ์นี้ เป็น 1 ใน 4 พิมพ์มาตรฐาน องค์ครูมักมีชื่อฉายาเรียกตามเจ้าของเดิม ขุนศรี ลุงพุฒ ครูเอื้อ เรียกตามลักษณะเด่น เล่าปี่ เปาบุ้นจิ้น และองค์ที่เดิมที เปื้อนสีซองธูป ผิวจึงมีสีแดง
 
กวนอูในสามก๊กหน้าแดง พระสมเด็จองค์นี้ ถูกตั้งฉายา...องค์กวนอู เพราะผิวเคยมีสีแดง
 
วันนี้องค์กวนอู ถูกล้างคราบสีแดงซองธูปออกไปแล้ว เหลือสภาพเดิมผิวละเอียด นุ่มนวลตา สีขาวอมเหลือง ...เหมือนสีงาช้าง ตรียัมปวาย จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อนุ่ม...เรียก “เนื้อเกสรดอกไม้”
 
มวลสารส่วนใหญ่ดุจอนุภาคผงเภสัชอันละเอียดยิบ ผ่านการบดกรอง คลุกเคล้าสมานกันและกระจาย





นอกจากเยื่อครีมของเนื้อว่าน และกล้วยวรรณะหม่นๆ แทรกคละระคน ยังมีเมล็ดปูนขาวกลมๆ เท่าหัวเข็มหมุดย่อมๆ วรรณะขาวใสกว่าวรรณะส่วนรวมของเนื้อ ประปรายบางตา
 
พรรณนาด้วยตัวหนังสือพันคำ ยังไม่ดีเท่าได้ดูภาพสีจากหนังสือพระเครื่องเล่มใหญ่ แต่ถ้าจะให้ดีกว่า ถึงดีที่สุดก็คือได้ส่อง ได้จับองค์จริง
 
ความจริงในวันนี้ ในวันที่พระแพงองค์ละหลายสิบล้าน...โอกาสเป็นไปแทบจะไม่มี
 
พิมพ์ใหญ่องค์หน้าใหม่...ดูจากภาพถ่ายลึกล้ำกว่าองค์กวนอู...ภาพรวมผิวเนื้อพระ ออกไปทางหยาบ เม็ดปูนขาวเม็ดใหญ่...หนาตา แต่ไม่ปรากฏตรงเส้นสายลายพิมพ์ จึงทำให้พระยังสวย...คม
 
เม็ดปูนขาวที่ปรากฏบนผิวพระ มีสอง ลักษณะ ลักษณะแรก...เบียดแทรกแน่นกับผิวเนื้อ...ลักษณะที่สอง เป็นเม็ดสัณฐานไม่แน่นอน...วางอยู่หลวมๆ ดูให้ดีจะเห็นเนื้อรักแทรกระหว่างผิวเนื้อพระกับเม็ดปูน
 
เมื่อสักสิบปีที่แล้ว...เม็ดปูนขาวหลวม...ถือเป็นจุดตาย ของปลอมทำไม่ได้ แต่ตอนนี้ของปลอมทำได้ดี
 
ส่วนมวลสารอื่น...นอกจาก “เม็ดปูนขาว” ที่วงการเรียกสั้นๆ “ก้อนขาว” แล้วก็ยังมีกากดำ กรวดเทา...และอิฐแดง ของปลอมฝีมือตอนนี้ ตามทัน บางรุ่น พิมพ์ดี เนื้อใช้ได้ แต่เผลอใส่อิฐแดงมากเกินไป
 
ยึดหลัก “ตรียัมปวาย” เนื้อพระพิมพ์ใหญ่องค์หน้าใหม่...ควรถูกจัดเข้าในกลุ่มเนื้อกลางๆ ระหว่างนุ่มกับแกร่ง...มวลสารหยาบที่เห็นกับตา...ไปกันได้กับเนื้อ “กระยาสารท” เนื้อที่ให้ความรู้สึกเข้มขลัง
 
แต่แม้มองเผินๆจะดูหยาบ...แต่เนื้อพระสมเด็จแท้ แบบกระยาสารทก็ยังตกผลึก หนึกแน่น ละเอียด...ถ้าผิวพระยังอยู่ในสภาพเดิมๆ...ก็ยังมองทะลุถึงความซึ้ง...





ความซึ้ง เกิดขึ้นจากการดูพระแท้มากๆจนคุ้นตา จนแยกพระแท้องค์ที่ซึ้งตา...ออกจากพระปลอม...ได้ทันที
 
พิมพ์ใหญ่องค์นี้ ด้านหลังสังขยา...ใกล้เคียงหลังองค์กวนอู ให้คะแนนสิบเต็ม...แต่ด้านหน้าแม้พิมพ์เดียวกัน แต่ความที่เป็นพระเนื้อหยาบ ความซึ้งตาน้อยกว่า...คะแนนสิบ เจ้าของพระคงไม่ว่า ถ้าอยากหักไปสักหนึ่ง เหลือเก้า
 
อยากจะให้เครดิต ด้วยการตั้งฉายาชื่อนั้นสำคัญไฉน แต่ชื่อนั้นก็สำคัญตรงที่เป็นหมุดหมายให้รู้ องค์ไหน?
 
ทหารเสือของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย จูล่ง ฮองตง และม้าเฉียว เมื่อมีองค์กวนอู ในวงการ องค์นี้ จะขอเรียก “องค์จูล่ง” จูล่ง สุภาพบุรุษจากเสียงสาน สวมเกราะขาว รบ 7 วัน 7 คืน...ชิงอาเต๊าคืนให้เล่าปี่
 
ฆ่าทหารโจโฉตายนับไม่ถ้วน แต่โจโฉก็นึกรักอยากได้ไว้ใช้ สั่งทหารไม่ให้ฆ่า นักรบที่รบเก่งเหมือนปาฏิหาริย์ เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือ ที่ไม่ตายโหง...จูล่งแก่ตาย... อย่างสง่าสงบงาม ชื่อ จูล่ง จึงเป็นชื่อมงคล..

พลายชุมพล



พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ กรุวัดตาเถรขึงหนัง (วัดศรีพิจิตร กิรติกัลยาราม)

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องบางองค์มีชื่อไพเราะและเป็นมงคลมาก เช่นที่พูดถึงในวันนี้คือ พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นพระกรุที่สร้างมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เรามาคุยกันถึงพระกรุนี้กันนะครับ

พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ได้ถูกขุดพบโดยบังเอิญ เนื่องจากกรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะโบราณสถานในจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2496 เรื่อยมา จนถึงปลายปี พ.ศ.2502 เมื่อขุดแต่งบริเวณฐานขององค์พระเจดีย์วัดต้นจันทน์หรือวัดราวต้นจันทน์ก็พบพระเครื่องนางพญาเสน่ห์จันทน์ และพบอีกที่วัดตาเถรขึงหนัง หรือวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ซึ่งทั้ง 2 วัดมีอาณาเขตติดต่อกัน

ทั้ง 2 วัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ก่อนที่จะมีการพบพระนางพญาเสน่ห์จันทน์นั้น ในปี พ.ศ.2499 ทางกรมศิลปากรก็ได้ขุดพบหลักศิลาจารึกหลักหนึ่งฝังจมดินอยู่บริเวณวัดตาเถรขึงหนัง ศิลาจารึกหลักนี้เป็นหินชนวนสีเขียวชำรุดหักครึ่ง โดยเหลือแต่เพียงท่อนบนเท่านั้น ส่วนท่อนล่างหาไม่พบ จารึกเป็นภาษามคธและภาษาไทย ข้อความที่ศิลาจารึกพอแปลความสรุปได้ว่า วัดนี้ในสมัยสุโขทัย มีนามว่า "วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม" สร้างเมื่อ พ.ศ.1943 ตรงกับสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) และพระราชชนนีศรีธรรมราชมารดาเป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้น โดยโปรดให้ไปอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติ ซึ่งเป็นพระสังฆราชมาจากเมืองกำแพงเพชรเพื่อเป็นประธานในการสร้าง พระอาวาสอาสน์อันดีมีชื่อ "ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม" ตามนามพระสังฆราชพระองค์นั้น

การขุดพบพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ในครั้งนั้นพบที่วัดต้นจันทน์ก่อน ขณะที่ทางการขุดลงไปในองค์พระเจดีย์และเปิดกรุที่บรรจุพระเครื่อง ต่างก็พากันตะลึงงัน เนื่องจากคนที่ลงไปในกรุเล่าว่า รู้สึกเหมือนตกอยู่ในภวังค์ รู้สึกชุ่มชื่นอย่างประหลาด เพราะภายในกรุกรุ่นไปด้วยกลิ่นแป้งร่ำกระแจะจันทน์ จึงอาจสันนิษฐานว่าสมัยนั้นเมื่อสร้างเสร็จและนำมาบรรจุกรุ พระนางพญาเสน่ห์จันทน์คงถูกประพรมด้วยของหอมนานาชนิดไว้อย่างมากมาย เหตุนี้จึงมีกลิ่นหอมอบอวลดังกล่าว คงจะมาจากเรื่องราวของการเปิดกรุที่มีกลิ่นหอมทางการจึงตั้งชื่อว่านางพญาเสน่ห์จันทน์ ต่อมามีการเปิดกรุเจดีย์ของวัดตาเถรขึงหนังอีก ต่อมาก็ยังพบพระนางพญาเสน่ห์จันทน์บรรจุอยู่ในกรุนี้ด้วยปะปนกับพระเครื่องชนิดอื่นๆ มากมาย ภายในกรุแบ่งออกเป็นห้องๆ มี 8 ห้อง มีพระเครื่องนางพญาเสน่ห์จันทน์เป็นพื้น

พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ของทั้งสองกรุนั้นมีพุทธลักษณะคล้ายกันมาก ที่สังเกตง่ายๆ ก็คือของกรุวัดต้นจันทน์จะมีเส้นคล้ายเส้นจีวรอยู่ที่ใต้แขนด้านซ้ายมือขององค์พระ ยาวตั้งแต่ข้อมือซ้ายยาวขนานกับท่อนแขนเลยข้อศอกซ้ายเล็กน้อย ส่วนพระของกรุวัดตาเถรขึงหนังจะไม่มีเส้นนี้ พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อละเอียดแต่ตัวเนื้อจะไม่ค่อยแน่นสักเท่าไร พระทั้งสองกรุจะปรากฏคราบกรุเป็นฝ้าบางๆ สีนวลจับอยู่เกือบทั้งองค์พระ โดยเฉพาะตามซอกแขน คราบกรุนี้จะจับฝังแน่นกับผิวของพระ

ในปี พ.ศ.2503 ทางกรมศิลปากรได้นำพระนางพญาเสน่ห์จันทน์มาให้ประชาชนเช่าบูชา เนื่องจากพระที่พบมีจำนวนมากทั้งสองกรุ และเพื่อนำเงินไปเป็นปัจจัยในการบูรณะโบราณสถานต่อไป ในครั้งแรกสนนราคาที่ทางการเปิดให้นั้นราคาองค์ละ 30-40 บาท เท่านั้น ก็มีประชาชนไปเช่าบูชากันมากจนพระเริ่มเหลือน้อยลง จนในปี พ.ศ.2509 ราคาเช่าอยู่ที่ 400-500 บาท เมื่อพระหมดไปจากกรม ราคาก็ขยับสูงขึ้นตามลำดับ พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ของทั้งสองกรุได้รับความนิยมทั้งสองกรุ แต่ด้วยจำนวนของวัดตาเถรขึงหนังมีมากกว่า จึงทำให้คนรู้จักกันมากกว่า จึงได้รับความนิยมสูงกว่าเล็กน้อย

เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้ที่ได้บูชาไป กล่าวว่ามีพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และด้วยพุทธศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์และงดงาม อีกทั้งพุทธคุณที่ปรากฏ จึงทำให้พระนางพญาเสน่ห์จันทน์หาได้ยากแล้วในปัจจุบัน สนนราคาค่อนข้างสูง และของปลอมเลียนแบบก็มีมากตามมาเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ กรุวัดตาเถรขึงหนัง (วัดศรีพิจิตร กิรติกัลยาราม) มาให้ชมกันด้วยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์




พระอู่ทองกรุน้ำผึ้ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุพระเก่านั้น มีการตั้งชื่อกันตามสถานที่บ้าง ตามพุทธลักษณะบ้างหรือตามรูปร่างของกรอบพิมพ์บ้าง มีพบที่ใดหรือเห็นรูปลักษณะเป็นอย่างไรก็ตั้งชื่อกันไปในสมัยนั้นๆ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เราๆ ท่านๆ เกิดความสงสัยได้ไม่น้อยเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมจะพูดถึงพระกรุเนื้อชินกรุหนึ่ง ที่พบที่จังหวัดสุโขทัย ชื่อพระอู่ทองกรุน้ำผึ้ง ความเป็นมาของชื่อนั้นมีอย่างไร อู่ทองเป็นชื่อของอาณาจักร และใช้เรียกรูปแบบของศิลปะด้วย ศิลปะอู่ทองเกิดขึ้นทางภาคกลางของประเทศไทย ที่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรทวารวดี และต่อมาถูกชาวขอมเข้ามาครอบครองศิลปะแบบอู่ทองจึงเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลแบบต่างๆ มาผสมผสานกัน ศิลปะอู่ทองมีแยกออกไปเป็น 3 ยุค

ศิลปะอู่ทองยุคแรกหรืออู่ทองสุวรรณภูมิ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบมอญขอม คือได้รับอิทธิพลทางศิลปะแบบทวารวดีและขอมผสมผสานกัน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18

ศิลปะอู่ทองยุคกลางเป็นพุทธศิลปะตอนต้นของอยุธยา รูปแบบศิลปะยังมีอิทธิพลศิลปะขอมปะปนอยู่ พระพุทธรูปที่พบจะมีพุทธลักษณะมีเส้นไรพระศก พระเกศแบบเปลวเพลิง พระพักตร์ค่อนข้างเคร่งขรึม คางเป็นสัน ลำพระองค์ค่อนข้างชะลูด สังฆาฏิมักเป็นแบบปลายตัด และมักจะปรากฏเส้นขอบสบง มักทำเป็นแบบประทับนั่งปารมารวิชัยบนฐานหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างในหรือฐานแบบสำเภา พระพุทธรูปแบบนี้มักเรียกกันว่า แบบแข็งสันคางคน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19

ศิลปะอู่ทองยุคปลาย มีอิทธิพลศิลปะสุโขทัยเข้ามาปะปนอยู่มาก พระพักตร์ค่อนข้างเป็นแบบสุโขทัย แต่รูปแบบของอู่ทอง คือมีไรพระศกและมักมีเส้นขอบสบง ฐานเป็นหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างในยังคงอยู่ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 ค้นพบเป็นจำนวนมากในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทีนี้พอผู้ที่พบพระเครื่องในกรุและมีพุทธลักษณะคล้ายๆ แบบนี้ ลำพระองค์ชะลูดๆ ก็มักจะตั้งชื่อว่าอู่ทองนำหน้าก่อนเสมอ แล้วจึงนำชื่อกรุหรือจังหวัดมาต่อท้ายตามสถานที่พบพระ

พระอู่ทองกรุน้ำผึ้ง ถูกพบโดยกระทาชายนายหนึ่งที่มีอาชีพทางหาน้ำผึ้งป่าขายและได้ไปพบพระกรุนี้โดยบังเอิญ แกเข้าไปหาตีรังผึ้ง เพื่อเอาน้ำผึ้งมาขายที่เนินดินแห่งหนึ่งที่แกได้เข้ามาตีผึ้งเป็นประจำทุกปีซึ่งมีรังผึ้งชุกชุม บังเอิญไปพบพระกรุนี้เข้าและนำพระเครื่องกรุนี้มาขายในตลาด ผู้ที่พบเห็นและเช่าไปก็สอบถามว่าได้พระมาจากไหน ก็รู้ได้ว่าพบที่เนินดินที่เข้าไปตีผึ้ง สังเกตดูมีพุทธลักษณะลำพระองค์ชะลูดๆ และมีเส้นคล้ายเส้นไรพระศกและมีเส้นขอบสบง จึงเรียกชื่อนำหน้าว่าพระอู่ทอง ส่วนกรุน้ำผึ้งก็มาจากสถานที่และสาเหตุที่ไปพบเพราะเข้าไปตีผึ้ง และสถานที่อยู่ในจังหวัดสุโขทัย ก็เลยเป็นชื่อเรียกกันว่า "พระอู่ทอง กรุน้ำผึ้ง สุโขทัย" กันตลอดมา

พระอู่ทองกรุน้ำผึ้ง ปัจจุบันแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันจนแทบจะลืมเลือนกันไปบ้าง คนในยุคหลังๆ ก็แทบไม่ค่อยรู้จัก ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระอู่ทอง กรุน้ำผึ้ง สุโขทัย เนื้อชินเงินมาให้ชมกันครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์


.


เหรียญ 18 พระสังฆราช 9 หน้า 9 หลัง

วัดรวกสุทธารามอยู่บริเวณบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่ง

สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา แม้จะไม่เป็นที่คุ้นหูของหลายๆ ท่าน แต่สำหรับชาวบางกอกน้อยและชาวธนบุรีแล้วเป็นที่เคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง มักแวะเวียนไปกราบสักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันเป็นประจำ โดยเฉพาะ "หลวงพ่อดำ" พระประธานในอุโบสถเก่า ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่วัดมาช้านาน มักมีผู้คนมากมายมาบนบานศาลกล่าวขอพร ซึ่งก็จะประสบผลสมความตั้งใจเสมอมา

วัตถุมงคลของวัดรวกสุทธาราม มีการจัดสร้างออกมาหลายต่อหลายรุ่นเพื่อหาปัจจัยมาบูรณะและสร้างเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดให้คงสภาพความสมบูรณ์สืบต่อไป ซึ่งล้วนเป็นที่ศรัทธาและนิยมสะสมของพุทธศาสนิกชนอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

สำหรับเหรียญที่จะกล่าวถึงนี้ถึงแม้จะไม่มีข่าวคราวเป็นที่ฮือฮาเฉกเช่นบางเหรียญ บางพระเกจิ แต่จากการพิจารณารูปแบบและแนวคิดในการจัดสร้างเหรียญ รวมทั้งสาระสำคัญของพิธีพุทธาภิเษกแล้ว อาจกล่าวได้ว่า เป็นหนึ่งเหรียญที่ทรงคุณค่าทางจิตใจ อีกทั้งความเข้มขลังทางพุทธานุภาพน่าจะเป็นที่ปรากฏได้อย่างเด่นชัดทีเดียว นั่นคือ "เหรียญ 18 พระสังฆราช 9 หน้า 9 หลัง ปี 2518"

เหรียญ 18 พระสังฆราช 9 หน้า 9 หลัง ปี 2518 นี้ จัดสร้างเนื่องในโอกาสฉลองกำแพงวัด ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยสร้างพร้อมวัตถุมงคลหลายประเภท แต่ความโดดเด่นของเหรียญนี้อยู่ที่แนวความคิดในการจำลองรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง 18 พระองค์ ผู้ทรงเกียรติคุณและคุณูปการมากมายต่อพระบวรพุทธศาสนามารวมในเหรียญเดียว อีกทั้งแบ่งเป็นด้านหน้า 9 พระองค์ ด้านหลัง 9 พระองค์ ในชื่อ 9 หน้า 9 หลัง อันถือเป็นนามมงคลยิ่งอีกด้วย พระสังฆราชทั้ง 18 พระองค์ มีพระนามดังนี้

    1.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (พ.ศ.2325-2337)
    2.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2337-2359)
    3.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2359-2362)
    4.สมเด็จพระอริยวงศษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) วัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2363-2365)
    5.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2365-2385)
    6.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบูรณะราชวรวิหาร (พ.ศ.2386-2392)
    7.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี สุวัณณรังสี) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหา วิหาร (พ.ศ.2394-2396)
    8.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (พ.ศ.2434-2435)
    9.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2435-2442)
   10.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (พ.ศ.2453-2464)
   11.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2465-2480)
   12.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2481-2487)
   13.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (พ.ศ.2488-2501)
   14.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2503-2505)
   15.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2506-2508)
   16.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร (พ.ศ.2508-2514)
   17.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (พ.ศ.2515-2517)
   18.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (พ.ศ.2517-2531)

นอกจากนี้ รูปทรงของเหรียญก็ออกแบบได้อย่างสวยงามลงตัว โดยมีการจัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดงรมดำ

"พิธีพุทธาภิเษก" ถือได้ว่าจัดอย่างยิ่งใหญ่มาก จัดงานปลุกเสกกันถึง 3 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 9-11 เมษายน พ.ศ.2518 โดยพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นเมตตาเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกคืนละ 9 รูป รวม 18 รูป ประกอบด้วย หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม, หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร, หลวงพ่อสา วัดราชนัดดาราม, พระอาจารย์สงัด วัดพระเชตุพนฯ, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์, หลวงพ่อมุต วัดยางสุทธาราม, หลวงพ่ออยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงปู่เส่ง วัดน้อยนางหงส์, หลวงพ่อเฟื่อง วัดเจ้ามูล, พระครูจอย วัดบัวงาม, พระอาจารย์ประเดิม กทม., หลวงพ่อจ้วน วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง, หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์, หลวงพ่อเฉลียว วัดถ้ำพระธาตุ, หลวงพ่อหวน วัดโพธิ์โสภาราม, หลวงพ่อเข็ม วัดสุทัศน์, หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อระเบียบ วัดอัมพวา และพระครูสมุห์พล วัดอัมพวา

ประการสำคัญ คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 ทรงเมตตาเป็นประธานจุดเทียนชัยและดับเทียนชัยอีกด้วย

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้น่าจะพอสนับสนุนคำกล่าวเบื้องต้น ที่ว่า "ทรงคุณค่าทางจิตใจ และเข้มขลังทางพุทธานุภาพ" ได้เป็นอย่างดี สนนราคาก็ยังเช่าหากันได้อยู่ จึงนับเป็นหนึ่งเหรียญยุคกลางเก่ากลางใหม่ที่น่าสนใจสะสมทีเดียวครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์




พระกรุ วัดบางสะแกนอก

ย้อนไปในปีพ.ศ.2511 เจดีย์เก่าหลังอุโบสถ วัดบางสะแกนอก เขตตลาดพลู ฝั่งธนบุรี ซึ่งสร้างมานานกว่า 100 ปี ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ขณะที่พระลูกวัดกำลังทำความสะอาดบริเวณนั้นและช่วยกันรื้อพระเจดีย์เก่าเพื่อที่จะบูรณะใหม่ ก็ปรากฏพระเนื้อดิน ไหลทะลักออกมาจำนวนมาก เมื่อเรื่องทราบถึงพระครูไพโรจนคุณ เจ้าอาวาสสมัยนั้น จึงให้ไปนำพระมาเก็บรักษาไว้ก่อนที่จะสูญหายไปเสียหมด เรียกกันว่า "พระกรุวัดสะแกนอก"

พระกรุวัดสะแกนอกเป็นพระเนื้อดินเผาผสมใบลานเผาไฟ เนื้อองค์พระมีสีต่างๆ ตามธรรมชาติการเผาของพระเนื้อดินทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเนื้อดำจัดบ้างไม่จัดบ้าง ที่พบเห็นมี 2 พิมพ์ คือ พระนั่งสมาธิบนกลีบบัว และพระปิดตามหาลาภ (พระภควัมบดี) ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก โดยสภาพองค์พระที่อยู่หน้ากรุไม่ถูกน้ำจะงดงาม ส่วนองค์ที่แช่อยู่ในน้ำส่วนต่างๆ จึงลบเลือน ทำให้ด้อยความงดงามลงไป

จากการสันนิษฐานที่ไปที่มาของพระกรุวัดสะแกนอกแล้ว ตามเนื้อหาและพุทธศิลปะนั้นมีเอกลักษณ์ต่างๆ ใกล้เคียงกันมากกับพระที่สร้างโดยหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

เหตุผลสนับสนุนอีกประการ คือ ถึงแม้เจดีย์จะอยู่ภายในพื้นที่วัดสะแกนอก แต่วัดที่อยู่ใกล้เคียงกับองค์เจดีย์มากที่สุด คือ วัดบางสะแกใน ซึ่งสมัยนั้นเจ้าอาวาสคือหลวงปู่เม่ง ศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข ที่ชาวบ้านตลาดพลูเคารพนับถืออย่างมาก

ประกอบกับคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่จึงสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นพระที่หลวงปู่เม่งนำมาฝากกรุไว้ และหลวงปู่ศุขอาจได้ร่วมปลุกเสกพระชุดนี้ด้วย เพราะพุทธคุณที่ปรากฏนั้นเข้มขลังครบครันในทุกด้าน ซึ่งมีความเป็นไปได้ เนื่องจากหลวงปู่ศุขมักได้รับนิมนต์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิตวัตถุมงคลต่างๆ เป็นเนืองนิตย์ และท่านก็สนิทกับพระเกจิหลายรูปแถบฝั่งธนบุรี จึงอาจมาจำพรรษากับหลวงปู่เม่ง ผู้เป็นศิษย์เอก

อัตโนประวัติของหลวงปู่เม่งนั้น เดิมท่านเป็นชาวชัยนาท เกิดที่บ้านโคกหม้อ ต.หน้าพระลาน อ.สรรคบุรี ฐานะทางบ้านยากจน จึงได้ส่งท่านไปอยู่วัดตั้งแต่เด็ก จนเมื่อมีอายุครบบวชได้อุปสมบทที่วัดท่าวน อ.สรรคบุรี ศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระ รวมทั้งวิชาอาคมต่างๆ ได้ระยะหนึ่ง ก็เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ต่อมาเดินทางสู่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาอาคมและไสยศาสตร์ชั้นสูงจากหลวงปู่ศุข ด้วยความที่ท่านเป็นคนใฝ่ใจศึกษาและสนใจในด้านนี้เป็นทุนเดิม จึงสามารถเรียนรู้จนแตกฉานเชี่ยวชาญในทุกวิชาที่หลวงปู่ศุขถ่ายทอดให้

หลังจากนั้นได้ออกธุดงค์มายังกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระธรรมเพิ่มเติม จนกระทั่งมาจำพรรษาที่วัดบางสะแกในเขตตลาดพลู ท่านเป็นที่เคารพรักและศรัทธาของชาวบ้านอย่างมาก ครั้นในปีพ.ศ.2460 เจ้าอาวาสองค์เดิมลาสิกขา ชาวบ้านจึงร่วมใจกราบเรียนให้หลวงปู่รับตำแหน่งเจ้าเอาวาสสืบต่อ แต่ด้วยท่านรักสันโดษและสมถะจึงได้ปฏิเสธไป จนชาวบ้านต้องไปกราบเรียนท่านเจ้าคุณทักษิณคณิสร (สาย) วัดอิน (วัดใต้) ให้มาช่วยพูดให้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส เพื่อดูแลสืบสานพระบวรพุทธศาสนาและเผยแผ่ธรรมะสู่ญาติโยม หลวงปู่จึงยอมรับและได้ปกครองวัดบางสะแกในสืบมา วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมอย่างมากของชาวตลาดพลูและพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นที่ร่ำลือกันว่า "เหนียวยิ่งนัก" ทีเดียว

สมัยก่อนนั้นชาวตลาดพลูมักกล่าวกันว่า ... "ถ้าจะหาพระด้านเมตตา ค้าขาย ต้องแขวนพระเครื่องหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี แต่ถ้าจะหาพระที่เหนียวสุดๆ ต้องพระของหลวงปู่เม่ง วัดบางสะแกใน"

สำหรับ "พระกรุวัดสะแกนอก" นี้แรกเริ่มหลังแตกกรุไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ด้วยเป็นพระกรุที่มีอายุการสร้างยังไม่มากนัก และในช่วงนั้นมีพระกรุอื่นๆ มากมายที่มีอายุอานามมากกว่า เป็นที่น่าสนใจให้เช่าหาบูชาสะสม แต่ต่อเมื่อ 10 ปีให้หลังปรากฏว่าผู้มีไว้ครอบครองต่างประสบปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ ทั้งแคล้วคลาด เมตตา มหานิยม และคงกระพันครบครันเป็นเลิศ จนเป็นที่เลื่องลือของชาวตลาดพลู ต่างเสาะแสวงหามาคู่กาย

เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไป "พระกรุวัดสะแกนอก" จึงกลายเป็นที่นิยมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา ได้ข่าวว่ามีชาวสิงคโปร์ได้เข้ามากว้านเช่าจากคนในพื้นที่ไปคราวละหลายองค์ ทำให้ค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ลดหลั่นกันไปตามความสมบูรณ์สวยงามขององค์พระ

ปัจจุบันนับว่าหาดูหาเช่ายากเอาการอยู่ โดยเฉพาะองค์สวยๆ โดนเก็บเข้ารังหมดครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กรกฎาคม 2559 10:07:47 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2559 11:04:33 »

.


พระสมเด็จ 3 ชั้นหลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์

"พระครูนิสัยจริยคุณ" หรือ "หลวงพ่อโอด ปัญญาธโร" อดีตเจ้าคณะอำเภอตาคลีและอดีตเจ้าอาวาสวัดจันเสน ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

เกิดเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2460 อุปสมบทเมื่อวันที่ 21 พ.ค.2481 ณ พัทธสีมาวัด หัวเขา อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ มีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด) วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูนิปุณธรรมธร วัดตาคลี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูพิพัทธศีลคุณ วัดหัวเขา อ.ตาคลี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพุทธาคมจากพระเกจิชื่อดัง คือ หลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล อ.ตาคลี, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค อ.ตาคลี และหลวงพ่อเชน วัดสิงห์ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล และหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ สองพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของอำเภอตาคลี ในฐานะเป็นหลานที่ใกล้ชิด โดยพ่อของหลวงพ่อโอด คือ นายชิต แป้นโต เป็นน้องชายแท้ๆ ของหลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล และแม่ของนายชิต เป็นพี่สาวแม่ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ดังนั้นหลวงพ่อโอด จึงเรียกหลวงพ่อรุ่ง และหลวงพ่อเดิมว่าหลวงลุง

ด้านการศึกษาทางพุทธาคม เมื่อท่านกลับจากการเป็นครูสอนนักธรรมที่วัดดอนยานนาวาแล้ว ท่านมาอยู่กับหลวงพ่อรุ่ง ที่วัดหนองสีนวล ซึ่งในระยะนี้เองที่ท่านได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากหลวงพ่อรุ่ง

ส่วนหลวงพ่อเดิมนั้นมาที่วัดหนองสีนวลอยู่เป็นประจำ ทำให้หลวงพ่อโอดได้ศึกษาวิชาต่างๆ ไปด้วย

ทั้งนี้ จากคำบอกของท่านเองว่า ท่านยังมีอาจารย์อยู่อีก 2 รูป คือ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ในช่วงปีพ.ศ.2500 เป็นต้นมา ท่านมักไปเยี่ยมหลวงพ่อพรหมเป็นประจำ

หลวงพ่อโอดมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 17 ก.ค.2532 สิริอายุ 72 ปี พรรษา 50

ใน ปี พ.ศ.2531 ท่านจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็นพระสมเด็จสามชั้น นอกจากหลวงพ่อโอดะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ยังจัดประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง ก่อนนำออกให้เช่าบูชา

ลักษณะของวัตถุมงคล เป็นพิมพ์สี่เหลี่ยมเหมือนพระสมเด็จทั่วๆ ไป ไม่มีขอบ ตรงกลางมีรูปนูนพระพุทธนั่งสมาธิ อยู่บนฐานสามชั้น มีซุ้มหวายครอบ ส่วนด้านหลังไม่มีขอบเช่นกัน ตรงกลางมีอักขระขอมตัวลึก "นะ เศรษฐี" สองชั้น ตัวใหญ่เกือบเต็มด้านหลัง




เหรียญนางกวัก หลวงพ่อแจ๋

"นางกวัก" นับเป็นหนึ่งใน "รูปเคารพ" ที่มีผู้นับถือและเลื่อมใสศรัทธากันอย่างมาก โดยเชื่อว่า "นางกวัก" สามารถดลบันดาลโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทองให้บังเกิดแก่ผู้กราบไหว้บูชา ให้ทำมาค้าขึ้น ซื้อง่าย ขายคล่อง และมีเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย

"รูปเคารพนางกวัก" โดยส่วนใหญ่ จะมีลักษณะเป็นสตรีไทยสมัยโบราณ ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้ายกดอก ประกอบด้วยพาหุรัด ทองกร และสร้อยสังวาล นั่งพับเพียบหรือคุกเข่าอยู่บนแท่นทอง มือขวายกงอขึ้นในลักษณะท่ากวักมือ มือซ้ายส่วนมากจะถือถุงเงินถุงทอง และจารึกอักขระขอม "หัวใจพระสีวลี" ผู้เป็นเอตทัคคะทางโชคลาภ คือ นะ ชา ลี ติ เป็นต้น

พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเรื่องสร้าง "นางกวัก" มีอาทิ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ฯลฯ รวมทั้ง อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ที่สร้างได้สวยงามมากแบบที่เรียกว่า "ทรงเครื่อง"

แต่สำหรับหนึ่งเดียวที่สร้าง "เหรียญนางกวัก" ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ก็คือ เหรียญนางกวัก หลวงพ่อแจ๋ ติสสโร วัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงพ่อแจ๋ เดิมชื่อ จั่น เกิดเมื่อวันพุธ เดือน 8 ปีมะโรง ตรงกับปี พ.ศ.2432 ณ ต.ท่าไข่ อ.เมือง ในวัยเด็กท่านได้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์เที่ยงและพระอาจารย์ทองซึ่งมีศักดิ์เป็นอาที่วัดเมืองได้ระยะหนึ่ง แล้วกลับมาช่วยงานทางบ้านประมาณ 2-3 ปี จึงได้กลับไปบรรพชาอยู่กับหลวงอาทั้งสองอีกครั้ง ช่วงที่เป็นสามเณรนี้เอง ท่านได้ไปศึกษาพุทธาคมกับหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ซึ่งขณะนั้นท่านเดินทางมาเป็นครูสอนกรรมฐานอยู่ที่วัดโสธรวราราม

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ณ พัทธสีมา วัดนครเนื่องเขต (ต้นตาล) จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2455 มี พระครูคณานุกิจ วัดแหลมบน (สายชล ณ รังษี) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูวินัยธร (ปาน) วัดแหลมบน เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระครูฮ้อ วัดแหลมบน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา "ติสสโร"

จากนั้นจำพรรษา ที่วัดนครเนื่องเขต (วัดต้นตาล) ศึกษาพระธรรมวินัย เรียนอักขระ เลขยันต์ และวิทยาอาคมต่างๆ จากพระครูญาณรังสีมุนีวงษา (ทำ) วัดสัมปทวน (นอก) เจ้าตำรับการสร้างพระปิดตาผงคลุกรักอันโด่งดัง, พระอาจารย์บัว วัดนครเนื่องเขต นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาเพิ่มเติมกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป รวมทั้งอาจารย์สอน ฆราวาสชาวเขมร ต่อมาย้ายมาจำพรรษา ณ วัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ อ.บางน้ำเปรี้ยว และได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนอาจารย์พรหม เมื่อรับหน้าที่ปกครองดูแลวัด ท่านก็ได้ทำนุบำรุงและพัฒนาถาวรวัตถุและเสนาสนะต่างๆ ภายในวัด จนวัดเจริญรุ่งเรือง

มรณภาพเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2516 สิริอายุได้ 84 พรรษา 61

วัตถุมงคลที่หลวงพ่อแจ๋สร้างนั้นมีเพียงไม่กี่รุ่น แต่ละรุ่นล้วนมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์

สมัยนั้นใครได้รับวัตถุมงคลจากมือหลวงพ่อแจ๋ ติสสโร มักจะกล่าวกันว่า "รับกับมือแจ๋ แจ๋วแน่นอน" เป็นที่เล่าขานกันมาจนทุกวันนี้ ที่ได้รับความนิยมสูงในวงการ มีอาทิ เหรียญนางกวัก ปี 2502 เหรียญหลวงพ่อแจ๋ ปี 2502 พิมพ์หน้าหนุ่มและหน้าแก่ และรูปหล่อปั๊มปี 2513 พระเนื้อผง เป็นต้น

เหรียญนางกวัก หลวงพ่อแจ๋ สร้างในปี พ.ศ.2502 นับเป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียว สร้างเป็นเนื้อเงินลงยา และเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 เหรียญ ปัจจุบันมีค่านิยมสูงถึงหลักแสน และหายากยิ่งนัก

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงห้าเหลี่ยม ด้านล่างเป็นเหมือนกลีบบัว 3 กลีบ หูในตัว ด้านหน้ายกขอบเส้นลวด มีอักขระขอมล้อมรอบ ภายในกรอบยันต์เป็นรูปหญิงไทยโบราณนั่งพับเพียบ มือขวายกมือกวักลาภ มือซ้ายวางไว้ที่หน้าตัก ซึ่งมีอักขระขอมว่า "โมมา" เหนือศีรษะมีคำว่า "นะ" ที่หูด้านขวามีคำว่า "นิ" หูด้านซ้ายมีคำว่า "มา" แขนซ้ายมีอักขระว่า "พุทธ" ต่อลงมาเป็นอักษรไทยว่า "พระครูแจ๋" และใต้อาสนะมีอักขระว่า "ทา อิ กะ วิ ติ" ด้านหลัง เป็นหลังเรียบ โดยหลวงพ่อแจ๋จะลงอักขระของท่านด้วยเหล็กจารทุกองค์

... ถ้าไม่มีก็ฟันธงได้ว่าไม่ทัน และไม่แท้ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์




เหรียญหลวงพ่อวัดเขาตะเครา เพชรบุรี

ท่านสุนทรภู่ ได้ประพันธ์ไว้ใน "นิราศเมืองเพชร" ราวปีพ.ศ.2374 ว่า
"ไปครู่หนึ่งถึงเขาตะเคราสวาท    มีอาวาสวัดวามหาเถร
มะพร้าวรอบขอบเขตที่บริเวณ    พอจวนเพลพักร้อนผ่อนสำราญ
กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้      ขึ้นไปไหว้พระสัมฤทธิ์พิษฐาน
เขานับถือลือมาแต่บุราณ         ใครบนบานพระก็รับช่วยดับร้อน"

เป็นการกล่าวถึง "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดเขาตะเครา ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี หนึ่งในตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ และด้วยองค์พระมีทองคำเปลวปิดหนามาก จึงเรียกกันติดปากว่า "หลวงพ่อทอง" ส่วน "วัดเขาตะเครา" นั้น เชื่อกันว่า เจ้าสัวชาวจีนผู้มีศรัทธาเป็นผู้สร้าง ผู้มาควบคุมมีเครายาว จึงเรียก "วัดเขาจีนเครา" แล้วค่อยเพี้ยนมาเป็น วัดเขาตาเครา จนถึง "วัดเขาตะเครา" ในที่สุด

หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศที่แวะเวียนไปกราบสักการะมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน วัตถุมงคลที่สร้างในแต่ละรุ่นก็ล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหา ด้วยพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์แก่ผู้บูชาจนเป็นที่กล่าวขวัญ ลองมานับเนื่องกันตั้งแต่รุ่นแรกครับผม

"รุ่นแรก" สร้างในสมัยพระอธิการห้อย ปี 2465 เป็นเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วงการพระเรียก "สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์" ด้านหน้าเป็นองค์หลวงพ่อ ด้านหลังมีอักขระ อิ สวา สุ มิ โน เชย ยะ "รุ่นสอง" ออกสมัยพระอธิการอินทร์ เป็นเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปใบโพธิ์ มีเม็ดข้างขอบเหรียญ เรียก "เหรียญใบโพธิ์" ด้านหน้าเป็นองค์หลวงพ่อประทับนั่งบนบัลลังก์บัว ในซุ้มเรือนแก้วใต้ร่มโพธิ์

ด้านหลังเป็นยันต์สามเหลี่ยม มีอักขระ มะ อะ อุ พบหลังรูปยันต์คล้ายพระเจ้าห้าพระองค์บ้างแต่น้อยมาก "รุ่นสาม" ยังคงเป็นยุคพระอธิการอินทร์ ฉลองศาลาการเปรียญ ออกปี พ.ศ.2488 เป็นเหรียญเนื้อทองเหลือง รูปเสมา ด้านหน้าเป็นองค์พระในซุ้มเรือนแก้วคล้ายพระพุทธชินราช ด้านหลังปรากฏอักขระ พุท ธะ สัง มิ พระเจ้าห้าพระองค์ และ มะ อะ อุ ตรงกลางใต้อุณาโลม เป็นรูปสัตว์ใน 12 นักษัตร เช่น งู แพะ กระต่าย หรือว่างก็มี

ที่เป็นเหรียญรูปเสมา ยังมีอีก 2 รุ่น ที่ไม่ได้ออกที่วัดตะเครา แต่ได้รับความนิยมเล่นหาเช่นกัน เรียกกันว่า "รุ่นพิเศษ" รุ่นแรก ออกที่วัดต้นสน อ.บ้านแหลม โดยมีการแห่องค์หลวงพ่อไปตามวัดต่างๆ เป็นการสมโภชด้วย เป็นเหรียญเนื้อทองแดงรมดำ รูปเสมา ด้านหลังเป็น นวหรคุณ และพระเจ้าห้าพระองค์ อีกรุ่น เป็นเหรียญรูปเสมาเช่นกัน แต่ด้านหลังมีคำ พุทโธ และยันต์ตรีนิสิงเห

มาถึง "รุ่นสี่" ออกสมัยพระอธิการอินทร์ ช่วงเริ่มสร้างโบสถ์ เป็นเหรียญทองแดงรมดำและเงินลงยา ลักษณะเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ ด้านหน้าเป็นองค์หลวงพ่อ ด้านบนเป็นอักขระ มะ อะ อุ ปรากฏรัศมีล้อมรอบคำว่า "อุ" เขียนอักษรไทย "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา" ด้านหลังมีอักขระ กะเตสิง เอกะชาติง ระวิง ระไว ระวัง ระวะ กลางเหรียญเป็นรูปตัวเอ ขมวด 10 ชั้น ส่วน "รุ่นห้า" จะออกไล่เลี่ยและคล้ายกับรุ่น 4 แต่ ตัวเอ ด้านหลังจะวางขวาง และมีอักขระผิดกันบ้าง

"รุ่นหก" สร้างในสมัยพระอธิการประสพ ฉลองกำแพงแก้วพระอุโบสถ ปี พ.ศ.2500 โดยเริ่มสร้างเป็นองค์หลวงพ่อลอยตัว จึงเรียก "ยอดธง 2500" และสร้างจำนวน 2,500 องค์ตามปีที่สร้าง "รุ่นเจ็ด" เป็นเหรียญกลมมีเนื้อทองแดง เนื้อเงินลงยา เนื้อทองคำ ด้านหลังมีอักขระ กะเตสิง เอกะชาติง ระวิง ระไว ระวัง ระวะ ออกปี พ.ศ.2500 "รุ่นแปด" เป็นลอยตัวออกปี พ.ศ.2501

สำหรับ "รุ่นเก้า" สร้างในงานปิดทองฝังลูกนิมิตปี พ.ศ.2501 มีหลายแบบ อาทิ เหรียญสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อเงินลงยา ทองแดง, เหรียญกลม-รีเล็กน้อย มีเนื้อทองแดง เงินลงยา และทองคำ และเหรียญรูปไข่รี เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ที่วงการเรียกว่า "รุ่นใบมะขาม" นอกจากนี้ยังสร้าง แหนบรูปราชรถ และธรรมจักร เป็นเงินลงยา อีกด้วย

"รุ่นสิบ" ออกในงานฉลองโบสถ์ ปี พ.ศ.2506 ยุคพระอธิการประสพเช่นกัน มีแบบพระกริ่งลอยตัว เนื้อทองแดง มีหูในตัว วงการเรียก "รุ่นหูใหญ่", พระกริ่ง เนื้อทองแดง ซึ่งเนื้อค่อนข้างอ่อน ไม่มีหู มักมาเชื่อมที่หลังเรียกกันว่า "กริ่งรุ่นสอง" และพระกริ่งลอยตัว เนื้อทองเหลือง หูในตัว แต่ไม่สู้จะสวยนัก

วัตถุมงคลหลวงพ่อวัดเขาตะเครานั้น มีจัดสร้างมากมายหลายแบบ จะค่อยๆ นำมาเรียนบอกท่านผู้อ่านตามกำลังเนื้อที่ต่อไปครับผม
 
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




พระสมเด็จหลวงพ่อรุ้ง จ.อุทัยธานี

"พระครูอุทัยธรรมรุจี" หรือ "หลวงพ่อรุ้ง รุจจโน" พระนักพัฒนาผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีเมตตาธรรมสูง ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ปฏิปทางดงาม แม้วัยจะล่วงเข้า 67 ปี ตื่นแต่เช้า กวาดลานวัด ทำงาน ฉันเพลเวลาเดียว นั่งสมาธิภาวนาวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นประจำ

ก่อนที่ท่านจะมาสร้างวัดหนองบำหรุ ท่านเคยปรนนิบัติรับใช้เป็นศิษย์สายตรงหลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม และหลวงปู่เปลี่ยน โอภาโส วัดป่าโยธาประสิทธิ์

มีนามเดิมว่า รุ้ง ประเมินชัย เกิดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2492 ที่บ้านบุ ต.จระเข้มาก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

ชีวิตวัยเยาว์ค่อนข้างลำบาก ไม่ได้เรียนหนังสือ บิดา-มารดาพาไปฝากเป็นเด็กวัด ที่วัดคอก บ้านเขาคอก ต.เขาโคก ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน

พ.ศ.2508 อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านกระทม ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีหลวงปู่เปลี่ยน โอภาโส เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2511 อุปสมบทที่วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่สมศักดิ์ วัดบูรพาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาอนุญาต วัดนิคมพัฒนา เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังอุปสมบท ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าโยธาประสิทธิ์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยกับพระอุปัชฌาย์ เรียนพระธรรมวินัย นักธรรม พร้อมวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไปด้วย

สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ จากสำนักเรียนวัดป่าโยธาประสิทธิ์

พ.ศ.2529 ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ร่ำเรียนฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมกับครูอาจารย์หลายท่านตามจังหวัดต่างๆ นอกจากนี้ ยังเดินธุดงค์เข้าไปในประเทศพม่า เขมร ลาว อินเดีย เพื่อเล่าเรียนและฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐาน รวม 5 พรรษา

พ.ศ.2533 หลวงพ่อรุ้งธุดงค์มาที่ บ้านหนองบำหรุ หมู่ที่ 13 ต.ไผ่เขียว อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี และพำนักอาศัยที่เพิงมุงแฝกกลางป่า

ต่อมา ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา นายอุดม จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน มอบที่ดินให้หลวงพ่อรุ้ง 4 ไร่เศษ ให้สร้างวัด และชาวบ้านต่างร่วมใจกันสร้างวัดหนองบำหรุจนแล้วเสร็จ และวัดมีที่ดินเพิ่มเติมถึง 30 ไร่

ด้านวัตถุมงคล หลวงพ่อรุ้งจัดสร้างตะกรุดเสือ เชือกคาดเอวถักด้วยด้ายสีรุ้ง ตามนามของท่าน เป็นที่เสาะหาของบรรดาศิษยานุศิษย์

ท่านสร้างวัตถุมงคลแต่ละรุ่นมีจำนวนไม่มาก ส่วนใหญ่จัดสร้างไว้เพื่อมอบให้กับผู้ร่วมทำบุญพัฒนาวัดหนองบำหรุ

พ.ศ.2556 หลวงพ่อรุ้งจัดสร้าง "ศาลารวมใจ" เพื่อไว้ปฏิบัติศาสนกิจ และจัดสร้างวัตถุมงคล "พระสมเด็จ รุ่นเมตตามหาโชค" และ "ตะกรุดเสือ" เพื่อไว้มอบให้เป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมบริจาคสร้างศาลารวมใจ

พระสมเด็จหลวงพ่อรุ้ง รุ่นเมตตามหาโชค จัดสร้างจำนวน 999 องค์ เป็นพระเนื้อผง สี่เหลี่ยม พิมพ์สมเด็จสามชั้น เหมือนพระสมเด็จทั่วไป แต่ด้านหลังพระสมเด็จชุดนี้ ท่านใช้ปากกาหมึกสีฟ้าจารอักขระขอม และนำผ้าสังฆาฏิของท่านที่ใช้มา 45 พรรษา ตัดเป็นสี่เหลี่ยมติดทับอักขระ พร้อมเส้นเกศาไว้ด้านบนสังฆาฏิอีกทีหนึ่ง

หลวงพ่อรุ้งปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาสผู้สนใจ ติดต่อที่วัดหนองบำหรุ ต.ไผ่เขียว อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี โทร.08-0074-4471 รายได้สมทบทุนศาลาปฏิบัติธรรม

เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสด



เหรียญพระพุทธอุตมมุนีนาถ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 21 เม.ย.2554 วัดอุดมวิทยา บ้านหนองซอน ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม ประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธอุตมมุนีนาถ พระประธานแกะสลักจากหิน ปางปฐมเทศนาหน้าตัก 39 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ลานกลางแจ้งในวัด

พระพุทธอุตมมุนีนาถ มีญาติโยมที่มีจิตศรัทธาที่ประสบผลสำเร็จในการประกอบธุรกิจจัดสร้างขึ้นถวาย ในวาระดังกล่าว วัดอุดมวิทยา ได้จัดสร้าง "เหรียญพระพุทธ อุตมมุนีนาถ รุ่นมหาเศรษฐี" ขึ้นด้วย

เพื่อหาจตุปัจจัยก่อสร้างวิหารครอบพระพุทธอุตมมุนีนาถ ที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ยกขอบ มีหูห่วง สูงถึง 4 เซนติเมตร เหรียญที่จัดสร้างประกอบด้วยเนื้อทองแดง สร้าง 500 เหรียญ เนื้ออัลปาก้า สร้าง 300 เหรียญ และทองเหลือง สร้าง 500 เหรียญ นับว่าจำนวนสร้างน้อยมาก

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพระพุทธปางปฐมเทศนา จำลองพุทธศิลปะมาจากพระพุทธอุตมมุนีนาถ ประทับนั่งบนบัลลังก์ บริเวณขอบเหรียญด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า "พระพุทธอุตมมุนีนาถ" และตอกโค้ดเลข 9 ซึ่งเป็นเลขมงคลหมายถึงความก้าวหน้า

ส่วนด้านหลังบริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ อ่านว่า อิ อี นะ มะ อะ อุ เป็นคาถาหัวใจไตรสรณคมน์ และตอกโค้ดเลข 5 หมายถึงให้ผู้ห้อยเหรียญนี้พึงมีสติดำรงชีวิตอยู่ในศีล 5 นอกจากนี้ บริเวณด้านใต้อักขระยันต์ยังมีตัวอักษรเขียนว่า "มหาเศรษฐี" และจากขอบเหรียญด้านขวาลงไปด้านล่างวนขึ้นไปขอบเหรียญด้านซ้าย เขียนว่า "วัดอุดมวิทยา บ.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม"

พิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องรุ่นนี้จัดยิ่งใหญ่มากเนื่องเพราะมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมพิธีนั่งปรกล้วนมีชื่อเสียง อาทิ หลวงปู่เพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี, หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.พระนคร ศรีอยุธยา, หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลราชธานี เป็นต้น โดยมีพระครูโพธิบุญวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอเชียงยืน ประธานฝ่ายสงฆ์จุดเทียนชัย และหลวงปู่คำบุ ดับเทียนชัย

หลังเสร็จพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลเหรียญรุ่นนี้ ได้เปิดให้พุทธศาสนิก ชนเช่าบูชา ด้วยเจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ พลังจิตของพระเกจิคณาจารย์ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ล้วนแก่กล้า การันตีได้ในความเข้มขลัง จึงได้รับความสนใจจากพุทธศาสนิก ชนที่ร่วมพิธีอย่างล้นหลาม เหรียญบางเนื้อหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว

ถึงแม้จะเป็นวัตถุมงคลใหม่ แต่กระแสการเช่าหาเหรียญรุ่นนี้กำลังแรง

เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสด


หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน วัดบางปลาหมอ
 
"หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล" อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดัง 5 แผ่นดิน เกิดเมื่อปี พ.ศ.2437 ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

ประวัติของหลวงปู่หมุน เริ่มเล่าเรียนอักษรไทย อักษรขอม และฝึกกัมมัฏฐานมาตั้งแต่เป็นสามเณรจนอุปสมบทพระภิกษุ จากพระอาจารย์สีดา เจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ผู้เชี่ยวชาญด้านกัมมัฏฐานและวิทยาอาคม

ในปี พ.ศ.2464 จึงเริ่มออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ศึกษาแสวงหาประสบการณ์ โดยร่ำเรียนวิทยาคมและสมถกัมมัฏฐานในชั้นที่สูงขึ้นไปจากครูบาอาจารย์หลายสำนัก นอกจากนี้ ยังนับเป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบพุทธาคมในสายสมเด็จลุน แห่งนครจำปาสัก ราชอาณาจักรลาว อีกด้วย

ประมาณปี พ.ศ.2467 หลวงปู่หมุนกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณ ศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ท่านก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จากนั้นจึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติวิปัสสนาธุระเพียงอย่างเดียว
 
ประมาณปี พ.ศ.2487 อายุ 50 ปี ท่านออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบโดยลำพังอีกครั้ง ในช่วงนี้ท่านได้พบอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ท่านทั้ง 2 จึงนิมนต์ให้โปรดญาติโยม ณ วัดป่าหนองหล่ม ระยะหนึ่ง

หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์อยู่หลายสิบปี จนประมาณปี พ.ศ.2520 จึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งในยามนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก ท่านได้พัฒนาและสร้างอุโบสถจนเสร็จสมบูรณ์ ทั้งยังช่วยเหลือลูกศิษย์และสหธรรมิกอีกหลายวัด อาทิ วัดป่าหนองหล่ม, วัดโนนผึ้ง,วัดซับลำใย และศิษยานุศิษย์ในการสร้างถาวรวัตถุและประโยชน์ต่างๆ ต่อพระพุทธศาสนา จนเป็นที่มาของวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายต่อหลายรุ่น

หลวงปู่หมุนมรณภาพ อย่างสงบ เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2546 สิริอายุ 109 ปี พรรษา 86 ภายหลังจากหลวงปู่หมุนมรณภาพ ปรากฏว่าวัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง
 
เนื่องด้วย วัดบางปลาหมอ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ต้องการปัจจัยสมทบทุนเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ เสนาสนะสถานต่างๆ ภายในวัดที่ชำรุดทรุดโทรม

พระสมุห์ธนิตย์ จันทิโก เจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ จึงดำริที่จะจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อนำปัจจัยไปใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วง จึงนำความปรึกษากับ หลวงปู่อุดมทรัพย์ (หลวงปู่จ่อย) ผู้สืบทอดพุทธาคมจาก หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล เพื่อขออนุญาตในการจัดสร้างวัตถุมงคล พระบูชา เหรียญหลวงปู่หมุน โดยตั้งชื่อ วัตถุมงคลหลวงปู่หมุนชุดนี้ว่า "บารมีบรมครู ๕๙" เปรียบดังพึ่งบารมีบรมครูหลวงปู่หมุน เพื่อให้งานบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางปลาหมอครั้งนี้ลุล่วงไปด้วยดี

ในการนี้ พระสมุห์ธนิตย์ จันทิโก เจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ มอบหมายให้นายพงศ์พัศ พิทักษ์วงศ์ พร้อมด้วยพี่น้องคณะศรัทธากลุ่มสมุทรโลกบุรี เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างและเปิดจองเช่าบูชาวัตถุมงคลชุดบารมีบรมครู ๕๙

สำหรับวัตถุมงคลชุดนี้ มีชนวนมวลสาร อาทิ ชนวน พระกริ่งหลวงปู่หมุน พิธีสมปรารถนา ปี 2543, ผงพุทธคุณ 350 อย่าง วัดทรัพย์ลำใย หลวงปู่หมุน เสกไว้, กำไลเงิน หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม จ.พระนครศรีอยุธยา, แร่บางไผ่ หลวงปู่จันทร์ วัดโมลี, ชนวนพระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ฯลฯ

สำหรับวาระประกอบพิธีพุทธาภิเษก กำหนดไว้ในวันอาทิตย์ที่ 26 มิ.ย.2559 เวลา 15.39 น. เป็นต้นไป ที่มลฑลพิธี วัดบางปลาหมอ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โดยมีพระเกจิคณาจารย์ ร่วมอธิษฐานจิต คือ หลวงปู่อุดมทรัพย์ (จ่อย สิริคโต), พระครูสุนันทโชติ (หลวงปู่นิ่ม โชติธัมโม) วัดพุทธมงคล, พระราชพัฒนโสภณ (หลวงพ่อเณร ญาณวินโย) วัดทุ่งเศรษฐี, พระครูพิศาลจริยาภิรม (หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง และพระครูโสตถิธรรมโสภณ (พระอาจารย์แว่น) วัดป่าโคกกลาง จ.กาฬสินธุ์

ผู้สนใจสร้างกุศลร่วมสั่งจองวัตถุมงคลหลวงปู่หมุน รุ่นบารมีบรมครู ๕๙ สอบถามรายละเอียด โทร.09-4873-5359, 08-1192-8246


บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2559 11:11:24 »

.


พระรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเดิม

พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พิมพ์คอตึง เป็นอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อเดิม พุทธสโร ซึ่งได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาอย่างกว้างขวางพอๆ กับ "พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์นิยม" อาจเนื่องจากการพิจารณาง่ายกว่ากันมาก การเช่าหาของแท้จึงง่ายกว่า

ประวัติการสร้างแต่เดิมนั้น เคยระบุว่าสร้างก่อน "พิมพ์นิยม" แต่เนื่องจากพิมพ์ด้านหลังไปเหมือนกับ "พิมพ์ด้านหลังของพิมพ์นิยม พิมพ์ดี" จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเป็นการสร้างขึ้นหลัง "พิมพ์นิยม" มากกว่า

หลวงพ่อเดิม เป็นชาวนครสวรรค์โดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2403 บวชในปี พ.ศ.2423 จึงอุปสมบท ณ วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ โดยหลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "พุทธสโร" แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดหนองโพ ศึกษาพระธรรมวินัย

มรณภาพในปี พ.ศ.2494 สิริอายุ 92 ปี พรรษา 71

สำหรับพระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พิมพ์คอตึง จัดสร้างเฉพาะเนื้อทองเหลือง จำนวนไม่เกิน 1,000 องค์ ลักษณะเป็นรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิมเต็มองค์ นั่งสมาธิ เหนืออาสนะฐานเขียง ลักษณะเป็นธรรมชาติ ศีรษะและลำตัวดูใหญ่ ใบหน้าไม่ประณีตเท่าพิมพ์นิยม ลำคออวบอ้วน เส้นคอเป็นสันหนา 2 เส้น ติดกับคาง ทำให้ใบหน้าของหลวงพ่อดูเชิดขึ้น เอกลักษณ์สำคัญคือ ลักษณะ "คอตึง" อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ ที่ฐานจารึกอักษรไทยว่า "หลวงพ่อเดิม" สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 บล็อก คือ "บล็อก ตัว "ง" หางสั้น หรือ จีวรถี่" และ "บล็อก ตัว "ง" หางยาว หรือ จีวรห่าง" โดยพิจารณาจาก ตัว "ง" ของคำว่า "หลวง" และบริเวณจีวรด้านขวามือเป็นหลักดังนี้




"บล็อก ตัว "ง" หางสั้น" หรือ "จีวรถี่"

- หางตัว "ง" จะสั้นแค่ครึ่งของตัว "ว" และจะมีเส้นพาดขวางที่กลางตัว "ว" ไปจรดตัว "ล"
- ให้สังเกตริ้วจีวรด้านขวามือของรูปเหมือน ลักษณะช่วงริ้วจีวรจะมีเส้นความถี่ของพิมพ์มากกว่า
- นัยน์ตาหลวงพ่อติดชัดเจน ตาซ้ายต่ำกว่าตาขวา
- หางตัว "พ" มีขีดเฉียงขึ้น
- มีเส้นขีดขวางแนวนอนพาดผ่านผ้าสังฆาฏิไปหาจีวร
- ใต้รักแร้ขวาของหลวงพ่อ มีเส้นขีด 2 เส้นเชื่อมไปจรดจีวร
"บล็อก ตัว "ง" หางยาว" หรือ "จีวรห่าง"
- หางตัว "ง" จะยาวขึ้นไปเกือบอยู่ในแนวเดียวกับหัวตัว "ว" และไม่มีเส้นพาดกลางตัว "ว"
- ให้สังเกตที่ริ้วจีวรด้านขวามือของรูปเหมือน ลักษณะของริ้วจีวรจะห่าง
- ภายในร่องโค้งของผ้าสังฆาฏิ มีขีดเป็นแนวนอน
- รอยพับที่ผ้าสังฆาฏิลึกและร่องใหญ่กว่าพิมพ์ ตัว "ง" หางสั้น
- เส้นลำคอของหลวงพ่อจะเล็กและแคบกว่าพิมพ์ ตัว "ง" หางสั้น

ส่วนพิมพ์ด้านหลังและฐานจะคล้ายกับ "พิมพ์นิยม พิมพ์ดี" โดยเฉพาะบริเวณจีวรด้านล่างซึ่งมีร่องรอยการตกแต่งด้วยตะไบ รวมถึงบริเวณข้อศอก แต่ก็ไม่เหมือนทีเดียว เช่น ตรงท้ายทอยเป็นบ่อยุบลงไป, ฐานจะมีทั้งแบบฐานกลมและฐานเหลี่ยม จากการตกแต่งของช่างที่มีหลายคนหลายฝีมือ ใต้ฐานโดยส่วนใหญ่จะมี "รอยจาร" บางองค์จารยันต์ "พุดซ้อน" บางองค์จารยันต์ "นะซ่อนหัว" บางองค์จารทั้งสองแบบ ซึ่งรอยจารจะเล็กเรียว ต้องส่องด้วยกล้องถึงจะเห็น

การพิจารณาใช้หลักการพิจารณาเบื้องต้นคล้ายกับพิมพ์นิยม คือ เนื่องจากเป็นพระรูปเหมือนปั๊มกระแทก เส้นสายรายละเอียดต่างๆ จึงมีความคมชัดเจน ไม่เบลอ และผิวโลหะจะมีความเรียบ แน่น ตึง ไม่มีรูพรุนอากาศแบบพระหล่อ, ตัวอักษรที่เขียนว่า "หลวงพ่อเดิม" อาจปั๊มไม่ติดหรือมีรอยบุบบู้บี้อันเกิดจากแรงกระแทก เพราะตัวหนังสือเป็นส่วนที่นูนออกมา จึงเป็นจุดที่ได้รับแรงกระแทกมากกว่าจุดอื่น แต่ก็ไม่เป็นทุกองค์ องค์ที่ปั๊มติดสวยๆ สมบูรณ์แบบก็มี

ซึ่งสนนราคาก็จะสมกับความสมบูรณ์แบบเช่นกันครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิศฐ์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2559 19:59:43 »

.

พระปิดตาวัดทองยันต์น่อง

จุดเด่นของพระปิดตาวัดทอง (วัดสุวรรณาราม คลองบางกอกน้อย) อยู่ที่มียันต์เป็นเส้นนูนเหมือนเส้นขนมจีนรอบองค์ เรียกขานในวงการ “วัดทองยันต์ยุ่ง”  และหากองค์ใดมียันต์ที่ยุ่งอยู่แล้ว แปะไว้ตรงพระบาท พิมพ์นี้ถือเป็นพิเศษอีกนิด พ่อค้าเรียกราคาแพงขึ้นไปอีกหน่อย เรียกกันว่า “ยันต์น่อง”

อย่างองค์ในภาพ ยันต์เลขหนึ่ง ซึ่งหลายๆ องค์แปะไว้ในช่องว่างกลางองค์พระ เลื่อนลงมาปิดที่พระบาท ก็ต้องเรียก “ยันต์น่อง”

มองโดยภาพรวม เค้าเดิมขององค์พระปิดตามาจากพระมหากัจจายนะ อัครสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า เหตุที่มีคนทักผิดว่าเป็นพระพุทธเจ้า กับความหลงใหลของคนที่เห็นหลายคน ท่านก็เลยอธิษฐาน แปลงเป็นพระอ้วนเตี้ยพุงพลุ้ย

ชาวบ้านเรียก พระสังกัจจายน์ ยังไม่พอ ก็ยังจินตนาการต่อ ให้ท่านยกมือปิดตา

พระปิดตาวัดทองพิมพ์ทั่วไป มีมือสี่คู่ปิดตา ปิดหู ปิดท้อง ปิดก้น เรียกปิดทวารทั้งเก้า    สมัยก่อน กลัวกันมาก บ้านไหนมีผู้หญิงคลอดลูกเอาไว้ในบ้านไม่ได้ แต่ความจริงแล้วรูปแบบปิดทวารทั้งเก้าคือลายแทงค้นหาทางหนีทุกข์  เมื่อใดที่เห็นแล้วสักแต่ว่าเห็น ได้ยินแล้วสักแต่ว่าได้ยิน ฯลฯ ใจก็จะสงบเย็น ใกล้พระนิพพานเข้าไปเต็มที

ที่พูดกันว่า พุทธคุณของพระช่วยให้อยู่ยงคงกระพันนั้นเป็นความเชื่อขั้นเปลือก เจตนาของผู้สร้างพระอยู่ที่เนื้อใน หากนับถือพระ มั่นคงในศีล 5 ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่โกหก ไม่เมาจนเผลอสติไปล่วงเกินใคร ไม่ต้องอาราธนาให้พระช่วย อยู่รอดปลอดภัยทุกคน

หลักการดูพระปิดตาวัดทอง ดูพระแท้หลายๆ องค์จนคุ้นตาแล้วก็จะพบว่า แม้สร้างฝีมือเดียวกัน ภาพรวมๆ คล้ายกัน แต่จริงๆ แล้ว พระทุกองค์ไม่เหมือนกันเลย

อาจารย์ชื้น วัดมหรรณพ์ (ช.อิสรานนท์) เขียนให้ความรู้ไว้ (หนังสืองานศพ อำมาตย์เอกพระยาชลปทานธนารักษ์ เมื่อปี 2515) ว่าวัสดุก็คือโลหะที่ใช้ หลวงพ่อทับเที่ยวไปหามาจากโลหะยอดเจดีย์วัดราชบูรณะอยุธยา โลหะยอดพระปรางค์วัดพุทไธศวรรย์ ฯลฯ เอาไปรวมกับปรอท ทองแดง เงิน ดีบุก ชิน รวม 7 อย่าง เรียกสัตโลหะ

พระปิดตาวัดทอง สร้างทีละองค์ กระบวนการสร้างหุ่นต้นแบบจึงละเอียดลออ ซับซ้อนเมื่อปั้นองค์พระหุ่นอ้วนเตี้ย เขียนยันต์ร่างไว้แล้ว ก็ใช้ขี้ผึ้งผสม ปั้นคลึงรีดให้เรียวเล็กตามขนาดองค์พระ ติดขดไปตามรอยเลขยันต์

ได้หุ่นขี้ผึ้งแล้ว เริ่มด้วยการใช้ดินขี้วัวละเอียดชโลมให้ทั่ว เอาไปพอกด้วยดินหุ่น มัดด้วยเส้นลวด เข้าชนวน  จากนั้นก็ถึงการหล่อ เบ้าต้องเผาให้ให้ร้อนจัด เนื้อทองที่หลอมก็ร้อนจัดละลายใสเหมือนแก้วที่กระทบแสงแดด สองอย่างพร้อมเมื่อไร ก็เริ่มเททองลงหุ่น

เนื้อทองจะวิ่งเข้าไปตามเส้นขี้ผึ้งทั่วถึงกันหมด ไม่ขาดวิ่นแหว่งเว้า สำเร็จรูปออกมาประณีตงดงามทุกองค์ เนื้อพระจะเห็นเป็นสีค่อนข้างขาวค่อนข้างดำ ดำแกมเขียว เหมือนปีกแมลงทับ หรือค่อนข้างแดง แต่ส่วนมากสีจะค่อนข้างดำ (เรียกว่าเนื้อกลับ) ถ้าแกมเขียวก็ดูสีสวยเงางามอย่างสีอื่น เนื้อเมฆพัตรมีบ้าง แต่จำนวนน้อย แต่วิชาที่อาจารย์ชื้นท่านขยักเก็บไว้ ไม่ขยายก็คือ ในร่องลึก ในซอกยันต์พระปิดตาวัดทองทุกองค์ มักจะมีเนื้อดินขี้วัวสีขาวนวลแห้งผากเหลืออยู่   องค์ไหนเจอรอยกะเทาะสีขาววาววับ นั่นน่าจะเป็นผิวปรอท ท่านว่าเป็นหลักฐานบ่งชี้เป็นพระแท้

พระปลอมฝีมือดี นับแต่ฝีมือขี้ยาปั้นหยาบๆ เมื่อราวๆ ปี 2500 มาถึงวันนี้ ทำได้ใกล้เคียงของจริง ขนาดติดที่หนึ่งในงานประกวด เอามาพิมพ์ในหนังสือเล่มใหญ่ เป็นการการันตีซ้ำ ทำให้นักเล่นรุ่นใหม่ไขว้เขว

หลักสำคัญพระปิดตาวัดทองทุกองค์ต้องไม่เหมือนกัน ดูคล้ายกันได้ แต่ทุกเส้นสายต้องไปคนละทาง เพราะปั้นคนละที หลอมหล่อทีละองค์ ถ้ามีองค์หนึ่ง แล้วเจอองค์สองไม่ต้องถามถึงองค์ที่สาม พระเก๊แน่นอน ถ้าถือไว้ก็วางได้ เอาองค์ที่สองไปยืนยัน ขอเงินคืน แล้วคอยดู เซียนใหญ่จะว่าไง?

