[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 17:50:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 2 [3] 4 5 ... 10   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเครื่อง  (อ่าน 238027 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #40 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2559 20:20:32 »



พระกลีบบัววัดลิงขบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระของดีราคาถูก ซึ่งเป็นพระเก่าแก่ พุทธคุณสูง มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย แต่เนื่องด้วยจำนวนของ พระที่พบมีมาก หาได้ไม่ยากนัก จึงทำให้สนนราคายังไม่สูง แต่ในเรื่องของพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมครับ

วัดลิงขบหรือวัดบวรมงคลเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องกับวัดราชาธิวาสฯ แต่เดิมเป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกันมาก จึงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวรามัญ มีวัดเป็นที่ทำบุญกันโดยลำพังตามประเพณีของตน สมเด็จกรมพระราชวังบรมมหาเสนานุรักษ์ จึงทรงสถาปนาวัดลิงขบขึ้นเป็นพระอารามหลวง ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนธิเบศร์บวรทรงปฏิสังขรณ์ ทั้งพระราชทานนามใหม่ให้สมกับที่เป็นพระอารามหลวงว่า "วัดบวรมงคล"

ที่วัดแห่งนี้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เป็นแบบทรงลังกา อยู่ในมุมเขตด้านเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ในครั้งการปฏิสังขรณ์ และในเจดีย์องค์นี้ได้เกิดการชำรุด และมีพระพิมพ์กลีบบัวไหลลอดออกมาตามแนวอิฐที่ผุกร่อน เด็กๆ ในแถบนั้นก็เก็บเอามาให้พ่อแม่ดู และเกิดมีการซื้อ-ขายกันขึ้น ในที่สุดก็มีคนแอบเข้าไปขุดพระที่องค์เจดีย์ ทางวัดรู้ข่าวโดยพระญาณเวทีผู้ช่วยเจ้าอาวาส จึงได้ให้พระภิกษุไปสำรวจ แต่ก็มีคนไปแอบขุดหาพระกันอีก พระสุมงคลมุนีเจ้าอาวาส จึงได้ติดต่อไปยังกรมการศาสนาและกรมศิลป์ว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้คงมีคนมาแอบขุดจนตัวเจดีย์พังแน่

ทางวัดจึงได้เปิดกรุเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2509 โดยมีทหารเรือจากเรือรบหลวงจันทบุรีมาช่วยในการเปิดกรุ จัดเวรยามเฝ้า การขุดได้ขุดตรงส่วนคอระฆังพบพระบรมธาตุ พระพุทธรูป พระเครื่อง พิมพ์ต่างๆ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน นอกจากนี้ยังพบพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จฯ และพระกลีบบัวที่เป็นเนื้อผงจำนวนเล็กน้อย (ไม่ระบุจำนวน) กับเครื่องรางและของมีค่าอีกจำนวนหนึ่ง และส่วนฐานได้พบพระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดินเผา บรรจุอยู่ในกระถางมังกร 4 ใบ ในส่วนของพระกลีบบัวเนื้อดินเผา มีจำนวนมากที่สุดกว่าพระพิมพ์อื่นๆ นับได้ประมาณเจ็ดหมื่นกว่าองค์ ทางวัดได้จัดพิธีฉลองสมโภชพระบรมธาตุ ตลอดจนพระพุทธรูปและพระเครื่อง 3 วัน

ทางวัดและคณะกรรมการได้เปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าพระพิมพ์กลีบบัว ในราคาองค์ละ 30 บาท เพื่อนำเงินไปบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ที่ชำรุด พระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดิน มีทั้งแบบดินละเอียดและเนื้อหยาบ พระส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของแร่ทรายเงินทรายทองปะปนอยู่เกือบทุกองค์ ผิวของพระบางองค์จะมีคราบรารักจับอยู่ที่ผิวของพระมากบ้างน้อยบ้าง ด้านหลังจะเป็นหลังเรียบและหลังเว้า มีรอยกดพิมพ์เป็นลายมือติดอยู่ ด้านใต้องค์พระจะมีรูรอยไม้เสียบยกพระออกจากแม่พิมพ์ทุกองค์ มีพบบางองค์มีการลงรักน้ำเกลี้ยง และลงชาดมาแต่ในกรุ เข้าใจว่าพระเหล่านี้น่าจะเป็นพระคะแนน แต่ก็มีจำนวนน้อย พระบางองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีมีหน้ามีตาสวยงาม สนนราคาก็อาจจะสูงกว่าธรรมดานิดหน่อย

พระกรุนี้เมื่อมีผู้นำไปห้อยคอแล้วต่อมาเกิดมีประสบการณ์ในด้านแคล้วคลาด และอยู่คงกันไม่น้อย ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้กันดี ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนัก ทั่วๆ ไปอยู่ที่พันเศษๆ แล้วแต่ความสวยงามเป็นหลัก ถ้ามีหน้ามีตาก็แพงหน่อยครับ

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกลีบบัววัดลิงขบ เนื้อดินเผามาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



พระกำแพงเม็ดขนุน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องปางลีลาที่ได้รับความนิยมสูงมากก็คือพระกำแพงเม็ดขนุน กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้รับความนิยมมาแต่โบราณแล้ว พระเครื่องเมืองกำแพงเพชรก็มีพระเครื่องปางลีลาที่ขุดพบอยู่หลากหลายพิมพ์ หลากหลายเนื้อ ซึ่งมีทั้งเนื้อชินและเนื้อดินเผา ซึ่งก็นิยมกันทั้งสองเนื้อ แต่ในสังคมผู้นิยมพระเครื่องทั่วไปนั้นจะนิยมพระเนื้อดินเผามากกว่า เนื่องจากพระเครื่องของจังหวัดกำแพง เพชรที่พบบริเวณทุ่งเศรษฐีที่เป็นเนื้อดินเผาจะมีเนื้อที่ละเอียดหนึกนุ่มสวย ซึ้ง และเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี

พระกำแพงลีลาของกำแพงเพชรนั้น จะนิยมเกือบทุกพิมพ์ และคนกำแพงในสมัยก่อนนั้นมักจะเรียกพระเครื่องปางลีลาว่า "พระกำแพงเขย่ง" เนื่องจากพุทธลักษณ์กำลังก้าวเดิน จึงเห็นเท้าด้านหนึ่งยกส้นเท้าขึ้นเหมือนกับกำลังเขย่งเช่นกัน ส่วนการแยกชื่อออกเป็นชื่อต่างๆ ก็ดูตามรูปลักษณะโดยรวม เช่น พระกำแพงเม็ดขนุนก็ดูรูปทรงของกรอบนอกคล้ายกับเม็ดขนุน จึงเรียกว่า "พระเม็ดขนุน" พระกำแพงกลีบจำปา ก็ดูกรอบนอกเช่นกัน ลักษณะคล้ายๆ กับกลีบดอกจำปา ก็เรียกว่า "พระกำแพงกลีบจำปา" พระกำแพงพลูจีบก็เช่นกันลักษณะคล้ายกับใบพลูที่จีบไว้ทานกับหมาก จึงเรียกชื่อตามลักษณะของพระ พระกำแพงฝักดาบก็มีลักษณะปลายโค้งแหลมไปด้านหนึ่งคล้ายๆ ฝักดาบ ก็เรียกว่า "พระกำแพงฝักดาบ" เป็นต้น

พระเครื่องตระกูลกำแพงเพชร ที่ถูกขุดพบในบริเวณทุ่งเศรษฐีจะมีอยู่หลายกรุหลายวัด โดยส่วนมากพระที่เป็นเนื้อดินเผาจะมีความละเอียดหนึกนุ่มสวยงามทุกกรุ จึงได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชื่อของทุ่งเศรษฐีก็เป็นชื่อที่เป็นมงคล หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ร่ำรวย จึงยิ่งนิยมกันมาก ศิลปะของพระเครื่องก็เป็นศิลปะสุโขทัยหมวดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นศิลปะที่งดงามมาก โดยเฉพาะพระปางลีลาศิลปะสุโขทัยก็ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด

พระเครื่องปางลีลาของเมืองกำแพงเพชร ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดก็คือพระกำแพงเม็ดขนุน ซึ่งเป็นพระที่ถูกพบบริเวณทุ่งเศรษฐี กล่าวกันว่าพบที่วัดพิกุล และกรุวัดบรมธาตุ พระที่พบมีอยู่หลายเนื้อด้วยกัน เนื้อที่พบมากที่สุดก็คือเนื้อดินเผา และได้รับความนิยมมากที่สุด พระเนื้อชินเป็นพระที่พบน้อยมาก เนื่องจากส่วนใหญ่ผุพังไปเสียเป็นส่วนใหญ่ แทบไม่เคยพบเห็นกันเลย พระเนื้อว่านหน้าทองหน้าเงิน ก็แทบไม่พบเห็นเลย ตอนที่พบพระกันในระยะแรกๆ นั้น คนเฒ่าคนแก่เล่าว่า คนที่ขุดพบนั้นได้ลอกเอาหน้าทองหน้าเงินออกไปขายเสียหมด พระเนื้อว่านมีพบบ้างแต่ก็น้อยมาก พระเนื้อว่านนี้อาจจะเป็นพระที่เดิมมีหน้าทองหน้าเงินอยู่ก็เป็นได้ แต่ถูกลอกเอาทองและเงินออกไปขายก่อนตอนที่พบแล้วก็เป็นได้ จำนวนพระที่พบน้อย แทบไม่ค่อยได้พบเห็นเช่นกัน

พระกำแพงเม็ดขนุนปัจจุบันหายากมาก สนนราคาสูงมาก ยิ่งพระสวยๆ สมบูรณ์ยิ่งพบน้อยมากครับ ผู้ที่ครอบครองบูชาไว้มักมีประสบการณ์ในด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง

ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระกำแพงเม็ดขนุนองค์ที่สวยสมบูรณ์ ติดแม่พิมพ์ชัดๆ มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



พระรูปเหมือนหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นรูปเหมือนของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ นั้น ได้รับความนิยมสูงๆ มีอยู่หลายรูป หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอก็เป็นหนึ่งในพระรูปเหมือนยอดนิยมเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะสร้างไม่ทันตอนที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม แต่ด้วยความเลื่อมใสเคารพศรัทธาในตัวหลวงพ่อยอดไม่มีเสื่อมคลาย สนนราคาก็สูงมากและหายากครับ

พระครูประสุตสังฆกิจ (หลวงพ่อยอด) วัดหนองปลาหมอ สระบุรี ไม่ได้มีการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการในสมัยนั้น แต่เท่าที่สืบค้นดูก็พอจะสรุปได้ดังนี้ครับ หลวงพ่อยอดเกิดที่จังหวัดนครราชสีมา ประมาณปี พ.ศ.2400 ต่อมาได้อุปสมบทเมื่ออายุครบบวช โดยมีพระอาจารย์อินทร์ วัดมะรุม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปล้อง วัดมะรุม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์รอด วัดมะค่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อินทโชติ"

ท่านได้ศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระจากพระอุปัชฌาย์จนแตกฉาน จึงเดินทางมาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่วัดชนะสงคราม และได้มีโอกาสรู้จักกับพระคณาจารย์ ผู้โด่งดังแห่งเมืองพระนครศรีอยุธยา 2 รูป คือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม และ หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง หลวงพ่อยอดได้ศึกษาอยู่ที่วัดชนะสงครามหลายปี จึงได้เดินทางไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจำพรรษาอยู่ที่วัดพระญาติฯ กับหลวงพ่อกลั่นระยะหนึ่ง จากนั้นหลวงพ่อยอดจึงออกเดินทางต่อผ่านอำเภออุทัย อำเภอหนองแค ผ่านหมู่บ้านหนองปลาหมอ และที่หมู่บ้านนี้มีสำนักสงฆ์ร้างอยู่สำนักหนึ่ง ท่านจึงพำนักอยู่และชาวบ้านก็นิมนต์ขอให้หลวงพ่อยอดอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์แห่งนี้

หลวงพ่อยอดได้อยู่จำพรรษาและได้พัฒนาสร้างขึ้นจนเป็นวัด ในปี พ.ศ.2432 และเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ หลวงพ่อยอดเป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านชาวหนองปลาหมอ และชาวสระบุรีเคารพนับถือมาก ท่านช่วยสั่งสอนและอบรมศิษย์ให้เป็นคนดีละเว้นบาป และเมตตาต่อชาวบ้านทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะ

ต่อมาหลวงพ่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวดและเป็นพระอุปัชฌาย์ จนกระทั่งเป็นเจ้าคณะแขวงที่พระครูประสุตสังฆกิจ เมื่อปี พ.ศ.2460 หลวงพ่อยอดปกครองวัดหนองปลาหมอมาจนถึงปี พ.ศ.2486 จึงมรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 86 ปี พรรษาที่ 63

พระรูปเหมือนหลวงพ่อยอดรุ่นแรกนั้นได้สร้างหลังจากที่หลวงพ่อยอดมรณภาพแล้ว สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2487 โดย พระครูวิบูลย์คณานุสรณ์ (หลวงพ่อเฉื่อย) อดีตเจ้าอาวาส วัดสหมิตรมงคล ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อยอด จำนวนสร้างประมาณ 500 องค์ ทำพิธีปลุกเสกที่วัดสุจิต โดยมีพระเกจิอาจารย์ ชื่อดังมาร่วมปลุกเสก เช่น หลวงพ่อคง วัดพุทไธศวรรย์ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน หลวงพ่อนาค วัดหนองสีดา และหลวงพ่อเที่ยง วัดศาลาแดง เป็นต้น

รูปเหมือนหลวงพ่อยอดที่ใต้ฐานทุกองค์จะมีการบรรจุผงอัฐิของหลวงพ่อยอด แล้วอุดด้วยทองแดง

พระรูปเหมือนหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ เป็นพระที่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก ด้วยความเคารพศรัทธาในหลวงพ่อยอด นับเป็นพระรูปเหมือนที่เป็นยอดนิยมของจังหวัดสระบุรี และเป็นหนึ่งในพระเบญจฯ พระรูปเหมือนยอดนิยมของเมืองไทย

ปัจจุบันหาชมยากมาก สนนราคาก็สูง มากด้วยเช่นกันครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระรูปเหมือนหลวงพ่อยอดองค์สวยมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



เหรียญหล่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์รุ่นแรกปี พ.ศ.2460

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรของวัดนาโคก จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนมากราบไหว้และปิดทอง หรือบนบานศาลกล่าวกันทุกวัน และในทุกๆ ปี จะมีการจัดงานประจำปี ซึ่งมีผู้คนทั่วสารทิศมาร่วมงานด้วยความเลื่อมใสศรัทธาน้ำมนต์ของวัดนี้ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก มีผู้คนมาขอพรและขอน้ำมนต์กันทุกวัน

ประวัติของหลวงพ่อสัมฤทธิ์นี้ มีตำนานกล่าวไว้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ชาวบ้านแถบนาโคกมีอาชีพทำนาเกลือกันเป็นส่วนใหญ่ และมีการนำเกลือไปแลกกับสินค้าอื่นๆ โดยการล่องเรือไปขายในจังหวัดต่างๆ ที่ขึ้นมาทางเหนือก็มี ต่อมาได้มีชายสองคนได้นำเกลือจากนาโคกขึ้นขายที่ทางเหนือและซื้อข้าวกลับมาขายที่นาโคก ตอนที่กำลังล่องเรือกลับ ระหว่างทางได้จอดเรือแวะพักที่พระนครศรีอยุธยา แล้วเดินเข้าไปในป่าเพื่อหาฟืนมาหุงหาอาหาร เมื่อเดินลึกเข้าไปก็พบวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์อยู่สององค์ขนาดไม่ใหญ่นัก องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย อีกองค์เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามสมุทร ทรงเทริดสมัยอยุธยา

เมื่อเห็นดังนั้นทั้งสองคนจึงเข้าไปกราบพระพุทธรูปทั้งสององค์ จากนั้นก็พากันหาฟืนต่อแล้วก็เดินกลับเรือ แต่เดินเท่าไรก็วนเวียนอยู่อย่างนั้นหาทางกลับไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในวัดร้างแห่งนั้น ทั้งสองคนจึงปรึกษากันว่าอาจจะเป็นเพราะพระพุทธรูปทั้งสององค์ก็เป็นได้ จึงเดินไปกราบที่พระพุทธรูปแล้วก็คิดว่าถ้าหากนำพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาด้วยอาจจะกลับเรือได้ หลังจากนั้นทั้งสองคนจึงได้ขอพรจากพระพุทธรูปทั้งสององค์แล้วต่างคนก็อุ้มพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาที่เรือด้วย และได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์มาประดิษฐานที่วัดนาโคก โดยท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้นได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์ไปประดิษฐานที่หอไตร จนเวลาผ่านไปหลายปี จนลืมไปว่ามีพระพุทธรูปสององค์อยู่ที่หอไตร

อยู่วันหนึ่งทางหมู่บ้านนาโคก ได้มีการแก้บนศาลเจ้าแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดนาโคก และมีการจัดมหรสพทั้งลิเก ละคร ซึ่งจัดใหญ่กว่าทุกครั้ง ทำให้สถานที่ไม่เพียงพอ เจ้าภาพจึงได้ไปขออนุญาตเข้าไปใช้พื้นที่จัดในวัดนาโคก ครั้นถึงเวลาการแสดงลิเกและละคร ได้เกิดปาฏิหาริย์คือพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ซึ่งประดิษฐานบนหอไตรได้เสด็จลงมาอยู่ข้างล่างโดยมิได้มีใครนำลงมา ต่างก็ตกตะลึงกัน และคณะลิเกและคณะละครต่างก็เกิดอาการจุกเสียดจนไม่สามารถแสดงได้ คนเฒ่าคนแก่ที่เห็นเหตุการณ์ต่างก็คิดได้ว่าพระพุทธรูปที่เสด็จลงมาคงเป็นเพราะปาฏิหาริย์ของพระพุทธรูป จึงได้บอกให้นำธูปเทียนมาบูชากล่าวขอขมาลาโทษเสีย จากนั้นคณะลิเกและละครต่างก็หายจุกเสียดเป็นอัศจรรย์

หลังจากวันนั้นชาวบ้านนาโคกและใกล้เคียงต่างก็มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ บ้างก็มาขอพร บ้างก็มาบนบานศาลกล่าว และต่างก็สมประสงค์ทุกรายไป เป็นที่โจษจันกันต่อมาในความศักดิ์สิทธิ์ และชาวบ้านก็ขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" เนื่องจากว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์และเมื่อมาขอพรแล้วจะสัมฤทธิผลทุกประการครับ

ในปี พ.ศ.2460 ได้มีการจำลองรูปพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรองค์นี้ขึ้น ด้วยการทำเป็นแบบเหรียญหล่อ ปัจจุบันหาชมได้ยากพอสมควร ชาวบ้านในแถบนั้นหากมีก็จะหวงแหนกันมากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์รุ่นแรกปี พ.ศ.2460 มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




พระกริ่ง วัดชนะสงคราม
 
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของวัดชนะสงคราม สนนราคาก็ไม่สูงและยังพอ หาเช่าได้ไม่ยากนัก แต่พิธีการสร้างและพุทธาภิเษกนั้นยอดเยี่ยมมาก เจตนาการสร้างก็ดีด้วย

วัดชนะสงครามนั้นเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมที่ชื่อวัดกลางนา และชื่อวัดตองปุ ตามลำดับ ต่อมาเมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้ากรมพระราชวังบวรสุรสีหนาท ได้ออกทำศึกสงครามกับพม่า และได้มาประชุมพลที่วัดแห่งนี้และได้รับชัยชนะกลับมาถึงสองครั้งสองครา คือครั้งสงครามเก้าทัพและสงครามท่าดินแดง หลังจากกลับจากศึกแล้วท่านจึงได้สถาปนาวัดชนะสงครามขึ้นใหม่ทั้งวัด และเมื่อเสร็จสิ้นแล้วได้ถวายเป็นราชพลีแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์จึงพระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม" อันหมายถึงการได้รับชัยชนะจากศึกสงคราม

สำหรับการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นั้นก็เนื่องมาจากประเทศไทยได้ ส่งทหารเข้ารบในสงครามอินโดจีน ทางการได้ส่งทหารอาสาเข้ารบเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามต่างๆ ก็ได้สร้างวัตถุมงคลเพื่อแจกจ่ายให้กับทหารไว้บูชาติดตัว ทางวัดชนะสงครามโดย ท่านเจ้าอาวาสพระสุเมธมุนี (ลับ) จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อแจกทหารอาสาส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเพื่อให้ประชาชนบูชาเพื่อเตรียมรับภัยสงครามที่กำลังลามมายังประเทศไทย การสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์ครั้งนี้ได้ประกอบพิธีกันในลานหน้าพระอุโบสถวัดชนะสงคราม และมีหลวงภูมินาถสนิท เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และหลวงภูมิฯ ได้บันทึกไว้ว่า รายนามพระเถระที่ลงแผ่นทองในพิธีหล่อมีดังนี้ พระสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณสุเมธมุนี (ลับ) วัดชนะฯ ท่านเจ้าคุณอ่ำ วัดวงฆ้อง ท่านเจ้าคุณพระญาณไตรโลก (ฉาย) วัดพนัญเชิง หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้

ท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลี วัดบรมธาตุกำแพงเพชร ท่านเจ้าคุณธรรม ธีรคุณ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ท่านพระครูวิจิตรธรรมบาล หลวงพ่อชม วัดประดู่ทรงธรรม หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อทัต วัดห้วยหินระยอง พระครูคณานุยุตวิจิตร พัทลุง หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ ท่านพระครูปลัดมา วัดเลียบ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อบุญชู วัดโปรดเกษ ท่านเจ้าคุณชิต วัดมหาธาตุเพชรบุรี หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้

หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน หลวงพ่อดาบเพชร วัดชนะฯ หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ หลวงพ่อใย วัดระนาม พระอาจารย์พูน วัดหัวลำโพง พระอาจารย์สา วัดเทพธิดาราม พระอาจารย์ปลั่ง วัดราชนัดดา พระอาจารย์ขั้ว วัดมะปรางหวาน พระอาจารย์จันทร์ วัดสำราญ พระอาจารย์นอ วัดใหม่โพธิ์เอน พระอาจารย์นวม วัดขวาง พระอาจารย์น้อย วัดศีรษะทอง ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิสมโภชน์ วัดพระเชตุพน พระอาจารย์ทองดี วัดท่าเกวียน

นอกจากนี้หลวงภูมิฯ ยังได้บันทึกไว้ว่า ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ท่านยังได้เป็นประธานในพิธีกรรมตลอดการเททอง และพุทธาภิเษก และหลวงภูมิฯ ยังได้นำชนวนมงคลจากพิธีที่วัดราชบพิตร และวัดสุทัศน์มาผสมอีกจำนวนหนึ่งด้วย จากบันทึกบอกกล่าวถึงพิธีหลอมโลหะนั้น ได้มีตะกรุดและแผ่นทองที่ไม่หลอมละลายจำนวนมาก ต้องนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมในพิธีร่วมกันเพ่งกระแสจิตจึงจะละลายลงในที่สุด

นับเป็นปรากฏการณ์อันประหลาดมหัศจรรย์อย่างยิ่ง ต่อมาในเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2484 จึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ตลอดสามวันสามคืน มีหลวงพ่อจง หลวงพ่อจาด หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อจันทร์ เป็นประธานนั่งปรกสลับ กับพระเถระรูปอื่นๆ จากทั่วประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมลงแผ่นทองมาก่อนหน้านั้นแล้ว

ครับพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของวัดชนะสงครามที่สร้างในครั้งนี้จึงเป็นพระที่น่าใช้บูชามาก ตามความเห็นของผมนะครับ เนื่องจากมีแผ่นชนวนลงอักขระจากพระคณาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้นครบถ้วนและพิธีพุทธาภิเษกก็ยอดเยี่ยมตามที่มีบันทึกของท่านหลวงภูมิฯ อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่สูงและยังพอหาบูชาได้ไม่ยากนักครับ

ผมได้นำรูปพระกริ่ง วัดชนะสงคราม ทั้งด้านหน้า ด้านหลังและก้นมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



พระนารายณ์ทรงปืน เนื้อชินเงิน ของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นโบราณสถานซึ่งสร้างมายาวนาน สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ราว พ.ศ.1500-1800 และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมดัดแปลงกันเรื่อยมา เท่าที่มีหลักฐานยืนยันก็พอทราบได้ว่า มีการบูรณะในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น ดังที่เห็นและพบศิลปะในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีหลายยุคหลายสมัย

พระปรางค์ประธานของโบราณสถานแห่งนี้ รากฐานเดิมเป็นศิลาแลง ศิลปะแบบขอมแต่ได้มีการบูรณะดัดแปลงต่อมาในยุคอยุธยา พระเครื่องที่พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้ ส่วนมากจะเป็นพระเครื่องชนิดเนื้อชินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีพบพระเนื้อสัมฤทธิ์และพระเนื้อดินเผาอยู่บ้าง พระเครื่องที่สำคัญและมีชื่อเสียงของกรุนี้ ก็มี พระร่วงยืนหลังลายผ้า เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยาน เนื้อชินเงิน พระนาคปรก พระร่วงนั่งพิมพ์ต่างๆ พระซุ้มนครโกษา และพระแผงต่างๆ มากมาย พระเครื่องโด่งดังและมีชื่อเสียงมากก็คือ พระร่วงยืนหลังลายผ้า และพระหูยาน ซึ่งเป็นพระยอดนิยม

พระเครื่องที่พบของกรุนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระศิลปะลพบุรี และทำตามแบบศาสนาพุทธมหายาน อย่างพระแผงต่างๆ จะเห็นเป็นพระสามองค์อยู่ในแผงเดียวกันนั้นก็ทำตามคติมหายานทั้งสิ้น ที่เห็นได้ชัดก็คือพระนารายณ์ทรงปืน ที่มีพระนาคปรกประทับนั่งอยู่ตรงกลางเป็นองค์ประธาน และรูปสี่กร ซึ่งเป็นรูปของพระอวโลกิเตศวร และมีรูปของสตรีอยู่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ในคติพุทธศาสนามหายาน ที่เผยแผ่เข้ามาพร้อมกับศิลปะขอมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอมซึ่งมีอิทธิพลในภูมิภาคแห่งนี้ในสมัยนั้น

พระนารายณ์ทรงปืนที่ได้ชื่อเรียกแบบนี้ ก็เรียกขานกันมานมนานแล้วตั้งแต่เริ่มมีการแตกกรุ และผู้ที่ได้พบเห็นก็นึกว่ารูปพระอวโลกิเตศวรที่มีสี่กรนั้นเป็นองค์พระนารายณ์ ในส่วนที่เห็นพระกรต่างทรงถือสิ่งของอยู่นั้น พระบางองค์ก็เห็นไม่ชัดว่าถืออะไรแน่ และเห็นเป็นรูปยาวๆ ก็นึกเอาเองว่าน่าจะเป็นคันศร ซึ่งความเป็นจริงทรงถือดอกบัวและมีก้านยาวลงมา ยิ่งซ้ำร้ายบางคนเห็นเป็นปืนยาวก็มี เลยทึกทักเรียกกันว่า พระนารายณ์ทรงปืน และเรียกกันแบบนี้มายาวนานแล้ว ก็เลยกลายมาเป็นชื่อเรียกตามกันมาว่าเป็น พระนารายณ์ทรงปืน แถมพุทธคุณของพระพิมพ์นี้ยังเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีอีก มีผู้ที่บูชาพระนารายณ์ทรงปืนแล้วถูกยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า จึงเชื่อถือกันมาแบบนี้ครับ

พระนารายณ์ทรงปืนเป็นพระเครื่องขนาดเขื่องหรือจะเรียกว่าเป็นพระแผงก็ได้ ในสมัยก่อนคนนิยมกันมาก มักจะนำมาถักลวดห้อยคอกัน พระที่พบส่วนมากจะเป็นเนื้อชินเงิน และชินตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์นั้นพบน้อยมาก นอกจากพระนารายณ์ทรงปืนจะพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีแล้วก็ยังพบที่กรุอื่นๆ ของลพบุรี และในจังหวัดอื่นๆ ก็เคยพบ ล้วนแล้วจะเป็นพระขนาดเขื่องและมีรูปแบบคล้ายๆ กัน จึงเรียกตามๆ กันว่า พระนารายณ์ทรงปืนเช่นกัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนารายณ์ทรงปืน เนื้อชินเงิน ของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 ธันวาคม 2559 20:08:08 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #41 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2559 20:04:30 »


เหรียญปั๊มหูเชื่อม หลวงพ่อดำ วัดตาล จ.ราชบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญเก่าแก่ของราชบุรี เหรียญหนึ่งคือหลวงพ่อคำ วัดตาล อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2459 ปัจจุบันนับว่าหาดูยากแล้วครับ และไม่ค่อยมีใครได้เขียนถึงประวัติของท่านนัก วันนี้ก็เลยเก็บมาเล่าสู่กันฟังครับ

หลวงพ่อดำ ท่านเกิดวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีขาล ตรงกับปี พ.ศ.2385 ที่บ้านคลองบางป่าใต้ ราชบุรี โยมบิดาชื่อปลิก โยมมารดาชื่อ เหม เมื่อเด็กท่านเป็นคนผิวดำ มารดาจึงเรียกท่านว่า "ดำ" ท่านเป็นคนนิสัยใจคอกล้าหาญมาแต่เด็กๆ พออายุสมควรเล่าเรียน บิดาจึงนำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอมที่สำนักตาล เนื่องจากพระอาจารย์เล็กเป็นญาติทางบิดาของท่าน พระอาจารย์เล็กผู้นี้เป็นครูที่ดุมาก กวดขันนักเรียนจนเป็นที่เกรงกลัวแก่เด็กๆ หลวงพ่อดำเวลาท่านท่องหนังสือแล้วกลัวว่าจะง่วงเผลอหลับท่านจะเอาทะนานลื่นๆ มาหนุนหัวท่องหนังสือ เพราะเวลาง่วงก็จะลื่นกระทบกับกระดาน หลวงพ่อดำได้อุตสาหะเล่าเรียนด้วยความขยัน ทำให้พระอาจารย์เล็กเกิดเมตตาจิตถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ จนท่านมีความรู้แตกฉาน

พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตาล และศึกษาพระธรรมวินัยจนอายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่วัดตาลนั่นเอง โดยมีพระครูอภัยมงคล (แดง) วัดจันทคาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ทอง กับพระอาจารย์เล็กเป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า "อินทสโร" บวชแล้วก็ได้อยู่ศึกษาพระธรรมวิจัยที่วัดตาล ต่อมาจึงได้ออกธุดงค์และไปปริวาสธุดงค์กับพระอาจารย์อ้น วัดบางจาก อัมพวา ท่านได้ออกธุดงค์ไปทั่วประเทศ ฝึกพลังจิตจนกล้าแข็ง ได้พบพระอาจารย์เก่งๆ ในป่าลึก และได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มากมาย

นอกจากนี้ท่านยังเสาะหาตำราเก่าๆ เอามาศึกษาฝึกฝนด้วยตัวเอง ในระหว่างที่ท่านได้ธุดงค์ไปนั้น ไปถึงไหนก็ได้ช่วยชาวบ้านชาววัดที่ท่านผ่านไป ก่อสร้างวัดต่างๆ ณ ที่นั้น จนท่านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป พอพรรษาที่ 8 เจ้าอาวาสวัดตาลว่างลง ทายกทายิกาและทางคณะสงฆ์เห็นควรนิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดตาล ซึ่งขณะนั้นวัดได้ทรุดโทรมลงไปมาก ท่านจึงรับนิมนต์และได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอย่างสุดความสามารถจนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ใครเห็นท่านทำอะไรก็เลื่อมใสศรัทธามาร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพราะท่านช่วยเหลือใครก็ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นกันเองแก่ทุกคน ท่านคิดจะทำอะไรก็เป็นสำเร็จได้ทุกเรื่อง

เรื่องเครื่องรางของขลัง ใครมาขอท่านก็ทำแจกให้ไป เครื่องรางของท่านโด่งดังมากมีคนมาขออยู่เป็นประจำ พออายุได้ 40 ปี ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าคณะตำบลตามลำดับ ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย คนทางหัวเมืองใกล้เคียง เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ต่างก็มาเรียนวิชาจากท่านเสมอ ตะกรุดมหาอุตม์ของท่านโด่งดังมาก

เคยมีนายชม นักเลงโตแม่น้ำอ้อม มีฉายาว่าขุนช้าง เนื่องจากหัวล้านและมีเงินทองมาก ได้ตะกรุดไปจากท่าน เอาพกติดตัวอยู่เสมอ เคยถูกลอบยิงหลายครั้งไม่เป็นอะไร ต่อมามีสมัครพรรคพวกมากขึ้น ก็เปิดบ่อนพนัน ทำตัวเป็นผู้กว้างขวางแถบนั้น เมื่อหลวงกล้ากลางสมร มือปราบย้ายจากจังหวัดสมุทรสงคราม หลวงกล้าฯ ก็ได้มาเตือนนายชมให้เลิกเสีย แต่นายชมถือดีว่ามีสมัครพรรคพวกมาก เลยตอบไปว่า แน่จริงก็เข้ามาจับได้เลย หลวงกล้าจึงวางแผนเข้าจับกุม แต่ชัยภูมิบ้านของนายชมคับขันมาก มีทางเข้าแต่ทางเรือเท่านั้น หลวงกล้าฯ จึงให้ตำรวจฝังตัวอยู่ในเลนครึ่งตัวล้อมจับไว้ถึง 7 ช.ม. พวกลูกน้องนายชมก็หนีหายล้มตายไปหมดเหลือแต่นายชมเพียงคนเดียว ตำรวจได้ระดมยิงไปที่นายชมหลายนัด พอยิงไปตรงตัวก็ยิงไม่ออก ยิงไปทางอื่นลูกออก จนนายชมลูกปืนหมดจึงถูกจับได้ หลวงกล้าฯ ค้นดูในตัวมีเพียงตะกรุดของหลวงพ่อดำเพียงดอกเดียว ตอนนายชมถูกจับตัวได้นั้น พอตำรวจเผลอนายชมได้กินยาตาย ไม่ยอมให้ถูกดำเนินคดี

หลวงพ่อดำท่านได้เคยออกเหรียญรูปท่านเป็นเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปหัวใจ มีรูปหลวงพ่อดำนั่งเต็มองค์ ระบุปี พ.ศ.2459 ด้านหลังมีอักขระขอม อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ติ หัง จะ โต โล ทิ นัง พุท ธัง สัง มิ อินทสโร นะ ปะ ตะ กะ สะ มีคนเข้าไปขอแจกกันมาก จนเหรียญหล่อหมด จึงได้สร้างเหรียญปั๊มหูเชื่อมเนื้อทองแดงเพิ่มเติม เพราะเหรียญหล่อไม่พอแจก

หลวงพ่อดำท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2466 สิริอายุได้ 81 ปี เหรียญของหลวงพ่อดำมีพุทธคุณทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ปัจจุบันนับว่าหาชมได้ยากมาก เนื่องจากเป็นเหรียญที่มีอายุความเก่ามากครับ วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญปั๊มหูเชื่อม หลวงพ่อดำ วัดตาลมาให้ชมกันครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถ พระนครศรีอยุธยา

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่ ต.สามไถ อ.นครหลวง ก็มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าองค์หนึ่งที่อยากจะพูดถึงในวันนี้ ท่านก็คือหลวงปู่รอด วัดสามไถ ซึ่งชาวบ้านในแถบนั้นเคารพนับถือท่านมาก และท่านก็ได้สร้างเหรียญหล่อไว้ ปัจจุบันหาได้ยากมากพอสมควรครับ

ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากสักหน่อย หลวงปู่รอดท่านเป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดา ชื่อแม่เฒ่ากา เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบโยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร หลวงปู่รอดท่านเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา ท่านจึงได้กราบลาพระอธิการแดง ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน

เมื่ออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปี พ.ศ.2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปี พ.ศ.2429 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่รอดท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่านให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของพระภิกษุภายในวัดต้องมาปลงอาบัติกับท่าน ทุกๆ เช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดี จะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรมและจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้ และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลกนาถ (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมา กราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา

ในปี พ.ศ.2467 หลวงปู่รอดท่านได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดท่านจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอมละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมดหลวงปู่ได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืนที่ในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75

เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถนี้ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากครับ พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมกันตามเคยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งเจ้าฟ้า หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร

วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองชุมพรมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ได้รกร้างมาเป็นเวลาเนิ่นนาน จนเมื่อ หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร รับนิมนต์มาจำพรรษา จากวัดร้างจึงได้รับการบุกเบิกและพัฒนาจนเป็น "วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย" เจริญรุ่งเรือง

หลวงปู่สงฆ์เคยกล่าวถึงที่มาของชื่อ "วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย" ว่า ในอดีตเป็นวัดที่มีเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเคยมาบวชเป็นเจ้าอาวาสอยู่ จึงขึ้นต้นชื่อวัดว่า "เจ้าฟ้า" เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าวัดเดิม ส่วน "ศาลาลอย" ตั้งตามชื่อของหมู่บ้านศาลาลอย

นอกจากนี้ หลวงปู่มักพูดเสมอว่า "เจ้าวัดที่นี่ไม่ใช่เรา แต่เป็นปู่เจ้าฟ้า" ดังนั้น ทุกครั้งที่มีการบวชนาค จะต้องนำ "นาค" ไปฝากตัวกับปู่เจ้าฟ้าก่อน จนเป็นประเพณีสืบมาถึงปัจจุบัน

หลวงปู่สงฆ์เป็นชาวชุมพรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ปีขาล พ.ศ.2433 ที่ ต.วิสัยเหนือ อ.สวี จ.ชุมพร

เมื่ออายุ 18 ปี ได้บวชสามเณรที่วัดสวี ศึกษาด้านพระธรรมวินัย พระปริยัติ และอักษรขอม เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทที่วัดวิสัยเหนือ โดยมีหลวงพ่อชื่น วัดแหลมปอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "จันทสโร"

จำพรรษาที่วัดวิสัยเหนือระยะหนึ่ง จึงเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดควน ต.วิสัยเหนือ เพื่อศึกษาทางด้านกรรมฐานและวิทยาคมอยู่ 1 พรรษา จากนั้นเริ่มออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อฝึกกรรมฐานวิปัสสนาและแสวงหาพระอาจารย์ผู้แก่กล้าศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม เมื่อมาถึงจังหวัดภูเก็ต ท่านได้พบพระอาจารย์รอด วัดโต๊ะแซ หรือ ตอแซ พระเกจิชื่อดังในยุคนั้น จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมต่างๆ อยู่ 2 พรรษา

หลวงปู่สงฆ์เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน รวมทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลาย เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งเคยมี "กวาง" ตัวหนึ่งหลงเข้ามาในวัด ท่านก็ให้ผลไม้และอาหารกิน และผูกเศษจีวรสีเหลืองไว้ที่คอกวาง เจ้ากวางอยู่ที่วัดได้ปีหนึ่งก็กลับเข้าป่าไป บางทีก็กลับมาหาหลวงปู่ที่วัด และอยู่สองสามวันก็กลับเข้าป่าไปอีก โดยในช่วงที่เจ้ากวางอาศัยอยู่ในป่านั้น สามารถรอดพ้นจากการไล่ล่าได้ทุกครั้ง

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ร่ำลือกันว่า หลวงปู่ท่านมีวาจาสิทธิ์ยิ่งนัก

มรณภาพเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2526 สิริอายุ 94 ปี 3 เดือน 2 วัน แต่สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อยเป็นที่อัศจรรย์นัก และปัจจุบันยังคงบรรจุโลงประดิษฐานบนศาลาธรรมสังเวช

วัตถุมงคลของท่านมีหลายรุ่นหลายแบบด้วยกัน ทั้งที่ท่านทำเองและอนุญาตให้ลูกศิษย์จัดสร้าง ไม่ว่าจะเป็น พระเครื่อง, เหรียญรูปเหมือน, เครื่องราง, ลูกอม, ยาฉุน ฯลฯ ซึ่งผู้สักการะต่างประสบพุทธานุภาพมากมายเป็นที่ปรากฏ

วัตถุมงคลเด่นๆ มีอาทิ เหรียญรุ่นแรก ที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา วัดหาดแก้ว ปี 2502, รูปเหมือนลอยองค์ เนื้อดินชุบรัก ปี 2505, พระหล่อรูปเหมือนขนาดบูชา, พระหล่อรูปเหมือนปั๊ม ปี 2508, พระรูปเหมือนปั๊ม ก้นอุดยาฉุน ปี 2509, พระหล่อรูปเหมือนปั๊มอักษรนูน ปี 2509, พระหล่อรูปเหมือนปั๊ม ปี 2510, พระกริ่งเจ้าฟ้า ปี 2519 และ พระปิดตารุ่นแรก เนื้อนวโลหะ ปี 2519 เป็นต้น

กล่าวถึง "พระกริ่งเจ้าฟ้า หลวงปู่สงฆ์ ปี 2519" นั้น คณะศิษย์ได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้น เพื่อแจกแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญจัดสร้าง "ฌาปนสถาน วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย" โดยหลวงพ่อสงฆ์เมตตาตั้งนามมงคลให้ ออกแบบและแกะพิมพ์โดยช่างฝีมือชั้นครู อ.เกษม มงคลเจริญ ซึ่งได้นำ "พระกริ่งชินบัญชร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง" มาเป็นต้นแบบ และได้นำชนวนก้านช่อของพระกริ่งพระชัยเมื่อปี 2517 มาเป็นส่วนหนึ่งของมวลสารในการจัดสร้าง โดยสร้างเป็นเนื้อนวโลหะครบสูตร และหลวงปู่เมตตาปลุกเสกให้เมื่อวันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ.2519 ประการสำคัญ คือ นับเป็นพระกริ่งรุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงปู่สงฆ์อีกด้วย

พระกริ่งเจ้าฟ้า หลวงปู่สงฆ์ ปี 2519 มีเพียงพิมพ์เดียว จำนวนจัดสร้างทั้งสิ้น 999 องค์เท่านั้น แบ่งเป็นก้นทองคำ 8 องค์ ก้นเงิน 12 องค์ และก้นทองแดง อักษร "นะ" 979 องค์ ทุกองค์มีการตอกโค้ดอย่างชัดเจน นับเป็นหนึ่งในยอดวัตถุมงคลแดนใต้ที่ ณ ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากนัก เพราะจำนวนสร้างน้อยมาก

อีกทั้งสนนราคาก็ขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ ครับผม

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์



พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณสูง และเริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้างโดย พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีน ในราวปี พ.ศ.2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงคราม และให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชา

ต่อมาในปี พ.ศ.2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้ จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีนขึ้น ในตอนแรกมีกำหนดการให้ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก แต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททอง ให้มาทำพิธีที่วัดสุทัศน์แทน เนื่องจากในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลก ไม่สะดวกในการเดินทางและทำพิธี จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่มายังวัดสุทัศน์แทน

กำหนดการทำพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพทรงเป็นประธาน และท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินงาน ทำพิธี ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย และได้มอบหมายให้ช่างอีกหลายโรงงานรับช่วงไปดำเนินการต่อจนเสร็จ ชนวนมวลสารที่ใช้หล่อนั้นประกอบด้วย ชนวนโลหะของวัดสุทัศน์ แผ่นจารจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศ รวมทั้งโลหะทองเหลืองที่ประชาชนนำมาบริจาคให้

หลังจากนั้นเมื่อหล่อพระเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำพระทั้งหมดมามอบให้กับทางพุทธสมาคมฯ เพื่อตอกโค้ด เป็นรูปธรรมจักรและรูปอกเลา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก พระส่วนใหญ่ได้ตอกโค้ดจนครบ แต่ได้มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด เนื่องจากโค้ดชำรุดเสียก่อน และได้นำพระทั้งหมดเข้าทำพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดสุทัศน์

พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินราช อินโดจีน เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่มาก เนื่องจากในครั้งนั้นมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาเข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง จำนวนถึง 108 รูป พระคณาจารย์ที่เข้าร่วมในพิธีจะขอยกตัวอย่างเพียงคร่าวๆ คือ สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ วัดสุทัศน์ หลวงปู่นาค วัดอรุณฯ กทม. หลวงพ่อนวม วัดอนงค์ กทม. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ กทม. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพฯ กทม. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร กทม. หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กทม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสโส อ้วน วัดบรมฯ กทม. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ หลวงพ่อภักตร์ วัดบึงทองหลาง กทม. หลวงพ่อเหมือน วัดโรงหีบ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง หลวงปู่จันทน์ วัดบ้านยาง หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่ออั๋น วัดพระญาติ หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก เป็นต้น

หลังจากเสร็จพิธีแล้วจึงนำออกมาแจกจ่ายให้แก่ทหารหาญที่ไปราชการสงคราม และประชาชนที่ได้สั่งจองไว้ พร้อมทั้งนำเอาไปถวายไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก อีกจำนวนหนึ่ง ในส่วนที่แจกจ่ายไปนี้ทั้งหมดเป็นพระที่ตอกโค้ดแล้วทั้งสิ้น พระส่วนที่เหลือทั้งที่ตอกโค้ดและไม่ได้ตอกโค้ดทางพุทธสมาคมฯ ได้เก็บรักษาไว้ จนในปี พ.ศ.2516 จึงเปิดให้ประชาชนได้มีโอกาสได้เช่าบูชาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้มีทั้งพระที่ตอกโค้ดและพระที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด

พระพุทธชินราชอินโดจีนสามารถแบ่งออกมาเป็นหมวดพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ 3 หมวดพิมพ์ คือ พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น และพิมพ์ต้อ แต่ละหมวดพิมพ์นั้นก็ยังแยกออกได้อีกหลายแม่พิมพ์ครับ

พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน เป็นพระที่มีประสบการณ์มากมาย ปัจจุบันก็ยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์สังฆาฏิยาว พร้อมทั้งโค้ดมาให้ชมกันด้วยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์



พระพุทธชินราช ของหลวงพ่อโม วัดสามจีน

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน สมัยก่อนนั้นในกรุงเทพฯ ยังมีก๊กนักเลงใหญ่อยู่ 2 ก๊ก คือก๊กลั่กกั๊ก กับก๊กเก้ายอด ฝ่ายลั่กกั๊กมักสักสัญลักษณ์เป็นรูปมังกร ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเชื้อสายจีนในเยาวราช และเป็นศิษย์สายวัดสามจีน (วัดไตรมิตรฯ) ส่วนก๊กเก้ายอดจะสักเก้ายอด เป็นศิษย์ของหลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวา ทั้งสองก๊กจะไม่ค่อยถูกกัน และมีเรื่องตีรันฟันแทงกันบ่อยครั้ง แต่ทั้งสองฝ่ายอย่างเก่งก็แค่ฟกช้ำดำเขียวเท่านั้น ไม่มีบาดเจ็บถึงเลือดตกยางออก เนื่องจากอยู่ยงคงกระพันทั้งสองฝ่าย

ฝ่ายศิษย์วัดสามจีนจะเป็นศิษย์ของหลวงพ่อโม (พระครูวิริยะกิจการี) ผู้ซึ่งสร้างพระพุทธชินราช เนื้อชิน หลวงพ่อโม เกิดในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นคนละแวกวัดสามจีน ศึกษาอักษรสมัยที่สำนักวัดสามจีน ต่อมาได้อุปสมบทที่วัดสามจีน โดยมีพระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) วัดปทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ วัดหัวลำโพง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์แย้ม วัดสามจีน เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ธมฺมสโร" เมื่ออุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดสามจีน ศึกษาพระปริยัติธรรม และวิปัสสนากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์ ทั้งไปศึกษาในสำนัก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (มา) วัดสามปลื้ม รวมทั้งวิทยาคมและวิชาแพทย์แผนโบราณจนมีความเชี่ยวชาญ

ขณะที่หลวงพ่อโมดำรงตำแหน่งพระครูใบฎีกา ฐานานุกรมในพระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) นั้น ต่อมาเจ้าคุณเปลี่ยน ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าคณะเมืองพิษณุโลก ท่านจึงติดตามพระอุปัชฌาย์ ขึ้นไปจำพรรษาอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก จนกระทั่งเจ้าคุณเปลี่ยนได้ย้ายกลับมาจำพรรษาที่วัดปทุมคงคา หลวงพ่อโมจึงย้ายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจีนตามเดิม จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวิริยะกิจการี เจ้าอาวาสวัดสามจีน

หลวงพ่อโมนอกจากเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยแล้ว ยังเป็นผู้ทรงอภิญญาสูงมาก ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2450 จึงได้สร้างพระเครื่องเป็นรูปพระพุทธชินราช โดยสร้างเป็นเนื้อชิน และแจกจ่ายให้แก่ศิษย์ ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับแจกไปนั้น มีประสบการณ์เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดเรียกว่าแมลงวันไม่ได้กินเลือด เป็นที่ร่ำลือกันมาก

ในปัจจุบันพระพุทธชินราชของหลวงพ่อโม สนนราคายังไม่สูงมาก แต่ก็มีของปลอมเลียนแบบ เนื่องมีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่สมัยก่อนใครๆ ก็อยากได้ไว้บูชา จึงมีการทำปลอมกันมานานแล้ว แต่ของปลอมจะถอดแบบออกมาจึงทำให้ขาดความคมชัดของแม่พิมพ์ พระแท้ๆ นั้น จะคมชัดทุกองค์ บางองค์มีจารอุณาโลม วงกลมเลข 0 และพระจันทร์เสี้ยวที่ ด้านหลัง

พระพุทธชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน เป็นพระที่ยอดเยี่ยมในด้านพุทธคุณ สนนราคาก็ไม่สูงน่าหาไว้ห้อยบูชา

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพุทธชินราช ของหลวงพ่อโม วัดสามจีน มาให้ชมด้วยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์




พระกริ่งบดินทร์ พิมพ์ฐานสูง วัดชัยชนะสงคราม กทม.

