[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 23:00:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 2 3 [4] 5 6 ... 10   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเครื่อง  (อ่าน 237870 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #60 เมื่อ: 12 กันยายน 2560 13:54:13 »


รูปพระกริ่งบางเก็งรุ่น 1 (พระกริ่งหลักชัย) ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งเป็นพระเครื่องที่ผมไม่ค่อยมีความรู้ เนื่องจากในสมัยแรกๆ ที่เริ่มศึกษานั้นก็ไม่ได้ศึกษาเรื่องราวของพระกริ่งเท่าไรนัก พระกริ่งที่สนใจและได้ยินคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังก็สนใจแค่พระกริ่งตั๊กแตน พระกริ่งคลองตะเคียน ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันมากๆ แต่พระกริ่งที่เป็นเนื้อโลหะ คือตั๊กแตนนั้นหายากมากๆ เคยลองหาเช่าก็โดนของเก๊มาซะบอบช้ำพอสมควร กว่าจะได้ของแท้ก็เริ่มมีครอบครัวแล้ว จึงได้สมใจครับ

พระกริ่งอีกอย่างที่ผมติดใจก็คือ พระกริ่งบางเก็ง ของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ เนื่องจากเพื่อนของผมคนหนึ่ง คุณพ่อของเขามีพระเครื่องแท้ๆ อยู่มาก แต่เจ้าเพื่อนของผมที่เป็นลูกชายคนเดียวกลับไม่สนใจพระเครื่อง สนใจแต่เรื่องม้าแข่ง ชอบเป็นชีวิตจิตใจ ต้องไปสนามม้าทุกอาทิตย์ มีอยู่วันหนึ่งเพื่อนผมคนนี้ก็มาหาผม บอกว่าจะเอาพระกริ่งไปขายหาที่ซื้อให้หน่อย ผมก็รู้ทันทีว่าเจ้านี่จะเอาเงินไปแทงม้าอีกแล้ว เขาบอกว่าได้ทีเด็ดมา เที่ยวนี้รวยแน่ๆ ผมรู้อยู่แล้วเพราะเขาเอาพระมาให้ขายหลายครั้งแล้ว ผมก็ขอดูเห็นเป็นพระกริ่งบางเก็งรุ่น 3 ของท่านเจ้าคุณศรีฯ

ซึ่งพระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่งที่แต่งสวยทุกองค์ องค์พระอยู่ในสภาพสวยไม่ได้ใช้มีโค้ดและจารที่ใต้ฐาน ผมเห็นก็อยากได้มาก จึงถามว่าจะเอาเท่าไหร่ เขาว่าจะเอาพันห้า ผมก็ต่อว่า 800 ได้ไหม เนื่องจากผมมีตังเท่านั้น ในสมัยนั้นผมยังเรียนอยู่ไม่ค่อยมีตังค์แต่ก็เทหมดตัวเลย แต่เพื่อนผมมันไม่ยอมบอกว่าจะรีบเอาไปสนามม้า ผมเองจนใจจึงต้องพาเจ้าเพื่อนคนนี้ไปที่สนามพระเพื่อนำไปขายให้เซียน พอไปถึงสนามผมก็ทำตัวเป็นผู้จัดการให้เพื่อน เซียนคนแรกต่อเหลือ 800 เท่ากับผม เป็นอันว่าไม่ตกลง คนที่สองต่อ 1,200 ผมก็ยื้อไปถึง 1,500 เจ้าเพื่อนผมจึงบอกให้รีบขาย เป็นอันว่าขายได้ 1,500

หลังจากวันนั้นผมก็เสียดายพระองค์นี้มากและชอบในรูปทรงของพระกริ่งบางเก็ง ดูแล้วน่ารักดี จึงเริ่มศึกษาพระกริ่งบางเก็งของท่านเจ้าคุณศรีฯ จึงรู้ว่าพระกริ่งองค์นั้นเป็นพระกริ่งรุ่น 3 ซึ่งเป็นพระแต่งทุกองค์ และนิยมเล่นหากันมาก และศึกษาดู ก็รู้ว่าท่านเจ้าคุณศรีฯ สร้างพระกริ่งบางเก็งไว้อยู่หลายรุ่นเหมือนกัน

พระกริ่งบางเก็งของท่านเจ้าคุณศรีฯ รุ่นแรก ท่านสร้างโดยถอดพิมพ์จากพระกริ่งบางเก็งเก่ามาทำเป็นแม่พิมพ์ รุ่นแรกสร้างเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2487 จำนวน 162 องค์ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงรับเป็นประธาน และทรงเจิมหุ่นพระกริ่ง ท่านเจ้าคุณศรีฯ ตั้งชื่อพระกริ่งรุ่นนี้ว่า “พระกริ่งหลักชัย” วรรณะเนื้อในแดงออกชมพู เนื้อกลับเทาขึ้นประกายเงิน บรรจุกริ่งในตัว 2 รู มีทั้งตอกโค้ดมีไส้และไม่มีไส้ บางองค์มีเหล็กจารของท่านเจ้าคุณศรีฯ ที่ใต้ฐาน

ผมเริ่มศึกษาและขอเพื่อนที่เป็นเซียนพระกริ่งเพื่อขอดูพิมพ์และเนื้อหาของพระ และหาอยู่หลายปี เจอบ้างแต่ราคาไม่ตรงกัน ก็เก็บเงินไว้คอยจังหวะและโอกาส จนได้พระกริ่งบางเก็งรุ่น 1 สมใจ ผ่านกาลเวลามาหลายสิบปีหลังจากที่เพื่อนผมขายพระไป ราคาก็ขึ้นไปมากโข จากหลักพันกลายเป็นหลักหมื่น (ปัจจุบันอยู่ที่หลักแสน) ก็นับว่าเป็นพระกริ่งองค์แรกที่ผมเช่า ที่เจาะจงที่พระกริ่งบางเก็งก็เพราะชอบในรูปทรงขององค์พระ และมีความหลังเรื่องพระของเพื่อน อีกอย่างหนึ่งก็คือพุทธคุณของพระกริ่งซึ่งดีอยู่หลายทาง ครบเครื่อง พิธีกรรมการสร้างก็เยี่ยม

เรื่องพระกริ่งที่ได้ศึกษามาก็ทำให้รู้ว่าพระกริ่งรุ่นเก่าๆ นั้นกรรมวิธีการสร้างนั้นยากมากที่จะทำให้ถูกต้องตามตำรา พระกริ่งรุ่นเก่าๆ ในประเทศไทยที่นิยมกันมากก็ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ แต่ก็ค่อนข้างหายาก เนื่องจากสร้างแต่ละรุ่นจำนวนไม่มากนักครับ พระกริ่งในรุ่นต่อๆ มาก็เป็นที่นิยม และหายากก็มีนะครับ สนนราคาก็สูงไม่แพ้พระกริ่งรุ่นเก่าๆ เช่น พระกริ่งชินบัญชร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ พระกริ่งปรโม ของหลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ พระกริ่งเป็งย้ง หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งบางเก็งรุ่น 1 (พระกริ่งหลักชัย) ของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ จากหนังสือทำเนียบพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ของคุณมอนต์ จันทนากร มาให้ชมครับ




พระยอดอัฏฐารส พระยอดนิยมเนื้อชินเขียว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุที่มีอายุตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไปนั้น โดยส่วนใหญ่จะมีเนื้อของพระที่ทำมาจากดินเผาและทำจากเนื้อชิน เรื่องของเนื้อดินเผานั้นไม่ค่อยจะมีแยกมากสักเท่าไร แต่ถ้าเป็นเนื้อชินจะแยกออกได้หลายชนิด โดยรวมๆ ก็จะเป็นเนื้อชินเงิน ชินตะกั่วสนิมแดง และยังมีอีกส่วนหนึ่งที่เรียกกันว่าชินเขียว ซึ่งบางท่านอาจจะไม่ยอมรับพระเนื้อชินเขียว

แต่ความจริงก็มีจริงๆ ที่เป็นพระกรุพระเก่าและก็ได้รับความนิยม ซึ่งจะบอกว่าเป็นพระเนื้อชินเขียวก็ไม่มีเลยก็ไม่ได้ แต่ความนิยมจะนิยมชินเงินและชินตะกั่วสนิมแดงมากกว่า

ชิน ความหมายในพจนานุกรมที่เกี่ยวกับโลหะบอกว่า “โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุกนิยมใช้ทำพระเครื่อง” ในพระเครื่องที่เป็นพระกรุเก่า เราจะพบว่าเป็นเนื้อชินเงิน และชินตะกั่วสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ เนื้อชินเงินในสมัยก่อนก็อาจจะแยกเป็นชินหลายๆ อย่าง แต่ก็รวมเป็นชินเงินทั้งสิ้น ชินเงินเป็นโลหะผสมโดยมีตะกั่วเป็นแกนหลักผสมด้วยดีบุก สนิมก็จะออกเป็นสีดำเทา ซึ่งเป็นสีสนิมของดีบุก เมื่อผุกร่อนมากๆ ก็จะมีร่องรอยระเบิดแตกปริ

ส่วนชินตะกั่วสนิม จะเป็นสนิมไขและสนิมแดง สีอาจจะมีสีแตกต่างกันไปตามสภาพของกรุที่พบ อาจจะเป็นสีแดงส้ม สีแดงแสด สีแดงอมม่วงมากน้อยแล้วแต่สภาพกรุ

ส่วนชินเขียวนั้นมีส่วนผสมของธาตุโลหะใดบ้างผมเองก็ไม่ทราบ แต่ก็น่าจะมีตะกั่วเป็นแกนเช่นกัน และน่าจะมีส่วนผสมของโลหะอื่นๆ อีกเช่นกัน สนิมจะเป็นสนิมไข และมีสนิมดำเกาะอยู่ในส่วนลึกอยู่กับผิวพระ

สนิมไขของพระชินเนื้อเขียวแท้ๆ นั้น จะขึ้นปกคลุมหนา ลักษณะของสนิมไขจะขึ้นเป็นเม็ดกลมๆ หรือที่สมัยก่อนเรียกว่าสนิมไขแมงดาขึ้นทับซ้อนหนา มีสีขาวและขาวอมเหลือง ในส่วนลึกติดกับผิวพระจะมีสนิมสีดำขึ้นเป็นปื้น มีสนิมไขปกคลุม มองดูแล้วคล้ายมีสีอมเขียว

คนในสมัยก่อนจึงเรียกว่า “สนิมเขียว” ในส่วนของสนิมไขถ้าเป็นของเก่าของแท้นั้นสนิมไขจะขึ้นทับซ้อนจนเป็นก้อนแข็ง มองดูคล้ายสบู่กรดในสมัยก่อน สนิมไขของพระชินเขียวที่เก่านั้นแข็งมากไม่หลุดล่อนง่ายๆ ถ้าใช้ถูกสัมผัสจะเป็นมันวาวดูสวยดีเช่นกัน

พระเนื้อชินเขียวนั้นในสมัยก่อนมีคนทำปลอมมากจนไม่เป็นที่นิยมไปในที่สุด มีพวกหัวดีนำแผ่นตัวหนังสือที่ใช้ทำตัวพิมพ์ในสมัยก่อนที่ไม่ใช้แล้ว นำมาหลอมแล้วเทเป็นองค์พระพิมพ์ต่างๆ แล้วไปหมักด้วยกรรมวิธีต่างๆ จนเกิดสนิมแล้วนำมาออกขายมากมายจนไม่มีใครนิยมพระเนื้อชินเขียวไปในที่สุด

แต่ถ้าถามผมว่า พระเนื้อชินเขียวที่เป็นพระเก่านั้นมีจริงไหม ผมก็ต้องตอบตามความจริงว่ามีครับ แต่ที่เป็นที่นิยมนั้นมีน้อยมาก บางอย่างก็มีสนนราคาสูงด้วย เช่น พระร่วงทรงเกราะ พระยอดอัฏฐารส เป็นต้น ซึ่งในสมัยก่อนนั้นมีผู้นิยมกันมากเนื่องจากมีประสบการณ์ทางด้านคงกระพันสูง

ส่วนพระเนื้อชินเขียวที่ทำปลอมนั้น มีอยู่มากมายหลายพิมพ์โดยส่วนใหญ่จะทำเลียนแบบพระที่มีความนิยมมากๆ แต่สนิมไขของพระปลอมจะยังไม่เก่าพอและไม่ขึ้นทับซ้อน ความแข็งของสนิมก็ยังไม่มี ล้างออกได้ง่าย

ครับก็มีผู้ถามเกี่ยวกับพระเนื้อชินเขียวมา และในสังคมพระเครื่องเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันมากในเรื่องเนื้อชินเขียว ผมก็ตอบตามที่ผมเคยเห็นมาและเป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับว่า ของแท้นั้นมีจริงๆ ครับ แต่ที่พระส่วนใหญ่มักจะเป็นพระที่ทำปลอมเลียนแบบเสียมากกว่าครับ เรื่องพระเนื้อชินเขียวนั้นก็คงจะต้องศึกษากันต่อไปด้วยเหตุและผลว่าความจริงนั้นเป็นอย่างไร

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดอัฏฐารส ที่เป็นพระยอดนิยมเนื้อชินเขียว และมีราคาสูง หาพระแท้ๆ ยากครับ โดยนำรูปมาจากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของเมืองไทย มาให้ชมครับ


จากคอลัมน์ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์




เหรียญโมเน่ หลวงปู่ทวด สก

นับเป็นครั้งสำคัญในประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธย “สก” ประดิษฐาน ณ วัตถุมงคลหลวงพ่อทวด และนับเป็นครั้งแรกที่ “เหรียญพระคณาจารย์” ผลิตจาก โรงกษาปณ์อันดับหนึ่งของโลก โมเน่ เดอร์ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เหรียญโมเน่ หลวงปู่ทวด สก เป็นหนึ่งในหลายๆ ประเภท ของ “วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด พระนามาภิไธย สก” ของ วัดห้วยมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2544 เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้าง “หลวงปู่ทวด สก องค์ใหญ่” อาทิ พระบูชาเนื้อว่าน-เนื้อโลหะ, รูปหล่อลอยองค์, พระพิมพ์สี่เหลี่ยม-พิมพ์เตารีด ที่ได้ชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมายมาเป็นส่วนผสม โดยสร้างเป็น 4 เนื้อ คือ “เนื้อโลหะ” มี ทอง, เงิน, นวะ และสัตโลหะ “เนื้อผงพุทธคุณ” ผสมชนวนมวลสารพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม “เนื้อว่าน” ใช้ว่านแทบทุกชนิดที่มีในหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปี 2497 และเนื้อชินซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว

นอกจากนี้ ยังได้ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ตามตำรับโบราณถึง 3 วาระ คือ พิธีมังคลาภิเษกมวลสาร ณ อุโบสถวัด พระศรีรัตนศาสดาราม, พิธีพุทธาภิเษกที่อุโบสถวัดช้างให้ จ.ปัตตานี และพิธีมหามังคลาภิเษก ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตน ศาสดาราม ทำให้วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด พระนามาภิไธย สก ทุกเนื้อทุกประเภท เป็นที่นิยมและยิ่งทวีคุณค่าสูงเป็นทวีคูณตามกาลเวลา

“เหรียญโมเน่ หลวงปู่ทวด สก” เกียรติ ประวัติครั้งแรกของเหรียญคณาจารย์ที่ผลิตโดยโรงกษาปณ์อันดับหนึ่งของโลก โมเน่ เดอ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

โรงกษาปณ์ โมเน่ เดอร์ ปารีส (MONNA DE PARIS) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.864 (พ.ศ.1407) ถือเป็น โรงกษาปณ์ที่เก่าแก่มาก เป็นแหล่งรวมศิลปินด้านงานจิตรกรรม และงานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากมาย ใช้กรรมวิธีการผลิตที่มีเทคโนโลยีระดับสูง และควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนการผลิต ทำให้สามารถผลิตผลงานคุณภาพชั้นเยี่ยมออกมาเป็นเวลาช้านาน สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของทั่วโลก

ได้รับเกียรติให้เป็นผู้ผลิตเหรียญที่ระลึกและเหรียญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ ให้กับพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสมาหลายยุคหลายสมัย รวมทั้งยังได้รับเกียรติให้ผลิตเหรียญที่ระลึกในวาระสำคัญระดับชาติหลายครั้ง อาทิ เหรียญที่ระลึกโอลิมปิก เหรียญกษาปณ์ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป

สำหรับประเทศไทย โรงกษาปณ์ โมเน่ เดอร์ ปารีส ได้มีโอกาสสนองเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นครั้งแรก โดยผลิตเหรียญที่ระลึกในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ครั้งที่ 1 ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) ในนาม “เหรียญที่ระลึกเสด็จประพาสยุโรป ปี 2440” นอกจากนี้ก็มี เหรียญเสด็จกลับจากยุโรปครั้งที่ 2 ปี 2450, เหรียญรัชมงคล ปี 2450 และเหรียญรัชมังคลาภิเษก ปี 2451 เป็นต้น

สำหรับ “เหรียญหลวงปู่ทวด สก” นี้ นับเป็นการรับผลิต “เหรียญพระคณาจารย์” เป็นครั้งแรก เนื่องจากกฎเกณฑ์ในการผลิตงานของ โรงกษาปณ์ โมเน่ เดอร์ ปารีส นั้น หากเป็นบุคคลจะต้องมีความสำคัญมาก อาทิ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ หรือผู้นำระดับชาติและระดับโลกเท่านั้น

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อบรอนซ์ ทั้งแบบมีห่วงตุ้มและไม่มีห่วงตุ้ม ซึ่งจำนวนจัดสร้างแต่ละเนื้อไม่มากนัก

เป็นหนึ่งเหรียญอันทรงคุณค่าที่ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูง


คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์





พระเครื่องหลวงปู่ไข่ วัดแหลมใต้

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาของจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีผู้รู้จักแพร่หลาย มีการสร้างอยู่หลายวัด โดยพระเกจิอาจารย์หลายรูป แต่ที่คนทั่วไปยังไม่ค่อยรู้จักก็ยังมีอีกมาก

วันนี้จะขอแนะนำพระเกจิอาจารย์สายแปดริ้วที่สุดยอดแต่จะรู้กันดีในคนท้องถิ่นรุ่นเก่าๆ และพระปิดตาของท่านก็รู้กันเฉพาะในท้องถิ่น ปัจจุบันก็เริ่มหายาก แต่สนนราคายังไม่แพงครับ

พระครูสุตลงกฎ (หลวงปู่ไข่) วัดแหลมใต้ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา หลวงปู่ไข่ วัดแหลมใต้ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2400 โยมบิดาชื่อจีนติม โยมมารดาชื่ออำแดงนาก

อายุได้ 12 ปี มารดาก็เสียชีวิต หลวงปู่ไข่จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร อุทิศส่วนกุศลให้โยมมารดา โดยมีพระอุปัชฌาย์ปั้น วัดแหลมใต้เป็น พระอุปัชฌาย์บวชให้

เมื่อหลวงปู่ไข่บรรพชาแล้วก็จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ปั้นจนถึงอายุครบบวช จึงอุปสมบทที่วัดแหลมใต้ และอยู่จำพรรษาศึกษาวิปัสสนากรรมฐานอยู่กับหลวงปู่ปั้น ต่อมาหลวงปู่ปั้นซึ่งสนิทสนมกับหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จึงนำหลวงปู่ไข่ วัดแหลมใต้ ไปฝากเป็นศิษย์กับหลวงปู่จีนเพื่อศึกษาพระกรรมฐานและยังได้ออกธุดงค์กับหลวงปู่จีนด้วย

ปี พ.ศ.2443 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแหลมใต้ว่างลงชาวบ้านและคณะสงฆ์พร้อมใจกันนิมนต์ให้หลวงปู่ไข่เป็นเจ้าอาวาสวัดแหลมใต้ หลวงปู่ไข่ได้พัฒนาวัดแหลมใต้ เช่น สร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ และเสนาสนะต่างๆ จนเจริญรุ่งเรือง และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะรองแขวง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ.2448 หลวงปู่ได้รับพระราชทานผ้าไตรจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2458 หลวงปู่ได้จัดตั้งโรงเรียนนักธรรมขึ้นเป็นแห่งแรกในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม ต่อมาหลวงปู่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงและเป็นรองเจ้าคณะจังหวัด และได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสุตลงกฎ ในปี พ.ศ.2470 หลวงปู่ได้ดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนเพื่อให้ชาวบ้านได้ส่งลูกหลานเข้ามาศึกษาเล่าเรียน ชื่อโรงเรียนสุตาคาร

หลวงปู่ไข่ตรากตรำทำงานมาจนถึงปี พ.ศ.2473 ก็มรณภาพ หลวงปู่ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดแหลมใต้ เป็นแหล่งรวมความสามัคคีของชาวบ้าน และเป็นที่เคารพรักของชาวบ้านมาก

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างพระเครื่อง ซึ่งพระเครื่องของท่าน เป็นเนื้อว่าน 108 ผสมรากรักซ้อน ไม้ไก่กุก ตามแบบของหลวงปู่จีน และผสมคลุกเคล้ากับรังชันโรง สีของพระจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม บางองค์จะมีคราบขาวๆ ปรากฏบนผิวพระ บางองค์ผิวจะแตกราน อาจจะเป็นเพราะมีส่วนผสมของชันโรงน้อย

พระเครื่องของหลวงปู่ไข่วัดแหลมใต้มีอยู่หลายพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์พระปิดตาหลายๆ แบบ นอกจากนี้ยังพิมพ์แบบพระสมเด็จองค์เล็กๆ ด้วย พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย และแคล้วคลาด เป็นพระดีสนนราคายังไม่แพงอยู่ที่หลักพันเท่านั้นแต่ก็ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเครื่องของหลวงปู่ไข่ วัดแหลมใต้บางพิมพ์มาให้ชมครับ




พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เพื่อนบางคนที่รู้จักบ้างสอบถามกันมามากมายเรื่องเกี่ยวกับการแตกกรุจากที่ต่างๆ และมีการประชาสัมพันธ์ให้เช่าบูชาในโลกการสื่อสารไร้พรมแดน โดยส่วนมากก็จะเป็นพระที่อยู่ในความนิยมสูงๆ เช่น พระสมเด็จฯ โดยอ้างว่าเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง พระหลวงพ่อเงิน บางคลาน พระหลวงปู่ทวด อาจารย์ทิมสร้างเป็นเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 รุ่นเดียวกับที่วัดช้างให้บ้าง ก็ว่ากันไป ก็มีถามกันมามากมายว่าแท้หรือไม่ เช่าได้ไหม (ส่วนมากราคาถูกกว่าความนิยมมาก) อะไรประมาณนี้ครับ

พระสมเด็จวัดโน้นวัดนี้ออกข่าวว่าพบกรุพระสมเด็จฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ และทางวัดหรือทางอะไรก็ตามเปิดให้เช่าบูชา ราคาก็ไม่แพงหลักพันบ้าง หลักหมื่นบ้าง มีเรื่องราวกล่าวอ้างต่างๆ นานา เขียนกันเป็นประวัติและทำเป็นหนังสือขายเลยก็มี บางรายก็มีหนังสือรับรองว่าแท้อีกต่างหาก เพื่อนผมก็ถามว่าอย่างนี้เชื่อถือไม่ได้หรือ?

แหมเรื่องนี้ก็แล้วแต่ใครจะเชื่อนะครับ เชื่อศรัทธาก็เช่าไป แต่ถ้าถามผมผมเชื่อในหลักฐานที่ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) ซึ่งบวชอยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ตั้งแต่เป็นเณร และอยู่รับใช้ใกล้ชิดกับเจ้าประคุณ สมเด็จฯ เท่านั้นครับ ซึ่งท่านก็บอกและบันทึกไว้โดยละเอียด ว่าเริ่มสร้างในปี พ.ศ.2409 มีสร้างที่วัดระฆังฯ โดยสร้างไปเรื่อยๆ และแจกไปเรื่อยๆ สร้างบรรจุไว้ที่วัดบางขุนพรหม เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2411-2413 บรรจุเจดีย์ และสร้างบรรจุไว้ที่วัด ไชโยฯ เท่านั้น พิมพ์ก็มีอยู่หลายแม่พิมพ์ และเป็นมาตรฐานสากลนิยม มีมาตรฐานมูลค่าราคารองรับ พระสมเด็จฯ ของทั้ง 3 วัด มีสนนราคาสูงมาก ทั้งวัดระฆังฯ และกรุวัดบางขุนพรหม ถ้าสภาพไม่หัก ไม่มีซ่อมเสริมสวย ขนาดสึกๆ ก็ต้องมีหลักล้านบาทขึ้นไป เท่าที่เคยสอบถามดู ก็ต้องสองล้านขึ้นครับ ส่วนพระชำรุดหักบ้าง ก็ต้องมีหลายแสนตามสภาพ ส่วนของวัดไชโยฯ ก็ว่าตามพิมพ์ พิมพ์นิยมไม่สวย สึกๆ ก็มีหลายๆ แสนขึ้นไป ส่วนที่สวยๆ ก็หลักล้าน

ครับนี่เป็นความจริง ถ้าใครมีพระสมเด็จทั้งของวัดระฆังฯ บางขุนพรหม หรือวัดไชโย ถ้าแท้ตามมาตรฐานสากล เอามาออกตัวให้เช่าได้เลยครับ ที่ชมรมพระเครื่องมรดกไทย พันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน หรือที่ท่าพระจันทร์ เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีครับ เอามาให้ใครหรือร้านไหนก็ได้ครับ มีคนเช่าแน่นอนครับ

ทีนี้เรามาดูที่เขาว่ากรุแตกและเป็นของแท้ แต่ผิดราคากันบ้าง พิจารณาด้วยเหตุผลดูทั้งๆ ที่ยังพิจารณาเก๊แท้ไม่เป็นนะครับ ถ้าเป็นพระแท้ถูกต้องตามหลักสากลนิยม ก็รู้ๆ กันดีว่า หลักราคานั้นอยู่ที่เท่าไร แล้วทำไมไม่เอาไปให้เช่าหรือประกาศให้เช่าตามราคาล่ะครับ และมีจำนวนพระมากๆ ด้วย ได้เงินมากกว่ากันเยอะนะครับ มีด้วยหรือครับรู้ทั้งรู้ว่าราคาเท่าไร แต่อยากจะขายถูกๆ ใช้เหตุผลคิดก็ได้นะครับว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ เอาล่ะพระหลักล้านหลักหลายแสน เปิดให้เช่าแค่แสนเดียวก็ได้ถ้าเป็นพระแท้จริงๆ รับรองว่าหมดภายในสองสามวันครับ ดูๆ แล้วก็เหมือนพวกตกทองครับ คนที่เชื่อโดยไม่วิเคราะห์ด้วยเหตุและผลก่อนก็เพราะความโลภ โลภเพราะอยากได้ของดีของแพงแต่ราคาถูกเช่าไว้เผื่อมีกำไรหนึ่ง เช่าไว้ด้วยศรัทธา อยากได้ของแพงในราคาถูกหนึ่ง ก็คิดดูนะครับว่าเราจะชอบแบบไหนก็เลือกตามนั้นครับ

ผมคงไม่บอกนะครับว่าที่ไหนบ้าง เพราะมีเยอะมากมายครับที่ประชาสัมพันธ์กันอยู่ ลองเช่าหาดูแล้วนำไปขายดูตามศูนย์พระก็จะทราบความจริงเองครับ กันเหนียวก็เช่ามาสัก 2 องค์ เอาไปให้เช่าองค์นึง เดี๋ยวก็จะทราบความจริงที่พิสูจน์ได้ เองครับ

เรื่องแบบนี้เขาทำกันเป็นขบวนการครับ เป็นหมู่ๆ ร่วมกันกินร่วมกันหลอก มากมายหลากหลายครับ จะให้ใครไปปราบหรือไปยุติเรื่องแบบนี้ไม่ได้หรอกครับ ต้องหยุดได้ด้วยตัวท่านเองครับ ตัดโลภออกไปใช้เหตุผลวิเคราะห์ด้วยตัวเองก็จะตาสว่างครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ องค์สวย ซึ่งเป็นพระแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และมีมาตรฐานราคารองรับหลายล้านบาท มาให้ชมเพื่อการศึกษาครับ




พระกริ่งสวนเต่า

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีพระกริ่งเก่าอยู่แบบหนึ่งที่ประวัติความเป็นมาก็ยังไม่ค่อยชัดเจนนัก มีเพียงการสันนิษฐานคาดเดากันเท่านั้น แต่ก็มีความนิยมเล่นหากัน ก็คือพระกริ่งสวนเต่า เนื้อหาของพระดีและเก่ามีอายุ ศิลปะบนองค์พระก็สวยงาม ที่สำคัญแต่ละองค์จะไม่มีซ้ำกันเลย เป็นการปั้นหุ่นเทียนทีละองค์โดยไม่มีองค์ใดซ้ำกันเลย ที่แปลกก็คือไม่มีประวัติบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือพบบันทึกไว้ในหอจดหมายเหตุ

พระกริ่งสวนเต่า เป็นพระกริ่งที่ผู้นิยมสะสมเช่าหามาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายแล้ว แต่ประวัติความเป็นมาก็ได้แต่สันนิษฐานกันว่าเป็นพระกริ่งที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำพิธีหล่อที่บริเวณสวนเต่าในพระบรมมหาราชวัง ว่ากันไว้อย่างนั้น บางกระแสก็ว่าพระสงฆ์ที่ทำพิธีปลุกเสกก็คือหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ส่วนข้อเท็จจริงก็ต้องค้นคว้ากันต่อไปครับ เนื่องจากยังค้นไม่พบหลักฐานเอกสารอ้างอิงเป็นลายลักษณ์อักษร

พระกริ่งสวนเต่า ศิลปะขององค์พระนั้นสวยงามประณีตงดงามจนน่าเชื่อว่าเป็นฝีมือช่างหลวง ที่สำคัญจะมีเอกลักษณ์ขององค์พระที่ไม่เหมือนกันเลย ซึ่งต้องเป็นการปั้นหุ่นเทียนทีละองค์ องค์พระทุกองค์มีการแต่งหุ่นเทียนสวยงามทุกองค์ ไม่พบการแต่งตะไบ ผิวเนียนตึงทุกองค์ น่าเชื่อได้ว่าเป็นฝีมือช่างหลวง พระกริ่งสวนเต่าจะมีทั้งอุ้มบาตรลักษณะเป็นบาตรอันใหญ่และมีลวดลายตกแต่งสวยงาม บ้างถือดอกบัว บ้างถือสังข์ ส่วนพระหัตถ์จะแสดงอาการแตกต่างกันไป บางองค์สวมประคำ บางองค์ก็ไม่สวมประคำ เนื้อหาของพระกริ่งสวนเต่า เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ วรรณะออกสีนากปนทอง ผิวสีน้ำตาลเข้มอมดำ

จำนวนพระกริ่งสวนเต่าที่แท้ๆ ที่พบในสังคมพระเครื่องนั้นมีไม่มากและหายาก ส่วนพระที่เกจิอาจารย์สร้างล้อแบบในภายหลังก็มี แต่ศิลปะและเนื้อหานั้นแตกต่างกันมาก และส่วนใหญ่พระที่สร้างล้อแบบเนื้อจะออกเป็นเนื้อทองเหลืองเป็นส่วนใหญ่ เนื้อไม่จัดอย่างพระกริ่งสวนเต่าแท้ๆ และศิลปะจะไม่สวยงามอย่างพระกริ่งสวนเต่าแท้ๆ

ครับประวัติความเป็นมาของพระกริ่งสวนเต่านั้น เป็นการสันนิษฐานและบอกเล่าต่อๆ กันมาตามความเชื่อของคนรุ่นเก่า และก็เชื่อกันมาอย่างนี้ครับ ในเรื่องหลักฐานอื่นๆ คงต้องค้นคว้ากันต่อไป ในส่วนของความนิยมพระกริ่งสวนเต่านั้นผู้ที่นิยมพระกริ่งเก่าๆ ก็ให้ความนิยมสูง สนนราคาก็อยู่ที่หลักแสนครับ แต่ก็หายากครับไม่ค่อยพบเห็นกันเลย นานๆ จะได้เห็นกันสักที

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งสวนเต่ามาให้ชมกัน 2 องค์เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาครับ


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 ตุลาคม 2560 18:39:44 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #61 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2560 18:46:52 »


เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก

"หลวงพ่อโต" วัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วหล้า จนอาจกล่าวได้ว่า "ถ้าไปเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี แล้วไม่ได้ไปกราบสักการะ ถือว่าไปไม่ถึงสุพรรณบุรีทีเดียว"

การสร้างวัตถุมงคล "หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์" นั้น มีมาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งล้วนคงความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระหลวงพ่อโตเสมอมา แต่ "เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก" ที่จะกล่าวถึงนี้ นับเป็นเหรียญเก่าแก่ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เป็นเหรียญพระพุทธอันดับหนึ่งของจังหวัด ที่ปัจจุบันหาดูหาเช่าได้ยากนัก ซึ่งนอกจากวัตถุประสงค์การจัดสร้างแล้ว อาจเป็นด้วยพระเกจิผู้ปลุกเสก คือ "หลวงพ่อสอน" อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ของวัดป่าเลไลยก์ ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างมากของชาวสุพรรณบุรี

พระครูโพธาภิรัต หรือหลวงพ่อสอน เป็นชาวบ้านค่ายเก่า จ.สุพรรณบุรี อยู่เหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ไปราว 100-200 เมตร เกิดในราวปี พ.ศ.2408 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายสิน-นางนิ่ม ตอนเด็กๆ ศึกษาร่ำเรียนหนังสือไทยและอักขระขอมที่วัดประตูสาร เมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.2429 จึงอุปสมบทที่วัดประตูสาร

หลวงพ่อสอนเป็นพระภิกษุที่ใฝ่ใจในการศึกษา ท่านมีโอกาสได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อกล่ำ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ พระเกจิผู้ทรงพุทธาคม แล้วข้ามฟากมาเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดสุวรรณภูมิ และมาจำพรรษาวัดไชนาวาส (วัดชายนา) เพื่อศึกษาเพิ่มเติม ครั้นเมื่อทราบว่าหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า เป็นพระเกจิชื่อดังที่เก่งกล้าด้านวิปัสสนากรรมฐานและพระปริยัติธรรม ก็เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาจนแตกฉานอีกด้วย

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น "พระครูวินัยธร" ฐานานุกรมของพระวิบูลย์เมธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ระยะหนึ่ง ขณะนั้นวัดป่าเลไลยก์ก็เริ่มชำรุดทรุดโทรมมากอีกทั้งไม่มีพระจำพรรษา คณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่า ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้วัดป่าเลไลยก์ต้องร้างไปอย่างแน่นอน จึงมีมติแต่งตั้งให้ "พระครูสอน" ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ ในปีพ.ศ.2456 เพื่อฟื้นฟูสภาพวัดโบราณให้คงอยู่สืบไป

เมื่อเข้าปกครองดูแลวัดป่าเลไลยก์ หลวงพ่อสอนก็เริ่มพัฒนาวัดในทันที โดยสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ พระอุโบสถ และขุดบ่อน้ำ 3 บ่อ รวมทั้งเสนาสนะต่างๆ จนวัดเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ท่านยังพัฒนาด้านการศึกษา ริเริ่มการศึกษาทั้งด้านพระปริยัติธรรมและการสอนภาษาไทยขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างยิ่งของชาวสุพรรณบุรีและใกล้เคียง สมณศักดิ์สุดท้ายได้เป็น "พระครูโพธาภิรัต" ก่อนมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.2475 สิริอายุ 67 พรรษา 46

ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้พอสมควร ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางและหายากยิ่งในปัจจุบัน เช่น เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ.2461, เหรียญพระพุทธหลวงพ่อโตรุ่นแรก ปี พ.ศ.2462, เหรียญรูปเหมือนทรงอาร์ม ปี พ.ศ.2470 ฯลฯ

สำหรับเหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกนี้ มีความสำคัญคือ จัดสร้างในวาระที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โปรดเกล้าฯ ยกฐานะ "วัดป่าเลไลยก์" ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2462 ยังความปลาบปลื้มมาสู่ชาวตำบลรั้วใหญ่และชาว จ.สุพรรณบุรี ยิ่งนัก ในการนี้จึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลอง "หลวงพ่อโต" อย่างยิ่งใหญ่ โดยมีการจัดสร้าง "เหรียญหลวงพ่อโต" ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อแจกจ่ายเป็นที่ระลึก ความสำคัญประการที่สอง ก็คือสมัยนั้นเป็นสมัยที่หลวงพ่อสอน เป็นเจ้าอาวาส ดังนั้น เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกนี้ จึงได้รับปลุกเสกโดย "หลวงพ่อสอน" พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมและเป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของสาธุชนนั่นเอง

เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้า จำลองรูปหลวงพ่อโต พระประธาน ในปางป่าเลไลยก์ (ปาลิไลยก์) มีรูปช้างถวายกระบอกน้ำ ลิงถวายรวงผึ้ง ตกแต่งพื้นหลังอย่างสวยงาม ด้านหลังเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์อ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ต่อมาลงมาเป็นปีที่สร้าง "๒๔๖๒" และอักษรไทยชื่อพระประธานว่า "หลวงพ่อวัดป่าเรไร"

ปัจจุบันยังคงเป็นที่ใฝ่ฝันของนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญโดยเฉพาะชาวสุพรรณบุรีครับผม




เหรียญหล่อหลวงพ่อดำ วัดตาล

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อดำ วัดตาล อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของจังหวัดราชบุรี ซึ่งท่านได้สร้างเหรียญหล่อและเหรียญปั๊มในปี พ.ศ.2459 นับว่าเป็นเหรียญรุ่นเก่าแก่ของจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันหาดูยากแล้วครับ

หลวงพ่อดำ ท่านเกิดวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีขาล ตรงกับปี พ.ศ.2385 ที่บ้านคลองบางป่าใต้ ราชบุรี โยมบิดาชื่อ ปลิก โยมมารดาชื่อ เหม เมื่อเด็กท่านเป็นคนผิวดำ มารดาจึงเรียกท่านว่า “ดำ” ท่านเป็นคนนิสัยใจคอกล้าหาญมาแต่เด็กๆ พออายุสมควรเล่าเรียน บิดาจึงนำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอมที่สำนัก วัดตาล เนื่องจากพระอาจารย์เล็กเป็นญาติ ทางบิดาของท่าน พระอาจารย์เล็กผู้นี้เป็นครูที่ดุมาก กวดขันนักเรียนจนเป็นที่เกรงกลัวแก่เด็กๆ หลวงพ่อดำเวลาท่านท่องหนังสือแล้วกลัวว่าจะง่วงเผลอหลับท่านจะเอา ทะนานลื่นๆ มาหนุนหัวท่องหนังสือ เพราะเวลาง่วงก็จะลื่นกระทบกับกระดาน หลวงพ่อดำได้อุตสาหะเล่าเรียนด้วยความขยัน ทำให้พระอาจารย์เล็กเกิดเมตตาจิตถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ จนท่านมีความรู้แตกฉาน

พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตาล และศึกษาพระธรรมวินัยจนอายุครบบวช ก็ได้อุปสมบทที่วัดตาลนั่นเอง โดยมี พระครูอภัยมงคล (แดง) วัดจันทคาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ทอง กับ พระอาจารย์เล็ก เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “อินทสโร” บวชแล้วก็ได้อยู่ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดตาล

ต่อมาจึงได้ออกธุดงค์และไปปริวาสธุดงค์กับพระอาจารย์อ้น วัดบางจาก อัมพวา ท่านได้ออกธุดงค์ไปทั่วประเทศ ฝึกพลังจิตจนกล้าแข็ง ได้พบพระอาจารย์เก่งๆ ในป่าลึก และได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ท่านยังเสาะหาตำราเก่าๆ เอามาศึกษาฝึกฝนด้วยตัวเอง ในระหว่างที่ท่านได้ธุดงค์ไปนั้น ไปถึงไหนก็ได้ช่วยชาวบ้าน ชาววัดที่ท่านผ่านไป ก่อสร้างวัดต่างๆ ณ ที่นั้น จนท่านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป

พอพรรษาที่ 8 เจ้าอาวาสวัดตาลว่างลง ทายกทายิกาและทางคณะสงฆ์ เห็นควรนิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดตาล ซึ่งขณะนั้นวัดได้ทรุดโทรมลงไปมาก ท่านจึงรับนิมนต์ และได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ใครเห็นท่านทำอะไรก็เลื่อมใสศรัทธามาร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพราะท่านช่วยเหลือใครก็ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน ไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นกันเองแก่ทุกคน ท่านคิดจะทำอะไรก็เป็นสำเร็จได้ทุกเรื่อง

เรื่องเครื่องรางของขลัง ใครมาขอท่านก็ทำแจกให้ไป เครื่องรางของท่านโด่งดังมากมีคนมาขออยู่เป็นประจำ พออายุได้ 40 ปี ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าคณะตำบลตามลำดับ ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย คนทางหัวเมืองใกล้เคียงเช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม เรียนวิชาจากท่านเสมอ ตะกรุดมหาอุตม์ของท่านโด่งดังมาก เคยมีนายชม นักเลงโตแม่น้ำอ้อม มีฉายาว่าขุนช้าง เนื่องจากหัวล้านและมีเงินทองมาก ได้ตะกรุดไปจากท่าน เอาพกติดตัวอยู่เสมอ เคยถูกลอบยิงหลายครั้งไม่เป็นอะไร

ต่อมามีสมัครพรรคพวกมากขึ้น ก็เปิดบ่อนพนันทำตัวเป็น ผู้กว้างขวางแถบนั้น เมื่อหลวงกล้ากลางสมร มือปราบย้ายมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม หลวงกล้าก็ได้มาเตือนนายชมให้เลิกเสีย แต่นายชมถือดีว่ามีสมัครพรรคพวกมาก เลยตอบไปว่า แน่จริงก็เข้ามาจับได้เลย หลวงกล้าจึงวางแผนเข้าจับกุม

แต่ชัยภูมิบ้านของนายชมคับขันมาก มีทางเข้าแต่ทางเรือเท่านั้นหลวงกล้าฯ จึงให้ตำรวจฝังตัวอยู่ในเลนครึ่งตัวล้อมจับไว้ถึง 7 ช.ม. พวกลูกน้องนายชมก็หนีหายล้มตายไปหมดเหลือแต่นายชมเพียงคนเดียว ตำรวจได้ระดมยิงไปที่นายชมหลายนัด พอยิงไปตรงตัวก็ยิงไม่ออก ยิงไปทางอื่นลูกออก จนนายชมลูกปืนหมดจึงถูกจับได้ หลวงกล้าฯ ค้นดูในตัวมีเพียงตะกรุดของหลวงพ่อดำเพียงดอกเดียว ตอนนายชมถูกจับตัวได้นั้น พอตำรวจเผลอนายชมได้กินยาตาย ไม่ยอมให้ถูกดำเนินคดี

หลวงพ่อดำเคยออกเหรียญรูปท่านเป็นเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง รูปหัวใจ มีรูปหลวงพ่อดำนั่งเต็มองค์ ระบุปี พ.ศ.2459 ด้านหลังมีอักขระขอม “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ติ หัง จะ โต โล ทิ นัง พุท ธัง สัง มิ อินทสโร นะ ปะ ตะ กะ สะ” มีคนเข้าไปขอแจกกันมาก จนเหรียญหล่อหมด จึงได้สร้างเหรียญปั๊มหูเชื่อมเนื้อทองแดงเพิ่มเติม เพราะเหรียญหล่อไม่พอแจก

หลวงพ่อดำ ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2466 สิริอายุได้ 81 ปี เหรียญของหลวงพ่อดำมีพุทธคุณทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ปัจจุบันนับว่าหาชมได้ยากมาก เนื่องจากเป็นเหรียญที่มีอายุความเก่ามากครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อดำ วัดตาล จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยามมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ


คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์




เหรียญหลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ รุ่นแรก ปี 2487

ในปี พ.ศ.2452 ไมีการจัดทดสอบวิทยาคมและพลังจิตของพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษจากสำนักต่างๆ ทั่วประเทศ ณ บริเวณวัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม มีพระเกจิเข้าร่วมประมาณร้อยกว่ารูป งานนี้เรียกได้ว่า "พิธีชุมนุมพระเกจิชื่อดังทั่วแดนสยาม" ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มี สมเด็จพระสังฆราชฯ (เข) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

ผลปรากฏว่า 10 สุดยอดพระเกจิคณาจารย์ ผู้มีความความเข้มขลังในวิทยาคมและพลังจิตสูงสุดแห่งสยาม ยุค 2452 ประกอบด้วย หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม หลวงพ่อทอง วัดวรนาถบรรพต (เขากบ) จ.นครสวรรค์ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน (วัดบางเหี้ย) จ.สมุทรปราการ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี และ หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ จ.ชุมพร

หลวงพ่อจอน สิริจนฺโท วัดดอนรวบ จ.ชุมพร 1 ใน 10 สุดยอดพระเกจิคณาจารย์ฯ นั้น ชื่อเสียงของท่านอาจจะไม่เป็นที่คุ้นเคยของหลายๆ ท่าน แต่สำหรับสาธุชนชาวใต้แล้วไม่มีใครไม่รู้จัก "หลวงพ่อจอน" หรือ "หลวงปู่จอน" หนึ่งในพระอาจารย์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่พระองค์เคารพนับถือเป็นอย่างสูง นอกเหนือจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก และหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว

หลวงพ่อจอน เป็นชาวสุราษฎร์ธานี เกิดที่บ้านท่าจาย ต.ท่าชนะ อ.ท่าชนะ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2392 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายปลอด-นางคง เทพทอง มีพี่น้องรวม 3 คน วัยเด็กศึกษาวิชาสามัญจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดดอนชาย บรรพชาเป็นสามเณรตอนอายุได้ 18 ปี ที่ วัดดอนชาย อ.ท่าชนะ และเมื่ออายุครบ บวชปี พ.ศ.2413 จึงอุปสมบท ณ วัดดอนชาย แห่งนี้ โดยมีพระอาจารย์เทศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "สิริจนฺโท"

ตลอดชีวิตสมณเพศของท่าน มักถือธุดงค์เป็นนิจเพื่อฝึกจิตวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจะธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ครั้งละนานๆ จึงเชื่อกันว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณวิเศษสูงส่งและมีฌานสมาบัติอันแก่กล้า เพราะการออกธุดงค์ของพระเกจิ ในสมัยก่อนนั้น ถ้าไม่แน่จริงไม่มีทางผ่านพ้นเป็นแรมเดือนแรมปีอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่าท่านน่าจะได้พบเจอ และศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์หลายๆ รูป ในระหว่างการธุดงควัตร โดยไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัด

จนวันหนึ่งท่านธุดงค์มาปักกลดที่บ้านดอนรวบ ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติจึงนิมนต์ให้มาสร้างวัดดอนรวบ ระหว่างที่มาอยู่ใหม่ๆ ท่านเจอพวกลาวโซ่งอยากลองดีปล่อยของคุณไสยมา แต่ท่านก็สามารถรับไว้ได้โดยไม่ตอบโต้ จนทำให้เป็นที่ยอมรับนับถือ มีการบริจาคที่ดิน ช่วยกันสร้างกุฏิ ศาลา เป็นสำนักสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก และเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ จนเป็น "วัดดอนรวบ" ที่ปรากฏอยู่ ณ ปัจจุบันในที่สุด จึงนับเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดดอนรวบ

หลวงพ่อจอน มรณภาพในราวปี พ.ศ.2482 สิริอายุ 90 ปี 60 พรรษา ตลอดชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ ท่านไม่ได้สร้างวัตถุมงคลใดๆ เลย เพียงมุ่งเน้นสอนสั่งธรรมะให้เป็นคนดีปฏิบัติดี จะมีก็แต่เครื่องรางของขลังแจกชาวบ้านบ้างเล็กน้อย ส่วนวัตถุมงคลต่างๆ นั้น ล้วนจัดสร้างโดยบรรดาลูกศิษย์ลูกหาหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว เพื่อเป็นที่ระลึก ซึ่งปรากฏทรงพุทธคุณเป็นเลิศ เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาทั้งสิ้น โดยเฉพาะ "เหรียญหลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ รุ่นแรก ปี 2487" ที่ได้รับการปลุกเสกจากพระเกจิ ชื่อดังของชุมพรหลายรูป ซึ่งจัดสร้างน้อยมากและหายากยิ่ง  

เรียกว่าถ้าสวยสมบูรณ์ก็เป็นหลักแสนทีเดียวครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ข่าวสด





พระปรอท หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว

พระวินัยธร หรือหลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว หรือวัดชีผ้าขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี สมญา “เทพเจ้าแห่งเมืองสิงห์” หรือที่ญาติโยมมักเรียกขานด้วยความเคารพว่า “พ่อใหญ่” เพราะนอกจากท่านจะเป็นพระเกจิผู้ทรงวิทยาคุณทางด้านไสยเวทแล้ว ยังเพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม ให้ความอนุเคราะห์แก่ศิษยานุศิษย์และชาวบ้านทั่วไป โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เปรียบเสมือนบิดาของชาวบ้านแถบวัดชีปะขาวและบ้านใกล้เรือนเคียงทีเดียว

หลวงพ่อซวง นามเดิมว่า ซวง เป็นชาวสิงห์บุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2442 ที่ ต.พระงาม อ.พรหมบุรี เมื่ออายุได้ 26 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดโบสถ์ อ.ไชโย จ.อ่างทอง โดยมี หลวงพ่อเฟื่อง วัดสกุณาราม (วัดนก) อ.ไชโย พระเกจิชื่อดังผู้สร้างพระพิมพ์สมเด็จวัดนกอันลือลั่น เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “อภโย” จากนั้นได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดชีปะขาว จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส

ได้รับการถ่ายทอดวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้นและวิทยาคมต่างๆ จาก “พระอาจารย์คำ” วัดสิงห์ ต.พระงาม ศิษย์หลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้อง จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิชื่อดังในอดีต เมื่อสำเร็จแล้ว พระอาจารย์คำจึงแนะนำให้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ “หลวงพ่อแป้น” วัดเสาธงใหม่ จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้เป็นสหธรรมิก ศิษย์ของพระเกจิชื่อดังหลายรูป อาทิ พระพุฒาจารย์ (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม., หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส จ.สมุทรปราการ, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม, หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม และองค์บรมครูพระเทพโลกอุดร ฯลฯ เพื่อศึกษาวิชาอาคมต่างๆ เพิ่มเติม

จากนั้นหลวงพ่อแป้นก็แนะนำให้ไปศึกษาต่อกับหลวงพ่อฤทธิ์ วัดบ้านสวน จ.สุโขทัย สหธรรมิกที่สนิทสนมกันมาก ท่านเป็นพระเถระที่เก่งกล้าทางด้านไสยเวทเป็นอย่างสูง เป็นศิษย์สายตรงของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ธนบุรี

ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2510 สิริอายุ 69 ปี พรรษา 45 โดยก่อนมรณภาพท่านได้บอกกับคณะกรรมการวัดว่า “ถ้าต้องการให้โบสถ์หลังใหม่ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่แล้วเสร็จ อย่าเพิ่งฌาปนกิจสังขารของท่าน มิฉะนั้นโบสถ์จะสร้างไม่เสร็จ”

คณะกรรมการวัดจึงปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของท่าน โดยเก็บรักษาสังขารของท่านไว้ในหีบไม้อย่างมิดชิด ประดิษฐานไว้บนศาลาการเปรียญ เพื่อให้คณะศิษย์และชาวบ้านได้บูชากราบไหว้และร่วมทำบุญสร้างโบสถ์หลังใหม่ ปรากฏว่าหลังจากนั้นไม่นาน โบสถ์หลังใหม่ก็สร้างเสร็จตามคำประกาศิตของหลวงพ่อ

หลังจาก “หลวงพ่อซวง” มรณภาพไปแล้ว 26 ปี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2536 คณะกรรมการวัดได้เปิดหีบไม้ที่บรรจุสรีรสังขารของท่าน เพื่อทำพิธีฌาปนกิจ ปรากฏว่าสรีรสังขารไม่เน่าเปื่อยไปตามกาลเวลา เป็นที่น่าอัศจรรย์ เนื้อหนังมังสาอยู่ครบถ้วน แต่แห้งและแข็งเหมือนหิน

คณะกรรมการวัดจึงเปลี่ยนใจไม่ประกอบพิธีฌาปนกิจ และนำร่างที่ไม่เน่าเปื่อยบรรจุไว้ในโกศขนาดใหญ่ สร้างมณฑปเป็นที่ประดิษฐานไว้ภายในวัดชีปะขาว เพื่อเป็นที่บูชากราบไหว้ของคณะศิษย์และชาวบ้านทั่วไป

หลวงพ่อซวงจัดสร้างวัตถุมงคลไว้หลายประเภท ทั้งเนื้อโลหะ เนื้อผง รูปถ่าย เครื่องราง ฯลฯ แต่ละประเภทมีจำนวนสร้างน้อย จึงค่อนข้างหายาก อาทิ พระลีลาหล่อ รูปหล่อ เหรียญหล่อ พระปรอท ล็อกเกต พระผงกลีบบัว ตะกรุด แหวน ฯลฯ ซึ่งล้วนทรงพุทธคุณเป็นเลิศ เป็นที่ต้องการของนักสะสมพระเครื่องยิ่งนัก

ในบรรดาวัตถุมงคลทั้งหมดนั้น ที่ถือว่าเป็น “สุดยอด” ต้องยกให้ “พระปรอท”

จัดสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2498 ตามตำรับโบราณที่ศึกษามาและยังปลุกเสกเดี่ยวเพิ่มเติม จึงเข้มขลังด้วยพุทธคุณเหนือคำบรรยาย “พระปรอท” จะมีขนาดเล็ก ลักษณะเหมือนกลีบบัว และมีพิมพ์เดียวเท่านั้น ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปในท่านั่งสมาธิเต็มองค์ เหนืออาสนะบัวคว่ำบัวหงาย ด้านหลังเรียบ ไม่มีอักขระใดๆ ประการสำคัญคือ จำนวนสร้างประมาณ 200 องค์เท่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่กับผู้ที่คุ้นเคย ญาติโยมในละแวกวัดในกิจนิมนต์ต่างๆ

ปัจจุบันถือเป็นสุดยอดวัตถุมงคลหลวงพ่อซวงที่หายากยิ่งครับผม




พระกลีบบัวอรหังรุ่นแรก ที่ทันหลวงปู่ไข่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) ผู้นิยมพระเครื่องต่างก็รู้จักกันดี พระเครื่องของท่านที่สร้างไว้ล้วนเป็นที่ปรารถนาของผู้นิยมพระเครื่องมาก เช่น พระปิดตา และเหรียญของท่าน ซึ่งหายากมากในปัจจุบันและมีสนนราคาสูงมากๆ ครับ แต่ก็มีพระเครื่องของท่านที่สร้างไว้ก่อนมรณภาพ และมีจำนวนพอสมควร สนนราคาก็ไม่สูงนัก เนื่องจากยังไม่ค่อยมีคนทราบกันมากนักว่าเป็นพระเครื่องที่ท่านสร้างและทันท่าน

หลวงปู่ไข่ เกิดที่ ต.ท่าไข่ จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ.2400 ได้บวชเณรที่วัดแหลมใต้ และต่อมาได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดโสธรฯ และได้ย้ายมาจำพรรษาที่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ต่อและได้เข้ามาศึกษาต่อที่วัดในกทม. และมาจำพรรษาอยู่ที่ จ.สมุทรสงคราม

จนกระทั่งอายุครบบวช จึงอุปสมบทที่วัดลัดด่าน จ.สมุทรสงคราม หลวงปู่ไข่ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและธุดงค์ไปหลายจังหวัด จนกระทั่งกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลน กทม. เนื่องจากในสมัยนั้นท่านเห็นว่าวัดเชิงเลนเป็นวัดที่เงียบสงบดีเหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

เมื่อท่านได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดเชิงเลนแล้วท่านก็ได้สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาสช่วยเหลืออนุเคราะห์แก่ประชาชนโดยทั่วไป และท่านได้พัฒนาวัด เช่นสร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมแซมพระพุทธรูปที่ชำรุด สร้างกุฏิ สร้างถนน สร้างสระน้ำ ถังรับน้ำฝน เป็นต้น หลวงปู่ไข่มีเมตตาธรรมสูง เป็นที่รักเคารพของประชาชนในแถบนั้นมาก

ลูกศิษย์ได้ขอให้ท่านสร้างพระไว้บูชาคุ้มครองป้องกันตัว ท่านจึงได้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักตามตำรับของพระปิดตาทางสายตะวันออกขึ้น ซึ่งปัจจุบันหายากมาก และมีสนนราคาสูงมาก ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2470 ลูกศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงปู่ไข่จัดสร้างเหรียญที่ระลึกและแจกในงานทำบุญอายุของหลวงปู่ ซึ่งก็เป็นที่นิยมและหายากที่สุดของเหรียญพระเกจิอาจารย์และมีราคาสูงมากๆ ครับ

นอกจากวัตถุมงคลที่เป็นพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและเหรียญแล้ว พระเครื่องเนื้อดินเผาเคลือบที่เรียกกันว่า พระกลีบบัวอรหัง ซึ่งทางวัดเชิงเลนและลูกศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้น และขออนุญาตหลวงปู่ไข่ในการสร้างครั้งนี้ ในการสร้างนั้นได้จัดสร้างจำนวนมากเพื่อให้พอแจกจ่ายแก่ผู้ที่เคารพศรัทธาในตัวหลวงปู่ พระกลีบบัวอรหังในปัจจุบันยังพอได้ สนนราคาหลักหมื่นต้นๆ ซึ่งย่อมเยากว่าพระเครื่องอื่นๆ ของท่านมาก เนื่องจากในสมัยก่อนมีจำนวนมากหาได้ไม่ยากนัก และไม่ค่อยมีใครรู้จักกันแพร่หลายนัก นอกจากนี้หลังจากหลวงปู่มรณภาพแล้ว ทางวัดยังมีการสร้างขึ้นอีกครั้ง รูปลักษณ์คล้ายๆ กันแต่ก็เป็นคนละแม่พิมพ์กันโดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ การเช่าหาสะสมจึงสับสนกันไปบ้างในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันแยกแยะกันได้ด้วยตัวแม่พิมพ์ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกลีบบัวอรหังรุ่นแรกที่ทันหลวงปู่ไข่มาให้ชม เรียกได้ว่าเป็นของดีราคาไม่สูงมากครับ


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”
หนังสือพิมพ์ข่าวสด




พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อชินเงิน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เป็นพระกรุที่เคยโด่งดังในอดีตของจังหวัดลพบุรี เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่ในสมัยนี้จึงไม่ค่อยมีใครนำมาห้อยคอ แต่พุทธศิลปะและพุทธคุณที่เคยมีประสบการณ์มาในอดีตนั้นยอดเยี่ยมครับ

วัดไก่เป็นโบราณสถานเก่าแก่ของลพบุรี ปัจจุบันเป็นวัดร้าง อยู่ที่หมู่ 5 ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี หลักฐานสิ่งก่อสร้างแทบไม่เหลืออะไรอยู่เลย นอกจากฐานองค์พระเจดีย์ก่อด้วยอิฐกับร่องรอยการขุดหาสมบัติกระจัดกระจายไปทั่ว

น่าเสียดายที่ไม่มีหลักฐานอะไรเหลือเท่าไรนัก จึงไม่สามารถหาข้อมูลได้ว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด จากสิ่งที่เหลืออยู่ก็พอสันนิษฐานว่าเป็นวัดที่มีการสร้างหรือบูรณะในสมัยพระราเมศวร (พ.ศ.1893-1912) ที่ฐานองค์พระเจดีย์ในสมัยก่อนยังคงมีลายปูนปั้นเป็นรูปไก่หลงเหลืออยู่ ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดไก่”

ในประมาณปี พ.ศ.2489-2491 ได้มีการลักลอบขุดกรุที่องค์พระเจดีย์ ก็พบพระเครื่องมีทั้ง พระเนื้อชินเงิน พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง และพระเนื้อดินเผา มีอยู่หลายพิมพ์ ซึ่งพระส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ฐานเป็นกลีบบัวอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว องค์พระมีทั้งทรงเครื่องและแบบผมเวียน เท่าที่สังเกตดู ศิลปะของพระมีอยู่หลายยุค ทั้งแบบอู่ทองสุวรรณภูมิ (อู่ทอง 1) และศิลปะแบบอยุธยายุคต้น ในความเห็นส่วนตัวผมสันนิษฐานว่าน่าจะมีการบูรณะซ่อมแซมต่อมาหลายยุค และได้สร้างพระบรรจุไว้ พระเครื่องที่พบจึงมีศิลปะอยู่หลายยุค

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจะเป็นพระเนื้อชินเงิน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ซึ่งมีพุทธศิลปะอู่ทองสุวรรณภูมิ แบบเขมรผมเวียน ศิลปะขององค์พระ พระเกศทำเป็นแบบฝาละมี เกศาเป็นเส้นวนรอบพระเศียร มีไรพระศกเป็นเส้นนูน สังฆาฏิเป็นปื้นใหญ่หนาปลายตัดตรง มีเส้นขอบสบงชัดเจนที่บั้นพระองค์ ซึ่งเป็นศิลปะแบบอู่ทองสุวรรณภูมิ พระยอดขุนพลพิมพ์นี้จึง น่าจะเป็นพระที่สร้างในยุคอู่ทองสุวรรณภูมิก่อนกรุงศรีอยุธยา

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ มีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ในสมัยก่อนชายชาตรีจะนิยมกันมาก องค์พระมีขนาดเขื่อง ความกว้างประมาณ 4.5 ซ.ม. สูงประมาณ 6.5 ซ.ม. เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่ ปัจจุบันจึงไม่ค่อยมีผู้นำมาห้อยคอกันแล้ว ก็เลยไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ หาพระแท้ๆ ยากในปัจจุบัน สนนราคาก็สูง กลายเป็นพระเครื่องในตำนานไปในที่สุดครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เนื้อชินเงิน จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ตุลาคม 2560 06:45:48 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #62 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2560 07:16:31 »





พระครูศาสนกิจโสภณ (หลวงพ่อสำอางค์)

เป็นที่ทราบกันดีว่า ทางภาคตะวันออกของไทยเรานั้น มีพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมเข้มขลังมากมายที่เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศมาตั้งแต่อดีตสืบถึงปัจจุบัน จะสังเกตได้ว่าพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลสำคัญๆ มักมีชื่อยอดพระเกจิจากภาคตะวันออกปรากฏในรายนามพระเกจิผู้ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกอยู่เสมอ หนึ่งในนั้นก็คือพระครูศาสนกิจโสภณ หรือ หลวงพ่อสำอางค์ ที่ชาวบ้านจะรู้จักมักคุ้นในนาม “หลวงพ่อเตี้ย” แห่งวัดเขาสมิง จ.ตราด

หลวงพ่อสำอางค์ชอบความเป็นอยู่แบบสมถะ มักจำพรรษาอยู่ในวัดอย่างเงียบสงบ ทำโน่นทำนี่สร้างโน่นสร้างนี่ด้วยตัวท่านเอง ไม่ว่าจะเป็นป้ายวัด ศาลา ต้นไม้ต้นไร่ ฯลฯ

ดังนั้น เวลาท่านดำริจะสร้างสิ่งใด แต่ยังมิทันได้บอกบุญ ก็มีผู้มาร่วมบุญจนงานต่างๆ ลุล่วงไปอย่างง่ายดายเป็นที่อัศจรรย์ ท่านมักกล่าวกับลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมเสมอว่า “วัดเขาสมิงนี้ เป็นวัดที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เยอะมาก พระรูปไหนที่ไม่ดีจะอยู่ไม่ได้ มีศาลเจ้าพ่อเสือสมิงให้กราบไหว้ ผู้ที่เข้ามาภายในบริเวณวัดจึงต้องเป็นผู้ที่คิดดีปฏิบัติดีเท่านั้น” ผู้ที่ต้องการสร้างกุศลหรือสร้างวัตถุมงคลเพื่อการกุศล จึงนิยมมาหาท่านที่วัด ขอให้ท่านเมตตาปลุกเสกเดี่ยว ณ ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์นี้ เพื่อสร้างความเข้มขลังแก่วัตถุมงคลเพิ่มมากขึ้น

ยอดวัตถุมงคลของหลวงพ่อ สำอางค์ ที่เป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางนั้น จะเป็น “เสือแกะไม้ขนุน” และ “เทียนสะเดาะเคราะห์ 3 กษัตริย์” ที่สร้างอิทธิปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏแก่ผู้ครอบครอง ทั้งปกป้องคุ้มภัย กลับร้ายกลายดี เมตตามหานิยม ค้าขาย จนเมื่อไหร่ที่ท่านสร้างออกมาก็จะหมดในเวลาอันรวดเร็วทุกครั้ง

หลวงพ่อสำอางค์ได้กล่าวถึง “เสือแกะไม้ขนุน” ว่า …ท่านมีชื่อว่า “ปู่สมิงมนต์” มีฤทธิ์มาก แต่ก่อนวัดเขาสมิงนี้เป็นป่าทึบ มีแต่สัตว์ป่ามากมาย มีเสือโคร่ง เสือต่างๆ

ที่สำคัญคือ มีเสือสมิงที่ดุร้ายที่สุด เขาจำแลงแปลงกายได้ ทำร้ายผู้คนบาดเจ็บและถึงตายเลยทีเดียว มีพระภิกษุสงฆ์ผ่านไปมาปักกลดที่แถวบริเวณวัดเขาสมิง อยู่ได้ไม่นานก็ต้องรีบออกจากที่นั่น เพราะต้องประสบพบเจอแทบเอาชีวิตไม่รอด จนเป็นที่รู้กันว่าบริเวณเขาสมิงนี้มีเสือสมิงที่ดุร้ายน่ากลัวมาก

แต่เมื่อท่านมาปักกลดจำพรรษาที่วัดเขาสมิงนี้ ท่านได้นั่งสมาธิกรรมฐานเข้าฌานติดต่อสื่อสารกับเสือสมิง และยังได้พบกับเสือสมิงกันแบบจะจะกันมาแล้ว โดยไม่มีอันตรายแต่ประการใด

จากการสอบถามจึงได้รู้ว่าเสือสมิงนี้มีชื่อว่า “ปู่สมิงมนต์” ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ท่านก็ยังสามารถติดต่อกับปู่สมิงมนต์ได้ด้วยการเข้าฌานสมาธิอยู่เสมอๆ ส่วน “เทียนสะเดาะเคราะห์ 3 กษัตริย์ หรือ เทียน 3 สี” นั้น สีขาว คือ สะเดาะเคราะห์ สีเหลือง สืบชะตา และสีแดง รับโชค เมื่อปฏิบัติตามใบบอกที่แนบไปด้วยอย่างถูกต้องทุกประการ ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ …

แต่ถ้าถาม หลวงพ่อสำอางค์ ท่านกลับกล่าวถึงการสร้าง “พระใหญ่ วัดโรงถ่าน” กลางทะเลในเกาะช้าง จ.ตราด ดำริว่าอยากร่วมบุญและจะถวายพระพุทธรูปปางขอฝน 1 องค์ และเทวรูปพระนางมณีเมขลา 1 องค์ เพื่อประดิษฐานไว้ในศาลเจ้าแม่ทับทิมเกาะช้าง ตามนิมิตที่องค์กิมบ้อเนี้ยได้เสด็จมาแนะนำ คณะลูกศิษย์จึงขออนุญาตนำวัตถุมงคลของท่านที่มีอยู่ มามอบแก่ผู้มีจิตศรัทธา ประกอบด้วย ล็อกเกตองค์กิมบ้อเนี้ย เสือแกะไม้ขนุน เทียนสะเดาะเคราะห์ 3 กษัตริย์ และเหรียญหลวงปู่เภาเจ๋งโจวซือ (พระอาจารย์เทพเจ้ากวนอู) เพื่อนำรายได้ร่วมสร้างกุศลตามที่ท่านดำริ ซึ่งถือเป็นโชคดีของลูกศิษย์ลูกหาและผู้ศรัทธาที่อยู่ห่างไกล ที่จะได้มีโอกาสเช่าบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มากด้วยพุทธานุภาพ

ซึ่งไม่ใช่จะหาได้ง่ายๆ ครับผม




พระคง และพระบาง ลำพูน

“พระคง” และ “พระบาง” เป็นพระสกุล สำพูนที่เก่าแก่และเป็นพระยอดนิยมแห่งล้านนา ตามตำนานกล่าวว่า สร้างโดยฤๅษีวาสุเทพเช่นเดียวกันกับ “พระรอด” มีอายุการสร้างในราว 1,200 ปีมาแล้ว ลักษณะศิลปะเป็นแบบช่างหลวงหริภุญชัย เป็นพระเนื้อดินเผาที่ปรากฏให้เห็นเม็ดแร่ เนื้อแข็งแกร่งมาก จำแนกพิมพ์ตามสีของวรรณะเช่นเดียวกับพระเนื้อดินเผาโดยทั่วไป