   พลายชุมพล



พระปิดตาหลวงปู่ไข่

ที่ว่ากันว่า พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี มีจำนวนน้อยสุด หายากที่สุด 5 ปี จะปรากฏในวงการพระเครื่องสักองค์นั้น เห็นจะต้องปรับความเชื่อใหม่ เพราะยังมีพระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (บพิตรภิมุข) กรุงเทพฯ ที่น้อยกว่า หายากกว่าและราคา คุณพยัพ คำพันธุ์ เขียนไว้ในหนังสือพระปิดตายอดนิยม (สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.2557) ว่า แพงที่สุดอันดับหนึ่งของประเทศไทย

ประวัติหลวงปู่ไข่ ชัดเจน เกิด 5 มิถุนายน พ.ศ.2400 ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา  6 ขวบเป็นสามเณร ศิษย์หลวงพ่อปานวัดโสธรฯ เรียนหนังสือเก่ง เทศน์มหาชาติเก่ง ย้ายไปอยู่วัดน้อย พนัสนิคม เรียนปริยัติที่วัดหงส์ คลองบางกอกใหญ่แล้วไปอยู่วัดลัดด่าน แม่กลอง  บวชเป็นพระ พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เป็นอุปัชฌาย์ เรียนกรรมฐานที่กาญจนบุรี เดินทางแบบธุดงค์ไปมาราว 15 ปี ชื่อเสียงเลื่องลือ ถูกนิมนต์ไปอยู่วัดบางยี่เรือ ธนบุรี 1 พรรษา แล้วก็ออกธุดงค์ต่อ จนกระทั่งมาอยู่วัดเชิงเลน กรุงเทพฯ เป็นวัดสุดท้าย

พระเครื่องที่หลวงปู่ไข่สร้าง ตั้งแต่ปี 2464 มีหลายอย่าง แต่ที่รู้จักคือพระปิดตา เหรียญรูปไข่ และพระอรหังกลีบบัว

ช่วงปลายชีวิตหลวงปู่อาพาธ แต่ไม่ให้หมอดูแลรักษา เล่ากันว่า วันนั้น 7 มิถุนายน พ.ศ.2474  หลวงปู่ให้ลูกศิษย์ไปซื้อดอกไม้ธูปเทียนมา แล้วครองจีวร พาดสังฆาฏิ ผ้ารัดอก เรียบร้อย นั่งสวดมนต์บูชาพระจนจบแล้วท่านก็นั่งสมาธิ

ท่านนั่งสมาธิอยู่นาน นานจนกระทั่งศิษย์สังเกตได้ว่า ที่เห็นหลวงปู่ในท่านั่งนั้น ท่านมรณภาพแล้ว

หลวงปู่ไข่ เป็นพระอาจารย์ไม่กี่รูปที่พิสูจน์ว่ามีฌานแก่กล้า สะกดความเจ็บปวดได้ และที่น่าอัศจรรย์ ท่านรู้วันตายล่วงหน้า ตั้งรับความตายได้องอาจผึ่งผายยิ่งใหญ่มาก   

พยัพ คำพันธุ์ บอกว่าพระปิดตาหลวงปู่ไข่มีสามพิมพ์ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก มีสองเนื้อ 1 เนื้อผงคลุกรัก จุ่มรัก และผงสีขาวอมเหลือง แก่น้ำมัน มีภาพสี สภาพต่างกันเป็นองค์ครู ให้ดูเป็นตัวอย่าง 4 องค์

ความรู้จากคุณพยัพผมขออนุญาตเอาไปต่อยอดกับความรู้หนังสืองานศพ พระยาชลประทานธนารักษ์ พ.ศ.2515 อาจารย์ชื้น วัดมหรรณพ์ พรรณนาว่า หลวงปู่ไข่ ใช้สมุดข่อยเก่าแก่ มีเลขยันต์เวทมนตร์ที่ได้ลอกคัดไว้แล้วกับใบลานคัมภีร์เก่าหมดสภาพ มาเผาทำผง รวมกับผงที่ท่านเขียนยันต์อักขระ แล้วลบเก็บไว้ ผสมกับใบมะยม ใบมะตูม ใบมะขวิด เกสรดอกพุทธรักษา อาจารย์ชื้นไม่พูดถึงน้ำมันที่ทำเป็นเชื้อประสานก็ต้องใช้ความรู้คุณพยัพ ท่านใช้น้ำรักคลุกรัก พิมพ์เป็นองค์พระ

แต่ประเด็น “จุ่มรัก” นั้นเป็นประเด็นต้องพิจารณา อาจารย์ชื้น บอกว่า หลวงปู่ไข่ใช้ผงถ่านสมุดข่อยกับใบลานเผา (อย่างเดียว กับส่วนผสมหนักของเนื้อพระ) ผสมน้ำมันตังอิ้ว ทาทั่วองค์พระจนหนา แล้วปิดทองทั่วองค์บ้าง ไม่ทั่วองค์บ้าง เมื่อเก็บไว้นานปี สภาพของผงถ่านและน้ำมันตังอิ้ว จึงดูเหมือนลงรักอย่างหนา ผิวรักมักบางเรียบเนียนแน่นกับผิวองค์พระ แต่สภาพของผงถ่านน้ำมันตังอิ้วมักยับย่น เป็นหลุมบ่อ

เหมือนองค์ในภาพ ด้านหลังบางส่วนกะเทาะหลุดล่อนออก เห็นเนื้อใน สีน้ำตาลแก่ บางองค์ท่านใช้แค่น้ำมันตังอิ้วทาแล้วปิดทอง ผิวพระที่ปรากฏไม่ยับย่นเหมือนผิวตังอิ้วผสมถ่าน แต่เรียบสีค่อนไปทางเขียวแก่ อาจารย์ชื้น ท่านว่า เหมือนสีของยาเขียวใหญ่

ถึงวันนี้ อายุพระปิดตาหลวงปู่ไข่นับจากปีที่เริ่มสร้าง พ.ศ.2464 อีกปีเดียวก็ครบร้อย ดูภาพพระแท้จากองค์ครู ดูแม่พิมพ์ เนื้อหาและผิวพระให้ติดตา วันที่มีบุญอาจได้พระไว้ในมือ จะได้เก็บรักษาไว้ให้ดี ไม่ปล่อยให้หลุดไปเพราะน้ำลายปากเซียน

พระปิดตาหลวงปู่ไข่ที่คุณพยัพ นิยามว่าแพงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ของจริงแทบจะไม่มีให้ดู ที่ได้ดูๆ กันจนเผลอ- ไผลหลงไปได้นั้น เป็นพระปลอม วันนี้ฝีมือยังห่างไกล แต่ความที่พระแท้แสนแพง วันหน้าคงประมาทไม่ได้เลย.

   พลายชุมพล



จากเม็ดกระดุม - ถึงซุ้มกอ

พระพิมพ์ดินดิบองค์เล็กพบที่เขาศรีวิชัย อ.พุนพิน และที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2522 และเมื่อปี 2533 รวมกันราว 400 องค์ สัณฐานวงกลมขนาดเหรียญบาท ด้านหลังโค้งนูนเหมือนเม็ดกระดุม ถูกเรียกชื่อพระเม็ดกระดุม ศรีวิชัย

เคยมีคนบอก หากจะยกให้พระรอดศิลปะหริภุญไชยเป็นขุนพลเมืองเหนือ ก็ต้องยอมรับให้พระเม็ดกระดุมศรีวิชัยเป็นขุนพลเมืองใต้ นี่ว่ากันด้วยเส้นสายลายพิมพ์ เชิงชั้นด้านศิลปะและอายุคือความเก่า ประมาณว่าอยู่ในช่วงอายุเฉลี่ย 1 พันปี

อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ กล่าวไว้ในหนังสือ รากเหง้าแห่งศิลปะไทย (สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊ค พ.ศ.2553) ว่า พระพิมพ์ทรงกลม พบที่อำเภอไชยา มีกรอบเป็นจารึกคาถา เย ธรมา ล้อมรอบ จำลองมาจากพระพุทธรูปซึ่งสร้างขึ้นที่แคว้นพิหารของอินเดีย อันเป็นที่ตั้งของพุทธคยาและนาลันทา ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16-17  จึงตีความว่า เป็นพระศากยมุนี ซึ่งทรงเป็นนิรมาณกายของพระพุทธะที่ปรากฏในโลกมนุษย์

มาลัยรักษ์ เขียนไว้ในคเณศ์พร ฉบับ 169 พ.ศ.2549 ว่า ดูจากเส้นสายศิลปะ เฉลี่ยการทำระหว่างปี พ.ศ.1300-1400 มีสีแดงอิฐ สีดำ สีพิกุล สีมอย และสีขาว มีสองพิมพ์ พิมพ์ต้อ พิมพ์ชะลูด เส้นผ่าศูนย์กลางองค์พระราว 2 ซม. พุทธลักษณะพระปฏิมาปางสมาธิศรีวิชัยอย่างชัดเจน  จากพื้นผนัง องค์พระประทับเหนือบัวสองชั้น ชั้นบนเป็นบัวบานเจ็ดกลีบ ชั้นล่างเป็นบัวคว่ำ 3 กลีบ (องค์ในภาพ เป็นพิมพ์ชะลูด ถ่ายไม่ติดบัว) พื้นผนังปรากฏอักขระขนาดเล็กละเอียดรอบองค์พระ

สันนิษฐานว่าเป็นอักษรปัลลวะ ซึ่งใช้กันระหว่างปี พ.ศ.1300-1600 ตรงอักษรปัลลวะ 4 แถวรอบองค์พระ นี่คือปรากฏการณ์ มหัศจรรย์ เส้นตัวอักษรเล็กและคมสมบูรณ์ หากจะเห็นให้ชัดเจนก็ต้องส่องด้วยแว่นขยาย 10 เท่า  ตั้งแต่พบเม็ดกระดุมศรีวิชัยในวงการ ราคาเช่าเริ่มแพงขึ้นหลักหมื่น ของปลอมก็ออกตามมา พิมพ์เล็กเท่าขนาด แต่ทำตัวอักษรให้ชัดไม่ได้ จึงทำพิมพ์ใหญ่ไปอีกเท่า ตัวอักษรที่มี ก็บวมเบี่ยงเบนไม่เป็นเส้นคม   มีคำถาม แกะแม่พิมพ์ตัวอักษรเล็กเท่าเส้นด้าย ได้ไง?

คำตอบสั้นๆ วันนี้ (วันหลังจะขยายให้ฟังยาวๆ) แม่พิมพ์พระ ใช้เทคนิคการทำ “ตราประทับ” แกะแม่พิมพ์ด้วยหินเนื้ออ่อน ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าระหว่างอินเดีย-สุวรรณภูมิ ราวๆ พุทธศตวรรษที่ 10-11 พบหลายชิ้น ดินแดนลูกปัด คลองท่อม จังหวัดกระบี่ และแถวพุนพิน ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ดูภาพพระเม็ดกระดุมอีกที องค์พระถูกกดเป็นร่องหลุมลึกลงไปในก้อนดินเหลือขอบปลิ้นขึ้นมารอบองค์ พระเม็ดกระดุม ศรีวิชัยนี่แหละคือต้นแบบของพระซุ้มกอ พระเครื่องสำคัญของเมืองกำแพงเพชร ซึ่งสร้างราว พ.ศ.1900 สังเกตได้จากรัศมีและฐานบัว

พระซุ้มกอกำแพงเพชรมีหลายพิมพ์ เริ่มที่พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก เดาได้ว่าได้ต้นแบบพระเม็ดกระดุมมาแล้วแกะแม่พิมพ์ใหม่ได้ไม่เหมือน เมื่อแกะอักษรปัลลวะ 4 แถวไม่ได้ ช่างท้องถิ่นทำพิมพ์แรกๆ ก็เว้นที่ว่างเอาไว้ มีความพยายามจะทำ แต่ไม่รู้จักตัวอักษรอินเดีย จึงทำพอเป็นเค้า  ในพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนกที่เล่นหากันแสนแพง จึงมีเส้นสายคล้ายเลขหนึ่งบ้าง คล้ายหัวพญานาคบ้าง เค้าเดิมของเม็ดกระดุมศรีวิชัย คือการกดแม่พิมพ์ให้จมลงในเนื้อปล่อยขอบให้ปลิ้นขึ้น ยังเหลืออยู่

เอาพระเม็ดกระดุมศรีวิชัย มาวางคู่กับซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ก็ยิ่งเห็นชัดเจน   ซุ้มกอนี่เอาแบบมาจากศรีวิชัย ก็ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป 

นี่เอง ทางเดินของศิลปะจากยุคเก่าไปหายุคใหม่ ไปในร่องรอยนี้ ยังไม่เชื่อไปหาพระกำแพงทุ่งเศรษฐีพิมพ์ท้าวกุเวรมาดู  ท้าวกุเวรภาคใต้เรียก “ซัมภล” เป็นของขลังยุคแรกที่พ่อค้าอินเดียเชื่อว่าดีทางโชคลาภพกติดตัวมาค้าขาย ราคาไม่แพงเหมือนซุ้มกอ ใครเห็นใกล้มือรีบคว้าเอาไว้ ทุ่งเศรษฐีเหมือนกัน มีไว้ไม่น่าจะจนเหมือนกัน ว่ากันด้วยศิลปะและอายุความเก่า รวมเรื่องเล่าท้าวกุเวร ไม่เป็นรองพระเครื่องเมืองไหนเลย.

   พลายชุมพล
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2559 19:46:55 »

.


พระเครื่องเนื้อดินเผาพิมพ์ทรงเต่า พิมพ์ทรงโค หลวงพ่อโบ้ย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องของเกจิอาจารย์ทางสุพรรณฯรูปหนึ่งที่มีพุทธคุณสูง และสนนราคาขยับขึ้นไปเรื่อยๆ คือพระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีครับ ปัจจุบันก็เริ่มหายากขึ้น โดยเฉพาะพระหล่อเนื้อโลหะผสม แต่หลวงพ่อโบ้ยท่านก็ได้สร้างพระเนื้อดินเผาไว้ด้วยเช่นกันครับ

หลวงพ่อโบ้ย เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 เป็นชาวบ้านสามหมื่น ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่ออุปสมบทเมื่ออายุครบ 21 ปี ที่วัดมะนาว ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี หลังจากนั้นก็จำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาว 3 พรรษา ก็เดินทางไปศึกษาด้านพระธรรมวินัยและอักขระขอม ที่วัดชีปะขาว หรือ วัดศรีสุดาราม จากนั้นจึงได้ไปศึกษา ด้านวิปัสสนากรรมฐานที่วัดอัมรินทร์โฆษิตาราม เป็นเวลา 8-9 ปี จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดมะนาวในปี พ.ศ.2466 หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเนียม วัดน้อย เป็นเวลา 1 ปี จึงได้เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอู่ทอง อ.บางปลาม้า ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน อยู่ที่วัดอู่ทองได้ 1 พรรษา จึงได้ย้ายกลับมาจำพรรษาที่วัดมะนาว

หลวงพ่อโบ้ยเป็นพระที่ถือสมถะ สันโดษ มักน้อย ไม่สะสมทรัพย์ใดๆ วัตรปฏิบัติประจำของท่านคือจะตื่นตั้งแต่ตี 4 ทุกวัน ทำวัตรสวดมนต์จนรุ่งเช้าจึงออกบิณฑบาต เมื่อกลับมาถึงวัดท่านจะนิมนต์พระทุกรูปในวัดยืนเข้าแถว แล้วจะตักข้าวในบาตรของท่านใส่บาตรพระทุกรูป เป็นเช่นนี้ประจำทุกวัน หลวงพ่อโบ้ยจะจำวัดพักผ่อนเพียงวันละ 2-3 ช.ม.

หลวงพ่อโบ้ยเริ่มสร้างพระประมาณปี พ.ศ.2473 เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยชาวบ้านและญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาได้นำโลหะต่างๆ มาถวาย เช่น ทองเหลือง ขันลงหิน ช้อนทัพพี เชี่ยนหมากเป็นต้น หลวงพ่อโบ้ยจะหล่อพระในตอนกลางคืนโดยมีชาวบ้าน พระ เณรมาช่วยกันทำ พระเนื้อโลหะผสมของท่านส่วนใหญ่ต้นแบบจะเป็นพระกรุหรือพระเกจิอาจารย์ในยุคเก่านำมาถอดพิมพ์

ในปี พ.ศ.2479 หลวงพ่อโบ้ยได้สร้างพระเนื้อดินเผา ชุดพระเจ้าห้าพระองค์ พระกำแพงศอกเนื้อดิน พระพิมพ์บ้านกร่างคู่เนื้อดิน ชุดพระเจ้าห้าพระองค์เป็นรูปพระพุทธทรงสัตว์ต่างๆ ได้แก่ พิมพ์ทรงโค พิมพ์ทรงสิงห์ พิมพ์ทรงเต่า พิมพ์ทรงไก่ พิมพ์ทรงพญานาค เป็นต้น

ปี พ.ศ.2500 สร้างพระรูปเหมือนเนื้อดิน เนื้อผงธูป และเนื้อชานหมาก

ปี พ.ศ.2505 สร้างเหรียญแปดเหลี่ยม และเหรียญกลมนั่งเต็มองค์ เพื่อแจกในงานฉลองผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต

วัดมะนาว หลวงพ่อโบ้ย มรณภาพเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2508 สิริอายุได้ 73 ปี 52 พรรษา

พระเครื่องเนื้อโลหะผสมของหลวงพ่อโบ้ยปัจจุบัน บางพิมพ์มีสนนราคาสูงมาก และค่อนข้างหายากแล้วครับ แต่พระเนื้อดินเผายังพอหาได้ไม่ยากนัก เนื่องจากในสมัยก่อนคนต่างถิ่นไม่ทราบว่าเป็นพระของหลวงพ่อโบ้ย

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเครื่องเนื้อดินเผาพิมพ์ทรงเต่า พิมพ์ทรงโค มาให้ชมกันครับ

ขอขอบคุณคุณป๋อง สุพรรณ ที่กรุณา มอบข้อมูล และรูปภาพจากหนังสือเกจิคณาจารย์ยอดนิยม เมืองสุพรรณ มาให้ เผยแพร่ครับ

  ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์





สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำหรับท่านที่ชื่นชอบพระกริ่งพระชัยวัฒน์นั้น มีพระกริ่งเก่าอยู่ชนิดหนึ่งที่ประวัติความเป็นมายังไม่ชัดเจนนัก คือ พระกริ่งสวนเต่า มีการสืบค้นกันมานานแล้ว ก็มีความเห็นแตกต่างกันไป แต่พระกริ่งสวนเต่านั้นเป็นพระเก่าแน่นอน มีความสวยงามและนิยมกันมากสนนราคาก็สูงพอสมควรครับ

ทำไมพระกริ่งเก่าที่ไม่มีประวัติชัดเจนนักจึงมีความนิยม เท่าที่เคยได้รับฟังมาก็มีการเล่นหาสะสมกันมานานมาก ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายเลยทีเดียว ศิลปะของพระกริ่งสวนเต่านั้นนับว่าสวยงาม มีการตบแต่งสวยมาแต่เดิม เท่าที่สังเกตดูแต่ละองค์จะมีพิมพ์ไม่ค่อยเหมือนกันนัก อย่างที่เรียกว่าปั้นหุ่นเทียนทีละองค์

เนื้อของพระกริ่งสวนเต่าก็เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ วรรณะออกสีนากปนทอง ผิวกลับ สีน้ำตาลอมดำสวยงาม พระพักตร์เป็นแบบศิลปะไทย มีขอบไรพระศก ทุกองค์ พระเกศเป็นรูปดอกบัวตูม ประทับนั่งบนฐานบัวสองชั้น ส่วนพระหัตถ์นั้นมีแบบต่างๆ มากมายไม่ซ้ำแบบกัน บางองค์ทรงถือดอกบัว บางองค์ทรงอุ้มบาตร หรือหอยสังข์ ส่วนมากที่เห็นจะขัดสมาธิเพชร และส่วนใหญ่มีประคำที่พระศอ ฝีมือช่างที่ปั้นหุ่นและตบแต่งเป็นช่างคนเดียวกัน

ด้วยศิลปะของพระกริ่งสวนเต่าที่สวยงาม จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือช่างหลวง และการมีรายละเอียดที่ไม่ค่อยซ้ำกันเลย จึงคาดว่าคงมีจำนวนไม่มากนัก และพระแท้ๆ ก็ไม่ค่อยพบเช่นกัน

มีการสันนิษฐานกันไปหลายทางในเรื่องของประวัติการสร้าง และใครคือผู้สร้างพระกริ่งสวนเต่า แต่ก็เรียกชื่อนี้กันมานานตั้งแต่โบราณ มีกระแสหนึ่งที่กล่าวไปในทางเดียวกันว่า พระกริ่งสวนเต่านี้สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำพิธีเททองหล่อในพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ณ บริเวณสวนเต่า ส่วนรายละเอียดอื่นๆ นั้นยังไม่ทราบว่าพระสงฆ์ท่านใดเป็นผู้ปลุกเสกบ้าง แต่ก็เชื่อกันมาแบบนี้ยาวนานแล้ว

ครับเรื่องประวัติที่ชัดเจนก็ยังไม่มีเอกสารยืนยันได้ แต่ฝีมือการสร้างที่สวยงาม เนื้อโลหะยอดเยี่ยมนี้ จึงเป็นพระกริ่งที่มีความสำคัญแน่นอน และน่าจะเป็นช่างหลวง เพียงแต่ยังเป็นความลึกลับอยู่จนถึงปัจจุบันในยุคหลังๆ ต่อมาก็มีบางวัดสร้างพระกริ่งรูปแบบพระกริ่งสวนเต่าเช่นกัน แต่ศิลปะยังสู้กันไม่ได้ และกระแสเนื้อมักจะออกเป็นแบบทองเหลืองเสียเป็นส่วนใหญ่

ถึงแม้ว่าประวัติการสร้างยังไม่มีเอกสารยืนยันที่ชัดเจนก็ตาม แต่ก็ได้รับความนิยมกันมายาวนานจนถึงปัจจุบัน และก็หาแท้ๆ ยากเสียด้วย ผู้ที่ครอบครองก็มักจะหวงแหนกันมาก และส่วนใหญ่ก็ได้รับมรดกตกทอดเสียเป็นส่วนใหญ่

พระอีกหลายๆ อย่างก็ยังไม่ทราบประวัติที่ชัดเจนนัก ก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและค้นคว้ามาก เนื่องจากเป็นพระเก่าและเป็นพระแท้แน่นอน เพียงแต่ประวัติที่ยังคลุมเครือว่าเป็นพระของวัดใดใครสร้าง และในสมัยโบราณก็ไม่ค่อยได้มีการบันทึกการสร้างเท่าใดนัก จึงเป็นเรื่องของนักนิยมพระเครื่องรุ่นต่อๆ มาต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระกริ่งสวนเต่า มาให้ชมกันสัก 2 องค์ครับ

  ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์




หนุมาน หน้าโขนงาแกะ ของหลวงพ่อสุ่น

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในบรรดาเครื่องรางที่เป็นรูปหนุมานแล้ว ถือว่า หนุมานหลวงพ่อสุ่น หายากที่สุด และนิยมที่สุด กรรมวิธีการสร้างนั้นก็ทำได้ยากตามตำรับของหลวงพ่อสุ่น ส่วนในเรื่องประสบการณ์นั้นก็มีการเล่าขานสืบต่อมามากมายครับ

หลวงพ่อสุ่นนั้นประวัติโดยละเอียดไม่มีผู้บันทึกไว้ จึงสืบค้นยากมาก แต่ก็พอจะทราบเพียงคร่าวๆ ว่า หลวงพ่อสุ่นนามเดิมว่า สุ่น ตระกูล ปานกล่ำ เป็น ชาวนนทบุรีโดยกำเนิด เกิดประมาณปี พ.ศ.2403 ท่านอุปสมบทเมื่อไรไม่มีใครทราบ แต่ที่ทราบคือฉายาของท่านคือ "จันทโชติ" จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน ในสมัยที่ท่านเป็นพระลูกวัดนั้น ชาวบ้านก็เริ่มเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาการปฏิบัติธรรมของท่าน พอเจ้าอาวาสองค์เดิมมรณภาพ ชาวบ้านตลอดจนทายกได้อาราธนาท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

หลวงพ่อสุ่นเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ กิจวัตรประจำวันของท่านคือจะตื่นแต่ย่ำรุ่ง มีไม้กวาดติดมือ ทำความสะอาดลานวัดของท่านจนสะอาดตาจึงพอ และชาวบ้านในสมัยนั้นก็จะร่วมมือกันในการพัฒนาวัดเป็นอย่างดี ส่วนการจำวัดนั้นท่านจะจำวัดน้อยมาก ท่านจะนั่งวิปัสสนากรรมฐานทุกคืนจนดึกดื่นค่อนคืน

ส่วนการศึกษาเล่าเรียนนั้นไม่มีใครทราบว่าท่านศึกษามาจากที่ไหน รู้แต่เพียงว่าท่านจะสนิทสนมกับหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง มีอะไรถึงกันหมด ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ หลวงพ่อสุ่นเป็นพระที่มีเมตตาใครเจ็บไข้ได้ป่วยท่านก็จะช่วยรักษาให้หายทุกคนไป

ในเรื่องการสร้างเครื่องรางของขลังนั้น ท่านสร้างเพียงผ้าประเจียดและหนุมานเท่านั้น หลวงพ่อสุ่นได้ปลูกต้นรักซ้อนและต้นพุดซ้อนไว้ตั้งแต่ท่านยังเป็นพระลูกวัด โดยท่านจะทำน้ำมนต์รดอยู่ทุกวัน พอต้นรักแก่ได้ที่และได้ฤกษ์ดีแล้ว ท่านก็จะทำการพลี แล้วจึงนำมาตากจนแห้งดีแล้ว ท่านก็จะให้ไปตามช่างมาแกะ ทราบว่าช่างที่มาแกะนั้นอยู่ที่กรุงเทพฯ มีฝีมือทางแกะสลัก ระหว่างที่แกะหนุมานนั้น ช่างจะมาอยู่กินนอนที่วัด พอแกะเสร็จจึงจะกลับ และเมื่อท่านจะทำอีกช่างก็มาแกะที่วัดอีกเช่นเคย เมื่อช่างแกะหนุมานเสร็จได้จำนวนแล้ว หลวงพ่อสุ่นก็จะนำหนุมานทั้งหมดมาใส่บาตรของท่าน แล้วเอาผ้าขาวมาห่อไว้อีกที เก็บไว้ในกุฏิของท่าน

พอวันเสาร์ท่านก็จะให้ลูกศิษย์ยกเข้าไปในโบสถ์แล้วบวงสรวงพลี เสร็จแล้วท่านจะปิดประตูหน้าต่างลั่นดาลโบสถ์ทั้งหมด โดยท่านอยู่ในโบสถ์องค์เดียว ปลุกเสกและจัดเวรยามไม่ให้ใครไปรบกวน ในขณะที่ท่านกำลังปลุกเสกอยู่ บางครั้งเกือบสว่างบางทีก็เที่ยงคืน ท่านจะทำประจำทุกๆ วันเสาร์ พอเสร็จแล้วท่านก็จะมาปลุกเสกต่อในกุฏิเช่นนี้ตลอดมา จนกระทั่งครบถ้วนตามวิธีการของท่าน ท่านถึงจะแจกลูกศิษย์ลูกหาทั่วไป

หนุมานของหลวงพ่อสุ่นนั้น จะมีทั้งแบบหน้ากระบี่และแบบหน้าโขน เนื้อของหนุมานก็มีทั้งที่เป็นเนื้อไม้รักและไม้พุดซ้อน และที่เป็นงาแกะ แต่ที่เป็นงาแกะนั้นมีน้อยกว่า หลวงพ่อสุ่นมรณภาพใน ปีพ.ศ.2482 ปัจจุบันนั้นหาชมของแท้ได้ยากมากครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปหนุมานหน้าโขน งาแกะ ของหลวงพ่อสุ่น จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องราง ของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมกันครับ

  ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์




พระรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดสุพรรณฯ มีพระเกจิอาจารย์อยู่หลายรูปที่เป็นที่รักเคารพของชาวบ้านมาก หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ก็เป็นอีกรูปหนึ่งที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง และเป็นที่นิยมในสังคมผู้นิยมพระเครื่องครับ

หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต เกิดวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2432 ที่บ้านดอนไร่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ครอบครัวมีอาชีพทำนา ในวัยเด็กนิสัยเยือกเย็น พูดน้อย หลวงพ่อมุ่ยได้เข้ารับการอุปสมบทครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด อุปสมบทได้ประมาณ 10 พรรษา ก็ได้ลาสิกขาแต่ไม่นานก็เกิดล้มป่วยแทบเอาชีวิตไม่รอด ยากดูแลรักษาให้หายได้ จึงตั้งสัจอธิษฐานไว้ว่า หากหายจากอาการเจ็บป่วยจะขอบวชในพระพุทธศาสนาไปตลอดชีวิต

ในปี พ.ศ.2465 วันที่ 22 มีนาคม หลวงพ่อมุ่ยจึงได้อุปสมบทครั้งที่ 2 ที่วัดดอน บุบผาราม ได้รับฉายาว่า "พุทธรักขิโต" โดยมีพระครูธรรมสารรักษา (อ้น ติสโส) วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2466 ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อมาจำพรรษาที่วัดดอนไร่ ท่านได้ริเริ่มพัฒนาวัดตั้งแต่นั้นมา ปีพ.ศ.2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนไร่ และปี พ.ศ.2502 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระครูสุวรรณวุฒาจารย์

หลวงพ่อมุ่ยเป็นพระสมถะ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีความเมตตาแก่สัตว์โลกทั่วไปทุกหมู่เหล่าทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ ขยันในการศึกษาหาความรู้ทุกด้าน โดยเฉพาในเรื่องตัวเลขอักขระยันต์คาถาเข้มขลังยิ่งนัก ทำให้วัตถุมงคลของหลวงพ่อมุ่ยทุกรุ่นได้รับความนิยมอย่างมากจากนักนิยมพระเครื่อง อาทิ รูปเหมือนปั๊ม พระสมเด็จฯ พระกริ่ง เหรียญรูปเหมือน ตะกรุด ผ้ายันต์และแหวน

หลวงพ่อมุ่ยมรณภาพเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2517 สิริอายุได้ 85 ปี

ในวันนี้ผมได้นำพระรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรกที่มีความนิยมกันมาก พระรูปเหมือนรุ่นนี้มีการแกะชื่อของหลวงพ่อผิด โดยตัวไม้เอกแกะผิดเป็นไม้โท กลายเป็นคำว่า "มุ้ย" และพระรุ่นนี้เป็นพระรูปเหมือนรุ่นนิยมครับ

ขอขอบคุณการเอื้อเฟื้อข้อมูลและรูปภาพจากหนังสือเกจิคณาจารย์ยอดนิยมเมืองสุพรรณ โดยสมาคมพระเครื่องพระบูชาสุพรรณบุรีมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

  ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กรกฎาคม 2559 18:14:20 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2559 10:41:40 »

.


พระกรุวัดจุฬามณี จ.พิษณุโลก

"พระกรุวัดจุฬามณี นับเป็นพระกรุสำคัญของพิษณุโลกที่มีอายุเก่าแก่ และมีพุทธศิลปะที่เป็นไปตามคติและฝีมือช่างพื้นเมือง"

จากกำแพงเพชรมาที่พิษณุโลกกันบ้าง "เมืองพิษณุโลก" ถือเป็นหนึ่งในเมืองพระของไทยเช่นกัน มีวัดวาอารามโบราณและการปรากฏของพระกรุเก่ามากมาย หนึ่งในนั้น คือ "วัดจุฬามณี" ซึ่งจัดเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างโดยขอมเมื่อสมัยเรืองอำนาจอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ และน่าจะเป็นเมืองศูนย์กลางทางศาสนา ด้วยปรากฏเทวสถานเป็น "พระปรางค์ศิลาแลง" เก่าแก่ประดับลายปูนปั้นงดงามมาก แม้ในปัจจุบันจะชำรุดเสียหายไปมาก แต่ร่องรอยแห่งฝีมือชั้นครูและคติเทวสถานของขอมยังปรากฏให้เห็นอยู่

ชื่อ "วัดจุฬามณี" นี้ พบเป็นครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ปรากฏความว่า "ศักราช 810 ปีมะโรง สัมฤทธิศก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี" และ "ศักราช 811 ปีมะเส็ง เอกศก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า ทรงผนวช ณ วัดจุฬามณี ได้แปดเดือนแล้วลาผนวช" ซึ่งไปตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับจักรพรรดิพงษ์ (จาด) ที่กล่าวไว้ว่า "ศักราช 810 ปีมะโรง สัมฤทธิศก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี" อันแสดงให้เห็นว่า วัดจุฬามณีมีความสำคัญมากในสมัยอยุธยาเรืองอำนาจ ถึงขนาดพระมหากษัตราธิราชเจ้าทรงปฏิสังขรณ์ สร้างโบราณสถานต่างๆ จนถึงทรงผนวชอยู่นาน 8 เดือน




ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการตั้ง "โบราณคดีสโมสร" ขึ้น เพื่อสืบค้นประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยอย่างจริงจัง ในระยะนี้มีความพยายามที่จะเสาะหา "วัดจุฬามณี" ซึ่งมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ก็มิได้พบสถานที่ใดจะมีความเป็นไปได้ตามหลักฐานที่ปรากฏ

จนกระทั่งรัตนโกสินทร์ศกที่ 126 (พ.ศ.2451) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ เสด็จขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้ทรงพบวัดหนึ่งชื่อวัดจุฬามณี ที่เมืองพิษณุโลก มีศิลาจารึกปรากฏอยู่บริเวณหน้ามณฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้จารึกไว้ในคราวที่ทรงจำลองรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี ซึ่งค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม มาประดิษฐาน ณ วัดจุฬามณี แห่งนี้ เมื่อจุลศักราช 1180 (พ.ศ.2222) ความว่า "ตีความตามนาม "จุฬามณี" นั้นเป็นชื่อของพระมหาเจดีย์จุฬามณี ตามคติพุทธศาสนาที่เชื่อว่าเป็นมหาเจดีย์ประดิษฐานพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระมหาเจดีย์นี้ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นที่เคารพสักการะของเทพยดาทั้งมวล ผู้ใดทำกุศลผลบุญอันมหาศาลจะได้ขึ้นไปสักการะองค์พระมหาเจดีย์จุฬามณีนี้"

วัดสำคัญที่เก่าแก่ผ่านยุคผ่านสมัยมาหลายร้อยปีดังเช่น "วัดจุฬามณี" ก็ย่อมต้องมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียงอย่างแน่นอน ซึ่งได้รับการขนานนามตามชื่อวัดว่า "พระกรุวัดจุฬามณี" หรือบางท่านก็เรียก "พระกรุน้ำ" เนื่องจากสมัยโบราณวัดจุฬามณีอยู่ริมลำน้ำน่าน เมื่อผ่านกาลเวลาเนิ่นนาน พระเจดีย์ที่บรรจุพระจึงถูกน้ำกัดเซาะ ทำให้พระส่วนใหญ่แช่อยู่ในน้ำ

พระกรุวัดจุฬามณี ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผา สีขององค์พระจึงมีหลายวรรณะ แต่จะมีพุทธลักษณะโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญ คือ องค์พระมีขนาดเขื่อง ขอบพิมพ์ทรงไม่สู้จะเรียบร้อยนัก ลักษณะการกดแม่พิมพ์มีทั้งกดด้านหน้าและด้านหลัง จึงมักจะปรากฏขอบวงนอกของแม่พิมพ์ด้านที่กดพิมพ์หลังปลิ้นขึ้นมาเล็กน้อย ผิวพื้นด้านที่กดพิมพ์หลังจะเว้าเป็นแอ่งกระทะน้อยๆ ส่วนด้านที่กดพิมพ์หน้าพื้นผิวจะแอ่นโค้งออก ไม่ปรากฏขอบวงนอกปลิ้นขึ้น และไม่จำเป็นจะต้องกดด้านใดด้านหนึ่ง

ดังนั้นด้านหน้าอาจจะมีขอบวงแม่พิมพ์ปลิ้นและพื้นเว้า ส่วนด้านหลังอาจจะไม่มีขอบปลิ้นและแอ่นโค้งก็เป็นได้ เนื่องจากการกด แม่พิมพ์ทั้งสองด้านนี้เอง ทำให้พระกรุวัดจุฬามณีแบ่งแยกออกเป็นหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์หน้าฤๅษี หลังนาง, พิมพ์หน้าฤๅษีเปลวเพลิง หลังนาง, พิมพ์ชินราช หลังนาง, พิมพ์รัศมี หน้าเดียว และพิมพ์หน้านาง หลังนาง เป็นต้น

จุดสังเกตสำคัญอีกประการหนึ่งของ พระกรุวัดจุฬามณี ก็คือ องค์พระส่วนใหญ่แช่อยู่ในน้ำ ผิวขององค์พระจะไม่เรียบตึง จะมีรอยหดเหี่ยวและรูพรุนน้อยๆ บางองค์เห็นเม็ดกรวดทรายอย่างชัดเจน

พระกรุวัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก นับเป็นพระกรุสำคัญของพิษณุโลกที่มีอายุเก่าแก่ และมีพุทธศิลปะที่เป็นไปตามคติและฝีมือช่างพื้นเมือง ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

จึงทำให้เป็นที่นิยมสะสมกันอย่างแพร่หลาย ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์




พระปางเปิดโลก วัดสุสาน

"พระปางเปิดโลก เป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถยืนอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงเปิดโลก บางแบบยกฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองขึ้น"

พระปางเปิดโลก เป็นปางหนึ่งในพระพุทธรูปปางต่างๆ 66 ปาง ซึ่งได้รับการรังสรรค์โดยกำหนดตามพระอิริยาบถต่างๆ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนับเป็นปางที่มีความหมายและความสำคัญทางพระบวรพระพุทธศาสนาสืบมาถึงปัจจุบัน และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง

ตามพุทธประวัติได้กล่าวถึง "พระปางเปิดโลก" ไว้ดังนี้

"...หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในวันอาสาฬหบูชา ณ นครสาวัตถี แล้วได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของท้าวสักกะเทวราช เพื่อแสดงธรรมโปรดพระมารดาที่ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา (พระอภิธรรม) แก่พระมารดา ในที่สุดแห่งเทศนา พระมารดาทรงบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน ครั้นอยู่จำพรรษาปวารณาครบ 3 เดือน จึงได้ตรัสกับท้าวสักกะเทวราช ว่ามีพระประสงค์จะเสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ท้าวสักกะเทวราชจึงได้นิรมิตบันไดทั้ง 3 คือ บันไดทอง บันไดแก้ว บันไดเงิน ตีนบันไดทั้ง 3 ตั้งอยู่ที่ประตูเมืองสังกัสสะนคร ส่วนหัวบันไดพาดอยู่ที่เขาสิเนรุ พระพุทธองค์เสด็จลงทางบันไดแก้วตรงกลาง เทวดาลงทางบันไดทองทางด้านขวา มหาพรหมลงทางบันไดเงินทางด้านซ้าย ในขณะที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้น พระพุทธองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์อีกครั้งหนึ่ง คือ ทรงเปิดโลกทั้ง 3 ให้แก่ เทวโลก มนุษย์โลก และยมโลก พร้อมทั้งทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสี ทำให้สัตว์โลกทั้ง 3 มองเห็นกันและกัน เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง อนึ่ง พุทธบริษัทที่เห็นพุทธานุภาพแล้ว ล้วนแต่ปรารถนาพุทธภูมิ ..."

ด้วยเหตุดังกล่าว ภายหลังจึงมีผู้สร้าง "พระพุทธรูปปางเปิดโลก" เพื่อระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลกในวันปาฏิบท คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 และวันนั้นจึงเป็นปฐมเหตุแห่ง วันเทโวโรหณะ หรือวันตักบาตรเทโวโรหณะ อีกด้วย

พระพุทธรูปปางเปิดโลก เป็นพระพุทธรูปในพระอิริยาบถยืนอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงเปิดโลก บางแบบยกฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองขึ้น

และก็เป็นเรื่องอัศจรรย์ที่ เมื่อเร็วๆ นี้ ทางวัดสุสาน อ.เมือง จ.นครราชสีมา หลังบิ๊กซีโคราช วัดเก่าแก่ "ตำนานสุสานศักดิ์สิทธิ์" แห่งเมืองโคราช ได้ดำเนินการสร้าง "พระกาฬ (ราหู)" ขนาด 8.8 เมตร เพื่อหาทุนบูรณะดีดอุโบสถ ซึ่งมี "องค์หลวง พ่อทอง" เป็นพระประธานอายุกว่า 200 ปี สร้างในคราวที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาพักทัพ ณ บริเวณวัดสุสานแห่งนี้ โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2558 ที่ผ่านมา ทางวัดได้จัดพิธีเททองบรวงสรวงเพื่อขออนุญาตพระประธาน ให้ช่างได้ดำเนินการเจาะหาแนวคานองค์หลวงพ่อทอง เพื่อดีดองค์พระให้ญาติโยมได้ลอดเสริมสิริมงคล ปรากฏว่าได้พบพระปางเปิดโลก เนื้อสัมฤทธิ์ ขนาดสูงขนาด 4.5 ซ.ม.

พระปางเปิดโลกเนื้อสัมฤทธิ์นี้ ไม่ทราบว่าเป็นกรุดั้งเดิมตั้งแต่สมัยที่อาราธนาองค์หลวงพ่อทองมาประดิษฐานเป็นพระประธานหรือของอดีตเจ้าอาวาสที่ได้บูรณะอุโบสถเมื่อปี พ.ศ.2517 ซึ่งครั้งนั้น หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ได้มาจำพรรษา ณ วัดสุสาน

ทางวัดสุสาน จึงมีความประสงค์ที่จะมอบแก่ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาทำบุญร่วมบูรณะอุโบสถและสร้างพระราหู 8.8 เมตร เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยร่วมบุญ 1,500 บาท จะได้รับพระปางเปิดโลก 1 องค์ ติดต่อสอบถามได้ที่ พระอธิการชาติชาย ติขวฺวีโร เจ้าอาวาสวัดสุสาน หรือคุณวินัย ศิลาเริง ไวยาวัจกร โทร.08-5303-6030 และ 08-1865-7011 ...

สร้างบุญยิ่งใหญ่ รับสุดยอดวัตถุมงคล "พระปาง เปิดโลก" ปางอัศจรรย์ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์




หลวงพ่อดำ วัดช่องแสมสาร

"เป็นพระพุทธปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ซึ่งชาวประมงฝั่งตะวันออก เลื่อมใสศรัทธา ทุกครั้งที่ออกทะเลมักจะไปนมัสการและขอพร ชาวประมงทุกคนจะกลับมาโดยสวัสดิภาพ มีโชคได้สินทรัพย์จากทะเลเป็นกอบเป็นกำ"

พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิตหรือหลวงพ่อดำ ประดิษฐานในพระวิหารวัดช่องแสมสาร ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสูง 5 เมตร มีรูปใบหน้าอิ่มเอิบ ดวงตาทอดต่ำลงแผ่เมตตาให้กับผู้คนที่เดินทางมากราบไหว้ นับเป็นพระพุทธปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ซึ่งชาวประมงฝั่งตะวันออกเลื่อมใสศรัทธา ทุกครั้งที่ออกทะเลมักจะไปนมัสการและขอพร ชาวประมงทุกคนจะกลับมาโดยสวัสดิภาพ มีโชคได้สินทรัพย์จากทะเลเป็นกอบเป็นกำ

ตาม "ตำนานหลวงพ่อดำ" ระบุว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2501 หลวงพ่อดำรง คุณาสโภ ได้เดินทางจาก จ.สุพรรณบุรี มาปักกลด ณ บริเวณพระเจดีย์เก่าบนเขาของวัดช่องแสมสาร หลวงพ่อดำรงได้เล่าให้ญาติโยมที่ไปกราบนมัสการให้ฟังว่า ท่านจำพรรษาอยู่วัดเขาขึ้น อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี สาเหตุที่เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ เพราะฝันว่าเทพยดาองค์หนึ่งบอกให้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ใกล้ๆ พระเจดีย์เก่าองค์หนึ่งบนเขาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก "ในภายภาคหน้า พระประธานองค์นี้จะกลายเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ และมีประชาชนให้ความเคารพนับถือเดินทางมากราบไหว้กันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากบริเวณแห่งนี้มีความเหมาะสมที่จะบูรณะให้กลายเป็นแหล่งรักษาศีลและความสงบให้กับชาวพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก..."

หลวงพ่อดำรงจึงได้ออกเดินทางจากวัดเขาขึ้นกว่าจะถึงวัดช่องแสมสารเป็นเวลาหลายวัน เมื่อครั้นมาจนถึงบ้านช่องแสมสาร ท่านทราบว่าเป็นสถานที่มีภูมิทัศน์ตรงกับสภาพที่ท่านนิมิตฝัน ท่านจึงชักชวนญาติโยมช่วยกันบริจาควัสดุในการสร้างพระพุทธปฏิมากร ซึ่งได้รับศรัทธาร่วมมือด้วยดี ในสมัยนั้นยังไม่มีทางรถยนต์ จึงจำเป็นต้องใช้แรงงานคนแบกขนวัสดุขึ้นไป การสร้างใช้เวลาสร้างประมาณ 2 ปี จึงแล้วเสร็จและทารักสีดำ ตั้งเป็นสง่าอยู่กลางแจ้ง โดยไม่มีหลังคาคลุมแต่อย่างใด ชาวบ้านชาวเรือและผู้พบเห็นจึงเรียกว่า "หลวงพ่อดำ" กันจนติดปาก ทั้งๆ ที่ตอนสร้างเสร็จท่านได้ถวายนามว่า "พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต" ซึ่งชื่อในตอนท้าย มีความหมายระบุว่า เป็นพระที่เกิดจากความฝันดี

หลังจากสร้างเสร็จประมาณ 1 เดือน ได้จัดงานฉลองพระและประกอบพิธีเบิกพระเนตร ในครั้งนั้นได้มีการผูกหุ่นฟาง 2 หุ่น เพื่อเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อดำ หลังจากเสร็จพิธีก็เผาหุ่นฟาง หลวงพ่อดำได้ตั้งตากแดดอยู่กลางแจ้งเป็นเวลาถึง 10 ปีเศษ จนมีชาวประมงจากจังหวัดสมุทรปราการแล่นเรือผ่านมาเห็นหลวงพ่อดำตากแดด จึงบนขอพรว่าออกเรือเที่ยวนี้ขอให้ได้ 200,000 บาท จะมาทำหลังคาให้

ปรากฏว่าได้ดังคำขอ จึงเอาเงินมาฝากให้นายเจริญ ทิศาบดี ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยทำหลังคาแต่ก็ไม่มีฝา เมื่อฝนตกก็สาดเปียก ต่อมาชาวประมงอีกรายผ่านมาก็บนหลวงพ่อดำอีก ขอให้จับปลาได้เยอะๆ จะมากั้นฝาให้ ปรากฏว่าได้สมหวังก็เอาเงินมาฝากผู้ใหญ่ให้ช่วยทำต่อไป สภาพวิหารหลวงพ่อดำในขณะนั้น จึงเป็นเพียงมีหลังคาและฝาไม้สามด้าน มีชาวบ้านและชาวเรือต่างขึ้นไปนมัสการกราบไหว้เป็นจำนวนมากและมักประสบผลสำเร็จ

หลังจากสิบปีผ่านไป สภาพของวิหารชำรุดทรุดโทรมจนใช้งานไม่ได้ นายเสน่ห์ พิทักษ์กร สมาชิกสภาจังหวัดชลบุรี ได้ร่วมมือกับพระครูวิสารทสุตากร เจ้าอาวาส พร้อมชาวบ้าน ร่วมกันสร้างเป็นวิหารจัตุรมุข ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง และมีภาพปูนปั้นเรื่องราวพุทธประวัติ ซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน

ครั้นสร้าง "วิหารหลวงพ่อดำ" เสร็จ ได้ทำพิธีเปิดวิหารอย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 ในแต่ละวันมีประชาชนเดินทางไปนมัสการขอบนและแก้บนมิได้ขาดด้วยไข่ต้มและพวงมาลัยดอกไม้สด ตามความเชื่อว่าหลวงพ่อดำคุ้มครองรักษาให้ปลอดภัยและได้โชคลาภ สิ่งที่สมปรารถนา จนหลวงพ่อดำที่ทารักสีดำ

กลายเป็นหลวงพ่อดำสีทองเหลืองอร่ามไปทั่วทั้งองค์ในปัจจุบันครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์



http://www.e4thai.com/e4e/images/tuat.jpg

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่ทวด รุ่นแรก

อาทิตย์นี้มาต่อ "วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด วัดช้างให้" มหาอมตะนิรันดร์กาล ที่มีค่านิยมสูงอันดับต้นๆ กันอีก 2 รุ่น

รุ่นแรก "เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อทวด รุ่นแรก" หรือที่เรียกกันว่า "เหรียญหัวโต" เป็นช่วงรอยต่อของการสร้างพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี 2497 และพระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505 ปรากฏว่าเป็นที่นิยมสะสมอย่างสูงของพุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธาหลวงปู่ทวดและหลวงปู่ทิม จนต้องมีการสร้างเพิ่มเติม ปัจจุบันค่านิยมสูงและหายากยิ่ง

ในปี พ.ศ.2500 พระอาจารย์ทิม หรือ หลวงปู่ทิม ดำริจัดสร้าง "เหรียญ" ขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงหลวงปู่ทวด และเพื่อสมทบทุนในการปฏิสังขรณ์และบูรณะวัดช้างให้ ศาสนสถานเก่าแก่ ให้คงอยู่สถาพรสืบไป โดยให้มีการจำลองรูปเหมือนของหลวงปู่ทวดและตัวท่านเองลงบนเหรียญ ซึ่งนับเป็นการจัดสร้างเหรียญปั๊มรูปเหมือนของหลวงปู่ทวดและหลวงปู่ทิมเป็นครั้งแรก

โดยจัดสร้างเป็น "เนื้อทองแดง" จำนวน 3,000 เหรียญ แต่ปรากฏว่าบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้านและผู้ศรัทธาในหลวงปู่ทวดและหลวงปู่ทิมต่างแห่แหนกันเช่าบูชาจนเหรียญหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อไม่พอกับแรงศรัทธาจึงต้องสร้างเหรียญเพิ่มอีก 5,000 เหรียญ โดยใช้แม่พิมพ์ตัวเดิม แต่สร้างเป็น "เนื้อทองแดงลงกะไหล่เงินและกะไหล่ทอง" เพื่อให้เป็นจุดสังเกต

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่ทวด รุ่นแรกนี้ ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเสมา หูในตัว ด้านหน้าตกแต่งขอบเป็นลายกนก ด้านบน เป็นอักขระขอมอ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทวด นั่งสมาธิ บนอาสนะฐานบัวสองชั้น ศีรษะค่อนข้างใหญ่ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เหรียญหัวโต" ด้านข้างทั้งสองเป็นอักษรไทยว่า "หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด" ด้านหลังพื้นเรียบ ด้านบนเป็นอักขระขอมว่า "นะ มะ พะ ทะ" ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทิม ด้านล่างจารึกชื่อ "พระครูวิสัยโสภณ (ทิม)"

เอกลักษณ์แม่พิมพ์ของเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่ทวด รุ่นแรก ปี 2500 มีดังนี้ :

ด้านหน้า
- ใต้รูใส่ห่วงเหรียญ จะมีครีบเนื้อเกินเป็นเส้นเล็กๆ
- ศีรษะด้านบนขวาจะมีรอยขยักอยู่ 1 รอย ชัดเจนมาก
- ลูกนัยน์ตาทั้งสองข้างชัดเจน ข้างขวาจะใหญ่และอยู่ต่ำกว่าข้างซ้าย เบ้าตาค่อนข้างลึก
- จมูกใหญ่ โหนกแก้มทั้ง 2 นูนสูง ใต้จมูกมีเส้นขนแมวพาดขวางในแนวนอน ไม่คมมากแต่ติดชัดเจน
- ริมฝีปากด้านบนเป็นร่อง
- ปลายนิ้วเท้าทั้งสองข้างมีเนื้อเกินยื่นออกมา ดูคล้ายๆ เล็บ
- ผ้าอาสนะจะมีเส้นขนแมวแผ่วๆ ดูเป็นธรรมชาติอยู่หลายเส้น
- มีเนื้อเกินในร่องระหว่างฐานบัวกลีบที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นตำหนิในแม่พิมพ์ (ของเลียนแบบจะแข็งกระด้างไม่เป็นธรรมชาติ)
- กลีบบัวแถวบนทั้งสองด้านจะยื่นเกินล้ำผ้าอาสนะอย่างเห็นได้ชัดเจน
- ตัวหนังสือเป็นแท่งคมชัดเจน

ด้านหลัง
- พื้นผิวต้องมีความแน่น ขอบและหูเหรียญต้องมีเนื้อปลิ้นเนื้อเกินในบางจุด อันเกิดจากแรงกระแทก
- ตัวอักขระด้านบนชัดเจน หัวตัวอักขระ "พะ ทะ" ตรงมุมขวาจะต้องเป็นหลุมสามเหลี่ยมตั้งขึ้นไม่มากก็น้อย
- ดวงตากลมโต ชัดเจน ริมฝีปากล่างเป็นเส้นขีดเล็กๆ
- ชายจีวรด้านขวาล่างของหลวงปู่ มีเส้นเกินเป็นติ่งเล็กๆ แต่คมชัด
- คำว่า "พระครูวิสัยโสภน" ตัว "น" ตรงจุด กลมๆ ด้านล่างมักมีเนื้อเกินลากเป็นทางยาวขึ้นไปข้างบน

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่ทวด รุ่นแรกนี้ ทรงพุทธคุณเป็นที่ปรากฏแก่ผู้สักการบูชา ทั้งด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และยังสามารถอธิษฐานขอความเป็นสิริมงคลให้ประสบความสำเร็จในการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

หลักการพิจารณาเบื้องต้น ให้สังเกตที่ขอบเหรียญ จะเห็นว่าขอบเหรียญทั้งสองข้างจะไม่เท่ากัน และที่อักขระขอมด้านหลังนั้น บางเหรียญมี "รอยเคลื่อน" อันเกิดจากบล็อกพิมพ์เคลื่อนตัว จึงทำให้เกิดการแบ่งพิมพ์ออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์บล็อกเคลื่อน และ พิมพ์บล็อกไม่เคลื่อน ซึ่งจะเป็นทั้งการสร้างครั้งแรกและสร้างเพิ่มครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์




พระกริ่งฟ้าผ่า หลวงพ่อกึ๋น วัดดอนยานนาวา

"พระกริ่งฟ้าผ่า วัดดอนยานนาวา นับเป็นพระกริ่งรุ่นเก่าอายุเกือบ 80 ปี เป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวาง ด้วยพุทธานุภาพเป็นที่ปรากฏเลื่องลือ และเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหนึ่งในพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ)  ซึ่งปัจจุบันหาดูหาเช่าได้ยากยิ่ง"

พระกริ่งฟ้าผ่า วัดดอนยานนาวา ถึงแม้จะออกโดยพระครูกัลยาณวิสุทธิ์ หรือที่รู้จักมักคุ้นในนาม หลวงพ่อกึ๋น เจ้าอาวาสวัดดอนยานนาวา แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันในแวดวงนักนิยมสะสมว่าเป็นหนึ่งในพระกริ่งสายวัดสุทัศน์  เนื่องด้วยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงมอบแผ่นทองลงอักขระและชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าๆ ที่สะสมไว้ เพื่อใช้เป็นชนวนในการหล่อ และทรงเป็นประธานในพิธีเททองและพุทธาภิเษกอีกด้วย

หลวงพ่อกึ๋น มีเชื้อสายชาวทวาย เกิดที่บ้านทวาย เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนยานนาวา สืบต่อจากพระอุปัชฌาย์จั่น หรือท่านใหญ่ เจ้าอาวาสรูปเดิมซึ่งมรณภาพ ท่านปกครองดูแลวัดเป็นเวลาหลายสิบปี มีเกียรติคุณในทางสมาธิภาวนาและเข้มขลังในวิทยาอาคม นับเป็นหนึ่งในบรรดาเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคมเข้มขลังในยุคนั้นทีเดียว โดยได้รับการถ่ายทอดมาจากพระอาจารย์ชื่อดังผู้มีวิทยาอาคมแก่กล้า คือ พระอุปัชฌาย์จั่น และอาจารย์เปี่ยม

เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายและมี ลูกศิษย์ลูกหามากมาย มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2507

ปี พ.ศ.2480 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามอินโดจีน สมัยนั้นท่านเป็น "พระครูกึ๋น" ในฐานะที่ท่านเคยเป็นทหารมาก่อน จึงมีความปรารถนาที่จะช่วยประเทศชาติตามวิสัยที่สมณเพศพึงกระทำได้ ปรารภที่จะสร้าง พระกริ่งประภามณฑล เพื่อแจกจ่ายให้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาและลูกบ้านทวายที่ไปออกไปสู้รบ ท่านจึงเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ณ วัดสุทัศนเทพวราราม เพื่อทูลขออนุญาตจัดสร้างและอาราธนาทรงเป็นประธานจุดเทียนชัยและกำกับการบวงสรวงจนเสร็จพิธี ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ประทานอนุญาตให้จัดสร้าง พร้อมมอบแผ่นทองลงอักขระและชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าๆ ที่สะสมไว้เพื่อใช้เป็นชนวนในการหล่ออีกด้วย

พิธีเททองและพุทธาภิเษกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ โดยในขณะทำพิธีได้เกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์ขึ้นถึงสองครั้งสองคราต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) และผู้มาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

ครั้งแรก จู่ๆ ท้องฟ้าที่สว่างไสวก็กลับมืดครึ้มลง แล้วเกิดอสุนีบาตผ่าลงมากลางปริมณฑลพิธี จนเป็นที่โกลาหลแก่ผู้ร่วมพิธี แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายเลย

ครั้งที่สอง ขณะที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงจับสายสิญจน์ในพิธีเททอง สายสิญจน์เส้นหนึ่งได้ถูกลมพัดตกลงในเบ้าหลอมเนื้อโลหะที่กำลังร้อน แต่กลับไม่ไหม้ไฟ สร้างความเลื่อมใสศรัทธายิ่ง สมเด็จพระสังฆราช (แพ) จึงประทานนามพระกริ่งนี้ว่า "พระกริ่งนิรันตราย" แต่คนส่วนใหญ่มักเรียก "พระกริ่งฟ้าผ่า" ตามเหตุอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น และเรียกติดปากกันมาจนทุกวันนี้

พระกริ่งฟ้าผ่า หรือพระกริ่งนิรันตราย หลวงพ่อกึ๋น สร้างเป็นเนื้อโลหะผสมทอง ด้วยวิธีการเททองหล่อแบบโบราณ และบรรจุกริ่งในตัว เหมือนพระกริ่งวัดสุทัศน์ วรรณะจะออกเหลืองอมน้ำตาล ที่อมเขียวจะมีจำนวนน้อย มี 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แต่พุทธลักษณะองค์พระจะเหมือนกันทุกประการ ดังนี้

- องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร เหนืออาสนะบัวคว่ำบัวหงาย 7 กลีบ ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบบัวจีน
- ด้านหลังพระเศียรเป็นประภามณฑล ลักษณะกลม ประดับด้วยเม็ดไข่ปลานูน หลังประภามณฑลแบนเรียบ มีจารอักขระขอม ตัวอุ  เกือบทุกองค์
- พระเกศเป็นหนามขนุน
- พระพักตร์ค่อนข้างยาวรี คล้ายผลมะตูม
- พระเนตรเป็นแบบ เนตรเนื้อ
- พระนลาฏปรากฏอุณาโลม  ซึ่งมีทั้งแบบเม็ดไข่ปลานูน และรอยตอกด้วยตุ๊ดตู่ลึกลงไป
- พระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำมนต์
- หน้าพระเพลาเป็นผ้าทิพย์

พระกริ่งฟ้าผ่า หลวงพ่อกึ๋น วัดดอนยานนาวา นับเป็นพระกริ่งรุ่นเก่าที่เป็นที่นิยมสะสมอย่างสูงมาแต่อดีต ของทำเทียมเลียนแบบก็มีมาก จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจ ขอแนะนำเอกลักษณ์เฉพาะประการสำคัญในการพิจารณาเบื้องต้นก็คือ ด้วยความเก่าแก่ขององค์พระ ซึ่งถ้านับถึงปัจจุบันก็ราว 79 ปี

ดังนั้น เมื่อนำแว่นขยายมาส่องดู จะสังเกตเห็นผิวขององค์พระเป็นลายมุ้งละเอียดครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2559 11:58:09 »

.


พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

เอ่ยถึงพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีลายกนก องค์ที่ขึ้นปกจนเป็นดาราคุ้นหน้า แม้วันนี้จะมีซุ้มกอพิมพ์ใหญ่องค์สวยคมสมบูรณ์ เปิดโฉมอีกหลายองค์ในวงการ เช่น 4 องค์ใน รังของเสี่ยวิชัย คิง เพาเวอร์ ก็ยังต้องนึกถึง องค์ “เจ้าเงาะ” อยู่ดี
เจ้าของคนแรก คุณเชียร ธีรศานต์ ข้าราชการกรมป่าไม้ ดั้นด้นค้นหาพระเมืองเหนือ เริ่มที่พระรอด ถ่ายภาพเปรียบเทียบนับร้อยองค์ จึงกล้าแยกพระรอดออกเป็น พิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก ต้อ ตื้น วงการถือเป็นมาตรฐานการดูพระรอด ถึงวันนี้
พร้อมกับการหาพระรอด คุณเชียรสนใจพระกรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ได้พระแท้เปลี่ยนมือไปเรียนรู้ เช่นองค์กำไลสามปล้อง ของอดีตผู้ว่าฯ สุชาติ องค์ตำนานของคุณจำเริญ วัฒนายากร และอีกหลายองค์ที่ลงในหนังสือภาพพระเครื่อง เล่มแรก ของ ประชุม กาญจนวัฒน์

องค์เจ้าเงาะในแถวพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ อยู่ลำดับที่ 7 แม้เป็นภาพขาวดำ ก็ยังเห็นว่า ตอนนั้นเจ้าเงาะยังเป็นเจ้าเงาะ ไม่ได้ถอดรูปเป็นพระสังข์ทองผ่องโสภา แต่ประการใด

หนังสือคู่มือศึกษาพระเครื่อง พระรอด วัดมหาวัน พระซุ้มกอทุ่งเศรษฐี พิมพ์ปี 2510 คุณเชียร เขียนว่า ปี 2509 ช่วงเวลาที่เพื่อนๆ นักนิยมพระ ขอแบ่งซุ้มกอไปหมด เจอซุ้มกอองค์นี้ที่นครสวรรค์ สภาพพระมีคราบกรุ ราดำ หนาทั้งองค์
ได้พระมาในราคาหมื่นเศษนิดหน่อย พยายามล้างคราบ-รา พระออกได้ไปชั้นหนึ่ง แต่สภาพพระก็ยังเป็นเจ้าเงาะ ต่อมาคุณเชียรตัดสินใจล้าง ใช้ไม้จิ้มฟันจุ่มน้ำยาล้างห้องน้ำยี่ห้อโอไบร์ท ค่อยๆ เขี่ยคราบ-รา ออก รวม 11 ครั้ง ผลก็คือ เจ้าเงาะถอดรูปเป็นพระสังข์ หน้าตาทรวดทรงองค์เอวสวยคมสมบูรณ์ ขึ้นปกหนังสือพระเครื่องเล่มมาตรฐาน สร้างประวัติศาสตร์ ยกระดับพระเครื่องเงินล้าน เมื่อคุณนิยม อสุนี เจรจาแบ่งปันไป

คนในวงการเล่าลือกัน ราคา 1 ล้าน 5 แสน ผมฟังจากปากคุณเชียรเอง คุณนิยม ได้ไปในเงื่อนไขจ่ายสด 1 ล้าน 5 หมื่น
ประสบการณ์ในการล้างพระ คุณเชียรเอามาเขียนเป็นหนังสืออีกเล่ม ให้ความรู้เรื่องพระซุ้มกอ เผื่อแผ่ไปถึงพระทุ่งเศรษฐีพิมพ์อื่น พระซุ้มกอ เผาด้วยไฟอ่อนแบบเผาเผือกมัน ผลที่ออกมา เปลือกไหม้ไส้ดิบ พระหักหลายองค์ไส้กลางสีดำ
ซุ้มกอไม่มีกนก สีออกดำ ความจริงอาจไม่ได้เผาเลยหรือเผาถูกไฟน้อย

หลักความรู้ใหม่ที่คุณเชียรวางให้วงการคือ สีและความแข็งและสภาพของพระเนื้อดินเปลี่ยนแปลงไป ตามระยะเวลาการถูกเผา

ขั้นที่ 1 ความร้อนขั้นเกรียม ขั้นที่ 2 ความร้อนขั้นอิฐสุก ขั้นที่ 3 ความร้อนขั้นอิฐสุกดี ขั้นที่ 4 ความร้อนขั้นเผาจาน และขั้นที่ 5 ความร้อนขั้นเนื้อละลาย

พระซุ้มกอ เผาความร้อนต่ำ อยู่ในขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ขี้กรุคือดินละลาย น้ำจึงซึมเข้าเกาะเนื้อได้ง่าย นี่คือที่มาของขี้กรุ และหากพระฝังอยู่ในดินชุ่มน้ำ ราดำ พืชชนิดหนึ่ง ก็เกาะและขยายตัว

“พระเนื้ออิฐ ราดำชอบมาก” คุณเชียรว่า “พระซุ้มกอกรุฤาษี หรือกรุพิกุล มีราดำหนามากทุกองค์”

นักปลอมพระมักใช้รักหรือสีเสียดทำราดำปลอมปิดร่องรอย จึงต้องหาพระแท้ดูราดำให้ติดตา ราดำตอนถูกน้ำจะฟูและสียิ่งดำ แต่เมื่อแห้งจะเรียบ และสีดำปนน้ำตาลไหม้ เหมือนสีปีกกว่าง

พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ องค์ในภาพ พิมพ์และคราบและราหนาเป็นกรุฤาษี พิมพ์กำไลปล้องเดียว เห็นสองตา แต่จมูกปากเห็นรางๆ ส่วนที่น่าศึกษาและน่าเทียบเคียง ก็คือ ขี้กรุ-ราดำ ยังเกาะเต็ม เหมือนองค์เจ้าเงาะ ตอนยังไม่ถอดรูป

คำเตือน สำหรับคนชอบพระซุ้มกอสวย หลายองค์ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือเล่มหนาๆ เป็นซุ้มกอแกะตา องค์หนึ่งคุ้นหน้าแกะทั้งตาจมูกปาก เปลี่ยนไปแล้วสามมือ เจ้าของทั้งคนที่สองและคนสุดท้าย ดูเหมือนจะไม่รู้

ความยากสำหรับนักเลงพระเครื่องอยู่ตรงนี้ ได้พระแท้มาแล้ว มีเซียนใหญ่รับรองแต่เขารับรองแค่พระแท้
เรื่องพระเสริมสวยและพระอุดซ่อม เป็นอีกไต๋ของเซียน เซียนธรรมดาจะขึ้นระดับถือแส้เหาะขึ้นฟ้าไปเป็นเทวดาหรือไม่เขาวัดกันด้วยวิทยายุทธชุดนี้.




พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ - ความลับจากฝ้ารัก

พระสมเด็จวัดระฆังห้า แม่พิมพ์มาตรฐาน พิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ฐานแซม เกศบัวตูม และปรกโพธิ์ ที่เปลี่ยนมือซื้อขาย ปรากฏในหนังสือภาพพระสีเกือบทุกองค์ลงรักปิดทอง

องค์ที่เกลี้ยงเกลา ขาวผ่อง อย่างพิมพ์ใหญ่เกศสะบัด หรือทรงเจดีย์องค์เจ๊แจ๋วนั้น หากส่องให้ดีๆ ก็อาจเห็นร่องรอยเศษรักเป็นจุดอยู่ในซอกลึกหลุมเล็ก ยืนยันการล้างรักออกด้วยน้ำยาเคมี ที่ถือว่าล้างถูกวิธีในยุคหลังๆ

การเอารักออกในยุคแรกๆ ยุคที่ไม่มีทินเนอร์ ไม่มีน้ำยาล้างสี มักใช้ของมีคมขูดเขี่ย ซึ่งก็มักจะทิ้งรอย “ขนแมว” มากน้อยเอาไว้ แต่ก็เป็นหลักฐานอีกประการ ยืนยันพระแท้

ครู “ตรียัมปวาย” ให้หลักไว้ว่า การลงรักเก่าทองเก่าหมายถึง การปฏิบัติต่อพระในระยะแรกๆ เมื่อสร้างเสร็จ และเมื่อเนื้อรักบางๆ ที่ฉาบเนื้อพระได้ล่อนหลุดออกจากผิวเนื้อไปแล้ว หากเป็นประเภทเนื้อหนึกนุ่ม เนื้อจะดูดเอาวรรณะของรักซาบซึมลงไปใต้ผิวเนื้อ ทำให้วรรณะของพระหม่นคล้ำจัดขึ้น นอกจากนั้น เศษรักเก่าทองเก่ายังติดอยู่ ตามซอกเล็กๆน้อยๆ ทำให้วรรณะของพระเด่นงามขึ้นอีกเป็นอันมาก ถ้าเป็นประเภทเนื้อหนึกแกร่ง เนื้อรักก็จะแทรกอยู่กับริ้วรอย การแตกลายงา เรียกว่าร่องเลขารัก ทำให้วรรณะของเนื้อที่ค่อนข้างขาวใสสลับกับแววหม่น และวรรณะเลือดหมูของร่องเลขารัก เป็นลักษณะลายพร้อย

ยึดหลักครู แล้วเปิดดูหนังสือภาพพระสมเด็จเล่มใหญ่ ไล่เลียงไปทีละองค์ พิมพ์ใหญ่องค์ที่เหลือรักทองเกือบเต็มองค์ เดิมเป็นของคุณนิยม อสุนี แทบจะมีองค์เดียว บางองค์เจ้าของจงใจถ่ายสภาพที่ยังมีรักไว้ เมื่อลอกรักออกแล้วก็ได้องค์ใหม่เกลี้ยงเกลา ดูผิวเผินขาวสะอาด  ในผิวเกลี้ยงเกลาขาวสะอาดนั้นมีความจริงที่ซ่อนเร้น มือพระสมเด็จชั้นเซียนรู้กันทั้งนั้น ระหว่างการลอกการล้างหรือการจุ่มน้ำอุ่น จุ่มน้ำยาทำความสะอาดในบางครั้ง น้ำจะเข้าไปปฏิกิริยากับ “ฝ้ารัก” ที่ “ฝังใน” ทำให้มองเห็น “แดง” ไปทั้งองค์ แต่เมื่อพระ “แห้ง” สีแดงก็จมหายเหลือฝ้าส่วนที่หนา หรือชิ้นรักที่ซุกในร่องหลุมเล็ก ขอบเส้นองค์หรือซุ้ม ให้เป็นทั้งเสน่ห์ เป็นความงาม ยืนยันหลักฐานเดิมๆ

พระสมเด็จองค์ใด หากจุ่มน้ำแล้ว ขาวยังไงก็ยังขาวโพลนอย่างนั้นไม่มีมิติสีแดงของฝ้ารักฝังใน สิทธิการิยะท่านว่า ให้สงสัยไว้ก่อนได้เลย...พระปลอม

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ทั้งหน้าหลังในภาพแม่พิมพ์มาตรฐานคุ้นตา แต่สภาพผิวดูจากภาพขาวดำ เห็นแค่สีเทาแก่-จาง ความจริง คือ “ฝ้ารักฝังใน” ที่โชว์เด่นสะดุดตาด้านหน้าเหลือชิ้นรักเล็กๆ ไว้ให้ดูบ้าง

ชิ้นรักที่เหลือด้านหลังนี่คือชิ้นรักที่หลุดล่อนเต็มที เจ้าของพระตั้งใจเหลือไว้ให้ดู จากเดิมที่เกือบเต็มแผ่นหลัง ฝ้ารักแดงหนาริมขอบตัดกับเนื้อขาวขรุขระ

ทำให้เนื้อพระองค์นี้ดูไม่มีความหนึก ไม่มีความแกร่ง ความนุ่มขาดเสน่ห์ เหมือนที่เคยเห็นในองค์อื่นๆ

พระสภาพแปลกสายตา อย่างองค์นี้แหละที่นักดูพระทั่วไปไม่กล้า จับแล้วก็วาง แต่ถ้าเป็นมือชั้นเซียน อย่างคุณวิวัฒน์ อุดมกัลยาณรักษ์ ส่องหน้าส่องหลัง ครู่เดียว ก็บอกสั้นๆ “พระองค์นี้ ดูยังไง ก็ไม่เก๊”

ไม่มีคำว่าแท้สักคำ แต่เซียนใหญ่การันตีแค่นี้ แต่เจ้าของพระก็ปลื้มใจ ถือเป็นพระคู่ใจ หาตลับทองใส่

เส้นทางของพระสมเด็จวัดระฆัง บางองค์ ก็สั้นๆ ง่ายๆ ไม่มีชื่อเจ้าของคนดังการันตี ไม่มีประวัติการซื้อขายจากแสนเป็นล้าน เป็นสิบล้านยังไม่มีราคา ก็มั่นใจนิมนต์ขึ้นคอไปไหนมาไหนได้สบายๆ

เมื่อยังไม่มีราคา ก็ไม่ต้องห่วงว่า ใครจะมาปล้นชิง จริงไหม? คุณ.




พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่องค์หักศอก

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์ในภาพ จุดสะดุดตาอยู่ที่พระลำพระกรซ้าย (ขององค์พระ) ทิ้งดิ่งเกือบเป็นเส้นตรง ลงมาถึงข้อศอก ตรงจุดหักเข้าหาพระหัตถ์แผ่วบางเหมือนจะขาด แต่ไม่ขาด

สภาพการหักศอกแบบนี้ เป็นปฏิกิริยาธรรมชาติของเนื้อปูนประสานน้ำมันตังอิ้วขณะยุบตัวไม่ใช่ข้อชี้เป็นตำหนิลับอะไร แม่พิมพ์เดียวกัน หลายองค์หักศอกติดเต็ม

ถ้ามีหนังสือภาพพระเครื่องของ ประชุม กาญจนวัฒน์ พิมพ์ เล่มแรกพิมพ์ปี 2508 หรือพิมพ์เป็นครั้งที่ 3 พัฒนาเป็นภาพพระเครื่องนี้ปี 2509 เปิดหน้าแรกๆ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์นั้นแหละ ต้นแบบองค์หักศอก  พี่ชุมเคยเขียนไว้ เจอพิมพ์ใหญ่แขนหักศอกเกือบขาดถือเป็นสัญญาณดี เห็นปุ๊บก็รู้ทันที พระแท้

พิมพ์ใหญ่หักศอกองค์แรก หายเข้ากรุผู้มีบุญไปนาน องค์ที่สอง คุ้นตา ลงพิมพ์ในหนังสือเล่มใหญ่หลายเล่ม เล่มตั้งแต่พรีเชียส ของอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ จนมาถึงเล่มพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ของทีมสีกาอ่าง ลำดับไว้องค์ที่ 35
มีเรื่องเล่า เป็นของคุณนิยม อสุนี เจ้าของโรงเหล็กย่านถนนสุขาภิบาล นิมนต์ไปเมื่อปี 2540 ด้วยราคา 14 ล้าน

ย้อนไปก่อนนั้น พระสมเด็จองค์นี้ เจ้าของชื่อ ฮกเจ็ง แซ่ตั้ง เซียนใหญ่เมืองเพชรบุรี ซื้อจากคุณสนาน กฤษณเศรณี 6.5 แสนบาท ปี 2522

ผมไปทำข่าวคดีฆ่ากำนันช้อง มีบุญตาได้จับองค์จริง จำได้ติดตา ทั้งรักทองบนผนังองค์พระและจุดหักศอกแผ่วๆ
พระองค์นี้ประกวดได้ที่ 1 ที่เพชรบุรี ปีต่อมาย้อนกลับเข้าวงการหลังคุณฮกเจ็งตาย น่าไปอยู่กับคุณนิยม อสุนี ตอนนี้

องค์ในภาพ คอลัมน์นี้ เป็นองค์น้องใหม่ จากรังสะสมผู้มีบุญท่านหนึ่ง ถือเป็นองค์หักศอก องค์ที่ 3 น่าอัศจรรย์ที่สภาพองค์พระ ทั้งเนื้อพระ ผิวพระ ร่องรอยของรักทองที่เหลืออยู่บ้างใกล้เคียงกัน
******
“ตรียัมปวาย” แยกการดูเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังไว้ เนื้อเกสร ดอกไม้ เนื้อกระแจะจันทน์ เนื้อกระยาสารท เนื้อขนมตุ้บตั้บ เนื้อปูนนุ่ม เนื้อปูนแกร่ง การดูเนื้อด้วยหลักนี้ เซียนรุ่นนี้ไม่พูดถึงกันแล้ว นี่คือหลักสมมติ สิ่งที่เห็นด้วยตาเทียบเคียงกับสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัว

องค์หักศอกใช้วิชาตรียัมปวายเทียบได้กับเนื้อเกสรดอกไม้ เนื้อนี้มิได้หมายความว่าสร้างจากผงเกสรดอกไม้ล้วนๆ หากมีความหมายเพียงว่าเป็นเนื้อที่กอปรด้วยอนุภาคมวลสารอันละเอียดนุ่มนวล อุปมาดั่งมวลเกสรบุปผชาตินานาพรรณ

ดูภาพพระไป จินตนาการตามไป ลักษณะเด่น ความละเอียดเป็นจุลธุลี คลุกเคล้าสมานกันและกระจายไปตลอดเนื้อหา ไม่แยกกันเป็นหย่อมๆ วรรณะหม่นคล้ำต่างกัน ตัดกับวรรณะส่วนรวม

นอกจากเยื่อครีมของเนื้อว่านและกล้วยวรรณะหม่นๆ แทรกระคนอยู่ในมวลสาร เม็ดปูนขาวกลมๆ เท่าหัวเข็มหมุดย่อมๆ วรรณะขาวใสกว่าวรรณะส่วนรวมของเนื้อ ประปรายอย่างบางตา ถ้ามีผิวแป้งโรยพิมพ์อยู่บ้างก็จะบดบังเม็ดปูนขาว ความนุ่มฉาบอยู่โดยทั่วไปของผิวเนื้อ มีโครงสร้างแกร่ง จึงเกิดคุณสมบัติผสม ที่เรียกว่า ความหนึก

พระชุดนี้มักจะมีสัณฐานค่อนข้างบาง แต่กระแสเสียงกระทบทดสอบความพลิ้วไหวถี่ ยืนยันความหนักแน่นและเข้มหากผ่านการใช้ให้สัมผัสเหงื่อไคล จะปรากฏเงาสว่าง ที่เรียกว่าความฉ่ำจัด

องค์หักศอกองค์นี้ เป็นพระที่มีสภาพเดิมๆ ไล่เลี่ยกับสององค์ครู ความซึ้งได้จากความละเอียดนุ่มนวลของเนื้อกับแป้งโรยพิมพ์ และรักทองที่เหลือประปราย

ส่วนการแตกลายงาหรือแตกสังคโลกมีรางๆ ไม่ชัดเหมือนลายงาหรือสังคโลกจริงๆ

อยากเรียนรู้เทียบเคียงให้ครบทั้ง 3 องค์ ก็ต้องไปหาภาพมาดูกับตา ดูแล้วอาจได้แถมวิชา ดูพระสวย เส้นสายลายพิมพ์ สภาพพระแบบไหนสวยกว่า พระสวยที่โปรโมตโฆษณาสร้างราคาในวงการนั้น บางองค์ไม่สวยจริง




พระกริ่งปวเรศ

ภาพพระกริ่งปวเรศ ที่ถือว่าเป็นพระแท้ ผ่านกลไกการตลาดพระเครื่อง ตีพิมพ์ในหนังสือพระเครื่อง เท่าที่ผมติดตาม ถึงวันนี้ยังมีอยู่ราวๆ 20 องค์ ยังไม่เกินคำผู้ใหญ่ ที่บอกไว้ว่า “พระกริ่งปวเรศสร้าง 2 คราว น่าจะไม่เกิน 30 องค์”

องค์ในคอลัมน์ เป็นองค์หนึ่งที่เฝ้าดูมากว่า 10 ปี ดูตั้งแต่พระผิวถูกล้างจนกระทั่งผิวกลับดำ เห็นประกายเงินประปราย ทั้งฟอร์มองค์พระ ทั้งตำหนิเมล็ดงา ก็เข้ามาตรฐานพระกริ่งปวเรศมาตรฐานองค์วัดบวร

ผิวและประกาย กริ่งปวเรศบางและมีชั้นเดียว ขัดถึงเนื้อในสีจำปา เลยแตกต่างจากกริ่งรุ่นพรหมมุนี หรือกริ่ง 79 วัดสุทัศน์ผิวสามชั้น ผิวนอกดำขัดออกเจอขาว ขัดขาวออก จึงจะถึงเนื้อในสีนากกระจ่างสดใส

ไม่ว่าสภาพพระเป็นอย่างไร ผิวและเนื้อจะสมบูรณ์แค่ไหน วิทยายุทธ์ของคนเป็นพระจะออกมาตรงกัน บุญเหลือ ออประเสริฐ เจ้าของสมญาราชาพระกริ่ง เคยมีพระกริ่งปวเรศถึง 5 องค์ บอกรุ่นน้องว่า “ความเก่าของเนื้อพระต้องถึง”

พระแท้นั้น อย่างพระกริ่งปวเรศองค์นี้ ไม่บอกสักครั้งก็ได้ เป็นพระใคร แม้ล้างผิวเมื่อสิบปีที่แล้ว แต่พระอายุเกินร้อยปี ผมเคยนิยาม “พระแท้ยิ่งล้างยิ่งเก่า” ในซอกผิวเก่าก็เก่ายังงั้น ตรงผิวที่ขัดล้างกระแสที่ออกมาก็ยังไม่ทิ้งความเก่า

ถ้าหาพระปลอมฝีมือ ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ มาเทียบเคียงได้ ดูแป๊บเดียวก็รู้

พระกริ่งปวเรศฯ องค์แรก ที่เปิดโฉมในวงการ คือองค์หม่อมล้ำ (ม.ร.ว.ล้ำเลิศ หัสดินทร ณ อยุธยา) ประชุม กาญจนวัฒน์ เขียนแนะนำไว้ในหนังสืองานศพ คุณนายสร้อยทอง วัฒนายากร พ.ศ.2414

ศักดิ์ สุริยัน เอามาเขียนอีกครั้งในหนังสืองานศพ พระยาชลประทานธนารักษ์ (ชลปทาน โหตรภวานนท์) ปี 2415 พร้อมกับองค์ครู “วัดบวร” และอีกองค์เป็นองค์ที่สาม

องค์นี้เค้าหน้าไปทางองค์ที่เคยใช้ชื่อตำรวจใหญ่ชื่อจักรทิพย์ เป็นเจ้าของ จนไปสู่ผู้ครอบครองคนล่า คิงเพาเวอร์
คเณศร์พร ฉบับ เม.ย.ปี 2535 สัมภาษณ์ บุญเหลือ ออประเสริฐ เอาองค์ “จักรทิพย์” มาพิมพ์ไว้ กับองค์คุณบุญเหลือ รวมเป็นสี่ องค์ที่สี่น่าสนใจเพราะเป็นองค์คู่องค์ครูวัดบวร เค้าหน้าไปกันได้ แต่ฟอร์มทั้งองค์แตกต่างกันมาก

เช่นก้นไม่เป็นรูปไข่แต่ออกกลม เหมือนกริ่งวัดสุทัศน์ปี 2479

องค์นี้ยังเป็นองค์ปริศนา ถ้ามีโอกาสผมจะไปกราบท่านเจ้าคุณวัดบวรฯ ขอดูให้กระจ่างตาเป็นความรู้มาเผื่อแผ่ถึงคนรักพระกริ่งว่า ฟอร์มพระกริ่งปวเรศไม่ใช่มีแค่องค์ครู ในเก๋งดินเผาวัดบวรที่เราเห็นกันอยู่องค์เดียว องค์น้องใหม่ขึ้นปกหนังสือโหมโรง เนื้อเหลือง  เจ้าของ เล็ก รูปหล่อ ก็น่าสนใจ ได้ข่าวว่านักธุรกิจคนชอบพระชาวฮ่องกงกำลังต่อสายราคา ว่ากันว่าเริ่มคุยกันที่ 24 ล้าน

อย่าแปลกใจ พระกริ่งปวเรศ มาตรฐานวงการเขาเริ่มคุยกันราคานี้

ทั้งบุญเหลือ ออประเสริฐ ทั้งเล็ก รูปหล่อ เข้าใจคำว่า “เนื้อพระต้องเก่าถึง” และยิ่งเข้าใจเรื่องรายละเอียดองค์พระว่า หล่อมาไม่สมบูรณ์ต้อง “แต่ง” ทุกองค์ จึงเอาองค์หนึ่งมาเป็นครู ดูให้เหมือนอีกองค์หนึ่งไม่ได้

หากดูฝีมือแต่ง บุญเหลือ ออประเสริฐ ว่า มีสองฝีมือ แต่แม้เป็นช่างฝีมือเดียวกัน ตั้งใจแต่งไปทางเดียวกัน เล็ก รูปหล่อ ก็บอกว่าก็ยังแค่ “คล้ายกัน” ไม่เหมือนกันเป๊ะๆ ตำหนิตรงนั้น ตรงนี้ แบบพิมพ์เหรียญเลยสักองค์เดียว กระทั่ง “เมล็ดงา” ด้านหลังฐานพระ ตำหนิลับของช่างแต่งโบราณ มาถึงวันนี้ก็ไม่ลับอะไรอีกแล้ว พระปลอมทุกฝีมือทำได้ใกล้เคียง แต่ก็ใกล้จนเกินไป ตำหนิเมล็ดงาจริงที่ตอนเห็นกันน้อยองค์ คุยกันว่า ต้อง “ตอกปัง” ทีเดียว รอยเดียวนั้น สององค์ดังในรังคิงเพาเวอร์ องค์แรก ตอกซ้ำสองครั้ง องค์ที่สอง ตอกซ้ำสามครั้ง ความจริงเชิงประจักษ์เรื่อง “เมล็ดงา” จึงแตกหน่อเป็นความรู้ใหม่

องค์ที่รอยตำหนิเมล็ดงาเขยื้อนนั้น ดูจะเป็นตราประทับพระแท้ได้มากกว่าพระเก๊

จึงพอสรุปได้ว่า ในสายตาคนเป็นพระ การดูพระแท้ไม่ดูแค่จุดเดียว ต้องดูองค์รวม เนื้อเก่าสมอายุ ผิว หรือกระแส แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน หากเป็นพระแท้ไม่ว่าอยู่กับใคร ก็ต้องเป็นพระแท้วันยังค่ำ.




สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ฐานแซม

ก็รู้ๆ กันคุ้นตากัน ห้าแม่พิมพ์มาตรฐานของสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ฐานแซม เกศบัวตูม และปรกโพธิ์นั้น ในฐานหลักสามชั้น มีเส้นแซมเรียวเล็กและคมอยู่ทุกพิมพ์

พิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ส่วนใหญ่ เห็นเส้นแซมใต้ฐานชั้นบนเส้นเดียว

พิมพ์ฐานแซม เกศบัวตูม ปรกโพธิ์ ติดสองเส้น แต่วงการเลือกเรียกฐานแซมไว้พิมพ์เดียว ที่เหลือเกศบัวตูม ปรกโพธิ์ ถึงมีแซมสองเส้น ก็เป็นที่เข้าใจ

เมื่อเอ่ย พิมพ์ใหญ่ฐานแซม จึงน่าจะเกิดคำถาม พิมพ์ใหญ่มีฐานแซม 2 เส้น เหมือนพิมพ์ฐานแซม มีจริงหรือ
คำตอบ มีจริง และไม่มีแค่เหมือนฐานแซมยังมีพิมพ์ใหญ่ฐานคู่อีกด้วย

เริ่มกันที่หลักการ คือความเป็นจริงของแม่พิมพ์เดิมก่อน แม่พิมพ์ฝีมือหลวงวิจารณ์ เจียระไน ช่างหลวงนั้น ทั้ง 5 แม่พิมพ์มาตรฐานวัดระฆัง รวมเพิ่มอีก 4 พิมพ์บางขุนพรหม เส้นด้าย สังฆาฏิ ฐานคู่ และเศียรบาตรอกครุฑ เป็น 9 วันนี้พอจะรู้กันแล้ว ช่างแกะไว้ครบเครื่อง มีหูตาจมูกปาก เส้นสังฆาฏิ แยกสองพระบาทซ้อนกันคมชัด  ถึงฐานสามชั้น ตามมูลสูตรของอาสนะ ย่อส่วนจากฐานพระประธานในโบสถ์ ฐานชั้นบน คือหน้ากระดานตัวบน บัวหงาย และท้องไม้ ฐานชั้นกลาง คือฐานสิงห์ ส่วนกลางมีสันอกไก่ และคมขวาน ฐานชั้นล่าง คือหน้ากระดานตัวล่าง  ด้วยมูลสูตรนี้ ช่างตั้งใจแกะ เส้นแซม 2 เส้นไว้ให้ทุกพิมพ์

เพียงแต่เมื่อเนื้อพระที่ผสมด้วยปูนเปลือกหอยกับน้ำมันตังอิ้วเริ่มแห้ง ทำให้องค์พระยุบตัว ส่วนที่เป็นหน้าตา สังฆาฏิ การซ้อนเส้นพระบาทหายไป เส้นแซมบางพิมพ์เหลือแซมเส้นเดียว บางพิมพ์หายไปเลย

ครู “ตรียัมปวาย” จำแนกแบบพระอาสนะ พิมพ์ใหญ่ไว้ 4 แบบ นอกจากแบบธรรมดา ที่เห็นเส้นแซมติดพระบาท เส้นเดียวบ้าง ไม่ติดเลยบ้าง แบบโค้ง เส้นฐานโค้งรับพระเพลาโค้งแล้ว ยังมีแบบแซมและแบบฐานคู่

แบบแซม เหลือบสายตาไปดูภาพพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ในคอลัมน์ องค์นี้ติดเส้นกรอบกระจกสามด้าน จก สิ่งที่แปลกตากว่าพิมพ์ใหญ่องค์อื่น ก็คือ ติดเส้นแซมสองเส้น ครูสอนให้รู้จักพิมพ์ใหญ่ฐานแซม แล้วอธิบาย ฐานทั้งสามมีความนูนหนามาก เว้นช่องไฟระหว่างชั้นค่อนข้างแน่นทึบกว่าแบบอื่น ปรากฏเส้นขีดแซมบางๆ เป็นทิวขึ้นมา 2 เส้น ระหว่างพระเพลากับฐานชั้นบนเส้นหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นนิสีทนะ ระหว่างฐานชั้นบนกับฐานชั้นกลางทำหน้าที่เป็นบัวลูกแก้ว อีกเส้นหนึ่ง เส้นขีดทิวทั้งสอง ไม่คมชัดเท่ากับของพิมพ์ทรงฐานแซม

ใครมีหนังสือ ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องเล่ม 1 พระสมเด็จฯ ลองเปิดดู มีภาพสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่แบบเขื่อง เส้นแซม 2 เส้น ภาพที่ 1 และภาพที่ 17 ถึงภาพเล็กขาวดำ ไม่ชัด ก็ดูให้ดูเป็นแนวทาง ส่วนฐานแซมแบบคู่นั้น อยู่ที่ภาพองค์ที่ 13

ยึดหลักครูแล้วหันมาตรวจสอบกับประสบการณ์จริง ภาพพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ที่เห็นกันแล้วหลายร้อยองค์ ในหนังสือหลายเล่ม ก็เริ่มเห็นว่า หลายองค์ที่คุ้นตามีเส้นแซมเส้นที่ 2 อยู่รางๆ  พิมพ์ใหญ่ฐานแซมองค์หน้าใหม่ พิมพ์ในหนังสือโหมโรง ของ ต่อ ดวงวิชัย ยึดเป็นองค์ครูได้  อีกองค์อยู่ในคอ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รักใคร่กันนับถือกัน ขอท่านดูคงได้ดู

วันนี้ ดูภาพพิมพ์ใหญ่ฐานแซมให้เห็นกับตาอีกองค์ เก็บสะสมเป็นปมความรู้เอาไว้ต่อจิ๊กซอว์กับความรู้ เรื่องเนื้อหา ริ้วรอยสัญลักษณ์ ธรรมชาติทั้งด้านหน้าและหลังองค์อื่น พิมพ์อื่นๆ ต่อ

พระมูลค่ายิ่งกว่าเพชรเม็ดสวยๆ เชื่อเซียนใช้เงินซื้ออย่างเดียว ยังไม่พอ ต้องเรียนรู้ด้วยตา พระสำคัญนั้น เชื่อเซียนได้ไม่ว่า แต่จะดีกว่าถ้าเชื่อตาและใจตัวเอง.




พระกริ่ง พรหมมุนี วัดสุทัศน์ฯ
คนรักพระกริ่งรุ่นใหม่ๆ ที่เผลอขึ้นชั้นไปรัก พระกริ่งปวเรศ วัดบวรฯ ซึ่งถ้าเป็นบันได ก็ถือเป็นชั้นยอดสุดนั้น ถ้าไม่มีบุญบารมีหรือมีเงินถังจริงๆ จะถูกหาว่าไม่เจียมกะลาหัว โทษฐานที่ไม่ขึ้นบันไดขั้นล่างๆ ขั้นพื้นฐาน คือ พระกริ่งสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ เสียก่อน แต่กว่าจะผ่านบันไดขั้นพื้นฐาน เรียนรู้เรื่องพระกริ่งวัดสุทัศน์ขึ้นไปได้ ก็ใช่ว่าจะง่ายๆ

เริ่มต้นแค่รู้จักรุ่น รุ่นแรก เทพโมลี เรียกตามสมณศักดิ์เจ้าคุณ รุ่นสองธรรมโกษาจารย์ พรหมมุนี (รุ่นนี้ มีทั้งรุ่นเขมรน้อย รุ่นกริ่งใหญ่) รุ่นพุฒาจารย์ รุ่นวันรัต จนถึงหลายรุ่น ที่สร้างตอนท่านเป็นสมเด็จพระสังฆราช จบรุ่นสุดท้าย เชียงตุง
ทุกรุ่น ท่านสร้างตามกำลังวันบ้าง เพิ่มจำนวนตามแรงศรัทธาของศิษย์บ้าง รวมๆ กันก็แค่ราวๆ 2 พันองค์ (ไม่รวมรุ่นหน้าอินเดีย ที่แยกเป็นกรณีพิเศษอีก 4 พันองค์)

นักเล่นรุ่นใหม่ ฟังแค่ชื่อรุ่นก็เวียนหัวตาลาย หากต้องไปเรียนรู้แต่ละรุ่น แต่ละพิมพ์ แต่ละเนื้อ การแต่งแต่ละฝีมือช่าง หาของจริงดูก็ยาก ยึดหลักตำหนิเป๊ะๆแบบเหรียญก็ไม่ได้

ศรัทธาไม่กล้าแข็ง ไม่มีอาจารย์ดีคอยกำกับเวที เจอแต่ของปลอม ก็มักต้องถอดใจถอยหนีไปเลย

ภาพพระกริ่งวัดสุทัศน์ในคอลัมน์นี้ เป็นรุ่นมหานิยม เรียกรุ่นพรหมมุนี น่าจะอยู่ในกลุ่มที่สร้างราวๆ 60 องค์ ถวายพระที่นิมนต์มาในงานฉลองอายุ 5 รอบ ปี 2459 วงการเรียกอีกชื่อว่า รุ่นถวายสำรับ

สภาพพระ ถ้าเห็นภาพสี ใช้คำบรรยายของ คุณบุญเหลือ ออประเสริฐ เนื้อนวโลหะ ภายในสีนากกลับขาว แล้วกลับดำสนิท สภาพพิมพ์ยังคงเค้าเดิมๆ เอาไว้

เค้าเดิมก็คือแม่พิมพ์รุ่นพรหมมุนี สมเด็จฯท่านเพิ่งเริ่มใช้แม่พิมพ์ใหม่ ใช้ต้นแบบพระกริ่งใหญ่ องค์ของพระยาศุภกรฯ (นุ่ม วสุธาร) กริ่งใหญ่องค์นี้ ที่ขมับซ้าย มีไฝเม็ดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์

นักเลงพระกริ่งรู้จักกันทั้งนั้น เพราะท่านยังใช้ไปอีกหลายรุ่น จนถึงรุ่นเชียงตุง

ย้อนไปเล่าตำนานการสร้างพระกริ่งอีกที กริ่งปวเรศ วัดบวรฯนั้น สมเด็จกรมพระปวเรศฯ ท่านเอากริ่งใหญ่เป็นต้นเค้า เพิ่มบัวหลังเข้าไป สังฆราชแพท่านสร้างพระกริ่งวัดสุทัศน์บ้าง ท่านเอาแบบพระกริ่งปวเรศ แต่ตัดบัวหลังออก ก็ออกมาเป็นกริ่งรุ่นเทพโมลี ที่ว่ากันว่ามีอยู่แค่ 9 องค์ รุ่นต่อมาธรรมโกษา เค้ากริ่งปวเรศ ยังชัด มารุ่นเขมรน้อย เอากริ่งหนองแสมาเป็นต้นแบบ หล่อไม่ค่อยติดพิมพ์ ช่างแต่งไม่เรียบร้อยเอาเลย

ปีแซยิด 60 ปี ท่านจึงใช้แม่พิมพ์กริ่งใหญ่ ถอดมาทั้งดุ้น นี่คือกริ่งพรหมมุนี ใช้แม่พิมพ์นี้เรื่อยมา จนถึงรุ่นพุฒาจารย์ เค้ากริ่งใหญ่ก็ยังอยู่ จนราวปี 2476 เค้ากริ่งใหญ่เริ่มเปลี่ยนไป

เล่ากันว่า เหตุเพราะพระยาศุภกรป่วย หากริ่งต้นแบบไม่เจอ ช่างก็เอาพระกริ่งรุ่นเก่าเป็นเค้า ตกแต่งเพิ่มเติม ปี 2478 เอากริ่งปวเรศ มาเป็นแม่พิมพ์อีกที แต่หล่อไม่ค่อยดี ปี 2479 ถือเป็นรุ่นวันรัตแล้ว องค์พระเริ่มยาวชะลูด

ตัดตอนไปถึงปีฉลองพระชนมายุ 84 ปี ฉลองสุพรรณบัตรสมเด็จพระสังฆราช ปี 2483 ได้ช่างหรัส พัฒนางกูร แกะแม่พิมพ์ใหม่ ต่างจากแบบพิมพ์กริ่งใหญ่ไปเลย ใช้ในรุ่น พุทธนิมิต ปี 2484 และใช้อีกในปี 2485

ปี 2486 ปีสุดท้าย สมเด็จพระสังฆราชแพก็ได้พระกริ่งใหญ่ องค์มีไฝที่ขมับมาเป็นต้นแบบ รุ่นเชียงตุงอีกครั้ง
ไฝตรงนี้ แม้ช่างตั้งใจแต่งให้สวยแค่ไหน ช่างก็ยังตั้งใจทิ้งไว้

รู้แค่นี้ ก็ต้องรู้ต่อไป แม่พิมพ์กริ่งใหญ่องค์มีไฝ เจ้าคุณศรี (สนธ์) ท่านก็ใช้หลายรุ่น พระกริ่งรุ่นดังๆ โดยเฉพาะรุ่นพรหมมุนีซึ่งราคาน่าจะเกินล้านไปนาน ของปลอมออกมาแล้ว เนื้อและกระแสเหมือนจริงยังกะแฝดคนละฝา

คำแนะนำ คนรักพระกริ่งรุ่นละอ่อน วิทยายุทธ์พระกริ่งทั้งลึกทั้งซับซ้อน ยิ่งกว่าผ่านด่าน 18 อรหันต์ เชื่อเซียนเอาไว้ก่อนดีกว่า แพงแสนแพงแค่ไหน ก็ต้องกัดฟัน เพราะหากแน่ใจพกเงินไปซื้อเอง จอดไม่ต้องแจวมาแล้วหลายราย.




เมฆสิทธิ์ วัดสุทัศน์

ส่วนผสมเนื้อนวโลหะ พระกริ่ง ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ มีบันทึกชัดเจน เริ่มจาก ชิน 1 บาท จ้าวน้ำเงิน 2 บาท  เงิน 8 บาท และทอง 9 บาท ผิวพระกริ่งยุคแรกๆจึงออกมาเป็นสามชั้น ภายในสีนาก กลับขาว แล้วกลับดำสนิท
นี่คือ เนื้อสำริดดำ “เนื้อครู” วงการถือเป็นเนื้อหลัก  แต่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านขึ้นชื่อเป็นจอมยุทธ์ ในแวดวงนักเล่นแร่แปรธาตุ มีบันทึกประโยคหนึ่ง “หมดถ่านไปหลายลำเรือ” ช่วงเวลา “ลองของ” เปลืองถ่านของท่าน จึงปรากฏ พระกริ่งเนื้อเมฆสิทธิ์

หนังสือปกเหลือง สมาคมสำนักวัดสุทัศน์จัดพิมพ์ ปี 2517 มีภาพ (ขาวดำ) พระกริ่งรุ่นธรรมโกษาจารย์ 1 องค์ มีคำบรรยายว่า “เนื้อนวโลหะสีขาว ออกเหลืองนิดๆ พิจารณาแล้วอมเขียวนิดหน่อย ความสูง 3.6 ซม. ความกว้าง 1.9 ซม.”
ต่อมา หนังสือพระกริ่งเมืองสยาม กิจจาวาจาสัจ พิมพ์มีนาคม 2556 ก็มีพระกริ่งองค์นี้ ภาพสีสดใส เห็นแม่พิมพ์ กระแสสีผิวชัดเจน ข้อต่างมีเพียงว่า คุณกิจจาจัดพระกริ่งรุ่นนี้ไว้ก่อนรุ่นธรรมโกษาจารย์ เป็น เทพโมลี

คุณกิจจาบอกว่า พระกริ่งองค์นี้ มีประวัติการตกทอดแน่นอน เนื้อในขาวคล้ายเงินกลับเป็นสีเมฆสิทธิ์ แล้วกลับดำในที่สุด จุดที่ควรพิจารณา คือการแต่งพระเนตร ผ้าทิพย์ที่ฐานด้านหน้า  ตรงพระเนตรและผ้าทิพย์นี่เองที่ทำให้เห็นคล้อยไปเป็นรุ่นเทพโมลีได้ แต่จะเป็นเทพโมลี 1 หรือเทพโมลี 2 ที่มีบันทึกว่า ปีต่อมาสมเด็จฯท่านก็ทำเทพโมลีรุ่น 2 ฝีมือการตกแต่ง หยาบกว่ารุ่น 1

พระกริ่งวัดสุทัศน์ รุ่นลึกๆ รุ่นที่ถูกประชดว่า องค์เดียวในโลก แบบนี้ ข้อดี ก็คือนักปลอมพระไม่ค่อยเสียเวลาปลอม เพราะปลอมแล้วก็ขายไม่ได้ ข้อไม่ดีก็คือ บอกว่าแท้ แต่ไม่มีองค์อื่นเทียบเคียง เซียนใหญ่ก็ไม่เคยถือ เซียนน้อยพลอยไม่รู้จัก
ภาพพระกริ่งองค์ในคอลัมน์ ถ้าเห็นภาพสี ผิวกระแส และฝีมือการแต่ง ไปในทางเดียวกับ “องค์ครู” ชายผ้าทิพย์ ยาวแยกสองเขี้ยว เอกลักษณ์รุ่นเทพโมลี แม้ไม่ชัดเจน แต่พอเห็นเป็นเค้า

จุดที่เชื่อมโยงได้กับรุ่นเทพโมลี นอกจากเนื้อผิวกระแส ก็คือฐานบัว ที่แต่งออกไปทางชะลูดยาว

แต่ข้อที่สำคัญก็คือ รุ่นธรรมโกษาจารย์ สร้างระหว่างปี 2451-2454 ถึงเวลานี้เกินร้อยปี เนื้อพระก็ต้องเก่าถึง

ครูพระกริ่งอีกคน อาจารย์ปรีชา เอี่ยมธรรม เคยให้หลักนักเล่นพระกริ่งว่า เจอเนื้อเก่า ถึงอายุ แต่หุ่นยังไม่ให้ ถ้าไม่แพงเกินไป ซื้อเก็บเอาไว้ก่อน ค่อยๆ หาความรู้ หารุ่นทีหลัง

“จ่าเปี๊ยก” ใช้ประโยคนี้กับพระกริ่งรุ่น 2477 ฟอร์มองค์พระ คล้ายกริ่ง 79 แต่ก้นไม่ยื่นยาวเหมือนก้นแมลงสาบ เท่ากับรุ่น 79

หลักพิจารณาพระกริ่งวัดสุทัศน์ อีกข้อคือการอุดเม็ดกริ่ง ใครสงสัย “กริ่งใน” มีกระบวนการขั้นตอนใส่เม็ดกริ่ง ก่อนการหล่อองค์จริงอย่างไรควรไปหาหนังสือเล่มพระกริ่งเมืองสยาม ของ กิจจา วาจาสัจ อ่าน

การอุดเม็ดกริ่ง ในรุ่นแรกของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) อย่างรุ่นเทพโมลี ตอนนี้เริ่มมีภาพถ่ายหลายองค์ แม้มีคำบรรยายอุดแบบกริ่งในตัว แต่ภาพหลายองค์ที่เทียบเคียง บางองค์ก็เห็นปะก้นเหมือนกริ่งปวเรศ วัดบวรฯ

ทัศนะผมแน่ใจเทพโมลี องค์ปะก้น ของ หมออนุวัตร ผลบุณยรักษ์ ที่ปากน้ำ มากกว่าองค์อื่น กริ่งองค์นี้เซียนรุมสวดว่าเก๊ แต่ตามซื้อมาหลายสิบปีก็ยังซื้อไม่ได้

ความจริงสามัญของวงการพระเครื่อง ถ้าพระยังไม่อยู่ในมือเซียน ยังแท้ไม่ได้ วันนี้ก็ยังมีอยู่
ย้อนมาการอุดเม็ดกริ่ง วัดสุทัศน์ กี่รุ่นๆ ผู้รู้ท่านก็ว่า “สองรู” แต่มีข้อน่าสังเกตรุ่นแรกๆ ของท่าน “ไม่สองรู” เสมอไป รูเดียวก็มี หล่อไม่เรียบร้อยทั้งปะทั้งซ่อมใหม่ที่หลังที่ก้นก็มี

กริ่งองค์ในภาพองค์นี้ อุดเม็ดกริ่งรูเดียว ร่องรอยการอุดไม่แน่นสนิทเนียนเป็นเนื้อเดียวเหมือนรุ่นต่อๆ มา

ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเทพโมลี หรือธรรมโกษา ฯลฯ ถ้าอ่านขาด เนื้อเก่าพิมพ์ใช่ ฝีมือแต่งไปได้ แล้วใจก็รัก ทั้งไม่คิดจะขาย ก็นิมนต์ขึ้นคอได้ จอมยุทธ์ที่มีกำลังภายในลึกๆ ในวงการเล่นพระแบบไม่ง้อเซียนแบบนี้ก็ยังมี.

     พลายชุมพล - นสพ.ไทยรัฐ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กันยายน 2559 13:35:56 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2559 12:42:11 »

.


พระปิดตา หลวงพ่อแก้วพิมพ์เล็ก

ภาพในคอลัมน์ คือพระปิดตา หลวงพ่อแก้ว พิมพ์เล็ก เนื้อผงคลุกรัก (อีกพิมพ์) วัดเครือวัลย์ ชลบุรี

พิมพ์นี้เนื่องจากพระมีน้อยมาก ขนาดรังพระใหญ่ที่มีพระปิดตาหลวงพ่อแก้วเกือบทุกพิมพ์ อย่างรังคิงเพาเวอร์ ไม่มี วงการพระก็ไม่ค่อยเจอะเจอ  แต่เมื่อเจอแล้วก็ดูจะคุ้นตา เพราะเส้นสายลายพิมพ์เหมือนกับปิดตาหลวงพ่อแก้ว เนื้อตะกั่ว ซึ่งมีจำนวนมากกว่าและเล่นหากันมาก่อนด้วยราคาย่อมเยากว่า

พยัพ คำพันธุ์ บอกไว้ในหนังสือ 12 พระปิดตายอดนิยม (สำนักพิมพ์มติชน มิ.ย.2557) ว่า เมื่อวงการเริ่มเล่นพิมพ์เนื้อตะกั่วที่เชื่อกันว่าหลวงพ่อแก้วท่านทำแจกจ่ายที่เพชรบุรีก่อนธุดงค์มาอยู่ชลบุรี ก็เริ่มถกเถียงกันว่าหลวงพ่อแก้วเนื้อตะกั่วมีจริงหรือ?

จนเมื่อราว 40 ปีที่แล้ว หลวงพ่อแก้วเนื้อตะกั่วแตกกรุที่เจดีย์หน้าวัดเครือวัลย์ จึงยอมรับเล่นกันถึงปัจจุบัน

หลักการดูแม่พิมพ์ พิมพ์เล็ก เนื้อคลุกรักของพยัพ แม่พิมพ์นี้มีกระจังหน้าเหมือนพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง แต่ความคมชัดลึก ไม่เท่าพิมพ์เนื้อตะกั่ว

พิมพ์เนื้อตะกั่ว ด้านหลังบางองค์มีเหล็กจาร บางองค์ไม่มี

ด้านหลังพิมพ์เล็กคลุกรัก องค์ต้นแบบในหนังสือพยัพ เป็นแบบหลังแบบ บางองค์ในหนังสือเล่มอื่น หลังเรียบ ส่วนองค์ในคอลัมน์นี้ หลังอูม แต่เนื้อหารักทองเก่าจัดจ้านเข้าเกณฑ์มาตรฐานเซียน

เรื่องเนื้อหาส่วนผสมนั้น หลักครูพระปิดตาตรงกัน เนื้อว่านมงคลนาม 108 เช่น ไม้ไก่กุก กาฝากมะยม กาฝากมะขาม เม็ดรักจากต้นรัก ฯลฯ ตำบดกับผงที่ปลุกเสกไว้ แล้วนำมากรอง ถ้าใช้น้ำข้าวเหนียวผสมเป็นตัวประสาน พิมพ์เป็นองค์พระ แล้วเอาไปจุ่มรักก็จะเรียกว่า เนื้อจุ่มรัก ผ่านกาลเวลาร้อยกว่าปี เนื้อรักหลุดล่อน บางองค์เห็นเนื้อในสีน้ำตาลหรือออกไปทางขาวอมเหลือง  องค์หนึ่ง (พิมพ์ใหญ่) ด้านหน้า เยื่อรักเคล้ากับเนื้อ สีเข้มไปทางเนื้อกะลา แต่ด้านหลังรักหลุดล่อนไป ยังเห็นเนื้อขาวอมเหลืองชัดเจน

ส่วนองค์ที่ผสมมวลสารแล้วผสมน้ำรักเข้าไป เนื้อพระจึงออกไปทางสีดำ วงการเรียกว่า เนื้อคลุกรัก

คนที่ไม่รู้ มักบรรยายภาพว่า เนื้อคลุก (เคล้า) รัก เนื้อจุ่มรัก จนเข้าใจว่าเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ความจริงเนื้อต่างกัน ปัญหาที่จะถกเถียง ไม่ได้อยู่ที่เนื้อแบบไหน แต่อยู่ที่เนื้อเก่าแท้ ถึงอายุแค่ไหน รักทองเก่าตามเหตุผลหรือไม่

ยึดหลักเซียน อย่างพยัพ เนื้อหลวงพ่อแก้ว ส่องให้ดีๆ จะเห็นเม็ดรักสีดำหรือสีแดงโผล่ให้เห็นบ้างไม่มาก ถ้ามากให้ระวัง หลวงพ่อแก้วของแท้ในทัศนะพยัพ เนื้อละเอียด ถ้าเนื้อหยาบ เป็นของปลอม

ข้อแนะนำ พระสายหลวงพ่อแก้ว จำนวนน้อยหาของจริงหาดูเพื่อศึกษายาก องค์ที่เซียนซื้อเซียนขายใช้เป็นหลักเทียบเคียงได้แต่ต้องใช้ประสบการณ์และวิจารณญาณตัวเองเข้าช่วย

ประสบการณ์มาก เคยดูพระปิดตาเนื้อคลุกรักจุ่มรัก หลวงพ่ออื่นวัดอื่นที่มีอายุใกล้เคียงบ้างก็พอใช้เป็นหลักเทียบเคียง เพียงแต่ต้องรู้ข้อแตกต่าง เนื้อหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์แบบไหน หลวงพ่อศุข วัดมะขามเฒ่าแบบไหน

ขึ้นชื่อว่าเซียน เขาอาจไม่เป็นพระทุกเนื้อ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เขาเข้าถึงก็คือความเก่า เก่าร้อยปีอย่างไร เก่าพันปีอย่างไร เรื่องตำหนิแม่พิมพ์ที่ใช้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์กับเหรียญ หรือพระเครื่องสำคัญอย่างพระรอดในชุดเบญจภาคี เอามาใช้กับพระปิดตาหลวงพ่อแก้วได้บ้าง เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจ

พระสายนี้ทำด้วยมือ มีตัวแปรมากมาย จุดเล็ก ติ่งน้อย ยึดเป็นแนวทางได้ แต่ถ้ายึดตายตัว ก็อาจพลาดของแท้

จุดชี้ขาดพระเครื่องสำคัญ แม่พิมพ์ใช้เป็นตัวชี้นำ แต่เนื้อหาที่เก่าถึงอายุเป็นจุดชี้ขาดเก๊-แท้ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด พระองค์ที่แท้แน่นอนนั้น ควรจะไปได้ทั้งคู่ พิมพ์ก็ถูก เนื้อก็ใช่

พระปิดตาหลวงพ่อแก้วที่เข้าเกณฑ์ครบเครื่องที่ว่าดูง่ายสบายตา ราคามักแพงแสนแพง จนถูกประชดว่า เป็นพระศักดินา ของเจ้านายและผู้มีบุญญาธิการ ชาวบ้านธรรมดาอย่าฝันไขว่คว้าไปเลย




พระเนื้อผง หลวงพ่อทับ วัดทอง

หากจะกล่าวถึงพระเนื้อสำริดครบสูตร ที่เรียกเนื้อนวโลหะ สืบทอดมาจากตำรับโบราณนั้น คนในวงการรู้กันว่าเริ่มจากพระกริ่งปวเรศ วัดบวรฯ ตามด้วยพระกริ่งสมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ แล้วก็มาถึง พระมหาอุตม์ หลวงพ่อทับ (พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี) วัดทอง (สุวรรณาราม คลองบางกอกน้อย)

หลวงพ่อทับ เป็นพระครู สมเด็จสังฆราชแพ เป็นเจ้าคุณ ที่พระธรรมโกษาจารย์ นัยว่าด้วยความที่เป็นผู้สนใจทางเดียวกัน เล่ากันว่าสมเด็จสังฆราชท่านเคยเสด็จไปวัดทอง สนทนากับหลวงพ่อทับเรื่องการหลอมหล่อเนื้อพระบ่อยครั้ง

ผู้ที่ค้นคว้าสูตรนวโลหะหลวงพ่อทับ ออกมาเผยแพร่ในหนังสือพระเครื่อง คนแรกคือตรียัมปวาย ไม่นานก็มีนักเลงดีก๊อบปี้ต้นฉบับของท่านไปพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กเท่าฝ่ามือออกวางขาย

ราวๆ ปี 2512 ผมเคยไปหาตรียัมปวาย ที่บ้านหลังวัดกัลยาณ์ ฝั่งธนฯ ได้ยินท่านเอ่ยปากถามถึงนามปากกานักเลงดี  และก็แค่นั้น ดูเหมือนตอนนั้นท่านกำลังตั้งใจค้นเรื่องพระผงบึงพระยาสุเรนทร์

ผมเคยมีหนังสือเล็กเล่มนั้น ยังพอจำได้ มหาอุตม์หลวงพ่อทับ มีหลายเนื้อ นอกจากเนื้อสำริด เงิน เนื้อหลัก เนื้อเงิน เนื้อทองแดง เนื้อทองเหลือง เนื้อชิน เนื้อตะกั่ว...เมฆพัตร แล้ว ผมจำไม่ได้ว่า มี “เนื้อผง” หรือไม่

ระยะหลังๆ หนังสือภาพพระเครื่องแพร่หลาย มีภาพพระมหาอุตม์วัดทอง เนื้อผงคลุกรัก ให้เห็นหลายองค์ แต่ละองค์แทบจะเป็นพิมพ์เศียรบาตร พิมพ์เล็ก แม่พิมพ์เดียวด้านหน้า ด้านหลังมีทั้งอูมและเรียบ

จึงพอประมาณกันว่า หลวงพ่อทับท่านเลือกแม่พิมพ์สำริดองค์สวยเป็นต้นแบบกดพิมพ์ไว้ แล้วใช้พิมพ์พระเนื้อผง ออกมา เทียบกับเนื้อสำริดแล้ว จำนวนคงน้อยมาก  เนื้อผง “คลุกรัก” หลวงพ่อทับ ไปทางเดียวกับเนื้อพระหลวงพ่อแก้ว และปิดตาสายเมืองชลบุรี แต่ไม่มีใครเคยให้ความรู้ว่า หลวงพ่อทับ ท่านทำจากเนื้ออะไร ใช้ไม้ชื่อเป็นมงคล อย่างหลวงพ่อแก้ว หรือเปล่า

หลวงพ่อทับเกิด พ.ศ.2390 มรณภาพ พ.ศ.2455 ผมเชื่อความรู้อาจารย์บุญมี พิบูลย์สมบัติ จากเพชรบุรี หลวงพ่อแก้ว อายุไล่เลี่ยหลวงพ่อมี วัดพระทรง ภาพถ่ายที่พบในวัดปากทะเลใน มีตัวหนังสือ บอกว่า ร.ศ.124 อายุ 55 ถ้าปี พ.ศ.ในภาพนี้ใช่หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ รุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อทับ วัดทอง

เอาเกณฑ์อายุเป็นตัวเชื่อมโยง ชุดวิชาทำพระเนื้อผงคลุกรัก อาจารย์รุ่นนั้นท่านถึงกัน “ลองของ” “ประลองฝีมือ” กันและกัน แล้วก็เหมาเอาว่า พุทธคุณ พระเนื้อผงคลุกรัก สองวัดนี้ น่าจะออกมาทางมหาเสน่ห์ มหาลาภ เหมือนกัน

เรื่องของพระพุทธคุณในองค์พระ ไม่ค่อยมีหลักเหตุหลักผลนักหรอกครับ วงการเขาใช้หลักความเชื่อ เชื่ออย่างไหนก็ยกมืออาราธนา ท่านไปอย่างนั้น ส่วนพระท่านจะเชื่อได้แค่ไหน อย่างไร เจ้าของพระเท่านั้นที่รู้

พระมหาอุตม์ เนื้อผงคลุกรัก วัดทององค์ในคอลัมน์ แปลกตากว่าทุกองค์ที่เคยลงหนังสือ ประการแรก แม่พิมพ์ใช้พิมพ์ยันต์น่อง ประการที่สอง นอกจากลงรัก แล้วก็ยังปิดทอง รักทองเก่าถึงสมัย

เจ้าของพระไม่กล้าคุยอวดใคร ไม่รักกันจริงไม่ยอมตัดใจให้ออกมาโชว์ เพราะกลัวข้อครหา “องค์เดียวในโลก” ซึ่งมีความหมายต่อไปว่า “มึงก็เล่นของมึงไปคนเดียว”

วงการของเก่าทั่วไป กระเบื้องเครื่องถ้วย ภาพเขียน เทวรูป ชิ้นไหน ศิลปะสวยเป็นหนึ่ง อายุถึง สภาพยังดีเยี่ยม ไม่มีชิ้นไหนเทียบเคียง ถือเป็นชิ้นเดียว เรียกราคาได้ดังใจ

แต่วงการพระเครื่อง พระองค์ไหนไม่มีใครเหมือน เจ้าของพระตบะอ่อน ก็มักกลัว

แต่หากเจ้าของพระตบะดีมีวิชาไม่กลัวเสียงสวด ก็พลิกด้านเป็นของดีกว่า หายากกว่า เรียกราคาได้ สุดท้าย คุณค่าของพระก็โยงยึดอยู่กับคน.




พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่

ในพระชุดเบญจภาคี พระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระซุ้มกอ พระผงสุพรรณ  พระผงสุพรรณ ปัญหาเรื่องแม่พิมพ์ สรุปได้แน่นอน พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม

ชุดความรู้พื้นฐาน พระผงสุพรรณ ได้จาก คุณ มนัส โอภากุล ที่เขียนไว้ในหนังสือพระเมืองสุพรรณ แต่ภาพพระแท้เป็นขาวดำ ดูได้พอเป็นเค้า ตอนนั้นแค่จะแยกพิมพ์หน้าแก่-กลาง-หนุ่ม ก็ยากเต็มที คุณมนัส ให้ความรู้ เป็นภาพร่างลายเส้นพอเป็นเค้าเติมประสบการณ์ ด้วยการดูภาพพระที่ซื้อขายผ่านมือเซียน ก็ช่วยได้อีกระดับหนึ่ง

หนังสือพระผงสุพรรณ ทีมงานพระเครื่องเมืองพุทธบาท พิมพ์ ปี 2544 ถือเป็นหนังสือที่มีภาพพระผงสุพรรณชัดเจนทั้งด้านหน้า ด้านหลังมากที่สุด  การันตีด้วยยี่ห้อเซียนใหญ่ ยู่กิม บางลี่อาร์ต อ้า สุพรรณ ป๋อง สุพรรณ ถือเป็นองค์ครูได้ทุกองค์  แต่จะดูพิมพ์แล้วตัดสินพระทันทีก็ไม่ได้ พระแท้มาตรฐานวงการ เมื่อพิมพ์ใช่ เนื้อพระก็ต้องใช่

เนื้อพระผงสุพรรณแท้ สถานหนึ่ง ดำ สถานหนึ่ง แดง และบางองค์ เขียว หลายองค์เหลือง เป็นอย่างไร อธิบายด้วยร้อยพันตัวหนังสือก็ไม่เท่าดูภาพ และร้อยภาพก็คงไม่ดีเท่ากับได้หยิบจับลูบคลำและส่องด้วยตา

ผงสุพรรณหน้าแก่ เนื้อเหลืององค์หนึ่ง ในหนังสือเล่มพระเครื่องเมืองพุทธบาท สภาพช้ำ หน้าตาสึกเลี่ยน แต่ส่วนล่างตั้งแต่อกถึงเท้ายังคมชัด มีราดำจางจมในเนื้อส่วนผนัง ดูภาพรวมๆ ไม่กลมกลืนนัก

มีคนพออธิบายได้ พระองค์นี้ขัดตาเพราะเดิมทีท่อนล่างองค์พระมีไข เหมือนไขพระเนื้อชิน สีเหลืองข้นปกคลุม ส่วนบนไม่มีไข เจ้าของเลี่ยมเปิดหน้าใช้จึงสึกเฉพาะที่หน้า อาจมองว่าเป็นพิมพ์หน้าอื่น

แต่ตำหนิทุกจุดที่ติดชัด ยืนยันเป็นพิมพ์หน้าแก่

เจ้าของบอกว่าหลายเซียนดูแท้ แต่เมื่อล้างไขออก พื้นผนังท่อนบนองค์พระก็ซีดต่างจากท่อนล่างที่มีราดำ เซียนดูอีกที ตีว่าเก๊ เจ้าของใช้หมึกอินเดียนอิ๊งค์บางๆ ไล้ให้ผิวกลมกลืน พระสภาพไม่ลงตัวอย่างนี้หนีตาเซียนไม่พ้น ราว 30 ปีที่แล้ว
คุณวิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ ส่องปราดเดียวบอกแท้แต่เมื่อเอาพระไปแห่ เซียนมีชื่อหลายคน “เมิน”

วันนี้ “องค์นี้” มาอยู่ในหนังสือรวมผงสุพรรณมาตรฐาน เข้าใจว่าปัญหาแคลงใจแท้หรือไม่คงหมดไปแล้ว

ประสบการณ์จากผงสุพรรณหน้าแก่องค์นี้มีค่ามาก ให้บทเรียนไว้หลายข้อ เช่นเรื่องเนื้อ เนื้อพระผงสุพรรณหนึกแน่นแม้ต่างสี แต่ก็ไม่มีวี่แววเผาไฟ

วันนี้วงการยังเถียงกัน เนื้อผงสุพรรณเผา-ไม่เผา คุณมนัส โอภากุล สันนิษฐานว่า ไม่เผา เนื้อพระสมานด้วยน้ำอ้อย คุณราม วัชรประดิษฐ์ ว่า เผา  ประเด็นนี้ คนที่ได้หยิบจับพระด้วยมือได้ลูบได้คลำได้ล้างพระ เชื่อว่าเนื้อพระผงสุพรรณไม่ได้เผา

พระรอด และพระสกุลหริภุญชัย ทฤษฎี คุณเชียร ธีรศานต์ เผาด้วยไฟเต็มสูตรแบบเผาจาน ดำ เพราะไม่ถูกไฟ แดงไฟมาก เขียวแก่ไฟ ทฤษฎีนี้ใช้ได้กับพระนางพญา พิษณุโลก พระซุ้มกอ เผาไฟอ่อน แบบเผามัน เปลือกไหม้ไส้ดิบ
หลับตาเทียบเคียงเนื้อพระเหล่านั้น พระผงสุพรรณน่าจะเป็นพระที่ใช้ทฤษฎีผสมเย็นคือผสมด้วยน้ำอ้อยอย่างที่คุณมนัสว่า อย่าลืมว่า อิฐสถูปเจดีย์ยุคทวารวดีใช้น้ำอ้อยฉาบ แต่ประเด็นพระผงสุพรรณจะเผาหรือไม่เผาไม่สำคัญเท่ากับการได้ดูพระหลายองค์จนคุ้นตา นอกจากแม่พิมพ์แล้ว ตำหนิทุกจุด รารัก และแนวเสี้ยน ด้านหน้าตั้งแต่บนลงล่าง และที่สำคัญไม่น้อย ก็คือ รอยลายมือ ด้านหลัง

พระผงสุพรรณองค์ในคอลัมน์วันนี้ เป็นพิมพ์หน้าแก่ สภาพทั้งองค์พระ หลักฐาน ตำหนิ ทั้งหน้าหลัง ครบสูตร คนเป็นพระส่องแว่บเดียว ก็ตัดสินใจได้ ดูง่ายมากๆ

ดูพระแท้ทดสอบสายตา สั่งสมประสบการณ์ต่อไป แล้วจะรู้ด้วยตัวเอง การดูพระแท้ให้เป็น ม่ยากเย็นแสนเข็ญแต่ประการใดเลย.




เทวาฯ มหาวัน

ศิลปะพระพิมพ์สกุลช่างหริภุญไชย (ลำพูน) ผู้รู้บอกว่าได้รับอิทธิพลจากหลายสมัยศิลปะทวารวดี ศิลปะอินเดีย ศิลปะศรีเกษตรและพุกามของพม่า ศิลปะลพบุรี และศิลปะล้านนา

พระชุดลำพูน ที่วงการพระเครื่องรู้จักกันดีและมีจำนวนแพร่หลาย พระรอด พระคง พระลือ พระเลี่ยง พระเปิม ฯลฯ ยังถกเถียงกัน เรื่องอายุการสร้าง แต่พอรวมความได้อยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15

พระพิมพ์ที่พบน้อยที่สุด อายุการสร้างสูงที่สุดราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 วงการพระเครื่องท้องถิ่นยอมรับและรู้จักก็คือ ขนาดใหญ่ พระกวาง ขนาดกลาง พระกล้วย พระกลีบบัว และขนาดย่อม พระยืน (พระร่วง) ที่ขึ้นจากกรุวัดมหาวัน

ในหนังสือ พระสกุลหริภุญไชย (ชมรมพระเครื่องเชียงใหม่ พิมพ์ พ.ศ.2545) นิพนธ์ สุขสมมโนกุล มีภาพพระยืนและพระร่วง กรุวัดมหาวัน ไว้เพียงสององค์ มีคำอธิบายว่า ความสูงของพระอยู่ระหว่าง 7-10 ซม.ความสูงนี้ ไล่เลี่ยกับพระร่วงรางปืน เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุสุโขทัย ซึ่งเป็นพระศิลปะเขมร (ลพบุรี) สมัยหลังกว่า 3-4 ร้อยปี
ข้อสังเกตพระยืน หรือพระร่วง กรุวัดมหาวันสององค์นั้น ประทับยืนตรงๆ แต่พระยืนสมัยทวารวดี กรุวัดมหาวัน องค์ในคอลัมน์นี้ ไม่ยืนทิ้งดิ่งแบบยืนตรง แต่ยืนแบบเอียงสะโพก ภาษาศิลปะใช้คำว่า “ตริภังค์” แปลว่า เอียงกายออกเป็นสามส่วน

การยืนแบบตริภังค์ ได้อิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 11-12) พระพุทธรูปศิลปะนี้ องค์หนึ่ง สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้จากอินเดีย

ในเมืองไทย พบการยืนตริภังค์ ทั้งพระพุทธรูป และเทวรูปศิลปะทวารวดี ศรีวิชัย และพบในเทวรูปเขมร สมัยก่อนเมืองพระนคร ตั้งแต่ไพรกเมง (ประโคนชัย) กำพงพระ บันทายสรี และบาปวน  พ้นจากสมัยบาปวนลงมา ยังไม่เคยเจอในสมัยนครวัด สมัยบายน  ถ้าพูดภาษาชาวบ้าน การยืนแบบตริภังค์ ยืนยันยุคสมัย พันปีขึ้นไป

พูดถึงการยืน ซึ่งมีทั้งยืนตรง และยืนเอียงสะโพกไปแล้ว ท่ายืนนั้นยังสัมพันธ์กับท่ามือ (มุทรา) พระยืนแบบทวารวดี ไม่ว่าเป็นพระจากพุทธศาสนาแบบเถรวาทหรือแบบมหายาน นิกายสุขาวดี ส่วนมากมือสองข้างนิ้วชี้จดนิ้วก้อย แบออก ในท่าแสดงธรรม   แต่หลายองค์ มือหนึ่งท่าแสดงธรรม แต่อีกมือ นิ้วกลางและนิ้วนางจดฝ่ามือ สามนิ้วที่เหลืองอตาม ท่ามือนี้ เรียก อาหูยมุทรา มีความหมาย กวักมือเรียกเข้าหา ท่าสองมือ สื่อความหมาย เรียกให้เข้ามา รับคำสอนคือพระธรรม
ท่ามือสองข้าง ในพระพุทธรูปมหายาน อธิบายว่า พระอมิตาภะ เสด็จลงมารับดวงวิญญาณสาวกขึ้นสวรรค์สุขาวดี แต่ถ้าเป็นพระพุทธรูปเถรวาท ที่พบแถวนครปฐม อธิบายว่า เป็นปางเสด็จลงจากดาวดึงส์

ไม่ว่าท่ามือพระพุทธรูปองค์ใหญ่ จะเป็นเช่นใด ก็น่าจะเป็นต้นแบบพระพิมพ์ดินเผา องค์ในภาพ พระยืน กรุมหาวัน ซึ่งน่าจะเป็นพระพิมพ์แบบยืนสมัยแรกๆ ที่มีขนาดเล็กที่สุด เท่าที่พบกันมา เพราะมีความสูงแค่ 4 ซม. (เท่ากับพระเม็ดขนุน กำแพงเพชร) เท่านั้น   ความคมชัดขององค์พระ ยังเห็นหน้าตา จมูกปาก ชัดเจน จัดอยู่ในพระขั้นสวยองค์หนึ่ง

ด้วยสายตาผู้ชำนาญ ไม่ต้องใช้เรื่องเล่าชี้นำ ทั้งเนื้อพระดินเผา ละเอียดแน่น นวลตา คราบรา นวลดินบางๆ ทำให้ดูซึ้งใจเช่นเดียวกับพระรอดเนื้อระดับเดียวกันหลายองค์ จึงเสริมความเชื่อประเด็น ขึ้นจากกรุวัดมหาวันได้แน่นแฟ้นเพิ่มขึ้น
นิพนธ์ สุขสมมโนกุล ย้ำว่า “พระยืนวัดมหาวันนี้ นับเป็นพระเครื่องที่หาดูได้ยากมาก เนื้อดินที่นำมาสร้างพระนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับเนื้อพระรอดวัดมหาวัน ด้วยเหตุนี้ จึงมีราคาในเชิงพุทธพาณิชย์สูง”  แต่เรื่องของพระเครื่องนั้น ค่านิยมพลิกผันได้ ของน้อยคนไม่รู้จัก ค่านิยมก็อาจไม่มี แต่หากเจอคนรู้ค่า ราคาก็พูดกันไม่รู้เรื่อง พระยืนองค์นี้เจ้าของเรียก ทวาฯ มหาวัน ว่ากันโดยศักดิ์ศรี หนีพระรอดก็แล้วกัน.




ท้าวกุเวร กรุทุ่งเศรษฐี

หากจะบอกกันว่าภาพพระเครื่ององค์นี้ เรียกกันว่า ท้าวกุเวร พบที่กรุทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร นักเลงพระรุ่นใหม่คงส่ายหน้า แต่ถ้าเป็นนักเลงพระรุ่นเก่าและเก๋าจะอมยิ้ม

อย่าลืมคำ “กำแพง” เล่นสำนวน แยกคำ เป็น กำ แล้วก็ แพง ขึ้นชื่อว่าพระกรุทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร ถ้าเป็นพระแท้และสวย เผลอ “กำ” แล้วก็ต้องจ่ายในราคา “แพง” ทุกองค์

พระกรุกำแพง น่าจะเป็นพระพิมพ์ที่มีประวัติน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะมีจารึกลานทอง บอกถึงกระบวนการทำ ส่วนผสม กระทั่งการบูชา

“แม้อันตรายสักเท่าใดก็ดี ให้นิมนต์พระใส่ศีรษะ อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้ามารณรงค์สงคราม ให้เอาพระใส่น้ำมันหอมเข้าด้วยนวหรคุณ และเอาใส่ผม ศักดิ์สิทธิ์ตามความปรารถนา .....”