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดชัยชนะสงคราม กทม. หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดตึก วัดนี้อยู่ใกล้ๆ คลองถม เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ราวปี พ.ศ.2391 และที่วัดแห่งนี้ได้มีการสร้างพระกริ่งขึ้น เรียกว่า "พระกริ่งบดินทร์"

วัดชัยชนะสงคราม (วัดตึก) ที่ตั้งเดิมเป็นบ้านของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ต้นสกุล สิงหเสนี สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสมัยนั้น หลังจากเป็นแม่ทัพไปรบกับญวนและเขมรมีชัยกลับมาแล้ว ท่านเกิดศรัทธาแรงกล้าประสงค์ที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญสถาพรสืบไป จึงยกบ้านของท่านถวายสร้างเป็นวัด โดยสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ เพิ่มเติมจนสมบูรณ์ แล้วให้นามว่า "วัดชัยชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการศึกครั้งนั้น วัดชัยชนะสงครามเป็นวัดราษฎร์อยู่จนถึงปี พ.ศ.2421 ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

ด้วยเหตุที่เรือนเดิมของท่านเป็นอาคารตึก ชาวบ้านทั่วไปจึงพากันเรียกจนติดปากว่า "วัดตึก" มาจนทุกวันนี้ หลังจากนั้นท่านก็ได้อุปถัมภ์บำรุงวัดนี้เรื่อยมาจนถึงอสัญกรรม และผู้สืบสกุลก็รับช่วงทำนุบำรุงต่อมาจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2503 พระครูชัยโศภณ เจ้าอาวาส เห็นว่าพระอุโบสถเดิมสร้างมา 111 ปีแล้ว วัสดุก่อสร้างเริ่มเสื่อมคุณภาพชำรุดทรุดโทรมลงเป็นลำดับ ยากแก่การจะบูรณปฏิสังขรณ์ ทั้งมีส่วนที่คับแคบไม่เหมาะแก่การประกอบสังฆกรรมและบำเพ็ญศาสนกิจ จึงได้ปรึกษาคุณหญิงเจือ นครเสนี (สิงหเสนี) และคุณหญิงมีความปีติและศรัทธาแรงกล้า ที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาและเชิดชูเกียรติประวัติแห่งท่านผู้เป็นต้นสกุล จึงได้ถวายปวารณาอุทิศเงินจำนวน 300,000 บาท สำหรับเป็นทุนประเดิมในการก่อสร้างและขยายอุโบสถใหม่

ในส่วนของพระประธานองค์เดิมมีขนาดเล็ก หม่อมสวัสดิวัตน์ได้บริจาคเงิน 35,000 บาท ให้เป็นทุนร่วมกับคณะกรรมการ และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้จัดการหล่อขึ้นใหม่ และประกอบพิธีหล่อขึ้นเมื่อวันที่ 13-14 ธันวาคม พ.ศ.2502 คณะกรรมการได้ถวายพระนามว่า "พระพุทธชัยสงห์มุนีนทร์ธรรมบดินทร์โลกนารถเทวนรชาติอภิปูชนีย์" และได้อัญเชิญประดิษฐานไว้บนแท่น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ปิดทองในคราวนั้นด้วย

ในคราวเททองหล่อพระประธาน ทางคณะกรรมการได้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นแบบพระกริ่งขึ้นเรียกว่า "พระกริ่งบดินทร์" เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ทำบุญในการสร้างพระอุโบสถและหล่อพระประธาน จำนวนการสร้างประมาณ 2,000 องค์ แบ่งออกได้เป็นพิมพ์ฐานสูงและพิมพ์เตี้ย พิธีพุทธาภิเษกคราวเดียวกับการเททองพระประธาน โดยนิมนต์พระเถระและพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมร่วมปลุกเสกหลายรูป เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่) วัดสระเกศ พระธรรมวโรดม (ปุ่น) วัดพระเชตุพนฯ พระเทพสิทธินายก (นาค) วัดระฆังฯ พระครูทักษิณานุกิจ (เงิน) วัดดอนยายหอม พระครูวรเวทย์มุนี (เมี้ยน) วัดพระเชตุพนฯ พระครูวินัยธร (เฟื้อง) วัดสัมพันธวงศ์ พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส และพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน เป็นต้น

พระกริ่งบดินทร์ มีประสบการณ์มาก ชาวบ้านแถบวัดตึกทราบดี ครั้งหนึ่งเมื่อตอนที่พระกริ่งบดินทร์ออกใหม่ๆ ตำรวจจราจรตรงสี่แยกวัดตึกถูกรถบรรทุก 6 ล้อเบรกแตกชน จนกระเด็นกลิ้งฟาดพื้นจนสลบ แต่ตำรวจท่านนั้นกลับไม่บาดเจ็บเลย เพียงเสื้อกางเกงขาด สอบถามได้ความว่า ห้อยพระกริ่งบดินทร์เพียงองค์เดียว ปรากฏว่าชาวบ้านแถวนั้นเที่ยวหาพระกริ่งบดินทร์กันเป็นแถว

พระกริ่งบดินทร์ปัจจุบันสนนราคายังไม่สูงครับ อยู่ที่หลักพัน อาจจะเป็นเพราะไม่ค่อยมีผู้รู้ประวัตินักก็เป็นได้ครับ แต่ก็ใช่ว่าจะหาง่ายนะครับ ของปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้ว

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งบดินทร์ พิมพ์ฐานสูงมาให้ชมกันด้วยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์




พระกริ่งเชียงตุง กระแสเนื้อแดง  

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่ง วัดสุทัศน์ ที่สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นที่นิยมสะสมของผู้นิยมพระเครื่องทุกรุ่น และมีอยู่รุ่นหนึ่งที่เรียกกันว่าพระกริ่งเชียงตุง ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2486 และเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายขององค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) นับว่าเป็นพระกริ่งรุ่นหนึ่งที่หายากมากเช่นกันครับ

พระกริ่งเชียงตุงนั้นสร้างขึ้นมา เนื่องในโอกาสที่คณะสงฆ์ของไทยกำลังจะเดินทางไปเผยแผ่ศาสนา ณ สาธารณรัฐเชียงตุง ในปี พ.ศ.2486 สมเด็จพระสังฆราช (แพ) จึงดำริที่จะสร้างขึ้นเพื่อแจกให้เป็นขวัญกำลังใจแก่คณะสงฆ์ในชุดนี้ โดยใช้แบบพิมพ์พระกริ่งใหญ่ ซึ่งในช่วงนั้นภรรยาของท่านพระยาศุภกรได้พบแม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่ของพระยาศุภกร ซึ่งท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว จึงนำแม่พิมพ์มาถวายให้แก่องค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ได้ดูแม่พิมพ์แล้ว ทรงกล่าวว่าเป็นแม่พิมพ์ที่สวยสมบูรณ์ จึงได้รับสั่งให้ช่างใช้แม่พิมพ์นี้เทหล่อพระกริ่งเชียงตุงในปีนั้นเลย

พระกริ่งเชียงตุง เนื้อโลหะใช้ชนวนบนตำหนักสมเด็จฯ กับเนื้อชนวนพระกริ่งรุ่นปี พ.ศ.2482 และได้นำโลหะที่ลงพระยันต์ 108 นะ ปถมัง 14 นะ กับแผ่นทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราช ของพุทธสมาคมผสมด้วย กระแสเนื้อมีอยู่กันสองกระแส คือกระแสเนื้อออกสีนากอ่อน แล้วกลับเป็นสีน้ำตาล และกระแสเนื้อออกสีเหลืองแกมขาว แล้วกลับเป็นสีเหลืองแกมเขียว จำนวนทั้งสิ้น ประมาณ 108 องค์ พระกริ่งรุ่นนี้เป็นการเทหล่อแบบกริ่งในตัว และบางองค์ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ตอกโค้ดไว้ที่ใต้ข้อศอกขวาด้านหลังขององค์

พระกริ่งที่มีกระแสเนื้อออกสีนากอ่อนหรือแดงนั้น มีจำนวนน้อย เข้าใจว่าจะเป็นพระที่เทในเบ้าแรก ส่วนกระแสเนื้อที่ออกสีเหลืองจะมีจำนวนมากกว่า ช่างที่ตกแต่งพระกริ่งเชียงตุงมีทั้งช่างชม และช่างฮั้ว มีพระบางองค์ที่ผู้ได้รับไปแล้วนำมาให้ อาจารย์หนู (นิรันตร์ แดงวิจิตร) ตกแต่งเพิ่มเติมภายหลัง และองค์ที่นำไปให้อาจารย์หนูท่านแต่งให้ ท่านก็จะตอกเลขไทย ๘๖ ที่ใต้ฐาน ซึ่งหมายถึงปีที่สร้างพระ

พระกริ่งเชียงตุงเป็นพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่งที่ผู้นิยมพระเครื่องนิยมกันมาก ซึ่งพระกริ่งรุ่นนี้ถือเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายของสมเด็จ พระสังฆราช (แพ) และเป็นพระกริ่งที่สร้างเพื่อมอบให้แก่คณะสงฆ์ไทยที่ไปเผยแผ่พระศาสนาที่เมืองเชียงตุง จึงนิยมเรียกพระกริ่งรุ่นนี้ว่า "พระกริ่งเชียงตุง" กันจนถึงทุกวันนี้ครับ

ในปัจจุบันพระกริ่งเชียงตุงหายากมากพอสมควร และมีราคาสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีการทำมานานแล้ว เวลาจะเช่าก็ต้องพิจารณาให้ดี ควรสอบถามจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านนี้ก่อนเช่าหาครับ

ครับและก็ไม่ลืมที่จะนำรูปพระกริ่งเชียงตุง กระแสเนื้อแดง มาให้ชมกันด้วยครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์ - ข่าวสดออนไลน์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 ธันวาคม 2559 20:06:24 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 10.0 MS Internet Explorer 10.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #42 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2559 14:53:53 »


ยอดเหรียญดังรุ่นเดียว หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี

พระเกจิอาจารย์ชื่อดังสมัยสงคราม อินโดจีนต่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกหนึ่งรูปที่เป็นที่กล่าวขวัญและเคารพศรัทธาสืบมาจนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือ หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี

เป็นชาวลพบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2395 ที่บ้านบางพุทโธ ต.ตลุง อ.เมือง จ.ลพบุรี

ด้วยความมีใจนักเลง ถึงไหนถึงกัน เป็นเหตุให้เกิดมีเรื่องราวกับคู่อริถึงขนาดทำร้ายกันจนถึงชีวิต จนต้องหลบหนีอาญาจากบ้านเมืองไป ระหว่างนั้นเอง ได้มีโอกาสร่ำเรียนวิทยาอาคมจากพระเกจิอาจารย์และฆราวาสผู้ทรงพุทธาคมสูงส่งมากมาย หากแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นท่านใดบ้าง เมื่อพ้นอายุความคดีฆ่าคนตายในช่วงวัยกลางคน จึงหวนสู่ภูมิลำเนา ณ บางพุทโธ และตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ วัดบัว โดยมี พระสังฆภารวาหมุนี (หลวงพ่อเนียม) วัดเสาธงทอง พระเกจิชื่อดังยุคนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "จันทโชติ"

ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ วัดบัว ได้สังเกตว่า "วัดนางหนู" วัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามนั้น มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากจนเกือบจะเป็นวัดร้างและไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาอยู่เลย ท่านจึงขอย้ายไปจำพรรษาที่วัดนางหนู บูรณปฏิสังขรณ์ ตลอดจนสร้างเสนาสนะต่างๆ เมื่อชาวบ้านได้เห็นถึงความมุ่งมั่นก็เริ่มศรัทธามาร่วมแรงร่วมใจกัน จน "วัดนางหนู" มีความถาวรเป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรือง ต่อมาได้มีการสังคายนาชื่อวัดให้ถูกต้องตามทำเนียบสงฆ์ จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดมุกสิกกาวาส"

เพื่อตอบแทนน้ำใจญาติโยมที่สละทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ในการร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดในครั้งนั้น หลวงปู่จันทร์จึงสร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังมากมายออกมาแจกจ่าย อาทิ ตะกรุดโทน เสื้อยันต์ หรือการลงกระหม่อมให้ เป็นต้น ซึ่งผู้ได้รับไปต่างมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะด้านแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี

เล่ากันว่า เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ประมาณปี พ.ศ.2484 ทหารหน่วยต่างๆ ต่างมุ่งสู่วัดนางหนู เพื่อขอวัตถุมงคลจากหลวงปู่จันทร์เป็นจำนวนมาก พร้อมสละทรัพย์หรือปัจจัยให้นำไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เงินทำบุญนั้นมากขนาดสร้างโบสถ์หลังใหม่ได้เลยทีเดียว หลังจากนั้นไม่นาน หลวงปู่จันทร์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสดูแลปกครองวัดนางหนูสืบมา และชื่อเสียงก็โด่งดังไปทั่วภาคกลาง ในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิทยาอาคมเข้มขลัง เป็นอีกหนึ่งพระเกจิ อาจารย์ผู้เกรียงไกรในช่วงสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รับนิมนต์เข้านั่งปรกในพิธีพุทธาภิเษกสำคัญๆ ต่างๆ อาทิ พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อปี พ.ศ.2481 และพิธีปลุกเสก "พระพุทธชินราชอินโดจีน" ณ วัดสุทัศน์ เมื่อปี พ.ศ.2485

มรณภาพในปี พ.ศ.2490 รวมสิริอายุ 97 ปี

ในบรรดาวัตถุมงคลนั้น "เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ ปี 2478" ที่แจกเป็นที่ระลึกในการจัดสร้างศาลาวัดนางหนู นับเป็นเหรียญยอดนิยมที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเหรียญประจำจังหวัดลพบุรี ที่มีความต้องการและแสวงหาอย่างสูง ด้วยเป็น "เหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียว" ของท่าน

เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ รุ่นแรกและรุ่นเดียว ปี 2478 เท่าที่พบเป็นเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่กลม หูในตัว ด้านหน้ายกขอบเป็นลวดแบน ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ครึ่งองค์หน้าตรง มีอักษรไทยโดยรอบว่า "หลวงพ่อจัน อายุครบ ๘๓ ปี พระจันทะโชติ์" ด้านหลังเป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็นอักขระขอม "นะเฉลียวเพชร" ขึ้นยอดเป็นอุณาโลม แล้วล้อมด้วยอักขระขอม 3 ตัว ว่า "อิสวาสุ" โดยรอบเหรียญจารึกอักษรไทยว่า "ให้เป็นที่รฤกในงานฉลองศาลา พ.ศ.๒๔๗๘"

ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากยิ่ง สนนราคานั้น ถ้าสวยสมบูรณ์จริงๆ แตะหลักแสนแล้ว รุ่นนี้มีบล็อกหน้าพิมพ์เดียว บล็อกหลังมีถึง 3 พิมพ์ ต้องศึกษาและพิจารณาจุดตำหนิกันให้ดีๆ ก่อนตัดสินใจครับผม




เหรียญปู่พระพุทธชินสีห์ 2440

สมญานาม "เหรียญปู่" เป็นการยกย่องในความเก่าแก่ของเหรียญ และด้วยความเป็น "เหรียญพระพุทธเหรียญแรกของไทย" นอกจากนี้ พระพุทธรูปที่จำลองมาประดิษฐานยังเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองไทย ซึ่งก็คือ "พระพุทธชินสีห์" พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

พระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปสำคัญทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกับ "พระพุทธชินราช" และ "พระศาสดา" โดยพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้านครเชียงแสน เมื่อครั้งเสด็จลงมาตั้งเมืองที่พิษณุโลก ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในราวปี พ.ศ.2372 ได้อัญเชิญลงมาประดิษฐาน ณ มุขหลังของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงผนวชและครองวัดบวรฯ ทรงทูลขอพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) อัญเชิญมาประดิษฐานยังมุขหน้า หน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เป็น "พระประธาน" ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร จวบจนถึงปัจจุบัน

"เหรียญพระพุทธชินสีห์" นับเป็นพระพุทธเหรียญแรกของประเทศไทย ที่มีอายุความเก่าถึง 119 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2440 เพื่อเป็นที่ระลึกและพระราชทานในงานสมโภช "พระพุทธชินสีห์" ในโอกาสที่เสด็จกลับจากยุโรป ในการจัดสร้างครั้งนี้ ทรงสั่งผลิตเหรียญจากเมืองนอก ตัวเหรียญจึงมีความคมชัดและงดงามมาก

ความทรงคุณค่าและเป็นที่นิยมอย่างสูง ของ "เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440" นี้ สืบเนื่องจากเป็นการรวมสิ่งอันเป็นที่เคารพรักและศรัทธาสูงสุดไว้ถึง 3 สิ่ง อันได้แก่

หนึ่ง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกการสมโภช "พระพุทธชินสีห์" ที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย โดยจำลองรูปพระพุทธชินสีห์ขึ้นปรากฏอย่างเด่นชัด อีกทั้งยังเป็นการจัดสร้างเหรียญพระพุทธปฏิมากรเหรียญแรกของไทย

สอง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากยุโรป ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ได้เสด็จเยือนประเทศในทวีปยุโรป

สาม สร้างเมื่อครั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครองวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความเจริญรุ่งเรืองให้แก่พระบวรพุทธศาสนาและประเทศชาติเป็นอเนกอนันต์ เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนคนไทยทั่วทั้งประเทศ

นอกจากนี้ ผู้มีไว้สักการบูชายังมีประสบการณ์ด้านพุทธคุณล้ำเลิศครอบจักรวาลเป็นที่ปรากฏตามการอธิษฐานจิตทุกประการ

เหรียญพระพุทธชินสีห์รุ่นแรก ปี 2440 มีการจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือเนื้อทองแดงและเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง โดยสร้างเป็น 2 พิมพ์ทรง คือ "เหรียญทรงกลม" รูปใบโพธิ์อยู่ตรงกลาง และ "เหรียญรูปใบโพธิ์ ไม่มีก้าน" ขอบข้างเลื่อย ซึ่งจะไม่มีรูคล้องเหรียญ

โดยเหรียญทั้ง 2 พิมพ์นี้จะมีรายละเอียดภายในใบโพธิ์เหมือนกัน คือ พิมพ์ด้านหน้า ปรากฏลายเส้นใบของใบโพธิ์ ตรงกึ่งกลางเป็นรูปจำลอง "พระพุทธชินสีห์" ใต้ฐานจารึกอักษรไทยว่า "พระพุทธชินสีห์" ส่วนพิมพ์ด้านหลัง ปรากฏลายเส้นใบเช่นกัน ปลายใบด้านบนเป็น "อุณาโลม" ถัดลงมาเป็นข้อความภาษาไทยว่า "งารสมโภชเมื่อเสดจ กลับจากยุโรป ๒๔๔๐"

"เหรียญพระพุทธชินสีห์ ทรงกลม" มีจำนวนการจัดสร้างค่อนข้างน้อยมากๆ จึงยังไม่ค่อยปรากฏของปลอมให้เห็นเท่าใดนัก อาจเป็นเพราะไม่สามารถหาของแท้ไปถอดพิมพ์ได้ ส่วน "เหรียญรูปใบโพธิ์" ซึ่งนับเป็นพิมพ์นิยมและพบเห็นกันอยู่ค่อนข้างมากนั้น จะมีทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างมาก และมีออกมานานแล้ว แต่การสังเกตเหรียญปลอมก็ไม่ยากนัก เพราะจะไม่มีความคมชัด รูปแบบและรายละเอียดต่างๆ ไม่เรียบร้อย

อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน "เหรียญปู่" หรือ "เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440" วัดบวรนิเวศวิหาร ทั้ง 2 แบบ ยังคงมีค่านิยมที่สูงเอามากๆ ด้วยความทรงคุณค่า 3 ประการ ที่จะหาเหรียญอื่นใดเทียบเทียมได้ยากนัก แต่ต้องระวังให้จงหนัก เพราะหาของแท้ๆ ก็ยากยิ่งเช่นกันครับผม




ธัมมวิตักโกภิกขุ วัดเทพศิรินทราวาส

ท่านธัมมวิตักโกภิกขุ หรือ พระยานรรัตนราชมานิต ที่ทุกคนมักเรียกขานท่านว่า "เจ้าคุณนรฯ" เป็นปูชนียบุคคลตัวอย่างที่เป็นอุทาหรณ์ให้เห็นถึงความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ ยึดมั่นและมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่ดีที่สุด ท่านเป็นข้าราชบริพารในพระราชสำนักสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความวิริยะมานะและพากเพียร เป็น "ยอดแห่งความกตัญญู" ตั้งแต่ยังเยาว์จนเข้ารับราชการ แม้กระทั่งอุปสมบท จนที่สุดสามารถปฏิบัติธรรมสำเร็จผลสูงสุด

ได้รับการยกย่องให้เป็น "พระอรหันต์กลางกรุง" เป็นแบบอย่างของพระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ คู่ควรแก่การเคารพสักการะและกราบไหว้

เป็นบุตรคนแรกของ พระยานรราชภักดี กำเนิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2440 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับ "วันมาฆบูชา" จบการศึกษาชั้นประถมที่วัดโสมนัสฯ ระดับอุดมศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นแรก โดยได้เป็น"ที่หนึ่ง" มาโดยตลอด ทั้งที่ตัวท่านเองอยากเรียนวิชาการแพทย์ แต่บิดาซึ่งเป็นนักปกครองอยากให้เรียนวิชาการปกครองเพื่อสืบตระกูล ท่านก็สามารถทำได้ดีเป็นที่หนึ่ง

ในวัยทำงาน พระยานรรัตนราชมานิต ก็ยังได้รับการยกย่องให้เป็น "ยอดกตัญญู" กล่าวคือ เมื่อจบการศึกษาด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ท่านได้เข้าซ้อมรบในฐานะเสือป่าที่ค่ายหลวง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดยรับหน้าที่เป็นคนส่งข่าว

พระยานรรัตนราชมานิตมีความจงรักภักดีต่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ตั้งใจถวายการรับใช้ ปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณอย่างใกล้ชิด ไม่ขาดตกบกพร่องให้เป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเลยแม้แต่ครั้งเดียว จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยและพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "พระยาพานทอง" ตั้งแต่อายุเพียง 25 ปี มีพระราชทินนามว่า "นรรัตนราชมานิต" อันแปลว่า "คนดีที่มีพระเจ้าแผ่นดินทรงยกย่องนับถือ" ซึ่งนับเป็นเกียรติยศอันสูงสุดที่พึงได้รับ

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ท่านได้สละทุกสิ่งทุกอย่างอันพึงมี ออกอุปสมบทเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2468 ณ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) เป็นพระอุปัชฌาชย์ ได้รับฉายา "ธมฺมวิตกฺโก"

ครองสมเพศตลอดมาจนถึงมรณภาพเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2514 สิริอายุได้ 74 ปี พรรษา 46 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515 โดยเสด็จพระราชดำเนินทั้งสองพระองค์

ตลอดระยะเวลาที่ท่านเจ้าคุณนรฯ อยู่ในสมณเพศ 46 ปีเต็ม ท่านเป็นสมณะที่เคร่งครัดและอุดมไปด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม พร้อมสรรพด้วย "กตัญญุตาบารมี" นอกเหนือจากความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีแล้ว ไม่มีวันใดเลยที่ท่านจะว่างเว้นจากการกรวดน้ำอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 และในวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต ท่านจะงดเว้นการฉันอาหาร 1 วัน และนั่งบำเพ็ญสมาธิตลอดคืน เพื่อน้อมจิตอุทิศถวายกุศลผลบุญที่ได้ปฏิบัติมาโดยตลอด

ส่วนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระอุปัชฌาชย์ ที่ท่านมีความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งนั้น ท่านก็เพียรประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งสอนอย่างเคร่งครัดและรับใช้ใกล้ชิด เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ถึงแก่มรณภาพ ในวันที่ 8 มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันมรณภาพ ท่านจะเป็นผู้เดินส่งอัฐิที่อัญเชิญเข้าประดิษฐานในพระอุโบสถและรับเป็นเจ้าภาพเครื่องไทยธรรมเป็นประจำตลอดชีวิตเช่นกัน

วัตถุมงคลทุกชิ้นของท่านเจ้าคุณนรฯ ล้วนทรงคุณค่าทั้งด้านจิตใจและพุทธคุณอันล้ำเลิศทั้งสิ้น

เป็นที่ยอมรับยกย่องและเป็นที่นิยมสะสมสืบมาถึงปัจจุบันครับผม




เหรียญปั๊มหลวงพ่อจง พิมพ์หน้าใหญ่

"โดยทั่วไปแล้ว "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" มักจะเป็นที่นิยมที่สุด แต่ก็ไม่เสมอไปทุกกรณี เมื่อเทียบกับพุทธคุณที่ปรากฏโดดเด่น ดังเช่น "เหรียญปั๊มรูปเหมือน พิมพ์นิยมหน้าใหญ่ ปี 2485" ที่ในวงการเรียกกันว่า พิมพ์นิยม กลับเป็นเหรียญที่สร้างเป็นรุ่นที่ 2 ของ หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก"

หลวงพ่อจง พุทธสโร หนึ่งในสี่พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในอดีต ช่วงสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2 "จาด จง คง อี๋" วัตถุมงคลของท่านล้วนได้รับความนิยมอย่างสูงมาแต่อดีตสืบเนื่องถึงปัจจุบัน และยังหาดูหาเช่าของแท้ยากเอามากๆ อีกด้วย

เกิดที่ ต.หน้าไม้ อ.บางไทร จ.พระนครศรี อยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2415 ตอนเด็กค่อนข้างขี้อาย ขี้โรค เซื่องซึม หูตาฝ้าฟาง บิดามารดาจึงให้บวชเป็นสามเณรตอนอายุ 12 ปี จนเมื่ออายุครบจึงอุปสมบทที่วัดหน้าต่างใน โดยมีพระอุปัชฌาย์สุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์โพธิ์ วัดหน้าต่างใน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์อินทร์ วัดหน้าต่างนอก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "พุทธสโร" ปรากฏว่า หลังจากที่ได้เข้าสู่สมณเพศ อาการต่างๆ ที่ท่านเป็นเมื่อตอนเด็กก็หายไปจนหมดสิ้น เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง

หลังจากอุปสมบท หลวงพ่อจงไปจำพรรษาที่วัดหน้าต่างใน เพื่อศึกษาวิชาจากพระอาจารย์โพธิ์ และร่ำเรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานจาก หลวงปู่ปั้น วัดพิกุล สุดยอดพระเกจิดังในยุคนั้น ท่านสามารถศึกษาร่ำเรียนวิทยาการต่างๆ ได้อย่างเชี่ยวชาญและแตกฉาน จนกระทั่งปี พ.ศ.2450 เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกว่างลง ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ ท่านปกครองดูแลและพัฒนาวัดหน้าต่างนอกจนเจริญรุ่งเรือง และมีเมตตาธรรมสูงส่งช่วยเหลือผู้คนไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ไกล จนได้รับการขนานนามว่า "นักบุญผู้ยิ่งใหญ่ แห่งเมืองกรุงเก่า"




       หลวงพ่อจง พุทธสโร

กุฏิของท่านจะมีผู้คนแวะเวียนมากราบนมัสการมิได้ขาด ส่วนใหญ่ขอน้ำมนต์และวัตถุมงคลต่างๆ กลับไปบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล ท่านมีลูกศิษย์สืบสายพุทธาคมหลายรูป อาทิ หลวงพ่อฟ้อน วัดบ้านพาด, หลวงพ่อไปล่ วัดธรรมจริยา, หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา ฯลฯ

ท่านมรณภาพในวันมาฆบูชา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2508 สิริอายุ 93 ปี พรรษาที่ 72

หลวงพ่อจง สร้างวัตถุมงคลไว้มากมายหลายประเภท ตั้งแต่ปี พ.ศ.2483-2507 ทั้งพระเครื่อง รูปหล่อ เหรียญ ตะกรุด เสื้อยันต์ ฯลฯ ซึ่งล้วนมีประสบการณ์กล่าวขวัญ ทั้งด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และมหาลาภ งานปลุกเสกใหญ่ๆ ทุกงาน หลวงพ่อจะได้รับนิมนต์มาร่วมพิธีด้วยทุกครั้งไป แม้กระทั่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ยังต้องมีบัญชาให้ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) นิมนต์ท่านมาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลด้วยทุกครั้ง

กล่าวถึงเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อจง ปี 2485 นั้น นับเป็นเหรียญรูปเหมือน "รุ่นที่ 2" ที่ท่านสร้างเพื่อแจกแก่ข้าราชการและพลเรือนนำไปคุ้มครองป้องกันตนจากภัยสงคราม แต่ปัจจุบันกลับมีค่านิยมสูงกว่า "รุ่นที่ 1" อาจสืบเนื่องจากพุทธคุณเป็นที่ปรากฏโดดเด่น โดยจัดสร้างเป็นเนื้อทองแดง มี 2 แบบ คือ แบบปางมารวิชัยและแบบปางสมาธิ ทั้งยังแบ่งออกเป็นพิมพ์หน้าใหญ่และพิมพ์หน้าเล็ก ซึ่งพิมพ์นิยมจะเป็น "แบบปางมารวิชัย พิมพ์หน้าใหญ่"

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อจง พิมพ์หน้าใหญ่ ปี 2485 เป็นเหรียญรูปทรงเสมา หูในตัว ด้านหน้าโดยรอบตกแต่งด้วยลวดลายกนก ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจงเต็มองค์ นั่งแบบปางมารวิชัย ไม่มีอาสนะรองรับ มีอักขระขอม 5 ตัวรอบรูปเหมือน ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" อันเป็นหัวใจพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้านหลัง ตรงกลางเป็น "ยันต์สี่ทิศสี่มุม" ด้านบนเป็นอักษรไทยว่า "ที่ระลึก" ด้านล่างว่า "หลวงพ่อจง ๒๔๘๕" โดยด้านหลังแบ่งเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ พ.ศ.โค้ง และ พิมพ์ พ.ศ.ตรง

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อจง พิมพ์หน้าใหญ่ ปี 2485 นับเป็นเหรียญคณาจารย์รุ่นเก่าที่มีค่านิยมสูงมาก และมีการทำเทียมสูงมากเช่นกัน ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ก่อนตัดสินใจ จุดชี้ตำหนิ แม่พิมพ์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา คือ ปลายใบหูขวาจะมีเนื้อเกินเป็นติ่ง, มีรอยจิกที่ผนังข้างศีรษะด้านซ้าย, มีเส้นแตกบริเวณ เข่าซ้ายยาวจรดขอบ, มีเส้นแตกที่ปลายกลีบบัวด้านล่างหลายเส้น, ชายผ้าสังฆาฏิ จะมีเส้นเป็นทางๆ และจะมีเนื้อเกินเป็นติ่งที่มุมขยัก "ตัวนะ" ครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #43 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2560 17:10:33 »



พระขุนแผนใบพุทรา
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระขุนแผนส่วนมากเราก็จะนึกถึงพระขุนแผนของสุพรรณบุรีกัน แต่พระขุนแผนของอยุธยาก็มี แต่ค่อนข้างหายากและมีสนนราคาสูง เช่นพระขุนแผนเคลือบของกรุวัดใหญ่ชัยมงคล มีขุนแผนอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นพระขุนแผนของกรุวัดใหญ่ชัยมงคลเช่นกัน คือพระขุนแผนใบพุทรา ซึ่งปัจจุบันก็หายากเช่นกันครับ

วัดใหญ่ชัยมงคลเป็นวัดที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นวัด ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น และทรงพระราชทานนามใหม่จาก "วัดป่าแก้ว" มาเป็น "วัดใหญ่ชัยมงคล" และที่วัดแห่งนี้เป็นที่พำนักของ สมเด็จพระพนรัตน์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรฯ

มูลเหตุการสร้างพระเจดีย์องค์ประธานและพระเครื่องต่างๆ เนื่องจากหลังสงครามยุทธหัตถี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีเฉลิมฉลองชัยชนะในพระราชสงคราม และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารหาญผู้ที่พลีชีพในการทำสงครามปกป้องประเทศ โดยมีสมเด็จพระพนรัตน์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และพระเครื่องที่ถูกพบในองค์พระเจดีย์

เนื่องจากการบูรณะโดยกรมศิลปากร พบพระเครื่องที่สำคัญคือพระขุนแผนกระเบื้องเคลือบ ซึ่งพบเป็นจำนวนไม่มากนัก และเป็นที่นิยมในสังคมพระเครื่อง นอกจากนี้ยังพบพระขุนแผนอีกแบบหนึ่งคือ พระขุนแผนใบพุทรา ซึ่งพบทั้งพระเนื้อดินเผาและเนื้อชินเงิน และมีจำนวนมากกว่าพระขุนแผนเคลือบสังคมพระเครื่องจะนิยมพระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผามากกว่าเนื้อชินเงิน

พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผาจะมีรูปทรงกรอบนอกค่อนข้างทรงกลมมน ลักษณะคล้ายๆ ใบพุทราจึงนำมาเป็นชื่อเรียกพระชนิดนี้ พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระชานุและวางอยู่ด้านนอกของพระชานุ ที่มักเรียกกันว่า "เข่าใน" หมายถึงจะเห็นหัวเข่าอยู่ด้านในของมือที่วางพาด ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางไว้บนพระเพลา ประทับนั่งอยู่เหนือฐานกลีบบัว 2 ชั้น และมีเส้นก้านบัวที่ใต้ฐานบัว ที่พระเศียรปรากฏเส้นรัศมีอยู่รอบๆ พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผา เท่าที่พบมีทั้งเนื้อดินแบบละเอียดและแบบเนื้อดินหยาบ เนื้อพระจะมีกรวดทรายผสมอยู่ ที่ด้านหลังมักจะอูมเล็กน้อย

พระขุนแผนใบพุทรา มีพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน

ในปัจจุบันพระขุนแผนใบพุทรา โดยเฉพาะพระเนื้อดินเผาก็หายากอยู่พอสมควร ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เนื่องจากเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่สมัยโบราณครับ

สำหรับรูปพระขุนแผนใบพุทรา ที่ผมนำมาให้ชม นำมาจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยครับ




พระคง กรุวัดพระคง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องของชื่อพระเครื่องนั้นสำคัญไฉน ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงชื่อพระเครื่อง ในอดีตเป็นชื่อใหม่กันอยู่พอสมควร มีพระสกุลลำพูนอยู่อย่างหนึ่งคือ "พระบางกรุวัดพระคง" ปัจจุบันก็เรียกกันว่า "พระคงทรงพระบาง" ผมคนรุ่นเก่าก็งงอยู่พักใหญ่ ต่อมาเห็นองค์พระจึงเข้าใจว่า อ้อเขามาตั้งชื่อกันใหม่ ไปถามเซียนบางท่าน ก็อธิบายเสียยืดยาวว่า ชื่อนี้แหละเขาเรียกกันมานมนานแล้ว ผมเองก็งงต่อ เพราะอาจารย์ตรีฯ ท่านเขียนเรื่องพระสกุลลำพูน และพิมพ์เป็นเล่มในปีพ.ศ.2503 ก็เรียกชื่อว่า "พระบาง" ต่อด้วยกรุวัดพระคง เอ้าก็ว่ากันไป เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจก็แล้วกัน

ครับพระที่ขุดได้ที่วัดพระคงฤๅษี ลำพูนนั้น พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระคง องค์พระส่วนที่เป็นลำพระองค์อวบอ้วนล่ำสัน การวางแขนซ้ายทิ้งลงมาตรงๆ และหักข้อศอก แบบมุมฉาก ส่วนพระอีกแบบที่พบแต่มีจำนวนน้อยกว่า พุทธลักษณะคล้ายกับพระคง รายละเอียดองค์ประกอบต่างๆ จะเป็นแบบเดียวกัน แต่เป็นคนละแม่พิมพ์กัน องค์พระลำพระองค์จะสะโอดสะองกว่า ไม่ล่ำอวบอ้วนเท่าพระคง การวางแขนซ้ายขององค์พระจะกางออกเล็กน้อย และการหักข้อศอกก็จะเป็นมุมเฉียง บันทึกการขุดพบของอาจารย์ตรีฯ นั้นเขียนไว้ว่าพระที่พบในวัดพระคง พบพระคงและพระบาง ข้อแตกต่างคร่าวๆ ก็เป็นอย่างที่กล่าวไว้ในขั้นต้น ในการตั้งชื่อพระก็ตั้งชื่อเพื่อให้รู้ว่า เป็นคนละพิมพ์ทรงกันเท่านั้น และก็คิดแบบง่ายๆ องค์พระล่ำสันบึกบึนก็เรียกว่า "พระคง" พอพบอีกรูปแบบคล้ายๆ กัน องค์พระสะโอดสะองกว่าก็เรียกว่า "พระบาง"

ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งบ้านเมืองอยู่ในช่วงสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวเสาะหาพระเครื่องกันมาก ก็มีคนไปขุดหาพระเครื่องที่วัดดอนแก้ว และพบพระหลากหลายชนิด เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง ฯลฯ พระชนิดหนึ่งที่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระที่พบที่กรุวัดพระคง ก็คือพระบาง แต่เป็นคนละพิมพ์กัน โดยรวมรายละเอียดคล้ายคลึงกันกับพระบางที่พบที่กรุวัดพระคง จึงเรียกกันว่าพระบางตาม พระกรุวัดพระคงที่ขุดพบก่อน รายละเอียดที่แตกต่างกับพระบางของกรุวัดพระคงคร่าวๆ ก็คือ กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียร 3 กิ่งของกรุวัดดอนแก้วจะแข็งตรงชี้ขึ้นไปเฉยๆ ส่วนพระบางที่พบในวัดพระคงนั้น กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียรจะอ่อนช้อยคดโค้งกว่า องค์พระของกรุวัดดอนแก้วก็จะดูแข็งๆ กว่า ของกรุวัดพระคงซึ่งดูอ่อนช้อยกว่าเช่นกัน

ครับต่อมาในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนชื่อ "พระบางกรุวัดพระคง" มาเป็น "พระคงทรงพระบาง" ก็ว่ากันไป แต่สงสัยแค่นิทานที่บอกว่าคนโบราณเขาเรียกกันว่าพระคงทรงพระบางนี้แหละ แถมอ้างอาจารย์เชียร ว่าท่านก็เรียกแบบนี้ ผมเองในสมัยก่อนก็สนิทกับอาจารย์เชียร ซื้อหาพระสกุลลำพูนด้วยกัน นำมาวิเคราะห์และศึกษา พระที่ขึ้นมามีขี้กรุก็ล้างด้วยกัน ศึกษาหาวิธีล้างเพื่อไม่ให้พระเสียผิวด้วยกัน ก็เลยงงที่เขาอ้าง แต่ก็ว่ากันไปตามยุคสมัย ผมไม่ได้เถียงเพื่อเปลี่ยนชื่อหรอก เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจตรงกันก็พอ และเล่นหาพระแท้ก็แล้วกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระคง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดดอนแก้ว มาให้ชมเปรียบเทียบกันครับ




พระคง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดดอนแก้ว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องของชื่อพระเครื่องนั้นสำคัญไฉน ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงชื่อพระเครื่อง ในอดีตเป็นชื่อใหม่กันอยู่พอสมควร มีพระสกุลลำพูนอยู่อย่างหนึ่งคือ “พระบางกรุวัดพระคง” ปัจจุบันก็เรียกกันว่า “พระคงทรงพระบาง” ผมคนรุ่นเก่าก็งงอยู่พักใหญ่ ต่อมาเห็นองค์พระจึงเข้าใจว่า อ้อเขามาตั้งชื่อกันใหม่ ไปถามเซียนบางท่าน ก็อธิบายเสียยืดยาวว่า ชื่อนี้แหละเขาเรียกกันมานมนานแล้ว ผมเองก็งงต่อ เพราะอาจารย์ตรีฯ ท่านเขียนเรื่องพระสกุลลำพูน และพิมพ์เป็นเล่มในปีพ.ศ.2503 ก็เรียกชื่อว่า “พระบาง” ต่อด้วยกรุวัดพระคง เอ้าก็ว่ากันไป เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจก็แล้วกัน

ครับพระที่ขุดได้ที่วัดพระคงฤๅษี ลำพูนนั้น พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระคง องค์พระส่วนที่เป็นลำพระองค์อวบอ้วนล่ำสัน การวางแขนซ้ายทิ้งลงมาตรงๆ และหักข้อศอกแบบมุมฉาก

ส่วนพระอีกแบบที่พบแต่มีจำนวนน้อยกว่า พุทธลักษณะคล้ายกับพระคง รายละเอียดองค์ประกอบต่างๆ จะเป็นแบบเดียวกัน แต่เป็นคนละแม่พิมพ์กัน องค์พระลำพระองค์จะสะโอดสะองกว่า ไม่ล่ำอวบอ้วนเท่าพระคง การวางแขนซ้ายขององค์พระจะกางออกเล็กน้อย และการหักข้อศอกก็จะเป็นมุมเฉียง

บันทึกการขุดพบของอาจารย์ตรีฯ นั้นเขียนไว้ว่าพระที่พบในวัดพระคง พบพระคงและพระบาง ข้อแตกต่างคร่าวๆ ก็เป็นอย่างที่กล่าวไว้ในขั้นต้น ในการตั้งชื่อพระก็ตั้งชื่อเพื่อให้รู้ว่า เป็นคนละพิมพ์ทรงกันเท่านั้น และก็คิดแบบง่ายๆ องค์พระล่ำสันบึกบึนก็เรียกว่า “พระคง” พอพบอีกรูปแบบคล้ายๆ กัน องค์พระสะโอดสะองกว่าก็เรียกว่า “พระบาง”

ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งบ้านเมืองอยู่ในช่วงสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวเสาะหาพระเครื่องกันมาก ก็มีคนไปขุดหาพระเครื่องที่วัดดอนแก้ว และพบพระหลากหลายชนิด เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง ฯลฯ พระชนิดหนึ่งที่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระที่พบที่กรุวัดพระคง ก็คือพระบาง แต่เป็นคนละพิมพ์กัน โดยรวมรายละเอียดคล้ายคลึงกันกับพระบางที่พบที่กรุวัดพระคง จึงเรียกกันว่าพระบางตาม พระกรุวัดพระคงที่ขุดพบก่อน

รายละเอียดที่แตกต่างกับพระบางของกรุวัดพระคงคร่าวๆ ก็คือ กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียร 3 กิ่งของกรุวัดดอนแก้วจะแข็งตรงชี้ขึ้นไปเฉยๆ ส่วนพระบางที่พบในวัดพระคงนั้น กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียรจะอ่อนช้อยคดโค้งกว่า องค์พระของกรุวัดดอนแก้วก็จะดูแข็งๆ กว่า ของกรุวัดพระคงซึ่งดูอ่อนช้อยกว่าเช่นกัน

ครับต่อมาในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนชื่อ “พระบางกรุวัดพระคง” มาเป็น “พระคงทรงพระบาง” ก็ว่ากันไป แต่สงสัยแค่นิทานที่บอกว่าคนโบราณเขาเรียกกันว่าพระคงทรงพระบางนี้แหละ แถมอ้างอาจารย์เชียร ว่าท่านก็เรียกแบบนี้

ผมเองในสมัยก่อนก็สนิทกับอาจารย์เชียร ซื้อหาพระสกุลลำพูนด้วยกัน นำมาวิเคราะห์และศึกษา พระที่ขึ้นมามีขี้กรุก็ล้างด้วยกัน ศึกษาหาวิธีล้างเพื่อไม่ให้พระเสียผิวด้วยกัน ก็เลยงงที่เขาอ้าง แต่ก็ว่ากันไปตามยุคสมัย ผมไม่ได้เถียงเพื่อเปลี่ยนชื่อหรอก เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจตรงกันก็พอ และเล่นหาพระแท้ก็แล้วกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระคง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดดอนแก้ว มาให้ชมเปรียบเทียบกันครับ




พระพิจิตร นาคปรก

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดพิจิตรถ้ากล่าวถึงพระเครื่องที่ เป็นพระกรุพระเก่า เราก็มักจะนึกถึงพระเครื่ององค์เล็กๆ ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดัง มากของจังหวัดนี้ เช่น พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระพิจิตรเขี้ยวงู และพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า เป็นต้น ปัจจุบันค่อนข้างหายากครับ

พระกรุพิจิตรที่เป็นพระขนาดเล็กเป็นที่นิยมมาช้านาน แต่ก็ค่อนข้างหาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน พระพิจิตรต่างๆ ตั้งชื่อตามรูปพรรณสัณฐาน เช่น พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่านี้มีขนาดเล็กมาก ลักษณะเป็นทรงรีๆ แบนๆ คล้ายกับข้าวเม่า จึงได้ชื่อเรียกนี้มาแต่โบราณว่าพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าก็มีลักษณะคล้ายเม็ดน้อยหน่า

ส่วนพระพิจิตรเขี้ยวงูก็มีรูปร่างคล้ายพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า เพียงแต่ตัวองค์พระนั้นจะผอมเรียวๆ แหลมๆ กว่า จึงเรียกว่าพระพิจิตรเขี้ยวงู ทั้งพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าและพระพิจิตรเขี้ยวงู เป็นพระเนื้อดินเผา ส่วนพิมพ์พระพิจิตรเขี้ยวงู นั้นพบน้อย จึงหายากกว่าพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า

พระพิจิตรอีกอย่างหนึ่งที่หายากมากเช่นกัน คือ พระพิจิตรนาคปรกที่พบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีขนาดเล็กเท่าๆ กับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า และพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุกรุเดียวกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า แต่องค์พระจะเป็นพระปางนาคปรก เนื้อพระเป็นเนื้อชินเงิน พบจำนวนน้อยมาก และพระส่วนใหญ่จะผุแตก ปริโดยธรรมชาติ จำนวนพระที่พบจึงเป็นพระชำรุดเสียมาก พระองค์ที่สมบูรณ์พบน้อยมาก ส่วนมากองค์พระจะแตกปริ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระนาคปรกพิจิตร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางองค์สีของผิวพระจะมีสีเข้มออกดำที่มักเรียกว่าสนิมตีนกา

พระพิจิตรส่วนใหญ่จะมีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี มีชื่อเสียงโด่งดังมาช้านาน พระพิจิตรที่มีขนาดเล็กสมัยโบราณนิยมใช้อมใส่ปากเวลาไปไหนมาไหน จึงทำให้พระชำรุดสูญหาย พระพิจิตรขนาดเล็กเป็นพระประเภทที่เรียกว่าจิ๋วแต่แจ๋ว แต่พระทั้งหมดทุกแบบนั้นหาของแท้ๆ ยากจริงๆ ของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว เนื่องจากเป็นพระที่มีความนิยมมากมาแต่อดีต จึงมีพระเลียนแบบทุกยุคทุกสมัย จะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังกันหน่อย ต้องศึกษาหรือเช่ากับผู้ที่ไว้วางใจได้เท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพิจิตรนาคปรก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันเช่นเคยครับ




เหรียญหลวงพ่อฉุย รุ่นแรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม คณาจารย์ที่อยู่ในหัวใจของคนเพชรบุรีตลอดกาล และเหรียญของท่านก็เป็นเหรียญที่ครองความเป็นหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรีตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ นักสะสมเหรียญพระเกจิอาจารย์ยังจัดเหรียญของท่านเป็นหนึ่งในชุดเหรียญเบญจภาคี

เหรียญหลวงพ่อฉุยที่อยู่ในความนิยมนั้น เป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงพ่อ ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2465 เพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างมณฑป ไว้ประดิษฐานพระพุทธ ชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ที่วัดคงคาราม และในปลายปี พ.ศ.2466 ท่านก็มรณภาพ เป็นอันว่า เหรียญที่ท่านสร้างไว้ก็มีเพียงรุ่นแรกรุ่นเดียวเท่านั้น ลักษณะของเหรียญรุ่นแรกเป็นเหรียญรูปไข่ ค่อนข้างจะเขื่องกว่าเหรียญทั่วๆ ไปเล็กน้อย ด้านหน้าเป็นรูปท่านหน้าตรงครึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยลวดลายโบว์และดอกไม้ สวยงาม เนื้อโลหะของเหรียญมีเนื้อทองแดงเนื้อเดียว หูของเหรียญเป็นเหรียญหูเชื่อมน้ำประสานเงิน ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์ 2 หรือยันต์ "นะ โม พุท ธา ยะ"

สำหรับเหรียญรุ่นแรกของท่านนั้น ปรากฏว่าด้านหลังมีอยู่สองแม่พิมพ์ มีข้อแตกต่างกันที่เห็นได้ง่ายๆ ก็คือ พิมพ์ตัว โม มีไส้ และอีกพิมพ์หนึ่งคือตัว โม ไม่มีไส้ คือตรงตัวอักขระขอมคำว่าโม ตัว ม.ม้า มีขีดตรงกลาง กับ ตัว ม.ม้า ไม่มีขีดตรงกลาง แต่ทั้่งสองพิมพ์ค่าความนิยมเหมือนๆ กันทั้งสองพิมพ์ครับ สาเหตุที่มีสองแม่พิมพ์เนื่องมาจากเป็นการสร้างเหรียญที่มีจำนวนมาก ซึ่งในสมัยนั้นการชุบแข็งโลหะยังไม่ดีนัก จึงทำให้ตัวแม่พิมพ์เมื่อมีการพิมพ์กระแทกหลายๆ ครั้ง เป็นสาเหตุทำให้แม่พิมพ์ด้านหลังเกิดการแตกชำรุดก่อน จึงจำเป็นต้องแกะแม่พิมพ์ด้านหลังใหม่ และอาจจะเป็นเพราะการเร่งรีบจึงได้แกะอักขระผิดพลาด คือ ตัว โม ลืมแกะไส้ตรงกลางไป จึงทำให้พิมพ์ด้านหลังมีสองแบบ นอกจากนี้เราจะสังเกตได้อีกว่า ถ้าพิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์ โม ไม่มีไส้นั้น ขอบแม่พิมพ์ด้านหน้าก็เริ่มชำรุดเช่นกัน ดังเราจะเห็นได้ว่า ถ้าเป็นพิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์ โม ไม่มีไส้นั้น ที่ขอบเหรียญด้านหน้าโดยเฉพาะขอบด้านล่างและด้านซ้ายมือเราจะเริ่มชำรุด เป็นขอบสันขึ้นเป็นปื้น มากน้อยแล้วแต่ความชำรุดของแม่พิมพ์ด้านหน้า จึงทำให้ผู้ชำนาญการรู้ได้เพียงเห็นเหรียญด้านหน้าก็ สามารถรู้ว่า พิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์ไหนครับ

ปัจจุบันเหรียญหลวงพ่อฉุยหายากมาก สนนราคาสูง ยิ่งเป็นเหรียญที่มีความสวยสมบูรณ์อย่างในรูปนั้นยิ่งหายากเป็นทวีคูณครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อฉุย รุ่นแรกมาให้ได้ชมกันครับ




พระปิดตาเนื้อผล หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สมุทรสงคราม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สมุทรสงคราม เหรียญของท่านทั้งเหรียญปั๊มและเหรียญหล่อล้วนแล้วแต่นิยมทั้งสิ้น สนนราคาสูงทุกรุ่นครับ

หลวงพ่อบ่ายเกิดเมื่อปี พ.ศ.2404 ที่บ้านบางครก ต.สวนทุ่ง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ต่อมาก็เป็นกำพร้า หลวงพ่อเกตุ วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี (พี่ชายของหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย) จึงได้รับมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม พออายุได้ 10 ขวบจึงได้เรียนหนังสือไทยและขอม กับพระอาจารย์คล้ำ วัดสวนทุ่ง พออายุได้ 20 ปีจึงได้อุปสมบทที่วัดทองนพคุณ โดยมีพระอุปัชฌาย์แตง วัดเขาบันไดอิฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พุก วัดสวนทุ่ง พระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ และหลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “ธมฺโชโต”

เมื่ออุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดทองนพคุณ 1 พรรษา แล้วจึงย้ายตามหลวงพ่อแก้วมาอยู่ที่วัดช่องลม เมื่อหลวงพ่อแก้วได้รับอาราธนาให้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดพวงมาลัย จึงได้ให้หลวงพ่อบ่ายเป็น เจ้าอาวาสวัดช่องลมสืบแทน

หลวงพ่อบ่ายได้ศึกษาพุทธาคมกับหลวงพ่อพุก วัดสวนทุ่ง และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ ต่อมาจึงได้ศึกษาต่อกับหลวงพ่อแก้ว ทั้งทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคม ได้ศึกษาสรรพวิชาจากหลวงพ่อแก้วมากที่สุด สหธรรมิกของหลวงพ่อบ่ายคือหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในอดีต

หลวงพ่อบ่ายมีวิทยาคมกล้าแกร่งมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น เหรียญหล่ออรุณเทพบุตรที่มีรูปทรงคล้ายๆ กับของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม เหรียญหล่อใบตำลึง เหรียญหล่อใบสาเก เหรียญหล่อเสมาเล็ก เหรียญปั๊มรุ่นแรก ปี 2461 เหรียญปั๊มพัดยศ ปี 2461 เหรียญปั๊มปี พ.ศ.2484 ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมและหายาก นอกจากนี้หลวงพ่อบ่ายยังได้สร้างพระปิดตาเนื้อผงไว้ด้วย แต่มีจำนวนน้อย ส่วนมากผู้ที่ได้รับจะเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด จึงทำให้ไม่ค่อยได้เห็นกันนักครับ

พระปิดตาเนื้อผงคนพื้นที่จะหวงแหนกันมาก คนต่างถิ่นอาจจะไม่ค่อยรู้จัก สนนราคายังไม่สูง แต่ก็หายากครับ

หลวงพ่อบ่ายเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม จนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2485 สิริอายุได้ 81 ปี พรรษาที่ 60

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อผงของหลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สมุทรสงคราม มาให้ชมกันครับ




พระปิดตาปลดหนี้ หลวงปู่โต๊ะ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สังคมผู้นิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา ในปัจจุบันที่ผ่านกระแสเศรษฐกิจตกต่ำมาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องหลายปี ก็มีเพื่อนฝูงคนรู้จักที่เป็นนักสะสมหรือผู้ที่ ไม่ได้เป็นเซียนที่มีอาชีพค้าขายพระเครื่องสอบถามว่า เป็นอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่ ก็สอบถามถึงเรื่องราคาพระเครื่องที่อยากจะนำมาปล่อยหรือขาย เพื่อนำปัจจัยไปช่วยพยุงเศรษฐกิจของตัวเอง

พูดตามตรงก็ต้องบอกว่าสภาพเศรษฐกิจก็มีผลกระทบกับแวดวงการซื้อขายพระเครื่องแน่นอน ต้องขอออกตัวก่อนว่า ตัวผมเองไม่ใช่เซียนหรือผู้มีอาชีพซื้อขายพระเครื่อง แต่ก็เป็นผู้ที่ชื่นชอบและศึกษาเกี่ยวกับพระเครื่องมานานพอสมควร จึงรู้จักสนิทสนมกับเซียนพระหลากหลายคน และถ้ามีเวลาว่างก็จะเข้าไปในสนามพระอยู่เสมอ จึงพอจะรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของสังคมพระเครื่องอยู่บ้าง ในช่วงนี้การซื้อขายพระเครื่องก็ยังพอมีการซื้อขายกันอยู่ พระเครื่องหลักๆ และแท้นั้นก็ยังมีการซื้อขายกันได้อยู่ครับ แต่สนนราคาก็มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง โดยเฉพาะผู้ที่จะนำพระเครื่องไปขายนั้น สนนราคาก็จะต่ำลงกว่าราคาเมื่อ 4-5 ปีก่อน สาเหตุก็เนื่องจากตัวเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนี่แหละครับ

บางท่านที่มีพระเครื่องสะสมไว้ เมื่อต้องการนำพระเครื่องมาออกให้เช่า เนื่องจากความจำเป็นบางอย่าง ก็จะทราบความจริงบางอย่างที่เกี่ยวกับพระเครื่องที่สะสมไว้ ถ้าสะสมพระแท้ๆ ไว้และเป็นพระที่สังคมนิยมเล่นหาก็จะขายได้ แต่สภาพราคาก็ขึ้นอยู่กับค่าการตลาดในปัจจุบัน

ในส่วนที่เช่าหาผิดจากที่สังคมนิยมก็จะขายไม่ได้ มีเพื่อนผมบางคนเล่นหาสะสมผิดทางมายาวนาน ในสมัยเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ก็เคยสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่เขาก็เชื่อมั่นในตัวเองมาก และเชื่อตามแนวทางของเขา มาถึงปัจจุบันด้วยอายุและสุขภาพ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องนำพระบางส่วนออกมาให้เช่า แต่ก็ไม่มีใครเช่าพระของเขาทั้งๆ ที่เป็นพระหลักๆ ทั้งสิ้น จึงมาบอกให้ผมช่วยหาคนเช่าให้ ผมเองก็สนใจ เนื่องจากพระของเขาไม่ใช่พระที่ถูกต้องตามสังคมนิยม

เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเศร้า เพราะเขาก็เชื่อของเขามาอย่างนั้น และสะสมมาเป็นเวลาสามสิบกว่าปี ใครบอกก็ไม่ฟังแถมยังโกรธเอาเสียอีก และต้องใช้เงินทองที่เก็บมายาวนานกว่าจะรู้ว่าตนเองผิดพลาด ในส่วนผู้ที่สะสมมาอย่างถูกต้องถ้าเก็บมาเป็นสิบกว่าปีขึ้นไป แน่นอนว่าขายได้และมีมูลค่าเพิ่ม ถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันก็ตาม มากน้อยก็ว่ากันไป

มาดูการเล่นหาสะสมพระเครื่องในปัจจุบัน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างกว้างขวาง เช่นในโลกโซเชี่ยลมีเดีย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในส่วนที่ดีก็มีอยู่มากที่ให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ในส่วนที่มิจฉาชีพจะเข้ามาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อเขาก็มีมากเช่นกัน

ดังนั้นผู้ที่ต้องการเข้ามาศึกษาหาข้อมูล ก็ควรมีวิจารณญาณวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นให้ดี ถ้าไปผิดทางก็จะเสียทรัพย์และเวลามาก กว่าจะรู้ก็อาจเป็นอย่างเพื่อนผม การพิสูจน์พระเครื่องนั้นๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ในปัจจุบันก็ยังแค่เรื่องมูลค่าราคาที่มีการรองรับ การพิสูจน์ก็ง่ายๆ แค่นำพระเครื่องนั้นๆ ไปเสนอขายในสถานที่ที่มีการซื้อขายกันเป็นสากล เช่น ในสนามพระต่างๆ หรือที่ปัจจุบันเรียกว่าศูนย์พระเครื่อง ตีราคาให้ค่อนข้างสูงไว้หน่อย ในส่วนราคาก็ให้ค้นหาเอาได้จากในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

ถ้าเขาถามซื้อหรือต่อรองราคา ก็พิสูจน์ได้ว่าพระของเราแท้ แต่ถ้าไม่มีใครถามซื้อหรือต่อรองราคาก็เข้าใจได้เลยว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากถ้าไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เขาก็ไม่ถามซื้อแน่นอน ก็เหมือนๆ กับทองคำ ถ้าเรานำทองคำของเราไปขาย ก็ต้องไปตามร้านทองต่างๆ เพราะเขามีอาชีพซื้อขายและมีความชำนาญ ถ้าเขาซื้อก็เป็นทองแท้ แต่ถ้าเขาไม่ซื้อก็รู้ได้เลยว่าเป็นทองปลอม เป็นหลักความจริงง่ายๆ ครับ

ที่เขียนมาเล่าให้ฟังก็เพราะช่วงนี้มีเพื่อนและคนรู้จักหลายคน มาปรึกษาเรื่องการนำพระเครื่องมาขายก็มีทั้งที่ขายได้และขายไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ผม ได้เล่ามาในขั้นต้น และในวันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตาปลดหนี้ของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี พิมพ์หลังยันต์ตรีมาให้ชมกันครับ