“พระคง” พบที่วัดพระคงฤๅษีเป็นวัดแรก จึงขนานนามพระสกุลลำพูนนี้ว่า พระคง พุทธลักษณะพระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชรอยู่บนฐานรัตนบัลลังก์ กับประกอบด้วยบัวลูกแก้วจำนวน 18 จุด (บน 9 ล่าง 9) มีใบโพธิ์ทั้งสิ้น 20 ใบ มีทั้งชูก้านพลิ้วสลวย เนื้อพระเป็นเนื้อดินเผาละเอียด บางองค์มีแร่ดอกมะขาม องค์พระจะมีสีอ่อนแต่ไม่เหมือนกัน อาทิ สีพิกุล สีขาว สีเขียว สีหม้อใหม่ ฯลฯ

สำหรับเรื่องพุทธคุณ กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ปรากฏพุทธคุณเป็นเลิศด้านป้องกันภยันตรายนานัปการ รวมทั้งเสน่ห์ทางเมตตามหานิยมสูง เช่นเดียวกับพระรอด

“พระบาง” หนึ่งในพระสกุลลำพูนที่นับว่ามีชื่อเสียงโด่งดังในภาคเหนือเช่นกัน เป็นพระที่นับว่ามีความคล้ายคลึงกับ “พระคง” มากๆ พระบาง มีการค้นพบทั้งหมด 3 กรุ คือ กรุวัดพระคง กรุวัดดอนแก้ว และกรุวัดบ้านครูขาว ซึ่งแต่ละกรุก็จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันดังนี้

พระบาง กรุวัดพระคง เนื้อหามวลสารเหมือนกับพระคงมาก ทั้งขนาดและสีขององค์พระ ถ้าไม่สังเกตพุทธลักษณะที่แตกต่าง แต่มีจำนวนน้อยมาก เรียกได้ว่าพระคง 100 องค์จะมีพระบางติดมาเพียง 1 องค์เท่านั้น

พระบาง กรุวัดดอนแก้ว นับว่าเป็นพระบางที่มีเนื้อละเอียดที่สุดในพระบางทุกกรุ ถ้าสังเกตความแตกต่างจะเห็นว่า พระพักตร์เป็นผลมะตูม พระนลาฏกว้าง ที่สำคัญขนาดขององค์พระค่อนข้างสูงกว่าปกติและแคบกว่าพระบางกรุอื่น องค์พระค่อนข้างบางอย่างเห็นได้ชัด และขอบพระจะเรียบสม่ำเสมอ ผิดกับพระพิมพ์อื่นๆ ทั่วไปที่สร้างในสมัยเดียวกันซึ่งจะเน้นความสวยงามเพียงพิมพ์ด้านหน้าเท่านั้น

พระบาง กรุวัดบ้านครูขาว เป็นกรุที่มีความ แตกต่างที่เด่นชัดที่สุดง่ายต่อการพิจารณา นั่นคือเนื้อขององค์พระจะมี 2 เนื้อ คือ เนื้อดินปนกรวดและเนื้อดินหยาบ ซึ่งไม่มีในกรุวัดพระคงและกรุวัดดอนแก้วเลย สำหรับพุทธลักษณะนั้นจะค่อนข้างเหมือนกับพระบาง กรุวัดดอนแก้วมาก

ด้านพุทธคุณ ความจริงแล้ว “พระบาง” ก็จะมีพุทธคุณเช่นเดียวกับพระรอดและพระคง แต่ด้วยความแตกต่างทางพุทธลักษณะที่ลงความเห็นกันว่าเหมาะกับอิสตรี จึงเน้นไปทางมหาเสน่ห์และเมตตามหานิยมเป็นสำคัญ

พระคงกับพระบาง ที่ว่ามีความละม้ายคล้าย คลึงกันมาก ทั้งขนาด เนื้อหามวลสาร และพุทธลักษณะองค์พระ ทำให้แยกออกได้ยากมากนั้น ก็ยังมีจุดแตกต่างเพื่อพิจารณาแยกแยะว่าองค์ไหนคือ “พระคง” องค์ไหน คือ “พระบาง” ดังนี้

– องค์พระประธานของ “พระบาง” จะมีความอ่อนช้อยกว่า พระวรกายโปร่งและบอบบางกว่า พระพักตร์จะยาวเป็นรูปไข่มากกว่า พระอุระสูง

– การวางแขนและหักศอกของ “พระบาง” จะลักษณะดูอ่อนช้อยกว่า

– ก้านโพธิ์และใบโพธิ์ของ “พระคง” จะ คม ชัด และลึกกว่า “พระบาง”

จากลักษณะความแตกต่างดังกล่าว ทำให้สันนิษฐานกันว่า “พระคง” นั้นสร้างมาเพื่อบุรุษ ส่วน “พระบาง” จะสร้างสำหรับอิสตรีตามที่กล่าวไปแล้วนั้น

อย่างไรก็ตาม “พระคงและพระบาง” นับเป็นพระเก่าแก่ที่น่าแสวงหาไว้สะสมมาก สนนราคาเช่าหาถึงแม้จะถือว่าสูงมากแต่ก็ยังพอสู้ไหวอยู่ ก็ขึ้นกับความสมบูรณ์สวยงามขององค์พระ ประการสำคัญคือพระกรุเก่าอันลือชื่อเช่นนี้ย่อมต้องมีของเทียมเลียนแบบค่อนข้างมาก

การจะเลือกดูของแท้จึงต้องพิจารณากันให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจครับผม






เหรียญหลวงปู่ห้วย วัดประชารังสรรค์

"เหรียญฉลองสิริอายุวัฒนมงคล ครบ 90 ปี นับเป็นเหรียญเด่นยุคใหม่ของเมืองศรีสะเกษ ด้วยเป็นเหรียญที่ระลึก ในโอกาสที่ "หลวงปู่ห้วย เขมจารี" พระเกจิชาวเมืองศรีสะเกษ มีสิริอายุครบ 90 ปี"

พระราชญาณโสภณ หรือ หลวงปู่ห้วย เจ้าอาวาสวัดประชารังสรรค์ อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ มีวัตรปฏิบัติงดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นพระนักพัฒนา เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวศรีสะเกษและใกล้เคียง

เดิมชื่อ จรัส ศรีสุข เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2470 ที่บ้านเมืองจันทร์ อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ พออายุ 17 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดหลวงสุมังคลาราม ต.เมืองใต้ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ศึกษาพระธรรมวินัยจนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี

เมื่ออายุครบ 21 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดหลวงสุมังคลารามนี้ โดยมีพระครูสิริสารคุณ (ศรี ฐิตธมฺโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาธวัช วิมโล เป็นพระกรรมวาจารย์ พระมหาหน่วย ขันติโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "เขมจารี"

ในปี พ.ศ.2498 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดประชารังสรรค์ อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ นำญาติโยมพัฒนาวัดจากเดิมที่เป็นเพียงสำนักสงฆ์ให้เป็นวัดที่มีความสมบูรณ์ ใช้ปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสงฆ์และญาติโยมได้อย่างเต็มที่ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างสูง ชาวบ้านห้วยทับทันจึงเรียกขานท่านว่า "หลวงพ่อห้วย" เพราะท่านเปรียบเสมือน "พ่อ" ผู้สร้างอำเภอห้วยทับทันให้เจริญรุ่งเรือง

หลวงปู่ห้วย ยังสร้างเสริมพระศาสนาและสาธารณประโยชน์มากมายต่อชุมชนและสังคมมาโดยตลอดจนได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอฝ่ายธรรมยุต

ปี พ.ศ.2539 และจากปฏิปทาที่สมถะและผลงานทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอันหลากหลาย จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงขึ้นมาโดยลำดับ ในที่สุดได้รับแต่งตั้งเป็น "เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต)" จนอายุครบ 80 ปีบริบูรณ์ แต่ยังมีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิมต่อไปอีก 3 ปี

ณ ปัจจุบัน หลวงปู่ห้วย อายุครบ 90 ปี ดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระราชญาณโสภณ (สป.วิ.) (จรัส เขมจารี) ป.ธ.3 น.ธ.เอก เจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลาราม ด้วยเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนอย่างกว้างขวาง ศิษยานุศิษย์จึงขออนุญาตจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสอายุครบ 90 ปี ในชื่อรุ่น "ฉลองสิริอายุวัฒนมงคล ครบ 90 ปี"

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2560 ณ วิหารวัดประชารังสรรค์ โดยมีพระราชญาณโสภณ (หลวงปู่ห้วย) เป็นประธานจุดเทียนชัยและนั่งปรกอธิษฐานจิตพร้อมพระเกจิผู้ทรงคุณแห่งภาคอีสานหลายรูป จากนั้นนำมาเก็บไว้ที่กุฏิ "หลวงปู่ห้วย" เพื่อให้ท่านปลุกเสกอธิษฐานจิตเดี่ยวตลอดพรรษา 3 เดือน ซึ่งบัดนี้แล้วเสร็จโดยสมบูรณ์

เหรียญรุ่นฉลองสิริ อายุวัฒนมงคล ครบ 90 ปี หลวงปู่ห้วย วัดประชารังสรรค์ ประกอบด้วย พระชุดทองคำ จัดสร้าง 20 ชุด มี เหรียญเนื้อทองคำ/ เนื้อนาก/ เนื้อเงินลงยาสีเหลือง/ เนื้อนวะ/ เนื้ออัลปาก้า, เหรียญนวโลหะ, เหรียญอัลปาก้า และเหรียญลงยา 5 สี ซึ่งเมื่อบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพศรัทธาได้ทราบข่าวก็ต่างสั่งจองกันเนืองแน่นจนพระชุดทองคำหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว  


จากคอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด




เหรียญท่านเจ้าคุณเฒ่า

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดชลบุรีถ้าเรากล่าวถึงท่านเจ้าคุณเฒ่า ก็จะหมายถึงท่านเจ้าคุณพระชลโธปมคุณมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย ซึ่งมีเหรียญรูปท่านอยู่เหรียญหนึ่ง เป็นเหรียญเก่าแก่มาก แต่มิได้ระบุปี พ.ศ.ไว้ว่าสร้างในปี พ.ศ.ใด วันนี้เราจะพูดคุยกันถึงเรื่องราวและประวัติของท่านโดยสังเขปครับ

ประวัติของท่านเจ้าคุณเฒ่านั้นสืบค้นมาได้ไม่มากนัก เท่าที่สืบค้นได้ก็คือพระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุญญกเถร) ท่านเกิดวันพุธ เดือน 6 แรม 11 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ.2361 เมื่ออายุได้ 13 ปี ได้บวชเป็นเณรอยู่ที่วัดประยุรวงศ์ อยู่ 8 ปีต่อมา จึงได้อุปสมบทอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ 8 ปี

จึงได้ลาสิกขาออกมารับราชการเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้รับตำแหน่งเป็น “ขุนสาครวิสัย” ในกรมมหาดเล็ก ต่อมาในตอนหลังเมื่อปัจฉิมวัยได้ออกจากราชการและมาบวชอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาได้ลงเรือมาขึ้นที่หาดทรายหน้าวัดเขาบางทราย ได้รับช่วงภารกิจในการสร้างวัดในบริเวณนี้ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย

วัดเขาบางทรายในช่วงที่ท่านเจ้าคุณเฒ่า มาอยู่นั้นยังเป็นป่ารก บ้านเรือนชาวบ้านแถบชุมชนหน้าวัดยังไม่มี ต่อมาในปี พ.ศ.2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสจังหวัดชลบุรี มีพระราชดำริว่าท่านเจ้าคุณเฒ่า อุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มามาก และเป็นข้าหลวงเดิม จึงทรงแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่ “พระชลโธปมคุณมุนี”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เมื่อยังเยาว์ก็เคยเรียนอักษรสมัยอยู่กับท่านเจ้าคุณเฒ่า จนอายุได้ 12 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณร โดยนิมนต์ท่านเจ้าคุณเฒ่าไปบรรพชาให้ที่วัดช่องลม นาเกลือ เมื่อปีพ.ศ.2426 แล้วมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาบางทราย 3 พรรษา พออายุได้ 15 ปี ท่านเจ้าคุณเฒ่าเห็นความสามารถ จึงส่งให้เข้ามาศึกษาอยู่ในวัดราชบพิธฯ กทม.

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2435 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ท่านได้อุปสมบท ที่วัดเขาบางทราย โดยมีท่านเจ้าคุณเฒ่า เป็นพระอุปัชฌาย์

ในปี พ.ศ.2442 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ได้เสด็จนมัสการพระพุทธบาท วัดเขาบางทราย และเสด็จเยี่ยมท่านเจ้าคุณเฒ่าด้วย

ในปี พ.ศ.2447 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่นั้นก็เสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธบาทวัดเขาบางทราย และเสด็จฯ เยี่ยม

ท่านเจ้าคุณเฒ่าท่านเป็นบุคคลที่อยู่มาถึง 4 แผ่นดิน คือท่านเกิดในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และมามรณภาพในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.2449 สิริอายุได้ 89 ปี

ในหนังสือ 80 ปี ชลบุรี สุขบท ได้กล่าวไว้ว่า “เหรียญเจ้าคุณเฒ่าเป็นเหรียญที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) สร้างขึ้นเป็นเหรียญแรก เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2450 ในสมัยที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังดำรงสมณ ศักดิ์ “พระเทพกวี” มีจุดประสงค์การสร้างเหรียญเจ้าคุณเฒ่า ซึ่งเป็นรูปท่านเจ้าคุณพระชลโธปมคุณมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแจกแก่ผู้มาร่วมในงานพระราชทานเพลิงศพ”

เหรียญนี้จึงนับว่าเป็นเหรียญที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดชลบุรี และเป็นเหรียญแรกที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิษฐานจิตครับ ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปเหรียญท่านเจ้าคุณเฒ่ามาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ
ด้วยความจริงใจ...แทน  ท่าพระจันทร์



พระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้าจังหวัดราชบุรี

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า จังหวัดราชบุรี เป็นพระกรุพระเก่าของราชบุรีที่น่าสนใจมาก พระกรุของจังหวัดนี้มีอยู่หลายกรุเหมือนกันและโด่งดังมาตั้งแต่อดีต อย่างเช่นพระท่ากระดาน กรุวัดหลุมดิน พระท่ากระดาน กรุวัดใหม่หนองอีจาง เป็นต้น และพระเนื้อชินสนิมแดงที่มีขนาดเล็กคือพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับพระท่ากระดานน้อย กรุวัดท่าเสา ของกาญจนบุรี

ในสมัยที่ผมยังเป็นวัยรุ่นนั้น ผมเคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่พูดถึงพระท่ากระดาน และพูดถึงพระท่ากระดานน้อย กรุวัดท่าเสา เมืองกาญจนบุรี ก็เกิดความรู้สึกศรัทธาเชื่อมั่นและอยากได้มาก เนื่องจากได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับพระทั้ง 2 อย่างที่เป็นเนื้อชินสนิมแดง และเคยขอผู้ใหญ่ส่องดูชอบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงบางโอกาส ก็ยิ่งอยากได้มากขึ้นไปอีก แต่ก็ไม่มีปัญญาที่จะเช่าหา ต่อมา มีเพื่อนคนหนึ่งเป็นคนจังหวัดราชบุรีรู้ว่าผมอยากได้พระเนื้อชินสนิมแดง เขาก็เอาพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า มาให้ผมองค์นึง และบอกว่าเป็นพระที่พบในกรุวัดศาลเจ้าราชบุรี ซึ่งเป็นคนละที่กันกับของกาญจนบุรี แต่ดีเหมือนๆ กัน ผมดีใจมากจึงนำไปเลี่ยมพลาสติกห้อยคอตลอด ผมเองเป็นคนที่ชอบเที่ยวหัวหกก้นขวิดตะลอนไปทั่วเข้าป่าเข้าดงคบเพื่อนฝูงมากแต่ก็ไม่เคยได้รับอันตรายใดๆ และเชื่อมั่นว่าพระท่ากระดานน้อย ที่เพื่อนให้ปกป้องคุ้มครองมาโดยตลอด

ในช่วงนั้นก็พยายามค้นหาประวัติความเป็นมาของพระท่ากระดานน้อยกรุวัดศาลเจ้า ซึ่งในสมัยนั้นหนังสือพระเครื่องก็ไม่ค่อยมี ก็ได้แต่สอบถามเรื่องราวของพระกรุท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า ได้รับคำบอกเล่าตรงกันที่ว่าแตกกรุจากวัดศาลเจ้า ราชบุรี แต่เป็นพระที่สร้างในยุคใดก็ไม่ค่อยตรงกันนัก บางท่านก็ว่าเป็นพระเก่าสร้างมาแต่สมัยโบราณ แต่ก็มีบางท่านว่าสร้างในสมัยเฒ่าแก่ปู้ เจ้าของโรงสีใกล้วัดศาลเจ้า มาบูรณะเจดีย์และสร้างพระบรรจุไว้ ผมเองเริ่มศึกษาพระเครื่องก็ไม่ค่อยเชื่อว่าสร้างในสมัยที่เฒ่าแก่ปู้ เนื่องจาก อายุการสร้างและเนื้อสนิมแดงที่เกิดกับ พระท่ากระดานน้อยนั้นไม่สอดคล้องกัน พระท่ากระดานน้อยน่าจะสร้างมาเก่าแก่กว่านั้นมาก แต่ก็ไม่ได้เถียงหรือขัดแย้งกับผู้ใหญ่ ได้แต่เก็บความสงสัยและค้นหาเหตุผลต่อมา

ครับวัดศาลเจ้าเป็นวัดเก่าแก่ สร้างตั้งแต่สมัยใดยังไม่มีการพบหลักฐานว่าสร้างมาแต่ยุคใด แต่ก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง ต่อมาสืบทราบว่า วัดนี้แต่เดิมเรียกว่า “วัดเกาะนอก” และมีศาลเจ้าเก่าแก่ตั้งอยู่ ชาวบ้าน จึงมักเรียกกันว่า “วัดศาลเจ้า” มาจนทุกวันนี้ เท่าที่ค้นคว้าดูก็พบว่าวัดนี้น่าจะเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2465 องค์พระเจดีย์ถูกฟ้าผ่าชำรุด ทำให้มีการพบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงแตกออกมาจำนวนหนึ่งคือพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า เป็นพระเนื้อชินสนิมแดงแซมไขขาว มากบ้างน้อยบ้าง สาเหตุ ที่เรียกว่าพระท่ากระดานน้อย เนื่องจากมีพุทธลักษณะที่คล้ายๆ กับพระท่ากระดานน้อยของกรุวัดท่าเสา เมืองกาญจนบุรี ซึ่งเป็นพระเนื้อชินสนิมแดงเช่นกัน

การบูรณะในปี พ.ศ.2465 นั้น เฒ่าแก่ปู้เป็นผู้บูรณะและมีการสร้างพระบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ด้วยเช่นกัน แต่พระท่ากระดานน้อยที่พบในกรุนี้น่าจะเป็นพระที่สร้างไว้มาก่อนหน้านี้แล้ว สันนิษฐานว่าพระท่ากระดานน้อยของกรุนี้คงจะสร้างไว้ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากผิวและสนิมแดงที่ปรากฏบ่งบอกถึงความมีอายุการสร้างว่าเก่ามากน้อยอย่างไร

ครับพระท่ากระดานน้อยเป็นพระที่น่าสนใจมาก และมีขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะที่จะนำมาห้อยคอ พุทธคุณโดดเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ปัจจุบันก็หายากพอสมควร ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว การเช่าหาควรพิจารณาให้ดีๆ และกับผู้ที่ไว้ใจได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ากระดานน้อยกรุวัดศาลเจ้าจากหนังสือแจกรางวัลงานประกวดพระเครื่องจังหวัดราชบุรี 2560 มาให้ชม และขอขอบคุณคุณโอ๊ต บางแพ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อรูปและข้อมูลมาด้วยครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์



เหรียญปิดตาหลวงปู่ทวน

"หลวงปู่ทวน ปุสสวโร" วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี พระเถระผู้มีเมตตาธรรมสูง พุทธาคมเข้มขลัง ศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่าแห่งถิ่นอีสาน

ปัจจุบันสิริอายุ 109 ปี

นามเดิม ทวน โสภา เกิดวันพฤหัสบดีที่ 14 พ.ค.2451 ปีวอก ที่ ต.ชอนสารเดช อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

พ.ศ.2466 บรรพชาอยู่กับหลวงพ่อทรัพย์ พระอุปัชฌาย์ วัดชอนสารเดช ได้ 1 ปี เดินทางไปปรนนิบัติรับใช้และฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เรียนอักขระเลขยันต์และวิทยาคม

พ.ศ.2471 อุปสมบทที่วัดเขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมี หลวงปู่อ่ำ (พระเทพวรคุณ) วัดเขาพระงาม เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นออกธุดงค์ ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ศึกษาวิชาจิตตภาวนา เสร็จแล้วเดินทางกลับวัดชอนสารเดชและลาสิกขาในเวลาต่อมา

บวชครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2533 ที่วัดวังน้ำเย็น อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี โดยมีพระธรรมญาณประยุกต์ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท ออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลานาน 11 ปี ปฏิบัติกิจวิปัสสนากัมมัฏฐานตลอดเส้นทาง จนมาจำพรรษาอยู่ที่วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) จนถึงปัจจุบัน

ย้อนไปในปี พ.ศ.2559 หลวงปู่ทวนจัดสร้าง "เหรียญปิดตารุ่นแรก"

ลักษณะเป็นเนื้อโลหะ ทรงรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญมีขอบรอบ ตรงกลางเป็น รูปนูนพระปิดตา ประทับนั่งบนโต๊ะขาสิงห์ ใต้ขอบเหรียญมีอักขระขอมพระคาถามหาอุตม์ ใต้โต๊ะขาสิงห์มีอักษรไทย "หลวงปู่ทวน ปุสฺสวโร ๕๙" มีโค้ดและเลขไทย ลำดับองค์พระกำกับ

ส่วนด้านหลังเหรียญมีขอบรอบ ตรงกลางเป็นยันต์และอักขระขอม "นะ โม พุท ธา ยะ, มะ อะ อุ, นะ จัง งัง, สุ อะ นะ อะ, พุท ธะ สัง มิ" พร้อมกำกับด้วยพระคาถาเมตตาและพระเจ้า 16 พระองค์ ระหว่างยันต์กับอักขระขอมมีอักษรไทย "วัดโป่งยาง จ.จันทบุรี"

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก วันที่ 8 พ.ค.2559 ที่วัดโป่งยาง มีพระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่ทวน วัดโป่งยาง, หลวงปู่บุดดา วัดป่าใต้, หลวงปู่สิงห์ทอง วัดซับตารี, หลวงปู่อ่อง วัดเขาวงกต, หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย, หลวงพ่อโสต วัดเขาหินโค่ง, หลวงพ่อผ่อน วัดเขากลอย เป็นต้น

สอบถามได้ที่วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี โทร. 09-3808-8881
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์



เหรียญจันทร์เสี้ยว พระครูอโศกธรรมสาร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูอโศกธรรมสาร วัดปากคลองบางครก จ.เพชรบุรี ท่านก็เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากรูปหนึ่ง ที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันดี ก็คือพระขรรค์ แกะจากเขาควายเผือก

พระครูอโศกธรรมสาร หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อโศก วัดปากคลอง (ชาวบ้านชอบเรียกว่า "วัดปากคลองบางครก" ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร ปีพ.ศ.2415 ที่บ้านแควใหญ่ ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โยมบิดาชื่อพันธุ์ โยมมารดาชื่อนาก เมื่อท่านอยู่ในวัยอันสมควรบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอธิการเพิ่ม วัดสวนทุ่ง ท่านเป็นคนที่สนใจในการศึกษาเล่าเรียน จึงสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นพออายุครบบวช บิดา มารดาก็ได้อุปสมบทให้ที่วัดปากคลอง ในปี พ.ศ.2435 ได้รับนามฉายาว่า "สุวณฺโณ" โดยมีพระอธิการคล้ำ วัดปากคลอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการทรัพย์ วัดเขาตะเครา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเพิ่ม วัดทุ่งสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้อยู่อุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์พอสมควรแล้ว ท่านก็ได้เดินทางมาอยู่ที่วัดมหาธาตุฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บาลีไวยากรณ์ และวิปัสสนากรรม ฐานในสำนักพระอธิการครุฑ ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนาธุระ ศึกษาอยู่ได้ปีเศษๆ พระอธิการครุฑก็มรณภาพ หลวงพ่อท่านจึงได้ศึกษาต่อกับพระสุวรรณมุนี (ฉุย) วัดคงคาราม ต่อมาในปี พ.ศ.2447 พระอธิการหลุบ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ สืบแทน แต่ก็ดำรงตำแหน่งได้เพียงปีเศษเท่านั้น วัดปากคลองก็ว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านบางครกต่างก็มานิมนต์หลวงพ่อโศกให้ไปช่วยเป็นเจ้าอาวาสและช่วยพัฒนาวัดให้ หลวงพ่อจึงต้องกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากคลอง

หลังจากที่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดปากคลองแล้ว ก็ได้จัดระเบียบและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้เรียบร้อย สร้างศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ ศาลาบำเพ็ญกุศล โรงเรียน พระอุโบสถ จนวัดปากคลองเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2452 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวดบางครก พ.ศ.2465 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2478 เป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม และเป็นพระครูอโศกธรรมสาร

หลวงพ่อโศกออกบิณฑบาตทุกวัน และทำวัตรเช้าเย็นมิได้ขาด ท่านมีเมตตาปรานีแก่ทุกผู้ทุกนาม จึงเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อมรณภาพในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2482 สิริอายุได้ 67 ปี พรรษาที่ 47 หลวงพ่อได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระขรรค์เขาควายเผือก ตะกรุด ผ้ายันต์ น้ำเต้ากันไฟ ปลัดขิก พระเนื้อผงและเนื้อชิน ส่วนเหรียญนั้นมีอยู่หลายรุ่น เช่น เหรียญรุ่นแรก คือเหรียญจันทร์เสี้ยว สร้างปีพ.ศ.2465 ยังมีเหรียญพระพุทธชินราช ปี พ.ศ.2468 และยังมีอีกหลายเหรียญ ในวันนี้ผมได้นำเหรียญรุ่นแรกมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 พฤศจิกายน 2560 12:02:52 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #63 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2560 13:35:53 »



หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์

"ในปี พ.ศ.2452 ได้มีการจัดทดสอบวิทยาคมและพลังจิตของพระเกจิ อาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษจากสำนักต่างๆ ทั่วประเทศ ณ บริเวณวัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม มีพระเกจิเข้าร่วมประมาณร้อยกว่ารูป งานนี้เรียกได้ว่า "พิธีชุมนุมพระเกจิชื่อดังทั่วแดนสยาม" ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มีสมเด็จพระสังฆราชฯ (เข) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ผลปรากฏว่า 10 สุดยอดพระเกจิคณาจารย์ ผู้มีความเข้มขลังในวิทยาคมและพลังจิตสูงสุดแห่งสยาม ยุค 2452

ประกอบด้วย หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม หลวงพ่อทอง วัดวรนาถบรรพต (เขากบ) จ.นครสวรรค์ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน (วัดบางเหี้ย) จ.สมุทรปราการ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี และหลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ จ.ชุมพร"

หลวงพ่อทอง วัดวรนาถบรรพต (เขากบ) จ.นครสวรรค์ อีก 1 ใน 10 สุดยอดพระเกจิคณาจารย์ พระเถระผู้เฒ่าที่เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างยิ่งของชาวเมืองนครสวรรค์และใกล้เคียง ประวัติความเป็นมาของท่านนั้นไม่ค่อยมีผู้ใดทราบนัก เท่าที่ฟังจากคำบอกเล่าของพระเกจิและลูกศิษย์ใกล้ชิดพอจะได้ ความว่า

ท่านเป็นชาวทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์ รุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

หลวงพ่อทองได้รับถวายที่ดินจากตากบและยายเขียด ต่อมาชาวบ้านจึงได้ช่วยกันสร้างกุฏิเล็กๆ ก่อนสร้างอุโบสถและศาลาขึ้น เพื่อชาวบ้านได้ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา

ต่อมาเมื่อตากบและยายเขียดถึงแก่กรรม หลวงพ่อจึงกำหนดที่ดินทั้งหมดเป็นที่ดินของวัด และตั้งชื่อวัดนี้ว่า "วัดเขากบ" ตามชื่อเจ้าของที่ดิน หลังจากการฌาปนกิจสองตายายแล้ว ท่านได้ให้ช่างปั้นรูปจำลองตากบและยายเขียดไว้ที่หน้าอุโบสถ เพื่อเป็นที่ระลึก ปรากฏอยู่กระทั่งทุกวันนี้

หลวงพ่อทองมีความเพียรอย่างแรงกล้า ลงมือทำงานและบูรณะวัดเขากบด้วยตัวท่านเอง โดยใช้เวลาบูรณะพระเจดีย์ซึ่งยอดหักนานถึง 10 ปี และทำโบสถ์อยู่ 5 ปี ทั้งยังบูรณะวิหารพระนอน กำแพงวิหาร ร้านบาตร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผู้ร่ำลือถึงกิตติศัพท์ของท่านมากมาย อาทิ เรื่องท่านตกจากยอดเจดีย์แล้วไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่รอยแมวข่วน หรือการบิณฑบาตที่ใครๆ ก็ตามไม่ทัน เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความเข้มขลังในวิทยาอาคมหลายแขนงวิชา

หลวงพ่อทองพัฒนาวัดเขากบจนเจริญรุ่งเรือง และจำพรรษาอยู่ตลอดอายุขัยจนมรณภาพในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2484 สิริอายุเกือบ 80 ปี ยังความโศกเศร้ามาสู่ชาวนครสวรรค์และบรรดาลูกศิษย์ลูกหาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ร่วมใจกันหล่อ "รูปเหมือนเท่าองค์จริง" ของท่านไว้ในวิหาร ทุกวันนี้สาธุชนทั้งใกล้และไกลยังคงแวะเวียนมากราบสักการะขอพรอยู่เป็นประจำ

ด้วยความที่หลวงพ่อทองเป็นพระสมถะ รักสันโดษ เคร่งในวัตรปฏิบัติ จึงไม่ชอบสร้างวัตถุมงคล ไม่ชอบถ่ายรูป เท่าที่ทราบในสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่จะมีเพียง "ลูกอมและการรดน้ำมนต์" อันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักเป็นหลัก แม้แต่รูปถ่ายท่านก็ไม่ยอมให้ใครถ่าย มีคนมาแอบถ่ายก็ไม่ติด จนลูกศิษย์ต้องขอร้องเพื่อขอเก็บไว้เป็นที่ระลึกท่านจึงอนุญาต ซึ่งจะมีเพียงภาพเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น คือ ภาพที่ท่านกำลังนั่งบนธรรมาสน์ กำลังถือใบลานเทศน์อยู่

ส่วนวัตถุมงคลที่ทันท่านน่าจะมีไม่กี่อย่างซึ่งล้วนหายากทั้งสิ้น โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" ที่เรียกกันว่า "เหรียญหลวงพ่อทอง รุ่นหลังเงา"

เป็นเหรียญปั๊มเนื้อทองแดง รูปไข่เล็ก ห่วงเชื่อม ด้านหน้าและด้านหลังยกขอบเป็นเส้นลวดนูน 2 ชั้น ชั้นในมีขนาดเล็กมาก ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อทองครึ่งองค์ ห่มจีวร พาดสังฆาฏิ และรัดประคดอกแบบ "ห่มเต็ม" มีอักษรภาษาไทยจารึกว่า "หลวงพ่อ วัดกบ" ส่วนด้านหลัง ตรงกลางประดิษฐานรูปพระเจดีย์องค์ใหญ่ วัดเขากบ กลางองค์เจดีย์เป็นยันต์ "ตัวเฑาะว์ขัดสมาธิขึ้น" ยอดเป็น "อุณาโลม"

จุดสังเกตสำคัญคือ พื้นเหรียญด้านหลังจะมีรูปหลวงพ่อทองแกะเป็นลายเส้นบางๆ เห็นเป็นเงาจางๆ อันเป็นที่มาของชื่อรุ่นว่า "หลังเงา" ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง  ราม วัชรประดิษฐ์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 พฤศจิกายน 2560 12:01:56 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #64 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2560 12:06:14 »



หลวงพ่อสาคร 
 
พระครูมนูญธรรมวัตร หรือ หลวงพ่อสาคร มนุญโญ วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เพชรน้ำเอก อีกรูปหนึ่งของ จ.ระยอง ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนถ้วนหน้า ทั้งในฐานะศิษย์เอกผู้สืบสายพุทธาคมจากหลวงปู่ทิม อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

เดิมชื่อ สาคร ไพสาลี เกิดที่บ้านท้ายทุ่ง ต.หนองกรับ อ.บ้านค่าย (อันเป็นบ้านเกิดของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เช่นกัน) เมื่อวันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ซึ่งตามคติโบราณกล่าวว่า บุคคลนั้นจะมีความพิเศษอยู่ในตัว

มีความใฝ่ใจในด้านเวทมนตร์คาถาและวิชาแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดหนองกรับ ก็ออกมาช่วยบิดามารดา พอมีเวลาว่างก็จะไปศึกษาไสยเวทกับหลวงพ่อเพ่ง วัดละหารใหญ่ ได้วิชาสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และเลยไปที่บ้านละหารไร่ เพื่อศึกษาไสยศาสตร์กับนายหล่อ และนายทัต ฆราวาส ผู้เรืองวิชาอาคม พร้อมเข้าปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่ทิมอยู่เป็นนิจ นับเป็นศิษย์รุ่นเยาว์ที่หลวงปู่ให้ความเมตตาและเรียกใช้อยู่เสมอ

อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดหนองกรับ โดยมีท่านพระครูจันทโรทัย (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบ้านค่าย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูเกลี้ยง วัดหนองกรับ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเคียง วัดไผ่ล้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “มนุญโญ” จากนั้นไปจำพรรษาที่วัดละหารไร่ ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ทิมเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและพุทธาคมอย่างจริงจัง ได้รับการถ่ายทอดวิทยาอาคมต่างๆ จนหมดสิ้น

ด้วยมีใจรักทางด้านนี้ หลวงปู่ทิมจึงให้ไปศึกษาเพิ่มเติมกับหลวงปู่หิน วัดหนองสนม ต่อด้วยหลวงปู่โสม วัดบ้านช่อง อ.พานทอง ซึ่งล้วนเป็นพระเกจิผู้มีวิชาอาคมแก่กล้าของภาคตะวันออกทั้งสิ้น ท่านยังได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์และฆราวาสอีกมากมายทั้งก่อนและหลังการรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองกรับ อาทิ อาจารย์เชียงคำ ประเทศพม่า, อาจารย์สุพจน์ ประเทศเขมร, อาจารย์สิน วัดนาวัง จ.ชลบุรี, พระอาจารย์สุมล คำเสียง จ.ศรีสะเกษ, หลวงพ่อบุญเย็น วัดแจ้งนอก จ.นครราชสีมา, หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ฯลฯ

วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่หลวงพ่อสาครสร้างนั้น มีหลากหลายประเภท เพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาและสาธุชนทั้งหลายที่มีมากมาย ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง

ด้วยความเชื่อถือในความเป็นศิษย์ผู้สืบทอดจากหลวงปู่ทิมที่มีประวัติอย่างชัดเจน และปรากฏพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ จึงกลายเป็นที่ศรัทธาและนิยมสะสมอย่างกว้างขวาง และที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย เพราะค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ “สมเด็จพุทธนิมิต และเหรียญปิดตารุ่นฉลองสมณศักดิ์” ที่สร้างในปี พ.ศ.2524

ซึ่งหลวงพ่อสาครได้นำผงปถมังและผงอิทธิเจที่ท่านเขียนเลขยันต์อักขระต่างๆ, ผงของหลวงปู่ทิม, ผงอิทธิเจหลวงพ่อเพ่ง, ผงปัดตลอดอาจารย์ภูเมือง, ผงพุทธคุณหลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง, ผงพุทธคุณครูบาคำหล้า จ.เชียงใหม่, ผงพุทธคุณอาจารย์มั่น, ผงวิเศษหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ฯลฯ มาเป็นมวลสารจัดสร้าง “สมเด็จพุทธนิมิต” จำลององค์พระประธานในอุโบสถ

ปรากฏว่ามีพุทธคุณเป็นเลิศด้านคงกระพันชาตรี และในปีเดียวกันนี้ ท่านได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นโท จึงได้สร้าง “เหรียญปิดตารุ่นฉลองสมณศักดิ์” ซึ่งก็เป็นที่กล่าวขวัญกันว่าเมตตามหานิยมฉมังนักครับผม

หลวงพ่อสาครได้เคยกล่าวไว้ว่า “วัตถุมงคลและธรรมะมีความสำคัญพอๆ กัน ต่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พอเราจะให้ธรรมะล้วนๆ ก็ไม่มีใครเอา เราจึงต้องสร้างวัตถุมงคลเพื่อดึงคนเข้าวัด ลองให้คนเหล่านี้มาเข้าวัดปฏิบัติธรรมล้วนๆ สิ รับรองไม่มีคนเข้า แต่พอบอกว่ามีวัตถุมงคลให้ คนก็จะพากันมาเข้าวัด สุดท้ายนั่นแหละที่คนเหล่านั้นจะได้ธรรมะกลับออกไปแบบไม่รู้ตัว




พระปางนาคปรก

ยังมี "พญานาค" สำคัญอีกตนหนึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อคราวพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นามว่า "พญามุจลินทนาคราช" ซึ่งเป็นมูลเหตุให้เกิด "พระปางนาคปรก" ที่มีพุทธลักษณะงดงามสง่าและสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา โดยพระพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า...

"...พญามุจลินทนาคราช บังเกิด ณ สระโบกขรณี (สระบัวหรือตระพังน้ำ) ซึ่งอยู่ใกล้ต้นจิกที่ประทับของพระพุทธองค์ หลังจากที่ประทับภายใต้ต้นอัชปาลนิโครธ (ต้นไทร) ครบ 7 วันแล้ว ได้เสด็จไปสู่มุจลินท์ไม้จิก (ต้นจิก) ประทับภาคใต้ร่มไม้จิกอีก 7 วัน ระหว่างนั้นมีเมฆครึ้มและฝนตกตลอดทั้ง 7 วัน พญามุจลินทนาคราช ทราบเหตุแห่งความแปรปรวนดังกล่าวจึงขึ้นมาจากสระ ก็แลเห็นบุรุษหนึ่งนั่งอยู่ใต้ต้นจิก ลักษณะงดงามเปล่งปลั่ง นึกในใจว่า "ท่านผู้นี้มีสิริวิลาศเลิศ ชะรอยจะเป็นเทพยดาพิเศษ ประดับด้วยฉัพพรรณรังสี" ก็ทราบชัดว่าเป็น "พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้" และที่เสด็จมาสู่นิวาสสถานแห่งตนนั้นก็ด้วยพระมหากรุณา เป็นมหาบุญลาภอันใหญ่ยิ่ง สมควรที่ตนจะต้องช่วยปกป้องมิให้พระองค์ถูกต้องลมฝน จึงเข้าไปขดขนดกายได้ 7 รอบ แวดล้อมองค์พระศาสดา แล้วแผ่พังพานอันใหญ่ขึ้นป้องปกเบื้องบน เพื่อให้พ้นจากแดด ลม และฝน ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง ริ้น ไร และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวล ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจลินทนาคราชจึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกายพระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยน้อมกายถวายอัญชลีเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระสัพพัญญู ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า

พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขภายในวงขนดของพญานาคมุจลินทนาคราช ที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้เอง เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นมา เรียกว่า "ปางนาคปรก"

พระพุทธรูปและพระเครื่องในลักษณาการ "นาคปรก" นับเป็นพระที่มีพุทธลักษณะงดงามและมีนัยแสดงความหมายซึ่งสืบทอดกันเรื่อยมาตั้งแต่โบราณกาลตามพุทธประวัติดังกล่าวข้างต้น โดยลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ และมีพญานาคแผ่เศียรเป็นพังพานขึ้นจากพระอังสาไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป แต่เดิมทำเป็นรูปพญานาคเป็นมนุษย์ มีรูปเศียรพญานาค 7 เศียรเป็นพังพาน ในกิริยาที่พญานาคนมัสการพระพุทธองค์ ต่อมาภายหลังทำเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิบนบัลลังก์นาคขนด หรือมีขนดนาคล้อมรอบองค์ แผ่เศียรเป็นพังพานขึ้นจากพระอังสาไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป ซึ่งจะมีทั้งเศียรเดียว 7 เศียร หรือหลายเศียร

สยามประเทศ คงได้รับอิทธิพลการสร้างพระปางนาคปรกจากเขมรก่อนเป็นเบื้องแรก ตั้งแต่สมัยอยุธยาจึงเริ่มพบพระประเภทดังกล่าว และเมื่อราชสำนักพยายามรวบรวมพุทธประวัติ ได้มีการสร้างพระปางต่างๆ ตามเรื่องราว พระปางนาคปรกก็ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากแสดงออกถึงอิทธิฤทธิ์แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และแสดงความสัมพันธ์กับ "นาค" ได้ชัดเจนที่สุด ต่อเมื่อมีการจัดสรรให้เกิดพระปางประจำวัน เพื่อเข้าไปทดแทนการบูชาเทพนพเคราะห์ ซึ่งได้แก่พระอาทิตย์ พระจันทร์ ไปจนถึง พระราหู พระเกตุทั้งเก้าดวง ซึ่งเป็นคติพราหมณ์ "พระปางนาคปรก" ก็ได้รับการจัดสรรให้เป็นปางประจำวันเสาร์ แทนดาวพระเสาร์แต่นั้นมา

อาจกล่าวได้ว่า "พระปางนาคปรก" นับเป็นการแสดงถึงพุทธภาวะที่มีอยู่เหนือสัตว์สำคัญ เช่น พญานาค นอกเหนือไปจากการแสดงพุทธภาวะเหนือเหล่าอสูร โดยแสดงให้เห็นในพุทธประวัติการกำราบอสูรต่างๆ เช่น อสุรินทราหู พระยาชมพู และอสูรเหล่านี้ก็ยอมถวายตนเป็นผู้ปกป้องศาสนา อาทิ อาฬาวกยักษ์ และท้าวเวสสุวัณ ที่ปกป้ององค์พระพุทธชินราช สองฟากข้างบัลลังก์ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นการแสดงให้เห็นถึงอำนาจ บุญบารมี และพระเมตตาของพระพุทธองค์ที่มีเหนือ 3 โลก เหนือทั้ง เทพเทวะ มนุษย์ ยักษ์ สัตว์ ภูตผีปีศาจ ต่างๆ

ในวงการพระเครื่องพระบูชา จึงมีความนิยมสร้างพระพุทธรูป พระเครื่อง และพระพิมพ์ "ปางนาคปรก" กันมากมาย เช่น พระนาคปรกวัดท้ายตลาด พระนาคปรกใบมะขาม สำนักต่างๆ ตลอดจนพระเครื่องที่นิยมสร้างประจำวันตั้งแต่รัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ล้วนแล้วแต่มีการจัดสร้างเป็นพระปางนาคปรกประกอบด้วยทั้งสิ้นครับผม




พระสมเด็จ พิมพ์สามชั้น ปี 2468


เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2510


พระปิดตารุ่นปลดหนี้

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดูฉิมพลี

เมื่อเอ่ยนาม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เชื่อว่าคงไม่มีผู้ใดไม่รู้จักอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ด้วยแล้ว เรียกได้ว่า “หูผึ่ง” กันเลยทีเดียว ด้วยวัตถุมงคลของท่านล้วนได้รับความนิยมสูงทั้งสิ้น

หลวงปู่โต๊ะเป็นชาวสมุทรสงครามโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ปีพ.ศ.2430 สมัยรัชกาลที่ 5 ณ บ้านใกล้คลองบางน้อย ต.บางพรม อ.บางคนที โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายลอย-นางทับ รัตนคอน เป็นเด็กที่มีความเข้มแข็งว่องไว เฉลียวฉลาด กตัญญู ขยัน อดทน มีน้ำใจ และพูดจาสุภาพอ่อนโยน ทั้งยังชอบเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมจนสามารถท่องจำได้ในบางบทบางตอน

พออายุ 17 ปีจึงบรรพชา โดยมีพระอธิการสุข เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งในวันเดียวกันนั้นพระอธิการสุขก็ได้มรณภาพ ท่านได้ศึกษาวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อพรหม จนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ.2450 จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูธรรมวิรัติ (เชย) วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “อินฺทสุวณฺโณ”

มุ่งมั่นศึกษาและปฏิบัติทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระด้วยความวิริยอุตสาหะ จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี ในปีพ.ศ.2455 และได้ศึกษาเพิ่มเติมที่วัดโพธิ์ ท่าเตียน

ต่อมา พระอธิการคำ เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีขณะนั้น ได้ลาสิกขา ในปี พ.ศ.2456 ท่านจึงต้องรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบต่อ โดยขณะนั้นมีอายุเพียง 26 ปี พรรษาที่ 6 เท่านั้น และมีฐานานุกรมที่พระใบฎีกา ของท่านเจ้าคุณอุดรคณารักษ์ วัดโพธิ์ อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังใฝ่ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นเนืองนิตย์ ปลีกเวลาออกธุดงค์เพื่อฝึกฝนและศึกษาพุทธาคมจากพระเกจิชื่อดังหลายรูป อาทิ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ ยานนาวา รวมทั้งหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ท่านมีสหธรรมิกผู้มีชื่อเสียงมากมาย ได้แก่ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ และหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง

ชื่อเสียงเกียรติคุณของ “หลวงปู่โต๊ะ” ขจรขจายในเวลาอันรวดเร็ว สาธุชนต่างให้ความเคารพศรัทธาในวัตรปฏิบัติและวิทยาอาคมอันแก่กล้า นับเป็นพระเกจิรูปสำคัญรูปหนึ่งในสมัยนั้นที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิตในพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลระดับประเทศทุกงาน อาทิ พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี 2497, พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ฯลฯ ท่านได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชสังวราภิมณฑ์ ในปี พ.ศ.2521 ก่อนมรณภาพในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2524 สิริอายุ 94 ปี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญศพไปตั้ง ณ ศาลาร้อยปี วัดเบญจมบพิตร และพระราชทานเกียรติยศเสมอพระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศ

หลวงปู่โต๊ะจัดสร้างวัตถุมงคลไว้มากมาย ทั้งพระสมเด็จ, พระเนื้อผง, พระปิดตา, เหรียญ, เครื่องราง, ล็อกเกต ฯลฯ ซึ่งล้วนทรงพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่นิยมสะสมอย่างสูงทั้งสิ้น

ซึ่งนอกจากสนนราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้วยังหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากยิ่งนัก มีอาทิ พระเครื่องชุดแรก ปี พ.ศ.2468 ที่เรียกกันว่ารุ่นแช่น้ำมนต์ เป็นพระเนื้อผงทั้งหมด 13 พิมพ์ เช่น พระสมเด็จพิมพ์ขาโต๊ะ, พระสมเด็จพิมพ์ 7 ชั้น, พระสมเด็จพิมพ์ก้างปลา, พระสมเด็จพิมพ์โพธิ์ 8, พระสมเด็จพิมพ์โพธิ์ 6, พระพิมพ์แหวกม่าน, พระพิมพ์ซุ้มประตู ฯลฯ หรือ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ.2510 ซึ่งจำนวนการสร้างน้อยมาก และพระปิดตาเกือบทุกพิมพ์ โดยเฉพาะพระปิดตาจัมโบ้ รุ่น 1, พระปิดตารุ่นปลดหนี้, พระปิดตาจัมโบ้ รุ่น 2 เป็นต้นครับผม





เจาะลึกเหรียญสมเด็จโต

เกริ่นกันไปบ้างแล้วสำหรับ “เหรียญสมเด็จโต 2 รุ่น” ของ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ที่ค่อนข้างเป็นที่ฮือฮาพอสมควร ด้วยพุทธศิลปะอันงดงามประณีตและวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดในการ “จัดสร้างที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม” สร้างเสริมความเจริญในพระบวรพุทธศาสนา

วันนี้มาอัพเดต “พิธีพุทธาภิเษก 2 วาระ” ที่เรียกได้ว่าไม่ธรรมดาเลย วาระแรกที่วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เป็นเจ้าอาวาสในอดีต และวาระที่ 2 ที่วัดขุนอินทประมูล

วาระที่ 1 วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2560 ซึ่งตรงกับ “วันเสาร์ 5” คือ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 วันนั้นก่อนเริ่มพิธีบวงสรวงช่วงเช้า ในบริเวณวัดระฆังโฆสิตารามมีฝนตกกระหน่ำลงมาจนน้ำท่วมสูงเกือบหัวเข่า ดูแล้วไม่น่าจะสูบออกให้ทันการณ์ได้ ท่านประธานในพิธี จึงไปบอกกล่าว “สมเด็จโต” ในพระวิหาร เพื่อขอให้การประกอบพิธีสำเร็จลุล่วงตามมงคลฤกษ์ เวลา 09.39 น. ปรากฏว่าก่อนเวลาดังกล่าวไม่ถึง 10 นาที น้ำที่ขังอยู่นานก็เหือดแห้งหายไปหมด

พอถึงช่วงบ่ายพิธีพุทธาภิเษกนำฤกษ์ ตามฤกษ์จุดเทียนชัยในเวลา 13.09 น. ท่านเจ้าคุณเที่ยง เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ประธานจุดเทียนชัย จากนั้นผู้คนก็แห่แหนกันมารับเหรียญที่ระลึกเนื้อทองแดง รมดำ ตอกโค้ด ท กลับไปอย่างทั่วหน้า จนเกินจำนวนที่ตั้งไว้

สำหรับพิธีในวาระที่ 2 วันจันทร์ที่ 17 เมษายน ตรงกับวันคล้ายวันเกิดท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ครบรอบปีที่ 229 พอดี ช่วงเช้าประกอบพิธีบวงสรวงกลางแจ้ง หน้ารูปหล่อสมเด็จโตองค์ใหญ่ หน้าพระอุโบสถ ซึ่งโดยปกติแล้วพื้นที่บริเวณนี้จะมีแดดจัดและร้อนมาก โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนเม.ย. เช่นนี้ แต่ในวันนั้นท้องฟ้ากลับมีกลุ่มเมฆปกคลุมทั่วบริเวณ มีลมพัดเฉื่อยๆ อากาศเย็นสบาย สามารถประกอบพิธีบวงสรวงตามมงคลฤกษ์ในเวลา 09.39 น. อย่างราบรื่น เมื่อเสร็จพิธีท้องฟ้าก็เปิดทันที กลุ่มเมฆเคลื่อนออกจากกัน ความร้อนของแดดแผดรังสีไปทั่วบริเวณ

พอถึงช่วงบ่ายที่จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก พระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงคุณทุกรูปมาถึงพระอุโบสถ ประกอบด้วย ท่านเจ้าคุณสุรศักดิ์ วัดประดู่ จ.สมุทรสงคราม, พระมหาเป็นหนึ่ง วัดบรมวงศ์ จ.พระนครศรีอยุธยา, พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี, พระอาจารย์สุวรรณ วัดยาง จ.อ่างทอง และ พระครูวิเศษชัยวัฒน์ วัดขุนอินทประมูล เตรียมพร้อมนั่งปรกอธิษฐานจิต เมื่อท่านเจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร ประธานจุดเทียนชัย จุดเทียนชัยตามฤกษ์ในเวลา 13.09 น. เป็นที่เรียบร้อย “ฝน” ที่ไม่ได้ตั้งเค้ามาก่อนก็เริ่มโปรยปรายลงมา

หลังเสร็จพิธี ท่านวิศว ศศิสมิต อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ประธานฝ่ายฆราวาส ได้นำเหรียญกะไหล่ทอง ตอกโค้ด ท ออกมาแจกจ่ายให้กับผู้ที่มาร่วมงานที่แออัดกันเข้ามาขอของดีไว้ประจำกาย

เหรียญสมเด็จโต รุ่นมนุษย์สมบัติชินบัญชร เหรียญปั๊มแบบสมัยใหม่ทรงแอ่งกระทะ ด้านบนเป็นซุ้มทรงเสมาภายในประดิษฐาน “พระพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง” ตรงกลางเหรียญเป็นรูปหน้าท่านเจ้าประคุณสมเด็จ โดยช่างฝีมือเอกแห่งยุคมาเป็นผู้รังสรรค์จนเหมือนองค์สมเด็จโต ทั้งใบหน้าและริ้วรอยต่างๆ อย่างเป็นธรรมชาติ แบ่งเป็นรายการต่างๆ ดังนี้

รายการที่ 1 ชุดกรรมการอุปถัมภ์ มี เหรียญทองคำ 1 องค์ (น.น. 24-25 กรัม), เงินองค์ทองคำ 1 องค์, เงินลงยา 10 สี เหรียญละสี 10 องค์, อัลปาก้า 100 องค์, สัตโลหะ 100 องค์ และสัมฤทธิ์ 100 องค์ ทุกเหรียญตอกโค้ดและมีเลขกำกับ ราคาจอง 99,000 บาท หลังจอง 150,000 บาท

รายการที่ 2 เหรียญทองคำ 1 องค์ (น.น.24-25 กรัม) ราคาจอง 59,000 บาท หลังจอง 65,000 บาท

รายการที่ 3 ชุดกรรมการเงิน มี เหรียญเงินลงยาจีวรส้ม 1 องค์ สัตโลหะหน้ากากเงิน 1 องค์ สัมฤทธิ์หน้ากากเงิน 1 องค์ และทองระฆังหน้ากากเงิน 1 องค์ ตอกโค้ดกรรมการ ราคาจอง 4,000 บาท หลังจอง 5,500 บาท

รายการที่ 4 เหรียญเงิน ราคาจอง 2,200 บาท หลังจอง 2,500 บาท

รายการที่ 5 เหรียญนวโลหะ ราคาจอง 1,200 บาท หลังจอง 1,500 บาท รายการที่ 6 เหรียญเนื้อสัมฤทธิ์ 400 บาท และรายการที่ 7 เหรียญเนื้อทองระฆัง 300 บาท

ผู้สนใจบูชาได้เลยที่ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง 


คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง  -  ราม วัชรประดิษฐ์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #65 เมื่อ: 05 ธันวาคม 2560 10:56:35 »




 

เหรียญพระพุทธชินราชรุ่นแรก

“เหรียญพระพุทธ เหรียญที่จำลอง “พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์” อันเป็นที่เคารพสักการะและศรัทธาของสาธุชน เพื่อสะดวกในการอาราธนาและพกพาติดตัว ตามความเชื่อที่ว่า พระองค์จะดูแลและคุ้มครองให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง … พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เป็นหนึ่งองค์สำคัญที่มีการจัดสร้างมาตั้งแต่ยุคแรกๆ และยังคงเป็นที่นิยมสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน”

พระพุทธชินราช พระประธาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือที่เรียกกันว่า “วัดใหญ่” วัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยและเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยตอนปลาย หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 7 ศอก สันนิษฐานว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมๆ กับ พระพุทธชินสีห์และพระศาสดา เมื่อครั้งสถาปนาเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวง ในปี พ.ศ.1900

พระพุทธชินราช นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย และยังได้รับการยกย่องว่ามีพระพุทธลักษณะงดงามที่สุดในโลก

… เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นรูปเปลวเพลิง มีลักษณะพิเศษเรียกว่า “ทีฆงคุลี” คือที่ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกัน ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกรแต่มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และมีลำตัวเหรา (คล้ายจระเข้) อยู่ตรงกลางซุ้ม มีเทพอสุราปกป้องพระองค์อยู่สองตน คือ ท้าวเวสสุวัณ และอารวกยักษ์ …

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงนิยมอาราธนา “องค์พระพุทธชินราช” มาจัดสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ทั้ง พระบูชา พระเครื่อง และเหรียญ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้นำไปสักการบูชาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่นับว่าทรงคุณค่าและมีค่านิยมสูงสุดต้องยกให้ “เหรียญพระพุทธชินราช ปี พ.ศ.2460” ซึ่ง ณ ปัจจุบันถือเป็นเหรียญหลักระดับประเทศที่หาดูหาเช่าของแท้ได้ยากยิ่ง ด้วยเป็นเหรียญพระพุทธชินราชที่สร้างเป็นครั้งแรกและรุ่นแรก มีความทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ มีที่ไปที่มาชัดเจน และยังทรงพุทธคุณเป็นเลิศเป็นที่ปรากฏแก่ผู้สักการะ

เหรียญพระพุทธชินราช ปี พ.ศ.2460 จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จฯ นมัสการพระพุทธชินราช ณ เมืองพิษณุโลก ในราวปี พ.ศ.2458 แต่มาแล้วเสร็จและแจกได้ในปี พ.ศ.2460 ในการนี้ มีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ฯลฯ โดยจำนวนการจัดสร้างไม่มากนัก เท่าที่พบมีด้วยกัน 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

พุทธลักษณะเป็นเหรียญกลม หูเชื่อม ขอบกระบอก ด้านหน้าอาราธนาองค์พระพุทธชินราช ประทับนั่งบนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย ข้างองค์พระทั้ง 2 ข้าง จารึกอักษรไทย “พระพุทธ-ชินราช” ใต้พุทธบัลลังก์จารึกอักษร “น ภ จ ก” สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นร้านที่จัดสร้าง คือ “ร้านนาภาจารุอุปกรณ์” แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ย่อย โดยดูจาก สระ “อุ” ที่คำว่า “พระพุทธ” ถ้ามีลักษณะเป็นแนวนอน เรียก “อุนอน” ถ้าเป็นแนวตั้ง ก็เรียก “อุตั้ง”

ส่วนด้านหลังจัดสร้างเป็น 3 พิมพ์ เรียงลำดับตามความนิยมคือ

1.พิมพ์หลังอกเลา ตรงกลางจำลอง “อกเลาวิหารพระพุทธชินราช” อันศักดิ์สิทธิ์ พร้อมอักขระขอมกำกับ 4 ตัว

2.พิมพ์หลังหนังสือ 5 แถว จารึกอักษรไทยเป็น 5 แถว ว่า “ที่ระฤก-ที่ได้มาในงาน-นมัสการพระพุทธ-ชินราช ณเมือง-พิศณุโลก”

3.พิมพ์หลังหนังสือ 3 แถว จารึกอักษรไทยเป็น 3 แถว ว่า “ที่ระฤกที่ได้มา-นมัสการณเมือง-พิศณุโลก”

เหรียญพระพุทธชินราช ปี พ.ศ.2460 พิมพ์อุนอน หลังอกเลา นับเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดและได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในชุด “เบญจภาคีเหรียญพระพุทธ” ของเมืองไทย ซึ่งเป็นที่แสวงหาอย่างสูง




หลวงปู่แสน ปสนฺโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ



เหรียญนาคคู่ รุ่นฉลองหอระฆัง ๑๑๑ ปี

หลวงปู่แสน ปสนฺโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังแห่งภาคอีสานใต้ พระนักปฏิบัติผู้ถือสมถะ ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้คน บูรณะและพัฒนา เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนชาวอีสานและใกล้เคียง

ปัจจุบันอายุครบ 110 ปี นับเป็นหนึ่งในพระเกจิผู้มีอายุยืนยาวในยุคปัจจุบัน

เกิดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก ตรงกับวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2450 ที่บ้านโพง ต.ไพรบึง อ.ขุขันธ์ จ.ขุขันธ์

บรรพชาที่วัดบ้านโพง ศึกษากับหลวงพ่อมุม ที่วัดปราสาทเยอร์ใต้ จนจบชั้น ป.4 เมื่ออายุครบ 21 ปี อุปสมบทและศึกษาอาคมกับหลวงพ่อมุมอย่างต่อเนื่อง จนมีเหตุจำเป็นต้องลาสิกขาออกมาช่วยเหลือทางบ้านเมื่ออายุ 24 ปี

หลังจากสึก เป็น "หมอธรรม" ช่วยเหลือผู้คนในชุมชนจนเป็นที่เคารพนับถือ ยามเว้นว่างจากการทำเกษตรกรรม ก็ชักชวนเพื่อนหมอธรรมด้วยกันเดินทางไปเขมร เพื่อศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม ได้พบพระผู้ใหญ่และพระอาจารย์จากทางเขมรมากมาย โดยหลวงปู่จะเลือกเรียนเฉพาะวิชาที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือและรักษาผู้คนเท่านั้น

เมื่อหมดภาระทางบ้าน จึงกลับเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง โดยไปจำพรรษาที่บ้านกุดเสล่า อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ แต่ยังคงรักการธุดงค์มักออกธุดงควัตรอยู่เป็นนิจ จนเมื่อหลวงตาวัน พระสหายรุ่นน้องได้ไปกราบนิมนต์ให้มาช่วยสร้างวัด ด้วยตัวท่านรักสมถะปีต่อมาจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์โนนไทย จนเมื่อได้เห็นสภาพ "วัดบ้านหนองจิก" ที่จะกลายเป็นวัดร้าง ท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาและพัฒนาจนวัดรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จำพรรษาอยู่ได้ 4 ปี โยมญาติจากวัดบ้านโพรงก็เดินทางมานิมนต์ท่านให้ไปช่วยพัฒนาวัด เพราะที่วัดไม่มีพระจำพรรษาเกรงว่าต่อไปจะแปรสภาพเป็นวัดร้าง หลวงปู่ก็เมตตาไปจำพรรษาทำนุบำรุงวัดจนเจริญขึ้น แม้อายุจะย่างเข้า 93 ปี

จนเมื่อหลวงปู่แสน อายุ 97 ปี ลูกหลานญาติโยมเป็นห่วงสุขภาพ จึงได้พากันไปนิมนต์กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองจิกจนถึงทุกวันนี้

เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2560 เป็นวันคล้ายวันเกิด "หลวงปู่แสน" อายุครบ 110 ปี ย่างเข้าสู่ปีที่ 111 ศิษยานุศิษย์จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญนาคคู่ "รุ่นฉลองหอระฆัง ๑๑๑ ปี ชาตกาล" เพื่อฉลองอายุและเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาและเคารพนับถือหลวงปู่ได้ร่วมกุศล รายได้นำไปสมทบทุนสร้างหอระฆังที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งสร้างศาลาที่ยังต้องใช้ปัจจัยอีกมาก โดยได้รับมอบมวลสารศักดิ์สิทธิ์สำคัญจากวัดป่า นิโครธาราม อันได้แก่ ก้อนชนวนที่เหลือจากการหล่อพระประธาน อุปมาว่า "เหลือกิน เหลือใช้", ฝาบาตรของหลวงปู่อ่อนที่เปิดรับอาหารจากญาติโยมผู้ศรัทธา อุปมาว่า "เปิดรับสิ่งมงคลโชคลาภ" และระฆังที่แขวนอยู่บนช่อฟ้าโบสถ์เก่าวัดป่านิโคร ธาราม ซึ่งเป็นจุดสูงสุด อุปมาว่า "ชื่อเสียงโด่งดัง มีแต่ผู้คนรักใคร่" มวลสารสำคัญทั้ง 3 นี้ ได้ผ่านการสวดรับปาฏิโมกข์มาเป็นวาระแรกแล้ว ณ โบสถ์วัดป่านิโครธาราม เมื่อวันเพ็ญอาสาฬหบูชาที่ผ่านมา โดย หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ศิษย์เอก หลวงพ่อเงิน-หลวงพ่อแช่ม ได้ร่วมปลุกเสกด้วย จากนั้นจะได้นำมวลสารทั้งสามรวมทั้งตะกรุดโทนพอกผงศักดิ์สิทธิ์ ไปให้หลวงปู่แสนอธิษฐานจิตเดี่ยวอีกวาระ ก่อนนำมาบดย่อยหลอมรวมผสมลงไปในวัตถุมงคล พิธีพุทธาภิเษกเดี่ยวในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา ณ วัดบ้านหนองจิก

บัดนี้ เหรียญนาคคู่ รุ่น "ฉลองหอระฆัง ๑๑๑ ปี ชาตกาล" ได้ผ่านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ครบถ้วนสมบูรณ์ มากด้วยความงดงามทางพุทธศิลป์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร.09-2895-9824







พระกริ่ง-พระชัย หลวงปู่แสน

หลวงปู่แสน ปสนฺโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรี สะเกษ "เทพเจ้าแห่งเขาภูฝ้ายใกล้ชายแดนเขมร" พระเกจิดังแห่งแดนอีสานใต้ ปัจจุบันอายุ 109 ปี

เกิดเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ปีวอก ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ.2450

พื้นเพเป็นคนบ้านโพง ต.ไพรบึง อ.ขุขันธ์ จ.ขุขันธ์ (ปัจจุบัน ต.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ)

ระหว่างบวชเณรก็ได้ไปศึกษาเล่าเรียนหนังสือกับ หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอใต้ จนเรียนจบ ป.4 จากนั้นเรียนตำราพระเวทต่อทั้งภาษาขอม และภาษาธรรมบาลี จนกระทั่งอายุ 21 ปี ได้เข้าอุปสมบท แต่ก็ยังคงศึกษาวิชากับพระอาจารย์มุมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งอายุ 24 ปี ได้ลาสิกขาออกมาเพื่อมาช่วยงานทางบ้าน

เป็น "หมอธรรม" ช่วยเหลือชาวบ้านในขณะที่เป็นฆราวาส ซึ่งเมื่อเว้นว่างจากการทำเกษตรกรรม มักชักชวนเพื่อนๆ หมอธรรมเดินทางไปเขมร เพื่อเรียนเพิ่มเติมที่จังหวัดพระตะบอง, เสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ ได้เข้าพบพระผู้ใหญ่และพระอาจารย์จากทางเขมรผู้ทรงคุณมากมาย โดยเลือกเรียนวิชาที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือรักษาผู้คน

ต่อมาเมื่อหมดภาระทางบ้าน จึงได้กลับเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง โดยไปจำพรรษาที่บ้านกุดเสล่า อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้ธุดงค์ใน เขตเทือกเขาพนมดงรักเป็นนิจ อยู่อย่างสมถะ ไม่มักมาก ไม่ยึดติด เป็นพระนักปฏิบัติที่ชาวบ้านกุดเสล่าเคารพศรัทธาอย่างมาก

ต่อมาหลวงตาวันพระสหายรุ่นน้องได้ไปกราบนิมนต์ให้มาช่วยสร้างวัด โดยเจ้าคณะอำเภอกันทรลักษ์อนุญาตให้ไปอยู่ที่วัดอรุณสว่างวราราม (วัดบ้านกราม) แต่ด้วยตัวท่านรักสมถะ ปีต่อมาจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์โนนไทย (วัดกูไทยสามัคคีในปัจจุบัน) อยู่ 3 ปี แล้วย้ายไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิก 4 ปี เพื่อช่วยทำนุบำรุงวัดร้างจนวัดมีพระเข้ามารับช่วงต่อ โยมญาติพี่น้องจึงได้เดินทางมานิมนต์ท่านให้ไปจำพรรษา ณ วัดบ้านโพง ซึ่งเป็นวัดสมัยที่ท่านบวชเณร

แม้อายุจะย่างเข้า 93 ปี แต่หลวงปู่ก็เมตตาไปจำพรรษาที่วัดบ้านโพงโดยรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดในช่วงนั้น...ด้วยพระเดชพระคุณของหลวงปู่แสน "วัดใดที่จะร้าง" เมื่อท่านไปจำพรรษา วัดนั้นก็จะเต็มไปด้วยพระลูกวัดในขณะที่จำพรรษาอยู่

จนอายุ 97 ปี ลูกหลานญาติโยมเป็นห่วงสุขภาพ จึงได้พากันไปนิมนต์หลวงปู่แสนจากวัดบ้านโพงกลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองจิก จนถึงทุกวันนี้ ท่านยังคงเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนภาคอีสานและโดยทั่วไปที่ได้ทราบกิตติศัพท์และคุณูปการมากมายที่มีต่อพระบวรพุทธศาสนา วัตถุมงคลที่ท่านสร้างล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหา ด้วยความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ปรากฏประจักษ์แก่ผู้บูชา

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2559 วัดหนองจิกได้จัดสร้าง "พระกริ่ง-พระชัย ไตรมาสแสนรวยทันใจ" เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 9 รอบ (108 ปี) และนำรายได้สมทบทุนสร้างศาลาการ เปรียญ โดยหลวงปู่แสนได้ปลุกเสกเดี่ยวตลอดพรรษา ปี"59 และประกอบพุทธาภิเษกอีกครั้ง ใน "ฤกษ์จันทร์ซ้อนจันทร์เพ็ญเดือนสิบสอง" ปี"59 โดย หลวงปู่แสน และหลวงปู่เร็ว ฉันทโก วัดหนองโน พระเกจิดังแห่งอุบลราชธานี ศิษย์เอกหลวงปู่ญาท่านสวน ผู้สืบทอดวิชาอาคมสายสมเด็จลุน