พระดังๆ อย่างพระซุ้มกอ พระลีลาทุ่งเศรษฐี ฯลฯ หากขึ้นจากฝั่งตำบลทุ่งเศรษฐี ทั้งศิลปะ และเนื้อหา ถ้าเป็นเนื้อดิน ก็ละเอียด หนักนุ่มแน่นกว่าพระที่ขึ้นจากฝั่งเมืองกำแพงเพชร เรียกกันว่า “เนื้อทุ่ง” แพงจับใจทุกองค์

ประวัติการสร้างชัดเจน ในสมัยพระยาลิไท ปลายสมัยสุโขทัย สันนิษฐานกันว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงฉลองปีพุทธชยันตี พ.ศ.1900 ชวนราษฎรสร้างพระพิมพ์เท่าจำนวนอายุของแต่ละคน (เอาอายุ คูณ ด้วยจำนวน 365 วันของปี) ประดิษฐานไว้ในพระสถูปพระเจดีย์  โดยความเชื่อว่า กุศลผลบุญนี้จะช่วยให้ไปเกิดที่ดีๆ อีกสี่ชาติต่อเนื่องกันไป

คติสร้างพระพิมพ์ ผู้รู้บอกว่าได้อิทธิพลจากพุทธมหายาน ถ้าเริ่มที่ภาคใต้ พุทธมหายานรุ่งเรืองกว่า ดูจากพระพิมพ์ศรีวิชัย อย่างพระเม็ดกระดุม ศรีวิชัย ที่พบที่เขาศรีวิชัยสุราษฎร์ธานี (ราวพุทธศตวรรษ 11-13) และพระพิมพ์ที่สร้างบรรจุเอาไว้ในถ้ำ อีกหลายๆเมือง ตั้งแต่ยะลา ตรัง ฯลฯ  แต่พอมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยเฟื่องฟู พ่อขุนรามคำแหงอัญเชิญพุทธศาสนาเถรวาท จากเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งก็รับมาจากลังกาอีกต่อ พุทธเถรวาทก็แซงขึ้นหน้าพุทธมหายาน  แต่ก็ยังยอมรับคติมหายานบางส่วนเอาไว้

พระพิมพ์ชุดเมืองกำแพงเพชรมีพระพุทธเจ้าเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อพบพระพิมพ์ที่นักพระเครื่องรุ่นเก่า เรียกว่านารายณ์ทรงปืน (พระรัตนตรัยมหายาน มีพระนาคปรกอยู่กลาง มีพระอวโลกิเตศวร และนางปัญญาบารมีขนาบซ้ายขวา) หรือท้าวกุเวร ก็ยืนยันว่า แม้พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ แต่ก็ยังไม่ทิ้งเทพเจ้ามหายาน  การถ่ายทอดศิลปะโบราณเอามาไว้ในสมัยตัวเอง พระชุดกำแพงเพชรมีมากมาย องค์ที่ศิลปะคล้ายสุโขทัย คล้ายเชียงแสน คล้ายอู่ทอง ก็เอาคำ“กำแพง” ไว้หน้า ในหนังสือ “ทุ่งเศรษฐี-กำแพงเพชร” ของจาตุรนต์ สิงหะ (สนิมแดง) มีพระกำแพงศรีวิชัย องค์หนึ่ง

พิมพ์ท้าวกุเวรนั้น ในหนังสือคุณจาตุรนต์ไม่มี แต่ในหนังสือพระกำแพงเพชร เล่มที่จังหวัดกำแพงเพชร จัดพิมพ์ โชคดีที่ยังมีให้ดูเป็นตัวอย่าง แม้องค์เดียวก็ยังดีกว่าไม่มี

ท้าวกุเวร กรุทุ่งเศรษฐี เท่าที่เคยเจอ มีทั้งขนาดเขื่อง (เท่าสี่กร มอญแปลง ชุดกิมตึ๋ง) ขนาดกลาง และเล็ก เห็นพิมพ์ก็ตัดสินได้ทันทีว่าพระแท้ ตอนนี้ยังไม่มีของปลอม  หากจะเริ่มรักท้าวกุเวรขึ้นบ้าง ก็ขอเล่าต่อให้รักมากขึ้นว่า ท้าวกุเวรคือ 1 ใน 4 เทพอารักขา ทางทิศตะวันตก คนไทยรู้จักในชื่อท้าวเวสสุวรรณ เทพเจ้าแห่งภูตผี แต่คนฮินดูโบราณ นับถือกันมากว่าสองพันปี สมัยที่ล่องสำเภามาค้าขายสุวรรณภูมิ  นอกจากเชื่อกันว่า เป็นเทพอารักขาช่วยให้เดินทางราบรื่น อีกความเชื่อ ท้าวกุเวร เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ในทางโชคลาภ ช่วยให้ค้าขายร่ำรวย แถวภาคใต้ เรียกว่า“ซัมภล” นั่งในท่ามหาราชลีลา งามสง่าแบบศิลปะศรีวิชัย ก็ทั้งศิลปะสวย ทั้งอายุก็สูงยิ่ง ที่ขึ้นจากกรุทุ่งเศรษฐีก็ยิ่งเพิ่มความเป็นมงคล ใครมีไว้ก็ถือว่าโชคดีมีชัย ไปทางเดียวกับพระซุ้มกอ ที่ว่ากันว่า มึงมีกูไว้ไม่จน นั่นเทียว




พระขุนแผน (ไม่เคลือบ) กรุโรงเหล้า

ชื่อพระตับขุนแผน เริ่มจากขุนแผนพิมพ์อกใหญ่ ฯลฯ พิมพ์พลายหลายพิมพ์ ไปถึงพิมพ์พลายคู่ น่าจะเริ่มจากการพบพระในกรุวัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เมื่อราวๆ ปี 2445

ชื่อขุนแผน น่านับถือ ในจินตนาการ นึกถึงยอดนักรบ-ยอดนักรัก ดึงดูดใจคนชอบพระให้ไขว่คว้าขึ้นมาทันที

พระพิมพ์ขุนแผนพิมพ์อกใหญ่ เนื้อดินหยาบ ผสมกรวดทรายหลายสี ที่พบในกรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณ ก็มีการพบอีกในเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล เมืองอยุธยา  เส้นสายลายพิมพ์เดียวกัน ต่างกันที่เนื้อหา ขุนแผนอยุธยา เนื้อดินขาว นวลละเอียด ไม่มีเม็ดทราย ทั้งยังมีเคลือบ สีเขียวอมเหลือง น้ำตาลแก่ ไปถึงเข้มคล้ำออกดำ

ขุนแผนอยุธยา พบน้อยกว่าขุนแผนสุพรรณ เสน่ห์ชื่อ “ขุนแผน” ก่อน พ.ศ.2500 แพงกว่าสมเด็จวัดระฆัง

ช่วงเวลาที่ขุนแผนเคลือบโด่งดั ก็มีการพบอีกกรุสองกรุ ใกล้โรงหล้าอยุธยา แม่พิมพ์เนื้อหาเดียวกับวัดใหญ่ แต่ไม่มีเคลือบ วงการเรียก กรุโรงเหล้า ไม่มีรายละเอียดให้ศึกษา ไม่มีภาพพระให้ดูเป็นตัวอย่าง

พระขุนแผนไม่เคลือบ องค์ในภาพ ส่วนเนื้อดินขาวที่สึกให้เห็นส่วนลึกที่ผนังพระ ทั้งด้านหน้าและหลังที่ดูด่างดำ ไม่ใช่เคลือบที่ซีดจาง แต่เป็นคราบไคลเดิมๆ

หาขุนแผนเคลือบวัดใหญ่ เป็นตัวอย่างไม่ได้ ชุดที่ขึ้นใหม่แถวนนทบุรีก็มีข้อถกเถียง ถ้าพอเป็นขุนแผนวัดบ้านกร่างพิมพ์อกใหญ่ ก็พอเอามาเทียบเคียงได้ เส้นสายลายพิมพ์ พิมพ์เดียวกัน ฝีมือช่างศิลปะอยุธยายุคกลางเหมือนกัน

เรื่องเก๊แท้นั้นตัดสินด้วยสายตา ถ้ามีประสบ-การณ์พอ ของเก่าแท้นั้นไม่ยากเกินไป

พระขุนแผนสองเมืองเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ตามพระนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมดำรงราชานุภาพ ทรงสรุปว่า พ.ศ.2135 หลังชัยชนะสงครามยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวร โปรดให้สร้างพระสถูปเป็นอนุสรณ์ไว้ที่ทุ่งหนองสาหร่าย องค์หนึ่ง  และทรงสร้างพระมหาสถูปไว้ที่วัดป่าแก้ว ขนานนาม ชัยมงคลเจดีย์ อีกองค์หนึ่ง  นี่คือที่มาของความเชื่อว่า พระกรุวัดบ้านกร่าง ใกล้พระเจดีย์ยุทธหัตถี อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี และพระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพระพิมพ์ที่สมเด็จพระนเรศวร โปรดให้สร้างไว้ในเวลาไล่เลี่ยกัน

ประจักษ์ความเชื่อเสริมอีกข้อ ในการสร้างพระพิมพ์ หลายยุคหลายสมัยไม่ค่อยมีพระคู่ ในสมัยอยุธยามีพระพลายคู่ ซึ่งสื่อความหมายไปถึงสองกษัตริย์พี่น้อง องค์ขาว องค์ดำ  ในหนังสือ เรื่องเล่าชาวกรุงเก่า (สำนักพิมพ์ พิมพ์คำ) ส.พลายน้อยเล่าว่า เพื่อนชื่อ จำเริญ สุนทรสุข ได้ความรู้ต่อจากพี่เมี้ยน ยังประดิษฐ์ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์วังจันทรเกษม ว่า มีการพบพระขุนแผนไม่เคลือบ 2 ครั้ง

ครั้งแรก พ.ศ.2485 โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอยุธยา มีที่ดินบางส่วนเป็นวัดร้าง ชื่อวัดสิงห์ลาย ต้องการที่ดินสร้างอาคารเพิ่ม ครูหลุย ชมชื่น อดีตครูวาดเขียนคุมการก่อสร้าง คนงานขุดปราบที่โคกโบสถ์วัดสิงห์ลาย ลงไป 1 เมตร เจอพระพิมพ์สีขาวอมชมพู กระจายอยู่ราวๆพันองค์ ตอนนั้นค่าแรงกุลี 50 สตางค์ ราคาพระไม่ถึง 10 บาท

คนรู้จักโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูน้อย รู้จักโรงงานสุราที่ตั้งอยู่ด้านหน้ามากกว่า ชื่อเรียกพระขุนแผนไม่เคลือบ กรุโรงเหล้า จึงเริ่มเรียกกัน ต่อมาโรงเหล้าย้ายไป เทศบาลจะใช้พื้นที่สร้างโรงเก็บน้ำประปา  ระหว่างรถไถเกลี่ยพื้นที่ บริเวณวัดร้างที่เคยเป็นวัดจีนหรือวัดสามจีน คนงานและเด็กๆ ก็คุ้ยเขี่ยกองดิน เจอพระขุนแผนแบบไม่เคลือบ แบบวัดสิงห์ลาย และแบบเคลือบที่วัดใหญ่ชัยมงคล อีกจำนวนหนึ่ง พระพิมพ์ที่พบที่วัดสามจีน เหมือนชุดกรุวัดสิงห์ลาย ถูกเหมาเรียกกรุโรงเหล้าอีกตามเคย

ราคา ขุนแผนไม่เคลือบ ตอนนี้ยังไม่มีพระขายจากมือเซียน ยังไม่พูดกัน แต่ถ้าจะเทียบเคียงก็น่าจะลดหลั่นจากขุนแผนเคลือบวัดใหญ่ ยุคสมัยนี้พระขึ้นชั้นยอดนิยมอย่างนี้ ราคาต่ำกว่าล้าน ไม่มีแล้ว.




พระสมเด็จวัดระฆังฯ ทรงเจดีย์

หากจะยกตัวอย่างพระสมเด็จวัดระฆังสักองค์ว่า ดูง่าย ก็ต้องขอเอาทรงเจดีย์วัดระฆัง องค์ในภาพ   ดูด้านหน้า พิมพ์ทรงมาตรฐาน ผิวสึกช้ำเปิดเนื้อหา เห็นมวลสารกระจ่างตา พื้นผนังองค์พระแป้งโรยพิมพ์ขาวนวลสีน้ำนม ชิ้นรัก ฝ้ารัก เหล่านี้จะเรียกว่า เป็นพยานหรือหลักฐานก็มั่นคงครบเครื่อง

พลิกด้านหลัง มีรอยเลี่ยมเปิดใช้ สึกช้ำธรรมชาติ ส่องด้านข้างอีกสักหน่อย ใช้เวลาครึ่งนาทีตัดสินได้ทันทีว่า พระแท้

พระสมเด็จสภาพสึกช้ำ พองามขนาดนี้ ราคาไม่แพงบาดใจจนกลัวโจร นิมนต์ขึ้นคอได้สบาย

การดูพระ สำหรับคนเป็นนั้น จริงๆ แล้วก็เป็นเช่นนี้ แค่ส่องแว่บก็ลงตัว แต่ถ้าจะให้ดี ช้าสักหน่อย ถอยหลังมาตั้งหลัก พิจารณาตามกระบวนการ เริ่มที่แม่พิมพ์

ทรงเจดีย์มีหลายพิมพ์ ครูตรียัมปวาย แบ่งไว้  พิมพ์ เขื่อง ย่อม สันทัด ชะลูด แต่วงการเซียนชั้นหลัง ยังไม่สรุปลงตัว กี่พิมพ์ คนที่สนใจ จึงต้องใช้การดูแบบจำ จากองค์ดังๆ ที่พิมพ์ซ้ำหน้า เรียกว่า องค์ครู

ทรงเจดีย์องค์ในภาพ แม้สึกช้ำเส้นสายลายพิมพ์ ไม่คม แต่ก็กลมกลืน เทียบเชิงซ้อนได้กับภาพ องค์เจ๊แจ๋ว และอีกองค์ ที่ลงรักแล้วลอกออก ตอนนี้อยู่กับเฮียหนึง (ปรีดา อภิปุญญา) สององค์นี้ ช่วงอกติดเส้นสังฆาฏิคม ท่อนขาแยกเป็นร่องชัด
เมื่อเริ่มจากองค์ครู ก็ต้องพยายามตามดู เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านที่ยังเหลือ แค่ไหน  องค์ในภาพ เส้นกรอบด้านซ้ายใกล้เคียง (ชิดไปก็ไม่ดี ห่างไปก็ไม่ดี) เส้นกรอบด้านขวา ตัดพอดี ไม่ใช่ปัญหา เพราะเส้นกรอบถ้าครบทั้งสี่ด้าน เรียกว่า กรอบกระจกนั้น ไม่ว่าทรงเจดีย์องค์ครูองค์ไหนก็ติดไม่ครบ

ร่องรักแร้ เหลือเค้าชายจีวรรางๆ ชัดเจน เส้นพระเกศไม่ป่องกลาง ไม่เป็นไร องค์ที่ไม่ติดชัดมีน้อยกว่าองค์ไม่ติด  พระเนื้อผงผสมน้ำมัน เวลาจากเปียกถึงแห้ง แปรปรวนได้ ถ้ามีก็ดูไว้ มีชัดมากก็เก๊ได้ ไม่มี แท้ก็หลายองค์  อย่าเผลอยึดตำหนิพิมพ์ ทิ้งพระแท้ไปง่ายๆ

ผ่านประเด็น “พิมพ์ใช่” ไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงประเด็น “เนื้อ” ต้องแยกเนื้อ ออกจากผิวก่อน องค์นี้ผิวที่เหลือในพื้นผนัง หรือในซอกลึก เรียก ผิวแป้งโรยพิมพ์ได้ (ก็ผิวปูนนั่นแหละ) ผิวแป้งโรยพิมพ์ สมเด็จวัดระฆังแท้ นุ่มนวลตาอย่างนี้

ส่วนที่ผิวแป้งเปิดช่อง ก็เห็นเนื้อพระสีเหลืองอมน้ำตาล องค์นี้ใช้สมบุกสมบันแล้วถูกเก็บไว้นาน สภาพจึงแห้งแบบซึ้งตา เม็ดปูนขาวประปราย ไม่มากไม่น้อย กากดำ ก้อนแดง หินเทา พอมี

ตัวช่วยสำคัญ ก็คือสิ่งที่เกิดจากการลงรัก พระอายุเกือบ 150 ปี รักลอกไปแล้ว ทิ้งฝ้าสีน้ำตาลอ่อน เอาไว้ ในซอก-หลุม ยังมีชิ้นรักเก่า และส่องให้ดีๆ จะมีทองเก่าฉายแว่บ ออกมาให้เห็น

หลักครูตรียัมปวาย มวลสารพระสมเด็จวัดระฆัง มีทรายเงิน ทรายทอง แต่กว่าจะส่องเจอ ก็มักจากหลังการล้างพระให้สะอาด ปาดฝุ่นไคลออกไปก่อน แต่จุดสีทองเล็กที่มักเจอ มักเป็น “ทองเก่า” ที่ติดอยู่กับ “ก้อนขาว”  ก็เม็ดปูนขาวก้อนเล็ก ที่มักอยู่ลึกลงไปจากพื้นผนัง ไม่อยากบอกว่าเป็นทีเด็ดเคล็ดลับ  บอกได้แต่ว่าส่ององค์ไหนเจอทองชิ้นเล็กเท่าปลายเข็มหมุดแปะบนก้อนรัก มักเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ที่ชี้ว่า “เนื้อใช่” เมื่อพิมพ์ก็ถูก เนื้อก็ใช่ นี่ไง! พระสมเด็จวัดระฆังแท้

ด้านหลังพระก็ใช่ว่าไม่สำคัญ หลังพิมพ์ทรงเจดีย์วัดระฆังส่วนใหญ่เป็นหลังทื่อ คือออกเรียบ ไม่มีริ้วรอย รอยปูไต่ รอยหนอนด้น รอยสังขยา ฯลฯ มากมาย เหมือนพิมพ์ใหญ่ แต่ถ้าองค์ไหนมี ก็ยิ่งดี เสริมราศี

หลังทรงเจดีย์องค์นี้ ถูกเลี่ยมเปิดใช้ รอยสึกสี่เหลี่ยม เห็นมวลสารละเอียดนุ่ม ชัดเจน กระจ่างตา  รอยเลี่ยมใช้นานๆ เป็นพยานเสริมอีกปาก ช่วยบอกว่าอย่างน้อยพระองค์นี้ก็ถูกใช้สี่ห้าสิบปีก่อนเวลาทำพระปลอม

อย่าเพิ่งหลงรัก หลังพระใช้ว่าดูง่าย พระปลอมเขาทำกันทุกแบบ ขูด ปาด ขัด ให้สึกแอ่น บางรุ่นใช้สีผึ้งทา แล้วใช้น้ำยาเคมีกัดให้แหว่งเป็นรูปข้าวหลามตัดก็ได้ รูปใบโพธิ์ก็มี ฝึกดูธรรมชาติทั้งด้านหน้าด้านหลัง พระสมเด็จไว้ให้คุ้นตา
องค์ไหนมัวมนไม่สะอาดตา น่าสงสัย ก็ต้องหาใบรับประกัน เก๊ต้องคืน.


    พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กรกฎาคม 2559 17:45:10 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2559 12:44:43 »

.


พระนางพญา ดำ

หากจะคุยกันถึงพระนางพญา สำหรับคนสนใจพระเนื้อดิน เป็นพระก็ดูไม่ยากแต่ก็ต้องทำใจไว้ก่อนว่าเป็นพระที่มีปัญหาถกกันเรื่องเก๊-แท้ มากกว่าพระในชุดเบญจภาคีด้วยกัน

40 ปีที่แล้ว ในงานประกวดใหญ่ กรรมการตัดสินทะเลาะกัน นางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก องค์สวย หูตาคม ที่มาดีเสียด้วย ขึ้นจากกรุวัดสังกัจจายน์ (ฝั่งธนบุรี) เสียงส่วนใหญ่ให้แท้ แต่หนึ่งเสียงดังว่าเก๊ เหตุเพราะเจอเปลือกหอยที่ผิวพระชิ้นหนึ่ง
มีความเชื่อกันมาก่อนว่า กรวดนางพญามีสามสี ที่ไม่มีแน่ๆ ก็คือเปลือกหอย

จำไม่ได้ว่า ผลสรุปองค์นี้เป็นอย่างไร เพราะเสียงที่แตก ดังในหนังสือพระเล่มหนึ่งว่า ถ้าแคะเอาเปลือกหอยชิ้นนี้ออกล่ะ พระองค์นี้จะแท้หรือไม่

อีกองค์ ในงานประกวดเหมือนกัน พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง เนื้อเขียว (พิมพ์เดียวกับองค์ในคอลัมน์วันนี้) กรรมการหลายเสียงไม่ผ่าน แต่กรรมการคนหนึ่งเสียงใหญ่ ยืนยันพระที่ทำท่าจะมีปัญหาก็กลายเป็นพระแท้  และเป็นพระแท้องค์ครู ถูกพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในหนังสือเกือบทุกเล่มวันนี้

ไหนๆ ก็คุยกันถึงพระปัญหากันแล้ว  นางพญาพิมพ์ใหญ่เข่าโค้งอีกองค์ สีหม้อใหม่ มีคนได้จากเจ้าสัวดัง ต้นทุนเช่าราว 20 ปีที่แล้ว 4.8 แสน แต่เคราะห์กรรม! ไม่ผ่านตาหลายเซียน

เซียนใหญ่มากๆ สองคน คนแรกดูตาเปล่า ไม่ส่อง คนที่สองตั้งใจส่อง ฟังราคาเสนอ 9 แสน ส่ายหน้า

เซียนที่ดูก่อนชื่อ ประจำ อู่อรุณ กล้าซื้อในราคา 1.2 ล้าน และถึงเวลานั้น เซียนที่ไม่ซื้อ ราคา 9 แสน ก็ขอซื้อต่อไปในราคา 1.5 ล้าน

สอง-สามเดือนต่อมา พระในตีพิมพ์เป็นองค์ชี้ตำหนิเคล็ดลับอยู่ในหนังสือพรีเชียส ของอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ

ถึงวันนี้ รู้จักกันในชื่อ องค์หลังเจดีย์ พระที่ถูกตีเก๊เป็นแรมปี เป็นพระแท้องค์ครู ราคาพูดกันไม่รู้เรื่องไปแล้ว

โดยวิถีเซียน พระนางพญาเนื้อเหลือง เนื้อแดง ดูง่ายเปลี่ยนมือง่าย พระเนื้อเขียว เนื้อดำ ดูยากเปลี่ยนมือซื้อขายยาก ยี่สิบสามสิบปีที่แล้ว คนที่สนใจ เรียนรู้ดูจากตำราพระที่พิมพ์ขาวดำ หาภาพพระสีดูเทียบเคียงไม่ค่อยได้

ปี พ.ศ.2552 ผมไปทำข่าวเพชรบุรี เจอพิมพ์สังฆาฏิ เนื้อดำ สีเนื้อออกทางไม้มะเกลือ อยู่ในมือเซียนใหญ่รุ่นพี่ชุม (ประชุม กาญจวัฒน์) ความกลัวศักดิ์ศรีเซียนก็ลังเล แต่ก็ตัดสินใจขอแบ่งมาได้

วิ่งไปหาครูที่บ้านหลังวัดกัลยาณ์ ผลปรากฏว่า ครู “ตรียัมปวาย” ดูว่าแท้

ตอนนี้มีหนังสือพระพิมพ์สีหลายเล่ม ได้ดูด้านหน้า ข้าง และหลัง เต็มตา พระเนื้อเขียว เนื้อดำ ระยะหลังผ่านวงการหลายองค์ โอกาสเทียบเคียงพระในมือ เพื่อตัดสินใจจึงดีขึ้น

นางพญาเข่าโค้งองค์ในภาพนี้ เสื้อสีดำ ใช้หลัก เชียร ธีรศานต์ พระสีดำ เป็นพระที่เผาไกลไฟ เผาไม่สุก ถ้าสีออกไปทางไม้มะเกลือ มีคราบสีขาวเป็นตัวช่วย หรือถ้าใครเคยคุ้นกับสีไม้กัลปังหา เจอดำแบบกัลปังหา ก็ทำให้ตัดสินใจง่าย

พิมพ์ใหญ่เข่าโค้งองค์นี้ แม่พิมพ์ดี ถูกต้องทุกส่วนสัดและเส้นสาย ริ้วรอยด้านข้างก็ตัดสวย เสน่ห์อยู่ที่ริ้วรอยร่องหลุม ด้านหลังสลับเม็ดแร่ประปราย แร่ที่แนบในเนื้อเรียกแร่จม พระสภาพผิวเรียบร้อยอย่างนี้ เชื่อว่าได้จากกรุวัดนางพญา
สีโดยรวมออกดำ แต่ดำไม่สนิท บางส่วนออกเหลือบเหลือง บางมิติเหมือนพระเนื้อผ่าน ทั้งพิมพ์ทั้งเนื้อ สภาพโดยรวมๆ สำหรับคนเป็น ดูไม่ยาก  แต่กับคนไม่เป็น โดยเฉพาะคนที่เล่นพระ ซื้อพระด้วยหู คงถือไว้ไม่ได้

ไม่ว่าวันเวลาผ่านมายาวนานแค่ไหน สำหรับพระนางพญา ในวงการก็ยังเป็นพระมีปัญหา ไม่นานมานี่ นางพญาพิมพ์ใหญ่เข่าตรงเนื้อแดง ราคา 5 ล้านจากมือเซียนใหญ่ ส่งประกวดกรรมการไม่รับ ยังต้องขอคืนกันเลย.




นางพญา พิมพ์สังฆาฏิ

นักเลงพระเนื้อดิน ถ้าเริ่มต้นจากพระสมัยอยุธยา หลวงพ่อโต นางวัดโพธิ์ วัดบ้านกร่าง วัดตะไกร เส้นสายลายพิมพ์ ผิวเนื้อพระ เม็ดแร่ ฯลฯ แม้ไม่เหมือน ก็ใกล้เคียง พระนางพญาพิษณุโลก เพราะยุคสมัยใกล้กัน

พระนางพญา เนื้อสีแดง องค์ในคอลัมน์วันนี้ พิมพ์สังฆาฏิ ทุกเส้นสายลายพิมพ์ ทุกตำหนิ คมชัด เห็นเค้าจมูกปากตา สวยระดับน้องๆ นางสังฆาฏิองค์แชมป์ศรีนคร ของคุณสมชาย มาลาเจริญ

ด้านหลังริ้วลายมือนูนเด่นจากคราบราดำ เม็ดแร่โผล่พองาม ถือเป็นเนื้อมาตรฐาน และต้องยกให้เป็นพระกรุใต้

กรุใต้ คือพระที่ขุดพบที่ลานวัดนางพญา ส่วนกรุเหนือ กรุตาปาน พบอีกฝั่งแม่น้ำน่าน กรุนี้ดินร่วนซุย สภาพผิวพระอ่อนกว่ากรุวัดนางพญาเล็กน้อย

พระพิมพ์ดีเนื้อดีสภาพนี้ ย่าเผลอคุยไม่เข้าแว่นก็ซื้อได้ พระเครื่องสมัยนี้ยังไ ก็ต้องส่อง ของปลอมฝีมือดูตาเปล่าว่าดี เข้าแว่นเก๊ ก็ถมไป

ในพระนางพญาทุกพิมพ์ เข่าโค้ง เข่าตรง (2 แม่พิมพ์) อกนูนใหญ่ อกนูนเล็ก สังฆาฏิ เทวดา ยังมีพิมพ์ (ใหญ่) พิเศษแขนอ่อนสุโขทัย พิมพ์พิเศษแขนอ่อนอยุธยา ตอนนี้เรียกกันว่า พิมพ์แขนบ่วง

พิมพ์ที่มีเรื่องเล่าขาน คงกระพัน หรือเหนียวสุดขั้วหัวใจ มีพิมพ์เดียว คือพิมพ์สังฆาฏิ

พ.ศ.2487 “ตรียัมปวาย” เป็นนายทหารอยู่พิษณุโลก รู้จักตาปานได้พระจากตาปาน แบ่งจากคนขุดด้วยมือที่ลานวัดนางพญา อีก 7 องค์ รวมแล้วมีพระนางพญามากกว่า 60 องค์ ตรียัมปวายเลี่ยมทองพิมพ์สังฆาฏิ เนื้อสีเขียว องค์เดียวแขวนคอ

แต่พระที่ทั้งรักทั้งหวงองค์นี้ มีเหตุให้ต้องตัดใจ ให้ญาติทางภรรยา ร.ต.ท.ยอดยิ่ง สุวรรณากร

ตำรวจโรงพักชนะสงครามรับแจ้งเหตุ “ตาควาย” คนแจวเรือจ้าง ท่าช้างวังหน้า ก่อเหตุวิวาท ตำรวจชุดแรกไปจับ แต่จับไม่ได้ ร.ต.ท.ยอดยิ่งนำตำรวจ 6 นาย ไปชุดที่สองเจรจาไม่ได้ผล ตำรวจรุกใส่ตาควายใช้ขวานฟันตำรวจกระเจิง

ตำรวจยิงปืนนัดแล้วนัดเล่า เจ็บร้องเสียงดังแต่กระสุนไม่เข้า นัดหนึ่งถูกขมับล้มพับไปประเดี๋ยว ก็ลุกขึ้นสู้ต่อ

ร.ต.ท.ยอดยิ่งตัดสินใจจับมือเปล่า ตาควายฟันด้วยขวาน 4-5 แผลใหญ่ ต้องกระโดดน้ำหนีเอาชีวิตรอด ตำรวจทั้งโรงพักชนะสงครามเอาไม่อยู่ ต้องส่งตำรวจโรงพักป้อมปราบไปช่วย

ตาควายสู้หมดแรงก็กระโดดลงน้ำแล้วก็ขึ้นมาสู้ใหม่ สุดท้ายก็เสร็จท่อนไม้ภารโรงโรงพัก โป้งเดียวที่ขมับสลบเหมือด

ตาควายบอบช้ำมากรักษาตัวสามเดือน เล่าให้ ร.ต.ท.ยอดยิ่งฟังภายหลังว่า ความหนังเหนียว เกิดจากพระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ ที่ใส่กรอบเขาควาย (แกะด้วยมือตัวเอง) แขวนคอ “แต่พระนางพญาองค์นั้น” หายไปเสียแล้ว

เรื่องเล่าเรื่องนี้...ตรียัมปวายต้องแลกด้วยการถอดพระนางพญาสังฆาฏิเนื้อเขียว องค์ในคอให้ ร.ต.ท.ยอดยิ่ง สุวรรณากร ไป ตัวเองเลือกเอาพิมพ์สังฆาฏิเนื้อสีแดงมาแขวนคอแทน

อานุภาพนางพญาอีกทาง เชียร ธีรศานต์ ผู้รู้เรื่องพระนางพญาอีกคนบอกสั้นๆ อย่าให้เมีย จะเสียเมีย จึงพอฟังได้ อานุภาพอีกด้านของพระนางพญา คือเสน่ห์มหานิยม.


     พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ


เหรียญหางแมงป่อง และตะกรุดพอกครั่ง ของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญหางแมงป่องของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จ.พิจิตร เป็นเหรียญหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากในอดีต เป็นที่หวงแหนของชาวพิจิตรเหรียญหนึ่งเลยทีเดียว

พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ (ภู ธัมโชติ) เกิดที่อยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2398 ที่บ้านผักไห่ โยมบิดาชื่อ แฟง โยมมารดาชื่อ ขำ ต่อมาบิดามารดาได้ย้ายมาทำมาหากินอยู่ที่บ้านหาดมูลกระบือ ต.ไผ่ขวาง อ.เมือง จ.พิจิตร ได้ศึกษาหนังสือไทย-ขอมกับพระอาจารย์นิ่ม วัดหาดมูลกระบือ พออายุได้ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรม 1 ปี จึงสึกออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา จนกระทั่งอายุได้ 23 ปี ได้อุปสมบทที่วัดท่าฬ่อ โดยมี พระครูศีลธรารักษ์ (จัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนิ่ม วัดหาดมูลกระบือ กับพระอาจารย์เรือน วัดท่าฬ่อ เป็นพระคู่สวด ได้ฉายาว่า "ธมฺมโชติ"

เดิมตั้งใจว่าจะบวชแค่เพียงพรรษาเดียว แต่บวชแล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมและออกรุกขมูลธุดงค์ ได้ติดตามหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโก บางคลาน ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ฝึกจิตจนกล้าแกร่ง ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมสารพัดอย่างจากหลวงพ่อเงิน รวมทั้งพระอาจารย์อื่นๆ ที่พบกันกลางป่า นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้ในเรื่องสมุนไพรใบยา และวิชาแพทย์แผนโบราณ

หลวงปู่ภูได้ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยโรคต่างๆ มากมาย จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว ทั้งทางด้านน้ำมนต์รดอาบหายเคราะห์หายโศก ผีเจ้าเข้าสิงหายทุกราย ในด้านวัตถุมงคลนั้นมีผู้เข้ามาขอจากท่านเสมอ และท่านก็เมตตาทำให้ทุกราย

จนกระทั่งพรรษาที่ 10 วัดท่อฬ่อว่างเจ้าอาวาสลง ทางคณะสงฆ์พร้อมด้วยทายกทายิกา ได้ขอร้องท่านให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อ หลวงปู่ภูปกติชอบทางวิเวกไม่มีความประสงค์จะเป็นเจ้าอาวาส แต่ก็ขัดความศรัทธาของชาวบ้านมิได้จึงรับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อสืบต่อมา เมื่อเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ได้พัฒนาวัด และพัฒนาจิตใจชาวบ้านเต็มความสามารถ จนวัดท่าฬ่อเจริญรุ่งเรือง

ภายในวัดท่าฬ่อ สมัยที่หลวงปู่ภูเป็นเจ้าอาวาสนั้น มีคนนำสัตว์ต่างๆ มาปล่อยที่วัด หลวงปู่ก็เมตตารับเลี้ยงไว้มีทั้งไก่ เป็ด ห่าน สุนัข แมว จนกระทั่งถึงกวางและไก่ป่าก็มี หลวงปู่จะเสกข้าวเสกหญ้าให้กิน ก็จะเชื่องทุกตัว เคยมีคนมาลองดีเอาปืนมาแอบยิงสัตว์ต่างๆ ของวัด โดยเฉพาะกวาง แต่ยิงเท่าไหร่ก็ยิงไม่ออกจนคนยิงเข็ดไปเอง วัตถุมงคลของหลวงปู่ภูทำไว้หลายอย่าง ทั้งพระเครื่องเป็นพระปิดตา พระพุทธ เหรียญหางแมงป่อง เหรียญใบมะยม แต่เป็นเหรียญที่ลงอักขระไว้เฉยๆ ไม่มีรูปองค์พระ ตะกรุด ผ้าประเจียดและไม้ครู เป็นต้น

วัตถุมงคลของหลวงปู่ภูมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องคงกระพันชาตรีเชื่อถือได้ คนพิจิตรทราบดี แต่ปัจจุบันวัตถุมงคลก็หายากเช่นกัน ของปลอมมีกันมานานแล้ว เวลาเช่าหาก็ต้องดูให้ดี

วันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหางแมงป่อง เนื้อชินตะกั่ว และตะกรุดพอกครั่ง ของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จากหนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยามมาให้ชมกันครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์




พระกลีบบัววัดลิงขบ เนื้อดินเผา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระของดีราคาถูก ซึ่งเป็นพระเก่าแก่ พุทธคุณสูง มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย แต่เนื่องด้วยจำนวนของพระที่พบมีมาก หาได้ไม่ยากนัก จึงทำให้สนนราคายังไม่สูง แต่ในเรื่องของพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมครับ

วัดลิงขบหรือวัดบวรมงคลเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องกับวัดราชาธิวาสฯ แต่เดิมเป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกันมาก จึงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวรามัญ มีวัดเป็นที่ทำบุญกันโดยลำพังตามประเพณีของตน สมเด็จกรมพระราชวังบรมมหาเสนานุรักษ์ จึงทรงสถาปนาวัดลิงขบขึ้นเป็นพระอารามหลวง ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนธิเบศร์บวรทรงปฏิสังขรณ์ ทั้งพระราชทานนามใหม่ให้สมกับที่เป็นพระอารามหลวงว่า "วัดบวรมงคล"

ที่วัดแห่งนี้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เป็นแบบทรงลังกา อยู่ในมุมเขตด้านเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ในครั้งการปฏิสังขรณ์และในเจดีย์องค์นี้ได้เกิดการชำรุด และมีพระพิมพ์กลีบบัวไหลลอดออกมาตามแนวอิฐที่ผุกร่อน เด็กๆ ในแถบนั้นก็เก็บเอามาให้พ่อแม่ดู และเกิดมีการซื้อ-ขายกันขึ้น ในที่สุดก็มีคนแอบเข้าไปขุดพระที่องค์เจดีย์ ทางวัดรู้ข่าวโดยพระญาณเวทีผู้ช่วยเจ้าอาวาสจึงได้ให้พระภิกษุไปสำรวจ แต่ก็มีคนไปแอบขุดหาพระกันอีก พระสุมงคลมุนีเจ้าอาวาส จึงได้ติดต่อไปยังกรมการศาสนาและกรมศิลป์ว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้คงมีคนมาแอบขุดจนตัวเจดีย์พังแน่

ทางวัดจึงได้เปิดกรุเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2509 โดยมีทหารเรือจากเรือรบหลวงจันทบุรีมาช่วยในการเปิดกรุ จัดเวรยามเฝ้า การขุดได้ขุดตรงส่วนคอระฆัง พบพระบรมธาตุ พระพุทธรูป พระเครื่อง พิมพ์ต่างๆ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน นอกจากนี้ยังพบพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จฯ และพระกลีบบัวที่เป็นเนื้อผงจำนวนเล็กน้อย (ไม่ระบุจำนวน) กับเครื่องรางและของมีค่าอีกจำนวนหนึ่งและส่วนฐานได้พบพระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดินเผาบรรจุอยู่ในกระถางมังกร 4 ใบ ในส่วนของพระกลีบบัวเนื้อดินเผามีจำนวนมากที่สุดกว่าพระพิมพ์อื่นๆ นับได้ประมาณเจ็ดหมื่นกว่าองค์ ทางวัดได้จัดพิธีฉลองสมโภชพระบรมธาตุ ตลอดจนพระพุทธรูปและพระเครื่อง 3 วัน

ทางวัดและคณะกรรมการได้เปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าพระพิมพ์กลีบบัวในราคาองค์ละ 30 บาท เพื่อนำเงินไปบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ที่ชำรุด พระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดิน มีทั้งแบบดินละเอียดและเนื้อหยาบ พระส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของแร่ทรายเงินทรายทองปะปนอยู่เกือบทุกองค์ ผิวของพระบางองค์จะมีคราบรารักจับอยู่ที่ผิวของพระมากบ้างน้อยบ้าง ด้านหลังจะเป็นหลังเรียบและหลังเว้า มีรอยกดพิมพ์เป็นลายมือติดอยู่ ด้านใต้องค์พระจะมีรูรอยไม้เสียบยกพระออกจากแม่พิมพ์ทุกองค์ มีพบบางองค์มีการลงรักน้ำเกลี้ยง และลงชาดมาแต่ในกรุ เข้าใจว่าพระเหล่านี้น่าจะเป็นพระคะแนน แต่ก็มีจำนวนน้อย พระบางองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีมีหน้ามีตาสวยงาม สนนราคาก็อาจจะสูงกว่าธรรมดานิดหน่อย

พระกรุนี้เมื่อมีผู้นำไปห้อยคอแล้วต่อมาเกิดมีประสบการณ์ในด้านแคล้วคลาดและอยู่คงกันไม่น้อย ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้กันดี ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนัก ทั่วๆ ไปอยู่ที่พันเศษๆ แล้วแต่ความสวยงามเป็นหลัก ถ้ามีหน้ามีตาก็แพงหน่อยครับ

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกลีบบัววัดลิงขบ เนื้อดินเผามาให้ชมกันด้วยครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



 
พระหลวงปู่อ้น วัดบางจาก

"พระหลวงปู่อ้น" พระเครื่ององค์สำคัญของชาวอัมพวา จ.สมุทรสงคราม นับเป็นหนึ่งใน "พระเครื่องตระกูลพระสมเด็จ" ที่มีเนื้อหามวลสาร พิมพ์ทรง และพุทธลักษณะโดยทั่วไป ใกล้เคียงกับพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มากที่สุด

เหตุเพราะหลวงปู่อ้นเป็นหนึ่งในศิษย์ใกล้ชิดของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และยังเป็นที่ยอมรับกันในวงการว่า "พระหลวงปู่อ้น" มีเนื้อหามวลสารเหมือน "พระสมเด็จ" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มากที่สุดอีกด้วย

ตามบันทึกของพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) เลขานุการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นคนแรกที่ค้นคว้าและเขียนบันทึกประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่เกิดทันยุคของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และหนังสือจดหมายเหตุต่างๆ

บางตอนได้กล่าวถึงประวัติของหลวงปู่อ้น ว่า "หลวงปู่อ้น" มีนามเดิมว่า "ม.ร.ว.อ้น อิศรางกูร ณ อยุธยา" นิสัยของท่านรักสันโดษ เมื่ออุปสมบทที่วัดระฆังฯ แล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังฯ คอยปรนนิบัติและศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานและไสยเวทกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ...

ด้วยความที่หลวงปู่อ้นเป็นพระที่สมถะ รักสันโดษ จึงไม่ยอมรับตำแหน่งยศศักดิ์ใดๆ คงดำรงตนเป็นพระลูกวัดจนชราภาพ จนถือเป็นศิษย์อาวุโสของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทีเดียว ท่านมักล่องเรือไปจำพรรษาที่วัดบางจาก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ซึ่งปัจจุบันคือวัดเกษมสรณาราม อ.อัมพวา เพราะเห็นว่าเป็นสถานที่เงียบสงบ จนกระทั่งออกพรรษา ท่านจึงกลับมาเยี่ยมนมัสการท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้งละนานๆ เป็นเช่นนี้ประจำทุกปี

ต่อมาท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดปรกคลองวัว หรือวัดปรกสุธรรมาราม อ.อัมพวา ระยะหนึ่ง จากนั้นก็อยู่จำพรรษาที่วัดบางจาก จนถึงแก่มรณภาพ

ช่วงที่หลวงปู่อ้นจำพรรษาที่วัดบางจาก นั้น ท่านได้สร้างพระเครื่องเพื่อไว้แจกแก่ผู้ที่เคารพนับถือในตัวท่านและส่วนหนึ่งได้นำบรรจุกรุไว้ถึง 2 แห่งด้วยกันคือ ที่วัดเกาะลอย อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี และที่วัดปรกคลองวัว อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยจากเนื้อหามวลสารแล้ว เชื่อว่าใช้สูตร "การลบผงพุทธคุณ" เช่นเดียวกับที่ร่ำเรียนมาจากพระอาจารย์

มูลเหตุการณ์สร้างพระของหลวงปู่อ้น เนื่องจากท่านเป็นพระที่ยึดมั่นหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างสูง จึงคิดสร้างพระพิมพ์ขึ้นจำนวน 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคตินิยมแต่โบราณกาล โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งบรรจุไว้ในพระเจดีย์ อีกส่วนหนึ่งแจกจ่ายศิษยานุศิษย์และผู้ศรัทธาเลื่อมใสตามสมควร "พระหลวงปู่อ้น" จึงมีทั้ง พระที่บรรจุในกรุซึ่งจะมีคราบนวลและขี้กรุตามลักษณะของพระกรุโดยทั่วไปและพระที่ไม่ได้บรรจุกรุ

หลวงปู่อ้น สร้าง "พระสมเด็จ" หลายพิมพ์ทรงด้วยกัน มีอาทิ พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น, พิมพ์เล็บมือ, พิมพ์ประคำรอบ ฯลฯ แต่ "พระหลวงปู่อ้น พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น" นับเป็น "พิมพ์นิยม" ซึ่งทั้งเนื้อมวลสารและพุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาก คือ พิมพ์ทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานหมอน 3 ชั้น ฐานชั้นล่างสุดตรงกลางเป็นร่องลึกซึ่งคล้ายพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ แต่หลวงปู่อ้นได้สร้างพิมพ์ด้านหลังให้เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างออกไป โดยทำพื้นด้านหลังโค้งและนูนเป็นพิเศษ บางครั้งจึงนิยมเรียกว่า "สมเด็จหลังประทุน" เพราะมีลักษณะเหมือน "ประทุนเรือ" แต่ด้วยเหตุที่ต้องการสร้างเอกลักษณ์นี้เอง ทำให้ผู้ฉวยโอกาสทั้งหลาย ได้โอกาสที่จะนำพระของท่านมาแกะและเปลี่ยนแปลง เพื่ออุปโลกน์เป็น "พระสมเด็จ" ของ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้อย่างง่ายดาย

พระหลวงปู่อ้น มีพุทธคุณโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยมเป็นเลิศ เนื้อขององค์พระเมื่อถูกสัมผัสก็จะหนึกนุ่ม แบบที่เรียกว่า "เนื้อจัด" อาจเป็นด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น กอปรกับความเป็นพระเครื่ององค์สำคัญของอำเภออัมพวา จึงเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหา

ปัจจุบันเป็นพระที่หาดูหาเช่ายากยิ่งครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กันยายน 2559 13:38:19 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 08 สิงหาคม 2559 19:14:47 »

.

พระวัดพลับ อมตะพระกรุธนบุรี (1)

ถ้าจะพูดถึงพระเครื่องเก่าแก่ในแถบกรุงเทพฯ-ธนบุรีแล้ว ชื่อ "พระวัดพลับ" ต้องติดในโผต้นๆ เพราะเป็นพระที่มีอายุความเก่ามากกว่า 200 ปี มากกว่า "พระสมเด็จวัดระฆังฯ" พระดังระดับประเทศ ที่อยู่ฝั่งธนบุรีเช่นกันอีกด้วย ด้วยเนื้อหามวลสารแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผง พระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

วัดพลับ หรือ "วัดราชสิทธาราม" บางกอกน้อย เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชา เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดพระเนื้อผงยอดนิยม ที่เรียกขานกันในนาม "พระวัดพลับ"

ถึงแม้ว่าลักษณะองค์พระจะดูง่ายๆ ไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ "พระวัดพลับ" สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้มากมาย เมื่อมองแล้วจะเกิดความรู้สึกลึกซึ้งนุ่มนวล กอปรกับพุทธคุณอันเลิศล้ำทำให้ได้รับความนิยมอย่างสูงในเวลารวดเร็ว ปัจจุบันแทบจะหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากมากๆ

พระวัดพลับแตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470

ต้องขอบคุณเจ้ากระรอกเผือกตัวน้อยที่นำพาไปพบกับสุดยอดวัตถุมงคล "พระวัดพลับ" และนี่ก็คงเป็นที่มาของชื่อกรุพระเจดีย์ว่า "กรุกระรอกเผือก" นั่นเอง

ต่อมาเจ้าอาวาสจึงเปิดกรุพระเจดีย์อย่างเป็นทางการ ปรากฏว่ามีโพรงใหญ่อยู่กลางพระเจดีย์ และพบ "พระวัดพลับ" อีกเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ ยังพบ "พระสมเด็จอรหัง" อีกจำนวนหนึ่งด้วย มีทั้งพิมพ์สามชั้นและพิมพ์ฐานคู่ ซึ่งพระสมเด็จอรหังนั้น สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้าง และก่อนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ จะไปครองวัดมหาธาตุฯ เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดพลับมาก่อน ประกอบกับพระวัดพลับเป็นพระเนื้อผงสีขาว และมีส่วนผสมคล้ายคลึงกับพระสมเด็จอรหังมาก จึงสันนิษฐานได้ว่า "พระวัดพลับ" น่าจะสร้างโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผงเช่นกัน

เนื้อหามวลสารของ "พระวัดพลับ" และ "พระสมเด็จ วัดระฆังฯ" จะดูคล้ายคลึงกันมาก คือ เนื้อขององค์พระเป็นสีขาว มีความหนึกนุ่ม และมีรอยแตกร้าวแบบไข่นกปรอด จะมีความแตกต่างกันตรงที่พระวัดพลับบางองค์จะมี "รอยลานของเนื้อพระ" อันเกิดจากความร้อน ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังฯ จะไม่ปรากฏรอยลานเลย แต่ก็ไม่ถือเป็นเอกลักษณ์สำหรับพระวัดพลับทุกองค์ และพบที่ทำด้วยตะกั่วก็มี มักทำแต่ขนาดเล็กและไม่ค่อยเป็นที่นิยม

พระวัดพลับที่พบมีมากมายหลายพิมพ์ ประทับนั่งขัดสมาธิก็มี เป็นพระไสยาสน์ก็มี เป็นพระปิดตาก็มี หรือจะเป็นแบบ 2 หน้าก็มี และได้รับการขนานนามกันไปต่างๆ ตามพุทธลักษณะขององค์พระ อาทิ พิมพ์วันทาเสมา หรือ พิมพ์ยืนถือดอกบัว, พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก, พิมพ์พุงป่องใหญ่, พิมพ์พุงป่องเล็ก, พิมพ์สมาธิใหญ่, พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต, พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง, พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่, พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก ฯลฯ ที่เป็นที่นิยมที่สุดก็คือ "พระวัดพลับ พิมพ์วันทาเสมา"

พิมพ์วันทาเสมา หรือ พิมพ์ยืนถือดอกบัว อันนับเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในหลายๆ พิมพ์ของพระวัดพลับนั้น อาจเป็นเพราะพิมพ์นี้มีจำนวนพระน้อย และมีพุทธลักษณะที่แปลกแตกต่างก็เป็นได้ ลักษณะพิมพ์ทรงยาวรีแบบเม็ดขนุน ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5 ซ.ม. ด้านหลังนูนเล็กน้อย หลังแบนก็มีบ้าง
   - พระเกศสั้นจิ่มบนมุ่นพระเมาลี เหมือนสวมหมวกกุยของชาวจีน
   - พระนาสิกยื่นเป็นติ่ง
   - พระหนุ (คาง) ยื่นแหลม มีเส้นหนวดเครา
   - มีเส้นเอ็นพระศอ 2 เส้น
   - พระหัตถ์ลักษณะคล้ายถือดอกบัวอยู่ อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
   - ลำพระองค์ค้อมเล็กน้อย
   - ส่วนพระโสณี (สะโพก) มักนูนเป็น กระเปาะ คล้ายไหกระเทียม
   - ปลายจีวรสั้น แลคล้ายนุ่งกางเกงขาลอย
   - ปลายพระบาทเอียงลาด ด้านหลังจะยื่นออกเล็กน้อย

สำหรับพิมพ์อื่นๆ ที่เป็นที่นิยมและเล่นหาในวงการเช่นกัน ติดตามฉบับหน้าครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
      ราม วัชรประดิษฐ์




พระวัดพลับ อมตะพระกรุฝั่งธนบุรี (2)

นอกจาก "พิมพ์วันทาเสมา" ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมและมีค่านิยมสูงสุดใน พระวัดพลับทุกพิมพ์แล้ว พิมพ์อื่นๆ ก็ยังนิยมเล่นหาด้วยค่านิยมที่ลดหลั่นกันไป อาทิ พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก, พิมพ์พุงป่องใหญ่, พิมพ์พุงป่องเล็ก, พิมพ์สมาธิเล็ก, พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต, พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง, พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่, พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก ฯลฯ ลองมาดูเอกลักษณ์กันซัก 3-4 พิมพ์ เผื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจศึกษาหรือเช่าหาครับผม

พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ เรียกตามพุทธลักษณะองค์พระคล้ายกับตุ๊กตาเด็กเล่น ความกว้างประมาณ 1.7-2 ซ.ม. สูงประมาณ 2.5-3 ซ.ม. มีทั้งปีกกว้างและปีกแคบ ความโดดเด่นอยู่ที่องค์พระเพียงอย่างเดียว ปราศจากลวดลายอื่นใดมาประกอบทั้งสิ้น องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบ ด้านหลังนูนแบบหลังเบี้ย หรือหลังเต่า
   -เค้าพระพักตร์ใหญ่ องค์พระจะแลดูอวบอ้วน แต่งามสง่าอยู่ในที อิริยาบถประทับนั่งดูเข้มแข็ง
   -พระพาหาอยู่ในลักษณะหักศอก ต้นพระ พาหาใหญ่
   -การประสานพระหัตถ์ค่อนข้างแข็ง

พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก พุทธลักษณะองค์พระเหมือนพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความกว้างประมาณ 1 ซ.ม. สูงประมาณ 1.5-2 ซ.ม. มีทั้งปีกกว้างและปีกแคบเช่นกัน องค์ที่ปีกแคบมากจะแลดูองค์พระยิ่งเล็ก จนบางคนเรียกว่า "พิมพ์ไข่จิ้งจก" คือมีลักษณะเล็กและหลังนูน คล้ายไข่จิ้งจก
   -เค้าพระพักตร์ใหญ่
   -พระหนุ (คาง) สอบแหลม
   -การทิ้งพระพาหาดูเหมือนหักเป็น 2 ท่อน และการประสานพระหัตถ์เป็นเส้นใหญ่เท่ากันหมด
   -ปลายพระบาทด้านขวาขององค์พระเฉียงทแยงขึ้นมา

พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่ องค์พระมีความกว้างประมาณ 1.5 ซ.ม. สูงประมาณ 2-2.2 ซ.ม. มีทั้งแบบปีกกว้างและปีกแคบ องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบเช่นกัน ด้านหลังนูนแบบหลังเต่า
   -เค้าพระพักตร์ใหญ่
   -พระหนุ (คาง) สอบแหลม
   -พระอุระและพระอุทรนูนสูงมาก อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
   -การวางพระหัตถ์หักเป็น 3 ท่อน และการประสานพระหัตถ์อยู่ในแนวราบ ดูคล้ายอุ้มพระอุทรไว้
   -ข้อพระหัตถ์คอดเล็ก

พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องเล็ก องค์พระกว้างประมาณ 1 ซ.ม. สูงประมาณ 1.7-2 ซ.ม. มีทั้งแบบปีกกว้างและปีกแคบ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบ ด้านหลังนูนแบบหลังเต่า
   -เค้าพระพักตร์แบบผลมะตูมยาน
   -พระหนุ (คาง) ไม่แหลม
   -เส้นลำพระศอค่อนข้างยาว
   -พระอุระและพระอุทรนูนสูง
   -ต้นพระพาหาเล็กลีบ
   -การวางพระพาหาหักเป็น 3 ท่อน การประสานพระหัตถ์อยู่ในแนวราบ แต่ข้อพระหัตถ์ไม่คอด

หลักการพิจารณาพระวัดพลับ ในเบื้องต้นให้สังเกตผิวขององค์พระ พระที่บรรจุอยู่ในกรุเจดีย์กระรอกเผือกเป็นเวลานานนับร้อยกว่าปี จะเกิดปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากความชื้น ความร้อน และความเย็น องค์พระที่ปรากฏจึงมีสีผิวค่อนข้างขาว ลักษณะเป็นคราบน้ำ ตกผลึกเป็นสีขาวและสีเหลืองอ่อนเจือปน ที่เรียกกันว่า "ฟองเต้าหู้" บางองค์เกาะเป็นก้อนจนแลดูเหมือนมี "เนื้องอก" ขึ้นจากพื้นผิวขององค์พระเป็นเม็ดๆ แต่เมื่อขูดออก ผิวขององค์พระก็จะเรียบเหมือนเดิมทุกประการ

นอกจากนี้ ต้องทราบไว้ว่า "พระวัดพลับ" ไม่ได้พบที่กรุกระรอกเผือกวัดพลับเพียงกรุเดียว ยังมีการค้นพบบรรจุในกรุพระเจดีย์วัดโค่ง จ.อุทัยธานี ด้วย ซึ่งสันนิษฐานว่าได้มีการนำไปบรรจุไว้แต่มีจำนวนไม่มากนัก และด้วยสภาพกรุพระเจดีย์ทั้งสองมีความแตกต่างกัน จึงส่งผลให้สภาพพื้นผิวขององค์พระทั้งสองวัดมีความแตกต่างกันด้วย

โดย "พระวัดพลับ กรุวัดโค่ง" ผิวของ องค์พระจะมีขี้กรุสีน้ำตาลแก่ และขี้กรุจะแข็งมากเหมือนกับขี้กรุของพระสมเด็จวัดบา ขุนพรหม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
      ราม วัชรประดิษฐ์




เหรียญหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ฝั่งธนบุรี

"เหรียญหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ใครจะมาฆ่าแกงก็ไม่ต้องกลัว ถึงไหนถึงกัน คงกระพันชาตรีดีนักแล"

คำขวัญนี้ ช่างเหมาะเหลือเกินกับวัตถุมงคลต่างๆ ที่สร้างโดยหลวงพ่อไปล่ ฉันทสโร วัดกำแพง พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมแก่กล้า แห่งฝั่งธนบุรี ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ด้วยสร้างอิทธิปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏประจักษ์มานักต่อนัก ทั้งคงกระพันชาตรี มหาอุตม์ และเมตตามหานิยม สมดังคำร่ำลือจริงๆ

หลวงพ่อไปล่ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2403 ตอนเยาว์วัยศึกษาร่ำเรียนกับพระอาจารย์ทัต เจ้าอาวาสวัดสิงห์ จนปี พ.ศ.2426 บรรพชาเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดกำแพง โดยมี พระอาจารย์ทัต วัดสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์พ่วง วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ดิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ฉนฺทสโร"

ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาและวิทยาอาคมต่างๆ ทั้งด้านกรรมฐานวิปัสสนาธุระ จากพระอาจารย์ทัต วัดสิงห์ พระอุปัชฌาย์ และกรรมวิธีการทำผงอิทธิเจ 108 และสีผึ้ง จาก พระอาจารย์พ่วง วัดกก พระกรรมวาจาจารย์ จนมีความเชี่ยวชาญและแตกฉาน นอกจากนี้ยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์และศึกษาด้านไสยเวท จากพระอาจารย์คง หรือ หลวงปู่เฒ่า วัดบางกะพี้ จ.ชัยนาท พร้อมศึกษาวิทยาการเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อเก้ายอด วัดบางปลา จ.สมุทรสาคร ซึ่งทุกรูปล้วนเป็นพระเกจิผู้ทรงวิทยาคมมีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้นทั้งสิ้น

ต่อมา หลวงพ่อไปล่ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดกำแพงสืบแทนพระอาจารย์ดิษฐ์ ผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แต่หลังจากนั้นท่านก็ไม่ยอมรับสมณศักดิ์ใดๆ อีกเลย จากความเป็นพระเกจิผู้รักสันโดษ สมถะ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและวัตรปฏิบัติ ถึงพร้อมด้วยเมตตาธรรมสูงส่ง จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั่วไป มรณภาพในปี พ.ศ.2482 สิริอายุ 79 ปี พรรษาที่ 57

วัตถุมงคลของหลวงพ่อไปล่ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปหล่อโบราณพิมพ์ทรงต่างๆ และพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ซึ่งล้วนทรงคุณค่า ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูงในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ โดยเฉพาะวัตถุมงคลชิ้นเอกซึ่งได้รับความนิยมสูงและหาดูหาเช่าได้ยากยิ่ง คือ "เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ ปี 2478" เนื่องด้วยเป็นเหรียญหล่อรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างในวาระที่มีอายุครบ 75 ปี ตามที่ศิษยานุศิษย์ขออนุญาตจัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึก

เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ รุ่นแรก ปี 2478 นี้ สร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อทองฝาบาตร และเนื้อสัมฤทธิ์กลับดำ ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ จัดสร้างเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์จอบใหญ่ และพิมพ์รูปไข่ ซึ่งจำนวนการจัดสร้างน้อยมาก

"เหรียญพิมพ์จอบใหญ่" ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นสี่เหลี่ยมยอดมน คล้ายจอบขุดดิน แบบหูในตัว ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อไปล่ นั่งสมาธิเต็มองค์ เหนือฐานอาสนะชั้นเดียว ภายในกรอบเส้นลวดนูน 2 ชั้น จุดเด่นของเหรียญอยู่ที่ใบหน้าของหลวงพ่อจะปรากฏรายละเอียด ทั้ง หู ตา จมูก ปาก ชัดเจน และการครองจีวรก็เห็นรัดประคดชัดเจนด้วย ส่วนด้านหลังเป็นพื้นเรียบ มีอักษรไทยจารึกว่า "ที่ระฤก ๒๔๗๘"

สำหรับ "เหรียญพิมพ์รูปไข่" ลักษณะพิมพ์ทรงกลมรีแบบรูปไข่ มีหูในตัว ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อไปล่ นั่งสมาธิเต็มองค์ เหนือฐานอาสนะชั้นเดียว ปรากฏผ้าสังฆาฏิและรัดปะคดชัดเจน ด้านหลังเป็นพื้นเรียบ จารึกอักษร "ที่ระฤก ๒๔๗๘" เช่นเดียวกัน

การพิจารณาเบื้องต้นของ "เหรียญหลวงพ่อไปล่ รุ่นแรก" นี้ สืบเนื่องจากเป็นเหรียญหล่อโบราณ จึงค่อนข้างดูง่าย ให้สังเกตคราบขี้เบ้าดิน ซึ่งจะยังคงติดให้เห็นอยู่ครับผม

    พันธุ์แท้พระเครื่อง
    ราม วัชรประดิษฐ์



เหรียญหลวงปู่ศุขหันข้าง

"พระครูวิมลคุณากร" หรือ "หลวงปู่ศุข เกสโร" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ที่มีพุทธคุณาคมด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน

มีนามเดิมว่า ศุข เกษเวช เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 4 ขึ้น 8 ค่ำ ปีวอก พ.ศ.2390 ที่บ้านมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ครบอายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน (วัดโพธิ์ทองล่าง) มีพระครูเชย จันทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็นพระอุปัชฌาย์

ท่านได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเชย พระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม ตลอดจนหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์สายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่าง

ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ศุขได้มาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดอู่ทอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จนชาวบ้านแถบนั้นเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ท่านมาสร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนวัดแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อเดือน 1 ปีกุน พ.ศ.2466 สิริอายุ 76 ปี

ในปี พ.ศ.2559 พระราชสุทธิโสภณ หรือ หลวงพ่อประทวน ปภากโร เจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท มีความประสงค์จัดสร้างฐานปฏิบัติธรรมที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ศุข-หลวงปู่สำราญ-เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และบูรณะเสนาสนะภายในวัด

พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร) จึงจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญหลวงปู่ศุขหันข้างรุ่นแรก" เพื่อหารายได้สมทบทุนการก่อสร้างดังกล่าว มีเหรียญ เนื้อทองคำ, เนื้อทองคำ ลงยาสีแดง, เนื้อทองคำ ลงยาสีน้ำเงิน (รวมสามเนื้อ ตามสั่งจอง)

พร้อมจัดสร้างเนื้อเงินบริสุทธิ์ 200 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาสีแดง 200 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาสีน้ำเงิน 200 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาสีเขียว 200 เหรียญ, เนื้อทองระฆัง 4,000 เหรียญ, เนื้อสัตโลหะ 2,000 เหรียญ และเนื้อทองแดงสีรุ้ง 5,000 เหรียญ

ลักษณะเหรียญหลวงปู่ศุขหันข้างรุ่นแรกนี้ เป็นเหรียญกลมรูปไข่ หูห่วงตัน ด้านหน้ามีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงปู่ศุข ครึ่งองค์ หันข้าง ใต้ขอบด้านบนมีอักษรไทย "หลวงปู่ศุข เกสโร"

ส่วนด้านหลังเหรียญ มีขอบรอบเช่นกัน ตรงกลางเป็นยันต์สาม กำกับด้วยอักษรขอม "นะ มะ อุ อะ" มีอักษรขอมล้อมรอบยันต์สาม "นะ โม พุท ธา ยะ อา ยุ วัณ โณ สุข ขัง พะ ลัง" รอบภายในขอบมีอักษรไทย "วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ๒๕๕๙" ตอกโค้ดอักษรไทยคำว่า "รวย" และมีเลขไทยเป็นเลขลำดับองค์พระ

วันที่ 11 พ.ค. 2559 ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีพระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ พระราชสุทธิโสภณ วัดปากคลองมะขามเฒ่า, พระมหาสุรศักดิ์ อติสักโข วัดประดู่, พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์, หลวงพ่อนงค์ วัดสว่างวงษ์คณะกิจ, พระครูสมบูรณ์จริยธรรม วัดหน้าต่างนอก, พระครูสุตตสังวรคุณ วัดป่าสัก เป็นต้น

ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท โทร. 09-0924-1588 และ 08-1007-9454 ทุกวัน




เหรียญโภคทรัพย์ หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ
วัดเขาปฐวี ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี


พ.ศ.2553 หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ พระเกจิชื่อดังวัดเขาปฐวี มีอายุครบ 72 ปี คณะศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็น "เหรียญโภคทรัพย์"

จัดพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง ตามฤกษ์วันเสาร์ห้า ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม 2553 หลังจากปลุกเสกเดี่ยวมาตลอดไตรมาส ซึ่งพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกในถ้ำอันศักดิ์สิทธิ์วัดเขาปฐวี ประกอบด้วย พระราชสุทธิโสภณ (หลวงพ่อประทวน) วัดปากคลองมะขามเฒ่า เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท, พระครูอุทิศธรรมรส (หลวงพ่อโฉม) วัดเขาปฐวี เป็นต้น

เหรียญโภคทรัพย์ เป็นเหรียญปั๊ม เนื้ออัลปาก้า ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง สร้างเพียงจำนวน 7,200 เหรียญ เท่านั้น หลวงพ่อโฉมตั้งใจจัดสร้างขึ้นในโอกาสอายุครบ 72 ปี ได้ปลุกเสกเดี่ยวและประกอบพิธีพุทธาภิเษกในวันเสาร์ห้า อันเป็นอุดมมงคลฤกษ์สำหรับการสร้างวัตถุมงคล

ด้านหน้าของเหรียญ มีขอบนูนรูปไข่ ตรงกลางมีรูปนูนต่ำหลวงพ่อโฉมครึ่งองค์ รอบเหรียญมีตัวหนังสือเขียนว่า พระครูอุทิศ ธรรมรส (หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ) พ.ศ.๒๕๕๓ อายุ ๗๒ ปี" และเหนือไหล่ขวาของหลวงพ่อโฉม ตอกโค้ต "อุ" 1 ตัว

ด้านหลังของเหรียญ มีสันขอบ ตรงกลางเป็นรูปยันต์ห้า บรรจุอักขระขอมภายในว่า "นะโมพุทธายะ" มียันต์อุณาโลม 3 ยันต์ กำกับยอดยันต์ห้า และด้านล่างยันต์ห้ามีอักขระขอมเขียนว่า "นะชาลีติ" ถัดลงมาอีกแถวเขียนว่า "โภคทรัพย์" เหนือขอบเหรียญด้านล่าง เขียนว่า "วัดเขาปฐวี ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี"

เหรียญโภคทรัพย์รุ่นนี้ จัดว่าเป็นเหรียญยอดนิยม ที่มีความคม-สวย

ทำให้นักนิยมสะสมวัตถุมงคล ต่างเสาะหาเช่าบูชามาไว้ครอบครองกัน เนื่องจากสนนราคายังไม่สูงนัก

สำหรับ หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ หรือ พระครูอุทิศธรรมรส พระเกจิชื่อดังที่บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ผู้ใกล้ชิด ต่างเลื่อมใสศรัทธา รวมไปถึงวงการนักนิยมสะสมวัตถุมงคล รู้จักนามพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมแก่กล้า

ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดและเปี่ยมด้วยคุณธรรม เป็นที่พึ่งของชาวบ้านและสาธุชนโดยทั่วไป มีจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมสูง

หลวงพ่อโฉม ได้มีโอกาสศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังและฆราวาสหลายท่าน อาทิ หลวงปู่ธูป เจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี, หลวงพ่อมา วัดมะพร้าวสูง หลวงปู่เภา วัดถ้ำตะโก, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว, หลวงพ่อสว่าง วัดคฤหบดีสงฆ์, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์, หลวงพ่อปุย วัดหนองสระ, หลวงพ่อพลอย วัดห้วยขานาง และพระอาจารย์ขาว จ.พัทลุง ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์สายเข้าอ้อด้วย

ปัจจุบัน หลวงพ่อโฉม สิริอายุ 77 ปี พรรษา 56 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี


.