พระท่ามะปราง กรุสำปะซิว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ผมเองเป็นผู้ที่ชอบพระกรุพระเก่า ก็คงจะคุยกันถึงเรื่องพระกรุพระเก่ากันดีกว่านะครับ วันก่อนไปคุยกับเพื่อน ก็พอดีเห็นพระเก่าองค์หนึ่ง คือพระท่ามะปราง กรุวัดสำปะซิว สุพรรณบุรี ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อย และบางครั้งอาจจะลืมๆ กันไปไม่ค่อยได้พูดถึงนัก จึงนำมาเป็นเรื่องพูดคุยกันในวันนี้

สำปะซิวเป็นชื่อย่านที่อยู่อาศัยในสุพรรณบุรี แต่เดิมคงจะมีชื่อว่า “สำปะทิว” เนื่องจากมีโคลงที่สุนทรภู่เขียนถึงในนิราศเมืองสุพรรณ ตอนที่นั่งเรือผ่านหมู่บ้านแห่งนี้ และเอ่ยนามว่า “สำปะทิว” ซึ่งต่อมาคงมีการเรียกชื่อเพี้ยนไปมาจนเป็นสำปะซิวในปัจจุบัน

พระเครื่องที่ขุดพบนั้น ความจริงไม่ได้ขุดพบที่วัดสำปะซิว เพียงแต่พบในหมู่บ้านนี้ ซึ่งก็อยู่ไม่ห่างจากวัดสำปะซิวสักเท่าไรนัก ที่บริเวณแถบนี้เคยมีผู้ขุดพบพระบูชาสมัยลพบุรีอยู่หลายครั้งเหมือนกัน แต่ก็กระจัด กระจายไปทั่ว พบแต่ละครั้งไม่กี่องค์ ไม่ถึงกับเป็นกรุพระ สันนิษฐานว่าบริเวณแถบนี้คงเคยเป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่ในสมัยลพบุรี ต่อมา นายดี มาแสง ได้ขุดดินริมรั้วบ้าน และพบพระเครื่องเนื้อดินเผาจำนวนมาก พระที่พบเป็นพระแบบซุ้มนครโกษา พระท่ามะปราง พระซุ้มปรางค์ และพระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มนครโกษา (พบมากกว่าพระแบบ อื่นๆ ในกรุ) พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มปรางค์ เข้าใจว่าเป็นพระที่สร้างล้อแบบศิลปะลพบุรี และพระท่ามะปรางก็เป็นแบบของพระท่ามะปรางที่พบในจังหวัดอื่นๆ

พระของกรุนี้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัยยุคปลาย เนื้อพระที่พบเป็นพระเนื้อดินเผาทั้งสิ้น เป็นแบบเนื้อค่อนข้างหยาบ มีเม็ดกรวดทรายผสมอยู่มาก ลักษณะเป็นแบบเนื้อดินเผาแกร่ง ส่วนพระท่ามะปรางที่พบเป็นเนื้อค่อนข้างละเอียดก็มีพบบ้างแต่จำนวนไม่มากนัก

พระเครื่องของกรุนี้เมื่อมีการแพร่หลายออกไป ใครถามว่าเป็นพระที่ไหน ก็มักจะบอกกันว่า พระกรุวัดสำปะซิว ก็เลยเรียกชื่อกรุเป็น “กรุวัดสำปะซิว” มาโดยตลอดทั้งๆ ที่ไม่ได้พบพระที่กรุในวัดเลยก็ตาม

พระท่ามะปรางของกรุสำปะซิวจะมีเอกลักษณ์คือ องค์พระจะคล้ายกับพระท่ามะปรางที่พบทางพิษณุโลก สุโขทัยและกำแพงเพชร แต่องค์พระจะดูต้อๆ กว่าจังหวัดอื่น และเนื้อของพระก็จะมีเม็ดกรวดทรายผสมมากกว่าจังหวัดอื่น ซึ่งก็เป็นลักษณะของพระเครื่องเนื้อดินเผาเมืองสุพรรณชนิดเนื้อหยาบ และอีกอย่างหนึ่งก็คือพระท่ามะปรางของกรุนี้จะมีปีกยื่นออกมาโดยรอบองค์พระ

พระท่ามะปราง กรุวัดสำปะซิวนั้น มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันไม่แพ้ของกรุอื่นๆ อีกทั้งทางด้านแคล้วคลาดก็เด่นเช่นกัน ปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นพระแท้ๆ แล้ว ค่อนข้างหายากอยู่พอสมควร พระสวยๆ สนนราคาก็สูงอยู่ครับ

ในวันนี้ผมก็เลยนำรูปพระท่ามะปราง กรุสำปะซิว จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #44 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2560 10:12:45 »



เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก 2503 หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ

วัดเขาบันไดอิฐ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี นับเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ตั้งอยู่บนเขา มีถ้ำใหญ่น้อยมากมาย ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวนมาก ทั้งยังมีตำนานโบร่ำโบราณกล่าวถึงอยู่หลายเรื่อง อาทิ ในสมัยพระบรมราชาที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) แห่งกรุงศรีอยุธยา ใช้เป็นที่คุมขังของพระศรีศิลป์ ผู้คิดก่อการกบฏ หรือเป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐานของพระเกจิผู้วิชาอาคมหลายรูป เช่น เจ้าอธิการแสง พระอาจารย์ของพระเจ้าเสือ สมัยกรุงศรีอยุธยา และพระอาจารย์เหลือ ผู้ทรงวิทยาคมเข้มขลัง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นต้น

ทั้งยังกล่าวกันว่า เจ้าอาวาสวัดเขา บันไดอิฐทุกรูป ล้วนมีวิชาอาคมเข้มขลัง และถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

จนมาถึง พระครูญาณวิลาศ หรือ “หลวงพ่อแดง”ผู้มีญาณสมาธิแก่กล้า มีพุทธาคมสูงส่ง โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี

หลวงพ่อแดง รัตโต เกิดที่ ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ.2422 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายแป้น-นางนุ่ม อ้นแสง ในวัยเด็กต้องช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ไม่มีโอกาสได้ร่ำเรียนหนังสือ จนอายุ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดเขาบันไดอิฐ โดยมี พระอาจารย์เปลี่ยน เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “รัตโต” แปลว่า สีแดง ศึกษาร่ำเรียนพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐาน และกฤตยาคมต่างๆ จากพระอาจารย์เปลี่ยนจนแตกฉาน จากนั้นได้ขออนุญาตพระอาจารย์ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม จ.เพชรบุรี เพื่อศึกษาวิทยาการต่างๆ เพิ่มเติม

เมื่อพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพ ในปี พ.ศ.2461 จึงได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสืบต่อ ท่านเป็นพระเกจิผู้มีเมตตาธรรมสูง ไม่ชอบดุด่า ไม่พูดคำหยาบคาย โดยเฉพาะถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด โดยกล่าวว่า “การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงามเสื่อมถอย ถึงห้อยพระ พระท่านก็ไม่คุ้มครอง”

ยามว่างจากภารกิจที่มีมากมาย ท่านก็จะปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำ เพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน ญาณสมาธิจึงแก่กล้าบริสุทธิ์ กล่าวกันว่า ท่านมีหูทิพย์ ตาทิพย์ แต่ไม่เคยอวดอ้างใดๆ จนเมื่อผู้คนปรากฏประจักษ์ด้วยตัวเองในหลายครั้งหลายครา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคระบาด การศึกสงคราม โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชื่อเสียงของท่านเริ่มโด่งดังขจรไกล ลูกศิษย์ลูกหามากมาย วัตถุมงคลและเครื่องรางต่างๆ ที่ท่านสร้างจึงเป็นที่นิยมแสวงหาอย่างสูงสืบมาถึงปัจจุบัน

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สุดท้ายที่ “พระครูญาณวิลาศ” ท่านมรณภาพในปี พ.ศ. 2517 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 74 โดยก่อนมรณภาพได้สั่งเสียกับพระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล รองเจ้าอาวาสวัดขณะนั้น ว่า “เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ”

สรีระของท่านจึงได้รับการบรรจุในโลง ณ หอสวดมนต์ วัดเขาบันไดอิฐ จวบจนปัจจุบัน

สำหรับ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อแดง จัดสร้างในปี พ.ศ.2503 โดยบรรดาลูกศิษย์ลูกหาได้ขออนุญาตจัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์เป็น พระครูญาณวิลาศ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2502 พร้อมรับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศ ร่วมกับโอกาสฉลองอายุย่างเข้าปีที่ 83 มีการจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน จำนวนเพียง 83 เหรียญตามอายุ และ เนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 15,000 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูในตัว สูงประมาณ 3.4 ซ.ม.กว้างประมาณ 2.6 ซ.ม. ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแดงครึ่งองค์หน้าตรง ด้านบนระบุปีที่สร้าง “พ.ศ.๒๕๐๓” และอายุ “อายุ ๘๒ ปี” ด้านล่างเป็นนาม “พระครูญาณวิลาศ (แดง)”

ส่วนด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์สี่ มี หัวขมวด เรียกว่า “ยันต์ครู” มีอักษรขอม สี่ตัวล้อมรอบอ่านว่า “เม อะ มะ อุ” อยู่ในเส้นกรอบวงรี 2 ชั้น รอบนอกมีอักขระขอม 29 ตัว อ่านว่า “เมอะมะอุ ชาติอะมะ พุทธะสังมิ นะชาลิติ เอหิมาเรหิ นะโมพุทธายะ มะอะอุ”

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ปี 2503 นี้ ได้สร้างประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จนกิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือและหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว

จากนั้นจึงมีการจัดสร้างเหรียญรุ่นต่างๆ ตามมา




เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา
...ไปครู่หนึ่งถึงเขาเคราสวาท
มีอาวาสวัดวามหาเถร
มะพร้าวรอบขอบที่บริเวณ
พอจวนเพลพักร้อนผ่อนสำราญ
กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้
ขึ้นไปไหว้พระสัมฤทธิ์พิษฐาน
เขานับถือลือมาแต่บุราณ
ใครบนบานพระก็รับช่วยดับร้อน...
........

เป็นบทกวีที่ ท่านสุนทรภู่ ได้ประพันธ์ไว้ใน "นิราศเมืองเพชร" เมื่อราวปี พ.ศ.2374 กล่าวถึง หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพ สักการะมาแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน เป็นที่ขึ้นชื่อลือชาในด้านบนบานศาลกล่าวแล้วมักประสบความสำเร็จ

วัตถุมงคลก็เช่นกัน ไม่ว่ารุ่นไหนแบบไหน ผู้สักการบูชาสามารถอธิษฐานขอพรได้ดังใจปรารถนา จนเป็นที่นิยมและแสวงหามาถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อทองนับเป็นหนึ่งใน "ตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ" ที่เล่าขานกันสืบมาว่า เมื่อปี พ.ศ.2302 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงต่อพม่า ชาวบ้านแหลม จ.เพชรบุรี ได้อพยพหนีพม่าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากคลองแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ใกล้กับวัดศรีจำปา ซึ่งเป็นวัดร้าง และช่วยกันบูรณะก่อสร้างใหม่ แล้วให้ชื่อว่า "วัดบ้านแหลม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้สร้าง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดเพชรสมุทรฯ"

อยู่มาวันหนึ่งชาวบ้านแหลมเหล่านี้ซึ่งมีอาชีพทำการประมง ออกไปเที่ยวหาปลาลากอวน ไปพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน จึงอัญเชิญพระพุทธรูปยืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม ตั้งนามว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" ส่วนอีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง ได้มอบให้ชาวบ้านบางตะบูน ชาวบางตะบูนจึงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ บริเวณวัดเขาตะเครา จึงเรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"

หลวงพ่อวัดเขาตะเครา พระพุทธรูปนั่ง ปางมารวิชัย สมาธิราบ สูง 29 นิ้ว หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว ได้สร้างปาฏิหาริย์ให้เป็นที่ประจักษ์มากมาย ผู้ใดตกทุกข์มาบนบานศาลกล่าวก็จะได้ตามประสงค์ทุกประการ

สำหรับ "วัดเขาตะเครา" นั้น สันนิษฐานว่า มี เจ้าสัวชาวจีนผู้หนึ่งมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้สละทรัพย์สร้างเป็นวัดขึ้น เมื่อได้พระพุทธรูปขึ้นมาประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญ โดยให้ลูกน้องคนหนึ่งซึ่งไว้หนวดเครายาวเป็นผู้ควบคุมงาน ชาวบ้านเห็นชาวจีนไว้เคราจึงเรียก "วัดเขาจีนเครา" แล้วค่อยเพี้ยนมาเป็น วัดเขาตาเครา จนถึง "วัดเขาตะเครา" ในที่สุด

วัตถุมงคลหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา มีการจัดสร้างมากมายหลายประเภท ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูง ด้วยพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ปรากฏแก่ผู้บูชาจนเป็นที่กล่าวขวัญ เริ่มตั้งแต่ "ลูกอมทองไหล" ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เหรียญปั๊มรูปเหมือน ปี 2468" ซึ่งเป็นเหรียญปั๊มที่สร้างขึ้นเป็นรุ่นแรก ที่เรียกได้ว่ามีค่านิยมสูงสุด อาจสืบเนื่องจากความคมชัดและประณีตของเหรียญที่สร้างจากการปั๊ม

แต่ที่นับว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกจริงๆ นั้น จะเป็นเหรียญรุ่นที่สร้างในปี พ.ศ.2465 ซึ่งเป็น "หรียญหล่อโบราณ" และด้วยรูปทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วงการพระจึงมักเรียกกันว่า "สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์"

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา จึงนับเป็นเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อทองที่สร้างออกมาเป็นรุ่นแรก ในสมัยพระอธิการห้อย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ.2465 โดยสร้างเป็นเนื้อทองเหลือง หูเชื่อม ยกขอบทั้งหน้าและหลัง ด้านหน้า จำลององค์หลวงพ่อทอง ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะบัวสองชั้น มีพื้นฐานเขียงรองรับอีกชั้นหนึ่ง ด้านหลัง มีอักขระขอม 3 บรรทัด อ่านว่า "อิ สวา สุ มิ โน เชย ยะ"

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา นี้ ปัจจุบันเป็นเหรียญที่หายากยิ่ง สนนราคาสูงเอาการ และมีการทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างสูง ดังนั้น นอกจากการพิจารณาพิมพ์ทรงแล้ว ต้องใช้หลักการพิจารณา "เหรียญหล่อโบราณ" โดยหลักสังเกตใหญ่ๆ คือ การเข้าดินนวลซึ่งจะผสมขี้วัวหมัก โบราณเรียก "ดินขี้งูเหลือม" เมื่อเทมวลสารลงในหุ่นเทียนจะเกาะติดกับเนื้อองค์พระเห็นเป็นจ้ำๆ และให้สังเกตบริเวณหูเชื่อมที่จะต้องจับโค้งติดกับตัวเหรียญ มักจะปรากฏเนื้อปลิ้นระหว่างปลายตัวปลิง

อีกประการหนึ่งคือ รอยตะไบ เหรียญหล่อโบราณมักจะมีการใช้ตะไบในการตกแต่งเหรียญให้ได้รูป ซึ่งรอยตะไบจะไม่ไปในทิศทางเดียวกันครับผม




เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน

"หลวงพ่อเพชร วชิโร" พระเกจิยุคเก่าผู้มากด้วยวิทยาอาคมและเมตตาบารมีธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนรูปหนึ่งในแดนใต้ ประการสำคัญ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของท่าน ได้รับการยกย่องให้เป็นเหรียญสำคัญของภาคใต้ ถือเป็น "เหรียญพระสงฆ์เหรียญแรกและเก่าแก่ที่สุด" ที่มีค่านิยมสูงที่สุดและเป็นเหรียญที่หายากยิ่งในปัจจุบัน

พระครูวิบูลย์ธรรมสาร หรือ หลวงพ่อเพชร วชิโร เดิมชื่อ เพชร เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2390 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ที่บ้านมะเดื่อหวาน เมืองไชยา (ปัจจุบัน คือ ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี)

 

อายุประมาณ 13-14 ปี (ประมาณ พ.ศ.2403-2404) บิดาได้พาไปฝากให้เรียนอักษรสมัย กับพระอุปัชฌาย์จันทร์ เจ้าอธิการวัดมะเดื่อหวาน เล่าเรียนกระทั่งอายุ 17-18 ปี ก็ได้บรรพชาที่วัดมะเดื่อหวาน มีพ่อท่านจันทร์เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นท่านก็ครองเพศบรรพชิตเรื่อยมา จนอายุครบเกณฑ์อุปสมบท จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดมะเดื่อหวาน โดยมี พระอุปัชฌาย์จันทร์ เจ้าอาวาสวัดมะเดื่อหวาน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการขวัญ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พ่อท่านคง วัดอัมพวัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "วชิโร"

หลวงพ่อเพชรสร้างคุณานุคุณมากมายต่อพระบวรพุทธศาสนาและสาธารณประโยชน์ต่างๆ ในชุมชน เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวเกาะพะงันและใกล้เคียง มรณภาพเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2467

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเพชร นั้น เป็นที่ถกเถียงกันว่าสร้างก่อนหรือหลังจากท่านมรณภาพแล้ว แต่ในที่สุดจากข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ก็สามารถสรุปได้ว่า เหรียญนี้สร้างหลังจากที่ท่านมรณภาพ ประมาณ 3 เดือน มูลเหตุอาจเป็นด้วยในปีนั้น ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูวิบูลยธรรมสาร เจ้าคณะแขวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปรากฏหลักฐานส่วนหนึ่งใน "ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 41" (พ.ศ.2467) ที่ว่า ...

"วันที่ 9 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2467 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร เลื่อน และตั้งสมณศักดิ์ ให้เจ้าอธิการเพชร วัดเกาะพงัน เปน พระครูวิบูลยธรรมสาร เจ้าคณะแขวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี"

กอปรกับบรรดาลูกศิษย์ลูกหาต่างคิดหาของที่ระลึกในวันพระราชทานเพลิงศพ จึงดำริสร้าง "เหรียญรูปเหมือนของท่าน" เพื่อเป็นการฉลองสมณศักดิ์และมอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ เป็นอนุสรณ์ให้ระลึกนึกถึงสืบไป โดยมอบหมายให้ พระอาจารย์พัฒน์ พรหมอำไพ ศิษย์คนสำคัญรูปหนึ่งของหลวงพ่อ รับภาระในการสั่งทำเหรียญที่กรุงเทพฯ ในช่วงปลายปี พ.ศ.2467 และประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดอัมพวัน โดยมีพระเกจิคณาจารย์สำคัญๆ หลายรูปใน จ.สุราษฎร์ธานี เมตตาร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก จากนั้นได้นำเหรียญแจกในงานพระราช ทานเพลิงศพหลวงพ่อเพชร ในต้นปี พ.ศ.2468

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน เท่าที่พบเห็นมีเนื้อทองแดงและเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา กว้างประมาณ 2.2 ซ.ม. สูงประมาณ 3 ซ.ม. ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเพชร ห่มจีวรเฉวียงบ่า พาดสังฆาฏิ นั่งสมาธิบนตั่ง ล้อมด้วยลายไทยเป็นรูปพญานาคขนดเศียรลงล่างทั้งสองข้าง ด้านบนของเหรียญเขียนว่า "ที่รฦก" มีอักษรล้อมรอบรูปท่านว่า "ท่านพระครูวิบูลย์ธรรมสาร (เพ็ชร) วัด อัมภวัน" ด้านหลัง เป็น "ยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า" และเหนือยันต์เขียนว่า "เกาะพงัน"

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเพชรนี้ ไม่ว่าจะสร้างในสมัยที่หลวงพ่อเพชรยังมีชีวิตอยู่ หรือสร้างหลังจากท่านมรณภาพแล้วก็ตาม ก็ถือว่าเป็นเหรียญพระเกจิอาจารย์เหรียญแรกของภาคใต้ที่มีอายุเก่าที่สุด

เป็นเหรียญที่หายากที่สุด เพราะสร้างน้อย และผู้มีไว้บูชาก็ต่างหวงแหนยิ่งนักครับผม



เหรียญพระพุทธโสธรหลัง ภปร 2509

มาคุยถึง "เหรียญหลัง ภปร" กันต่ออีกสักหน่อย ก็พยายามหยิบยกเหรียญสำคัญๆ มาให้ได้ทัศนากัน ฉบับนี้เป็น "เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509" ที่เรียกกันว่า "รุ่นสร้างโรงเรียน"

ความสำคัญเหรียญรุ่นนี้ คือ ประการแรก สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จพระราชกุศลสร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร วันที่ 3 มิ.ย.2509 ประการที่สอง เป็นเหรียญจำลองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ฉะเชิงเทรา และเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของประเทศที่เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วหล้า และประการสำคัญ คือ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมา ภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานด้านหลังเหรียญ อันนับเป็นมหามงคลยิ่ง

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 จัดสร้างโดย พระราชพุทธิรังสี (จิรปุญโญ ด.เจียม กุลละวณิชย์) หรือ พระพรหมคุณาภรณ์ (สมณศักดิ์สุดท้ายเมื่อมรณภาพ) เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหารขณะนั้น

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2509 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เสด็จฯ พิธีวิสาขบูชา ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร

ด้วยอันเป็นมูลเหตุแห่งการจัดสร้าง "พระอุโบสถหลังใหม่" ที่งดงามอลังการ จากพระราชปรารภถึงความคับแคบ

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 เป็นเหรียญรูปเสมา หูในตัว มีห่วง ด้านหน้ายกขอบ 2 ชั้น ชั้นในเล็กกลมแบบเส้นลวด ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อพระพุทธโสธรเต็มองค์ ต่อด้วยอักษร ไทยว่า "หลวงพ่อพระพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา" ล่างสุดเป็นตัวอักษร "พ" ซึ่งย่อมาจาก "พระราชพุทธิรังสี" พิมพ์ด้านหน้านี้แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ฐานบัวและพิมพ์ฐานเขียง สังเกตจากฐานขององค์พระ

ด้านหลังยกขอบหนาชั้นเดียว ตรงกลางเป็นพระปรมาธิไภยย่อ "ภปร" มีอักษรไทยจารึกว่า "ที่ระลึกโดยเสด็จพระราชกุศล สร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร ๓ มิ.ย.๐๙" โดยมีสัญลักษณ์ "ดาว" ด้านหน้าและท้ายประโยค จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง

พิธีพุทธาภิเษก ถือว่าจัดยิ่งใหญ่ในยุคนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว, หลวงพ่อจุ้ย วัดพงษาราม, หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี ฯลฯ

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 ในครั้งนี้ จัดสร้างหลายหมื่นเหรียญทีเดียว ทำให้มีบล็อกแม่พิมพ์หลายแม่พิมพ์ เท่าที่ผู้รู้ตรวจสอบดู ในเหรียญพิมพ์ฐานบัวมีคนแยกออกมาได้อีกประมาณ 4 บล็อก ส่วนพิมพ์ฐานเขียงแยกได้ประมาณ 3 บล็อก ส่วนด้านหลังหลักๆ จะมี 2 บล็อก

ดังนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่าต้องเกิดการหมุนเวียนของบล็อกหน้า-บล็อกหลังในการกดแม่พิมพ์ อีกทั้งเมื่อกดแม่พิมพ์ไปนานๆ ก็จะเกิดการตื้นเขินของแม่พิมพ์ หรือเกิดเนื้อเกินในบางจุด ตามที่ทราบกันดีอยู่ ส่งผลให้ "เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509" เกิดจุดตำหนิเหรียญมากมายหลายแบบ เป็นที่ปรากฏออกมาเป็นการเรียกพิมพ์ย่อยในหลายชื่อหลายพิมพ์ ซึ่งกลายเป็นผลดีต่อมิจฉาชีพวงการพระเครื่องในการสร้างความเข้าใจผิดหลากหลายเรื่องราว เพื่อสร้างผลประโยชน์ต่อตน และไม่ใช่เพิ่งเริ่มมี

สำหรับเหรียญนี้มีมาตั้งแต่เหรียญออกมาใหม่ๆ ด้วยเหตุที่เป็นเหรียญสำคัญที่เป็นที่ต้องการของสาธุชนอย่างกว้างขวาง แล้วยิ่งปัจจุบันด้วยแล้ว ความต้องการแสวงหาเพิ่มเป็นทวีคูณ พร้อมกับค่านิยมที่สูงขึ้นอย่างมากมายตามมา ผู้มีไว้ก็ต่างหวงแหน


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #45 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2560 10:49:22 »



พระวัดพลับ อมตะพระกรุฝั่งธนบุรี

ถ้าจะพูดถึงพระเครื่องเก่าแก่ในแถบกรุงเทพฯ-ธนบุรีแล้ว ชื่อ "พระวัดพลับ" ต้องติดในโผต้นๆ เพราะเป็นพระที่มีอายุความเก่ามากกว่า 200 ปี มากกว่า "พระสมเด็จวัดระฆังฯ" พระดังระดับประเทศ ที่อยู่ฝั่งธนบุรีเช่นกันอีกด้วย

ด้วยเนื้อหามวลสารแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผง พระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

วัดพลับ หรือ "วัดราชสิทธาราม" บางกอกน้อย เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชา เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดพระเนื้อผงยอดนิยม ที่เรียกขานกันในนาม "พระวัดพลับ"

ถึงแม้ว่าลักษณะองค์พระจะดูง่ายๆ ไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ "พระวัดพลับ" สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้มากมาย เมื่อมองแล้วจะเกิดความรู้สึกลึกซึ้งนุ่มนวล กอปรกับพุทธคุณอันเลิศล้ำ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างสูงในเวลารวดเร็ว ปัจจุบันแทบจะหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากมากๆ

พระวัดพลับแตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470

ต้องขอบคุณเจ้ากระรอกเผือกตัวน้อย ที่นำพาไปพบกับสุดยอดวัตถุมงคล "พระวัดพลับ" และนี่ก็คงเป็นที่มาของชื่อกรุพระเจดีย์ว่า "กรุกระรอกเผือก" นั่นเอง

ต่อมาเจ้าอาวาสจึงเปิดกรุพระเจดีย์อย่างเป็นทางการ ปรากฏว่ามีโพรงใหญ่อยู่กลางพระเจดีย์ และพบ "พระวัดพลับ" อีกเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ ยังพบ "พระสมเด็จอรหัง" อีกจำนวนหนึ่งด้วย มีทั้งพิมพ์สามชั้นและพิมพ์ฐานคู่ ซึ่งพระสมเด็จอรหังนั้น สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้าง และก่อนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ จะไปครองวัดมหาธาตุฯ เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดพลับมาก่อน ประกอบกับพระวัดพลับเป็นพระเนื้อผงสีขาว และมีส่วนผสมคล้ายคลึงกับพระสมเด็จอรหังมาก

จึงสันนิษฐานได้ว่า "พระวัดพลับ" น่าจะสร้างโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผงเช่นกัน

เนื้อหามวลสารของ "พระวัดพลับ" และ "พระสมเด็จวัดระฆังฯ" จะดูคล้ายคลึงกันมาก คือ เนื้อขององค์พระเป็นสีขาว มีความหนึกนุ่ม และมีรอยแตกร้าวแบบไข่นกปรอด

จะมีความแตกต่างกันตรงที่พระวัดพลับบางองค์จะมี "รอยลานของเนื้อพระ" อันเกิดจากความร้อน ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังฯ จะไม่ปรากฏรอยลานเลย แต่ก็ไม่ถือเป็นเอกลักษณ์สำหรับพระวัดพลับทุกองค์ และพบที่ทำด้วยตะกั่วก็มี มักทำแต่ขนาดเล็กและไม่ค่อยเป็นที่นิยม

พระวัดพลับที่พบมีมากมายหลายพิมพ์ ประทับนั่งขัดสมาธิก็มี เป็นพระไสยาสน์ก็มี เป็นพระปิดตาก็มี หรือจะเป็นแบบ 2 หน้าก็มี และได้รับการขนานนามกันไปต่างๆ ตามพุทธลักษณะขององค์พระ

อาทิ พิมพ์วันทาเสมา หรือ พิมพ์ยืนถือดอกบัว, พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก, พิมพ์พุงป่องใหญ่, พิมพ์พุงป่องเล็ก, พิมพ์สมาธิใหญ่, พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต, พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง, พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่, พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก ฯลฯ

ที่เป็นที่นิยมที่สุดก็คือ "พระวัดพลับ พิมพ์วันทาเสมา"

พิมพ์วันทาเสมา หรือพิมพ์ยืนถือดอกบัว อันนับเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในหลายๆ พิมพ์ของพระวัดพลับนั้น อาจเป็นเพราะพิมพ์นี้มีจำนวนพระน้อย และมีพุทธลักษณะที่แปลกแตกต่างก็เป็นได้ ลักษณะพิมพ์ทรงยาวรีแบบเม็ดขนุน ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5 ซ.ม. ด้านหลังนูนเล็กน้อย หลังแบนก็มีบ้าง

- พระเกศสั้นจิ่มบนมุ่นพระเมาลี เหมือนสวมหมวกกุยของชาวจีน
- พระนาสิกยื่นเป็นติ่ง
- พระหนุ (คาง) ยื่นแหลม มีเส้นหนวดเครา
- มีเส้นเอ็นพระศอ 2 เส้น
- พระหัตถ์ลักษณะคล้ายถือดอกบัวอยู่ อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
- ลำพระองค์ค้อมเล็กน้อย
- ส่วนพระโสณี (สะโพก) มักนูนเป็น กระเปาะ คล้ายไหกระเทียม
- ปลายจีวรสั้น แลคล้ายนุ่งกางเกงขาลอย
- ปลายพระบาทเอียงลาด ด้านหลังจะยื่นออกเล็กน้อย

สำหรับพิมพ์อื่นๆ ที่เป็นที่นิยมและเล่นหาในวงการเช่นกัน ติดตามฉบับหน้าครับผม

 

นอกจาก "พิมพ์วันทาเสมา" ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมและมีค่านิยมสูงสุดใน? พระวัดพลับ? ทุกพิมพ์แล้ว พิมพ์อื่นๆ ก็ยังนิยมเล่นหาด้วยค่านิยมที่ลดหลั่นกันไป อาทิ พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก, พิมพ์พุงป่องใหญ่, พิมพ์พุงป่องเล็ก, พิมพ์สมาธิเล็ก, พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต, พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง, พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่, พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก ฯลฯ ลองมาดูเอกลักษณ์กันซัก 3-4 พิมพ์ เผื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจศึกษาหรือเช่าหาครับผม

พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ เรียกตามพุทธลักษณะองค์พระคล้ายกับ? ตุ๊กตาเด็กเล่น? ความกว้างประมาณ 1.7-2 ซ.ม. สูงประมาณ 2.5-3 ซ.ม. มีทั้งปีกกว้างและปีกแคบ ความโดดเด่นอยู่ที่องค์พระเพียงอย่างเดียว ปราศจากลวดลายอื่นใดมาประกอบทั้งสิ้น องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบ ด้านหลังนูนแบบหลังเบี้ย หรือหลังเต่า

-เค้าพระพักตร์ใหญ่ องค์พระจะแลดูอวบอ้วน แต่งามสง่าอยู่ในที อิริยาบถประทับนั่งดูเข้มแข็ง
-พระพาหาอยู่ในลักษณะหักศอก ต้นพระ พาหาใหญ่
-การประสานพระหัตถ์ค่อนข้างแข็ง

พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก พุทธลักษณะองค์พระเหมือนพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความกว้างประมาณ 1 ซ.ม. สูงประมาณ 1.5-2 ซ.ม. มีทั้งปีกกว้างและปีกแคบเช่นกัน องค์ที่ปีกแคบมากจะแลดูองค์พระยิ่งเล็ก จนบางคนเรียกว่า "พิมพ์ไข่จิ้งจก" คือมีลักษณะเล็กและหลังนูน คล้ายไข่จิ้งจก

-เค้าพระพักตร์ใหญ่
-พระหนุ (คาง) สอบแหลม
-การทิ้งพระพาหาดูเหมือนหักเป็น 2 ท่อน และการประสานพระหัตถ์เป็นเส้นใหญ่เท่ากันหมด
-ปลายพระบาทด้านขวาขององค์พระเฉียงทแยงขึ้นมา

พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่ องค์พระมีความกว้างประมาณ 1.5 ซ.ม. สูงประมาณ 2-2.2 ซ.ม. มีทั้งแบบปีกกว้างและปีกแคบ องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบเช่นกัน ด้านหลังนูนแบบหลังเต่า

-เค้าพระพักตร์ใหญ่
-พระหนุ (คาง) สอบแหลม
-พระอุระและพระอุทรนูนสูงมาก อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
-การวางพระหัตถ์หักเป็น 3 ท่อน และการประสานพระหัตถ์อยู่ในแนวราบ ดูคล้ายอุ้มพระอุทรไว้
-ข้อพระหัตถ์คอดเล็ก

พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องเล็ก องค์พระกว้างประมาณ 1 ซ.ม. สูงประมาณ 1.7-2 ซ.ม. มีทั้งแบบปีกกว้างและปีกแคบ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบ ด้านหลังนูนแบบหลังเต่า

-เค้าพระพักตร์แบบผลมะตูมยาน
-พระหนุ (คาง) ไม่แหลม
-เส้นลำพระศอค่อนข้างยาว
-พระอุระและพระอุทรนูนสูง
-ต้นพระพาหาเล็กลีบ
-การวางพระพาหาหักเป็น 3 ท่อน การประสานพระหัตถ์อยู่ในแนวราบ แต่ข้อพระหัตถ์ไม่คอด

หลักการพิจารณา? พระวัดพลับ? ในเบื้องต้น ให้สังเกตผิวขององค์พระ พระที่บรรจุอยู่ในกรุเจดีย์กระรอกเผือกเป็นเวลานานนับร้อยกว่าปี จะเกิดปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากความชื้น ความร้อน และความเย็น องค์พระที่ปรากฏจึงมีสีผิวค่อนข้างขาว ลักษณะเป็น? คราบน้ำ? ตกผลึกเป็นสีขาวและสีเหลืองอ่อนเจือปน ที่เรียกกันว่า "ฟองเต้าหู้" บางองค์เกาะเป็นก้อนจนแลดูเหมือนมี "เนื้องอก" ขึ้นจากพื้นผิวขององค์พระเป็นเม็ดๆ แต่เมื่อขูดออก ผิวขององค์พระก็จะเรียบเหมือนเดิมทุกประการ

นอกจากนี้ ต้องทราบไว้ว่า "พระวัดพลับ" ไม่ได้พบที่? กรุกระรอกเผือก วัดพลับ? เพียงกรุเดียว ยังมีการค้นพบบรรจุใน ?กรุพระเจดีย์ วัดโค่ง จ.อุทัยธานี? ด้วย ซึ่งสันนิษฐานว่าได้มีการนำไปบรรจุไว้ แต่มีจำนวนไม่มากนัก และด้วยสภาพกรุพระเจดีย์ทั้งสองมีความแตกต่างกัน จึงส่งผลให้สภาพพื้นผิวขององค์พระทั้งสองวัดมีความแตกต่างกันด้วย

โดย "พระวัดพลับ กรุวัดโค่ง" ผิวของ องค์พระจะมีขี้กรุสีน้ำตาลแก่ และขี้กรุจะแข็ง มากเหมือนกับขี้กรุของพระสมเด็จวัดบาง ขุนพรหม




"ยอดขุนพล" ชินเงิน เมืองลพบุรี

พระยอดขุนพล ที่มีการจัดสร้างกันมาแต่ครั้งโบราณกาลในทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่สมัยลพบุรี สุโขทัย อยุธยา มาจนถึงรัตนโกสินทร์นั้น ถ้านับความเก่าแก่ของอายุการสร้างตามความรุ่งเรืองในแต่ละสมัยแล้ว ก็ต้องถือว่า พระยอดขุนพล ที่ขึ้นจาก จ.ลพบุรี มีอายุการสร้างมายาวนาน

พระยอดขุนพล เมืองลพบุรี นั้น นอกจาก “พระหูยาน ลพบุรี” หนึ่งในเบญจภาคีพระยอดขุนพลอันโด่งดังแล้ว ยังมีการค้นพบอีกหลายกรุหลายเนื้อ ทั้งเนื้อชินเงิน ชินตะกั่วสนิมแดง เนื้อดิน เป็นต้น แต่หากจะเน้นถึง ‘พระยอดขุนพล เนื้อชินเงิน’ ที่เป็นยอดนิยมอันดับหนึ่งของจังหวัด ต้องยกให้ “พระยอดขุนพล กรุวัดไก่” วัดเก่าแก่ของลพบุรี ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่สมัยโบราณ

วัดไก่ อยู่ในพื้นที่ตำบลทะเลชุบศร สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้น ในอดีตเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง แต่ ณ ปัจจุบัน ปรากฏเพียงซากพระเจดีย์ปรักหักพังเท่านั้น และอาจสืบเนื่องจากรอบๆ ฐานของพระเจดีย์มี ‘รูปไก่’ ปั้นด้วยปูนขาวรายล้อม ชาวบ้านจึงเรียกวัดร้างแห่งนี้ว่า “วัดไก่”



พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ มีการขุดค้นพบที่พระเจดีย์วัดไก่ ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2489-2490 โดยการแตกกรุเกิดจากการขุดค้นหาพระเครื่องและของมีค่าของนักเผชิญโชครุ่นเก่าๆ ในหลายครั้งหลายหนและหลายคน ได้พระกันไปจำนวนมาก หลายยุค หลายพิมพ์ ปะปนกัน ทั้งพระศิลปะลพบุรีบริสุทธิ์ ศิลปะอยุธยา โดยเชื่อว่า ‘พระศิลปะลพบุรี’ ได้ถูกนำมารวมกับ ‘พระศิลปะอยุธยา’ เพื่อร่วมบรรจุไว้ภายในกรุ ในช่วงสร้างพระเจดีย์ เช่นเดียวกับที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี

ถึงจะมีมากมายหลายพิมพ์ทรง แต่ที่เรียก “ยอดขุนพล” จะมีเฉพาะพิมพ์ทรงที่มีความอลังการ องค์พระภายในซุ้มแสดงถึงความยิ่งใหญ่ อาทิ ทรงเครื่องกษัตริย์ มีลายกนกหรือซุ้มเรือนแก้ว เป็นต้น

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ พุทธลักษณะเป็นพระพุทธศิลปะสมัยลพบุรี ขนาดความสูงประมาณ 7 ซ.ม. กว้างประมาณ 4 ซ.ม. ซึ่งถือว่าขนาดเขื่องพอควร องค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัย ภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะฐานบัวสองชั้น ปรากฏเส้นสังฆาฏิคมชัดเจน พุทธลักษณะอันโดดเด่น คือ ลักษณะการทรงเครื่องแบบ ‘เทริด’ องค์พระทรงเครื่องแบบสวมมงกุฎ สวมกำไลที่พระพาหา ข้อพระกร และข้อพระบาท ประทับนั่งอยู่บนฐานแบบบัลลังก์ ซุ้มเรือนแก้วแลดูแข็งแรง มั่นคง แสดงให้เห็นถึงฝีมือช่างที่สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างงดงามอลังการ ที่ปรากฏพบมีทั้งหมด 3 เนื้อ คือ เนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง และเนื้อดิน

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อชินเงิน

จะมีขนาดใหญ่กว่าพระเนื้ออื่น องค์พระที่สมบูรณ์จะปรากฏรายละเอียดต่างๆ ของพระพักตร์อย่างชัดเจน เสาซุ้มทางด้านซ้ายขององค์พระ หัวเสาจะสูงกว่าทางด้านขวา อันเป็นเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ สำหรับด้านหลัง เป็นหลังลายผ้า พื้นผิวขององค์พระออกเทาอมดำ พบพรายปรอทตามซอกประปราย พิมพ์นี้หาองค์พระที่สมบูรณ์แบบได้ยากมาก เนื่องจากเป็นพระขนาดเขื่องและไม่หนานัก จึงผุกร่อนไปตามกาลเวลา

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อตะกั่วสนิมแดง

ขนาดจะย่อมกว่า ‘พระเนื้อชินเงิน’ และมีความหนามากกว่า พุทธลักษณะแบบเดียวกับพระยอดขุนพลทั่วไป ความเด่นอยู่ที่ เป็นพระที่เนื้อหาจัดมาก สนิมหนา สีแดงอมม่วงจนถึงแดงจัด พบไขขาวขึ้นแซมอยู่โดยทั่วไป นับเป็นเนื้อที่มีความนิยมสูงสุดในกรุ

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อดิน

มีทั้ง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก เนื้อดินค่อนข้างหยาบแต่แน่นและแกร่ง ด้านหลังปรากฏเป็นหลังแบบตอกปาดเป็นส่วนใหญ่ ที่เป็นแบบลายนิ้วมือกดพิมพ์ก็มีให้พบเห็นบ้าง

ถึงแม้ พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อชินเงิน จะได้รับความนิยมมากเป็นอันดับหนึ่ง แต่ถ้าพูดถึงพุทธคุณแล้ว ทั้ง 3 เนื้อนั้นมีความโดดเด่นในด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และอำนาจบารมีสูงเช่นเดียวกันครับผม





พระยอดขุนพล เนื้อชินเงิน อีกหนึ่งพิมพ์ที่เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดอันดับต้นๆ ของ จ.ลพบุรี ตามพุทธลักษณะที่เรียกว่า "พระร่วง" คือ องค์พระประทับยืน ทรงเครื่องอลังการ ภายในซุ้มเรือนแก้ว นั่นคือ พระร่วงยืน กรุถ้ำมหาเถร

เป็นที่ทราบกันดีว่า พระเครื่องนาม "พระร่วง" ซึ่งตั้งตาม "ราชวงศ์พระร่วง" ราชวงศ์แรกและราชวงศ์เดียวที่ปกครองราชอาณาจักรสุโขทัยนั้น นอกจากพุทธลักษณะที่งามสง่าแล้ว ยังมีพุทธคุณเป็นเลิศในทุกด้าน โดยเฉพาะแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี เป็นที่ปรากฏแก่ผู้บูชา แต่ "พระร่วง" ใช่ว่าจะมีการค้นพบเพียงที่จังหวัดสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งราชอาณาจักรเท่านั้น

ที่จังหวัดอื่นๆ ก็มีการค้นพบพระกรุในลักษณะ "พระร่วง" ซึ่งมีทั้งลักษณาการประทับยืนและประทับนั่ง มีพุทธศิลปะงดงาม โดดเด่น มีความเป็นเลิศทางพุทธคุณ ทั้งทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเช่นกัน และยังมีค่านิยมเป็นที่แสวงหาอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาไม่แพ้กันเลยทีเดียว

พระร่วงยืน กรุถ้ำมหาเถรนั้น นับเป็นหนึ่งในพระตระกูล "พระร่วง" ที่เรียกได้ว่าเก่าแก่และทรงคุณค่า ในวงการพระยังเชื่อว่า เป็นพระที่สร้างขึ้นสมัยลพบุรีตอนปลายเช่นเดียวกับ "พระร่วงยืน หลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี" เนื่องจากมีลักษณะพิมพ์ทรงและมีพุทธศิลปะเหมือนกันทุกประการ เข้าใจว่าน่าจะเป็นการนำเอาพระร่วงยืน หลังลายผ้า กรุวัดพระศรีฯ มาเป็นต้นแบบ จึงมีพุทธลักษณะและความงดงามอลังการเหมือนกันทุกอย่าง

พระร่วงยืน กรุถ้ำมหาเถร มีการค้นพบที่ "ถ้ำมหาเถร" หมู่บ้านน้ำจั้น ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จึงขนานนามตามกรุที่พบ ถ้ำนี้เป็นถ้ำขนาดใหญ่บนเทือกเขาเดียวกันกับเขาเอราวัณทางด้านทิศตะวันออก ใกล้ๆ กันนั้นยังมีถ้ำพระพุทธอีกด้วย

เล่ากันว่า ภายในถ้ำอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ ได้มีผู้ใจบุญสร้างพระพุทธรูปบูชาปางไสยาสน์ไว้ 1 องค์ เป็นพระที่ก่ออิฐถือปูนและปิดทองทั้งองค์ เมื่อผ่านกาลเวลาและขาดการดูแลรักษา องค์พระพุทธรูปเสื่อมโทรมไป กาลต่อมา ประมาณปี พ.ศ.2516 มีนักเผชิญโชคได้มาพบไห 1 ใบ เมื่อเปิดดูก็พบพระเครื่องยืนปางประทานพร หรือที่เรียกว่า "พระร่วง" เป็นพิมพ์ใหญ่ 300 องค์ พิมพ์เล็ก 50 องค์ ยังมีพระหูยานประทานพรอีก 60 องค์




พระร่วงยืน กรุถ้ำมหาเถร มีพุทธศิลปะเป็นศิลปะลพบุรีโดยแท้ องค์พระประทับยืนในอิริยาบถประทานพร พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายทอดลงสู่เบื้องล่าง พระพักตร์แลดูเคร่งขรึมและดุดัน อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว

จากการค้นพบ สามารถแบ่งพิมพ์ออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ "พิมพ์ใหญ่" จำนวน 300 องค์ ขนาดความสูงประมาณ 7 ซ.ม. กว้าง 2 ซ.ม. โดยยังแยกออกเป็น พิมพ์ใหญ่ฐานสูง และพิมพ์ใหญ่ฐานเตี้ย ตามลักษณะของฐานที่แตกต่างกัน และ "พิมพ์เล็ก" ที่มีขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย จำนวน 50 องค์ ส่วนด้านหลัง เป็นหลังกาบหมาก และแอ่นเว้าเข้าเล็กน้อย

ประการสำคัญ คือจะมีเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น เป็นพระเนื้อชินเงิน และอาบปรอททั้งองค์

ด้วยพุทธคุณเป็นที่ปรากฏ ครบถ้วน ทั้งด้านคงกระพัน เมตตามหานิยม และโชคลาภ ทำให้พระร่วงยืน กรุถ้ำมหาเถรเป็นพระยอดขุนพลเมืองลพบุรีที่ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูง แต่ด้วยจำนวนที่พบนั้นน้อยมาก จึงหาของแท้ยากยิ่งนักในปัจจุบัน

การพิจารณา "พระร่วง กรุถ้ำมหาเถร" ซึ่งเป็นเนื้อชินเงินอาบปรอท เมื่อผ่านกาลเวลาจะมีธรรมชาติที่ "รอยปริระเบิดของเนื้อ" ที่มักปรากฏร่องรอยที่ระเบิดในเนื้อพระทุกองค์ โดยเฉพาะบริเวณขอบพระ และเป็น "การปริ" จากภายในเนื้อองค์พระออกสู่พื้นผิวด้านนอก

อย่างไรก็ตาม สมัยนี้เทคโนโลยีสูงส่ง ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจเช่าหาครับผม




หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี

พระเกจิอาจารย์ชื่อดังสมัยสงคราม อินโดจีนต่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกหนึ่งรูปที่เป็นที่กล่าวขวัญและเคารพศรัทธาสืบมาจนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือ หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี

เป็นชาวลพบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2395 ที่บ้านบางพุทโธ ต.ตลุง อ.เมือง จ.ลพบุรี

ด้วยความมีใจนักเลง ถึงไหนถึงกัน เป็นเหตุให้เกิดมีเรื่องราวกับคู่อริถึงขนาดทำร้ายกันจนถึงชีวิต จนต้องหลบหนีอาญาจากบ้านเมืองไป ระหว่างนั้นเอง ได้มีโอกาสร่ำเรียนวิทยาอาคมจากพระเกจิอาจารย์และฆราวาสผู้ทรงพุทธาคมสูงส่งมากมาย หากแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นท่านใดบ้าง เมื่อพ้นอายุความคดีฆ่าคนตาย ในช่วงวัยกลางคน จึงหวนสู่ภูมิลำเนา ณ บางพุทโธ และ ตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ วัดบัว โดยมี พระสังฆภารวาหมุนี (หลวงพ่อเนียม) วัดเสาธงทอง พระเกจิชื่อดังยุคนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "จันทโชติ"

ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ วัดบัว ได้สังเกตว่า "วัดนางหนู" วัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามนั้น มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากจนเกือบจะเป็นวัดร้างและไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาอยู่เลย ท่านจึงขอย้ายไปจำพรรษาที่วัดนางหนู บูรณปฏิสังขรณ์ ตลอดจนสร้างเสนาสนะต่างๆ เมื่อชาวบ้านได้เห็นถึงความมุ่งมั่นก็เริ่มศรัทธามาร่วมแรงร่วมใจกัน จน "วัดนางหนู" มีความถาวรเป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรือง ต่อมาได้มีการสังคายนาชื่อวัดให้ถูกต้องตามทำเนียบสงฆ์ จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดมุกสิกกาวาส"

เพื่อตอบแทนน้ำใจญาติโยมที่สละทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ในการร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดในครั้งนั้น หลวงปู่จันทร์จึงสร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังมากมายออกมาแจกจ่าย อาทิ ตะกรุดโทน เสื้อยันต์ หรือการลงกระหม่อมให้ เป็นต้น ซึ่งผู้ได้รับไปต่างมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะด้านแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี

เล่ากันว่า เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ประมาณปี พ.ศ.2484 ทหารหน่วยต่างๆ ต่างมุ่งสู่วัดนางหนู เพื่อขอวัตถุมงคลจากหลวงปู่จันทร์ เป็นจำนวนมาก พร้อมสละทรัพย์หรือปัจจัยให้นำไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เงินทำบุญนั้นมากขนาดสร้างโบสถ์หลังใหม่ได้เลยทีเดียว หลังจากนั้นไม่นาน หลวงปู่จันทร์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสดูแลปกครองวัดนางหนูสืบมา และชื่อเสียงก็โด่งดังไปทั่วภาคกลาง ในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิทยาอาคมเข้มขลัง เป็นอีกหนึ่งพระเกจิ อาจารย์ผู้เกรียงไกรในช่วงสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รับนิมนต์เข้านั่งปรกในพิธีพุทธาภิเษกสำคัญๆ ต่างๆ อาทิ พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อปี พ.ศ.2481 และพิธีปลุกเสก "พระพุทธชินราชอินโดจีน" ณ วัดสุทัศน์ เมื่อปี พ.ศ.2485

มรณภาพในปี พ.ศ.2490 รวมสิริอายุ 97 ปี

ในบรรดาวัตถุมงคลนั้น "เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ ปี 2478" ที่แจกเป็นที่ระลึกในการจัดสร้างศาลาวัดนางหนู นับเป็นเหรียญยอดนิยมที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเหรียญประจำจังหวัดลพบุรี ที่มีความต้องการและแสวงหาอย่างสูง ด้วยเป็น "เหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียว" ของท่าน

เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ รุ่นแรกและรุ่นเดียว ปี 2478 เท่าที่พบเป็นเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่กลม หูในตัว ด้านหน้า ยกขอบเป็นลวดแบน ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่จันทร์ครึ่งองค์หน้าตรง มีอักษรไทยโดยรอบว่า "หลวงพ่อจัน อายุครบ ๘๓ ปี พระจันทะโชติ์" ด้านหลังเป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็นอักขระขอม "นะเฉลียวเพชร" ขึ้นยอดเป็นอุณาโลม แล้วล้อมด้วย อักขระขอม 3 ตัว ว่า "อิสวาสุ" โดยรอบเหรียญจารึกอักษรไทยว่า "ให้เป็นที่รฤกในงานฉลองศาลา พ.ศ.๒๔๗๘"

ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากยิ่ง สนนราคานั้น ถ้าสวยสมบูรณ์จริงๆ แตะหลักแสนแล้ว รุ่นนี้มีบล็อกหน้าพิมพ์เดียว บล็อกหลังมีถึง 3 พิมพ์ ต้องศึกษาและพิจารณาจุดตำหนิกันให้ดีๆ ก่อนตัดสินใจครับผม




วัตถุมงคลครูบาเจ้าศรีวิชัย สำนักสงฆ์ดอยขะม้อ ลำพูน

สำนักสงฆ์ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์ ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน เดิมเรียกกันว่า ดอยขะมอกŽ เพราะมีดอกไม้พื้นบ้านที่เรียกว่า ดอกขะมอกž เป็นจำนวนมาก ภายหลังเพี้ยนเป็น ดอยขะม้อŽ ในสมัยโบราณถือเป็น 1 ใน 3 สถานที่มหามงคล ที่นักปฏิบัติธรรมมักมาปลีกวิเวกบำเพ็ญเพียรภาวนา

นอกจากนี้ยังนับเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ด้วยน้ำใน “บ่อน้ำทิพย์Ž” ที่นี่ ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองลำพูน เล่ากันว่าเป็นน้ำที่ใช้หมักดินในการสร้าง พระรอดลำพูนž และใช้ในพิธีสรงน้ำ พระบรมธาตุหริภุญชัยž ในเทศกาลแปดเป็งเป็นประจำทุกปีมาแต่อดีต

ทั้งยังเป็น น้ำศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 7 เมืองโบราณของไทยž อันประกอบด้วย แม่น้ำป่าสัก ต.ท่าราบ (เมืองศรีเทพ), ทะเลแก้วและสระแก้ว จ.พิษณุโลก, น้ำโชคชมภู่ น้ำบ่อแก้ง น้ำบ่อทอง จ.สวรรคโลก, แม่น้ำนครไชยศรี จ.นครปฐม (เมืองนครชัยศรีโบราณ), บ่อวัดหน้าพระลาน บ่อวัดเสมาชัย บ่อวัดเสมาเมือง จ.นครศรีธรรมราช, บ่อน้ำวัดธาตุพนม จ.นครพนม และบ่อน้ำทิพย์ดอยขะม้อ จ.ลำพูน นี้ ที่ใช้ในพระราชพิธีสำคัญๆ ตามโบราณราชประเพณีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน






กำหนดพิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ 8-9 ธันวาคม 2559  ณ สำนักสงฆ์ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์ จ.ลำพูน โดยมีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมทั่วประเทศเมตตาเข้าร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิต

อาทิ ครูบาออ สำนักสงฆ์พระธาตุดอยจอมแวะ จ.เชียงใหม่, ครูบาคำตัน วัดย่าพาย จ.เชียงใหม่, ครูบาอุ่น วัดโรงวัว จ.เชียงใหม่, ครูบาอินสม วัดศรีดอนมูล จ.เชียงราย, ครูบาสนอง สุมโน วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว จ.เชียงราย, ครูบาบุญยัง วัดห้วยน้ำอุ่น จ.ลำพูน, ครูบาดวงจันทร์ วัดศรีชุม จ.ลำพูน, ครูบาอินทร วัดสันป่ายางหลวง จ.ลำพูน, ครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง (ป่ายาง) จ.ลำพูน, พระเทพรัตนนายก เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย เจ้าคณะจังหวัดลำพูน, หลวงพ่อเสนาะ วัดปงท่าข้าม จ.แพร่, ครูบาจันทร์ วัดน้ำแป้ง อ.ปง จ.พะเยา, พระครูอาทรนันทกิจ วัดหนองแดง จ.น่าน, หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ จ.พิจิตร, หลวงพ่อบุญส่ง วัดราษฎร์ศรัทธาราม (เนินกุ่มเหนือ) จ.พิษณุโลก, หลวงปู่แขก ปภาโส วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก และพ่อท่านผอม วัดไทรขาม จ.นครศรีธรรมราช พร้อมกันนี้พระเกจิอาจารย์ที่อธิษฐานจิตปลุกเสกเดียว ประกอบด้วย ครูบาศรีมรรย์ วัดบ่อเต่า จ.เชียงใหม่, พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวก จ.เชียงใหม่, หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่, พระอาจารย์คลังแสงแห่งสถานปฏิบัติธรรมสมเด็จเจ้าเกาะยอ (เขากุฏิ) จ.สงขลา, พระเทพญาณโมลี เจ้าคณะจังหวัดสงขลา-เจ้าอาวาสวัดทรายขาว, หลวงพ่อชุบ ปญฺญาวุโธ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี, พระอาจารย์อุทัย วัดวิหารสูง จ.พัทลุง และพ่อท่านคลาย วัดจันทาวาส จ.สุราษฎร์ธานี

ด้วยบารมีแห่ง ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาŽ ในการทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาให้คงอยู่สถาพร จะสร้างเสริมพุทธคุณสู่วัตถุมงคล กอปรกับเจตนาการจัดสร้างและการปลุกเสกอธิษฐานจิตของพระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษ เชื่อว่าวัตถุมงคลครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่นสมปรารถนา จะทรงพลังความเข้มขลังและอิทธิปาฏิหาริย์ เฉกเช่น วัตถุมงคลครูบาเจ้าศรีวิชัยทุกรุ่นž ที่ล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหาสืบมา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักสงฆ์ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์ โทร.08-1681-1150 ครับผม




เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย หลัง ภปร ปี 2557

วัตถุมงคลใดได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญอักษรพระปรมาภิไธย “ภปร” ประดิษฐานนั้น นอกจากความเข้มขลังและพุทธคุณในคุณวิเศษแห่งพระพุทธหรือพระเกจิที่จำลองลง บวกกับพลังแห่งการอธิษฐานจิตของบรรดาพระเกจิอาจารย์ในพิธีพุทธาภิเษกแล้ว อักษรพระปรมาภิไธย “ภปร” นับเป็นการเสริมมหามงคลสูงส่งให้บังเกิด ด้วยพระบารมีแห่งองค์พระมหากษัตริยาธิราชเจ้า เฉกเช่น เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย หลัง ภปร ปี 2527

ครูบาเจ้าศรีวิชัย อมตะเถระชื่อดังอันดับหนึ่งแห่งล้านนา ผู้สร้างเกียรติประวัติและคุณูปการต่อพระบวรพุทธศาสนาในพื้นที่ภาคเหนือไว้อย่างมากมาย จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักบุญแห่งล้านนาไทย” ด้วยกิตติศัพท์และอิทธิปาฏิหาริย์ของท่านทั้งด้านพุทธบารมีและคุณวิเศษ แม้ท่านจะละสังขารไปนานแล้ว แต่ความเชื่อและความศรัทธาในบารมีศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ยังคงอยู่ในความรำลึกถึงของบรรดาพุทธศาสนิกชนไม่เสื่อมคลาย วัตถุมงคลของท่าน ถึงแม้จะสร้างหลังจากที่ท่านมรณภาพไปแล้ว ก็ล้วนทรงอิทธิปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ จนได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูงสืบถึงปัจจุบัน

ครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 สิริอายุ 60 ปีเศษ 40 พรรษา

สำหรับ “เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย หลัง ภปร ปี 2527” จัดสร้างเนื่องในโอกาสที่ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้จัดโครงการ “วันกตัญญูเชิดชูเกียรติคุณ ฉลองสมโภชครบรอบ 50 ปี สร้างทางขึ้นดอยสุเทพของครูบาศรีวิชัย” โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ประดิษฐานด้านหลังเหรียญ จัดสร้างเป็น เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และเนื้อทองแดง มี 2 ขนาด คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก

พิธีล้านนามหาพุทธาภิเษก จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2527 โดย พระเดชพระคุณพระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 7 เป็นประธานจุดเทียนชัย เจ้าคณะจังหวัดภาคเหนือ และเจ้าคณะอำเภอ ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 35 รูป เจริญพระพุทธมนต์คาถาแผ่ เมตตาจิต 1 ชั่วโมง

ต่อมาพระเกจิอาจารย์ผู้เป็นลูกศิษย์อาวุโสที่เคยร่วมงานพัฒนากับครูบาเจ้าศรีวิชัยมาแล้ว จำนวน 18 รูป ทั้งจากเชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน ร่วมสวดพระพุทธมนต์ตามแบบฉบับล้านนา มีอาทิ ครูบาหล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง, ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง, ครูบาบุญมี วัดท่าสะต๋อย, ครูบาสิงหชัย วัดฟ้าฮ่าม, ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง, ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง, ครูบาโสภา วัดผาบ่อง, ครูบาอ้าย วัดศาลา, ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาฬุการาม, ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง, ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง ฯลฯ

ระหว่างการประกอบพิธี ได้เกิดเหตุอัศจรรย์มากมาย สร้างความตื่นเต้นและปลื้มปีติแก่ผู้ร่วมพิธียิ่งนัก อาทิ เมื่อบรรดาลูกศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัยสวดพระพุทธมนต์แล้วเสร็จ เข้านั่งสมาธิบริกรรมภาวนาแผ่เมตตามหากุศล ก็ปรากฏเมฆฝนขึ้นในบริเวณมณฑลพิธี อากาศหนาวเย็น มีฝนโปรยปรายลงมา ดั่งชั้นฟ้าร่วมหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ และเมื่อครูบาอิ่นแก้ว ได้แสดงความกตัญญูด้วยการตั้งจิตอธิษฐานแผ่เมตตาจิตแด่ดวงวิญญาณครูบาเจ้าศรีวิชัย จากนั้นหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ลงสู่ผืนดินบริเวณอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าฯ เชิงดอยสุเทพ ปรากฏว่า ท่านครูบาอิ่นแก้วเองนั้นจีวรเปียกไปทั้งตัว นับเป็นบุญญาภินิหารยิ่งนัก

เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย หลัง ภปร ปี 2527 เหรียญของพระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษ “นักบุญแห่งล้านนา” กอปรกับพระบารมีแห่งองค์พระมหากษัตริย์ พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ที่ประดิษฐานด้านหลังเหรียญ จึงเป็นที่ต้องการและแสวงหาของสาธุชนอย่างกว้างขวางยิ่ง

ณ ปัจจุบัน คงหาดูหาเช่ายากนักครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #46 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2560 07:26:47 »




พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร.