พระกริ่งไตรมาสแสนรวยทันใจ สร้างเนื้อเดียว คือ เนื้อเหล็กน้ำพี้ผสมชนวนศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 2,559 องค์ มีหมายเลขกำกับทุกองค์ ก้นอุดผงว่านร้อยแปด ติดจีวรเกศาหลวงปู่แสนทุกองค์ เกศทองคำ สร้าง 8 องค์ เลข 901 ถึง 909, เกศเงิน สร้าง 101 องค์เลข 800 ถึง 900, พระกริ่งสองโค้ด สร้าง 313 องค์ แจกพระเกจิและผู้มอบมวลสาร แบ่งมาทำเกศทองคำ 12 องค์ ถวายพระเกจิที่มาปลุกเสกในพิธี และกรรมการที่ร่วมกันจัดสร้าง

พระชัยไตรมาสแสนรวยทันใจ เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ผสมชนวนพระกริ่ง สร้างแจกทาน "โค้ดเดียว" จำนวน 1,000 องค์ ส่วน "สองโค้ด" สร้าง 20 องค์ แบ่งมาทำเกศทองคำ 12 องค์ เพื่อแจกพระเกจิที่มาปลุกเสก และถวายเงินสดสร้างศาลาการเปรียญวัดบ้านหนองจิกจำนวน 600,000 บาท

สอบถามที่โทร.09-2895-9824







พิมพ์วันทาเสมา วัดพลับ

วัดพลับ หรือชื่อที่เป็นทางการว่า "วัดราชสิทธาราม" นั้น ตั้งอยู่ อ.บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชา ด้วยเป็นแหล่งกำเนิดพระเนื้อผงชื่อดังนาม "พระวัดพลับ" อมตะพระกรุเก่าที่มีอายุมากกว่า 200 ปี

พระวัดพลับแตกกรุเมื่อประมาณปีพ.ศ.2470 โดยเล่าขานกันว่า "...ในครั้งนั้นมีกระรอกเผือกตัวหนึ่งมาวิ่งเล่นอยู่บริเวณลานวัดพลับ ด้วยความสวยงามเป็นที่สะดุดตา บรรดาพระสงฆ์ สามเณร และชาวบ้านในบริเวณนั้นจึงช่วยกันไล่จับ กระรอกเผือกได้หนีเข้าไปในโพรงพระเจดีย์ ชาวบ้านจึงช่วยกันกระทุ้งโพรงนั้น แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ได้ปรากฏพระพิมพ์จำนวนมากไหลออกมาจากโพรงพระเจดีย์ ถึงขนาดต้องเอากระบุงหลายใบมารองรับและเก็บรักษาไว้ ซึ่งนับเป็นการแตกกรุครั้งแรกและครั้งยิ่งใหญ่..." และกลายเป็นที่มาของชื่อ"กรุกระรอกเผือก"

ต่อมา เมื่อเจ้าอาวาสเปิดกรุพระเจดีย์อย่างเป็นทางการ ก็ปรากฏว่ามีโพรงใหญ่อยู่กลางพระเจดีย์ และพบ "พระวัดพลับ" อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมี "พระสมเด็จอรหัง" ทั้งพิมพ์สามชั้นและพิมพ์ฐานคู่ ซึ่งพระสมเด็จอรหังนั้นสร้างโดยสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) และก่อนที่จะไปครองวัดมหาธาตุท่านเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดพลับมาก่อน กอปรกับพระวัดพลับเป็นพระเนื้อผงที่มีส่วนผสมคล้ายคลึงกับพระสมเด็จอรหังมาก จึงสันนิษฐานว่า "พระวัดพลับ" น่าจะสร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผงเช่นกัน

พระวัดพลับเป็นพระเนื้อผงสีขาว หนึกนุ่ม มีรอยแตกร้าวแบบไข่นกปรอด บางองค์จะมีรอยลานของเนื้อพระ อันเกิดจากความร้อน แต่ก็ไม่ถือเป็นเอกลักษณ์สำหรับทุกองค์ ยังพบที่ทำด้วยตะกั่วบ้าง แต่ขนาดจะเล็กและไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก เท่าที่พบจะมีมากมายหลายพิมพ์ ทั้งประทับนั่งขัดสมาธิ พระไสยาสน์ พระปิดตา หรือแบบ 2 หน้า โดยได้รับการขนานนามต่างๆ กันไปตามพุทธลักษณะขององค์พระ อาทิ พิมพ์วันทาเสมา หรือพิมพ์ยืนถือดอกบัว, พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ชะลูด, พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก, พิมพ์พุงป่องใหญ่, พิมพ์พุงป่องเล็ก, พิมพ์สมาธิใหญ่, พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต, พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง, พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่, พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก ฯลฯ

พระวัดพลับ พิมพ์วันทาเสมา หรือพิมพ์ยืนถือดอกบัว นับเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด ซึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนพระมีน้อยและมีพุทธลักษณะที่แปลกแตกต่างก็เป็นได้ ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5 ซ.ม. ลักษณะพิมพ์ทรงยาวรีแบบเม็ดขนุน ด้านหลังนูนเล็กน้อย หลังแบนก็มีบ้าง

เอกลักษณ์แม่พิมพ์-พระเกศสั้นจิ่มบนมุ่นพระเมาลี เหมือนสวมหมวกกุยของชาวจีน-พระนาสิกยื่นเป็นติ่ง-พระหนุ (คาง) ยื่นแหลม มีเส้นหนวดเครา-มีเส้นเอ็นพระศอ 2 เส้น-พระหัตถ์ถือดอกบัว อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์-ลำพระองค์ค้อมเล็กน้อย-ส่วนพระโสณี (สะโพก) มักนูนเป็นกระเปาะ คล้ายไหกระเทียม-ปลายจีวรสั้น แลคล้ายนุ่งกางเกงขาลอย-ปลายพระบาทเอียงลาด ด้านหลังจะยื่นออกเล็กน้อย

การพิจารณา "พระวัดพลับ" ให้ดูที่ผิวขององค์พระ พระที่บรรจุอยู่ในกรุเจดีย์กระรอกเผือกเป็นเวลานานนับร้อยกว่าปี ทำให้เกิดปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากความชื้น ความร้อน และความเย็น องค์พระที่ปรากฏจะมีสีผิวค่อนข้างขาว มีลักษณะเป็น "คราบน้ำ" ตกผลึกเป็นสีขาวและสีเหลืองอ่อนเจือปน ที่เรียกกันว่า "ฟองเต้าหู้" บางองค์เกาะเป็นก้อนจนแลดูเหมือนมี "เนื้องอก" ขึ้นจากพื้นผิวขององค์พระเป็นเม็ดๆ แต่เมื่อขูดออกผิวขององค์พระก็จะเรียบเหมือนเดิมทุกประการ

นอกจากจะพบที่กรุกระรอกเผือก วัดพลับแล้ว ได้มีการค้นพบบรรจุอยู่ในกรุพระเจดีย์ วัดโค่ง จ.อุทัยธานี แต่มีจำนวนไม่มากนัก

ถึงแม้ว่าค่านิยมจะลดหลั่นกันไปตามพิมพ์และกรุที่พบ แต่ด้านพุทธคุณนั้น "พระวัดพลับทุกพิมพ์" เข้มขลังเป็นเลิศเป็นที่ปรากฏ ทั้งด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง - ราม วัชรประดิษฐ์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #66 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2560 11:38:21 »

      พระนางกำแพง  
ตระกูลพระนางกำแพง จ.กำแพงเพชร ตามที่ได้กล่าวแล้วว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ

นอกจากนี้ ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย ฉบับที่แล้วได้พูดถึงพระนางกำแพงเม็ดมะลื่นกันไป ฉบับนี้มาดูอีก 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม

เริ่มด้วย "พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด" หนึ่งในพระนางกำแพง ก็จะสังเกตได้จากลักษณะของเส้นขอบ บังคับพิมพ์เป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ในตัว เพียงแต่ไม่มีการตัดขอบ จึงทำให้เหลือส่วนที่เป็นปีกทั้งข้างและด้านใต้ฐานพระลักษณะคล้าย "เม็ดมะเคล็ด" จึงนำมาเป็นชื่อของพิมพ์

พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด มีปรากฏในแทบทุกกรุทั่วบริเวณเช่นเดียวกับพระนางกำแพงอื่นๆ และเป็นอีกหนึ่งพิมพ์ที่ราคายังไม่สูงนัก แต่พุทธคุณก็ไม่แตกต่างกันเลย เนื้อหามวลสารก็เช่นกัน เป็นเนื้อดินที่ละเอียด แข็ง และแกร่ง ปรากฏคราบกรุสีขาวนวลจับแน่นทั่วองค์ องค์พระส่วนใหญ่จะเป็นสีดำเกือบทั้งหมดสีน้ำตาลมีน้อยหายาก

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่งปางมารวิชัย สถิตอยู่ในเรือนแก้วรูปสามเหลี่ยมแบบหนึ่ง อีกแบบหนึ่งไม่เรือนแก้ว ทั้งสองแบบองค์พระสถิตบนพื้นฐานคล้ายรูปทรงของเม็ดมะเคล็ด ซึ่งโดยส่วนมากจะประณีต มีเพียงบางองค์ที่ทำเป็นปีกเหลือไว้บ้าง

 - ลักษณะองค์พระด้านล่างจะป้อมอูมและนูน ส่วนด้านบนจะเรียวเล็ก และส่วนใหญ่จะกดพิมพ์มาตื้นแทบทุกองค์

 - พระเศียรใหญ่ คล้ายทรงเทริด แต่ด้วยการกดพิมพ์ตื้นทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน

 - พระเกศเรียว ช่วงปลายบานออกแบบทรงกรวย

 - ภายนอกซุ้มเรือนแก้ว มีเนื้อเกินเป็นปีกกว้างออก แล้วโอบล้อมกลืนไปกับด้านหลังเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสมดุล

 - ด้านหลังองค์พระบางองค์จะพอเห็นลายนิ้วมือ แต่มักจะเลือนรางมาก

พระนางกำแพงพิมพ์ต่อมา คือ "พระนางกำแพงกลีบบัว"

พระนางกำแพงกลีบบัว มีการค้นพบครั้งแรกที่กรุพระบรมธาตุ ในปี พ.ศ.2392 ต่อมาปรากฏในแทบทุกกรุทั่วบริเวณเช่นเดียวกับพระนางกำแพงอื่นๆ กรุที่ได้รับความนิยมกันมากจะเป็น กรุวัดพิกุลและวัดป่ามืด เนื้อหามวลสารส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ ส่วนมากเนื้อจะละเอียดหนึกนุ่ม หากผ่านการสัมผัสใช้มา ว่านดอกมะขามปรากฏกระจายอยู่ทั่วไปบนองค์พระและรารักหรือราดำ ปรากฏให้พบเห็นมากบ้างน้อยบ้าง ตามแต่พระที่พบขึ้นจากกรุนั้นๆ สำหรับเนื้อว่าน และเนื้อชิน ปรากฏให้พบเห็นบ้าง แต่ไม่มากนัก

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร อยู่บนอาสนะฐานเขียง องค์พระค่อนข้างล่ำสัน แต่ปีกด้านข้างจะเรียวเล็กกว่าคล้ายกลีบบัว จึงนำลักษณะดังกล่าวนี้มาตั้งเป็นชื่อพิมพ์

พระนางกำแพงกลีบบัว มักมีขนาดไม่เท่ากัน คือตั้งแต่ 1.2 X 2.2 ซ.ม. จนถึง 1.6 X 3 ซ.ม. และยังสามารถแยกเป็นพิมพ์ต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในส่วนเกศไม่มากนักออกเป็นอีก 4 พิมพ์ คือ

 - พิมพ์เกศแฉก
 - พิมพ์เกศปลี
 - พิมพ์เกศบัวตูม
 และ - พิมพ์เกศเปลว

มาที่ "พระนางกำแพงพิมพ์ตื้น" ลักษณะพิมพ์ทรงจะเป็นรูปสามเหลี่ยมเรขาคณิตเหมือนพระนางพญา และก็เป็นไปตามชื่อพิมพ์อีกเช่นกัน คือ ลักษณะการกดพิมพ์ค่อนข้างตื้น ทำให้เส้นแสงรายละเอียดต่างๆ ไม่ชัดเจนนัก

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัย สถิตอยู่บนอาสนะฐานเขียง พระพักตร์ใหญ่อ่อนช้อยและชัดเจน พุทธลักษณะเหมือนพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

 - มีเส้นรางๆ จากโคนพระเกศมาจรดพระเมาลีด้านซ้าย
 - พระสังฆาฏิเป็น 2 เส้น ปลายแหลมคม
 - มีตุ่มข้างพระพาหาด้านซ้ายมือด้านใน
 - เส้นชายจีวรพาดข้อพระหัตถ์ด้านซ้ายเป็นเส้นเล็กๆ รางเลือน
 - มีเส้นพิมพ์แตกเฉียงจากพระหัตถ์ขวามายังพระชานุ

การพิจารณาพระนางกำแพงทุกพิมพ์ ในเบื้องต้นให้ดูที่เอกลักษณ์ของพระกรุเมืองกำแพง คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน มีความละเอียดนุ่ม และมี "รารัก หรือ ราดำ" ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และยังเป็นจุดในการพิจารณา พระแท้ พระปลอม ได้อีกด้วยครับผม
ชมรมพระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์


      พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น    

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนางกำแพง พระที่ถูกขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชร ส่วนใหญ่ก็จะพบที่บริเวณทุ่งเศรษฐี พระนางกำแพงเพชรเป็นพระที่พบจำนวนมากหน่อย มีมากมายหลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งในฝั่งทุ่งเศรษฐี (นครชุม) และฝั่งตัวจังหวัด และยังมีอยู่หลายพิมพ์ และนิยมทุกพิมพ์ทุกกรุครับ

พระนางกำแพงเป็นพระที่พุทธลักษณะองค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ส่วนใหญ่จะประทับบนฐานเขียงเป็นเส้นตรงๆ พื้นผนังของพระก็เรียบๆ ไม่ปรากฏเส้นซุ้มใดๆ แต่การตัดขอบก็จะมีแตกต่างกันไปหลากหลายแบบ ส่วนใหญ่ก็จะตัดเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม และยังมีแบบที่มีปีก ด้านข้างคล้ายรูปกลีบบัวก็จะเรียกกันว่าพระนางกำแพงกลีบบัว บางองค์ขอบด้านข้างออกมนๆ ปลายค่อนข้างมนบ้าง แหลมบ้าง ก็จะเรียกกันว่าพระนางกำแพงเม็ดมะลื่น เนื่องจากลักษณะคล้ายเม็ดมะลื่น (เม็ดมะลื่นก็คือเม็ดกระบก) ส่วนที่มีฐานเป็นขีดๆ ก็จะเรียกว่าพระนางกำแพงฐานตาราง ส่วนพระที่พบทางฝั่งตัวจังหวัดกรุหนึ่งพระมีลักษณะเรียวๆ แหลมส่วนใหญ่จะมีสีดำ คล้ายเม็ดมะเคล็ด ก็จะเรียกว่าพระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด ส่วนพระนางกำแพงที่ตัดเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมนั้นก็ยังแยกได้เป็นสองพิมพ์คือ พระพิมพ์ลึก และพระพิมพ์ตื้น

พระนางกำแพง ถูกขุดพบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดช้างลอบ และวัดอื่นๆ อีกเกือบทุกกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พระที่พบมีทั้งพระเนื้อดินเผา เนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง (พบน้อยมาก) และพระเนื้อว่าน ทั้งว่านหน้าเงิน ว่านหน้าทอง และเนื้อว่านธรรมดา พระนางกำแพงจะนิยมพระเนื้อดินมากกว่าเนื้ออื่นๆ เนื้อดินของพระในตระกูลกำแพงเพชรนั้นจะมีเอกลักษณ์ที่เป็นพระเนื้อหนึกนุ่ม มีผิวบางๆ ถ้าเป็นพระที่ยังไม่ผ่านการสัมผัส จะมีฝ้านวลกรุจับบางๆ อยู่ตามผิวทั่วไป บางองค์ถูกความชื้นในกรุก็จะปรากฏรารัก (ราดำ) อยู่ประปราย ก็สวยงามไปอีกแบบหนึ่ง ส่วนถ้าเป็นพระที่ถูกใช้สัมผัสเหงื่อไคล จะมีเนื้อที่เป็นมันหนึกนุ่มมากเป็นที่ยอมรับกันว่าพระตระกูลกำแพงเพชรเป็นพระที่มีเนื้อหนึกนุ่มมาก

พระนางกำแพง เป็นพระที่ถูกพบมากที่สุดของพระเครื่องตระกูลกำแพงเพชร จึงทำให้สนนราคานั้นถูกกว่าอื่นๆ ในตระกูลเดียวกัน แต่พุทธศิลปะนั้นก็เป็นเลิศ เป็นศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งถูกแยกออกทางวิชาการเป็นหมวดหนึ่งของศิลปะสุโขทัย พระพักตร์ของพระสกุลช่างนี้จะมีขมับกว้างเด่นชัดและค่อยๆ เรียวลงมาถึงคาง แบบรูปไข่ เป็นเอกลักษณ์ของพระสกุลช่างนี้ ลำพระองค์จะมีหัวไหล่กว้าง อกเอวคอดสะโอดสะองอ้อนแอ้น งดงามมาก ศิลปะแบบนี้มีอยู่แต่ในกำแพงเพชรเท่านั้น

พระนางกำแพงในสมัยก่อนถึงจะมีจำนวนมากสักเท่าไรก็ตาม แต่ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ โดยเฉพาะพระที่สวยๆ สมบูรณ์นั้นก็หายาก เนื่องจากรายละเอียดของพระพักตร์ เช่น คิ้ว ตา ปาก จมูก หูเป็นเส้นเรียวเล็กมาก และคุณสมบัติที่เป็นพระเนื้อดินละเอียด และหนึกนุ่มจึงทำให้พระส่วนใหญ่นั้นสึกหรอไปตามกาลเวลา จะหาพระที่มีหน้าตาสวยสมบูรณ์นั้นยากมาก

พุทธคุณของพระนางกำแพงก็เฉกเช่นเดียวกับพระในตระกูลกำแพงอื่นๆ ไม่ผิดเพี้ยน เด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้า คุ้มครองป้องกันภัยต่างๆ พระนางกำแพงปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากแล้วครับ สนนราคาก็สูงอยู่พอสมควรครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระนางกำแพงเม็ดมะลื่น ซึ่งปัจจุบันค่านิยมสูง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์


      พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อชินเงิน 

กำแพงซุ้มกอ เป็นพระของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเบญจภาคี ซึ่งเป็น พระซุ้มกอเนื้อดินเผา ที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่มตามแบบเนื้อทุ่งเศรษฐี และเป็นพระที่มีความนิยมสูง
พระกำแพงซุ้มกอ มีการขุดพบที่บริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมีอยู่หลายกรุ เช่น พบในกรุของวัดบรมธาตุ กรุวัดพิกุล กรุวัดซุ้มกอ นอกจากนี้ก็ยังมีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีลายกนก พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีลายกนก หรือที่มักเรียกกันว่า “พระซุ้มกอดำ”
เนื่องจากพระส่วนใหญ่องค์พระมักจะเป็นเนื้อดินเผาสีดำ มีบ้างที่มีสีออกเป็นน้ำตาลไหม้แต่พบน้อยมาก พระกำแพงซุ้มกอไม่มีลายกนกจะมีแต่พิมพ์ใหญ่เพียงพิมพ์เดียวและมีเนื้อดินเผาเนื้อเดียว
พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์กลางจะมีลายกนก และพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์เล็ก ซึ่งพระพิมพ์นี้ส่วนมากจะมีเนื้อเกินเป็นปีกข้าง สัณฐานกลมๆ จึงมักจะเรียกว่า “พิมพ์ขนมเปี๊ยะ”

พระกำแพงซุ้มกอส่วนใหญ่ที่พบนั้น จะเป็นพระเนื้อดินเผาแทบทั้งสิ้น เนื้อว่านแทบจะไม่ได้พบเห็นกันเลย และพระเนื้อชินอีกเนื้อหนึ่งที่แทบจะไม่พบเห็นกันเลย เนื่องจากพระที่ขุดพบนั้นจะมีสภาพผุกร่อนเสียหายเป็นส่วนใหญ่ แทบจะไม่มีองค์พระที่สมบูรณ์เลย จึงพบเห็นได้น้อยมากแม้แต่รูปภาพก็ยังหายากครับ

 พระชุดเบญจภาคีในชั้นแรกก็ยังมิได้จัด พระกำแพงซุ้มกอเข้าอยู่ในชุด ส่วนตัวแทนพระของทุ่งเศรษฐีนั้นได้จัดพระกำแพงเม็ดขนุนเข้าไว้ในชั้นแรก แต่ต่อมานักนิยมพระเครื่องในสมัยก่อนได้พิจารณาดูแล้วว่า รูปทรงและพุทธลักษณะของพระเม็ดขนุนนั้น ในด้านรูปทรงโดยรวมเป็นลักษณะรูปทรงยาวรี พุทธลักษณะก็เป็นพระประทับยืน

ซึ่งพระอีก 4 องค์ของพระชุดเบญจภาคีล้วนแต่เป็นพระประทับนั่ง เมื่อนำมาจัดชุดเข้ากับสร้อยคอเพื่อแขวนนั้น จะไม่ค่อยสมมาตรกันสักเท่าไหร่ จึงได้คิดเปลี่ยนนำพระกำแพงซุ้มกอเข้ามาแทนที่ซึ่งพุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งเช่นเดียวกัน และสัณฐานก็ใกล้เคียงกัน พอนำมาแขวนกับสร้อยคอแล้วก็ดูสมมาตรดูสวยดี จึงเปลี่ยนมาจัดชุดพระเบญจภาคีที่เป็นพระของกำแพง เพชรจากพระกำแพงเม็ดขนุน มาเป็นพระกำแพงซุ้มกอตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ในด้านพุทธคุณของพระกำแพงซุ้มกอก็เด่นทางด้านเมตตามหานิยมโภคทรัพย์ตามแบบฉบับของพระทุ่งเศรษฐี ในด้านความนิยมก็สูงมากและเป็นพระที่หาพระแท้ๆ ยากมากเช่นกันส่วนในวันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงซุ้มกอ เนื้อชินเงินที่ค่อนข้างหายาก แต่ค่านิยมก็ยังเป็นรองพระเนื้อดินเผา เนื่องจากพระที่สมบูรณ์นั้นมีน้อยมากจนแทบจะไม่ค่อยมีคนทราบว่าพระกำแพงซุ้มกอนั้นมีที่เป็นพระเนื้อชินด้วย จึงอยากจะนำมาให้ชม โดยได้นำรูปพระมาจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์


         มงคลพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ 

พระ 25 พุทธศตวรรษ มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานมณฑลสุทรรศน์” ซึ่งไม่ว่ากาลเวลาผ่านมาเนิ่นนานถึง 60 ปี แต่กระแสความนิยมก็ไม่เคยตกเลย

ในปี พ.ศ.2500  ประเทศไทยมีการจัดงานฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ เรียกชื่อว่า “งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” มีการจัดสร้างพระศรีศากยะทศพลญาณ พระพุทธรูปปางลีลา ความสูง 2,500 นิ้ว (62.50 เมตร) เป็นพระประธาน ณ พุทธมณฑล เพื่อต้องการให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาแห่งโลก

และมีการจัดสร้างพระเครื่องปางลีลากันมากมายหลายชนิด ขนานนามตามชื่องานว่า “พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ” พิธีพุทธาภิเษกก็จัดอย่างยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ไปประกอบพิธีและกดปั๊มพระพิมพ์นำฤกษ์ อันนับเป็นมหามงคลสูงส่ง

การสร้างวัตถุมงคลจำลององค์พระประธานปางลีลามีมากมายหลายแบบ อาทิ พระพุทธรูปบูชาทองคำแบบพุทธลีลา, พระเครื่องเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 2,500 องค์, พระเนื้อชิน จำนวน 2,421,250 องค์, พระเนื้อดิน (เนื้อดินผสมเกสร) จำนวน 2,421,250 องค์ โดยมีพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานฝ่ายจัดสร้าง

นอกจากนี้ ยังได้สร้างพระเนื้อนากและเนื้อเงินอีกจำนวนหนึ่ง ถวายพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีปลุกเสก และคณะกรรมการ ซึ่งปัจจุบันแทบจะหาองค์แท้ได้ยากยิ่ง และทางกองกษาปณ์ยังได้สร้างเหรียญใบเสมาขึ้นมาสมทบด้วย

พิธีพุทธาภิเษกทุกขั้นตอนถูกต้องครบถ้วนตามพิธีกรรม ล้นเกล้าฯ ร.9 เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้าง “พุทธมณฑล” เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2498 และเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธปฏิมาประธานพุทธมณฑล” และทรงกดพระพิมพ์ “พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ” เนื้อดินจำนวน 30 องค์ ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2500

พิธีพุทธาภิเษกมีถึง 2 วาระ วาระแรกนำมวลสารศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก-ปลุกเสก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม มีพระเกจิคณาจารย์มาร่วมพิธีครบ 108 รูป วาระที่ 2 วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2500 นำพระเครื่องทั้งหมดเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งเป็นระยะเวลา 3 วัน 3 คืน

ในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม มีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศมหาวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมสมเด็จพระราชาคณะเจริญพุทธมนต์ 25 รูป พระเกจิคณาจารย์ร่วมปลุกเสกบรรจุพุทธาคมครบ 108 รูปเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดเป็นพระเกจิชื่อดังแห่งยุคจากทั่วประเทศ รวมเวลาประกอบพิธีพุทธาภิเษก 2 วาระทั้งสิ้น 6 วัน 6 คืน

ด้วยความเป็นเลิศทั้งด้านพุทธศิลป์ที่อ่อนช้อยงดงาม ไล่ตั้งแต่เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนาก มาจนถึงชินตะกั่วและเนื้อผง โดยเฉพาะพระเนื้อชิน และเนื้อผงเกสร ที่มีจำนวนการจัดสร้างค่อนข้างมาก ดังนั้น การแสวงหาไว้เช่าบูชาถ้าไม่ใช่โดยตรงจากแหล่งกำเนิดแล้ว ควรต้องมีการพินิจพิจารณาให้ถ่องแท้ก่อน

สำหรับพระเนื้อชินจะมีส่วนผสมของดีบุก ตะกั่ว พลวง ทำให้องค์พระมีประกายวาวๆ คล้ายปรอทสวยงาม แล้วยังมีบล็อกแตกซึ่งกลายเป็นที่นิยมเรียก ‘พิมพ์มีเข็ม’ ลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายแท่งเข็มใต้บัว กับ ‘พิมพ์ไม่มีเข็ม’ ก็เป็นที่เล่นหากัน ส่วนพระเนื้อดิน สวยงามด้วยขนาดสีสันวรรณะมีหลากหลายสี โดยเนื้อดินนำมาจากทะเลสาบสงขลา ดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่งอันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์ และดินศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ
   ชมรมพระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #67 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2560 13:09:55 »

 พระยอดขุนพล กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี และเป็นสถานที่พบพระเครื่องต่างๆ มากมาย ซึ่งพระเครื่องต่างๆ เหล่านั้นก็มีพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูง เช่น พระร่วงหลังลายผ้า พระหูยาน เป็นต้น แต่นอกจากพระเครื่องทั้ง 2 ชนิดนี้แล้วก็ยังพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกมากมาย ทั้งพระแผงขนาดเขื่องที่สวยงามตามรูปแบบศิลปะขอม และพระเครื่องบางชนิดที่แทบหาชมไม่ได้เลย เนื่องจากพบขึ้นจากกรุน้อยมาก สันนิษฐานว่าอาจจะชำรุดเสียหายผุกร่อนไปก่อนหน้านั้นแล้วก็เป็นได้ เนื่องจากพระส่วนใหญ่เป็นพระที่สร้างด้วยเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่ว จึงอาจจะเกิดสนิมทำให้เสียหายไปจากความชื้นและกาลเวลา พระบางอย่างจึงแทบไม่ได้พบเห็นกันเลยครับ

พระเครื่องชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า “พระยอดขุนพล” ซึ่งพบในกรุนี้มีมากมายหลายพิมพ์ พระยอดขุนพล ส่วนใหญ่มักจะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว และมีกลีบบัวรองรับเป็นฐาน มีทั้งบัว 2 ชั้นและบัวชั้นเดียว พระเครื่องที่พบในลักษณะนี้มักจะเรียกรวมๆ กันว่า “พระยอดขุนพล” เนื้อของพระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อชินเงิน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นเนื้อดินเผาก็มีพบบ้าง ส่วนเนื้อสัมฤทธิ์นั้นพบน้อยมาก

พระยอดขุนพลพิมพ์หนึ่งคือ พระยอดขุนพลซุ้มกนกข้างนั้นแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลยและมีผู้รู้จักน้อยมาก คาดว่าจำนวนพระที่สมบูรณ์และขึ้นมาจากกรุน้อยมาก จึงไม่ค่อยได้พบเห็นหรือ มีรูปเผยแพร่กันเลย พระยอดขุนพล ซุ้มข้างกนก กรุวัด พระศรีรัตนมหาธาตุ พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ไม่ทรงเครื่อง ห่มจีวรลดไหล่ สังฆาฏิหนาเป็นปื้นปลายตัด มีเส้นจีวรต่อจากเส้นสังฆาฏิพาดพระกรซ้ายลงมาที่หัวเข่าเด่นชัด ประทับนั่งในซุ้มเป็นเส้นคู่ และมีกนกอยู่ด้านข้าง พุทธศิลปะเคร่งขรึมแบบขอมสวยงาม

พระยอดขุนพลซุ้มข้างกนก ในด้านพุทธคุณนั้นก็เฉกเช่นเดียวกับพระในกรุนี้ คือเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด อำนาจบารมี ปัจจุบันหาชมยากมากแม้แต่รูปก็ยังหายากครับ เป็นพระที่ควรแก่การอนุรักษ์ เนื่องจากเป็นพระที่พบน้อยมากจนแทบไม่มีใครได้เคยเห็น จึงอาจจะทำให้ลืมเลือนกันไป

ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระยอดขุนพลกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เนื้อชินเงิน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมเพื่อการเผยแพร่และการอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานสืบต่อไปครับ




    เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของจังหวัดราชบุรีรูปหนึ่งคือหลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ อำเภอบ้านโป่ง ท่านได้สร้างเหรียญไว้เหรียญหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันหาชมยาก ชาวบ้านโป่งต่างก็หวงแหนกันมาก

หลวงพ่อชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ ประวัติของท่านไม่ได้มีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สืบค้นได้จากเพียงคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในท้องถิ่นเท่านั้น เท่าที่พอสืบค้นได้ก็เป็นแต่เพียงทราบว่าท่านเป็นคนบ้านดยายหอม จังหวัดนครปฐม และเป็นพระน้าชายของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม โยมบิดา ชื่อทับ โยมมารดาชื่อโต เกิดเมื่อปีพ.ศ.2405 และเมื่อปีพ.ศ.2428 อายุได้ 23 ปี จึงได้อุปสมบท โดยมีพระอาจารย์เกิด วัดโพธิบัลลังก์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "ชุติวัณโณ"

เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิบัลลังก์ และศึกษาสรรพวิชากับหลวงพ่อเกิด ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ในป่า เพื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนกระทั่งมาถึงวัดท่ามะเดื่อ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดที่ขาดพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ในสมัยนั้นแถววัดท่ามะเดื่อยังเป็นป่าห่างไกล เคยมีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาบ้างแต่ก็อยู่ได้ไม่นานนักก็จากไป เนื่องจากยังเป็นสถานที่ทุรกันดารอยู่มาก หลวงพ่อชุ่มจึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่ามะเดื่อ และได้เริ่มสร้างกุฏิสงฆ์ หอฉัน ศาลาการเปรียญ และพระอุโบสถ ตามลำดับ เรียกได้ว่าความเจริญได้เริ่มเมื่อครั้งหลวงพ่อชุ่มมาอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้

ในการสร้างพระอุโบสถนั้นหลวงพ่อชุ่มได้รับการช่วยเหลืองาน จากพระราชวรินทร์ (กุหลาบ กสุมภ์) ซึ่งเป็นมหาดเล็กสนองงานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หลวงพ่อชุ่มเป็นศิษย์พี่ศิษย์น้องกับหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง และเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเดียวกับหลวงพ่อฟัก วัดบ้านโป่ง

หลวงพ่อชุ่มถือสันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนวิทยาคมต่างๆ หลวงพ่อชุ่มถือครองผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต และ ถือบิณฑบาตมิได้ขาด สานุศิษย์ให้ความเลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่ออย่างมาก และยังเป็นผู้ถ่ายทอดวิทยาคมให้แก่หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม อีกด้วย

การสร้างเหรียญของหลวงพ่อชุ่มนั้นคณะศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตจัดสร้างไว้เป็นที่ระลึก เมื่อปีพ.ศ.2469 โดยสร้างเป็นเหรียญรูปทรงเสมา และมีรูปหลวงพ่อชุ่มนั่งเต็มองค์ ด้านข้างของเหรียญเป็นเหรียญแบบข้างเลื่อย พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตา แคล้วคลาด และคงกระพัน ปัจจุบันหายากมาก เนื่องจากสร้างจำนวนไม่มากนัก

หลวงพ่อชุ่มมรณภาพในปีพ.ศ.2470 เศษๆ ถึงแม้ท่านจะละสังขารไปนานแล้ว แต่ชาวบ้านยังเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อชุ่มเป็นอย่างมาก เหรียญของท่านชาวบ้านที่มีไว้ต่างก็หวงแหนกันมาก และเป็นเหรียญที่หายากเหรียญหนึ่งของบ้านโป่งครับ

ขอขอบคุณ คุณโอ๊ต บางแพ ที่กรุณามอบข้อมูลและรูปเหรียญหลวงพ่อชุ่มจากหนังสือสุดยอด พระคณาจารย์เมืองราชบุรี ครับ


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



    เหรียญรุ่นแรก-รุ่นเดียว พระวินัยธร (บัว)

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญเก่าเหรียญหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาคร คือ เหรียญพระวินัยธร (บัว) วัดอ่างแก้ว ประวัติของท่านไม่ได้มีการบันทึกไว้มีแต่การบอกเล่าสืบต่อกันมา

วัตถุมงคลของท่านนั้นสอบถามดูจากคนพื้นที่ก็ว่าท่านไม่ได้สร้างไว้ แต่ก็มีเรื่องราวบอกถึงความขลังของท่านเกี่ยวกับจีวรเก่าๆ ของท่านที่นำมาถักเป็นเชือกผูกเรือของวัด มีลูกศิษย์นำไปคาดเอวติดตัวแล้วไปถูกฟันไม่เข้า หลังจากนั้นจีวรเก่าที่ท่านทำเป็นเชือกผูกเรือ ก็มีคนจ้องจะลักไปเป็นเครื่องรางอยู่ตลอด นอกจากนี้ยังมีเหรียญรุ่นแรกของท่าน สนนราคาก็อยู่ที่หมื่นกว่าบาท

พระวินัยธรบัว เกิดเมื่อปี พ.ศ.2395 ที่บ้านหัวย่าน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อน้อย โยมมารดาชื่อพร้อย พอท่านอายุได้ 13 ปี มารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม บิดาของท่านจึงนำท่านมาฝากไว้กับหลวงพ่อโพธิ์ วัดอ่างแก้ว

หลวงพ่อโพธิ์ท่านนี้เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาคมเข้มขลังมาก ในสมัยนั้นท่านมีวาจาสิทธิ์ช่วยรักษาชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วยหายทุกราย โดยท่านไม่ต้องใช้ยาอะไรเลย เมื่อมีคนมาขอให้ท่านช่วยรักษา และนำข้าวปลาอาหารมาถวายท่าน ท่านก็ให้ของกินนั้นกลับไปให้คนไข้กิน ปรากฏว่า หายดีทุกรายไป เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว

มีชาวบ้านมาให้ท่านช่วยรักษาและขอน้ำมนต์กันมากมาย ว่ากันว่าน้ำมนต์ของท่านนั้นท่านเสกจนเดือดได้เห็นๆ มีผู้คนมาขอน้ำมนต์ จนท่านได้ให้ขุดสระและสร้างหอไตรไว้กลางน้ำ และเสกน้ำในสระให้เป็นน้ำมนต์ ใครมาขอน้ำมนต์ก็ไปตักเอาได้ที่สระน้ำ และก็ศักดิ์สิทธิ์เหมือนเดิม

หลวงพ่อบัวท่านอยู่กับหลวงพ่อโพธิ์จนอายุ 14 ปี หลวงพ่อโพธิ์ก็ได้ให้บรรพชาเป็นสามเณร และพออายุครบ 20 ปี หลวงพ่อโพธิ์ท่านก็อุปสมบทให้ที่วัดใหญ่จอมปราสาท โดยมีเจ้าอาวาสวัดป้อมฯเป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ขวัญเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์รอด วัดอ่างแก้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบวชแล้วก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอ่างแก้วตามเดิม ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิทยาคมกับหลวงพ่อโพธิ์ จนกระทั่งหลวงพ่อโพธิ์มรณภาพ พระครูสมุทรคุณากร(ชื่น) จึงแต่งตั้งหลวงพ่อบัวเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อบัวท่านก็ได้บูรณะซ่อมแซมวัดอ่างแก้วด้วยดีเสมอมา

ท่านเป็นพระที่สมถะไม่สะสม วินัยเคร่งครัดญาติโยมถวายปัจจัยมาท่านก็เอามาบูรณะวัดอ่างแก้วหมด ต่อมาท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระวินัยธร และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ก็มีผู้มาขออุปสมบทกับท่านมากมาย ท่านเป็นพระนักเทศน์ สอนประชาชนให้เข้าถึงธรรม มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

ในปี พ.ศ.2475 ท่านมีอายุครบ 80 ปี ลูกศิษย์ของท่านได้มาขออนุญาตท่านจัดงานทำบุญฉลองอายุและขอสร้างเหรียญไว้เป็นที่ระลึก ท่านก็ขัดไม่ได้ จึงสร้างเหรียญรูปเสมา เนื้ออัลปาก้า ด้านหน้าเขียนไว้ว่า พระวินัยธรบัว ด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห และมีเลขไทยเขียนไว้ ๖/๔/๘/๔

ด้วยเหตุนี้จึงอาจจะทำให้มีคนเข้าใจว่าเหรียญนี้สร้างปี พ.ศ.2484 ก็เป็นได้ เพราะเคยเห็นมีคนเขียนไว้ว่าเป็นเหรียญที่สร้างในปี พ.ศ.2484 โดยหลวงพ่อบัวปลุกเสก แต่น่าจะผิดพลาดในความเข้าใจก็เป็นได้ครับ ความจริงสร้างเป็นที่ระลึกในงานฉลองอายุครบ 80 ปี

พระวินัยธรบัวมรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2478 สิริอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 63

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น มีครั้งหนึ่งท่านได้นำจีวรเก่าๆ มาถักเป็นเชือกไว้สำหรับผูกเรือของวัด ก็มีลูกศิษย์ของท่านได้ขโมยเอาไปคาดเอว แล้วไปมีเรื่องกับคู่อริ เกิดถูกแทงไม่เข้า โดยที่ทั้งเนื้อทั้งตัวมีเชือกถักจีวรเพียงอย่างเดียว พอเรื่องนี้มีคนรู้เข้า ก็มีคนคอยจ้องจะลักเอาเชือกจีวรของท่านเสมอๆ จนไม่มีเหลือ

ครับในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของท่านมาให้ชมกันครับ


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



    เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องเบี้ยแก้สายอ่างทองก็ผ่านสองวัดสองหลวงพ่อไปแล้ว แต่ก็ยังมีอีกสองวัด สองหลวงพ่อที่จะนำมาพูดคุยกัน วันนี้ก็จะพูดถึงหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ซึ่งท่านมีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านเบี้ยแก้ของวิเศษชัยชาญองค์หนึ่งทีเดียวครับ

พระครูวิตถารสมณกิจ (คำ ปญฺญาสาโร) วัดโพธิ์ปล้ำ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เกิดในปี พ.ศ.2432 นับว่าท่านอาวุโสน้อยที่สุดในพระเกจิอาจารย์ที่สร้างเบี้ยแก้สายอ่างทองที่ผมจะกล่าวถึงครับ โยมบิดาชื่อ เส็ง โยมมารดาชื่อ ไท หลวงพ่อคำเป็นคนปากคลองวัดโพธิ์

เมื่อมีอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์นี่เองครับ โดยมีพระญาณไตรโลก (อาจ) วัดศาลาปูน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิญาณนุโยค วัดกษัตราธิราช เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอุปัชฌาย์จั่น วัดทำนบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากบวชแล้วท่านก็อยู่ที่วัดโพธิ์ปล้ำตลอด หลวงพ่อคำศึกษาวิชาอาคมจากสมุดข่อย ซึ่งอยู่ภายในโพรงโพธิ์ที่วัด ทางบ้านของหลวงพ่อคำเป็นคนมีฐานะดี มีที่นาอยู่ร้อยกว่าไร่ และท่านเป็นบุตรคนเดียว หลังจากโยมทั้งสองเสียชีวิตไปแล้ว ท่านจึงได้ขายที่นาและนำเงินทั้งหมดมาสร้างพระอุโบสถ พระประธาน กุฏิสงฆ์ ฯลฯ และยกที่ดินที่เหลือให้เป็นของวัดทั้งหมด ตอนที่ท่านมรณภาพไม่มีสมบัติใดๆ ติดตัวหรืออยู่ในกุฏิเลย

พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายๆ ท่านไปมาหาสู่กับหลวงพ่อคำเสมอๆ เช่น หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ และท่านเจ้าคุณสุธรรมธีรคุณ วัดสระเกศ เป็นต้น ทั้ง 4 รูปนี้มีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อมาก จะไปพักอยู่ที่วัดโพธิ์ปล้ำเสมอ โดยเฉพาะหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์จะไปอยู่เป็นประจำ หลวงพ่อคำมรณภาพเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2503 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52

ในสมัยที่หลวงพ่อคำยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่างด้วยกัน เช่น สมเด็จหู เหรียญทำบุญอายุครบ 60 ปี สมเด็จปรกโพธิ์เก้าชั้น พระเนื้อว่านหลายพิมพ์ ผ้ายันต์ ตะกรุด รูปถ่าย และเบี้ยแก้ ซึ่งมีชื่อเสียงมาก

วันนี้ผมนำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ บล็อกประคำใหญ่มาให้ชมครับ ปัจจุบันค่อนข้างหายากครับ

ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



    พระพลายงาม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องรุ่นเก่าๆ ที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับวรรณคดีขุนช้างขุนแผน วรรณคดียอดฮิตติดอันดับ ยิ่งในสมัยก่อนพวกชายหนุ่มต่างก็อยากเก่งกาจมีมนต์ขลังเมตตามหาเสน่ห์แบบขุนแผน จะได้เป็นที่ต้องใจสาวๆ กันทั้งนั้น พอได้ยินเรื่องพระขุนแผนก็เสาะหากันจ้าละหวั่น หวังจะได้มีเสน่ห์อย่างขุนแผนในวรรณคดี

พระเครื่องที่ตั้งชื่อเรียกกันตามวรรณคดีขุนช้างขุนแผน ก็เป็นพระของเมืองสุพรรณเสียเกือบทั้งหมดล่ะครับ และที่มีชื่อแบบตัวละครในวรรณคดีเรื่องนี้ก็มีหลายอย่าง เช่น พระขุนแผน พระขุนไกร พระกุมารทอง พระพันวษา พระพลายงาม พระมอญแปลง เป็นต้น พระดังได้กล่าวมานี้จะเป็นพระของกรุวัดพระรูป ซึ่งตอนที่สุนทรภู่ได้แต่งโคลงนิราศเมืองสุพรรณก็ได้กล่าวถึงวัดพระรูป และกล่าวถึงชื่อที่อยู่ในวรรณคดีด้วย ดังจะขอยกตอนที่ 136 และ 137 มาเพื่ออ่านเล่นสนุกๆ ครับ

ฝั่งซ้ายฝ่ายฟากโน้น พิสดาร
มีวัดพระรูปบุราณ ท่านสร้าง
ที่ถัดวัดประตูสาน สงฆ์สู่ อยู่เอย
หย่อมย่านบ้านขุนช้าง ชิดข้างบัลลังก์
วัดกระไกรใกล้บ้าน ศรีประจัน
ถามเหล่าชาวสุพรรณ เพื่อนชี้
ทองประศรีที่สำคัญ ข้างวัด แคแฮ
เดิมสนุกทุกวันนี้ รกเรื้อเสือคะนอง

ครับก็พอนึกตามได้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน และตอนที่สุนทรภู่ไปนั้นยังรกร้าง ผู้คนน้อย ทีนี้เรามาดูพระเครื่องชนิดอื่นที่ไม่ใช่พระขุนแผนที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้วบ้าง เช่น พระพลายงาม ซึ่งอาจจะลืมๆ กันไปบ้าง ทั้งองค์พระ ตัวละคร แต่ก็พอจะทราบว่าพลายงามเป็นลูกชายของขุนแผน แต่เก่งกาจสามารถเพียงใด ผมจะขอยกบางตอนในวรรณคดีขุนช้างขุนแผนมาให้อ่านสนุกๆ พอเป็นอรรถรส จะได้เพลิดเพลินไปกับการสะสมด้วย

พลายงามหลังจากที่ได้เล่าเรียนวิชาอาคมกับนางทองประศรีผู้เป็นย่าจนแตกฉานก็เริ่มทดลองวิชา

อันเรื่องราวกล่าวความพลายงามน้อย ค่อยเรียบร้อยเรียนรู้ครูทองประศรี

ทั้งขอมไทยได้สิ้นก็ยินดี เรียนคัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์

ปถมังตั้งตัวนะปัดตลอด แล้วถอนถอดถูกต้องเป็นล่องหน

หัวใจกริดอิทธิเจเสน่ห์กล แล้วเล่ามนต์เศกขมิ้นกินน้ำมัน

เข้าในห้องลองวิชาประสาเด็ก แทงจนเหล็กแหลมลู่ยูขยั้น

มหาทมื่นยืนยงคงกระพัน ทั้งเลขยันต์ลากเหมือนไม่เคลื่อนคลาย

แล้วทำตัวหัวใจอิติปิโส สะเดาะโซ่ตรวนได้ดังใจหมาย

สะกดคนมนต์จังงังกำบังกาย เมฆฉายสูรย์จันทร์ขยันดี

ทั้งเรียนธรรมกรรมฐานนิพพานสูตร ร้องเรียกภูตพรายปราบกำราบผี

ผูกพยนต์หุ่นหญ้าเข้าราวี ทองประศรีสอนหลานชำนาญมา

ครับก็อ่านกันสนุกๆ พอให้รู้ว่าพลายงามนั้นก็เก่งมิใช่ย่อย ไม่แพ้ขุนแผนผู้เป็นพ่อ เราเก็บสะสมพระเครื่องและเรื่องราวอันเป็นที่มาของชื่อพระก็เพลิดเพลินดีเอาไว้คุยโม้กันสนุกๆ ครับ ทีนี้เรามารู้จักกับพระที่มีชื่อว่าพลายงามกันบ้าง พระพลายงามเป็นพระชนิดหนึ่งที่อยู่ในตับพระวัดพระรูป มีขนาดเกือบเท่าพระขุนแผนของกรุนี้ ย่อมกว่ากันนิดหน่อย พิมพ์ของพระค่อนข้างตื้นกว่าพระขุนแผนไข่ผ่า กรอบพิมพ์ก็คล้ายๆ พระขุนแผนไข่ผ่า ด้านหลังอูมๆ พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายๆ กับพระในตระกูลขุนแผน แต่ความลึกชัดจะไม่ลึกเป็นเพียงตื้นๆ เท่านั้น การพบพระนั้นพบพร้อมๆ กับพระอื่นๆ ของกรุวัดพระรูป เนื้อพระเป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งแบบเนื้อละเอียดและเนื้อแกร่งมีกรวดทรายผสมอยู่ในเนื้อเช่นเดียวกับพระอื่นในกรุนี้ จำนวนพระที่พบไม่มากนัก จึงอาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกัน

วันนี้ผมจึงขอนำรูปพระพลายงามจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



    พระยอดธงของกรุวัดไก่เตี้ย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระยอดธงหลายๆ ท่านคงจะรู้จักกันดีว่าพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปขนาดย่อมและมีเดือยที่ใต้ฐานยื่นยาวออกมา ลักษณะคล้ายๆ กับว่าทำไว้สำหรับติดตั้งเสียบกับอะไรสักอย่างหนึ่ง เช่น เอาไว้ติดตั้งบนยอดธง หรือติดตั้งบนฐานอีกทีหนึ่ง ซึ่งพระที่มีลักษณะแบบนี้มักจะเรียกกันว่าพระยอดธงทั้งสิ้น

พระเครื่องที่เรียกกันว่าพระยอดธงนั้นก็มีคนในสมัยก่อนสันนิษฐานว่าสร้างไว้สำหรับติดกับยอดธงของกองทัพในสมัยโบราณ ซึ่งก็เป็นเพียงการสันนิษฐานเท่านั้น ต่อมาได้มีการขุดพบพระยอดธงอีกมากมายจากหลายๆ กรุ เท่าที่พบพระส่วนใหญ่จะเป็นพระศิลปะอยุธยา พบทั้งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอื่นๆ บ้าง เช่น ที่วัดไก่เตี้ย จ.ปทุมธานี พระยอดธงกรุนี้ รู้จักกันอย่างกว้างขวางของผู้นิยมสะสมพระเครื่องครับ

วัดไก่เตี้ยเป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อราวพ.ศ.2100 ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถโปรดเกล้าฯ ให้มีการขุดคลองลัดออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่เริ่มต้นการขุดจากคลองบ้านพร้าวผ่านหน้าวัดไก่เตี้ย

ต่อมาจนถึงปีพ.ศ.2485 บ้านเมืองตกอยู่ในภัยสงคราม พระเจดีย์ใหญ่ได้ชำรุดทรุดโทรมพังทลายลงมา และได้มีการพบพระยอดธงเป็นจำนวนมากที่บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย และมีเดือยที่ใต้ฐานแทบทุกองค์ พระที่พบมีทั้งที่เป็นเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน ศิลปะเป็นแบบศิลปะอยุธยา พระยอดธงที่วัดไก่เตี้ยเมื่อแตกกรุออกมาแล้วชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็เก็บเอาไปบูชา มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จนเล่าขานกันสืบต่อมา

ในสมัยก่อนนั้นก็มีการเสาะหาพระยอดธงของกรุวัดไก่เตี้ยกันมาก และเนื่องจากมีเดือยใต้ฐานพระนั้นจึงขนานนามกันว่าพระยอดธง ซึ่งอาจจะเข้าใจกันว่าเดือยที่ยื่นออกมาจากใต้ฐานนั้นคงมีไว้สำหรับเสียบที่ยอดธงของกองทหารไว้ใช้ในศึกสงคราม แต่อีกแนวทางหนึ่งเรื่องเดือยที่ใต้ฐานของพระอาจจะเป็นเพราะกรรมวิธีการสร้างพระที่เป็นพระหล่อลอยองค์

ซึ่งจะต้องมีช่อชนวนสำหรับเวลา เทโลหะที่หลอมละลายเพื่อให้เข้าไปในเบ้าพิมพ์หล่อพระก็เป็นได้ หลังจากที่นำพระออกจากเบ้าพิมพ์แล้วจึงมีช่อชนวนเป็นเดือยเหลืออยู่ และมิได้ตัดออกอาจจะเพื่อสำหรับให้นำพระไปประดิษ ฐานบนฐานที่ทำขึ้นในภายหลังเพื่อตั้งบูชาก็อาจจะเป็นได้

และก็พบพระบางองค์ที่ตัดช่อชนวนออกชิดกับองค์พระก็มี แต่ก็เรียกกันว่า “พระยอดธง” มาแต่โบราณ และพระที่พบในที่อื่นๆ และมีพุทธลักษณะมีเดือยที่ใต้ฐานแบบนี้ก็จะเรียกว่าพระยอดธงเช่นกัน

ปัจจุบันพระยอดธงของกรุวัดไก่เตี้ยนั้นหาแท้ๆ ยากมากพอสมควรครับ ของปลอมเลียนแบบมีมากมายมาตั้งแต่นานมาแล้ว ทั้งของกรุอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เวลาจะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังพิจารณาให้ดี

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดธงของกรุวัดไก่เตี้ย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”



    พระปรกใบมะขาม เนื้อทองคำ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าพูดถึงพระปรกใบมะขาม ก็หมายถึงพระองค์เล็กๆ (จิ๋ว) ที่เป็นรูปพระนาคปรก มีการสร้างอยู่หลายวัด แต่ที่หายากๆ ก็จะเป็นพระที่สร้างในยุคเก่าๆ และที่นิยมมากที่สุดก็จะเป็นพระปรกใบมะขามของท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ วัดท้ายตลาด ซึ่งจัดอยู่ในพระชุดเบญจภาคีพระปรกใบมะขาม จำนวนการสร้างน้อย มีทั้งที่เป็นเนื้อทองคำ และเนื้อทองแดง

วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีนามเดิมว่า วัดท้ายตลาด ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาศรี วัดราชสิทธิ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงเปลี่ยนนามพระอารามเป็น "วัดพุทไธศวรรยาวาส" พอมาถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับพระอารามอื่นๆ อีก และทรงเปลี่ยนนามเป็น "วัดโมลีโลกยาราม" มาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านก็มักเรียกกันจนติดปากว่า "วัดท้ายตลาด"

วัดท้ายตลาดมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นสถานการศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 อนึ่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สมัยที่ยังเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ 3 และถวายอักษรรัชกาลที่ 4 ต่อมาเมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) มรณภาพ รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้หล่อรูป" พร้อมกับหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัด เรียกกันว่า "หอสมเด็จ"

ท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ (เงิน เขมจารี) อดีตเจ้าอาวาสวัดท้ายตลาด เกิดที่เมืองพระตะบอง เมื่อปี พ.ศ.2396 ท่านมีความสนิทฯสนมกับพระยาคทาธร ธรณินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ต่อมาท่านจึงย้ายมาอยู่ที่วัดท้ายตลาด ท่านเจ้าคุณสนิทฯนอกจากจะเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาคมแล้ว ยังมีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณด้วย และได้ช่วยรักษาชาวบ้านจนมีชื่อเสียง โด่งดังมากในสมัยนั้น ชาวบ้านต่างเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมาก และช่วยบูรณปฏิสังขรณ์วัดท้ายตลาดตลอดมา

ท่านเจ้าคุณสนิทฯได้สร้างวัตถุมงคลไว้และมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ที่รู้จักกันดีก็คือพระปรกใบมะขาม ซึ่งถือกันว่าเป็นอันดับ 1 ของพระปรกใบมะขามเลยทีเดียวครับ ปัจจุบันหายากมากครับ นอกจากนี้วัตถุมงคลที่หายากมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ สร้อยตะกรุดประคำคาบ ซึ่งแทบไม่ได้พบเห็นกันเลย ผู้ที่ได้รับมักเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านั้น ตะกรุดสร้อยประคำคาบ จะเป็นตะกรุดทองคำพวงจำนวน 19 ดอก พร้อมด้วยลูกประคำทองคำคั่นระหว่างดอกตะกรุด และสร้อยทองคำสวมคอร้อยตะกรุดไว้ ในสมัยโบราณจึงเรียกว่า "สร้อยตะกรุดประคำคาบ"

ท่านเจ้าคุณสนิทฯ มรณภาพราวปี พ.ศ.2463 สิริอายุได้ 68 ปี

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปรกใบมะขาม เนื้อทองคำของท่านเจ้าคุณสนิทฯ จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ธันวาคม 2560 13:11:41 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #68 เมื่อ: 11 มกราคม 2561 11:04:43 »



เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบางวัว พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมากรูปหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา วัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์มากมาย และได้รับความนิยมสูง

หลวงพ่อดิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2420 ที่บ้านตำบลบางวัว โยมบิดาชื่อเหม โยมมารดาชื่อล้วน เมื่อหลวงพ่ออายุได้พอสมควรที่จะเรียนหนังสือได้แล้ว โยมก็ได้พาไปฝากเรียนที่วัดบางวัว พออายุครบบวช บิดามารดาจึงได้จัดการอุปสมบทให้ เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2440 ที่วัดบางวัว โดยมีหลวงพ่อดิษฐ์ วัดบางสมัคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ่าง เทศลำใย วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ปลอด วัดบางวัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "คังคสุวณฺโณ"

เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วก็ได้ จำพรรษาอยู่ที่วัดบางวัว 2 พรรษา จึงได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและบาลีที่วัดไตรมิตรวิทยาราม ศึกษาอยู่ได้ 1 พรรษา พระอาจารย์ปลอด เจ้าอาวาสวัดบางวัว ได้มรณภาพ คณะสงฆ์วัดบางวัวและชาวบ้านก็ได้มานิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัวสืบแทน

พอได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัวแล้ว ท่านก็ได้พัฒนาวัดมาอย่างต่อเนื่องจนวัดบางวัวเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2446 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอธิการเป็นทางการ พ.ศ.2453 เป็นเจ้าคณะหมวดตำบลบางวัว พ.ศ.2463 เป็นพระอุปัชฌายะ พ.ศ.2476 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงบางปะกง พ.ศ.2478 เป็นเจ้าคณะแขวงบางปะกง พ.ศ.2479 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นประทวน พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพิบูลย์คณารักษ์

ในด้านวิทยาคมของท่านก็ได้ศึกษาในด้านแพทย์แผนโบราณจากหลวงพ่อดิษฐ์ วัดบางสมัคร และอาจารย์จ่าง เทศลำใย ซึ่งทั้งสองท่านนั้นเชี่ยวชาญในด้านนี้เป็นอย่างมาก และได้ศึกษาจากอาจารย์เปิ้น วัดบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งท่านมีความรู้ทางด้านกฤตยาคมสูงมาก และยังได้ศึกษากับอาจารย์เปอะ ทางด้านกฤตยาคมอีกด้วย นอกจากนี้ท่านยังได้ตำราโบราณอีกหลายเล่มมาศึกษาจนได้ผล ในการสร้างหนุมาน ผ้ายันต์ต่างๆ ศิษย์เอกของหลวงพ่อดิ่งก็คือ หลวงพ่อฟู เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร หลวงพ่อสนิท เจ้าอาวาสวัดบางวัว เป็นต้น

วัตถุมงคลของหลวงพ่อดิ่งมีอยู่หลายอย่าง เช่น เหรียญตะกรุดโทน และตะกรุด 7 ดอก ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลูกอม และหนุมาน ที่เรียกกันว่าลิงหลวงพ่อดิ่งนั่นแหละครับ เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อดิ่งมีประสบการณ์สูงทั้งในด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม จึงเป็นเหรียญนิยมเหรียญหนึ่งที่มีสนนราคาสูงและหายากในปัจจุบันครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ




เหรียญปั๊มรุ่นแรกของหลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูสิงคิคุณธาดา (หลวงพ่อ ม่วง) วัดบ้านทวน กาญจนบุรี พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างแหวนพิรอดที่โด่งดังมาก ท่านเป็นที่รักเคารพของชาวเมืองกาญจนบุรีมาก เหรียญรุ่นแรกมีความนิยมสนนราคาสูงและหายากครับ

หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน เกิดในปี พ.ศ.2366 ที่บ้านทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี บิดาชื่อมั่น มารดาชื่อโย เมื่อหลวงพ่อม่วงอายุได้ 11 ขวบ บิดาจึงนำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอธิการศรี วัดบ้านทวน จนอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและขอม

ต่อมาเมื่ออายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบ้านทวน มีพระอธิการศรีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการช้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จันทสโร"

เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านทวน ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อม่วงได้ออกธุดงค์ไปยังป่าลึกจนถึงประเทศพม่า ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย พอถึงพรรษาที่ 12 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านทวนก็ว่างลง คณะสงฆ์และชาวบ้านจึงได้นิมนต์หลวงพ่อม่วงขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาได้เป็นเจ้าคณะตำบล ท่านเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้านมาก พอพรรษาที่ 21 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านทวน ในสมัยรัชกาลที่ 6

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้เสด็จตรวจคณะสงฆ์มณฑลราชบุรี เมื่อเสด็จมาเมืองกาญจนบุรีทรงเห็นว่าการปกครองของคณะสงฆ์เรียบร้อยดี ตรัสชมเชยและได้พบกับหลวงพ่อม่วง ทรงถูกใจที่สนับสนุนเรื่องการศึกษาของพระเณร เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเสด็จกลับไปแล้วจึงได้ขอพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระครูสิงคิคุณธาดา

ต่อมาชาวบ้านและลูกศิษย์ทั้งหลายจึงขออนุญาตหลวงพ่อม่วงจัดงานฉลองและขออนุญาตสร้างเหรียญรูปหลวงพ่อเพื่อเป็นที่ระลึกในงานนี้ด้วย เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อม่วงมีการสร้างทั้งเหรียญหล่อและเหรียญปั๊ม สำหรับเหรียญปั๊มมีอยู่ 2 บล็อก คือบล็อกหน้าแก่ บล็อกหน้าหนุ่ม และบล็อกหน้าโบราณ สำหรับเหรียญปั๊มบล็อกหน้าแก่จะมีความนิยมสูงกว่าบล็อกอื่นๆ

นอกจากเหรียญแล้วหลวงพ่อม่วงยังได้สร้างวัตถุมงคลไว้อีกหลายอย่าง เช่น แหวนพิรอด และมงคลแขน ซึ่งโด่งดังมาก กรรมวิธีการสร้างยากมาก หลวงพ่อจะลงอักขระเลขยันต์ในผ้าแล้วจึงนำมาถักเป็นแหวนหรือมงคลแขน จากนั้นหลวงพ่อจะปลุกเสกซ้ำอีกครั้ง แล้วจึงนำไปโยนลงบนกองไฟ ถ้าอันไหนไม่ไหม้ไฟจึงจะใช้ได้ จากนั้นจึงนำมาแจกให้แก่ศิษย์ แหวนและมงคลแขนจะมีการลงรักทับไว้อีกทีหนึ่ง ปัจจุบันหายากมากทั้งวัตถุมงคลและเหรียญปั๊มเหรียญหล่อครับ

วันนี้ผมนำรูปเหรียญปั๊มรุ่นแรกของหลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน บล็อกหน้าแก่ มาให้ชมครับ




เหรียญปั๊มพิมพ์แซยิด หลวงปู่รอด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในอดีต วัตถุมงคลของท่านก็ได้รับความนิยมกันมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนโดยทั่วๆ ไป

หลวงปู่รอด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 โยมบิดาชื่อทองดี โยมมารดาชื่อเกษร เมื่อตอนที่ท่านเด็กๆ ท่านมีร่างกายอ่อนแอขี้โรค บิดา-มารดาจึงได้นำท่านไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมของพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน ซึ่งท่านเป็นพระเถระที่มีเชื้อสายรามัญ และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวรามัญในสมัยนั้น

หลังจากที่บิดา-มารดาของหลวงปู่รอดได้ยกท่านให้แก่พระอุปัชฌาย์แคแล้ว ปรากฏว่า หลวงปู่รอด ก็เป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายหายจากโรคภัยนานา พระอุปัชฌาย์แคจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า “รอด”

ตั้งแต่บัดนั้นมา พอท่านอายุได้ 12 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร อยู่ศึกษาเล่าเรียนกับพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางน้ำวน โดยมีพระอุปัชฌาย์แค เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับ ฉายาว่า“พุทธสณฺโฑ”

เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ และศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์แค หลวงปู่รอดเป็นพระที่รักสงบมุ่งปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วิชาที่ท่านเรียนกับพระอุปัชฌาย์แคก็คือ เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี วิชาทำธงไม่ให้ฝนตกและป้องกันฟ้าผ่า วิชาเสกของหนักให้เบาดังปุยนุ่น ฯลฯ นอกจากท่านจะเรียนวิทยาคมแล้ว ท่านก็ยังเรียนวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย จนเป็นที่ไว้ใจของพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่พระอุปัชฌาย์แคมรณภาพท่านก็ได้รับการนิมนต์จากชาวบ้านขอให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาต่อท่านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากจะพัฒนาวัดของท่านแล้วท่านยังช่วยเหลือวัดอื่นๆ อีกด้วย เรื่องของการศึกษาท่านก็ได้จัดให้มีการสอนพระปริยัติธรรม และสร้างโรงเรียนประชาบาลให้เด็กๆ ในแถบนั้นได้ศึกษาเล่าเรียนชื่อ “โรงเรียนรอดพิทยาคม”

ในปี พ.ศ.2439 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดบางน้ำวน ปี พ.ศ.2447 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบางโทรัด ปี พ.ศ.2452 ได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2482 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน และเป็นกรรมการศึกษา หลวงปู่รอดมรณภาพในปี พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62

หลวงปู่รอดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิทยาคมมาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่างเช่น ตะกรุดโทน เหรียญหล่อเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด เหรียญหล่อพิมพ์พนมมือ เหรียญปั๊มพิมพ์เสมาเนื้ออัลปาก้า เป็นต้น

ปัจจุบันเหรียญปั๊มพิมพ์แซยิด สร้างในปี พ.ศ.2477 หายากมากครับ สนนราคาสูงมากเช่นกัน วันนี้ได้นำรูปเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด องค์สวยมาให้ชมกันครับ




พระลีลาเมืองสรรค์ กรุวัดท้ายย่าน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีโบราณสถานและมีกรุพระมากเช่นกัน กรุพระที่มีชื่อเสียงมากส่วนใหญ่นั้นจะพบที่ในเขตอำเภอสรรคบุรี ซึ่งเป็นอำเภอเดียวที่มีวัดเก่าแก่มากที่สุดของจังหวัดชัยนาท เข้าใจว่าเมืองเก่านั้นอาจจะตั้งอยู่ที่ฝั่งเมืองสรรค์ก็เป็นได้

ชัยนาทแต่เดิมนั้นเป็นเมืองหน้าด่านมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ยังคงเป็นเมืองหน้าด่านเช่นเดิม ด้วยการที่เป็นเมืองเก่าแก่สืบทอดกันมายาวนาน จึงมีวัดเก่าแก่อยู่มากมายโดยเฉพาะพระกรุเมืองสรรค์นั้นก็มีการสร้างสืบทอดต่อกันมาและมีศิลปะร่วมสมัยกันอยู่ ที่เมืองสรรค์แห่งนี้มีพระกรุมากมายและที่มีชื่อเสียงมากก็คือพระสรรค์ยืน พระสรรค์นั่ง พระปิดตาเนื้อแร่พลวง ของกรุวัดท้ายย่าน อันมีชื่อเสียงโด่งดัง

ถ้าจะกล่าวถึงพระกรุเนื้อดินเผาของเมืองสรรค์ ก็ต้องนึกถึงพระสรรค์นั่งและพระสรรค์ยืน ซึ่งพระสรรค์นั่งนั้นที่โด่งดังและเป็นที่หวงแหนกันมากก็ต้องพิมพ์พระสรรค์นั่งไหล่ยก เพราะมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี นอกจากนี้พระสรรค์ยืนหรือพระลีลาเมืองสรรค์นั้นก็มีประสบการณ์ทางด้านนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ในสมัยก่อนคนชัยนาทหวงแหนกันมาก พระลีลาเมืองสรรค์นั้นเคยโด่งดังมากในอดีต ปัจจุบันพระแท้ๆ หายากเช่นกันครับ

สำหรับพระลีลาเมืองสรรค์นั้นมีที่พบทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อดินเผา พิมพ์ที่พบก็มีทั้งพิมพ์ลีลา พิมพ์ลีลาข้างเม็ด และพิมพ์ลีลาคางเครา หรือที่โบราณมักเรียกว่า สรรค์ยืนคางเครา กรุที่พบก็มีอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดท้ายย่าน กรุวัดส่องคบ เป็นต้น ส่วนพระเนื้อดินเผานั้นของกรุวัดท้ายย่านจะมีภาษีกว่า เนื่องจากพระที่พบในกรุนี้จะมีเนื้อดินที่ละเอียดหนึกนุ่มกว่าทุกกรุ จึงเป็นที่นิยมกันมากกว่าครับ

พระลีลาเมืองสรรค์พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดและเมตตามหานิยม โดยเฉพาะเรื่องอยู่คงนั้นโดดเด่นมากในอดีต จึงเป็นที่เสาะหากันมาตั้งแต่ในอดีต ในปัจจุบันนี้สนนราคาค่อนข้างสูงและหายากโดยเฉพาะของกรุวัดท้ายย่าน ที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่ม