เหรียญหลวงพ่อเคลือบ รุ่นสร้างเมรุ

"หลวงพ่อเคลือบ สังวรธัมโม" วัดหนองกระดี่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ได้รับการขนานนามว่า "วาจาสิทธิ์" และเทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2432 ที่บ้านคลองชะโด ต.ทุ่งใหญ่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2453 ที่พัทธสีมา วัดหนองเต่า อ.เมืองอุทัยธานี มีพระครูอุทัยธรรมวินิฐ (หลวงพ่อสิน) เจ้าอาวาสวัดหนองเต่า เป็นพระอุปัชฌาย์

ร่ำเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อสินเป็นเวลานาน 3 พรรษา ได้วิชาวาจาสิทธิ์และคงกระพันชาตรี จากนั้นได้ไปเรียนเพ่งกสิณกับหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา จ.ลพบุรี อีก 6 ปี ก่อนออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือ และย้อนกลับมาที่เมืองอุทัยธานี

นอกจากนี้ยังเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อแสง วัดป่าช้า ตลอดจนพระอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมอีกหลายท่าน

มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2497 สิริอายุ 65 พรรษา 45

วันที่ 31 ม.ค.2555 พระใบฎีกาเจริญ วุฑฒิโก เจ้าอาวาสวัดหนองกระดี่นอก จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่งเพื่อหา ทุนทรัพย์ในการสร้างเมรุ เรียกว่า "รุ่นสร้างเมรุ"

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรี มีลายกนกที่ซุ้มห่วง มีเนื้อทองแดงชุบนิกเกิลและเนื้อทองแดงรมดำ

ด้านหน้าเหรียญ มีหูห่วงลายกนกและมีขอบรอบ ตรงกลางมีรูปนูนหลวงพ่อเคลือบครึ่งองค์หันหน้าตรง เหนือขอบเหรียญด้านล่างมีอักษรไทย เขียนคำว่า "หลวงพ่อเคลือบ"

ส่วนด้านหลัง มีขอบเช่นกัน ตรงกลางมียันต์เฑาะว์ ล้อมรอบด้วยอักขระขอม นะ มะ พะ ทะ, จะ พะ กะ สะ ซึ่งเป็นยันต์อันเดียวกับเหรียญหลวงพ่อเคลือบ ปี"15 วัดทัพทัน เหนือขอบเหรียญมีอักษรไทย เขียนคำว่า "รุ่นสร้างเมรุ วัดหนองกระดี่ (นอก) จ.อุทัยธานี ๕๕๕"

พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษก อาทิ พระราชอุทัยกวี (ประชุม มาเรยโย) วัดทุ่งแก้ว เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี, หลวงพ่อวิชา วัดชอนทุเรียน, หลวงพ่อประทวน วัดท่ามะขามป้อม, หลวงพ่อเสน่ห์ วัดพันสี, หลวงพ่อโฉม วัดเขาปฐวี, หลวงพ่อเร่ง วัดดงแขวน, หลวงพ่อเจริญ วัดหลุมเข้า, พระอาจารย์คัมภีร์ (แห้ง) วัดป่าเลไลย์ และพระอาจารย์สมคิด วัดเนินสาธารณ์ เป็นต้น

ผู้สนใจเช่าบูชาสามารถติดต่อได้ที่วัดหนองกระดี่ (นอก) ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี




เหรียญกรมหลวงชุมพรฯ รุ่น"หมอพรทดลองยา"

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นเจ้านายที่ทหารและประชาชนคนไทยให้ความเคารพรักและศรัทธาเป็นอย่างมาก

ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2423 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาโหมด ป.จ.ธิดา ของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สมุหกลาโหม ในรัชกาลที่ 5

เสด็จในกรมฯ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารเรือ จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษในปีพ.ศ.2443 ได้เข้ารับราชการในราชนาวีไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ.2443 พระองค์ทรงมีพระอุตสาหะอย่างยิ่งในการก่อตั้งกองทัพเรือไทย ทรงรับภาระในด้านวิชาการ โดยทรงวางหลักสูตรการสอนนักเรียนนายเรือขึ้นมาใหม่และทรงเป็นครูสอนนักเรียนด้วยพระองค์เอง

หลังจากเสด็จในกรมฯ ทรงปรับปรุงหลักสูตรการสอนในโรงเรียนนายเรือได้ไม่นานก็มีการได้เปิดโรงเรียนนายเรือสมัยใหม่ขึ้นอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 20 พ.ย. 2449

ปัจจุบัน กองทัพเรือถือว่าวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ"

ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2466

ย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.2557 คณะกรรมการที่จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญกรมหลวงชุมพรจัดสร้างไปครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2557 โดยนำรายได้ส่วนหนึ่งสมทบทุนในการซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ แต่ยังขาดแคลนอีกจำนวนหนึ่ง

ในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดอาศรมหมอพร ภายในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า วันที่ 27 พ.ค. 2559

คณะกรรมการจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดย พล.ร.ท. จุมพล ลุมพิกานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือ ประธานดำเนินการจัดสร้าง ได้รับความเมตตาจาก หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม พระเกจิชื่อดังแห่งวัดป่าห้วยกุ่ม อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์, น.ต.ภากร ศุภชลาศัย ซึ่งเป็นหลานตาของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นประธานฝ่ายราชสกุลอาภากร และประธานฝ่ายฆราวาส จัดสร้าง "เหรียญกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รุ่นหมอพรทดลองยา"

มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและเผยแพร่พระเกียรติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านการแพทย์ทางเลือก จนได้รับการถวายพระสมัญญานาม "หมอพร" ซึ่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะนำไปจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

ประกอบพิธีมังคลาภิเษกที่วัดป่าห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ เมื่อวันที่ 4 พ.ค.2559 โดยมี น.ต.ภากร เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ได้อัญเชิญพระชัยวัฒน์ประจำพระองค์กรมหลวงชุมพรฯ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นองค์พระประธานในพิธี พร้อมทั้งอัญเชิญพระอัฐิของเจ้าจอมมารดาโหมด (พระมารดา) และพระทนต์ (ฟัน) กรมหลวงชุมพรฯ ร่วมพิธี

นอกจากพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก ยังได้รับเมตตาจากพระสุนทรปริยัติวิธาน เจ้าอาวาสวัดราษฎร์บูรณะ(วัดช้างให้) จ.ปัตตานี อนุญาตให้นำเหรียญรุ่นนี้เข้าพิธีมังคลาภิเษก ณ อุโบสถวัดช้างให้ ในวันที่ 18 พ.ค. 2559

สำหรับเหรียญรุ่นนี้เป็นการจัดสร้างตามรูปแบบเหรียญดังเดิมที่เป็นสัญลักษณ์เหรียญของพระองค์ท่าน คือ เป็นเหรียญรูปข้าวหลามตัด ด้านหน้าเหรียญเป็นพระรูปเหมือนพระองค์ท่าน ในฉลองพระองค์ชุดทรงงานในห้องทดลองยา มีลายพระนาม "อาภากร" และคำว่า "หมอพร" จารึกไว้ ถือว่าเป็นการจัดสร้างในรูปแบบนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งยังไม่เคยมีการจัดสร้างมาก่อน

ส่วนด้านหลังเหรียญยังคงเป็นรูปเดิมคือตราประจำพระองค์ "พระอาทิตย์ชักรถ" พร้อมจารึกคำว่า "ที่ระลึกพิธีเปิด อาศรมหมอพร กรมแพทย์ทหารเรือ ๒๗ พ.ค.๕๙" เรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า "หมอพรทดลองยา" หลังจากจัดสร้างเหรียญเสร็จ ทางคณะกรรมการได้ทุบทำลายบล็อกเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2559

จัดสร้างจำนวนไม่มาก มีเนื้อทองคำ สร้าง 19 องค์ เนื้อเงิน สร้าง 999 องค์ เนื้อทองแดงชุบทองพ่นทรายขัดเงา สร้าง 999 องค์ เนื้อทองทิพย์ สร้าง 9,999 องค์ และเนื้อทองแดง สร้าง 9,999 บาท มีการตอกโค้ด "สามสมอ" ด้วยมือทุกองค์

ผู้สนใจเหรียญหมอพรทดลองยา เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ โทร.09-7136-3798 หรือ 08-9967-2737




พระสมเด็จฐานโบสถ์ 108 ปีวัดทองนพคุณ

"วัดทองนพคุณ" ชื่อเดิม วัดสระทอง ตั้งอยู่บ้านปะหลาน หมู่ 2 เทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม จัดเป็นวัดเก่าแก่ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2384 จนถึงปัจจุบันมีอายุเก่าแก่กว่า 175 ปี

นอกจากนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมีผลงานดีเด่น เป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรม เป็นสำนักงานเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย หน่วยกำกับงานพระธรรมทูตอำเภอ และค่ายคุณธรรมเยาวชนจิตอาสา เป็นต้น

มีพระมหาประกิต ฐิตญาโณ รองเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

ในปี พ.ศ.2557 พระมหาประกิต มีโครงการที่บูรณะอุโบสถเก่าโบราณที่อยู่คู่กับวัดมานานกว่าร้อยปีซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมให้คงอยู่คู่กับวัดแห่งนี้ไปตราบนานเท่านาน แต่วัดยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก จึงมีการหารือกับทางคณะกรรมการวัดและญาติโยมชาวอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย มีมติให้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็น "พระพิมพ์สมเด็จเนื้อผงฐานโบสถ์ 108 ปี รุ่นเงินไหลกองทองไหลมา" เพื่อมอบให้แก่พุทธศาสนิกชนที่ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนบูรณะอุโบสถโบราณหลังนี้

สำหรับวัตถุมงคลรุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งบนบัลลังก์อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ด้านข้างบัลลังก์มีพญานาคข้างละ 1 ตัว ล่างสุดหน้าบัลลังก์เป็นรูปหัวเสือเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

ด้านหลังมีตัวเลข ๒ แถว แถวบน ๑๐๘ หมายถึงอายุของอุโบสถของวัดทองนพคุณ แถวล่างตัวเลข ๑๕๗ หมายถึงเลขที่วัด และวัดมีอายุ ๑๗๕ ปี แถวที่สามมีตัวอักษรเขียนคำว่า "สำเร็จ" และมีรูปตราครุฑหมายถึงมหาอำนาจ ด้านล่างเป็นอักขระยันต์ 2 แถว ล่างสุดเขียนคำว่า "ทอง นพคุณ"

วัตถุมงคลรุ่นนี้สร้างจากมวลสารศักดิ์สิทธิ์ อาทิ ผงกรุพระธาตุนาดูน ผงธูปวัดระฆัง ผงธูปวัดใหม่อมตรส ใบเปลือกต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ดินผงว่าน 108 ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ผงพระสมเด็จบางขุนพรหมหลายรุ่น ไคลเสมาอิฐฐานโบสถ์วัดทองนพคุณ เป็นต้น

พิเศษที่สุด คือ มีส่วนผสมเกศาอดีต 9 พระเกจิชื่อดังในพื้นที่และของภาคอีสาน อาทิ หลวงปู่มี อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม, หลวงปู่สา วัดบ้านเหล่า จ.มหาสารคาม, หลวงปู่สุข จ.มหาสารคาม, หลวงปู่หงส์, หลวงปู่เสาร์, หลวงพ่อดี, หลวงปู่บุญตา, หลวงปู่ผาง

นอกจากนี้ ยังมีอัฐิอดีตพระเกจิมหาสารคาม 5 อาจารย์ ประกอบด้วย หลวงปู่สา หลวงปู่สุ่ย หลวงปู่สุข หลวงปู่ศรีจันทร์ และหลวงพ่อเสาร์ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ภายในอุโบสถวัดทองนพคุณ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ส.ค.2557 จำนวนการสร้าง 1,999 องค์ พระเกจิอาจารย์ที่อธิษฐานจิตล้วนมีชื่อเสียงโด่งดัง ประกอบด้วย หลวงปู่กอง จ.ร้อยเอ็ด, หลวงพ่อไหล จ.มหาสารคาม, หลวงพ่อเผือก จ.สุรินทร์, หลวงปู่สุข จ.สุรินทร์, หลวงพ่อทองนาค จ.มหาสารคาม ฯลฯ

จัดเป็นวัตถุมงคลที่ดีอีกรุ่นหนึ่งของเมืองมหาสารคาม หากนักสะสมวัตถุมงคลสนใจ มีความประสงค์สักการบูชา ยังมีเหลือตกค้างอยู่จำนวนหนึ่ง สอบถามที่วัดทองนพคุณ โทร.08-7215-3891


"เปิดตลับพระใหม่" daily.khaosod.co.th
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 สิงหาคม 2559 19:22:28 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2559 20:06:46 »

.


พระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระพุทธชินราชของหลวงพ่อโม วัดสามจีน ผิดกัน ที่ของวัดเสาธงทองเป็นเนื้อดิน ส่วนวัดสามจีนเป็นเนื้อชิน พระพุทธชินราช วัดเสาธงทองนี้มีพุทธคุณอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด โด่งดังมากในสมัยก่อน ในปัจจุบันแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

วัดเสาธงทองเป็นวัดโบราณมีอายุราว 600-700 ปี ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าท่านผู้ใดสร้างไว้ มีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมา วัดเสาธงทองตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดพระบาท ด้วยเหตุที่มีรอยพระพุทธบาทสร้างด้วยศิลาแลง มีเรื่องเล่ากันว่าพระพุทธบาทนี้ลอยมาตามน้ำมาวนเวียนอยู่หน้าวัดนี้ ตาปะขาว 2 ได้ทำพิธีอัญเชิญขึ้นมาและประดิษฐานยังวิหาร ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดพระบาท

เรื่องพระพุทธบาทศิลาแลงนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเมืองสุพรรณบุรี ได้เสด็จทอดพระเนตรพระพุทธบาทศิลาแลงนี้ และตรัสถามสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ว่า "เชื่อหรือไม่ว่าฝ่าพระพุทธบาทศิลาแลงนี้จะลอยน้ำได้จริง" สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทูลตอบว่า "เชื่อ" โบราณวัตถุวัดเสาธงทองที่สำคัญนอกจากรอยพระพุทธบาทศิลาแลงแล้ว ยังมีพระประธานซึ่งมีพุทธลักษณะงดงาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสชมว่า "งามนัก"

วัดเสาธงทองเคยรกร้างว่างเปล่า ปราศจากการดูแลรักษามาก่อนอยู่ระยะหนึ่ง จนในที่สุดโบราณวัตถุเสนาสนะต่างๆ มีอันต้องปรักหักพังลงจนหมด ต่อมาในราวปีพ.ศ.2410 หลวงพ่ออยู่เป็นพระภิกษุรูปแรก ได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุขึ้นใหม่ โดยสร้างกุฏิสงฆ์ขนาดเล็ก 2-3 หลัง พอเป็นที่อาศัยแก่พระสงฆ์ ท่านครองวัดเสาธงทองได้ประมาณ 10 ปีก็มรณภาพ

สืบต่อมาหลวงพ่อเพิ่มได้มาปกครองวัดแทนหลวงพ่ออยู่ ท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ต่อเป็นการใหญ่ โดยจัดสร้างพระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ราวปี พ.ศ.2460 ท่านก็ได้สร้างพระเครื่องแจกเป็นครั้งแรก ก็คือพระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง สร้างเป็นเนื้อดินเผา เนื้อละเอียด ถ้าผ่านการใช้จะมีเนื้อจัดมาก มีทั้งแบบที่ลงรักปิดทองและไม่ได้ลง หลังจากที่หลวงพ่อเพิ่มมรณภาพแล้วพระพุทธชินราชวัดเสาธงทอง ได้มีการแจกต่อมาในสมัยหลวงพ่อวอน และต่อมาถึงสมัยหลวงพ่อหรุ่น เนื่องจากหลวงพ่อเพิ่มท่านสร้างไว้จำนวนมาก

พระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง ได้แพร่หลายไปหลายจังหวัด และมีพุทธคุณโดดเด่นในด้านอยู่ยงและแคล้วคลาด จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในสมัยก่อนก็รู้กันแค่เป็นพระของวัดเสาธงทอง ก็มีผู้เข้าใจผิดเป็นวัดเสาธงทอง ลพบุรี ก็มี ซึ่งความจริงเป็นวัดเสาธงทอง สุพรรณบุรี ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว ต้องพิจารณาดีๆ สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนัก แต่ปัจจุบันก็หาได้ไม่ง่ายนักครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพุทธชินราช วัดเสาธงทอง จาก Web-Pra ของร้านไททั้นพระเครื่องมาให้ชมกันครับ พระองค์นี้เนื้อจัดมาก สวยงามครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์




พระพุทธ 25 ศตวรรษ เนื้อดินเผา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีคำถามหนึ่งที่ผมมักโดนถามอยู่บ่อยเหมือนกันคือ "ห้อยพระอะไรดี" คำถามนี้มักจะเป็นคำถามที่มาจากบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เล่นหาสะสมหรืออยู่ในแวดวงสังคมพระเครื่อง และเป็นคนที่รู้จักมักคุ้นกับผม ซึ่งเขาอยากจะห้อยบูชาพระเครื่องแต่ไม่แน่ใจว่าจะห้อยพระอะไร องค์ไหน และอาจมีคำถามต่ออีกว่า เกิดวันนี้ห้อยพระอะไร หรือทำอาชีพนี้ต้องห้อยพระอะไรจึงจะดี

คำถามนี้อาจเหมือนกับว่าไม่น่าจะมีปัญหา มีอะไรก็ห้อยๆ ไป แต่สำหรับบางท่านก็มีข้อสงสัยเพื่อจะได้เลือกให้ดีที่สุด ถ้าผู้ถามมีพระเครื่องอยู่แล้ว นำมาให้ช่วยเลือกให้ก็ไม่ยากเท่าไรนัก แต่ก็มีคำถามต่อว่าดีอย่างไรอีก ความจริงเรื่องนี้ผมคิดว่า ถ้าเป็นพระแท้แล้วดีทั้งนั้นแหละครับ ส่วนมากพระเครื่องที่เขาสร้างมานั้นก็จะหาฤกษ์พานาทีที่ดีและเหมาะสม อยู่แล้วในขณะที่ทำพิธีปลุกเสก จึงควรจะดีที่สุดแล้ว ส่วนเรื่องความนิยมหรือสนนราคาค่างวดก็ว่ากันไปตามความต้องการของสังคม

การจะเลือกพระเครื่องสำหรับห้อยคอนั้น ผมว่าเลือกเอาตามที่เราชอบเป็นใหญ่ดีกว่าไม่ต้องไปตามแบบใคร แต่ถ้าเอาไว้อวดก็ว่ากันไปอีกอย่างหนึ่ง การเลือกตามที่เราชอบและศรัทธานั้นเหมาะสมที่สุด เช่น เราเคารพศรัทธาในพระองค์ใดก็เลือกตามนั้น ความสบายใจก็จะมีกับเราเอง เพราะเราเป็นผู้ห้อยพระนั้นและก็เป็นของเรา บางท่านอาจชอบพระกรุ เนื้อชิน เนื้อดิน ก็เอาตามที่ชอบที่มี หรือจะเช่าหามาห้อยก็เลือกเอาตามฐานะเงินในกระเป๋าด้วยจะสบายใจและไม่เดือดร้อน เช่น มีเงินอยู่นิดหน่อยแต่อยากห้อยพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ก็ยุ่งยากหน่อย เพราะปัจจัยไม่พร้อม อาจจะไปหลงหาพระสมเด็จปลอมที่มีราคาถูกมาห้อย ความสบายใจอาจมีในตอนแรก แต่พอรู้หรือนำไปให้ใครดูเขาไม่ยอมรับก็จะกลายเป็นความไม่สบายใจตามมาภายหลังได้

ผมว่าสู้เลือกเช่าหาพระที่มีความเหมาะสมกับเงินในกระเป๋าจะดีกว่านะครับ มีพระเครื่องมากมายทั้งพระเก่าพระใหม่ที่เป็นพระแท้ๆ ราคาก็ไม่แพงนำมาห้อยบูชาน่าจะดีกว่า อีกอย่างไม่ว่าเกิดวันใดหรือทำงานอาชีพใด ห้อยพระอะไรก็ได้ทั้งนั้นครับ มีแต่ดีไม่มีเสียครับ ในส่วนพุทธคุณก็ว่ากันไป โดยส่วนมากก็ว่ากันไปตามประสบการณ์ต่างๆ ที่มีผู้ได้รับประสบการณ์นั้นๆ และบอกต่อกันมา บางท่านมีพระเครื่องอยู่บ้างแล้วก็เลือกเอา

องค์ที่ชอบและศรัทธามาห้อยบูชาก็พอ แต่ถ้าจะหาเช่าก็เลือกเอาที่เราชอบและศรัทธาก็พอครับ ไม่ว่าจะเป็นพระกรุพระเก่า เนื้อดิน เนื้อชิน เนื้อผง หรือพระเกจิฯ เหรียญ หรือพระใหม่ก็ไปเช่าที่วัดเลยก็ได้ครับ เลือกเอาที่ชอบและสบายใจดีที่สุด

ผมเองเคยมีประสบการณ์กับพระที่หาได้ไม่ยาก สนนราคาไม่แพงด้วย คือพระพุทธ 25 ศตวรรษครับ เป็นพระเครื่องที่มีพิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีบันทึกไว้ พระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสกทั่วทั้งประเทศ แต่สร้างไว้มีจำนวนมาก เพื่อให้ประชาชนได้รับกันอย่างทั่วถึง จึงทำให้หาเช่าได้ไม่ยากและมีราคาถูก ทั้งเนื้อชินและเนื้อดิน ผมว่าเป็นพระเครื่องที่ไม่น่ามองข้ามและถ้าไม่ได้เอาไว้โชว์ แต่ห้อยไว้เพื่อเป็นสิริมงคล คุ้มครองป้องกันตัว ยอดเยี่ยมมากครับ

แต่อย่าลืมห้อยพระไว้ในใจด้วย ระลึกในพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดาจะดีมากเลยครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระพุทธ 25 ศตวรรษ เนื้อดินเผา มาให้ชมกันครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์




พระร่วงยืน และพระร่วงนั่งรัศมี กรุวัดกลางนครปฐม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐมเป็นเมืองมาแต่โบราณ มีการขุดค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย และที่สำคัญก็พบโบราณสถานสมัยทวารวดีอยู่หลายแห่ง ที่สำคัญมากก็คือองค์พระปฐมเจดีย์และอื่นๆ มีการพบโบราณวัตถุทางศาสนาพุทธก็มาก เช่น พระพุทธรูปสมัยทวารวดีและเสมาธรรมจักร เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังพบพระพิมพ์และพระเครื่องอีกด้วย

ในส่วนของพระเครื่องที่เป็นพระกรุ อายุถึงสมัยทวารวดีก็มีการขุดพบเจอที่วัดกลางนครปฐม เมื่อประมาณปี พ.ศ.2495 เป็นพระพิมพ์ต่างๆ เช่น พระร่วงยืน พระร่วงนั่งข้างรัศมี พระแผงสมัยทวารวดี พระแผงสมัยศรีวิชัย พระที่พบในครั้งนั้นมีทั้งพระเครื่องและพระบูชา มีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน พระเครื่องที่นิยมที่สุดก็คือ พระร่วงยืนเนื้อตะกั่วสนิมแดงและพระร่วงนั่งรัศมี เนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระร่วงยืนเป็นพระปางประทานพรยกพระหัตถ์ขวาปางประทานพร พระหัตถ์ซ้ายขนานกับลำพระองค์ ตัดพิมพ์ชิดลำพระองค์ไม่มีปีกหรือซุ้ม

พระร่วงนั่งพิมพ์รัศมี เป็นพระประทับนั่งบนฐานบัวสองชั้น มีรัศมีทั้งสองด้าน

พระทั้งสองแบบนี้เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง จำนวนพระที่พบน้อยมาก จึงไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก ที่พบจำนวนน้อยอาจเป็นเพราะองค์พระผุกร่อนเสียหายไปเสียหมด เนื่องจากมีอายุการสร้างที่ยาวนาน จึงเหลือพระที่พบจำนวนไม่มากนัก

พุทธศิลปะ เป็นแบบทวารวดีตอนปลาย

พุทธคุณเท่าที่ได้บอกเล่ากันต่อมาว่า เด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน

ปัจจุบันไม่ได้พบเห็นกันเลย ผู้ที่มีต่างก็หวงแหนกันมากครับ นับว่าเป็นพระกรุของนครปฐมที่หายากมากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงยืน และพระร่วงนั่งรัศมี กรุวัดกลางนครปฐม จากหนังสืออมต พระกรุของคุณต้อย เมืองนนท์มาให้ชมกันด้วยครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์




พระกริ่งทีอ๋อง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราก็มาพูดคุยกันถึงพระกริ่งนอกที่จัดอยู่ในพระชุดยอดนิยมของพระกริ่งนอก ก็คือพระกริ่งพัชรีทีอ๋อง หรือที่มักเรียกกันสั้นๆ ว่า พระกริ่งทีอ๋อง มีชื่อเรียกว่าพระกริ่ง แต่จริงๆ แล้วเป็นพระรูปลอยองค์ที่ไม่มีการบรรจุเม็ดกริ่ง ในอดีตท่านผู้หลักผู้ใหญ่ได้จัดเข้าประเภทพระกริ่ง และเป็นหนึ่งในห้าของพระกริ่งนอกยอดนิยมครับ

พระกริ่งทีอ๋องนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ประมาณปี พ.ศ.1349-1363 เครื่องทรงของพระกริ่งแสดงถึงลักษณะของนักบวชจีน อันเป็นลักษณะพิเศษทางด้านพุทธศิลปะของสกุลช่างซัวไซ แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นแบบที่พาให้นึกย้อนหลังไปถึงสมัยน่ำปัก เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10

อย่างไรก็ตาม พระกริ่งทีอ๋องก็แสดงถึงลักษณะดั้งเดิมของจีน ผู้สร้างได้ถ่ายแบบมาจากพระพุทธรูปที่วัดหลงเมนยี่ ใกล้นครลกเอี๋ยง ลักษณะเจดีย์เก้าชั้นเป็นศิลปะในสมัยถัง หนังสือชื่อฮุดก่ากักจง กล่าวถึงในรัชกาลพระเจ้าถังเหี่ยงจง พ.ศ.1349-1363 ศิลปะพระพุทธรูปถือเจดีย์เป็นแบบอย่างที่เกิดขึ้นในรัชกาลนี้ มีจารึกบอกอยู่ที่วัดฮุดกวงยี่ที่ซัวไซและที่หลงเมนยี่เมืองลกเอี๋ยง การสร้างพระพุทธรูปถือเจดีย์คงจะสร้างขึ้นเพื่อบูชาพระบรมธาตุ เพราะในรัชกาลนี้สมณทูตจากอินเดียได้นำพระบรมสารีริกธาตุเข้าไปถวายถึงกรุงเชียงอาน พระเจ้าถังเหี่ยงจงได้เสด็จออกต้อนรับ และฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุแล้วสร้างพระเจดีย์ใหญ่เก้าชั้นบรรจุไว้ และพระพุทธรูปที่สร้างเป็นลักษณะของรูปมนุษย์เริ่มมีขึ้นที่ซัวไซเป็นแห่งแรกในประเทศจีน พระกริ่งทีอ๋องก็คงถ่ายทอดแบบลักษณะการสร้างมาจากแห่งใดแห่งหนึ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

พุทธลักษณะของพระกริ่งทีอ๋อง ผู้สร้างพยายามเน้นให้เห็นถึงการแสดงออกทางกายวิภาคและอารมณ์อันสงบต่อการบำเพ็ญสมาธิ พระพักตร์เหี่ยวย่น คางแหลม และมีปลายหางตาที่ชี้สูง บอกถึงลักษณะความยิ่งใหญ่และอำนาจที่เปล่งอยู่ภายใน พระหัตถ์ซ้ายถือเจดีย์ยอดเปลวเพลิง อันหมายถึงความรุ่งโรจน์และการตั้งมั่นในหลักธรรม ดอกบัวแปดกลีบที่เป็นบัลลังก์ประดับอยู่ที่ฐานสองชั้น ชั้นละแปดกลีบ หมายถึงมรรคแปด ถ้ารวมกันจะนับได้ 16 กลีบ หมายถึง จับหลักกวงมึ้ง ที่พระองค์ได้สร้างถึง 16 โลกธาตุ ดินแดนแห่งอมตะตามลัทธิศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน

พระกริ่งทีอ๋องนี้ ก็เป็นพระกริ่งนอกอีกองค์หนึ่งที่ไม่พบว่ามีการบรรจุเม็ดกริ่งเลย เช่นเดียวกับพระกริ่งหนองแส แต่ก็จัดอยู่ในชุดพระกริ่งนอกเช่นกันครับ สร้างด้วยเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทอง แบบทองม้าฬ่อ หรือสีกุญแจจีน ผิวสีน้ำตาลอมแดง

พระกริ่งทีอ๋องนับว่าเป็นพระกริ่งนอกที่หายาก เนื่องจากอาจจะมีจำนวนไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดพระกริ่งนอกยอดนิยมครับ และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกริ่งทีอ๋องมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์




พระบ้านกร่างคู่ตัดเดี่ยว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระวัดบ้านกร่างเป็นพระกรุของจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีความนิยมกันมาก ที่เรารู้จักกันดีและพูดถึงกันมากก็คือพระขุนแผน ซึ่งก็มีอยู่ทั้งพิมพ์อกเล็กและพิมพ์อกใหญ่ นอกจากนี้ก็ยังมีพระพิมพ์อื่นอีกมากมาย

วัดบ้านกร่างตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

พระวัดบ้านกร่างมีการพบเนื่องจากเจดีย์เก่าได้พังทลายลงมา จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความว่าน่าจะพบพระเครื่องก่อนปี พ.ศ.2440 พระเครื่องที่พบเป็นเนื้อดินเผาและมีจำนวนมากมาย พระเณรและชาวบ้านได้ช่วยกันนำมา กองไว้ที่โคนต้นพิกุลหน้าวิหารและในวิหาร สุมไว้เป็นพะเนินเทินทึก ในครั้งนั้นยังไม่มีใครสนใจ ต่อมามีผู้นำไปบูชาแล้วเกิดประสบการณ์ต่างๆ พระทั้งหมดก็หายไปอย่างรวดเร็ว

พระวัดบ้านกร่างมีพระอยู่แบบหนึ่งที่แปลกไปจากพระอื่นๆ โดยทั่วไปคือพระบ้านกร่างคู่หรือที่ปัจจุบันเรียกว่าพระพลายคู่ ในสมัยก่อนนั้นคนจะนิยมแต่พระพิมพ์ขุนแผน และพระเดี่ยวซึ่งก็มีอยู่หลายพิมพ์มาก พระบ้านกร่างคู่นั้นไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าไร อาจจะเป็นเพราะการเลี่ยมห้อยคออาจจะทำยาก และไม่ค่อยสวย สนนราคาจึงถูกกว่าพระพิมพ์อื่นๆ คนที่ไม่ค่อยมีเงินเบี้ยน้อยหอยน้อยก็จะหาพระบ้านกร่างคู่ ที่ชำรุดตัดเอาให้เหลือองค์เดี่ยว หรือนำพระบ้านกร่างคู่มาตัดแบ่งกันแล้วเลี่ยมห้อยกันคนละองค์ ซึ่งเราจะพบเห็นพระบ้านกร่างคู่ตัดเดี่ยวเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน

พระบ้านกร่างคู่ มีอยู่มากมายหลายพิมพ์ บางพิมพ์ก็เหมือนกับพระพิมพ์พลายเดี่ยว แต่มีสององค์อยู่ติดกัน พระบ้านกร่างคู่เท่าที่มีการรวบรวมไว้มีอยู่หลายพิมพ์คือ พิมพ์หน้ายักษ์ พิมพ์หน้าเทวดาซุ้มเดี่ยว พิมพ์หน้าเทวดาซุ้มคู่ พิมพ์เศียรโต พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้าฤๅษี พิมพ์หน้าหนุ่ม พิมพ์ 3 ขีด พิมพ์หน้ากลม พิมพ์อกครุฑ พิมพ์หน้ามงคล พิมพ์สองปาง เป็นต้น

พระบ้านกร่างคู่ เนื้อหาของพระก็เหมือนพระบ้านกร่างพิมพ์อื่นๆ ทุกพิมพ์ คือเป็นเนื้อดินเผา เนื้อค่อนข้างหยาบ มีกรวดทรายปะปนในเนื้อพระ และที่เป็นเอกลักษณ์คือตามผิวของพระมักจะพบรอยที่นักนิยมสะสมพระมักจะเรียกว่ารอยว่านหลุด คือเป็นรอยหลุมเล็กๆ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายๆ กับมีชิ้นส่วนอะไรหลุดออกจากเนื้อพระ และมีเกือบจะทุกองค์

โดยเฉพาะด้านหลังพระจะพบบ่อย ด้านข้างของพระก็จะมีรอยตอกตัดทุกองค์ ในส่วนของพระบ้านกร่างคู่ที่ตัดเดี่ยว เราก็สังเกตได้จากรอยตัดของพระ ซึ่งจะมีร่องรอยการตัดที่ไม่เป็นรอยตอกตัดอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งจะเป็นรอยที่มีการตัดหรือหักแบ่งในภายหลัง

พระบ้านกร่างคู่ตัดเดี่ยวในสมัยก่อนจะมีราคาถูกมาก ราคาแค่หลักร้อยหรือพันกว่าบาทเท่านั้น แต่ในปัจจุบันองค์สวยๆ มีราคาสูงมากพอสมควร บางองค์บางพิมพ์สูงถึงหลักหมื่นทีเดียวครับ ส่วนในเรื่องพุทธคุณนั้น เหมือนกับพระของกรุบ้านกร่างทุกพิมพ์ครับ

วันนี้ผมนำรูปพระบ้านกร่างคู่ตัดเดี่ยวองค์สวยๆ มาให้ชมกันครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์




พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย

สวัสดีครับผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลทางโซเชี่ยลมีเดียเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วกว้างขวาง มีผู้นิยมเสพและเผยแพร่ข้อมูลในด้านนี้ และทางด้านพระเครื่องนั้นก็หนีไม่พ้นจะมีการสื่อสารในรูปแบบนี้เช่นกัน ข้อดีก็มีอยู่มาก แต่ในทางกลับกันก็มีผลในทางลบด้วย ถ้าข้อมูลข่าวสารนั้นไม่ถูกต้อง หรือมีอะไรแอบแฝงเพื่อการล่อลวงให้หลงเชื่อ

โดยปกติส่วนตัวผมเองก็ตกยุคไปแล้วสำหรับการสื่อสารสมัยใหม่ไม่ได้เข้าไปดู แต่เมื่อไม่นานมานี้ก็มีเรื่องราวต่างๆ เข้ามามากมาย ทั้งคนรู้จักและเพื่อนฝูงสอบถามมาและให้เข้าไปดูบ้าง มีข้อมูลขัดแย้งหรือเห็นต่างมากมาย ผมจึงเริ่มเข้าไปค้นดู ก็เป็นเช่นนั้นจริง มีทั้งในด้านที่ดีและในด้านลบ ขัดแย้งหรือโจมตีให้ร้ายกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา โลกนี้มีสองด้านทั้งด้านบวกและด้านลบเสมอ

มูลนั้นก็มีหลากหลาย เหมือนกันบ้างแตกต่างกันบ้าง ซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่างนั้นไม่ใช่เรื่องผิดมนุษย์ย่อมมีความคิดที่แตกต่างกันเป็นธรรมดาก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลหรือสิ่งที่เขาได้รับมาและศึกษามาแบบใด ก็ย่อมจะเข้าใจในแบบนั้น เรื่องของพระเครื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความศรัทธา

ผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลถ้ามีความบริสุทธิ์ใจก็ไม่มีปัญหา ความขัดแย้งก็ไม่น่าจะมีเกิดขึ้น เพราะต่างคนต่างเลือกที่จะเชื่อและศรัทธาตามที่ตนชอบ แต่ถ้ามีการจงใจให้ข้อมูลที่ผิดนั้น เพื่อการหาผลประโยชน์แอบแฝงก็น่ากลัวครับ โดยบางกรณีเท่าที่เห็นนั้นก็พอเข้าใจได้ว่าทำกันเป็นกลุ่ม มีผลประโยชน์แอบแฝง และมีการกล่าวโจมตีอีกฝ่ายหนึ่งอย่างเห็นได้ชัดเจน

ในสมัยก่อนสังคมผู้นิยมพระเครื่องเรื่องการพิจารณาพระเครื่องก็มีแค่พระองค์นั้นๆ เป็นพระอะไร ที่ไหน รุ่นอะไร และพิจารณาว่าเป็นพระแท้หรือพระปลอมเท่านั้น และมีการสร้างนิทานต่างๆ เพื่อให้พระที่ทำขึ้นมาเองโดยไม่มีหลักฐานอะไรยืนยัน (อุปโลกน์) เพื่อหลอกขายกัน ซึ่งก็เป็นของคู่กันในเรื่องแท้กับเก๊ เนื่องจากพระแท้ที่มีคนนิยมก็ย่อมมีผู้แสวงหาอยากได้ ก็ย่อมมีมูลค่าราคาเข้ามาเกี่ยวข้อง คำตอบก็มีแค่แท้กับเก๊

ส่วนในสมัยปัจจุบันก็มีพระแท้กับพระเก๊และพระที่อุปโลกน์เช่นกัน แต่เรื่องการอุปโลกน์นั้นพัฒนาขึ้นให้ทันสมัยในโลกการสื่อสารสมัยใหม่ จับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เมื่อมีผู้สนใจเข้าไปเช่าหาแล้วมีการนำมาตรวจสอบในสนามพระหรือสังคมส่วนกลาง ก็ไม่เป็นที่ยอมรับหรือนำมาขายก็ขายไม่ได้ ก็มีผลย้อนกลับไปที่กลุ่มผู้ที่อุปโลกน์ จึงมีการโจมตีตอบโต้ต่างๆ ในส่วนของโซเชี่ยลมีเดีย มีการกล่าวว่าสังคมส่วนกลางนั้นเล่นหาพระเฉพาะของพวกเดียวกันเองเท่านั้น ของกลุ่มอื่นๆ ไม่ยอมรับ

ครับเรื่องนี้มีการพูดถึงบ่อยมาก เรื่องพระแท้หรือไม่แท้นั้นยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดๆ ที่เป็นทางการรับรอง เหมือนกับทองหรือเพชร แต่ก็มีมาตรฐานมูลค่าราคารองรับ เมื่อเป็นพระแท้ตามมาตรฐานสากลก็ย่อมนำไปตีเป็นมูลค่าได้

ในสังคมที่เขาเล่นหากันเป็นสากลของคนส่วนใหญ่ ไม่แน่ว่าวันใดวันหนึ่งตัวเราอาจจะมีเหตุจำเป็นทางการเงินหรือลูกหลานมีความจำเป็นขึ้นมาก็สามารถนำไปออกตัวให้เช่าหาหรือพูดแบบชาวบ้านก็คือนำไปขายเปลี่ยนเป็นเงินกลับมาแก้ไขปัญหาได้

แต่ถ้าเป็นพระที่ไม่ตรงกับมาตรฐานที่เขาเล่นหาก็ไม่สามารถจะนำไปขายได้ก็ต้องทำใจนะครับ ไม่ใช่มาก่นด่าว่าให้ร้ายคนอื่นเขาหรือไม่ก็ควรนำไปขายกับกลุ่มที่เราซื้อหามาจึงจะถูกต้อง แล้วความจริงก็จะปรากฏรู้ได้เอง

เรื่องความเชื่อศรัทธาแบบใดนั้นไม่ใช่ความผิด สามารถเลือกตามที่เชื่อได้ แต่เมื่อมีปัญหามากระทบก็ไม่ควรไปกล่าวว่าร้ายบุคคลอื่น เพราะเราก็เลือกเชื่อเอง ไม่มีใครบังคับ ก็ควรยอมรับในเงื่อนไขนั้นๆ เท่าที่เห็นมาก็มีพระหลายๆ อย่างที่มีผู้นิยม มีมูลค่าสูงๆ มีการทำเผยแพร่แตกต่างกับสังคมส่วนใหญ่เยอะมาก เช่น พระสมเด็จฯ พระในชุดเบญจภาคี เป็นต้น ก็เลือกเชื่อเลือกศรัทธากันนะครับ

ความจริงหนีความจริงไม่พ้น ไม่วันใดก็วันหนึ่งก็เห็นได้เองครับ ทองคำก็ย่อมเป็นทองคำ จะกลายเป็นทองเหลืองไม่ได้ เพชรก็ย่อมเป็นเพชร ไม่กลับกลายไปเป็นแก้วได้ ฉันใดก็ฉันนั้น พระแท้ก็แท้วันยังค่ำ และมีมูลค่าราคาตลอดไปครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย ที่เป็นที่ยอมรับและเป็นมาตรฐานสากลมาให้ชมครับ

   ด้วยความจริงใจ
   แทน ท่าพระจันทร์



พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก

การสร้าง "พระสมเด็จวัดระฆัง" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้น กล่าวกันว่า เมื่อครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ได้มีโอกาสอ่านศิลาจารึกหลักหนึ่งที่ว่าด้วย "กรรมวิธีการสร้างพระเครื่องด้วยเนื้อผงขาว" โดยมีเนื้อมวลสารหลักเป็นปูนขาวหรือปูนเปลือกหอยมาผสมผสานกับวัสดุมงคลอื่นๆ อีกมากมาย

ต่อมาในปี พ.ศ.2409 หลังจากได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระสมเด็จพุฒาจารย์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ดำริสร้างพระเครื่องไว้แจกเป็นที่ระลึกแก่บรรดาชาวบ้านที่ทำบุญใส่บาตร หรือมาเยี่ยมเยือน จึงนำกรรมวิธีดังกล่าวมาสร้างเป็นพระเครื่อง โดยมีหลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนักเป็นผู้แกะพิมพ์ถวายและปลุกเสกด้วย "พระคาถาชินบัญชร" อันลือเลื่องจึงเรียกขานพระเครื่องที่สร้างขึ้นมาว่า "พระสมเด็จ" จำนวนการสร้างแต่ละครั้งนั้นไม่มากนัก เมื่อหมดก็สร้างใหม่ และได้สร้างเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2415

ต่อมากลายเป็นพระเครื่องล้ำค่าสุดยอดปรารถนาของบรรดานักสะสมพระเครื่องและพุทธศาสนิกชนทั่วหล้าจนถึง ปัจจุบัน ท่านตรียัมปวายยังได้ยกย่องให้เป็นจักรพรรดิแห่งพระเครื่องเหนือกว่าพระองค์อื่นใด และเหนือกว่าพระทุกองค์ใน "พระชุดเบญจภาคี" อีกด้วย

ในบรรดาพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระสมเด็จ"พิมพ์ทรงเจดีย์" ไม่ว่าจะเป็นวัดระฆังหรือบางขุนพรหม นับเป็นหนึ่งในสุดยอดที่นักสะสมและบรรดาพุทธศาสนิกชนต่างพากันแสวงหา เนื่องจากพระนามองค์พระที่เป็นมงคลมีคำว่า "ดี" อยู่ด้วย และสัณฐานเป็นลักษณะของพระพุทธเจดีย์ทรงลังกา (ระฆังคว่ำ)

บางคนเข้าใจว่าท่านสร้างแต่พระสมเด็จเจดีย์ใหญ่ หากความจริงแล้วท่านได้สร้างทรงเจดีย์ขึ้นหลายพิมพ์ เซียนรุ่นใหญ่หลังๆ ท่านตรียัมปวายแบ่งแยกพิมพ์เฉพาะทรงเจดีย์ออกได้ถึง 5 แม่พิมพ์ด้วยกัน และนับรวมเข้ากับพิมพ์ต่างๆ โดยปรากฏทั้งในวัดระฆังและวัดบางขุนพรหม

สำหรับพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก หนึ่งในห้าพิมพ์นั้น มักจะปรากฏในวัดระฆังเป็นส่วนใหญ่และมีเอกลักษณ์พิเศษคือ มีขนาดย่อมกว่าพิมพ์อื่นเล็กน้อย เหมาะสำหรับห้อยบูชาติดตัว องค์ที่มีชื่อเสียงมีหลายองค์ องค์หนึ่ง ภรรยาคุณฉลี ยงสุนทร นักสะสมพระรังใหญ่ในอดีตคล้องบูชาติดตัวตลอด ตอนหลังเห็นคุณนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ อาราธนาขึ้นคออยู่

นอกจากองค์พระมีขนาดย่อมกว่า พิมพ์เจดีย์อื่นที่ปรากฏทั้งหมด 5 พิมพ์แล้ว พระสมเด็จวัดระฆังทรงเจดีย์เล็ก ยังมีลักษณะพิเศษที่เป็นข้อสังเกตเบื้องต้น คือ มักมีความหนาใหญ่ เนื่องจากผสมมวลสาร อาทิ ปูนเปลือกหอย ผงพุทธคุณ ผงมหาราช ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห บางองค์เห็นเมล็ดข้าวแห้งและชายจีวรลงอักขระเลขยันต์ด้วย, ลักษณะองค์พระด้านหน้าจะเอียงพระวรกายจนดูบิดน้อยๆ ส่วนปลายยอดพระเกศจะเรียวแหลมจรดซุ้มครอบแก้ว และจะเห็นรอยปูไต่ชัดเจน สำหรับแนวทางการพิจารณาจุดชี้ตำหนิต่างๆ ขององค์พระ มีดังนี้

- เส้นนูนขอบแม่พิมพ์ทั้ง 2 ด้าน จะลากจากส่วนบนสุดลงมาจรดฐานเส้นซุ้มเรือนแก้ว
- เส้นซุ้มเรือนแก้วเอียงไปทางด้านขวาขององค์พระ
- พระเกศยาวติดเส้นซุ้มเรือนแก้ว
- พระกรรณข้างขวาขององค์พระจะติดกับพระปราง
- ในองค์ที่ติดชัด ส่วนตั้งของพระพาหาทั้ง 2 ข้างสูงและช้อน ลึกมาก
- บั้นพระเอวผายออกเล็กน้อย
- พระเพลานูนสูงและหนากว่าทุกพิมพ์ องค์ที่ติดชัดจะปรากฏปลายพระบาททั้ง 2 วางซ้อนกันชัดเจน
- ฐานชั้นที่ 3 หนากว่าพิมพ์ที่ 2, 3 และ 4
- องค์พระหนากว่าทุกพิมพ์เกือบเท่าตัว
- ปรากฏเม็ดพระธาตุ

ส่วนด้านหลังนั้น จะปรากฏรอยตัดตอกมากกว่าทุกพิมพ์และส่วนมากสันจะหนากว่าพิมพ์ที่ 2, 3 และ 4 แผ่นหลังจะคล้ายกับหลังสังขยาของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

ประการสำคัญ ขณะนี้ที่เป็นข่าวลือลั่นสนั่นทุ่งไปทั่วเมือง เนื่องจากมีพระสมเด็จวัดระฆังทรงเจดีย์แท้ไม่มีหักไม่มีซ่อม หลุดออกมาจากรังคุณฉลี ยงสุนทร องค์หนึ่ง ผมได้พิจารณาและขอพรท่านแล้ว พบว่าพระองค์นี้ตรงตามพุทธลักษณะของพระสมเด็จวัดระฆังทรงเจดีย์เล็กทุกประการ สมบูรณ์ทั้งด้านหน้าด้านหลัง ลักษณะสีผิวมีสีเหลืองนวลสลับกับคราบรักเก่าแลดูงามซึ้งตา

   พันธุ์แท้พระเครื่อง
   ราม วัชรประดิษฐ์


บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: 03 กันยายน 2559 18:21:38 »

.


เหรียญพระศรีอริยเมตไตรย ปี 2467

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระศรีอริยเมตไตรย วัดไลย์ ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดลพบุรี มีประชาชนเคารพศรัทธามาก มีการจัดงานประเพณีนมัสการองค์พระปีละ 3 ครั้ง

พระศรีอริยเมตไตรย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า "พระศรีอาริย์" นั้นเป็นพระรูปหล่อแบบพระพุทธรูปแต่ไม่มีเปลวรัศมี (ไม่มีพระเกศ) นั่งสมาธิแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัย สวยงามมาก ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดไลย์ ในทางประวัติศาสตร์มิได้มีการระบุไว้ว่าสร้างในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้าง คงมีแต่ตำนานกล่าวถึงการสร้างของทางวัด เกี่ยวกับเรื่องของอภินิหารที่มีผู้วิเศษเข้ามาเกี่ยวข้อง

ประชาชนโดยทั่วไปศรัทธาและไปกราบนมัสการเป็นจำนวนมาก ในทุกๆ ปีจะมีการจัดงานนมัสการประจำปี โดยจัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เริ่มงานวันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3

ครั้งที่ 2 เริ่มงานวันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ครั้งนี้เป็นประเพณีใหญ่ เรียกว่างานแห่พระศรีอริยเมตไตรย จากวัดไลย์ไปถึงวัดท้องคุ้ง

ครั้งที่ 3 เริ่มงาน วันแรม 4-6 ค่ำ เดือน 11 แต่โบราณเป็นประเพณีแห่พระศรีอริยเมตไตรยทางน้ำและได้ยกเลิกประเพณีแห่ทางน้ำตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 คงเพียงนมัสการภายในวัดเท่านั้น

งานประเพณีประจำปีแห่พระศรีอริยเมตไตรย ในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ถือเป็นงานใหญ่ทางคณะกรรมการจัดงานและประชาชนจะอัญเชิญรูปหล่อพระศรีอริยเมตไตรยขึ้นประดิษฐาน และจัดขบวนแห่ ด้วยให้ประชาชนที่มาร่วมขบวนไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ก็จะมีการสรงน้ำและปิดทอง ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่าประชาชนทั้งหลายที่มาร่วมขบวนจะจัดประดับตกแต่งช้างม้าบรรดามีของตนอย่างสวยงามตามที่จะจัดได้แล้วนำมาร่วมขบวนแห่ นอกจากนี้ผู้ที่ไปร่วมขบวนก็มีศิลปิน นักแสดงต่างๆ เกาะกันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งมีทั้งเทิงบ้องกลองยาว เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัยและการเล่นต่างๆ ซึ่งแล้วแต่ผู้ใดจะถนัดการแสดงทางไหน ก็แสดงกันไปอย่างสนุกสนาน เป็นงานใหญ่ประจำปี ผู้คนต่างสนุกสนานครึกครื้นที่สุด ตั้งแต่เริ่มขบวนแห่และเมื่อขบวนแห่กลับมาถึงวัดไลย์ก็นำองค์พระศรีอริยเมตไตรยมาประดิษฐานที่ปะรำพิธี เพื่อเปิดงานนมัสการต่อไป

ปัจจุบันนี้พิธีแห่พระศรีอริยเมตไตรยก็ยังกระทำเป็นประจำทุกปีและเป็นงานใหญ่ที่ประชาชนพยายามรักษาประเพณีดั้งเดิมไว้ ถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ทำสืบทอดกันต่อมาแต่ครั้งโบราณ และเป็นงานสำคัญของจังหวัดลพบุรี

วัตถุมงคลของวัดไลย์ได้เริ่มสร้างมาในสมัยหลวงพ่อสุ่น พุทธสโร เป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ (2451-2472) ได้จัดสร้างเหรียญรูปพระศรีอริยเมตไตรยขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่มานมัสการพระศรีอริยเมตไตรยและร่วมทำบุญที่วัดไลย์ เหรียญที่สร้างในครั้งแรกนั้น สร้างเป็นเหรียญรูปทรงเสมาด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธชินราช อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีอริยเมตไตรย มีสร้างสองเนื้อ คือเนื้อทองแดงกะไหล่ทองและเนื้ออะลูมิเนียม สร้างประมาณปี พ.ศ.2460 อีกรุ่นหนึ่งเป็นรูปทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระศรีอริยเมตไตรย ด้านหลังเป็นยันต์ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง สร้างระบุปี พ.ศ.2467 ทั้งสองรุ่นเป็นรุ่นนิยม เป็นเหรียญหายากที่สวยสมบูรณ์ราคาค่อนข้างสูง

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญทั้งสองแบบมาให้ชมทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์




พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม ซึ่งเป็นพิมพ์สุดท้ายของพระสมเด็จวัดระฆังฯ

ซึ่งตามที่ผมได้ศึกษามาจากผู้อาวุโสของสังคมพระเครื่องนั้น ท่านสอนว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ มีพระอยู่ 4 พิมพ์ คือพระพิมพ์ใหญ่ พระพิมพ์ทรงเจดีย์ พระพิมพ์ฐานแซม และพระพิมพ์เกศบัวตูม และพระพิมพ์เกศบัวตูมก็เป็นพระที่หายาก เนื่องจากจำนวนพระที่พบนั้นมีน้อยมาก

ในส่วนของแม่พิมพ์ของพระพิมพ์นี้เฉพาะของวัดระฆังฯ ก็มีแม่พิมพ์อยู่เพียงแม่พิมพ์เดียวเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมเราจึงพบพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูมมีจำนวนน้อยไปด้วยครับ

สำหรับจุดสังเกตแม่พิมพ์ของพระพิมพ์เกศบัวตูมนั้น เราก็มาสังเกตดูเส้นขอบแม่พิมพ์ของพระพิมพ์เกศบัวตูมดู เส้นขอบแม่พิมพ์ด้านข้างทั้งสองด้านของพระพิมพ์นี้ จากด้านบนลงล่างจะเห็นว่าค่อนข้างจะสมดุล คือวิ่งจากด้านบนลงมาจรดหัวฐานซุ้มครอบแก้วพอดีทั้งสองด้าน

แต่ถ้าสังเกตดีๆ ก็จะเห็นว่าเส้นขอบแม่พิมพ์ด้านขวามือเรานั้นจะค่อนข้างอยู่ชิดกับเส้นซุ้ม ครอบแก้วมากกว่านิดหน่อย จึงทำให้พื้นที่ชายขอบด้านนอกซุ้มครอบแก้วด้านขวามือเรามีพื้นที่น้อยกว่า

ด้านซ้ายมือเรา พระพิมพ์เกศบัวตูมเส้นซุ้มครอบแก้วจะอวบนูนหนา พระพิมพ์นี้พระเกศคือจุดเด่นที่ฐานพระเกศจะเห็นมุ่นมวยผมชัดเจนกว่าพระทุกพิมพ์ และที่ตัวพระเกศจะปล่องกลาง ลักษณะคล้ายดอกบัวตูมและไม่ยาวไปจรดซุ้มครอบแก้ว เป็นที่มาของชื่อที่เรียกพระพิมพ์นี้ครับ

พระพักตร์ค่อนข้างกลม ที่หน้าผากของพระคือจากเหนือหูของพระถ้าองค์พระที่ยังสมบูรณ์และติดแม่พิมพ์ดีๆ จะสังเกตได้ว่า หน้าผากจากลาดลงจากเหนือหูลงไปสู่ด้านบน ถ้าดูจากองค์จริงและดูด้านข้างจะเห็นได้ชัด

ใบหูของพิมพ์นี้จะเป็นแบบบายศรีและค่อนข้างชัดกว่าพระทุกพิมพ์ เนื่องจากพระพิมพ์เกศบัวตูมมีแม่พิมพ์ที่ลึกกว่าพระทุกพิมพ์ ปลายใบหูจะยาวจรดบ่า

พระพิมพ์นี้จะเห็นลำคอได้ค่อนข้างชัดเจน หัวไหล่และบ่าหนาทำให้เห็นได้ว่าเนื้อช่วงบ่ามาถึงซอกรักแร้จะมีเนื้อหนาทั้งสองด้านกว่าพระทุกพิมพ์ ลำแขนทั้งสองข้างอวบหนาแล้วค่อยๆ เรียวลงมาจนถึงมือที่ประสานกัน ลำพระองค์หรือลำตัวจะดูอวบล่ำสัน

ในองค์ที่สมบูรณ์จะเห็นเส้นสังฆาฏิ และเส้นจีวรที่ห่มเฉียงที่วิ่งไปที่ใต้รักแร้ชัดเจน หน้าตักของพิมพ์เกศบัวตูมจะค่อนข้างหนา หัวเข่าด้านซ้ายขององค์พระหรือขวามือเรานั้นจะกลมมน

ส่วนหัวเข่าขวาของพระหรือด้านซ้ายมือเรานั้นจะงอนขึ้นเล็กน้อย พระพิมพ์นี้ถ้าในองค์ที่สมบูรณ์ๆ จะสังเกตเห็นพระบาทหรือเท้าของพระได้ชัดทั้งสองด้านโดยเฉพาะปลายเท้าซ้ายของพระจะยื่นห้อยลงมา

ในส่วนของฐานพระพิมพ์เกศบัวตูม ใต้ตักของพระจะมีเส้นแซมที่ชัดเจนและเส้นแซมนี้จะไม่ได้ตั้งขึ้นมาจากพื้นผนังแต่จะดูคล้ายกับว่ามีเนื้อฐานรองรับก่อนแล้วจึงเป็นเส้นแซม ฐานชั้นบนจะอวบหนาและปลายทั้งสองด้านงอนขึ้นน้อยๆ

เส้นแซมใต้ฐานชั้นบนก็เช่นกัน จะมีเนื้อฐานรองรับ ในองค์ที่สมบูรณ์จะเห็นมีเส้นวิ่งขึ้นไปด้านบนเชื่อมกับฐานชั้นบน ฐานชั้นกลาง จะเป็นแบบฐานขาสิงห์ชัดเจน และความยาวของฐานชั้นกลางนี้จะไม่ยาวมาก เกือบจะยาวเท่าๆ กับฐานชั้นบน ซึ่งต่างจากพระพิมพ์อื่นๆ ของวัดระฆังฯ ฐานชั้นล่าง จะเป็นแท่งทึบ ปลายตัดเฉียงลงและปลายฐานทั้งสองด้านจะไม่จรดซุ้มครอบแก้ว

ครับ ก็เป็นจุดสังเกตแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม ซึ่งมีแม่พิมพ์อยู่แม่พิมพ์เดียว พระองค์ที่ผมนำมาลงให้ชมกันนี้เป็นพระที่สวยสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีรูปถ่ายในสังคมนี้ มีรายละเอียดแม่พิมพ์ครบถ้วน ผมจึงนำมาให้ชมประกอบครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์เล็ก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันต่อเรื่องของพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ อีกแม่พิมพ์หนึ่ง แต่พื้นฐานการพิจารณาโดยรวมก็ยังคงเหมือนกับแม่พิมพ์อื่นๆ มีเพียงรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน ทำให้เราสังเกตได้ว่า เป็นแม่พิมพ์คนละตัวกัน ตามที่ได้กล่าวมาในตอนต้นๆ นั้น ผมยังไม่ได้พูดถึงว่า พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ ตามรายละเอียดของแม่พิมพ์นั้น ทุกแม่พิมพ์องค์พระจะมีหูทั้งสองข้าง เพียงแต่ส่วนมากเราไม่ค่อยได้สังเกตเห็น เนื่องจากมักไม่ค่อยติดแม่พิมพ์ และเป็นการแสดงรายละเอียดให้เห็นเพียงรางๆ นอกจากองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีๆ และติดชัดๆ เท่านั้น ถ้าเราดูจากองค์จริงจะสังเกตเห็นได้ ยิ่งการมองจากภาพถ่ายก็เห็นได้เป็นบางองค์เท่านั้น เพราะเป็นการมองภาพสองมิติ ภาพถ่ายไม่สามารถมองได้เป็นแบบสามมิติ

ครับเรามาดูแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์อีกแม่พิมพ์หนึ่ง ซึ่งผมขอเรียกว่า แม่พิมพ์เล็ก เนื่องจากขนาดขององค์พระมีขนาดเล็กกว่าพระแม่พิมพ์อื่นทุกแม่พิมพ์ และพระพิมพ์นี้พบเห็นได้มากเป็นอันดับสองของ พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ครับ จุดสังเกตที่พอจะสื่อได้โดยการเขียนและดูจากภาพถ่ายของพระแม่พิมพ์ ได้แก่
       1.เส้นขอบแม่พิมพ์ก็เหมือนกับแม่พิมพ์อื่นๆ คือขอบแม่พิมพ์ด้านข้างซ้ายขวา จะลากจากบนลงล่างมาจรดขอบของซุ้มครอบแก้วเช่นเดียวกับแม่พิมพ์อื่นๆ
       2.ตัวซุ้มครอบแก้วมักเอียงโย้ไปด้านซ้ายมือเรา ให้สังเกตดูตรงซุ้มครอบแก้วด้านบนขวามือเราจะโค้งโย้ไปทางด้านซ้ายมือเรา มากกว่าซุ้มด้านบนของซ้ายมือเรา จะตั้งชันมากกว่า
       3.พระเกศยาวไปจรดซุ้มครอบแก้ว และดูอวบอ้วนกว่าแม่พิมพ์ที่แล้ว จะสังเกตเห็นต่อมมุ่นมวยผมที่ฐานพระเกศในส่วนที่อยู่ต่อจากพระเศียรได้ ชัดเจนกว่า ตรงกลางพระเกศจะป่องกลางเสมอกันทั้งสองด้าน และค่อยๆ เรียวขึ้นไปจรดซุ้ม
       4.หูของพระจะติดแนบชิดกับแก้ม เป็นเนื้อนูนขึ้นมาเท่านั้น
       5.แขนทั้งสองข้างนูนสูงกว่าทุกแม่พิมพ์ ทำให้ในร่องซอกแขนจะลึกชอนลึกกว่าทุกแม่พิมพ์
       6.ลำพระองค์ (ลำตัว) จะไม่เป็นทรงตัววี V แต่มีเอวและผายออกเล็กน้อย
       7.เส้นสังฆาฏิ ในองค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดๆ ก็จะพอสังเกตได้
       8.หน้าตักของพระแม่พิมพ์นี้หนานูนสูงกว่าแม่พิมพ์ที่แล้ว จะลึกคมชัด ในองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีๆ และยังไม่สึกหรอ เห็นการซ้อนของขาและพระบาทชัดเจนมากจะเห็นพระบาท (เท้า) ชัดเจน
       9.ฐานทั้งสามชั้นจะหนาลึก ฐานชั้นบนเป็นลักษณะรูปเรือบดเช่นเดียวกัน ฐานชั้นกลางก็จะแสดงเป็นโต๊ะขาสิงห์ชัดเจน เนื่อง จากแม่พิมพ์นี้มีความลึกของแม่พิมพ์มาก

ครับแม่พิมพ์เล็กของพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์พอที่จะสื่อได้ในรูปภาพและเขียนเป็นตัวหนังสือก็ประมาณนี้ ครับ ท่านลองสังเกตดูทุกๆ จุดกับรูปภาพ ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ดูตามทีละจุด ท่านก็พอจะเข้าใจได้ และลองเปรียบเทียบดูกับที่ผมได้พูดถึงพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ตั้งแต่ต้น ท่านก็จะเข้าใจถึงตัวแม่พิมพ์ได้พอสมควรครับ วันต่อไปเราก็ค่อยมาคุยกันถึงแม่พิมพ์อื่นต่อไปครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์เล็ก องค์ที่สวยมาก ติดแม่พิมพ์ลึกชัดมาให้ชมครับ พระองค์นี้เคยมีการลงรักปิดทองมาเดิมและมาลอกรักออกเพื่อให้เห็นรายละเอียดของแม่พิมพ์ชัดเจนครับ



ตามที่ผมบอกว่าแนวทางการจำแนกแม่พิมพ์ ซึ่งผมได้รับการถ่ายทอดมานั้น มีอยู่ 4 แม่พิมพ์ และเราต้องการทราบก่อนเป็นอย่างแรก เพื่อที่จะได้เข้าใจและสามารถรู้ได้ว่าพระองค์ที่เห็นนี้เป็นพิมพ์ทรงไหน พิมพ์ทรงถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเป็นอันดับแรกของการพิจารณาว่าพระองค์นั้นแท้หรือไม่

ครับมาดูกันเรื่องแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ ที่เรามักจะพบเห็นแม่พิมพ์นี้มากที่สุด แสดงว่ามีจำนวนมากกว่าพระแม่พิมพ์อื่นๆ ผมจะพูดถึงเฉพาะที่สามารถสื่อออกมาได้เป็นตัวหนังสือและสังเกตได้ในรูปภาพเท่านั้นนะครับ อีกอย่างหนึ่งคงจะไม่มีการขีดเส้น เพราะภาพอาจจะเล็กและทำให้มีปัญหาในการที่จะต้องเพ่งมองเพราะจะรกรุงรังไปหมด ลองอ่านทีละจุดและมองดูรูปภาพตามทีละจุดก็น่าจะพอเข้าใจได้นะครับ
       1.อันดับแรกเราดูเส้นขอบแม่พิมพ์ของแม่พิมพ์นี้กัน อย่างที่ได้บอกไว้ในฉบับที่แล้ว เราก็มาทบทวนกันตามไปด้วยนะครับ เส้นขอบแม่พิมพ์ด้านข้างจากบนลงล่างทั้งซ้ายและขวานั้น ลองสังเกตดูจะเห็นว่าวิ่งจากบนลงมาจรดขอบซุ้มครอบแก้วทั้งสองด้านเท่าๆ กัน ซึ่งไม่เหมือนกันกับพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ที่เคยกล่าวมาแล้ว
       2.มาดูที่พระเกศขององค์พระ พระองค์ที่นำมาเป็นแบบองค์นี้แสงเงาของรูปอาจจะทำให้เห็นจุดที่เป็นมุ่นมวยผมได้ไม่ชัดเจนนัก แต่ถ้าดูจากองค์จริงจะเห็นได้ชัดเจนว่า เหนือพระเศียรซึ่งเป็นฐานของพระเกศนั้นจะเป็นเนื้อนูนขึ้นมาเหมือนกับมวยผมแล้วจึงต่อเป็นตัวพระเกศที่เป็นเส้นตรงยาว
       3.ที่เส้นพระเกศที่เป็นเส้นตรงไปจรดซุ้มครอบแก้วนั้น ช่วงตรงกลางจะเห็นว่ามีรอยขยัก เป็นตุ่มป่องตรงกลางอยู่หนึ่งจุด และตรงจุดนี้เอง ให้สังเกตว่าตุ่มนี้จะโย้มาทางด้านขวามือเรา ส่วนด้านซ้ายมือเรานั้นจะไม่ค่อยป่องออกไป อันนี้เป็นจุดสังเกตของแม่พิมพ์นี้ครับ จะต้องมีเหมือนกันทุกองค์ครับ
       4.หัวไหล่ซ้ายขวา และซอกรักแร้นั้น จะมีเนื้อเท่ากันทั้งสองด้าน
       5. พระพิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์นี้นั้น สำหรับพระองค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดๆ และยังไม่มีการใช้สึกนัก จะเห็นว่ามีเส้นจีวร และเส้นสังฆาฏิ ซึ่งยกนูนและเป็นร่อง ส่วนเส้นจีวรจะพาดจากไหล่ลงมาและลากย้อนมาถึงใต้รักแร้ขวาขององค์พระ และตรงจุดนี้เองถึงพระในองค์ที่สึกจะไม่เห็นเส้นสังฆาฏิแล้วก็ตาม แต่ก็จะเห็นเส้นชายจีวรตรงบริเวณในส่วนของซอกรักแร้ เราจะเห็นเป็นเส้นแทงเข้าไปในซอกรักแร้ สังเกตดูให้ดีครับ เส้นชายจีวรในส่วนนี้ที่ยังต้องอยู่ก็เพราะอยู่ในส่วนที่ลึกลงไปในระดับต่ำกว่าเนื้อหน้าอกครับ ก็เป็นจุดสังเกตพระแม่พิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์นี้ครับ
       6.ในองค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดๆ และไม่สึก จะเห็นว่ามีรายละเอียดของการวางหน้าแข้งและเท้าขององค์พระชัดเจน ส่วนบางองค์อาจมีการใช้สึกไปบ้างก็จะไม่เห็นครับ
       7.ต่อมาเรามาดูที่ฐานของพระ ในฐานชั้นบนสุดนั้นเราจะเห็นว่าปลายของฐานด้านซ้ายมือเราจะเรียวแหลมและงอนขึ้นเล็กน้อย ส่วนปลายฐานด้านขวามือเรานั้นกลับจะเป็นรูปทรงมนๆ จึงมองดูคล้ายๆ กับรูปเรือบด ฐานชั้นนี้ก็เป็นเอกลักษณ์ของพระพิมพ์ทรงเจดีย์ทุกแม่พิมพ์ครับ
       8.ฐานชั้นกลางก็จะต้องเป็นฐานแบบฐานเขาสิงห์คือ ปลายฐานทั้งสองด้านจะมีเส้นต่อลงมาเป็นแบบโต๊ะขาสิงห์ เช่นเดียวกับพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์อื่นๆ
       9.ฐานชั้นล่างเป็นแบบฐานหมอน ทึบตัน

ครับจุดสังเกตคร่าวๆ ที่เป็นหลักในการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์นี้ครับ ซึ่งในจุดอื่นๆ ก็ยังมีอีกหลายจุดครับ แต่ไม่สามารถชี้ให้เห็นได้ ในรูปที่มีขนาดเล็กขนาดนี้ได้ครับ ในวันต่อไปเราก็จะมาพูดคุยกันถึงพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์อื่นๆ ต่อไปครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ องค์สวยสมบูรณ์ และเป็นองค์ที่มีชื่อเสียงองค์หนึ่งมาให้ท่านชม เพื่อเป็นการศึกษาแม่พิมพ์ ท่านก็ลองสังเกตตามไปทีละจุดตามที่ผมได้แนะนำไว้นะครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ที่มีเส้นแซมใต้ตัก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราก็มาคุยกันถึงแม่พิมพ์พระของพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ที่มีเส้นแซมใต้หน้าตักกันต่ออีกหนึ่งแม่พิมพ์ครับ สำหรับแม่พิมพ์นี้ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนบางท่านอาจจะแยกออกเป็นพระพิมพ์เกศบัวตูมก็มี แต่หลักการสังเกตตำหนิแม่พิมพ์นั้นก็ยังคงเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่จัดอยู่ในหมวดพิมพ์ต่างกันเท่านั้นครับ ในส่วนที่ผมศึกษามานั้น ครูบาอาจารย์ที่ท่านสอนผมให้เหตุผลไว้น่าฟังและดูมีเหตุผลว่า ให้ผมลองนำไม้บรรทัดมาทาบดูตามหลักของหมวดพิมพ์ทรงเจดีย์ ก็เป็นตามหลักของพิมพ์ทรงเจดีย์ แล้วมาดูที่ฐานชั้นบนก็เป็นรูปเรือบดแบบเดียวกับพิมพ์ทรงเจดีย์เช่นกัน และมีอะไรหลายอย่างที่น่าจะเข้าหมวดกับพระพิมพ์ทรงเจดีย์ ผมจึงยึดตามหลักของกลุ่มที่จัดให้พระแม่พิมพ์นี้อยู่ในหมวดของพิมพ์ทรงเจดีย์ ในส่วนที่อีกกลุ่มจะจัดให้อยู่ในหมวดพิมพ์เกศบัวตูมก็ไม่ผิดนะครับ ก็แล้วแต่จะจัดกลุ่มเท่านั้น ในส่วนการพิจารณาแท้หรือไม่นั้นเหมือนกันทุกประการครับ

ครับ เรามาเข้าเรื่องแม่พิมพ์ของพระพิมพ์นี้กันต่อดีกว่านะครับ พระแม่พิมพ์นี้ก็เป็นพระที่พบเห็นน้อยเช่นกันครับ น้อยกว่าทั้งสองแม่พิมพ์ที่ได้คุยกันไว้ในวันก่อนครับ เราลองมาดูกันว่ามีจุดสังเกตอะไรบ้างนะครับ
       1.ให้สังเกตเส้นขอบแม่พิมพ์ด้านข้างทั้งซ้าย-ขวาเช่นเดิม เราจะเห็นได้ว่าเส้นทั้งสองเส้นนั้นวิ่งจากด้านบนลงมาจรดขอบซุ้มครอบแก้ว เหมือนกันกับทั้งสองแม่พิมพ์ที่พูดถึงไปแล้ว แต่ให้สังเกตตรงที่เมื่อเส้นขอบแม่พิมพ์วิ่งลงมาถึงตำแหน่งประมาณฐานชั้นบน นั้น เส้นขอบแม่พิมพ์จะเริ่มวิ่งมาเบียดชิดกับซุ้มครอบแก้ว และวิ่งต่อ ลงมาจรดกับขอบฐานซุ้มครอบแก้วทั้งสองข้างเหมือนกัน ซึ่งต่างจากทั้งสองแม่พิมพ์ขั้นต้นที่ผ่านมาแล้ว
        2.ให้สังเกตที่พระเกศ โดยเฉพาะที่ฐานพระเกศบริเวณที่ติดกับยอดพระเศียรนั้น เราจะเห็นมุ่นมวยผมชัดเจน เหมือนเป็นพวงมาลัยมาครอบพระเกศไว้ แม่พิมพ์นี้จะเห็นมุ่นมวยผมได้ชัดเจนกว่า พระแม่พิมพ์อื่นๆ ตัวพระเกศต่อขึ้นไปนั้นก็จะเห็นเป็นขยักป่อง ออกทั้งสองข้างเท่าๆ กัน เหมือนกับเกศเปลวเพลิงของพระพุทธรูป ซึ่งสันนิษฐานว่าช่างจงใจแกะแม่พิมพ์ให้เป็นแบบนั้น
        3.สำหรับพระแม่พิมพ์นี้ จะสังเกตเห็นหูทั้งสองข้างได้อย่างชัดเจน
        4.ไหล่ของพระจะเท่ากันทั้งสองด้าน ซึ่งต่างจากพระพิมพ์ใหญ่
        5.ท่อนแขนอวบหนา ส่วนด้านในของท่อนแขนนั้นจะชันตั้งฉากเป็นสัน
        6.หน้าตักในองค์ที่ติดชัดและไม่สึก จะเห็นรายละเอียดการซ้อนของขาทั้งสองข้าง และเห็นพระบาทชัดเจน
        7.ตรงใต้หน้าตักจะมีเส้นแซมปรากฏให้เห็นอยู่
        8.ฐานชั้นบน ปลายฐานด้านซ้ายมือเราจะเรียวเชิดขึ้น ส่วนปลายด้านขวามือเราจะมน โดยรวมคล้ายรูปเรือบดเช่นเดียวกับพระพิมพ์ทรงเจดีย์ทุกแม่พิมพ์
        9.ฐานชั้นกลาง ก็จะเป็นแบบฐานขาสิงห์ชัดเจน
      10.ฐานชั้นล่างสุด เป็นแบบฐานหมอนทึบตัน
      11.สำหรับพระแม่พิมพ์นี้ ฐานทั้งสามชั้นจะมีความกว้างกว่า ทุกแม่พิมพ์ของพิมพ์ทรงเจดีย์ครับ
ครับ นี่ก็เป็นแม่พิมพ์อีกแม่พิมพ์หนึ่งของพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ ก็ยังเหลืออีกหนึ่งแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ แต่แม่พิมพ์นี้ไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลยครับ ผมจึงนำมาไว้เป็นแม่พิมพ์ที่จะพูดถึงในอันดับสุดท้ายของพิมพ์ทรงเจดีย์ และเราจะมาคุยกันในวันถัดไปครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ที่มีเส้นแซมใต้ตักองค์สวยองค์หนึ่งมาให้ชมกัน และ เพื่อเป็นการศึกษาแม่พิมพ์ไปพร้อมๆ กันครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงแม่พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์กันต่อ ที่ยังเหลือตัวแม่พิมพ์อีกหนึ่งแม่พิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์นี้เรียกกันว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ใหญ่ เนื่องจากพระแม่พิมพ์นี้มีขนาดเขื่องกว่าทุกแม่พิมพ์ และหายากกว่าทุกแม่พิมพ์เช่นกันครับ จึงทำให้ไม่ได้พบเห็นกันเลย ขนาดรูปถ่ายตั้งแต่อดีตมานั้นก็มีเพียงแค่ 2 รูปเท่านั้น และเป็นรูปที่ถ่ายไว้นานมาแล้ว ส่วนผู้ที่ได้ครอบครองพระไว้ต่างก็หวงแหน และไม่ค่อยได้เปิดเผยหรืออนุญาตให้ถ่ายรูปเลย จึงทำให้ไม่ค่อยได้พบเห็นกันอีกเลยแม้แต่รูปถ่าย

วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ใหญ่ ว่ามีพุทธลักษณะและรายละเอียดอย่างไร ตามที่พอจะนำมากล่าวถึงได้จากรูปภาพนะครับ

พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์นี้ ก็จะมีหลักใหญ่ๆ เหมือนกับพระแม่พิมพ์อื่นๆ คือ
       1.เส้นขอบแม่พิมพ์ด้านซ้าย-ขวา ดูจากบนลงล่างก็จะเห็นว่า เส้นวิ่งจากด้านบนลงมาจรดซุ้มครอบแก้วที่หัวฐานซุ้มครอบแก้วเหมือนกันทั้งสองด้าน
       2.ถ้าเรานำไม้บรรทัดมาทาบจากยอดพระเกศลงมาจรดที่หัวฐานทั้งสามชั้นก็จะมีส่วนสัมผัส ลงมาตั้งแต่พระเศียร หัวไหล่และหัวเข่า
       3.พื้นผนังที่อยู่นอกกรอบซุ้มครอบแก้ว จะสูงกว่าพื้นผนังที่อยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว
       4.พระเกศอวบหนาแต่จะไม่มีขยักช่วงกลาง
       5.พระพักตร์จะคล้ายๆ กับพระพิมพ์ใหญ่
       6.พระกรรณ (หู) จะอยู่แนบกับแก้มและอยู่ในระดับต่ำลงมาเล็กน้อย รูปของใบหูจะเป็นแบบบายศรี (ลักษณะแบบวงเล็บ)
       7.ซุ้มครอบแก้วหนาใหญ่
       8.ลำพระองค์จะอวบหนาและเป็นทรงกระบอก
       9.ซอกแขนจะลึกกว่าทุกแม่พิมพ์
     10.ท่อนแขนจะหนาเกือบเท่ากันตลอดวงแขน
     11.หน้าตักจะค่อนข้างตรง
     12.ใต้ตักทางด้านขวามือเราจะมีเส้นเชื่อมกับฐานชั้นบน
     13.ปลายฐานชั้นบนด้านซ้ายมือเราจะเรียวและเชิดขึ้นคล้ายหัวเรือ
     14.ปลายฐานชั้นบนด้านขวามือเราจะมน
     15.ฐานชั้นกลางเป็นแบบฐานขาสิงห์
     16.ฐานชั้นล่างเป็นแบบฐานหมอน

สำหรับแม่พิมพ์นี้ก็มีจุดสังเกตคร่าวๆ ตามนี้ครับ แต่พระแม่พิมพ์นี้นั้นหายากมากๆ แค่รูปก็แทบไม่ได้เห็นกันเลย ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์ใหญ่ ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็มีเพียงแค่สองรูปเท่านั้น พระองค์นี้เป็นหนึ่งในสององค์ที่มีรูปปรากฏอยู่ครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: 16 กันยายน 2559 15:41:05 »

.