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร 50 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น “พระปรกใบมะขามหนึ่งเดียว” ที่ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร”, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ในพิธี และยังได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกโดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นจากทั่วประเทศเป็นอย่างน้อยถึง 2 วาระ

นับเนื่องไปเมื่อปี พ.ศ.2527 ซึ่งเป็นโอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบกึ่งศตวรรษ (50 ปี) มหาวิทยาลัยมีมติจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อทองล่ำอู่ ขนาดหน้าตัก 25 นิ้ว จำนวน 4 องค์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย

แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นพระประจำมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่า “พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” โปรดให้ประดิษฐานประจำที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) 1 องค์ ศูนย์รังสิต 1 องค์ ศูนย์พัทยา 1 องค์ และสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 1 องค์ โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธี ทรงพระสุหร่ายและทรงเททองหล่อพระพุทธรูปด้วยพระองค์เอง

การจัดสร้างวัตถุมงคลอื่นๆ เพื่อเป็นที่ระลึกและหารายได้ตั้งกองทุนด้านศาสนกิจ ศาสนศึกษา และสาธารณกุศลต่างๆ ประกอบด้วย พระบูชาพระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อล่ำอู่แดง หน้าตัก 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว, พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ภปร เนื้อนวโลหะ และพระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อทองคำ, เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทองชนวนมาผสมกับทองชนวนสำคัญๆ อาทิ พระกริ่งสมเด็จสังฆราชแพหลายรุ่น, พระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, เหรียญหล่อหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช, พระกริ่งหลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง รวมทั้งแผ่นยันต์และผงวิเศษของเกจิอาจารย์ต่างๆ อีกมากมายหลายรูป

พิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ ในวันที่ 17-18 ตุลาคม พ.ศ.2527 มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย

พระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิต อาทิ พระธรรมปัญญาจารย์ (ทิม) วัดราชประดิษฐ์, พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม, หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา, หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม, พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส, พระอาจารย์ทองใบ วัดสายไหม, พระปริยัติมุนี (ชูศักดิ์) วัดหงส์รัตนาราม, หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิต, หลวงพ่อพล วัดหนองคณฑี, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม, หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อกล้วย วัดหมูดุด, หลวงพ่อแช่ม วัดบ่อพุ, หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ, หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ, หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม และ หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง เป็นต้น

สำหรับ “พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร” นั้น ยังไม่ได้นำออกให้เช่าบูชา พิธีพุทธาภิเษกที่ผ่านมาจึงนับเป็นวาระที่ 1 ต่อมาได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกในวาระที่ 2 ณ หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2528 โดยพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิตส่วนใหญ่เป็นชุดเดิมจากวาระที่ 1 จากนั้นจึงได้มีการนำออกมาให้เช่าบูชา

พระที่เหลือได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งเป็นวาระที่ 3 พร้อม “พระกริ่งธรรมศาสตร์ 60 ปี” ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2537 โดยกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ มาทรงเป็นประธานในพิธี และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย นอกจากนี้ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้เมตตาเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์รวม 9 รูป ปลุกเสกอธิษฐานจิตโดยพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในวาระที่ 1 และ 2 เป็นส่วนใหญ่ รวมแล้วถึง 116 รูป

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร เป็นพระเครื่องขนาดเล็กมาก พิมพ์ทรงโค้งมนแบบเล็บมือ ยกขอบหน้า-หลัง ด้านหน้า จำลององค์พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญองค์หนึ่งของไทย ประทับนั่งเหนืออาสนะฐานบัว พื้นหลังเป็นม่านแหวก ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ล่างสุดจารึกอักษรไทย “๕๐ ปี มธ.”

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นพระปรกใบมะขามหนึ่งเดียวในกลุ่ม ที่ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” จึงถือเป็นพระเครื่องสำคัญรุ่นหนึ่งในรัชกาล ให้สังเกตโค้ดให้ดี จะมีทั้ง ตอกโค้ด 1 ตัว และ 2 ตัว “โค้ด 1 ตัว” ต้องเป็นตัว “นะ” ซึ่งเป็นโค้ดในพิธีพุทธาภิเษกวาระที่ 1 (50 ปี ธรรมศาสตร์) สำหรับ “โค้ด 2 ตัว” คือเพิ่มโค้ด “ธรรมจักร” จะเป็นพระที่ได้นำเข้าพิธีฯ ในวาระที่ 3 (60 ปี ธรรมศาสตร์) ด้วย ครับผม




พระปรกใบมะขามพระพุทธสิหิงค์ ภปร.

"วัดโพธิ์บางคล้า" อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เป็นวัดที่เก่าแก่อีก แห่งหนึ่งของเมืองแปดริ้ว เป็นวัดสำคัญ ประดิษฐานองค์หลวงพ่อโต
 
วัดโพธิ์บางคล้า สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และเมื่อปี พ.ศ.2309 คราวที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน นำทัพตีฝ่าวงล้อมของพม่า จากกรุงศรีอยุธยา และมาพักทัพรบที่วัดโพธิ์บางคล้าแห่งนี้ ได้สู้รบกับกองกำลังของพม่า ซึ่งในการรบครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าตากสิน เป็นฝ่ายได้ชัยชนะ ตีทัพขับไล่ฝ่ายพม่าแตกกระเจิง

พระองค์ท่านจึงได้สร้างวิหารทรงจัตุรมุข และภายในวิหารมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะในครั้งนั้น ก่อนเดินทัพต่อไปเมืองจันทบุรี

ด้วยเหตุที่วัดโพธิ์บางคล้า ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเกี่ยวข้องโดยตรงกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงได้จัดสร้าง "เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน รุ่นปราบไพรี" (เม็ดแตง) โดยมี พล.ต.ณรงค์ พฤกษารุ่งเรือง ผบ.กองพลทหารราบที่ 11 และ นางฐิติมา ฉายแสง พร้อมด้วยคณะกรรมการ ร่วมเป็นประธาน

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง เพื่อนำรายได้จัดสร้างอนุสรณ์สถาน (ศาลพร้อมรูปเหมือนองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์บางคล้า

เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน "รุ่นปราบไพรี" ประกอบด้วย ชุดกรรมการทองคำ 199 ชุด (มี 6 เหรียญ ได้แก่ เหรียญเนื้อทองคำ เนื้อเงินหน้าทอง เนื้อนวโลหะหน้าทอง เนื้อนวโลหะหน้าเงิน เนื้อสัตโลหะหน้าเงิน และเนื้อทองแดงหน้าเงิน) และมีเหรียญเงินลงยาสีแดง 299 เหรียญ เนื้อเงินลงยาสีเขียว 299 เหรียญ เนื้อเงินลงยาสีน้ำเงิน 299 เหรียญ เนื้อเงินลงยาสีเหลือง 299 เหรียญ เนื้อ อัลปาก้า 1,999 เหรียญ เนื้อสัตโลหะ 5,999 เหรียญ เนื้อทองแดง 5,999 เหรียญ รูปเหมือนนั่งเต็มองค์ขนาดบูชาสูง 28 นิ้ว (ตามจอง) และรูปเหมือนครึ่งองค์ขนาดบูชาสูง 14 นิ้ว(ตามจอง)

ลักษณะเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน เป็นเหรียญกลมรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญ เป็นพระรูปเหมือนสมเด็จพระเจ้าตากสินครึ่งพระองค์ สวมพระมาลา ด้านหลังเหรียญ เป็นตัวอักษรภาษาจีน ด้านบนอักษรจีน เขียนคำว่า "วัดโพธิ์บางคล้า" ด้านล่างอักษรจีน เขียนคำว่า "ปราบไพรี"

ทั้งนี้ วัดโพธิ์บางคล้า ประกอบพิธีเปิดศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อวันที่ 9 ก.พ.2559

ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน รุ่นปราบไพรี โดยมีพระเกจิคณาจารย์ ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ พระมงคลวรากร (หลวงพ่อชาญ) วัดบางบ่อ, พระครูสุภัททาจารคุณ (หลวงพ่อสิน) วัดละหารใหญ่, พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง, พระครูปลัดปิฎกวัฒน์ (ปลัดวิชัย) วัดสันติวิหาร, พระครูวิสาลธรรมทัศน์ วัดหนองเขิน, หลวงพ่อแถม วัดช้างแทงกระจาด, หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ, หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง, หลวงพ่อตี๋ วัดหูช้าง ฯลฯ

นับเป็นอีกเหรียญหนึ่ง ที่น่าเก็บสะสมหรือเช่าบูชา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร.09-7295-2888
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #47 เมื่อ: 02 มีนาคม 2560 12:02:34 »




สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ ณ กรุงเทพ) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

มีพระนามเดิมว่า ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ ณ กรุงเทพ ทรงเป็นโอรสของ หม่อมเจ้าถนอมกับหม่อมเอม นพวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2415 ตรงกับวันศุกร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก จุลศักราช 1234 ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น 4) กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส พระองค์เจ้านพวงศ์ วรวงศ์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส และทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์มีพระนิสัยโน้มเอียงในทางพระศาสนา กล่าวคือ ได้ตามเสด็จกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ไปวัดอยู่เสมอ จึงทำให้ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณร วัดบวรนิเวศวิหาร โดยพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาส เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมา เมื่อวันที่ 27 มิถุยายน 2435 ทรงผนวช ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม โดยพระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระนามฉายาว่า สุจิตฺโต

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเลื่อนสมณศักดิ์ และสถาปนาสมณศักดิ์เป็นลำดับ

พ.ศ.2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีพระราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

พ.ศ.2488 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประกาศสถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ประกาศเฉลิมพระนามสมเด็จพระสังฆราชเจ้าให้เต็มพระเกียรติยศตามราชประเพณี เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2493

พ.ศ.2499 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ และฐานันดรศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

พระองค์เป็นพระราชอุปัชฌาจารย์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จออกผนวชในบวรพระพุทธศาสนา เป็นเวลา 15 วัน

จากบันทึกในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร สมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ระบุว่า …

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชประสงค์จะได้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนาเป็นเวลานาน และเมื่อได้ทรงคุ้นเคยกับหลักการและการปฏิบัติของพุทธศาสนิก ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ที่ทรงพระศรัทธายิ่งขึ้น ต่อมาเมื่อต้นศก 2499 สมเด็จพระสังฆราช ผู้ที่ทรงนิยมนับถือด้วยวิสาสะอันสนิท และทรงถือว่ามีคุณูปการส่วนพระองค์มามากได้ประชวรลง ต้องเสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

พระอาการเป็นที่วิตกทั่วไปจนแทบไม่มีหวัง แต่ได้หายประชวรมาได้อย่างน่าประหลาด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมฟังพระอาการหลายครั้ง และได้ทรงพระราชดำริว่า ถ้าได้ทรงผนวชด้วยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นพระอุปัชฌายะแล้ว จะเป็นที่สมพระราชประสงค์ ในอันที่จะได้ทรงแสดงพระราชคารวะและศรัทธา ในพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเป็นอย่างดี จึงได้ตกลงพระราชหฤทัยที่จะทรงผนวช”

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันทรงลาผนวช เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2499 รวม 15 วัน”

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ.2525 ในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ได้มีการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เพื่อหาเงินสร้างตึกวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยด้านหลังเหรียญมีพระปรมาภิไธย ภปร. มีพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยจำนวนมากร่วมปลุกเสกในพระอุโบสถวัดบวร

พระเทพวิสุทธิกวี (ถาวร อธิวโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กล่าวว่า เหรียญสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และน่าสะสม ปัจจุบันยังมีให้บูชาที่หน้าพระพระอุโบสถวัดบวรวิหาร

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร โทร.09-9354-1456



พระหูยานกรุวัดปืน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุพระเก่าในช่วงนี้มีคนพูดถึงกันน้อย ก็อาจจะเป็นไปตามกระแสของการ เล่นหาสะสม แต่พระกรุนั้นเป็นสมบัติ ที่คนโบราณท่านสร้างไว้ในยุคของท่าน เพื่อสืบทอดพุทธศาสนา และความเชื่อที่มีกันว่า มีการพุทธาภิเษกพระเครื่องนั้นๆ ไว้ด้วย ต่อมาภายหลังได้มีผู้ค้นพบและนำมาบูชาก็ได้มีประสบการณ์ต่างๆ และเล่าบอกต่อกันมา

พระกรุเก่าๆ มิได้เป็นแค่เครื่องรางของขลังเท่านั้น ยังแฝงไว้ด้วยศิลปะในแต่ละยุคสมัย ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาในเวลาต่อมา พุทธศิลปะในแต่ละยุคสมัยก็มีความงดงามแตกต่างกันไป อย่างพระเครื่องที่สร้างในสมัยลพบุรี ก็มีศิลปะแบบขอมที่สร้างในประเทศไทย เช่น พระร่วงยืนหลังลายผ้า พระหูยาน พระร่วงนั่งพิมพ์ต่างๆ พระนาคปรก เป็นต้น ถ้าเราพิจารณาองค์พระจะเห็นศิลปะในยุคนั้นตามคตินิยมของช่วงเวลานั้น

พระหูยานของลพบุรี ไม่ว่าจะเป็นของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิมพ์ต่างๆ หรือพระหูยานของกรุวัดปืน จะเห็นว่าศิลปะของพระเป็นขอมแบบบายน ซึ่งเทียบเคียง กับศิลปะที่พบที่ปราสาทบายนในประเทศกัมพูชา สังเกตพระพักตร์ของพระหูยาน ของทั้ง 2 กรุ แล้วเทียบเคียงกับพระพักตร์ ของพระพักตร์ของพรหมพักตร์ที่ปราสาทบายน จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก การยิ้มมุมปากที่เป็นอัตลักษณ์ของศิลปะในยุคนี้ และมักเรียกการยิ้มแบบนี้ในศิลปะขอมว่า “ยิ้มแบบบายน” องค์พระโดยรวมก็แสดงถึงศิลปะขอมแบบบายน

พระหูยานจึงเป็น พระที่สันนิษฐานได้ว่ากำเนิดขึ้นในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งดินแดนแถบนี้ก็ได้อิทธิพลทางศิลปะมาจากขอม ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถานต่างๆ ที่พบเป็นศิลปะขอม เช่น พระปรางค์สามยอด ศาลพระกาฬ เป็นต้น จากการเทียบเคียงนี้ทำให้สันนิษฐานได้อีกว่า อายุของพระหูยานน่าจะอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18

พระหูยาน เราก็ทราบกันดีว่าพระส่วนใหญ่ที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แต่อีกกรุหนึ่งของลพบุรีที่มักจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก จนอาจจะลืมๆ กันไปบ้าง คือพระหูยานกรุวัดปืน ซึ่งที่วัดปืนแห่งนี้มีการพบพระกรุเนื้อชินอยู่หลายอย่าง และมีชื่อเสียง เช่น พระนาคปรก และพระหลวงพ่อแขก เป็นต้น แต่พระหูยานที่พบที่กรุวัดปืนนั้นพบน้อย จึงอาจจะไม่ค่อยแพร่หลาย และรู้จักกันมากนัก

พระหูยานกรุวัดปืน เป็นพระที่มีขนาดเล็กกว่าของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเล็กน้อย เนื้อพระที่พบเป็นพระเนื้อชินเงินทั้งสิ้น ในด้านศิลปะก็เป็นศิลปะขอมแบบบายน พิมพ์ของพระเป็นคนละแม่พิมพ์กับของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีเอกลักษณ์ของตนเองชัดเจน พิมพ์ที่พบมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่แทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย ส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นพระพิมพ์เล็ก ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กก็พบจำนวนน้อยมากครับ

พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คง และแคล้วคลาด พระหูยานกรุวัดปืน นับว่าเป็นพระที่น่าสะสมบูชามากองค์หนึ่ง และในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานกรุวัดปืน พิมพ์เล็ก จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ



เหรียญรุ่นแรกบล็อกนิยม หลวงพ่อพรหมสร (รอด)

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์ทางสายอีสานกันบ้างนะครับ จะมาคุยกันถึง หลวงพ่อพรหมสร (รอด) วัดบ้านไพ จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของโคราช ซึ่งมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป เหรียญรุ่นแรกนั้นปัจจุบันหาชมได้ยาก และมีสนนราคาสูงครับ

หลวงพ่อรอด เกิดในปี พ.ศ.2414 โยมบิดาชื่อ โข่ เป็นพ่อค้าโคจากเมืองอุดร ต้อนโคไปขายที่โคราช ต่อมาได้แต่งงานกับโยมพูน แห่งบ้านคุ้งกระถิน ต.มะขาม อ.โนนสูง และได้มีบุตรหนึ่งคน เมื่อคลอดบุตรแล้วโยมพูนต้องเข้าไปทำงานให้หลวงที่โคราช โยมนีซึ่งเป็นพี่สาวโยมพูนได้รับหลวงพ่อรอดไปเลี้ยง โดยให้ชื่อว่า รอด หลวงพ่อรอดได้ช่วยโยมนีเลี้ยงโคฝูง จนมีอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2436 ที่วัดบ้านสะพาน ตำบลขามเฒ่า โดยมีอุปัชฌาย์อยู่ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นก็ได้ศึกษาธรรมะและวิปัสสนาจนแตกฉาน ถือเอาการธุดงค์เป็นหลัก พบปะอาจารย์ต่างๆ ก็เข้าไปศึกษาจนแตกฉาน หลังจากนั้นก็ออกไปสร้างวัดต่างๆ เช่น พ.ศ.2443 ได้สร้างวัดบ้านดอนผวา พ.ศ.2452 สร้างวัดบ้านขาม พ.ศ.2467 สร้างวัดบ้านหนอง เคลือขุด พ.ศ.2470 สร้างวัดบ้านหนองพลอง พ.ศ.2490 สร้างวัดบ้านไพ

หลวงพ่อรอดได้สร้างวัดไว้ถึง 5 วัดด้วยกัน โดยที่มิได้มีเงินทองแต่อย่างใดเลย วัดต่างๆ ที่สร้างได้นั้น โดยชาวบ้าน ณ ที่ต่างๆ ได้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่าน ก็มาช่วยกันบริจาคและร่วมกันสร้างวัดนั้นๆ ขึ้นจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี หลวงพ่อเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน หลวงพ่อจะรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า เช่น รู้ว่าใครจะมาหา และมาทำอะไร ท่านมีเมตตาสูงมาก นอกจากนี้ก็มีผู้ที่มาขอวัตถุมงคลของหลวงพ่อกันอย่างมาก ครั้งหนึ่งมีการลือกันว่าหลวงพ่อใบ้หวยแม่นมาก จึงมีผู้มาขอกันอยู่บ่อยๆ เมื่อมาขอหลวงพ่อก็จะดุเอาว่างมงาย และไม่เคยให้หวยใครเลย แต่ก็มีลูกศิษย์บางคน มาหาหลวงพ่ออยู่บ่อยๆ และได้ยินอะไรก็นำไปตีเป็นตัวเลข แล้วก็ถูกและนำเงินมาถวายหลวงพ่ออยู่บ่อยๆ ก็มีเช่นกัน

หลวงพ่อได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระปิดตาเนื้อทองเหลือง เพื่อไว้แจกให้แก่ผู้ที่เป็นลูกศิษย์ลูกหา นอกจากนี้ก็ยังมี สีผึ้ง นางกวัก และผ้ายันต์รอยมือรอยเท้าของหลวงพ่อ มีผู้คนนำไปบูชาค้าขายร่ำรวยไปหลายคน ทั้งที่ในโคราชเองและต่างจังหวัด สำหรับเหรียญรุ่นแรกนั้นคุณมนตรี คหบดีชาวลพบุรีสร้างให้หลวงพ่อ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อ ด้านหลังเป็นยันต์นะทรหด สร้างในปี พ.ศ.2492 ตอนที่หลวงพ่อจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านไพ นับเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อพรหมสร (รอด) ต่อมาก็มีการสร้างอีกรุ่นหนึ่ง สร้างคล้ายๆ กัน ในราวปี พ.ศ.2498-99 ที่วัดดอนผวา ทางด้านสรรพคุณนั้นชาวโคราชรู้กันดี เรื่องแคล้วคลาด คงกระพัน มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย

หลวงพ่อพรหมสร (รอด) มรณภาพในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2500 สิริอายุได้ 86 ปี พรรษาที่ 65 และในวันนี้ผมก็ ได้นำเหรียญรุ่นแรกบล็อกนิยมมาให้ชมกันครับ




เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในบรรดาเหรียญที่หายากและมีมูลค่าสูงมาก ก็คือ เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) เป็นพระที่ประชาชนเคารพศรัทธาในตัวท่านมาก วัตถุมงคลนั้นส่วนใหญ่หายากมากๆ เช่น พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคีพระปิดตาชุดเนื้อผง ส่วนเหรียญรูปท่านนั้นยิ่งหาพบเห็นได้ยากยิ่งกว่าอีกหลายเท่า ในบรรดาเหรียญพระเกจิอาจารย์ด้วยกันแล้ว เหรียญหลวงปู่ไข่นับว่าหายากที่สุด แม้แต่รูปถ่ายก็ยังหาชมกันได้ยาก

หลวงปู่ไข่เป็นชาวแปดริ้ว เกิดที่ ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2400 โยมบิดาชื่อกล่อม โยมมารดาชื่อบัว พออายุได้ประมาณ 6 ขวบ มารดาก็เสีย บิดาจึงได้นำไปฝากเป็นศิษย์อยู่กับหลวงพ่อปาน วัดโสธรฯ เพื่อได้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้ฝึกหัดเทศน์จนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ

ท่านอยู่กับหลวงพ่อปานจนกระทั่งหลวงพ่อปานมรณภาพ จึงได้เดินทาง มาอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี จนมีอายุได้ 15 ปี พระอาจารย์จวงก็มรณภาพ จึงได้เดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ กทม. ได้เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 3 ปี แล้วจึงได้เดินทางมาอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน สมุทรสงคราม ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม จนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบท ที่วัดลัดด่าน โดยมีพระอาจารย์เอี่ยม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เป็นพระ อนุสาวนาจารย์

ต่อมาก็ได้เดินทางไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่งที่จังหวัดกาญจนบุรี แล้วกลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ไข่ออกธุดงค์อยู่ทุกปี และได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์อีกหลายองค์ เมื่อธุดงค์ผ่านทางใด ถ้ามีผู้คนทุกข์ยากหรือเจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยรักษาให้หายโดยตลอด เกียรติคุณเป็นที่รู้จักจนมาถึงกรุงเทพฯ ต่อมาจึงมีผู้มานิมนต์ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ 1 พรรษา แล้วก็ได้ออกธุดงค์อีก

จนได้กลับมาที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง และเห็นว่าวัดบพิตรพิมุข (วัดเชิงเลน) เป็นวัดที่เงียบสงบดี จึงเข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัด เชิงเลนตลอดมา ในระหว่างที่หลวงปู่ไข่จำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลนนี้ ก็ได้ปฏิบัติธรรมและสร้างกุศลหลายประการ ได้แก่ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ตลอดมา ยังได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์ให้ร่วมทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้นมา สร้างกุฏิ สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝนในวัด เป็นต้น

หลวงปู่ไข่เป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาธรรมสูง จริยาวัตรงดงามเคร่งครัด เป็นที่เคารพศรัทธาแก่ประชาชนโดยทั่วไป มรณภาพในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2475 สิริอายุได้ 74 พรรษาที่ 54

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงปู่ไข่ จากหนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม สร้างประมาณปี พ.ศ.2472 ซึ่งคณะศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้าง เนื่องในโอกาสที่อายุได้ 6 รอบ แต่การสร้างนั้นสร้างจำนวนน้อยมาก กล่าวกันว่าประมาณ 72 เหรียญ จำนวนอายุของท่าน เหรียญของหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน แม้แต่หาชมเหรียญแท้ๆ ยังหายากครับ ตัวผมเองตั้งแต่เล่นหาพระมาเคยได้เห็นเหรียญแท้ๆ แค่ 4 เหรียญเท่านั้น ปัจจุบันมูลค่าสูงมากๆ และหายากมากๆ เช่นกัน




เหรียญหล่อเศียรโล้น และ พิมพ์เศียรแหลม หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดสมุทรสงครามนี้พระเกจิ อาจารย์ที่อาวุโสมากที่สุดและเรารู้กันดี ก็คือหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่โด่งดังมาก เป็นที่รักเคารพของชาวแม่กลอง

หลวงพ่อแก้วเกิดเมื่อปี พ.ศ.2393 ที่ ต.บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อกัน โยมมารดาชื่อเนียม ท่านได้บวชตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นสามเณร ที่วัดบางแคใหญ่ อ.อัมพวา พออายุได้ 20 ปีท่านก็ได้อุปสมบทที่ วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เจ้าอาวาสวัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า “พรหมสโร” และได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดแห่งนี้

หลวงพ่อแก้วได้เรียนวิทยาคมมาจากบิดาของท่าน ซึ่งเป็นอดีตทหารของวังหน้า และท่านมีวิชาอาคมขลังมาก สามารถเสกดอกจำปีให้กลายเป็นแมลงภู่ และบินไปหาญาติมิตรที่รู้จักกันได้ แล้วตกลงมากลายเป็นดอกจำปีอย่างเดิม นอกจากนี้ท่านก็ยังมีวิชาคงกระพันชาตรีเป็นเลิศอีกด้วย วิชาต่างๆ เหล่านี้หลวงพ่อแก้วได้เรียนมาจากบิดาของท่าน

นอกจากนี้หลวงพ่อแก้วก็ได้เรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อเพ็ง พระอุปัชฌาย์ของท่าน และหลวงพ่อเพ็งก็ยังเก่งในด้านพุทธาคมอีกด้วย ต่อมาหลวงพ่อแก้วได้ เดินทางมาอยู่ที่เพชรบุรี เพื่อเรียนวิปัสสนาธุระและพุทธาคมที่วัดเขาตะเครา เพชรบุรีอีก และมาเรียนเพิ่มเติมกับพระอาจารย์เกตุ พระพี่ชายของท่าน ที่วัดทองนพคุณ เพชรบุรี ท่านอยู่จำพรรษาที่เพชรบุรีนานมากจนบางท่านเข้าใจว่าท่านเป็นคนเพชรบุรี

ต่อมาในปีพ.ศ.2424 เจ้าอาวาสวัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม ได้ว่างลง ประชาชนชาวสมุทรสงครามจึงได้ขึ้นไปนิมนต์ท่านมาเป็น เจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านจึงได้เดินทางมาเป็น เจ้าอาวาสวัดช่องลม พร้อมด้วยหลวงพ่อบ่าย และพระอีก 3 รูป ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมอยู่ได้ 6 ปี พอปีพ.ศ.2430 ท่านก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่

โดยให้หลวงพ่อบ่ายเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมสืบแทน พอท่านมาอยู่ที่วัดพวงมาลัยแล้วท่านก็ได้ก่อสร้างกุฏิ ศาลาต่างๆ เพิ่มเติมอีกหลายหลัง สร้างศาลาท่าน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังสร้างวัดขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น วัดเขาอีโก้ และวัดสาธุชนาราม เป็นต้น ชาวแม่กลองเคารพนับถือในตัวท่านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อแก้วมรณภาพในปีพ.ศ.2462 สิริอายุได้ 69 ปี พรรษาที่ 49

หลวงพ่อแก้วได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุดใบลานบางปืน เหรียญปั๊ม และเหรียญหล่อหลายรุ่น นอกจากนี้ก็ยังมีพระเนื้อผงอีกด้วย วัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วนั้นเป็นที่นิยมกันมากและหวงแหนกันมาก สนนราคาค่อนข้างสูงครับ อย่างเหรียญรุ่นแรกที่เป็นเหรียญพระพุทธและเหรียญรูปท่านที่สร้างในปี พ.ศ.2459 นั้น สวยๆ สนนราคาหลักแสนครับ นอกจากนี้ยังมีเหรียญหล่อ พิมพ์เศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม ที่สร้างในปีพ.ศ.2460 ถ้าสวยๆ ราคาอยู่ที่หลักหมื่น และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อเศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม มาให้ชมครับ




เหรียญรุ่นแรก เนื้อเงิน หลวงปู่ชู วัดนาคปรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน แถวย่านธนบุรีในอดีตมีพระเกจิ อาจารย์ที่เก่งๆ มาก องค์หนึ่งที่มีผู้คนเคารพนับถือกันมากองค์หนึ่งก็คือหลวงปู่ชู วัดนาคปรก ขนาดหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ท่านได้เคยพูดยกย่องอยู่เสมอว่า หลวงปู่ชูเป็นพระอาจารย์ที่มีญาณสมาธิสูงมาก

หลวงปู่ชูเป็นชาวนครศรี ธรรมราช ต่อมาได้เข้ามาสร้างบ้านเรือนมีครอบครัวอยู่ที่สวนหลังวัดนางชี ในขณะที่หลวงปู่ชูครองเพศฆราวาสอยู่นั้นท่านเป็นผู้ใฝ่ในธรรม และชอบศึกษาวิทยาคม และแพทย์แผนโบราณ ได้ขึ้นไปศึกษาอยู่กับอาจารย์พลับ วัดชีตาเห็น (ปัจจุบันมีชื่อว่าวัดชีโพ้น) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาจารย์พลับมีชื่อเสียงปรากฏขจรขจายอยู่ในขณะนั้น ต่อมาก็ได้กลับมาอุปสมบทที่วัดนางชีโดยมีพระครูเปรม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดนางชี 1 พรรษา ก็ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนาคปรกและได้เป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา

ในการย้ายมาอยู่ที่วัดนาคปรกนี้ปรากฏว่ามีพระภิกษุจากวัดนางชีได้ย้ายติดตามไปอยู่ที่วัดนาคปรกด้วยจำนวน 10 รูป ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนาคปรกนั้นได้บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะตลอดจนกุฏิ วิหาร ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมาอีกวาระหนึ่ง

ประกอบด้วยชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็เคารพเลื่อมใสในตัวหลวงปู่เป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำนุบำรุงวัดนาคปรกเสมอมา หลวงปู่เป็นที่พึ่งทางใจให้แก่ชาวบ้านมาตลอด ไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ได้ป่วยมาให้ช่วยรักษา ท่านก็ช่วยรักษาให้จนหายขาดทุกรายไป ด้วยคุณธรรมของหลวงปู่อันนี้แหละจึงเป็นบ่อเกิดแห่งศรัทธาและเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของปวงชนเป็นอย่างดี ในวัดนาคปรกสมัยนั้นจะเต็มไปด้วยว่านยา สมุนไพรต่างๆ มากมาย ยาดีของหลวงปู่ชูขนานหนึ่งก็คือ ยาดองมะกรูด ยานี้จะทำใส่โอ่งตั้งไว้กลางแจ้งตากแดดตากน้ำค้างเป็นจำนวนมาก ถ้าผู้ใดต้องการก็จะแจกให้ไป ยานี้เป็นยาดองที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้สารพัดแบบครอบจักรวาลเลยทีเดียว ปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้ เป็นฝีหนอง มีอาการแพ้อักเสบต่างๆ เมื่อดื่มกินยาดองน้ำมะกรูดของท่านแล้วส่วนมากจะหายทุกรายไป

หลวงปู่ชูได้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้องค์หนึ่ง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อโต” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะแก่ประชาชนทั่วไป และก็ได้สร้างพระเครื่องรูปหลวงพ่อโต เพื่อแจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์และชาวบ้าน ส่วนที่เหลือท่านก็ได้บรรจุไว้ในองค์หลวงพ่อโต นอกจากนี้ยังได้สร้างพระเครื่องหลวงพ่อโตไว้อีกหลายรุ่น และมีเหรียญหล่อเป็นรูปเสมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งซ้อนกัน นิยมเรียกกันว่าพิมพ์พุทธซ้อน

ส่วนเหรียญอีกรุ่นหนึ่งที่หายากก็คือเหรียญรูปท่าน ซึ่งศิษย์ขออนุญาตสร้างเป็นที่ระลึกในคราวทำบุญอายุครบ 70 ปี ในปี พ.ศ.2471 ซึ่งเป็นเหรียญเงินที่มีจำนวนน้อยมาก ด้านหลังเป็นรอยบุ๋มแบบหลังแบบ ปัจจุบันหายากมาก ราคาหลักแสนครับ หลวงปู่มรณภาพในปีพ.ศ.2475

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก เนื้อเงิน พ.ศ.2471 จากหนังสือเหรียญยอดนิยมอมตะแดนสยาม มาให้ชมครับ



ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #48 เมื่อ: 08 มีนาคม 2560 19:06:08 »



เหรียญเจ้าสัว หลวงพ่อรักษ์

หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย เจ้าของอมตวาจา “ขลัง ไม่ขลัง อยู่ที่จิต” เจ้าอาวาสวัดสุทธาวาสวิปัสสนา พระภาวนาจารย์วิทยาคมเข้มขลัง เกจิชื่อดังแห่งเมืองกรุงเก่า “เจ้าตำรับตะกรุดมหาบารมี 30 ทัศ” เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วทุกสารทิศ มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

ด้วยความเคารพศรัทธาในวัตรปฏิบัติ ปฏิปทา คำสอน รวมถึงพุทธาคมแห่งวัตถุมงคลที่เลื่องลือ

เป็นทั้งพระนักปฏิบัติและพระนักพัฒนา ผู้มีคุณูปการต่อบวรพระพุทธศาสนาและประเทศชาติเป็นอย่างยิ่งรูปหนึ่ง นอกจากเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานแห่งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 13 เพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่สาธุชนแล้ว ท่านยังเป็นประธานในการจัดสร้าง “พุทธมณฑลประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” เพื่อเป็นศูนย์รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชน แห่งใหญ่ประจำจังหวัด

นอกจากนี้ ท่านยังสั่งสมบุญ บำเพ็ญบารมี มุ่งสู่มรรคผลนิพพาน อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระบวรพุทธศาสนา

มีอุปนิสัยชอบศึกษาค้นคว้ามาตั้งแต่เยาว์วัย ชอบเขียนอักขระขอม อักขระเลขยันต์ และท่องบ่นพระคาถาต่างๆ เป็นเนืองนิตย์ ต่อมาเมื่อได้อุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนาก็ใฝ่ใจฝึกฝนปฏิบัติกรรมฐานจนเชี่ยวชาญ จากนั้นออกแสวงหาครูบาอาจารย์ผู้ทรงวิทยาอาคม ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาและเคล็ดต่างๆ เพื่อสืบสานตำรับตำราวิทยาคมในสายต่างๆ เหล่านั้นไว้

รวมทั้งนำมาช่วยปัดเป่าสงเคราะห์แก่ศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั่วไป

ครูบาอาจารย์ผู้ทรงพลังจิตและทรงวิทยาคมจากทั่วสารทิศมากกว่า 19 คณาจารย์ ต้นสายวิชาอาคม ที่ท่านได้เดินทางไปถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาร่ำเรียนวิชาอาคมและกรรมฐาน อาทิ พระครูสังวรสมณกิจ (หลวงปู่ทิม วัดพระขาว) อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา, พระสุนทรธรรมานุวัตร (หลวงพ่อเอียด) วัดไผ่ล้อม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา, พระครูวิมลสมณวัตร (หลวงพ่อเพี้ยน) วัดเกริ่นกฐิน อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี,พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ) วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา, พระครูมนูญธรรมานุวัตร (หลวงพ่อสาคร) วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง, พระครูธรรมสรคุณ (ท่านพ่อเขียน) วัดกระทิง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี, พระครูประยุตนวการ (หลวงปู่แย้ม) วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม, หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นต้น

ก่อนจะศึกษาเล่าเรียนตำราต่างๆ นั้นหลวงพ่อรักษ์จะ “ยกพานครู” ด้วยดอกไม้ธูปเทียนแพ ตามศาสตร์โบราณ ซึ่งยึดถือปฏิบัติกันมาแต่เก่าก่อนในทุกครั้ง จึงถือว่าท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนทุกประการ

หลังจากศึกษาวิทยาคมจนเจนจบอย่างถ่องแท้ ครูบาอาจารย์ทุกองค์จึงมอบ “เหล็กจารประจำตัว” ของแต่ละท่านให้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าหลวงพ่อรักษ์ร่ำเรียนวิทยาคมจบอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ และให้ถือว่าท่านได้เป็นผู้สืบทอดพุทธาคมสายนั้นๆ โดยสมบูรณ์

ในปีพ.ศ.2560 นี้หลวงพ่อรักษ์เมตตาให้จัดสร้าง “เหรียญเจ้าสัว” เพื่อนำปัจจัยร่วมสร้าง “พุทธมณฑล จ.พระนครศรีอยุธยา และโครงการปันน้ำใจจากพี่สู่น้อง” โดยมอบหมายให้ “ทีมงานกลุ่มเหรียญเมตตาสายบุญ” ดำเนินการออกแบบและจัดสร้าง

แกะแม่พิมพ์โดย นายวิระศักดิ์ แจ่มใส (ช่างหลอด) ช่างแกะแม่พิมพ์พระอันดับต้นๆ ของวงการพระเครื่อง ที่สามารถทำแม่พิมพ์ด้วยการขึ้นมือ คือ การแกะแม่พิมพ์โลหะแบบดั้งเดิม หรือที่ภาษาช่างมักเรียกกันว่า “แกะสด” เป็นการแกะแม่พิมพ์ขนาดเท่าองค์จริง โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีมากมาย เป็นงานฝีมือของช่างที่ต้องใช้ความตั้งใจและความชำนาญอย่างสูง เริ่มจากขุดแต่งเหล็ก ค่อยๆ ขึ้นรูปไปทีละนิด จนได้ความลึกหรือมิติที่ต้องการ แล้วจึงใช้มีดแกะ-แทงเก็บลวดลาย หรือรายละเอียดต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น จนเสร็จสมบูรณ์

นับได้ว่า “เหรียญเจ้าสัว” เป็นเหรียญที่มีความวิจิตรบรรจงยิ่งนัก

กำหนดพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวโดยหลวงพ่อรักษ์ วันที่ 7 พ.ค.2560 นี้ จึงแจ้งข่าวงานบุญมายังบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.08-6534-1878 ครับผม




เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460

สําหรับ “พระเครื่องและวัตถุมงคล” ที่สร้างจำลอง “หลวงพ่อมงคลบพิตร” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ณ วิหารหลวงพ่อพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจัดสร้างกันหลายครั้งหลายคราในโอกาสสำคัญต่างๆ มีความโดดเด่นและมีค่านิยมสูงอยู่ 2 รุ่น คือ เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460 และเหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2485 ที่โด่งดังไม่แพ้กันทีเดียว

เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460 จัดสร้างโดย พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ขณะดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนในการบูรณปฏิสังขรณ์พระมงคลบพิตร ซ่อมแซมพระเมาฬีและพระกรข้างขวาที่แตกหักตั้งแต่ครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2310 พร้อมทั้งบูรณะพระวิหารที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมขึ้นใหม่ ในราวปี พ.ศ.2460-2463 โดยจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ใหญ่ หูเชื่อม พื้นเรียบ ยกขอบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อมงคลบพิตร ปางมารวิชัย ประทับบนพระแท่น จารึกอักษรโดยรอบว่า “พระปฏิมากร มงคลบพิตร ศรีอยุธยา” ด้านหลัง ตรงกลางเป็น “ยันต์เฑาะว์”

การจัดสร้างในครั้งนี้เชื่อกันว่า ประกอบพิธีปลุกเสกในพระวิหารหลวงพ่อพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา หน้าพระพักตร์หลวงพ่อพระมงคลบพิตร เพื่อเป็นประธานให้พิธีมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังยุคนั้นเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก มีอาทิ พระญาณไตรโลก (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง, พระพุทธวิหารโสภณ (หลวงพ่ออ่ำ) วัดวงฆ้อง, หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม, พระอธิการชม วัดพุทไธศวรรย์, หลวงปู่ปั้น วัดพิกุลโสคัน และ หลวงพ่อขันธ์ วัดนกกระจาบ เป็นต้น

ด้วยพุทธลักษณะเหรียญที่มีความเรียบง่าย จำลององค์พระปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ และมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ

รวมทั้งพิธีการปลุกเสกด้วยบารมีของหลวงพ่อมงคลบพิตร และพุทธาคมแห่งสุดยอดพระเกจิอาจารย์ จึงปรากฏพุทธคุณเป็นเลิศ โดยเฉพาะด้านมหาอุด เป็นที่กล่าวขาน ทำให้ “เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460” นอกจากจะเป็นเหรียญรุ่นแรกที่โดยปกติจะได้รับความนิยมสูงอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว ยังได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็น 1 ใน ?ชุดเบญจภาคีเหรียญพระพุทธ? อันทรงคุณค่าในระดับประเทศ เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูงมาแต่อดีต ยิ่งมีจำนวนการสร้างที่น้อยมาก หาดูหาเช่ายากยิ่ง ส่งให้ ค่านิยมพุ่งไปไกลถึงเลข 7 หลัก ณ ปัจจุบัน

ยิ่งไปกว่านั้นคือ “ของทำเทียม” หรือเรียกตรงๆ ว่า “พระเก๊” นั้น ทำออกมากันเนิ่นนาน ยิ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำได้ใกล้เคียงของแท้มากๆ ยิ่งสร้างความปั่นป่วนได้มากทีเดียว ล้มเซียนใหญ่มานักต่อนัก อย่างไรก็ตาม หลักการพิจารณาและจดจำจุดตำหนิต่างๆ ก็ยังคงเป็นที่นิยม เพราะมีบางจุดที่ถึงจะเก่งแค่ไหนก็ไม่สามารถลอกเลียนได้เหมือน ซึ่งอาจเป็นภูมิปัญญาของผู้จัดสร้างที่คาดเดาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ “การพิจารณาธรรมชาติของเหรียญ” ด้วยหลักเบื้องต้นดังนี้

– ธรรมชาติของเนื้อโลหะ ตามอายุการสร้าง
– ความคมชัดของตัวหนังสือ หรืออักขระยันต์
– พื้นผิวของเหรียญที่เรียบตึง ไม่มีร่องรอยของการถอดพิมพ์ ไม่มีขี้กลาก
– การเจาะรูหูเหรียญ ต้องมีเนื้อปลิ้นเกินที่เป็นธรรมชาติ และ
– วิวัฒนาการของการตัดขอบเหรียญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเทคโน โลยีในแต่ละยุคสมัย ซึ่งต้องศึกษาอย่างถ่องแท้

นับเป็นจุดสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาความแตกต่างระหว่างเหรียญแท้และเหรียญปลอมได้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะธรรมชาติของการผลิตเหรียญในแต่ละยุคจะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงครับผม




เหรียญสมเด็จโต รุ่นมนุษย์สมบัติชินบัญชร

วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัย กรุงสุโขทัย ที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์เก่าแก่องค์ใหญ่ นาม "พระศรีเมือง ทอง" ช่วงหนึ่งวัดเคยถูกทิ้งร้าง ต่อมาได้รับการบูรณะโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรํสี) พระอริยสงฆ์แห่งกรุงรัตน โกสินทร์ เมื่อครั้งออกธุดงค์ในแถบ จ.อ่างทอง ในคราวเดียวกับที่ได้สร้าง "พระมหาพุทธพิมพ์" ที่วัดเกศไชโย และบรรจุ "พระสมเด็จวัดเกศไชโย" อันลือลั่นไว้ ปรากฏหลักฐานในหอจดหมายเหตุ

โดยในขณะนั้น วัดขุนอินทประมูล ยังเป็นวัดร้าง เมื่อท่านได้มาพำนักจำพรรษาเป็นเวลากว่า 6 ปี และบูรณะซ่อมแซมองค์พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่เก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมให้กลับมาเป็นองค์พระที่สวยงามดังเดิม

ทว่าในยุคต่อมา พระเจดีย์ที่ประดิษฐานอยู่หลังพระพุทธไสยาสน์เกิดพังทลายลงมา จึงพบพระ สมเด็จฯ จำนวนหนึ่งแตกกรุออกมาด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้สร้างบรรจุไว้

ปัจจุบัน ท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์ ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสปกครองดูแล ด้วยความเป็นพระนักพัฒนา ท่านได้พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง ได้นำความทันสมัยเข้ามาผสมผสานเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้มาประกอบศาสนกิจทั้งพระภิกษุและฆราวาส อย่างเช่น "พระอุโบสถไฮเทค" แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็นที่ฮือฮาอย่างมาก ทำให้ผู้คนจากทั่วสารทิศเข้ามาเยี่ยมเยือนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

โครงการต่อมาของท่านคือ จัดสร้างรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรํสี) องค์ใหญ่ ประดิษฐานหน้าพระอุโบสถ เพื่อรำลึกนึกถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ตลอดจนเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจให้แก่สาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธา และจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมและที่พักผู้มาปฏิบัติธรรมภายในวัด สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาปฏิบัติธรรม เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนให้ยาวไกลสืบไป ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ.2557 โดยมีงบประมาณการจัดสร้างค่อนข้างสูง

ทางวัดจึงได้สร้าง "เหรียญรุ่นมนุษย์สมบัติ" เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ทรงคุณวุฒิในวงการพระเครื่องพระบูชามาร่วมด้วยช่วยกันมากมาย จนในที่สุด รูปหล่อสมเด็จโตฯ องค์ใหญ่ ก็แล้วเสร็จสมประสงค์ ประดิษฐานอย่างโดดเด่นและสง่างาม ณ หน้าพระอุโบสถไฮเทค เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวเมืองยิ่งนัก นอกจากนี้ ด้วยอำนาจบารมีแห่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และพระคาถาชินบัญชรอันศักดิ์สิทธิ์ ส่งให้ผู้บูชา "เหรียญรุ่นมนุษย์สมบัติ" ประสบอิทธิปาฏิหาริย์มากมายทั้งด้านโภคทรัพย์ โชคลาภ จนเป็นที่กล่าวขวัญเล่าสู่กันเรื่อยมา

หลังจากนั้น การจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมและที่พักผู้มาปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องก็ได้ดำเนินการต่อมาเป็นลำดับ แต่เนื่องจากต้องใช้ทุนทรัพย์อีกจำนวนมาก ทางคณะกรรมการจึงมีมติจัดสร้าง "เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)" ในวัดสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพื่อหาปัจจัยมาสมทบทุนให้โครงการสำเร็จลุล่วงโดยสมบูรณ์ อันเป็นจุดกำเนิดของ "เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺรํสี) รุ่น มนุษย์สมบัติชินบัญชร" ตามที่ได้เกริ่นไปบ้างแล้วเมื่อ 3-4 อาทิตย์ที่แล้ว วันนี้จึงนำรายละเอียดเพิ่มเติมมาบอกกล่าวกัน

ได้มงคลฤกษ์ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในวันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2560 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา ที่เรียกกันว่า "วันเสาร์ 5" ณ วิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรัสี) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร และสามารถรับเหรียญในวันที่ 30 เมษายน 2560


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #49 เมื่อ: 15 มีนาคม 2560 18:00:27 »


พระปิดตามหาเสน่ห์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองในปัจจุบัน ก็มีเพื่อนและคนรู้จักหลายคนสอบถามเกี่ยวกับพระเครื่องที่นำมาห้อยบูชาแล้วจะทำให้ค้าขายดี ร่ำรวย ว่าจะห้อยพระอะไรดี ซึ่งก็เป็นคำถามที่พบบ่อยในช่วงนี้

บางทีผมเองก็ไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไรให้ตรงคำถาม เนื่องจากความจริงแล้วโดยส่วนใหญ่ผู้ที่ถามมักจะขาดกำลังใจในการทำมาค้าขาย หรืออยากจะให้คุณพระเครื่องช่วยให้ร่ำรวยขึ้นมาโดยปาฏิหาริย์ ซึ่งถ้าคิดอยู่เพียงแค่นี้ก็อาจ จะเป็นความงมงายได้ ความเป็นจริงพระเครื่องของเกจิ อาจารย์ต่างๆ นั้น เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจหรือเป็นกำลังใจให้เรามีสติและกำลังใจในการทำมาหากินเสียมากกว่า