ในวันนี้ผมก็ได้นำพระลีลาเมืองสรรค์กรุวัดท้ายย่าน พระองค์นี้มีผิวเดิมๆ แทบไม่ผ่านการใช้มาก่อนเลย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ




พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นหลังเตารีด ปี พ.ศ.2505 พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ระยะนี้ก็มีหลายท่านชอบเก็บสะสมพระเครื่อง ที่สอบถามเกี่ยวกับในช่วงนี้จะเก็บหรือเช่าพระอะไรดี และเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มด้วย ครับก็เข้าใจนะครับว่าสำหรับท่านที่มีเงินออมพอสมควร อยากจะเช่าพระเครื่องไว้และอยากให้มีมูลค่าสูงขึ้น สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันนั้นน้อยมากจนแทบไม่ทันกับค่าของเงินที่ลดลง การเก็บสะสมพระเครื่องก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้มูลค่าของเงินที่เราสะสมพระเครื่องนั้นมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งน่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นกว่าดอกเบี้ยธนาคาร ถ้าเลือกเก็บพระเครื่องให้ถูก

ครับก็เป็นส่วนหนึ่งที่แบ่งการเก็บเงินออมมาบางส่วน แล้วเลือกเก็บพระเครื่องไว้เผื่อบางโอกาสอาจจะนำมาให้เช่าได้ การเก็บในลักษณะนี้ก็ต้องใช้เวลาในการเก็บรักษาระยะหนึ่งนะครับ ไม่ใช่ว่าเช่ามาเดือนสองเดือนก็จะได้มูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ก็คงต้องใช้เวลากันหน่อย เท่าที่ผมพูดคุยและสำรวจดูคาดว่าอีกสัก 2-3 ปีขึ้นไปก็น่าจะดีขึ้นครับ

ทีนี้ถ้าเราสามารถแบ่งเงินออมมาเช่าพระเครื่อง ทั้งเพราะศรัทธาหรือเผื่อมีมูลค่าเพิ่มก็ตาม พระเครื่องที่ควรเลือกเช่าก็ควรจะเป็นพระหลักๆ หน่อย และเลือกองค์ที่สวยๆ เก็บไว้ พระเครื่องที่น่าสนใจเช่าหาเก็บไว้ เช่น พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิมปลุกเสกก็น่าเก็บไว้ทุกรุ่น ควรหาเช่าพระที่สวยๆ หน่อย เนื่องจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้ราคาตกลงมามากพอสมควร ในช่วงเวลานี้จึงสามารถเช่าได้ถูกกว่าปี พ.ศ.2556 และอีก 2-3 ปีข้างหน้าคาดว่าราคาคงสูงขึ้นกว่าปัจจุบันแน่ พระเครื่องหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ก็เป็นพระเครื่องที่น่าเก็บมากในขณะนี้ ถึงแม้ว่าราคาจะไม่ตกลงมาเลยก็ตาม แต่แนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ครับ พระปิดตาทุกพิมพ์เก็บได้หมด และพระอื่นๆ ของท่านด้วย พระเครื่องของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ก็เช่นกัน ช่วงนี้ราคาก็ยังไม่ขยับ บางรุ่นก็ตกลงมานิดหน่อย ช่วงนี้ก็น่าจะเก็บพระที่สวยๆ ไว้ครับ ในส่วนพระที่เป็นพระเก่า เช่น พระสมเด็จปิลันทน์ก็น่าเก็บทุกพิมพ์ครับ พระวัดพลับก็เช่นกัน เลือกเก็บที่สวยๆ ครับ

ส่วนพระเบญจภาคี หรือพระที่มูลค่าสูงๆ กว่านี้ความนิยมหรือราคาก็ยังสูงอยู่ไม่มีตกครับ ถ้ามีโอกาสก็น่าเก็บครับ เช่น พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ และพระรูป เหมือนหลักๆ เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม และ เหรียญหลักๆ พระปิดตา ยอดนิยมต่างๆ แม้แต่เครื่อง รางของขลังหลักๆ ก็เช่นกัน แต่พระยอดนิยมเหล่านี้จะหายากมากครับ และราคาสูงไม่มีตกเลยครับ

โดยส่วนตัวผมนั้นมองที่พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้รุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิมปลุกเสกน่าเก็บครับ และพระเครื่องหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี น่าเก็บในช่วงนี้ครับ คาดว่าอีก 2-3 ปีข้างหน้า ราคาน่าจะสูงขึ้นกว่านี้พอสมควรครับ และก็ควรจะเก็บพระที่สวยๆ หน่อยก็จะมีบวกเยอะหน่อย

ครับ วันนี้ก็ตอบเรื่องที่สอบถามกันมา อาจจะเป็นพุทธพาณิชย์ไปสักหน่อย แต่ที่เราเช่าหาพระเครื่องเก็บไว้นั้นก็เพราะความศรัทธาเป็นอันดับแรกๆ นะครับ และก็คิดถึงมูลค่าเพิ่มไปด้วย ซึ่งก็ไม่น่าจะผิดมากนักนะครับ สำหรับผู้ที่คิดว่าจะเช่าพระเครื่องเก็บไว้อยู่แล้ว และแบ่งเงินออมมาบางส่วนเพื่อมาเช่าพระเครื่องไว้ครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นหลังเตารีด ปี พ.ศ.2505 พิมพ์ใหญ่มาให้ชมครับ



ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”


บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #69 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2561 18:15:05 »

     
พระเนื้อผงรูปแบบเหรียญ หลวงพ่อเปลี่ยน ปี 2479

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดกาญจนบุรี มีคำพูดของชาวบ้านที่พูดกันติดปาก และเข้าใจกันดีว่า“เจ้าชู้วัดเหนือ เสือวัดใต้” หมายความว่า ในสมัยที่หลวงพ่อดี วัดเหนือ และหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ใครถ้าอยากได้วัตถุมงคลทางด้านเมตตามหานิยมก็ให้ไปหาหลวงพ่อดี วัดเหนือ เนื่องจากวัตถุมงคลของท่านเด่นทางด้านเมตตามหานิยม ส่วนหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ วัตถุมงคลของท่านเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด เป็นคำพูดสั้นแต่ก็ได้ใจความดีครับ

หลวงพ่อวัดใต้ หรือ พระวิสุทธิรังสี (เปลี่ยน อินทสโร) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จังหวัดกาญจนบุรี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2405 ที่บ้านม่วงชุม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โยมบิดาชื่อหมื่นอินทรรักษา (นิ่ม) โยมมารดาชื่อจีบ ท่านเป็นคนที่มีผิวค่อนข้างดำ แข็งแรง เล่นอะไรกับเพื่อนๆ ก็จะเป็นหัวหน้า มีจิตใจกว้างขวาง เป็นที่รักของเพื่อนๆ มีสมัครพรรคพวกมาก โยมบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับท่านพระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) วัดใต้ เจ้าคณะเมืองกาญจน์ในสมัยนั้น

หลวงพ่อเปลี่ยนท่านศึกษาอยู่ที่วัดใต้และเป็นที่ถูกใจของหลวงพ่อช้าง พออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบทที่วัดใต้ โดยมีหลวงพ่อช้างเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ พระอธิการกรณ์ วัดชุกกะพี้ เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “อินทสโร” หลวงพ่อเปลี่ยนเมื่อบวชแล้วก็ศึกษาพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด และตั้งใจว่าจะไม่สึกหาลาเพศ ท่านศึกษาวิชาอะไรก็สำเร็จไปทุกด้าน เนื่องจากท่านเป็นคนที่ตั้งใจจริงในทุกๆ ด้าน หลวงพ่อช้างท่านก็ได้ตั้งท่านเป็นพระใบฎีกาฐานานุกรมของท่าน และได้เป็นกำลังช่วยเหลือในการทำงานทุกด้าน

หลวงพ่อช้างรูปนี้เป็นพระที่มีวิทยาคมแก่กล้า เป็นที่เคารพนับถือของคนเมืองกาญจน์มาก เป็นที่เลื่องลือ และหลวงพ่อช้างท่านก็ถ่ายทอดวิทยาคมให้แก่หลวงพ่อเปลี่ยนจนหมดสิ้น ต่อมาหลวงพ่อช้างมรณภาพ ทางการจึงแต่งตั้งให้พระใบฎีกาเปลี่ยนเป็นเจ้าอาวาสวัดใต้สืบแทน และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูวิสุทธิรังษี แทนอาจารย์ เมื่อหลวงพ่อเปลี่ยนได้เป็นเจ้าอาวาสท่านก็ได้พัฒนาวัดต่อมาจนเจริญรุ่งเรือง ทั้งทางด้านการศึกษาฝ่ายธรรม และฝ่ายกุลบุตรก็เจริญก้าวหน้ามาก โดยสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดวิสุทธิรังษี ต่อมาท่านก็ได้เลื่อนเป็นเจ้าคณะจังหวัด และท่านก็ช่วยเหลือวัดในจังหวัดด้วยดีเสมอมา

 
ในด้านวิทยาคมนั้นชาวบ้านต่างรู้กันดี มีลูกศิษย์มากมาย พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ ก็จะนิมนต์ท่านร่วมด้วยทุกครั้ง ต่อมาในปีพ.ศ.2460 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระวิสุทธิรังษี” หลวงพ่อเปลี่ยนมรณภาพในปีพ.ศ.2490 สิริอายุได้ 85 ปี พรรษาที่ 65 ถึงท่านจะล่วงลับไปแล้วแต่เกียรติคุณของท่านยังปรากฏโด่งดังมาจนทุกวันนี้

ในด้านวัตถุมงคลนั้น หลวงพ่อท่านได้สร้างไว้แจกแก่ศิษย์และชาวบ้านหลายอย่าง เช่น ตะกรุดลูกอม กระดาษสาลงอักขระม้วนถักแบบหมอนทารักปิดทอง เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ตะกรุดโทน และเหรียญรูปท่าน เหรียญรุ่นแรกมีความนิยมมากสนนราคาสูง เหรียญนี้สร้างในปีพ.ศ.2472 เป็นเหรียญรูปอาร์ม มีสองบล็อก คือบล็อกยันต์ตรง กับบล็อกยันต์เบี่ยง

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเนื้อผงรูปแบบเหรียญ ของหลวงพ่อเปลี่ยน ที่สร้างในปีพ.ศ.2479 ซึ่งเป็นของดีราคาถูกมาให้ชมครับ



     
พระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก และทุกท่านก็คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเหรียญรูปเหมือนท่าน ปี พ.ศ.2466 ที่นิยมกันมาก พระสี่เหลี่ยม ทั้งเนื้อชินตะกั่วและเนื้อโลหะผสมต่างๆ พระปรกใบมะขาม พระเนื้อผงรุ่นแจกแม่ครัว นอกจากนี้ก็ยังมีพระปิดตาอีกด้วย และพระปิดตาที่หายากที่สุดก็คือพระปิดตากรมหลวงชุมพรฯ

พระปิดตาของหลวงปู่ศุข ท่านได้สร้างไว้หลายพิมพ์เหมือนกัน มีทั้งเนื้อตะกั่วและเนื้อผง และเนื้อผงคลุกรัก จากคำบอกเล่าว่าหลวงปู่เริ่มสร้างขึ้นที่วังกรมหลวงชุมพรฯ (วังนางเลิ้ง) กทม. เนื่องในวันไหว้ครูของเสด็จในกรมฯ
ซึ่งท่านจัดขึ้นทุกปี และหลวงปู่ศุขเป็นพระอาจารย์ของท่านก็จะได้รับนิมนต์มาด้วยทุกปี โดยในวันแรกจะนิมนต์พระสงฆ์ฉันเช้าสวดมนต์และฉันเพล พิธีไหว้ครูนั้นมีด้วยกัน 3 วัน

วันที่หนึ่ง ไหว้ครูหมอยา วันที่ 2 ไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง วันที่ 3 ไหว้ครูทางวิทยาคม

ในงานไหว้ครูจะมีผู้ที่เคารพนับถือเสด็จในกรมฯ พวกทหารเรือ และพลเรือนเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงวันที่ 3 เสด็จพิธีไหว้ครูแล้ว
 
หลวงปู่ศุขจะแจกพระเครื่องแก่บรรดาผู้ที่เข้ามาร่วมงานโดยทั่วถึงกันทุกคน พระเครื่องที่แจกมีอยู่หลายแบบ และแบบหนึ่งในนั้นก็คือพระปิดทวาร เนื้อตะกั่ว พิมพ์ห้าเหลี่ยม พระปิดตาพิมพ์ห้าเหลี่ยมนี้จะพบมากในกทม. ที่ชัยนาทพบน้อยกว่า อาจจะเนื่องจากเป็นพระที่สร้างแจกที่กทม.

พระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระปิดตาอีกพิมพ์หนึ่งที่หลวงปู่ศุขแจกในวันไหว้ครูของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระเนื้อผงคลุกรัก มีขนาดเล็กมาก และผู้ที่ได้รับมักจะเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ดังนั้นพระพิมพ์นี้จึงพบเห็นยากมาก

และเนื่องจากเป็นพระที่สร้างที่กทม. (วังนางเลิ้ง) จึงจะพบเฉพาะในเขตกทม.เท่านั้น และเป็นพระปิดตาที่หายากมากที่สุดของหลวงปู่ศุข เนื่องจากผู้ที่ได้รับจะเป็นเจ้านายผู้ใหญ่เท่านั้น ปัจจุบันนับว่าหายากที่สุดในบรรดาพระปิดตาของหลวงปู่ศุขครับ และด้วยสาเหตุที่แจกในวันไหว้ครูของเสด็จในกรมฯ ที่วังนางเลิ้ง สังคมวงการพระเครื่องจึงเรียกพระปิดตาพิมพ์นี้ว่า “พระปิดตากรมหลวงฯ”

พระปิดตากรมหลวงฯ เป็นพระที่หายากมากและมีมูลค่าสูงมาก ของปลอมลอกเลียนแบบมีมานานแล้วครับ เวลาจะเช่าหาควรพิจารณาให้ดี หรือเช่าหาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะจะปลอดภัยกว่าครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยามมาให้ชมครับ



     
พระยอดขุนพล กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุพระเก่ากันบ้าง พักนี้ไม่ค่อยมีใครพูดถึงพระกรุพระเก่ากันสักเท่าไหร่ ก็เป็นไปตามสถานการณ์ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ในสมัยก่อนก็เช่นกันช่วงไหนนิยมพระใหม่พระร่วมยุคสมัยก็จะพูดถึงและเช่าหากันไประยะหนึ่ง แล้วพออีกช่วงหนึ่งก็กลับมาหาพระกรุพระเก่าสลับกันไปเป็นช่วงๆ แบบนี้

ส่วนตัวผมเองชอบพระกรุพระเก่าก็ยังชอบอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลงครับ เดินเที่ยวไปในสนามพระเครื่องก็จะเห็นร้านรวงหรือแผงพระต่างๆ ก็จะโชว์พระเกจิอาจารย์กันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระกรุพระเก่าก็จะมีน้อยหน่อยในช่วงนี้ แต่ก็พอมีบ้างการค้าขายโดยรวมก็จะเงียบๆ หน่อย เหมือนๆ กับการค้าขายสินค้าประเภทอื่นๆ ซึ่งก็เป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ วันก่อนผมไปเจอพระยอดขุนพลกรุวัดราชบูรณะ อยุธยา ก็เลยทำให้นึกถึง

พระยอดขุนพลเป็นพระเครื่องชนิดหนึ่งที่ผู้นิยมพระเครื่องตั้งชื่อให้ โดยพุทธลักษณะของพระยอดขุนพลโดยรวมจะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ทรงเครื่อง และสวมเทริดขนนก ฐานเป็นกลีบบัว ประทับในซุ้มเรือนแก้วเป็นส่วนใหญ่ พระเครื่องลักษณะนี้จะพบอยู่หลายกรุ หลายยุคสมัย และหลายจังหวัด เช่น พระยอดขุนพลศรีวิชัย พระยอดขุนพล ลพบุรี พระยอดขุนพล กำแพงเพชร และพระยอดขุนพล อยุธยา เป็นต้น

กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา ถูกลักลอบขุดประมาณปี พ.ศ.2499 และกรมศิลป์เข้าขุดเป็นทางการประมาณปี พ.ศ.2500 พบพระเครื่องพระบูชา พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติมากมายในองค์พระปรางค์ วัดนี้เป็นวัดที่พระเจ้าสามพระยาเป็นผู้ทรงสร้างขึ้น ในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา การพบกรุพระครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการพบกรุพระที่ยิ่งใหญ่มาก เนื่องจากมีพระจำนวนมากมายหลายเล่มเกวียน มีพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ มากมายจำกันไม่หมด และในจำนวนพระเครื่องทั้งหมดนี้ก็พบพระเครื่องพิมพ์พระยอดขุนพล ซึ่งมีจำนวนไม่มากนักสำหรับพระพิมพ์นี้
 
พระยอดขุนพลที่พบมีเฉพาะเนื้อชินเงินเพียงเนื้อเดียว องค์พระจะมีผิวปรอทจับทั่วทั้งองค์ มีสนิมสีดำเป็นคราบจับเป็นหย่อมๆ มากบ้างน้อยบ้าง ด้านหลังมักเป็นแบบหลังลายผ้า องค์พระมีขนาดค่อนข้างเขื่องตามแบบพระยอดขุนพลของกรุอื่นๆ

ในสมัยก่อนนิยมพระยอดขุนพลกันมาก โดยเฉพาะท่านที่ทำงานรับราชการ เนื่องจากชื่อของพระเชื่อกันว่าจะทำให้งานรับราชการรุ่งเรืองรุ่งโรจน์ และพุทธคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพัน พระยอดขุนพล อยุธยาก็เช่นกัน มีผู้เสาะหากันมาก แต่ก็หาได้ไม่ง่ายนักในสมัยนั้น ของปลอมเลียนแบบจึงออกมาอาละวาดกันพอสมควรเช่นเดียวกับพระอื่นๆ จะทำไงได้ก็คนชั่วมีอยู่ทุกยุคทุกสมัยแหละครับ

พระยอดขุนพล กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา ปัจจุบันก็หาชมพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ สนนราคาก็ค่อนข้างสูงครับ ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระยอดขุนพล กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของเมืองไทยมาให้ชมกันครับ



 
พระนาคปรกลูกยอ เนื้อดินเผา ของกรุวัดบรมธาตุ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุที่เป็นพระนาคปรกมีอยู่มากมายหลายกรุหลายจังหวัด และเป็นพระปางประจำวันคนเกิดวันเสาร์ แต่ก็เป็นพระเครื่องที่คนเกิดวันอื่นๆ ก็ห้อยได้ครับ พระปางนาคปรกพุทธคุณช่วยปกป้องคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายได้ทุกอย่างครับ

พระนาคปรกที่เป็นพระกรุ ก็มีอยู่หลายกรุหลายจังหวัด และมีทั้งที่เป็นเนื้อดินเผาและเนื้อชิน ซึ่งก็มีทั้งเนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ความเก่าแก่ก็มีตั้งแต่สมัยลพบุรี สุโขทัยจนถึงอยุธยา ที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็ของกรุวัดปืน ลพบุรี กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เนื้อชินเงิน เป็นศิลปะแบบขอม ของสุพรรณบุรีก็กรุวัดลาวทอง เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ศิลปะแบบขอม ของจังหวัดพิจิตรก็พระนาคปรกพิจิตร เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กรุมะละกอ ของอยุธยาก็ของกรุวัดราชบูรณะ เนื้อชินเงิน เป็นต้น

ส่วนที่เป็นศิลปะสุโขทัย พบที่จังหวัดกำแพงเพชร มีทั้งเนื้อชินและเนื้อดินเผา ที่เรียกกันว่า “พระนาคปรกลูกยอ” มีพบอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดอาวาสน้อย วัดอาวาสใหญ่ วัดป่ามืด แม้แต่ที่วัดพิกุลก็พบอยู่บ้าง เหตุที่คนในสมัยก่อนเรียกว่าพระนาคปรกลูกยอ

ก็เนื่องมาจากพระนาคปรกกำแพงเพชรตัวเศียรนาคเป็นแบบปรก 7 และมีลักษณะเป็นเม็ดๆ และรูปทรงรีๆ มองดูคล้ายกับผลลูกยอ จึงเรียกกันมาแบบนี้ตั้งแต่ตอนที่พบพระใหม่ๆ ก็เลยเรียกกันมาแบบนี้จนติดปาก ถ้าได้ยินคำว่า “พระนาค ปรกลูกยอ” หรือ “ปรกลูกยอ” ก็จะทราบได้ทันทีว่าเป็นพระนาค ปรกของจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนจะเป็นของกรุใดก็ต้องดูแบบพิมพ์อีกทีหนึ่งครับ

พระนาคปรกที่พบตามกรุในจังหวัดต่างๆ ส่วนใหญ่จะพบเป็นพระเนื้อชินเกือบทั้งสิ้น ที่พบเป็นเนื้อดินเผาน้อยมาก เท่าที่เห็นกันบ่อยๆ ก็ของสุพรรณบุรี กรุวัดพระรูปเช่น พระปรกชุมพล แต่ที่จังหวัดกำแพงเพชรนั้นเราจะพบพระนาคปรกที่เป็นเนื้อดินเผาได้อยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุวัดป่ามืด และกรุวัดพิกุล เป็นต้น แต่ทุกกรุจะพบพระนาคปรกลูกยอที่เป็นเนื้อชินเงินมากกว่าพระเนื้อดินเผาครับ

พระนาคปรกลูกยอของจังหวัดกำแพงเพชรที่เป็นเนื้อดินเผา ก็จะมีเอกลักษณ์ของพระกำแพงเพชรคือ มีเนื้อดินที่ละเอียดหนึกนุ่มตามแบบพระสกุลทุ่งเศรษฐี ศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งค่อนข้างผ่อนคลาย ไม่เคร่งขรึมแบบศิลปะขอม พุทธคุณคุ้มครองป้องกันภัย แคล้วคลาด และโชคลาภครับ

พระปรกลูกยอปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เนื่องจากในสมัยก่อนชาวกำแพงเพชรจะนิยมมากและหายากมานานแล้ว ทั้งพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา พิมพ์ของพระนาคปรกลูกยอเท่าที่พบจะมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนาคปรกลูกยอ เนื้อดินเผา ของกรุวัดบรมธาตุ จากหนังสืออมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ




   
พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ กรุเก่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนนั้น ผมเองก็ยังดูพระไม่ค่อยเป็นแต่ก็ชอบพระเครื่องมาก โดยเฉพาะพระกรุพระเก่า และชอบพระหูยานลพบุรีมาก เนื่องจากได้รับคำบอกเล่าจากคนรุ่นเก่าๆ มากมายเกี่ยวกับพุทธคุณของพระหูยาน และชอบในศิลปะขอมโบราณที่มองดูแล้วเข้มขลัง แต่ก็เป็นพระที่หายากมาตั้งแต่อดีต

ตัวผมในสมัยนั้นก็เริ่มทำงานและมีรายได้เป็นของตัวเองจึงเริ่มเสาะหาเช่าพระหูยานทั้งๆ ที่ตัวเองก็ยังไม่มีความรู้ในการพิจารณาพระเครื่องสักเท่าไร คนเก่าคนแก่ในสมัยนั้นก็บอกว่าต้องหาหูยานหน้ายักษ์ ตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าพระหูยานนั้นมีหลายพิมพ์ มารู้ภายหลังว่าพระที่แตกกรุมาจากวัดพระรัตนมหาธาตุนั้นมีทั้งพระหูยานพิมพ์ฐาน 2 ชั้น พระหูยานพิมพ์ใหญ่ พระหูยานพิมพ์กลาง และพระหูยานพิมพ์เล็ก
ที่คนรุ่นเก่าบอกพระหูยานต้องพิมพ์หน้ายักษ์ก็คือพระหูยานพิมพ์ใหญ่ ก็พยายามขอเขาดูไปเรื่อยๆ จำหน้าตาได้ว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่รู้วิธีพิจารณาอะไรเท่าไรนัก จนเริ่มคิดว่าตัวเองจำได้แล้วก็เริ่มหาเช่า ผลปรากฏว่าไม่แท้ แต่ก็ยังไม่เลิกความตั้งใจ ก็ยังหาเช่าต่อก็ยังไม่แท้อีกเช่นเคย จึงเริ่มมาศึกษาใหม่ว่าการพิจารณาพระหูยานนั้นมีอะไรบ้าง

พอเริ่มค้นคว้าดูจึงรู้ว่า พระหูยานลพบุรีนั้นมีอยู่หลายพิมพ์และหลายกรุ เช่น พระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีทั้งพิมพ์บัว 2 ชั้น พระหูยานพิมพ์ใหญ่ พระหูยานพิมพ์กลาง และพระหูยานพิมพ์เล็ก นอกจากนี้ก็ยังมีพระหูยานกรุวัดปืนอีกด้วย แบบพิมพ์ของแต่ละพิมพ์หรือกรุก็ยังแตกต่างกันออกไปอีก ในส่วนพระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุยังมีการแตกกรุ 2 ครั้ง

แยกเป็นพระกรุเก่าและพระกรุใหม่ พระกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุทั้งพระกรุเก่าและพระกรุใหม่นั้นแบบพิมพ์จะเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่การขึ้นจากกรุในเวลาที่แตกต่างกัน การที่จะแยกพระกรุเก่าจากพระกรุใหม่ก็คือผิวของพระ พระกรุเก่าเป็นพระที่พบครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2440
 
ดังนั้น เมื่อพระขึ้นจากกรุมานานแล้วและส่วนใหญ่ก็จะถูกนำมาใช้ห้อยคอกันมา ผิวของพระก็จะมีสีออกดำจับอยู่ทั่วองค์พระไม่ปรากฏผิวปรอทหลงเหลืออยู่ เนื่องจากกาลเวลาผ่านมานานมากแล้ว ส่วนพระกรุใหม่ที่ถูกพบและขุดขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2508 ผิวของพระจะมีผิวปรอทจับขาวเกือบทั้งองค์ ในเรื่องของพิมพ์พระก็จะเหมือนกับพระกรุเก่าทุกประการทั้งพระพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก
พระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจะนิยมพระพิมพ์ใหญ่ หรือที่คนโบราณเรียกว่าพระหูยานพิมพ์หน้ายักษ์มากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ส่วนพระกรุเก่าหรือพระกรุใหม่ในปัจจุบันนิยมเท่าๆ กันครับ แต่พระกรุใหม่จะมีภาษีที่องค์พระจะยังคงสภาพเดิมของพิมพ์มากกว่า เนื่องจากพระส่วนใหญ่ถูกเก็บรักษาให้คงสภาพเดิมๆ ได้เป็นอย่างดีก็จะไม่สึกหรออะไรเท่าใดนัก ก็จะดูคมชัดสวยกว่าพระกรุเก่า แต่พระกรุเก่าก็มีเสน่ห์ตรงที่มีความซึ้งมากกว่าจากการใช้ผิวพระจะดูเข้มขลังกว่าครับ

ศิลปะของพระหูยานเป็นศิลปะขอมแบบบายนที่เข้มขลังมาก พระพักตร์ถ้าสังเกตดูให้ดีจะคล้ายกับพระพักตร์ที่ยอดปราสาทบายนมาก บ่งบอกถึงอายุสมัยได้เป็นอย่างดีครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระหูยาน พิมพ์ใหญ่ กรุเก่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรีของคุณเต้ สระบุรี มาให้ชม พระองค์นี้เป็นพระกรุเก่าที่สวยซึ้งมากครับ



     
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่ออ่ำ พุทธคุณเด่นด้านคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ในจังหวัดชัยนาทนั้นมีอยู่หลายรูปด้วยกัน แต่เราๆ ท่านๆ อาจจะรู้กันดีไม่กี่รูปเท่านั้น วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งซึ่งท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า คือหลวงพ่ออ่ำ วัดอินทราราม (วัดตลุก) ต.ตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมชื่อวัดตลุก ซึ่งชาวบ้านก็มักจะเรียกชื่อเดิมของวัดจนติดปากว่าวัดตลุกเช่นเดิม

พระครูสถิตสมณวัตร (หลวงพ่ออ่ำ) ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2397 ที่บ้านตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท โยมบิดาชื่อ น้อย โยมมารดาไม่ทราบชื่อ ในสมัยวัยรุ่นหลวงพ่ออ่ำท่านเป็นคนจริง ไปไหนมาไหนมีลูกน้องติดตามเสมอ ชอบเล่าเรียนวิชามวย กระบี่กระบอง และวิทยาคมอยู่เสมอ พออายุครบบวชโยมบิดามารดาจึงนำไปฝากหลวงพ่อเกิด เจ้าอาวาสวัดตลุก ซึ่งเป็นพระพี่ชายแท้ๆ ของท่าน และอุปสมบทที่วัดตลุกในราวปี พ.ศ.2417 ได้รับฉายาว่า “พุทธสโร”

เดิมทีเดียวท่านกะว่าจะบวชสัก 15-20 วันเท่านั้น แต่โยมบิดาขอให้ท่านอยู่ให้ได้พรรษา แล้วแนะนำท่านให้ไปเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณ เพื่อนำวิชามารักษาผู้ป่วย ท่านจึงได้ไปศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจากอาจารย์ที่เก่งๆ หลายท่าน อีกทั้งยังได้ศึกษาวิทยาคมอีกหลายสำนัก เช่น ได้เรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพี้ เป็นต้น ครั้นออกพรรษาแล้วท่านก็ยังไม่สึกหาลาเพศ กลับมุ่งมั่นที่จะศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณต่อไปอีก ท่านจึงได้ออกเดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมาไปศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณต่อ

อีกทั้งยังได้ศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป รวมทั้งพระอาจารย์เขมรอีกก็มาก จนท่านมีความชำนาญช่ำชองเรื่องของวิชาแพทย์และสมุนไพร อีกทั้งได้ฝึกฝนวิทยาคมจนเข้มขลัง ท่านได้ธุดงค์ไปเรื่อยๆ ตามป่าเขาลำเนาไพร พบเกจิอาจารย์ดังๆ ท่านก็ไปขอศึกษาด้วยตลอด

จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2448 ท่านจึงเดินทางกลับมาที่วัดตลุก ก็พอดีกับหลวงพ่อเกิด เจ้าอาวาสได้มรณภาพ ชาวบ้านและคณะสงฆ์จึงพร้อมใจกันนิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนต่อมา เมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้ช่วยรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เสมอจนมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วทุกทิศ ไม่ว่าจะป่วยไข้หรือถูกกระทำมาท่านช่วยรักษาให้หายได้ทั้งสิ้น
 
ส่วนด้านการพัฒนาวัดท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด ท่านสร้างพระไตรปิฎกและหอพระไตรกลางน้ำ สร้างกุฏิสงฆ์ และจัดระเบียบใหม่ทั้งหมด สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดตลุก ในปี พ.ศ.2461 ท่านดำริจะสร้างศาลาหลังใหม่ ก็มีชาวบ้านช่วยกันร่วมสร้าง ท่านก็ต้องไปซื้อไม้มาจากนครสวรรค์

ขณะที่ท่านไปนครสวรรค์นั้นพอดีกับเศรษฐีใหญ่ของนครสวรรค์ชื่อสมบุญ ล้มป่วยอยู่ รักษาอย่างไรก็ไม่หาย จนต้องตั้งสินบนให้กับผู้ที่รักษาให้หายได้ถึง 10 ชั่ง แต่ก็ไม่มีผู้ใดรักษาให้หายได้ ญาติๆ ของเศรษฐีผู้นั้นได้ข่าวว่าหลวงพ่ออ่ำขึ้นมาที่นครสวรรค์ และกิตติศัพท์ความเก่งของหลวงพ่ออ่ำ จึงพากันไปนิมนต์หลวงพ่ออ่ำ ท่านก็รับรักษาให้ หลวงพ่ออ่ำท่านก็ได้นำยาในย่ามของท่านฝนให้กิน กินอยู่ไม่กี่ครั้งปรากฏว่าอาการดีขึ้น และอีกไม่กี่วันก็หายสนิท เศรษฐีสมบุญเกิดศรัทธา และทราบว่าหลวงพ่ออ่ำกำลังสร้างศาลา จึงได้ถวายเงินหลายสิบชั่งและถวายเรือสำเภาลำใหญ่ เพื่อให้เอาไม้มาทำศาลาด้วย

เรื่องราวอภินิหารของหลวงพ่ออ่ำนั้นมีมากมายหลายเรื่องมาก ทั้งเรื่องวาจาสิทธิ์ของท่านชาวบ้านแถบสรรพยาต่างรู้กันดีและเลื่อมใสในตัวท่านมาก ในปี พ.ศ.2467 หลวงพ่ออ่ำได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสถิตสมณวัตร บรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านจึงขออนุญาตท่านสร้างเหรียญที่ระลึกเพื่อแจกให้แก่ศิษย์และชาวบ้านในงานฉลองสมณศักดิ์ ท่านก็อนุญาตให้สร้างได้ เป็นรูปท่านนั่งเต็มองค์ เหรียญรุ่นนี้จึงถือเป็นเหรียญรุ่นแรก และรุ่นเดียวที่สร้างทันท่านครับ ต่อมาวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2468 หลวงพ่ออ่ำก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 71 ปี

ครับในวันนี้ผมก็ได้นำเหรียญรุ่นแรกของท่านจากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมกันครับ เหรียญนี้พุทธคุณและประสบการณ์นั้นเด่นทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยมครับ



     
พระปรกพะงั่ว พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาธาตุ อยุธยา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนาคปรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่พบในกรุวัดมหาธาตุ รูปแบบศิลปะที่ดูออกจะเป็นศิลปะขอมอย่างเข้มข้น เนื้อชินเงินก็ดูเก่าแก่กว่าพระที่พบในกรุเดียวกัน ซึ่งก็น่าแปลกใจว่าเป็นพระที่สร้างในยุคสมัยอยุธยาหรือไม่ หรือจะเป็นพระเก่าจากอีกแห่งหนึ่งที่ถูกนำมาบรรจุไว้ในคราวบูรณะวัดแห่งนี้ในสมัยอยุธยา

พระนาคปรกพะงั่ว กรุวัดมหาธาตุ แตกออกจากกรุก่อนที่จะมีการบูรณะอย่างเป็นทางการประมาณ 1 ปี คือในปี พ.ศ.2499 ได้มีคนร้ายได้ลักลอบแอบเข้าไปขุดเจดีย์วัดมหาธาตุ อยุธยา และได้พระเครื่อง พระพุทธรูป กับสิ่งของมีค่าไปมิใช่น้อย หลังจากนั้นทางการจึงได้เข้าไปควบคุมและเปิดกรุอย่างเป็นทางการพร้อมกับได้บูรณะไปในตัวด้วย

พระเครื่องที่พบในกรุเจดีย์วัดมหาธาตุที่พบนั้นประกอบด้วยพระหลายอย่าง ทั้งพระแผงปางปาฏิหาริย์พิมพ์ต่างๆ แล้ว ยังพบพระอู่ทองคางเครา พระนาคปรก พระซุ้มเรือนแก้ว พระปรุหนัง พระซุ้มนครโกษา พระซุ้มคอระฆังและอื่นๆ เป็นต้น พระเครื่องที่ขึ้นจากกรุนี้ที่เป็นเนื้อชินเงินนั้นจะพบมีอยู่สองลักษณะคือ พระที่เป็นแบบศิลปะอยุธยา มักจะมีผิวปรอท พระจะค่อนข้างบาง ลักษณะเป็นแบบพระอยุธยาทั่วๆ ไป แต่พระเครื่องที่เป็นศิลปะแบบขอมจะเป็นพระเนื้อชินผิวสนิมดำ และมักจะมีความหนา เช่น ปรกพะงั่วและพระอู่ทองคางเครา เป็นต้น
สาเหตุที่เรียกกันว่ากรุพะงั่ว ก็เนื่องมาจากในปี พ.ศ.1917 สมเด็จบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุแห่งนี้ เมื่อพบพระเครื่องนักนิยมสะสมพระในสมัยนั้นจึงเรียกกันว่า “กรุพะงั่ว” โดยเฉพาะพระนาคปรกก็มักจะเรียกกันว่า “ปรกพะงั่ว” บ้าง “นาคปรกกรุพะงั่ว” บ้าง ก็เรียกกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้
 
ทีนี้เรามาพิจารณาศิลปะของพระนาคปรกพะงั่วกัน จะเห็นได้ว่าตัวพังพานนาคปรกนั้น เศียรนาคแต่ละตัว เป็นเศียรนาคศิลปะขอมบายน องค์พระไม่ว่าจะเป็นพระพักตร์ เครื่องทรง ลำพระองค์ล้วนเป็นศิลปะขอมแบบบายนทั้งสิ้น และคงไม่ใช่พระที่สร้างในสมัยอยุธยาล้อแบบขอม อีกทั้งเนื้อหาของพระก็ดูมีอายุเก่ากว่าพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุเดียวกันอีกหลายๆ แบบ สนิมจะพบเป็นสนิมแบบเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกาแทบทั้งสิ้น ไม่ปรากฏคราบผิวปรอทเลย บางองค์เกิดรอยแตกปริอยู่ทั่วองค์ พระปรกพะงั่วนี้พบพระที่สวยสมบูรณ์น้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีรอยระเบิดร้าวปริ องค์งามๆ จึงค่อนข้างหายากครับ

พระปรกพะงั่วนี้สันนิษฐานว่า ขุนหลวงพะงั่วคงจะนำมาจากกรุอื่น แล้วนำมาบรรจุรวมไว้กับพระอื่นๆ ในเจดีย์วัดมหาธาตุเสียมากกว่า จากศิลปะและเนื้อหาขององค์พระน่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยลพบุรี ศิลปะขอมแบบบายน พระปรกพะงั่วที่พบในเจดีย์วัดมหาธาตุ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก ปัจจุบันหายาก ยิ่งในองค์สวยสมบูรณ์ยิ่งหายากมากครับ
พระปรกพะงั่วถึงแม้ว่าจะเป็นพระที่มีขนาดค่อนข้างเขื่องสักหน่อย แต่ทรงด้วยคุณค่า ทั้งทางด้านศิลปะและพุทธคุณ จากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด ปกป้องคุ้มครองอยู่เย็นเป็นสุขครับ ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปรกพะงั่ว พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาธาตุ อยุธยา จากหนังสือ อมตพระเครื่องอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ



     
พระกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี

พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นกรุสำคัญกรุหนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย ซึ่งอาจารย์มนัส โอภากุล อรรถาธิบายไว้ว่า "...วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กลายสภาพเป็นวัดร้าง ไม่มีพระเณรอยู่จำพรรษา เป็นผลเนื่องจากสงครามไทยพม่าเป็นสำคัญ ใกล้ๆ กับวัดมีไร่ผักของจีนคนหนึ่ง วันหนึ่งจีนผู้นั้นนึกอย่างไรก็ไม่ทราบได้ ปีนขึ้นไปบนองค์พระปรางค์ใช้แรงผลักพระประธานให้เขยื้อนออก แล้วลงไปในกรุขนเอาแก้วแหวนเงินทองและเพชรพลอยขึ้นมา จากนั้นทิ้งไร่หนีไปเมืองจีน

วันหนึ่งในฤดูหนาวราวๆ เดือนธันวาคม-มกราคม 2456 ลุงเปล่ง สุพรรณโรจน์ (อดีตจ่าเมือง ทนายความ และนายกเทศมนตรีเมืองสุพรรณบุรี ผู้ให้ข้อมูลแก่อาจารย์มนัส โอภากุล) ไปเที่ยวยิงนกในดงไม้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กับนายเก๊า นายไปรษณีย์สุพรรณบุรี ก็ได้ยินเสียงเด็กๆ ส่งเสียงเอะอะเจี๊ยวจ๊าวอยู่บนองค์พระปรางค์ จึงเข้าไปดูพบเด็ก 4-5 คน กำลังหอบเอาพระกำแพงศอกไต่กระทู้ลงมา ลุงเปล่งก็เข้าไปห้ามเด็กเหล่านั้น "ของวัดเอาเข้าบ้านไม่ได้ บาป" แล้วให้เอาพระขึ้นไปเก็บไว้บนองค์พระปรางค์ตามเดิม เด็กๆ จึงไต่กระทู้เอาพระขึ้นไปเก็บไว้แล้วก็พากันวิ่งหนีกลับบ้าน

ลุงเปล่งเองก็สงสัยว่าบนองค์พระปรางค์นั้นมีอะไร จึงไต่กระทู้ขึ้นไปดูพร้อมกับนายเก๊า เห็นพระกำแพงศอกวางพิงกับผนังองค์ปรางค์ ที่วางนอนก็มี ที่ตอกตะปูติดไว้กับผนังก็มี (เรื่องพระกำแพงศอกมีรูตะปูตอกตอนบนขององค์พระนั้นเป็นความจริง ข้าพเจ้าเคยเห็นมาหลายองค์ ตรงกับคำบอกเล่าของลุงเปล่ง)

ลุงเปล่งจึงทำรายงานเสนอให้ผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณบุรี พระยาสุนทรสงคราม (อี้ กรรณสูต) เดิมเป็นที่พระทวีประชาชน ได้เลื่อนเป็นพระยาสุพรรณสงครามในปลายปีพ.ศ.2456 แล้วเลื่อนเป็นพระยาสุนทรบุรี เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลนครชัยศรี) จึงออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการไปขุดกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าปีที่กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุแตก เป็นปีเดียวกับที่จังหวัดสุพรรณบุรีค้นพบเจดีย์ยุทธหัตถี

อาจารย์มนัสเล่าว่า ก่อนหน้าลุงเปล่งไปพบกับเด็กๆ เหล่านั้น กรุพระปรางค์วัดพระศรีฯ แตกไปแล้ว 10 วัน และประชาชนอาณาบริเวณนั้นต่างลงไปในกรุขนเอาพระเครื่องนานาชนิดไปเป็นเจ้าของนับไม่ถ้วน แต่พระในกรุก็ยังมีอีกเป็นจำนวนมากมายมหาศาล

เมื่อตั้งคณะกรรมการขุดกรุแล้ว วันแรกๆ ใช้แรงนักโทษไปขุดค้นเอาพระเครื่อง พระบูชามาเป็นจำนวนมาก ลุงเปล่งเล่าว่า เอาไปเก็บที่จวนผู้ว่าราชการเมืองเป็นเล่มเกวียน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เอาพระบูชาเข้ากรุงเทพฯ ไปหลายองค์ เหลืออยู่ที่สุพรรณบุรีก็มีบ้าง เช่นที่วัดประตูสาร เป็นพระพุทธรูป อู่ทอง 2 กับอู่ทอง 3 ต่อมาระยะหลังไม่ได้ใช้แรงงานนักโทษ เพราะมีประชาชนอาสาไปขุด จากการขุดกรุคราวนี้ได้ลานทอง 3 แผ่น และพระเครื่องพระบูชาเป็นเล่มเกวียน

พระยาสุนทรสงคราม (อี้ กรรณสูต) ผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณบุรี จัดส่งลานทองจำนวน 3 แผ่น ไปให้กรมศิลปากรในขณะนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ทรงแปลอักษรโบราณในแผ่นจารึกจากภาษามคธเป็นภาษาไทย แล้วส่งคำแปลลานทองนั้นกลับมาจังหวัดสุพรรณบุรี

ความสำคัญของจารึกลานทองที่พบจะทำให้ทราบได้ว่าพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี สร้างขึ้นและบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยใด อันจะนำไปสู่ข้อสันนิษฐานถึงผู้สร้างตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในการจัดสร้างพระผงสุพรรณอันลือลั่นของจังหวัดสุพรรณบุรี ตลอดจนเรื่องราวของพระที่บรรจุอยู่ในกรุสำคัญแห่งนี้อันประกอบไปด้วยพระมากมายหลายชนิดทั้งพระพุทธรูปและพระเครื่อง อาทิ พระผงสุพรรณ และพระสุพรรณยอดโถ พระกำแพงศอก พระกำแพงคืบ พระกำแพงนิ้ว พระลีลาพิมพ์ต่างๆ พระมเหศวร พระปทุมมาศ

เขาว่าบรรทุกกันเป็นเล่มเกวียนทีเดียวเชียวครับผม


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กุมภาพันธ์ 2561 18:26:21 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #70 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2561 18:21:11 »


     
พระร่วงนั่งหลังตัน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดเขาพนมเพลิง จังหวัดสุโขทัย เป็นกรุพระใหญ่กรุหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย เนื่องจากได้พบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก และก็มีพระเครื่องที่มีชื่อเสียงหลายๆ พิมพ์ บางพิมพ์ก็หายากมากในปัจจุบัน พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน มีปรอทจับผิวเป็นส่วนใหญ่

กรุวัดเขาพนมเพลิงนั้น ถูกกลุ่มคนเข้าไปลักลอบขุดในปี พ.ศ.2507 ประมาณปลายๆ ปี ซึ่งกรุนี้ถูกหมายตาจากนักขุดกรุ เนื่องจากในสมัยนั้นยังคงเป็นป่าต้นไม้ขึ้นปกคลุม และอยู่ห่างไกลสายตาผู้คน ตัวองค์พระเจดีย์ก็ยังสมบูรณ์ไม่เคยถูกเจาะมาก่อน คนกลุ่มนี้วางแผนไว้เป็นอย่างดี เมื่อได้เวลาตามนัดหมายก็เข้าไปขุดในเวลากลางคืน เจาะผนังเจดีย์ตรงที่มีรอยชำรุดอยู่ก่อนหน้า และเข้าไปจนถึงห้องกรุบรรจุพระ ก็พบพระเครื่องจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชิน มีเนื้อดินเผาบ้างเล็กน้อย ทุกคนตกตะลึงกับจำนวนพระเครื่องที่มีมากมาย เนื่องจากยังไม่เคยมีคนมาขุดก่อนหน้าเลย พบพระพุทธรูปอยู่ประมาณร้อยกว่าองค์ และพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ เป็นร้อยพิมพ์ เช่น พระพิมพ์ตะกวน พระศาสดา พระพุทธชินสีห์ พระร่วงนั่งหลังตัน (แบบพระร่วงนั่งหลังลิ่ม แต่ด้านหลังตัน) พระลีลาบัวสองชั้น พระร่วงเปิดโลกทิ้งดิ่ง พระเชตุพน พระซุ้มเรือนแก้ว พระเชตุพนบัวสองชั้น พระพิจิตรข้างเม็ด เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระแผงผสมอยู่บ้าง พระส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชินเงิน ผิวปรอทขาว อาจจะเป็นเพราะพระถูกบรรจุอยู่ในเจดีย์ที่สร้างไว้ยอดเขา จึงไม่ถูกความชื้นมากนัก ผิวของพระจึงยังคงความสมบูรณ์ เป็นคราบปรอทจับขาวเกือบทั้งองค์

พอตอนเช้าพระทั้งหมดก็ถูกลำเลียงลงมา และเข้าสู่สังคมพระเครื่องในกรุงเทพฯ ราวต้นปี พ.ศ.2508 ซึ่งช่วงนั้นสนามพระอยู่ในบริเวณวัดมหาธาตุฯ กทม. จำนวนพระเครื่องน่าจะเป็นจำนวนหลายหมื่นองค์ทีเดียวที่เข้ามาในส่วนกลาง และก็แพร่หลายไปทั่วเกือบทุกแผงจะมีพระเครื่องของกรุเขาพนมเพลิง สนนราคาในสมัยนั้นก็ยังไม่สูง เนื่องจากมีปริมาณมาก ต่อมาพระเริ่มค่อยๆ หายไปจากสนามพระ และก็เริ่มมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะพิมพ์ที่มีจำนวนน้อยก็แพงขึ้นมาก

พระร่วงนั่งหลังตันก็เป็นพระพิมพ์หนึ่งที่ขึ้นมาจากกรุวัดเขาพนมเพลิง พุทธลักษณะคล้ายกับพระร่วงนั่งหลังลิ่มของกรุวัดช้างล้อมสุโขทัย เพียงแต่ด้านหลังไม่ปรากฏร่องอย่างของกรุวัดช้างล้อม พระร่วงนั่งของกรุวัดเขาพนมเพลิงจะเป็นแบบหลังเรียบๆ เลยเรียกกันว่า "พระร่วงนั่งหลังตัน" เมื่อเห็นพระร่วงนั่งแบบพระร่วงนั่งหลังลิ่มแต่มีหลังเรียบก็แยกกันออกว่าพระแบบนี้มาจากกรุวัดเขาพนมเพลิง ปัจจุบันเป็นพระที่หายาก เนื่องจากจำนวนพระที่ขึ้นจากกรุมีไม่มากนัก สนนราคาในปัจจุบันก็สูงอยู่พอสมควรครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงนั่งหลังตันจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมด้วยครับ



     
พระอู่ทองนั่ง กรุวัดเขาพนมเพลิง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ศิลปะสุโขทัยเท่าที่นักวิชาการทางด้านโบราณคดีกำหนดอายุไว้ว่า ถือกำเนิดเมื่อราวปี พ.ศ.1800 และจัดว่าเป็นศิลปะที่งดงามที่สุดและมีลักษณะเป็นของตนเองมากที่สุด โดยเฉพาะพระพุทธรูป ในสมัยนั้นกรุงสุโขทัยได้ติดต่อรับพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทนิกายลังกาวงศ์มาจากเกาะลังกา ด้วยเหตุนี้อิทธิพลทางศิลปะลังกาจึงมีต่อศิลปะสุโขทัยบ้าง พระพุทธรูปปางลีลาของสมัยสุโขทัยงดงามไม่แพ้ประติมากรรมชิ้นเอกอื่นๆ ในโลก พระพุทธรูปของสุโขทัยอาจแบ่งออกได้เป็น 4 หมวดดังนี้

1. หมวดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ทั่วไป เป็นลักษณะของศิลปะสุโขทัยโดยเฉพาะ มีลักษณะคือพระรัศมีเป็นเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์ยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียงชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ

2. หมวดกำแพงเพชร มีลักษณะดวงพระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยม ค้นพบน้อย

3. หมวดพระพุทธชินราช พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระองค์ค่อนข้างอวบอ้วน นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่มีปลายเสมอกัน หมวดนี้เชื่อกันว่าเริ่มสร้างครั้งแผ่นดินพระเจ้าลิไท ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20

4. หมวดเบ็ดเตล็ด หรือหมวดวัดตระกวน หมวดนี้เป็นหมวดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่มีศิลปะเชียงแสนและลังกาเข้ามาปะปนอยู่มาก บางองค์มีลักษณะชายสังฆาฏิหรือจีวรสั้น พระนลาฏแคบ แต่องค์พระและฐานเป็นแบบสุโขทัย ที่เรียกว่าแบบวัดตระกวนนั้น เพราะได้พบพระพุทธรูปสุโขทัยแบบแปลกๆ เหล่านี้ที่วัดตระกวนเป็นครั้งแรก

พระพุทธรูปปูนปั้นที่ค้นพบที่พระเจดีย์ทางทิศตะวันออกและในพระปรางค์วัดพระพายหลวง ก็พบอยู่ในลักษณะแบบนี้

ในส่วนของพระเครื่องก็ได้รับการถ่ายทอดทางด้านศิลปะมาจากพระพุทธรูปมาอีกทีหนึ่ง ศิลปะต่างๆ จึงมีให้ได้พบเห็นในพระเครื่องด้วยเช่นกัน ซึ่งก็จะเป็นศิลปะแบบต่างๆ ในแต่ละหมวดของศิลปะสุโขทัย หมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตระกวนในพระเครื่องก็จะพบเห็นได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น พระอู่ทองตระกวน พระเครื่องแบบนี้พบในกรุวัดเขาพนมเพลิง ซึ่งศิลปะขององค์พระจะมีพระนลาฏค่อนข้างแคบ พระพักตร์แบบพระพักตร์ของพระพุทธรูปหมวดวัดตระกวน องค์พระอวบอ้วน สวยงาม พระที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน และเป็นพระพิมพ์หนึ่งที่นิยมมากของกรุวัดเขาพนมเพลิง

ในด้านพุทธคุณว่ากันว่า เด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพัน ปัจจุบันก็หาชมพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระอู่ทองนั่ง กรุวัดเขาพนมเพลิง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ



     
พระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องและวัตถุมงคลที่เราๆ ท่านๆ ชื่นชอบและศรัทธานั้นมีคุณค่าทางจิตใจ และมีมูลค่า โดยเฉพาะในเมืองไทยเรานั้นนิยมกันมานานแล้ว เรื่องมูลค่านั้นก็คือเราจะต้องเช่าหามา สำหรับพระที่นิยมกันเป็นมาตรฐานสากลนั้นย่อมมีมูลค่าค่อนข้างสูง ในเมื่อมีมูลค่าพวกคนชั่วก็คิดวิธีการหากิน โดยหาหรือทำพระปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงหาผลประโยชน์จากการหลอกขายพระปลอม

ในช่วงนี้ทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้เปิดรับตรวจสอบและออกใบรับรองพระแท้ให้แก่ประชาชนที่สนใจโดยทั่วไป ก็ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมากทุกวัน เรื่องที่ตามมาก็คือมีผู้ที่ถูกหลอกให้เช่าพระปลอมเป็นจำนวนไม่น้อย บางรายก็เช่าหามาในราคาสูง เมื่อเจ้าของเริ่มสงสัยอาจจะนำไปให้เช่าต่อหรือนำไปตรวจดูจากกลุ่มต่างๆ แล้วมีข้อสงสัยจึงนำพระเครื่องนั้นๆ มาให้ทางสมาคมตรวจสอบให้เพื่อหาข้อยุติ เมื่อความจริงปรากฏว่าไม่แท้ตามมาตรฐานสากลก็นำไปคืนคนขาย หรือฟ้องร้องกันถ้าคืนกันไม่ได้ก็มีให้เห็นกันอยู่บ้าง

เท่าที่ฟังผู้ที่เป็นเจ้าของพระเครื่องที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลนั้น ก็พอจะสรุปได้ว่าบางท่านเช่าหามาเพราะเชื่อใจคนขายบ้าง บางท่านก่อนเช่าหาผู้ขายมักจะมีใบประกาศฯ งานประกวดที่ติดรางวัลมาแสดงประกอบการขาย จึงทำให้หลงเชื่อและเช่าหา อ้าวแล้วใบประกาศฯ จากการประกวดพระเครื่องนั้นเชื่อไม่ได้หรือ?

เรื่องนี้ก็คงต้องขยายความเสียหน่อย ใบประกาศฯ จากงานประกวดนั้น ก็คงต้องดูด้วยว่าใบประกาศฯ นั้นๆ เป็นใบจริงหรือเปล่า เนื่องจากมีการทำใบประกาศฯ ปลอมเพื่อประกอบการขายและมีมานานแล้ว ถ้าผมจำไม่ผิดก็น่าจะเริ่มมีมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2522 แล้ว ยิ่งในระยะนี้มีมากที่เจอใบประกาศฯ ปลอม

นอกจากนี้ก็ยังเจอใบประกาศฯ จริง แต่เป็นงานประกวดที่ไม่ได้มาตรฐานอีก ยังไม่หมดนะครับ ปัจจุบันก็มีใบรับรองพระแท้จากสถานที่ต่างๆ อีกมากมาย ได้มาตรฐานบ้างไม่ได้มาตรฐานบ้าง ใบรับรองพระที่เป็นใบปลอมก็ยังเจออีกเช่นกัน ถ้าใบรับรองที่มีมาตรฐานจากกลุ่มหรือชมรม สมาคมต่างๆ ก็ดีไปไม่มีปัญหา แต่ถ้าเจอใบรับรองที่ไม่ได้มาตรฐานก็โชคร้ายหน่อยครับ

ถ้าเป็นแบบนี้เราก็เชื่ออะไรไม่ได้เลยหรือ? ก็ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ ส่วนมากผู้ที่จะเช่าหาพระเครื่องโดยส่วนใหญ่ก็ไม่เชี่ยวชาญขนาดสามารถพิจารณาแท้-เก๊ได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว แต่ก็สามารถเอาตัวรอดได้ครับ ในปัจจุบันก็มีใบรับรองที่ได้มาตรฐานอยู่ครับ ดังนั้นการเช่าหาพระเครื่องก็ควรจะพิจารณาให้ดีๆ แต่ก็คงไม่ต้องถึงขนาดสามารถแยกแยะพระแท้พระปลอมได้ด้วยตนเอง

แต่ก่อนเช่าหาก็ควรจะศึกษาเกี่ยวกับพระที่เรากำลังคิดจะเช่าหาเสียหน่อย เพื่อจะได้รู้ว่าพระแบบที่เรากำลังคิดจะเช่าหานั้นมีประวัติและรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร สนนราคาทั่วไปราคาเท่าไร และคนที่เรากำลังจะไปเช่าเขานั้นเป็นคนอย่างไร สอบถามดูบ้างว่าประวัติเขาดีเลวอย่างไร
 
เรื่องนี้สำคัญนะครับ ยิ่งถ้าจะเช่าหาพระจากเขา โดยเฉพาะพระนั้นๆ มีมูลค่าสูงๆ ด้วยแล้วยิ่งควรศึกษาคนที่เราจะไปเช่าหาให้ดีๆ หน่อย เพราะถ้าผิดพลาดไปแล้วจะคืนเงินได้ยากครับ

ทีนี้มาพูดถึงใบรับรองที่เป็นมาตรฐาน สำหรับใบรับรองประเภทนี้ เขาจะให้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในแต่ละด้านมาพิจารณาก่อนที่จะออกใบรับรองให้ และชมรมหรือสถาบันนั้นๆ เขาก็จะมีเว็บไซต์ของเขาเอง ซึ่งสามารถตรวจสอบใบรับรองในขั้นต้นได้ด้วยตัวท่านเอง ว่าใบรับรองนั้นเป็นของจริงหรือไม่ ด้วยการเข้าไปค้นหาในสารบบใบรับรองของเขา ซึ่งเขาจะทำทะเบียนมีเลขรหัสประจำใบรับรองนั้น ซึ่งสามารถค้นหาตรวจสอบได้ในระบบตามเลขรหัสในใบรับรอง รูปใบรับรองรหัสนั้นก็จะปรากฏขึ้นมาให้เราตรวจสอบก่อนว่ารูปองค์พระตรงไหม ชื่อของพระตรงหรือไม่ ถ้าค้นหาแล้วไม่ตรงก็ทราบได้เลยว่า ใบรับรองนั้นๆ ไม่ใช่ของจริง เมื่อใบรับรองไม่จริงพระนั้นๆ ก็ไม่ต้องพูดถึงแล้วล่ะครับ

ทีนี้ก็มาดูว่าถ้าใบรับรองเป็นใบจริง แต่องค์พระมาตรวจสอบในภายหลังปรากฏว่าเป็นพระปลอม หรือนำไปขายแล้วไม่มีใครซื้อเนื่องจากเป็นพระปลอมล่ะ จะทำอย่างไร ไม่ยากครับก็นำพระองค์นั้นๆ ไปขายกับสถาบันที่ออกใบรับรองให้เลยครับ โดยเฉพาะพระที่เป็นพระยอดนิยม ถ้าเขารับเช่าหาก็จบไป ส่วนราคาก็แล้วแต่จะตกลงกัน อาจจะไม่เท่ากับราคาที่ท่านเช่ามา เนื่องจากเขารับรองว่าแท้เท่านั้นมิได้รับรองในเรื่องราคา ส่วนเรื่องราคาก็เป็นเรื่องของความพอใจที่ท่านไปเช่ามาจากผู้ขายโดยเฉพาะ แต่อย่างไรก็ตามพระแท้ก็ย่อมมีมูลค่ารองรับอยู่ดี หมายความว่าผู้ที่ออกใบรับรองนั้นก็ย่อมรับซื้อหรือเช่าไว้ในราคามาตรฐานการตลาดในขณะนั้น ส่วนถ้านำไปขายให้กับผู้ที่ออกใบรับรองแล้วเขาไม่ซื้อก็รู้ได้เลยว่าผู้ที่ออกใบรับรองนั้นๆ ไม่ได้มาตรฐานครับ

อีกวิธีหนึ่งก็คือ ศึกษาพระประเภทนั้นๆ เสียหน่อย แล้วก็ศึกษาคนที่จะให้เราเช่าสักหน่อย หลังจากพอใจที่จะเช่าหาแล้วก็ให้เขาเขียนออกใบรับรองของตัวเขาเองว่าพระที่เราเช่าหาจากเขานั้นเป็นพระอะไร รุ่นอะไร ราคาเท่าไร มีตลับหรือกรอบอย่างไร (ถ้ามี) และเขียนรับรองว่าเป็นพระแท้ และยินดีรับคืนถ้าหากว่าพระนั้นๆ ไม่แท้ ในกรณีนี้ก็สามารถนำมาเป็นหลักฐานในการ แจ้งความฟ้องร้องกันได้ต่อไปในกรณีที่มีความผิดพลาดเป็น พระไม่แท้ครับ

วันนี้พูดมายาวไปหน่อย แต่ความจริงก็ยังมีอีกเยอะพอสมควรครับ และก็ไม่ลืมนำรูปพระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่ แท้ ดูง่ายองค์สวยๆ มาให้ชมด้วยครับ



     
พระสมเด็จรุ่น พล.ต.อ.เผ่า วัดอินทรวิหาร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราเคยได้ยินพระเครื่องที่เรียกว่าพระสมเด็จเผ่าไหมครับ ในสมัยที่ผมยังเป็นวัยรุ่นนั้นเคยได้ยินอยู่บ่อยๆ และส่วนมากก็จะบอกกันว่า พระสมเด็จเผ่าที่ด้านหลังจะเป็นรอยพิมพ์ลึกลงไป เป็นรูปเครื่องหมายตราแผ่นดิน คือเป็นรูปแบบหน้าหมวกของตำรวจ จนปัจจุบันก็พอได้ยินเรื่องแบบนี้อยู่บ้าง แล้วความจริงคืออะไร พระสมเด็จเผ่ามีอยู่จริงหรือไม่และมีรูปร่างลักษณะเป็นแบบที่ว่ามานั้นจริงหรือไม่

ครับ พระสมเด็จเผ่าหรือที่พระสมเด็จที่สร้างโดยท่าน พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจมีสร้างอยู่จริงครับ แล้วประวัติการสร้างเป็นอย่างไร รูปลักษณะของพระเป็นอย่างไร เรามาคุยกันดูครับ พระสมเด็จที่ พล.ต.อ.เผ่า ที่ท่านได้เป็นประธานจัดงานประจำปีหลวง พ่อโต วัดอินทรวิหาร และสร้างพระเครื่องพิมพ์สมเด็จไว้จำนวน 84,000 องค์ และให้ประชาชนเช่าหาเพื่อนำปัจจัยมาสร้างศาลาการเปรียญของวัดอินทรวิหาร ในการนี้ท่านได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.เนื่อง อาขุบุตร เป็นหัวหน้าดำเนินการสร้างพระสมเด็จดังกล่าว

พระสมเด็จรุ่นนี้ได้พุทธาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2495 โดยมีพระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องชื่อในด้านวิทยาคม 15 รูป ทำพิธี ครั้งที่ 2 ทำพิธี เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 พระเกจิอาจารย์ร่วมพิธี 39 รูป พระสมเด็จดังกล่าวมีอยู่หลายพิมพ์ เอกลักษณ์ทำเป็นแบบกรอบกระจก คล้ายกับพระสมเด็จเกษไชโย พระทั้งหมดเป็นพระเนื้อผงพุทธคุณ ด้านหลังเรียบๆ เพียงแบบเดียว พิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจะเป็นพิมพ์อกร่อง ฐาน 3 ชั้น และพิมพ์แบบพิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จรุ่นนี้มีผู้นำไปห้อยคอแล้วเกิดประสบการณ์ต่างๆ มาก แม้แต่เมื่อครั้งที่กำลังเปิดให้เช่าบูชาก็มีคนนำไปทดลองด้านหลังวัด โดยนำไปทดลองยิงดูปรากฏว่ายิงไม่ออกมีผู้อยู่ในเหตุการณ์หลายคน จึงได้กลับมาเช่าบูชาจากวัด ซึ่งขณะนั้นให้บูชาองค์ละ 10 บาท จากเหตุการณ์มีผู้นำไปทดลองยิงก็ถูกเล่าขานไปจนทั่ว และก็มาเช่าบูชาพระสมเด็จรุ่นนี้หมดไปจากวัดในเวลาไม่นานนัก
 
ต่อมาหลังจากที่พระหมดไปจากวัดแล้ว จึงได้มีคนคิดทำพระปลอมขึ้น และเกิดพระสมเด็จรุ่นนี้ปลอมที่มีด้านหลังเป็นรูปตราหน้าหมวกตำรวจ ตัวผมเองในสมัยเป็นวัยรุ่นอยู่ก็ยังเคยเช่าบูชาพระสมเด็จปลอมรุ่นนี้มาด้วยความไม่รู้เช่นกันครับ จนมาถึงปัจจุบันก็ยังงงๆ อยู่ว่าก็ยังมีคนทำหรือนำพระปลอมในลักษณะนี้มาหลอกขายกันอยู่อีก

ดังนั้นสรุปได้ว่า พระสมเด็จที่ทำเป็นแบบด้านหลังมีรอยปั๊มเป็นตราหน้าหมวกตำรวจนั้นไม่มีจริงเป็นของปลอมทั้งสิ้นและทำกันมานานแล้วครับ พระสมเด็จรุ่นเผ่าของวัดอินทร์ที่สร้างในสมัยนั้นด้านหลังเป็นแบบเรียบๆ ธรรมดาเท่านั้น

ครับในวันนี้ผมจึงนำรูปพระสมเด็จรุ่น พล.ต.อ.เผ่า ของวัดอินทร์แท้ๆ มาให้ชม เป็นพระพิมพ์อกร่องและแบบพระพิมพ์ใหญ่มาให้ชม พระสมเด็จฯ รุ่นนี้น่าบูชามากนะครับ พุทธคุณดีมาก อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่แพง และก็ยังหาเช่าได้ไม่ยากนักครับ



     
พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งโดยส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันก็มักจะเป็นพระเนื้อโลหะแทบทั้งสิ้น แต่มีพระกริ่งรุ่นเก่าอยู่ชนิดหนึ่งที่มีเนื้อเป็นดินเผา ท่านผู้อ่านก็คงจะนึกออกว่าเป็นพระกริ่งคลองตะเคียนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระกริ่งคลองตะเคียนเป็นพระที่ได้รับคำยกย่องว่าเป็นพระกริ่งที่มีพุทธคุณด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรียอดเยี่ยม แม้แต่หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติก็ยังยกย่อง

พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระเก่ามีผู้พบพระกริ่งคลองตะเคียนบริเวณแถบคลองตะเคียน อยุธยา ซึ่งบริเวณนั้นมีซากวัดโบราณในสมัยอยุธยาอยู่หลายวัดที่ถูกทำลายไปพร้อมกับสงครามการเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดต่างๆ ในแถบนั้นหลงเหลืออยู่เพียงโคกดิน และฐานขององค์พระเจดีย์ซึ่งก็มีอยู่หลายวัดติดๆ กัน การพบพระก็พบบริเวณโคกดินที่เป็นฐานของเจดีย์วัดโบราณเหล่านั้นและพบพระกระจัดกระจายไปทั่ว จึงมักเรียกพระที่พบในบริเวณนั้นว่าพระกริ่งคลองตะเคียน ที่มีคำว่าพระกริ่งก็เนื่องจากองค์พระมีการบรรจุเม็ดกริ่งอยู่ภายในเวลาเขย่าดูจะมีเสียงดังคลุกๆ อยู่ข้างใน จึงเป็นที่มาของชื่อที่เรียกขานกันมาตลอด ส่วนอายุความเก่าก็ได้แต่เพียงสันนิษฐานว่าเป็นพระในสมัยอยุธยายุคปลาย เนื่องจากโคกดินบริเวณนั้นเป็นวัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา

พุทธลักษณะของพระกริ่งคลองตะเคียนนั้นตัวองค์พระมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระคง ลำพูน ประทับนั่งปางมารวิชัย มีใบโพธิ์ปรากฏเป็นเม็ดกลมๆ อยู่รอบพระเศียร ส่วนสัณฐานโดยรอบองค์พระมักมียอดปลายแหลม บางองค์ก็เป็นแบบปลายมน ด้านหลังอูม ก้นด้านหลังมีรอยบุ๋มและมีอักขระจารอยู่ด้วย และที่ด้านหลังจะมีการจารอักขระไว้ที่ด้านหลังทุกองค์ ลายมือจารจะเป็นลายมือเดียวกันทุกองค์ บางองค์ทำเป็นแบบ 2 หน้ารอยจารก็จะอยู่ที่ด้านข้าง พระกริ่งคลองตะเคียนที่ก้นขององค์พระ สังเกตดูตรงที่เป็นรอยบุ๋มลงไปน่าจะเป็นรอยที่บรรจุเม็ดกริ่งและอุดที่หลัง เรื่องเม็ดกริ่งในสมัยก่อนก็มีการเล่ากันต่างๆ นานา บ้างก็ว่าด้านในไม่มีอะไร ที่ได้ยินเสียงนั้นเป็นการบรรจุอาคมลงไปและเกิดเป็นเสียงกริ่งก็มี บ้างก็ว่าเม็ดกริ่งเป็นเม็ดของดอกพุทธรักษาบ้าง แต่ผมเองเคยแกะดูพระของพ่อเพื่อน ซึ่งเขาเลี่ยมพลาสติกไว้ และเกิดองค์พระชำรุดแตกที่ด้านฐานพอดี เพื่อนผมก็มาปรึกษาว่าจะซ่อมได้ไหม เสียดายเป็นพระของพ่อให้มา ผมก็เลยแกะพลาสติกที่หุ้มไว้ออกมาดู ก็พบว่าฐานชำรุดแตกหลุดออกมาจากกัน และได้เห็นเม็ดกริ่งที่อยู่ข้างในเป็นเนื้อดินเผาเช่นเดียวกับเนื้อพระ จากนั้นก็ติดกาวตกแต่งให้ดูสมบูรณ์ แล้วให้เพื่อนนำไปเลี่ยมใหม่อีกที ครับก็พบกับความเป็นจริงไม่ใช่มโนว่า เม็ดกริ่งของพระกริ่งคลองตะเคียนนั้นเป็นเม็ดเนื้อดินเผากลมๆ แบบเดียวกับเนื้อพระครับ

พระกริ่งคลองตะเคียนมีพบด้วยกันหลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก พิมพ์ 2 หน้า พิมพ์หน้าเล็ก พิมพ์พระปิดตา (พิมพ์นี้จะไม่มีเม็ดกริ่ง) มีทั้งพิมพ์พระปิดตาหน้าเดียว พิมพ์ปิดตา 2 หน้า หรือ 3 หน้า 4 หน้าก็มี เนื้อพระส่วนมากเป็นพระเนื้อดินเผาสีออกดำ แต่ที่พบเป็นเนื้อสีเหลืองอมเขียว สีอมแดงก็มีบ้างแต่พบน้อย พระกริ่งคลองตะเคียนพิมพ์ที่นิยมมากที่สุดก็คือพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก และวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ



     
พระขุนแผน พิมพ์ไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป สุพรรณบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระขุนแผน ในสมัยก่อนชายหนุ่มที่ชื่นชอบพระเครื่องมักจะนิยมหาพระขุนแผนกัน และก็ต้องเป็นพระขุนแผนของเมืองสุพรรณ พระขุนแผนของสุพรรณฯที่เป็นพระกรุพระเก่าที่นิยมก็มี 2 กรุคือ กรุวัดพระรูปและของกรุ วัดบ้านกร่าง
พวกหนุ่มๆ ในสมัยก่อนนั้นทำไมชอบพระขุนแผน ก็คงจะนึกถึงตัวละครขุนแผนที่เก่งกล้าสามารถทั้งเรื่องบู๊และบุ๋น แถมเจ้าชู้และมีภรรยาหลายคนอีกต่างหาก เรื่องมหาเสน่ห์สาวรักสาวหลงนี้ละมั้งที่พวกหนุ่มๆ ชอบมากที่สุด ใครเห็นใครรัก ใครเห็นใครหลง ดั่งตัวละครขุนแผนในวรรณคดี ในสมัยผมเป็นวัยรุ่นก็เห็นพวกที่ชอบเสาะหาพระขุนแผนก็ไม่พ้นเรื่องเมตตามหานิยมเป็นเสน่ห์แก่หญิงสาวเลยสักรายรวมทั้งตัวผมด้วย ก็ว่ากันไปตามสมัยนิยมในสมัยนั้น

พระขุนแผนที่นิยมกันมากในสมัยก่อนก็คือพระขุนแผนกรุวัดพระรูป หรือบางท่านก็เรียกว่าพระขุนแผนไข่ผ่า พระแบบนี้พบที่วัดพระรูป ตำบลรั้วใหญ่ ฝั่งตรงข้ามกับตลาดสุพรรณ วัดนี้เป็นวัดโบราณ การพบพระก็ไม่ได้พบอยู่ในองค์พระเจดีย์
เนื่องจากตัวองค์พระเจดีย์พังทลายลงมานานแล้วตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่ทราบ คนเก่าคนแก่ว่า เกิดมาก็ไม่เห็นองค์พระเจดีย์แล้ว พบพระกระจัดกระจายมาแต่โบร่ำโบราณ พบอยู่ตามพื้นหรือจมอยู่ใต้ดินในบริเวณวัดมากมาย มีอยู่หลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่เรียกกันว่า “พระขุนแผน” นั้นพบมีอยู่มากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ
 
พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง แบบทรงเครื่อง ภายในซุ้มเรือนแก้ว ฐานมีทำเป็นกลีบบัว 3 กลีบ ด้านหลังอูม รูปทรงของพระยาวรีคล้ายไข่ มองดูรวมๆ คล้ายกับไข่ต้มผ่าซีก และที่ฐานที่กลีบบัวเส้นสายก็มองดูคล้ายกับรูปเด็กนอน

โดยเฉพาะกลีบบัว ด้านซ้ายขององค์พระ (ด้านขวามือเรา) มีปลายแตกออกเป็น 2 เส้น จึงมองดูคล้ายขาของเด็กที่นอนอยู่ จึงนึกกันไปเองว่าเป็นกุมารทอง จึงตั้งชื่อกันว่าพระขุนแผน ให้สอดคล้องกับวรรณคดีเสียเลย ประกอบกับรูปทรงคล้ายไข่ผ่าซีก จึงเรียกกันว่า “พระขุนแผนไข่ผ่า”

ครับพระขุนแผนกรุวัดพระรูปก็มีพุทธคุณเด่นดังในด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดและเมตตามหานิยม เป็นที่ชื่นชอบและเสาะหากันมากจนโด่งดังมาถึงพระนคร และเล่นหากันมาตั้งแต่โบราณ เนื้อหาของพระก็มีผิวละเอียดหนึกนุ่ม คนในสมัยก่อนนิยมใช้พระห้อยคอแบบสัมผัสถูกเนื้อถูกตัว การเลี่ยมแบบตลับนั้นยังไม่ค่อยมี เนื้อพระเมื่อถูกสัมผัสจากการใช้ห้อยคอก็จะเป็นมันเงา หนึกนุ่ม สีเข้มออกแดงจัด เป็นที่นิยมในสมัยนั้น คนเก่าคนแก่ในสมัยนั้นเรียกว่าเนื้อมันปู

พระขุนแผนกรุวัดพระรูปต่อมาก็พบว่าพระบางองค์มีลักษณะปีกด้านข้างค่อนข้างผอมเล็กลีบกว่า ก็เลยแยกออกเป็นพระพิมพ์ที่มีปีกกว้างกว่าเป็นพระพิมพ์ไข่ผ่า และองค์ที่ปีกแคบกว่าก็เรียกว่าพิมพ์แตงกวาผ่าซีก แต่เท่าที่สังเกตดูเฉพาะตัวองค์พระแม่พิมพ์เป็นแม่พิมพ์เดียวกัน ต่างกันเพียงปีกขององค์พระเท่านั้นครับ

ปัจจุบันพระขุนแผนกรุวัดพระรูปนั้นหาแท้ๆ ยาก สนนราคาสูง ของปลอมมีมานานแล้วครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระขุนแผนพิมพ์ไข่ผ่าซีกของกรุวัดพระรูป สุพรรณบุรี จากหนังสือ อมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ด้วยความจริงใจ
“แทน ท่าพระจันทร์”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กุมภาพันธ์ 2561 18:27:22 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #71 เมื่อ: 08 มีนาคม 2561 15:35:45 »


พระพิมพ์สี่เหลี่ยม หลวงปู่ศุขสร้าง วัดส้มเสี้ยว  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระวัดส้มเสี้ยว พิมพ์สี่เหลี่ยม เป็นพระเครื่องที่หลวงปู่ศุขได้สร้างและปลุกเสกให้วัดส้มเสี้ยว เพื่อแจกให้แก่ผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์บูรณะเสนาสนะของวัดส้มเสี้ยว ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อน้อยเป็นเจ้าอาวาส และสนิทสนมกับหลวงปู่ศุข ท่านจึงได้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้นมาเพื่อมอบให้หลวงพ่อน้อยนำไปแจกที่วัดส้มเสี้ยว

วัดส้มเสี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อเราเดินทางขึ้นเหนือตามถนนสายเอเชีย พอเลยนครสวรรค์ สักประมาณ 30 กิโลเมตร จะถึงทางแยกเข้าอำเภอบรรพตพิสัย วัดนี้ตั้งอยู่ในตลาดของอำเภอ

วัดแห่งนี้ดูจากเสนาสนะและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนอาณาบริเวณวัดที่กว้างขวาง ก็พอจะทราบได้ว่าเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ภายในวัดสังเกตดูจะเห็นศาลาทรงจีน พระอุโบสถจัตุรมุข ส่วนกุฏิสงฆ์นั้นหลบอยู่ทางด้านหลังภายในอ้อมกอดของแมกไม้ ดูสงบร่มเย็นยิ่งนัก

ที่ศาลาทรงจีนด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนสัมฤทธิ์ขนาดเท่าองค์จริงของพระครูนิรุติธรรมธร (หลวงพ่อน้อย) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดส้มเสี้ยวที่มรณภาพตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 มีแผ่นศิลาจารึกถึงประวัติคุณงามความดีของท่านประดับไว้หน้าศาลาทรงจีน ประวัติพระครูนิรุติธรรมธร (หลวงพ่อน้อย) นามเดิมภาษาจีนว่า “เก็งลี้” โยมบิดาชื่อ หย่วนเพียว โยมมารดาชื่อ ปราง เกิดเมื่อปี พ.ศ.2410

ที่บ้านส้มเสี้ยว เมื่อเยาว์ได้เรียนภาษาจีนที่โรงเรียนจีนบ้านสะแก เรียนภาษาไทยกับพระอาจารย์จง เคยเป็นเจ้าพนักงานเก็บภาษีอากรที่มีผู้ผูกขาดจากรัฐบาล อุปสมบทเมื่ออายุได้ 22 ปี ที่วัดบางตาหงายเหนือ ฉายา ธมฺมโชโต

เคยจำพรรษาที่วัดบ้านแก่ง วัดโบสถ์ เมืองอุทัยธานี วัดสระเกศ กทม. และวัดระฆังฯ กทม. ต่อมาได้กลับมาจำพรรษาที่วัดส้มเสี้ยว โดยเป็นเจ้าคณะหมวดวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2451 ได้รับสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระครูนิรุติธรรมธร ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงบรรพตพิสัย
 
ท่านได้บูรณะวัดเจริญผล (วัดบางตาเสือ) ส่งเสริมการศึกษาและพระปริยัติธรรม หลวงพ่อน้อยมรณภาพเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 71 ปี และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิง ณ วัดส้มเสี้ยววันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2482

ครับนี่ก็เป็นประวัติย่อๆ ของหลวงพ่อน้อย อดีตเจ้าอาวาสวัดส้มเสี้ยว ซึ่งจะเป็นที่มาของพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของหลวงปู่ศุข ที่ออกให้แก่วัดส้มเสี้ยวครับ จากคำบอกเล่าของพระครูยุตธรรมศาสน์ (หลวงพ่อมหาแกร) เจ้าอาวาสรูปต่อจากหลวงพ่อน้อย

ท่านกรุณาเล่าเรื่องพระพิมพ์สี่เหลี่ยมหลวงปู่ศุขให้ฟังว่า เมื่อครั้งนั้นหลวงพ่อน้อยท่านมีดำริจะบูรณะและสร้างเสนาสนะของ วัดส้มเสี้ยว หลวงพ่อน้อย ก็ได้ไปมาหาสู่หลวงปู่ศุขอยู่เสมอๆ จึงได้ไปปรึกษาและขอพระพิมพ์สี่เหลี่ยมจากหลวงปู่ศุข

เพื่อแจกสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในครั้งนั้น หลวงปู่ศุขก็กรุณาจัดสร้างพระพิมพ์สี่เหลี่ยมพิมพ์นี้ขึ้น เพื่อมอบให้แก่หลวงพ่อน้อยไปแจกจ่ายหาทุนต่อไป พระพิมพ์นี้เป็นพระเนื้อชินตะกั่ว ด้านหลังจะมีจารตัวพุทธ และมีเส้นล้อมรอบตามแบบรอยจารของหลวงปู่ศุขนั่นเองครับ

ประวัติความเป็นมาของพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของวัดส้มเสี้ยวก็มีตามที่ผมได้กล่าวมานี้ ปัจจุบันนั้นหายากเช่นกัน สนนราคาก็สูงอยู่พอสมควรครับ พุทธคุณนั้นก็ดีเยี่ยมทุกประการแบบของวัดปากคลองมะขามเฒ่า แต่สนนราคาก็ย่อมลงมากว่าของที่ออกที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพิมพ์สี่เหลี่ยม ที่หลวงปู่ศุขสร้างให้วัดส้มเสี้ยวมาให้ชมกันด้วยครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์
 



พระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้าจังหวัดราชบุรี  

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า จังหวัดราชบุรี เป็นพระกรุพระเก่าของราชบุรีที่น่าสนใจมาก พระกรุของจังหวัดนี้มีอยู่หลายกรุเหมือนกันและโด่งดังมาตั้งแต่อดีต อย่างเช่นพระท่ากระดาน กรุวัดหลุมดิน พระท่ากระดาน กรุวัดใหม่หนองอีจาง เป็นต้น และพระเนื้อชินสนิมแดงที่มีขนาดเล็กคือพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับพระท่ากระดานน้อย กรุวัดท่าเสา ของกาญจนบุรี

ในสมัยที่ผมยังเป็นวัยรุ่นนั้น ผมเคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่พูดถึงพระท่ากระดาน และพูดถึงพระท่ากระดานน้อย กรุวัดท่าเสา เมืองกาญจนบุรี ก็เกิดความรู้สึกศรัทธาเชื่อมั่นและอยากได้มาก เนื่องจากได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับพระทั้ง 2 อย่างที่เป็นเนื้อชินสนิมแดง และเคยขอผู้ใหญ่ส่องดูชอบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงบางโอกาส ก็ยิ่งอยากได้มากขึ้นไปอีก แต่ก็ไม่มีปัญญาที่จะเช่าหา ต่อมามีเพื่อนคนหนึ่งเป็นคนจังหวัดราชบุรีรู้ว่าผมอยากได้พระเนื้อชินสนิมแดง เขาก็เอาพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า าให้ผมองค์นึง และบอกว่าเป็นพระที่พบในกรุวัดศาลเจ้าราชบุรี ซึ่งเป็นคนละที่กันกับของกาญจนบุรี แต่ดีเหมือนๆ กัน ผมดีใจมากจึงนำไปเลี่ยมพลาสติกห้อยคอตลอด ผมเองเป็นคนที่ชอบเที่ยวหัวหกก้นขวิดตะลอนไปทั่วเข้าป่าเข้าดงคบเพื่อนฝูงมาก แต่ก็ไม่เคยได้รับอันตรายใดๆ และเชื่อมั่นว่าพระท่ากระดานน้อย ที่เพื่อนให้ปกป้องคุ้มครองมาโดยตลอด

ในช่วงนั้นก็พยายามค้นหาประวัติความเป็นมาของพระท่ากระดานน้อยกรุวัดศาลเจ้า ซึ่งในสมัยนั้นหนังสือพระเครื่องก็ไม่ค่อยมี ก็ได้แต่สอบถามเรื่องราวของพระกรุท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า ได้รับคำบอกเล่าตรงกันที่ว่าแตกกรุจากวัดศาลเจ้า ราชบุรี แต่เป็นพระที่สร้างในยุคใดก็ไม่ค่อยตรงกันนัก บางท่านก็ว่าเป็นพระเก่าสร้างมาแต่สมัยโบราณ แต่ก็มีบางท่านว่าสร้างในสมัยเฒ่าแก่ปู้ เจ้าของโรงสีใกล้วัดศาลเจ้า มาบูรณะเจดีย์และสร้างพระบรรจุไว้ ผมเองเริ่มศึกษาพระเครื่องก็ไม่ค่อยเชื่อว่าสร้างในสมัยที่เฒ่าแก่ปู้ เนื่องจากอายุการสร้างและเนื้อสนิมแดงที่เกิดกับพระท่ากระดานน้อยนั้นไม่สอดคล้องกัน พระท่ากระดานน้อยน่าจะสร้างมาเก่าแก่กว่านั้นมาก แต่ก็ไม่ได้เถียงหรือขัดแย้งกับผู้ใหญ่ ได้แต่เก็บความสงสัยและค้นหาเหตุผลต่อมา
 
ครับวัดศาลเจ้าเป็นวัดเก่าแก่ สร้างตั้งแต่สมัยใดยังไม่มีการพบหลักฐานว่าสร้างมาแต่ยุคใด แต่ก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง ต่อมาสืบทราบว่า วัดนี้แต่เดิมเรียกว่า “วัดเกาะนอก” และมีศาลเจ้าเก่าแก่ตั้งอยู่ ชาวบ้านจึงมักเรียกกันว่า “วัดศาลเจ้า” มาจนทุกวันนี้ เท่าที่ค้นคว้าดูก็พบว่าวัดนี้น่าจะเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2465 องค์พระเจดีย์ถูกฟ้าผ่าชำรุด ทำให้มีการพบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงแตกออกมาจำนวนหนึ่งคือพระท่ากระดานน้อย กรุวัดศาลเจ้า เป็นพระเนื้อชินสนิมแดงแซมไขขาว มากบ้างน้อยบ้าง สาเหตุที่เรียกว่าพระท่ากระดานน้อย เนื่องจากมีพุทธลักษณะที่คล้ายๆ กับพระท่ากระดานน้อยของกรุวัดท่าเสา เมืองกาญจนบุรี ซึ่งเป็นพระเนื้อชินสนิมแดงเช่นกัน

การบูรณะในปี พ.ศ.2465 นั้น เฒ่าแก่ปู้เป็นผู้บูรณะและมีการสร้างพระบรรจุไว้ ในองค์พระเจดีย์ด้วยเช่นกัน แต่พระท่ากระดานน้อยที่พบในกรุนี้น่าจะเป็นพระ ที่สร้างไว้มาก่อนหน้านี้แล้ว สันนิษฐานว่าพระท่ากระดานน้อยของกรุนี้คงจะสร้างไว้ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากผิวและสนิมแดงที่ปรากฏบ่งบอกถึงความมีอายุการสร้างว่าเก่ามากน้อยอย่างไร

ครับพระท่ากระดานน้อยเป็นพระที่น่าสนใจมาก และมีขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะที่จะนำมาห้อยคอ พุทธคุณโดดเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ปัจจุบัน ก็หายากพอสมควร ของปลอมเลียนแบบ มีมานานแล้ว การเช่าหาควรพิจารณาให้ดีๆ และกับผู้ที่ไว้ใจได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ากระดานน้อยกรุวัดศาลเจ้าจากหนังสือแจกรางวัลงานประกวดพระเครื่องจังหวัดราชบุรี 2560 มาให้ชม และขอขอบคุณ คุณโอ๊ต บางแพ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อรูป และข้อมูลมาด้วยครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์




พระปิดตา เนื้อผงหัวบานเย็น  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชนทั่วประเทศ วัตถุมงคลของท่านนั้นก็นิยมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเหรียญหรือพระปิดตายันต์ยุ่ง พระชัยวัฒน์ หมากทุย แต่ทุกอย่างก็หายากมากเช่นกัน สนนราคาสูงใครๆ ก็อยากได้ แต่ก็อย่างที่ว่าครับ หาแท้ๆ ยากจริงๆ

นอกจากเหรียญรุ่นยันต์สี่หรือเหรียญยันต์ห้าแล้ว พระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อโลหะผสมก็เป็นพระยอดนิยม อีกทั้งพระชัยวัฒน์ก็เป็นพระที่นิยมกันมากเช่นกัน นอกจากพระปิดตาเนื้อโลหะผสมแล้วหลวงปู่ท่านก็ยังสร้างพระปิดตาเนื้อตะกั่วแจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์อีกด้วย สนนราคาก็จะย่อมเยาลงมาหน่อย เช่น พระปิดตาพิมพ์สังฆาฏิ พระปิดตาพิมพ์นะหัวเข่าเนื้อตะกั่วครึ่งซีก พระปิดตาพิมพ์ข้าวตอกแตก เป็นต้น

แต่ก็หาแท้ๆ ยาก เป็นที่นิยมเช่นกันครับ ส่วนพระปิดตาที่เป็นพระเนื้อผง ท่านก็ได้สร้างไว้ แต่ก็มีจำนวนน้อยกว่าพระปิดตาเนื้อตะกั่ว เช่น พระปิดตาพิมพ์ข้าวตอกแตกเนื้อผงคลุกรัก พระปิดตาข้าวตอกแตกเนื้อผงคลุกรักจะหายาก สนนราคาสูง พระปิดตาเนื้อผงอีกอย่างหนึ่งของหลวงปู่เอี่ยมเป็นพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น พระพิมพ์นี้ก็หาแท้ๆ ยาก

พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น หลวงปู่เอี่ยมจะปลูกต้นบานเย็นไว้ที่กุฏิของท่าน และก็จะทำน้ำมนต์รดน้ำของท่านทุกวัน โดยจะบริกรรมคาถาขณะรดน้ำให้หัวบานเย็นทุกวันมิได้ขาด พอได้ฤกษ์งามยามดี ท่านก็จะขุดนำหัวของต้นบานเย็นที่ท่านได้ปลูกไว้ นำมาตากแห้งและบดจนละเอียด นำผสมกับผงพุทธคุณที่ท่านทำไว้ จากนั้นจึงนำมาสร้างเป็นองค์พระปิดตา พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นนี้เรียกว่าดีตั้งแต่การปลูกต้นบานเย็นแล้ว และยังนำมาผสมกับผงพุทธคุณที่หลวงปู่ทำไว้ เมื่อทำเป็นองค์พระเสร็จแล้วหลวงปู่ก็ยังปลุกเสกอีกทีหนึ่งด้วยก่อนที่จะแจกให้แก่ศิษย์และญาติโยมที่ใกล้ชิด
 
พระปิดตาพิมพ์หัวบานเย็นเท่าที่พบมีอยู่ 2 พิมพ์ พิมพ์หนึ่งจะต้อๆ กว่า อีกพิมพ์หนึ่งดูชะลูดกว่า และเท่าที่พบพิมพ์ชะลูดมากกว่าพระพิมพ์ต้อ มีท่านผู้รู้บางท่านกล่าวว่า พระพิมพ์ต้อเป็นพระที่สร้างในครั้งแรกๆ และต่อมาก็ได้สร้างแม่พิมพ์พระพิมพ์ชะลูดขึ้นมาอีกพิมพ์หนึ่ง และจะพบเห็นพระพิมพ์ชะลูดมากกว่าพระพิมพ์ต้อ

พระปิดตาหัวผงบานเย็นของหลวงปู่เอี่ยมก็เป็นพระที่หายากเช่นกัน ของปลอมก็มีการทำมานานแล้ว เนื่องจากพระแท้ๆ ที่หายาก และส่วนมากจะอยู่กับศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่หรือญาติโยมที่อยู่ใกล้ๆ วัด สนนราคาในปัจจุบันจะย่อมเยากว่าพระพิมพ์อื่นของหลวงปู่เอี่ยม เนื่องจากส่วนมากก็จะหาเหรียญหรือพระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อโลหะของหลวงปู่ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่า

พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น โดยส่วนตัวผมเองชอบและเห็นว่าทำยาก เริ่มตั้งแต่การปลูกต้นบานเย็น แล้วนำมาตากแห้งบดเป็นผงจนทำเป็นองค์พระ หลวงปู่จะพิถีพิถันตั้งแต่เริ่มที่จะสร้าง พุทธคุณนั้นดีทุกด้าน ทั้งแคล้วคลาด อยู่คง และเมตตามหานิยมครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นจากหนังสือตามรอย ตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยามมา ให้ชมทั้ง 2 พิมพ์ครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์




พระวัดนก พระดีจังหวัดอ่างทอง  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระดีของจังหวัดอ่างทองชนิดหนึ่ง ที่มักเรียกกันว่า พระวัดนก ลักษณะเป็นพระเนื้อผงองค์เล็กๆ แบบพิมพ์ละม้ายคล้ายกับพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ปัจจุบันก็เริ่มหายากแล้วครับ

วัดสกุณาราม อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งต่อมาพระวัดนกได้มีการแตกกรุออกมาจึงได้พบพระเครื่ององค์เล็กๆ จำนวนมาก พระที่พบเป็นพระเนื้อผงผสมใบลานเผา มีสีของเนื้อพระเป็นสีเทาอมเขียว เทาอมดำ และสีเขียวอ่อนอมเหลือง มีพิมพ์ต่างๆ มากมาย ขนาดขององค์พระมีขนาดเล็กเท่าๆ กัน

ส่วนประวัติการสร้างพระนั้นไม่ได้มีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงคำบอกเล่าของชาวบ้านในท้องถิ่นเท่านั้น ซึ่งก็มีการบอกเล่าเป็น 2 กระแส แต่ก็สอดคล้องกัน กระแสหนึ่งว่ากันว่า หลวงพ่อเฟื่อง เป็นผู้สร้างพระเครื่องนี้ไว้ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2464 สร้างไปแจกไปบ้าง ส่วนที่เหลือจึงนำไปบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ ซึ่งต่อมาก็มีการพบพระเครื่องดังกล่าว

อีกกระแสก็ว่า หลวงพ่อแก้ว อดีตเจ้าอาวาสวัดนก ก่อนหลวงพ่อเฟื่อง ได้สร้างไว้ก่อนในยุคแรกประมาณปี พ.ศ.2453 และต่อมาเมื่อหลวงพ่อแก้วมรณภาพแล้ว หลวงพ่อเฟื่องจึงได้สร้างต่อโดยใช้แม่พิมพ์อันเดียว กันและเนื้อเดียวกัน
 
ครับก็นำมาให้วิเคราะห์กันตามคำบอกเล่าของชาวบ้านในท้องที่ครับ และเท่าที่รับฟังมาก็มีการบอกเล่าด้วยว่า ในการปลุกเสกพระเครื่องของวัดนกได้มีการนิมนต์ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า มาร่วมปลุกเสกด้วยเหมือนกันทั้ง 2 กระแสครับ ก็น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า พระวัดนกนั้นพิมพ์ส่วนใหญ่ก็มีลักษณะละม้ายกับพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อยู่เหมือนกันครับ

พระวัดนกที่พบเป็นพระเนื้อผง ด้านหลังมีทั้งแบบเรียบๆ กับที่ด้านหลังมีจารอักขระ ซึ่งก็มีการจากแบบจารเปียก มีอักขระอยู่หลายแบบด้วยกัน พระวัดนกที่พบบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์นั้นส่วนมากมักจะมีคราบกรุเป็นคราบไขขาวๆ จับอยู่ที่องค์พระ ที่ไม่ปรากฏคราบก็มีอยู่บ้าง ซึ่งก็อาจจะเป็นพระที่แจกก่อนที่จะบรรจุกรุ

พุทธคุณของพระวัดนกชาวบ้านในท้องถิ่นรู้กันมานานแล้ว เด่นทางด้านอยู่คง ซึ่งก็มีประสบการณ์กันมาก อีกทั้งยังดีด้านแคล้วคลาดและเมตตามหานิยมอีกด้วย ในสมัยเมื่อ 50 กว่าปีก่อนนั้นสนนราคาก็ยังไม่แพงนักอยู่ที่หลักร้อยเท่านั้น ต่อมาในปัจจุบันมีคนรู้จักมากขึ้นสนนราคาก็สูงขึ้น แต่ก็ยังไม่แพงนักอยู่ที่หลักพันมากน้อยอยู่ที่พิมพ์และความสวยสมบูรณ์ครับ

พระวัดนกมีของปลอมหรือเปล่า ก็ตอบได้เลยว่ามี เนื่องจากปัจจุบันก็มีความนิยมกันทั่วไป พวกทำพระปลอมก็เริ่มทำเช่นกันครับ เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนครับ พระวัดนกแท้ๆ จะคมชัด ผิวพระมักจะปรากฏคราบไขจับอยู่ทั่วไป และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระวัดนกมาให้ชมกัน 2 พิมพ์ครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์




พระกรุวัดจุฬามณี พิมพ์หน้าฤๅษีหลังนาง  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าเนื้อดินเผาชนิดหนึ่งที่น่าสนใจคือพระกรุ วัดจุฬามณี พระกรุนี้เป็นพระที่พบ ในจังหวัดพิษณุโลก และเป็นพระที่มีเอกลักษณ์ไม่ค่อยเหมือนใครคือ เป็นพระกรุเนื้อดินที่มี 2 หน้า (มีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง) ซึ่งพระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าที่จะพบมีแบบ 2 หน้าน้อยมาก ในส่วนของพุทธคุณก็ยอดเยี่ยมครับ

วัดจุฬามณีเป็นวัดเก่าแก่ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ในยุคขอมเรืองอำนาจ และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในยุคต่อๆ มาอีกหลายยุค ต่อมาได้มีการแตกกรุออกมาและพบพระเครื่องเนื้อดินเผาจำนวนมากมายหลายพิมพ์ พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระที่มี 2 หน้า

เช่นพิมพ์ที่พบมากก็คือ พระพิมพ์หน้าฤๅษีหลังนาง และเป็นพิมพ์ที่นิยมของพระกรุนี้ พระพิมพ์ 2 หน้า นอกจากนี้ก็ยังพบพิมพ์ทรงชฎาหลังนาง พิมพ์แบบนางพญา 2 หน้า ซึ่งพระที่มีแบบพิมพ์ 2 หน้าจะพบมากกว่าพระที่มีแบบพิมพ์หน้าเดียว พระที่เป็นแบบหน้าเดียวมักจะเป็นพระพิมพ์ซุ้มขีดและนางพญา

พระของกรุนี้เท่าที่พบเป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหมด มีทั้งแบบเนื้อดินหยาบ และเนื้อดินละเอียด เนื้อพระเนื้อหยาบจะมีความแกร่งมาก เท่าที่สังเกตดูรูปแบบศิลปะสันนิษฐานว่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา และที่เป็นเอกลักษณ์ของพระกรุนี้ที่แปลกกว่าพระกรุอื่นก็คือทำเป็นแบบ 2 หน้าครับ ซึ่งพระกรุพระเก่าจะไม่ค่อยพบพระเก่าที่ทำเป็นแบบ 2 หน้าเท่าไรนักครับ
 
ในสมัยก่อนพระกรุนี้ตอนที่แตกกรุใหม่ๆ สนนราคายังไม่ค่อยสูงราคาแค่หลักร้อย จนมีความนิยมมากขึ้นพระแท้ๆ ก็เริ่มหายากขึ้นสนนราคาก็สูงขึ้นตามลำดับ ก็แน่นอนว่านักทำพระปลอมก็เริ่มทำพระปลอมขึ้น เช่นกัน และก็มีมากเท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

พระกรุวัดจุฬามณีเป็นพระที่แตกกรุมานานแล้ว จึงมีผู้ที่นำไปห้อยคอและเกิดประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จนเป็นพระที่นิยมชนิดหนึ่งของสังคมพระเครื่อง พระพิมพ์ที่นิยมที่สุดก็คือพระพิมพ์หน้าฤๅษีหลังนาง

ปัจจุบันองค์พระที่สวยๆ สมบูรณ์ราคาอยู่ที่หลักหมื่น พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด พระกรุวัดจุฬามณีเป็นพระที่นิยมกันมากกรุหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก และสนนราคาก็ยังย่อมเยากว่าพระยอดนิยมกรุอื่นๆ อยู่ครับ ถ้าองค์พระที่หย่อนความสมบูรณ์หน่อยก็ยังอยู่แค่หลักพันเท่านั้น ผมว่าเป็นพระกรุที่น่าสนใจกรุหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลกครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกรุวัดจุฬามณี พิมพ์หน้าฤๅษีหลังนาง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์




พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก  

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เปิดดูหนังสือนิตยสารพระท่าพระจันทร์เห็นรูปพระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ของคุณต่อ ดวงวิชัย ก็เลยทำให้นึกถึงความหลังที่เคยเช่าพระวัดพลับพิมพ์นี้ได้ที่สนามพระท่าพระจันทร์ และเป็นพระวัดพลับองค์แรกของผม

พระวัดพลับพิมพ์ตุ๊กตาเล็กเป็นพระที่ผมชื่นชอบเป็นการส่วนตัวมานานแล้ว และได้ศึกษาพระวัดพลับมาพอสมควร แต่ก็ไม่มีโอกาสที่จะเช่าได้สักที จนกระทั่งในปี พ.ศ.2518 ปีที่น้ำท่วม กทม. ช่วงนั้นก็ว่างเลยไปเดินเล่นที่สนามพระท่าพระจันทร์ เข้าไปสนามพระเดินเข้าไปหน่อยเดียวก็เจอน้ำที่เอ่อล้นไปเกือบทั้งสนาม

แต่ก็คิดในใจว่ามาถึงแล้วก็เดินลุยน้ำดูอะไรเล่นไปก่อนก็แล้วกัน เข้าไปข้างในได้ไม่มากนักก็เดินกลับมานั่งเล่นทางด้านหัวสนาม นั่งคุยกับพรรคพวกสองสามคน วันนั้นเซียนหลายๆ คนไม่ได้มาเปิดแผงเพราะน้ำท่วม มีคนอยู่ในสนามไม่มากนัก พอบ่ายๆ ก็มีคนเดินเอาพระมาให้เช่า เห็นเขาเดินเข้าไปด้านในสักพักใหญ่ก็เดินกลับออกมาด้านที่ผมนั่งคุยกันอยู่ และนำพระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็กมาเสนอขาย

พระองค์นี้ดูจากสภาพก็พอมองออกว่า พระองค์นี้เคยเลี่ยมจับขอบและมีคราบไคลจากการใช้ให้เห็นอยู่ มีรอยแกะกรอบสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกรอบทองเอาไปขายก่อนหน้านี้แล้ว ในตอนนั้นก็ไม่มีใครเช่าหา เนื่องจากคราบไคลจากการใช้จับหนาไม่สามารถพิจารณาอะไรได้มากนัก

ผมเลยขอดูก็เห็นเนื้อหาที่บริเวณพระพักตร์หน้าอกพระและด้านหลังเท่านั้น พิจารณาดูพิมพ์และเนื้อหาเท่าที่เห็นก็มีความรู้สึกว่าน่าจะแท้ และเป็นพระที่ผมอยากได้อยู่พอดี จึงถามคนขายว่าจะขายเท่าไร คนขายบอกว่าขาย 3,500 ผมเองก็เลยคิดว่าจะเสี่ยงเช่าไว้ก็ต่อรองได้ที่ราคา 2,500 และคนขายก็เลยตกลงให้เช่า
 
ผมก็กลับมาบ้านด้วยความหวังอยู่ในใจลึกๆ และทำใจว่าถ้าล้างออกมาแล้วไม่แท้หรือมีชำรุดก็ทำใจไว้ก่อน หลังจากนั้นก็นำพระมาล้างน้ำอุ่นเพื่อเอาคราบไคลออก โดยใช้พู่กันปัดเอาคราบไคลออกเบาๆ เพื่อจะได้พิจารณาดูอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ ปรากฏว่าก็ล้างออกได้โดยไม่ยากนัก คราบไคลที่เห็นเข้าใจว่าจะเป็นคราบเหงื่อไคลและคราบสบู่ผสมกับคราบแป้งผัดหน้า

สันนิษฐานว่าเจ้าของเดิมคงใช้ติดตัว พอกลับมาพิจารณาพิมพ์ของพระและเนื้อหาก็ทำให้ดีใจมาก เพราะทุกอย่างถูกต้อง รุ่งขึ้นเช้าก็นำพระไปให้ผู้ใหญ่ที่ผมเคารพนับถือดูให้อีกที ก็ดีใจมากเพราะเป็นพระแท้ และเป็นพระวัดพลับองค์แรกที่ผมเช่าได้ด้วยตัวเอง

แถมพระพิมพ์นี้ผมเองก็ชอบเป็นการส่วนตัวด้วย พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก เป็นพระที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดเลี่ยม ห้อยคอสวยงาม พระองค์นี้มีสึกที่พระพักตร์นิดหน่อยนอกนั้นสมบูรณ์ อาจเป็นพระที่เจ้าของเดิมเลี่ยมยกขอบจึงพอรักษาองค์พระไว้ได้ อีกทั้งพระวัดพลับนั้นมีเนื้อหาที่แข็งแกร่งพอสมควรและคงใช้มาไม่สมบุกสมบันมากนัก

ครับวันนั้นก็ถือเป็นโชคดีของผมและก็วันนั้นไม่ค่อยมีเซียนพระเข้าไปในสนาม ไม่งั้นคงไม่รอดมาถึงผมแน่ พระวัดพลับองค์ที่ได้เช่ามาในวันนั้นจึงเป็นพระองค์ครูของผมที่ใช้ศึกษาพระวัดพลับต่อมา เรื่องการที่จะต้องมีพระองค์ครูไว้เพื่อการศึกษาพระนั้นๆ เป็นเรื่องสำคัญนะครับ เนื่องจากเราจะได้เห็นได้ทุกเวลาที่เราต้องการศึกษา เรื่องพิมพ์พระหรือโดยเฉพาะเนื้อหาของพระก็จะเข้าใจได้แม่นยำขึ้นครับ

พระวัดพลับนั้นพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ทำมาค้าขาย วันนี้ผมนำรูปพระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ของคุณต่อ ดวงวิชัย จากหนังสือนิตยสารพระท่าพระจันทร์ มาให้ชม พระองค์นี้เป็นพระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ที่สวยงามสมบูรณ์มากครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์




พระนาง กรุวัดหัวเมือง  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุพระเก่า กันบ้าง ซึ่งช่วงเวลานี้ไม่ค่อยได้มีใครพูดถึงพระกรุพระเก่ากันนัก ความจริงพระกรุนั้นเป็นพระที่มีอายุการสร้างมาช้านาน ถ้าเราศึกษาประวัติและสถานที่ที่พบกรุพระ ศึกษาเนื้อหาความเก่าก็จะสนุกและน่าสนใจมากและในวันนี้ผมจะพูดถึงพระกรุหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ บางท่านอาจจะสงสัยมีด้วยหรือพระกรุที่นครสวรรค์ ซึ่งความจริงแล้วนครสวรรค์ก็เป็นเมืองเก่ามีมาแต่โบราณ ครับพระกรุที่ผมจะพูดถึงก็คือ พระนางกรุวัดหัวเมืองครับ

นครสวรรค์ก่อนที่จะมีชื่อนี้ก็มีประวัติความเป็นมาแต่ก่อนเก่า กล่าวคือ เมืองนี้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดีและเป็นเมืองสืบต่อมาโดยตลอด เมืองนี้เดิมมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อเช่น เมืองพระบาง และยังคงหลงเหลือซากเมืองเก่าหลงเหลืออยู่ ที่ดอนชายเขาฤๅษีลงมาจดวัดหัวเมือง มุมเมืองตั้งอยู่ตรงวัดแห่งนี้ ยังพอมีแนวเนินดินกำแพงเมืองพอดูเป็นเค้าๆ พอเห็นได้ จากหลักศิลาจารึกพบที่วัดเขากบ (หลักที่ 11) กล่าวถึง พระยาธรรมมิกราช (พระเจ้าลิไทกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง) ได้ไปจำลองรอยพระพุทธบาทมาจากทวีปลังกาที่สร้างประดิษฐานไว้ที่เขาปากพระบาง อีกหลักหนึ่งบนยอดเขากบนั้น

มีใจความกล่าวถึงการสร้างวัดเขากบ เจดีย์วิหารฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาไว้กลางเวียง อุทิศส่วนกุศลให้แก่พระยาราม ผู้เป็นน้อง จากข้อความในศิลาจารึกเหล่านี้ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เมืองพระบางเป็นเมืองที่สร้างโดยกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง

นอกจากนี้เมืองนครสวรรค์ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อเช่น เมืองปากน้ำโผล่ ด้วยเหตุที่ว่าเป็นจุดที่แม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน ไหลมารวมกัน ณจุดนี้ และเป็นที่ตั้งของเมือง เมืองนี้ ต่อมาเรียกกันเพี้ยนไปอีกว่า เมืองปากน้ำโพ และอีกชื่อหนึ่งเมืองนี้ ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เวลาเช้าพระอาทิตย์จะส่องชอนเข้าไปในเมืองอย่างเต็มที่ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ เมืองชอนตะวัน และ ต่อมาเพื่อที่จะตั้งชื่อเมืองให้เป็นสิริมงคล จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “นครสวรรค์”
 
ครับทีนี้เรามาพูดถึงพระเครื่องที่พูดเกริ่นไว้ คือพระนางกรุวัดหัวเมือง มูลเหตุของการพบพระเครื่องกรุนี้คือ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2500 กว่าๆ ทางจังหวัด ได้ขยายถนนและขุดลอกวางท่อประปาบริเวณวัดหัวเมือง ในการนี้เองได้ขุดพบกรุพระ พบอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์หนึ่งเรียกว่า นางกรุวัดหัวเมืองตามสถานที่ขุดพบ อีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่าพิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ตามรูปลักษณ์ขององค์พระ

พระนางกรุวัดหัวเมือง เป็นพระปางประทับนั่งมารวิชัย ทรงสามเหลี่ยม จึงเรียกพระนางตามที่นิยมเรียกกัน เนื้อของพระที่พบเป็นเนื้อชินตะกั่ว สนิมแดงทั้ง 2 พิมพ์ ลักษณะเป็นสนิมไขขาวปกคลุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง ในทางโบราณคดี พระกรุวัดหัวเมืองนี้สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระสมัยสุโขทัยยุคปลายจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น สืบเนื่องจากหลักศิลาจารึกและรูปแบบศิลปะ

พระกรุวัดหัวเมืองเป็นพระกรุที่น่าสนใจทั้งทางด้านโบราณคดีและเป็นพระเก่าแก่ เนื้อหาสนิมแดงก็สวยซึ้ง แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก สนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางกรุวัดหัวเมืองจากหนังสืออมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์



บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #72 เมื่อ: 08 มีนาคม 2561 15:37:52 »



พระปิดตา พิมพ์มือไขว้ของหลวงพ่อดิษฐ์  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ จังหวัดพัทลุง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวใต้เคารพนับถือมาก พระเครื่องที่หลวงพ่อดิษฐ์ได้สร้างไว้และมีความนิยมมากก็คือ พระสังกัจจายน์ และพระปิดตาเนื้อโลหะผสมซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่ครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2

หลวงพ่อดิษฐ์ เป็นชาวพัทลุงโดยกำเนิด เกิดที่บ้านดอนตาสังข์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2420 โยมบิดาชื่อ แก้ว โยมมารดาชื่อ นุ้ย เมื่อเยาว์บิดามารดาได้พาไปฝากเรียนหนังสือที่วัดควนกรวด กับพระอาจารย์รอด ได้ศึกษาภาษาไทยและหนังสือขอม หัดอ่านหนังสือสวดมนต์จนชำนาญ ต่อมาเมื่อมีอายุครบบวชในปี พ.ศ.2441 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดปรางหมู่ ในตำบลปรางหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เมื่อบวชแล้ว หลวงพ่อดิษฐ์ก็ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดควนกรวด และได้ศึกษาวิชากับพระอาจารย์รอด

จนกระทั่งปี พ.ศ.2446 ชาวบ้านปากสระ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ได้พากันเดินทางมานิมนต์เพื่อขอให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัด ปากสระ หลวงพ่อดิษฐ์จึงได้เดินทางไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากสระแต่นั้นมา เมื่อได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากสระแล้วท่านก็เริ่มนำความเจริญและสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ตลอดจนเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน ต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลชัยบุรี ในปี พ.ศ.2489 และต่อมาในปี พ.ศ.2497 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์”

หลวงพ่อดิษฐ์เป็นคนที่มีนัยน์ตาดุ และมีวาจาสิทธิ์ แต่ก็เป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาสูง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอะไร เมื่อไปหาท่านให้ช่วยเหลือท่านจะช่วยทุกครั้งไป บางคนมีความเดือดร้อนเรื่องเงินทอง ถ้ามีท่านก็จะให้ทันที หลวงพ่อดิษฐ์จึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก หลวงพ่อดิษฐ์ไม่ยึดติดกับลาภสักการะ ในสมัยนั้นชาวบ้านต่างก็พาลูกหลานไปฝากกับท่าน ท่านก็เลี้ยงดูให้ได้เรียนได้ดิบได้ดีกันไปหลายคน
 
เมื่อปี พ.ศ.2507 หลวงพ่อดิษฐ์เริ่มอาพาธ พอถึงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2507 ก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ ยังความเศร้าโศกเสียใจแก่ชาวบ้านและลูกศิษย์เป็นอย่างมาก สิริอายุได้ 87 ปี พรรษาที่ 66 เมื่อท่านมรณภาพแล้ว คณะกรรมการวัดและชาวบ้านได้สำรวจทรัพย์สินของท่าน ปรากฏว่าไม่มีทรัพย์สินใดๆ เลยนอกจากอัฐบริขารเท่านั้น

หลวงพ่อดิษฐ์ได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ผ้ายันต์ซึ่งท่านจะเขียนยันต์เอง และตะกรุดโทน ท่านจะปลุกเสกและแจกเป็นรายๆ ไป ปัจจุบันหาชมยาก นอกจากนี้ยังได้สร้างพระปิดตาและพระสังกัจจายน์ เนื้อโลหะผสมไว้แจกแก่ชาวบ้านและลูกศิษย์ พระเครื่องของท่านนั้นจะสร้างด้วยความพิถีพิถันมาก โดยลูกศิษย์ที่เป็นทหารก็จะนำปลอกลูกปืนต่างๆ มาให้ท่านเป็นเนื้อโลหะ ชาวบ้านต่างก็นำภาชนะโลหะมาร่วมถวาย ท่านก็จะนำโลหะนั้นมาลงเหล็กจารปลุกเสกจนพอใจ แล้วจึงนำไปหลอมเป็นก้อน จากนั้นก็จะนำมาจารและปลุกเสกอีกครั้งจนแน่ใจ ท่านจึงนำไปตะไบให้เป็นผงเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาเป็นผงชนวนในการหล่อหลอมอีกทีหนึ่ง

จากนั้นชาวบ้านและลูกศิษย์จึงได้ช่วยกันทำแม่พิมพ์พระ และเมื่อได้โลหะในการที่จะสร้างพระพอแล้ว ท่านจึงได้ให้หล่อหลอมสร้างเป็นองค์พระขึ้น จากนั้นจะนำไปปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้ง ท่านจะปลุกเสกพระเป็นเวลานาน จนพอใจแล้วจึงนำมาแจก พระที่สร้างก็หมดไปในเวลารวดเร็ว ท่านก็เริ่มสร้างใหม่ด้วยกรรมวิธีเดียวกัน และนำชนวนที่เหลือมาเป็นส่วนผสมด้วยทุกครั้ง พระที่ท่านสร้างในครั้งต่อๆ มาก็หมดทุกครั้ง เนื่องจากความเคารพศรัทธาในตัวท่านของชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหา เรียกว่าสร้างเท่าไรก็ไม่พอ เพราะชาวใต้ทั้งจังหวัดใกล้เคียงและไกลออกไปต่างก็ทยอยกันมารับจากท่านมากมาย

เรื่องประสบการณ์นั้นมีมากมาย มีคนเคยนำพระของท่านไปลองยิงดู ปรากฏว่ากระบอกปืนร้าวยิงไม่ออกไปหลายราย จนเป็นที่ครั่นคร้ามของพวกที่ชอบทดลอง พอบอกว่าเป็นพระหลวงพ่อดิษฐ์เท่านั้น ไม่มีใครกล้าทดลอง เป็นที่รู้กันทั่วในดินแดนใต้ ปัจจุบันจะหาพระเครื่องของท่านนั้นหาแท้ๆ ยากครับ และในวันนี้ผมจึงได้นำพระปิดตา พิมพ์มือไขว้ของหลวงพ่อดิษฐ์มาให้ชมกันครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์




“พระโคนสมอ” พิมพ์ห้อยพระบาท เนื้อชินเงิน  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระโคนสมอท่านผู้อ่านก็คงจะทราบกันดีว่า เป็นพระเนื้อดินเผาที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ในสมัยก่อนก็มีผู้นิยมนำมาห้อยคอเช่นกัน แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้นำมาห้อยคอนัก เนื่องจากขนาดขององค์พระค่อนข้างใหญ่

จึงนำมาทำฐานตั้งไว้บูชาที่บ้านเสียเป็นส่วนใหญ่ และพระโคนสมอส่วนมากก็ทำเป็นพระปางประจำวันเกิด จึงนิยมไว้บูชาที่บ้าน ในปัจจุบันก็มีของปลอมเลียนแบบ เพราะพระแท้ๆ ก็เริ่มหายากขึ้น สนนราคาก็เริ่มมีราคา แต่ก็ยังไม่แพงมากนักครับ

พระโคนสมอที่มีชื่อเรียกเช่นนี้ก็เนื่องจากมีการค้นพบพระเครื่องชนิดนี้ที่บริเวณวังหน้า หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครปัจจุบัน เมื่อคราวบูรณะในสมัยก่อน พบพระเครื่องชนิดนี้มากมาย เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่ได้หาที่เก็บรักษาจึงได้นำ พระเครื่องดังกล่าวมากองรวมไว้ที่ใต้ต้นสมอพิเภกที่อยู่ด้านหน้าใกล้ๆ ประตู ใครๆ ผ่านไป ผ่านมาเห็นพระเครื่องก็เก็บไปบ้าง

ต่อมาทางพิพิธภัณฑ์จึงมาเก็บเข้าไปไว้ และได้เปิดให้ประชาชนเช่าบูชาและนำเงินรายได้ไปบูรณะวังหน้า คนที่ได้พระไปก็เลยตั้งชื่อตามที่เห็นพระกองอยู่ที่ใต้ต้นสมอว่า “พระโคนสมอ” เสียเลย และก็เป็นชื่อที่เรียกกันมาตั้งแต่สมัยนั้น

พระโคนสมอ เป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยายุคปลาย ช่วงราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระโคนสมอพบได้ทั่วไปหลายวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่พบพระโคนสมอที่ในกรุงเทพฯ นั้นสันนิษฐานว่าคงจะนำพระเครื่องเหล่านี้มาบรรจุไว้ที่วังหน้าครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พระโคนสมอส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผามีการลงรักปิดทองมาแต่เดิม พิมพ์ต่างๆ ก็จะเป็นพระพิมพ์ประจำวันเกิดเป็นส่วนมาก และยังพบพระพิมพ์ขนาดใหญ่อีกบางส่วนที่นักนิยมสะสมพระเครื่องจะเรียกว่า “ท้าวชมพู”
 
พระพุทธรูปปางประทับยืนปางห้ามญาติทรงเครื่องใหญ่ศิลปะอยุธยายุคปลายเช่นเดียวกัน สวยงามมาก แต่มีขนาดใหญ่มาก เหมาะที่จะนำมาทำฐานไว้บูชาประจำบ้าน ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบพระโคนสมอที่เป็นเนื้อชินเงินด้วย แต่พบน้อยมาก

ส่วนใหญ่จะผุพังเสียมาก พระที่พบมีอยู่ไม่กี่พิมพ์นัก แต่ที่นิยมกันมากก็จะเป็นพระพิมพ์ห้อยพระบาท ซึ่งก็เป็นพระประจำวันเกิดของวันพุธกลางคืน หรือปางปาลิไลยก์ พระโคนสมอที่เป็นพระเนื้อชินเงินจะมีขนาดเล็กลงมาจากพระเนื้อดินเผามาก พอที่จะนำมาห้อยคอได้ จึงได้รับความนิยมมากกว่าพระเนื้อดินเผา แต่ก็หาพระแท้ๆ ยาก เนื่องจากจำนวนพระมีน้อยและผุพังไปเสียเป็นส่วนใหญ่

พระโคนสมอพุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน มหาอุด ซึ่งพระโคนสมอเนื้อชิน ปางห้อยพระบาท มีประสบการณ์มากเป็นที่เล่าขานกันต่อกันมา สนนราคาจึงค่อนข้างสูงหน่อย และหาพระแท้ๆ ค่อนข้างยาก ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว พระโคนสมอเนื้อชิน

ด้านหลังมักเป็นแอ่งเว้าลึกลงไป และผิวพระจะมีรอยสนิมขุมเกาะกิน ระเบิดเป็นย่อมๆ ผิวพระส่วนมากจะเป็นสีดำๆ แบบสนิมตีนกา พระที่หลงเหลือผิวปรอทนั้นน้อยมาก พระโคนสมอปางห้อยพระบาทเนื้อชินเมื่อราว 40-60 ปีก่อนนั้นเป็นที่นิยมมาก

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่มักจะลืมเลือนพระโคนสมอเนื้อชินกันไปบ้าง ผมก็เลยนำมาเล่าสู่กันฟังกันลืมครับ และวันนี้ก็ได้นำรูปพระโคนสมอ พิมพ์ห้อยพระบาท เนื้อชินเงิน องค์สวยมาให้ชมครับ 

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์




พระหลวงพ่อไล้ วัดเขายี่สาร  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องพระเครื่องที่เราหาที่มาที่ไปของพระเครื่องบางองค์ไม่ได้ เมื่อนำพระไปปรึกษาเซียนพระหรือท่านผู้รู้ต่างๆ ตลอดจนนำไปให้ทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยช่วยตรวจสอบแล้วก็ยังไม่ทราบที่ และได้รับคำตอบว่าเป็นพระแท้แต่ไม่ทราบว่าเป็นของวัดใดมีหรือไม่ คำตอบก็คือมีแน่นอนครับ เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น

พระเครื่องที่ไม่ทราบว่าเป็นพระอะไร ของวัดใดสร้างนั้นมีอยู่มากมายครับ เนื่องจากพระเครื่องนั้นมีการสร้างกันมานานแล้วถึงหลายร้อยปี และก็มีการสร้างกันแทบทุกวัดในประเทศไทย แต่ละวัดก็อาจจะมีหลายรุ่นอีกด้วย อีกทั้งพระกรุบางกรุบางพิมพ์ก็อาจจะไม่มีคนทราบว่าเป็นพระอะไรอีกด้วย ถ้าสมมติว่าพระเครื่องที่มีทั้งหมดในประเทศไทยมีจำนวน 100%

พระเครื่องที่มีคนนิยมแพร่หลาย จะมีจำนวนประมาณ 20% ของพระเครื่องทั้งหมดที่มีเท่านั้น ในจำนวน 20% นั้นก็ต้องนำความรู้ของคนที่เรียกว่าเซียนพระที่มีทั้งหมดมารวมกัน เนื่องจากพระเครื่องที่นิยมและรู้จักกันแพร่หลายนั้นก็มีมากมายมหาศาล ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดจะสามารถรู้จักทั้งหมดได้ ดังนั้นจึงมีผู้ที่ชำนาญการเฉพาะทางเฉพาะประเภท เมื่อนำผู้ชำนาญเฉพาะประเภทมารวมกันก็ยังไม่สามารถรู้ทั้งหมดได้ เท่าที่รู้เมื่อนำมารวมกันก็ได้ประมาณ 20% ของพระเครื่องที่มีทั้งหมดในประเทศไทยเท่านั้น

ประโยคที่เราๆ ท่านๆ อาจจะเคยได้ยินว่า “แท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด” ก็เป็นเรื่องจริงครับ พระเครื่องบางอย่างที่ไม่ได้ตั้งใจจะทำให้เหมือนหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นพระเครื่องของวัดโน้นวัดนี้ และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง พระเครื่องเหล่านี้ก็เป็นพระแท้ที่วัดหนึ่งวัดใดสร้างขึ้น แต่อาจจะยังไม่ค่อยมีคนรู้จัก หรือรู้จักกันในท้องถิ่นแคบเท่านั้น พระประเภทนี้จึงยังไม่เป็นที่นิยมหรือมีมูลค่ารองรับ ก็เลยยังไม่มีใครรู้จักและไม่นิยมกันในส่วนกลาง พระประเภทนี้แหละครับที่เป็นพระแท้ แต่ก็หาคนที่รู้จักยากครับ ประโยคที่ว่า แท้ไม่รู้ที่จึงเกิดขึ้น เพราะจะไปว่าพระเขาไม่แท้ก็ไม่ได้ เพียงแต่ไม่ทราบว่าเป็นของวัดใครสร้างเท่านั้น
 
พระเครื่องนั้นมีสร้างกันทั่วไปทั่วทุกหัวระแหง รู้จักกันแพร่หลายบ้างไม่รู้จักบ้าง แม้แต่พระบางอย่างที่สร้างจากวัดในหมู่บ้านนั้น ตำบลนั้น แต่ไม่มีคนนิยมพอนานเข้าหลายสิบปี บางทีไปถามคนในท้องที่เองก็ยังไม่ทราบก็มีครับ พระบางอย่างทางวัดเองก็ไปซื้อมาจากโรงงานแล้วนำมาแจกในงานกฐินงานผ้าป่า พระแบบนี้นานๆ เข้าคนก็ลืม ในสมัยหนึ่งที่จตุคามรามเทพกำลังเป็นที่นิยมทั่วประเทศ ก็มีการสร้างกันแทบทุกหมู่บ้านในประเทศไทย ไปทางไหนก็เห็นป้ายงานพิธีปลุกเสก แต่จตุคามฯ ที่นิยมกันนั้นก็มีเพียงบางวัดบางรุ่นและบางปีเท่านั้น พระที่นิยมก็จะรู้จักกันดี แต่พระทั่วไปนอกนั้นก็ไม่มีใครรู้จัก นอกจากคนที่ได้รับมากับมือเองของวัดนั้นๆ พอนานเข้าหรือผู้ที่ได้รับมาเสียชีวิตไปแล้ว พระนั้นๆ ก็ยังไม่เป็นที่นิยม ก็เลยไม่มีใครรู้จักหรือยืนยันได้ว่าเป็นของวัดใดครับ จึงเป็นที่มาของคำว่า “แท้ ไม่รู้ที่” ครับ

ที่ผมนำเรื่องนี้มาพูดคุยก็เนื่องจากมี พระเครื่องที่ผู้นำมาให้ทางสมาคมตรวจสอบและหาที่มาของพระนั้นๆ บางองค์ก็ได้คำตอบว่า “เป็นพระแท้ แต่ไม่ทราบที่” เจ้าของพระบางท่านก็ไม่เข้าใจ และบอกว่า “ที่นำมาให้ทางสมาคมช่วยก็เพื่อหาที่มาที่ไปให้” ก็เลยต้องอธิบายให้ฟังว่าพระประเภทนี้มีจริงๆ แม้ว่าสมาคมจะรวบรวมท่านผู้รู้จากหลายๆ ที่มาช่วยพิจารณาให้ และยังนำพระไปสอบถามในแหล่งอื่นๆ ที่เราคาดว่าเขาจะรู้แต่ก็ยังหา คำตอบที่มาที่ไปไม่ได้ก็ต้องยอมจำนน และคือคำตอบที่ว่า “แท้ไม่รู้ที่” ครับ

จากประสบการณ์ของผมเอง เมื่อมีคนถามแล้วเราไม่รู้ก็ต้องตอบแบบนี้เช่นกัน จะมั่วตอบๆ ก็ไม่ได้ พระประเภทนี้ของผมเองก็มี ดูแล้วเก่า มีเอกลักษณ์ของตนเอง เมื่อนำไปให้ท่านผู้รู้หลายๆ ท่านช่วยดูให้ก็ได้รับคำตอบว่า แท้เก่านะ แต่ไม่รู้ที่มาที่ไป ครับความจริงก็เป็นเช่นนี้ ในส่วนพระของผมเองที่เข้าข่ายนี้ก็ต้องค่อยๆ สืบค้นกันไป พระบางองค์ของผมสืบค้นมา 20-30 ปีแล้วก็ยังไม่มีคำตอบเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระที่แท้รู้ที่คือ พระของหลวงพ่อไล้ วัดเขายี่สาร ซึ่งอาจจะไม่ค่อยได้เห็นกันมาให้ชมครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์




พระเม็ดกระดุม ศรีวิชัย 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุพระเก่าของทางภาคใต้ที่พบนั้นเป็นพระเก่าถึงสมัยทวารวดีและศรีวิชัย ซึ่งถือว่าเป็นพระพิมพ์ที่เก่าแก่มากที่สุดแบบหนึ่ง หรือที่บางท่านเรียกว่าพระเนื้อดินดิบ พระพิมพ์ที่พบส่วนมากมักจะมีขนาดสัณฐานค่อนข้างเขื่องหรือไม่ก็ค่อนข้างหนาเป็นส่วนมาก จึงจะไม่ค่อยเห็นมีผู้นำมาห้อยบูชากันนัก แต่มีอยู่กรุหนึ่งที่พบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีขนาดย่อมเหมาะแก่การนำมาเลี่ยมห้อยบูชามาก คือพระเม็ดกระดุมศรีวิชัย

พระเม็ดกระดุมศรีวิชัยนั้น ถูกพบโดยบังเอิญในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2523-2525 ขณะสร้างถนนบริเวณเขาศรีวิชัย โดยพบพระเนื้อดินเผาสัณฐานกลมๆ ขนาดย่อม 2 แบบ คือแบบต้อและแบบชะลูด ทั้งสองพิมพ์เป็นรูปองค์พระประทับนั่งปางสมาธิ มีขอบพิมพ์ยื่นออกมาทั้งสองพิมพ์ ด้านหลังมนโค้ง องค์พระประทับนั่งบนฐานบัว 2 ชั้น บัวชั้นบนเป็นบัวหงาย 7 กลีบ ชั้นล่างเป็นบัวคว่ำ 3 กลีบ

พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเกศสั้นลักษณะเป็นมุ่นมวยผมแบบศิลปะทวารวดี ที่พื้นผนังรอบองค์พระปรากฏอักษรโบราณแบบปัลลวะ สัณฐานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซ.ม. ในส่วนของพระพิมพ์ชะลูดนั้น องค์พระจะดูสูงชะลูดกว่าพระพิมพ์ต้อ ซึ่งพระพิมพ์ต้อจะดูเตี้ยล่ำสันกว่าพิมพ์ชะลูด นอกนั้นจะคล้ายคลึงกันมาก

ต่อมามีการพบพระแบบเดียวกันในบริเวณใกล้เคียงกันอีกในปี พ.ศ.2533 มีชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่บริเวณด้านตรงข้ามวัดเขาศรีวิชัย อันเป็นวัดโบราณเก่าแก่ มีวัตถุโบราณมากมาย และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ในท้องที่ตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ก่อนที่ชาวบ้านดังกล่าวจะขุดนั้นได้ฝันเห็นผู้หญิงคนหนึ่งมาบอกว่า “เฝ้าอยู่นานแล้ว เอาไปเสียที” แล้วก็ชี้ทิศทางให้ ในวันรุ่งขึ้นจึงได้ขุดดินบริเวณรั้วบ้านของตน ซึ่งความตั้งใจเดิมนั้นคิดว่าจะได้ลูกปัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ขุดได้กันเสมอ

และการขุดในครั้งนั้นก็ได้ลูกปัดและพบพระเครื่องด้วย ในวันแรกพบพระไม่มากเท่าไรนัก พอรุ่งขึ้นจึงได้ขุดต่อและได้พระมาเป็นจำนวนมาก พระที่พบก็เหมือนกับที่พบในครั้งทำถนนในปี พ.ศ.2523 ทุกประการ
 
พระเม็ดกระดุมศรีวิชัยนี้ ท่านอาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย ผู้ชำนาญภาษาโบราณประจำหอสมุดแห่งชาติกรุณาสละเวลาอ่านอักษรโบราณที่ผนังขององค์ และท่านได้บอกว่าอักษรที่ปรากฏเป็นอักษรปัลลวะ อันเป็นอักษรที่ใช้อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-12 ในสมัยทวารวดี

อักษรที่ปรากฏนั้น มีใจความว่า “เย ธัมมา เหตุปปภวา เตสัง เหตุง ตถาคโต ชาติเต สัญจโย นิโรโธจะ เอวัง วาที มหาสมโณ” แปลว่า “ธรรมทั้งหลายเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิดพระตถาคต ตรัสเหตุและความดับของธรรมทั้งหลายเหล่านั้น พระมหาสมณะ มีปกติตรัสอย่างนี้”

โบราณวัตถุที่พบบริเวณเขาศรีวิชัยนั้น มักจะเป็นศิลปะยุคสมัยศรีวิชัยเป็นส่วนมาก จากการพิจารณาพระเม็ดกระดุมศรีวิชัยโดยรวมแล้ว สันนิษฐานว่า น่าเป็นพระที่สร้างอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งน่าจะอยู่ในปลายๆ ของสมัยทวารวดี-ต้นสมัยศรีวิชัยครับ

นับว่าพระเม็ดกระดุมศรีวิชัยนี้ เป็นพระที่ทรงคุณค่าทางด้านศิลปะยุคสมัย พร้อมทั้งมีอักษรปัลลวะจารึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ที่องค์พระด้วย ยิ่งนับว่าทรงคุณค่ามากทีเดียวครับ พุทธคุณเท่าที่ปรากฏนั้นปกป้องคุ้มครองให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูป พระเม็ดกระดุมศรีวิชัย มาให้ชมกันทั้งพิมพ์ชะลูดและพิมพ์ต้อครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์




พระร่วงกรุวิหารกรอ พิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก ลพบุรี  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงยืนที่พบในจังหวัดลพบุรี เราจะรู้จักพระร่วงหลังลายผ้ากรุวัด พระศรีรัตนมหาธาตุมากที่สุด เนื่องจากเป็นพระที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่ในอดีต และเป็นพระเครื่องที่แตกออกมาจากกรุที่ใหญ่ที่สุดของลพบุรี ปัจจุบันหายากมากครับ

พระร่วงยืนที่พบอีกกรุหนึ่งในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี คือกรุวิหารกรอ ซึ่งเป็นวิหารหนึ่งที่ได้รับการบูรณะขึ้น ในสมัยกรุงศรี อยุธยา แต่เดิม นั้นเป็นสถานที่ประกอบพิธีทาง ศาสนาของขอมมาก่อน แต่มีการสร้างวิหารคร่อมฐานโบราณสถานเก่าของขอม ปัจจุบันจึงเห็นเป็นวิหารสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2430-2440 ได้มีการค้นพบพระเครื่องศิลปะลพบุรีที่เป็นพระร่วงยืน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง จำนวนพระที่พบมีไม่มากนักประมาณ 100 องค์เท่านั้น จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนักในสมัยก่อน ใครได้มาก็เก็บเงียบ

พระร่วงยืนกรุวิหารกรอเท่าที่พบมีอยู่ 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก เนื้อชินตะกั่วสนิมแดงล้วนๆ ทั้ง 2 พิมพ์ ผิวปรากฏคราบขาวปกคลุมบางๆ ด้านในจะเป็นสนิมแดงจับสวยงาม ด้านหลังจะเป็นแบบเรียบ ขนาดขององค์พระจะย่อม กว่าพระร่วงหลังลายผ้ามากพอสมควร

ในสมัยก่อนคนที่ได้พระร่วงกรุวิหารกรอก็จะหวงแหนมาก ไม่ค่อยให้ใครดูง่ายๆ กลัวจะโดนหักคอขอพระไป เนื่องจากพระมีจำนวนน้อย จึงทำให้พระร่วงกรุวิหารกรอมีคนรู้จักน้อย
 
พระร่วงกรุวิหารกรอ ศิลปะเป็นแบบขอมอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระพิมพ์ใหญ่จะมีรายละเอียดคมชัดบ่งบอกถึงศิลปะขอมที่เคร่งขรึม เฉพาะองค์พระมีศิลปะคล้ายกับพระร่วงหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในส่วนของพระพิมพ์เล็กรายละเอียดจะไม่คมชัดนัก พระร่วงกรุวิหารกรอจะไม่มีซุ้ม เป็นพระแบบตัดชิดติดองค์พระทั้ง 2 พิมพ์

ปัจจุบันก็เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเป็นที่นิยมรองลงมาจากพระร่วงหลังลายผ้า แต่พระร่วงกรุวิหารกรอก็หาแท้ๆ ยากมากครับ ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ซึ่งก็หายากมาตั้งแต่อดีตแล้ว พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกับพระร่วงหลังลายผ้า ที่มีประสบการณ์ทางด้านอยู่คง แคล้วคลาด อำนาจบารมี และเจริญก้าว หน้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน สนนราคา ในปัจจุบันค่อนข้างสูง ส่วนของปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้วเช่นกัน แต่ของปลอมก็ไม่ค่อยเหมือนนักครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงกรุวิหารกรอ ลพบุรี ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์