พระกริ่ง รุ่นก้นหนุมานของหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี พระของท่านนั้นเป็นพระที่เข้มขลังพุทธคุณสูงมาก แต่สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนักและยังพอเช่าหาได้ไม่ยาก

วัดบางพังเป็นวัดเก่าแก่ โดยชาวบ้านสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา เหตุที่ชื่อวัดบางพังก็เนื่องจากวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดบางพัง" ชื่อเป็นทางการชื่อว่า "วัดศรีรัตนาราม" เจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือหลวงพ่อแฉ่ง

หลวงพ่อแฉ่งเกิดที่ปากเกร็ด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2428 โยมบิดาชื่อสิน โยมมารดาชื่อขลิบ ตอนเด็กๆ ท่านเป็นคนที่มีลักษณะดีผิวพรรณงาม บิดาจึงตั้งชื่อว่า แฉ่ง ในปี พ.ศ.2443 บิดา-มารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสลักเหนือ 1 พรรษา ก็สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำงานเป็นหัวแรงสำคัญของครอบครัว ท่านเป็นคนขยันรักสงบไม่ค่อยสุงสิงกับใคร ต่อมามีเหตุให้ท่านต้องไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วก็อุปสมบทที่วัดทางภาคเหนือหนีความวุ่นวายจากโลกภายนอก พอบวชแล้วท่านก็ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานตลอดจนเรียนพุทธาคมจากพระอาจารย์อีกหลายองค์ จากนั้นก็ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ในป่าเขาลำเนาไพรแถบภาคเหนือ ภาคอีสาน เลยเข้าไปถึงประเทศลาว เขมร พม่า ท่านธุดงค์นานถึง 15 ปี จึงย้อนกลับมาภูมิลำเนาเดิมที่บ้านวัดสลักเหนือ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางพัง ชาวบ้านในแถบนั้นจำท่านแทบไม่ได้

วัดบางพังขณะนั้นมีพระอธิการเจริญเป็นเจ้าอาวาสซึ่งอยู่ในวัยชรามาก บริหารงานภายในวัดไม่ไหว เสนาสนะต่างชำรุดจึงเป็นภาระของหลวงพ่อแฉ่งรับภาระบูรณปฏิสังขรณ์ อย่างแข็งขัน ร่วมกับชาวบ้านในแถบนั้นจนวัดเจริญขึ้น ด้วยชาวบ้านศรัทธาในตัวหลวพ่อแฉ่ง ครั้นหลวงพ่อเจริญมรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้ออกหนังแต่งตั้งให้หลวงพ่อแฉ่งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนเป็นที่ยินดีของชาวบ้าน เนื่องจากท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเสมอมา วิชาอาคมต่างๆ ที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจากการออกธุดงค์ได้นำมาช่วยชาวบ้านที่ถูกของ ถูกคุณไสยต่างๆ ทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณท่านก็มีความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง ช่วยรักษาโรคให้ชาวบ้านหายไปทุกราย น้ำมนต์ของท่านก็ขลังนักดื่ม อาบ พรม เป็นสิริมงคลรักษาโรคภัยได้

วัตถุมงคลหลวงพ่อแฉ่งก็ได้สร้างไว้มาก เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เชือกคาดเอว พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ บาตรน้ำมนต์ ฯลฯ วัตถุมงคลหลวงพ่อแฉ่งมีประสบการณ์ในครั้งสงครามอินโดจีนมาแล้วจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก และในพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงพ่อแฉ่งท่านได้ถูกนิมนต์ให้ร่วมพิธีทุกครั้ง หลวงพ่อแฉ่งมรณภาพ ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2500 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52 ในวันนี้ผมได้นำพระกริ่ง รุ่นก้นหนุมานของหลวงพ่อแฉ่งมาให้ชมกันครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์




เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของสุพรรณฯ เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ที่ประชาชนและชาวสุพรรณฯ เคารพและศรัทธามาก มีประชาชนมาสักการะเป็นจำนวนมากประจำทุกวัน

วัดป่าเลไลยก์และพระพุทธรูปหลวงพ่อโต ผู้ใดเป็นผู้สร้างไว้แต่แรกเริ่มนั้นไม่มีประวัติบันทึกไว้ในเชิงประวัติสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงสันนิษฐานไว้อย่างน่าฟังว่า

"เดิมน่าจะเป็นวัดพุทธาวาสไม่มีพระสงฆ์ประจำคงมีแต่พระพุทธรูปประจำอยู่ในคฤหะอย่างมณฑป มีหลังคาคลุมเฉพาะองค์พระนับเป็นมหาเจดีย์สถานสำคัญเป็นสักการบูชาของพุทธบริษัท เช่นเดียวกับเจดีย์ทั้งหลายในสมัยโบราณ พระพุทธรูปเดิมที่ประดิษฐานไว้ในคฤหะนี้ เป็นปางปฐมเทศนา มีฝาผนังล้อมองค์พระพุทธรูป 3 ด้าน ต่อมาภายหลังได้ก่อสร้างขึ้นด้วยอิฐปูนให้โตใหญ่กว่าองค์เดิม ครั้นพระกรเบื้องขวา ที่ยกแสดงปางปฐมเทศนาชำรุดหักพัง นายช่างผู้บูรณะเลือนความจำได้แปลงเป็นปางป่าเลไลยก์ประทับนั่งห้อยพระบาท ต่อมามีพุทธบริษัทไปนมัสการมากยิ่งขึ้นจึงมีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษา เป็นวัดสังฆารามในบริเวณวัดป่าฯ นี้ เดิมไม่มีอุโบสถ พัทธสีมา"

สรุปตามคำสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า หลวงพ่อวัดป่าฯ เดิมเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ละม้ายเหมือนองค์หลังพระปฐมเจดีย์ และอีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดยุคสมัย เช่น สมัยขุนหลวงพ่องั่วครองเมืองสุพรรณ สมัยอยุธยา พระยาสีหราชเดโชไชยได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารวัดป่าฯ สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทรงผนวชเสด็จธุดงค์ประพาสจังหวัดสุพรรณบุรี ทรงพบพระป่าเลไลยก์รกร้างไม่มีพระสงฆ์ปกครอง นมัสการหลวงพ่อโตทรงเลื่อมใสมาก ได้อธิษฐานไว้ว่าถ้าได้ขึ้นครองราชย์แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ สร้างหลังคาและฝาโดยรอบถวาย ที่หน้าบันยังมีตรามงกุฎประทับอยู่ สมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปนมัสการหลวงพ่อโตและทรงแจกเหรียญเสมาที่หน้าวิหารใหญ่ สมัยรัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสจังหวัด สุพรรณฯ ได้ทรงนมัสการหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นผลให้วัดป่าฯ เจริญขึ้นอีก โดยได้โปรดเกล้าฯ ยกฐานะวัดป่าฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2462

ในปีพ.ศ.2462 นี้เองวาระที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงยกฐานะวัดป่าเลไลยก์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ในการนี้ได้จัดให้มีพิธีเฉลิมฉลองหลวงพ่อโตเป็นการมโหฬารและได้ออกเหรียญรูปหลวงพ่อโต โดยหลวงพ่อสอนอดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ครองวัดป่าเลไลยก์เป็นผู้ปลุกเสกเหรียญนี้ หลวงพ่อสอนเป็นพระสงฆ์ที่ชาวจังหวัดสุพรรณฯ เคารพนับถือมากรูปหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกมาให้ชมกันด้วยครับ




พระปรกใบมะขาม เนื้อเมฆพัด
ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสมหาเถระ อ้วน) วัดบรมนิวาส


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะพูดคุยกันถึงสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสฺสมหาเถร อ้วน วัดบรมนิวาส ท่านเป็นพระเถระที่มีประชาชนเคารพนับถือกันมาก โดยเฉพาะชาวจังหวัดอุบลราชธานี และเหรียญรุ่นแรกของท่านก็นับว่าหายากและเป็นที่นิยมกันมากเช่นกัน

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า อ้วน เกิดที่บ้านแคน ต.ดอนมดแดง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2410 โยมบิดาชื่อ เพี้ย เมืองกลาง (เคน) โยมมารดาชื่อ บุดสี ตอนอายุได้ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ ต.สว่าง อ.วาริน ชำราบ จ.อุบลราชธานี ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาที่สำนักวัดศรีทอง (ศรีอุบลรัตนาราม ปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2430 จึงได้อุปสมบทที่วัดศรีทอง โดยมีพระเทวธัมมีเถระ (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโชติปาลเถระ (ทา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) เป็นอุทเทสาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้พำนักอยู่ที่วัดศรีทอง พอปี พ.ศ.2434 จึงได้เข้ามาศึกษาต่อในกทม. อยู่ที่วัดพิชยญาติ การาม

ต่อมาปี พ.ศ.2438 จึงย้ายไปอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส ปี พ.ศ.2442 ได้เดินทางกลับมาอยู่ที่จ.อุบลราชธานี เป็นครูสอนบาลี และรับตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน พ.ศ.2446 เป็นเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหาร จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2447 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระศาสนดิลก พ.ศ.2454 ได้รับพระราชทานพัดยศพระราชาคณะผู้ใหญ่เสมอชั้นราช พ.ศ.2455 เป็นที่พระราชมุนี พ.ศ.2464 เป็นที่พระเทพเมธี พ.ศ.2468 เป็นที่พระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ.2470 เป็นเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จ.นครราช สีมา พ.ศ.2472 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมปาโมกข์ พ.ศ.2475 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี และในปี พ.ศ.2475 ก็ได้ย้ายมาครองวัดบรมนิวาส ต่อมาในปี พ.ศ.2482 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พ.ศ.2485 เป็น เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กทม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ท่านมรณภาพใน วันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2499 ณ หอธรรมวิจารย์ วัดบรมนิวาส สิริอายุได้ 89 ปี พรรษา ที่ 68

คณะศิษย์ได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญรุ่นแรกในปี พ.ศ.2477 และยังมีการสร้างพระอีกหลายรุ่น ในปี พ.ศ.2482 คณะศิษย์ได้ขออนุญาตท่านเพื่อสร้างพระปรกใบมะขามขึ้น เท่าที่ทราบมีทั้งเนื้อชินตะกั่วกับพระเนื้อเมฆพัด พระปรกใบมะขามของท่านนับว่าหายาก เนื่องจากสร้างจำนวนไม่มากนัก ยิ่งเนื้อเมฆพัดยิ่งหายากมาก ในวันนี้ผมได้นำพระปรกใบมะขาม เนื้อเมฆพัดของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสมหาเถระ อ้วน) วัดบรมนิวาส มาให้ชมกันครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์




พระสมเด็จปิลันทน์พิมพ์ปรกโพธิ์กรอบกระจก
และพระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ซุ้มครอบแก้ว


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จของพระพุฒาจารย์ (ทัด) ที่เราๆ ท่านๆ มักเรียกกันว่า พระสมเด็จปิลันทน์ เป็นพระเนื้อผงผสมผงใบลานเผา เนื้อจะออกเป็นสีเทาอมดำ ซึ่งถ้าเราจะหาพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒา จารย์ (โต) ท่านสร้างไว้นั้น อาจจะยังหาไม่ได้หรือมูลค่าสูงเกินเอื้อม ผมแนะนำให้หาพระสมเด็จปิลันทน์มาบูชาแทน เนื่องจากบางพิมพ์มูลค่ายังไม่สูงนักครับ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) เป็นเจ้าวังหลังและเป็นพระอนุชาของหม่อมเจ้าพระพยอม เสนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทร์โฆษิต) ท่านทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าประคุณสมเด็จเป็นพระกรรมวาจาจารย์ประทับอยู่ที่วัดระฆังฯ และศึกษาพระบาลีพระปริยัติธรรม กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรงจนได้เปรียญ 7 ประโยค ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงสมณศักดิ์ที่หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ ในรัชกาลที่ 4 อันเป็นสมณศักดิ์ที่พระราชทานถวายเฉพาะแด่พระเถระที่เป็นพระราชวงศ์เท่านั้น และทรงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะที่หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองวัดเชตุพนฯ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ท่านได้ทรงเจริญรอยตามเจ้าประคุณสมเด็จฯ อาจารย์ของพระองค์ท่าน ในด้านเป็นพระเกจิอาจารย์นั้นท่านก็ทรงสร้างพระเครื่องนับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จเป็นต้นมา  และะได้ทรงสร้างพระเครื่องของท่านขึ้นมาบ้างในปี พ.ศ.2411 ภายหลังจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างแล้วได้ 2 ปี แต่ก็มิได้สร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษทั้งห้าของเจ้าประคุณฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร ดังนั้น พระเครื่องชนิดนี้คนรุ่นเก่าที่ทราบประวัติการสร้างจึงมักนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักพระเครื่องทั่วๆ ไปมักนิยมเรียกนามสั้นๆ ว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" เมื่อเจ้าประคุณสิ้นแล้วท่านจึงบรรจุ พระเครื่องเหล่านั้นไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นพระอาจารย์

การเปิดกรุพระเจดีย์กรุพระสมเด็จปิลันทน์ถูกลักเจาะครั้งแรกในปี พ.ศ.2471 โดยมีคนร้ายได้พระไปเป็นส่วนน้อย และทางวัดได้ซ่อมอุดช่องที่ถูกเจาะเสีย และต่อมาเมื่อก่อนหน้าปีที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนเล็กน้อยกรุนี้ก็ถูกลักเจาะอีกเป็นครั้งที่ 2 ภายในองค์พระเจดีย์แบ่งออกเป็น 4 ห้อง แต่ละห้องมีโอ่งมอญขนาดใหญ่ บรรจุพระสมเด็จปิลันทน์ไว้ห้องละใบ เมื่อแตกกรุออกมามีคนนำพระมาให้ ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) ท่านเห็นก็จำได้ว่าเป็นพระของหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) สมัยยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ได้ทรงสร้างไว้ ครั้นเกิดศึกอินโดจีนขึ้น ทางวัดระฆังฯ จึงได้บรรจุพระเครื่องเหล่านี้ลงในถุงผ้าดิบส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมเพื่อแจกทหารออกศึกตามที่ทางราชการได้ขอร้องมา

พระเครื่องของกรุนี้มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ทรง เนื้อหาโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นพระเนื้อผงผสมใบลาน แต่ก็มีบ้างที่เป็นเนื้อผงสีขาวแต่พบน้อยมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จปิลันทน์พิมพ์ปรกโพธิ์กรอบกระจกและพระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ซุ้มครอบแก้วมาให้ชมกันครับ พระทั้งสองพิมพ์สนนราคายังไม่สูงมากนักครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์




พระสมเด็จวัดวิเวกวนาราม

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเนื้อผงที่น่าสนใจและน่าบูชามาก อธิษฐานจิตโดยท่านเจ้าคุณนรฯ คือพระชุดวัดวิเวกวนารามครับ พระชุดนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร น่าสนใจอย่างไร เรามาร่วมศึกษากันนะครับ

พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ชุดนี้ จัดสร้างโดยคุณลุงแก้ว ศิริรัตน์ เพื่อไว้สมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคปัจจัยก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดวิเวกวนาราม ซึ่งคุณลุงแก้วเป็นไวยาวัจกรอยู่ เรื่องมีอยู่ว่า ในต้นปี พ.ศ.2511 คุณลุงแก้วพร้อมด้วยบุตร คือ นายแพทย์สุพจน์และปลัดอำเภอเชาว์ ศิริรัตน์ ได้เดินทางมากราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ณ อุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเสร็จ โดยกราบเรียนท่านเจ้าคุณนรฯ ว่า ศาลาการเปรียญของวัดวิเวกวนาราม บัดนี้ชำรุดทรุดโทรมมากไม่สามารถจะบูรณะได้ และได้ปรึกษาคุณแม่แปลก มารดาว่าจะดำเนินการก่อสร้างใหม่

ศาลาการเปรียญแห่งนี้เป็นที่อาศัยเรียนของเด็กๆ ในละแวกนั้น โดยคุณลุงแก้วได้กราบเรียนว่าจะนำผงพระที่แตกหักและเกสรดอกไม้นำมาบด แล้วจะนำมาให้ท่านช่วยอธิษฐานจิตให้เพื่อจะได้นำไปแจกให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในการก่อสร้างศาลาการเปรียญ ถ้าเหลือก็จะนำไปบรรจุไว้ที่ฐานชุกชีในพระอุโบสถ ปัจจัยทุกบาททุกสตางค์จะนำเข้าวัดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย

ในขณะที่คุณลุงแก้วกำลังบอกเล่านั้น ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณนรฯ นั่งขัดสมาธิหลับตานิ่งอยู่ประมาณ 15 นาที ท่านจึงลืมตาแล้วบอกว่า "อย่านำพระไปบรรจุใต้ฐานพระประธานเลย เพราะจะทำให้พระประธานเดือดร้อนภายหลัง เพราะถ้าพระชุดนี้เกิดมีชื่อเสียง ก็อาจจะทำให้ไปลักลอบขุดทำลายได้ ถ้าจะให้ดีโยมสร้างพระชุดนี้เสร็จก็นำไปแจกจ่ายให้กับผู้มีจิตศรัทธาให้หมดจะดีกว่า" พร้อมกันนี้ท่านก็ได้แนะนำคุณลุงแก้วว่า "เมื่อนำผงมาจะให้อธิษฐานจิตล่ะก็ ให้นำมาไว้ที่ระหว่างฐานชุกชีพระประธานภายในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์ เพื่อจะได้ให้หลวงพ่อภายในพระอุโบสถและพระภิกษุ-สามเณร ที่ลงทำวัตรสวดมนต์ จะได้ช่วยกันปลุกเสกให้อีกด้วย"

หลังจากนั้นคุณลุงแก้วพร้อมทั้งบุตรชายทั้งสองจึงได้ไปกราบเรียนท่านเจ้าคุณพระศาสนโสภณ อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ และได้บอกว่าจะนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ภายในพระอุโบสถ เพื่อให้ท่านเจ้าคุณนรฯ และพระภิกษุ-สามเณรภายในวัดปลุกเสก 1 ไตรมาส พร้อมทั้งได้กราบเรียนว่าจะนำบุตรชาย คือนายเชาว์มาอุปสมบทที่วัดเทพศิรินทร์ ด้วยในปี พ.ศ.2511

หลังจากที่คุณลุงแก้วนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ที่ในพระอุโบสถแล้ว สังเกตเห็นว่าหลังจากพระภิกษุ-สามเณรทำวัตรเสร็จแล้ว ท่านเจ้าคุณนรฯ จะนั่งเพ่งไปยังโหลแก้วที่บรรจุผงนานประมาณ 5 นาที ทุกวันจนครบไตรมาส เมื่อออกพรรษาแล้วคุณลุงแก้วจึงได้มากราบเรียนท่านเจ้าคุณนรฯ ว่าจะมารับผงไปจัดสร้างพระ เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะนำพระมาให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตให้อีกครั้ง แต่ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้ตอบปฏิเสธไปว่าผงชุดนี้สำเร็จแล้วเป็นผงวิเศษ เมื่อนำไปสร้างพระแล้วจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่ใกล้วัดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องหอบพะรุงพะรังมาถึงนี่ เพราะสมัยนั้นการไปมาไม่สะดวกต้องมาทางเรือเท่านั้น

เมื่อคุณลุงแก้วกลับไปถึงตลาดบางน้ำเปรี้ยว ก็สั่งให้นายแพทย์สุพจน์ติดต่อช่างแกะแม่พิมพ์ แต่ทางหมอสุพจน์มีงานมากจึงยังไม่ได้ติดต่อช่าง จนคุณลุงแก้วรอแม่พิมพ์ไม่ไหว จึงได้ให้ลูกชายอีกคนที่เป็นทันตแพทย์อยู่ในตลาดคลองสิบหกใช้ยางทำพิมพ์ฟัน มาถอดพิมพ์พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในบ้านเพื่อทำแม่พิมพ์ โดยคุณลุงแก้วได้ผสมผงและพิมพ์พระเองอยู่ที่บ้าน

พอถึงปลายๆ ปี พ.ศ.2512 นายแพทย์ สุพจน์ได้ไปกราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็ได้บอกกับหมอสุพจน์ว่า ช่วยไปบอกโยมแก้วด้วยว่า "ผงที่นำไปสร้างพระขอให้ระมัดระวังด้วย อย่าให้ตกหล่นลงในที่ต่ำ เพราะจะบาป คือผงสำเร็จแล้ว" หมอสุพจน์ได้ฟังก็ประหลาดใจ เนื่องจากตนเองก็ยังไม่ได้ไปติดต่อแกะแม่พิมพ์ให้ พอถึงวันอาทิตย์หมอสุพจน์จึงได้เดินทางกลับมาบ้านที่คลองสิบหก จึงได้รู้ว่าบิดาได้พิมพ์พระขึ้นไว้จำนวนมาก และได้เล่าให้บิดาฟังว่าท่านเจ้าคุณนรฯ เตือนมาอย่างนี้ เมื่อคุณลุงแก้วได้ฟังก็พยายามนั่งทบทวนว่าตนนำผงไปตกหล่นที่ไหนบ้าง แต่ก็นึกไม่ออกและพยายามหาพระพิมพ์ว่าตกหล่นอยู่ที่ใดบ้าง จึงได้ชวนลูกชายที่เป็นทันตแพทย์คุ้ยหาพระตามท่อระบายน้ำด้านหลังบ้าน จึงพบว่าพระพิมพ์สมเด็จฯ ได้ตกอยู่ในท่อน้ำครำ 1 องค์

เมื่อสร้างพระเสร็จคุณลุงแก้วได้นำพระบรรจุในถุงแป้งมันได้ 5 ถุง และนำมาเข้าพิธี 5 ธันวาคม พ.ศ.2513 ที่วัดเทพฯ เมื่อเสร็จพิธีได้เอาไว้ที่วัดเทพฯ 2 ถุง พระชุดนี้มีด้วยกันหลายพิมพ์ เป็นแบบพระสมเด็จฯก็หลายพิมพ์ ที่ด้านหลังมีทั้งแบบหลังยันต์จม หลังยันต์นูน หลังยันต์ปั๊มหมึกและหลังเรียบ พระส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์แบบสมเด็จ

นอกจากนี้ก็ยังมีแบบพระพุทธโสธร พระปิดตา และรูปเหมือนใบโพธิ์ เป็นต้น ส่วนผสมของพระชุดนี้ได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จฯ กรุวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก ที่ได้มาเมื่อคราวเปิดกรุ พระสมเด็จวัดสามปลื้มแตกหักได้มาประมาณครึ่งปี๊บ ได้รับมอบจากท่านพระครูประสิทธิ์สมณการ เจ้าคณะ 8 วัดสามปลื้ม ผงตะไบชนวนกริ่งท่านเจ้ามา พระรูปเหมือนสมเด็จกรมหลวงชินวร สิริวัฒน์ 2 องค์ รุ่นปี พ.ศ.2485 ที่ชำรุดแตกหัก

พระเครื่องเนื้อดินเผาที่ชำรุดจากกรุอยุธยา ชานหมากหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ สีผึ้งและแป้งปลุกเสกของหลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว แป้งดินสอพองที่นำไปให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิต ใบโพธิ์จากต้นข้างอุโบสถวัดเทพฯ ใบโพธิ์ที่วัดโสธรและทองคำเปลวที่ปิดองค์หลวงพ่อโสธรขี้ธูปบูชาในพระอุโบสถวัดโสธร ผ้ายันต์จากคณาจารย์ต่างๆ เผาผสม ดินสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากประเทศอินเดีย ว่าน 108 ชนิดและเกสรดอกไม้บูชาพระจากที่บูชาหลายแห่ง

จะเห็นว่าพระเนื้อผงของวัดวิเวกวนารามแห่งนี้ถึงแม้ว่ารูปทรงจะไม่สวยงามมากนัก แต่สร้างด้วยจิตบริสุทธิ์ และท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็อธิษฐานจิตให้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งนานถึง 1 พรรษา นับว่านานที่สุดของท่านเลยก็ว่าได้ ผมว่าพระชุดนี้จะเป็นพระที่บูชาห้อยติดตัวมากที่สุด อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่แพงมากนักครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดวิเวกฯ มาให้ชมกันด้วยครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์




พระสมเด็จเกษไชโย พิมพ์ 7 ชั้นนิยม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดไชโยวรวิหาร อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดซึ่งพบพระเครื่องแบบพระสมเด็จ และมีประวัติว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้ และเชื่อกันว่าพระสมเด็จที่พบนั้นเป็นพระเครื่องที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านได้สร้างบรรจุไว้และมักจะเรียกกันว่า "พระสมเด็จเกษไชโย"

ทำไมผมจึงเขียนพระสมเด็จเกษไชโย ซึ่งโดยส่วนใหญ่เขาเขียนคำว่าเกศโดยใช้ ศ.ศาลาสะกด ต้องมีเหตุผลครับ เพราะถ้าท่านได้ไปที่วัดไชโยวรวิหาร แล้วดูที่ป้ายหน้าวัด เขาเขียนว่า "วัดไชโยวรวิหาร" บรรทัดต่อมาจะเขียนว่า "(วัดเกษไชโย)" ดังนั้นก็ควรที่จะเขียนโดยใช้ ษ.ฤๅษีสะกดนะครับ ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำก็มีวัดสระเกษ วัดหลวงพ่อโต๊ะ บ้านสระเกษ ตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย ใช้ตัวอักษรตัว ษ.ฤๅษีทั้งสิ้นครับ

วัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างมาตั้งแต่ครั้งใดไม่ปรากฏหลักฐาน สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านได้ขึ้นไปสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ก่ออิฐถือปูน แบบปูนปั้น สีขาว มิได้ปิดทองแต่อย่างใด ตั้งไว้กลางแจ้ง และมีขนาดใหญ่มาก เล่าสืบต่อกันมาว่ามีการสร้างถึง 2 ครั้งเนื่องจากองค์พระถูกฟ้าผ่าเสียหายมาครั้งหนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงขึ้นไปสร้างไว้ใหม่อีกครั้ง

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการ และโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นในปี พ.ศ.2430 และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด) สมุหนายก เป็นแม่กองงานปฏิสังขรณ์ทั้งหมด มีการสร้างวิหารครอบองค์พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ได้กระทุ้งรากฐาน ทำให้กระเทือนถึงองค์พระพุทธรูปจนพังทลายลงมา หลังจากนั้นจึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ช่างปั้นฝีพระหัตถ์เยี่ยมในสมัยนั้น ช่วยสร้างขึ้นใหม่ และพระราชทานพระนามพระพุทธรูปองค์ใหม่ว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" และสถาปนาวัดไชโยขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นโท และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดไชโยวรวิหาร" ภายในพระอุโบสถของวัดไชโยฯ มีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระพุทธประวัติฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5

ว่ากันว่าครั้งเมื่อมีการกระทุ้งฐานรากพระวิหารและพระพุทธรูปองค์ใหญ่พังทลายลงมานั้น พบพระเครื่องเนื้อผงคือพระสมเด็จวัดเกษไชโย บรรจุอยู่ในองค์พระ ก็มีผู้เก็บไปสักการบูชากันมาก ต่อมาทางการจึงขอให้นำพระมาคืนเพื่อบรรจุกลับไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์องค์ใหม่ แต่ก็คงนำกลับมาได้ไม่ครบ จึงมีเหลือให้เราเห็นอยู่ ในสังคมพระเครื่องในปัจจุบัน พิมพ์นิยมของวัดเกษไชโยมีอยู่ 3 พิมพ์คือ พิมพ์ 7 ชั้นนิยม พิมพ์ 6 ชั้นอกตัน พิมพ์ 6 ชั้นอกตลอด นอกจากนี้ก็ยังมีพิมพ์อื่นๆ อีกมาก พระสมเด็จเกษไชโยนั้นมีการพบเมื่อครั้งเปิดกรุวัดบางขุนพรหมด้วย ปะปนขึ้นมาแต่ไม่มากนัก ไม่มีการบันทึกว่าพบกี่องค์

จึงสันนิษฐานได้ว่าพระสมเด็จวัดเกษไชโยนั้น สร้างโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จเกษไชโย พิมพ์ 7 ชั้นนิยมมาให้ชมกันด้วยครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



พระท่ามะปรางค์ทั้งของวัดท่าพระปรางค์และของวัดสะตือ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าผมพูดว่า "วัดท่าพระปรางค์" หลายๆ ท่านก็คงจะคิดว่าผมกล่าวผิดไปแล้ว แต่ถ้าพูดว่า "วัดท่ามะปราง" ก็คงจะทราบกันดี เพราะปัจจุบันนั้นเรียกกันตามนี้ วัดแห่งนี้มีกรุพระเครื่องที่โด่งดังมากในอดีต คือพระท่ามะปรางค์ และได้รับขนานนามว่า "เงี้ยวทิ้งปืน"

วัดนี้ตั้งอยู่ทางท้ายตลาดด้านใต้ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ที่เรียกว่า "วัดท่าพระปรางค์" เนื่องจากตั้งอยู่ริมน้ำและมีพระปรางค์เป็นหลัก ต่อๆ มาชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็น "วัดท่ามะปราง" เข้าใจว่าเป็นวัดหลวงสมัยพระมหาธรรมราชาองค์ใดองค์หนึ่งซึ่งครองเมืองพิษณุโลก และต่อมาคงได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพราะหลักฐานของวัดคือพระปรางค์ ซึ่งปูชนียสถานแบบนี้ นิยมสร้างกันในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

พระเครื่องของวัดนี้มีชื่อเสียงโด่งดังมากคือพระที่มีชื่อว่า "พระท่า พระปรางค์" หรือที่เรียกเพี้ยนไปว่า "พระท่ามะปราง" เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาละเอียด และพระเนื้อชินประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัวเล็บช้าง รูปทรงของพระเป็นแบบสามเหลี่ยม

คุณวิเศษของพระท่ามะปรางค์ (ขออนุรักษ์ใช้ ค ควาย การันต์ เพื่อให้ยังคงอยู่ของคำว่าพระปรางค์) ได้ปรากฏโด่งดังมากในสมัยที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกกำลังทหารไปปราบพวกเงี้ยวที่รุกรานทางชายแดนภาคเหนือ ตามพระราชโองการของล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวกันว่าได้มีการแจกพระท่ามะปรางค์แก่เหล่าทหาร เมื่อยกกองทัพมาถึงพิษณุโลก เพราะเป็นช่วงระยะที่เปิดกรุพอดีและคุณวิเศษของพระท่ามะปรางค์ได้เป็นผลทางมหาอุดและคงกระพันชาตรีอย่างสูง พวกเงี้ยวไม่สามารถจะใช้ปืนยิงทำอันตรายต่อทหารไทยได้ และได้พากันพ่ายแพ้แตกหนีไปสิ้น ด้วยเหตุนี้พระท่ามะปรางค์จึงได้รับการถวายพระเกียรตินามอีกชื่อหนึ่งว่า "เงี้ยวทิ้งปืน" นับแต่คราวนั้นเป็นต้นมา

พระเครื่องท่ามะปรางค์มีการพบที่วัดอีกหลายแห่งในเมืองพิษณุโลก เช่น ที่วัดสะตือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดเจดีย์ยอดทอง และวัดอรัญญิก เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังพบในจังหวัดอื่นๆ อีกหลายจังหวัด เช่น สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร และสุพรรณบุรี เป็นต้น พระที่พบในจังหวัดอื่นก็ล้วนมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับของวัดท่าพระปรางค์ทั้งสิ้น แต่ต่างแม่พิมพ์กันเท่านั้น ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ในสมัยสุโขทัย พระพุทธลักษณะแบบนี้คงเป็นที่นิยมกันมาก และคงจะเป็นพุทธรูปจำลองของพระพุทธปฏิมาที่สำคัญเป็นแน่ จึงสร้างกันแพร่หลาย และเท่าที่ปรากฏในด้านคุณวิเศษก็ปรากฏว่ามีพุทธคุณเด่นเช่นเดียวกันทุกกรุ และนิยมทุกกรุครับ

พระกรุวัดท่าพระปรางค์ ถือเป็นต้นแบบที่ถูกขุดพบเป็นครั้งแรกและมีชื่อเสียงโด่งดัง ต่อมาเมื่อถูกพบที่กรุอื่นๆ จึงเรียกชื่อตามกันมาว่า พระท่ามะปรางค์ และลงท้ายด้วยชื่อกรุ เพื่อให้รู้ว่าเป็นพระของกรุใด จังหวัดไหน ในส่วนของพระมะปรางค์ของกรุปฐมนี้ปัจจุบันหาชมยากมาก เนื่องจากอาจจะถูกเก็บเงียบกันหมด ไม่ยอมออกมาหมุนเวียน ต่อมามีการแตกกรุอีกที่วัดสะตือ และพบเป็นพระเนื้อดินเผาเป็นส่วนใหญ่ ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน

ในส่วนของพิมพ์พระท่ามะปรางค์ทั้งสองวัดจะแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดก็คือการวางมือขวาขององค์พระ ถ้าเป็นของกรุวัดท่าพระปรางค์จะเป็นแบบเข่าใน คือการวางมือขวาไว้ที่หัวเข่าพอดี จึงมักเรียกกันว่าเข่าใน ส่วนพระของวัดสะตือจะวางมือขวาไว้ที่หน้าตัก (ด้านในของเข่า) และเห็นหัวเข่าขวาโผล่ออกมา จึงมักเรียกกันว่าเข่านอก

ครับวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ามะปรางค์ทั้งของวัดท่าพระปรางค์และของวัดสะตือ เนื้อดินเผาจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของเมืองไทยมาให้ชมกันครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ตุลาคม 2559 11:45:20 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #34 เมื่อ: 26 กันยายน 2559 15:33:25 »

http://www.pralanna.com/img/ip/picture6942.jpg
พระเครื่อง



สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุของจังหวัดสุพรรณบุรี มีมากมายหลายกรุ มีทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชิน สำหรับพระเครื่องปางลีลาของสุพรรณฯ ก็มีอยู่หลากหลาย ที่โด่งดังและรู้จักกันมากก็คือพระลีลากำแพงศอก ซึ่งมีขนาดใหญ่เหมาะที่จะบูชาไว้ที่บ้าน นอกจากนี้ก็ยังมีพระเครื่องปางลีลาอีกหลายกรุและหลายขนาดเช่นกัน

ในบรรดาพระเครื่องเนื้อชินปางลีลาของกรุสุพรรณฯ ที่ผมชื่นชอบพิมพ์หนึ่งก็คือ พระลีลาละเวง ชื่อนี้หลายๆ ท่านอาจจะลืมเลือนกันไปบ้าง พระลีลาละเวงเป็นพระที่พบอยู่ในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แต่จำนวนที่พบมีน้อย จึงไม่ค่อยได้มีการพบกันมากนัก ขนาดของพระก็ไม่ใหญ่นักเรียกว่าเลี่ยมห้อยคอสบายๆ ขนาดใกล้เคียงกับพระกำแพงเชยคางข้างเม็ดของกำแพง เพชร ส่วนศิลปะขององค์พระก็งดงามมาก อ่อนช้อยสวยงาม

คำว่า "ละเวง" นั้นได้มาจากตัวเอกในละครเรื่องอิเหนา ซึ่งมีลีลาการร่ายรำอ่อนช้อยงดงาม ศิลปะขององค์พระลีลาละเวงนั้นอ่อนช้อยงดงามพลิ้วไหว อากัปกิริยาการเยื้องกรายพระดำเนินไปข้างหน้า ความอ่อนไหวขององค์พระปฏิมากรคล้ายทรงตัวอักษรภาษาอังกฤษตัว "S" หรือมีลักษณะคล้ายลวดลายกระหนกเปลวไฟ บั้นเอว อ่อนช้อยโย้ไปข้างหน้า ช่วงล่างตั้งแต่บั้นเอวลงไปโค้งอ่อนเปรียบประดุจดอกไม้ไหว แขนขวาปล่อยลงอ่อนช้อยคล้ายงวงช้าง ประทับยืนอยู่บนฐานดอกบัวบาน และอยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว

พระที่พบมีแต่เนื้อชินเงิน ขนาดจะย่อมกว่าพระปางลีลาชนิดอื่นๆ ของสุพรรณฯ แต่เนื่องจากพบจำนวนน้อย ปัจจุบันหาชมยาก มีการพบพระลีลาละเวงอีกครั้งที่กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา แต่ก็พบน้อยเช่นกัน พระทั้ง 2 กรุผิวพรรณจะต่างกัน ที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณฯ ผิวจะออกเทาเข้มอมดำ ส่วนที่พบในกรุวัดราชบูรณะ อยุธยา ผิวจะมีปรอทจับบริเวณผิวพระ

พระลีลาละเวง สุพรรณบุรี เป็นพระที่มีพุทธศิลปะงดงาม มีขนาดเล็ก และพบน้อย ปัจจุบันหายาก ในสมัยก่อนชาวสุพรรณมักหวงแหนกันมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลีลาละเวงของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี มาให้ชมกันด้วยครับ

      ชมรมพระเครื่อง
      แทน ท่าพระจันทร์




พระกริ่งดีดน้ำมนต์ หลวงพ่อเงิน

นอกจากอดีตพระเกจิชื่อดัง "หลวงพ่อเงิน" วัดบางคลาน จ.พิจิตรผู้เป็น ที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศสืบมาถึงปัจจุบันแล้ว ยังมีพระเกจินาม "หลวงพ่อเงิน" อีกหนึ่งรูป ที่เป็นพระเกจิผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทรงเกียรติคุณสูงส่งต่อบวรพระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชนเช่นกัน ท่านคือ "หลวงพ่อเงิน วัดดอน ยายหอม" พระเกจิชื่อดังแห่งนครปฐม

พระราชธรรมาภรณ์ หรือ หลวงพ่อเงิน จันทสุวัณโณ เป็นชาวนครปฐม โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2433 ที่บ้านดอนยายหอม ต.ดอนยายหอม ในครอบครัวเกษตรกรรมที่มีฐานะครอบครัวหนึ่ง บิดา-มารดาชื่อ นายพรหม-นางกรอง ด้วงพูลเกิด

เมื่ออายุครบบวชได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดดอนยายหอม โดยมี พระปลัดฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "จันทสุวัณโณ"

ท่านมีความมุ่งมั่นและอุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียน สามารถท่องบทสวดมนต์ 7 ตำนาน 12 ตำนาน และท่องปาฏิโมกข์ได้จบตั้งแต่พรรษาแรก ท่านบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ตามที่โยมพ่อพรหมแนะนำ เป็นเวลาถึง 4 ปีเต็ม จนพรรษาที่ 5 จึงเริ่มออกธุดงค์มุ่งสู่ภาคเหนือ ผ่านป่าสระบุรี ลพบุรี ไปถึงนครสวรรค์ ซึ่งสมัยนั้นเป็นป่าดงดิบที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือน เมื่อกลับมาปักกลดอยู่ข้างบ้านดอนยายหอม ชาวบ้านที่เดินผ่านไปผ่านมาแทบจำไม่ได้ ด้วยผิวกายดำกร้านและร่างกายซูบผอม

ต่อมากลับมาจำพรรษาที่วัดดอนยายหอม ท่านมักเทศนาสอนลูกศิษย์และญาติโยมเสมอว่า "ชีวิตมนุษย์ของเรานั้นไม่แน่นอน ร่างกายมนุษย์ สังขารนั้นไม่ยั่งยืน ทุกอย่างล้วนอยู่ในวัฏสงสาร และจงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ มีสุขก็รู้จักพอ"

ต่อมาในปี พ.ศ.2466 พระปลัดฮวยถึงแก่มรณภาพ หลวงพ่อเงินจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมสืบแทน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2466 ถึงแม้จะมีวัยวุฒิเพียง 33 ปี

หลวงพ่อเงินได้สร้างคุณานุคุณต่อบวรพระพุทธศาสนาและสาธารณประโยชน์ต่อชุมชนมาโดยตลอดโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย นอกจากการบูรณปฏิสังขรณ์แล้วยังสร้างถาวรวัตถุต่างๆ มากมาย อาทิ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ สถานีอนามัย โรงเรียนสหศึกษาบาลี ตึกเรียนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนประชาบาล เป็นต้น ท่านได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชธรรมาภรณ์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2504 ยังความปลาบปลื้ม สู่ญาติโยมและลูกศิษย์ลูกหายิ่งนัก

มรณภาพเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2520 สิริอายุ 86 พรรษา 66

วัตถุมงคลที่ท่านสร้าง มีทั้งพระบูชา รูปหล่อ พระเครื่อง พระกริ่ง และเหรียญ ทุกรุ่นล้วนสร้างเพื่อหาปัจจัยบูรณะและสร้างเสริมศาสนวัตถุภายในวัด รวมทั้งพัฒนาสาธารณูปการแก่ชุมชนในพื้นที่และใกล้เคียงทั้งสิ้น ซึ่งผู้บูชาต่างเกิดประสบการณ์ทั้งด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด จึงกลายเป็นที่นิยมและแสวงหามาตั้งแต่อดีตเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ค่านิยมยิ่งสูงขึ้นตามกาลเวลา โดยเฉพาะ "เหรียญรุ่นแรก"

สำหรับ "พระกริ่งดีดน้ำมนต์" ก็เป็นหนึ่งในวัตถุมงคลยอดนิยมของท่านเป็นที่แสวงหาอย่างสูง แต่หายากยิ่ง เนื่องจากจำนวนการสร้างไม่เกิน 1,000 องค์

พระกริ่งดีดน้ำมนต์ หรือพระกริ่งประทานพรหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2505 เพื่อหาปัจจัยสร้างโรงเรียนประชาบาล วัดดอนยายหอม

ลักษณะเป็นพระกริ่งลอยองค์แบบ "หล่อโบราณ" พระประธานประทับนั่งขัดสมาธิราบ เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น แสดงปางประทานพร พระหัตถ์ขวายกไว้ที่พระอุระ ลักษณะคล้าย "ดีดนิ้วพระหัตถ์" พระหัตถ์ซ้ายวางแบราบกับพระเพลา มีบาตรน้ำมนต์วางอยู่ พระพักตร์กลมมน พระเกศแหลมและพระศกเป็นเม็ดเล็กๆ ลึกและชัดเจน ด้านหลังบริเวณพระวรกายไปจนถึงฐาน ลักษณะเป็นร่องลึกลงไปในองค์พระ คือ "ยันต์นะทรหด" ล้อมด้วย "ยันต์ 4 ตัว : อุ พุท โธ ยะ"

ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวหลวงพ่อ และล่างสุดเป็น "ยันต์ นะ" ครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     โดย ราม วัชรประดิษฐ์





พระนิรันตราย วัดราชประดิษฐ์ ปี 2515
พระนิรันตราย พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีการค้นพบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้นำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ในราวปี พ.ศ.2399 นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญประจำรัชกาลองค์หนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญประดิษฐานในพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (ทำบุญตรุษ), พระราชพิธีสงกรานต์ ฯลฯ

ปัจจุบันเจ้าพนักงานภูษามาลายังรักษาแบบแผนโบราณราชประเพณี โดยอัญเชิญ “พระนิรันตราย” ไปประดิษฐานในพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น ในการบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา และการพระราชกุศลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นต้น

ตามประวัติการค้นพบกล่าวไว้ว่า ในครั้งนั้นเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 74 หรือ พ.ศ.2399 กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นานท่านกับบุตรชายชื่อนายยัง ได้เดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง จึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ

คำว่า “นิรันตราย” อันหมายถึง ปราศจากอันตรายนิรันดร์ นั้น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 พระราชทานพระนามสืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2403 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ได้สร้างปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ เมื่อมีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตร ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป แต่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า

พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า …พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง จึงทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระพุทธรูปองค์ใน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยทวารวดีไว้อีกชั้นหนึ่ง พระราชทานพระนามว่า “พระนิรันตราย” และยังโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์ไว้คู่กัน

เมื่อพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตมีพระอารามมากขึ้น ในปี พ.ศ.2411 พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกัน เป็นเนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมแสดงพระพุทธคุณจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหามงกุฎ ตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ จำนวน 18 องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ พระราชทานนามว่า “พระนิรันตราย” เช่นกัน

เพื่อจะทรงพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันกะไหล่ทอง พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงโปรดฯ ให้นายช่างทำกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุตจำนวน 18 วัด ตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก ประกอบด้วย วัดราชาธิวาส, วัดบวรนิเวศวิหาร,วัดเทพศิรินทราวาส, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดบรมนิวาส,วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดโสมนัสวิหาร,วัดบุรณศิริมาตยาราม, วัดราชผาติการาม, วัดปทุมวนาราม, วัดสัมพันธวงศ์, วัดเครือวัลย์, วัดบุปผาราม, วัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี, วัดยุคันธราวาส จ.นนทบุรี, วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จ.พระนครศรีอยุธยา และ วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากนั้น ทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละ 1 องค์ ในเวลาต่อมา

ปัจจุบัน “พระนิรันตราย องค์จริง” ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

“พระนิรันตราย” นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความเคารพอย่างกว้างขวาง และได้มีการจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล ทั้งพระบูชา พระเครื่อง พระพิมพ์ และเหรียญ

เพื่อความสะดวกแก่การพกพาติดตัวให้เกิดความสิริมงคลสืบมาครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     โดย ราม วัชรประดิษฐ์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 53.0.2785.143 Chrome 53.0.2785.143


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2559 12:23:57 »


http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuhxEfFAwvFZ22bTf0FczWB6229LcIequtooPhzq.jpg
พระเครื่อง

นางพญา พิมพ์สังฆาฏิ

นักเลงพระเนื้อดิน ถ้าเริ่มต้นจากพระสมัยอยุธยา หลวงพ่อโต นางวัดโพธิ์ วัดบ้านกร่าง วัดตะไกร...เส้นสายลายพิมพ์ ผิวเนื้อพระ เม็ดแร่ ฯลฯ แม้ไม่เหมือน ก็ใกล้เคียง พระนางพญา พิษณุโลก เพราะยุคสมัยใกล้กัน

พระนางพญา เนื้อสีแดง องค์ในคอลัมน์วันนี้ พิมพ์สังฆาฏิ ทุกเส้นสายลายพิมพ์ ทุกตำหนิ คมชัด เห็นเค้าจมูกปากตา สวยระดับน้องๆนางสังฆาฏิองค์แชมป์ศรีนคร ของคุณสมชาย มาลาเจริญ

ด้านหลังริ้วลายมือนูนเด่นจากคราบราดำ เม็ดแร่โผล่พองาม ถือเป็นเนื้อมาตรฐานและต้องยกให้เป็นพระกรุใต้

กรุใต้ คือพระที่ขุดพบที่ลานวัดนางพญา ส่วนกรุเหนือ กรุตาปาน พบอีกฝั่งแม่น้ำน่าน กรุนี้ดินร่วนซุย สภาพผิวพระอ่อนกว่ากรุวัดนางพญาเล็กน้อย

พระพิมพ์ดี เนื้อดีสภาพนี้ อย่าเผลอคุยไม่เข้าแว่นก็ซื้อได้ พระเครื่องสมัยนี้ยังไง ก็ต้องส่อง ...ของปลอมฝีมือดูตาเปล่าว่าดี เข้าแว่นเก๊ ก็ถมไป

ในพระนางพญาทุกพิมพ์ เข่าโค้ง เข่าตรง (2 แม่พิมพ์) อกนูนใหญ่ อกนูนเล็ก สังฆาฏิ เทวดา ยังมีพิมพ์ (ใหญ่) พิเศษแขนอ่อนสุโขทัย พิมพ์พิเศษแขนอ่อนอยุธยา ตอนนี้เรียกกันว่า พิมพ์แขนบ่วง

พิมพ์ที่มีเรื่องเล่าขาน คงกระพัน หรือเหนียวสุดขั้วหัวใจ มีพิมพ์เดียว คือพิมพ์สังฆาฏิ

พ.ศ.2487 “ตรียัมปวาย” เป็นนายทหารอยู่พิษณุโลก รู้จักตาปานได้พระจากตาปาน แบ่งจากคนขุดด้วยมือที่ลานวัดนางพญา อีก 7 องค์ รวมแล้วมีพระนางพญามากกว่า 60 องค์ ตรียัมปวายเลี่ยมทองพิมพ์สังฆาฏิ เนื้อสีเขียว องค์เดียวแขวนคอ

แต่พระที่ทั้งรักทั้งหวงองค์นี้ มีเหตุให้ต้องตัดใจ ให้ญาติทางภรรยา ร.ต.ท.ยอดยิ่ง สุวรรณากร

ตำรวจโรงพักชนะสงครามรับแจ้งเหตุ “ตาควาย” คนแจวเรือจ้างท่าช้างวังหน้าก่อเหตุวิวาท ตำรวจชุดแรกไปจับแต่จับไม่ได้ ร.ต.ท.ยอดยิ่งนำตำรวจ 6 นาย ไปชุดที่สองเจรจาไม่ได้ผล ตำรวจรุกใส่ตาควายใช้ขวานฟันตำรวจกระเจิง

ตำรวจยิงปืนนัดแล้วนัดเล่า เจ็บร้องเสียงดังแต่กระสุนไม่เข้า นัดหนึ่งถูกขมับล้มพับไปประเดี๋ยวก็ลุกขึ้นสู้ต่อ

ร.ต.ท.ยอดยิ่งตัดสินใจจับมือเปล่า ตาควายฟันด้วยขวาน 4-5 แผลใหญ่ ต้องกระโดดน้ำหนีเอาชีวิตรอด ตำรวจทั้งโรงพักชนะสงครามเอาไม่อยู่ต้องส่งตำรวจโรงพักป้อมปราบไปช่วย

ตาควายสู้หมดแรงก็กระโดดลงน้ำแล้วก็ขึ้นมาสู้ใหม่ สุดท้ายก็เสร็จท่อนไม้ภารโรงโรงพัก โป้งเดียวที่ขมับสลบเหมือด

ตาควายบอบช้ำมากรักษาตัวสามเดือน เล่าให้ ร.ต.ท.ยอดยิ่งฟังภายหลังว่าความหนังเหนียวเกิดจากพระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิที่ใส่กรอบเขาควาย (แกะด้วยมือตัวเอง) แขวนคอ “แต่พระนางพญาองค์นั้น” หายไปเสียแล้ว

เรื่องเล่าเรื่องนี้...ตรียัมปวายต้องแลกด้วยการถอดพระนางพญาสังฆาฏิเนื้อเขียว องค์ในคอให้ ร.ต.ท.ยอดยิ่ง สุวรรณากร ไป ตัวเองเลือกเอาพิมพ์สังฆาฏิเนื้อสีแดงมาแขวนคอแทน

อานุภาพนางพญาอีกทาง เชียร ธีรศานต์ ผู้รู้เรื่องพระนางพญาอีกคนบอกสั้นๆ อย่าให้เมียจะเสียเมีย จึงพอฟังได้ อานุภาพอีกด้านของพระนางพญาคือเสน่ห์มหานิยม


พลายชุมพล...นสพ.ไทยรัฐ


http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuh3fdv615mBDbHqwRgtfV5TGD3le4nTXO5YnZOS.jpg
พระเครื่อง

พระสิกขี ลำพูน

ภาพพระในคอลัมน์วันนี้ วงการพระภาคเหนือรู้จักกันในชื่อ พระสิกขี ความน่าสนใจคือขุดได้ร่วมกับพระรอดวัดมหาวัน ลำพูน จึงเป็นพระโบราณอายุพันปี ขนาดน้องๆ พระเปิม

เป็นของดีมีน้อย กระนั้นในหนังสือที่ชมรมพระเครื่องเชียงใหม่ เล่มที่น้อย ไอยรา (นิพนธ์ สุขสมมโนกุล เรียบเรียง พ.ศ.2545) ยังรวบรวมภาพได้ถึง 10 องค์

ข้อสังเกตสะดุดใจ ทุกองค์ไม่เหมือนกันเลย

พระชุดลำพูนทุกองค์ เป็นพระพิมพ์ แต่พระสิกขีเป็นพระปั้น...ใครมีศรัทธาจะปั้นก็ปั้น...เค้าโครงเดียวกัน แต่เนื้อตัวหน้าตาไม่เหมือนกัน

องค์ที่เอามาขยายใหญ่เต็มหน้า (หนังสือน้อย ไอยรา) ปั้นได้งามมา เค้าหน้าแววตายิ้มอ่อนโยน เป็นศิลปะลำพูนเต็มหัวใจ ส่วนอีก 9 องค์ ทั้งหน้าตาอกเอว แต่งลวดลายอลังการ ...จนดูรกตาไป...แต่ก็ดูได้ว่า ได้อิทธิพลศิลปะลพบุรี

หลักดูพระสิกขี ข้อแรก ต้องใช้หลักเดียวกับหลวงพ่อทับ หรือหลวงพ่อแก้วพิมพ์ปั้นองค์ใดเหมือนกันทุกเส้นสาย...เป็นพระเก๊ ข้อต่อมา ดูศิลปะทุกองค์ไม่เหมือนกัน แต่เค้าโครงเดียวกัน

เนื้อนั้น ไม่ว่าสีเหลือง แดง เขียว คราบไคล เทียบกับพระรอดมหาวันได้ทุกประการ

องค์ในภาพ นวลเนื้อมองเห็นเขียวรำไร เหลือดินกรุสีน้ำตาลเข้มไว้แน่นหนา แม้ปกปิดรายละเอียดองค์พระไปบ้าง แต่ก็เป็นตัวช่วยให้ดูง่ายและคุ้มค่า ถ้านึกว่าเก็บไว้ดูเทียบเคียงกับพระราคาแพงแสนแพง...อย่างพระรอด

ชื่อพระสิกขี ชื่อนี้ใครเรียกก่อน ก่อน พ.ศ.2500 ช่วงที่การขุดหาพระรอดในวัดมหาวัน ยังเป็นงานปกติของชาวบ้าน “ตรียัมปวาย” ถ่ายภาพไว้องค์หนึ่ง ในหนังสือพระรอด พระเครื่องสกุลลำพูน (สำนักพิมพ์คลังวิทยา พ.ศ.2503)

บรรยายใต้ภาพว่า เทวรูปเนื้อผงหิน (เขียว) คราบคำ ขุดได้พร้อมพระรอดใน พ.ศ.2498

แสดงว่า ช่วงปี พ.ศ.นั้น ยังไม่มีใครตั้งชื่อ เห็นเค้าโครงองค์พระ แปลกตากว่าพระพิมพ์ธรรมดา จึงเรียกว่าเทวรูป

ชิน อยู่ดี และตรียัมปวาย เขียนถึงพระรอดหลวงหรือแม่พระรอด ในวิหารวัดมหาวันไปในทางเดียวกัน

มานิต วัลลิโภดม (ตำนานหริภุญชัย) เขียนว่า เวลานี้ที่วัดมหาวันในเมืองลำพูนมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิองค์หนึ่ง ท่านั่งขัดสมาธิ หงายฝ่าพระบาทออก หน้าตักกว้าง 43 ซม. สูง 90 ซม. เรียกกันว่า พระรอดหลวง แม้จะถูกลงรักพอกปูนเสียหมด ก็เห็นเค้าลักษณะทวารวดี

จนถึงความรู้จากพระมหาวรรณ เขมจารี ในตำนานวัดมหาวันและพระรอด

สักขีของพระรอดยังปรากฏอยู่ที่ของเก่า คือพระรอดหลวง...ขุดออกมาจากพื้นดินพร้อมด้วยโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น ศิลาจารึก...เป็นโบราณวัตถุชิ้นเดียว ที่เหลือตกค้างอยู่กระทั่งทุกวันนี้

ประโยค สักขีพระรอด พอเห็นเค้า ชื่อพระสิกขี บ้างรางๆ

เชียร ธีรศานต์ เขียนเรื่อง พระสิขี (ตามต้นฉบับ) ไว้ในหนังสือพระเครื่องสกุลลำพูน ชุดนพคุณ (อภินิหารและพระเครื่อง พ.ศ.2516) ว่า

พระสิขี เท่าที่เห็นเชื่อแน่ว่าไม่มีแม่พิมพ์ คนใดนึกอยากจะฝากฝีมือไว้ให้คนรุ่นหลังเห็นก็สร้างขึ้นทีละองค์ พระแบบนี้ตบแต่งกันงามมากเพราะชื่อที่ใช้ เป็นชื่อพระสำคัญประจำบ้านประจำเมือง คือพระสิขี

ถึงเวลาที่คุณเชียรเขียน ประโยค พระสักขีพระรอด ได้กลายเป็นชื่อพระสิกขี

ต่อมาแม้มีสร้างพระรอดจำลองแบบตามพระพุทธสิขีแล้ว แต่อิทธิพลพระรอดมีมากกว่า พระพุทธสิขี จึงกลายเป็นพระรอดหลวง ภายหลังคนทั้งหลายกลัวชื่อพระพุทธสิขีจะสาบสูญกระมังจึงสร้างพระเล็กๆ ขึ้น ใช้ชื่อพระพุทธสิขี

เรื่องราวและข้อสันนิษฐาน ของเชียร ธีรศานต์ ยังไม่กลมกลืนไปตามเหตุผลนัก แต่กระนั้นจึงพอประมาณการได้ว่า ชื่อพระสิขีหรือพระสิกขีเกิดมีเรียกขานกันด้วยประการฉะนี้...แล.