ในส่วนที่ช่วยให้พบกับสิ่งดีๆ นั้นก็มีส่วนช่วยอยู่บ้าง แต่ก็ต้องช่วยตัวเองก่อน คือทำมาหากินด้วยความสุจริต ซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัด อดทน ใส่ใจในการทำงานนั้นๆ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในส่วนของพระเครื่องเป็นส่วนที่ช่วยเสริมกำลังใจ และให้เกิดสิ่งดีๆ หรือให้มีช่วงโอกาสในการทำมาหากิน มีพระเครื่องเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ก็จะทำให้มีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท พุทธคุณที่พระเกจิอาจารย์ท่านเมตตาปลุกเสกหรืออธิษฐานจิตให้นั้นก็จะมีอานุภาพส่งผลบุญช่วยเสริมให้เรามีโอกาสดีๆ หรือประกอบอาชีพได้สำเร็จ เอาตัวรอดได้ หรือมีฐานะที่ดีขึ้น

ศรัทธากับงมงายมีเส้นบางๆ คั่นอยู่ ถ้าศรัทธาโดยไร้เหตุผลไม่ตั้งอยู่ในความเป็นจริง ไม่มีสติ ก็จะกลายเป็นงมงายได้ง่ายๆ อภินิหารหรือสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมาย เช่น แคล้วคลาดให้รอดพ้นจากอันตรายต่างๆ นั้นผมเองก็เชื่อว่ามีอยู่จริง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับเหตุและผลด้วย เช่น รอดพ้นจากอุบัติเหตุอย่างหวุดหวิด ก็เป็นเพราะผลบุญและพุทธานุภาพขององค์พระประกอบกัน ถ้าเราเองประกอบแต่กรรมชั่วมาตลอดคงไม่มีสิ่งใดจะมาช่วยได้ สิ่งต่างๆ ที่เรียกว่าปาฏิหาริย์นั้นต้องประกอบด้วยผลบุญ ของเราเองและคุณพระช่วยคุ้มครองจึงจะปรากฏผล

ในส่วนของเรื่องการประกอบอาชีพนั้นบางครั้งก็อาจเกิดปัญหาต่างๆ กับตัวเราได้ แต่ก็ต้องมีสติไตร่ตรองปัญหาต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล ถ้าจิตใจไม่สงบก็จะขาดสติในการไตร่ตรองปัญหานั้นๆ แต่ถ้าเรามีพระเครื่องหรือสิ่งที่เราศรัทธาแล้วเราก็ระลึกถึงจะทำให้มีกำลังใจ สงบเย็นขึ้น ก็จะทำให้เรามีสติและจะมีปัญญาในการไตร่ตรองปัญหานั้นๆ ได้ดีขึ้น มีทางออกของปัญหาได้ พุทธคุณในพระเครื่องนั้นช่วยได้ในส่วนหนึ่ง แต่การกระทำของตัวเราเป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับ

สุดท้ายผมอยากจะบอกว่าความเชื่อและศรัทธาในพุทธคุณนั้นดีแล้ว แต่อย่าให้กลายเป็นงมงาย ต้องช่วยตัวเองให้มากที่สุด ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน มีสติและประกอบกรรมดี ผลบุญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยให้สัมฤทธิผลในที่สุดครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตามหาเสน่ห์ ของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เนื้อผงเกสร มาให้ชมครับ




พระร่วงกรุโรงสี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง สุพรรณบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงกรุโรงสี เป็นพระร่วงยืนกรุหนึ่งที่เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงของสุพรรณบุรี พระร่วงกรุนี้มีชื่อกรุแปลกๆ คือ “กรุโรงสี” แสดงว่าโรงสีต้องมีอะไรเกี่ยวข้องกับพระกรุนี้แน่ๆ เรามาคุยกันดีกว่านะครับ

เมื่อปีพ.ศ.2510 นายเมี้ยน ภารโรงของโรงเรียนประชาบาลวัดบางปลาหมอ อ.เมืองสุพรรณบุรี ได้ไปรับจ้างขุดดินหาลำไพ่พิเศษในวันหยุด ที่ใกล้ๆ กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้งใหญ่ อำเภอเมือง บริเวณแถวนี้ในสมัยก่อนเรียกว่าบ้านค่าย เนื่องจากเป็นค่ายเดิมเมื่อครั้งไทยรบกับพม่า ต่อมาตรงที่แห่งนี้เถ้าแก่หลาได้มาซื้อที่ทำโรงสี นายเมี้ยนกับภรรยาก็ได้มารับจ้างขุดดินที่จะก่อสร้างโรงสีเถ้าแก่หลา

พอดีวันหนึ่งที่กำลังขุดดินอยู่นั้นภรรยาของนายเมี้ยนก็ขุดไปพบกับหลุมทราย เมื่อลองขุดดูก็พบไหบรรจุพระร่วงยืน จึงได้บอกกับนายเมี้ยน และแอบเอาพระใส่ในผ้าขาวม้าห่อกลับมาบ้าน แต่ก็มีเพื่อนคนงานเห็นจึงได้แบ่งพระไปให้คนละองค์สององค์ แล้วนำพระทั้งหมดกลับมาบ้าน

พวกเพื่อนคนงานที่ได้พระไปก็นำไปขายในตลาดเมืองสุพรรณ เซียนพระเห็นก็รู้ว่าเป็นพระเก่าต่างก็เช่าเอาไว้ และสอบถามถึงแหล่งที่มา พอทราบว่าเป็นมาอย่างไรก็ตามไปขอเช่าจากนายเมี้ยน ทยอยกันมาหลายคนจนพระร้อยกว่าองค์ที่ขุดได้หมดไปในคืนนั้นเอง

พระร่วงกรุนี้ศิลปะเป็นแบบอู่ทองล้อลพบุรี พุทธลักษณะเป็นพระร่วงยืนแบบพระร่วงยืนทั่วๆ ไปที่พบในสุพรรณฯ ประทับยืนปางประทานพร อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ฐานองค์พระเป็นแบบเส้นลวด 4 ชั้น กรอบพิมพ์ก็เป็นแบบพระร่วงยืนทั่วๆ ไป ด้านหลังพระร่วงกรุนี้มีทั้งที่เป็นแอ่ง และแบบหลังลายผ้า ขนาดสูงประมาณ 7 ซ.ม. กว้าง 2 ซ.ม. เนื้อพระเป็นชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น มีไขขาวปกคลุมองค์พระอยู่เกือบทั้งองค์ บางองค์ผิวนอกก็มีสีออกเหลืองเนื่องจากคราบกรุคลุม ไขขาวอีกชั้นหนึ่ง ถ้าล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบเนื้อสนิมแดงเข้มเปลือกมังคุด หรือแดงน้ำตาลไหม้สวยงาม

พระร่วงกรุนี้ที่ได้ชื่อว่ากรุโรงสี ก็เนื่องจากการขุดดินถมที่เพื่อสร้างโรงสีของเถ้าแก่หลา เมื่อแรกๆ ใครถามก็บอกที่มาว่า พบที่บริเวณที่สร้างโรงสี จึงเป็นที่มาของชื่อกรุพระร่วงกรุนี้ว่า “พระร่วงกรุโรงสี” ครับ

ทางด้านพุทธคุณนั้นว่ากันว่า เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี ปัจจุบันก็หาชมยากเหมือนกัน สนนราคาค่อนข้างสูง

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงกรุโรงสี จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมด้วยครับ




พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องกฤตยานุภาพของพระเครื่อง ที่ท่านผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องพระนางพญาพิษณุโลก ผมขอยกเอาเรื่องของการอยู่ยงคงกระพัน เพราะเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดกว่าเรื่องอื่นๆ สักเรื่องหนึ่งครับ

ท่านอาจารย์ตรียัมปวายท่านได้เล่าว่า ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2488 ท่านได้พบกับ นายตำรวจคนหนึ่ง ซึ่งก็ชื่นชอบพระเครื่องเหมือนกัน จึงได้สนทนาเกี่ยวกับพระเครื่องและคุยกันถูกคอ จนถึงเกี่ยวกับเรื่องกฤตยานุภาพของพระเครื่องที่นายตำรวจท่านนั้นได้พบเห็นมากับตัวเอง

นายตำรวจท่านนั้นเล่าต่อว่า ในสมัยที่เรียนจบใหม่ๆ และได้มาประจำอยู่ที่สน.ชนะสงคราม ได้รับมอบหมายให้ไปจับตัวนายควาย ผู้ต้องหาก่อเรื่องวิวาททำร้ายร่างกาย ซึ่งตำรวจได้ไปจับตัวแล้วแต่จับไม่ได้ ตาควายต่อสู้ขัดขืน และร้องท้าให้มาจับ สารวัตรจึงมอบหมาย ให้นายตำรวจท่านนั้นนำกำลังไปจับกุมมาให้ได้

ตาควายเป็นชายวัยกลางคน รูปร่างสูงผอมเกร็ง ลักษณะคล้ายคนขี้ยา ผิวดำแดง มีอาชีพแจวเรือจ้างอยู่ที่ท่าช้างวังหน้า ในวันที่มีเรื่องนั้นเกิดจากการเล่นหมากรุกพนันกัน และได้ทำร้ายร่างกายชายคนที่เล่นหมากรุกด้วย และได้มาแจ้งความกับสน.ชนะสงคราม

สารวัตรจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปนำตัวมาสอบสวน ตาควายกลับไม่ยอมให้จับกุมและต่อสู้ขัดขืน ควงขวานเข้ามาไล่ฟันเจ้าหน้าที่ ตำรวจอีกนายที่ไปด้วยกันจึงยิงปืนสกัดถูกที่ลำตัวตาควาย แกชะงักและร้องด้วยความเจ็บปวด แต่กระสุนของเจ้าหน้าที่ไม่ได้ระคายผิวหนังของแกแม้แต่น้อย และแจวเรือหนีไปที่แพพักของแก และร้องท้าว่าถ้าเก่งจริงก็ตามมาจับ

ตำรวจที่ไปจับกุมก็กลับมารายงาน สารวัตรจึงมอบหมายให้นายตำรวจท่านนั้นนำกำลังไปจับกุมพร้อมกำลังตำรวจอีก 5 นาย อาวุธครบครัน เช่น ปืนพระราม 6 ปืนพกและดาบปลายปืน พอมาถึงที่แพตาควายก็บอกให้ยอมจำนนแต่โดยดี แต่ตาควายไม่ฟังเสียง และอยู่ในอารมณ์โทสะคล้าย คนเสียสติ ร้องด่าท้าทาย และขยับขวานที่อยู่ในมือตลอดเวลา

นายตำรวจท่านนั้นจึงนำกำลังบุกขึ้นไปบนแพของตาควายเพื่อจับกุมให้ได้ ตาควายก็ต่อสู้ โดดเข้าฟัน แต่ไม่ถูก และได้เกิดพันตูกันอุตลุด แต่ก็ไม่สามารถจับตัวนายควายได้ แกสลัดหลุดไปได้ทุกที แถมยังฟันโต้ตอบตลอดเวลา นายร้อยตำรวจก็ถูกตาควายฟันไปหลายแผล ตัวตาควายก็ถูกแทงด้วยดาบปลายปืนหลายที แต่ไม่สะดุ้งสะเทือน และไล่ฟันตำรวจอย่างสุดเหวี่ยง เจ้าหน้าที่จึงยิงปืนเข้าที่ลำตัว แต่ก็ไม่เป็นไร แถมแอ่นพุงให้ยิงอีก

แกโดนยิงอีก 2 นัด และร้องลั่นอย่างเจ็บปวด แต่กระสุนก็ไม่เข้า ตาควายเริ่มบ้าบิ่นหนักขึ้น ถึงจะโดนปืน โดนดาบปลายปืนของเจ้าหน้าที่อีกหลายครั้งก็ไม่เป็นไร

นายตำรวจท่านนั้นก็โดนขวานตาควายบาดเจ็บไปหลายแผล จนตกลงไปในน้ำ และพวกชาวเรือได้ช่วยไว้ ตำรวจที่ไป ต่างเจ็บตัวไปตามๆ กัน มีตำรวจนายหนึ่งยิงปืนไปที่หัวตาควาย แกล้มคะมำลงนิ่งอยู่พักหนึ่ง ตำรวจทั้งหมดจึงเข้ามาจับจะใส่กุญแจมือ แต่ตาควายรู้สึกตัวเสียก่อน สะบัดหลุดได้อีก และเอาขวานไล่ฟันตำรวจต่อ พอดีมีอาสาสมัครที่ซุ่มอยู่ พอตาควายวิ่งไล่ตำรวจคล้อยหลังมา จึงได้เอาไม้ขาโต๊ะฟาดเข้าที่ท้ายทอยอย่างจัง ตาควายล้มลงหมดสติ ตำรวจจึงนำตัวมาสถานี ตาควายก็น่วมไปทั้งตัว เพราะถูกสหบาทาไปอีกหลายที

แต่ร่างกายของตาควายกลับไม่มีบาดแผลใดๆ นอกจากฟกช้ำดำเขียว ไม่มีเลือดสักหยดเดียว แต่ก็บอบช้ำอย่างสาหัส จนต้องส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลถึง 3 เดือน

ส่วนนายตำรวจผู้เล่าเรื่องนี้ก็ต้องนอนอยู่โรงพยาบาลถึงเดือนเศษเช่นกัน เพราะถูกฟันไปหลายแผล เมื่อท่านหายดีแล้วก็ไปเยี่ยมตาควาย ตาควายได้สำนึกผิด และกล่าวขอโทษนายตำรวจท่านนั้น บอกว่าตอนนั้นกระทำไปด้วยอำนาจโทสะครอบงำ และยินดีรับโทษทั้งปวง แกบอกกับนายตำรวจท่านนั้นว่า ผมรักน้ำใจคุณ คุณต่อสู้อย่างลูกผู้ชาย แกอยากจะมอบพระเครื่องที่แกติดอยู่ประจำให้ แต่พระเครื่ององค์นั้นได้หายไปตอนที่แกหมดสติ และบอกกับนายตำรวจท่านนั้นว่า เป็นพระเครื่องนางพญา พิษณุโลก พิมพ์สังฆาฏิ ต่อมานายตำรวจท่านนั้นก็ได้พยายามหาพระเครื่องนางพญา พิมพ์สังฆาฏิมาห้อยบูชาตลอดเวลาครับ

ครับก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ท่านผู้ใหญ่พบมา และเล่าให้ฟังเกี่ยวกับกฤตยานุภาพของ พระเครื่อง ซึ่งเป็นเรื่องจริงในอดีต ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ ซึ่งเป็นรูปแทนองค์พระในเรื่องจากหนังสือ สุดยอดพระเบญจภาคี มาให้ชมครับ




พระรอด พิมพ์ตื้น กรุวัดมหาวัน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อวันก่อนมีเพื่อนผมมาหาและสอบถามเกี่ยวกับเรื่องพระเครื่องของเขา ซึ่งเป็นพระเก่าของคุณพ่อเขาเอง เป็นพระรอดกรุวัดมหาวัน พิมพ์ตื้น ซึ่งเขาได้เพิ่งนำไปสอบถามจากผู้ที่สะสมพระเครื่องว่าแท้หรือไม่จากหลายๆ คน และก็ได้รับคำตอบไม่ตรงกัน คือมีทั้งแท้และไม่แท้ ทำให้เขาสงสัยมากจึงมาปรึกษาผมว่าความจริงเป็นอย่างไร

ในตอนแรกเขายังไม่ได้เอาพระออกมาให้ดู และยังได้บอกว่าพระอะไร แต่ถามว่า พระเครื่องนั้นถ้าพิจารณาแล้ว คำตอบคือมีพระแท้กับพระไม่แท้ใช่ไหม ผมก็ตอบว่าใช่ เขาจึงค่อยๆ เริ่มบอกต่อว่า เขานำพระไปให้หลายคนดู คำตอบไม่ตรงกันเลย มีทั้งที่ว่าแท้กับไม่แท้ และบางคนก็ตอบว่าดูยาก เพื่อนผมไม่ได้เป็นผู้ที่สะสมพระเครื่องเพียงแต่ได้รับพระตกทอดมาจากคุณพ่อของเขาเท่านั้น จึงสงสัยกับคำตอบที่ไม่ตรงกัน และอยากทราบความจริงว่าตกลงเป็นพระแท้หรือไม่ หรือเป็นพระที่สร้างรุ่นหลัง จะได้เก็บไว้บูชาต่อไป ผมเองเข้าใจเพื่อนผมและเห็นใจเขา เนื่องจากคำตอบที่เขาได้รับนั้นทำให้สับสน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่มีเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ในทำนองนี้

ผมจึงสอบถามว่าเป็นพระอะไร เอามาด้วยหรือเปล่า เผื่อเป็นพระที่ผมรู้หรืออาจจะนำไปปรึกษาผู้ที่ชำนาญทางด้านนั้นๆ ช่วยดูให้ เขาจึงนำพระออกมาให้ดู เป็นพระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ตื้น เนื้อเขียวหินครก สภาพสวยสมบูรณ์พอสมควร

ผมจึงสอบถามต่อว่าเป็นพระที่เช่าหามาหรือได้มาอย่างไร เขาก็บอกว่าเป็นพระเก่าของคุณพ่อของเขาให้มา ผมก็นำมาดูและบอกว่าเป็นพระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ตื้นแท้ โชคดีนะที่ได้พระรอดแท้ๆ ไว้บูชา หายากมากนะ และราคาสูงด้วย เขาก็เริ่มยิ้มออก และเล่าเรื่องที่นำไปเช็กดูให้ฟัง

ผมจึงบอกว่าเดี๋ยวจะพาไปหาผู้ใหญ่ที่ชำนาญการในด้านนี้ดูให้อีกทีเพื่อความมั่นใจ ผลก็ออกมาว่าแท้ เป็นพระรอด พิมพ์ตื้น กรุวัดมหาวัน แถมยังถามว่า “จะนำมาให้เช่าหรือ?” ผมจึงอธิบายให้ผู้ใหญ่ท่านฟังว่าเป็นพระตกทอดของเพื่อนผม และเล่าให้ฟังตามที่เพื่อนผมบอก ท่านจึงอธิบายให้ฟังว่า เฉพาะพระรอด พิมพ์ตื้นนั้นมีแม่พิมพ์อยู่ 2 แม่พิมพ์ จุดตำหนิจะแตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่พิมพ์จะเหมือนๆ กัน สำหรับพระรอดแม่พิมพ์นี้จะพบน้อยกว่าอีกแม่พิมพ์หนึ่ง จึงไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก และอาจจะทำให้บางคนที่ไม่ค่อยเคยเห็นไม่แน่ใจก็เป็นได้

เพื่อนผมดีใจมากที่ได้พระแท้ๆ และมีคุณค่าที่ตกทอดมา พอกลับมาจากท่านผู้ใหญ่ท่านนั้นเพื่อนผมจึงสอบถามต่อถึงเรื่องแม่พิมพ์พระรอด ผมจึงบอกเพื่อนให้เข้าใจว่า พระเครื่องในสมัยโบราณนั้น (หมายถึงสมัยอยุธยาขึ้นไป)

โดยส่วนใหญ่การสร้างแม่พิมพ์พระโดยเฉพาะพระเครื่องเนื้อดินเผาเขาจะสร้างแม่พิมพ์ซึ่งเป็นแบบแม่พิมพ์ตัวผู้ หมายถึงแกะเป็นองค์พระแบบเดียวกับที่เราเห็น ในพระเครื่องนั้นๆ ขึ้นมาก่อน แล้วจึงนำ ดินเหนียวที่เตรียมไว้มากด ถอดพิมพ์ให้เป็นแม่พิมพ์ตัวเมีย ด้วยวิธีการนี้เขาจะสามารถถอดเป็นตัวแม่พิมพ์ตัวเมียได้หลายๆ ตัวตามต้องการ เพื่อจะได้สร้างพระได้ในจำนวน มากๆ

หลังจากนั้นก็นำแม่พิมพ์ดินเหนียวไปผึ่งลมให้แห้ง แล้วจึงนำไปเผาอีกทีเพื่อให้เป็นแม่พิมพ์ที่เป็นดินเผาหลายๆ อัน จากนั้นจึงนำไปกดพิมพ์พระเครื่องต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ ดังนั้น พระเครื่องโบราณส่วนใหญ่จะมีตำหนิที่เดียวกัน มีมิติเหมือนกันทุกองค์ในแม่พิมพ์เดียวกัน

สำหรับพระรอด กรุวัดมหาวันนั้นจะมีพิมพ์อยู่หลายพิมพ์ เช่น พระรอด พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ต้นแบบ ที่มีแม่พิมพ์ตัวผู้ ตัวเดียวกัน ในส่วนของพระรอดพิมพ์ตื้นนั้นปรากฏว่าพบว่ามีแม่พิมพ์ถึง 2 ตัว

ซึ่งอาจจะเกิดจากการผิดพลาดในการถอดแม่พิมพ์ ตัวเมียหรืออย่างไรนั้นไม่ทราบได้ แต่ปรากฏว่าพระที่พบของวัดมหาวันนั้นจากการบันทึกต่อๆ กันมาและเป็นที่ยอมรับเป็นสากลว่ามี แม่พิมพ์ 2 แบบ ขอยืมคำนิยามของท่านอาจารย์สมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ ที่ได้ให้คำนิยามของแม่พิมพ์พระรอด พิมพ์ตื้น ว่า “แม่พิมพ์ 2 ตัวหนอน” และ “แม่พิมพ์ 3 ตัวหนอน”

ในส่วนของแม่พิมพ์ 2 ตัวหนอนนั้นพบเห็นได้มากกว่าอีกแม่พิมพ์หนึ่ง จึงจะเห็นได้บ่อยๆ ทั้งจากในรูปต่างๆ และองค์จริง ดังนั้น ในสมัยหลังๆ นี้จึงอาจจะมีผู้ที่เข้าใจผิดพลาดได้ ผมจะเล่าถึงแม่พิมพ์เฉพาะของพระรอด พิมพ์ตื้น ที่ว่านี้ขยายความต่ออีกทีหนึ่ง พระรอด พิมพ์ตื้นที่พบเห็นอยู่บ่อยๆ คือแม่พิมพ์ 2 ตัวหนอน คือมีรอยแตกของแม่พิมพ์อยู่ 2 จุดใหญ่ๆ ที่เห็นได้ง่ายคือ จะเห็นว่าที่ผนังใบโพธิ์ด้านซ้ายขององค์พระ (ขวามือเรา) จะมีรอยแตกที่ข้างหูขององค์พระเป็นเส้นวิ่งไปหาผนังใบโพธิ์ด้านข้าง

และอีกจุดก็คือ จะมีเส้นแตกของแม่พิมพ์วิ่งจากหัวไหล่ขององค์พระวิ่งลงมาตามแขนขององค์พระลงมาเกือบถึงข้อศอก ลองดูตามไปด้วยนะครับ เส้น 2 เส้นนี้จะเห็นได้ชัดเจนที่สุด ในส่วนอีกแม่พิมพ์หนึ่ง คือแม่พิมพ์ 3 ตัวหนอน จะมีเส้นแตกถึง 3 จุด และอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกันกับแม่พิมพ์ 2 ตัวหนอนดังนี้

ให้สังเกตที่ผนังด้านซ้ายองค์พระ (ขวามือเรา) จะสังเกตเห็นเส้นพิมพ์แตกตรงบริเวณเหนือพระเศียร จะมีเส้นแตกวิ่งยาวลงมาถึงใกล้กับเส้นพิมพ์แตกอีกเส้นหนึ่ง ที่จะอยู่ตรงบริเวณข้างใบหูขององค์พระ และจะวิ่งลงมาหา หัวไหล่ขององค์พระ

และที่ผนังโพธิ์ด้านขวาองค์พระ (ซ้ายมือเรา) ที่ใบโพธิ์ ตำแหน่งตรงบริเวณหูขวาขององค์พระจะมีเส้นแตกวิ่งยาวลงมา เท่ากับว่าแม่พิมพ์นี้มีเส้นแตกถึง 3 จุด ทั้ง 2 แม่พิมพ์เป็นพระรอด พิมพ์ตื้น ของกรุวัดมหาวันแท้ และยุคเดียวกันครับ สำหรับแม่พิมพ์ 2 ตัวหนอนนั้นจะพบเห็นได้มากกว่าแม่พิมพ์ 3 ตัวหนอน อันอาจจะทำให้เข้าใจผิดพลาดได้ครับ สำหรับพระรอดของเพื่อนผมเป็นพระรอด พิมพ์ตื้น กรุวัดมหาวัน แม่พิมพ์ 3 ตัวหนอน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระรอด พิมพ์ตื้น กรุวัดมหาวัน ทั้ง 2 แม่พิมพ์ จากหนังสือสุดยอดพระเบญจภาคี มาให้ชมด้วย แต่จะไม่บอกว่ารูปไหนเป็นแม่พิมพ์ไหน เนื่องจากวันก่อนลงรูปพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ 2 กรุ เขาลงใต้ภาพผิด ซึ่งอาจจะทำให้สับสนได้ครับ ลองพิจารณาดูเล่นๆ นะครับ และดูว่าองค์ไหนเป็นพระรอด พิมพ์ตื้น แม่พิมพ์ไหน ไม่ยากครับ เพียงสังเกตดูตามที่เขียนมา ก็พอจะทราบได้ว่าแม่พิมพ์ไหนเป็นแม่พิมพ์ไหนครับ




พระท่ากระดาน กรุเก่าศรีสวัสดิ์

สวัสดีครับท่าน ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้นึกถึงพระเก่าพระกรุองค์หนึ่ง คือ พระท่ากระดาน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากมาแต่ในอดีต มีเรื่องเล่าประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เกี่ยวกับเรื่องอยู่ยงคงกระพัน คนเก่าคนแก่เมืองกาญจนบุรี เล่าลือถึงเรื่องนี้กันมากว่าเรื่องอยู่ยงคงกระพัน "ต้องเกศบิดตาแดง" ซึ่งหมายถึงพระท่ากระดาน

พระท่ากระดานถูกพบครั้งแรกที่วัดร้างในเขตตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ.2440 พบบริเวณถ้ำลั่นทม และที่วัดร้างใกล้ๆ นั้นอีก 3 วัด คือ วัดบน วัดกลางและวัดล่าง พระที่พบเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงเพียงอย่างเดียว พุทธลักษณะเป็นพระศิลปะอู่ทองหน้าแก่ ผิวของพระมีไขขาวปกคลุมเกือบทั่วองค์พระ ข้างในเป็นสนิมแดงเข้ม บางองค์มีการปิดทองมาแต่เดิม การพบในครั้งแรกก็พบไม่มากนัก กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ต่อมามีคนนำไปห้อยบูชา แล้วเกิดฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก จากนั้นจึงมีผู้เข้ามาขุดค้นบริเวณท่ากระดานกันต่อมาอีกหลายครั้ง ได้พระไปบ้างไม่ได้บ้าง พระที่พบแต่ละครั้งก็ไม่มากนัก ต่อมาชื่อเสียงในเรื่องอยู่ยงคงกระพันได้แพร่หลายไปทั่ว คนเมืองกาญจน์เสาะหากันมาก และเนื่องจากพระท่ากระดานบางองค์มีเกศยาว และบิดโค้งไม่ตรงเนื่องจากเป็นเนื้อตะกั่ว และถูกฝังดินมานาน เกศจึงคดงอไปต่างๆ และเนื้อพระมีสนิมสีแดงปกคลุม จึงให้สมญานามว่า "เกศบิดตาแดง" และต่อมาก็เรียกตามสถานที่พบว่า "พระท่ากระดาน"

นอกจากพระที่พบที่ท่ากระดานแล้ว ต่อมาในปีพ.ศ.2497 ก็พบที่วัดหนองบัว เนื่องจากการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเข้าใจว่ามีคนนำมาถวายหลวงปู่ยิ้มไว้ และยังพบอีกที่เจดีย์วัดเทวะสังฆารามในปีพ.ศ.2506 เพื่อนำพระพุทธ 25 ศตวรรษบรรจุในองค์เจดีย์ พบพระเครื่องจำนวนมากหลากหลายพิมพ์ และพบพระท่ากระดานประมาณ 28 องค์ สันนิษฐานว่ามีผู้นำพระมาร่วมบรรจุตอนที่สร้างองค์พระเจดีย์ และยังพบที่วัดท่าเสาด้วยแต่พบไม่กี่องค์

ในปัจจุบันพระที่พบที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ มักจะเรียกกันว่า "พระกรุเก่า หรือพระกรุศรีสวัสดิ์" ส่วนพระที่พบในครั้งหลังที่อำเภอเมืองกาญจน์นั้น จะเรียกว่า "พระกรุใหม่" แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกันทั้งสิ้น เพียงแต่ขุดพบในครั้งหลังๆ กว่า ซึ่งเข้าใจว่า มีผู้ขุดพบพระที่ท่ากระดานแล้วนำมาบรรจุไว้ตามวัดต่างๆ ในอำเภอเมืองกาญจน์ภายหลัง

พระท่ากระดาน มีประสบการณ์เลื่องลือมากในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน แต่ความจริงในเรื่องโภคทรัพย์ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพียงแต่ในสมัยก่อนมักชอบในด้านอยู่ยงมากกว่าครับ และเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีคนที่ถูกยิงหรือฟันไม่เข้า จึงเล่ากันต่อๆ มา

พระท่ากระดานแท้ๆ ปัจจุบันหาเช่ายาก และมีสนนราคาสูงมากครับ พระปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เนื่องจากเป็นที่นิยมกันมายาวนานแต่อดีต และมีราคาสูงมานานแล้วเช่นกัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ากระดานกรุเก่าศรีสวัสดิ์ที่สวยสมบูรณ์มีการปิดทองมาแต่เดิมมาให้ชมกันด้วยครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #50 เมื่อ: 31 มีนาคม 2560 16:35:15 »



พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง

วัดสุวรรณาราม เดิมชื่อว่า “วัดทอง” ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี เป็นวัดโบราณที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้รื้อวัดทองเดิม แล้วสถาปนาขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอาราม และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดสุวรรณาราม” แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกติดปากกันว่า “วัดทอง”

นอกเหนือจากความงดงามและคุณค่าของ “จิตรกรรมฝาผนัง” ในพระอุโบสถ อันเป็นผลงานของจิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ ครูทองอยู่และครูคงเป๊ะ ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักแล้ว “วัดทอง” ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในแวดวงนักสะสมพระเครื่อง ด้วย “พระพิมพ์” ซึ่งเป็นมรดกของ หลวงพ่อทับ อินทโชติ อดีตเจ้าอาวาสลำดับที่ 9 ของวัดทอง

นั่นคือ “พระปิดตามหาอุด” ที่มีพุทธคุณและพุทธศิลป์เป็นเลิศ เรียกได้ว่า “เป็นที่นิยมแสวงหาควบคู่กันมากับพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เลยทีเดียว” และยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “เบญจภาคีเนื้อโลหะ” อีกด้วย

พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี หรือ หลวงพ่อทับ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2390 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม ที่บ้านคลองชักพระ บางกอกน้อย ธนบุรี บิดา-มารดา ชื่อ นายทิม-นางน้อย ปัทมานนท์

อายุได้ 17 ปี บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ของพระปลัดแก้ว รักษาการเจ้าอาวาสวัดทอง ในช่วงก่อนที่พระศีลาจารพิพัฒน์(ศรี) จะย้ายจากวัดสุทัศนเทพวรารามมาเป็นเจ้าอาวาส เพื่อศึกษาหนังสือไทยและขอม อายุ 18 ปี บรรพชาเป็นสามเณร

นอกจากศึกษาในสำนักแล้ว ยังไปศึกษาเพิ่มเติมกับ พระอาจารย์พรหมน้อย และ พระครูประสิทธิสุตคุณ ที่วัดอัมรินทร์ จนปี พ.ศ.2411 อายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดช่างเหล็ก บางกอกน้อย มี พระอธิการม่วง วัดตลิ่งชัน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดแก้ว วัดทอง และพระอาจารย์พึ่ง วัดรวก เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “อินทโชติ”

หลังจากนั้นกลับมาจำพรรษาที่วัดทอง หากแต่ยังได้ร่ำเรียนวิปัสสนากรรมฐาน พุทธา คม และไสยศาสตร์ จากพระอุปัชฌาย์ม่วง ที่วัดตลิ่งชัน มิได้ขาด จนกระทั่งสำเร็จ นอกจากนี้ยังได้ศึกษากับอีกหลายสำนัก

ต่อมา หลวงพ่อทับได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดทอง และได้บูรณปฏิสังขรณ์จนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักมาจนทุกวันนี้ ด้วยความรู้ความสามารถในเชิงช่างไม้ช่างปูนของท่าน ท่านจึงซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ ด้วยตัวเอง

เมื่อชาวบ้านเห็นก็ได้ร่วมแรงร่วมใจมาช่วยกันสร้างและซ่อมแซมด้วยความเคารพศรัทธาในตัวหลวงพ่อ ท่านจึงได้สร้าง “พระปิดตาเนื้อโลหะ” เพื่อแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาที่มาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัด

 ในช่วงบั้นปลายของชีวิต หลวงพ่อทับอาพาธ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ยังเสด็จมาเยี่ยมและให้แพทย์หลวงรักษา แต่เนื่องจากอาการอาพาธหนัก ท่านจึงมรณภาพเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2455 สิริอายุได้ 66 ปี 45 พรรษา

พระปิดตามหาอุดหลวงพ่อทับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นแบบลอยองค์ พระประธานนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ที่ล้วงปิดทวาร จะล้วงลงทางด้านในไม่ผ่านหน้าแข้ง จึงทำให้เห็นกิริยาขัดสมาธิเพชรได้เด่นชัด หรือที่เรียกกันว่า “โยงก้นด้านใน” ด้านข้างองค์พระไม่ปรากฏรอยตะเข็บ เนื่องจากท่านสร้างโดยวิธีปั้นหุ่นด้วยเทียนขี้ผึ้งทีละองค์ แล้วจึงใช้ดินเหนียวประกอบด้านนอก

จากนั้นจึงใช้โลหะที่หลอมละลายเทหยอดทางก้นหุ่น เนื้อโลหะที่ร้อนจัดจะทำให้เทียนละลายและสำรอกออกทางรูที่เจาะไว้ เหลือแต่เนื้อโลหะเป็นรูปองค์พระแทน การกำหนดเลขยันต์ที่จะบรรจุลงบนพระนั้น ท่านจะเลือกอักขระที่เหมาะสม มีความหมาย มีอำนาจแห่งพุทธาคม บรรจุลงตามส่วนต่างๆ ขององค์พระ เว้นช่องไฟได้เหมาะเจาะสวยงาม

องค์พระจึงไม่เหมือนกันเลยทั้งรูปทรงและลวดลายของอักขระยันต์ จึงหาผู้สร้างลอกเลียนได้ยากมาก

แบ่งออกได้เป็น 4 พิมพ์ใหญ่ๆ คือ พิมพ์นั่งบัว, พิมพ์บายศรี, พิมพ์ตุ๊กตา และ พิมพ์ยันต์ยุ่ง โดยยังแยกออกเป็นพิมพ์ย่อยและมีหลายขนาด แต่ก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะที่สามารถจดจำได้ว่าเป็นของท่าน ทุกพิมพ์ล้วนเป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่อง

สนนราคาก็แพงลิบลิ่วครับผม




เหรียญหลวงปู่รอด วัดสามไถ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่ ต.สามไถ อ.นครหลวง ก็มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าองค์หนึ่งที่อยากจะพูดถึงในวันนี้ ท่านก็คือหลวงปู่รอด วัดสามไถ ซึ่งชาวบ้านในแถบนั้นเคารพนับถือท่านมาก และท่านก็ได้สร้างเหรียญหล่อไว้ ปัจจุบันหาได้ยากมากพอสมควรครับ

ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากสักหน่อย หลวงปู่รอดท่านเป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดา ชื่อแม่เฒ่ากา เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบโยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร หลวงปู่รอดท่านเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา ท่านจึงได้กราบลาพระอธิการแดง ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน

เมื่ออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปี พ.ศ.2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปี พ.ศ.2429 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่รอดท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่าน ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของ พระภิกษุภายในวัดต้องมาปลงอาบัติกับท่าน ทุกๆ เช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อน พระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดี จะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรม และจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้ และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลกนาถ (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมา กราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา

ในปี พ.ศ.2467 หลวงปู่รอดท่านได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดท่านจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอม ละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมดหลวงปู่ได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืนที่ในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75

เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถนี้ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากครับ พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมกันตามเคยครับ




เหรียญหล่อหลวงพ่อดำ วัดตาล

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อดำ วัดตาล อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของจังหวัดราชบุรี ซึ่งท่านได้สร้างเหรียญหล่อและเหรียญปั๊มในปี พ.ศ.2459 นับว่าเป็นเหรียญรุ่นเก่าแก่ของจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันหาดูยากแล้วครับ

หลวงพ่อดำ ท่านเกิดวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีขาล ตรงกับปี พ.ศ.2385 ที่บ้านคลองบางป่าใต้ ราชบุรี โยมบิดาชื่อ ปลิก โยมมารดาชื่อ เหม เมื่อเด็กท่านเป็นคนผิวดำ มารดาจึงเรียกท่านว่า “ดำ” ท่านเป็นคนนิสัยใจคอกล้าหาญมาแต่เด็กๆ พออายุสมควรเล่าเรียน บิดาจึงนำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอมที่สำนัก วัดตาล เนื่องจากพระอาจารย์เล็กเป็นญาติ ทางบิดาของท่าน พระอาจารย์เล็กผู้นี้เป็นครูที่ดุมาก กวดขันนักเรียนจนเป็นที่เกรงกลัวแก่เด็กๆ หลวงพ่อดำเวลาท่านท่องหนังสือแล้วกลัวว่าจะง่วงเผลอหลับท่านจะเอา ทะนานลื่นๆ มาหนุนหัวท่องหนังสือ เพราะเวลาง่วงก็จะลื่นกระทบกับกระดาน หลวงพ่อดำได้อุตสาหะเล่าเรียนด้วยความขยัน ทำให้พระอาจารย์เล็กเกิดเมตตาจิตถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ จนท่านมีความรู้แตกฉาน

พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตาล และศึกษาพระธรรมวินัยจนอายุครบบวช ก็ได้อุปสมบทที่วัดตาลนั่นเอง โดยมี พระครูอภัยมงคล (แดง) วัดจันทคาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ทอง กับ พระอาจารย์เล็ก เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “อินทสโร” บวชแล้วก็ได้อยู่ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดตาล

ต่อมาจึงได้ออกธุดงค์และไปปริวาสธุดงค์กับพระอาจารย์อ้น วัดบางจาก อัมพวา ท่านได้ออกธุดงค์ไปทั่วประเทศ ฝึกพลังจิตจนกล้าแข็ง ได้พบพระอาจารย์เก่งๆ ในป่าลึก และได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ท่านยังเสาะหาตำราเก่าๆ เอามาศึกษาฝึกฝนด้วยตัวเอง ในระหว่างที่ท่านได้ธุดงค์ไปนั้น ไปถึงไหนก็ได้ช่วยชาวบ้าน ชาววัดที่ท่านผ่านไป ก่อสร้างวัดต่างๆ ณ ที่นั้น จนท่านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป

พอพรรษาที่ 8 เจ้าอาวาสวัดตาลว่างลง ทายกทายิกาและทางคณะสงฆ์ เห็นควรนิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดตาล ซึ่งขณะนั้นวัดได้ทรุดโทรมลงไปมาก ท่านจึงรับนิมนต์ และได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ใครเห็นท่านทำอะไรก็เลื่อมใสศรัทธามาร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพราะท่านช่วยเหลือใครก็ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นกันเองแก่ทุกคน ท่านคิดจะทำอะไรก็เป็นสำเร็จได้ทุกเรื่อง

เรื่องเครื่องรางของขลัง ใครมาขอท่านก็ทำแจกให้ไป เครื่องรางของท่านโด่งดังมากมีคนมาขออยู่เป็นประจำ พออายุได้ 40 ปี ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าคณะตำบลตามลำดับ ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย คนทางหัวเมืองใกล้เคียงเช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม เรียนวิชาจากท่านเสมอ ตะกรุดมหาอุตม์ของท่านโด่งดังมาก เคยมีนายชม นักเลงโตแม่น้ำอ้อม มีฉายาว่าขุนช้าง เนื่องจากหัวล้านและมีเงินทองมาก ได้ตะกรุดไปจากท่าน เอาพกติดตัวอยู่เสมอ เคยถูกลอบยิงหลายครั้งไม่เป็นอะไร

ต่อมามีสมัครพรรคพวกมากขึ้น ก็เปิดบ่อนพนันทำตัวเป็น ผู้กว้างขวางแถบนั้น เมื่อหลวงกล้ากลางสมร มือปราบย้ายมาจากจังหวัดสมุทร สงคราม หลวงกล้าก็ได้มาเตือนนายชมให้เลิกเสีย แต่นายชมถือดีว่ามีสมัครพรรคพวกมาก เลยตอบไปว่า แน่จริงก็เข้ามาจับได้เลย หลวงกล้าจึงวางแผนเข้าจับกุม

แต่ชัยภูมิบ้านของนายชมคับขันมาก มีทางเข้าแต่ทางเรือเท่านั้นหลวงกล้าฯ จึงให้ตำรวจฝังตัวอยู่ในเลนครึ่งตัวล้อมจับไว้ถึง 7 ช.ม. พวกลูกน้องนายชมก็หนีหายล้มตายไปหมดเหลือแต่นายชมเพียงคนเดียว ตำรวจได้ระดมยิงไปที่นายชมหลายนัด พอยิงไปตรงตัวก็ยิงไม่ออก ยิงไปทางอื่นลูกออก จนนายชมลูกปืนหมดจึงถูกจับได้ หลวงกล้าฯ ค้นดูในตัวมีเพียงตะกรุดของหลวงพ่อดำเพียงดอกเดียว ตอนนายชมถูกจับตัวได้นั้น พอตำรวจเผลอนายชมได้กินยาตาย ไม่ยอมให้ถูกดำเนินคดี

หลวงพ่อดำเคยออกเหรียญรูปท่านเป็นเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปหัวใจ มีรูปหลวงพ่อดำนั่งเต็มองค์ ระบุปี พ.ศ.2459 ด้านหลังมีอักขระขอม “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ติ หัง จะ โต โล ทิ นัง พุท ธัง สัง มิ อินทสโร นะ ปะ ตะ กะ สะ” มีคนเข้าไปขอแจกกันมาก จนเหรียญหล่อหมด จึงได้สร้างเหรียญปั๊มหูเชื่อมเนื้อทองแดงเพิ่มเติม เพราะเหรียญหล่อไม่พอแจก

หลวงพ่อดำ ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2466 สิริอายุได้ 81 ปี เหรียญของหลวงพ่อดำมีพุทธคุณทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ปัจจุบันนับว่าหาชมได้ยากมาก เนื่องจากเป็นเหรียญที่มีอายุความเก่ามากครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อดำ วัดตาลจากหนังสือ ตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยามมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ


คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #51 เมื่อ: 06 เมษายน 2560 18:54:22 »




พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร 50 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น “พระปรกใบมะขามหนึ่งเดียว” ที่ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร”, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ในพิธี และยังได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกโดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นจากทั่วประเทศเป็นอย่างน้อยถึง 2 วาระ

นับเนื่องไปเมื่อปี พ.ศ.2527 ซึ่งเป็นโอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบกึ่งศตวรรษ (50 ปี) มหาวิทยาลัยมีมติจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อทองล่ำอู่ ขนาดหน้าตัก 25 นิ้ว จำนวน 4 องค์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย

แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นพระประจำมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่า “พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” โปรดให้ประดิษฐานประจำที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) 1 องค์ ศูนย์รังสิต 1 องค์ ศูนย์พัทยา 1 องค์ และสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 1 องค์ โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธี ทรงพระสุหร่ายและทรงเททองหล่อพระพุทธรูปด้วยพระองค์เอง

การจัดสร้างวัตถุมงคลอื่นๆ เพื่อเป็นที่ระลึกและหารายได้ตั้งกองทุนด้านศาสนกิจ ศาสนศึกษา และสาธารณกุศลต่างๆ ประกอบด้วย พระบูชาพระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อล่ำอู่แดง หน้าตัก 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว, พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ภปร เนื้อนวโลหะ และพระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร เนื้อทองคำ, เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทองชนวนมาผสมกับทองชนวนสำคัญๆ อาทิ พระกริ่งสมเด็จสังฆราชแพหลายรุ่น, พระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, เหรียญหล่อหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช, พระกริ่งหลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง รวมทั้งแผ่นยันต์และผงวิเศษของเกจิอาจารย์ต่างๆ อีกมากมายหลายรูป

พิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ ในวันที่ 17-18 ตุลาคม พ.ศ.2527 มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย

พระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิต อาทิ พระธรรมปัญญาจารย์ (ทิม) วัดราชประดิษฐ์, พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม, หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา, หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม, พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส, พระอาจารย์ทองใบ วัดสายไหม, พระปริยัติมุนี (ชูศักดิ์) วัดหงส์รัตนาราม, หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิต, หลวงพ่อพล วัดหนองคณฑี, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม, หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อกล้วย วัดหมูดุด, หลวงพ่อแช่ม วัดบ่อพุ, หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ, หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ, หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม และ หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง เป็นต้น

สำหรับ “พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร” นั้น ยังไม่ได้นำออกให้เช่าบูชา พิธีพุทธาภิเษกที่ผ่านมาจึงนับเป็นวาระที่ 1 ต่อมาได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกในวาระที่ 2 ณ หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2528 โดยพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิตส่วนใหญ่เป็นชุดเดิมจากวาระที่ 1 จากนั้นจึงได้มีการนำออกมาให้เช่าบูชา

พระที่เหลือได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งเป็นวาระที่ 3 พร้อม “พระกริ่งธรรมศาสตร์ 60 ปี” ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2537 โดยกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ มาทรงเป็นประธานในพิธี และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย นอกจากนี้ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้เมตตาเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์รวม 9 รูป ปลุกเสกอธิษฐานจิตโดยพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในวาระที่ 1 และ 2 เป็นส่วนใหญ่ รวมแล้วถึง 116 รูป

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร เป็นพระเครื่องขนาดเล็กมาก พิมพ์ทรงโค้งมนแบบเล็บมือ ยกขอบหน้า-หลัง ด้านหน้า จำลององค์พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญองค์หนึ่งของไทย ประทับนั่งเหนืออาสนะฐานบัว พื้นหลังเป็นม่านแหวก ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ล่างสุดจารึกอักษรไทย “๕๐ ปี มธ.”

พระปรกใบมะขาม พระพุทธสิหิงค์ ภปร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นพระปรกใบมะขามหนึ่งเดียวในกลุ่ม ที่ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” จึงถือเป็นพระเครื่องสำคัญรุ่นหนึ่งในรัชกาล ให้สังเกตโค้ดให้ดี จะมีทั้ง ตอกโค้ด 1 ตัว และ 2 ตัว “โค้ด 1 ตัว” ต้องเป็นตัว “นะ” ซึ่งเป็นโค้ดในพิธีพุทธาภิเษกวาระที่ 1 (50 ปี ธรรมศาสตร์) สำหรับ “โค้ด 2 ตัว” คือเพิ่มโค้ด “ธรรมจักร” จะเป็นพระที่ได้นำเข้าพิธีฯ ในวาระที่ 3 (60 ปี ธรรมศาสตร์) ด้วย ครับผม




เหรียญพระพุทธโสธรหลัง ภปร 2509

มาคุยถึง "เหรียญหลัง ภปร" กันต่ออีกสักหน่อย ก็พยายามหยิบยกเหรียญสำคัญๆ มาให้ได้ทัศนากัน ฉบับนี้เป็น "เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509" ที่เรียกกันว่า "รุ่นสร้างโรงเรียน"

ความสำคัญเหรียญรุ่นนี้ คือ ประการแรก สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จพระราชกุศลสร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร วันที่ 3 มิ.ย. 2509 ประการที่สอง เป็นเหรียญจำลองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ฉะเชิงเทรา และเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของประเทศที่เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชน ทั่วหล้า และประการสำคัญ คือ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมา ภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานด้านหลังเหรียญ อันนับเป็นมหามงคลยิ่ง

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 จัดสร้างโดย พระราชพุทธิรังสี (จิรปุญโญ ด.เจียม กุลละวณิชย์) หรือ พระพรหมคุณาภรณ์ (สมณศักดิ์สุดท้ายเมื่อมรณภาพ) เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหารขณะนั้น

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2509 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เสด็จฯ พิธีวิสาขบูชา ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร

ด้วยอันเป็นมูลเหตุแห่งการจัดสร้าง "พระอุโบสถหลังใหม่" ที่งดงามอลังการ จากพระราชปรารภถึงความคับแคบ

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 เป็นเหรียญรูปเสมา หูในตัว มีห่วง ด้านหน้ายกขอบ 2 ชั้น ชั้นในเล็กกลมแบบเส้นลวด ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อพระพุทธโสธรเต็มองค์ ต่อด้วยอักษร ไทยว่า "หลวงพ่อพระพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา" ล่างสุดเป็นตัวอักษร "พ" ซึ่งย่อมาจาก "พระราชพุทธิรังสี" พิมพ์ด้านหน้านี้แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานบัว และพิมพ์ฐานเขียง สังเกตจากฐานขององค์พระ

ด้านหลังยกขอบหนาชั้นเดียว ตรงกลางเป็นพระปรมาธิไภยย่อ "ภปร" มีอักษรไทยจารึกว่า "ที่ระลึกโดยเสด็จพระราชกุศล สร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร ๓ มิ.ย.๐๙" โดยมีสัญลักษณ์ "ดาว" ด้านหน้าและท้ายประโยค จัดสร้างเป็น เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง

พิธีพุทธาภิเษก ถือว่าจัดยิ่งใหญ่ในยุคนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว, หลวงพ่อจุ้ย วัดพงษาราม, หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี ฯลฯ

เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 ในครั้งนี้ จัดสร้างหลายหมื่นเหรียญทีเดียว ทำให้มีบล็อกแม่พิมพ์หลายแม่พิมพ์ เท่าที่ผู้รู้ตรวจสอบดู ในเหรียญพิมพ์ฐานบัวมีคนแยกออกมาได้อีกประมาณ 4 บล็อก ส่วนพิมพ์ฐานเขียงแยกได้ประมาณ 3 บล็อก ส่วนด้านหลังหลักๆ จะมี 2 บล็อก

ดังนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่าต้องเกิดการหมุนเวียนของบล็อกหน้า-บล็อกหลังในการกดแม่พิมพ์ อีกทั้งเมื่อกดแม่พิมพ์ไปนานๆ ก็จะเกิดการตื้นเขินของแม่พิมพ์ หรือเกิดเนื้อเกินในบางจุด ตามที่ทราบกันดีอยู่ ส่งผลให้ "เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509" เกิดจุดตำหนิเหรียญมากมายหลายแบบ เป็นที่ปรากฏออกมาเป็นการเรียกพิมพ์ย่อยในหลายชื่อหลายพิมพ์ ซึ่งกลายเป็นผลดีต่อมิจฉาชีพวงการพระเครื่องในการสร้างความเข้าใจผิดหลากหลายเรื่องราว เพื่อสร้างผลประโยชน์ต่อตน และไม่ใช่เพิ่งเริ่มมี

สำหรับเหรียญนี้มีมาตั้งแต่เหรียญออกมาใหม่ๆ ด้วยเหตุที่เป็นเหรียญสำคัญที่เป็นที่ต้องการของสาธุชนอย่างกว้างขวาง แล้วยิ่งปัจจุบันด้วยแล้ว ความต้องการแสวงหาเพิ่มเป็นทวีคูณ พร้อมกับค่านิยมที่สูงขึ้นอย่างมากมายตามมา ผู้มีไว้ก็ต่างหวงแหน




เหรียญมงคลบพิตร รุ่น 2 ปี 2485

เมื่อถึงปีพ.ศ.2485 ได้มีการจัดสร้าง “วัตถุมงคลหลวงพ่อมงคลบพิตร” ขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเปิดโอกาสให้เช่าบูชา โดยจัดสร้างเป็นเหรียญรูปเหมือน และแหวนยันต์มงคล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นด้านชนวนมวลสารหรือพิธีกรรม เรียกได้ว่า “ยิ่งใหญ่อลังการ” มีค่านิยมสูงมากและหาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่งมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

เริ่มจากการรวบรวมชนวนมวลสารในการจัดสร้าง “โลหะ” จะประกอบด้วย แผ่นทองที่ลงอักขระปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมในยุคนั้นจำนวนถึง 121 รูป มีอาทิ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์, สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (สมเด็จพระสังฆราช ชื่น) วัดบวรนิเวศวิหาร, สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส, พระญาณไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก, หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร

หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง, หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าอรัญญิกาวาส จ.ชลบุรี, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี, หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง จ.ราชบุรี, พระอธิการจันทร์ วัดคลองระนง จ.นครสวรรค์, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม, หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ, หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี, หลวงปู่บ่าย วัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท, พระอาจารย์แฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรี, หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.พระนคร ศรีอยุธยา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา และหลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

รวมกับ “โลหะเครื่องรางโบราณ” ที่พบในบริเวณพระราชวังโบราณ เมื่อคราวปรับปรุงเกาะเมืองฯ เช่น ชินสังขวานร บนวิหารพระมงคลบพิตร-วัดพระศรีสรรเพชญ์-วัดป่าพาย, ทองคำจากองค์พระมงคลบพิตร, เนื้อสำริดกะเทาะจากองค์พระมงคลบพิตร, พระชินขุนแผนจากวัดป่าพาย-วัดสะพานเงินสะพานทอง, พระชินกำแพงพัน วัดพระศรีสรรเพชญ์-วัดมหาธาตุ-วัดราชบูรณะ, พระปรุหนังวัดพระศรีสรรเพชญ์, พระชิน วัดขุนหลวงต่างใจ, พระปิดทวารในเจดีย์พระราชวังโบราณ, ลูกอมทองแดง วัดพระราม, แผ่นทองกะเทาะจากองค์พระธาตุเชียงใหม่ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีทองชนวนจากพิธีสำคัญของพระอารามต่างๆ เช่น วัดอนงคาราม, วัดหิรัญรูจี, วัดราชบพิธฯ, วัดกัลยาณมิตร, วัดชนะสงคราม, วัดสุทัศน์ ฯลฯ

โดยพิธีการสร้างแบ่งเป็น 2 วาระ วาระแรก เป็นพิธีหลอมทอง ณ วิหารพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา แบบข้ามคืนตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ต่อเนื่องถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยพระญาณไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง เป็นประธานจุดเทียนชัย

ไฟที่ใช้จุดเทียนชัยเป็น “ล่อจากแสงอาทิตย์” และได้นำแม่พิมพ์ให้พระเกจิอาจารย์ลงเลขยันต์และปลุกเสกพร้อมมวลสารที่จะจัดสร้างอีกครั้ง หน้าพระพักตร์หลวงพ่อมงคลบพิตร ต่อเนื่องถึงวันรุ่งขึ้นเมื่อได้ปฐมฤกษ์ หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา เป็นประธานหย่อนแผ่นเงินจารึกดวงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน กับดวงฤกษ์ลงเบ้า เพื่อหลอมรวมกับทองชนวนและโลหะมงคลต่างๆ