พระท่ากระดาน กรุต้นตาล จ.สระบุรี  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสระบุรีมีพระกรุพระเก่าทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อชินเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นเช่นกัน แต่อาจจะไม่ค่อยแพร่หลายนัก จึงทำให้มีคนรู้จักน้อย พระกรุส่วนใหญ่ จะเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ เช่น กรุวัดดาวเสด็จ กรุวัดชุ้ง กรุต้นตาล กรุวัดเพชร เป็นต้น

พระนางพญากรุวัดดาวเสด็จ มีคนรู้จักมากหน่อยและเป็นที่นิยม ส่วนพระที่น่าสนใจแต่จำนวนน้อยก็คือ พระหลวงพ่อโต กรุวัดชุ้ง ซึ่งเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระหลวงพ่อโตของอยุธยา

พระกรุวัดเพชรก็มีพระเนื้อชินเงินอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์พระอู่ทอง เป็นต้น ส่วนพระที่คนเก่าคนแก่ของสระบุรีหวงกันนักก็คือ พระท่ากระดาน กรุต้นตาล บางท่าน อาจจะสงสัยว่ามีด้วยหรือพระท่ากระดานของจังหวัดสระบุรี

ครับมีจริงๆ และเรียกชื่อกันมาอย่างนี้จริงๆ พระท่ากระดาน กรุต้นตาลนั้น มีการขุดพบที่บริเวณโคกดิน ไม่ไกลจากตัวจังหวัดนัก บริเวณนี้มีต้นตาลขึ้นอยู่มาก พระที่พบขุดได้ใต้ต้นตาล จึงเป็นที่มาของชื่อกรุ

ส่วนชื่อพระนั้น พระที่ขุดพบเป็นพระเนื้อชินเงินและชินตะกั่ว มีไขขาวแซม แต่ไม่มีสนิมแดง พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระท่ากระดานของเมืองกาญจนบุรี คนในสมัยนั้นจึงเรียกชื่อว่า พระท่ากระดาน แล้วตามด้วยชื่อของกรุที่ขุดพบ จึงเรียกกันว่า “พระท่ากระดาน กรุต้นตาล” ก็จะรู้ว่า เป็นพระกรุที่พบในจังหวัดสระบุรี
 
พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานเขียง พิมพ์ของพระไม่คมชัดนัก ด้านหลังมักเป็นแบบหลังตัน ศิลปะเท่าที่ดูสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา และสร้างหลังพระท่ากระดาน กาญจนบุรี

พระกรุนี้แตกกรุ ออกมาในปี พ.ศ.2504 และมีจำนวนไม่มากนัก ในระยะแรกๆ ก็รู้กันเพียงไม่กี่คน ต่อมาได้มีผู้ใช้แล้วเกิดมีประสบการณ์ทางด้านอยู่คง เช่นเดียวกับพระท่ากระดานของกาญจนบุรี จึงเริ่มเสาะหากันในจังหวัดสระบุรี แต่เนื่องจากจำนวนพระที่พบมีน้อย และจะหวงแหนกัน จึงไม่ค่อยได้มีใครพบเห็นกัน และก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ต่อมาจึงไม่ค่อย มีใครรู้จักกันนักครับ

ในสนามพระก็แทบไม่ได้พบเห็นกันเลย พระส่วนใหญ่จะอยู่ในมือของคนสระบุรี ที่ได้รับตกทอดมาเท่านั้น หรือบางทีเปลี่ยนมือกันมาแต่ก็ไม่ค่อยมีใครรู้จัก พระกรุที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมของสระบุรีก็ต้องยกให้พระท่ากระดาน กรุต้นตาลนี่แหละครับ แต่ก็หายากจริงๆ นานๆ จะพบเห็นสักที

สนนราคาอาจจะยังไม่แพงนัก แต่คนรุ่นเก่าของสระบุรีจะหวงแหนกันมาก ขออะไรขอได้แต่ขอพระท่ากระดานกรุต้นตาลจะไม่ให้ เด็ดขาด ไม่ชอบกันจริงๆ ก็จะไม่ให้ดู สงสัยจะกลัวถูกขอเช่าครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระท่ากระดาน กรุต้นตาล ของสระบุรีจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของเมืองไทย มาให้ชมกันครับ 

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์




พระกริ่งหลวงพ่อจาด วัดบางหอย 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูสิทธิสารคุณ (หลวงพ่อจาด) วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี นักนิยมสะสม พระเครื่องต่างก็รู้จักกันดีว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลัง และมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยสงครามอินโดจีน พระเครื่องของท่านล้วนแต่ได้รับความนิยมและเสาะหากันมาก เนื่องจากประสบการณ์ต่างๆ ที่เล่าขานกันสืบต่อมา

หลวงพ่อจาด เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2415 มรณะเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 สิริอายุได้ 84 ปี พรรษาที่ 64 ในครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ก็ได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรกรูปหลวงพ่อนั้นได้รับความนิยมสูง สนนราคาก็สูงมากเช่นกัน

สำหรับเหรียญนั้นก็มีอยู่หลายรุ่น สนนราคาก็ลดหย่อนกันลงมา ในสมัยสงครามโลกวัตถุมงคลของหลวงพ่อจาดมีประสบการณ์สูง ทหารที่ออกไป สู้รบปรากฏว่าอยู่ยงคงกระพัน ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก จนเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก นอกจากนั้นผู้ที่มีวัตถุมงคลของหลวงพ่อแล้วทำมาค้าขายก็ทำมาค้าขึ้นร่ำรวยกันไป

หลวงพ่อจาดเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนโดยทั่วไป และก็เสาะหาวัตถุมงคลของหลวงพ่อจาดกันมาก แต่ในปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากหน่อยครับ หลวงพ่อจาดได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่นเหรียญรูปเหมือนนั่งเต็มองค์ เหรียญรุ่น จ.เจริญลาภ

เหรียญรูปเหมือนพิมพ์หน้าจั่ว เหรียญรูปเหมือนพิมพ์สี่เหลี่ยม พระรูปเหมือนลอยองค์ ผ้ายันต์และเสื้อยันต์ พระกริ่ง วัตถุมงคลของหลวงพ่อจาดได้รับความนิยมทุกอย่าง และพวกทำปลอมก็ตามเคยทำปลอมกันมานานแล้วครับ
 
วันนี้ผมขอแนะนำพระกริ่งของหลวงพ่อจาด ที่ท่านได้รับอาราธนาเป็นประธานพิธีเททองสร้างพระกริ่ง และร่วมปลุกเสกที่วัดบางหอย อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เพื่อนำปัจจัยมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางหอย มีพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับอาราธนาร่วมปลุกเสกดังนี้

หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดซำป่างาม หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อเชิด วัดลาดบัวขาว หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง

ครับ ดูรายชื่อของพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกก็สุดยอดในสมัยนั้นทั้งสิ้น พระกริ่งรุ่นนี้จึงน่าสนใจอย่างยิ่ง อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่สูงนัก แต่ก็หายากหน่อย เนื่องจากจำนวนการสร้างไม่มาก น่าจะไม่เกิน 3,000 องค์ มีอยู่ 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก สำหรับพระพิมพ์กลาง มีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์บัว 9 กลีบ และบัว 8 กลีบ

เนื้อโลหะผสมออกเหลืองอมขาวเล็กน้อย เนื้อโลหะมีทั้งตะกรุด และแผ่นจารของพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกมอบให้มาเป็นชนวนในการหลอมโลหะด้วย พระกริ่งรุ่นนี้ทำแบบกริ่งในตัวอุดกริ่งที่ด้านหลัง พระกริ่งรุ่นนี้มักเรียกกันว่า “พระกริ่งหลวงพ่อจาด วัดบางหอย”เนื่องจากหลวงพ่อจาดเป็นประธานในพิธีและออกที่วัดบางหอยครับ

พุทธคุณยอดเยี่ยมครบทุกด้าน ทั้งอยู่คง แคล้วคลาด และโภคทรัพย์ เรียกว่าดี ครบเครื่อง ครับในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งหลวงพ่อจาด วัดบางหอย จากหนังสือ ตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมทั้ง 3 พิมพ์ครับ

“แทน ท่าพระจันทร์”
ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #73 เมื่อ: 12 มีนาคม 2561 15:14:17 »


เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ

อีกหนึ่งเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ 5 ที่ต้องกล่าวถึง คือ “เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ” ด้วยเป็นเหรียญที่รำลึกถึงประวัติศาสตร์การสู้รบอันยาวนานกับชนเผ่า “ฮ่อ” ผู้ได้รับพระราชทานถือเป็นเกียรติยศสูงสุดแก่วงศ์ตระกูล ต่างหวงแหนและรักษาไว้เป็นมรดกแห่งความภูมิใจสืบต่อลูกหลาน ปัจจุบันนับเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และหาดูหาเช่ายากยิ่ง อีกทั้งยังมีการปลอมแปลงสูงที่สุดในบรรดาเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ 5 อีกด้วย

ย้อนไปในปี พ.ศ.2408 ได้เกิดสงครามพวกจีนฮ่อขึ้นทางตอนเหนือของสยามประเทศ พวกจีนฮ่อตั้งตนเป็นกบฏต่อรัฐบาลแมนจู (ราชวงศ์เช็ง) เรียกกันว่า “กบฏไต้เผง” แต่ก็พ่ายแพ้หนีลงมาทางใต้ หลบซ่อนอยู่ตามป่าเขาแถบมณฑลฮกเกี๋ยน กวางโส และเสฉวน ต่อมากบฏฮ่อกลุ่มหนึ่งรวบรวมพลเข้ามารุกรานทางอ่าวตังเกี๋ยซึ่งเป็นเขตดินแดนของญวน ต้องขอความช่วยเหลือจากทหารจีนมาปราบจนแตกกระเจิงหนีลงมาเรื่อยๆ และสร้างความเดือดร้อนไปทั่ว กบฏฮ่อพวกหนึ่งนำโดย ปวงนันชี หลบมาตั้งมั่นที่เมืองฮานยางในสิบสองจุไทย และนี่คือที่มาของกองโจรชื่อ “ธงเหลือง”

ในปี พ.ศ.2417-2418 ฮ่อธงเหลืองเริ่มเข้าตีเขตการปกครองของไทย คือ เมืองเชียงขวาง พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) เกณฑ์ชาวบ้านเข้าป้องกันพร้อมทั้งแจ้งข่าวไปยังพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภูธราภัย และเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ ยกทัพหลวงเข้าทางเมืองหลวงพระบางและเมืองหนองคาย

เพื่อช่วยทัพพระยามหาอำมาตย์สามารถรบชนะกบฏฮ่อได้ ส่วนทางพิษณุโลกมีพระยาพิไชย (ดิส) และ พระยาสุริยภักดี (เอก บุณยรัตพันธุ์) ก็ได้รับชัยชนะเช่นกัน แต่พวกกบฏฮ่อสงบได้เพียง 9 ปี พอถึงปี พ.ศ.2426 ก็ฮึกเหิมขึ้นอีก ล้นเกล้า ร.5 ทรงให้พระยาพิชัย (มิ่ง) และ พระยาสุโขทัย (ครุฑ) ยกทัพไปสกัด และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ให้เป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปปราบฮ่อถึงเมืองหลวงพระบาง การศึกครั้งนี้สู้รบกันหลายครั้งหลายคราจึงสงบลงได้

ในการครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกเพื่อพระราชทานแก่ผู้ไปร่วมราชการปราบฮ่อ ให้ชื่อว่า “เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ” โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ออกแบบ และให้รัฐบาลว่าจ้างบริษัท บีกริม แอนด์ โก ผลิตที่ประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ.2436 จัดส่งมายังประเทศสยามในปีถัดมา พระราชทานแจกเป็นระยะๆ โดยครั้งแรกพระราชทานเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2441 จำนวน 49 คน

การพระราชทาน “เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ” จะมีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาและเหรียญที่มีการพระราช ทานให้จะมีตัวเลขกำกับไว้ที่เหรียญด้านหน้า ผู้ใดได้ไปร่วมราชการปราบฮ่อในปีใดก็จะได้รับพระราชทานเข็มสำหรับปีนั้น โดยเข็มจะประดับลงบนแพรแถบ แต่จะหาผู้ใดได้ไปร่วมราชการปราบฮ่อครบ 3 ครั้งนั้นยากเอามากๆ

เราจึงมักพบ “เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ” ที่มีเข็มประดับแพรแถบเพียงหนึ่งหรือสองเข็มเท่านั้น เท่าที่ค้นคว้าข้อมูลและตำรับตำราบางเล่ม มีผู้ที่ร่วมไปราชการปราบฮ่อครบ 3 ครั้งอยู่เพียง 4 ท่าน คือ 1) พระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาที) 2) หลวงคำนวนคัดณานต์ (ตรี) 3) ขุนประมาณสถลมารค (ใจ) และ 4) นายสว่าง ซึ่งเป็นนายเวรกรมแผนที่

เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ ลักษณะเป็นเหรียญกลมขนาดใหญ่ หูเชื่อม ติดแพรแถบ ด้านหน้ามีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ด้านขวา ด้านบนจารึกอักษรไทยว่า “จุฬาลงกรณ์ บรมราชาธิราช” ด้านล่างใต้พระบรมรูปเป็นลายช่อชัยพฤกษ์ ตรงกลางผูกโบ ลายเส้นคมชัดมาก ด้านหลัง ตรงกลางเป็นรูปพระสยามเทวาธิราชทรงพระแสงของ้าว ทรงคชาธาร ยืนอยู่บนศาสตราวุธ อันเป็นสัญลักษณ์ของพวกฮ่อ

โดยรอบเหรียญมีอักษรไทยกำกับว่า “ปราบฮ่อ ๑๒๓๙ ๑๒๔๗ ๑๒๔๙” ซึ่งเป็นปีจุลศักราชที่ปราบฮ่อทั้ง 3 ครั้ง (ตรงกับ พ.ศ.2420, 2428 และ 2430) แพรแถบ ตรงกลางสีดำ รอบขอบสีเหลือง มีความกว้าง 2.5 เซนติเมตร ครับผม




เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ศุข

หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท “เจ้าสำนักทางพุทธาคมอันยิ่งใหญ่แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา” พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมแก่กล้าเป็นที่เคารพศรัทธาและรำลึกถึงจวบจนปัจจุบัน

พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข เป็นชาวจังหวัดชัยนาทโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2396 แถบวัดปากคลองมะขามเฒ่า

พออายุครบ 22 ปี จึงได้ลาไปอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน (ปัจจุบันคือ วัดโพธิ์ทองล่าง) ซึ่งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง โดยมีหลวงพ่อเชย จันทสิริ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่าง เป็นพระอุปัชฌาย์

ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จาก หลวงพ่อเชย ผู้ทรงคุณทั้งด้านวิปัสสนาธุระและวิทยาคมเข้มขลังนัก พร้อมกับพระอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่าง เช่นกัน

จากนั้นเริ่มออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อหาที่สงบฝึกฝนวิทยาการต่างๆ ที่ได้เรียนมา พร้อมศึกษาเพิ่มเติมจากพระเกจิผู้ทรงคุณหลายรูป ท่านได้เรียนกรรมฐานที่สำนักวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) กับพระสังวราเมฆ พระอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญพระกรรมฐานลำดับมัชฌิมาปฏิปทาในสมัยนั้น, เรียนด้าน รสายนเวท อันได้แก่ การเล่นแร่แปรธาตุและโลหะเมฆสิทธิ์ กับหลวงปู่ทับ วัดอนงคาราม โดยพักอยู่กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ซึ่งเป็นสหธรรมิกในฐานะชาวชัยนาทด้วยกัน หลวงปู่ศุขมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2467 ด้วยโรคชรา

หลวงปู่ศุข เริ่มสร้างวัตถุมงคลเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจของมารดา เป็น “พระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มรัศมี” ผู้ที่ได้รับเหรียญไปบูชาต่างเกิดปาฏิหาริย์ปรากฏด้านอยู่ยงคงกระพันอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเกี่ยวกับเขี้ยวงา

วัตถุมงคลของท่านส่วนใหญ่จะเป็นพระสี่เหลี่ยมรัศมีหรือข้างอุ โดยใช้เนื้อตะกั่วเป็นพื้น เพราะการหล่อหลอมตลอดจนวัสดุที่นำมาสร้างหาได้ง่ายและมีอยู่ในท้องถิ่น โดยมีมากมายหลายประเภท ทั้งพระปิดตา พระเครื่อง และเครื่องรางของขลัง อย่างตะกรุด ประคำ ฯลฯ ซึ่งล้วนได้รับความนิยมและแสวงหาสืบมาถึงปัจจุบัน ยิ่งถ้าเป็นองค์สมบูรณ์แบบสนนราคาจะค่อนข้างสูงเอาการเลยทีเดียว

เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ศุข รุ่นแรก ปี 2466 นับเป็นเหรียญที่มีค่านิยมสูงสุด ด้วยพุทธลักษณะอันงดงาม และยังเป็นเหรียญเพียงรุ่นเดียวที่มีรูปเหมือนของหลวงปู่ศุข ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้า “เหรียญยอดนิยม”ที่หาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่กลม ห่วงเชื่อม พิมพ์ด้านหน้ามีเพียงพิมพ์เดียว ขอบเหรียญโดยรอบยกเป็นเส้นลวดนูน 2 ชั้น ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงปู่ศุขนั่งเต็มองค์ แบบสะดุ้งกลับ ครองผ้ารัดประคดอยู่เหนืออาสนะลายผ้า รองรับด้วยรูปโบหางแซงแซว ระบุปีที่สร้าง คือ “๒๔๖๖”

ด้านบนโดยรอบมีอักษรภาษาไทยว่า “พระครูวิมลคุณากร วัดปากคลองมะขามเฒ่า”

ด้านข้างของรูปเหมือนทั้งสองข้างมีอักขระขอมตัว “อุขึ้น อุลง” พิมพ์ด้านหลัง

โดยรอบยกเป็นเส้นลวดนูน 3 เส้น ระหว่างช่องว่างประดับด้วยเม็ดไข่ปลาลักษณะเป็นตุ่มนูน ตรงกลางทำเป็น “ยันต์ 3” หมายถึงพระไตรสรณคมณ์ ล้อมยันต์ด้วยหัวใจธาตุ คือ “นะ มะ อะ อุ” ด้านบนเป็นคาถาพระเจ้า 5 พระองค์ คือ “นะ โม พุท ธา ยะ”

ส่วนอักขระด้านล่างยันต์ คือ “อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ” โดยแบ่งออกเป็น 4 พิมพ์ ซึ่งอาจเป็นเพราะสมัยก่อนการชุบแม่พิมพ์ยังไม่แข็งแรงและเหนียวพอ ยิ่งแม่พิมพ์ด้านหลังที่ต้องเป็นตัวตอกย้ำ จึงรับน้ำหนักมากกว่าด้านหน้า ทำให้เกิดการชำรุดและเสียหายก่อน จนต้องแกะแม่พิมพ์ด้านหลังกันขึ้นมาใหม่ ประกอบด้วย พิมพ์หลังไม่มี “อุ”(พิมพ์นิยม) หนึ่งในเบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์, พิมพ์หลังมี “อุ (เล็ก)", พิมพ์หลังมี “อุ (ใหญ่)”และ พิมพ์หลัง “อุ และมีดาว”ครับผม




เหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร ปี พ.ศ.2530

ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530 นับเป็นเหรียญมหามงคลอันทรงคุณค่า ที่งดงามทั้งพุทธศิลป์และล้ำเลิศในพุทธคุณยิ่ง

ในปี พ.ศ.2530 ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งปวงชนชาวไทยทั่วประเทศต่างพร้อมใจกันร่วมถวายความจงรักภักดี โดยประกอบกิจกรรมต่างๆ มากมายเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ไม่เว้นแม้ทางคณะสงฆ์ โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินธโร) วัดสามพระยา เป็นประธานในนามคณะสงฆ์ทั้ง 2 นิกาย ร่วมกันจัดสร้าง “เหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร” ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และเปิดโอกาสให้ปวงชนชาวไทยได้ร่วมบุญเช่าบูชา รายได้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล

เหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร ปี พ.ศ.2530 จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ, เนื้อเงินและเนื้อกะไหล่ทอง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงกลม รูปไข่ หูห่วง ด้านหน้า ประดิษฐานรูปพระชัยวัฒน์ ที่เรียกกันว่า “พระชัยหลังช้าง” ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธย “ภปร” มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า “๕ ธันวาคม ๒๕๓๐” และ “คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ”

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งนับเป็นพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่และเข้มขลังสุดๆ ในยุคนั้นทีเดียว โดยมีพระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษเกือบ 80 รูป เข้าร่วมพิธีปลุกเสกอธิษฐาน

ประการสำคัญคือ มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ อันได้แก่ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19 ในปีพ.ศ.2532

มีสมเด็จพระราชาคณะ ประกอบด้วยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา, สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร, สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งเป็นที่ “พระพรหมคุณาภรณ์”

นอกจากนี้ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งยุคจากทั่วประเทศได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีปลุกเสกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี, หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จ.พระนครศรีอยุธยา, พระครูสันติ วรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่, พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี, พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ จ.นครปฐม, หลวงปู่ม่น วัดเนินตาหมาก จ.ชลบุรี, พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, พระครูปริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม ฯลฯ

ด้วยเจตนาการจัดสร้าง พุทธศิลป์อันงดงาม และพิธีกรรมที่เข้มขลังสมพระบารมี ส่งให้ได้รับการจองและเช่าบูชาจนหมดในเวลารวดเร็ว

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ ยังได้ลิขิตไว้ว่า “เหรียญพระชัยหลังช้าง หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว” และเพื่อเป็นการยืนยันคำพูดดังกล่าว ท่านจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “ปรากฏการณ์อันน่าพิศวงเกี่ยวด้วยเหรียญพระชัย (หลังช้าง)” โดยรวบรวมเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากเหรียญนี้มากมายหลายท่าน

นอกจากนี้ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ท่านยังเคยปรารภแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้ว่า “…เหรียญพระชัยหลังช้างนี้ เป็นหนึ่งในพระดีที่น่าบูชาไว้ติดตัว เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แท้จริง”

ปัจจุบันยิ่งได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูง แต่ก็คงหาดูหาเช่าได้ยากยิ่งแล้วครับผม





วัตถุมงคลหลวงพ่อเนียม วัดน้อย

หลวงพ่อเนียม วัดน้อย พระเกจิชื่อดังแห่งจังหวัดสุพรรณบุรี นับเป็นหนึ่งในอมตเถระแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงพุทธาคมแก่กล้า แม้ท่านจะละสังขารไปแล้วกว่า 100 ปี แต่ชื่อเสียงเกียรติคุณยังคงปรากฏให้รำลึกถึงสืบมาชั่วลูกชั่วหลานจวบจนปัจจุบัน

หลวงพ่อเนียม ธัมมโชติ มีความชำนาญทางวิปัสสนาธุระ สำเร็จวาโยกสิณ มีอภิญญาสูงส่ง เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วหล้า แม้สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และหลวงพ่อทับ วัดทอง ยอดพระเกจิชื่อดังยังให้ความเคารพนับถือ และมีพระเครื่องของท่านสะสมไว้

ยังเป็นปรมาจารย์ของพระอมตเถระหลายรูป อาทิ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นต้น เชื่อกันว่า “วิชาธรรมกาย” ของสายหลวงพ่อสด และ “วิชามโนมยิทธิ” ของสายหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ก็มีต้นกำเนิดมาจากหลวงปู่เนียม ที่รับช่วงกันมา

ท่านเป็นคนบางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี โดยกำเนิดเกิดเมื่อปี พ.ศ.2372 ตอนเด็กร่ำเรียนอักขรวิธีและภาษาบาลีที่วัดใกล้บ้าน เมื่ออายุครบบวชได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดป่าพฤกษ์ หรือวัดตะค่า ไม่เป็นที่แน่ชัด

จากนั้นเดินทางเข้าสู่เมืองบางกอกหรือกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยมูลกัจจายนสูตร วิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาอาคมจากสำนักต่างๆ ซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดเช่นกันว่าท่านพำนักอยู่ที่วัดใดและเป็นศิษย์สำนักใด บ้างก็ว่าอยู่วัดพระพิเรนทร์ บ้างก็ว่าวัดโพธิ์ วัดทองธรรมชาติ หรือวัดระฆังโฆสิตาราม

แต่ในสมัยนั้นถ้าจะกล่าวถึงพระเกจิผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาต้องยกให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ, หลวงปู่ช่วง วัดรังสี (ปัจจุบันรวมเป็นวัดเดียวกับวัดบวรฯ), หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ และหลวงปู่จันทร์ วัดพลับ

หลวงพ่อเนียม นับเป็นยอดแห่งพระนักปฏิบัติธรรม ยอดแห่งวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคม จนพระเกจิอาจารย์มากมายดั้นด้นเข้าฝากตัวเป็นศิษย์ เปี่ยมด้วยเมตตาบารมี ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2452 สิริอายุได้ 80 ปี 60 พรรษา ในงานประชุมเพลิง สมเด็จพระสังฆราช (แพ) สมัยดำรงตำแหน่งพระธรรมโกศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี และหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ยังได้มาร่วมงานด้วย

ด้าน “วัตถุมงคล” ที่หลวงพ่อเนียมสร้างขึ้น เพื่อแจกศิษยานุศิษย์และญาติโยมนั้น มีมากมายหลายแบบหลายพิมพ์ โดยสร้างเป็นเนื้อชินตะกั่วผสมปรอท ซึ่งการทำให้ปรอทแข็งตัวในสมัยนั้นไม่ใช่ของง่ายๆ ว่ากันว่าต้องใช้คาถาอาคมและต้องมีส่วนผสมเฉพาะ

ที่สำคัญต้องทำในฤดูฝน เพราะใบแตงหนูจะขึ้นเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมสำคัญอย่างใบสลอดและข้าวสุก หลวงพ่อจะนำของสามอย่างมาโขลกปนกันเป็นการไล่ขี้ปรอทออกให้หมด เพื่อให้ได้ปรอทที่ขาวที่สุด ซึ่งจะต้องโขลกและกวนส่วนผสมอยู่ถึง 7 วันจึงจะเข้ากันดี

พอครบ 7 วัน ก็นำส่วนผสมไปตากแดด แล้วนำมากวนต่อจนเข้ากันดี เสร็จแล้วจึงนำมาแยกชั่งเป็นส่วนส่วนละ 1 บาท (ขนาดเหรียญบาท) จากนั้นนำไปใส่ครกหิน เติมกำมะถันและจุนสีโขลกให้เข้ากัน ซึ่งต้องทำตอนกลางคืน ทำอยู่เช่นนั้น 3 คืน

แล้วจึงนำปรอทใส่ลงไปในกระปุกเหล้า เกาเหลียง ผสมกับตะกั่วเอาเข้าไปสุมอยู่ อีก 7 วัน โดยจะสุมไฟเฉพาะตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะทำพิธีปลุกเสกด้วยพระคาถาอาคม พอครบ 7 ไฟ ก็เทลงแม่พิมพ์จึงได้พระตามต้องการ

วัตถุมงคลของท่านแม้รูปทรงจะดูไม่สวยงาม แต่เรื่องพุทธคุณโดดเด่นยิ่งนัก ทั้ง คล้วคลาด คงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม ที่เป็นที่นิยมมีอาทิ พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์มารวิชัยเศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม โดยเฉพาะ “พระพิมพ์งบน้ำอ้อย” ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็กนั้น ได้รับความนิยมสูงสุด

ปัจจุบันค่านิยมค่อนข้างสูงมาก และมีการทำเลียนแบบมากที่สุดครับผม




เหรียญอายุ 111 ปี-หลวงปู่แสน

หลวงปู่แสน ปสนฺโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังแห่งภาคอีสานใต้ ปัจจุบันอายุ 110 ปี จะครบ 111 ปีในวันที่ 11 ก.ย.2561 นี้ นับเป็นหนึ่งในพระเกจิผู้มีอายุยืนยาวในยุคปัจจุบัน ที่มีไม่กี่รูปนัก

เกิดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก ตรงกับวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2450 ที่บ้านโพง ต.ไพรบึง อ.ขุขันธ์ จ.ขุขันธ์

ต่อมาบรรพชาที่วัดบ้านโพง ศึกษากับหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอใต้ จนจบชั้น ป.4 และยังได้ศึกษาตำราพระเวททั้งภาษาขอมและภาษาธรรมบาลี

เมื่ออายุครบ 21 ปี อุปสมบท แต่ยังคงศึกษาวิทยาอาคมกับหลวงพ่อมุมอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อมีเหตุจำเป็นต้องลาสิกขาออกมาช่วยเหลือทางบ้านเมื่ออายุ 24 ปี หลังจากสึกท่านได้เป็น “หมอธรรม” ช่วยเหลือผู้คนในชุมชนจนเป็นที่เคารพนับถือ

เมื่อหมดภาระทางบ้านหลวงปู่จึงกลับเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง โดยไปจำพรรษาที่บ้านกุดเสล่า อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ แต่ยังคงรักการธุดงค์เช่นเดิมจึงมักออกธุดงควัตรอยู่เป็นนิจ จนเมื่อหลวงตาวัน พระสหายรุ่นน้องได้ไปกราบนิมนต์ให้มาช่วยสร้างวัดจนแล้วเสร็จ ด้วยตัวท่านรักสมถะปีต่อมาจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์โนนไทย

จนเมื่อได้เห็นสภาพ “วัดบ้านหนองจิก” ที่จะกลายเป็นวัดร้าง ท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาและพัฒนาจนวัดรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จำพรรษาอยู่ได้ 4 ปีโยมญาติจากวัดบ้านโพรงก็เดินทางมานิมนต์ท่านให้ไปช่วยพัฒนาวัด เพราะที่วัดไม่มีพระจำพรรษาเกรงว่าต่อไปจะแปรสภาพเป็นวัดร้าง หลวงปู่ก็เมตตาไปจำพรรษาทำนุบำรุงวัดจนเจริญขึ้น แม้อายุจะย่างเข้า 93 ปี โดยรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดในช่วงนั้น

เมื่อหลวงปู่แสนอายุ 97 ปี ลูกหลานเป็นห่วงสุขภาพ จึงได้พาชาวบ้านไปนิมนต์กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองจิก จนถึงทุกวันนี้ … ด้วยพระเดชพระคุณของหลวงปู่แสน “วัดใดที่จะร้าง” เมื่อหลวงปู่ไปจำพรรษาวัดนั้นก็จะเต็มไปด้วยพระลูกวัดและสาธุชนผู้ศรัทธามาร่วมบุญร่วมกุศลมากมาย…

เหรียญฉลองอายุวัฒนมงคล ๑๑๑ ปี หลวงปู่แสน จัดสร้างขึ้นในวาระที่หลวงปู่แสนมีอายุครบ 111 ปีในปี พ.ศ.2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างอุโบสถวัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ขนาดมาตรฐาน ความสูง 3.9 ซ.ม. และกว้าง 2.6 ซ.ม.

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แสนนั่งสมาธิเต็มองค์ ซึ่งปั้นแบบโดยอาจารย์โสพิศ พุทธรักษ์ ช่างสิบหมู่กรมศิลปากร และบรรจุอักขระขอมเป็นชื่อของหลวงปู่ “หลวงปู่แสน ปสันโน”

ส่วนด้านหลังบนสุดเป็นชื่อรุ่น “ฉลองอายุวัฒนมงคล ๑๑๑ ปี” ต่อลงมาเป็นยันต์ลายมือหลวงปู่แสน และคาถา “นะอ่อนใจรัก” นำทรัพย์สินเงินทองมาชูกู ซึ่งเป็นคาถาหลักของหลวงปู่ ล่างสุดจารึกอักษรไทย “วัดบ้านหนองจิก อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พ.ศ.๒๕๖๑”

ยันต์ลายมือหลวงปู่แสน คือ ยันต์นะ ลงผงปะถะมัง พินทุกัง ชาตัง ทุติยัง ทัณฑะเมวะจะ ตะติยัง เภทะกัญเจวะ จะตุตถัง อังกุสัมภะวัง ปัญจะมัง สิระสังชาตัง นะนอนใจ โมรักชักมือนอน พุทสวมกอด ธายอดเสน่หา ยะเช็ดน้ำตา เอหิอิตถิยา มาจะเร อิติธายะ นะโม พุทธายะ ส่วน “นะอ่อนใจรัก นำทรัพย์สินเงินทองมาชูกู” เป็นยันต์นะเมตตา พระคาถาของหลวงปู่ที่เมตตาจารึกประทับ ลงหลังเหรียญเพื่อความเป็นสิริมงคล

บรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้มีจิตศรัทธาสนใจร่วมบุญสร้างอุโบสถ และฉลองอายุวัฒนะ หลวงปู่แสน ปสนฺโน พร้อมรับ ยอดวัตถุมงคล “รุ่นอายุวัฒนมงคล” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 09-2895-9824 หรือ Id line. Nakaraj 999 ครับผม




เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่สงฆ์ พระเกจิชื่อดังเมืองชุมพร

หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร “เทพเจ้าของชาวชุมพรผู้มีวาจาสิทธิ์” ผู้บุกเบิกและพัฒนา “วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย” วัดเก่าแก่คู่เมืองชุมพรมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถูกปล่อยรกร้างมาเนิ่นนาน จนเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวชุมพรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป

หลวงปู่สงฆ์ เป็นชาวชุมพรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ปีขาล พ.ศ.2433 ที่ ต.วิสัยเหนือ อ.สวี จ.ชุมพร ท่านมีความใฝ่ใจศึกษาหาความรู้ต่างๆ ตั้งแต่เยาว์วัย จนอายุ 18 ปี บวชเป็นสามเณรที่วัดสวี อายุครบบวชจึงอุปสมบทที่วัดวิสัยเหนือ โดยมีหลวงพ่อชื่น วัดแหลมปอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “จันทสโร”

ศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ทั้งศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติมจากพระเกจิผู้ทรงคุณหลายรูป อาทิ พระอาจารย์รอด วัดโต๊ะแซ พระเกจิชื่อดังยุคนั้น จากนั้นออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ

หลวงปู่สงฆ์ เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ มีเมตตาบารมีธรรมสูงส่ง จนเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน นอกจากนี้ยังเป็นที่ร่ำลือกันว่าหลวงปู่ท่านมีวาจาสิทธิ์ยิ่งนัก

ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 2 ส.ค.2526 สิริอายุ 94 ปี 3 เดือน 2 วัน แต่สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อยเป็นที่อัศจรรย์ ปัจจุบันยังคงบรรจุโลงประดิษฐานบนศาลาธรรมสังเวช เพี่อให้พุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์ได้กราบสักการบูชา

วัตถุมงคลต่างๆ ที่หลวงปู่สงฆ์จัดสร้างนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างเสนาสนะต่างๆ ในวัด และเพื่อประโยชน์แก่พระบวรพุทธศาสนาทั้งสิ้น มีด้วยกันหลายรุ่นหลายแบบ ทั้งที่ทำเองและอนุญาตให้ลูกศิษย์จัดสร้าง ไม่ว่าจะเป็น พระเครื่อง, เหรียญรูปเหมือน, เครื่องราง, ลูกอม, ยาฉุน ฯลฯ ผู้ได้ไปสักการบูชาต่างประสบพุทธานุภาพมากมาย ทั้งเมตตา มหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด และมหาอุด แม้แต่ “น้ำปลา” ท่านก็ยังปลุกเสกเป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน หรือน้ำล้างบาตรของท่าน ก็นำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้เช่นกัน

กล่าวถึง เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของหลวงปู่สงฆ์ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกจริงๆ คือ “เหรียญที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา วัดหาดทรายแก้ว” ซึ่งออกที่วัดทรายแก้ว เมื่อปี พ.ศ.2502 ลักษณะเป็นเหรียญกลม หูในตัว ด้านหน้ายกขอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่สงฆ์นั่งสมาธิเต็มองค์เหนืออาสนะ มีอักษรไทยกำกับว่า “หลวงพ่อสงฆ์ วัดศาลาลอย จ.ชุมพร” ด้านหลังพื้นเรียบ ตรงกลางเป็น “ยันต์รูปว่าว” อักขระยันต์ที่เขียนไว้ภายในคือ “นะ โม พุท ธา ยะ” อันเป็นหัวใจแม่ธาตุใหญ่ที่มีพุทธคุณดีทุกด้าน โดยรอบเหรียญเป็นอักษรไทยว่า “สร้างเปนที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา วัดหาดทรายแก้ว” และ “17 เมย 2502”

แต่ถ้านับเป็นเหรียญรุ่นแรกที่ออก ณ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย แล้ว ก็จะเป็น “เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่สงฆ์ ปี 2505” สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในพิธีผูกพัทธสีมาวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ซึ่งนับเป็นพิมพ์นิยม ที่เป็นหนึ่งในเหรียญยอดนิยมของจังหวัด ค่านิยมยังสูงกว่าเหรียญรุ่นแรกที่ออกวัดทรายแก้วอีกด้วย

ในปี 2505 นี้ ได้มีการสร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่สงฆ์อีกหลายรุ่น เช่น ที่วัดเขากล้วย เป็นต้น อีกทั้งยังมีพิมพ์ย้อนกับรุ่นแรก วัดศาลาลอย แต่ก็จะเป็นคนละแม่พิมพ์กัน ของทำเทียมเลียนแบบก็มีมาแต่อดีต ต้องจำไว้เลยว่า … เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่สงฆ์ ปี 2505 วัดศาลาลอย นั้น มีบล็อกแม่พิมพ์เพียงแม่พิมพ์เดียวทั้ง ด้านหน้าและด้านหลัง

ดังนั้น การพิจารณาต้องถี่ถ้วน จำพิมพ์และตำหนิต่างๆ ได้แม่นยำ



พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #74 เมื่อ: 26 เมษายน 2561 12:39:48 »


พระนางกำแพงเพชร พิมพ์ลึก เนื้อดินเผา กรุวัดพิกุล

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัจจุบันนี้การทำพระปลอมเลียนแบบมีอย่างมากมายและพัฒนาการทำปลอมได้ดีมากๆ ทำกันทุกประเภทพระเลยทีเดียว วิทยาการในการปลอมก็พัฒนามากขึ้นจนเรียกได้ว่าเหมือนมากทีเดียวครับ ก็เป็นเรื่องที่น่าหนักใจของผู้สะสมที่ไม่ได้มีอาชีพในการค้า-ขายพระหรือที่เขาเรียกว่าเซียน

ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับเซียนน้อยเซียนใหญ่ต่างๆ เขาบอกว่าปัจจุบันโจทย์ยาก หมายความว่าการพิจารณาพระในปัจจุบันต้องรอบคอบ พิจารณาให้ถี่ถ้วน เนื่องจากการทำปลอมเขาทำได้ดีเหมือนมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นพระประเภทใดก็ตาม เพราะเครื่องไม้เครื่องมือในการทำปลอมนั้นดีมากๆ ครับ

แต่สำหรับท่านผู้เป็นผู้ชำนาญการหรือพวกเซียนที่เก่งจริงๆ เขาก็สามารถแยกแยะออกได้ว่าแท้หรือไม่ ในทำนองเดียวกันถ้ามือยังไม่ถึงหรือเป็นเซียนพระระดับล่างๆ ก็มีสิทธิ์พลาดได้เหมือนกันครับ ก็ประเภทเล่นตามเขาหรืออวดเก่งก็พลาดได้ทั้งนั้น นับประสาอะไรกับเราที่เล่นเพื่อศรัทธาหรือสะสม ถ้าไม่แน่จริงก็มีสิทธิ์โดนพระเก๊ได้ตลอดเวลาครับ

การที่จะหาพระเช่าสักองค์ก็ควรที่จะต้องศึกษาพระนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร หน้าตาเป็นอย่างไร ศึกษาประวัติการสร้างพระนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นปี พ.ศ. ว่าสร้างมาประมาณกี่ปี เก่ามากน้อยอย่างไร กรรมวิธีการสร้างเป็นอย่างไร และเวลาที่จะเช่าหาก็ควรศึกษาคนที่เราจะเช่าหาว่ามีประวัติดีหรือไม่ รับผิดชอบกับพระที่เขาขายให้เรามากน้อยอย่างไร ไม่ใช่เสี่ยงดวง เงินที่เราจ่ายไปเป็นเงินแท้ๆ ใช้หนี้ได้ตามกฎหมาย

แต่พระที่เขาขายให้เราล่ะ แท้หรือไม่ นั่นคือปัญหาถ้าคบคนผิดก็เหนื่อยละครับ ตอนที่เราจะซื้อเขาก็รับรองเป็นดิบเป็นดีว่าแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดูง่ายครับ เบื่อเมื่อไหร่ก็เอามาคืน แต่พอเวลาเอาไปคืนจริงๆ กลับไม่รู้ไม่ชี้ บิดเบือนไปเรื่อยๆ เจออย่างนี้ก็เหนื่อยหน่อยนะครับ

พวกคนไม่ดีที่อาศัยการทำมาหากินในสังคมพระนั้นมีมากครับ และก็มีมานานแล้ว ทำอย่างไรก็ไม่หมดหรอกครับ ดังนั้นการที่เราจะเข้ามาสนใจที่จะเช่าหาเพื่อศรัทธาหรือสะสมก็ต้องพิจารณาทั้งพระทั้งคนด้วยถึงจะปลอดภัยครับ ถ้าเราตั้งสติให้ดีพิจารณาให้ถี่ถ้วนก็พอจะวางใจได้ครับ อย่าคิดว่าเราเองนั้นแน่ดูพระ เก่ง ขนาดคนที่อยู่ในสายอาชีพเขายังต้อง ระวังพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก็ยังไม่วายพลาดได้ แล้วนับประสาอะไรกับเราที่ไม่ใช่สายอาชีพ ล่ะครับ

ครับที่ผมเขียนมาทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้จะทำให้ท่านเลิกหรือหวาดกลัวนะครับ เพียงแต่อยากจะเตือนให้รอบคอบเท่านั้นครับ ถ้าเรามีสติรอบคอบสักหน่อยก็ปลอดภัยครับ ผมเองรับฟังเรื่องนี้มามาก ก็ได้เพียงแต่เห็นใจและแนะนำไปเท่าที่ทำได้เท่านั้นครับ บางรายเชื่อใจคนที่ได้แนะนำให้รู้จัก เช่าไปหลายบาททีเดียว (ไม่อยากพูดถึงจำนวนเงิน เศร้าครับ)

พอช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดีก็คิดจะนำมาออกตัวบ้าง ขนาดว่าขาดทุนบ้างก็ไม่ว่ากัน จึงได้ทราบความจริงว่าพระทั้งหมดที่เช่ามาเก๊ทั้งหมด เอาพระไปให้คนที่เขาไปเช่ามาช่วยรับคืนไปบ้าง ได้เท่าไหร่ก็ได้ขาดทุนไปบ้างก็เอา ปรากฏว่าบ่ายเบี่ยงไปเรื่อย ผลสุดท้ายก็คือไม่รู้ไม่ชี้ต้องฟ้องร้องกัน ส่วนเงินจะได้คืนหรือเปล่าก็ไม่รู้ครับ คงเหนื่อยน่าดู ผมเองก็ได้แต่เห็นใจและเศร้าใจไปด้วย แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้นักครับ

สำหรับผู้มีอาชีพค้า-ขายพระเครื่องนั้นคนที่ดีๆ ก็มีเยอะครับ รับผิดชอบกับพระที่เขาขายไป เพียงแต่ท่านจะไปเจอคนประเภทไหนเท่านั้นครับ ถ้าเจอคนดีๆ ท่านก็สบายใจได้ครับ เข้าให้ถูกช่องถูกทางคนดียังมีเยอะครับ ไม่ได้จะร้ายไปเสียทั้งหมด

ส่วนมากคนที่มาปรึกษาผมที่ถูกหลอกมามักจะไปเช่าหากับพวกนอกรีต และส่วนมากก็ไม่ได้เข้ามาศึกษาจากในสังคมพระเครื่องที่เป็นศูนย์ใหญ่ๆ ที่เป็นมาตรฐาน ก็มีโอกาสเสี่ยงมากครับ โดยเฉพาะที่เช่าหาพระเครื่องที่มีมูลค่าสูงๆ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะถูกหลอกสูงตามไปด้วยครับ ที่กล่าวมานี้ก็เพื่อเตือนๆ กันนะครับ เพราะช่วงนี้ผมเจอผู้ที่ประสบปัญหาบ่อยมากครับ

ในวันนี้ก็นำรูปพระนางกำแพงเพชร พิมพ์ลึก เนื้อดินเผา กรุวัดพิกุล จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมพลางๆ ก่อนครับ




พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด พิมพ์กลาง กรุวัดอาวาสน้อย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยก่อนนั้นตอนผมยังเป็นเด็กเคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่พูดถึงพระกำแพงเขย่งเสมอและเป็นพระที่นิยมกันมากในสมัยก่อน พระกำแพงเขย่งในความหมายของคนยุคก่อนหมายถึงพระเครื่องปางลีลาที่เป็นพระกรุของจังหวัดกำแพงเพชรโดยเฉพาะ เนื่องจากมีคำว่า “กำแพง” กำกับไว้และพระเครื่องที่ในสมัยก่อนมักเรียกว่าพระกำแพงเขย่งก็มีทั้งพระเนื้อดินและพระเนื้อชิน ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลายกรุ
คำว่ากำแพงเขย่งก็มาจากในสมัยก่อนเมื่อพระที่ขุดได้ใหม่ๆ เห็นพระปางลีลา และมีการก้าวเท้าเดินซึ่งเท้าหลังมองดูเหมือนกับว่าเขย่งเท้าขึ้น และเป็นพระที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร คนทางกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียงก็เรียกตามๆ กันว่า “พระกำแพงเขย่ง” โดยไม่ได้จำกัดว่าเป็นพระอะไร กรุไหน ของจังหวัดกำแพงเพชร พระกำแพงเขย่งจึงมีอยู่หลายกรุหลายวัดของจังหวัดกำแพงเพชร และหลายเนื้อ

ปัจจุบันรู้จักกันมาก และนิยมแพร่หลายมากที่สุดก็คือพระกำแพงเม็ดขนุน ซึ่งเป็นพระเนื้อดินเผา นอกจากนี้ก็ยังมีพระเนื้อดินเผาอีกเช่น พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบจำปา ซึ่งปัจจุบันก็หาชมได้ยากมาก พระทั้ง 3 แบบนี้ นอกจากจะเป็นเนื้อดินเผาแล้ว ก็ยังมีที่เป็นพระเนื้อว่านและว่านหน้าทอง แต่เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งพระปัจจุบันหาชมไม่ได้เลย อาจจะชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายไปเพื่อเอาหน้าทองหน้าเงินลอกไปเสียในสมัยก่อน

ครับนอกจากพระที่เป็นเนื้อดินเผาแล้ว พระกำแพงเขย่งยังรวมพระเนื้อชินเข้าอยู่ในนั้นด้วย ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและรู้จักกันมากก็คือพระกำแพงขาว และพระกำแพงเชยคางข้างเม็ด ซึ่งปัจจุบันก็หายากทั้ง 2 แบบ แทบจะหาชมไม่ได้เลยที่เป็นพระแท้ๆ

พระเชยคางข้างเม็ด ก็เรียกกันจากพุทธลักษณะขององค์พระค่อนข้างอ่อนช้อย พระหัตถ์หรือมือข้างหนึ่งยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) พระหัตถ์ยกขึ้นสูงดูเหมือนจะเชยคางและองค์พระประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้วที่ด้านข้างทำเป็นเม็ดไข่ปลาอยู่โดยรอบ คนในสมัยก่อนก็ตั้งชื่อตามรูปลักษณ์ที่เห็นอย่างเรียบง่ายว่า “พระเชยคางข้างเม็ด”

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดสี่อิริยาบถ เป็นต้น เท่าที่พบและสังเกตดู น่ามีอยู่ด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ พระพิมพ์ใหญ่ พระพิมพ์กลาง และพระพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่และพระพิมพ์เล็กค่อนข้างหายาก พบเห็นน้อยมาก พระส่วนใหญ่จะเป็นพระพิมพ์กลาง ซึ่งก็ถือว่าเป็นพิมพ์นิยม แต่พระกำแพงเชยคางข้างเม็ดนี้เป็นพระหายากมากครับ ส่วนใหญ่จะชำรุดผุกร่อนเสียเป็นส่วนใหญ่ พระที่สมบูรณ์หายากยิ่ง ปัจจุบันคนอาจจะแทบลืมกันไปเลย เพราะหาพระยากมาก

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ดเป็นพระที่มีศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์สวยงามอ่อนช้อยมาก พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกับพระในตระกูลกำแพงเพชร เด่นทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้า ปัจจุบันสนนราคาสูงมากเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงเชยคางข้างเม็ด พิมพ์กลาง กรุวัดอาวาสน้อย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ




พระลีลากำแพงขาว พิมพ์ข้างแตก กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปางลีลาของกำแพงเพชรส่วนมากจะทำเป็นพระเนื้อดินและมีความนิยมสูง แต่พระปางลีลาของกำแพงเพชรที่เป็นเนื้อชินเงิน และเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงก็คือพระลีลากำแพงขาว แต่ก็เป็นพระที่หายากมากครับ ของปลอมมีมากและทำกันมานานแล้ว

พระลีลากำแพงขาว เป็นพระที่แตกกรุมาแต่โบราณ และเป็นที่นิยมกันมากของชาวกำแพงเพชรในสมัยก่อน สถานที่พบพระลีลากำแพงขาวแห่งแรกเป็นการพบที่กรุวัดบรมธาตุ ตำบลนครชุม พระที่พบจะเป็นพระเนื้อชินเงินเพียงอย่างเดียว ไม่พบพระลีลากำแพงขาวที่เป็นเนื้ออื่นเลย จำนวนพระที่พบก็มีไม่มากนักอาจจะเป็นเพราะชำรุดผุพังไปเสียมากก็เป็นได้ พระส่วนใหญ่ผิวพระจะออกสีดำ เมื่อใช้ถูกสัมผัสเนื้อในจะออกสีขาวเงินยวงสวยงาม จึงเป็นที่มาของชื่อว่าพระลีลากำแพงขาว

พระลีลากำแพงขาวเท่าที่ทราบมีคนพบพระที่กรุอื่นอีกบ้างเช่นกัน แต่กรุที่นิยมจะเป็นกรุวัดบรมธาตุนครชุม พระที่พบจะมีอยู่ 2 พิมพ์ คือพระพิมพ์ใหญ่ และพระพิมพ์ข้างแตก พระพิมพ์ข้างแตกค่านิยมจะมีภาษีดีกว่าพิมพ์ใหญ่เล็กน้อย พระลีลากำแพงขาวพิมพ์ข้างแตก องค์พระจะเล็กกว่าพระพิมพ์ใหญ่เล็กน้อย มองดูอาจจะดูต้อกว่าเล็กน้อย

ส่วนที่สำคัญพระพิมพ์นี้ จะมีรอยแม่พิมพ์แตกที่ข้างแขนขวาขององค์พระที่ปล่อย ทอดลงมา จะเห็นเป็นเส้นรอยแม่พิมพ์แตกชัดเจน วิ่งจากต้นแขนยาวลงมาถึงปลายมือเป็นเส้นคดเคี้ยวเป็นธรรมชาติของการแตกของแม่พิมพ์ สาเหตุที่นิยมพิมพ์ข้างแตกมากกว่าก็เนื่องจากพระพิมพ์นี้จะมีรายละเอียดของแม่พิมพ์ติดชัดกว่าพระพิมพ์ใหญ่ อย่างไรก็ตาม พระลีลากำแพงขาวทั้ง 2 พิมพ์ก็เป็นพระที่หายากและมีมูลค่าสูงทั้ง 2 พิมพ์ครับ

พุทธศิลปะของพระลีลากำแพงขาวเป็นศิลปะสุโขทัยหมวดกำแพงเพชรที่อ่อนช้อยสวยงามมาก ในส่วนของพุทธคุณนั้นก็เฉกเช่นเดียวกันกับพระตระกูลทุ่งเศรษฐีที่เด่นทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้า เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดครับ แต่ก็อย่างที่บอก พระลีลากำแพงขาวนั้นมีการปลอมแปลงกันมานานแล้ว เพราะเป็นพระที่หายากและเป็นที่นิยมมาแต่ในสมัยก่อนแล้ว พวกปลอมพระก็พยายามทำปลอมกันมาตลอด แต่พิมพ์หรือเนื้อหาก็ยังทำได้ไม่เหมือนมากนัก พอจะสังเกตได้อยู่ครับ เพียงแต่อย่าประมาทหรือเกิดความโลภก็อาจจะพลาดได้ และพวกนิทานที่ชอบกล่าวอ้างกันว่าได้มาแต่โบราณหรือได้รับตกทอดมาอย่างนี้อย่างนั้นก็อย่าไปฟังมาก ใช้ตาดูพิจารณาวิเคราะห์ตามความเป็นจริงมากกว่าหูฟังจะดีกว่ามากครับ

ถ้าใช้การฟังมากกว่าและคล้อยตามการวิเคราะห์ปัญหาก็จะโน้มเอียงตามเขาไปโดยไม่ได้ตั้งใจ และตกเป็นเหยื่อของพวกหลอกลวงได้ง่ายครับ

การจะเช่าพระเครื่องสักองค์ก็ต้องใช้สติ มีเหตุและผลศึกษาความเป็นมาของพระก่อนเพื่อเป็นข้อมูล และพิจารณาวิเคราะห์ตามที่ได้ศึกษามาครับ อย่าหลงฟังนิทานต่างๆ ที่ผู้ขายอยากจะเล่าให้ฟังเพียงอย่างเดียวอาจเคลิบเคลิ้มตามเขาจนลืมพิจารณาตามหลักการได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลีลากำแพงขาว พิมพ์ข้างแตก กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชร จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ




พระพิมพ์พระ สังกัจจายน์ กรุวัดเงิน คลองเตย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระที่เป็นพระเนื้อผงเก่าแก่กรุหนึ่งคือกรุวัดเงิน คลองเตย พระของกรุนี้ก็เป็นที่นิยมซึ่งมีอยู่หลายพิมพ์ พิมพ์ที่นิยมกันมากๆ ก็คือพิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์เล็บมือ เป็นต้น แล้ววัดเงิน คลองเตย อยู่ ณ จุดใดของคลองเตย

อาณาบริเวณที่ดินริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งใช้เป็นสถานที่ตั้งที่ทำการท่าเรือแห่งประเทศไทย คลองเตย กรุงเทพฯ นั้นในอดีตแต่เดิมมาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนและมีวัด ได้แก่ วัดเงิน วัดทอง และวัดพระธาตุ รวม 3 วัด ที่ล้วนแต่เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณทั้งสิ้น ในปีพ.ศ.2482 ทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินบริเวณที่ตั้งของทั้ง 3 วัด เพื่อก่อสร้างท่าเรือคลองเตย วัดพระธาตุและวัดทองได้รื้อถอนไปสร้างรวมกันเป็นวัดใหม่ขึ้น ที่ริมถนนสุขุมวิท มีชื่อเรียกใหม่ว่า “วัดธาตุทอง” ส่วนวัดเงินนั้นได้รื้อถอนไปสร้างวัดใหม่เช่นกัน คือ “วัดไผ่เงิน” ตรอกจันทร์

วัดพระธาตุและวัดทองเมื่อรื้อถอนไปสร้างใหม่แล้ว ชื่อเสียงเรียงนามนับวันก็เลือนรางไปจากความทรงจำ แต่วัดเงิน คลองเตยนั้นแม้จะถูกรื้อถอนไปแล้ว แต่ยิ่งนานวันก็มีชื่อเสียงที่คนรู้จักจดจำได้ เนื่องจากพระเครื่องที่ถูกบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ปรากฏชื่อเสียงไปทั่ว แต่ที่ตั้งของวัดอาจจะไม่ค่อยมีคนทราบเท่าไรนัก

พระเครื่องของกรุวัดเงินนั้นถูกพบในขณะที่มีการรื้อถอนเจดีย์รายและฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถ ได้พบพระเครื่องเนื้อผงสีขาวเป็นจำนวนมากมายหลายหมื่นองค์ มีมากมายหลายพิมพ์และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะพระพิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งมีสนนราคาค่านิยมสูงพิมพ์หนึ่ง พระส่วนใหญ่ที่พบเป็นพระเนื้อผงสีขาวทั้งสิ้น

นอกจากพระพิมพ์ปิดตาเท่านั้นที่แปลกกว่าพระพิมพ์อื่นๆ คือเป็นพระเนื้อผงแต่เป็น สีออกดำและดำปนเทา แบบพระเนื้อผง ใบลาน พระปิดตากรุวัดเงินนี้เท่าที่พบมี 3 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์รัศมี และพิมพ์เล็ก พระปิดตาพิมพ์ใหญ่และพิมพ์รัศมีมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กัน ต่างกันที่พิมพ์รัศมีนั้นมีเส้นรัศมีอยู่ตรงบริเวณพระเศียร

ส่วนพระพิมพ์เล็กนั้นมีจำนวนน้อย ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก แม้แต่รูปถ่ายก็ยังหายากครับ องค์พระพิมพ์เล็กจะดูล่ำสันกว่าทุกพิมพ์ และมีฐานเป็นแท่งเหลี่ยมสูงกว่าทุกพิมพ์ แต่พระปิดตาค่อนข้างหายากครับ

ส่วนพระที่มีคนรู้จักกันมากและได้รับความนิยมสูงก็คือพระพิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ คือพิมพ์มีหู และพิมพ์ไม่มีหู พุทธลักษณะคล้ายกันมากผิดกันที่มีหูและไม่มีหูเป็นที่สังเกตได้ชัดเจน พิมพ์มีหูก็จะมีมูลค่าสูงกว่าพิมพ์ไม่มีหู แต่ก็หายากทั้ง 2 พิมพ์ และมีมูลค่าสูง ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์พระสังกัจจายน์ กรุวัดเงิน คลองเตย ทั้ง 2 พิมพ์ มาให้ชมกันครับ




เหรียญหล่อ หนุมาน แบกพระโมคคัลลานะ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้เคารพศรัทธาทั่วประเทศ วัตถุมงคลของท่านก็ล้วนเป็นที่เสาะหากันทุกชนิด แต่ก็หายากมาก เนื่องจากมีคนต้องการมาก หาแท้ๆ ยากครับ

วัตถุมงคลของหลวงพ่อคง เช่นเหรียญปั๊มรุ่นแรกปี พ.ศ.2484 นั้นเป็นเหรียญยอดนิยม จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยมเหรียญปั๊มอีกเหรียญที่นิยมมากเช่นกันก็คือเหรียญปาดตาล พ.ศ.2486 ก็เป็นเหรียญนิยมอีกเหรียญหนึ่ง ส่วนประเภทเหรียญหล่อของหลวงพ่อคงนั้นก็เป็นที่นิยมกันมาก ในสมัยโบราณคนท้องถิ่นนั้นจะนิยมเหรียญหล่อมากกว่าเหรียญปั๊ม

ผมเคยได้สอบถามคุณตาท่านหนึ่งที่ผมสนิท ท่านเป็นคนแม่กลอง นามสกุล ณ บางช้าง ท่านเล่าให้ฟังว่า เหรียญหล่อนั้นเป็นเหรียญที่หลวงพ่อสร้างเอง และทำกันที่วัด ส่วนเหรียญปั้มรุ่นแรกนั้นเป็นเหรียญที่ พระยาศรีสุรสงคราม (เปลื้อง ดิลกโยธิน) ได้มาขออนุญาตจัดสร้าง เพื่อจะนำรายได้ไปสร้างวัดแถวๆ อยุธยา ดังนั้นคนรุ่นเก่าๆ ของแม่กลองจะหวงเหรียญหล่อมากกว่าครับ

เหรียญหล่อของหลวงพ่อคงท่านก็ได้สร้าง แจกชาวบ้านและลูกศิษย์อยู่หลายรุ่น เช่น เหรียญอรุณเทพบุตร ซึ่งเป็นเหรียญหล่อที่นิยมมาก นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญหล่อหนุมานแบกโมคคัลลานะ ซึ่งก็เป็นเหรียญหล่อที่นิยมอีกเหรียญหนึ่ง เหรียญหล่ออีกรุ่นหนึ่งเป็นเหรียญก้นแมลงสาบเป็นเหรียญที่นิยมรองลงมา
 
เหรียญหล่อหนุมานแบกโมคคัลลานะ เป็นเหรียญที่มีรูปทรงรี มีรูปพระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ มีรูปพระโมคัลลานะ พระสารีบุตรอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา ล่างลงมามีรูปหนุมานกางแขนรองรับไว้อีกทีหนึ่ง เหรียญหล่อพิมพ์นี้หลวงพ่อคงบอกว่า หนุมานเป็นลูกลมและมีอิทธิ ฤทธิ์มาก ด้านหลังเป็นรูปยันต์ เม อะ มะ อุ และยันต์ นะ มะ พะ ทะ เด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มีประสบการณ์มากมายมาตั้งแต่อดีต

ปัจจุบันหายากพอสมควร สนนราคาค่อนข้างสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีอยู่มาก เวลาจะเช่าหาควรศึกษาให้ดีก่อน และเช่าหาจากผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะดีกว่าปลอดภัยกว่าครับ

ส่วนเครื่องรางของขลังอื่นๆ ของหลวงพ่อคงก็เป็นที่นิยมทุกชนิด แต่ก็หาแท้ๆ ยากมากครับ ทั้งตะกรุด เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ต่างๆ ไว้จะนำมาเล่าให้ฟังต่อไปนะครับ

วันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหล่อ หนุมาน แบกพระโมคคัลลานะ จากหนังสือตามรอยสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ




พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์อกวี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องการศึกษาพระเครื่องเพื่อให้รู้ว่าพระเครื่องนั้นๆ แท้หรือไม่ จำเป็นที่เราจะต้องศึกษาเรื่องของรายละเอียดของพิมพ์พระ รายละเอียดของเนื้อวัสดุของพระนั้นๆ นอกจากนี้จะต้องศึกษาถึงธรรมชาติของพระที่เกิดจากการผลิต และธรรมชาติความเก่าของวัสดุที่นำมาสร้างพระตามอายุของพระนั้นๆ

พระเครื่องส่วนใหญ่เป็นพระที่สร้างขึ้นจากแม่พิมพ์ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่สร้างขึ้นมาโดยมีแม่พิมพ์ สิ่งเหล่านั้นถ้าออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกันก็ต้องมีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนกัน และถ้าเป็นพระที่สร้างขึ้นมาในยุคเดียวกัน ธรรมชาติการสร้างก็จะออกมาเหมือนๆ กัน เช่นเหรียญสตางค์หรือธนบัตร ถ้าผลิตในรุ่นเดียวกันแม่พิมพ์อันเดียวกันเหรียญนั้นก็จะเหมือนกันทั้งรายละเอียด กรรมวิธีการ ผลิตก็จะเหมือนๆ กัน พระเครื่องก็เหมือนกันครับหลักการเดียวกันที่จะใช้ในการพิจารณาว่าใช่หรือไม่

ในวันนี้ผมจะมาคุยถึงเรื่องรายละเอียดของแม่พิมพ์และธรรมชาติของการผลิต ก่อน และขอนำพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง มาเป็นตัวอย่างที่จะมาคุยกันครับ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ตามที่ผู้หลักผู้ใหญ่รวบรวมถ่ายทอดส่งต่อๆ กันมานั้น ถ้าจะแยกโดยละเอียดก็จะสามารถแยกออกได้เป็นตัวแม่พิมพ์ได้ถึง 4 แม่พิมพ์ แต่รายละเอียดของแม่พิมพ์โดยรวมนั้นจะคล้ายๆ กัน เพียงแต่มีส่วนปลีกย่อยที่แตกต่างกัน การแยกแม่พิมพ์นี้ก็เพื่อสะดวกในการศึกษาเพื่อให้เห็นได้ชัดเจน เอาล่ะเราค่อยมาว่ากันทีหลัง

ในวันนี้จะขอนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์อกวี ซึ่งชื่อของแม่พิมพ์ผมขอเรียกตามครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนผมมานะครับ ซึ่งก็อาจจะเรียกแตกต่างกันไปบ้าง แต่การพิจารณาของความถูกต้องก็เข้ามาหาความถูกต้องที่เหมือนกันครับ รูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ทั้ง 2 องค์ที่ผมนำรูปมาแสดงนั้นเป็นพระที่มีแม่พิมพ์เดียวกัน และพระทั้ง 2 องค์ เป็นพระที่ตัดแม่พิมพ์เหลือขอบข้าง จึงเป็นพระที่จะนำมาเพื่อการศึกษาได้ดีมากครับ เรื่องการตัดขอบของพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น ตัวแม่พิมพ์ช่างที่แกะแม่พิมพ์นั้น แกะเพียงกรอบของแม่พิมพ์เท่านั้น เพื่อที่จะได้เป็นเส้นกำหนดที่จะให้ตัดขอบอีกทีหนึ่ง จึงต้องมีการตัดขอบของพระทีหลังเมื่อกดพิมพ์พระสำเร็จแล้ว มิได้แกะออกมาเป็นขอบสำเร็จ (ดังเช่นพระในปัจจุบัน) ดังนั้นการตัดขอบของพระสมเด็จวัดระฆังฯ จึงมีขอบนอกไม่เท่ากัน ตัดพอดีกรอบบ้าง เหลือขอบข้างบ้าง ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของการผลิต

กลับมาดูรูปพระสมเด็จฯ ทั้ง 2 องค์ ที่ตัดขอบเหลือขอบข้าง เราจะมองเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์เป็นเส้นทิวบางๆ รอบพระทั้ง 4 ด้าน แต่ส่วนมากจะเห็น 3 ด้านค่อนข้างชัด ส่วนที่เหลือเลยออกไปนั้นก็เป็นเนื้อเหลือจากการตัดขอบ และเนื้อที่เป็นส่วนเกินนี้จะมีระดับต่ำกว่าเนื้อที่อยู่ภายในกรอบแม่พิมพ์ เราได้อะไรจากการสังเกตนี้ ประการแรกเราก็จะรู้ได้ว่าการแกะแม่พิมพ์ของช่างผู้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น แกะแม่พิมพ์มาแค่กรอบพระ และต้องมีการตัดขอบทีหลัง ก็เป็นธรรมชาติของการผลิตอย่างหนึ่ง เรามาพิจารณากันต่อ เราก็จะเห็นว่า เส้นกรอบด้านข้างซ้าย-ขวานั้นกรอบของแม่พิมพ์ไม่เท่ากัน พื้นที่จากกรอบแม่พิมพ์ทั้งซ้าย-ขวาด้านบน จากกรอบแม่พิมพ์ไปถึงซุ้มครอบแก้วนั้นมีเนื้อที่ไม่เท่ากัน ทำให้เรารู้จากการสังเกตได้ว่าเส้นของกรอบแม่พิมพ์ซ้าย-ขวาก็ไม่เหมือนกัน เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือเรานั้นจะวิ่งยาวลงมาจนถึงขอบของฐานซุ้มครอบแก้วด้านล่าง ส่วนเส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านขวามือเรานั้น วิ่งลงมาไม่ตลอดจนจรดขอบฐานซุ้มครอบแก้วด้านล่าง แต่มาจรดซุ้มครอบแก้วก่อนจะถึงด้านล่างของซุ้มครอบแก้ว ก็ทำให้เราใช้เป็นข้อสังเกตของแม่พิมพ์พระได้ เรื่องของกรอบแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 แม่พิมพ์จะเหมือนกันหมด ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยในด้านอื่นๆ แตกต่างกันเล็กน้อย เช่น พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์ที่มีเส้นแซมใต้ตัก แม่พิมพ์เกศทะลุซุ้ม แม่พิมพ์อกกระบอก แม่พิมพ์อกวี เป็นต้น

เรื่องของกรอบแม่พิมพ์และธรรมชาติการผลิตข้อเดียวก็หมดเนื้อที่แล้ว ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ก็ยังมีอีกมาก ทั้งองค์เลยครับ แต่ถ้าเราศึกษาอย่างถูกต้องเราก็จะสามารถแยกแยะได้ครับ ค่อยๆ ศึกษาหารายละเอียดไปเรื่อยๆ ก็จะพบไปเรื่อยๆ เช่นกันครับ ที่ผมนำมาเล่านั้นผมเองก็ได้รับการสั่งสอนมาจากครูบาอาจารย์ รุ่นเก่าๆ ที่เขาได้เก็บรวบรวมส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่น ที่ได้รับผลการพิสูจน์แล้วว่าถูกต้องจากการเปรียบเทียบกับพระแม่พิมพ์เดียวกันหลายๆ องค์ครับ  




เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง รุ่นแรก หลังยันต์ 4 บล็อก 3 จุด ปี2467 ข้างเลื่อย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อวันก่อนผมได้พูดคุยถึงเรื่องรายละเอียดของแม่พิมพ์และธรรมชาติที่เกิดจากการสร้างพระนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรจะเรียนรู้ถ้าเราอยากจะพิจารณาพระเครื่องนั้นว่าแท้หรือไม่อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้ และเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ด้วยเหตุและผลครับ