พลายชุมพล...นสพ.ไทยรัฐ


http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuh3iGUqbGKkbxueJsQXF9mshUIobiyPG39KI4wC.jpg
พระเครื่อง

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว พิมพ์ปั้น

เอ่ยชื่อ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว แล้วต่อด้วยคำว่า “พิมพ์ปั้น” คนในวงการพระรู้ทันที “แก้ว” องค์นี้ คือ “แก้ว” วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี ไม่ใช่หลวงพ่อแก้ววัดพวงมาลัย หลวงพ่อแก้ววัดป่าฝ้าย และอีกหลายๆ แก้ว

แต่จะบอก แก้ว วัดเครือวัลย์ วัดเดียวก็ไม่ได้ เพราะพิมพ์ปั้นที่ว่านี้มีออกทั้งจากวัดเครือวัลย์ เรียกกันว่ารุ่นแลกซุง และที่ออกจากวัดปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ความรู้จากหนังสือพระเครื่องยอดนิยมเมืองเพชรบุรี (พิมพ์แจกเป็นรางวัลในงานประกวดพระเครื่อง ที่พันธุ์ทิพย์พลาซ่า พ.ศ.2554) หลวงพ่อแก้ว เกิด พ.ศ.2385 ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี บวชที่วัดพระทรง จำพรรษาวัดปากทะเล และธุดงค์ยาวไปถึงชลบุรี ปักหลักจนเป็นสมภารที่วัดเครือวัลย์

คนรุ่นเก่าเล่าให้ลูกหลานฟัง เมื่อหลวงพ่อแก้วสร้างกุฏิสร้างศาลา โยมที่มีกำลังศรัทธาหาซุงมาถวาย ท่านก็ให้พระปิดตาองค์หนึ่ง พระรุ่นเดียวกัน เมื่อท่านกลับไปเยี่ยมญาติเมืองเพชรท่านก็แจกจ่ายกลายเป็นที่มาของหลวงพ่อแก้วพิมพ์ปั้น

ทำไม จึงเรียกพิมพ์ปั้น
ร.ศ.นิพัทธ์ จิตรประสงค์ อธิบายปิดท้ายเล่ม หนังสืออาณาจักรพระปิดมหาอุตม์ (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2536) ว่า พิมพ์ปั้นลอยองค์...ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อผง เมื่อนำเอามาบดตำเข้ากันจนดีแล้ว จึงได้นำเอามาปั้นด้วยมือทีละองค์ แต่ละองค์จะมีขนาดและรายละเอียดแม้ฝีมือเดียวกัน คล้ายกัน แต่จะไม่เหมือนกันเลย

พิมพ์ปั้น หลวงพ่อแก้ว ส่วนมากนิยมปั้นด้วยเนื้อผงคลุกรัก แล้วแกะสลักอย่างคร่าวๆ พอเป็นเค้าให้รู้ว่าเป็นรูปพระปิดตาเท่านั้น

ในหนังสืออาจารย์นิพัทธ์ มีภาพพระปิดตาพิมพ์ปั้นให้ดู 6 องค์ องค์ที่ 6 พิมพ์บายศรี 4 หน้า ทุกองค์แตกต่างกันทั้งฝีมือปั้นทั้งสีนวลเหลือง น้ำตาล น้ำตาลเข้ม ถึงดำ เนื้อละเอียดถึงหยาบทุกองค์คลุกรัก แต่มีองค์จุ่มรักปิดทององค์เดียว

พระปิดตาพิมพ์ปั้นองค์ในภาพ เล่นกันเป็นวัดปากทะเล เพชรบุรี (เจ้าของคนเพชรบุรี) เนื้อคลุกรักออกเป็นสีน้ำตาล ส่วนนูนผ่านมือจับบ้าง พอมองเห็นชิ้นเนื้อรักแทรกในรอยแยกรอยยุบ ซอกลึก เห็นเป็นสีนวลขาวปนน้ำตาลแห้งสนิทนวลตา

แบบฟอร์มองค์นี้ มีคล้ายๆหลายองค์ แต่องค์นี้แปลกตากว่า ตรงที่คนปั้นตั้งใจให้สัณฐานออกกลม เหมือนลูกอม จึงให้พื้นที่ส่วนพระบาท... เหลือนิดเดียว

หนังสืออาจารย์นิพัทธ์ รวบรวมพระแท้ผ่านวงการ ผ่านงานประกวด เอาไว้หลายหลวงพ่อหลายแม่พิมพ์

แต่หนังสือพระปิดตาเล่มแรกของวงการคือ ทำเนียบพระปิดตา คุณอุตสาหะ ศิริวัฒน์ พิมพ์ ปี 2521 ความลับที่เคยดำมืด ของคนรักพระปิดตาหลายคนก็เริ่มกระจ่าง พระปิดตาองค์ดังๆ ผิวพรรณเนื้อหาเป็นอย่างไรได้ดูกันเต็มตา

คนที่เคยเล่นแบบสะเปะสะปะ ก็เริ่มจับหลักได้ เริ่มเล่นกันเป็นมาตรฐาน

พระปิดตานั้นเชื่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนขุนแผนยกทัพไปตีเชียงใหม่ มีคำกลอนบรรยายถึงตรีเพชรกล้า ทหารเอกไว้ตอนหนึ่ง “แขนขวาสักรงเป็นองค์นารายณ์ แขนซ้ายสักชาดราชสีห์ ขาซ้ายขวาสักหมีมีกำลัง สักอุระรูปพระโมคคัลลาน์ พระควัมปิดตานั้นสักหลัง”

อย่างน้อยก็ได้รู้ว่า พระปิดตา (พระควัม) นั้น ตั้งใจมีไว้ป้องกันหอกแหลนหลาวมีดไม้ที่แทงมาทางหลัง

พระควัมบดี...เป็นลูกเศรษฐีรุ่นเดียวกับ “ยสะกุลบุตร” ที่เจอความวุ่นวายทางโลกแล้วเดินบ่น “ที่นี่ขัดข้องหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ” แล้วเจอพระพุทธเจ้า...เมื่อไปบวชเป็นอรหันต์รุ่นพระยสะแล้ว ความหล่อก็เป็นเหตุให้มีสาวๆ ตามไปวุ่นวาย

ท่านจึงอธิษฐานร่างกายให้อ้วนเตี้ยพุงพลุ้ย เพื่อให้สาวๆหนี

เรื่องนี้เข้าทำนองเดียวกับเรื่องพระมหากัจจายนะ คนรุ่นหลังจำลองรูปท่านเป็นอ้วนพุงพลุ้ยแล้วก็พัฒนามาเป็นพระปิดตา เป็นสัญลักษณ์ว่า ท่านปิดทวารทั้ง 9 ตาหูจมูก ปากและกาย...ไม่ยินดียินร้าย เรื่องรักโลภโกรธหลง ในทางโลกอีกแล้ว

แต่คนรักพระปิดตากลับหันไปเชื่อว่าพระปิดตามีพลานุภาพไปทางลาภผลและเสน่ห์มหานิยม ถ้าเป็นชายสาวใดเปิดตาเห็นเป็นต้องหลงรักใคร่ไม่ลืมหูไม่ลืมตาเลยทีเดียว.

พลายชุมพล...นสพ.ไทยรัฐ  width=320 height=210


http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuhlo31STmDnhw8WvvLGsN5MsEfIpgMR1gXcf2KL.jpg
พระเครื่อง

พระคงดำ ลำพูน

ในจำนวนพระลำพูน พระรอด พระลือ พระเลี่ยง พระเปิม ฯลฯ และพระคงนั้นมีหลายสี สีเหลือง แดง ขาว เขียว ส่วนสีดำ เพิ่งยอมรับกันในระยะหลัง

ที่มาของสี ทฤษฎีคุณเชียร ธีรศานต์ เกิดจากการเผา 5 ขั้น ขั้นที่ 1 ความร้อนขั้นเกรียม ได้พระสีเทาหม่นปนดำ หรือสีดำ ขั้นที่ 2 ความร้อนขั้นอิฐสุก ได้พระสีเหลืองนวล ขั้นที่ 3 ความร้อนขั้นอิฐสุกดี ได้พระสีแดงเข้มหรือแดงปนเหลืองเข้ม

ขั้นที่ 4 ความร้อนขั้นเผาจาน พระสีมอยเขียวมอ หรือสีหินลับมีดโกน ขั้นที่ 5 ความร้อนขั้นเนื้อละลาย พระสีเขียวเข้ม

คุณเชียรบอกว่าราวปี พ.ศ.2500 ระหว่างการขุดหาพระรอด มีผู้ขุดได้พระรอดสีเทาหม่นสององค์ แต่เมื่อขึ้นจากดินสภาพของเนื้อพระยุ่ยเปื่อยรักษาสภาพองค์พระไว้ไม่ได้

ในขณะที่เมื่อมีการพบพระคงสีดำ สมัยที่คุณเชียร เขียนตำรา ก็ยังพบแค่สีกระดำกระด่าง คือดำปนสีดินเทา...วงการเรียก “เนื้อผ่าน” หลังยุคคุณเชียร พระสกุลลำพูนนิยมแพร่หลาย พระคงสีดำสนิททั้งองค์เริ่มปรากฏโฉมหลายองค์

คนเล่นพระเนื้อดินคุ้นตา พระเนื้อมาตรฐานกลาง สีเหลืองอ่อน เหลืองเข้ม ฯลฯ นั้น ส่องให้ดีๆ จะเจอลายเนื้อ เหลือง เขียว แดง ไม่ว่าจะเป็นเม็ดขนุน กรุทุ่งเศรษฐี หรือนางพญา พิษณุโลก

พระเนื้อดินนุ่มละเอียด ที่ถูกใช้ติดตัวมีเหงื่อไคล...ส่วนที่สึกช้ำ เรียกกัน “เนื้อมะขามเปียก” คุณมนัส โอภากุล ใช้คำเรียกแตกต่าง “ผิวน้ำผึ้ง” นี่ก็เป็นอีกจุดสังเกต พระเนื้อดินแท้ ดูง่าย

แต่ถ้าเป็นพระเนื้อสีดำ...ไม่ว่าพระอายุพันปี อย่างพระคงหรือพระอายุร้อยปี พระกริ่งคลองตะเคียน ความดำ ความมัน หาจุดสังเกตยาก ต้องดูคราบไคลไปจนถึงตำหนิพิมพ์จากพระองค์ครู เป็นตัวช่วย

พระคงดำองค์ในคอลัมน์วันนี้เจ้าของไม่มีวิชาแก่กล้า เห็นพิมพ์ดี เนื้อดี นวลดินกรุเหลืองอ่อนประปราย ราคาไม่แพงก็เก็บไว้หลายสิบปี ต่อมาเมื่อเห็นภาพพระคงดำในหนังสือหลายเล่มก็สะดุดใจ หยิบมาเทียบก็ใกล้เคียงแต่ยังไม่แน่ใจ

โดยพื้นฐาน พระคงสีทั่วไป ไม่ว่ากรุเก่า กรุใหม่ (แตกกรุ ใต้ฐานชุกชี โบสถ์วัดพระคงฤาษี ปี พ.ศ.2518) นักเล่นพระรุ่นเล็กผ่านมือกันหลายๆ องค์ โดยไม่ต้องพึ่งตาเซียน

แต่กับพระคงดำยังตัดสินไม่ได้ จนเมื่อได้วิชาจากหนังสือเล่ม ดิน ชิน ผง วัตถุมงคลของแผ่นดิน (กองบัญชาการตำรวจนครบาล จัดพิมพ์ในงานประกวดพระเครื่อง พ.ศ.2556) คุณศุภชัย เรืองสรร งามศิริ ชี้ “ลิ่ม” ตำหนิพิมพ์ ตรงก้นพระคง ให้เป็นหมุดหมาย พระคงแท้ต้องมี

หยิบพระคงดำองค์นี้ออกมาดูก็เจอตำหนิพิมพ์ตรงกัน

นี่คือตัวช่วยสำคัญ ที่ตัดสินได้ มีพระคงดำ ลำพูนแท้ ในมือไว้หลายปี

เรื่องตำหนิ พิมพ์ สำหรับผม เชื่อ แต่เชื่อในฐานะ “ตัวช่วย” ไว้ร่วมพิจารณา มีพระแท้องค์ครูมากมายที่ไม่มีตำหนิพิมพ์ ตำหนิตรงนี้ไม่มีแต่ตรงอื่นก็มี ดูประกอบกับเนื้อหา คราบไคลและธรรมชาติ ใช้ปัญหาและเหตุผลอื่นๆ ประกอบกันไป

เชื่อตำหนิพิมพ์อย่างเดียว อาจเสียของดีแต่ไม่เชื่อเสียเลยก็อาจเจอของปลอม

อีกความรู้ที่ต้องติดตามสดับตรับฟังจากคนในวงการคือค่านิยมเรื่องสี น.นที เขียนไว้ในหนังสือรวมภาพและเกร็ดประวัติพระเครื่องเครื่องราง เล่มปี พ.ศ.2552 ว่า ราคาพระคง เรียงลำดับตามความน้อยความมาก ความหายากหาง่าย

ดำ แดง ขาว เขียว และเหลือง

น.นทีเล่าว่า ก่อนปี พ.ศ.2550 พยัพ คำพันธุ์ เคยขึ้นเหนือไปเช่าพระคงสีแดงจากคหบดีเชียงใหม่ ในราคาสะท้านเมือง 6 แสนบาท และประกาศว่าถ้าจะออกต่อก็ต้องถึง 1 ล้านบาท

เรื่องเล่านี้ชี้ว่า พระคงสีแดงแพงมากๆ ราคาเป็นรองก็แต่พระคงสีดำ เท่านั้น

สีเหลืองมีมากกว่าราคาจึงถูกกว่า (ยกเว้นองค์เหลืองมีหน้าตา ซึ่งขึ้นล้านไปนานปี) พระสภาพใกล้เคียงสีเหลือง 20 องค์ จึงจะซื้อ พระคงดำ ลำพูนได้หนึ่งองค์ นี่คือความยิ่งยงของพระคงดำ เมืองลำพูน ที่ควรจะรู้ไว้ทั่วกัน.

พลายชุมพล...นสพ.ไทยรัฐ 


http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuhlw7Ae0lNoX81Oog3x22dPEErZufNi3ShUfu3x.jpg
พระเครื่อง

เจดีย์ พิมพ์เขื่อง

สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์องค์นี้ ...สภาพสึกช้ำแต่ความคมของเส้นสังฆาฏิ สองเส้นขนาน และเส้นแยกใต้รักแร้

ลำพระบาทแบบสมาธิราบ แยกสองส่วนเห็นเป็นเค้ารางๆ รวมเส้นสายลายพิมพ์คุ้นตา พอให้นึกถึงทรงเจดีย์องค์เจ๊แจ๋ว องค์ที่ยกย่องเป็นองค์จักรพรรดิ

ดูพระจากภาพถ่าย แม่พิมพ์พระอาจไม่มีอะไรต่างกันนัก แต่ประเด็นอยู่ที่ “ขนาด” ขนาดองค์จริงทรงเจดีย์องค์นี้ เขื่องและใหญ่เท่ากับพิมพ์ใหญ่ ที่ “ตรียัมปวาย” เรียกว่า พิมพ์เขื่อง (วัดจากเส้นซุ้มฐานชั้นล่าง 3.3 ซม. วัดส่วนสูง จากเส้นซุ้มล่างถึงยอดซุ้มบน 3.6 ซม.)

ภาพถ่ายที่หาดูได้จากหนังสือภาพพระเครื่อง ไม่ชี้ชัด “ขนาด เขื่อง ใหญ่ ย่อม สันทัด” เหมือนพระองค์จริง

ในหัวข้อมูลสูตรสัญลักษณ์ทางพิมพ์ทรง หน้า 271 ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่มพระสมเด็จ พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ.2520 ตรียัมปวายเขียนไว้ว่า “พิมพ์ทรงเจดีย์แบบพิมพ์เขื่อง มีสัณฐานองค์พระปฏิมาเขื่องกว่าของพิมพ์ทรงพระประธานเป็นส่วนมาก”

ยึดหลัก “ตรียัมปวาย” ดูแม่พิมพ์แล้ว ก็ดูเนื้อหา ทรงเจดีย์องค์นี้ เนื้อละเอียดนุ่มนวล ส่วนนูนหนาที่สึกช้ำเพราะการใช้ให้เงาสว่างลึก มวลสารประปรายเทียบได้กับ “เนื้อเกสรดอกไม้” ส่วนลึกลงในพื้นผนัง ผิวแป้งโรยพิมพ์หม่นคล้ำสว่างตา ด้านหลังแม้เป็นหลังเรียบแต่ในซอกในหลุมยังติดเนื้อรักเก่าบางแผ่นใหญ่ บางแผ่นเล็ก เล็กมากๆ ส่องให้ดีจะเจอเม็ดรักปิดทอง ขนาดเท่าปลายเข็มหมุด ทุกเส้นถูกที่ถูกทาง ช่วยให้ตัดสินได้ เป็นพระแท้ดูง่าย หลักดูพระ เนื้อใช่ พิมพ์ใช่...ก็แค่นี้

เจตนาในการขอยืมทรงเจดีย์พิมพ์เขื่ององค์นี้มาเป็น “องค์ครู” เพราะได้ข่าวมีการจัดนิทรรศการหลวงวิจารณ์เจียระไน ในโรงแรมใหญ่ คนที่ไปดูกระซิบมา มีของเก่าๆ กระทั่งไม้เท้า ที่คนจัดคุยว่าเป็นสมบัติของท่าน

ไม้เท้าท่อนนั้นสลักเสลาลวดลาย ติดเพชรติดพลอยสวยงาม จุดสนใจอยู่ที่ปุ่มปลายไม้เท้าติดพระกริ่งพิมพ์เดียวกับกริ่งปวเรศวัดบวรฯ บังเอิญคนไปดูเป็นเซียนพระกริ่ง ดูแป๊บเดียว ก็บอกว่า “ฝีมือตาสวน” แสดงว่า เป็นปวเรศปลอม

ธุรกิจพระปลอมวันนี้ ก้าวหน้าสร้างประวัติ เพิ่งขุดพบจากที่วัดโน้น วัดนั้น วัดที่อยู่ในเส้นทางชีวิต สมเด็จพุฒาจารย์โตวัดระฆัง จึงไม่แปลกที่มีการสร้างประวัติหลวงวิจารณ์เจียระไน ช่างทองราชสำนักสมัย ร.4 ผู้แกะแม่พิมพ์สมเด็จทั้งวัดระฆัง วัดบางขุนพรหม มาให้รำลึกอีกครั้ง

ในตำรา “ตรียัมปวาย” บอกว่า แรกสมเด็จพุฒาจารย์โตสร้างพระ เนื้อปูนผสมก็ไม่ได้ที่ แม่พิมพ์ก็ยังไม่สวย จนเมื่อหลวงวิจารณ์เจียระไน ช่างทองหลวงราชสำนักมาแนะนำให้ใช้น้ำมันตังอิ้วผสมปูนทำให้เนื้อพระแน่นเหนียว ไม่แตกร้าว

แล้วก็ยังแกะพิมพ์ พิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ฐานแซม เกศบัวตูม ปรกโพธิ์ มาถวายให้สมเด็จโตใช้เป็นแม่พิมพ์มาตรฐาน วงการเล่นหากันถึงวันนี้

เรื่องหลวงวิจารณ์เจียระไน “ตรียัมปวาย” เล่าไว้สั้นๆ จึงเป็นช่องว่าง ให้พวกหนึ่งได้โอกาส

“เติม” เรื่องใหม่ สร้างเรื่องให้น่าเลื่อมใส แน่นอน เป้าหมายก็อยู่ที่ การขาย?

การขายพระสมเด็จ ตอนนี้มีหลายวิธี กระทั่งวิธีโฆษณาว่าใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ (ซึ่งยังไม่มีจริง) การันตีอายุ โฆษณาขายเป็นสมเด็จวัดระฆังในหน้าหนังสือพิมพ์

วงการพระเครื่องวันนี้ต้องติดตามทุกฝีก้าว พระสมเด็จองค์สวยแท้ยังยั่วลูกค้าเศรษฐีไม่ได้ ต้อง “เติม” ประวัติสร้างเรื่อง เคยเป็นของใคร ตกทอดไปที่ไหนขายได้ราคากว่า กลับกัน ทำพระปลอมฝีมือก็แต่งเรื่องเล่าให้น่าเลื่อมใส

สำหรับเซียนผู้รู้จริงเขาไม่สนใจฟังเรื่องแต่งจากใคร ถูกตาราคาซื้อได้ ก็ซื้อ

และชื่อชั้นเซียนเหล่านี้ ก็จะถูกใช้ให้ลูกค้าที่เปลี่ยนมือซื้อขายต่อๆ กันไป เป็นส่วนหนึ่งของประวัติพระองค์ราคาแพง

ส่วนคนที่มีความเชื่อความมั่นใจ เลือกพระให้ตัวเองและเพื่อนพ้องที่เชื่อขึ้นคอใช้ นั่นเป็นเรื่องของคุณค่า ไม่ใช่เรื่องของมูลค่าราคาจริงอยู่ที่การซื้อการขายในกลไกตลาด ซึ่งแน่นอนมีเซียนน้อยเซียนใหญ่กำกับ.



http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuhk8pshxbthbWsscBfqkItYpLL4eBjmckxpmyn2.jpg
พระเครื่อง

พระรอดเขียว พิมพ์ใหญ่
รั้งหนึ่งนานมาแล้ว (ราว พ.ศ.2514) สิงห์คะนองนาเชื่อมั่นในฝีมือ อ่านตำราพระรอดของครูตรียัมปวายจนขึ้นใจ ถือพระรอดเขียวองค์หนึ่งไปให้ครูดูถึงบ้านหลังวัดกัลยาณ์ ฝั่งธน

ครูส่องดูแป๊บเดียวก็วาง แล้วสอนว่า “เจ้าหนู พระรอดนี่น่ะนะ พอขึ้นจากดิน คนที่ได้ไม่เป็นเจ้าสัวก็เจ้าเมืองไม่ถึงมือเด็กวัดหรือสามล้อ...” โห! นี่คือคำสอนให้รู้จักเจียมกลาหัว ที่จำฝังใจ

ตำราเล่มพระรอด ของครูตรียัมปวาย อธิบายได้แต่เนื้อหาด้านทฤษฎี และที่มา แต่พอถึงภาพถ่าย ก็แค่ภาพเล็กๆขาวดำ ช่วยให้จำเค้าๆ ส่วนเรื่องเนื้อหา คราบรา ต้องใช้จินตนาการเติม

ก่อนหน้าในปี พ.ศ.2510 เชียร ธีรศานต์ ถ่ายรูปพระรอดราว 200-300 องค์ เทียบเคียงดู ก็พบความแตกต่างในเส้นสายลายพิมพ์และตำหนิของพระรอด 5 พิมพ์ จึงเขียนคู่มือศึกษาพระรอดมหาวัน พระซุ้มกอทุ่งเศรษฐี ฯลฯ ขึ้นมา 1 เล่ม

หนังสือพิมพ์ด้วยกระดาษปรู๊ฟ มีภาพขาวดำไม่คมชัด ใครสนใจ คุณเชียรถ่ายรูปพระรอด 5 พิมพ์ คมชัด ขายเพื่อให้ประกอบการศึกษาพระรอด อีก 1 หนึ่งชุด

สนามพระตอนนั้น อยู่ข้างวิหารโพธิ์ลังกา วัดมหาธาตุ ตอบรับฮือฮา ใช้เป็นหลักเล่นพระรอด 5 พิมพ์

เซียนรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญกับตำหนิพิมพ์ หลักเดียวกับหลักการดูเหรียญ ห้าแม่พิมพ์มีตำหนิไม่เหมือนกัน แต่โปรดเข้าใจ พระปลอมรุ่นใหม่มีตำหนิพิมพ์ครบครัน พระรอดแท้นั้น เมื่อพิมพ์ใช่ เนื้อพระก็ต้องใช่

ไม่เพียงปฏิวัติหลักแม่พิมพ์ คุณเชียรยังให้ทฤษฎีการดูเนื้อพระ เพราะเนื้อดินขณะเข้าเตาเผาได้ความร้อนไม่เท่ากัน 1 ความร้อนขั้นเกรียม 2 ความร้อนขั้นอิฐสุก 3 ความร้อนขั้นอิฐสุกดี 4 ความร้อนขั้นเผาจาน และ 5 ความร้อนขั้นเนื้อละลาย

คุณเชียรว่า “เนื้อพระรอดอยู่ระหว่างความ ร้อนขั้น 2–5 แต่เนื้อขั้น 3–4 มากกว่าเนื้ออื่น”

รู้หลักการเผา เข้าใจผิวพระตึงเรียบหรือหยาบมีผลให้สีพระต่างกัน ยังต้องเข้าใจอีกว่าเนื้อพระที่ร้อนน้อยร้อนมากนั้นทำปฏิกิริยากับคราบหรือรา ต่างกัน

หลักดูเนื้อพระรอดอีกข้อ คุณเชียรสอนให้รู้จัก “ผิวไฟ”

พระเผาใหม่ ผิวนอกจะมีสีที่เกิดจากความร้อนสีสด แต่เลื่อมพรายสะดุดตา ในความเลื่อมพรายนั้น คล้ายจะมีสีรุ้งปรากฏอยู่น้อยๆ ผิวไฟจะติดอยู่นาน จนกว่าผิวนอกนี้จะอ่อนล้า น้ำปนดินแทรกซึมเข้าไป ทำลายสีไฟให้หมดไปได้

คำว่า พระเก่าเนื้อแห้ง ก็หมายถึงผิวไฟถูกทำลายหมดแล้ว

ดูผิวพระพอเป็นแล้ว ยังต้องระลึกว่า พระที่กำลังดูเป็นพระเนื้อขนาดไหน

1.ถ้าเป็นพระเนื้ออิฐ สีเหลืองปนเทาเล็กน้อย ในการฝังดินเป็นพันปี เนื้อนี้จะซึมน้ำรอบๆ องค์พระ จนกระทั่งผิวเปื่อยยุ่ย ถ้าไม่ล้างขี้กรุออกจะเห็นขี้กรุเกรอะกรัง ถ้าเอาขี้กรุหรือราดำออกก็ต้องเสียเนื้อผิว
2.เนื้อแดงจัด การเสียผิวสภาพเช่นเดียวกับสีอิฐ
3.เนื้อเหลืองปนเขียว ผิวละเอียด เนื้อนี้แข็งแกร่งยากแก่การที่ธรรมชาติจะทำลายผิวได้ ขี้กรุจับไม่สู้สนิท มักจะล้างขี้กรุออกหมด
4.เนื้อเขียวหินลับมีดโกน บางคนเรียกเนื้อมอย สภาพคงเป็นเช่นพระรอดพิมพ์ใหญ่ เนื้อเขียวองค์ในภาพ เนื้อนี้เป็นเนื้อถูกไฟแก่จนเริ่มละลาย ผิวจะตึงงามแกร่งมากน้ำซึมไม่ได้ ขี้กรุราดำจะมีน้อย

เนื้อเขียวแบบนี้ มักจะมีคราบกรุสีคล้ายน้ำสนิมเหล็กเกาะฟูอยู่บนผิว

(คนละเรื่องกับพระเนื้อเขียวผสมแดง ที่เกิดจากเนื้อสุกและละลายไม่เท่ากัน)

5.เนื้อเขียว เขียวแก่คล้ำดังสีหินครก ผิวจะย่นเพราะเนื้อละลายไหลเข้าอุดช่องว่าง น้ำเข้าไปทำลายผิวไม่ได้ ขี้กรุราดำไม่ค่อยติด พระเนื้อเขียวเข้ม ถ้างดงามก็จะรักษาความงามไว้ได้เต็มที่

เหลือบตาไปดูภาพพระรอดองค์ในคอลัมน์ อีกครั้ง พระรอดองค์นี้ มีคราบกรุติดชัดเจนที่ผนังโพธิ์

คุณเชียรอธิบาย ในดินที่มีน้ำซึมผ่าน จะมีน้ำชนิดหนึ่งมีตะกอนคล้ายสนิมเหล็ก คนภาคเหนือเรียก “น้ำฮาก”

คราบกรุแบบนี้นักปลอมพระก็ทำ แต่ยังห่างไกลของจริง คราบสนิมเหล็กถ้ามีในพระ องค์ไหน ช่วยให้ตัดสินพระแท้ได้ประการหนึ่ง.

พลายชุมพล...นสพ.ไทยรัฐ 
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 53.0.2785.143 Chrome 53.0.2785.143


ดูรายละเอียด
« ตอบ #36 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2559 16:04:30 »

http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuqt5LMT80Xf6BJeEl57clQoAIBROndTsErgCc6T.jpg
พระเครื่อง

ขุนแผน ห้าเหลี่ยม อกเล็ก กรุบ้านกร่าง

“ขุนแผนบ้านกร่าง” เป็นคำเรียกรวมๆ พระพิมพ์เนื้อดินเผา ศิลปะอยุธยา พบจากกรุวัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี มนัส โอภากุล เขียนไว้ในหนังสือพระเครื่องเมืองสุพรรณ มีด้วยกันถึง 39 พิมพ์

พิมพ์ค่อนเขื่องที่ใช้คำ “ขุนแผน” นำหน้า... ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ ห้าเหลี่ยมอกเล็ก ทรงพลใหญ่ ทรงพลเล็ก ซุ้มเหลือบ พิมพ์ต่อมา ใช้คำนำหน้าพลาย พลายเดี่ยว พระประธาน (หน้าแก่-หน้าหนุ่ม) ซุ้มเส้นคู่ หน้าฤาษี ใบมะยม ก้างปลา

พลายคู่ นักเล่นรุ่น พ.ศ.2500 เรียกพิมพ์พลายเพชร พลายบัว มีอีกหลายพิมพ์

องค์ในคอลัมน์ เป็นขุนแผนพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็ก สภาพสมบูรณ์ มีหูตาคิ้วคาง เกือบทุกเส้นสายลายพิมพ์ ละม้ายพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ นักเล่นไม่สันทัด อ่านพิมพ์พลาดบ่อยๆ

ข้อสังเกตง่ายๆ พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ ปลายพระเกศชนทะลุซุ้ม พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็กปลายพระเกศแค่จรดซุ้ม

แต่ไม่ว่าจะเป็นขุนแผนพิมพ์อกเล็กหรืออกใหญ่ สมัยนี้สมัยที่ขุนแผนบ้านกร่างราคาหลักแสน องค์สวยมีหูตาหลายๆ แสน ของปลอมฝีมือพัฒนา ขนาดปาดคอเซียน ขอแค่เป็นขุนแผนบ้านกร่างของแท้ก็น่าจะพอ

ขุนแผนบ้านกร่างองค์ในภาพสีลาน เนื้อหยาบปานกลาง ผ้านวลดินบางๆ เป็นฉากหลัง ขับสีเนื้อเข้มให้เห็นเส้นสายเด่นชัดขึ้น ส่องดูเนื้อจะพบเมล็ดแร่เล็กใหญ่ สามสี ดำ ขาวแดง ประปราย

ด้านหลังปรากฏ “ร่อง” ที่เกิดจากเมล็ดทรายหลุด อาจารย์มนัส โอภากุล เรียก “หลุมว่านหลุด” สอง-สามรอย

“หลุมว่านหลุด” นี่เป็นทีเด็ดเคล็ดลับ

เป็นเครื่องหมาย “ การันตี” ความเก่า พระขุนแผนบ้านกร่างของแท้ ตั้งใจส่องให้ดี มีทุกองค์

ความที่เนื้อพระหยาบ ผสมเมล็ดทราย

เกิดสภาพ “ฟ่าม-ฟ่าว” เป็นโพรงอากาศภายใน เมื่อเอาพระแช่น้ำร้อน ที่จริงควรเป็นน้ำอุ่น จะเกิดพรายน้ำพุ่งออกมาเป็นสายคล้ายท่อออกซิเจนในตู้ปลา

รอจนสายพรายน้ำหยุด หยิบพระขึ้น พระบ้านกร่างเก่าแท้ น้ำจะแห้งระเหิดง่ายๆ ถ้าเป็นพระปลอม เนื้อเก่าไม่พอ จะอุ้มน้ำเอาไว้ นอกจากไม่เกิดพรายน้ำพุ่ง ยังอุ้มน้ำเป็นตุ่มกลมติดองค์พระ เอาขึ้นจากน้ำเป็นนานน้ำก็ยังไม่แห้ง

บททดสอบที่คุณมนัส โอภากุล ชี้แนะ ใช้การได้ในสมัยก่อน พระปลอมสมัยใหม่ทำโพรงอากาศในเนื้อ น้ำพุ่งเป็นสายได้ แห้งเร็วไม่แพ้กัน ลงท้ายก็ต้องใช้สายตาพิจารณาดูองค์ประกอบหลักอื่นๆ

เมล็ดแร่ ครบทุกสี หลุมว่านหลุดมีรารักสีดำเหมือนขนกาน้ำ และทั่งฝ้านวลดินบางๆ ก็ยังเป็นตัวช่วยที่ดี

ถ้าไม่มีพื้นฐาน ไม่มั่นใจในประสบการณ์ อยากได้พระขุนแผนบ้านกร่างสักองค์ ขอแนะนำให้ “พึ่งเซียน” สู้ราคาตลาดของเขาให้ได้ เลือกเอาพิมพ์นิยมน้อย พลายเดี่ยว หรือพลายคู่ตัด สภาพพองามราคาหลักหมื่นกลางๆ

ไม่แพงเกินไป กับการได้พระเครื่องชั้นดี คุ้มตัว

ราว พ.ศ.2512 ขุนแผนพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ องค์หนึ่ง เลี่ยมทอง 6 สลึง ฝีมือเฮียเก๊า กาญจนศิลป์ น้องนายทหารขอยืมไป ให้เพื่อนตายแขวนคอไปเป็นนักรบรุ่นจงอางศึกในลาว

สองปีต่อมา เพื่อนของน้องประกาศคำขาด ยังไงก็ไม่คืน ขอคืนเป็นตัวเงิน เหตุเพราะรอดชีวิตมาได้ ขณะเพื่อนร่วมสงคราม ตายไปกว่า 30 คน เจ้าของพระปฏิเสธเงิน ขอพระคืน เรื่องจบลง เมื่อไม่เอาเงินก็ไม่ได้พระคืน

สิ่งที่ได้คืนคือความมั่นใจในพลานุภาพพระขุนแผนบ้านกร่างเพิ่มมากขึ้น

ใครจะตั้งชื่อ “ขุนแผน” ให้พระกรุวัดบ้านกร่างนั้นวันนี้ไม่สำคัญแล้ว เพราะชื่อ “ขุนแผน” ดึงดูดให้เคลิ้มไปในทางเสน่ห์มหานิยม หนุ่มๆ ที่ซาบซึ้งในบทขุนแผน หรือพ่อพลาย พลายแก้ว พลายงาม หรือพลายชุมพล ชอบพระชุดนี้เหลือหลาย

เขาว่ากันว่าชายใดที่แขวนขุนแผนบ้านกร่างในคอ มักมีผู้หญิงหลายคน เรื่องนี้เท็จจริงแค่ไหน ไปหาขุนแผนแขวนคอพิสูจน์ด้วยตัวเอง.

พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ  



http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuq7VkY35pEdBeo0O875k6UF6dGvJAqkNqt5viY3.jpg
พระเครื่อง

สีเนื้อ หลวงพ่อแก้ว

จดจำฝังใจตั้งแต่วัยรุ่น เมื่อได้ดูหลวงพ่อแก้วพิมพ์ใหญ่หลังแบบวัดเครือวัลย์ สมัยนั้นเรียกวัดบางปลาสร้อย องค์มาตรฐานของหลวงพ่อมีน วัดปากอ่าวบางตะบูน หลวงพ่อแก้วแท้ต้องเนื้อสีกะลา

ฟังแล้วได้คิดว่า เนื้อสีอื่น...ไม่ใช่

ปี พ.ศ.นั้น สมเด็จวัดระฆังทรงเจดีย์ องค์สวยของคุณปิยะ ถาวโร วงการเรียก “เซียนเปีย” ผ่านงานประกวดวัดเพชรสมุทรวรวิหาร นายแบงก์ราชบุรีเช่าไป 3 พัน แต่หลวงพ่อแก้วองค์อาจารย์มีน ราคาตอนนั้น 2 หมื่น

ปี 2522 คุณฮกเจ็ง แซ่ตั้ง เซียนใหญ่เพชรบุรี เช่ามาราคา 3.5 แสน ไล่เลี่ยกับการเช่าวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ จากคุณสนานกฤษณเศรณี มา 6.5 แสน ราคาหลวงพ่อแก้วกับสมเด็จโตผกผันไล่กันไป

สององค์นี้ประกวดได้ที่ 1 งานเพชรบุรี คุณฮกเจ็งตาย สมเด็จวัดระฆังถูกซื้อกลับเข้ากรุง 9.5 แสน

ข่าวหลวงพ่อแก้วหายไป แต่ตอนไปทำข่าวกำนันช้อง ผมเคยได้ดู จำได้ว่าเนื้อสีกะลาสภาพใกล้กับองค์อาจารย์มีน ปี 2526 ได้ดูอีกองค์ของคุณวิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ ที่ศูนย์พันเลิศหน้าวัดมหรรณพ์เนื้อกะลาเหมือนกัน

ย้ำความรู้เดิม พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว ไม่ว่าวัดเครือวัลย์ ชลบุรี หรือวัดปากทะเล เพชรบุรี เนื้อสีอื่นไม่มี

สามสิบปีต่อมา หนังสือภาพพระเครื่องทยอยกันออกมาให้ความรู้เพิ่ม เนื้อหลวงพ่อแก้วที่ว่าสีกะลานั้นเกิดจากสีเดิมของเนื้อนวลเหลืองปนน้ำตาลประสานกับเยื่อเนื้อรัก เนื้อนี้เรียกเนื้อจุ่มรัก

บางองค์ ที่เห็นผิวและเนื้อในค่อนไปทางดำ ในการทำพระต่อมาๆ หลวงพ่อท่านเอาน้ำรักผสมกับเนื้อพระ เป็นที่มาของเนื้อ “คลุกรัก” เนื้อนี้เมื่อลงรักแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มความดำ ส่องให้ดีๆ จะเห็นสีดำสองชั้น ดำผิวเนื้อ ดำเนื้อรัก

รักหลวงพ่อแก้ว เซียนใช้หลักเดียวกับรักสมเด็จวัดระฆัง ถ้าเป็นรักจากเมืองจีนเรียกรักน้ำเกลี้ยง เนื้อสีแดงอมน้ำตาล ถ้าเป็นรักเมืองไทยสีดำอย่างเดียว อายุรักสองวัดห่างกันไม่มากนัก

หาพระราคาถูกกว่า เช่น หลวงพ่อโต นางพญาวัดโพธิ์ ดูรักเก่าทองเก่าให้คุ้นตา อ่านรักเก่าทองเก่าหลวงพ่อแก้วให้ออก จดจำพิมพ์หลวงพ่อแก้วให้แม่น บุญมาวาสนามี โอกาสได้หลวงพ่อแก้วแท้ก็มาถึงได้ไม่ยาก

เหลือบดูหลวงพ่อแก้วพิมพ์ใหญ่หลังแบบองค์ในคอลัมน์วันนี้ ถ้าเห็นภาพสีรักเท่าทองเก่า ถึงสมัย เหมือนองค์หนึ่ง ของคุณวิชัย ในหนังสือเล่มคิง เพาเวอร์ ที่ใกล้เคียงมากน่าจะเป็นสีเนื้อ องค์คุณวิชัย ใครดูก็สะดุดตา เพราะสีเนื้อไม่ใช่สีกะลา สีดำ สีน้ำตาล แต่เป็นสีน้ำตาลออกทางสีเทา

เอาล่ะซี นี่น่าจะเป็นความรู้ใหม่ เนื้อหลวงพ่อแก้วออกสีเทาก็มี

องค์ในคอลัมน์วันนี้ เจ้าของเป็นคนนอกวงการ ถือมาหลายสิบปีไม่มั่นใจ เพราะสีเนื้อออกทางสีเทาอ่อน ภาษาชาวเรือตังเกเรียก “หมอกอ่อน” เกรนเนื้อละเอียดกว่า

แต่ที่เทียบเคียงแล้วเหมือนมากก็คือรอยย่นรอยย้วยของเนื้อรักที่ยังเหลือในซอกองค์พระ

ในปื้นรัก ด้านหลังแบบแถวฐานพระ เนื้อรักส่วนที่เสียดสีจนบางมองเห็นเป็นสีแดง เข้าทฤษฎีรักสีดำเพราะหนารักสีแดงเพราะบาง พอดี

เซียนใหญ่พกวิชาดูพระหลวงพ่อแก้วขาด กล้าซื้อในราคาแพง มีน้อยคน เซียนน้อย ที่วิ่งตามหลังก็มักลังเล

หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์ใหญ่ ที่ผ่านมือเซียน ถ่ายรูปมาให้ดูเป็นตัวอย่าง มีหลายสีหลายเนื้อ รวมแล้วยังไม่มากกว่า 20 องค์ พอๆ กับกริ่งปวเรศ วัดบวรฯ

ยึดหลักดูเนื้อสีเดียวก็ไม่ได้ ยึดหลักรักเก่าทองเก่าก็ไม่พอ ต้องดูทุกอย่างรวมกัน เนื้อดี รักดี พิมพ์ดี

แต่ถ้าจะซื้อราคาแพง ก็ต้องยอมซื้อผ่านเซียนใหญ่ เพียงแต่ต้องแน่ใจว่า เงินมีพอ หลวงพ่อแก้ว พิมพ์ใหญ่ สภาพนี้ถ้าได้มาในราคา 20 ล้าน เศรษฐีด้วยกันก็จะหลุดปาก ถูกมาก ซื้อได้ยังไง!

พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ  



http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuq7YRRiTYhKEqWnWmTTvsLTV31OMs8mdqpQS9hU.jpg
พระเครื่อง

องค์ประกอบพระสวย

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์นี้ ด้วยสายตาผู้ชำนาญ พิมพ์ถูก เนื้อใช่ ปื้นรักที่เหลือ เยื่อรักที่ฉาบไล้ผิวพระ ฯลฯ หลักฐานที่เป็นตัวช่วยครบครัน ทั้งด้านหน้าด้านหลังมองผ่านเลยความเป็นพระแท้ไปได้โดยไม่มีข้อสงสัย

ประเด็นการพิจารณาที่ดูทันทีก็รู้ว่า เป็นพระสวย  คำถาม สวยขนาดไหน และองค์ประกอบความสวยมีอะไรบ้าง

นึกถึงพิมพ์ใหญ่วัดระฆัง องค์ดัง ที่ใช้องค์ครู เริ่มแต่องค์ขุนศรี องค์ลุงพุฒ องค์ครูเอื้อ องค์เสี่ยดม แม้คนละแม่พิมพ์ แต่ทุกองค์ติดแม่พิมพ์ออกมาคมชัด

ความคมชัดของพิมพ์ใหญ่ด้วยกัน เริ่มวัดกันที่พระพักตร์ พิมพ์ใหญ่ยังไม่ปรากฏองค์มีหน้าตา องค์ที่ชัดมากก็คงเป็นองค์ที่เห็น

เส้นหูซ้ายขวา แต่ส่วนใหญ่ติดแค่ต้นหู

ต่อมาก็คือที่อกองค์ลุงพุฒ กลางอกเห็นร่องรางเค้าสังฆาฏิ องค์เสี่ยดมเห็นเป็นปื้นสั้นๆ จากไหล่มาถึงใต้ราวนม องค์ขุนศรี องค์ครูเอื้อ ร่องกลางพระอุระไม่มี แต่ที่ติดชัดเจน เด่นสะดุดตาก็คือพระเพลา สองพระบาทแยกออกจากกันชัดเจน ตั้งแต่ปลายพระเพลาซ้าย ยกสูง ลาดราบลงต่ำไปถึงปลายพระบาท

จุดสิ้นสุดปลายพระบาทซ้าย อยู่ในแนวตรงกับข้อศอกขวา

เตือนกันไว้ จุดสังเกตพระสวย...ตรงนี้ พระปลอม ออกมาท้าตาเซียน นานเต็มทีแล้ว

ไล่ระดับต่ำลงมาถึงฐานชั้นแรก เส้นเรียวคม โอนอ่อนขนานรับแนวพระบาท คมขวานฐานสิงห์ ชั้นที่สอง เส้นคมเหมือนปลายมีด จนถึงฐานชั้นที่สาม องค์ที่ติดชัดมาก เห็นเส้นขอบบนและล่าง แต่ไม่ชัดเจนเหมือนพิมพ์เส้นด้าย

พิมพ์ใหญ่องค์ในคอลัมน์วันนี้ มีสิ่งพิเศษที่ยืนยันความคมชัดกว่าหลายองค์ ตรงที่ติดเส้นแซม กลางระหว่างฐานชั้นที่หนึ่งและฐานชั้นที่สองแปลกตาก็ตรงที่ถ้าติดชัดปกติ ควรจะติดสองเส้น แต่องค์นี้ติดเส้นเดียว

อย่าลืมบทเรียนเดิม แม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์ หลวงวิจารเจียระไน แกะแม่พิมพ์ไว้คมลึกทุกมิติ หน้าตาคมชัด สังฆาฏิ การซ้อนพระบาท และเส้นแซม ทุกองค์ถ้าไม่ยุบหาย สองเส้นจะมีให้เห็นเหมือนพิมพ์ฐานแซม

ดูไปที่เส้นซุ้ม ติดเต็มพอดีๆ ยังไม่หนีนิยาม “หวายผ่า” ส่วนที่โค้งเอียงซ้ายพองาม ประกอบกับการตัดกรอบประณีตบรรจง ตัดพอดีเส้นกรอบทั้งสี่ด้าน

อาจารย์ตรียัมปวาย ท่านใช้คำบรรยายสภาพตรงนี้ว่า “สมภาคงาม”

ใครมีหนังสือสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เล่มที่สปิริตจัดพิมพ์ รวมองค์ดังไว้ 140 องค์ เทียบเคียงองค์ที่ “คมชัด” ในระดับองค์ครู อยู่ไม่เกิน 10 องค์

ถ้าไม่ตั้งอคติ องค์นี้ไม่ผ่านวงการ ไม่ผ่านมือเซียน ดูกันด้วยใจเป็นธรรม ผมขอให้องค์น้องใหม่องค์นี้ เข้าไปรวมด้วยองค์หนึ่ง

นี่ว่ากันถึงความสวยคมที่เด่นชัดด้านหน้าแต่ถ้าดูด้านหลังถึงวันนี้ก็ยังต้องยอมยกให้องค์ขุนศรี องค์ลุงพุฒ องค์ครูเอื้อ เป็นที่หนึ่ง สัญลักษณ์ด้านหลังสามองค์นั้น สวยตามธรรมชาติ จับใจ

ด้านหลังพิมพ์ใหญ่องค์ในคอลัมน์ วันนี้ ดูไม่ผุดผาดสะอาดตาเพราะมีปื้นรัก หนาบางสลับกันบดบัง

เจ้าของพระจงใจให้ดูสภาพเดิมๆ เพราะหากจะล้างรัก ชำระผิวเนื้อให้สะอาด ริ้วรอยสัญลักษณ์ กาบหมาก สังขยา ผสมกันไป ก็จะโผล่ให้เห็น

นานปีจะมีพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สภาพสวยคมหน้าใหม่ จะถูกนิมนต์มาให้ดูเป็นองค์ครูสักองค์ มีโอกาสแล้วก็ดูให้เต็มตา ดูแล้วจะเข้าใจเองว่าพระสมเด็จวัดระฆังแท้นั้นเป็นอย่างนี้เอง.

พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ  


http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuq3sSuZELIKGh4xbKkyJsej5CS0eaJq5BY9kc9h.jpg
พระเครื่อง

พระพิมพ์จิตรลดา

เมื่อพระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ขององค์พระประมุขของชาติ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 แพร่หลาย ชาวบ้านเรียกกันหลายชื่อพระพิมพ์กำลังแผ่นดิน พระพิมพ์จิตรลดา สมเด็จหลวงพ่อจิตรลดา ผู้ใกล้ชิดเคยยินว่ามีพระราชประสงค์ให้เรียกพระพิมพ์จิตรลดาเท่านั้น

นิตยสารสปริต ฉบับเดือน พ.ย.-ธ.ค. พ.ศ.2546 นำเสนอเรื่องพระพิมพ์จิตรลดาว่า

สืบเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ผู้ปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมา พระพุทธนวราชบพิตร เข้ามาในพระราชฐาน พระตำหนักจิตรลดา แกะแม่พิมพ์พระพิมพ์จิตรลดา ทรงตรวจสอบแล้วแก้ไขจนเป็นที่พอพระทัย ได้พระพิมพ์ปางนั่งสมาธิราบ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ประดับเหนือบัวบาน บน 5 กลีบ ล่าง 4 กลีบ (จำนวนเท่ารัชกาลที่ 9) รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว แบ่งเป็นสองแม่พิมพ์

พิมพ์ใหญ่ กว้าง 2 ซม. สูง 3 ซม. พิมพ์เล็กแกะแม่พิมพ์ทีหลัง มีพระราชประสงค์พระราชทานให้เด็กๆ กว้าง 1.2 ซม. สูง 1.9 ซม.

มวลสารประกอบด้วยผงมงคลศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคลจากจังหวัดต่างๆ พวงมาลัยดอกไม้สด ที่ประชาชนถวายระหว่างเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เส้นพระเจ้า ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตรฉัตร และด้ามพระขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคลสีที่ขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ ฯลฯ

ทุกองค์ทรงทำด้วยฝีพระหัตถ์ มีเพียงเจ้าพนักงานหนึ่งคนคอยถวายพระสุธารส และคอยหยิบสิ่งของถวาย เริ่มแต่การถอดแม่พิมพ์ ผสมมวลสาร เทลงแม่พิมพ์ ตกแต่งองค์พระขอบข้างพระให้เรียบร้อย ทำในช่วงเวลาดึกหลังทรงพระอักษร

การผสมวัตถุมงคล จะทรงผสมให้พอดี ที่จะพิมพ์ให้หมดในแต่ละครั้ง

พระพิมพ์จิตรลดาไม่มีพิธีพุทธาภิเษก เช่น พระเครื่อง เหรียญ และวัตถุมงคลอื่น ทรงอัญเชิญพระพิมพ์ด้วยพระราชหฤทัยอันมั่นคงในทศพิธราชธรรม

พระที่พิมพ์เสร็จแล้วจะพระราชทานให้เป็นรายบุคคลไม่เลือกชั้นวรรณะ ข้าราชบริพาร นักการเมือง นายทหาร นายตำรวจ คนขับรถ คนทำสวน แม่ครัว และทหารที่ออกรบในสมรภูมิต่างๆ

ขณะพระราชทานทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ประพฤติปฏิบัติคุณงามความดีอยู่ในศีลในธรรมยึดมั่นในอำนาจพุทธคุณ และสุดท้ายจะทรงกำชับให้เอาทองเปลวปิดที่ด้านหลังองค์พระ

นัยของกระแสรับสั่งนี้ คือขอให้อย่าทำความดีแบบเอาหน้า

ทุกคนที่ได้รับพระราชทานพระพิมพ์จิตรลดาจากพระหัตถ์ ไม่นานก็จะมีใบประกาศนียบัตร (ใบกำกับองค์พระ) เป็นเอกสารส่วนพระองค์ ที่เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะแจ้งให้มารับภายหลัง

พระพิมพ์จิตรดลา แม้จะมีแค่สองพิมพ์ แต่สภาพเนื้อและผิวพระแต่ละปีจะไม่เหมือนกันทีเดียว ตั้งแต่ปี 2508 ถึงปี 2513 จำนวนสร้างรวมกัน ผู้รู้บอกว่าไม่เกิน 3 พันองค์

แม้พระพิมพ์จิตรลดาเป็นของสูง ของส่วนพระองค์ ผู้รับพระราชทานมักไม่ปริปากบอกใคร แต่เวลาที่ผ่านมา เมื่อเป็นที่รู้จักและต้องการ ก็มีการเปลี่ยนมือซื้อขายกันในราคาแพงในหมู่นักนิยมพระชั้นสูง

องค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดเจนงดงาม พิมพ์ 2513 ขึ้นปกสปริต ระบุชื่อเจ้าของและมูลค่า 2.8 ล้านบาท

กว่าจะได้พระพิมพ์จิตรลดาแท้แต่ละองค์ นอกจากใช้เงินก้อนใหญ่แล้วยังต้องใช้ปัญญาในการตรวจสอบพระแท้ ใบกำกับองค์พระ และหาหลักประกันความมั่นใจจากคนขาย

ที่เห็นๆวางกันตามแผงพระทั่วไป เป็นของปลอมทั้งนั้น พระแท้เป็นของสูง จึงมักอยู่กับคนชั้นสูง รู้จักตัวเองเป็นคนธรรมดาสามัญ ก็ควรเจียมใจ อย่าสนใจไขว่คว้าเลย.

พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ  


http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOurCi5LnGH5aftey2sPvUiBStWsi9pIxm8V2sC9L.jpg
พระเครื่อง

ลายงาสกังกะโลก

พระสมเด็จวัดระฆัง เนื้อแตกลายงาและแตกสังกะโลกนั้น ของแท้มีน้อยนัก ของปลอมฝีมือใกล้เคียงมีมาก แต่สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ก็ยังแยกแยะได้ องค์ไหนเก๊แท้

ภาพด้านหน้าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ องค์ในคอลัมน์วันนี้ วงการเรียกเนื้อแตกลายงา ด้านหลังมาตรฐานคือไม่แตกลายงา เต็มไปด้วยริ้วรอยธรรมชาติแบบหลังวัดระฆังทั่วไป

ครู “ตรียัมปวาย” อธิบายไว้ว่า การแตกลายงาเป็นลวดลายธรรมชาติของเนื้อพระสมเด็จ ซึ่งเป็นเนื้อปูนปั้นและจัดเป็นสุนทรียะทางเนื้อ ที่มีคุณค่ามาก และปรากฏเป็นส่วนน้อย

สำหรับเนื้อที่ผ่านการลงรักเก่ามาแล้ว และปรากฏเฉพาะของวัดระฆังเท่านั้น

มูลกรณีการแตกลายงา เกี่ยวพันกับปัจจัย 5 ประการ

1.การลงรักเก่า ให้ถือเป็นกฎตายตัว การแตกลายงา จะเกิดขึ้นเฉพาะเนื้อที่ผ่านการลงรักเก่ามาแล้ว

เหตุที่เกิดลายงาอย่างจัด เพราะรักดำมีสัณฐานหนากว่ารักน้ำเกลี้ยง เนื้อรักแน่นเหนียวกว่า จับเนื้อพระแน่นหนา ในขณะที่เนื้อพระยังไม่แห้งสนิท ทำให้ฟองอากาศคายตัวออกมาได้ยากกว่า ปฏิกิริยาแรงดันภายในจึงมากกว่า

2.ปฏิกิริยาภายใน ในโอกาสที่เนื้อพระยังไม่แห้งสนิทนั้น ผิวภายนอกย่อมจะแข็งตัวใกล้จะแห้ง แต่ภายในยังมีความชื้น รวมทั้งน้ำและน้ำมันตังอิ๊ว เป็นตัวถ่วงให้แห้งช้า

ดังนั้น การที่เนื้อถูกลงรัก โดยที่เนื้อรักมีความแน่นทึบและแห้งช้ามาก เนื้อพระดูดซึมส่วนที่เป็นน้ำของรักเข้าไว้อีก ฟองอากาศจากปฏิกิริยาปูนเดือดภายในเนื้อ หาทางระเหิดออกมาไม่ถนัด เนื่องจากมีรักมาฉาบยาผิวเนื้อ จึงทำให้เกิดแรงดันภายในเนื้อ

เป็นผลให้เกิดรอยร้าวเป็นเกล็ดๆ ตลอดบริเวณผิวเนื้อด้านหน้า คือการแตกลายงา

3.การยุบตัวของเนื้อ ขณะเนื้อยุบตัวควบแน่น เพื่อการแห้งสนิท หลังละอองความชื้นคายตัว พร้อมกับการเกิดแรงดันภายใน ขณะที่เนื้อรักที่ฉาบผิวเนื้อ ก็มีอัตราการยุบตัวแห้งเหมือนเนื้อ แต่ใช้เวลามากกว่า จึงทำให้เกิดแรงดึงในทิศทางต่างๆ

4.ความแกร่งของเนื้อ ส่วนผสมเนื้อที่เป็นปูนขาวเป็นส่วนผสมที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาปูนเดือดกับน้ำ เป็นมวลสารที่ทำให้เกิดการยุบตัวมากหรือน้อย ถ้าเป็นเนื้อแก่ปูนขาวจะเกิดปฏิกิริยาปูนเดือดรุนแรง การยุบตัวเมื่อแห้งสนิทก็มีมาก ทั้งสองกรณีทำให้เกิดการแตกลายงาอย่างจัด

ดังนั้น พระเนื้อปูนแกร่งเนื้อขนมตุ้บตั้บที่ผ่านการลงรักเก่าน้ำดำย่อมจะแตกลายงาอย่างจัดที่สุด

แต่ถ้าเนื้อปูนนุ่ม มีส่วนผสมปูนขาวน้อย แม้จะลงรักเก่าน้ำดำก็จะแตกลายงาอย่างอ่อน และถ้าลงรักน้ำเกลี้ยงก็เพียงคล้ายจะแตกลายงา เห็นเป็นลายตื้นๆรางๆ คล้ายลายนกไข่ปรอด

5.เป็นกฎอีกข้อหนึ่ง การแตกลายงาจะเกิดขึ้นเฉพาะด้านหน้า สำหรับด้านหลังจะไม่ปรากฏลายงาเป็นอันขาด

ครูตรียัมปวายอธิบายย้ำ ปกติการวางพระจะต้องหงายด้านหน้า ผิวพื้นด้านหน้าจึงถูกแรงดันภายใน ในขณะที่ด้านหลังไม่ได้รับแรงดันนั้น การแตกลายงาจึงไม่เกิด

แต่กฎนี้คนละเรื่องกับกรณี “ริ้วระแหง” ด้านหลัง ที่เป็นปฏิกิริยาจากการผสมเนื้อกับน้ำมันไม่พอดี เป็นกรณีที่คล้ายกับ “การแตกสังกะโลก” ที่ด้านหน้า

การแตกสังกะโลก รอยแตกไม่มีเนื้อรักเข้าไปแทรกต่างจากการแตกลายงา เนื้อรักจะเข้าไปแทรกไล้อยู่ในทุกริ้วรอย

ทบทวนหลักครู ส่องไป คิดไป ทำความเข้าใจ ไม่ช้าปัญญาจะเกิดตามมา บุญมาวาสนามี พระสมเด็จวัดระฆังไม่ว่าเนื้อแตกลายงา หรือไม่แตกลายงาท่านอาจจะมาโปรดถึงมือสักองค์

พลายชุมพล นสพ.ไทยรัฐ  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ตุลาคม 2559 16:07:11 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #37 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2559 18:48:07 »



หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ

เมื่อเอ่ยนาม "หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ" คงไม่มีใครในภาคตะวันออกที่ไม่รู้จัก ชื่อเสียงของท่านโด่งดังพร้อมกับหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ในนาม "จาด จง คง อี๋"

พระครูวรเวทมุนี หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามหลวงพ่ออี๋ เจ้าอาวาสวัดสัตหีบ จ.ชลบุรี พระเกจิผู้โด่งดังในสมัยสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2

วัตถุมงคลที่ท่านสร้างแจกจ่ายแก่เหล่าทหารหาญล้วนทรงพุทธคุณปรากฏเป็นที่ยำเกรงของอริราชศัตรู ท่านยังเป็นพระเกจิผู้อุทิศตนเสริมสร้างพระพุทธศาสนาและพัฒนาชุมชน ผู้สร้างวัด โรงเรียน ห้องสมุด ฯลฯ

เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนและทหารเรือแถบสัตหีบมาตั้งแต่อดีต เปรียบเสมือน "เทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก" ในสมัยนั้น ชื่อของท่านยังคงจารึกในความทรงจำของชาวเมืองสัตหีบและพุทธศาสนิกชนมาสืบถึงปัจจุบัน

นามเดิมว่า อี๋ เป็นชาวจังหวัดชลบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2408 ที่บ้านตำบลสัตหีบ กิ่งอำเภอสัตหีบ บิดา-มารดา ชื่อ นายขำ-นางเอียง ทองขำ

ในวัยเด็กนับเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดเกินวัย และมีน้ำใจงามชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เป็นนิจ เมื่ออายุครบบวชได้อุปสมบทที่วัดอ่างศิลานอก ซึ่งบัดนี้ได้ยุบรวมเข้าเป็นวัดอ่างศิลาวัดเดียว  โดยมี พระอาจารย์จั่น จันทโส วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ทิม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์แดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พุทธสโร"

หลวงพ่ออี๋มีความใฝ่ใจในการธุดงควัตร ยึดความสันโดษ เมื่อถึงหน้าออกพรรษาท่านก็จะเริ่มธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ที่ใดมีอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านก็จะเข้าฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาการต่างๆ พระอาจารย์ของท่านนั้นมีมากมาย อาทิ พระอาจารย์แดง วัดอ่างศิลา, พระอาจารย์จั่น แห่งวัดเสม็ด และหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย เป็นต้น

หลวงพ่อก็สามารถเรียนรู้ในทุกวิทยาการได้อย่างเชี่ยวชาญ นับว่าท่านเป็นพระเกจิรูปหนึ่งที่มีความชำนาญในด้านสมถวิปัสสนาธุระและมีฌานสมาบัติสูงส่งในสมัยนั้น และไม่ว่าท่านจะธุดงค์ไปแห่งใดท่านก็มักเมตตาช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากหรือป่วยไข้อยู่เสมอ พร้อมเผยแผ่หลักธรรมคำสอนแก่สาธุชนจนกระทั่งชื่อเสียงท่านระบือไกล

คราหนึ่ง เมื่อหลวงพ่ออี๋ได้ออกธุดงค์มา ถึงอ่าวสัตหีบ เห็นว่าเป็นบริเวณที่สงบเงียบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงปักกลด ณ สถานที่นั้น บรรดาสาธุชนทั้งหลายที่ได้มานมัสการกราบไหว้ ต่างเลื่อมใสศรัทธาม

กอปรกับต้องการสร้างวัดเพื่อให้มีศาสนสถานไว้ประกอบศาสนกิจต่างๆ หลวงพ่ออี๋จึงได้ตกลงใจสร้างวัด โดยมีชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาร่วมแรงร่วมใจกันคนละไม้คนละมือจนกระทั่งสำเร็จสมประสงค์

คือ "วัดสัตหีบ" หรือที่เรียกว่า "วัด หลวงพ่ออี๋" มาจนทุกวันนี้ โดยท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรก

นอกจากนี้ หลวงพ่ออี๋ยังให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก ท่านได้สร้างโรงเรียนประชาบาล 1 แห่ง ชื่อ "โรงเรียนบ้านสัตหีบ" ต่อมาย้ายมาตั้งที่ถนนบ้านนา ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนบ้านนา" ส่วนอาคารเรียนเดิมชื่อ "ศาลาธรรมประสพ" ปัจจุบันคือ "ห้องสมุดของวัดสัตหีบ"

มรณภาพวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2489

สร้างพระเครื่องรางต่างๆ ไว้มากมาย ทั้งปลัดขิก ตะกรุด เสื้อยันต์ เหรียญพระปิดตา "พระสาม" และ "พระสี่" (พรหมสี่หน้า) ซึ่งล้วนสร้างประสบการณ์เป็นที่ปรากฏเลื่องลือในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ค้าขาย และเมตตามหานิยม ครบครัน

สำหรับปลัดขิกนั้น เรียกว่ามีชื่อเสียงพอๆ กับ หลวงพ่อเหลือ แปดริ้ว ทีเดียว แต่ที่ขึ้นอันดับยอดนิยมต้องยกให้ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2473"

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่ออี๋ รุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2473 เนื่องด้วยทางวัดสัตหีบได้กำหนดหล่อพระพุทธรูปพระประธานประจำพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัย

โดยจัดสร้างเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์รูปไข่ สำหรับผู้ชาย และพิมพ์พุ่มข้าวบิณฑ์ สำหรับผู้หญิง มีเนื้อทองคำ นาก เงิน และทองแดง

ปัจจุบันเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่ออี๋ รุ่นแรก พิมพ์รูปไข่ เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงมาก ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม แบบหูเชื่อม ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์ เหนือศีรษะเป็นตัวอุณาโลม และมีอักขระขอม "อุ มะ อะ"

ข้างแขนทั้งสองมีอักษรไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์อี๋" และ "วัดสัตหีบ" ใต้อาสนะแกะเป็นรูปดอกจันทน์ ด้านหลังเป็นยันต์สีซ้อนกัน ภายในบรรจุตัวเฑาะว์โค้งรอบขอบเหรียญเขียนอักษรไทยว่า "ที่ระฤก ในงานหล่อพระพุทธรูป พ.ศ.2473"

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่ออี๋ รุ่นแรกนับเป็นเหรียญเก่าที่หายากยิ่ง และมีการทำเทียมกันมานานมาก

ดังนั้นจะหาของแท้ต้องใช้ความชำนาญสูงทีเดียวครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์



หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน พระเกจิชื่อดังนครปฐม

ถ้ากล่าวถึงพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองนครปฐม นาม "หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม" จะเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่ทุกคนเคารพเลื่อมใสและลูกศิษย์ลูกหามากมาย ด้วยเมตตาบารมีและพุทธคุณแห่งวัตถุมงคลเป็นที่กล่าวขวัญเลื่องลือ แต่มีพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่หลวงพ่อเงินให้ความเคารพนับถืออย่างมาก ถึงกับออกปากว่า "เก่งกว่าท่านมากนัก" และจะเรียกขานว่า "หลวงพี่" มาโดยตลอด

นอกจากนี้ ท่านมักกล่าวกับผู้ที่เดินทางไปขอวัตถุมงคลกับท่านเสมอว่า "คุณเลยของดีมาเสียแล้ว หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน นั่นแหละ ของดีของจริง ไปเอาที่นั่นเถอะโยม" พระเกจิรูปนั้นก็คือพระครูสิริวุฒาจารย์หรือหลวงพ่อห่วง วัดท่าใน จ.นครปฐม

ย้อนไปสมัยยังหนุ่มแน่น พระเกจิ 3 รูปจะออกธุดงค์ร่วมกันเสมอทุกปีมิได้ขาด ประกอบด้วย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน และหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม ครั้งหนึ่งขณะที่เดิน ธุดงค์ผ่านเข้าไปในป่าดงดิบแถบกาญจนบุรี ไปพบกระทิงโทนตัวหนึ่ง มันไล่ขวิดเข้าทำร้าย หลวงพ่อเงินและหลวงพ่อเต๋ได้เดินหลบไป แต่หลวงพ่อห่วงกลับไม่หลบ ยังคงยืนภาวนาพระคาถาอยู่ตรงที่เดิม เมื่อเจ้ากระทิงโทนวิ่งเข้าใส่ไล่ขวิดก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่มันขวิดไปไม่ถึงตัวท่าน คงขวิดได้แค่ดินตรงหน้าท่านเท่านั้น จนฝุ่นตลบอบอวลไปทั่ว หลังจากขวิดได้สักพักมันก็แผดเสียงร้องคำรามแล้ววิ่งหนีไป ...