จากนั้น ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยา ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใส่ทองคำหนัก 1 บาท (ทองคำนี้พระเกจิอาจารย์ได้ลงอักขระปลุกเสกโดยเฉพาะทุกรูป) แล้วหลวงปู่จาดจึงเริ่มเททอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายๆ รูป ใน 121 รูป ที่ลงอักขระปลุกเสกในการหล่อ ได้เมตตาเข้าร่วมเจริญชัยมงคลคาถา และเมื่อดับเทียนชัยแล้วท่านทั้งหลายยังบริกรรมคาถาปลุกเสกทองที่หลอมเสร็จกับแม่พิมพ์อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อการจัดสร้างแล้วเสร็จ วาระที่ 2 เป็นพิธีพุทธาภิเษก ประกอบพิธีในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ที่เรียกว่า “วันเสาร์ห้า” ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2485 ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายๆ รูป ใน 121 รูป ที่ลงอักขระปลุกเสกในการหล่อ ได้เมตตาเข้าร่วมพิธีเช่นกัน

กล่าวถึงเหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2485 ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มพิมพ์ทรงห้าเหลี่ยม หูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปจำลองหลวงพ่อมงคลบพิตร ภายในซุ้มเรือนแก้ว มีอักษรขอมจารึกหัวใจพุทธคุณทั้งเก้า คือ “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ” ด้านล่างจารึกนาม “พระมงคลบพิตร อยุธยา” ด้านหลังเป็น “ยันต์พระเจ้า 16 พระองค์” ใต้ยันต์ระบุวันเดือนปีที่สร้าง มีจัดสร้างเป็นเนื้อทองแดง เนื้อเงิน และเนื้อทองแดงพระเกศเป็นทองคำ ซึ่งเป็นพระคะแนน

เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่น 2 ปี 2485 ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดเหรียญ ซึ่งนอกจากพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งแล้ว ขั้นตอนต่างๆ ยังเป็นไปด้วยความใส่ใจและพิถีพิถันอย่างสูง


คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #52 เมื่อ: 24 เมษายน 2560 19:05:25 »



พระกรุทับขุนวัง – อยู่ยงคงกระพัน มหาอุด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุทับขุนวัง จังหวัดสุโขทัย เป็นพระที่ปัจจุบันไม่ค่อยได้พูดถึงกันนัก แต่ในสมัยก่อนนั้นนักสะสมพระเครื่องต่างรู้จักกันดี เนื่องจากบริเวณที่พบพระนั้นเป็นเนินดินพวกชาวบ้านที่ไปยิงนกใกล้ๆ เนินนั้น ต่างรู้กันดีว่าถ้านกอยู่ที่บริเวณเนินดินนี้จะยิงปืนไม่ออก

ทำให้สงสัยและลองยิงไปที่เนินดินเท่าไรก็ยิงไม่ออก แต่พอหันปืนไปทางอื่นก็ยิงออกทุกที จึงสงสัยว่าคงจะมีของดีฝังอยู่บริเวณเนินดินนี้ แต่ก็ไม่สามารถขุดหาได้ เนื่องจากบริเวณเนินดินเป็นที่ดินส่วนบุคคล แต่ก็มีคนมาแอบขุดอยู่เหมือนกันในตอนกลางคืน แต่ก็ไม่พบพระ ต้องรีบออกไปตอนรุ่งสาง

ทับขุนวังเป็นชื่อวัดๆ หนึ่งสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย ปัจจุบันกลายเป็นวัดร้างปรักหักพังจนแทบไม่เหลืออะไรอยู่เลย วัดนี้อยู่ใกล้กับวัดพระเชตุพน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ประวัติการแตกกรุของพระกรุทับขุนวังคือ นางพอง เป็นชาวบ้านตำบลเมืองเก่า ซึ่งมีนิวาสสถานบ้านช่องอยู่ในอาณาบริเวณวัดทับขุนวังมาเนิ่นนานแล้ว ก่อนที่จะขุดเอาพระขึ้นมานั้น ได้มีชายชรามาเข้าฝันให้ไปขุดเอาพระขึ้นมาถึง 3 ครั้งติดต่อกัน แต่นางก็ไม่กล้าด้วยเป็นหญิง

ครั้งสุดท้ายนางตัดสินใจบอกลูกๆ หลานๆ จึงพากันไปขุดตามความฝัน แล้วก็พบพระกรุทับขุนวัง บรรจุอยู่ในหม้อเคลือบสังคโลก มีพิมพ์ต่างๆ รวมอยู่ประมาณ 4-5 พิมพ์ ที่พบเห็นมากที่สุด และเป็นที่รู้จักมากในเวลาต่อมาก็คือ พิมพ์นางทับขุนวัง พบประมาณ 700 องค์

พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์สามเหลี่ยมทรงชะลูด ตัดกรอบชิดองค์พระ ประทับนั่งปางมารวิชัย บนอาสนะฐานเขียง ไม่ปรากฏรายละเอียดมากนัก นอกจากกรอบไรพระศกเป็นเส้นสัน บางองค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดๆ ก็ปรากฏรายละเอียดของหน้าตา พระกรรณเห็นได้ชัด ส่วนเส้นจีวรไม่ปรากฏ พุทธลักษณะโดยรวมเป็นแบบพระพุทธรูปอู่ทอง องค์พระค่อนข้างชะลูดๆ เนื้อพระที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อละเอียดแบบพระกรุสุโขทัย มีทั้งสีเขียว สีดำ สีแดง และเหลือง พระกรุนี้จะปรากฏคราบกรุและรารักเกาะอยู่โดยทั่วไป

ด้านพุทธคุณนั้น ก่อนที่นางพองจะขุดพระได้นั้น สภาพกรุเป็นเนินดินรกร้างของฐานพระเจดีย์ มีพวกชาวบ้านเที่ยวไปยิงนกตามนั้น แต่เมื่อพอหันกระบอกปืนไปทางเนินดิน กระสุนด้านทุกที แต่พอหันไปทางอื่นก็สามารถยิงออกทุกครั้งไป เป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้ง เป็นที่สงสัย และพยายามจะมาขุดดูเนื่องจากสงสัยว่าจะมีของดีฝังอยู่ในบริเวณนี้ แต่ก็หาสบโอกาสไม่ เพราะอยู่ในบริเวณบ้านของนางพอง

จนกระทั่งนางพองขุดพระออกมาได้ ก็มีผู้ที่รู้เรื่องเข้ามาขอเช่าพระจากนางพองไปจนหมด เนื่องจากแน่ใจว่า พระกรุนี้เด่นทางอยู่ยงคงกระพัน มหาอุด ตามที่ได้ยินคำเล่าลือจากพวกไปยิงนกแถบนั้น

ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก กับพระกรุนี้ สนนราคาก็ยังไม่แพงนักครับ เพราะอาจจะลืมๆ กันไปบ้าง ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกรุทับขุนวังมาให้ชมกัน เผื่อไปพบที่หิ้งในบ้านของท่านก็เป็นได้ จะได้รู้ว่าเป็นของดีของเก่าครับ




หลวงพ่อสุด วัดกาหลง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อสุด วัดกาหลง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังในวิทยาคมและมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย วัตถุมงคลของท่านเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

ครั้งหนึ่งที่มีผู้กล่าวขวัญกันมากก็คือเรื่องของตี๋ใหญ่ ดำเนินสะดวก ซึ่งเป็นผู้ที่เคารพนับถือหลวงพ่อสุดมาก เคยมีตะกรุดและผ้ายันต์ของหลวงพ่อ หนีรอดเงื้อมมือตำรวจที่ล้อมจับอยู่หลายหน แต่การที่สร้างบาปไว้มากก็ไม่พ้นกฎแห่งกรรม ก่อนตี๋ใหญ่เสียชีวิตตะกรุดและผ้ายันต์ของหลวงพ่อก็หายไป และจะมาหาหลวงพ่อสุดเพื่อขอตะกรุดใหม่ และก็มาจบชีวิตที่ปากทางเข้าวัดกาหลง โดยการล้อมจับของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

หลวงพ่อสุดเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2445 ที่บ้านคำไฮ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด โยมบิดาชื่อ มาก โยมมารดาชื่อ อ่อนศรี ต่อมาเมื่ออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดกลางพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด โดยมีพระครูเม้า เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงปู่เม้า เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2465 ที่วัดกลางพนมไพร โดยมีพระครูเม้าเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจันทา วัดฟ้าหยาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการบุดดา วัดพองยาว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงพ่อสุด สอบได้นักธรรมตรีที่สำนักวัดกุดน้ำใส อ.พนมไพร ต่อมาหลวงพ่อสุดได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ และสอบได้นักธรรมโท ที่สำนักวัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์ กทม. และได้เดินทางมาอยู่ที่วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร ในปี พ.ศ.2478 ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดกาหลง และสอบได้นักธรรมเอกในปี พ.ศ.2481 พ.ศ.2484 ได้เป็นเจ้าคณะตำบล และในปี พ.ศ.2495 ได้เป็นสาธารณูปการอำเภอ

สมณศักดิ์ที่หลวงพ่อสุดได้รับ ในปี พ.ศ.2490 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี พ.ศ.2511 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท และในปี พ.ศ.2517 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่พระครูสมุทรธรรมสุนทร

หลวงพ่อสุดได้ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เม้า วัดกลางพนมไพร หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อสุดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังในวิทยาคมมาก ชาวบ้านต่างเคารพนับถือหลวงพ่อมาก ท่านมีเมตตาสูงอุปการะโรงเรียนวัดกาหลงให้ลูกหลานชาวบ้านได้มีที่ศึกษาเล่าเรียน และท่านก็ได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม เป็นกรรมการตรวจสอบธรรมสนามหลวงด้วย ชาวบ้านมีเรื่องทุกข์ร้อนประการใดก็มาขอให้หลวงพ่อช่วยปัดเป่าบรรเทาได้ทุกราย

ในส่วนของวัตถุมงคลหลวงพ่อสุดได้สร้างยันต์ตะกร้อที่โด่งดัง มีประชาชนไปขอวัตถุมงคลกับหลวงพ่อกันมาก ซึ่งท่านได้สร้างตะกรุดโทน และตะกรุด 108 ผ้ายันต์ ในส่วนเหรียญก็มีเหรียญรุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2506 ปัจจุบันหายากและมีมูลค่าสูง รุ่นสองสร้างในปี พ.ศ.2507 และที่คนรู้จักมากก็รุ่นเสือเผ่น สร้างในปี พ.ศ.2517 นอกจากนี้ก็เหรียญรุ่นเสือหมอบ และพระสมเด็จเนื้อผง พระรุ่นนพเกล้า

หลวงพ่อสุดมรณภาพเมื่อวันที่ 14 สิงหา คม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 81 ปี ยังความอาลัยกับลูกศิษย์และผู้ที่เคารพหลวงพ่อสุดเป็นอย่างยิ่ง ในวันพระราชทานเพลิง สรีรสังขารของหลวงพ่อสุดส่วนที่เป็นโครงกระดูกไม่ไหม้ไฟยังคงรูปเช่นเดิม กรรมการวัดจึงได้เก็บรักษาไว้ที่วัด และให้ประชาชนกราบนมัสการจนทุกวันนี้

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อสุดวัดกาหลง ปีพ.ศ.2506 มาให้ชมครับ




เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อช้าง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญเก่าแก่เหรียญหนึ่งของจังหวัดชัยนาท ที่อาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จักกันนัก แต่เป็นเหรียญที่หายากและชาวชัยนาทเคารพนับถือกันมากคือ เหรียญพระอินทรโมลี (ช้าง อินทสโร) วัดบรมธาตุ ชัยนาท

หลวงพ่อช้าง เกิดที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เมื่อปี พ.ศ.2384 โยมบิดาชื่อ โชติ โยมมารดาชื่อ บัว ในเยาว์วัยบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระครูเมธังกร วัดบรมธาตุ พออายุได้ 13 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดบรมธาตุ

จนอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดบรมธาตุ โดยมีพระครู เมธังกร(จู) วัดพระบรมธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอินทชาติ วรญาณ(อินทร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการคง วัดบางกระพี้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อินทสโร"

หลวงพ่อช้างได้ศึกษาทั้งบาลีและมูลกัจจายน์ และวิทยาคมต่างๆ จากพระครูเมธังกร(จู) พระครูอินทติวรญาณ พระอธิการคง วัดบางกระพี้ อีกทั้งยังศึกษาวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย ต่อมาท่านก็ได้ออกธุดงควัตรไปในสถานที่ต่างๆ อยู่เสมอ

ต่อมาในปี พ.ศ.2413 ได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมของพระครูเมธังกร เป็นพระใบฎีกาช้าง

พ.ศ.2444 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูอินทโมลี และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2457 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระอินทโมลี และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท

พัฒนาวัดบรมธาตุด้วยการบูรณะและสร้างกุฏิ สนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุสามเณรมาโดยตลอด ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ปกครองพระและสามเณรด้วยความเข้มงวด รวมทั้งชาวบ้านที่เข้ามาในเขตวัดก็ห้ามดื่มสุราหรือทำตัวไม่เหมาะสม ท่านจะเรียกไปว่ากล่าวตักเตือนตลอด ชาวบ้านต่างเคารพนับถือหลวงพ่อช้างมาก

อีกทั้งท่านยังช่วยเหลือชาวบ้านไม่ว่าจะเดือดร้อนเรื่องอะไรก็ตาม ท่านช่วยได้ก็จะช่วยทันที ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อช้างนั้นเป็นที่รู้กันทั่วจังหวัดชัยนาท ผู้เจ็บไข้ได้ป่วยก็จะมาให้ท่านช่วยปัดเป่าให้เสมอ จึงเป็นที่พึ่งและเคารพรักของชาวชัยนาทมาก

มรณภาพเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2465 สิริอายุได้ 81 ปี พรรษาที่ 61

เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อช้างสร้างในปี พ.ศ.2465 เป็นเหรียญเก่าที่หายากเหรียญหนึ่งของจังหวัดชัยนาท พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม คงกระพันและแคล้วคลาด

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อช้าง จากหนังสือ ตามรอยตำนานสุดยอดอมตภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ




เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440 วัดบวรนิเวศวิหาร

สมญานาม "เหรียญปู่" เป็นการยกย่องในความเก่าแก่ของเหรียญ และด้วยความเป็น "เหรียญพระพุทธเหรียญแรกของไทย" นอกจากนี้ พระพุทธรูปที่จำลองมาประดิษฐานยังเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองไทย ซึ่งก็คือ "พระพุทธชินสีห์" พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกับ "พระพุทธชินราช" และ "พระศาสดา" โดยพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้านครเชียงแสน เมื่อครั้งเสด็จลงมาตั้งเมืองที่พิษณุโลก ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในราวปี พ.ศ.2372 ได้อัญเชิญลงมาประดิษฐาน ณ มุขหลังของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงผนวชและครองวัดบวรฯ ทรงทูลขอพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) อัญเชิญมาประดิษฐานยังมุขหน้า หน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เป็น "พระประธาน" ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร จวบจนถึงปัจจุบัน

"เหรียญพระพุทธชินสีห์" นับเป็นพระพุทธเหรียญแรกของประเทศไทย ที่มีอายุความเก่าถึง 119 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2440 เพื่อเป็น ที่ระลึกและพระราชทานในงานสมโภช "พระพุทธชินสีห์" ในโอกาสที่เสด็จกลับจากยุโรป ในการจัดสร้างครั้งนี้ ทรงสั่งผลิตเหรียญจากเมืองนอก ตัวเหรียญจึงมีความคมชัดและงดงามมาก

ความทรงคุณค่าและเป็นที่นิยมอย่างสูง ของ "เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440" นี้ สืบเนื่องจากเป็นการรวมสิ่งอันเป็นที่เคารพรักและศรัทธาสูงสุดไว้ถึง 3 สิ่ง อันได้แก่

หนึ่ง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกการสมโภช "พระพุทธชินสีห์" ที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย โดยจำลองรูปพระพุทธชินสีห์ขึ้นปรากฏอย่างเด่นชัด อีกทั้งยังเป็นการจัดสร้างเหรียญพระพุทธปฏิมากรเหรียญแรกของไทย

สอง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากยุโรป ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ได้เสด็จเยือนประเทศในทวีปยุโรป

สาม สร้างเมื่อครั้ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครองวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความเจริญรุ่งเรืองให้แก่พระบวรพุทธศาสนาและประเทศชาติเป็นอเนกอนันต์ เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนคนไทยทั่วทั้งประเทศ

นอกจากนี้ ผู้มีไว้สักการบูชายังมีประสบการณ์ด้านพุทธคุณล้ำเลิศครอบจักรวาลเป็นที่ปรากฏตามการอธิษฐานจิตทุกประการ

เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440 มีการจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง โดยสร้างเป็น 2 พิมพ์ทรง คือ "เหรียญทรงกลม" รูปใบโพธิ์อยู่ตรงกลาง และ "เหรียญรูปใบโพธิ์ ไม่มีก้าน" ขอบข้างเลื่อย ซึ่งจะไม่มีรูคล้องเหรียญ

โดยเหรียญทั้ง 2 พิมพ์นี้ จะมีรายละเอียดภายในใบโพธิ์เหมือนกัน คือ พิมพ์ด้านหน้า ปรากฏลายเส้นใบของใบโพธิ์ ตรงกึ่งกลางเป็นรูปจำลอง "พระพุทธชินสีห์" ใต้ฐานจารึกอักษรไทยว่า "พระพุทธชินสีห์" ส่วน พิมพ์ด้านหลัง ปรากฏลายเส้นใบเช่นกัน ปลายใบด้านบนเป็น "อุณาโลม" ถัดลงมาเป็นข้อความภาษาไทยว่า "งารสมโภชเมื่อเสดจ กลับจากยุโรป ๒๔๔๐"

"เหรียญพระพุทธชินสีห์ ทรงกลม" มีจำนวนการจัดสร้างค่อนข้างน้อยมากๆ จึงยังไม่ค่อยปรากฏของปลอมให้เห็นเท่าใดนัก อาจเป็นเพราะไม่สามารถหาของแท้ไปถอดพิมพ์ได้ ส่วน "เหรียญรูปใบโพธิ์" ซึ่งนับเป็นพิมพ์นิยมและพบเห็นกันอยู่ค่อนข้างมากนั้น จะมีทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างมาก และมีออกมานานแล้ว แต่การสังเกตเหรียญปลอมก็ไม่ยากนัก เพราะจะไม่มีความคมชัด รูปแบบและรายละเอียดต่างๆ ไม่เรียบร้อย

อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน "เหรียญปู่" หรือ "เหรียญพระพุทธชินสีห์ รุ่นแรก ปี 2440" วัดบวรนิเวศวิหาร ทั้ง 2 แบบ ยังคงมีค่านิยมที่สูงเอามากๆ ด้วยความทรงคุณค่า 3 ประการ ที่จะหาเหรียญอื่นใดเทียบเทียมได้ยากนัก แต่ต้องระวังให้จงหนัก เพราะหาของแท้ๆ ก็ยากยิ่งเช่นกันครับผม


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #53 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2560 20:03:59 »




พระรอดหัวข่วง

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุเก่าๆ กันดีกว่านะครับ ซึ่งพระกรุเก่าๆ บางครั้งในปัจจุบันนี้บางท่านก็ลืมๆ กันไปบ้างแล้ว และพระบางอย่างก็เป็นพระดี พุทธคุณเยี่ยม แต่ถูกลืม วันนี้เราจึงมาคุยกันถึงพระรอดหัวข่วงครับ ท่านที่เล่นหามาเก่าก็คงจะทราบกันดี แต่สำหรับท่านที่เพิ่งเข้ามาศึกษาอาจจะงงๆ อยู่บ้างครับ เรามาทำความรู้จักกันเลยดีกว่า

พระรอดหัวข่วง หรือพระรอดกรุวัดหัวข่วง ก็คือพระรอดที่ขุดพบที่วัดแสนเมืองมาหลวง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมมีชื่อว่า วัดลักขปุราคมาราม ซึ่งเป็นวัดที่พระเจ้าแสนเมืองมาทรงสร้างไว้ ตามตำนานบอกไว้ว่า ต่อมาในปี พ.ศ.2063 พระเจ้าเมืองแก้วได้บูรณะพระเจดีย์วัดหัวข่วงขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม และในสมัยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ได้เป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2403 ก็ได้นิมนต์พระสุวาธุเจ้าสิทธิ์ มาครองวัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง)

ในปี พ.ศ.2493 ได้มีผู้ขุดพบพระรอดเณรจิ๋ว หรือที่เรียกกันว่า พระรอดหัวข่วง ในบริเวณที่ตั้งหอมณเฑียรธรรม จากการขุดในครั้งนั้นมีผู้คนเข้าไปร่วมขุดกันมากจนทำให้หอมณเฑียรธรรมพังล้มเสียหาย และถูกรื้อถอนไป การพบในครั้งนั้นก็พบพระรอดหัวข่วง และพระรอดบังไพร ซึ่งเป็นพระเนื้อดินเผา ด้านหลังจะปรากฏลายนิ้วมือ และที่ใต้ฐานจะเป็นรอยเล็บจิกลงไปในเนื้อทุกองค์ พระที่พบเป็นพระขนาดเล็กกะทัดรัด ประเภทจิ๋วแต่แจ๋ว

พระรอดหัวข่วงและพระรอดบังไพรนั้น พุทธคุณเท่าที่มีผู้ได้รับประสบการณ์ต่างออกปากว่า “เหนียว” อยู่ยงคงกระพันชาตรี นอกจากนี้ก็ยังปรากฏเรื่องแคล้วคลาดและคุ้มครองป้องกันอันตรายต่างๆ นานา เรียกว่าใช้แทนพระรอด ลำพูนได้ดีทีเดียวครับ ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบพระแท้ๆ กันนัก แต่สนนราคาก็ยังไม่แพงมากเท่าไร เนื่องจากคนอาจจะลืมๆ กันไปบ้างแล้วนั่นเอง ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ขณะที่แขวนพระรอดหัวข่วงนั้น ถูกรุมฟันและแทงด้วยเหล็กขูดชาฟต์จนสลบไป แต่พอถูกนำส่งโรงพยาบาลหมอกลับไม่พบว่ามีบาดแผลที่เข้าเนื้อเลย มีแต่รอยฟกช้ำดำเขียวทั่วร่าง และมีรอยยาวๆ ยางบอนซิบๆ เท่านั้น นี่แหละครับประสบการณ์และเรื่องราวที่ปรากฏ คนเชียงใหม่รู้ดีและหวงแหน สนนราคาปัจจุบันผมว่าคงอยู่ที่หลักพันนะครับ แต่จะหาของแท้ได้หรือไม่นั้นก็ต้องว่ากันไปครับ เนื่องจากมีของปลอมระบาดอยู่นานมาแล้วครับ เวลาเช่าหาก็ต้องดูดีๆ ซักหน่อยหรือหาจากคนที่เชื่อใจได้เท่านั้นครับ

ครับพระกรุพระเก่าที่เป็นของดีราคาถูกก็ยังมีอีกมาก ถ้าเราหมั่นค้นคว้าศึกษาดูก็จะเจอครับ ขนาดของพระรอดและพระบังไพร กรุวัดหัวข่วงมีขนาดเล็กน่ารัก เลี่ยมห้อยคอก็สวยดีครับ ลองดูที่หิ้งพระของท่านอาจจะมีอยู่แล้วแต่ไม่รู้ว่าเป็นพระกรุวัดหัวข่วงก็ได้นะครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปพระรอดหัวข่วงมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ




หลวงพ่อเอีย รุ่นมังกรคู่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวปราจีนบุรีเคารพนับถือกันมากองค์หนึ่ง และวัตถุมงคลของท่านก็มีประสบการณ์มากมาย ที่สำคัญยังพอหาเช่าได้ในราคาไม่แพงมากนักและมีอยู่หลาย รุ่นครับ

หลวงพ่อเอีย เป็นคนบ้านด่าน เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2448 โยมบิดาชื่อเขียว โยมมารดาชื่อ ทา บิดามารดาเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเยาว์ เป็นคนฝักใฝ่ในการศึกษาและได้เรียนหนังสือจบชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2465 ซึ่งมีอายุได้ 17 ปี หลังจากเป็นสามเณรแล้วก็ศึกษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติเคร่งครัดและฝึกสมถกรรมฐาน สืบเนื่องมาจนอายุครบบวช จึงอุปสมบท เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2468 ที่วัดสัมพันธ์ ต.สัมพันธ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี โดยมีพระครูสังวรกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการอ้วน วัดชัยมงคล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเคน วัดบ้านด่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงพ่อเอียเป็นพระผู้มีพรสวรรค์อันปราดเปรื่องมุ่งมั่นในการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ แม้ว่าสำนักศึกษาในสมัยนั้นจะหา ไม่ได้ง่ายๆ ต้องบุกบั่นเดินทางไปไกลๆ และหาความสะดวกมิได้เลย แต่ท่านก็ไม่ได้ย่อท้อ ครั้นได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนเป็นที่เข้าใจดีแล้ว หลวงพ่อเอียก็เดินธุดงค์ไปยังสำนัก หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพื่อศึกษาวิทยาการต่างๆ ทั้งกฤตยาคมและแพทย์แผนโบราณ จนได้ประกาศนียบัตร เนื่องจากได้เล็งเห็นว่าจะช่วยเหลือชาวบ้านได้

ดังนั้นใครก็ตามที่ประสบความทุกข์ร้อน ไม่ว่าทางกาย อันได้แก่โรคพระพยาธิหรือทางใจ หรือเดือดร้อนอื่นๆ หากหลวงพ่อช่วยได้ก็จะให้ความช่วยเหลือโดยไม่รั้งรอ ผู้ที่ไปหาท่านจึงได้รับแต่ความอบอุ่นทางกายและใจ

ความพร้อมมูลด้วยพรหมวิหาร 4 ของหลวงพ่อ อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งสร้างเกียรติประวัติให้เป็น ที่เลื่องลือ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบ้านด่าน เมื่อปีพ.ศ.2482 หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2501 ก็เป็นเจ้าคณะตำบลเกาะลอย ปกครอง 7 วัดและเป็นพระอาจารย์ใหญ่สำนักศึกษาพระปริยัติธรรม

ในปี พ.ศ.2502 เป็นพระอุปัชฌาย์ และท้ายสุดหลวงพ่อเอียก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ พระครูสังวรกิตติคุณ ในปี พ.ศ.2511 สมกับบารมีที่ท่านปฏิบัติมาอย่างสม่ำ เสมอต่อชาวบ้านบ้านด่านและพุทธศาสนิก ชนทั้งใกล้และไกล

หลวงพ่อเอียได้อบรมสั่งสอนทั้งพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกาอยู่เนืองนิจ ส่งเสริมเรื่องการศึกษา โดยตั้งสำนักศึกษาพระปริยัติธรรม และสอนการฝึกจิตในพระ กรรมฐาน และยังสร้างโรงเรียนประชาบาล ชื่อ “โรงเรียนเกาะลอยกิตตโกอุปถัมภ์” นอกจากนี้ยังพัฒนาวัดบ้านด่านจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ หลวงพ่อเอียมรณภาพในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2521 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52

คำสั่งสุดท้ายของหลวงพ่อเอีย ได้สั่งแก่ศิษย์ทั้งหลายว่า “ขอให้ศิษย์ทุกคนจงทำดีด้วยกาย วาจา และใจ ใครกระทำแล้วย่อมประเสริฐกว่าคนทั้งหลาย และเคยสอนว่า ความสามัคคีคือกำลังสำคัญทั้งทางโลกและทางธรรม ท่านว่าคนเรานี้จะอยู่ในสถานที่ใดๆ ก็ตาม จงทำความเจริญขึ้นให้แก่สถานที่นั้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สิ่งทั้งหลายย่อมปรากฏ”

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นมังกรคู่ มาให้ชมครับ





เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแช่ม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีประชาชนเคารพนับถือท่านมาก และมี ลูกศิษย์ลูกหามากมาย วัตถุมงคลที่หลวงพ่อท่านสร้างไว้ก็เป็นที่นิยมและหายากในปัจจุบันครับ

หลวงพ่อแช่มท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2400 ที่ตำบลตาก้อง จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ ชื่น โยมมารดาชื่อ ใจ พอถึงวัยเรียนบิดามารดาจึงนำมาฝากเรียนกับ พระอาจารย์จ้อย วัดดอนเจดีย์ และได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาหนังสือไทย-ขอม และวิทยาคม จนอายุครบบวชท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดตาก้อง โดยมี พระครูอุตร การบดี (ทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมถกิตติคุณ (กลั่น) วัดพระประโทน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ตุ่ม ซึ่งเป็นน้าของท่าน เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อินทโชโต”

เมื่อบวชแล้วท่านก็หมั่นศึกษาพระธรรมวินัย ท่านสามารถท่องบทสวดมนต์ต่างๆ ทั้งสวดเดินหน้าและถอยหลังได้อย่างคล่องแคล่ว นอกจากนี้ท่านยังสนใจศึกษาวิปัสสนาธุระ และชอบออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ ทั้งทางประเทศพม่า และกัมพูชา

หลวงพ่อแช่มท่านได้ศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงพ่อกลั่น วัดพระประโทน พระอาจารย์ตุ่ม เป็นต้น หลวงพ่อแช่มท่านมีพลังจิตสูง เคยมีคนมานิมนต์ท่าน และนำรถมารับ ท่านกลับบอกว่า “ให้ไปก่อน เดี๋ยวข้าไปถึงก่อนเอ็ง” ปรากฏว่าท่านไปยืนรออยู่ก่อนจริงๆ ซึ่งเรื่องนี้ชาวบ้านในแถบนั้นรู้กันเป็นอย่างดี และเชื่อว่าท่านย่นระยะทางได้ เคยมีลูกศิษย์ถามท่านและอยากจะเรียนวิชานี้กับท่าน ท่านก็บอกว่า “เมื่อเราไปย่นเขา กลับมาวัดก็ต้องมาเดินจงกรมใช้หนี้เขานะ มันไม่ง่ายนักหรอกข้าจะบอกให้ พวกเอ็งรู้ไว้ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปย่นเข้า ที่ว่าจำเป็นก็คือ มันมีธุระด่วนต้องรีบไป” และมีอยู่เรื่องหนึ่ง เคยมีคนมาขโมยมาลักม้าที่วัดของท่าน แต่พวกขโมยกลับจูงม้าออกจากวัดไม่ได้ เดินวนเวียนอยู่อย่างนั้น ต้องนำมาคืน ท่านก็ไม่ได้เอาเรื่อง และเทศน์สอนให้กลับใจ หลวงพ่อแช่มท่านไม่ยึดติดกับยศศักดิ์ ท่านให้พระปลั่งเป็นเจ้าอาวาสวัดตาก้อง ส่วนท่านขอเป็นพระลูกวัดธรรมดา

หลวงพ่อแช่มสามารถทำวัตถุมงคลได้ศักดิ์สิทธิ์นัก เป็นที่เคารพนับถือของชาวนครปฐมมาก วัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่มที่ท่านได้สร้างไว้ ได้แก่ ตะกรุดโทน ตะกรุด สามกษัตริย์ พระผงผสมดินหน้าตะโพน ธง เสื้อยันต์ ผ้าประเจียดแดง ลูกสะกด

ต่อมาครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา ปี พ.ศ.2484 ลูกศิษย์ขอให้หลวงพ่อออกเหรียญรูปท่าน ซึ่งท่านก็อนุญาต เป็นเหรียญด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อแช่มนั่งเต็มองค์ ยกมือขึ้นข้างหนึ่ง และนั่งทับปืนยาวไขว้กันอยู่ รูปทรงเหรียญเป็นรูปแบบพัดยศ มีขอบข้างเป็นขยัก 16 ขยัก มีอักขระพระเจ้า 16 พระองค์ ด้านหลังเป็นรูปหนุมานอมพลับพลา ตอนศึกไมยราพณ์สะกดทัพ เหรียญนี้มีอยู่ 2 พิมพ์ คือพิมพ์หูเดียว และสองหู มีประสบการณ์มากมาย เด่นทางมหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด

หลวงพ่อแช่มมรณภาพในปีพ.ศ.2490 สิริอายุได้ 90 ปี

เหรียญหลวงพ่อแช่มรุ่นปีพ.ศ.2484 ปัจจุบันหาชมยากแล้วครับ และในวันนี้ ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแช่ม ปี พ.ศ.2484 พิมพ์หูเดียว เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง จากหนังสือนิตยสารพระท่า พระจันทร์ มาให้ชมกันด้วยครับ


ชมรมพระเครื่อง
ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #54 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2560 19:01:53 »




พระพิมพ์ซุ้มกอ ของหลวงพ่อโหน่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวสุพรรณฯ เคารพนับถือมากรูปหนึ่ง เป็นศิษย์ของ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย และเป็นศิษย์ที่หลวงพ่อเนียมไว้วางใจมาก หลวงพ่อโหน่งสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาไว้หลายพิมพ์ที่นิยมมากก็คือพิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย ค่านิยมสูงมาก

หลวงพ่อโหน่งเกิดเมื่อปี พ.ศ.2409 ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โยมบิดาชื่อ โต โยมมารดาชื่อ จ้อย พออายุได้ 24 ปี พ.ศ.2433 จึงได้อุปสมบทที่วัดสองพี่น้อง โดยมี พระอธิการจันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุด เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบวชแล้วหลวงพ่อโหน่งจึงได้เดินทางเข้ามาศึกษาที่กรุงเทพฯ มาอยู่จำพรรษากับพระน้าชาย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ เปรียญ 9 ประโยค เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย แต่ด้วยหลวงพ่อโหน่งเห็นความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ต่างๆ ของพระในกรุง และคิดว่าไม่ใช่แนวทางการหลุดพ้น จึงกราบลาท่านเจ้าคุณน้าชายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม จากนั้นก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งคอก เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ พระอุปัชฌาย์ของท่าน

หลวงพ่อโหน่งศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ได้ 2 พรรษา จึงเดินทางมาศึกษาต่อกับ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จนกระทั่งมีความรู้แตกฉาน เป็นที่ไว้วางใจแก่หลวงพ่อเนียม และให้ช่วยแนะนำพระรูปอื่นๆ แทนอยู่เสมอ เมื่อตอนที่หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค มาศึกษากับหลวงพ่อเนียม หลวงพ่อเนียมยังบอกกับหลวงพ่อปานว่า "เวลาข้าตายแล้วเอ็งสงสัยอะไรก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ โหน่งเขาแทนข้าได้" แสดงให้เห็นว่า หลวงพ่อเนียมไว้วางใจหลวงพ่อโหน่งมาก

เมื่อหลวงพ่อโหน่งศึกษาจากหลวงพ่อเนียมจนแตกฉานแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม วันหนึ่งหลวงพ่อโหน่งมีจิตใจวาบหวิวชอบกล จึงได้เดินทางไปหาหลวงพ่อเนียม ยังไม่ทันที่หลวงพ่อโหน่งจะพูดอะไร หลวงพ่อเนียมก็พูดขึ้นก่อนว่า "ฮื้อ ทำไปเองนี่นา ไม่มีอะไรหรอก กลับไปเถอะ" หลวงพ่อโหน่งก็สบายใจขึ้น และก็เดินทางกลับไปที่วัดสองพี่น้องตามเดิม

ต่อมาหลวงพ่อแสง วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง ทราบว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นผู้ที่จะมาแทนท่านได้ จึงนิมนต์หลวงพ่อโหน่งให้มาจำพรรษาที่วัดคลองมะดัน และเมื่อหลวงพ่อแสงมรณภาพ ชาวบ้านจึงนิมนต์หลวงพ่อโหน่งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อโหน่งเมื่อครั้งมาจำพรรษาอยู่ที่วัดคลองมะดัน ท่านก็ฉันอาหารเจมาโดยตลอด ก่อนออกบิณฑบาตจะนมัสการต้นโพธิ์ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาก็จะใส่บาตรถวายสังฆทาน หลวงพ่อโหน่งได้พาโยมแม่ซึ่งชราภาพมากแล้วมาอยู่ที่วัดด้วย และปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม

หลวงพ่อโหน่งเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอบรมสั่งสอนพระเณรและศิษย์วัดและชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรม จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก ท่านจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานในป่าช้าเป็นประจำ ถือสันโดษไม่สะสมทรัพย์ ไม่รับเงิน และยังสร้างสาธารณูปการสงฆ์ขึ้นอีกมากมาย หลวงพ่อโหน่งจะรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าเสมอ เมื่อครั้งที่หลวงพ่อปานจะมาหาโดยไม่ได้บอกล่วงหน้า ยังสั่งศิษย์ไว้ก่อนว่าให้เตรียมจัดที่ทางไว้ วันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา หลวงพ่อโหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองมะดัน จวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2477 สิริอายุได้ 68 ปี พรรษาที่ 44

หลวงพ่อโหน่งได้สร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาไว้หลายพิมพ์ เนื่องจากสร้างจำนวนมากและมีลูกศิษย์และชาวบ้านมาช่วยกันสร้าง สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างประมาณปี พ.ศ.2461 เป็นต้นไป ท่านจะทำพิธีพุทธาภิเษกพระของท่านตอนที่เผาไฟ มีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมาร่วมประกอบพิธีมากมาย หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ก็มาร่วมในพิธีด้วย

พระเครื่องของหลวงพ่อโหน่งมีมากมายหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย พิมพ์สมเด็จฯ พิมพ์ลีลา พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ จันทร์ลอย เป็นต้น แต่ที่นิยมและมีสนน ราคาสูงก็คือพิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์ขุนแผนหน้าค่ายครับ ปัจจุบันหายากพอสมควร

พุทธคุณนั้นเด่นทางแคล้วคลาด อยู่คง และเมตตามหานิยม เรียกว่าดีครบเครื่อง วันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์ซุ้มกอ ของหลวงพ่อโหน่งมาให้ชมด้วยครับ





พระสมเด็จปิลันทน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) วัดระฆังฯ กับพระเครื่องของท่านที่เรามักเรียกกันว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" ซึ่งมีมากมายหลายพิมพ์ เป็นพระเครื่องเนื้อผงที่ทรงคุณค่ามาก ในสมัยโบราณคนรุ่นเก่ามักเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" มีความเป็นมาอย่างไร มาค้นคว้าด้วยกันครับ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) เป็นเจ้าวังหลังและเป็นพระอนุชาของพระหม่อมเจ้าพยอม เสนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทร์โฆษิต) ท่านทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวง ที่วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ ประทับอยู่ที่วัดระฆังฯ และศึกษาพระบาลีพระปริยัติธรรมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรง จนได้เปรียญ 7 ประโยค ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงสมณศักดิ์ที่หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ ในรัชกาลที่ 4 อันเป็นสมณศักดิ์ที่พระราชทานถวายเฉพาะแด่พระเถระที่เป็นพระราชวงศ์เท่านั้น และทรงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะที่หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองวัดเชตุพนฯ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ท่านได้ทรงเจริญรอยตามเจ้าประคุณสมเด็จฯ อาจารย์ของพระองค์ท่าน ในด้านเป็นพระเกจิอาจารย์นั้นท่านก็ทรงสร้างพระเครื่อง นับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จเป็นต้นมา และได้ทรงสร้างพระเครื่อง ของท่านขึ้นมาบ้างในปี พ.ศ.2411 ภายหลังจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างแล้วได้ 2 ปี แต่ก็มิได้สร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษทั้งห้าของเจ้าประคุณฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร

ดังนั้นพระเครื่องชนิดนี้คนรุ่นเก่าที่ทราบประวัติการสร้างจึงมักนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักพระเครื่องทั่วๆ ไปมักนิยมเรียกนามสั้นๆ ว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) สิ้นแล้วท่านจึงบรรจุพระเครื่องเหล่านั้นไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นพระอาจารย์

พระเจดีย์ที่บรรจุพระสมเด็จปิลันทน์ถูกลักเจาะครั้งแรกในปี พ.ศ.2471 โดยมีคนร้ายได้พระไปเป็นส่วนน้อย และทางวัดได้ซ่อมอุดช่องที่ถูกเจาะเสีย และต่อมาเมื่อก่อนหน้าปีที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนเล็กน้อย กรุนี้ก็ถูกลักเจาะอีกเป็นครั้งที่ 2 ภายในองค์พระเจดีย์แบ่งออกเป็น 4 ห้อง แต่ละห้องมีโอ่งมอญขนาดใหญ่บรรจุพระ สมเด็จปิลันทน์ไว้ห้องละใบ เมื่อแตกกรุออกมามีคนนำพระมาให้ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) ท่านเห็นก็จำได้ว่าเป็นพระของหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) สมัยยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ได้ทรงสร้างไว้ ครั้นเกิดศึกอินโดจีนขึ้น ทางวัดระฆังฯ จึงได้บรรจุพระเครื่องเหล่านี้ลงในถุงผ้าดิบ ส่งมอบให้กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกทหารออกศึกตามที่ทางราชการได้ร้องขอมา

พระเครื่องของกรุนี้มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ทรง เนื้อหาโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นพระเนื้อผงผสมใบลาน แต่ก็มีบ้างที่เป็นเนื้อผงสีขาวแต่พบน้อยมาก พระสมเด็จปิลันทน์เป็นที่นิยมทุกพิมพ์ ส่วนในเรื่องสนนราคานั้นก็ลดหลั่นกันตามพิมพ์ที่นิยมมากน้อย พิมพ์ที่ค่านิยมสูงๆ ก็มีอยู่หลายพิมพ์ ราคาก็อยู่ที่หลักแสนถึงหลายๆ แสน ส่วนพิมพ์ที่นิยมรองลงมา ก็ยังพอจับต้องได้อยู่หลักหมื่น ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จปิลันทน์ที่มีขนาดเล็กน่ารักเหมาะที่จะนำมาเลี่ยมห้อยคอ และมีสนนราคาหลักหมื่นมาให้ชม คือพิมพ์ครอบแก้วเล็ก พระสมเด็จปิลันทน์พุทธคุณเหมือนกันทุกพิมพ์ คือเด่นทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดครับ




เหรียญพระพุทธรูปหลวงพ่อมงคลบพิตรรุ่นแรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธรูปหลวงพ่อมงคลบพิตร แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปซึ่งสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนบุด้วยแผ่นสัมฤทธิ์และใช้แผ่นทองคำบุทับอีกที ในคราวที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 บ้านเมืองถูกภัยสงครามทำลายล้างจนย่อยยับ ไม่เว้นแม้กระทั่งวัดวาอาราม วัดมงคลบพิตรก็เช่นกัน แต่องค์หลวงพ่อมงคลบพิตรที่ถูกเผาก็ยังคงอยู่ เสียหายเฉพาะแผ่นสัมฤทธิ์และทองคำที่ห่อหุ้มองค์พระอยู่ และส่วนพระกรขวา

ต่อมาในปี พ.ศ.2458 พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้เกิดป่วยโดยไม่อาจหาสาเหตุได้ หมอทั้งไทยและจีนได้พยายามรักษาก็ไม่หาย มีผู้แนะนำให้ท่านพระยาโบราณราชธานินทร์ไปขอพรจากหลวงพ่อพระมงคลบพิตร ท่านจึงได้ไปบวงสรวงหน้าพระวิหารหลวงพ่อมงคลบพิตร ขอให้หายป่วย ซึ่งในขณะนั้นยังรกเรื้อไปด้วยวัชพืชและความทรุดโทรม เล่ากันว่าในเวลานั้นได้มีลมพัดมาอย่างแรงรอบๆ ปริมณฑลที่ทำพิธีบวงสรวงสรรพสิ่งปลิวว่อนไปหมด แต่เครื่องบูชาและธูปเทียนมิได้ดับหรือเสียหายแต่ประการใด ต่อมาไม่นานพระยาโบราณราชธานินทร์ก็หายป่วย จึงได้ระลึกถึงคุณูปการของหลวงพ่อมงคลบพิตร

ในการนี้ท่านจึงได้ซ่อมพระกรข้างขวา และพระเมาลีที่ชำรุดด้วยปูนปั้น การซ่อมครั้งนี้พระยาโบราณราชธานินทร์ได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกของหลวงพ่อมงคลบพิตรขึ้นเป็นครั้งแรก ในปีพ.ศ.2461 แจกจ่ายให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ร่วมทำบุญ โดยทำพิธีพุทธาภิเษกที่หน้าพระพุทธรูปมงคลบพิตร มีพระเกจิอาจารย์ที่สำคัญๆ หลายรูป เช่น หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง หลวงพ่อชม วัดพุทไธศวรรย์ พระญาณไตรโลกาจารย์ วัดพนัญเชิง เป็นต้น

เหรียญรุ่นนี้จึงเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อมงคลบพิตร ปัจจุบันหายากพอสมควร สนนราคาค่อนข้างสูง ต่อมาก็ยังมีการสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อมงคลบพิตรอีกหลายรุ่น เพื่อหาทุนบูรณปฏิสังขรณ์

ปัจจุบันพระพุทธรูปมงคลบพิตรได้รับการบูรณะจนสวยงาม องค์พระได้มีการบุแผ่นสัมฤทธิ์หุ้มองค์พระและลงรักปิดทอง และสร้างพระวิหารสวยงามดังที่เห็นในปัจจุบัน วัดมงคลบพิตรและพระพุทธรูปหลวงพ่อมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพนับถือมาก เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอยุธยา และวัตถุมงคลหลวงพ่อมงคลบพิตรก็มีการสร้างต่อมาอีกหลายรุ่น ล้วนแต่เป็นที่นิยมนำมาห้อยบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล ปกป้องคุ้มครองให้พ้นภัย

สำหรับเหรียญรุ่นแรกนั้นค่อนข้างหายาก จัดเป็นเหรียญพระพุทธรูปหนึ่งในห้าเหรียญพระพุทธรูปยอดนิยมครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญพระพุทธรูปหลวงพ่อมงคลบพิตรรุ่นแรกมาให้ชมกันครับ




เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460

สําหรับ "พระเครื่องและวัตถุมงคล" ที่สร้างจำลอง "หลวงพ่อมงคลบพิตร" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ณ วิหารหลวงพ่อพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจัดสร้างกันหลายครั้งหลายคราในโอกาสสำคัญต่างๆ มีความโดดเด่นและมีค่านิยมสูงอยู่ 2 รุ่น คือ เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460 และเหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2485 ที่โด่งดังไม่แพ้กันทีเดียว

เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460 จัดสร้างโดย พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ขณะดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนในการบูรณปฏิสังขรณ์พระมงคลบพิตร ซ่อมแซมพระเมาฬีและพระกรข้างขวาที่แตกหักตั้งแต่ครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2310 พร้อมทั้งบูรณะพระวิหารที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมขึ้นใหม่ ในราวปี พ.ศ.2460-2463 โดยจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ใหญ่ หูเชื่อม พื้นเรียบ ยกขอบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อมงคลบพิตร ปางมารวิชัย ประทับบนพระแท่น จารึกอักษรโดยรอบว่า พระปฏิมากร มงคลบพิตร ศรีอยุธยา ด้านหลัง ตรงกลางเป็น ยันต์เฑาะว์

การจัดสร้างในครั้งนี้เชื่อกันว่า ประกอบพิธีปลุกเสกในพระวิหารหลวงพ่อพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา หน้าพระพักตร์หลวงพ่อพระมงคลบพิตร เพื่อเป็นประธานให้พิธีมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังยุคนั้นเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก มีอาทิ พระญาณไตรโลก (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง, พระพุทธวิหารโสภณ (หลวงพ่ออ่ำ) วัดวงฆ้อง, หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม, พระอธิการชม วัดพุทไธศวรรย์, หลวงปู่ปั้น วัดพิกุลโสคัน และ หลวงพ่อขันธ์ วัดนกกระจาบ เป็นต้น

ด้วยพุทธลักษณะเหรียญที่มีความเรียบง่าย จำลององค์พระปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ และมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ

รวมทั้งพิธีการปลุกเสกด้วยบารมีของหลวงพ่อมงคลบพิตร และพุทธาคมแห่งสุดยอดพระเกจิอาจารย์ จึงปรากฏพุทธคุณเป็นเลิศ โดยเฉพาะด้านมหาอุด เป็นที่กล่าวขาน ทำให้ "เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก ปี 2460" นอกจากจะเป็นเหรียญรุ่นแรกที่โดยปกติจะได้รับความนิยมสูงอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว ยังได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็น 1 ใน ชุดเบญจภาคีเหรียญพระพุทธ อันทรงคุณค่าในระดับประเทศ เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูงมาแต่อดีต ยิ่งมีจำนวนการสร้างที่น้อยมาก หาดูหาเช่ายากยิ่ง ส่งให้ ค่านิยมพุ่งไปไกลถึงเลข 7 หลัก ณ ปัจจุบัน

ยิ่งไปกว่านั้นคือ "ของทำเทียม" หรือเรียกตรงๆ ว่า "พระเก๊" นั้น ทำออกมากันเนิ่นนาน ยิ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำได้ใกล้เคียงของแท้มากๆ ยิ่งสร้างความปั่นป่วนได้มากทีเดียว ล้มเซียนใหญ่มานักต่อนัก อย่างไรก็ตาม หลักการพิจารณาและจดจำจุดตำหนิต่างๆ ก็ยังคงเป็นที่นิยม เพราะมีบางจุดที่ถึงจะเก่งแค่ไหนก็ไม่สามารถลอกเลียนได้เหมือน ซึ่งอาจเป็นภูมิปัญญาของผู้จัดสร้างที่คาดเดาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ "การพิจารณาธรรมชาติของเหรียญ" ด้วยหลักเบื้องต้นดังนี้

- ธรรมชาติของเนื้อโลหะ ตามอายุการสร้าง
- ความคมชัดของตัวหนังสือ หรืออักขระยันต์
- พื้นผิวของเหรียญที่เรียบตึง ไม่มีร่องรอยของการถอดพิมพ์ ไม่มีขี้กลาก
- การเจาะรูหูเหรียญ ต้องมีเนื้อปลิ้นเกินที่เป็นธรรมชาติและ
- วิวัฒนาการของการตัดขอบเหรียญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย ซึ่งต้องศึกษาอย่างถ่องแท้

นับเป็นจุดสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาความแตกต่างระหว่างเหรียญแท้และเหรียญปลอมได้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะธรรมชาติของการผลิตเหรียญในแต่ละยุคจะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ


ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #55 เมื่อ: 07 มิถุนายน 2560 16:41:43 »



พระพิจิตรนาคปรก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดพิจิตรถ้ากล่าวถึงพระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่า เราก็มักจะนึกถึงพระเครื่ององค์เล็กๆ ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากของจังหวัดนี้ เช่น พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระพิจิตรเขี้ยวงู และพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า เป็นต้น ปัจจุบันค่อนข้างหายากครับ

พระกรุพิจิตรที่เป็นพระขนาดเล็กเป็นที่นิยมมาช้านาน แต่ก็ค่อนข้างหาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน พระพิจิตรต่างๆ ตั้งชื่อตามรูปพรรณสัณฐาน เช่น พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่านี้มีขนาดเล็กมาก ลักษณะเป็นทรงรีๆ แบนๆ คล้ายกับข้าวเม่า จึงได้ชื่อเรียกนี้มาแต่โบราณว่าพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าก็มีลักษณะคล้ายเม็ดน้อยหน่า

ส่วนพระพิจิตรเขี้ยวงูก็มีรูปร่างคล้ายพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า เพียงแต่ตัวองค์พระนั้นจะผอมเรียวๆ แหลมๆ กว่า จึงเรียกว่าพระพิจิตรเขี้ยวงู ทั้งพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าและพระพิจิตรเขี้ยวงู เป็นพระเนื้อดินเผา ส่วนพิมพ์พระพิจิตรเขี้ยวงู นั้นพบน้อย จึงหายากกว่าพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า

พระพิจิตรอีกอย่างหนึ่งที่หายากมากเช่นกัน คือ พระพิจิตรนาคปรกที่พบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีขนาดเล็กเท่าๆ กับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า และพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุกรุเดียวกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า แต่องค์พระจะเป็นพระปางนาคปรก เนื้อพระเป็นเนื้อชินเงิน พบจำนวนน้อยมาก และพระส่วนใหญ่จะผุแตก ปริโดยธรรมชาติ จำนวนพระที่พบจึงเป็นพระชำรุดเสียมาก พระองค์ที่สมบูรณ์พบน้อยมาก ส่วนมากองค์พระจะแตกปริ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระนาคปรกพิจิตร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางองค์สีของผิวพระจะมีสีเข้มออกดำที่มักเรียกว่าสนิมตีนกา

พระพิจิตรส่วนใหญ่จะมีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี มีชื่อเสียงโด่งดังมาช้านาน พระพิจิตรที่มีขนาดเล็กสมัยโบราณนิยมใช้อมใส่ปากเวลาไปไหนมาไหน จึงทำให้พระชำรุดสูญหาย พระพิจิตรขนาดเล็กเป็นพระประเภทที่เรียกว่าจิ๋วแต่แจ๋ว แต่พระทั้งหมดทุกแบบนั้นหาของแท้ๆ ยากจริงๆ ของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว เนื่องจากเป็นพระที่มีความนิยมมากมาแต่อดีต จึงมีพระเลียนแบบทุกยุคทุกสมัย จะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังกันหน่อย ต้องศึกษาหรือเช่ากับผู้ที่ไว้วางใจได้เท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพิจิตรนาคปรก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันเช่นเคยครับ





พระพิจิตร วัดนาคกลาง

"พระพิจิตร" ถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระเครื่องที่มีเอกลักษณ์สำคัญอยู่ที่พิมพ์ทรงที่มีขนาดเล็กมาก เรียกได้ว่าพระส่วนใหญ่ที่พบเห็น ถ้าบังเอิญทำหล่นอาจจะหาไม่พบก็ได้ แต่ด้านพุทธคุณล้ำเลิศเอามากๆ ทั้งแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีฉมังนัก

ในหลายกรุหลายพิมพ์ของ "พระพิจิตร" นั้น กรุที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดและหายากที่สุด มีอยู่ 2 กรุ คือ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิจิตร และกรุวัดนาคกลาง จนมีคำกล่าวว่า ผู้สะสมพระเมืองพิจิตร แม้จะมีมากมายหลายแบบหลายพิมพ์ทรง แต่ถ้าขาด "พระพิจิตร กรุวัดนาคกลาง" ล่ะก็ ถือว่ายังไม่สมบูรณ์แบบ แต่รู้หรือไม่ว่า "พระพิจิตร กรุวัดนาคกลาง" ไม่ได้อยู่ที่เมืองพิจิตรแต่อย่างใด ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

พระพิจิตร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีการค้นพบพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงมากมายหลายพิมพ์ อาทิ พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระพิจิตรหน้าวัง พระพิจิตรพิมพ์นาคปรก พระพิจิตรผงดำ เป็นต้น แต่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมสูงสุดคือ "พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า"