ครั้งที่แล้วผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์อกวี และได้พูดถึงเส้นกรอบแม่พิมพ์ซึ่งทำให้เราได้รู้ว่า แม่พิมพ์พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่วัดระฆังฯ นั้น เมื่อกดพิมพ์เสร็จแล้วจะต้องมีการตัดขอบด้วยมืออีกทีหนึ่ง ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงทำให้ขอบขององค์พระจึงไม่ค่อยเท่ากัน มีการตัดชิดกรอบแม่พิมพ์บ้าง เหลือขอบข้างบ้าง อาจจะมีโย้บ้างไม่เท่ากันเสมอไป

นอกจากนี้ร่องรอยด้านข้างก็จะปรากฏการตัดขอบให้เห็นถ้าพระยังสมบูรณ์จะมีริ้วรอยเป็นเส้นเสี้ยนคล้ายรอยตอกตัดให้เห็นอยู่ ทั้งหมดนี้ก็คือธรรมชาติการสร้างพระของพระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม ด้านหลังของพระสมเด็จทั้งของวัดระฆังฯ และพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมก็เช่นกัน จะมีร่องรอยของการสร้างพระให้เห็นอยู่

ซึ่งก็เป็นธรรมของการสร้างพระในยุคนั้นของทั้ง 2 วัด ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญของการพิจารณาด้วยเช่นกันครับ ด้านหลังของพระสมเด็จฯ นั้นเกิดขึ้นจากธรรมชาติของการผลิตซึ่งไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดขึ้น และสิ่งนี้เองทำให้พระที่ทำปลอมเลียนแบบทำได้ไม่เหมือนครับ ด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังฯ

เท่าที่เห็นมาและจากการสั่งสอนของผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่อง ชี้แนะว่า ด้านหลังเท่าที่เห็นมีอยู่ 4 แบบคือ แบบหลังเสี้ยนหรือที่เรียกว่าหลังกาบหมาก หลังเรียบ หลังกระดาน และหลังสังขยา โดยท่านนำลักษณะความคล้ายกับสิ่งต่างๆ มาเปรียบเทียบให้เข้าใจ ส่วนด้านหลังของพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมจะพบ ด้านหลังแบบหลังกระดาน หลังสังขยา และหลังเรียบเป็นส่วนใหญ่

ครับสิ่งเหล่านี้ก็คือธรรมของการสร้างหรือการผลิต ร่องรอยเหล่านี้ถือเป็นจุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการพิจารณาพระทุกชนิดว่าแท้หรือไม่ นอกเหนือไปจากเรื่องของแม่พิมพ์ และเนื้อพระ ทุกอย่างเป็นเรื่องสำคัญในการพิสูจน์ว่าพระนั้นๆ แท้หรือไม่ พระประเภทอื่นก็เช่นกันครับ

เมื่อพิจารณาแล้วว่าพิมพ์ของพระ ถูกต้อง เนื้อถูก สิ่งต่อไปก็คือการพิจารณาธรรมชาติของการสร้างพระนั้นๆ ขั้นตอนในการผลิตสิ่งของหรือแม้กระทั่งพระเครื่องที่มีแม่พิมพ์ก็ไม่พ้นเรื่องขั้นตอนการผลิต เนื่องจากขั้นตอนในการผลิตนั้นในแต่ละยุคแต่ละสมัยนั้นแตกต่างกันไปตามกาลเวลา
 
ผมขอยกตัวอย่างขั้นตอนการผลิตเหรียญอีกอย่างหนึ่ง การผลิตเหรียญพระ เท่าที่ทราบเหรียญพระเครื่องนั้นที่มีการระบุ พ.ศ.ชัดเจนก็เริ่มมีในปี พ.ศ.2440 เราก็ต้องศึกษาว่าการผลิตเหรียญในยุคนั้นเขาสร้างกันอย่างไร เท่าที่ศึกษามาการผลิตเหรียญในยุคเก่าๆ นั้น เครื่องมือที่ปั๊มเหรียญยังไม่มีเครื่องไฮดรอลิกในการปั๊มกระแทก มีแต่เครื่องมือที่เรียกกันว่าข้อเสือ

โดยใช้แรงคนเหวี่ยงและมีลูกตุ้มหมุนอยู่ด้านบนเพื่อให้เกิดแรงกระแทกลงมาเพื่อปั๊มขึ้นรูป เหรียญพระในสมัยก่อนเราจึงเห็นว่าส่วนใหญ่จะเป็นการแกะแม่พิมพ์ตื้นๆ เนื่องจากง่ายกับการปั๊ม การตัดขอบข้างก็จะเห็นว่ามีอยู่แค่ 2 แบบ คือแบบที่เรียกว่าขอบกระบอก และแบบข้างเลื่อยเท่านั้น จนกระทั่งมาถึงประมาณปี พ.ศ.2480 กว่าๆ

จึงจะเห็นการตัดขอบแบบบล็อกตัดขอบ ขั้นตอนการผลิตก็จะปรากฏให้เราเห็นและพิสูจน์ได้ เนื่องจากขอบข้างของเหรียญในแต่ละเหรียญในรุ่นเดียวกัน หลวงพ่อเดียวกันขอบก็จะเหมือนกันหมด เพราะโรงงานเขาก็จะสร้างขอบของเหรียญให้กับเหรียญที่มาสั่งทำเป็นรุ่นๆ ไป จะไม่มีซ้ำกันเลย


สิ่งเหล่านี้ก็เป็นข้อพิสูจน์สำคัญของการพิจารณาเหรียญพระครับ ขอบข้างของเหรียญก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ปรากฏร่องรอยของธรรมชาติในการผลิตครับ พระเครื่องทุกชนิดจะปรากฏร่องรอยของการผลิตให้เห็น และทำปลอมเลียนแบบได้ไม่เหมือน จึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่สำคัญมากๆ ครับ

ครับทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็อยากจะให้ท่านที่กำลังศึกษาพระเครื่องได้เข้าใจ และไม่ละเลยในการศึกษาธรรมชาติที่เกิดจากการผลิตหรือการสร้างพระนั้นๆ ครับ

วันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง รุ่นแรกหลังยันต์ 4 บล็อก 3 จุด ปี พ.ศ.2467 ข้างเลื่อยมาให้ชมครับ



ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 เมษายน 2561 12:41:28 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #75 เมื่อ: 26 เมษายน 2561 16:16:40 »


พระปรกโพธิ์ เชียงแสน พิมพ์เล็ก

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าหลายอย่างที่ปัจจุบันไม่ค่อยได้พูดถึงกันนัก อาจจะด้วยสาเหตุหลายอย่าง เช่น พระกรุพระเก่าที่นิยมกันมาแต่อดีตนั้นหาพระยาก และไม่ค่อยมีการหมุนเวียนในสังคมพระเครื่องนัก เรื่องราวประวัติความเป็นมาก็ไม่ค่อยมีเผยแพร่กันนัก อีกประการที่ค่อนข้างสำคัญคือมีการปลอมแปลงกันมาก และผู้นิยมสะสมไม่ค่อยสามารถจะแยกแยะพระแท้กับพระปลอมได้ ในเรื่องของพระแท้ที่เป็นตัวอย่างในการศึกษานั้นก็ไม่ค่อยมีหมุนเวียนในสนามพระ จึงทำให้ไม่ค่อยได้เห็นแบบอย่างพระแท้เป็นอย่างไร ความนิยมที่จะเสาะหาก็เริ่มซาๆ ตามไปด้วย

ผมเองก็เป็นคนรุ่นเก่า และก็ชื่นชอบพระกรุพระเก่าต่างๆ ในสมัยที่ผมเริ่มศึกษาพระเครื่องนั้นก็ยังพอที่จะพบเห็นหรือขอความรู้จากผู้หลักผู้ใหญ่ได้ และก็ได้มีโอกาสดูของจริง ที่ผมชอบพระกรุพระเก่าสมัยต่างๆ นั้นมีอยู่หลายสาเหตุ และสาเหตุหนึ่งที่ได้จากการพิจารณาพระกรุพระเก่านั้นก็คือ ศิลปะต่างๆ ในพระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าในยุคต่างๆ

ซึ่งแต่ละยุคก็มีเอกลักษณ์ของยุคสมัย เอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละท้องถิ่นด้วย ลักษณะเนื้อหาในแต่ละยุคแต่ละท้องถิ่น ความเก่าตามธรรมชาติในแต่ละยุคสมัย ธรรมชาติการผลิตในแต่ละยุค เมื่อเริ่มศึกษาก็ยิ่งสนุกและเพลิดเพลิน ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากผู้หลักผู้ใหญ่ และนักวิชาการต่างๆ สิ่งเหล่านี้ได้รับเพิ่มเติมจากพุทธคุณต่างๆ ในพระแต่ละชนิด บางอย่างก็แฝงด้วยประวัติศาสตร์และโบราณคดีแถมอีกด้วย

พระกรุพระเก่าอย่างหนึ่งที่เงียบหาย ไปนาน ซึ่งในสมัยก่อนเป็นที่นิยมและหายากก็คือพระปรกโพธิ์เชียงแสนพิมพ์เล็ก พระเชียงแสนพิมพ์ปรกโพธิ์อาจจะพอพบเห็นได้อยู่หลายพิมพ์ แต่โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดค่อนข้างเขื่อง และมีอยู่หลายแบบพิมพ์หลายกรุในเขตอำเภอเชียงแสน พระทั้งหมดที่พบอยู่ในเขตอำเภอเชียงแสนนั้นจะมีศิลปะแบบล้านนาสกุลช่างเชียงแสน

อายุการสร้างของพระเครื่องสกุลเชียงแสนนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในราวๆ ยุคอยุธยาตอนต้นหรือสุโขทัยตอนปลาย เนื้อพระที่พบมากจะเป็นพระเนื้อชินตะกั่ว มีสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ และพระที่พบมักจะทำเป็นพระแบบปรกโพธิ์ พระแบบลีลาก็มีพบบ้าง พระที่อยู่ในซุ้มเรือนแก้วก็มี

แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ ซึ่งพิมพ์ปรกโพธิ์ก็มีอยู่หลายพิมพ์ หลายแบบ พระปรกโพธิ์แบบหนึ่งที่ค่อนข้างหายากคือพระพิมพ์ปรกโพธิ์เล็ก เนื้อตะกั่วสนิมแดง ในสมัยก่อนนั้นนิยมกันมากและหายาก ปัจจุบันหารูปก็ยังแทบไม่ค่อยพบ พระปรกโพธิ์เชียงแสนในอดีตเชื่อกันว่าดีทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์ ความอุดมสมบูรณ์ อยู่เย็นเป็นสุข และอยู่คง แคล้วคลาด

พระปรกโพธิ์เชียงแสนโดยส่วนใหญ่จะมีขนาดเขื่อง ในปัจจุบันจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่พระปรกโพธิ์เชียงแสนพิมพ์เล็กมีขนาดเล็กกะทัดรัด เหมาะที่จะนำมาเลี่ยมห้อยคอ แต่ก็จำนวนพระที่พบน่าจะมีจำนวนน้อย เพราะหายากมาแต่โบราณแล้ว นานๆ จะพบเห็นสักองค์หนึ่ง

วันนี้ผมได้นำรูปพระปรกโพธิ์เชียงแสนพิมพ์เล็ก จากหนังสือชมรมพระเครื่องแม่จัน มาให้ชมครับ  
  ด้วยความจริงใจ  แทน ท่าพระจันทร์



เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเพชร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์ที่ทางชาวสุราษฎร์เคารพนับถือมากรูปหนึ่งก็คือ หลวงพ่อเพชร วัดวชิรประดิษฐ์ เหรียญรูปท่านรุ่นแรกหายากมากและสนนราคาสูง

หลวงพ่อเพชร  เกิดที่บ้านประตูไชยเหนือ ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โยมบิดาชื่อนายขาว โยมมารดาชื่อนางกิมล้วน เกิดเมื่อปี พ.ศ.2395 เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้นำท่านไปฝากเรียนในสำนักของท่านพระครูการาม(จู) วัดมเหยงค์ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

พออายุได้ 13 ปี จึงได้ขอลาอาจารย์มาอาศัยอยู่ที่บ้านพระสิริธรรมบริรักษ์ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในขณะที่อาศัยอยู่กับพระสิริธรรมบริรักษ์ ก็ได้ช่วยกิจการหลายอย่าง และภารกิจหนึ่งที่สำคัญก็คือครั้งหนึ่งเกิดคนจีนยึดเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นหัวเมืองของไทยตอนใต้ ท่านเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชทราบข่าว จึงได้ส่งท่านพร้อมพรรคพวกจำนวนหนึ่งไปปราบ จนกระทั่งได้รับชัยชนะ

ต่อมาเมื่ออายุได้ 30 ปี บิดามารดาถึงแก่กรรม ท่านจึงได้ลาออกจากบ้านพระสิริธรรมบริรักษ์กลับมาประกอบอาชีพอยู่ที่บ้าน และได้มีโอกาสไปศึกษาเล่าเรียนกับพระอาจารย์ในด้านวิทยาคมอยู่ยงคงกระพันและอื่นๆ ครั้นอายุได้ 42 ปี ท่านเกิดความเบื่อหน่ายจึงออกเดินทางเพื่อจะไปเยี่ยมน้องชายที่อยู่ที่กรุงเทพฯ

แต่เดินทางมาถึงแค่บ้านดอน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ก็เกิดอาการเจ็บป่วยเสียก่อน จึงไม่สามารถเดินทางต่อได้ ได้เข้าไปพักอาศัยและรักษาตัวกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดไทร จนกระทั่งหายป่วย ท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดกลางบ้านดอน
 
โดยมี พระครูสุวรรณรังสี(มี) เจ้าอาวาสวัดกลาง อ.เมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกากล่อม วัดโพธิ์ไทรงาม (วัดโพธาวาส ปัจจุบัน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดไทร เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อินทโชติ” และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอธิการแดงเป็นเวลา 2 พรรษา

ในปี พ.ศ.2442 ชาวบ้านเฉงอะ เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติของท่าน จึงได้พากันมานิมนต์หลวงพ่อเพชรไปจำพรรษาอยู่ที่วัดดอนตะเคียน(วัดวชิรประดิษฐ์ ในปัจจุบัน) เมื่อหลวงพ่อเพชรได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดดอนตะเคียน ท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรืองจนทุกวันนี้ ชาวบ้านก็เคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงพ่อเพชรมาก

ต่อมาในปี พ.ศ.2448 ทางวัดก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีฐานะเป็นวัดโดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีชื่อว่า “วัดวชิรประดิษฐ์”  และหลวงพ่อเพชรก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดวชิรประดิษฐ์ หลวงพ่อเพชรสร้างพระอุโบสถได้สำเร็จในปีเดียวกัน ในปี พ.ศ.2453 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเจ้าคณะแขวงกาญจนดิษฐ์ พ.ศ.2461 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูประกาศิตธรรมคุณ”

หลวงพ่อเพชรเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตร โอบอ้อมอารี มีเมตตาธรรมสูง ช่วยเหลือชาวบ้านและประชาชนโดยทั่วไป ไม่เลือกชั้นวรรณะ และเป็นคนพูดจริงทำจริง มีวาจาสิทธิ์ เป็นที่รักเคารพของชาวสุราษฎร์ธานีและชาวใต้เป็นอย่างมาก หลวงพ่อเพชรมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 85 ปี พรรษาที่ 42 คณะศิษย์ได้บำเพ็ญกุศล 3 วัน และเก็บศพไว้จนถึงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2481 จึงได้จัดให้มีการพระราชทานเพลิง ที่วัดวชิรประดิษฐ์

เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเพชร เท่าที่พบเป็นเหรียญเนื้ออัลปาก้า และเป็นเหรียญนิยมของชาวใต้ หายากในปัจจุบันและมีราคาสูงครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเพชร มาให้ชมครับ
 ด้วยความจริงใจ  แทน ท่าพระจันทร์



พระหลวงพ่อโต กรุวัดป่ามะม่วง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่มีชื่อเรียกว่า หลวงพ่อโต มีอยู่หลายกรุหลายวัด โดยส่วนใหญ่มักจะเรียกพระเครื่องที่มีขนาดค่อนข้างเขื่องหน่อย เช่น พระเนื้อดินก็จะมี หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง อยุธยา หลวงพ่อโต วัดป่ามะม่วง สุโขทัย

ส่วนหลวงพ่อโตที่เป็นพระพุทธรูปและเป็นพระประธานในพระอุโบสถก็มีอยู่หลายวัด เช่น หลวงพ่อโต วัดบางพลี หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง หลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น หลวงพ่อโตที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถก็มีการทำเป็นพระเครื่องต่างๆ ทุกวัดเช่นทำเป็นเหรียญ บ้างทำเป็นพระหล่อบ้าง ทุกอย่างล้วนได้รับความนิยมและเคารพศรัทธามาก

วันนี้ผมขอพูดคุยถึงพระหลวงพ่อโต ที่เป็นพระกรุพระเก่า ที่เราๆ อาจจะลืมๆ กันไปบ้างเช่น พระหลวงพ่อโต กรุวัดป่ามะม่วง สุโขทัย วัดป่ามะม่วงเป็นวัดในสมัยสุโขทัย และเป็นวัดที่ใช้แสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนทั้งปวงในสมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ และที่วัดป่ามะม่วงนี้ต่อมาก็ได้มีการบูรณะและพบพระเครื่องเนื้อดินขนาดเขื่อง เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยที่งดงาม มีเส้นซุ้มเป็นเส้นคู่ 2 เส้น ด้านหลังของพระจะอูมๆ ผิวของพระมีสีแดงอิฐเป็นส่วนใหญ่ที่เป็นสีดำก็พบอยู่บ้าง นอกจากพบที่วัดป่ามะม่วงแล้วยังพบพระแบบเดียวกันอีกที่วัดสระศรีอีกด้วย

พระทั้ง 2 กรุจะมีลักษณะคล้ายๆ กันมาก เพียงแต่ของวัดสระศรีส่วนมากขอบชิดกว่าของวัดป่ามะม่วง พระหลวงพ่อโตของสุโขทัยในสมัยก่อนนั้นจะนิยมกันมาก เนื่องจากมีผู้ได้รับประสบการณ์ต่างๆ เช่น อยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดสูง และได้รับความนิยมในอดีต แต่พระแท้ๆ ก็หายากเช่นกัน

ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ที่สวยสมบูรณ์หายากครับ เนื่องจากในสมัยก่อนมักจะห้อยติดตัวด้วยการถักลวดหรือไม่ก็เลี่ยมจับขอบ พระจึงสึกกร่อนไปตามสภาพ พระที่ผ่านการใช้ในลักษณะนี้ก็จะมีเนื้อที่สวยเป็นมันหนึกนุ่ม และเป็นที่นิยมในสมัยก่อน แต่ก็จะเสียความสมบูรณ์เนื่องจากการสัมผัส

พระส่วนใหญ่ที่พบในช่วงหลังๆ นี้จึงเป็นพระที่อยู่ในสภาพผ่านการใช้เป็นส่วนใหญ่ จะหาพระที่ไม่ได้ผ่านการใช้และสวยสมบูรณ์ยากครับ ในปัจจุบันมักจะชอบพระที่มีการอนุรักษ์มาดี มีสภาพสมบูรณ์ผิวพระอยู่ครบ จึงค่อนข้างหายากในปัจจุบัน เพราะในสมัยก่อนนิยมเลี่ยมจับขอบหรือถักลวดใช้ทำให้พระมีการสัมผัสกับตัวตามความเชื่อในสมัยนั้น ก็ทำให้ผิวพระหรือความสมบูรณ์ถดถอยลงไปครับ

พระหลวงพ่อโต กรุวัดป่ามะม่วงมีความนิยมมาก่อนพระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง แต่เมื่อหายากขึ้น และต่อมาได้มีการพบพระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง มีผู้นำไปใช้ห้อยคอและมีประสบการณ์เฉกเช่นเดียวกันคือเด่นอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด อีกทั้งมีการพบจำนวนมากกว่า จึงได้รับความนิยมกันต่อมา

ในปัจจุบันพระหลวงพ่อโต กรุวัดป่ามะม่วง หรือพระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง หาพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้วตามระเบียบ พระอะไรก็ตามเมื่อมีความนิยมเสาะหาก็จะมีผู้ที่ทำปลอมเลียนแบบออกมาทันทีครับ ยิ่งในปัจจุบันการทำปลอมทำได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นการจะเช่าหาก็ควรจะพิจารณาให้ดี ดูไม่เป็นก็ควรจะเช่าหาจากผู้ที่เชื่อถือได้ไว้ก่อนครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระหลวงพ่อโต กรุวัดป่ามะม่วง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
 ด้วยความจริงใจ  แทน ท่าพระจันทร์



พระลีลา วัดถ้ำหีบ

พระปางลีลา ถือเป็นศิลปกรรมยุคทองของสุโขทัย ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับกลุ่มเมืองที่เผยแผ่อิทธิพลถึงกันแล้ว นับได้ว่ามีความงามยิ่งกว่าพระแถบกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก หรือสุพรรณบุรีเสียอีก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ “พระลีลากำแพงศอกสุโขทัย” ที่ไปฝากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เป็นต้น และที่สุโขทัยเองก็มีพระลีลาน่าสนใจอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ “พระลีลา วัดถ้ำหีบ”

พระลีลา วัดถ้ำหีบ เป็นพระกรุเก่าแก่ของจังหวัดสุโขทัยที่ได้รับการยกย่องว่ามีพุทธลักษณะงดงามมาก ลายเส้นมีความอ่อนไหว ชัดเจน และกลมกลืนกันอย่างหาที่ติไม่ได้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์แห่งศิลปะสกุลช่างสุโขทัยบริสุทธิ์โดยแท้ แต่ถึงแม้จะมีถิ่นกำเนิดที่สุโขทัย แต่ก็หาได้ยากยิ่งและไม่ค่อยแพร่หลายในสุโขทัยนัก สันนิษฐานว่า หลังจากการขุดค้นพบน่าจะนำออกมากระจายนอกเขตจังหวัดและในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ ด้านของพุทธคุณนั้นเป็นเลิศทั้งโภคทรัพย์และเมตตามหานิยมเป็นที่ปรากฏ ทำให้ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สนนราคาเช่าหาค่อนข้างสูงมาก
พระลีลา วัดถ้ำหีบ มีการค้นพบภายในถ้ำบริเวณวัดร้างบนเขากิ่วอ้ายมา จ.สุโขทัย ซึ่งเดิมชื่อ “วัดถ้ำหีบ” วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่ไม่ได้รับการบูรณะจนเหลือเพียงซากปรักหักพัง ไม่หลงเหลือร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองในอดีตเลย ชาวบ้านขึ้นเขาไปเพื่อหามูลค้างคาว พอเข้าถ้ำพบไหเคลือบหลายใบ เมื่อเปิดออกดูจึงพบ “พระปางลีลา” ลักษณะเป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก รูปทรงยาวรียอดแหลม ขนาดเขื่อง สูงประมาณ 8.5 ซ.ม. ฐานกว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. รูปกรอบดูมีสองชั้น
ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหยาบและละเอียด บางองค์มีการล่องชาดและปิดทองมาแต่ในกรุ เนื้อพระออกผิวเหลืองนวล ดูเหมือนพระใหม่หรือหม้อใหม่ แสดงว่าองค์พระไม่เคยสัมผัสอากาศภายนอกเลย เนื้อมีความแกร่ง โดยเฉพาะสีแดงจะแกร่งมากกว่าสีเหลือง เมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวาน และจากที่เป็นพระที่อยู่ในกรุเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี จึงปรากฏคราบนวลดินบางๆ เกาะติดอยู่บนผิวขององค์พระเช่นเดียวกับพระเนื้อดินทั่วไปอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญ

ดังนั้น นอกจากจะพิจารณาพุทธลักษณะขององค์พระแล้ว ต้องสังเกตที่ “คราบของนวลดิน” บนองค์พระ อันถือได้ว่าเป็น “จุดตาย” ภายในไหยังพบพระเนื้อชินและเนื้อว่านที่มีพุทธลักษณะเหมือนกัน แต่มีจำนวนน้อยมาก “พระลีลา วัดถ้ำหีบ” ยังมีการค้นพบที่กรุวัดเจดีย์งามและวัดเขาพระบาทน้อย อีกด้วย

พุทธลักษณะองค์พระประทับยืน แสดงปางห้ามพระไม้แก่นจันทน์ เหนือฐานหมอนชั้นเดียว พระบาทข้างซ้ายทรงอยู่ ส่วนข้างขวายกขึ้นเล็กน้อย ในลักษณะการลีลาก้าวย่าง พระกรข้างขวาทอดลงตามลำพระองค์ พระกรข้างซ้ายยกขึ้นเหนือพระอุระและผายฝ่าพระหัตถ์ออก เห็นรอยชายสบงและชายจีวรด้านล่าง โดยเฉพาะชายจีวรที่ซ้อนทบกันอย่างมีมิติ พระเกศเฉียงไปด้านซ้ายขององค์พระ หากใช้กล้องส่องดูจะเห็นฐานพระเมาลีเหนือพระนลาฏ (หน้าผาก) มีเส้นขีดเป็นไรพระศก พระพักตร์เป็นหน้านางศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ พระเนตรเป็นเนตรเนื้อลักษณะรี ที่ลำพระศอมีรอยนูนคล้ายสร้อยพระศอค่อนข้างชัดเจน น้ำหนักเส้นสายต่างๆ แลดูอ่อนไหว นับเป็นพระปางลีลาที่มีความงดงามมาก

ส่วนด้านหลัง เป็นหลังเรียบ จะเห็นลายผ้าดิบจากการกดพิมพ์ด้วยมือ ซึ่งเป็นรอยสูงต่ำไม่เรียบเสมอกันคล้ายๆ ลายมือ จึงมักเรียกกันว่า “หลังลายมือ” สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์ข้างเม็ด

สำหรับของทำเทียมเลียนแบบนั้นทำกันมาเนิ่นนานแล้ว ยิ่งพระเนื้อแกร่งยิ่งทำได้ใกล้เคียงมาก ถ้าไปเห็นเนื้อพระสีเขียวเมื่อไหร่ให้ระวังไว้ด้วย เพราะส่วนใหญ่แล้วของปลอม เนื้อจะขรุขระไม่เรียบ มักมีเม็ดโปนขึ้นมาเหมือนตัวหมัด และของปลอมจะหดตัวทั้งเนื้อและเส้นสายจะเล็กกว่าของจริง

จุดสังเกตสำคัญ คือบนพื้นที่ช่องว่างของเรียวพระบาทหรือหว่างขาด้านล่างนั้น จะมีเส้นตรงปรากฏอยู่ชัดเจน เดิมทีคงเป็นเส้นชายจีวรแต่ติดเฉพาะเส้นเรียวบาง ซึ่งมักถอดพิมพ์ไม่ติดครับผม
 ราม  วัชรประดิษฐ์



พระร่วงยืน-พระร่วงนั่ง กรุวัดกลาง

จังหวัดนครปฐม นอกจากจะมีพระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษมากมายหลายรูป ที่สร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลังอันลือเลื่องมาตั้งแต่อดีตสืบจนปัจจุบันแล้ว ยังเป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ครั้งอาณาจักรทวารวดี ซึ่งเคยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด

รวมถึงวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมและยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทยอีกมากมาย รวมทั้ง “พระกรุเก่า 2 พิมพ์” ที่จะกล่าวถึงนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็น “พระหลักสำคัญคู่เมืองนครปฐม” ที่ได้รับความนิยมและแสวงหามากที่สุด โดยเฉพาะในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา

แต่ก็หาได้ยากยิ่ง ด้วยจำนวนพระมีน้อยมาก และผู้มีไว้ต่างหวงแหน ปัจจุบันแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก อันได้แก่ “พระร่วงยืน เนื้อตะกั่วสนิมแดง” และ “พระร่วงนั่งข้างรัศมี เนื้อตะกั่วสนิมแดง” กรุวัดกลาง
ย้อนไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.2495 ณ บริเวณเนินดินภายในพระอาราม วัดกลาง หรือที่เรียกกันว่า “วัดร้าง” ต.บ่อพลับ โบราณสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดนครปฐม ที่ปัจจุบันแทบไม่หลงเหลือซากปรักหักพังให้ได้พบเห็น

ได้มีการขุดค้นพบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดง มีทั้งพระบูชาและพระเครื่อง ทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน รวมทั้งพระแผ่นพิมพ์สมัยทวารวดี พระแผงศิลปะสมัยศรีวิชัย
 
แต่ที่เป็นที่สะดุดตาและกลายเป็นที่นิยมที่สุด คือ “พระร่วงยืน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง” และ “พระร่วงนั่งข้างรัศมี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง” ซึ่งนอกเหนือจากพุทธคุณที่ปรากฏเป็นเลิศแล้ว อาจเป็นด้วยความโดดเด่นในพุทธลักษณะ และจำนวนพระที่พบมีน้อยมาก จึงมีผู้สนใจต้องการสะสมเป็นจำนวนมากก็เป็นได้

พระร่วงยืน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง กรุวัดกลาง เป็นพระศิลปะลพบุรียุคต้นๆ ที่สร้างล้อพิมพ์ทวารวดี ไม่ใช่พระที่สร้างในสมัยทวารวดีโดยตรง ขนาดค่อนข้างเขื่อง ความสูงขององค์พระอยู่ประมาณ 7-8 ซ.ม. ความกว้างประมาณ 2.2 ซ.ม.พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางประทานพร ยกพระหัตถ์ขวาประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ซ้ายทอดขนานกับลำพระองค์ ตัดกรอบชิดลำพระองค์ แลดูอ่อนช้อยแต่แฝงด้วยความเข้มขลังและสง่างาม ทั้งหมดที่พบเป็นพระแบบไม่มีปีกข้าง มี 2 พิมพ์ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก

พระร่วงนั่งข้างรัศมี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง กรุวัดกลาง เป็นพระศิลปะลพบุรียุคต้นๆ ที่สร้างล้อทวารวดีเช่นกัน ความสูงประมาณ 3.2-4 ซ.ม. กว้างประมาณ 1.8 ซ.ม. พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย อยู่เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น ขอบ (ปีก) ขององค์พระเป็นรัศมีอยู่ทั้งสองข้าง เสมือนองค์พระเปล่งรัศมีเจิดจ้าสง่างามและเข้มขลังในที มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ซึ่งนอกจากจะพบที่กรุวัดกลางแล้ว ยังปรากฏพบที่ “กรุวัดพระประโทน” อีกด้วย แต่มีจำนวนน้อยมาก และมีพระที่เป็นเนื้อชินเงินอีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มากนัก

พระร่วงยืน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และพระร่วงนั่งข้างรัศมี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง นับเป็นพระเนื้อชินตะกั่วที่งดงามมาก เนื้อสนิมแดงเข้มจัดไขขาวหนาคลุมทั่วองค์พระ บริเวณพื้นผิวขององค์พระจะมีขี้กรุบางๆ แลดูสวยซึ้ง อีกทั้งด้านพุทธคุณก็ไม่เป็นสองรองใครเฉกเช่น “พระร่วง” ทุกกรุ โดยเฉพาะด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีฉมังนัก และด้วยความที่องค์พระมีจำนวนน้อยมาก

นอกเหนือจากพระทั้ง 2 พิมพ์นี้แล้ว ยังมี พระอื่นๆ อีกหลายพิมพ์ ทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน

ซึ่งก็เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาเช่นกัน โดยค่านิยมลดหลั่นกันลงมาครับผม
 ราม  วัชรประดิษฐ์



พระกรุเก่า วัดชนะสงคราม

วัดชนะสงคราม เดิมเป็นวัดโบราณ เล็กๆ ชื่อ “วัดกลางนา” ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยาให้มากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็น “วัดตองปุ” และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา

ต่อมา กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นแม่ทัพไปสู้รบกับพม่าชนะศึกกลับมาทรงพักทัพ ณ วัดนี้ ทรงทำพิธีสรงน้ำเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ทรงถอดฉลองพระองค์ซึ่งลงยันต์ถวายเป็นพุทธบูชา พร้อมทรงอนุญาตแม่ทัพนายกองเช่นกัน ทรงสถาปนาวัด ขยายพระอุโบสถ และนำช่างฝีมือมาปั้นปูนทับเสื้อยันต์แล้วบุภายนอกด้วยดีบุกถวายเป็นพระอารามหลวง

กล่าวถึงพระกรุวัดชนะสงครามนั้น ตามหลักฐานปรากฏเกี่ยวกับการสร้างและการค้นพบสามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 ชุด ดังนี้

ชุดที่ 1 พระวังหน้า ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2496 โดยพระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส) เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามสมัยนั้น ได้ขุดพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นองค์ประธาน ปรากฏพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินดิบผสมผงใบลานสีดำ บางองค์เป็นเงางาม ลวดลายเครือเถาชัดเจน เนื้อยุ่ย หักง่าย มีที่เป็นเนื้อดินเผาบ้าง แต่จำนวนน้อยและหายากมาก สีองค์พระจะคล้ายสีหม้อใหม่ มีจุดดำๆ ขึ้นทั่วไป โดยหลักฐานการสร้างและการบรรจุพระเครื่องชุดนี้ เป็นไม้แกะสลักรูปพระสงฆ์ห่มดอง คาดอก นั่งสมาธิ และลงรักปิดทอง ที่ใต้ฐานบรรจุพระธาตุพระอัครสาวกโมคคัลลาน์ ใบลานจารึกอักษรขอมเลอะเลือนผุกร่อน อ่านไม่ชัดเจน พระทองคำทรงแบบวัดตะไกรหน้าครุฑ จึงสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ปัจจุบันเท่าที่พบในวงการมีน้อยมาก คาดว่าน่าจะเป็นที่หวงแหนของผู้ครอบครอง ค่านิยมจึงค่อนข้างสูงมาก

ชุดที่ 2 พระพิมพ์สมเด็จ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2515 ที่ใต้ฐานชุกชีประดิษฐานพระประธาน พบพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งพิมพ์ เนื้อ และขนาด หลายพิมพ์เช่นกัน เนื้อองค์พระสร้างจากผงพระเกสร ดังนั้น บางองค์เนื้อจะพองฟู บางองค์เนื้อแกร่ง และบางองค์เนื้อจะยุ่ยแบบผุ ที่น่าสังเกตอีกประการคือ พระทุกพิมพ์จะค่อนข้างหนา พิมพ์ใหญ่ จะมีลักษณะพิมพ์คล้ายสมเด็จอรหัง ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) แต่ขนาดเล็กกว่า จากการพิจารณาองค์พระแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพิมพ์ที่สร้างในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) หรือก่อนหน้านั้น

และชุดที่ 3 พระเครื่องหลังสงคราม สร้างโดย ท่านพระครูอุดมวิชัย (ทองม้วน ป.ธ.5) เมื่อปี พ.ศ.2491 เป็นพระเนื้อผง พิมพ์พระประจำวัน 8 ปาง พระสีวลี และพระพุทธกวัก โดยมวลสารเป็นผงพุทธคุณจากพระเกจิชื่อดังทั่วประเทศ ผงของพระพิมพ์จากกรุต่างๆ และดอกไม้นานาชนิดที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาพระประธานในพระอุโบสถ รวมทั้งผงและพระหักป่นกรุวัดชนะสงคราม (วังหน้า) ที่ได้สะสมไว้ น้ำซึ่งเป็นส่วนผสมการสร้างพระก็ใช้เฉพาะน้ำพระพุทธมนต์ร้อยปีในพระอุโบสถตรงหน้าพระประธาน น้ำพุทธมนต์ในพระบรมมหาราชวัง และน้ำพระพุทธมนต์จากพระอารามต่างๆ

เมื่อสร้างเป็นองค์พระเรียบร้อยแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกตลอดไตรมาส โดยอาราธนาพระเกจิผู้เรืองเวทวิทยาคุณและเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในยุคนั้นจากภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทยรวม 108 รูป เข้าร่วมพิธีปลุกเสก ลักษณะองค์พระไม่นูนมากนัก บางองค์มีจุดสีแดง สีดำ และสีชมพู เนื้อละเอียดแข็งเปราะ เมื่อขัดถูจะมันเงาสวยงาม

พระกรุวัดชนะสงครามทั้ง 3 ชุดนี้ ถือเป็นพระกรุเก่าที่เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง เพราะนอกจากชื่ออันเป็นมงคลแล้ว พุทธคุณยังเป็นเลิศ เป็นที่ประจักษ์ สมัยก่อนราคายังพอแตะได้ แต่ ณ ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากนักครับผม
 ราม  วัชรประดิษฐ์




เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อห่วง

พระครูสิริวุฒาจารย์ หรือ หลวงพ่อห่วง สุวณฺโณ วัดท่าใน อีกหนึ่งพระเกจิชื่อดังแห่งเมืองนครปฐม ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชน กระทั่งพระเกจิดังด้วยกันอย่าง “หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม”  ยังให้ความเคารพนับถือ

… ย้อนไปสมัยยังหนุ่มแน่น พระเกจิ 3 รูปจะออกธุดงค์ร่วมกันเสมอทุกปีมิได้ขาด ประกอบด้วย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน และหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม ครั้งหนึ่งขณะที่เดินธุดงค์ผ่านเข้าไปในป่าดงดิบแถบกาญจน บุรี ไปพบกระทิงโทนตัวหนึ่ง มันไล่ขวิดเข้าทำร้าย หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อเต๋ได้เดินหลบไป แต่หลวงพ่อห่วงกลับไม่หลบ ยังคงยืนภาวนาพระคาถาอยู่ตรงที่เดิม เมื่อเจ้ากระทิงโทนวิ่งเข้าใส่ไล่ขวิดก็เป็น ที่น่าอัศจรรย์ที่มันขวิดไปไม่ถึงตัวท่าน คงขวิดได้แค่ดินตรงหน้าท่านเท่านั้น จนฝุ่นตลบอบอวลไปทั่ว หลังจากขวิดได้สักพักมันก็แผดเสียงร้องคำรามแล้ววิ่งหนีไป …

หลวงพ่อห่วงเป็นชาวนครปฐมโดยกำเนิด เกิดที่ อ.สามพราน เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2428 อายุ 22 ปีอุปสมบท ณ วัดทรงคนอง จ.นครปฐม โดยมีหลวงพ่อรุ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อมี เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อแจ่ม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “สุวณฺโณ”

ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ถือสมถะ รักสันโดษ และใฝ่ใจศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนาธุระจนแตกฉาน เมื่อถึงช่วงออกพรรษาท่านจะออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อปลีกวิเวกและฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐานมิได้ขาด

เป็นศิษย์หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พระอาจารย์รุกขมูลชื่อดังอีกด้วย

ในพรรษาที่ 6 ได้มาปักกลดที่บริเวณวัดท่าใน ซึ่งขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติแล้วเกิดความเลื่อมใส ศรัทธา พร้อมใจกันอาราธนาท่านให้จำพรรษาที่วัดท่าใน จนได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าอาวาสวัดท่าใน ในปีพ.ศ.2475 สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสิริวุฒาจารย์ ในปีพ.ศ.2499

มรณภาพในปีพ.ศ.2506 สิริอายุ 75 ปี พรรษา 56 พระราชทานเพลิงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2507

วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่ท่านสร้างมีมากมาย หลายประเภท ทั้งตะกรุดโทน ด้ายมงคล พระพิมพ์ผงเกสร ฯลฯ ว่ากันว่าการปลุกเสกวัตถุมงคลของท่านนั้นฉมังนัก อย่าง “พระผงเกสร”  เมื่อตากพระแห้งสนิทแล้วจะนำไปใส่ในบาตร ที่มีน้ำเต็มและนั่งบริกรรมปลุกเสกจนพระลอยขึ้นมาเหนือน้ำจึงจะใช้ได้ องค์ไหนที่จมถือเป็นพระเสีย เมื่อจะมอบวัตถุมงคลให้ใครจะพิจารณาอย่างมาก และสำทับด้วยว่า “มึงอย่าไปเที่ยวปล้นเขานะ”
 
ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านหาดูค่อนข้างยากเอามากๆ ที่พอจะเห็นได้อยู่ก็จะเป็น “เหรียญรูปเหมือน” ซึ่งมีทั้งหมด 3 รุ่น และรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ “เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก” ที่ลูกศิษย์เป็นผู้สร้างถวายในปีพ.ศ.2499 เนื่องในงานฉลองสมณศักดิ์ จำนวนประมาณ 500 เหรียญ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อเงิน เนื้อทองแดงมีบ้างแต่น้อยมาก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อห่วง รุ่นแรก ปี 2499 ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาคว่ำ หูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อห่วงครึ่งองค์ หน้าตรง มีอักษรไทยระบุชื่อ “หลวงพ่อห่วง” ตกแต่งโดยรอบด้วยลายกนก ด้านหลังเป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็น “ยันต์กระต่ายสามขา” ซึ่งเป็นยันต์ด้านคงกระพันชาตรีซ้อนกัน 2 ยันต์ โดยรอบเป็นอักขระขอมอ่านว่า “นะ มะ อะ อุ” ยอดบนเป็น “อุณาโลม” ด้านล่างเป็นอักขระขอมว่า “นะ อุ ทะ”
 ราม  วัชรประดิษฐ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 เมษายน 2561 16:19:19 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #76 เมื่อ: 26 เมษายน 2561 16:22:36 »



เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเทียน

เป็นที่ทราบกันดีว่าตำรับตำราของมอญมีความเข้มขลังมาแต่โบราณกาล

“หลวงปู่เทียน ปุบผธัมโม”  อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ อ.เมือง ก็เป็นหนึ่งในพระเกจิคณาจารย์เชื้อสายมอญที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนชาวปทุมธานี ด้วยเมตตาบารมีและพุทธานุภาพของวัตถุมงคล

พระครูบวรธรรมกิจ หรือ ”หลวงพ่อเทียน” เป็นชาวสามโคก จ.ปทุมธานี โดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2419 อายุ 11 ขวบ ได้เริ่มศึกษาอักษรสมัยเบื้องต้นกับพระอธิการวัดป่า หรือวัดชัยสิทธาวาส แล้วย้ายมาอยู่วัดโบสถ์ อ.เมือง เพื่อเรียนหนังสือไทยและภาษามอญกับ พระอธิการนวล จนอ่านออกเขียนได้

อายุ 14 ปี ก็เข้ากรุงเทพฯ ศึกษาต่อที่วัดมหาพฤฒารามจนจบหลักสูตร

จนอายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ จึงอุปสมบท ณ วัดบางนา อ.สามโคก โดยมี พระรามัญราชมุนี เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เป็น พระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “ปุบผธัมโม” แล้วย้ายมาจำพรรษาที่วัดโบสถ์ เพื่อศึกษาวิชากับพระอุปัชฌาย์จนมีความรู้แตกฉานทั้งภาษาบาลี รามัญ และพระเวทวิทยาคมต่างๆ

จากนั้นเริ่มออกธุดงค์แสวงหาความสงบตามป่าเขา ท่านเคยธุดงค์ไปทางภาคเหนือและฝากตัวเป็นศิษย์ “หลวงพ่อโพธิ์” วัดวังหมาเน่า จ.พิจิตร พระเกจิชาวมอญ ผู้เป็นพระอาจารย์รูปหนึ่งของ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จึงนับเป็นศิษย์ผู้น้องของหลวงพ่อเงิน

เป็นพระผู้เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ เป็นที่รักเคารพของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ไกล มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย รวมถึง 3 พระเกจิชื่อดังผู้เป็นศิษย์เอก สืบทอดวิทยาคม ได้แก่ หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ, หลวงปู่เส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี และหลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

ปี พ.ศ.2448 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ต่อจากพระอธิการนวล เพียงพรรษาที่ 9 เท่านั้น จากนั้นก็ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก ราชทินนามที่พระครูบวรธรรมกิจ ท่านเป็นหนึ่งในพระเกจิคณาจารย์ไม่กี่รูปของไทย ที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าถวาย “พระสมเด็จเนื้อผงและเหรียญรูปเหมือนเนื้อทองคำ หมายเลข ๙ และ ๙๙” แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระตำหนักจิตรลดาฯ เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2509 ท่านมรณภาพในปีเดียวกันนั้นเอง สิริอายุ 90 ปี พรรษา 70

วัตถุมงคลทุกประเภทเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหามาตั้งแต่อดีต และหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากยิ่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2490” เนื่องจากเป็นเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของท่าน อีกทั้งปรากฏพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมเป็นเลิศ จนได้รับการยกย่องให้เป็น “เหรียญยอดนิยมของ จ.ปทุมธานี” เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อเทียน ปี 2490 สร้างขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานผูกพัทธสีมาวัดบ่อเงิน อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้าง 2 ซ.ม. ความยาว 3.5 ซ.ม. มีหูในตัว เนื้อทองแดง พิมพ์ด้านหน้า ยกขอบนูนโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเทียนครึ่งรูป ด้านล่างจารึกอักษรไทยว่า “พระครูบวรธรรมกิจ ๒๔๙๐”

ส่วนพิมพ์ด้านหลัง ขอบเรียบ ตรงกลางเป็นองค์พระปฏิมากรประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐาน 7 ชั้น ภายในซุ้มครอบแก้ว ด้านบนมีอักษรไทยโค้งตามรูปซุ้มว่า “ที่ระฤกในการผูกพัทธสีมา” ด้านล่างกำกับชื่อวัดว่า “วัดบ่อเงิน”

ณ ปัจจุบัน เหรียญปั๊มรูปเหมือน หลวงพ่อเทียน ปี 2490 นับเป็นเหรียญ พระคณาจารย์ที่ทรงคุณค่า ผู้มีไว้ต่างหวงแหนยิ่งนัก แทบไม่ค่อยเห็นกันในแวดวงครับผม
  ราม  วัชรประดิษฐ์



เหรียญปืนไขว้ หลวงพ่อแช่ม

"เหรียญปืนไขว้" เหรียญเด่นของหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ด้วยความแปลกแตกต่างทางพิมพ์ทรง

หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต พระเกจิผู้ทรงวิทยาคมและพุทธาคมเข้มขลัง แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี จ.นครปฐม ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังรูปหนึ่งของจังหวัด เจ้าของฉายาว่า "เหรียญปืนไขว้" พระเกจิยุคเดียวกับหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อคง วัดบาง กะพ้อม และหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ และพระครูบาศรีวิชัย ฯลฯ

เป็นชาวบ้าน ต.ตาก้อง อ.พระปฐมเจดีย์ (อ.เมืองนครปฐม ปัจจุบัน)

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2405 เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาอักขระ ทั้งภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอาจารย์จ้อย วัดดอนเจดีย์

เมื่ออายุครบบวช จึงเดินทางกลับมาอุปสมบท ณ วัดตาก้อง บ้านเกิด มีหลวงพ่อทา เจ้าอาวาสวัดพะเนียงแตก เจ้าคณะแขวงเมืองนครปฐม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "อินทโชโต"

เมื่อมาอยู่กับ "หลวงพ่อทา" พระเกจิชื่อดัง ผู้เชี่ยวชาญทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน และมีพลังทางจิตกล้าแข็ง เป็นที่ศรัทธาของสาธุชนทั้งหลาย ท่านจึงมีความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเรียนรู้ในทุกสรรพวิชาจากหลวงพ่อทาให้จงได้ เข้าไปรับใช้อย่างใกล้ชิดเป็นเวลานานถึง 3 พรรษา ได้รับการถ่ายทอดวิทยาอาคมสมใจ

นอกจากนี้ ยังฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษา วิทยาการเพิ่มเติมจาก "หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว"ด้วย จากนั้นจึงออกธุดงค์แสวงหาความรู้เพิ่มเติมไปจนข้ามไปถึงฝั่งพม่า และได้ศึกษาศาสตร์ต่างๆ จากอาจารย์พม่า ก่อนเดินทางกลับสู่ประเทศไทย

เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนชาวนครปฐมและใกล้เคียง รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2490 สิริอายุ 86 ปี 76 พรรษา

วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่ท่านสร้าง ล้วนทรงพุทธคุณ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก" ซึ่งสร้างในราวปี พ.ศ.2484-2485 เพื่อแจกทหารหาญที่ผ่านสงคราม อินโดจีน ว่ากันว่ามีพุทธคุณล้ำเลิศในด้านมหาอุตม์ อยู่ยงคงกระพัน

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกนี้ก็คือ "เหรียญปืนไขว้" ซึ่งได้จากการออกแบบเหรียญที่หลวงพ่อทาไม่ได้นั่งเหนืออาสนะ แต่จะอยู่เหนือ "ปืนไขว้" อันเป็นอุปเท่ห์อย่างหนึ่งทางไสยเวทเรียกกันว่า "ข่มอาวุธ" หรือเป็นการตัดไม้ข่มนาม จนกลายมาเป็นฉายาของหลวงพ่อแช่ม

ด้วยรูปทรงของเหรียญที่ออกจะแปลกกว่าเหรียญอื่นๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่นิยมสร้างเป็นเหรียญรูปไข่หรือเหรียญรูปทรงเสมา แต่เหรียญนี้ขอบโดยรอบจะหยักเป็นมุมแหลม 16 หยัก เท่ากับอัตราโสฬสมงคล "พระเจ้าสิบหกพระองค์" แลดูสวยงามมาก จึงเรียกขานกันเป็น "เหรียญรูปพัดพุดตาน" หรือ "เหรียญกงจักร" ก็มี

เหรียญปืนไขว้ สร้างเป็นเนื้อทองแดง มีทั้งแบบรมดำและไม่รมดำ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มขอบหยัก มีหูในตัว ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มเต็มองค์ ครองจีวรแบบห่มคลุม นั่งเหนือ "ปืนไขว้" มือข้างซ้ายยกขึ้น ที่ฝ่ามือมีอักขระขอม "ตัวนะ" ตรงบริเวณอกหลวงพ่อมีอักขระขอม "ตัวอะ" รอบองค์เป็น "นะ โม พุท ธา ยะ" มีอักษรไทยด้านซ้าย-ขวาว่า "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" อักขระขอมในหยักทั้ง 16 หยัก เป็นพระนามย่อ "พระเจ้าสิบหกพระองค์" ว่า "นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอํ" ด้านหลังเป็นรูปหนุมานอมพลับพลา ตอน ศึกไมยราพณ์สะกดทัพ

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หรือเหรียญปืนไขว้ แบ่งได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หูเดียวและพิมพ์สองหู มีความแตกต่างกันที่พิมพ์ด้านหน้า ที่ "หูหลวงพ่อแช่ม" ถ้าเป็น "พิมพ์หูเดียว" รูปเหมือนจะมีเพียงหูข้างขวาของท่านเท่านั้น ส่วน "พิมพ์สองหู" จะปรากฏหู 2 หู ตามปกติ ทว่า "พิมพ์หูเดียว" จะมีจำนวนน้อยกว่าจึงเล่นหาได้ยากกว่า
  ราม  วัชรประดิษฐ์




เหรียญปั๊มพระปฐมเจดีย์ 2465

องค์พระปฐมเจดีย์ตั้งอยู่ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาแต่โบราณ ชาวบ้านมักเรียกขานกันว่า "วัดใหญ่"

ด้านประวัติศาสตร์ยังได้บันทึกความว่า ... พระปฐมเจดีย์ เดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็น "มหาธาตุหลวง" ของแผ่นดินสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าอาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้

เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีก แบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ที่กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับเมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา ทั้งนี้ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 จึงพระราชทานนามใหม่ว่า พระปฐมเจดีย์ ด้วยทรงเชื่อว่านี่คือ "เจดีย์แห่งแรกของสุวรรณภูมิ" ...

จาก "ตำนาน" และ "บันทึกประวัติศาสตร์" ดังกล่าว กอปรกับพระบารมีแห่งพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐาน ณ พระปฐมเจดีย์ ได้เคยแสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏต่อพระพักตร์รัชกาลที่ 4, รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ดังมีหลักฐานปรากฏในพระราชหัตถเลขา ทำให้ "พระปฐมเจดีย์" เป็นที่รู้จักและเคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวนครปฐมและใกล้เคียง รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน มีการจัดสร้างวัตถุมงคลอันเกี่ยวเนื่องกับ "พระปฐมเจดีย์" มากมายมาโดยตลอด เพื่อจัดหาทุนทรัพย์ไว้บำรุงรักษาและบูรณปฏิสังขรณ์ให้ยังคงสภาพความสมบูรณ์สืบไป

สำหรับ "เหรียญปั๊มพระปฐมเจดีย์ ปี 2465" ถือเป็น "เหรียญรุ่นแรก" แห่งองค์พระปฐมเจดีย์ ที่มีความงดงามทั้งรูปแบบและความทรงคุณค่า จนได้รับการยกย่องให้เป็น "1 ใน 4 เหรียญรูปจำลองพระบรมธาตุของไท" ที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง

เหรียญนี้จัดสร้างโดยเจ้าพระยาเทเวศรวงศวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) อดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตรา ธิการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เนื่องในโอกาสทำบุญฉลองอายุครบ 70 ปี ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2465 อันนับเป็นการบำเพ็ญกุศลครั้งยิ่งใหญ่ จำนวน 10,000 เหรียญ เพื่อแจกเป็นที่ระลึก มี 3 เนื้อ คือ เนื้อทองแดงเปียกเงิน เนื้อทองแดงเปียกทอง และเนื้อทองแดงธรรมดา ในการนี้ยังได้จัดสร้างพระพุทธรูป สูง 2 ศอกคืบ 4 นิ้ว จำนวน 1 องค์ และสูง 1 คืบ 6 นิ้ว ฐานกว้าง 11 นิ้ว อีก 18 องค์ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2465

ซึ่งถึงแม้จะไม่ระบุนามพระเกจิที่ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก แต่ก็สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้น อาทิ หลวงพ่อโชติ เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์สมัยนั้น, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง, หลวงพ่อชา วัดสามควายเผือก และหลวงพ่อทอง วัดละมุด เป็นต้น ซึ่งหลังจาก การทำบุญฉลองอายุครบ 70 ปีเพียงไม่นาน เจ้าพระยาเทเวศรวงศวิวัฒน์ก็ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2466

ณ ปัจจุบันเหรียญปั๊มพระปฐมเจดีย์ ปี 2465 เป็นเหรียญที่หาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่งนัก สนนราคาก็พุ่งขึ้นสูงลิบลิ่ว การจะเช่าหาต้องพิจารณาให้ดี

หลักการเบื้องต้นให้ดูที่ด้านหน้าของเหรียญ ตรงยอดพระเจดีย์จะมีเส้นแฉกสี่แฉก ปลายเส้นของเส้นด้านล่างและด้านบนจะโน้มเข้าหากัน

จุดสังเกตอีกจุดคือ ด้านล่างช่วงซุ้มวิหารพระร่วง โรจนฤทธิ์จะมีความลึกและคมชัดเจนครับผม
  ราม  วัชรประดิษฐ์




เหรียญปั๊มพระพุทธสิหิงค์

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรวิหาร เป็นวัดของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายแห่งแรก สร้างโดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่ออุทิศถวายแด่พระสงฆ์คณะธรรมยุต และเพื่อให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณีที่ว่า บนแผ่นดินไทย เมื่อเมืองใดเป็นเมืองหลวง จะต้องมีวัดสำคัญ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์ อย่างจังหวัดที่เคยเป็นเมืองหลวง เช่น จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ทรงเห็นว่าที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีอยู่เพียง 2 วัดเท่านั้น คือ วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ จึงมีพระราชดำริสร้าง “วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม” ขึ้น

ด้วยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงเคารพเลื่อมใสใน “พระพุทธสิหิงค์” เป็นอย่างยิ่ง (พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย มีทั้งหมด 3 องค์ คือ ประดิษฐานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย มีพุทธลักษณะงดงาม และเป็นที่นับถือศรัทธาของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปว่า เป็นพระพุทธรูปที่ให้ความร่มเย็น ความอุดมสมบูรณ์

จึงมักถูกอัญเชิญอาราธนามาสรงน้ำกันในวันขึ้นปีใหม่และวันสงกรานต์เป็นประจำทุกปี) จึงโปรดให้จำลองหล่อ “พระพุทธสิหิงค์” ขึ้น ให้มีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม ขนาดหน้าตักประมาณ 1 ศอก 6 นิ้ว สูง 1 ศอก 8 นิ้ว ประดิษฐานบนฐานชุกชี ภายใต้บุษบก เพื่อเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ขนานพระนามว่า “พระพุทธสิหิงค์ปฏิมากร” ซึ่งหลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต ได้มีการอัญเชิญพระบรมอัฐิ มาบรรจุที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานองค์นี้ด้วย

ในปีฉลองกรุงฯ พ.ศ.2475 ทางวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ได้มีการจัดสร้าง “เหรียญปั๊มพระพุทธสิหิงค์” โดยให้ชื่อรุ่นว่า “ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี” เพื่อร่วมเป็นที่ระลึกในงานฉลองกรุงฯ ด้วย

เหรียญปั๊มพระพุทธสิหิงค์ รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม นั้น มีจำนวนจัดสร้างไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเนื้อทองแดง กะไหล่ทอง และกะไหล่เงิน ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้า ยกขอบเป็นเส้นลวดโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ปฏิมากร ประทับนั่งปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น จารึกอักษรไทยว่า “พระพุทธสิหิงค์” พื้นเหรียญเป็นลายดอกไม้ร่วง ด้านหลัง เป็นพื้นเรียบ ตรงกลางมีอักขระขอม 2 แถว ด้านบนและล่างประดับลวดลายไทย
  ราม  วัชรประดิษฐ์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #77 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2561 11:49:37 »


เหรียญพระพุทธชินราช หลวงปู่บุญ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆ ที่หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วได้สร้างและปลุกเสกไว้ล้วนมีความนิยมสูงทุกรุ่น เนื่องจากประชาชนเคารพศรัทธาในหลวงปู่บุญมาก จึงทำให้วัตถุมงคลทุกรุ่นหายาก แม้ว่าท่านจะปลุกเสกไว้หลายรุ่นก็ยังไม่พอแก่ความศรัทธาในหลวงปู่ได้

พระเครื่องประเภทพระเนื้อผงยาได้รับความนิยมสูงสุด พระเครื่องเนื้อโลหะหล่อ พระเนื้อดินเผา เครื่องรางของขลังทุกอย่างได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะเบี้ยแก้นั้นหายากมาก ผู้เคารพศรัทธาในหลวงปู่บุญที่มีวัตถุมงคลของหลวงปู่ได้รับประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จึงทำให้วัตถุมงคลของหลวงปู่บุญทุกรุ่นมีสนนราคาสูง แต่ก็หาของแท้ยากมากเช่นกันครับ

พระเครื่องประเภทเหรียญปั๊มของหลวงปู่บุญท่านก็มีสร้างไว้เช่นกัน แต่บางทีอาจจะลืมๆ ไปบ้างจึงไม่ค่อยได้พูดถึงกันนัก เหรียญนั้นก็คือเหรียญพระพุทธชินราช เหรียญนี้ลูกศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตหลวงปู่บุญสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2472 เพื่อแจกให้แก่ผู้ที่มาร่วมทำบุญอายุครบ 83 ปี ของหลวงปู่บุญ และน่าจะเป็นเหรียญเดียวที่มีประวัติความเป็นมาและ พ.ศ.แน่นอน นอกจากนี้ก็ยังมีอีกเหรียญหนึ่งเป็นเหรียญพระพุทธบาท กล่าวกันว่าเป็นเหรียญที่สร้างเป็นที่ระลึกในการสร้างมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองที่วัดกลางบางแก้ว แต่ก็ยังไม่ชัดเจนเรื่องปี พ.ศ.ว่าสร้างในปีใดแน่

เหรียญพระพุทธชินราชเป็นเหรียญที่มีบันทึกไว้แน่นอนว่าสร้างในปี พ.ศ.2472 เหรียญนี้ชาวบ้านแถบวัดกลางบางแก้ว ที่ได้รับมาต่างก็หวงแหนกันมากเช่นกัน ในสมัยก่อนสังคมผู้นิยมพระเครื่องส่วนกลางยังสับสนอยู่กับเหรียญของหลวงพ่อวงษ์วัดบ้านค่าย จังหวัดระยอง เนื่องจากโรงงานที่ทำเหรียญนี้เป็นโรงงานเดียวกัน

จากการสังเกตดู เหรียญทั้ง 2 เหรียญจะมีลักษณะเหมือนกันมาก จะผิดกันตรงที่บัวใต้ฐาน เหรียญของหลวงพ่อวงษ์จะมีบัวขาดไปหนึ่งกลีบ ถ้าสังเกตดูก็เห็นว่าเป็นการจงใจแกะเอาบัวออกหนึ่งกลีบ เพื่อให้แตกต่างกัน จึงสันนิษฐานได้ว่า เหรียญพระพุทธชินราชของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วนั้นสร้างก่อนเหรียญพระพุทธชินราชของหลวงพ่อวงษ์ ทางโรงงานจึงทำตำหนิไว้ให้แตกต่างกัน

ด้วยเหตุนี้กระมังจึงทำให้เหรียญพระพุทธชินราชของหลวงปู่บุญในสมัยก่อนจึงไม่ค่อยมีคนรู้จักกันมากนัก แต่ในปัจจุบันความชัดเจนในการแยกพิมพ์ และการบันทึกประวัติการสร้างเหรียญนี้ของหลวงปู่บุญชัดเจน ในปัจจุบันเหรียญนี้ก็หายากแล้วครับ สนนราคาเหรียญสวยๆ อยู่ที่หลักแสน แต่ก็ยังหาได้ไม่ยากเท่ากับวัตถุมงคลอย่างอื่นของหลวงปู่บุญ และราคาก็ยังย่อมเยากว่านิดหน่อย

เหรียญพระพุทธชินราช หลวงปู่บุญ เท่าที่มีบันทึกไว้มีสร้างด้วยกันหลายเนื้อ เช่น เนื้อทองแดงมีทั้งกะไหล่ทองและไม่กะไหล่ เนื้อสัมฤทธิ์ มีทั้งกะไหล่ทองและไม่กะไหล่ เหรียญเงิน เหรียญทองคำ จำนวนสร้างไม่ทราบแน่ชัดแต่ก็คงไม่มากนัก

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญพระพุทธชินราชของหลวงปู่บุญจากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยามมาให้ชมครับ
[/b]
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




พระวัดพลับพิมพ์เข่ากว้างเล็ก และพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จวัดพลับ หรือที่ปัจจุบันเรียกกันว่า "พระวัดพลับ" เป็นพระเครื่องเนื้อผงที่ได้รับความนิยมมาก ในสมัยก่อนรุ่นครูบาอาจารย์เรียกว่า "พระสมเด็จวัดพลับ" เนื่องจากมีความเชื่อว่า พระเครื่องชนิดนี้ สมเด็จ พระสังฆราชสุกไก่เถื่อนได้ปลุกเสก โดยหลวงตาจัน สร้างและอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชฯ ช่วยปลุกเสกให้ ท่านอาจารย์ตรียัมปวายก็เชื่อตามทฤษฎีนี้ ต่อมาภายหลังก็มีนักเขียนได้เขียนตามความเข้าใจของเขาว่า เป็นพระที่สร้างโดยหลวงตาจัน และสร้างไม่ทันสมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน ก็ว่ากันไป แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคนครับ

พระวัดพลับ เป็นพระเนื้อผง ที่ค้นพบบรรจุอยู่ในเจดีย์องค์หนึ่งของวัดพลับ มีมากมายหลายพิมพ์ทรงพระพิมพ์ใหญ่ เช่น พระพิมพ์วันทาเสมา และพระพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่นั้นได้รับความนิยมสูง สนนราคาก็สูงมากเช่นกัน ส่วนพระพิมพ์กลางและพิมพ์เล็กก็มีราคาลดหลั่นกันลงมา นอกจากนี้ก็ยังมีพิมพ์พระปิดตาด้วยแต่จำนวนน้อยกว่าพระพิมพ์อื่นๆ นอกจากพระที่พบในเจดีย์ วัดพลับแล้ว ต่อมายังพบพระแบบเดียวกันพิมพ์เดียวกันที่เจดีย์วัดโค่ง อุทัยธานีอีกด้วย พระวัดพลับที่พบเกือบทั้งหมดจะเป็นพระ เนื้อผง แต่ก็มีพบบ้างที่เป็นพระเนื้อชินตะกั่วซึ่งมีจำนวนน้อยมาก

ในส่วนตัวผมชอบพระพิมพ์เล็ก เช่น พระพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก และพระพิมพ์ตุ๊กตาเล็กเข่ากว้าง หรือบางท่านก็เรียกว่าพิมพ์เข่ากว้างเล็ก พระทั้ง 2 พิมพ์เป็นพระขนาดเล็กกะทัดรัดน่ารักมาก พระทั้ง 2 พิมพ์เป็นพระที่มีสนนราคาย่อมเยากว่าพระพิมพ์อื่นๆ อีกด้วย พระพิมพ์ตุ๊กตาเล็กและพระพิมพ์เข่ากว้างเล็กจะมีแม่พิมพ์ที่คล้ายกันมาก ขนาดก็ใกล้เคียงกัน หน้าตาใบหูและองค์พระก็คล้ายคลึงกันมาก แต่ถ้าเราสังเกตดีๆ ก็จะเห็นความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ หัวไหล่ของพระพิมพ์ตุ๊กตาเล็กจะมีหัวไหล่ที่หนาใหญ่กว่าพระพิมพ์เข่ากว้างเล็ก และหน้าตักของพระพิมพ์เข่ากว้างเล็กก็จะกว้างกว่าหน้าตักของพระพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ก็เป็นสิ่งที่แตกต่างกันที่เห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าเราพิจารณาโดยละเอียดก็จะเห็นความแตกต่างมากขึ้นอีกหลายจุดครับ

เรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี้ก็จะเป็นสิ่งที่ได้เปรียบเมื่อเวลาเช่าหาพระเครื่อง เนื่องจากพระพิมพ์เข่ากว้างเล็กจะหายากกว่า พระพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก และสนนราคาก็จะสูงกว่าเล็กน้อยตามความหายาก พระพิมพ์เข่ากว้างเล็กปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก รูปก็ไม่ค่อยได้เห็นครับ

พระวัดพลับนั้นพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม นอกจากนี้ยังเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาดเป็นเยี่ยมเช่นกัน เนื้อหาของพระจะออกค่อนข้างแกร่ง และของปลอมทำได้ไม่ค่อยเหมือนครับ ถ้าจะหาพระเนื้อผงพุทธคุณเยี่ยมๆ ผมแนะนำพระวัดพลับครับ เลือกพิมพ์เอาตามชอบและตามทุนทรัพย์ก็แล้วกันครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระวัดพลับพิมพ์เข่ากว้างเล็ก และพิมพ์ตุ๊กตาเล็กมาให้ชมเปรียบเทียบกันนะครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




พระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิษณุโลก  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าพูดว่าพระหลวงพ่อโตเราก็จะนึกถึงพระหลวงพ่อโตอยุธยาเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีจำนวนมากและมีชื่อเสียงในด้านอยู่คง แต่พระหลวงพ่อโตความจริงก็มีอยู่หลายกรุหลายจังหวัด

พระหลวงพ่อโตที่มีราคาค่อนข้างสูงกลับเป็นพระหลวงพ่อโตของจังหวัดพิษณุโลก กรุวัดชีปะขาวหาย (เรียกตามโบราณ) ปัจจุบันเรียกว่าวัดตาปะขาว ความจริงชีปะขาวตามพจนานุกรมไทย แปลว่า นักบวชที่นุ่งขาว หรือถ้าหมายถึงแมลงก็คือตัวแมลงชนิดหนึ่งชอบตอมไฟครับ ก็แปลได้ 2 แบบ เลยต้องอธิบายเสียหน่อย เพราะเคยเขียนถึงพระกรุวัดชีปะขาวแล้วมีคนแย้งมา แต่โบราณนั้นพระหลวงพ่อโต พิษณุโลกก็ยังมักเรียกกันติดปากว่า กรุวัดชีปะขาวหาย

วัดตาปะขาว (เรียกตามชื่อราชการปัจจุบัน) มีตำนานเล่ากันว่า ในการสร้างพระพุทธชินราชในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น มีการหล่อพระพุทธรูปพระประธานอยู่หลายองค์ ตามตำนานกล่าวว่าองค์พระพุทธชินราชหล่อกันหลายครั้งก็ไม่สำเร็จ  ว่ากันว่าเมื่อเททองเข้าสู่เตาหลอมเพื่อหล่อพระถึง 3 ครั้ง ทองก็ไม่รวมตัวกันเป็นองค์พระ ร้อนถึงพระอินทร์จนต้องจำแลงกายเป็นตาปะขาว (นักบวชนุ่งขาห่มขาว) ลงมาช่วยสร้างพระพุทธชินราชจนสำเร็จ แล้วตาปะขาวก็เดินไปทางทิศเหนือพอถึงที่ตั้งวัดก็หายวับไปกับตาโดยไม่มีใครเห็นอีกเลย จึงมีการสร้างวัดไว้ ณ บริเวณนั้นและก็เรียกกันต่อมาว่า วัดตาปะขาวหาย ชาวบ้านในสมัยก่อนมักเรียกว่า “วัดชีปะขาวหาย” (ไม่ใช่ตัวแมลงนะจ๊ะ) ตัววัดน่าจะเป็นวัดเก่าแก่มีสร้างมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย ราวปี พ.ศ.1900
 