หลวงพ่อห่วงเป็นชาวนครปฐมโดยกำเนิด เกิดที่ อ.สามพราน เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กันยายน ปีพ.ศ.2428 อายุได้ 22 ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทรงคนอง จ.นครปฐม มีหลวงพ่อรุ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อแจ่ม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "สุวณฺโณ"

เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ถือสมถะ รักสันโดษ และใฝ่ใจศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนาธุระจนแตกฉาน เมื่อถึงช่วงออกพรรษาท่านมักจะออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ แสวงหาที่สงบ เพื่อปลีกวิเวกและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พระอาจารย์รุกขมูลชื่อดัง

พรรษาที่ 6 มาปักกลดที่บริเวณวัดท่าใน ซึ่งขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธา พร้อมใจกันอาราธนาท่านให้จำพรรษาที่วัดท่าใน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ซึ่งนอกเหนือจากพัฒนาและบำรุงเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับแล้ว ท่านยังคงปฏิบัติกิจสงฆ์อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง สั่งสอนธรรมะ แนะนำช่วยเหลือผู้เดือดร้อน เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านและพื้นที่ใกล้เคียง

จนปีพ.ศ.2475 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าใน และสมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสิริวุฒาจารย์ ท่านมรณภาพในปีพ.ศ.2506 สิริอายุรวม 75 ปี พรรษาที่ 56 พระราชทานเพลิงศพวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2507

วัตถุมงคลที่ท่านสร้างมีมากมายหลายแบบ ทั้งตะกรุดโทน ด้ายมงคล พระพิมพ์ผงเกสร และเหรียญรูปเหมือน ว่ากันว่าการปลุกเสกวัตถุมงคลของท่านนั้นฉมังนัก อย่าง "พระผงเกสร" เมื่อท่านตากพระแห้งสนิทแล้วก็จะนำไปใส่ในบาตรที่มีน้ำเต็มขอบบาตรและนั่งบริกรรมปลุกเสก จนพระลอยขึ้นมาเหนือน้ำจึงจะใช้ได้ องค์ไหนที่จมถือเป็นพระเสีย พระเครื่องของท่านจึงเปี่ยมด้วยพุทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บูชา ทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี เป็นที่หวงแหนยิ่งนัก ประการสำคัญเมื่อท่านจะมอบวัตถุมงคลให้ใครท่านจะพิจารณาอย่างมากและสำทับด้วยว่า "มึงอย่าไปเที่ยวปล้นเขานะ"

ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านหาดูค่อนข้างยากเอามากๆ ที่พอจะเห็นได้อยู่ก็จะเป็น "เหรียญรูปเหมือน" ซึ่งมีทั้งหมด 3 รุ่น และรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" ที่สร้างในปีพ.ศ.2499 โดยลูกศิษย์เป็นผู้สร้างถวาย เนื่องในงานฉลองสมณศักดิ์ จำนวนประมาณ 500 เหรียญ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อเงิน เนื้อทองแดงรมดำมีบ้างแต่น้อยมาก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อห่วง รุ่นแรก ปี 2499 ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม ทรงเสมาคว่ำ หูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อห่วงครึ่งองค์ หน้าตรง มีอักษรไทยระบุชื่อ "หลวงพ่อห่วง" ตกแต่งโดยรอบด้วยลายกนก ด้านหลังเป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็น "ยันต์กระต่ายสามขา" ซึ่งเป็นยันต์ด้านคงกระพันชาตรีซ้อนกัน 2 ยันต์ โดยรอบเป็นอักขระขอมอ่านว่า "นะ มะ อะ อุ" ยอดบนเป็น "อุณาโลม" ด้านล่างเป็นอักขระขอมว่า "นะ อุ ทะ" ครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์



 
ยอดเหรียญพระเกจิเมืองเพชร เหรียญหลวงปู่ชิต วัดมหาธาตุ

เมืองเพชรบุรี ที่ได้รับสมญาว่า "เมืองพระ" ใช่ว่าจะมีเพียงพระกรุเก่าที่เป็นที่เคารพศรัทธาและนิยมกันอย่างกว้างขวางเท่านั้น พระเกจิอาจารย์แห่งเมืองเพชรบุรีก็มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ศรัทธาอยู่หลายต่อหลายรูป อาทิ หลวงพ่อตัด วัดชายนา, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ และ หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เป็นต้น พระเกจิเมืองเพชรที่จะกล่าวถึงในฉบับนี้เป็นหนึ่งในพระเกจิผู้เป็นเนื้อนาบุญในพระบวรพุทธศาสนาโดยแท้

พระครูสุวรรณมุนีนรสีห์ธรรมทายาทสังฆวาหะ หรือที่เรียกกันว่า หลวงปู่ชิต อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 8 แห่งวัดมหาธาตุ จ.เพชรบุรี ผู้สร้างเสริม สนับสนุน และพัฒนาให้พระพุทธศาสนาคงอยู่ยั่งยืน มีเมตตาธรรมสูงส่ง สร้างคุณูปการมากมาย เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนโดยถ้วนทั่วโดยเฉพาะชาวจังหวัดเพชรบุรีและใกล้เคียง

หลวงปู่ชิต เดิมชื่อ ชิต เป็นบุตรของ หมื่นโยธา (สัง) และ นางอุ่ม ชิตรัตน์ เกิดวันอังคาร เดือน 4 แรม 13 ค่ำ ปีขาล ปีพ.ศ.2410 ที่ ต.บ้านต้นมะม่วง อ.คลองกระแชง จ.เพชรบุรี อายุได้ 11 ขวบบิดานำไปฝากไว้กับท่านเจ้าอธิการครุธ วัดมหาธาตุ ซึ่งมีศักดิ์เป็นตา เพื่อศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและขอม พออ่านออกเขียนได้ตามประเพณีโบราณ พออายุ 22 ปีได้อุปสมบทที่วัดจันทร์ โดยมีท่านเจ้าอธิการกรุด วัดจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านเจ้าอธิการครุธ วัดมหาธาตุ เป็นกรรมวาจาจารย์ และท่านอาจารย์พ่วง วัดจันทร์ เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "สุวณณโชติ"

จากนั้นมาจำพรรษาที่วัดมหาธาตุ ศึกษาร่ำเรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระกับท่านเจ้าอธิการครุธ จนท่านมรณภาพ จึงเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร จำพรรษาที่วัดโมลีโลกย์ ปากคลองบางกอกใหญ่ ประมาณ 11 พรรษา จนปีพ.ศ.2448 เจ้าคุณพระพิศาลสมณกิจ (สิน) พร้อมด้วยญาติโยมได้นิมนต์ท่านกลับเมืองเพชรบุรี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ

ตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่ชิตปกครองดูแลวัดมหาธาตุ ได้สร้างความเจริญก้าวหน้าบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิ วิหาร อุโบสถ พระเจดีย์ และพระศรีรัตนมหาธาตุ (พระปรางค์ใหม่ 5 ยอด)

หลวงปู่ชิตได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เรื่อยมา จนสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระครูสุวรรณมุนีนรสีห์ธรรมทายาทสังฆวาหะ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี ในปีพ.ศ.2471 ท่านมรณภาพในวันศุกร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม 2487 สิริอายุได้ 78 ปี 4 เดือน 14 วัน พรรษา 57 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมหาธาตุ จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 6-9 มีนาคม 2492

แม้ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตหลวงปู่ชิตยังได้อาราธนาพระสงฆ์ทั้งวัดมาประชุมล้อมรอบเตียงนอนของท่าน และให้โอวาทว่า "ขอท่านทั้งหลายจงมีความสามัคคีกัน ฉันเป็นห่วงพวกเธอมาก..." จากนั้นได้อาราธนาพระสงฆ์ให้สวดมนต์พระสูตรต่างๆ และตั้งใจฟังด้วยอาการอันสงบ จนถึงแก่มรณภาพ
 
"เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" หลวงปู่ชิตจัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธา ในคราวสมโภชเฉลิมฉลององค์พระปรางค์ 5 ยอด (พระศรีรัตนมหาธาตุ) 5 วัน 5 คืน เมื่อปีพ.ศ.2480 ในพิธีพุทธาภิเษกมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังเมตตาเข้าร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิตมากมาย อาทิ หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงปู่นาค วัดหัวหิน, หลวงพ่อโศก วัดปากคลองบางครก, หลวงพ่ออินทร์ วัดยาง, หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง และ หลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เป็นต้น

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่ชิต ปี 2480 จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ, เนื้อเงินลงยา, เนื้อเงิน, เนื้อนาก และเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มหูในตัว ทรงเสมาคว่ำ ด้านหน้าขอบเหรียญประดับด้วยซุ้มกระหนก ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหน้าตรงครึ่งองค์ ระบุสมณศักดิ์ "พระครูสุวรรณมุนี" ด้านหลังยกขอบเป็นสันหนา ตรงกลางเป็นรูปองค์พระปรางค์ 5 ยอด ด้านล่างระบุปีพ.ศ.ที่สร้าง "๒๔๘๐"

ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากยิ่งครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์



 
วัตถุมงคลชิ้นเอก เจ้าคุณนรฯ พระสมเด็จ หลังอุ ปี 2512

ท่านธัมมวิตักโกภิกขุ หรือพระยานรรัตนราชมานิต ที่รู้จักและรำลึกนึกถึงกันในนาม "เจ้าคุณนรฯ" นั้น ไม่ว่าท่านจะสร้างหรือปลุกเสกวัตถุมงคลจากที่มีผู้จัดสร้างมา ทั้งพระเครื่อง พระผง พระกริ่ง และเหรียญต่างๆ มีคำกล่าวทิ้งท้ายไว้เสมอว่า "แม้ท่านจะตั้งใจอธิษฐานจิตและ ผ่เมตตาลงใน "พระเครื่อง" ด้วยความเชื่อมั่นว่ามีความศักดิ์สิทธิ์สามารถปกป้องคุ้มครองผู้สักการบูชาได้ก็จริง แต่ผู้มีพระเครื่องไว้คุ้มครองนั้นก็จะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา เจ้าของที่มาแห่งองค์พระปฏิมานั้นด้วย"

ในบรรดาวัตถุมงคลของท่าน "พระพิมพ์สมเด็จ หลังอุ" นับเป็นพระอันดับหนึ่งที่มีค่านิยมสูง เรียกว่า "เปลี่ยนมือกันทีถึงห้า-หกหลักเลยทีเดียว" ตามสภาพความสวยงามและสมบูรณ์ขององค์พระ

พระสมเด็จหลังอุ เป็นพระพิมพ์เนื้อผง สร้างในปีพ.ศ.2512 โดยท่านเจ้าคุณพระอุดมสารโสภณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์สมัยนั้น โดยรวบรวมมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย ผงแป้งเจิม "พระพุทธมงคลนายก" ซึ่งเหลือจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมเมื่อครั้งถวายผ้าพระกฐิน ในปีพ.ศ.2508, ผงธูปจากพิธีอธิษฐานจิตพระพุทธมงคลนายก พระกริ่งเชียงแสน และแผ่นยันต์ดวงทอง-เงิน-ทองแดง เมื่อปีพ.ศ.2508, ผงพระเครื่องเก่า อาทิ เศษแตกหักจาก พระสรงน้ำสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ปีพ.ศ.2484 และสรงน้ำเกาหลี ปีพ.ศ.2493 เป็นต้น

รวมทั้งพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ท่านเจ้าคุณอุดมฯ ได้เก็บสะสมไว้

จากนั้นนำมาให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตเป็นเบื้องต้นครั้งหนึ่งก่อนนำไปสร้างเป็นองค์พระ โดยนำ "พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่" ของ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาเป็นต้นแบบ และได้ ช่างเล้ง (ธีระศักดิ์ ธรรมชาตรี) ช่างฝีมือผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้นเป็นผู้แกะพิมพ์ จัดสร้างจำนวน 3,000 องค์ หลังจากสำเร็จเป็นองค์ พระแล้วได้แบ่งให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตถึง 3 ครั้ง 3 วาระ ดังนี้

ครั้งแรก ท่านเจ้าคุณอุดมฯ และคุณอำไพ แก้วพงศ์ หรือมหาอำไพ อดีตพระวัดเทพศิรินทร์ ได้ขอเมตตาจากท่านเจ้าคุณนรฯ ให้อธิษฐานจิต ณ พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทร์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2513 จำนวน 800 องค์ เพื่อนำไปแจกเป็นของขวัญแก่ผู้ที่เข้าร่วมพิธีมงคลสมรสของคุณอำไพ

ครั้งที่ 2 ท่านเจ้าคุณอุดมฯ ให้ท่านช่วยอธิษฐานจิตอีก 800 องค์ ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2513 เพื่อถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฏกษัตริยาราม สำหรับประทานแก่พุทธบริษัทชาวฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี และชาวไทยในฮ่องกงที่คอยเฝ้ารับเสด็จและสดับฟังธรรมของพระองค์ ซึ่งท่านก็เมตตาอธิษฐานจิตให้อีก ซึ่งจะได้เห็นว่าพระสมเด็จหลังอุ มีแพร่หลายในฮ่องกง ญี่ปุ่น และเกาหลีด้วยในปัจจุบัน

ครั้งที่ 3 ท่านเจ้าคุณอุดมฯ ได้นำพระที่เหลืออีก 1,400 องค์ เข้าพิธีใหญ่ "เสาร์ห้า" ในวันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2513 ณ พระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์ โดยท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตให้พร้อมกับพระพิมพ์อื่นๆ จากนั้นท่านเจ้าคุณอุดมฯ ได้ แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาและผู้มาทำบุญกับท่านเรื่อยมา จนปีพ.ศ.2516 พระได้หมดลงโดยไม่มีเหลือติดตัวท่านแม้เพียงองค์เดียว

พระสมเด็จ หลังอุ มีความยาว 3.4 ซ.ม. ด้านบนกว้าง 2 ซ.ม. ด้านล่างกว้าง 2.2 ซ.ม. พุทธลักษณะพิมพ์ทรงคล้าย "สมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่" แต่วรรณะจะออกสีขาวปนเหลือง บางองค์ออกเหลืองปนเทาก็มี และมีเพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น ด้านหน้าองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิเหนืออาสนะฐาน 3 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังเป็นหลังเรียบ ตรงกลางสลักอักษรขอม อ่านว่า "อุ" ในเนื้อองค์พระอย่างชัดเจน

"อุ" นั้นย่อมาจากคำว่าอุดม หรืออุตมะ หมายความว่าสูงสุดหรือประเสริฐสุด และยังเป็นอักษรคำแรกของสมณศักดิ์ผู้สร้าง คือท่านเจ้าคุณพระอุดมสารโสภณอันเป็นมงคลนามที่ได้รับพระราชทาน

จุดตำหนิการพิจารณ จะสังเกตว่าพิมพ์แรกๆ จะมีเส้นพระศอ (คอ) ยาวมาถึงพระอังสา (ไหล่) และมีเส้นน้ำตกจากฐานชั้นที่ 1 ลงมาชั้นที่ 2 ระหว่างช่วงพระพาหา (แขน) ที่หักศอก แต่ต่อมาตำหนิเหล่านี้ถูกแป้งโรยพิมพ์อุดทับทำให้เลือนหายไป นอกจากนี้ องค์พระด้านหน้าบางแห่งจะเกิดรอยร้าว บางแห่งแม่พิมพ์ตรงพื้นผิวหลุดไป ทำให้เกิดเป็นตุ่มหรือเม็ดขึ้นมา ส่วนพิมพ์ด้านหลัง พื้นผิวจะหยาบคล้ายหนังช้าง ประการสำคัญในการพิจารณาคือ "ขอบขององค์พระ" ด้านบนทั้ง 4 ด้านค่อนข้างเรียบ

แต่ด้านล่างทั้ง 4 ด้านจะหยาบครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์




ยอดวัตถุมงคลแดนใต้ เหรียญรูปเหมือนพ่อท่านนวล วัดไสหร้า เมืองนครศรีธรรมราช

พระครูวิสุทธิบุญดิตถ์ หรือหลวงพ่อนวล ปริสุทโธ หรือ "พ่อท่านนวล" อดีตเจ้าอาวาสวัดประดิษฐาราม หรือวัดไสหร้า ต.บางรูป อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช อีกหนึ่งพระสงฆ์แดนใต้ผู้เปี่ยมด้วยจริยวัตรอันงดงามสมเป็นเนื้อนาบุญของชาวใต้ โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราชอย่างแท้จริง

เป็นชาวบ้านไสหร้า ต.ทุ่งสัง (ปัจจุบันคือ ต.บางรูป) โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2465 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 5 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ ในตระกูลเจริญรูป เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดภูเขาหลัก ต.ทุ่งสัง โดยมีพระครูถาวรบุญรัตน์ วัดท่ายาง อ.ทุ่งใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดชื่น อินทสุวัณโณ เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ ได้ฉายา "ปริสุทโธ"

ท่านเป็นพระเกจิผู้สนใจใฝ่ศึกษาทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดประดิษฐารามหรือวัดไสหร้า จนสอบได้นักธรรมชั้นโทและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดตั้งแต่นั้นมา

ในปี พ.ศ.2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามพระครูวิสุทธิ์บุญดิตถ์ ปี พ.ศ.2526 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม

พ่อท่านนวลเป็นพระเกจิผู้มีปฏิปทาและศีลาจริยวัตรงดงาม สมถะ พูดน้อย มีเมตตาธรรมสูง ปฏิบัติกิจตามหน้าที่ของสมณเพศอย่างสม่ำเสมอไม่เว้นแม้แต่ยามเจ็บไข้ คำพูดของท่านล้วนเป็นจริงตามที่ท่านพูดเสมอจนได้รับการขนานนามว่า "พ่อท่านนวลวาจาสิทธิ์" ในแต่ละวันจะมีลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสได้เดินทางมากราบไหว้ขอพรเป็นเนืองนิตย์ ท่านมักพูดเตือนสติอยู่เสมอว่า "คนเราเกิดมาล้วนมีหนี้ติดตัวมาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนี้สิน หนี้บุญคุณ และหนี้ชีวิต ซึ่งตัวท่านได้ปฏิบัติเพื่อปลดเปลื้องหนี้ตลอดมา โดยเฉพาะหนี้ชีวิต"

พ่อท่านนวลได้รับกิจนิมนต์ไปร่วมประกอบศาสนพิธีในจังหวัดต่างๆ อยู่เป็นประจำ รวมทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างประเทศ

นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระนักพัฒนา นักการศึกษา และนักสาธารณูปการ ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนวัดประดิษฐาราม ในปี พ.ศ.2501 โดยบริจาคที่ดินของวัดจำนวน 12 ไร่, ดำเนินการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างภายในวัด ตลอดจนถนนหนทางในชุมชนมากมาย อาทิ กุฏิ โรงธรรม หอฉัน และบ่อน้ำสาธารณะ ขอกำลังแรงงานเครื่องจักรกลจากแขวงการทางนครศรีธรรมราช ในการก่อสร้างถนน ก่อสร้างอุโบสถแบบถาวร เมรุเผาศพ ซุ้มประตูวัด ศาลาพักร้อน โรงทาน และอาคารอเนกประสงค์ เพื่อใช้เป็นที่ประชุมทำกิจการต่างๆ ของหน่วยงานราชการและชุมชน เป็นต้น

พร้อมทั้งยังก่อตั้งกองทุน "หลวงพ่อนวล ปริสุทโธ" เพื่อเป็นกองทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดประดิษฐารามที่เรียนดี ความประพฤติเรียบร้อยแต่ฐานะยากจน รวมทั้งก่อตั้งกองทุน "หลวงพ่อนวล" เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรอีกด้วย

พ่อท่านนวลมรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2555 สิริอายุได้ 90 ปี 69 พรรษา ยังความโศกเศร้ามาสู่พี่น้องสาธุชนชาวนครศรีธรรมราชและลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ

วัตถุมงคลของพ่อท่านนวลมีหลายรุ่นหลายประเภท ทั้งพระบูชา พระเครื่อง รูปหล่อ เหรียญ รวมถึงเครื่องรางของขลังต่างๆ โดยท่านมักกล่าวเสมอว่า "... อาตมาเองไม่ได้สร้างวัตถุมงคลอะไรหรอก จะมีก็ลูกศิษย์เท่านั้นที่สร้างแล้วนำมาถวาย อาตมาก็จะปลุกเสกด้วยพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ให้ เพื่อเอาไว้แจกเป็นที่ระลึกให้กับญาติโยมที่เดินทางมาทำบุญกันที่วัดเท่านั้น ทางวัดไม่ได้เน้นเรื่องการสร้างวัตถุมงคลเป็นหลักแต่จะเน้นเรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่า ..."

ปรากฏว่าวัตถุมงคลทุกรุ่นทุกประเภทที่ท่านปลุกเสก ล้วนสร้างประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ เป็นที่แสวงหาของสาธุชนอย่างกว้างขวาง ยิ่งเมื่อท่านมรณภาพ ก็ยิ่งเป็นที่แสวงหามากยิ่งขึ้น สนนราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัว โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก ปี 2525" นับเป็นหนึ่งในยอดวัตถุมงคลแดนใต้ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง สร้างประสบการณ์แก่ผู้สักการบูชาเป็นที่ปรากฏแบบครอบจักรวาล และโดดเด่นมากในด้านคงกระพันชาตรี

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2525 จัดสร้างในโอกาสทำบุญอายุครบ 5 รอบ 60 พรรษา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2525 สร้างถวายโดย พระครูอดุลย์ธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อผดุง) เจ้าอาวาสวัดภูเขาหลัก ญาติของหลวงพ่อ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดงรมมันปู โดยจัดสร้างครั้งแรกจำนวน 4,000 เหรียญ เรียก "บล็อกนิยม" ต่อมาสร้างเพิ่มอีก 4,000 เหรียญ แต่เนื่องจากแม่พิมพ์ชำรุดเป็นสนิม ทำให้เกิดผด (กลาก) จึงเรียกกันว่า "บล็อกกลาก" ซึ่งพ่อท่านนวลอธิษฐานจิตปลุกเสกให้ทั้ง 2 บล็อก และเมื่อใดที่วัดภูเขาหลักมีการประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคล ก็ได้นำเข้าร่วมในพิธีอีกนับครั้งไม่ถ้วน สร้างให้วัตถุมงคลมีพุทธานุภาพเข้มขลังขึ้นเป็นทวีคูณ

ปัจจุบันหาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่งครับผม

     พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #38 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2559 20:49:52 »


1-2 พระกรุวัดสามปลื้ม / 3 พิมพ์กลีบบัว เศียรโล้น

พระเนื้อผงยอดนิยม กรุวัดสามปลื้ม

วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร หรือ วัดสามปลื้ม เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเดิมว่า "วัดนางปลื้ม" (อาจเป็นนามผู้สร้าง) ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสามปลื้ม" ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เกิดเพลิงไหม้ ต่อมาปลายรัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 2 ท่านเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น บรรพบุรุษสกุล สิงหเสนี) ได้เป็นผู้ริเริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็ถึงแก่อสัญกรรม

จากนั้นในราวปี พ.ศ.2362 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ ต้นสกุล สิงหเสนี) ผู้เป็นบุตร จึงได้สืบสานต่อจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2368 แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร"

วัดสามปลื้มนับเป็นวัดสำคัญมาแต่สมัยโบราณ แต่มาเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางด้วยเหตุที่มีการค้นพบ "พระกรุเก่า" อายุกว่า 150 ปี ซึ่งมีพุทธคุณสูงส่ง เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหากันในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา ทำให้ชื่อเสียงขจรไกล ให้นามตามชื่อวัดว่า "พระกรุวัดสามปลื้ม"

พระกรุวัดสามปลื้ม ไม่มีหลักฐานระบุถึงผู้สร้างเป็นที่แน่ชัด ผู้รู้จึงได้สันนิษฐานขึ้นเป็น 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่หนึ่ง...พระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นผู้สร้างบรรจุในพระเจดีย์ หลังจากบูรณะเป็นที่เรียบร้อย เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา สร้างกุศลแก่บิดาผู้ล่วงลับ

ประเด็นที่สอง...พระอาจารย์พรหม และพระอาจารย์ช้าง สองพระเกจิอาจารย์ผู้เก่งกล้าวิทยาคม ที่อยู่ "คณะกุฏิ" ณ วัดสามปลื้ม เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้สร้าง ขณะนั้นพระธรรมานุกูล (ด้วง) เป็นเจ้าอาวาส
  
แต่มีหลักฐานระบุการพบไว้ว่า..."พระกรุวัดสามปลื้ม" มีการค้นพบทั้งสิ้น 3 ครั้ง ครั้งแรกประมาณการว่าในราวปี พ.ศ.2400 โดยพบอยู่ในซากพระเจดีย์ ครั้งต่อมาใน ปีพ.ศ.2414 และ พ.ศ.2483 เมื่อมีการรื้อองค์พระเจดีย์ และจากบันทึกการพบครั้งสุดท้ายนั้นพบถึง 50,000 กว่าองค์ รวมแล้วมีจำนวนพระประมาณ 84,000 องค์ เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์พอดี

ลักษณะเนื้อหามวลสาร เป็นพระเนื้อผงเนื้อละเอียด สีขาว แก่น้ำมันตั้งอิ้ว มีลักษณะยุ่ยฟู แตกเปราะ และหักง่าย พระที่พบส่วนใหญ่จึงแตกหักต้องซ่อมทั้งสิ้น หาองค์สวยสมบูรณ์ค่อนข้างยาก และพระเกือบทั้งหมดลงรักปิดทองมาจากกรุ นอกจากนี้ยังมี ผู้พบเห็นชนิดผงดำผสมใบลานเผา, เนื้อตะกั่ว และเนื้อชิน ก็มีผู้พบเห็นจากเจดีย์เมื่อคราวแตกกรุ แต่มีจำนวนน้อยมาก

พระกรุวัดสามปลื้ม เป็นพระศิลปะสกุลช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น องค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางสมาธิ ทั้งสมาธิเพชร และสมาธิราบ เหนืออาสนะฐาน 3 ชั้น มีผ้าทิพย์อยู่ตรงกลางฐานบนและฐานกลาง นอกจากนี้ยังมากมายหลายพิมพ์และหลายรูปทรง ทั้งพิมพ์ห้าเหลี่ยม สามเหลี่ยม และกลีบบัว, เกศแหลม และไม่มีเกศ หรือที่เรียกกันว่า "เศียรโล้น" และยังทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แต่ที่เป็นที่นิยมกันในแวดวงพระเครื่อง มีอาทิ พระพิมพ์กลีบบัว (เศียรโล้น), พระพิมพ์กลีบบัว (เศียรแหลม), พระพิมพ์ห้าเหลี่ยม, พระพิมพ์บัวฟันปลา, พระพิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ และพระพิมพ์สามเหลี่ยมเล็ก เป็นต้น อย่างไรก็ตามพระกรุวัดสามปลื้มทุกพิมพ์ล้วนทรงพุทธคุณเป็นเลิศทั้งคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ปรากฏเป็นที่ประจักษ์

อาทิ ในคราวเกิดสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส พระคุณเจ้าพระคุณาจารวัตรได้นำ "พระกรุวัดสามปลื้ม" ส่วนหนึ่ง ประมาณหนึ่งหมื่นองค์แจกจ่ายไปตามกระทรวง ทบวง กรม และทหารบก ทหารเรือ ตำรวจ รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ผู้อยากได้ไว้สักการบูชาจนหมดสิ้น ในเวลาต่อมาอานุภาพและปาฏิหาริย์ ในช่วงปี พ.ศ.2485-2488 ช่วง "สงครามมหาเอเชียบูรพา" ปรากฏว่าทหารที่ออกรบปืนยิงไม่เข้า เมื่อถึงคราวประจัญบานโดยใช้ดาบปลายปืนฝรั่งแทงทหารไทยไม่เข้าเช่นกัน อีกทั้งทหารไทยที่โดนปืนยิงล้มลงไป แล้วยังลุกขึ้นมาต่อสู้ใหม่ได้อีก จนได้ขนานนามว่า "ทหารผี" เป็นต้น

จากนั้นเป็นต้นมา "พระกรุวัดสามปลื้ม" ก็กลายเป็นที่นิยมและแสวงหาสืบมา ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็เป็นที่ต้องการทั้งสิ้น แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า พระส่วนใหญ่จะแตกหักมาจากกรุ

ดังนั้น ควรต้องระวังเป็นอย่างสูงในกรณีการซ่อมที่อาจเกิดขึ้นได้




พระสมเด็จจิตรลดา ด้วยน้ำพระทัยและฝีพระหัตถ์

พระสมเด็จจิตรลดา พระเครื่องที่ประดิษฐาน ณ ฐานบัวด้านหน้า พระพุทธนวราชบพิตร พระพุทธรูปที่พระราชทานไว้ประจำในทุกจังหวัด เพื่อรำลึกถึงความผูกพันและห่วงใยของพระองค์ที่ทรงมีต่อราษฎรทั่วราชอาณาจักร ให้รักษาไว้ซึ่งคุณความดี มีสติ และความสามัคคี ... นับเป็นหนึ่งในพระเครื่ององค์สำคัญและทรงคุณค่ายิ่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ... ด้วยทรงสร้างด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง ไม่มีพิธีพุทธาภิเษกใดๆ

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2508 พระราชประสงค์ในการสร้างพระสมเด็จจิตรลดา หรืออีกพระนามหนึ่งว่า "พระกำลังแผ่นดิน" (เข้าใจว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ขนานพระนามตามพระนามของพระองค์ ด้วยคำว่า "ภูมิ" แปลว่า แผ่นดิน และ "พล" แปลว่า กำลัง จึงเป็นที่มาของพระนาม)

สืบเนื่องจากที่พระองค์ได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพวงมาลัยดอกไม้สดจากประชาชนในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้ทรงแขวนไว้ ณ ที่บูชาตลอดเทศกาล จนถึงคราวที่เสด็จฯ เปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ทรงเห็นเป็นสำคัญที่ควรเก็บดอกไม้แห้งเหล่านี้ไว้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า สมควรใช้เป็นส่วนผสมสำหรับสร้างเป็นพระพุทธรูปพิมพ์ โดยพระราชประสงค์เป็นเบื้องต้นเพื่อบรรจุที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตร พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 23 ซ.ม. สูง 40 ซ.ม. ซึ่งมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ.2508 และส่งมอบไปยังจังหวัดต่างๆ ในปี พ.ศ.2509

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรม เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวายในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้ทรงตรวจพระพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปพิมพ์องค์นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้พุทธศิลป์ที่สมบูรณ์ มีพระราชกระแสให้แก้ไขตกแต่งแบบพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดาหลายครั้ง จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย

พระพุทธรูปพิมพ์ที่แกะถวายนั้น เป็นพระเครื่องทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขอบองค์พระด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน เฉียงป้านออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางนั่งสมาธิแบบขัดราบ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย เหนืออาสนะดอกบัวบาน 2 ชั้น ด้านบน 5 กลีบ ด้านล่าง 4 กลีบ เท่ากับ "9" ซึ่งตรงกับเลขรัชกาล โดย "พิมพ์ใหญ่" มีขนาดกว้าง 2 ซ.ม. สูง 3 ซ.ม. ส่วน "พิมพ์เล็ก" มีขนาดกว้าง 1.2 ซ.ม. สูง 1.9 ซ.ม. จากนั้นทรงนำแม่พิมพ์ที่แกะไว้ถอดต้นแบบ "พระสมเด็จจิตรลดา" จากแม่พิมพ์หิน โดยพระองค์ทรงใช้วัสดุเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีคุณภาพดี จนได้จำนวนตามพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงนำต้นแบบพระสมเด็จจิตรลดาจำนวนหนึ่ง เรียงบนภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อหล่อแม่พิมพ์อีกครั้ง โดยทรงหล่อเป็นแม่พิมพ์ยาง

ขั้นตอนต่างๆ พระองค์ทรงสร้างขึ้นด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองทั้งสิ้น ตั้งแต่การถอดแบบแม่พิมพ์ ทรงผสมมวลสาร อันประกอบด้วยผงมงคลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งส่วนในพระองค์และวัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ที่พุทธศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักรปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ทรงเทลงแม่พิมพ์ ทรงตกแต่งองค์พระพิมพ์เพื่อให้ดูงดงาม ทั้งหมดนี้ทรงใช้เวลาหลังจากทรงพระอักษรและทรงงานอันเป็นพระราชภารกิจในตอนดึก

ต่อมามีพระราชดำริจัดสร้าง "พระสมเด็จจิตรลดา" เพิ่มเติม เพื่อพระราชทานแก่บรรดาข้าราชบริพารในพระองค์และพสกนิกรที่มีความดีความชอบและสร้างคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง โดยทรงมิได้เลือกชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือชั้นผู้น้อย จนถึงคนขับรถ คนสวน แม่ครัว และบรรดาข้าราชการทหารที่ไปร่วมรบในสมรภูมิต่างๆ ซึ่งจะทรงมีพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เองว่าจะมีพระราชทานหรือไม่ จำนวนเท่าใด โดยการสร้างในแต่ละครั้งนั้นมีจำนวนน้อยมาก ประการสำคัญ คือ ผู้ได้รับพระราชทาน "พระสมเด็จจิตรลดา" จะได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระองค์ พร้อมใบประกาศนียบัตร (ใบกำกับองค์พระ) ทุกคน โดยมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมา แล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ"

ผู้ได้รับพระราชทาน "พระสมเด็จจิตรลดา" ต่างปลื้มปีติในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่และยิ่งประจักษ์ในพุทธคุณล้ำเลิศ เสมือนหนึ่งพระบารมีแห่งพระองค์ทรงปกป้องคุ้มครอง ทั้งเจริญในลาภ ยศ สรรเสริญ และแคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ จึงต่างหวงแหนรักษาไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติสูงสุดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานสืบไป



พระนิรันตราย

พระนิรันตราย พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีการค้นพบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้นำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ในราวปี พ.ศ.2399 นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญประจำรัชกาลองค์หนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญประดิษ ฐานในพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (ทำบุญตรุษ), พระราชพิธีสงกรานต์ ฯลฯ

ปัจจุบันเจ้าพนักงานภูษามาลายังรักษาแบบแผนโบราณราชประเพณี โดยอัญเชิญ “พระนิรันตราย” ไปประดิษฐานในพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น ในการบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา และการพระราชกุศลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นต้น

ตามประวัติการค้นพบกล่าวไว้ว่า ในครั้งนั้นเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 74 หรือ พ.ศ.2399 กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อ นายยัง ได้เดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง จึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ

คำว่า “นิรันตราย” อันหมายถึง ปราศจากอันตรายนิรันดร์ นั้น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 พระราชทานพระนามสืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2403 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ได้สร้างปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ เมื่อมีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตร ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป แต่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วยทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า

พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า …พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง จึงทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อพระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระพุทธรูปองค์ใน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยทวารวดี ไว้อีกชั้นหนึ่ง พระราชทานพระนามว่า “พระนิรันตราย” และยังโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์ไว้คู่กัน

เมื่อพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตมีพระอารามมากขึ้น ในปี พ.ศ.2411 พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกัน เป็นเนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมแสดงพระพุทธคุณจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหามงกุฎ ตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ จำนวน 18 องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ พระราชทานนามว่า “พระนิรันตราย” เช่นกัน

เพื่อจะทรงพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันกะไหล่ทอง พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงโปรดฯ ให้นายช่างทำกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุตจำนวน 18 วัด ตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก ประกอบด้วย วัดราชาธิวาส, วัดบวรนิเวศวิหาร,วัดเทพศิรินทราวาส, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัด บรมนิวาส,วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดโสมนัสวิหาร,วัดบุรณศิริมาตยาราม, วัดราชผาติการาม, วัดปทุมวนาราม, วัดสัมพันธวงศ์, วัดเครือวัลย์, วัดบุปผาราม, วัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี, วัดยุคันธราวาส จ.นนทบุรี, วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จ.พระนครศรีอยุธยา และ วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากนั้น ทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละ 1 องค์ ในเวลาต่อมา

ปัจจุบัน “พระนิรันตราย องค์จริง” ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

“พระนิรันตราย” นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความเคารพอย่างกว้างขวาง และได้มีการจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล ทั้งพระบูชา พระเครื่อง พระพิมพ์ และเหรียญ

เพื่อความสะดวกแก่การพกพาติดตัวให้เกิดความสิริมงคลสืบมาครับผม




พระนิรันตราย วัดราชประดิษฐฯ ปี 2515

วัดธรรมยุติกนิกายทั้ง 18 วัด ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทาน "พระนิรันตราย" ตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนกต่างมีความปลื้มปีติและเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก เมื่อถึงวาระสำคัญๆ ก็มักจำลององค์พระนิรันตรายมาจัดสร้างเป็นวัตถุมงคลแจกจ่าย

สำหรับการจัดสร้างในยุคต้นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดสร้างกันภายในหมู่ราชสำนัก จำนวนการจัดสร้างจะน้อยมาก ผู้ที่ได้รับมาก็มักหวงแหนและเก็บรักษาไว้เป็นมิ่งขวัญสำหรับวงศ์ตระกูล จึงไม่ค่อยวนเวียนให้เห็นกันในแวดวงนัก อาทิ พระกริ่งนิรันตราย วัดบวรนิเวศวิหาร สมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จัดสร้าง ก็มีเพียงไม่กี่ 10 องค์เท่านั้น และพระนิรันตราย ดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม รุ่น 1 และรุ่น 2 สร้าง ในปี 2488 และ 2495 เป็นต้น

ที่พอจะได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาในการจัดสร้างก็จะเป็นการจัดสร้างเมื่อครั้ง "งานฉลองสมโภชครบ 108 ปี วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม" ในราว 43 ปีกว่า

ในโอกาสฉลองสมโภชครบ 108 ปี เมื่อปี พ.ศ.2515 ทางวัดราชประดิษฐฯ ได้ดำริจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสฉลองสมโภช อีกทั้งเพื่อให้พุทธศาสนิกชนผู้เคารพศรัทธานำไปสักการบูชา โดยนำรายได้มาบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัดที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อาทิ พระบูชา นิรันตราย จำนวน 908 องค์ (ตามจำนวนสั่งจอง), พระกริ่งนิรันตรายเนื้อโลหะผสม พิมพ์ใหญ่ จำนวน 999 องค์, พระกริ่งนิรันตรายเนื้อโลหะผสม พิมพ์เล็ก จำนวน 999 องค์, พระกริ่งโสฬส ม.ป.ร. จำนวน 50,000 องค์, เหรียญเจริญยศ (เหรียญพัดยศ) จำนวน 50,000 เหรียญ, เหรียญเจริญลาภ (เหรียญเสมา) จำนวน 50,000 เหรียญ, พระชัยวัฒน์แบบปั๊ม ไม่ทราบจำนวน ฯลฯ

ในการนี้ ได้ทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมเสด็จฯ ทรงเป็นประธาน ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเททองหล่อ "พระนิรันตรายจำลอง (ขนาดบูชา)" เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2515 จากนั้นทางวัดได้นำทองชนวนที่เหลือจากพิธีไปจัดสร้างวัตถุมงคลประเภทอื่นๆ

เมื่อแล้วเสร็จได้นำเข้าประกอบพิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ภายในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐฯ ระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 เป็นเวลา 9 วัน 9 คืน โดยมีพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั่วราชอาณาจักรเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกคืนละ 12 รูป รวมทั้งสิ้น 108 รูป เท่าอายุของวัดราชประดิษฐฯ มีอาทิ หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ, หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง, หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อโชติ วัดตะโน, หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี, หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย, หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง จ.เลย, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสาคร, พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร และหลวงตามหาบัว วัดป่า านตาด จ.อุดรธานี เป็นต้น

วัตถุมงคลฉลองสมโภช 108 ปี วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามนี้ จึงนับเป็นอีกหนึ่งของยอดวัตถุมงคล "พระนิรันตราย" ที่ถึงพร้อมด้วยพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ รวมทั้งพระมหากษัตริยาธิคุณแห่งองค์พระมหากษัตริย์ถึง 2 พระองค์




พระซุ้มเสมาทิศ พระกรุเก่าหายากเพชรบุรี

จังหวัดเพชรบุรีได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน "เมืองพระ" ที่มีพระกรุเก่ามากมาย ที่ทรงคุณค่าและพุทธคุณ ทั้งได้รับความนิยมในแวดวงนักนิยมสะสมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นกรุวัดสมอพรือ กรุวัดค้างคาว กรุวัดปากน้ำ กรุศาลาลอย กรุกุฎีทอง ฯลฯ มีทั้งพระหูยาน พระนาคปรก พระเทริดขนนก พระร่วง พระยอดขุนพล ฯลฯ มากมายหลายประเภท

พระกรุและพระเครื่องของเมืองเพชรบุรีโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็น "พระเนื้อชิน" หรือที่เรียกว่า "ยอดขุนพล" ซึ่งมีพุทธคุณโดดเด่นในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี
 
ฉบับนี้จะกล่าวถึง "กรุวัดนก" ที่ดูไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก วัดนี้เป็นวัดร้างที่ตั้งอยู่ริมกำแพงเมือง ข้างป้อมคลองยาง ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงซากเนินดินของฐานพระเจดีย์ จนไม่มีเค้าโครงแห่งความเป็นศาสนสถานแต่โบราณหลงเหลืออยู่เลย ฟังเรื่องราวจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า ... ก่อนหน้าที่พระเจดีย์จะพังทลายลงมา ได้มีคนร้ายลักลอบขุดเจาะหาทรัพย์สมบัติที่บรรจุกรุตรงบริเวณคอระฆัง ได้โพธิ์เงินโพธิ์ทองและพระเครื่องเนื้อชินไปจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นพิมพ์ทรงใด แต่หลังจากที่พระเจดีย์พังทลายแล้ว ได้เคยมีผู้คนหลายต่อหลายคนพยายามจะมาขุดหาทรัพย์สมบัติที่คิดว่ายังมีตกค้างอยู่ แต่ก็ไม่เคยทำได้สำเร็จ เพราะเมื่อขุดครั้งใดก็จะปรากฏ "งู" ขนาดใหญ่นอนขดอยู่เหนือเนินซากพระเจดีย์ทุกครั้ง เสมือนเป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์สมบัติอย่างน่าอัศจรรย์ หลายครั้งถึงกับทำพิธีบวงสรวงเพื่อขออนุญาต จึงสามารถขุดกรุได้ แต่เมื่อขุดไปก็ปรากฏพบเพียงสังคโลกรูปเสือตัวหนึ่ง และเมื่อพลิกดูก็พบโพรงภายในบรรจุเพียงงูที่ทำด้วยทองคำ หัวงูเป็นทองคำส่วนลำตัวเป็นลวดทองคำบิดเป็นเกลียว ...

ความเพียรพยายามมาสำเร็จเอาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2521 ภายหลังการบวงสรวงกันมาหลายรอบหลายวัน "งูใหญ่" ก็ได้เลื้อยลงจากเนินพระเจดีย์ เสมือนเป็นการอนุญาตให้ขุดได้ เมื่อขุดลงไปประมาณ 4 วา ก็ได้พบ "กรุพระ" ภายในกรุเป็นช่องว่างบรรจุไหดินเผาปิดผนึกฝาแน่นหนา เมื่อเปิดฝาได้จึงพบพระพุทธรูปทองคำ 2 องค์ เป็นทองดอกบวบ สังคโลกรูปเสือ และตลับทองคำ ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอัญมณีอันมีค่าที่บรรจุไว้ร่วมกันเพื่อเป็นพุทธบูชา นอกจากนี้ยังได้พบพระเครื่องเนื้อชินวางเรียงรายรอบตลับทองคำเป็นชั้นๆ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

พระเครื่องเนื้อชินเงินที่พบนั้นมีทั้งสมบูรณ์และชำรุด โดยเฉพาะด้านบนที่ได้รับผลกระทบจากอากาศภายนอกทั้งความชื้นและความร้อน จึงเกาะติดกันเป็นก้อน ต้องค่อยๆ แกะออกมาผึ่งลมให้แห้ง พระเครื่องที่สมบูรณ์จริงๆ มีเพียง 400 กว่าองค์เท่านั้น ที่ชำรุดเสียกว่าพันองค์ และเมื่อดูจากพุทธลักษณะพิมพ์ทรงที่ตัดเว้าเป็นทรงซุ้ม จึงให้ชื่อว่า "พระซุ้มเสมาทิศ" ในกรุยังพบ "พระซุ้มเสมาทิศองค์ใหญ่" อีก 1 องค์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ที่มีศิลปะสมัยอยุธยา โดยช่างสกุลเพชรบุรี ที่สามารถรังสรรค์องค์พระได้งดงามยิ่ง

พระซุ้มเสมาทิศ กรุวัดนก ที่ปรากฏจะมีเพียงพิมพ์เดียว ลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น ภายในซุ้มที่ทำลวดลายงดงาม ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 3 ซ.ม. สูงประมาณ 6 ซ.ม.

พระซุ้มเสมาทิศ กรุวัดนก จ.เพชรบุรี นับเป็นพระกรุเก่าที่แทบหาดูไม่ได้ในปัจจุบัน ด้วยจำนวนองค์พระที่สมบูรณ์นั้นมีน้อยนัก ผู้ที่มีไว้จึงล้วนหวงแหนไม่ใคร่นำออกมาให้ได้ชมกัน จนไม่มีการหมุนเวียนกันในแวดวง ทำให้ไม่มีชื่ออยู่ในกลุ่ม "พระซุ้มเสมาทิศ" ที่เล่นหากันอยู่ แต่ด้วยความทรงคุณค่าทางพุทธศิลปะและทางประวัติศาสตร์ จึงได้รับการบันทึกไว้เป็นข้อมูลว่ายังมีอีกหนึ่งพิมพ์ที่ จ.เพชรบุรี เช่นกัน เผื่อในอนาคตมีใครพบเห็นจะได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาและคุณค่าแห่งวัตถุมงคล

และถ้ามีโอกาสพบเจอก็อย่าลืมพิจารณาองค์พระกันหน่อย "เพราะของดีทุกอย่าง ย่อมมีการลอกเลียนแบบ" โดยสามารถใช้หลักการพิจารณา "พระเนื้อชิน" ที่จะปรากฏธรรมชาติพื้นผิวเป็นคราบปรอทที่มีลักษณะไม่วาว มีคราบฝ้ากรุ ตลอดจนสนิมที่จับเกาะบนพื้นผิวขององค์พระ และรอยระเบิดปริอ้า ได้เลยครับผม



 
อมตะพระเกจิ"หลวงพ่อโหน่ง" วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี

"อมตะพระเกจิ" หมายความถึง "พระเกจิอาจารย์ในอดีต" ผู้เรืองวิทยาอาคม มีจริยวัตรและปฏิปทาอันงดงาม เจริญตามรอยองค์พระอริยเจ้าพระศาสดาแห่งพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เป็นที่เคารพศรัทธาของปวงชน ซึ่งถึงแม้ท่านจะจากไปนานแสนนาน แต่ก็ยังคงอยู่ในความรำลึกนึกถึงและเลื่อมใสศรัทธาไม่เสื่อมคลาย "หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดอัมพวัน) อดีตพระเกจิดังแห่งเมืองสุพรรณบุรี"

หลวงพ่อโหน่ง อินทฺสุวณฺโณ เป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง เมื่อปีพ.ศ.2408 ในตระกูลโตงาม ศึกษาร่ำเรียนที่วัดสองพี่น้อง จนอ่านออกเขียนได้ทั้งอักขระไทยและขอม จากนั้นช่วยบิดามารดาประกอบสัมมาอาชีพอย่างขยันขันแข็ง ประพฤติดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มักน้อย และรักสันโดษ

จนอายุได้ 24 ปี ในปีพ.ศ.2433 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง มีพระอธิการจันทร์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ดิษฐ์ เป็นพระกรรม วาจาจารย์ และพระอธิการสุต เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ โดยตั้งใจจะบวช 1 พรรษา

ในสมณเพศ มีความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ใฝ่ใจศึกษาพระธรรมวินัย คันถธุระ และวิปัสสนาธุระจนรู้ซึ้ง เมื่อครบกำหนดตัดสินใจไม่ลาสิกขา จากนั้นออกเดินทางไปยังวัดทุ่งคอก เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์พระอธิการจันทร์ พระอุปัชฌาย์ ผู้มีชื่อเสียงและกิตติศัพท์ด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาอาคมแขนงต่างๆ

ศึกษาอยู่ 2 พรรษา จึงลาเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า อีก 2 พรรษา แล้วจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดสองพี่น้องตามเดิม

ในช่วงศึกษาที่วัดน้อยนั้น ท่านได้รู้จักกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้เดินทางมาฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเนียมเช่นกัน โดยท่านนับเป็นศิษย์รุ่นพี่ หลวงพ่อเนียมยังได้เคยปรารภกับหลวงพ่อปานว่า "ถ้าข้าตายแล้ว สงสัยธรรมข้อใดให้ไปถามท่านโหน่งเขานะ เขาพอแทนข้าได้"

เมื่อกลับมาจำพรรษาที่วัดสองพี่น้อง หลวงพ่อโหน่งยังมีความเกี่ยวพันกับพระเกจิชั้นผู้ใหญ่ 2 รูป ซึ่งเป็นคนบ้านสองพี่น้องเช่นเดียวกัน เมื่อครั้งอุปสมบทที่วัดสองพี่น้อง คือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของ สมเด็จป๋า (ปุ่น ปุณณสิริ) วัดโพธิ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นพระอนุสาวนาจารย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จันทสโร) แห่งวัดปากน้ำภาษีเจริญ

หลวงพ่อโหน่งเป็นพระผู้มีปฏิปทาและจริยวัตรงดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านเริ่มขจรขยายไกล ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาอาคมต่างๆ หลวงพ่อแสง เจ้าอาวาสวัดคลองมะดัน หรือ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง ผู้เก่งกล้าในวิทยาอาคม ได้ทราบถึงกิตติศัพท์จึงเดินทางมาพบและสนทนาธรรมอยู่เป็นเนืองนิจ จนมีความสนิทสนมกันมากและได้ชักชวนหลวงพ่อโหน่งให้มาอยู่ด้วยกันที่วัดคลองมะดัน ซึ่งหลวงพ่อโหน่งก็ตอบตกลงด้วยความเต็มใจ เนื่องจากต้องการศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากหลวงพ่อแสงเช่นกัน

หลวงพ่อโหน่งมรณภาพในปีพ.ศ.2477 สิริอายุ 69 ปี พรรษา 46 นับเป็นการสูญเสียพระเกจิผู้เปี่ยมด้วยศีลจารวัตรและเมตตาบารมีธรรม พระอริยสงฆ์ผู้เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนโดยถ้วนทั่ว

วัตถุมงคลของท่านนั้นเป็น "พระพิมพ์ดินเผา" โดยครั้งแรกกำหนดสร้างจำนวน 84,000 องค์ แต่ญาติโยมและบรรดาลูกศิษย์ลูกหาได้ช่วยกันพิมพ์ขึ้นมาจนเกินจำนวน ซึ่งน่าจะไม่ต่ำกว่าแสนองค์ และยังมีมากมายหลากหลายพิมพ์ ทั้งพระบูชา พระเครื่อง อาทิ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย พิมพ์ขุนแผน 5 เหลี่ยม พิมพ์ตรีกาย พิมพ์ไสยาสน์ พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ซุ้มปราสาท พิมพ์สมเด็จ ฯลฯ การสร้างนั้นต่างคนก็จะกดพิมพ์สร้างไปเรื่อยๆ แล้วรวบรวมไว้ เมื่อได้จำนวนตามความต้องการจึงเผา โดยพระอาจารย์ฉวยได้ก่อเตาและเผา ในขณะเผาองค์พระหลวงพ่อโหน่งก็จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยอาราธนาพระสงฆ์ในวัดสวดมนต์พร้อมกัน เมื่อเสร็จสิ้นพิธีได้แบ่งส่วนหนึ่งนำไปบรรจุไว้ที่ปูชนียสถานหลายแห่งที่อยู่ในวัดคลองมะดัน (อัมพวัน) และวัดทุ่งคอก ส่วนที่เหลือก็แจก

พระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ "พิมพ์ซุ้มกอ" ซึ่งค่านิยม จะแตกต่างกันไปตามความสมบูรณ์ขององค์พระ แต่อย่างไรก็ตาม "พระหลวงพ่อโหน่ง" ทุกพิมพ์ ล้วนทรงพุทธคุณทั้งเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดเป็นที่ปรากฏ เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูงสืบมาถึงปัจจุบัน




    พันธุ์แท้พระเครื่อง
     ราม วัชรประดิษฐ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 พฤศจิกายน 2559 20:55:44 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 54.0.2840.99 Chrome 54.0.2840.99


ดูรายละเอียด
« ตอบ #39 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2559 14:30:51 »

http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOurCh3wGVK7Q5eZIhdSmUzjiC51f71q3ACRaXEef.jpg
พระเครื่อง

ซุ้มกอใหญ่ไม่มีลายกนก

ดิมทีพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่พิมพ์นี้ ใครก็ไม่รู้ตั้งชื่อ ซุ้มกอกาชังราว มีเผยแพร่ในวงการไม่กี่องค์ ทุกองค์เนื้อดำจนเผลอเข้าใจว่าพิมพ์นี้เป็นเนื้อดินดิบ ไม่เผาไฟ เรียกขานกันว่า ซุ้มกอดำ

แต่ต่อมาเมื่อมีองค์หน้าใหม่ออกมาให้เห็นเป็นสีแดง องค์แรกและองค์ต่อๆมาชื่อซุ้มกอดำก็เริ่มเปลี่ยนไป เป็นพิมพ์ใหญ่ไม่มีลายกนกก็เป็นอันว่า เรียกตรงกัน

คุณเชียร ธีรศานต์ ครูใหญ่พระเครื่องเมืองเหนือ ลงลึกค้นหาพระซุ้มกอกรุทุ่งเศรษฐี ลงทุนซื้อพระจากปากหลุมลานทุ่งเศรษฐีได้ซุ้มกอพิมพ์มีลายกนก เรียก “พิมพ์ใหญ่” ราดำขึ้นคลุมดำปี๋ทั้งองค์ พิมพ์พระลึกชัดติดเต็มหน้าตา เรียกชื่อว่า องค์เจ้าเงาะ

คุณเชียรทดสอบวิชาล้างพระ ใช้น้ำยาค่อยๆล้าง 11 ครั้ง ก็ถอดหัวเงาะออก เจอ “รูปทองผ่องโสภา” วงการยกให้เป็นซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ที่งามนักหนา

เพราะการล้างพระซุ้มกอและพระกรุทุ่งฯที่แตกหักหลายองค์ คุณเชียรพบว่าพระซุ้มกอเป็นพระเนื้ออ่อน เผาไฟอ่อน เผาแบบเผามัน ผลออกมา เปลือกไหม้ไส้ดิบ

เห็นพระสีแดงอมน้ำตาลอ่อน ลองหักพระจะเจอเนื้อในสีดำคล้ายไส้ขนมเปี๊ยะ

นี่คือความรู้ที่คนรักพระซุ้มกอน่าจะรู้ไว้ พระซุ้มกอเนื้ออ่อนอย่างนี้เซาะแต่งจมูกตาปากง่าย เศรษฐีที่นิยมพระงามจึงมักเจอซุ้มกอ “เสริมสวย”

กระทั่งองค์ครูที่ถือเป็นองค์ดังขึ้นตกเจนตา เจ้าของเดิมคุยว่าเป็นซุ้มกอสวย 1 ใน 5 ก็ไม่เว้น

มาว่าถึงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีลายกนก รองอันดับสอง...ลองดูตัวอย่างอย่างองค์ในคอลัมน์วันนี้ ถ้าอยากเห็นภาพสีให้กระจ่างตา ผมเองก็เพิ่งรู้ว่า เปิด “ไทยรัฐออนไลน์” ก็ดูได้แจ่มแจ้งจางปาง

ที่เลือกองค์นี้เพราะเห็นเป็นองค์พบกันครึ่งทาง ผิวนอกพระดำเข้าใจว่าเป็น “ราดำ” ราดำหลุดออกก็ถึงเนื้อในแดง องค์นี้รวมสีดำสีแดงไว้ในองค์เดียว

ในตำราพระซุ้มกอ คุณเชียรพูดถึงซุ้มกอใหญ่ไม่มีกนกไว้ไม่กี่บรรทัด คนรักพระก็ต้องตามดูตามรู้จากหนังสือภาพพระเครื่องมาตรฐาน ตั้งแต่หนังสือคุณประชุม กาญจนวัฒน์ ไปถึงเล่มคุณประจำ อู่อรุณ แต่ก็ยังมีไม่กี่องค์

จนมาถึงหนังสือภาพพระเครื่องทุ่งเศรษฐี-กำแพงเพชร ไม่ระบุปีที่พิมพ์ คุณจาตุรนต์ สิงหะ (สนิมแดง) ผมถือเป็นเล่มครู นอกจาก ซุ้มกอ เม็ดขนุน พลูจีบ ฯลฯ ซึ่งนับเข้าชุดเบญจภาคีได้ ยังมีพระทุ่งเศรษฐีอีกนับพิมพ์ไม่ถ้วน

อย่างพิมพ์ ท้าวกุเวร ที่นานปีจะเจอสักที ผมก็ได้แบบอย่างจากหนังสือเล่มนี้แหละ

คุณจาตุรนต์ ให้น้ำหนัก ซุ้มกอใหญ่ไม่มีลายกนกสีดำ ไว้เป็นองค์ที่ 1 และซุ้มกอใหญ่ไม่มีลายกนกสีแดง เป็นองค์ที่ 2 องค์นี้ เป็นกรณีศึกษาแปลกตา มีก้อนกรวดขาวก้อนใหญ่ที่กลางพระบาท

ใครที่เจอเมล็ดกรวดในพระทุ่งเศรษฐีแล้ววาง เห็นจะต้องตั้งหลักใหม่

ขึ้นชื่อพระทุ่งเศรษฐีนั้น ต่างกรุ ต่างแม่พิมพ์ ต่างเนื้อ เช่นเนื้อพระเม็ดขนุนเผาไฟนาน หนั่นแน่น คราบไคล ราดำ ไม่ติดลึกง่ายๆ ต่างจากซุ้มกอ เผาไฟอ่อน เนื้อหลวมคราบเปื้อน ราดำ ฝังแน่น แค่รู้หลักจากคำอธิบายยังไม่พอ ต้องดูภาพพระแท้เปรียบเทียบให้มากองค์เข้าไว้ เจอพระแท้ของใครก็ขอเขาดู ดูให้นานๆ ดูให้ติดตา พระทุ่งเศรษฐีเก๊ทำได้ใกล้เคียงขึ้นทุกวัน

นักเล่นรุ่นใหม่ แค่ดูพระแท้ก็ยากก็แย่เต็มทีอยู่แล้ว ยังต้องเรียนรู้ต่อว่านอกจากพระแท้แล้ว พระองค์นั้นต้องไม่หัก ไม่ซ่อม ไม่อุด และข้อสุดท้ายไม่เสริมสวย

ประโยคนี้ผมจำติดใจจากปากคุณ วิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ สมัยที่ตั้งศูนย์ “พันเลิศ” อยู่หน้าวัดมหรรณพ์ นักเลงรุ่นใหญ่กว่าจะสร้างชื่อขึ้นมาได้ต้องมีมาตรฐาน ทั้งความสามารถ และความสัตย์ซื่อ

ความรู้อีกข้อของคนรักพระเครื่อง นอกจากจะต้องดูพระแท้เป็นก็จะต้องดูคน คือดูเซียนให้เป็น.



http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOurAMGDT4DyRZFwj0ms5ZKfLrxQefb32bE5WjrfB.jpg
พระเครื่อง

พระลือหน้ามงคล

พระเครื่องชุดลำพูนนิยมเล่นหากันมานาน แต่เริ่มมีสีสันเพิ่มขึ้นเมื่อคุณเชียร ธีรศานต์ เขียนหนังสือพระเครื่องสกุลลำพูน ชุดนพคุณ (สำนักพิมพ์ อภินิหารและพระเครื่อง พ.ศ.2516) จัดลำดับคุณค่า เทียบเคียงกับอัญมณีทั้งเก้า พระรอด เปรียบเพชร พระคง ทับทิม พระจามเทวี ไพฑูรย์ ฯลฯ

พระลือ คุณเชียร จัดให้เป็นมรกตแห่งพระเครื่องชุดนพคุณ

ชื่อพระลือ ในยุคแรกๆที่เล่นกัน มีพระลือเดียว แต่วงการตอนนั้นเกิดมีพระลือพิมพ์หน้ายักษ์ แต่ก็รู้กันว่าเป็นพระปลอม ที่พิมพ์จากแม่พิมพ์สำริดองจริง คนที่เผลอเล่นรู้ความจริงแล้วก็ทิ้ง

เมื่อมีชื่อพระลือหน้ายักษ์ ให้เรียกพระลือแม่พิมพ์ที่เชื่อถือกัน จึงถูกเรียกพระลือหน้ามงคล ก็เป็นข้อดี เพราะที่กรุวัดประตูลี้ที่พบพระเลี่ยงเป็นส่วนใหญ่พบพระลือเป็นส่วนน้อยนั้น

ห่างไปเล็กน้อยที่กรุกู่เหล็ก ก็เจอพระลืออีกพิมพ์ วงการเรียกกันว่าพระลือโขง  พระลือกรุนี้งามมาก คุณเชียรตั้งใจเรียก “จามเทวีเรือนแก้ว” จำนวนพระมีน้อยอยู่แล้ว ค่านิยมก็แพงไปใหญ่ แม้แต่พระลือหน้ามงคลสวยๆ ด้วยกัน ก็ยังไล่หลัง

พระลือหน้ามงคล องค์ในคอลัมน์ดูเผินๆ ผิดตาจากพระลือองค์ครูที่คุ้นตาจากภาพหลายองค์ เส้นสายทั้งองค์พระดูอวบอ้วน แต่ก็มีเหตุผลอธิบายได้

เนื้อและผิวพระลือองค์นี้ถ้าเทียบกับพระคงก็ต้องเรียก “กรุเก่า” คือขึ้นมานาน ขึ้นมาเป็นชุดแรกๆ

คนที่ได้เอามาลงรักคงตั้งใจรักษาเนื้อเอาไว้ เมื่อเนื้อรักสึกหรอไปจากส่วนที่นูนคือองค์พระหรือโพธิ์ เนื้อรักในซอกหลุมลึกก็เป็นเหมือนฉากหลัง ขับเน้นสีเนื้อองค์พระให้โดดเด่นออกมา ความแปลกตาอยู่ตรงนี้

แต่เมื่อดูเส้นสายลายพิมพ์ทุกตำแหน่งไม่เพี้ยนจากองค์ครู ยิ่ง “พระลือ” องค์นี้ ติดพิมพ์ชัด ยังเห็นจมูกปากนับเป็นพระลือที่สวยระดับแนวหน้าได้องค์หนึ่ง

พระกรุเก่าที่ใช้แล้วโดยทั่วไปมีเสน่ห์ดึงดูดใจ ดึงดูดสายตากว่าพระกรุใหม่ นักเลงพระรุ่นใหญ่หลายคนมั่นใจมากกว่า มักเลือกเอาไว้ขึ้นคอ

คุณเชียร ธีรศานต์ ให้หลักการดูเนื้อพระลือเอาไว้ ดังนี้

เนื้อพระลือส่วนมากผสมกรวด ถ้าเจอกรวดก้อนเล็กก้อนใหญ่ในเนื้อพระเก่าถึงอายุลำพูน อย่าตกใจ นั่นแหละลายแทงของจริง

เนื้อพระลือดินละเอียด มีบ้าง แต่ก็น้อย ลักษณะดินจะเป็นกาบๆ ยึดกรวดได้ไม่แน่นสนิทนัก

อย่าลืม หลักการเผาพระลำพูน เนื้อและผิวที่ต่างสีเกิดจากได้ความร้อนที่ต่างกัน

พระลือเนื้อสีนวลหรือแดงชมพูเป็นเนื้อที่ได้รับความร้อนพอสมควร แต่น่าเสียดายเนื้อสีนี้มีแรงยึดเหนี่ยวน้อย เมื่อฝังดินกว่าพันปีเนื้อผิวจะเปื่อยยุ่ยลุ่ยติดดินขี้กรุไป ทิ้งแก่นเอาไว้เห็นเป็นองค์พระรางๆ ก้อนกรวดฟูทั่วองค์ หาความงามไม่ได้

พระลือเนื้อก้ามปูเผาหรือเนื้อเหลืองปนเขียว เนื้อดินละลายมากขึ้น แต่กรวดก็ขยายมากขึ้น ผิวพระจะถูกดัน ทำให้ผิวขรุขระขาดสภาพที่แท้จริง คงเหลือเค้าโครงไว้เท่านั้น

พระลือเนื้อเขียว เหตุด้วยพระลือปนกรวดค่อนข้างใหญ่ แม้ความร้อนจะเปลี่ยนเนื้อพระเป็นสีเขียว ก้อนกรวดก็ยังคงตัวอยู่ ก้อนกรวดใหญ่ความร้อนละลายไม่เท่ากัน เนื้อพระยุบก้อนกรวดลอย เมื่อฝังดินพันปี จึงมักมีเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหลุดเป็นกระบิหายไป บางองค์ที่แขน บางองค์ที่เข่า ส่วนที่หายมากที่สุดคือปลายบน กลายเป็นพระบิ่นบน

เทียบพระรอด พระลือเป็นพระใหญ่ วิธีแนะนำตำหนิทำได้ยาก วิธีเดียวที่คุณเชียรแนะนำ คือดูภาพถ่ายพระลือแท้ที่ติดชัด สังเกตฟอร์มพระให้ดี ถ้ามีโอกาสได้ดูองค์จริง ก็หมั่นเทียบเคียงเนื้อพระ ดูสีก้อนกรวดให้เจนตา

คุณเชียรทิ้งท้าย “พระลือดูง่ายกว่าพระรอด แปลกที่นักปลอมพระแม้พยายาม ก็เลียนแบบได้ไม่เหมือน”.



http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuqVs78uz4I59xSD8DhCSbsBpT3M3LBzLfwpF0hs.jpg
พระเครื่อง

หลวงพ่อแก้ว พิมพ์กลาง

คนรักพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว เห็นภาพพระปิดตาองค์นี้แล้ว คงมีคำถาม “กลางไหน”

เพราะเส้นสายลายพิมพ์ ไม่คุ้นตาเหมือนพิมพ์กลางทั่วไป ในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานหลายเล่ม ที่มีชื่อสำนักใหญ่กำกับ

หนังสือพระเครื่อง วันนี้ต้องเลือกให้ดี หนังสือพระปลอมเริ่มจะมีมากกว่าหนังสือพระแท้

ขนาดกลางองค์นี้ ก็ราวปลายนิ้วก้อย พิมพ์พระชะลูดยาว ดูเส้นสายลายพิมพ์ต้องใช้ทักษะ คนเป็นพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เป็นตัวช่วย

ดูยังไงๆ ก็ไม่ใช่ สี่เสือปิดตาเมืองชลฯ หลวงพ่อเจียม หลวงพ่อภู่ หลวงพ่อครีพ หลวงพ่อโต ด้านหลังอูม จะโยนไปให้เป็นหลวงปู่จีน พนมสารคาม เส้นสายก็ไม่ไป

วางมือปิดตาแบบนี้ วางเท้าแบบนี้ คือหนึ่งของห้าเสือ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ แน่

จุดเด่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้วองค์นี้ ข้อแรก อยู่ที่สีเนื้อซึ่งน่าจะเป็นสีน้ำตาล เมื่อจุ่มรักบางๆ เนื้อรักซึมซับผสมกับเนื้อพระออกเป็นสีเข้ม กลมกลืนหนึกนุ่มชุ่มตา เข้าสูตรเนื้อกะลา

เนื้อแบบนี้ดูมีเสน่ห์กว่าหลวงพ่อแก้ว องค์ที่รักล่อน เปิดให้เห็นเนื้อเดิมๆ เนื้อไปทาง รักไปทาง

ความยากของการดูพระหลวงพ่อแก้ว นอกจากต้องแยกเป็นวัดเครือวัลย์ เมืองชลฯ กับวัดปากทะเล เมืองเพชร ให้ออกแล้ว

ในชุดวัดเครือวัลย์ นอกจากมีพิมพ์ปั้น ที่เรียกรุ่นแลกซุง ยังมีชุดที่ใช้แม่พิมพ์ มีพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก ทุกพิมพ์มีทั้งหลังแบบ หลังเรียบ และบางองค์หลังอูม

นักเล่นพระปิดตาสายเมืองชลฯ รุ่นใหญ่ เคยเสนอแม่พิมพ์ใหม่ๆ ไม่คุ้นตา ออกมาเสมอ

ข้อดีของพิมพ์แปลก คือมีตัวหารพระปลอมน้อย พิมพ์กลางชะลูดพิมพ์นี้ ของปลอมยังไม่เจอ

หลวงพ่อแก้วเป็นพระยอดนิยม ราคาแพงมาก ของปลอมหลากฝีมือ ตั้งแต่ฝีมือหยาบ ถึงละเอียด ส่องกันแทบตาย แทบจะแยกเก๊แท้ไม่ออก ไม่ชำนาญจริงก็ต้องดูกันหลายๆ ตา เถียงกันบ้าง แต่พระแท้ มักมีข้อสรุปได้

สุดท้าย ถ้าซื้อขายกันแพงๆ ก็ต้องใช้หลักสากลของวงการพระ คือนอกจากซื้อพระ ยังต้องซื้อคน

สำหรับคนรักพระปิดตา ที่เชื่อมั่นในประสบการณ์และสายตา หาพระเอง ก็ต้องขยันติดตามความคืบหน้าของวงการ โดยปกติ พระแท้ แม่พิมพ์แปลกตา ก็มักไม่มีองค์เดียว

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว แม่พิมพ์นี้ คอลัมน์ สนามพระวิภาวดี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปีแรกๆ เมื่อเกือบยี่สิบปีที่แล้ว สีกาอ่างเคยเอามาลงพิมพ์ เป็นของตำรวจใหญ่ ชื่อ ธนสิทธิ์ สุนทรวิภาต

คุณธนสิทธิ์ อยู่เพชรบุรี เมืองที่เจอหลวงพ่อแก้วบ่อยๆ นานกว่าที่อื่น

แม่พิมพ์ด้านหน้า เอาองค์คุณธนสิทธิ์ เป็นต้นแบบ เส้นสายลายพิมพ์ การวางมือวางเท้า องค์ในคอลัมน์นี้ไปกันได้ ต่างกันที่ด้านหลัง องค์ของคุณธนสิทธิ์หลังเรียบ

องค์นี้หลังอูม

คุณธนสิทธิ์มีพระปิดตาหลวงพ่อแก้วหลายองค์ แต่รักและหวงองค์นี้มาก เคยมีคนประเมินราคา 2 ล้าน ท่านก็เฉย

ก็เป็นอันว่า พระปิดตาพิมพ์กลางองค์นี้ พอมีเพื่อน พ้นข้อหา “องค์เดียวในโลก” ไปได้

การเล่นพระเครื่องให้สนุกถึงใจก็ต้องเล่นกันลุ้นกันด้วยฝีมือ ด้วยสายตา รักก็ขึ้นคอ เบื่อก็นิมนต์เข้าตู้เซฟ ขึ้นชื่อหลวงพ่อแก้วนั้น ไม่ว่าพิมพ์ไหนแพงเหมือนเพชรเหมือนแก้วมณีน้ำสวย

เพชรมีเงินซื้อได้ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว มีเงินอย่างเดียวซื้อพระแท้ไม่ได้ ต้องใช้บุญบารมีช่วย


พลายชุมพล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 [2] 3 4 ... 10   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.709 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 01:32:50