กล่าวถึง พระพิจิตร กรุวัดนาคกลาง นั้น "วัดนาคกลาง" เป็นวัดที่อยู่ในกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี แถวถนนอรุณอมรินทร์ หลังวัดอรุณ อันเป็นที่ตั้งของ "กองทัพเรือ" ข้อมูลการค้นพบนั้น ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่าเปิดกรุมาเมื่อไหร่ ตั้งแต่ พ.ศ.ใด รู้เพียงว่า ... เมื่อพระแตกออกมาแรกๆ ก็เป็นที่ฮือฮากันใหญ่แล้ว ด้วยพุทธคุณที่ปรากฏ เพราะในสมัยก่อนคนโบราณมักมีการทดลองขั้นพื้นฐานสำหรับพระเครื่องแทบทุกชนิดถึงความเหนียวความขลัง อย่างกรณีนี้ ได้อาราธนาองค์พระใส่ในปากปลา แล้วใช้มีดฟัน ปรากฏว่าฟันเสียจนเกล็ดกระจุย แต่ไม่ระคายผิวปลาแม้แต่น้อย ทั้งยังเกิดประสบการณ์ต่างๆ มากมายเป็นที่กล่าวขวัญ จึงกลายเป็นที่ฮือฮาและนิยมเล่นหากันอย่างกว้างขวาง

ชื่อ "พระพิจิตร" ก็อย่างที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า มักจะเรียกองค์พระตามชื่อที่พบเป็นครั้งแรก แต่ก็มีผู้เฒ่าผู้แก่พูดกันต่อๆ มาว่า ได้มีผู้นำพระมาจากเมืองพิจิตรแล้วมาบรรจุกรุไว้ เฉกเช่น "พระพิจิตรป้อม" ที่วังบูรพา แต่ก็ไม่มีการบันทึกหรือหลักฐานปรากฏแน่ชัดเช่นกัน

พระพิจิตร วัดนาคกลาง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็กจิ๋ว เนื้อชินเงินที่มีผิวละเอียด พิมพ์ทรงรูปห้าเหลี่ยมกลีบบัว ฐานเรียบ มีขอบซุ้มโดยรอบ ด้านบนแนวพระเศียรมีรอยหยักทั้งสองข้าง องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย (มีปางสมาธิบ้างแต่พบน้อยมาก) บนอาสนะฐานเขียงชั้นเดียว แลสง่างามผึ่งผาย พระเกศเป็นแบบทรงสูง พระพักตร์ไม่ปรากฏรายละเอียด พระอังสาด้านซ้ายขององค์พระปรากฏเส้นสังฆาฏิกว้างชัดเจน พาดยาวลงมาเกือบจรดพระหัตถ์ซ้าย พระกรรณด้านซ้ายขององค์พระยาวกว่าด้านขวา ด้านหลัง มีทั้งหลังตันและหลังลายผ้า

องค์พระบ่งบอกความเก่าและมีอายุในลักษณะของ "สนิมขุม" ที่กัดกร่อน และ "การระเบิดแตกปริ" ของเนื้อองค์พระที่แตกจากภายในสู่ภายนอกอยู่โดยทั่วไป องค์ที่ไม่ได้ผ่านการใช้จะปรากฏผิวปรอทให้เห็นชัดเจน บางองค์ผิวดำจัดก็มี ลักษณะพิเศษขององค์พระคือ เมื่อดูแล้วเกิดความรู้สึกสบายตา แต่แฝงด้วยความเข้มขลังอยู่ในที

พระพิจิตร วัดนาคกลาง ถือว่าหนึ่งในสองของสุดยอด "พระพิจิตร" ที่เรียกได้ว่ากินกันไม่ลง เป็นพระที่ค่อนข้างหายาก จำนวนน้อย ค่านิยมสูง แม้จะพบในกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี แต่ก็กลายเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง และมีค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันยิ่งหาของแท้ยากยิ่ง

นอกจากนี้ ยังมีพระพิจิตร วัดนาคกลาง อีกพิมพ์หนึ่ง เรียกกันว่า "พระพิจิตร วัดนาคกลาง พิมพ์ใหญ่" ซึ่งรูปแบบและพุทธลักษณะพิมพ์ทรงนั้น เหมือนการขยายแบบมาจาก "พระพิจิตร วัดนาคกลาง" มาทั้งหมด เพียงแต่เมื่อขนาดใหญ่ขึ้น จึงสามารถมองเห็นเอกลักษณ์แม่พิมพ์ต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น แต่จำนวนน้อยมากและหายากมากครับผม





พระลีลาเข็ม กรุวัดชุมนุมสงฆ์ สุพรรณบุรี

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องปางลีลาของกรุทางสุพรรณบุรี มีอยู่พิมพ์หนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเมื่อเห็นด้านหลังก็รู้ทันทีว่าเป็นของกรุวัดชุมนุมสงฆ์ ก็คือพระลีลาหลังเข็ม เนื่องจากที่ด้านหลังขององค์พระนั้น จะมีแท่งนูนปลายแหลมคล้ายๆ กับเข็ม จึงได้ชื่อนั้นมาตั้งแต่มีการขุดพบเมื่อปี พ.ศ.2504 และถ้าพูดถึงกรุนี้ก็มักจะนึกถึง พระลีลาหลังเข็มนี่แหละครับ

พระกรุวัดชุมนุมสงฆ์ ก็เป็นกรุหนึ่งที่พบพระเครื่องปางลีลามากพิมพ์และพบพระกำแพงศอกด้วยเช่นกัน วัดชุมนุมสงฆ์ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ อยู่ด้านหน้าของวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ห่างกันประมาณร้อยเมตร ปัจจุบันอยู่ด้านหน้าของโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย ตัวองค์พระเจดีย์อยู่ติดกับถนนมาลัยแมน เจดีย์เป็นศิลปะแบบอยุธยา ยุคต้นๆ

กรุวัดชุมนุมสงฆ์แตกก็เนื่องจากมีคนลักลอบเข้าไปขุด ประมาณต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.2504 คนร้ายได้พระไปจำนวนมาก พระเครื่องเป็นพระเนื้อชินเงินล้วนๆ แต่คนร้ายยังนำพระออกไปไม่หมด พอรุ่งเช้าความก็แตกเจ้าหน้าที่ตำรวจไปพบเข้าเสียก่อน ผู้ว่าราชการจังหวัด และกรมศิลปากรก็เข้ามาควบคุม และเปิดกรุเป็นทางการ พระที่พบหลังจากคนร้ายขนพระออกไปเป็นจำนวนมากแล้ว ก็ยังพบพระบูชาศิลปะอู่ทอง 2 และอู่ทอง 3 พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลาเชยคาง ลีลาใบหอก พระลีลาหลังเข็ม พระลีลาหันซ้าย พระลีลาหันขวา พระซุ้มเรือนแก้ว พระลีลาเกียก พระตรีกาย พระลีลาฝักดาบ พระลีลาบัวโค้ง พระนารายณ์ทรงปืน เป็นต้น

พระเครื่องที่พบในกรุวัดชุมนุมสงฆ์ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชินเงินล้วนๆ ไม่พบพระเนื้อดินเผาเลย เนื้อชินเงินของกรุนี้มีเอกลักษณ์เป็นเนื้อชินแข็ง สันนิษฐานว่า น่าจะมีส่วนผสมของดีบุกมาก ผิวจะมีปรอทจับขาวทั่วทั้งองค์ คล้ายกับพระกรุวัดราชบูรณะของอยุธยา แต่ผิวจะซีดๆ แห้งบางองค์มีจุดคราบดำๆ เป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง ที่เป็นปื้นก็มี พระกรุนี้ไม่มีคราบดินจับอยู่ที่ผิวพระ เนื่องจากไม่ได้ถูกฝังอยู่ในดินพระที่พบอยู่ในองค์พระเจดีย์ ช่วงคอระฆัง จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่กรมศิลป์บอกว่า พระถูกบรรจุอยู่ในหีบเนื้อชินอีกทีหนึ่ง พระของกรุนี้จะมีรอยระเบิดบ้างแต่น้อยมาก มีพระที่อยู่ติดกับรอยชำรุดของหีบที่บรรจุจำนวนไม่มากนักที่ถูกความชื้นจึงมีรอยระเบิดบ้าง พระส่วนใหญ่จะมีสภาพดี คราบปรอทขาวทั่วองค์

พระเครื่องปางลีลาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีกรุเดียวก็คือพระลีลาหลังเข็ม เข้าใจว่าตอนที่เทหล่อพระ ส่วนที่เป็นเข็มตามที่เราเห็นคงจะเป็นช่องเทชนวนโลหะ จึงเป็นแท่งเข็มตามที่เห็นครับ

ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นนัก พระส่วนใหญ่ถูกเก็บรักษาไว้หมด หายากครับ พุทธคุณว่ากันว่าเด่นทางด้านความเจริญก้าวหน้า และโภคทรัพย์

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลีลาเข็มของกรุวัดชุมนุมสงฆ์ สุพรรณบุรีมาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #56 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2560 11:19:03 »



พระร่วงยืนกรุวิหารกรอ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงยืน ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นศิลปะขอมโบราณ ที่นิยมและรู้จักกันมากก็คือ พระร่วงหลังรางปืน สุโขทัย พระร่วงหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ที่เป็นเนื้อชินเงินก็มีคือพระร่วงยืนกรุถ้ำมหาเถร พระร่วงอีกกรุหนึ่งของลพบุรีที่น่าสนใจศิลปะถึงยุคสมัยก็คือพระร่วงยืนกรุวิหารกรอ

พระร่วงยืนกรุวิหารกรอ ถูกขุดพบบริเวณวิหารกรอ ซึ่งอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2430 เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และพระที่พบก็มีจำนวนน้อย น่าจะประมาณร้อยกว่าองค์เท่านั้น

จึงไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และยังไม่ค่อยได้พูดถึงกัน พระที่พบเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น แบ่งออกเป็นพระพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ขนาดขององค์พระจะเล็กกว่า พระร่วงหลังลายผ้ามากอยู่พอสมควร ศิลปะขององค์พระเป็นศิลปะแบบลพบุรี เป็นพระที่ตัดกรอบชิดองค์พระ จึงไม่มีซุ้มเรือนแก้วให้ปรากฏ ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก



พระพิมพ์ใหญ่จะมีรายละเอียดที่สวยงามแบบพระร่วงหลังลายผ้า ส่วนพระร่วงพิมพ์เล็กจะมีขนาดเล็กลงมา รายละเอียดขององค์พระจะติดน้อยกว่า และไม่ลึกเท่าพิมพ์ใหญ่ ด้านหลังของพระทั้ง 2 พิมพ์ จะเป็นแบบหลังเรียบ ไม่มีลวดลายอะไร ในเรื่องของเนื้อพระนั้นจะเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดงเช่นเดียวกับพระร่วงหลังลายผ้า มีสนิมไขขึ้นปกคลุมสนิมแดงอีกชั้นหนึ่ง สนิมแดงภายในสีแดงเข้มสวยงาม


พระร่วงยืนกรุวิหารกรอนี้ ถ้านำมาเลี่ยมห้อยคอก็จะมีขนาดกำลังดี ไม่ใหญ่มากนัก แต่องค์พระแท้ๆ ก็หายาก เนื่องจากจำนวนพระมีน้อย บางท่านอาจจะไม่รู้จัก ในด้านพุทธคุณนั้นดีเฉกเช่นเดียวกันกับพระร่วงหลังลายผ้าทุกประการ เด่นทางด้านอยู่คงแคล้วคลาด เจริญก้าวหน้าครับ ในสมัยก่อนมีประสบการณ์ในด้านอยู่คง ใครที่มีพระร่วงกรุวิหารกรอจะหวงแหนกันมาก ขนาดขอดูถ้าไม่รักกันจริงยังไม่ให้ดูเลยครับ

พระเก่าๆ บางทีก็ไม่มีใครค่อยพูดถึงกันนัก อาจจะเพราะมีจำนวนน้อยจึงลืมๆ กันไปบ้าง ในสมัยก่อนก็ว่ากันว่าเป็นพระในตำนาน คือหายากไม่ค่อยเคยเห็นกันเลยครับ แต่ก็ไม่แน่นะครับบางทีอาจจะมีอยู่ที่บ้านของคุณเอง โดยได้รับตกทอดมา แต่ไม่ทราบว่าเป็นพระอะไรก็ได้นะครับ ลองหาดูครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระร่วงยืนกรุวิหารกรอ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ




พระท่ากระดาน กรุต้นตาล จ.สระบุรี
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสระบุรีมีพระกรุพระเก่าทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อชินเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นเช่นกัน แต่อาจจะไม่ค่อยแพร่หลายนัก จึงทำให้มีคนรู้จักน้อย พระกรุส่วนใหญ่ จะเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ เช่น กรุวัดดาวเสด็จ กรุวัดชุ้ง กรุต้นตาล กรุวัดเพชร เป็นต้น

พระนางพญากรุวัดดาวเสด็จ มีคนรู้จักมากหน่อยและเป็นที่นิยม ส่วนพระที่น่าสนใจแต่จำนวนน้อยก็คือ พระหลวงพ่อโต กรุวัดชุ้ง ซึ่งเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระหลวงพ่อโตของอยุธยา

พระกรุวัดเพชรก็มีพระเนื้อชินเงินอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์พระอู่ทอง เป็นต้น ส่วนพระที่คนเก่าคนแก่ของสระบุรีหวงกันนักก็คือ พระท่ากระดาน กรุต้นตาล บางท่าน อาจจะสงสัยว่ามีด้วยหรือพระท่ากระดานของจังหวัดสระบุรี

ครับมีจริงๆ และเรียกชื่อกันมาอย่างนี้จริงๆ พระท่ากระดาน กรุต้นตาลนั้น มีการขุดพบที่บริเวณโคกดิน ไม่ไกลจากตัวจังหวัดนัก บริเวณนี้มีต้นตาลขึ้นอยู่มาก พระที่พบขุดได้ใต้ต้นตาล จึงเป็นที่มาของชื่อกรุ

ส่วนชื่อพระนั้น พระที่ขุดพบเป็นพระเนื้อชินเงินและชินตะกั่ว มีไขขาวแซม แต่ไม่มีสนิมแดง พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระท่ากระดานของเมืองกาญจนบุรี คนในสมัยนั้นจึงเรียกชื่อว่า พระท่ากระดาน แล้วตามด้วยชื่อของกรุที่ขุดพบ จึงเรียกกันว่า “พระท่ากระดาน กรุต้นตาล” ก็จะรู้ว่า เป็นพระกรุที่พบในจังหวัดสระบุรี

พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานเขียง พิมพ์ของพระไม่คมชัดนัก ด้านหลังมักเป็นแบบหลังตัน ศิลปะเท่าที่ดูสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา และสร้างหลังพระท่ากระดาน กาญจนบุรี

พระกรุนี้แตกกรุออกมาในปี พ.ศ.2504 และมีจำนวนไม่มากนัก ในระยะแรกๆ ก็รู้กันเพียงไม่กี่คน ต่อมาได้มีผู้ใช้แล้วเกิดมีประสบการณ์ทางด้านอยู่คง เช่นเดียวกับพระท่ากระดานของกาญจนบุรี จึงเริ่มเสาะหากันในจังหวัดสระบุรี แต่เนื่องจากจำนวนพระที่พบมีน้อยและจะหวงแหนกัน จึงไม่ค่อยได้มีใครพบเห็นกัน และก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ต่อมาจึงไม่ค่อย มีใครรู้จักกันนักครับ

ในสนามพระก็แทบไม่ได้พบเห็นกันเลย พระส่วนใหญ่จะอยู่ในมือของคนสระบุรี ที่ได้รับตกทอดมาเท่านั้น หรือบางทีเปลี่ยนมือกันมาแต่ก็ไม่ค่อยมีใครรู้จัก พระกรุที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมของสระบุรีก็ต้องยกให้พระท่ากระดาน กรุต้นตาลนี่แหละครับ แต่ก็หายากจริงๆ นานๆ จะพบเห็นสักที

สนนราคาอาจจะยังไม่แพงนัก แต่คนรุ่นเก่าของสระบุรีจะหวงแหนกันมาก ขออะไรขอได้แต่ขอพระท่ากระดานกรุต้นตาลจะไม่ให้เด็ดขาด ไม่ชอบกันจริงๆ ก็จะไม่ให้ดู สงสัยจะกลัวถูกขอเช่าครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ากระดานกรุต้นตาล ของสระบุรีจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของเมืองไทย มาให้ชมกันครับ




พระรอดหนองมน จ.ลพบุรี
วัดหนองมน เป็นวัดเล็กๆ ตั้งอยู่กลางทุ่ง ใน ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นที่กล่าวขวัญและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้าง ขวางตั้งแต่อดีตก็คือ “พระรอดวัดหนองมน” พระรอดเนื้อโลหะอันลือเลื่องนั่นเอง

ที่เรียกกันว่า “พระรอด” นั้น ด้วยพุทธลักษณะค่อนข้างคล้าย “พระรอด วัดมหาวัน” หนึ่งในพระชุดเบญจภาคี สุดยอดพระเครื่องของไทย อีกทั้งพุทธคุณที่ปรากฏเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บูชาว่า “เป็นเลิศในด้าน นิรันตราย” ทั้งคุ้มครองป้องกันและแคล้วคลาด เฉกเช่นเดียวกับ “พระสกุลลำพูน” จนเป็นที่กล่าวกันว่า “แขวนท่านไว้ไม่มีทางตายโหงแน่นอน” นับเป็นพระที่มีประสบการณ์มาก จนกลายเป็นพระยอดนิยมพิมพ์หนึ่งของเมืองลพบุรี ณ ปัจจุบันเรียกได้ว่าหายากพอๆ กับพระสกุลลำพูนทีเดียว อีกทั้งค่านิยมก็สูงขึ้นเรื่อยๆ

พูดได้ว่า ถ้าไม่มี “หลวงพ่อเมือง” ก็คงไม่มี “พระรอดหนองมน” และวัดหนองมนก็คงยังเป็นวัดเล็กๆ ในหมู่บ้านที่ไม่เป็นที่รู้จักของสังคมภายนอก ด้วยตามประวัติขององค์พระเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้วนั้น “พระรอดหนองมน” ไม่ได้สร้างที่วัดหนองมน จ.ลพบุรี ในหนังสือเครื่องรางของขลัง ของ อ.ประชุม กาญจนวัฒน์ ได้กล่าวถึง “พระรอดหนองมน” ไว้ว่า …



“… สมภารผู้แก่กล้าวิชาอาคมของเมืองพิจิตรท่านหนึ่ง ชอบการแข่งเรือและเลี้ยงนกเขาเป็นอย่างมาก อยู่มาวันหนึ่งท่านลงมือ ทาน้ำมันยางเรือแข่งจนเสร็จเรียบร้อย จากนั้นมีเด็กๆ มายุ่งกับเรือที่ทาสีน้ำมันยังไม่แห้ง ท่านจึงนำธนูมาเล็งขู่เด็กๆ ให้หนีไป แต่ลูกธนูกลับหลุดมือไปถูกเด็กคนหนึ่งในกลุ่มเข้า ท่านจึงต้องหนีจากเมืองพิจิตร มาอยู่ลพบุรี พร้อมด้วยถุงใหญ่ซึ่งบรรจุ “พระเนื้อตะกั่ว” จำนวนมากติดตัวลงมาด้วย “

สมภารรูปนั้นก็คือ พระครูเมธีธรรมารมณ์ หรือ หลวงพ่อเมือง ประมาณปี พ.ศ.2444-2446 ท่านได้เดินทางจาก จ.พิจิตร ผ่านจังหวัดต่างๆ จนในที่สุดก็มาจำพรรษาที่วัดหนองมน จ.ลพบุรี ในสมัย พระอธิการแขก เป็นเจ้าอาวาส ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาพระธุดงค์รูปนี้มาก ในการสร้างอุโบสถวัดหนองมน ท่านได้นำพระที่ติดตัวมาออกแจกจ่ายเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ญาติโยมผู้มีศรัทธาร่วมกำลังกายและกำลังทรัพย์จนอุโบสถแล้วเสร็จสมบูรณ์

ส่วนพระที่เหลือได้ก่อ “พระเจดีย์” ด้านหน้าและด้านหลังอุโบสถเพื่อบรรจุไว้ ต่อมาได้มีการเปิดกรุพระเจดีย์เพื่อนำ “พระรอด หนองมน” ออกมาแจกจ่ายแก่ผู้ร่วมบุญร่วมกุศลกับทางวัดอีกหลายครั้งหลายครา



พระรอดหนองมน จะมีเพียงเนื้อตะกั่ว สนิมแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น พุทธลักษณะพิมพ์ทรงเป็นรูปสามเหลี่ยมชะลูดมุมมน แต่การสร้างไม่ค่อยประณีตนัก ทำให้มีเนื้อส่วนเกินยื่นออกมาอย่างไม่สม่ำเสมอเหมือนกันทุกองค์ องค์พระกะทัดรัดพองาม ความกว้างประมาณ 1.2 ซ.ม. และสูงประมาณ 2.2 ซ.ม.

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมารเหนืออาสนะ ฐานหมอนชั้นเดียวค่อนข้างหนา กรอบโดยรอบเป็นร่องคล้ายเส้นซุ้ม แต่ไม่เด่นชัดนัก ลักษณะการสร้างแบบง่ายๆ ไม่มีลวดลายหรือรายละเอียดอื่นประกอบ พิมพ์ด้านหลังส่วนใหญ่จะเรียบตัน มีบ้างบางองค์ที่เป็นแอ่งเว้า แต่จำนวนน้อยมาก สามารถแบ่งแยกพิมพ์ได้เป็น พิมพ์ใหญ่, พิมพ์กลางหรือพิมพ์ต้อ และพิมพ์เล็ก

ส่วนพิมพ์อื่นๆ พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น พิมพ์พระร่วงนั่ง พิมพ์หลวงพ่อโตหรือหลวงพ่อโป้ และพิมพ์เม็ดน้อยหน่า เป็นต้น

ด้วยความที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ “พระรอดหนองมน” มีสนนราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพระพิมพ์ในรุ่นเดียวกัน การทำเทียมเลียนแบบจึงมีสูง เช่นกัน ต้องพิจารณาให้ดี พระที่มีอายุเก่าแก่นับ 100 ปีนั้น นอกจากการพิจารณาพิมพ์ทรงแล้ว ต้องพิจารณาถึง “ความเก่าของเนื้อขององค์พระ” นั่นคือ คราบสนิมแดงและสนิมไข หรือบางองค์อาจมีพรายปรอท อันเกิดจากเนื้อขององค์พระที่สร้างโดยตะกั่วเกิดปฏิกิริยากับอากาศโดยรอบในกรุ ซึ่งนับเป็นหลักการพิจารณาพระแท้-พระเก๊ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเนื้อขององค์พระและพิมพ์ทรงนั้นปลอมแปลงกันได้ง่าย

แต่ความเก่าไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ครับผม


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #57 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2560 07:22:55 »



พระยอดขุนพลของกรุศาลเจ้าเชียงใหม่

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่านลมหนาวพัดมาทำให้คิดถึงจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในสมัยอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีวัดวาอารามเก่าแก่สำคัญๆ อยู่มากมาย อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยอดีต นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปสมัยต่างๆ เช่น พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยและพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนยุคต้นถึงยุคปลาย ที่เป็นศิลปะแบบของลังกาก็มี ส่วนในเรื่องของพระเครื่องนั้นมีพบไม่มากกรุนัก ส่วนใหญ่เป็นพระเครื่องประเภทดินเผา เช่น กรุเวียงท่ากาน วัดช้างค้ำ วัดพระธาตุดอยคำ กรุฮอด กรุวัดหัวข่วง และกรุศาลเจ้า เป็นต้น

พระยอดขุนพลของจังหวัดเชียงใหม่ก็มีครับ พระของกรุนี้ขุดพบจากบริเวณกรุศาลเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในประมาณปี พ.ศ.2498 นอกจากพระพิมพ์ยอดขุนพลแล้วยังพบพระพิมพ์ปรกโพธิ์อีกด้วย พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา โดยจะพบทั้งที่มีการลงรักปิดทองและส่วนที่ไม่ได้ลงรักปิดทองก็มี นอกจากนี้ยังพบที่เป็นเนื้อว่านอีกด้วย ศิลปะที่เห็นเป็นศิลปะแบบเดียวกับพระปรกโพธิ์เชียงแสน ซึ่งเป็นสกุลช่างล้านนา

พุทธลักษณะของพระยอดขุนพลนั้นจะเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน การวางพระกรแบบแขนอ่อนวางพระหัตถ์อยู่นอกเข่า ซึ่งมักจะเรียกว่าเข่าใน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของเครื่องประกอบเป็นฉัตร และบังสูรย์ ประกอบด้านซ้ายและด้านขวา ล้วนเป็นเครื่องสูงของเจ้าพระยามหากษัตริย์ทั้งสิ้น ส่วนพระพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น รูปทรงกรอบนอกคล้ายๆ กัน รายละเอียดขององค์พระก็คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เครื่องประกอบนั้นเป็นต้นโพธิ์ แบบซุ้มโพธิ์

พระทั้งสองชนิดนี้มีขนาดค่อนข้างเขื่อง คือมีความกว้างประมาณ 4-4.3 ซ.ม. สูงประมาณ 5.5-6.2 ซ.ม. พระทั้งสองพิมพ์นี้ถือเป็นพระเครื่องยอดนิยมของภาคเหนือ จนได้รับการขนานนามว่า "พระยอดขุนพล" ซึ่งปัจจุบันก็หาชมองค์แท้ๆ ยากเช่นกัน พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่น ทางด้านอยู่ยงและแคล้วคลาดครับ และพระเครื่องทั้งสองพิมพ์นี้นับเป็นพระเครื่อง ศิลปะล้านนาที่สวยงามมากควรค่าแก่การเก็บรักษาเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ลูกหลานสืบต่อไปครับ

พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าของแต่ละจังหวัดนั้น มีคุณค่าในทางโบราณคดีและยังมีพุทธคุณในด้านคุ้มครองให้อยู่ เย็นเป็นสุข ถึงแม้บางองค์อาจจะมีขนาดใหญ่หรือค่อนข้างเขื่อง ปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยนิยมนำมาห้อยคอก็ตาม แต่เก็บไว้บูชาที่บ้านก็คุ้มครองบ้านเรือนและคนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งศิลปะของแต่ละยุคสมัยก็สวยงามและมีคุณค่าในตัวเองในแต่ละยุคแต่ละท้องถิ่นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเราครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพลของกรุศาลเจ้าเชียงใหม่ จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ





 

“พระเทริดขนนก” กรุวัดค้างคาว และ กรุเสมาสามชั้น

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดเพชรบุรี มีโบราณสถานที่สร้างในสมัยลพบุรีหรือยุคขอมเรืองอำนาจอยู่หลายแห่ง แต่เราอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันเท่าไรนัก จะเห็นว่า พระกรุที่เป็นเนื้อชินตะกั่ว สนิมแดงอยู่หลายอย่าง เช่น พระหูยาน กรุสมอพลือ พระเทริดขนนก กรุวัดค้างคาว พระเทริดขนนก กรุวัดเสมาสามชั้น เป็นต้น แต่พระกรุเหล่านี้ล้วนแล้ว แต่หายากมาก เนื่องจากพระที่พบชำรุดเสียเป็นส่วนมาก ที่สมบูรณ์มีน้อยมาก

ในสมัยก่อนพระทั้ง 3 อย่างนี้เป็นพระยอดนิยม อย่างพระหูยาน กรุสมอพลือ เป็นพระหูยานชนิดเดียวที่เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เนื้อสนิมแดงนั้นสวยงามมากครับ

พระเทริดขนนกของจังหวัดนี้มีพบขึ้นมาอยู่ 2 กรุ พระของกรุวัดค้างคาวเป็นพระที่แตกกรุขึ้นมาก่อน คือแตกกรุประมาณปี พ.ศ.2475 พระที่พบเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ทั้งสิ้น

พระที่พบปรากฏว่ามีพระชำรุดเสียเป็นส่วนมาก ที่พบสมบูรณ์มีน้อยไม่ถึงร้อยองค์ จึงทำให้พระเทริดขนนกของกรุวัดค้างคาวนั้นหายากมาก

ใครได้ไว้ในสมัยนั้นก็หวงแหนกันมาก พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปารมารวิชัยอยู่บนกลีบบัวหงาย สวมเทริดเป็นกลีบแบบขนนก การตัดขอบชิดเข้ารูปตามองค์พระ

ในเวลาต่อมามีการพบพระเทริดขนนก อีกกรุหนึ่งคือกรุเสมาสามชั้น ในปี พ.ศ.2513 พระที่พบเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด พระที่พบมีพุทธลักษณะแบบเดียวกับของกรุวัดค้างคาว แต่พบมีอยู่ 2 แบบ คือแบบที่ตัดชิดเข้ารูปตามองค์พระ และพบที่เป็นแบบมีซุ้มเรือนแก้ว ตัวองค์พระจะเหมือนกัน ต่างกันที่มีซุ้มกับไม่มีซุ้มเท่านั้นครับ

พระที่เป็นแบบมีซุ้ม มักจะเรียกว่า “พระยอดขุนพล” ส่วนพระที่เป็นแบบตัดชิดก็จะเรียกว่า “พระเทริดขนนก” การพบพระในครั้งนี้พบพระที่สมบูรณ์มากกว่าของกรุวัดค้างคาว คือพบประมาณ 200 องค์ครับแต่ก็มีจำนวนไม่มากอยู่ดี จึงเป็นพระกรุที่หายาก เช่นกัน

พระเทริดขนนกของกรุวัดค้างคาว และพระเทริดขนนกกรุเสมาสามชั้นนั้น พุทธลักษณะคล้ายกันมากแทบแยกไม่ออก อีกทั้งยังเป็นพระที่มีเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเช่นเดียวกัน และเป็นพุทธศิลปะแบบลพบุรี ทั้ง 2 กรุ ถามว่าแล้วสามารถแยกพระทั้งกรุออกจากกันได้อย่างไร ครับก็สามารถแยกออกจากกันได้ครับ เพราะความจริงพระทั้ง 2 กรุมีแม่พิมพ์คนละตัวกันครับ ถึงแม้จะเหมือนกันมากอย่างไรก็ย่อมมีข้อแตกต่างกันครับ

ครับทีนี้เราลองมาดูที่รูปพระทั้ง 2 กรุดูครับ พระเทริดขนนกกรุวัดค้างคาว ให้สังเกตดูจุดที่เห็นได้ง่ายๆ นะครับ ให้ดูที่หมวกทรงเทริดขนนก ตรงที่เป็นเส้น 2 เส้นบริเวณหน้าผาก ของกรุวัดค้างคาวจะเป็นเส้นเรียบๆ แล้วทีนี้มาดูของกรุเสมาสามชั้น ที่บริเวณเดียวกันคือเส้น 2 เส้น ตรงบริเวณหน้าผากของกรุเสมาสามชั้น จะมีรูปครึ่งวงกลมอยู่เหนือเส้น 2 เส้นนั้น ครับเป็นจุดสังเกตง่ายๆ ที่เราจะเห็นได้ไม่ยากครับ

พระของทั้ง 2 กรุเป็นที่นิยมและหายาก พระเทริดขนนกของกรุวัดค้างคาวจะหายากกว่า และมีราคาสูงกว่าของกรุเสมาสามชั้น ดังนั้นเราจึงต้องแยกแยะให้ได้ว่าพระกรุไหนเป็นของกรุไหนครับ แต่พระทั้ง 2 กรุก็หายากทั้งคู่และมีสนนราคาสูงทั้ง 2 กรุครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเทริดขนนกของทั้ง 2 กรุ จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ





พระซุ้มเสมาทิศ พระกรุเก่าหายากเพชรบุรี

จังหวัดเพชรบุรี ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน "เมืองพระ" ที่มีพระกรุเก่ามากมายที่ทรงคุณค่าและพุทธคุณ ทั้งได้รับความนิยมในแวดวงนักนิยมสะสมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นกรุวัดสมอพรือ กรุวัดค้างคาว กรุวัดปากน้ำ กรุศาลาลอย กรุกุฎีทอง ฯลฯ มีทั้ง พระหูยาน พระนาคปรก พระเทริดขนนก พระร่วง พระยอดขุนพล ฯลฯ มากมายหลายประเภท


พระกรุและพระเครื่องของเมืองเพชรบุรีโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็น "พระเนื้อชิน" หรือที่เรียกว่า "ยอดขุนพล" ซึ่งมีพุทธคุณโดดเด่นในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี

ฉบับนี้จะกล่าวถึง "กรุวัดนก" ที่ดูไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก วัดนี้เป็นวัดร้างที่ตั้งอยู่ริมกำแพงเมือง ข้างป้อมคลองยาง ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงซากเนินดินของฐานพระเจดีย์ จนไม่มีเค้าโครงแห่งความเป็นศาสนสถานแต่โบราณหลงเหลืออยู่เลย ฟังเรื่องราวจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า... ก่อนหน้าที่พระเจดีย์จะพังทลายลงมา ได้มีคนร้ายลักลอบขุดเจาะหาทรัพย์สมบัติที่บรรจุกรุตรงบริเวณคอระฆัง ได้โพธิ์เงินโพธิ์ทองและพระเครื่องเนื้อชินไปจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นพิมพ์ทรงใด แต่หลังจากที่พระเจดีย์พังทลายแล้ว ได้เคยมีผู้คนหลายต่อหลายคนพยายามจะมาขุดหาทรัพย์สมบัติที่คิดว่ายังมีตกค้างอยู่ แต่ก็ไม่เคยทำได้สำเร็จ เพราะเมื่อขุดครั้งใดก็จะปรากฏ "งู" ขนาดใหญ่นอนขดอยู่เหนือเนินซากพระเจดีย์ทุกครั้ง เสมือนเป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์สมบัติอย่างน่าอัศจรรย์ หลายครั้งถึงกับทำพิธีบวงสรวงเพื่อขออนุญาต จึงสามารถขุดกรุได้ แต่เมื่อขุดไปก็ปรากฏพบเพียงสังคโลกรูปเสือตัวหนึ่ง และเมื่อพลิกดูก็พบโพรงภายในบรรจุเพียงงูที่ทำด้วยทองคำ หัวงูเป็นทองคำส่วน ลำตัวเป็นลวดทองคำบิดเป็นเกลียว ...

ความเพียรพยายามมาสำเร็จเอาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2521 ภายหลังการบวงสรวงกันมาหลายรอบหลายวัน "งูใหญ่" ก็ได้เลื้อยลงจากเนินพระเจดีย์ เสมือนเป็นการอนุญาตให้ขุดได้ เมื่อขุดลงไปประมาณ 4 วา ก็ได้พบ "กรุพระ" ภายในกรุเป็นช่องว่างบรรจุไหดินเผาปิดผนึกฝาแน่นหนา เมื่อเปิดฝาได้จึงพบพระพุทธรูปทองคำ 2 องค์ เป็นทองดอกบวบ สังคโลกรูปเสือ และตลับทองคำ ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอัญมณีอันมีค่าที่บรรจุไว้ร่วมกันเพื่อเป็นพุทธบูชา นอกจากนี้ ยังได้พบพระเครื่องเนื้อชินวางเรียงรายรอบตลับทองคำเป็นชั้นๆ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

พระเครื่องเนื้อชินเงินที่พบนั้น มีทั้งสมบูรณ์และชำรุด โดยเฉพาะด้านบนที่ได้รับผลกระทบจากอากาศภายนอกทั้งความชื้นและความร้อน จึงเกาะติดกันเป็นก้อน ต้องค่อยๆ แกะออกมาผึ่งลมให้แห้ง พระเครื่องที่สมบูรณ์จริงๆ มีเพียง 400 กว่าองค์เท่านั้น ที่ชำรุดเสียกว่าพันองค์ และเมื่อดูจากพุทธลักษณะพิมพ์ทรงที่ตัดเว้าเป็นทรงซุ้ม จึงให้ชื่อว่า "พระซุ้มเสมาทิศ" ในกรุยังพบ "พระซุ้มเสมาทิศองค์ใหญ่" อีก 1 องค์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ที่มีศิลปะสมัยอยุธยา โดยช่างสกุลเพชรบุรี ที่สามารถรังสรรค์องค์พระได้งดงามยิ่ง

พระซุ้มเสมาทิศ กรุวัดนก ที่ปรากฏจะมีเพียงพิมพ์เดียว ลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น ภายในซุ้มที่ทำลวดลายงดงาม ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 3 ซ.ม. สูงประมาณ 6 ซ.ม.

พระซุ้มเสมาทิศ กรุวัดนก จ.เพชรบุรี นับเป็นพระกรุเก่าที่แทบหาดูไม่ได้ในปัจจุบัน ด้วยจำนวนองค์พระที่สมบูรณ์นั้นมีน้อยนัก ผู้ที่มีไว้จึงล้วนหวงแหนไม่ใคร่นำออกมาให้ได้ชมกัน จนไม่มีการหมุนเวียนกันในแวดวง ทำให้ไม่มีชื่ออยู่ในกลุ่ม "พระซุ้มเสมาทิศ" ที่เล่นหากันอยู่ แต่ด้วยความทรงคุณค่าทางพุทธศิลปะและทางประวัติศาสตร์ จึงได้รับการบันทึกไว้เป็นข้อมูล ว่ายังมีอีกหนึ่งพิมพ์ที่ จ.เพชรบุรี เช่นกัน เผื่อในอนาคตมีใครพบเห็นจะได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาและคุณค่าแห่งวัตถุมงคล

และถ้ามีโอกาสพบเจอก็อย่าลืมพิจารณาองค์พระกันหน่อย "เพราะของดีทุกอย่าง ย่อมมีการลอกเลียนแบบ" โดยสามารถใช้หลักการพิจารณา "พระเนื้อชิน" ที่จะปรากฏธรรมชาติพื้นผิวเป็นคราบปรอทที่มีลักษณะไม่วาว มีคราบฝ้ากรุ

ตลอดจนสนิมที่จับเกาะบนพื้นผิวขององค์พระ และรอยระเบิดปริอ้า ได้เลยครับผม





พระกำแพงลีลาพลูจีบ กรุทุ่งเศรษฐี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านพระเครื่องที่เป็นพระเนื้อดินเผา โดยเฉพาะพระกรุพระเก่านั้น โดยส่วนมากจะเป็นพระสมัยสุโขทัย เนื่องจากพุทธศิลปะสวยงามมากที่สุด แม้พระเครื่องในสมัยต่อมาก็ยังคงสร้างพุทธศิลปะแบบสุโขทัยแทบทั้งสิ้น

พระเครื่องปางลีลาเนื้อดินเผาที่นิยมกันมากๆ ก็มักจะเป็นพระเครื่องที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และเป็นพระที่ขุดพบที่บริเวณลานทุ่งเศรษฐี บริเวณนี้มีวัดเก่าแก่มากมาย ตั้งอยู่เป็นกลุ่มใกล้ๆ กัน กรุที่ถูกกล่าวอ้างถึงมากที่สุดมัก จะเป็นกรุวัดพิกุล วัดบรมธาตุ ส่วนวัดอื่นๆ จะกล่าวถึงน้อย

ความจริงแล้วผมคิดว่า พระกรุทุ่งเศรษฐีนี้พบกันทุกกรุ และไม่ค่อยมีใครทราบแน่นอนว่าพระชนิดใดพบที่กรุวัดใด เนื่องจากมีการขุดกรุพระมานมนานแล้ว น่าจะเป็นร้อยกว่าปีมาแล้ว และพระเครื่องก็มีพบมากมายทุกวัด ซึ่งในสมัยนั้นก็คงไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไรนัก เพราะมีมากมายจึงยังไม่มีสนนราคาเท่าไร

นักขุดกรุพระส่วนใหญ่จะมุ่งหวังหาสมบัติแก้วแหวนเงินทองเสียมากกว่า เพราะกรุพระแทบทุกกรุจะนำแก้วแหวนเงินทองบรรจุไว้ในกรุพร้อมกับพระเครื่องพระบูชา เพื่อเป็นพุทธบูชา นักขุดกรุพระในสมัยนั้นจึงมุ่งหวังในทรัพย์สินแก้วแหวนเงินทองเสียมากกว่า ในส่วนพระที่มีราคาก็จะเป็นพระพุทธรูปบูชา ก็จะนำไปขายให้แก่เศรษฐีหรือพ่อค้า

ส่วนพระเครื่องนั้นเป็นของแถม เนื่องจากมีพบมากมายเป็นกระบุงโกย หลากหลายพิมพ์ ก็เอามาห้อยบูชาบ้าง แถมแจกกันบ้าง (หมายถึงในสมัยก่อนนะครับ) เมื่อพระเครื่องมีจำนวนมาก พวกนักขุดก็จะเก็บไปบ้างจำนวนหนึ่งเท่านั้นไม่ขนไปจนหมด เพราะเขามุ่งหวังในสิ่งที่มีค่า และพระบูชาขนาดเขื่องๆ เท่านั้น และก็รีบขนเคลื่อนย้ายไป เพราะการลักลอบแอบขุดกรุนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย จะมัวโอ้เอ้อยู่ไม่ได้

เมื่อพระเครื่องที่ขุดพบนั้นมีจำนวนมาก จึงถูกทิ้งไว้บริเวณแถวนั้น บางครั้งก็โกยๆ ออกจากกรุเพื่อค้นหาสมบัติหรือพระบูชาขนาดใหญ่ พระเครื่องต่างๆ จึงกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณลานทุ่งเศรษฐี วัดแต่ละวัดก็อยู่ติดๆ กัน อาณาเขตของวัดติดต่อกันเป็นกลุ่ม และบริเวณแห่งนี้ก็มีการลักลอบขุดซ้ำกันอีกต่อมาหลายยุค

โดยเฉพาะพระเครื่องของทุ่งเศรษฐีนั้น เริ่มมีราคาค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ตอนที่ปักเสาไฟฟ้าแรงสูงที่มาจากเขื่อนภูมิพล (ยันฮี) ก็พาดผ่านบริเวณทุ่งเศรษฐีด้วย ก็มีการพบพระเครื่องกระจัดกระจายอยู่ด้วยเช่นกัน

การขุดซ้ำขุดซ้อนบริเวณลานทุ่งเศรษฐีนั้นก็พบพระตามลานดินทั่วไป ทำให้จะระบุว่า พระแบบใดเป็นของกรุใดยากครับ แล้วทำไมชอบจะระบุว่า เป็นกรุวัดพิกุล ครับกรุวัดพิกุลนั้น มีคนรู้จักและได้ยินชื่อมากเนื่องจากในปี พ.ศ.2506 มีการแอบขุดกรุที่วัดพิกุลอีกครั้ง และพบพระเครื่องจำนวนมาก

หลังจากนั้นกรมศิลป์ก็เข้าบูรณะ แต่พระเครื่องก็เริ่มหมดไปจากลานทุ่งเศรษฐีแล้ว พระที่พบในปี พ.ศ.2506 จะพบพระนางกำแพงเป็นหลัก แต่ก็พบพระพิมพ์อื่นๆ อีกมาก พระที่พบของกรุวัดพิกุลเป็นพระเนื้อดินละเอียดหนึกนุ่ม เป็นที่นิยม เราจึงมักจะได้ยินเจ้าของพระบอกว่า เป็นกรุวัดพิกุลแทบทั้งนั้น

ครับผมคงไม่ไปขัดกับความเห็นของผู้ใด แต่ขอเรียกพระเครื่องที่พบบริเวณทุ่งเศรษฐีไม่ว่าจะเป็นกรุวัดใดว่า “พระกรุทุ่งเศรษฐี” เนื่องจากบางครั้ง ก็ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นกรุวัดใดแน่ แต่ถ้าบอกว่ากรุวัดพิกุลจะได้ราคากว่าเท่านั้น กะว่าจะคุยกันถึงพระกำแพงลีลา แต่ก็อดพูดไปเรื่องอื่นเสียไม่ได้ นึกว่าคุยกันสนุกๆ ก็แล้วกันนะครับ

พระกำแพงลีลาที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือพระกำแพงพลูจีบ ซึ่งเป็นพระกำแพงลีลาที่หายากมากที่สุดในบรรดาพระกำแพงลีลาของกำแพงเพชร ในสมัยก่อนนิยมกันมาก แต่เนื่องจากจำนวนพระที่พบมีน้อยจึงทำให้หายาก และคนที่มีก็หวงแหนกันมาก จนแทบไม่ได้พบเห็นพระแท้ๆ กันเลยครับ

เมื่อพิจารณาพุทธศิลปะของพระกำแพงพลูจีบแล้ว ก็ทำไม่ค่อยเหมือนกับพระปางลีลาอื่นๆ มองดูเหมือนกับองค์พระลอยเลื่อนไปในอากาศมากกว่าจะก้าวเดิน แม่พิมพ์ของพระเป็นพระพิมพ์ตื้น แต่ก็คงรายละเอียดไว้ครบถ้วนสวยงาม มีฐานบัวรองรับ กรอบนอกของพระจะมีรอยจับออกจากแม่พิมพ์ จะเห็นได้ว่าคอดตรงกลาง ทำให้มองดูคล้ายๆ กับใบพลูกินหมากที่ม้วนจีบไว้อย่างสวยงาม จึงเป็นที่มาที่คนโบราณขนานนามว่า พระพลูจีบ

พระกำแพงพลูจีบปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ สนนราคาก็สูงตามไปด้วย ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงลีลาพลูจีบ กรุทุ่งเศรษฐี จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ





พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุพระเก่า ของจังหวัดชัยนาท ที่เลื่องลือ มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีตก็คือ พระกรุเมืองสรรค์ ซึ่งก็มีอยู่มากมายหลายกรุหลายพิมพ์ ในอำเภอสรรคบุรีมีวัดเก่าที่เป็นกรุพระสำคัญอยู่หลายวัด เช่น วัดมหาธาตุ วัดท้ายย่าน วัดส่องคบเป็นต้น พระกรุที่นิยมและรู้จักกันมากก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น พระปิดตา กรุวัดท้ายย่าน พระลีลาเมืองสรรค์ กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดท้ายย่าน พระสรรค์นั่ง ฯลฯ

ในสมัยก่อนนั้น พระกรุเมืองสรรค์ที่มีชื่อเสียงเรื่องอยู่ยงคงกระพันก็คือพระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยกที่มีชื่อเสียงโด่งดังและนิยมมากคือของกรุวัดท้ายย่าน พระสรรค์นั่งที่ถูกค้นพบของกรุวัดท้ายย่านมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ไหล่ยก พิมพ์ไหล่ตรง มีทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันมากในสมัยก่อนก็คือ พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยก เนื่องจากมีประสบการณ์มากในด้านอยู่คง

พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก เป็นพระขนาดค่อนข้างเล็ก พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ตรง จะมีขนาดเขื่องกว่า ความลึกของพิมพ์ พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ตรงจะมีความลึกของพิมพ์มากกว่า พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยกจะเป็นแบบพิมพ์ตื้น จะว่าไปพระสรรค์พิมพ์ไหล่ตรงจะมีความสวยงามทางพิมพ์ทรงมากกว่าพิมพ์ไหล่ยก แต่ความนิยมกลับเป็นพระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยก เพราะผู้ที่ใช้มีประสบการณ์มากกว่า และความนิยมจะให้ความนิยมพระเนื้อดินเผามากกว่าพระเนื้อชิน

พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยก ถ้าเรามองดูองค์พระจะเห็นว่าหัวไหล่ซ้ายขององค์พระจะไม่ติดกับบ่าขององค์พระ และดูเหมือนกับว่าจะยกขึ้นเหมือนกำลังยักไหล่ขึ้น ด้วยเหตุนี้คนโบราณเมื่อเห็นพระจึงเรียกกันเป็นพิมพ์ไหล่ยก

พระสรรค์กรุวัดท้ายย่านเนื้อดินเผา จะเป็นพระแบบเนื้อดินค่อนข้างละเอียด เมื่อใช้ถูกสัมผัสจะเป็นมันหนึกนุ่ม พระสรรค์นั่งไหล่ยกกรุวัดท้ายย่านก็เช่นกัน ถ้าไปพบพระที่ถูกใช้สัมผัสมาก็จะเห็นเนื้อเป็นมันหนึกนุ่ม บางองค์เป็นพระที่ใช้ผ่านการอมในปาก เนื่องจากการเลี่ยมใช้ในสมัยก่อนยังไม่ค่อยมี บางคนจึงนิยมอมพระไว้ในปากเวลาจะไปไหนมาไหนหรือเวลามีภัย บางองค์จะเห็นคราบน้ำหมากจับอยู่ในส่วนลึกของพระ ก็ทำให้เห็นร่องการใช้ในสมัยก่อน และเป็นเสน่ห์ความงามอีกแบบหนึ่งครับ

พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก ที่เป็นพิมพ์นิยมจะเป็นของกรุวัดท้ายย่าน สังเกตที่พระเกศตรงกลางจะเห็นเส้นพิมพ์แตก คาดตัดกับพระเกศเป็นทิวบางๆ และพระพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่มีชื่อเสียงมากในอดีตครับ คนชัยนาทในสมัยก่อนหวงแหนกันมาก กล่าวกันว่า เรื่องอยู่ยงคงกระพันนั้นเชื่อขนมกินได้ครับ

พระสรรค์นั่งพิมพ์ไหล่ยก ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากมากครับ สนนราคาก็ยังไม่สูงมากนัก แต่ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ หรือเช่าจากคนที่ไว้ใจได้เท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูป พระสรรค์นั่ง พิมพ์ไหล่ยก องค์สวย จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ




พระนาคปรกกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นกรุพระที่ยิ่งใหญ่และเป็นกรุที่มีพระเครื่องที่พบมากที่สุดของจังหวัดลพบุรี พระของกรุนี้มีมากมายหลายพิมพ์ และก็เป็นที่นิยมหลายพิมพ์ด้วยเช่นกัน เช่นพระร่วงหลังลายผ้า พระหูยาน เป็นต้น พุทธศิลปะของพระเครื่องกรุนี้ล้วนเป็นศิลปะแบบขอมลพบุรี

นอกจากพระร่วงยืนหลังลายผ้า และพระหูยานแล้ว พระพิมพ์อื่นๆ ก็เป็นที่ นิยมรองๆ ลงมาอีกมากมาย อย่างเช่นพระนาคปรกก็มีมากมายหลายพิมพ์เช่นกัน และนับว่ามีมากพิมพ์ที่สุดของจังหวัดนี้ พระนาคปรกส่วนมากจะเป็นพระเนื้อชินเงิน มีบางพิมพ์ที่เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงบ้างแต่ก็พบน้อยกว่าเนื้อชินเงินมากครับ

พระนาคปรกพิมพ์จีโบใหญ่ เป็นพระนาคปรกพิมพ์นิยมของกรุนี้ พระส่วนใหญ่ที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน พระพิมพ์นี้มีพบที่จังหวัดสุพรรณบุรี กรุวัดลาวทองที่มีพิมพ์คล้ายคลึงกัน แต่ของจังหวัดสุพรรณฯ เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระนาคปรก พิมพ์จีโบมีแบ่งเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ฐาน 2 ชั้น และพิมพ์ฐานบัว ทุกพิมพ์เป็นพระที่นิยมทั้งสิ้น

นอกจากนี้ก็ยังมีพระนาคปรกพิมพ์ พุงป่อง เนื้อชินเงิน และก็เป็นที่นิยมเช่นกันครับ พระนาคปรกพิมพ์พุงป่อง มีศิลปะที่แปลกออกมาจากพระนาคปรกพิมพ์อื่นๆ พุทธลักษณะขององค์พระดูล่ำสันท้องพลุ้ยหน้าตักขัดสมาธิหลวมๆ ดูเหมือนกับยกก้นขึ้นน้อยๆ พุทธลักษณะแบบนี้ก็พบในพระพุทธรูปขนาดบูชาเนื้อสัมฤทธิ์ด้วยเช่นกัน รูปทรงโดยรวมขององค์พระคล้ายรูปเหมือนหินแกะสลักของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่เคยขุดพบ ดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง โดยส่วนตัวผมชอบพระพิมพ์นี้มากครับ

พระนาคปรกของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรียังมีอีกมากมายหลายพิมพ์ ที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ก็มีพบบ้างแต่มีน้อย และที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์แบบลอยองค์ขนาดเล็กก็มีพบบ้าง แต่ก็พบน้อยเช่นกันครับ พระเครื่องปางนาคปรกที่รู้จักมากกว่าพิมพ์อื่นๆ ก็มีพิมพ์จีโบ และพิมพ์พุงป่อง จะนิยมกันมากกว่าพิมพ์อื่นๆ

ในปัจจุบันพระนาคปรกของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรีที่แท้ๆ นั้นหายาก และมีราคาสูง พระปลอมลอกเลียนแบบมีมากและมีมานานแล้ว ซึ่งเป็นธรรมดาพระที่เป็นที่นิยมมีราคาสูงและมีคนต้องการมากก็ย่อมมีผู้ที่ทำปลอม เวลาจะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังพอสมควร ศึกษาดูให้ดีก่อนจะเช่าหาครับ เช่าพระต้องหาข้อมูลก่อนที่จะเช่า พิจารณาองค์พระด้วยความรู้ที่ศึกษามาด้วยตา อย่าพิจารณาพระด้วยหู ด้วยการฟังนิทานที่คนขายเล่าให้ฟัง เพราะเขาต้องการที่จะขาย ปัจจุบันยังต้องศึกษาคนที่จะขายพระให้เราก่อนด้วยว่ามีความรู้จริงหรือเปล่า เป็นคนที่ซื่อสัตย์และเป็นคนดีรับผิดชอบหรือเปล่าเพิ่มเข้ามาอีกด้วยครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนาคปรกกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ทั้งพิมพ์จีโบ และพิมพ์พุงป่อง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ




พระลีลาเมืองสรรค์ กรุวัดท้ายย่าน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีโบราณสถาน และมีกรุพระมากเช่นกัน กรุพระที่มีชื่อเสียงมากส่วนใหญ่นั้นจะพบที่ในเขตอำเภอสรรคบุรี ซึ่งเป็นอำเภอเดียวที่มีวัดเก่าแก่มากที่สุดของจังหวัดชัยนาท เข้าใจว่าเมืองเก่านั้นอาจจะตั้งอยู่ที่ฝั่งเมืองสรรค์ก็เป็นได้

ชัยนาทแต่เดิมนั้นเป็นเมืองหน้าด่านมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ยังคงเป็นเมืองหน้าด่านเช่นเดิม ด้วยการที่เป็นเมืองเก่าแก่สืบทอดกันมายาวนาน จึงมีวัดเก่าแก่อยู่มากมาย โดยเฉพาะพระกรุเมืองสรรค์นั้นก็มีการสร้างสืบทอดต่อกันมา และมีศิลปะร่วมสมัยกันอยู่ ที่เมืองสรรค์แห่งนี้มีพระกรุมากมายและที่มีชื่อเสียงมากก็คือพระสรรค์ยืน พระสรรค์นั่ง พระปิดตาเนื้อแร่พลวง ของกรุวัดท้ายย่าน อันมีชื่อเสียงโด่งดัง

ถ้าจะกล่าวถึงพระกรุเนื้อดินเผาของเมืองสรรค์ ก็ต้องนึกถึงพระสรรค์นั่งและพระสรรค์ยืน ซึ่งพระสรรค์นั่งนั้นที่โด่งดังและเป็นที่หวงแหนกันมากก็ต้องพิมพ์พระสรรค์นั่งไหล่ยก เพราะมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี นอกจากนี้พระสรรค์ยืนหรือพระลีลาเมืองสรรค์นั้นก็มีประสบการณ์ทางด้านนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ในสมัยก่อนคนชัยนาทหวงแหนกันมาก พระลีลาเมืองสรรค์นั้นเคยโด่งดังมากในอดีต ปัจจุบันพระแท้ๆ หายากเช่นกันครับ

สำหรับพระลีลาเมืองสรรค์นั้นมีที่พบทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อดินเผา พิมพ์ที่พบก็มีทั้งพิมพ์ลีลา พิมพ์ลีลาข้างเม็ด และพิมพ์ลีลาคางเครา หรือที่โบราณมักเรียกว่า สรรค์ยืนคางเครา กรุที่พบก็มีอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดท้ายย่าน กรุวัดส่องคบ เป็นต้น ส่วนพระเนื้อดินเผานั้นของกรุวัดท้ายย่านจะมีภาษีกว่า เนื่องจากพระที่พบในกรุนี้จะมีเนื้อดินที่ละเอียดหนึกนุ่มกว่าทุกกรุ จึงเป็นที่นิยมกันมากกว่าครับ

พระลีลาเมืองสรรค์พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม โดยเฉพาะเรื่องอยู่คงนั้นโดดเด่นมากในอดีต จึงเป็นที่เสาะหากันมาตั้งแต่ในอดีต ในปัจจุบันนี้สนนราคาค่อนข้างสูงและหายาก โดยเฉพาะของกรุวัดท้ายย่าน ที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่ม

ในวันนี้ผมก็ได้นำพระลีลาเมืองสรรค์ กรุวัดท้ายย่าน พระองค์นี้มีผิวเดิมๆ แทบไม่ผ่านการใช้มาก่อนเลย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2560 13:03:29 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #58 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2560 13:39:47 »


พระร่วงนั่งบ้านดงเชือก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดสุพรรณบุรี ยุคหลังจากปี พ.ศ.2529 มีคนนำเครื่องแสวงหาแร่มาใช้ตรวจหาพระเครื่องพระบูชาที่ถูกฝังอยู่ใต้ดิน พวกนี้เป็นนักขุดกรุพระ และได้พบพระบูชาและพระเครื่องกันไปหลายครั้ง ในปี พ.ศ.2535 ก็มีการขุดพบพระเครื่องจากการใช้เครื่องตรวจหาแร่ ที่บ้านดงเชือก เป็นพระร่วงนั่งทรงเทริดขนนก ที่เรียกว่า “พระร่วงนั่งบ้านดงเชือก”

บ้านดงเชือก ในอดีตเป็นป่าดงพงไพร อยู่ห่างไกล แต่เดิมอยู่ชายแดนของอำเภอสามชุก ปัจจุบันแยกตัวออกไปเป็นอำเภอหนองหญ้าไซ แถวบริเวณบ้านดงเชือกมีซากโบราณสถาน มีเศษอิฐอยู่มาก และมีผู้พบพระบูชาศิลปะลพบุรี ครั้งแรกพบ 25 องค์ ครั้งที่ 2 พบอีก 11 องค์ และครั้งที่ 3 พบ 3 องค์ การพบพระในครั้งนั้นพบด้วยเครื่องแสวงหาแร่

การพบพระเครื่องนั้นเล่ากันว่า เป็นคนจากอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ได้เข้ามาใช้เครื่องแสวงหาแร่ในปี พ.ศ.2535 ได้พระร่วงนั่งเทริดขนนกไปจำนวนไม่มากนัก แล้วนำพระไปขายในกรุงเทพฯ ต่อมาพระร่วงนั่งเทริดขนนกก็ได้เข้ามาในตลาดสุพรรณฯ

ก็มีผู้ที่เช่าหาไว้ในครั้งแรกสอบถามดูก็ไม่มีใครรู้ว่าพบพระที่ไหน รู้เพียงแต่ว่า คนเมืองกาญจน์นำพระมาขาย แต่ต่อมาอีกไม่กี่เดือนก็มีข่าวแพร่ออกมาว่า มีพระแตกกรุที่บ้านดงเชือกหนองหญ้าไซ ครั้งนี้ได้พระมากหน่อยประมาณร้อยกว่าองค์ ก็มีคนนำพระเข้ามาขายที่ตลาดบางลี่ เซียนเก่าได้เช่าไว้ และได้แบ่งปันเพื่อนฝูงและคนที่รู้จักไปจนหมด

พระเครื่องที่แตกกรุในครั้งหลังนี้มีแบบพิมพ์เช่นเดียวกับพระเครื่องที่แตกกรุในครั้งแรกไม่มีผิด จึงทำให้รู้ว่าแหล่งที่พบพระเป็นที่บ้านดงเชือก สุพรรณบุรี พระที่พบเป็นพระร่วงนั่งปางมารวิชัยทรงเทริดขนนก มีเส้นสังฆาฏิชัดเจน การตัดขอบตัดชิดองค์พระบ้าง มีปีกบ้าง

ด้านหลังเป็นแอ่งน้อยๆ ขนาดกะทัดรัด กว้างประมาณ 2 ซ.ม. สูงประมาณ 4 ซ.ม. เนื้อพระเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด ผิวพระมีคราบไขขาวปกคลุมทั่วทั้งองค์ เมื่อล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบผิวสนิมแดงจับทั้งองค์พระสวยงาม สีสนิมค่อนข้างเข้ม ออกแดงลูกหว้า

พระร่วงนั่งบ้านดงเชือกมีพุทธศิลปะแบบลพบุรี และมีขนาดไม่ใหญ่ เลี่ยมห้อยคอกำลังพอดีครับ แต่ก็หายากหน่อย เนื่องจากมีจำนวนพระที่พบไม่มากนัก ส่วนมากจะตกอยู่กับคนสุพรรณฯ เก็บเงียบกันหมด พระร่วงนั่งบ้านดงเชือก เป็นพระกรุที่น่าสนใจ สวยทั้งศิลปะและเนื้อสนิมแดงคราบไข บ่งบอกถึงความเก่าถึงยุคครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงนั่งบ้านดงเชือกจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ




พระหลวงพ่อทวดหนอน พิมพ์ใหญ่ วัดดอนตะวันออก อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เคยได้ยินคำว่า “ทวด” จากชื่อหลวงพ่อทางภาคใต้ ที่เรารู้จักกันดีก็คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ แต่นอกจากนั้นก็ยังได้ยินคำว่า หลวงพ่อทวดหนอน หลวงพ่อทวดหมาน หลวงพ่อทวดนวล ฯลฯ เคยสงสัยไหมครับว่า เป็นหลวงปู่ทวดองค์เดียวกันหรือเปล่า

ถ้าเป็นคนใต้เขาก็รู้จักกันดี แต่คนภาคอื่นๆ ก็อาจจะสงสัยอยู่บ้าง ซึ่งความเป็นจริงแล้ว คนทางภาคใต้ตอนล่างเขามักจะเรียกพระสงฆ์ในสมัยโบราณที่มรณภาพไปนานๆ มาแล้วว่า “หลวงพ่อทวด” และจะเติมชื่อหรือฉายานามต่างๆ ไว้ข้างหลัง เช่น หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หลวงพ่อทวดหมาน หลวงพ่อทวดหนอน หลวงพ่อทวดนวล เป็นต้น

วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องราวคร่าวๆ ของหลวงพ่อทวดหนอน ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวใต้เช่นกัน และก็มีการสร้างพระเครื่องของท่านอยู่หลายวัด ประวัติของหลวงพ่อทวดหนอนไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็มีคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของชาวใต้ว่า

หลวงพ่อทวดหนอนอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ขณะที่บวชอยู่นั้นมีข้าศึกยกทัพมาตีเมือง พระสามีอินทรหรือหลวงพ่อทวดหนอนได้สึกออกมาเป็นตาผ้าขาวอาสาต่อสู้ข้าศึกแต่เพียงผู้เดียว ใช้เวทมนตร์คาถาผูกหุ่นพยนต์ และเสกใบมะขามเป็นต่อแตนเข้าต่อสู้กับพม่าข้าศึกและได้รับชัยชนะ

ต่อมาจึงได้พระสามีอินทรก็ได้กลับมาบวชอีกครั้ง พระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้น พระราชทานถวายสมณศักดิ์ให้ท่านเป็นพระครูอินทรโมฬี ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในตำแหน่ง จึงทูลลาออกจากตำแหน่งและออกธุดงค์เพื่อแสวงหาความวิเวก ท่านธุดงค์ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเขามะรวด อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี จึงตกลงใจพำนักอยู่อย่างถาวร

ระหว่างการเดินทางมีเรื่องเล่าขานกันต่อมาว่า ด้วยความเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขณะที่ท่านเดินทางมาโดยทางเรือ ได้แลเห็นฝูงปลาว่ายตามท่านมาโดยตลอด ท่านก็บังเกิดความเมตตาสงสารจะให้อาหาร แต่บนเรือไม่มีเสบียงอาหารที่จะให้ ท่านจึงเชือดเนื้อที่แขนและขาของท่านออกเป็นชิ้นๆ โยนให้เป็นอาหารแก่ฝูงปลา ต่อมาบาดแผลของท่านได้เน่าเปื่อย มีแมลงวันมาตอมกินน้ำเหลืองและวางไข่ เป็นหนอนชอนไชบาดแผล แต่ท่านก็ไม่ได้รักษาปล่อยให้เป็นไป จึงปรากฏบาดแผลที่มีหนอนชอนไช

ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า “หลวงพ่อทวดหนอน” เมื่อเวลาผ่านไปเนิ่นนาน ชาวบ้านก็ยังเรียกท่านว่า “หลวงพ่อทวดหนอน” เช่นเดิม

พระเครื่องที่สร้างเป็นหลวงพ่อทวดหนอน ก็มีการสร้างอยู่หลายวัดและหลายครั้งเช่นกัน เราจึงได้ยินคำที่เรียกขานถึงพระสงฆ์ที่มรณภาพมานานแล้วมีคำนำหน้าว่า “ทวด” แต่ก็จะมีคำต่อท้ายตามหลัง เพื่อให้รู้ว่ากล่าวถึงพระสงฆ์รูปใด หลวงพ่อทวดหนอนเป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาสูงและเรืองเวทวิทยาคม พระเครื่องของท่านมีพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยม และคุ้มครองป้องกันภัย

ครับที่เล่ามาก็เพื่อจะได้ให้ผู้ที่ยังไม่ทราบ ก็พอจะทราบว่า พระสงฆ์ที่มีคำนำหน้าว่าหลวงพ่อทวดของชาวใต้นั้นมีความหมายเป็นอย่างไร และพระสงฆ์ที่มีคำนำหน้าว่า “ทวด” นั้นก็มีอยู่หลายรูปครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงพ่อทวดหนอน พิมพ์ใหญ่ ของวัดดอนตะวันออก อำเภอปะนาเระ ปัตตานี ปี พ.ศ.2505 มาให้ชมครับ





พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พักนี้มีผู้สอบถามมาเกี่ยวกับพระสมเด็จที่แตกกรุ และส่วนมากจะอ้างว่าเป็นพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ว่าเป็นความจริงหรือไม่ เป็นพระแท้ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ โดยเฉพาะที่เผยแพร่ทางโซเชี่ยลต่างๆ และส่งรูปมาให้ดูบ้าง ผมเองก็เลยเข้าไปดูเองพบว่ามีเยอะเช่นกันที่เป็นพระนอกมาตรฐานสากลนิยม

พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ และมีหลักฐานแน่ชัด เป็นที่ยอมรับกันเป็นมาตรฐานมีอยู่ 3 วัดเท่านั้นคือ

พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างที่วัดระฆังฯ ประมาณปี พ.ศ.2409-2415 พระสมเด็จวัดระฆังฯ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างไปเรื่อยๆ แล้วแจกให้แก่ญาติโยมจนหมด ไม่ได้นำไปบรรจุกรุใดๆ

พระสมเด็จที่สร้างบรรจุไว้ที่พระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดบางขุนพรหม ประมาณปี พ.ศ.2411-2413

พระสมเด็จเกศไชโย วัดไชโยวรวิหาร ที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างบรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระมหาพุทธพิมพ์) ประมาณปี พ.ศ.2409-2415

พระสมเด็จทั้ง 3 วัดนี้ มีประวัติชัดเจนและเป็นที่ยอมรับกันเป็นมาตรฐานสากลนิยมว่าเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้ที่สร้างไว้และมีมูลค่ารองรับ

เรื่องการมีข่าวว่ามีพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้แตกกรุออกมาก็มีมานานแล้วเช่นกัน แต่ที่พิสูจน์กันแล้วก็พบว่าไม่มีมูลความจริงแต่อย่างไร แต่ก็มีการนำมาโฆษณาชวนเชื่อกันต่อๆ มาอีกตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคการสื่อสารไร้พรมแดนระยะนี้

ข่าวที่มีการแตกกรุของพระสมเด็จในสมัยก่อนเท่าที่ผมทันเหตุการณ์ก็มีครั้งประมาณปี พ.ศ.2510 (จำ พ.ศ.ที่แน่นอนไม่ได้ครับ) มีข่าวว่ามีเจดีย์ที่วัดระฆังฯ ชำรุดและมีพระสมเด็จไหลออกมา ก็มีการแห่กันเข้าไปที่วัดเพื่อเช่าหา บรรดาเซียนก็วิ่งกันเข้าไปดู ก็พบว่ามีการแตกกรุจริง เป็นเจดีย์เล็กๆ คล้ายกับเจดีย์บรรจุอัฐิ แต่พระที่พบไม่ใช่พระที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้ จึงเลิกรากันไป

ข่าวการแตกกรุครั้งต่อมา ประมาณปี พ.ศ.2516 มีข่าวการแตกกรุของวัดวัดหนึ่งแถวๆ เกียกกาย ซึ่งวัดนี้ในอดีตเป็นวัดที่ท่านเจ้า คุณรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาส และท่านเป็นพระ นักเทศน์ในสมัยเจ้าประคุณสมเด็จ และขึ้นธรรมาสน์ปุจฉา-วิสัชนาคู่กับเจ้าประคุณสมเด็จเสมอ และวัดนี้มีพระเจดีย์องค์หนึ่งอยู่ติดกับรั้วของวัดเกิดชำรุดมีรอยร้าว และมีพระสมเด็จไหลออกมา มีทหารไปพบเข้าจึงมีการเจาะนำพระสมเด็จออกมาจากองค์พระเจดีย์ ก็มีหนังสือพระ หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นลงข่าวกัน พระที่พบเป็นแบบพิมพ์คล้ายๆ ของกรุวัดบางขุนพรหม เนื้อแกร่งมีคราบกรุ มีการเช่าหากันระยะหนึ่งช่วงสั้นๆ

ผมเองในสมัยนั้นก็สนใจจึงเข้าสนามไปหาพรรคพวกเผื่อจะได้แบ่งพระไว้บูชาบ้าง ก็พบคนรู้จักกำลังให้เช่าพระกรุนี้อยู่พอดี จึงสอบถามดู เขาก็ให้รอก่อน เมื่อลูกค้าไปหมดแล้วเขาก็บอกว่าจะเอากี่องค์ พร้อมดึงลังออกมามีพระกรุนี้อยู่เต็มถัง แล้วก็บอกผมว่าเลือกเอาไปเถอะ พวกเขาทำเองไม่ต้องซื้อ ต่อมาขบวนการนี้มีการขัดกันเรื่องผลประโยชน์ ความก็แตก

ต่อมาก็มีข่าวการแตกกรุของพระสมเด็จอีก ประมาณปี พ.ศ.2535 ประมาณนี้ (จำพ.ศ.ไม่ได้จริงๆ ครับ) ก็มีการทำข่าวทางโทรทัศน์ทุกช่อง และหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ เพราะเป็นวัดใหญ่แถวๆ ฝั่งธนฯ ปรากฏว่าพบพระสมเด็จจำนวนมาก ว่ากันว่าเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้อีก ก็ไปดูกัน จึงพบว่าเป็นพระที่สร้างล้อเลียนแบบ ก็สรุปว่า ไม่ใช่อีก (แหกตา) หลังจากนั้นไม่นานพวกที่สร้างพระและสร้างเรื่องนี้ก็แตกคอกันอีก จำพระมากองขายแถวๆ ท่าพระจันทร์ และสาวไส้กันเละเทะ

ที่ต่างจังหวัดก็มีครับ แถวๆ นครสวรรค์ อ่างทอง อะไรประมาณนั้น แต่ความจริงก็คือความจริง ปิดไม่มิดครับ ก็จบๆ กันไป แต่ช่วงนี้ก็มีการปลุกผีกันขึ้นมาอีก โฆษณาขายกันเอิกเกริกทางการสื่อสารไร้พรมแดน นิทานเก่านิทานใหม่ก็ว่ากันไปต่างๆ นานา ลองคิดดูไม่ยากครับ ถ้าเป็นพระแท้ที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้ สนนราคาไม่ถูกแน่ครับ และคนจะแห่เช่ากันจนหมดในไม่นาน ไม่มีหรอกครับ ว่าพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างจะราคาถูกๆ และมีมากมาย พระสมเด็จทั้ง 3 วัดที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างนั้นถ้าไม่หักชำรุด ถึงจะสึกหรอราคาก็ยังเป็นหลักล้าน ถ้าสมบูรณ์ไม่ต้องพูดถึง และมีคนเช่าหาแน่นอนครับ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจในปัจจุบันก็ยังมีคนเช่าและปล่อยไม่ยาก ยิ่งสวยๆ รับรองว่าเนื้อหอมแน่ครับ เนื่องจากเศรษฐกิจในปัจจุบันคนรวยๆ ไม่ได้เดือดร้อนหรือมีผลกระทบอะไร ไม่มีหรอกครับพระสมเด็จแท้ๆ ราคาถูกฟลุกๆ มีแต่ฟุบมากกว่าครับ

ด้วยความห่วงใยครับ ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ องค์สวยมาให้ชม พระองค์นี้เคยลงรักไว้ และต่อมาได้ลอกรักออกเผยให้เห็นเนื้อและร่องรอยการแตกลายงา พระแบบนี้แท้สวยดูง่ายสากลนิยมครับ





พระเจดีย์ และรูปพระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู

วัดมหาธาตุเป็นวัดคู่เมืองเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ตำบลในเมือง ห่างที่ว่าการอำเภอเมืองประมาณ 200 เมตร มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ ส่วนยอดพระเจดีย์หักพังไปแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ก่อนปีพ.ศ.2483 วัดมหาธาตุมีสภาพเกือบเป็นวัดร้าง เสนาสนะมีเพียงกุฏิสงฆ์ 1 หลัง กับศาลาการเปรียญเก่าที่ใช้การเกือบไม่ได้ 1 หลัง พระอุโบสถก็เหลือแต่ฝาผนังอิฐเท่านั้น

จนต้นปี พ.ศ.2483 พระเพชรบูรณ์คณาวสัย (แพ) สมัยพระครูวินัยธรได้มาเป็นเจ้าอาวาส ได้จัดการก่อสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มเติม สร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง พระอุโบสถ 1 หลัง และตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม สอนทั้งแผนกธรรมและบาลี ส่วนเขตวิสุงคามสีมาของวัดนั้นเดิมคงจะมีอยู่ตามแนวเขต ในพัทธสีมาสลักด้วยหินทรายโบราณซึ่งยังมีอยู่ทั้ง 8 ใบ จนถึงปี พ.ศ.2496 จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ และได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2497

ต่อมาในปี พ.ศ.2510 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมบูรณะพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หลังพระอุโบสถ ได้ขุดพบกรุซึ่งมีเสาศิลาแลงขนาดกว้างประมาณ 70 ซ.ม. สูง 60 ซ.ม. ซ้อนกันอยู่ 2 ก้อน และมีไหแบบสุโขทัยขนาดเล็กและใหญ่ตั้งอยู่ล้อมรอบเสาศิลาแลงหลายใบ ภายในไหบรรจุทั้งพระพุทธรูปและพระเครื่องเนื้อชินเงินเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบเครื่องถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์หมิง และรูปปั้นคน รูปสัตว์ต่างๆ มีโถสังคโลก ตลับทองคำจำนวนหนึ่ง ที่สำคัญได้พบลานทองจารึกอักษรไทยโบราณม้วนอยู่ในท้องหมูสัมฤทธิ์ 1 แผ่น และอยู่ในไหอีก 2 แผ่น รวมเป็น 3 แผ่น

จากการสำรวจพระที่ขุดพบปรากฏว่าได้พระพุทธรูป 900 องค์ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา แต่ล้อแบบศิลปะสกุลช่างสมัยต่างๆ ก่อนหน้าเป็นส่วนมาก ในส่วนที่เป็น พระเครื่องส่วนมากเป็นพระเนื้อชินเงิน ที่เป็นเนื้อดินเผาก็มีบ้างแต่ไม่มากนัก เมื่อคัดแยกประเภทแล้วได้พระเครื่องแบบต่างๆ กว่า 30 แบบ เช่น พระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู พระร่มโพธิ์ พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าเงิน พระซุ้มอรัญญิก พระซุ้มเรือนแก้ว พระท่ามะปรางค์ พระฝักดาบ พระนางพญาเพชรบูรณ์ และพระนาคปรกพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น พระเครื่องที่พบทั้งหมดกรมศิลปากรได้นำมาออกให้ประชาชนเช่าบูชา โดยกำหนดราคาแตกต่างกันไป ปรากฏว่าพระร่วงเปิดโลกซุ้มประตูเป็นพิมพ์ที่กรมกำหนดราคาเช่าไว้สูงกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

พระร่วงพิมพ์นี้นับว่าสวยงาม พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ทอดลงมาข้างลำพระองค์ พระบาทแยกออกหันพระปราษณี (ส้นเท้า) เข้าหากัน ประทับอยู่ในซุ้มประตู ต้นเสาลายก้างปลา ด้านบนซุ้มประดับลายกระหนกเครือนาคคู่ มีลายกระจังตาอ้อยอยู่ยอดบนสุด นับว่าเป็นศิลปะสกุลช่างอยุธยาที่สละสลวยงดงามมาก สังเกตดูจากสถาปัตยกรรมขององค์พระเจดีย์ เป็นแบบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัย สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงสุโขทัยยุคปลาย แต่พระพุทธรูปและพระเครื่องที่พบนั้นกลับพบเป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยายุคต้น จึงทำให้สันนิษฐานต่อได้ว่า คงมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู เนื้อพระเป็นเนื้อชินเงิน บางองค์มีสนิมขุมและรอยระเบิดบางแห่ง คราบดินกรุฝังตัวอยู่ตามผิวทั่วๆ ไป ทางด้านพุทธคุณมีพร้อมทั้งส่งเสริมอำนาจบารมี ความเจริญก้าวหน้า เมตตามหานิยมและแคล้วคลาดครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปองค์พระเจดีย์ และรูปพระร่วงเปิดโลกซุ้มประตูมาให้ชมกันครับ





พระคง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดดอนแก้ว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องของชื่อพระเครื่องนั้นสำคัญไฉน ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงชื่อพระเครื่อง ในอดีตเป็นชื่อใหม่กันอยู่พอสมควร มีพระสกุลลำพูนอยู่อย่างหนึ่งคือ “พระบางกรุวัดพระคง” ปัจจุบันก็เรียกกันว่า “พระคงทรงพระบาง” ผมคนรุ่นเก่าก็งงอยู่พักใหญ่ ต่อมาเห็นองค์พระจึงเข้าใจว่า อ้อเขามาตั้งชื่อกันใหม่ ไปถามเซียนบางท่าน ก็อธิบายเสียยืดยาวว่า ชื่อนี้แหละเขาเรียกกันมานมนานแล้ว ผมเองก็งงต่อ เพราะอาจารย์ตรีฯ ท่านเขียนเรื่องพระสกุลลำพูน และพิมพ์เป็นเล่มในปีพ.ศ.2503 ก็เรียกชื่อว่า “พระบาง” ต่อด้วยกรุวัดพระคง เอ้าก็ว่ากันไป เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจก็แล้วกัน

ครับพระที่ขุดได้ที่วัดพระคงฤๅษีลำพูนนั้น พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระคง องค์พระส่วนที่เป็นลำพระองค์อวบอ้วนล่ำสัน การวางแขนซ้ายทิ้งลงมาตรงๆ และหักข้อศอก แบบมุมฉาก

ส่วนพระอีกแบบที่พบแต่มีจำนวนน้อยกว่า พุทธลักษณะคล้ายกับพระคง รายละเอียดองค์ประกอบต่างๆ จะเป็นแบบเดียวกัน แต่เป็นคนละแม่พิมพ์กัน องค์พระลำพระองค์จะสะโอดสะองกว่า ไม่ล่ำอวบอ้วนเท่าพระคง การวางแขนซ้ายขององค์พระจะกางออกเล็กน้อย และการหักข้อศอกก็จะเป็นมุมเฉียง

บันทึกการขุดพบของอาจารย์ตรีฯ นั้นเขียนไว้ว่าพระที่พบในวัดพระคง พบพระคงและพระบาง ข้อแตกต่างคร่าวๆ ก็เป็นอย่างที่กล่าวไว้ในขั้นต้น ในการตั้งชื่อพระก็ตั้งชื่อเพื่อให้รู้ว่า เป็นคนละพิมพ์ทรงกันเท่านั้น และก็คิดแบบง่ายๆ องค์พระล่ำสันบึกบึนก็เรียกว่า “พระคง” พอพบอีกรูปแบบคล้ายๆ กัน องค์พระสะโอดสะองกว่าก็เรียกว่า “พระบาง”

ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งบ้านเมืองอยู่ในช่วงสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวเสาะหาพระเครื่องกันมาก ก็มีคนไปขุดหาพระเครื่องที่วัดดอนแก้ว และพบพระหลากหลายชนิด เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง ฯลฯ พระชนิดหนึ่งที่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระที่พบที่กรุวัดพระคง ก็คือพระบาง แต่เป็นคนละพิมพ์กัน โดยรวมรายละเอียดคล้ายคลึงกันกับพระบางที่พบที่กรุวัดพระคง จึงเรียกกันว่าพระบางตาม พระกรุวัดพระคงที่ขุดพบก่อน

รายละเอียดที่แตกต่างกับพระบางของกรุวัดพระคงคร่าวๆ ก็คือ กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียร 3 กิ่งของกรุวัดดอนแก้วจะแข็งตรงชี้ขึ้นไปเฉยๆ ส่วนพระบางที่พบในวัดพระคงนั้น กิ่งโพธิ์ด้านบนพระเศียรจะอ่อนช้อยคดโค้งกว่า องค์พระของกรุวัดดอนแก้วก็จะดูแข็งๆ กว่า ของกรุวัดพระคงซึ่งดูอ่อนช้อยกว่าเช่นกัน

ครับต่อมาในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนชื่อ “พระบางกรุวัดพระคง” มาเป็น “พระคงทรงพระบาง” ก็ว่ากันไป แต่สงสัยแค่นิทานที่บอกว่าคนโบราณเขาเรียกกันว่าพระคงทรงพระบางนี้แหละ แถมอ้างอาจารย์เชียร ว่าท่านก็เรียกแบบนี้

ผมเองในสมัยก่อนก็สนิทกับอาจารย์เชียร ซื้อหาพระสกุลลำพูนด้วยกัน นำมาวิเคราะห์และศึกษา พระที่ขึ้นมามีขี้กรุก็ล้างด้วยกัน ศึกษาหาวิธีล้างเพื่อไม่ให้พระเสียผิวด้วยกัน ก็เลยงงที่เขาอ้าง แต่ก็ว่ากันไปตามยุคสมัย ผมไม่ได้เถียงเพื่อเปลี่ยนชื่อหรอก เรียกไงเรียกกัน ขอให้เข้าใจตรงกันก็พอ และเล่นหาพระแท้ก็แล้วกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระคง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดพระคง พระบาง กรุวัดดอนแก้ว มาให้ชมเปรียบเทียบกันครับ





พระโคนสมอ พิมพ์ห้อยพระบาท เนื้อชินเงิน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเก่าๆ กันเพื่อเป็นการอนุรักษ์มิให้เลือนหายไป ซึ่งพระกรุพระเก่าบางชนิดอาจจะไม่ได้มีสนนราคาสูงมากนัก แต่ก็มีคุณค่าทางศิลปะ อีกทั้งยังเป็นพระเครื่องที่บรรพชนได้สร้างไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา และผ่านพิธีการพุทธาภิเษกมาอย่างดีแล้วทั้งสิ้น วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระโคนสมอครับ

ทำไมถึงเรียกว่าพระโคนสมอ และพระโคนสมอที่แท้จริงเป็นพระที่สร้างในยุคสมัยใด หลายๆ ท่านก็อาจจะทราบดี แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ไม่ทราบเรื่องราวความเป็นมา ผมจึงขออนุญาตเล่าเรื่องพระโคนสมออีกครั้งนะครับ ในปี พ.ศ.2430 เมื่อคราวที่ราชการจะตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำหรับพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) เป็นแม่กองซ่อมแซมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

เจ้าคุณวรพงศ์ ได้พบพระชินเงินฉาบปรอทเป็นจำนวนมากประมาณ 13 ปี๊บ อยู่บนเพดานท้องพระโรงพระที่นั่งศิวโมกข์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ของพระราชวังบวรสถานมงคล จึงได้สั่งให้ชะลอพระทั้งหมดมาพักไว้ ณ โคนต้นสมอพิเภก ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล ต่อมาทางราชการได้นำพระชินเงินฉาบปรอทดังกล่าวเข้าประจุไว้ในพระเจดีย์ทอง ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อคราวฉลองพระนครครบ 150 ปี พ.ศ.2475 พระดังกล่าวได้ถูกทิ้งไว้ที่โคนต้นสมอพิเภกเป็นเวลานานพอสมควร

พระชินเงินฉาบปรอทคราวนั้นได้ถูกคนหยิบฉวยไปบ้าง จนต่อมาทางการจึงได้เคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้และมีพระบางส่วนที่มีการแบ่งให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ซึ่งใกล้ชิดเกี่ยวข้องในการซ่อมแซมพระราชวังบวรสถานมงคล และการที่มีผู้มาพบพระดังกล่าวที่โคนต้นสมอพิเภก ซึ่งท่านเจ้าคุณวรพงศ์นำพระไปชะลอไว้ จึงเรียกชื่อของพระตามสถานที่พบว่า “พระโคนสมอ” นอกจากนี้ในครั้งหลังๆ ที่มีการขุดซ่อมแซมต่างๆ ภายในพระราชวังบวรสถานมงคลก็ยังได้พบพระโคนสมอที่เป็นแบบเนื้อดินอยู่อีกเนืองๆ

ที่มาที่ไปของพระโคนสมอนี้ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท กรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงนำพระดังกล่าวมาจากวัดโบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อคราวที่พระองค์ท่านเสด็จไปปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดาราม เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในส่วนที่พบในครั้งอื่นๆ ก็มีที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกหลายวัดในองค์พระเจดีย์ และที่ในกรุงเทพฯ ก็มีพบบ้าง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีการชะลอมาจากพระนครศรีอยุธยาเช่นกัน แต่โดยส่วนมากจะพบแต่พระโคนสมอแบบเนื้อดินแทบทั้งสิ้น ซึ่งพระที่พบแบบเนื้อดินนั้นจะเป็นพระปางประจำวันเกิดเสียเป็นส่วนใหญ่ และพบพระที่มีการลงรักปิดทองร่องชาดกับพระที่ไม่ได้ปิดทองก็มี แต่พระที่มีการลงรักปิดทองจะมีภาษีกว่าในด้านสนนราคา

พระโคนสมอที่เป็นพระเนื้อชินเงินนั้น เท่าที่รู้มาจะพบที่พระราชวังสถานมงคลเพียงแห่งเดียว ที่อื่นๆ นั้นยังไม่ทราบข้อมูล และพระเนื้อชินจะมีขนาดย่อมกว่าพระเนื้อดินมากโขอยู่เหมือนกันครับ ความนิยมจะนิยมพระเนื้อชินมากกว่าพระเนื้อดิน ในส่วนของศิลปะเท่าที่เห็นนั้น สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะแบบอยุธยายุคปลาย สังเกตง่ายๆ จากซุ้มของพระโคนสมอจะเห็น ทำเป็นคล้ายเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาครับ

พุทธคุณของพระโคนสมอนั้น ที่ประจักษ์กันมาก็ในด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระโคนสมอพิมพ์ห้อยพระบาทเนื้อชินเงิน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของเมืองไทย มาให้ชมครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




พระวัดพลับพิมพ์ยืน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จวัดพลับ หรือที่ปัจจุบันเรียกกันสั้นๆ ว่า “พระวัดพลับ” แต่คนในสมัยโบราณมักเรียกว่าพระสมเด็จวัดพลับ เนื่องจากเชื่อกันว่าเป็นพระที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้างพระเหล่านี้ไว้ ด้วยความเคารพศรัทธาในองค์สมเด็จพระสังฆราช (สุก) จึงเป็นพระที่นิยมกันมากในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้พระวัดพลับก็มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด

พระวัดพลับ เป็นพระเนื้อผงที่มีความเก่าแก่ ที่มีการพบพระกรุนี้เมื่อปี พ.ศ.2485 เนื่องจากมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ขณะรื้อกำแพงก็ได้มีผู้พบพระเครื่องเหล่านี้ ตามแนวกำแพงและเจดีย์รายต่างๆ พบพระพิมพ์ยืน พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ แต่พิมพ์ปิดตา มีน้อย โดยเฉพาะพระที่เป็นเนื้อชินตะกั่วพบน้อยที่สุด นอกจากนั้นจะเป็นพระพิมพ์พุงป่องใหญ่ พิมพ์สมาธิกลาง พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง พิมพ์พุงป่องเล็ก พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก พิมพ์ตุ๊กตาเล็กเข่ากว้าง พระส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อผง เนื้อค่อนข้างแกร่ง

นอกจากนี้ ยังมีพระแบบเดียวกับพระวัดพลับทุกประการ ในจังหวัดอุทัยธานี ที่วัดโค่ง (วัดธรรมโสภิส) ที่วัดโค่งก็มีพบพระเนื้อชินตะกั่วด้วยเช่นกัน ตามตำนานได้ว่าไว้ว่า หลวงตาจันซึ่งเป็นเพื่อนกับหม่องเปียงโค่งเมื่อครั้งยังเป็นฆราวาส ต่อมาได้มาบวชอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ที่วัดพลับ และเมื่อหม่องเปียงโค่งได้สร้างวัดขึ้นที่จังหวัดอุทัยธานี จึงได้นิมนต์หลวงตาจันมาครองวัดโค่ง วัดโค่งเดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดหม่องเปียงโค่ง” ตามชื่อของผู้สร้างวัด และเรียกกันต่อมาสั้นว่า “วัดโค่ง” และได้รับชื่อวัดเป็นทางการว่า “วัดธรรมโสภิส” ในปัจจุบัน แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกกันติดปากว่า “วัดโค่ง” การพบพระที่วัดโค่งก็เนื่องจากองค์พระเจดีย์ของวัดเกิดชำรุดและมีพระไหลออกมา พระที่พบเป็นพระชนิดเดียวกับพระที่พบที่วัดพลับไม่มีผิดเพี้ยน ชาวบ้านก็เข้ามาขุดพระกันมากมาย แม้ทางวัดจะห้ามปรามอย่างไรก็ไม่สามารถหยุดได้ พระจึงหมดไปจากวัดโค่งในที่สุด

พระวัดพลับพิมพ์ที่หายากที่สุดและมีราคาสูงที่สุดก็คือ พระพิมพ์ยืน หรือบางท่านเรียกว่าพิมพ์วันทาเสมา พุทธลักษณะคล้ายกับปางยืนถือดอกบัว แต่ที่พระเศียรมีเนื้อยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลังของพระเศียร มองดูคล้ายหมวกของทหารฝรั่งในสมัยโบราณ

แต่ผมเองลองพิจารณาดูแล้วคิดว่า น่าจะเป็นพระพิมพ์นอน และเป็นการแสดงภาพด้วยการมองมุมสูงจากด้านบนลงมาแบบ เบิร์ดอายวิว (Bird Eye View) เสียมากกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่าเนื้อส่วนเกินที่พระเศียรทั้งด้านหน้าและด้านหลังนั้นน่าจะแสดงถึงหมอนหนุนพระเศียร องค์พระแสดงถึงปางไสยาสน์ มือถือดอกบัวพนม น่าจะเป็นปางปรินิพพานเสียมากกว่า เป็นการสันนิษฐานของผมนะครับ เพราะไม่มีเหตุผลใดที่จะทำเป็นเนื้อยื่นออกมาข้างพระเศียรทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หรือแสดงเป็นหมวกแบบฝรั่ง

ครับก็เป็นเพียงความคิดเห็นของผมเท่านั้นนะครับ พระวัดพลับพิมพ์ยืน (นิยมเรียกกันแบบนี้) เป็นพระพิมพ์ที่มีการพบน้อยมาก และเป็นพิมพ์ที่มีราคาสูงที่สุดของกรุนี้ และในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระวัดพลับพิมพ์นี้มาให้ชมกันด้วยครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กันยายน 2560 13:37:35 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #59 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2560 17:07:40 »



พระพิจิตรข้างเม็ด กรุวัดเขาพนมเพลิง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีพระกรุเนื้อชินชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า พระพิจิตรข้างเม็ด กรุวัดเขาพนมเพลิง จังหวัดสุโขทัย ในปีสองพันห้าร้อยสิบกว่าๆ ผมเองได้พบพระกรุวัดเขาพนมเพลิงแบบหนึ่ง เป็นพระองค์เล็กๆ รูปทรงสามเหลี่ยม ผิวปรอทจับขาวประปราย สอบถามดูเขาบอกว่า “พระพิจิตรข้างเม็ด กรุเขาพนมเพลิง”

ฟังดูแรกๆ ก็งงๆ อยู่พอสมควรครับ เพราะในสมัยที่ยังเรียนอยู่ก็เคยติดตามอาจารย์ขึ้นไปศึกษาโบราณสถานที่ศรีสัชนาลัย และก็ขึ้นไปบนเขาพนมเพลิงด้วย ก็รู้ว่าเขาพนมเพลิงอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ทำไมจึงเรียกว่าพระพิจิตร

วัดเขาพนมเพลิง เป็นโบราณสถาน ที่ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตั้งอยู่บนเขาพนมเพลิงซึ่งเป็นเขาเล็กๆ มีตำนานบอกเล่าในการสร้าง สำหรับประกอบพิธีบูชาไฟในเมืองศรีสัชนาลัย วัดเขาพนมเพลิงมีเจดีย์ประธานทรงลังกาก่อด้วยศิลาแลง วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปและเจดีย์ราย

เรื่องพระพิจิตรข้างเม็ด กรุวัดเขาพนมเพลิง ผมมาเจอในสนามพระปีสองพันห้าร้อยสิบกว่าๆ จึงขอเจ้าของดู หยิบพระมาส่องดูก็เห็นเนื้อโลหะที่ความเก่า มีร่องรอยการระเบิดผุปะทุอยู่แสดงความเก่าให้เห็น และก็เชื่อว่าไม่เก๊แน่ก็เลยเช่ามา ราคาขณะนั้นยังไม่แพงแค่ไม่กี่ร้อย และก็กลับมาค้นหาความเป็นมาว่าอย่างไร จึงทราบว่าพระกรุวัดเขาพนมเพลิง แตกกรุประมาณปี พ.ศ.2507 มีการลักลอบขุดพระ และพบพระมากมาย มีหลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์ที่พบในที่กรุอื่นๆ ก็มาก เช่น พระพุทธชินราช เนื้อชิน พระศาสดา พระลีลาซุ้มเรือนแก้ว พระร่วงนั่งหลังตัน (คล้ายๆ กับพระร่วงนั่งหลังลิ่ม) และพิมพ์อื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งพระพิจิตรข้างเม็ดด้วย พระเกือบทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินเงิน มีผิวปรอทจับขาวเกือบทั้งองค์ มาศึกษาดูกรุวัดเขา พนมเพลิงเป็นกรุที่อยู่สูง จึงไม่ถูกน้ำท่วม องค์พระจึงค่อนข้างสมบูรณ์ มีผิวปรอทจับอยู่ถึงแม้ว่าจะผ่านกาลเวลามาถึงหลายร้อยปีก็ตาม

ก็มาถึงว่าทำไมจึงเรียกว่า “พระพิจิตรข้างเม็ด” สอบถามคนรุ่นเก่าจึงทราบว่า พระพิมพ์นี้เคยพบที่จังหวัดพิจิตร ที่วัดบ้านกล้วย เป็นพระเนื้อชินเงิน แต่ผิวพระออกสีดำ และมีสนิมเกล็ดกระดี่เกาะผิวพระ พระส่วนมากที่พบที่กรุวัดบ้านกล้วย จะชำรุดสนิมกินผุเกือบหมด องค์พระจะค่อนข้างหนากว่าของกรุเขาพนมเพลิง พระที่พบที่กรุวัดบ้านกล้วยมีชื่อเรียกกันว่า พระพิจิตรข้างเม็ด เนื่องจากขอบโดยรอบจะมีเม็ดๆ ปรากฏอยู่โดยรอบ ต่อมาเมื่อมีการพบพระในลักษณะเดียวกันที่กรุวัดเขาพนมเพลิง จึงเรียกชื่อตามพระกรุของเมืองพิจิตร แต่ใส่ชื่อกรุตามลงไปเพื่อให้รู้ว่าพบที่กรุใด

ครับพระพิจิตรข้างเม็ดกรุวัดเขาพนมเพลิงก็มีขนาดเล็กๆ เช่นเดียวกับพระพิจิตร พิมพ์ก็เหมือนกัน ผิดกันที่ความหนาของกรุวัดเขาพนมเพลิงจะบางกว่า และที่สำคัญผิวของพระกรุวัดเขาพนมเพลิงมักจะมีคราบปรอทจับ ด้านหลังของพระพิจิตรกรุบ้านกล้วยจะเป็นแบบหลังลายผ้า แต่ของกรุวัดเขาพนมเพลิงมีทั้งหลังลายผ้า หลังตัน และหลังแอ่งครับ ปัจจุบันก็หาพระพิจิตรข้างเม็ด กรุวัดเขาพนมเพลิงแท้ๆ ชมค่อนข้างยาก ของปลอมมีระบาดมานานแล้วครับ แต่ธรรมชาติความเก่าของพระก็ยังทำไม่ได้ดี พอให้สังเกตได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิจิตรข้างเม็ด กรุวัดเขาพนมเพลิง จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของเมืองไทยมาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




ปิดตาแร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี นนทบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาเนื้อโลหะอีกองค์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่อดีต ก็คือพระปิดตาแร่บางไผ่ ของหลวงปู่จัน วัดโมลี นนทบุรี และเป็นพระปิดตาแบบเดียวที่ใช้แร่เหล็กมาถลุงหลอม เทเป็นองค์พระและเป็นยอดแห่งพระปิดตามหาอุตม์เนื้อโลหะของนนทบุรี

วัดโมลี หรือเดิมเรียกกันว่า วัดใหม่สุวรรณโมลี พระอารามแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี วัดนี้สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2369 ผู้สร้างวัดชื่อเถื่อน ต่อมาได้อุปสมบทและเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาได้ลาสิกขาบทไป เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ชื่อแก้ว เจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ชื่อจัน เป็นพระอาจารย์ที่ทรงวิทยาคมสูง และเป็นผู้สร้างพระปิดตาแร่บางไผ่อันโด่งดัง

หลวงปู่จันได้ค้นพบว่ามีสายแร่เหล็กจากคลองบางไผ่และบางคูรัด ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษที่มีความศักดิ์สิทธิ์เหมาะแก่การสร้างวัตถุมงคล ที่ทรงอานุภาพทางคงกระพันและแคล้วคลาด ท่านจึงคิดนำแร่ชนิดนี้มา สร้างเป็นพระปิดตามหาอุตม์ ท่านได้ให้ลูกศิษย์ของท่านพายเรือพาท่านออกตามหาแร่ตามคลองบางไผ่ ซึ่งก็พบแร่ชนิดนี้อยู่ในน้ำตามคลองบางไผ่จำนวนหนึ่ง

ท่านก็ได้นำเอามาใส่ตุ่มแช่น้ำไว้ข้างๆ กุฏิของท่าน ว่ากันว่าท่านได้เลี้ยงแร่ไว้ในตุ่ม ซึ่งต้องใช้คาถากำกับเพื่อให้ตัวแร่ออกเพิ่มจำนวน

หลวงปู่จันยังได้ออกตามหาแร่บางไผ่อีกตลอด ได้บ้างไม่ได้บ้าง จนในที่สุดแร่ในคลองบางไผ่ ก็หายไปหมดไม่พบอีก ท่านจึงได้เข้าสมาธิดูก็รู้ว่า แร่ย้ายตัวเองหนีไปอยู่ที่คลองบางคูรัด ท่านก็ได้ตามไปและพบแร่ชนิดนี้อีกจำนวนหนึ่ง ท่านก็ได้นำมารวบรวมไว้ในตุ่มน้ำ จนมีจำนวนพอที่จะสร้างพระได้
 
ท่านจึงได้เริ่มสร้างพระปิดตาขึ้นประมาณกันว่าในปี พ.ศ.2425 โดยท่านจะให้พระและลูกศิษย์ของท่านปั้นหุ่นเทียนเป็นรูปองค์พระตามที่ท่านกำหนด เป็นองค์ๆ ไป และวางเส้นยันต์ที่ฟั่นเป็นเส้นกลมๆ แบบเส้นขนมจีน นำมาวางเป็นเส้นยันต์ตามที่ท่านกำหนด

ดังนั้น การสร้างด้วยวิธีการแบบนี้ องค์พระจึงไม่มีองค์ใดที่เหมือนกันเป๊ะเลย แต่ก็ยังอยู่ในกรอบที่หลวงปู่จันกำหนดไว้ การเทหล่อก็เป็นแบบเดียวกับพระปิดตาหลวงพ่อทับวัดทอง พระปิดตายันต์ยุ่งของหลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง คือเทหล่อแบบโบราณด้วยการเข้าดินหุ่น แล้วเททีละองค์

จากกรรมวิธีการหาแร่และกรรมวิธีการสร้าง จึงทำให้พระปิดตาแร่บางไผ่มีจำนวนไม่มากนักครับ และด้วยสาเหตุที่หลวงปู่จันได้เนื้อแร่มาจากคลองบางไผ่เป็นปฐมนี้เองจึงเป็นที่มาของชื่อเรียกพระปิดตาของหลวงปู่จันว่า “พระปิดตาแร่บางไผ่”

ลักษณะของเนื้อพระแร่บางไผ่นั้น จากการหลอมโลหะในสมัยนั้นจึงทำให้เนื้อโลหะ จากแร่เหล็กไม่สามารถหลอมละลายเข้ากันได้อย่างดีนัก อีกทั้งยังมีขี้แร่ผสมอยู่ในตัวเนื้อ แต่ก็เป็นเอกลักษณ์พิเศษในตัวพระปิดตาแร่บางไผ่

ซึ่งจะปรากฏเส้นเสี้ยนในเนื้อพระที่เกิดขึ้นจากการหลอมแร่ ลักษณะคล้ายเสี้ยนตาล วิ่งสวนกันไปมาในบางจุดซึ่งจะมีในพระแร่บางไผ่แท้ทุกองค์มากน้อยต่างกันไป และเป็นจุดสังเกตในการพิจารณา ดังคำของคนรุ่นเก่ากล่าวว่า “ปิลันทน์ให้ดูไข บางไผ่ให้ดูเสี้ยน” ตัวสนิมของพระปิดตาแร่บางไผ่ จะมีสีสนิมแบบสนิมของเหล็ก เนื่องจากเป็นเนื้อแร่เหล็กครับ

พระปิดตาแร่บางไผ่ สามารถแยกพิมพ์ออกได้คร่าวๆ ดังนี้ 1.พิมพ์หมวกแก๊ป 2.พิมพ์เศียรตัด 3.พิมพ์เศียรโต 4.พิมพ์ทองหยอด 5.พิมพ์ปิดตาไม่โยงก้น ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีพระพิมพ์อื่นๆ อีกบ้างที่ไม่ได้เป็นแบบพิมพ์พระปิดตาก็มี แต่ก็พบน้อยมากครับ ในวันนี้ผมก็นำรูปพระปิดแร่บางไผ่มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




พระรอดหนองมน จ.ลพบุรี

วัดหนองมน เป็นวัดเล็กๆ ตั้งอยู่กลางทุ่ง ใน ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นที่กล่าวขวัญและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตก็คือ “พระรอดวัดหนองมน” พระรอดเนื้อโลหะอันลือเลื่องนั่นเอง

ที่เรียกกันว่า “พระรอด” นั้น ด้วยพุทธลักษณะค่อนข้างคล้าย “พระรอด วัดมหาวัน” หนึ่งในพระชุดเบญจภาคี สุดยอดพระเครื่องของไทย อีกทั้งพุทธคุณที่ปรากฏเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บูชาว่า “เป็นเลิศในด้านนิรันตราย” ทั้งคุ้มครองป้องกันและแคล้วคลาด เฉกเช่นเดียวกับ “พระสกุลลำพูน” จนเป็นที่กล่าวกันว่า “แขวนท่านไว้ไม่มีทางตายโหงแน่นอน” นับเป็นพระที่มีประสบการณ์มาก จนกลายเป็นพระยอดนิยมพิมพ์หนึ่งของเมืองลพบุรี ณ ปัจจุบันเรียกได้ว่าหายากพอๆ กับพระสกุลลำพูนทีเดียว อีกทั้งค่านิยมก็สูงขึ้นเรื่อยๆ

พูดได้ว่า ถ้าไม่มี “หลวงพ่อเมือง” ก็คงไม่มี “พระรอดหนองมน” และวัดหนองมนก็คงยังเป็นวัดเล็กๆ ในหมู่บ้านที่ไม่เป็นที่รู้จักของสังคมภายนอก ด้วยตามประวัติขององค์พระเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้วนั้น “พระรอดหนองมน” ไม่ได้สร้างที่วัดหนองมน จ.ลพบุรี ในหนังสือเครื่องรางของขลัง ของ อ.ประชุม กาญจนวัฒน์ ได้กล่าวถึง “พระรอดหนองมน” ไว้ว่า …

“… สมภารผู้แก่กล้าวิชาอาคมของเมืองพิจิตรท่านหนึ่ง ชอบการแข่งเรือและเลี้ยงนกเขาเป็นอย่างมาก อยู่มาวันหนึ่งท่านลงมือทาน้ำมันยางเรือแข่งจนเสร็จเรียบร้อย จากนั้นมีเด็กๆ มายุ่งกับเรือที่ทาสีน้ำมันยังไม่แห้ง ท่านจึงนำธนูมาเล็งขู่เด็กๆ ให้หนีไป แต่ลูกธนูกลับหลุดมือไปถูกเด็กคนหนึ่งในกลุ่มเข้า ท่านจึงต้องหนีจากเมืองพิจิตร มาอยู่ลพบุรี พร้อมด้วยถุงใหญ่ซึ่งบรรจุ “พระเนื้อตะกั่ว” จำนวนมากติดตัวลงมาด้วย “

สมภารรูปนั้นก็คือ พระครูเมธีธรรมารมณ์ หรือ หลวงพ่อเมือง ประมาณปี พ.ศ.2444-2446 ท่านได้เดินทางจาก จ.พิจิตร ผ่านจังหวัดต่างๆ จนในที่สุดก็มาจำพรรษาที่วัดหนองมน จ.ลพบุรี ในสมัยพระอธิการแขก เป็นเจ้าอาวาส ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาพระธุดงค์รูปนี้มาก ในการสร้างอุโบสถวัดหนองมน ท่านได้นำพระที่ติดตัวมาออกแจกจ่ายเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ญาติโยมผู้มีศรัทธาร่วมกำลังกายและกำลังทรัพย์จนอุโบสถแล้วเสร็จสมบูรณ์

ส่วนพระที่เหลือได้ก่อ “พระเจดีย์” ด้านหน้าและด้านหลังอุโบสถเพื่อบรรจุไว้ ต่อมาได้มีการเปิดกรุพระเจดีย์เพื่อนำ “พระรอด หนองมน” ออกมาแจกจ่ายแก่ผู้ร่วมบุญร่วมกุศลกับทางวัดอีกหลายครั้งหลายครา

พระรอดหนองมน จะมีเพียงเนื้อตะกั่ว สนิมแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น พุทธลักษณะพิมพ์ทรงเป็นรูปสามเหลี่ยมชะลูดมุมมน แต่การสร้างไม่ค่อยประณีตนัก ทำให้มีเนื้อส่วนเกินยื่นออกมาอย่างไม่สม่ำเสมอเหมือนกันทุกองค์ องค์พระกะทัดรัดพองาม ความกว้างประมาณ 1.2 ซ.ม. และสูงประมาณ 2.2 ซ.ม.

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร เหนืออาสนะ ฐานหมอนชั้นเดียวค่อนข้างหนา กรอบโดย รอบเป็นร่องคล้ายเส้นซุ้ม แต่ไม่เด่นชัดนัก ลักษณะการสร้างแบบง่ายๆ ไม่มีลวดลายหรือรายละเอียดอื่นประกอบ พิมพ์ด้านหลังส่วนใหญ่จะเรียบตัน มีบ้างบางองค์ที่เป็นแอ่งเว้า แต่จำนวนน้อยมาก สามารถแบ่งแยกพิมพ์ได้เป็น พิมพ์ใหญ่, พิมพ์กลางหรือพิมพ์ต้อ และพิมพ์เล็ก

ส่วนพิมพ์อื่นๆ พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น พิมพ์พระร่วงนั่ง พิมพ์หลวงพ่อโตหรือหลวงพ่อโป้ และพิมพ์เม็ดน้อยหน่า เป็นต้น

ด้วยความที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ “พระรอดหนองมน” มีสนนราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพระพิมพ์ในรุ่นเดียวกัน การทำเทียมเลียนแบบจึงมีสูง เช่นกัน ต้องพิจารณาให้ดี พระที่มีอายุเก่าแก่นับ 100 ปีนั้น นอกจากการพิจารณาพิมพ์ทรงแล้ว ต้องพิจารณาถึง “ความเก่าของเนื้อขององค์พระ” นั่นคือ คราบสนิมแดงและสนิมไข หรือบางองค์อาจมีพรายปรอท อันเกิดจากเนื้อขององค์พระที่สร้างโดยตะกั่วเกิดปฏิกิริยากับอากาศโดยรอบในกรุ ซึ่งนับเป็นหลักการพิจารณาพระแท้-พระเก๊ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเนื้อขององค์พระและพิมพ์ทรงนั้นปลอมแปลงกันได้ง่าย

แต่ความเก่าไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ครับผม

คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กันยายน 2560 13:38:53 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 2 [3] 4 5 ... 10   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.197 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 20 มีนาคม 2567 08:08:51