ที่วัดแห่งนี้ต่อมาการขุดพบพระเครื่องเนื้อดินเผา รูปลักษณ์คล้ายๆ กับพระหลวงพ่อโตของอยุธยา แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก พระที่ขุดพบมีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเป็นที่นิยมกันมาก ด้วยว่าพระหลวงพ่อโตกรุนี้มีพุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันแคล้วคลาด

นอกจากนี้ยังดีทางด้านเมตตาโชคลาภอีกด้วย และมีขนาดกะทัดรัดเลี่ยมห้อยคอกำลังเหมาะ จำนวนพระก็มีไม่มากหายากจึงทำให้ราคาค่อนข้างสูงกว่าพระหลวงพ่อโตอยุธยาที่มีจำนวนพระพบมากกว่า พระหลวงพ่อโตกรุนี้ที่พบเป็นพระแบบปางสมาธิ เนื้อดินเผา มีหลายสี พระส่วนใหญ่ที่พบจะมีพิมพ์ลึกคมชัดแทบทุกองค์ พิจารณาศิลปะองค์พระสันนิษฐานว่าน่าเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยายุคต้น ในปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยาก ของปลอมมีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดี

ครับพระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย (เรียกตามโบราณ) เป็นพระที่หายากและควรค่าแก่การอนุรักษ์และเป็นพระดีของจังหวัดพิษณุโลก ประสบการณ์มีมากมายทั้งด้านแคล้วคลาดและอยู่คงคนโบราณหวงกันมาก พระเครื่องที่เป็นพระกรุเก่าแก่ปัจจุบันคนอาจจะลืมเลือนกันไปบ้าง ก็เลยนำมาเขียนไว้กันลืมครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิษณุโลก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชม

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




พระขุนแผนไข่ผ่า กรุวัดพระรูป สุพรรณบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เขียนเรื่องพระเครื่องมาก็มากจนไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนไปเขียนมาก็ซ้ำๆ กัน วันนี้ขอเขียนเรื่องของผมเองในสมัยยังเป็น วัยรุ่นเริ่มๆ ชอบและหาพระเครื่องก็แล้วกันครับ เป็นเรื่องที่เป็นบทเรียนของผม ในสมัยนั้นก็อยากจะได้พระเครื่องเด็ดๆ ไว้ห้อยคอคุ้มครองกาย และมีเมตตามหานิยม การหาพระเครื่องก็งูๆ ปลาๆ ไม่รู้หรอกครับว่าพระแท้เขาดูกันอย่างไร ใช้หูฟังซะมากกว่า

วันหนึ่งในสมัยนั้นผมก็ได้เข้าไปพูดคุยกับคนแก่แถวๆ บ้าน และก็ถามเรื่องพระเครื่องและพุทธคุณและขอให้เล่าให้ฟัง ลุงคนนั้นแกก็เล่าเรื่องพระขุนแผนว่าพุทธคุณดีทั้งบู๊และเมตตามหานิยม ก็เลยขอดูว่าหน้าตาเป็นอย่างไร แกก็นำมาให้ดู และบอกว่าเป็นพระขุนแผนไข่ผ่าของสุพรรณ แถมบอกถึงคาถาเมตตามหานิยมที่ฟังแล้วเคลิบเคลิ้มไปเลยล่ะครับ

แกว่าคาถาให้ฟังว่า “นะมะพะทะ นะมะนะอะนอกอ นะกะกอ ออนออะ นออะนะอัง ให้พระยาคลุ้มคลั่ง พะว้าพะวัง ดังช้างห่างพง สารพัดจะหลง เห็นหน้างวยงงพิศวงหลงใหล จับจิตจับใจ ร้องไห้ครวญหา นั่งท่ารำพึง คำนึง อย่านอน บนฟูกบนหมอน นั่งนอนคำนึง รำพึงถึงกู นั่งท่าฟังข่าว นั่งเฝ้าหนทาง นั่งเยี่ยมหน้าต่าง กอดอกร่ำไห้ ร้องไห้ครวญคราง อย่าหมางกูสักวัน หญิงเห็นหญิงรัก ชายเห็นชายทัก รักกันถ้วนหน้า ว่าหน้ากูงาม”

นั่นแค่แกว่าคาถามหาเสน่ห์ ก็เล่นเอาเคลิ้มไปเลยครับ ผมเองก็เลยขอเช่าแต่แกไม่ให้เช่า แกว่าจะเอาไว้ให้ลูกชายคนหัวปี ผมกลับมาบ้านก็ได้แต่คำนึงถึงพระขุนแผนไข่ผ่า อยากได้จับจิตถวิลหา ก็ได้แต่เสาะหาพระขุนแผน ไข่ผ่าจะไว้ครอบครอง

วันหนึ่งมาเดินเล่นที่ท้องสนามหลวง ในสมัยนั้นมีการเล่นปาหี่ขายยาขายของกันเป็นประจำ ได้ยินเสียงเขาว่าจะมีการกัดกันของพังพอนกะงูเห่า ก็เลยเดินเล่นเข้าไปดู ยืนอยู่นานก็ไม่เห็นเอามากัดกันสักที มีแต่สลับขายยาขายของไปเรื่อย มีตอนนึงหัวหน้าคณะปาหี่นำเอาพระมาขาย บอกว่าเป็นพระขุนแผนไข่ผ่า พอได้ยินเท่านั้นก็ใจพองอยากจะได้ ก็คอยฟัง เจ้าคนขายก็ยังไม่บอกว่าจะขายสาธยายสรรพคุณก่อนว่า “แม้แต่ผงหญิงกินก็เป็นบ้า ม้ากินก็ลืมโลง โขงกินก็ลืมไพร ไผ่ป่าก็ลืมลม ผมในหัวลืมเกล้า ข้าวในคอก็ลืมกลืน ลืมเพลาก็ลืมง่าย ทั้งสาวแก่แม่ม่าย สะอื้นไห้หาหู จะลองใครๆ ก็เต้า จะลองใครๆ ก็หลง หลงทั้งจิต หลงทั้งใจ กูจะลองช้าง ช้างก็อ่อนงา กูจะลองปลา ปลาก็อ่อนเงี่ยง กูจะลองสาวน้อยเนื้อเกลี้ยง ก็อ่อนใจ คนเห็นกูน้ำตาตก นกเห็นน้ำตาไหล”

โอ๊ยมันโดนใจอยากจะได้ หูตามืดบอด พอเขาบอกราคารีบยกมือซื้อมาทันใด 20 บาทเท่านั้น คนขายยังบอกอีกว่านี่ขุนแผนของแท้ต้องมีกุมารทอง ผมมองดูก็เห็นกุมารทองนอนอยู่ใต้ฐานจริงๆ ดีใจรีบกลับบ้านห่อกระดาษไว้อย่างดี เอาไปอวดลุงแถวบ้านที่เคยเล่าให้ฟัง พอลุงแกเห็นก็บอกว่า เฮ้ยนี่มันของปลอม แบบเดียวกับที่พวกปาหี่มันหลอกขายนะ นึกในใจลุงรู้ได้ไงว่าซื้อมาจากไหนใจเริ่มฝ่อ

รุ่งขึ้นไปสนามพระวัดมหาธาตุ เอาไปให้ผู้ใหญ่ดู ท่านก็บอกว่าไม่แท้ ตรงกะที่ลุงแถวบ้านบอก ผมก็เลยถามว่าแล้วกุมารทองนี่ล่ะ ผู้ใหญ่ในสนามพระท่านก็เลยบอกว่าของแท้น่ะไม่มีกุมงกุมารทองหรอก แล้วท่านก็นำพระขุนแผนไข่ผ่าแท้มาให้ดูว่าที่เห็นใต้ฐานน่ะเป็นกลีบบัว ไม่ใช่กุมารทอง และสอนให้ดูว่าแท้เป็นอย่างไร จากนั้นก็ลาท่านกลับบ้าน นั่งรถเมล์กลับคอตกเหมือนไก่เป็นโรค ใจหักแหลกละเอียด หลังจากนั้นจึงเริ่มศึกษาพระเครื่องอย่างจริงจัง และไปขอความรู้จากผู้ใหญ่ในสนามพระวัดมหาธาตุเป็นประจำครับ
ท่านยังสอนอีกเรื่องหนึ่งให้จดจำว่า “เล่นพระอย่าเล่นด้วยหู จงดูด้วยตา พิจารณาจดจำพิมพ์และเนื้อหาให้แม่น แล้วจะเป็นเอง” ครับก็เป็นบทเรียนที่ผมเริ่มเล่นพระโดย ไม่ได้ศึกษาให้ดี ผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องสมัยก่อนท่านมีคุณธรรมและเมตตา ถ้าใครอยากจะเรียนรู้ท่านก็สอนให้ และในสมัยก่อนนั้นพระแท้ก็มีอยู่มาก ท่านก็นำมาให้ดูและศึกษา ส่องดูองค์จริงกันเลยครับ

สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้รู้ว่าการศึกษาพระเครื่องนั้นไม่ได้ยากจนเกินไป เพียงแต่ต้องศึกษาให้ถูกต้องเท่านั้น และต้องใช้เหตุผลในการศึกษาพิจารณาครับ นอกเรื่องนอกราวไปบ้างก็นึกว่าอ่านสนุกๆ ก็แล้วกันนะครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระขุนแผนไข่ผ่ากรุวัดพระรูป สุพรรณบุรี จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




พระปิดตา เนื้อเมฆพัด หลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยก่อนผมเคยถามผู้หลัก ผู้ใหญ่ที่อยู่ราชบุรีว่า พระอะไรของราชบุรีที่เหนียว อยู่ยงคงกระพันเป็นเลิศ คำตอบก็เกือบเหมือนๆ กันหมดคือพระมหาอุดหลุมดิน มีคนเจอกันมาเยอะเชื่อถือได้แน่นอน

ผมเองในตอนนั้นก็ไม่รู้จักพระมหาอุดหลุมดิน จึงอยากรู้ก็ติดตามถามหาขอความรู้ไปเรื่อยจนได้พบกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านก็เล่าให้ฟังว่าพระปิดตาหลุมดิน สร้างโดยหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน (วัดสุรชายาราม) สร้างแจกให้เป็นที่ระลึกในงานสร้างศาลาการเปรียญของวัดหลุมดิน ประมาณปี พ.ศ.2471 และมีพระพิมพ์กลีบบัวแจกในงานเดียวกัน พระปิดตามหาอุดแจกให้กับผู้ชาย ผู้หญิงจะได้พระกลีบบัว หลังจากนั้นก็มีคนเจอกับประสบการณ์ถูกยิงไม่เข้าบ้าง ฟันไม่เข้าบ้าง ก็เริ่มมีคนไปขอพระจากหลวงพ่อปล้องเรื่อยๆ

ต่อมาเมื่อคราวสงครามอินโดจีน พวกทหารแถบราชบุรีก็มาขอพระปิดตาจากหลวงพ่อปล้องกันมากจนพระหมดจากวัด หลวงพ่อต้องทำผ้ายันต์แจกแทน

ทั้งพระปิดตา มหาอุดและ ผ้ายันต์ของหลวงพ่อปล้องก็มาโด่งดังมากตอนที่ทหาร ที่ห้อยพระของหลวงพ่อถูกยิงไม่เข้าหลายราย ชื่อเสียงก็โด่งดังไปทั่ว หลังจากเสร็จสิ้นสงครามก็มีคนมาเสาะหาพระปิดตาหลวงพ่อปล้องกันมาก แต่ก็หายากแล้วเพราะพระหมดไปจากวัดนานแล้ว ใครได้ไว้ต่างก็หวงแหนไม่ยอมแบ่ง
 
พระปิดตามหาอุดของหลวงพ่อปล้องที่สร้างส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อเมฆพัดสีดำเป็นมันวาว และจะมีจารอักขระลายมือของหลวงพ่อไว้ทุกองค์ ผู้ใหญ่แถบราชบุรีสมัยก่อนบอกว่าเชื่อขนมกินได้เลย เหนียว อยู่ยงคงกระพันเป็นเลิศ เท่าที่สังเกตดูพระปิดตาหลวงพ่อปล้อง เนื้อเมฆพัดการสร้างเมื่อหล่อเสร็จแล้วจะมีการแต่งตะไบทุกองค์ โดยเฉพาะการตะไบแต่งนิ้วมือ ทั้งด้านหน้าและใต้ฐาน คมชัด เป็นการแต่งตะไบหลังจากการหล่อก็เพื่อให้คมชัดสวยงาม

ในปัจจุบันพระปิดตาหลวงพ่อปล้องหายาก มีพระปลอมมานานแล้ว เพราะพระหมดไปจากวัดในครั้งสงครามอินโดจีน และเป็นที่เสาะหาของคนทั่วไป ก็เลยมีคนปลอมมานานมากแล้วเช่นกัน เวลาจะเช่าหา ก็ต้องพิจารณาให้ดี พยายามจดจำลายมือจารให้ได้ ถ้าพิจารณาไม่เป็นก็ต้องเช่าหากับผู้ที่ไว้ใจได้เท่านั้นครับ

พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง เนื้อเมฆพัดสนนราคาสูง แต่ก็หาพระแท้ๆ ยากมากครับ พระพิมพ์กลีบบัวและพระปิดตาเนื้ออื่นๆ ก็ราคาลดหลั่นกันลงไป แต่ที่นิยมและเล่นหากันเป็นมาตรฐานก็จะเป็นพระปิดตามหาอุด เนื้อเมฆพัด

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อเมฆพัด ของหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์




เหรียญที่ระลึกพระยาโกษาธิบดี (ปาน)

กล่าวถึงวิวัฒนาการ "เหรียญ" ของประเทศไทย ต้องยกให้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในขณะนั้นยังคงใช้หอยเบี้ยและพดด้วงในการชำระเงิน แต่ก็เริ่มมีการยอมรับ "เบี้ยทองแดง" ในการค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำเหรียญรูปกลมแบนอย่างสากล ซึ่งยังไม่ทันสำเร็จก็เปลี่ยนรัชกาล

ในปี พ.ศ.2400 ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียที่ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้จัดส่งเครื่องทำเหรียญเงินขนาดเล็กเข้ามาถวาย ทำงานด้วยแรงงานคนโดยวิธีใช้แรงอัดแบบ SCREW PRESS METHOD พระองค์จึงโปรดให้จัดทำเหรียญกษาปณ์จากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกกันว่า "เหรียญเงินบรรณาการ" แต่เนื่องจากเครื่องจักรมีขนาดเล็กผลิตเหรียญได้เพียงวันละเล็กน้อย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้ในที่สุด

จนปลายปี พ.ศ.2401 คณะทูตได้สั่งซื้อเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์แรงดันไอน้ำมาใหม่ จากบริษัท เทเลอร์ เข้ามาอีก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ในพระบรมมหาราชวังใช้งานได้เมื่อปี พ.ศ.2403 พระราชทานนามว่า "โรงกษาปณ์สิทธิการ" จึงถือว่ามีการใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมขึ้นเป็นครั้งแรก

แต่ถ้าถามว่า "เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย" นั้น คงต้องกล่าวย้อนไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาเลยทีเดียวครับผม... เพราะเหตุใด?

สมัยกรุงศรีอยุธยา ออกญาโกษาธิบดี เดิมชื่อ ปาน เป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเป็นน้องชายของออกญาโกษาธิบดี (เหล็ก) ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสูตรสุนทร (ปาน) และได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส

พระวิสูตรสุนทร (ปาน) พร้อมคณะ เดินทางไปกับเรือฝรั่งเศสเมื่อธันวาคม พ.ศ.2228 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ ท้องพระโรงพระราชวังแวซายส์ เมื่อวันที่ 1 ก.ย.2229 และเดินทางกลับเมื่อ 27 ก.ย.2230 ซึ่งรวมระยะการเดินทางทั้งหมดถึง 1 ปี 9 เดือน

ในครั้งนั้น พระวิสูตรสุนทร (ปาน) ได้กระทำหน้าที่เป็นผู้แทนของราชสำนักอยุธยาอย่างสมบูรณ์แบบ ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีการเข้าเฝ้า จนชาวฝรั่งเศสกล่าวยกย่องชื่นชม ความสัมพันธ์ระหว่างสยามประเทศกับฝรั่งเศสมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สร้างชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือในทวีปยุโรป

นอกจากนี้ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังโปรดเกล้าฯ ให้ราชสำนักฝรั่งเศสผลิต "เหรียญที่ระลึก" เพื่อเป็นเกียรติแก่การเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศฝรั่งเศสและสยามด้วย

เหรียญที่ระลึก พระยาโกษาธิบดี (ปาน) หรือที่เรียกขานกันทั่วไปว่า "เหรียญโกษาปาน" สร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อเงินและบรอนซ์ ลักษณะเป็นเหรียญกลม ยกขอบ ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผินพระพักตร์เบื้องขวา มีอักษรภาษาละตินว่า LUDOVICUS MAGNUS REX CHRISTIANISS แปลว่า หลุยส์มหาราชาชาวคริสต์ ด้านหลังเป็นรูปคณะทูตไทยเข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ ท้องพระโรงพระราชวังแวร์ซายส์ ด้านบนมีอักษรละตินว่า FAMA VIRTUTIS แปลว่า เกียรติยศแห่งคุณความดี ด้านล่าง มีอักษรละติน 2 บรรทัด ว่า ORATORES REGIS SIAM แปลว่า ราชทูตแห่งพระราชากรุงสยาม และ M DC LXXXVI คือ ปี ค.ศ.1686

ข้อสังเกตของเหรียญที่ระลึก พระยาโกษาธิบดี (ปาน) ปี พ.ศ.2229 (ค.ศ.1686) คือ ขอบเหรียญจะไม่มีการตอกตราหรือโค้ดใดๆ เพราะโรงกษาปณ์กรุงปารีสเพิ่งเริ่มตีตราที่ขอบเหรียญในปี พ.ศ.2375 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 และบริเวณด้านหน้าใต้พระบรมรูปพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะมีตัวย่อ "LI" อันเป็นตัวย่อของชื่อศิลปินผู้ทำแม่พิมพ์เหรียญที่ทำขึ้นในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

ต่อมา โรงกษาปณ์กรุงปารีส จัดสร้าง "เหรียญโกษาปานย้อนยุค" ในราวสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงควรพิจารณาให้ดี โดยเฉพาะอักษรย่อของศิลปินผู้ทำแม่พิมพ์เหรียญจะไม่เหมือนกัน และมีการตอกโค้ดที่ขอบเหรียญครับผม

(ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก "พิพิธภัณฑ์เหรียญที่ระลึกไทย" ที่ได้ค้นคว้ามาในเบื้องต้น)

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์





     (ซ้าย) พิมพ์วัด  (ขวา) พิมพ์วังบูรพา
เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย

จังหวัดสมุทรสงคราม หรือที่เรียกกันว่า "แม่กลอง" เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มี พระเกจิคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายรูป "หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย" เป็นหนึ่งในนั้น

หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร เจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย เกิดที่ ต.บางแค อ.อัมพวา เมื่อปี พ.ศ.2393 อายุได้ 10 ขวบ บวชเป็นสามเณรที่วัดบางแคใหญ่ ศึกษาอักขรสมัยและภาษาไทยกับพระอาจารย์ที่วัด ระหว่างนั้นได้ร่ำเรียนกับบิดาผู้เชี่ยวชาญด้านไสยเวทไปด้วย จนอายุครบ 20 ปีจึงอุปสมบทที่วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เจ้าอาวาสวัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "พรหมสโร"

ศึกษาด้านพระธรรมวินัยกับพระอุปัชฌาย์ ทั้งยังได้รับการถ่ายทอดวิชาด้านพุทธาคมและวิปัสสนากรรมฐานจนแตกฉาน จากนั้นเดินทางไปจำพรรษาที่ จ.เพชรบุรี เพื่อศึกษาด้านวิปัสสนาธุระและพุทธาคมที่วัดเขาตะเครา และเรียนเพิ่มเติมกับพระอาจารย์เกตุ พระพี่ชาย ที่วัดทองนพคุณ

หลวงพ่อแก้วเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัด ในวัตรปฏิบัติ มีวาจาสิทธิ์ และเป็นพระนักพัฒนา ท่านพัฒนาวัดพวงมาลัย ก่อสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ และเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดจนเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ยังช่วยสร้างวัดอีกหลายแห่ง เช่น วัดอีโก้ วัดสาธุชนาราม เป็นต้น

ท่านเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของบรรดาพุทธศาสนิกชน แม้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่อย่างพระองค์เจ้าภาณุรังษีก็ทรงเคารพเลื่อมใส ถึงกับมาสร้างวังอยู่ใกล้ๆ วัดและเสด็จมาเยี่ยมท่านเป็นประจำ

กิตติศัพท์ทางด้านวิทยาคมของหลวงพ่อแก้วเป็นที่ปรากฏและเลื่องลือขจรไกล ยกตัวอย่างเหตุการณ์หนึ่ง เมื่อครั้งดำเนินการสร้างวัดเขาอีโก้ ซึ่งอยู่ในถิ่นทุรกันดารไม่ค่อยมีใครเข้าไปนัก วันหนึ่งลูกศิษย์มาบอกว่าข้าวสารหมด ท่านก็บอกไม่เป็นไรพร้อมนั่งบริกรรมพระคาถาหยิบผ้าอาบมาพาดบนบ่าแล้วฟาดลงบนพื้นดิน 3 ครั้ง จากนั้นก็เดินเข้าไปจำวัดปกติ พอรุ่งขึ้นเช้าปรากฏมีพวกชาวตลาดได้หาบข้าวสารมาถวายมากมายเป็นที่อัศจรรย์แก่บรรดาลูกศิษย์ยิ่งนัก

หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร มรณภาพในปี พ.ศ.2462 สิริอายุ 69 ปี พรรษาที่ 49 ในวันพระราชทานเพลิง ผู้เลื่อมใสศรัทธาต่างเฮโลเข้าไปแย่งอัฐิของท่านในขณะที่ไฟลุกโชนอยู่ แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดเป็นแผลไฟไหม้เลยเป็นที่น่าอัศจรรย์

วัตถุมงคลมีหลายแบบแต่จำนวนการสร้างไม่มากนัก ทั้งตะกรุดใบลาน ผ้ายันต์ พระผง เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อ ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2459 ในโอกาสสร้างพระอุโบสถวัดพวงมาลัย พร้อมเหรียญพระพุทธ นับเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อแก้วรุ่นแรก ปี 2459 จัดสร้างเป็นหลายเนื้อ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแก้วเต็มองค์ นั่งขัดสมาธิ ล้อมรอบด้วยช่อดอกไม้ เหนือศีรษะเป็นตัว "อุณาโลม" หางยาวจดขอบเหรียญ รอบนอกสุดเป็นอักขระขอมอ่านว่า "พุทยัด ธาปิด ยะอุด นะอุด โมอัด" ล่างสุดเป็นปีที่สร้าง "๒๔๕๙" ด้านหลัง บนสุดเป็นตัว "อุณาโลม" ถัดมาตามแนวรอบขอบเหรียญเป็นอักขระขอมอ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ อุ ทัง อัด โท ปิด คะ นะ" ช่วงกลางว่า "ภู ภี ภุ ภะ" ต่อมาเป็นฉายา "พรหมสโร"

แบ่งพิมพ์เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์วัดและพิมพ์วังบูรพา ซึ่งจะมีความแตกต่างกันที่หูของเหรียญ "พิมพ์วัด" จะเป็นแบบ หูเชื่อม ส่วน "พิมพ์วังบูรพา" ซึ่งพระองค์เจ้าภาณุรังษีเป็น ผู้สร้างถวาย หูเหรียญจะเป็นแบบหูในตัว นอกจากนี้ศิลปะการแกะแม่พิมพ์ก็เป็นฝีมือช่างคนละคนกัน โดยพิมพ์วัดจะได้รับความนิยมมากกว่า องค์สมบูรณ์แบบเรียกว่าเลยหลักแสนไปแล้ว

แต่กระนั้นทั้งสองพิมพ์ก็หาดูหาเช่ายากยิ่งทั้งสิ้น

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #78 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2561 11:53:12 »



เหรียญพระอุปัชฌาย์คำ วัดสนามจันทร์

พระอุปัชฌาย์คำ พรหมสุวณณ วัดสนามจันทร์ จ.ฉะเชิงเทรา หนึ่งในพระเกจิยุคเก่าที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสโดยเฉพาะชาวแปดริ้วและภาคตะวันออก วัตถุมงคลล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ “เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2481” ซึ่งถือเป็นสุดยอดเหรียญดังของจังหวัด เพราะนอกจากตัวท่านแล้ว ยังมีพระเกจิชื่อดังในยุคนั้นร่วมปลุกเสกอีกมากมาย

พระอุปัชฌาย์คำ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2401 ที่บ้านปากคลองสนามจันทร์ ท่านไม่ค่อยกลัวใคร จนในละแวกนั้นต่างก็ยกให้เป็นลูกพี่

ต่อมาเมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.2421 บิดามารดาจึงให้อุปสมบท ณ วัดสนามจันทร์ อ.บ้านโพธิ์ มีหลวงพ่อแก้ว วัดบ้านโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “พรหมสุวณโณ”

หลังอุปสมบท เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า สามารถท่องพระธรรมวินัยและเข้าสอบพระธรรมวินัยได้ที่ 1 ท่านยังชอบศึกษาพุทธาคม ใฝ่ใจศึกษาวิทยาการต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ผู้ทรงพุทธาคมแก่กล้า ทั้งมหาอุด พัดโบก กำบังไพร เมตตามหานิยม และสำเร็จผงปถมัง ฯลฯ

จากนั้นในราวพรรษาที่ 5 ก็เริ่มออกธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อฝึกวิปัสสนา จนไปพบ “ตาปะขาวพุ่ม” ฆราวาสจอมขมังเวท จึงฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาพุทธาคมจนแตกฉาน ทั้งมหาอุด ตะกรุดใต้น้ำ ล่องหนหายตัว ฯลฯ
 
ต่อมาได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสนามจันทร์และพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง จนเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาที่วัด จึงได้แต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สุดท้ายเป็นเจ้าคณะแขวง มรณภาพในปี พ.ศ.2488 สิริอายุ 87 ปี 66 พรรษา

พระอุปัชฌาย์คำ เคร่งครัดในศีลานุวัตร มีเมตตาธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและพื้นที่ใกล้เคียง กิตติศัพท์ด้านพุทธาคมของท่านเองก็ขจรไกล

ในปี พ.ศ.2481 ก่อสร้างอุโบสถวัดสนามจันทร์ แต่ยังขาดทุนทรัพย์อีกจำนวนมาก จึงคิดสร้าง “เหรียญรูปเหมือน” เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ให้การก่อสร้างสำเร็จลุล่วง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบรรดาลูกศิษย์ลูกหานำแผ่นทองแดงประมาณ 300 แผ่น ไปให้พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นร่วมกุศลจิตในการลงอักขระเลขยันต์เพื่อเป็นชนวนมวลสาร

อาทิ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อคง วัดซำป่างาม หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฯลฯ แล้วนำกลับมาให้ช่างในกรุงเทพฯ รีดเป็นแผ่นโลหะแล้วปั๊มเป็นรูปเหรียญ โดยสร้างเป็นเนื้อทองแดง นอกจากนี้ยังมีกะไหล่เงิน สำหรับแจกกรรมการด้วย

เมื่อแล้วเสร็จได้เข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดสนามจันทร์ โดยมีพระเกจิชื่อดังทางภาคตะวันออกมาร่วมปลุกเสกถึง 9 รูป คือพระพุทธรังสีมุนีวงศ์(โฮ้ว) เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา, พระสันทัดธรรมาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี, หลวงพ่อพูน วัดตาล้อม จ.ชลบุรี, หลวงพ่อศรี วัดพนัสนิคม จ.ชลบุรี, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา และ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี แล้วนำเหรียญไปเก็บไว้ในกุฏิปลุกเสกเดี่ยวอีก 1 พรรษา จึงนำมาแจกในงานฝังลูกนิมิตอุโบสถวัดสนามจันทร์

เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกพระอุปัชฌาย์คำ ปี 2481 ลักษณะเป็นเหรียญรูปอาร์ม หูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนพระอุปัชฌาย์คำ ด้านบนจารึกอักษรไทยว่า “พระอุปัชฌาย์คำ” ด้านล่างว่า “พรหมสุวณณ” ด้านหลัง เป็นยันต์ตรีนิสิงเห มีอักษรไทยกำกับว่า “ที่ระลึก ในการฝังลูกนิมิตร์ วัดสนามจันทร์ อ. บ้านโพธิ์ จ. ฉะเชิงเทรา ๒๔/๑๑/๘๑” แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ยันต์ใหญ่และพิมพ์ยันต์เล็ก

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์





พระพิมพ์ซุ้มกอ วัดคลองมะดัน

หลวงพ่อโหน่ง อินทสุวัณโณวัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี อีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต

วัตถุมงคลของท่านล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ “พระพิมพ์ซุ้มกอ” หาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่ง

หลวงพ่อโหน่งเป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง เมื่อปี พ.ศ.2408

ในปี พ.ศ.2433 เมื่ออายุ 24 ปีจึงได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง โดยมีพระอธิการจันทร์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ดิษฐ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการสุต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “อินทสุวัณโณ” ซึ่งแปลว่า ผู้มีผิวกายดุจพระอินทร์

เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ค้นคว้าศึกษาพระธรรมวินัยจนรู้ซึ้งและแตกฉาน ออกเดินทางไปยังวัดทุ่งคอกด้วยเส้นทางที่ยากลำบาก เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์พระอธิการจันทร์ ผู้มีชื่อเสียงและกิตติศัพท์ด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมแขนงต่างๆ ต่อมาเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า พระเกจิชื่อดังสุพรรณบุรี
 
ในระหว่างศึกษาอยู่กับหลวงพ่อเนียมก็ได้รู้จักกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมาฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเนียมเช่นกัน โดยหลวงพ่อโหน่งนับเป็นศิษย์รุ่นพี่ หลวงพ่อเนียมได้เคยปรารภกับหลวงพ่อปานว่า “ถ้าข้าตายแล้วสงสัยธรรมข้อใดให้ไปถามท่านโหน่งเขานะ เขาพอแทนข้าได้” แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระธรรมวินัยและวิทยาการต่างๆ จนเป็นที่ยอมรับของพระอาจารย์

เมื่อกลับมาจำพรรษาที่วัดสองพี่น้อง ชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านเริ่มเป็นที่เล่าขานขจรไกลทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ จนล่วงรู้ไปถึงหลวงพ่อแสง เจ้าอาวาสวัดคลองมะดัน อ.สองพี่น้อง ผู้เก่งกล้าในวิชาอาคมต่างๆ จึงเดินทางมาพบและสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ จนมีความสนิทสนมกันมาก หลวงพ่อแสงได้ชักชวนท่านให้มาอยู่ด้วยกันที่วัดคลองมะดัน ซึ่งท่านก็ตอบตกลงด้วยความเต็มใจ และเมื่อหลวงพ่อแสงมรณภาพในปี พ.ศ.2454 ท่านจึงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองมะดันสืบต่อมา จากนั้นได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดและเสนาสนะต่างๆ สร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ พระวิหาร ฯลฯ จนวัดคลองมะดันเจริญรุ่งเรืองเป็นที่เชิดหน้าชูตา

ระหว่างนั้นหลวงพ่อปานก็ได้เดินทางมาสนทนาธรรมและแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ท่านยังมีความเกี่ยวพันกับพระเกจิชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นคนพื้นบ้านสองพี่น้องเช่นเดียวกัน 2 รูป เมื่อครั้งอุปสมบทที่วัดสองพี่น้อง คือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของสมเด็จป๋า (ปุ่น ปุณณสิริ) วัดโพธิ์ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 และเป็นพระอนุสาวนาจารย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จันทสโร) แห่งวัดปากน้ำภาษีเจริญ

หลวงพ่อโหน่งมรณภาพในปี พ.ศ.2477 สิริอายุรวม 69 ปี พรรษา 46

หลวงพ่อโหน่งเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครจำได้ แต่มีพระดินเผาอยู่องค์หนึ่ง จารึกด้านหลังว่า “พ.ศ.๒๔๖๑” จึงสันนิษฐานว่าท่านน่าจะเริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2461 เพราะไม่ปรากฏ พ.ศ.ที่เก่ากว่านั้นเลย

วัตถุมงคลของท่านเป็น “พระพิมพ์ ดินเผา” มีทั้งละเอียดและหยาบ ทั้งพระบูชา พระเครื่อง และมีมากมายหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ลีลา พิมพ์ขุนแผน พิมพ์พระสมเด็จสามชั้น พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์กลีบบัว พิมพ์พระตรีกาย พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์พระปิดตา พิมพ์นาคปรก พิมพ์ปางไสยาสน์ พิมพ์กำแพงศอก ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ “พิมพ์ซุ้มกอ” ซึ่งมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ค่านิยมก็แตกต่างกันไปตามสภาพ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




เหรียญหลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี

จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดเก่าแก่จังหวัดหนึ่งของไทย มีวัดวาอารามมากมาย รวมถึงพระพุทธรูป-พระเครื่องกรุเก่าที่นับเป็นมรดกล้ำค่าและเป็นที่นิยมสืบต่อกันมา นอกจากนี้ ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักและเคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศมาแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน หนึ่งในพระเกจิยุคเก่าที่ยังคงเป็นที่เคารพศรัทธาและกล่าวขานถึงมาจวบจนปัจจุบัน ทั้งชาวเมืองสิงห์บุรีและใกล้เคียง รวมถึงแวดวงผู้นิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ ซึ่งก็คือ หลวงพ่อลา ปุณณชิ วัดโพธิ์ศรี

นามเดิมว่า ลา พันธุ์โสภาคย์ เกิดที่หมู่บ้านบางกะปิ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เมื่อปี พ.ศ.2404

อุปสมบทที่ วัดโพธิ์ศรี ต.อินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี ในสมัยที่ “พระอาจารย์คิ้ม” เป็นเจ้าอาวาส ได้รับฉายา “ปุณณชิ” ใฝ่ใจศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและวิปัสสนาธุระจนแตกฉาน

จากนั้นเริ่มออกธุดงค์เพื่อบำเพ็ญสมถกรรมฐาน และเมื่อพบพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมแก่กล้าจึงฝากตัวเข้าเป็นศิษย์เล่าเรียนไสยเวท

เมื่อวัดโพธิ์ศรีว่างเว้นเจ้าอาวาส ชาวบ้านจึงอาราธนาท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาท่านได้เป็นสหายธรรมกับ”พระอริยมุนี (เผื่อน)” วัดราชบพิธฯ จึงลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส และเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พร้อมพระอริยมุนี ถวายตัวกับ สมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร และในปี พ.ศ.2439 จึงได้อุปสมบทใน “ธรรมยุติกนิกาย” ที่วัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ โดยมีสมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นกลับมาจำพรรษาที่วัดโบสถ์ อ.อินทร์บุรี

ต่อมาในปี พ.ศ.2442 ชาวบ้านวัดโพธิ์ศรีได้มาขอหลวงพ่อลากับพระครูสิงหบุราจารย์ (อินทร์) เพื่อตั้งคณะธรรมยุตขึ้นที่วัดโพธิ์ศรี วัดโพธิ์ศรีจึงเปลี่ยนจากวัดมหานิกายเป็น วัดธรรมยุติกนิกายนับแต่นั้นมา ประจวบกับเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีว่างลง หลวงพ่อลาจึงได้รับนิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี เป็นครั้งที่ 2 ดูแลปกครองและพัฒนาวัดโพธิ์ศรีจนเจริญรุ่งเรืองมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักขจรไกล เป็นที่เคารพรักของพุทธศาสนิกชนโดยถ้วนทั่ว ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา
 
สมณศักดิ์สุดท้ายเป็น “พระครูวินิตศีลคุณ” มรณภาพในปี พ.ศ.2486 สิริอายุ 82 ปี

หลวงพ่อลา เป็นผู้ที่ยึดมั่นในสมถกรรมฐานและมีพลังจิตที่แก่กล้า ได้รับความไว้วางใจจากชาวสิงห์บุรีให้เป็นพระคณาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตในพิธีพุทธาภิเษก “เหรียญกริ่งรูปเหมือน แหวนมงคลเกล้า” ในพิธีสมเด็จ พระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ณ วัดราชบพิธฯ เมื่อปี พ.ศ.2481 ซึ่งเป็นพิธี ที่ยิ่งใหญ่มากในยุคนั้น มีพระเกจิคณาจารย์ ชื่อดังจากทั่วประเทศร่วมปลุกเสกถึง 108 รูป

หลวงพ่อลาสร้างวัตถุมงคลไว้หลายชนิด เช่น เหรียญ ตะกรุดโทน ผ้ายันต์ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมี “เหรียญปั๊มรูปเหมือน ปี 2468” ซึ่งเป็นเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกและรุ่นเดียว ที่นับเป็นหนึ่งในเหรียญยอดนิยมของจังหวัด ปัจจุบันหาดูเช่าของแท้ยากยิ่งนัก

เหรียญปั๊มรูปเหมือนปี 2468 สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในการสร้างโรงเรียนประชาบาล “ลาวิทยาคาร” มีจำนวนเพียง 1,000 เหรียญเท่านั้น

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเสมา หูในตัว เนื้อทองแดงกะไหล่ทองเพียงเนื้อเดียว พิมพ์ด้านหน้า ยกขอบ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระปางนาคปรก ศิลปะสมัยลพบุรี พุทธปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานในวิหารวัดโพธิ์ศรี เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างสูงของชาวสิงห์บุรี พิมพ์ด้านหลัง ยกขอบเส้นลวดด้านใน ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อลานั่งสมาธิเต็มองค์ ล้อมรอบด้วยอักขระขอมพระคาถา 9 ตัว ว่า “กะ สะ ทะ กะ พะ สะ สะ ทะ กะ” ด้านล่างจารึกอักษรไทยว่า “พระอธิการลา วัดโพธิ์ศรี พ.ศ.๒๔๖๘”

ด้วยความที่เหรียญนี้มีการทำเทียมมาแต่อดีตจนปัจจุบันและการจัดสร้างค่อนข้างน้อย จึงต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ หรืออาศัยผู้ชำนาญการที่เชื่อถือได้จะได้ไม่ผิดหวังครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




เหรียญเด่นหลวงพ่อเส็ง

พระครูวิมลศีลาจาร หรือ หลวงพ่อเส็ง พุทธปาลิโต อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมแก่กล้า เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติและมีเมตตาธรรมสูง

วัตถุมงคลของท่านทุกประเภทล้วนเป็นที่นิยมสะสมของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ.2485" และ "เหรียญโภคทรัพย์" ซึ่งเหรียญรุ่น 3 ด้วยพุทธคุณโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์

เกิดเมื่อวันพุธที่ 19 ม.ค.2440 ที่บ้านเมืองใหม่ ประจันตคาม เมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.2460 อุปสมบท ณ วัดทัพช้าง (เมืองใหม่) โดยมี พระครูพิพัฒน์ปัจจันตเขต (สิงห์) เจ้าคณะแขวงปัจจันตคาม เป็นพระอุปัชฌาย์ ใฝ่ใจศึกษาพระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐาน จนปี พ.ศ.2475 สามารถสอบนักธรรมชั้นเอกได้ จึงได้ย้ายไปเป็นครูสอนพระปริยัติที่วัดท่าเรือ
 
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสและเป็นพระปลัดฐานานุกรมของพระครูพิพัฒน์ปัจจันตเขตขณะนั้น และเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมาจนได้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีประจันตคาม ที่พระครูวิมลศีลาจาร

มรณภาพในวันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2507 สิริอายุ 67 ปี 47 พรรษา พระราชทานเพลิง ในปี พ.ศ.2508

วัตถุมงคลของหลวงพ่อเส็งมีมากมายหลายประเภท อาทิ เหรียญ พระกริ่ง ผ้ายันต์ ฯลฯ ในสมัยสงครามอินโดจีนนั้น เรียกได้ว่า กิตติศัพท์ด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีไม่ได้ด้อยไปกว่า หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เลยทีเดียว

วัตถุมงคลที่เป็นที่มีความโดดเด่นที่สุด 2 รุ่น คือ

เหรียญรุ่นที่ 1 เป็น "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกในงานทำบุญวันเกิดของท่านเมื่อปี พ.ศ.2485 เรียกกันว่า "เหรียญรุ่นแซยิด" ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 45 ปี แสดงถึงความศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อเส็ง จึงขออนุญาตจัดสร้างเพื่อไว้สักการะเป็นที่ระลึกและปกป้องคุ้มครอง

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา เนื้อทองแดง ทั้งรมดำและกะไหล่ทอง และมีเนื้อเงินบ้างเล็กน้อย ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อเส็งครึ่งองค์หันหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านล่างเป็นตัวหนังสือไทยว่า "พระปลัดวิมล" ระบุปีที่สร้าง "๒๔๘๕" ด้านหลัง เป็นยันต์อิติปิโส 8 ทิศ ต่อมาเป็นอักษรไทยว่า "ราสดรสัทธาทำ ท่าเรือ ประจันตะคาม"

ส่วนเหรียญรุ่นที่ 3 เป็น "เหรียญโภคทรัพย์" ที่หลวงพ่อเส็งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่มีการปลูกต้นโพธิ์ตรัสรู้พันธุ์พุทธคยาที่วัดประจันตคาม ในปี พ.ศ.2499 มีเนื้อเงินและเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญทรงกลม ไม่มีหู ด้านหน้า เป็นรูปนางกวักนั่งหันข้างเต็มรูป มีถุงเงิน 3 ถุง แต่ละถุงมีตัวเลขกำกับ

ด้านบนเป็นอักขระขอมอ่านว่า "สิริโภคา นะมาสะโย วัชชะทะนัง" ด้านล่างเป็นอักษรไทยว่า "เหรียญโภคทรัพย์" ต่อด้วยจุดกลมโดยรอบขอบเหรียญมาบรรจบกันรวม 36 จุด ด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์รูปใบโพธิ์ จารึกอักขระขอมว่า "อุอากะสะ นะชาลีติ เยสิทธิลาภา" โดยรอบเหรียญเป็นอักษรไทยว่า "เหรียญโภคทรัพย์ในพิธีปลูกโพธิ์ตรัสรู้พันธุ์พุทธคยา วัดศรีประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี พ.ศ.๒๔๙๙"

พิมพ์ด้านหน้าเหรียญซึ่งเป็นรูป "นางกวัก" นั้น เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ด้านการค้าขาย เป็นการกวักเรียกผู้คนและเงินทอง ยิ่งได้กำกับด้วย "คาถาเรียกทรัพย์" ของท่าน จึงสร้างให้ผู้ครอบครองเหรียญได้ปรากฏในพุทธคุณแห่งเมตตามหานิยม โชคลาภ และทำมาค้าขึ้นกันถ้วนหน้าครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




พระวัดระฆังหลังค้อน

เมื่อกล่าวถึงวัดระฆังโฆสิตาราม ทุกคนจะต้องนึกถึงพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องอันเลื่องลือ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระเก่าที่มีค่านิยมสูงลิ่วจนแทบแตะไม่ถึง ความจริงแล้วยังมีการสืบทอดการสร้างพระเครื่องของวัดระฆังฯ ในรุ่นต่อๆ มาอีกมากมาย

โดยเฉพาะพระรุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงและพุทธคุณเป็นที่ปรากฏ เช่น พระพุทธบาทปิลันทน์ ของ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์(ทัด) และ พระวัดระฆังหลังค้อน ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ซึ่งเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหากันอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไปเช่นกัน แต่ถ้ากล่าวถึงสนนราคาที่ยังพอจับต้องได้ต้องยกให้ “พระวัดระฆังหลังค้อน”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) เป็นบุตรหม่อมเจ้าถึก ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระอิศรานุรักษ์ ต้นราชสกุล “อิศรางกูร” เกิดที่จังหวัดนครนายก เมื่อปี พ.ศ.2400 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว

จนอายุได้ 7 ขวบ บิดาจึงนำไปถวายเป็นศิษย์หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้ศึกษาร่ำเรียนพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์ที่วัดระฆังโฆสิตารามหลายๆ รูป รวมถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศนเทพวราราม

จนปี พ.ศ.2413 จึงบรรพชาที่วัดระฆังโฆสิตาราม เมื่ออายุครบอุปสมบทล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็น “นาคหลวง” และอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้รับฉายา “ญาณฉันโท” ร่ำเรียนด้านปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญ 5 ประโยค ในปี พ.ศ.2425

จากนั้นได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เรื่อยมาจนประมาณปี พ.ศ.2460 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดระฆังฯ

ปี พ.ศ.2464-2465 ได้เป็นพระราชาคณะที่ “พระพุทธโฆษาจารย์” ท่านเจ้าประคุณมรณภาพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2470 สิริอายุ 70 ปี พรรษา 50

สร้าง “พระวัดระฆังหลังค้อน” ในช่วงบั้นปลายของชีวิต เพื่อแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้สักการบูชา โดยมีการจัดสร้างด้วยกัน 2 ครั้ง

ครั้งแรกระหว่างปี พ.ศ.2453-2457 ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็น “พระพิมลธรรม” ลักษณะเป็นพระเครื่องทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก กว้างประมาณ 1.3 ซ.ม. สูงประมาณ 2 ซ.ม. หล่อด้วยโลหะผสมแก่ทองเหลือง โดยได้ส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณหลายสำนักเพื่อให้จารอักขระเลขยันต์แล้วส่งคืนกลับมา ผสมรวมกับชนวนรูปหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) วัดเบญจมบพิตร และชนวนรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ

จากนั้นอาราธนาพระเถรานุเถระผู้ทรงวิทยาคุณยุคนั้นเข้าร่วมปลุกเสกอีกครั้งก่อนที่จะหล่อหลอมเทเป็นองค์พระ ด้วยวิธี “การหล่อแบบโบราณ”

พิมพ์ด้านหน้าองค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานเขียง รองด้วยฐานบัว 2 ชั้น ภายในซุ้มครอบแก้ว พื้นในซุ้มด้านหลังองค์พระเป็นปรกโพธิ์ ลักษณะเป็นเม็ดกลมรายรอบเหนือพระเศียร ส่วนพิมพ์ด้านหลังเป็นหลังเรียบ บางองค์อาจมีรอยค้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง จากการใช้ค้อนกระแทกให้องค์พระแยกออกจากกัน อันเป็นที่มาของชื่อ “หลังค้อน” บางองค์ก็ไม่มี จะมีแต่เพียงรอยตะไบแต่งเท่านั้น ประการสำคัญคือองค์พระจะมีรอยตัดด้านบนและด้านล่าง หรือที่เซียนพระทั้งหลายเรียกว่า “ตัดหัวตัดท้าย” ด้านข้างทั้งสองด้านส่วนใหญ่จะไม่มีร่องรอยการตกแต่งด้วยตะไบ สามารถแบ่งพิมพ์ออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ล่ำ และพิมพ์ชะลูด

ครั้งที่สอง อยู่ในราวปี พ.ศ.2458-2470 สร้างเพื่อแจกจ่ายแก่ทหาร ตำรวจ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ประชาชนในช่วงสงคราม โดยใช้พิมพ์ทรงเดียวกันแต่กรรมวิธีการหล่อแตกต่างไปจากเดิม คือเป็นการ “หล่อโบราณแบบเข้าช่อ” ตัดก้านชนวน เมื่อตัดเอาองค์พระออกจากช่อชนวนแล้วนำพระไปตกแต่งขอบหรือส่วนที่เป็นเนื้อเกินออกไปให้เรียบร้อย ดังนั้น องค์พระจะมีร่องรอยการตกแต่งขอบทุกด้าน นอกจากนี้ ความหนาขององค์พระส่วนใหญ่จะหนาน้อยกว่าที่สร้างครั้งแรก

การจัดสร้างทั้งสองครั้งนี้จะมีลักษณะแม่พิมพ์เหมือนกัน ถ้าจะพิจารณาว่าเป็นการสร้างครั้งใดต้องดูที่กระแสเนื้อของโลหะ การหล่อครั้งแรกกระแสเนื้อจะออกสีเหลืองคล้ายทองดอกบวบ หรือไม่ก็เหลืองอมเขียว

ส่วนในการหล่อครั้งที่ 2 กระแสเนื้อจะออกสีเหลืองอ่อน

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์





พระลีลา วัดถ้ำหีบ

พระลีลา วัดถ้ำหีบ เป็นพระกรุเก่าแก่ของจังหวัดสุโขทัยที่ได้รับการยกย่องว่ามีพุทธลักษณะงดงามมาก ลายเส้นมีความอ่อนไหว ชัดเจน และกลมกลืนกันอย่างหาที่ติไม่ได้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์แห่งศิลปะสกุลช่างสุโขทัยบริสุทธิ์โดยแท้ แต่ถึงแม้จะมีถิ่นกำเนิดที่สุโขทัย แต่ก็หาได้ยากยิ่งและไม่ค่อยแพร่หลายในสุโขทัยนัก สันนิษฐานว่า หลังจากการขุดค้นพบน่าจะนำออกมากระจายนอกเขตจังหวัดและในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ ด้านของพุทธคุณนั้นเป็นเลิศทั้งโภคทรัพย์และเมตตามหานิยมเป็นที่ปรากฏ ทำให้ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สนนราคาเช่าหาค่อนข้างสูงมาก

พระลีลา วัดถ้ำหีบ มีการค้นพบภายในถ้ำบริเวณวัดร้างบนเขากิ่วอ้ายมา จ.สุโขทัย ซึ่งเดิมชื่อ “วัดถ้ำหีบ” วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่ไม่ได้รับการบูรณะจนเหลือเพียงซากปรักหักพัง ไม่หลงเหลือร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองในอดีตเลย ชาวบ้านขึ้นเขาไปเพื่อหามูลค้างคาว พอเข้าถ้ำพบไหเคลือบหลายใบ เมื่อเปิดออกดูจึงพบ “พระปางลีลา” ลักษณะเป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก รูปทรงยาวรียอดแหลม ขนาดเขื่อง สูงประมาณ 8.5 ซ.ม. ฐานกว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. รูปกรอบดูมีสองชั้น

ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหยาบและละเอียด บางองค์มีการล่องชาดและปิดทองมาแต่ในกรุ เนื้อพระออกผิวเหลืองนวล ดูเหมือนพระใหม่หรือหม้อใหม่ แสดงว่าองค์พระไม่เคยสัมผัสอากาศภายนอกเลย เนื้อมีความแกร่ง โดยเฉพาะสีแดงจะแกร่งมากกว่าสีเหลือง เมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวาน และจากที่เป็นพระที่อยู่ในกรุเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี จึงปรากฏคราบนวลดินบางๆ เกาะติดอยู่บนผิวขององค์พระเช่นเดียวกับพระเนื้อดินทั่วไปอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญ

 ดังนั้น นอกจากจะพิจารณาพุทธลักษณะขององค์พระแล้ว ต้องสังเกตที่ “คราบของนวลดิน” บนองค์พระ อันถือได้ว่าเป็น “จุดตาย” ภายในไหยังพบพระเนื้อชินและเนื้อว่านที่มีพุทธลักษณะเหมือนกัน แต่มีจำนวนน้อยมาก “พระลีลา วัดถ้ำหีบ” ยังมีการค้นพบที่กรุวัดเจดีย์งามและวัดเขาพระบาทน้อย อีกด้วย

พุทธลักษณะองค์พระประทับยืน แสดงปางห้ามพระไม้แก่นจันทน์ เหนือฐานหมอนชั้นเดียว พระบาทข้างซ้ายทรงอยู่ ส่วนข้างขวายกขึ้นเล็กน้อย ในลักษณะการลีลาก้าวย่าง พระกรข้างขวาทอดลงตามลำพระองค์ พระกรข้างซ้ายยกขึ้นเหนือพระอุระและผายฝ่าพระหัตถ์ออก เห็นรอยชายสบงและชายจีวรด้านล่าง โดยเฉพาะชายจีวรที่ซ้อนทบกันอย่างมีมิติ พระเกศเฉียงไปด้านซ้ายขององค์พระ หากใช้กล้องส่องดูจะเห็นฐานพระเมาลีเหนือพระนลาฏ (หน้าผาก) มีเส้นขีดเป็นไรพระศก พระพักตร์เป็นหน้านางศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ พระเนตรเป็นเนตรเนื้อลักษณะรี ที่ลำพระศอมีรอยนูนคล้ายสร้อยพระศอค่อนข้างชัดเจน น้ำหนักเส้นสายต่างๆ แลดูอ่อนไหว นับเป็นพระปางลีลาที่มีความงดงามมาก

ส่วนด้านหลัง เป็นหลังเรียบ จะเห็นลายผ้าดิบจากการกดพิมพ์ด้วยมือ ซึ่งเป็นรอยสูงต่ำไม่เรียบเสมอกันคล้ายๆ ลายมือ จึงมักเรียกกันว่า “หลังลายมือ” สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์ข้างเม็ด

สำหรับของทำเทียมเลียนแบบนั้นทำกันมาเนิ่นนานแล้ว ยิ่งพระเนื้อแกร่งยิ่งทำได้ใกล้เคียงมาก ถ้าไปเห็นเนื้อพระสีเขียวเมื่อไหร่ให้ระวังไว้ด้วย เพราะส่วนใหญ่แล้วของปลอม เนื้อจะขรุขระไม่เรียบ มักมีเม็ดโปนขึ้นมาเหมือนตัวหมัด และของปลอมจะหดตัวทั้งเนื้อและเส้นสายจะเล็กกว่าของจริง

จุดสังเกตสำคัญ คือบนพื้นที่ช่องว่างของเรียวพระบาทหรือหว่างขาด้านล่างนั้น จะมีเส้นตรงปรากฏอยู่ชัดเจน เดิมทีคงเป็นเส้นชายจีวรแต่ติดเฉพาะเส้นเรียวบาง ซึ่งมักถอดพิมพ์ไม่ติดครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์





พระขุนแผนเคลือบ พิมพ์อกใหญ่

ยิ่งต่อมาภายหลัง ได้ปรากฏ “พระขุนแผนเคลือบ” ตามกรุอื่นๆ อีก อาทิ กรุโรงเหล้า กรุวัดเชิงท่า และกรุบางใหญ่ ซึ่งมีพุทธลักษณะเหมือนกับพระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคลทุกประการ แต่จะต่างกันตรงความสวยงามสมบูรณ์ การเคลือบหรือไม่เคลือบ จึงทำให้ค่าความนิยมและสนนราคาด้อยกว่าค่อนข้างมาก ซึ่งพวกขี้โกงหัวใสมักนำมาปรุงแต่งหลอกลวง ต้องระวังไว้ให้มากเช่นกัน

ฉบับนี้มาดูจุดพิจารณา “พระขุนแผนเคลือบ พิมพ์อกใหญ่” ซึ่งนับเป็นพิมพ์นิยมกันครับผม

 ยิ่งต่อมาภายหลัง ได้ปรากฏ “พระขุนแผนเคลือบ” ตามกรุอื่นๆ อีก อาทิ กรุโรงเหล้า กรุวัดเชิงท่า และกรุบางใหญ่ ซึ่งมีพุทธลักษณะเหมือนกับพระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคลทุกประการ แต่จะต่างกันตรงความสวยงามสมบูรณ์ การเคลือบหรือไม่เคลือบ จึงทำให้ค่าความนิยมและสนนราคาด้อยกว่าค่อนข้างมาก ซึ่งพวกขี้โกงหัวใสมักนำมาปรุงแต่งหลอกลวง ต้องระวังไว้ให้มากเช่นกัน

ฉบับนี้มาดูจุดพิจารณา “พระขุนแผนเคลือบ พิมพ์อกใหญ่” ซึ่งนับเป็นพิมพ์นิยมกันครับผม
– ให้สังเกตน้ำเคลือบสีเหลือง จะต้องมีรอยแตกเป็นใยแมงมุม และจะแตกจากพื้นล่างสู่ผิวบนของเคลือบ ส่วนผิวบนสุดจะไม่แตก
– พระเกศจะเหมือนเกศบัวตูม
– ฐานพระเกศมีลักษณะเป็นพวงมาลัยครอบ
– ตรงปลายพระขนงด้านซ้ายขององค์พระจะปรากฏติ่งนูน
– เสารองรับซุ้มเรือนแก้วจะเป็นเส้นคู่และคมชัด
– หัวเสารองรับซุ้มเรือนแก้วทางด้านขวาขององค์พระจะมีรอยนูนปรากฏ

ส่วนด้านหลัง พื้นผิวขององค์พระจะปรากฏรอยหดเหี่ยว และให้สังเกตว่าน้ำเคลือบจะไม่เต็มแผ่นหลัง มีความหนา และมีลักษณะเป็นรอยแตก

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 พฤษภาคม 2561 11:58:13 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2318


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #79 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2561 12:00:40 »




พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง

วัดบ้านกร่าง วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตั้งอยู่ ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณหรือแม่น้ำท่าจีน นับเป็นกรุพระเครื่องเก่าแก่ ที่มีชื่อเสียงกรุหนึ่งของจังหวัด ปรากฏพระเครื่องลือชื่ออันดับต้นๆ มากมาย ที่เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหากันอย่างกว้างขวาง

สันนิษฐานว่า พระกรุวัดบ้านกร่าง น่าจะเป็นพระพิมพ์ที่สร้างในสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งเดินทัพมาที่เมืองสุพรรณ เพื่อสู้รบกับกองทัพพม่า ซึ่งมีพระมหาอุปราชเป็นแม่ทัพใหญ่ และทรงสร้างพระเครื่องไว้ที่วัดบ้านกร่าง ให้ทหารที่ออกรบนำติดตัวไว้ เพื่อให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการสงคราม สมัยนั้นคติของคนโบราณถือว่า “พระต้องอยู่ที่วัด”

ดังนั้น เมื่อการสงครามสิ้นสุด ทหารจึงนำพระทั้งหมดมารวมไว้ที่วัดบ้านกร่างตามเดิม แล้วสร้าง “พระเจดีย์” บรรจุไว้

อีกเหตุผลหนึ่งคือ มีพระกรุวัดบ้านกร่างพิมพ์หนึ่ง มีพิมพ์ทรงเดียวกับ พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา อันเป็นที่ทราบกันว่า สร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่จะผิดกันก็ตรงความประณีตและเนื้อมวลสารที่ด้อยกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะรีบสร้างในช่วงทำศึกสงคราม ทำให้วัสดุและความประณีตด้อยกว่า

ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็แสดงว่า “พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จะต้องสร้างขึ้นก่อนพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล อย่างแน่นอน”

พระขุนแผน พิมพ์อกใหญ่
กรุวัดบ้านกร่าง นับเป็นพระยอดนิยมที่มีพุทธลักษณะเดียวกับ “พระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล” คือ พิมพ์ทรงห้าเหลี่ยม องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายในซุ้มเรือนแก้ว องค์พระแลดูสง่าผ่าเผย งดงามสูงประมาณ 4.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 3 ซ.ม. เอกลักษณ์สำคัญคือ “พระเกศทะลุซุ้ม” มีจุดการพิจารณาแม่พิมพ์ดังนี้

ด้านหน้า
– พระเกศเหมือนดอกบัวตูม
– ฐานพระเกศมีลักษณะเป็นพวงมาลัยครอบ
– ข้างพระพักตร์ด้านบนซ้ายมือขององค์พระ ปรากฏเม็ดผดขึ้น 2 เม็ด
– ปรากฏเม็ดผดในซอกพระกรรณด้านซ้าย
– หัวเสารองรับซุ้มเรือนแก้วด้านขวามือขององค์พระจะมีเนื้อนูนออกมา
– เส้นขอบเสาทั้งด้านซ้ายและด้านขวาไม่เหมือนกัน
– ฝ่าพระหัตถ์ด้านขวาที่วางเหนือพระชานุจะมีเม็ดนูนขึ้นมา และนิ้วพระหัตถ์ลักษณะเหมือนหางไก่ชน
– เส้นชายสบงจะติดกับพระบาทล่าง

ส่วนด้านหลังจะมีลักษณะเป็นรอยลูกคลื่นและมีรอยเสี้ยนปรากฏ

นอกจากนี้ “พระกรุวัดบ้านกร่าง” ที่นับเป็นพระยอดนิยม อันดับต้นๆ อีกหนึ่งพิมพ์ คือ “พิมพ์ทรงพลใหญ่” ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าพระตระกูลขุนแผนทั้งหมด และยังมี พิมพ์อกเล็ก, พิมพ์ทรงพลเล็ก, พิมพ์แขนอ่อน, พิมพ์หน้าเทวดา, พิมพ์หน้าฤๅษี ฯลฯ ซึ่งล้วนมีความงดงามและทรงพุทธคุณเป็นเลิศทั้งแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยมเช่นเดียวกั

แต่ค่านิยมในวงการจะลดหลั่นกันไปตามความนิยมครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




พระขุนแผน กรุหลังโรงเหล้า

พระขุนแผน อีก 1 กรุ ณ เมืองกรุงเก่า ที่ต้องกล่าวถึงเช่นกัน เพราะถือเป็น 1 ในพระพิมพ์ขุนแผนที่มีกิตติศัพท์ด้านพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือ ทั้งยังมีเนื้อหามวลสารและพิมพ์ทรงเดียวกันกับ “พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล” อีกด้วย คือ มีทั้งพิมพ์อกใหญ่และพิมพ์อกเล็ก จะแตกต่างกันตรงที่เป็นพระที่ยังไม่ได้เคลือบด้วยน้ำยาเท่านั้น นอกจากนี้ พระกรุนี้ยังไปตรงกับ “พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี” แต่ต่างกันก็ตรงเนื้อมวลสารที่สร้างด้วยดินขาว ดินเหลือง และดินดำ เป็นหลัก เมื่อเผาแล้วองค์พระจะออกเป็นสีขาวแบบเนื้อกระเบื้อง ทำให้เนื้อพระมีความแกร่งมากกว่า ในวงการเรียกขานพระขุนแผนกรุนี้ว่า “กรุหลังโรงเหล้า” หรือบ้างก็เรียก “กรุโรงเหล้า” ชื่อกรุพระเองก็ยังดูแปลกๆ…มาดูกันว่าเป็นมาอย่างไร

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2485 โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเมือง ด้านหน้าติดถนนอู่ทอง ฝั่งตรงข้ามเป็น “โรงงานสุราพระนครศรีอยุธยา” ซึ่งหันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา หันหลังให้โรงเรียนฝึกหัดครูสตรี ได้ขยายและก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่ม โดยมีผู้ควบคุมการตกแต่งสถานที่ ชื่อ ท่านอาจารย์ หลุย ชมชื่น มีคนงานทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยอิสลาม โดยส่วนใหญ่ทำการเกลี่ยดินได้วันละ 50 สตางค์ ในสมัยนั้น

ปรากฏว่าคนงานทำการขุดแต่งโคกโบสถ์ร้างแห่งหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยซากอิฐซากปูน ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดสิงห์หลาย” หรือ “วัดสิงห์ทลาย” ลึกลงไปประมาณหนึ่งเมตร คนงานพบพระเนื้อผงสีขาวและสีขาวปนชมพู กระจัดกระจายเกลื่อนเป็นร้อยๆ องค์ และพบหุ่นสิงโตทองคำปะปนอยู่ด้วยตัวหนึ่ง เนื่องจากองค์พระมีพุทธลักษณะเหมือน “พระขุนแผน” ที่ขึ้นอยู่ก่อนหน้านี้ จึงเรียกพระที่พบว่า “พระขุนแผน” และเรียกชื่อกรุตามตำแหน่งที่พบ นั่นคือ “หลังโรงเหล้า” ต่อมาหดสั้นลงเป็น “โรงเหล้า” เมื่อนำพระมารวมกันมีทั้งสมบูรณ์และชำรุดจำนวนเกือบพันองค์ ก็เช่าซื้อกันองค์ละไม่เกินสิบบาท
 
พระขุนแผน กรุโรงหลังเหล้า (กรุโรงเหล้า) จะมีพุทธลักษณะและพิมพ์ทรงคล้ายคลึงกับพระที่เรียกว่า “ขุนแผน” ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา คือ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว อันแสดงออกถึงศิลปะสมัยอยุธยา แต่ไม่เคลือบเช่นเดียวกับพระขุนแผนกรุบ้านกร่าง สามารถแยกออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ “พิมพ์อกใหญ่” เนื้อขาวใบลาน และ “พิมพ์อกเล็ก” หรือ “พิมพ์แขนอ่อน” เนื้อขาวปนชมพู โดยพิมพ์อกใหญ่จะมีความแข็งแกร่งมากกว่าพิมพ์อกเล็ก

ปรากฏว่าคนงานทำการขุดแต่งโคกโบสถ์ร้างแห่งหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยซากอิฐซากปูน ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดสิงห์หลาย” หรือ “วัดสิงห์ทลาย” ลึกลงไปประมาณหนึ่งเมตร คนงานพบพระเนื้อผงสีขาวและสีขาวปนชมพู กระจัดกระจายเกลื่อนเป็นร้อยๆ องค์ และพบหุ่นสิงโตทองคำปะปนอยู่ด้วยตัวหนึ่ง เนื่องจากองค์พระมีพุทธลักษณะเหมือน “พระขุนแผน” ที่ขึ้นอยู่ก่อนหน้านี้ จึงเรียกพระที่พบว่า “พระขุนแผน” และเรียกชื่อกรุตามตำแหน่งที่พบ นั่นคือ “หลังโรงเหล้า” ต่อมาหดสั้นลงเป็น “โรงเหล้า” เมื่อนำพระมารวมกันมีทั้งสมบูรณ์และชำรุดจำนวนเกือบพันองค์ ก็เช่าซื้อกันองค์ละไม่เกินสิบบาท
 
พระขุนแผน กรุโรงหลังเหล้า (กรุโรงเหล้า) จะมีพุทธลักษณะและพิมพ์ทรงคล้ายคลึงกับพระที่เรียกว่า “ขุนแผน” ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา คือ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว อันแสดงออกถึงศิลปะสมัยอยุธยา แต่ไม่เคลือบเช่นเดียวกับพระขุนแผนกรุบ้านกร่าง สามารถแยกออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ “พิมพ์อกใหญ่” เนื้อขาวใบลาน และ “พิมพ์อกเล็ก” หรือ “พิมพ์แขนอ่อน” เนื้อขาวปนชมพู โดยพิมพ์อกใหญ่จะมีความแข็งแกร่งมากกว่าพิมพ์อกเล็ก

ขึ้นชื่อว่า “พระขุนแผน” แล้ว ไม่ว่ากรุไหน พิมพ์ไหน ก็เป็นที่นิยมและเสาะแสวงหากันในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวางเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว “พระขุนแผน กรุโรงหลังเหล้า (กรุโรงเหล้า)” ก็เช่นกัน

ขึ้นชื่อว่า “พระขุนแผน” แล้ว ไม่ว่ากรุไหน พิมพ์ไหน ก็เป็นที่นิยมและเสาะแสวงหากันในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวางเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว “พระขุนแผน กรุโรงหลังเหล้า (กรุโรงเหล้า)” ก็เช่นกัน

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




พระขุนแผนไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป

สำหรับแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชาแล้ว ชื่อเสียงของ “วัดพระรูป” จะขึ้นชื่อลือชามากว่าเป็นแหล่งกำเนิดพระกรุเก่ามากมายที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัด และเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง เรียกขานกันว่า “พระกรุวัดพระรูป” และพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ “พระขุนแผน” ซึ่งนับเป็นหนึ่งในพระขุนแผนอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ทีเดียว

พระขุนแผน
กรุวัดพระรูป เข้าใจว่าสร้างในสมัยอู่ทอง ซึ่งนับว่ามีอายุเก่าแก่กว่าพระตระกูลขุนแผนทั้งหมด มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์ยาว พิมพ์ด้านหลังเป็นหลังอูม ลักษณะพิมพ์ทรงคล้ายไข่ผ่าซีก โดยแบ่งแยกออกไปอีกเป็น 2 พิมพ์ คือ “พิมพ์ไข่ผ่าซีก” คือ ลักษณะคล้ายไข่ไก่ผ่าซีก และ “พิมพ์แตงกวาผ่าซีก” ซึ่งพิมพ์ทรงจะเรียวยาวและเล็กกว่าพิมพ์ไข่ผ่าซีก

ขุนแผนพระรูปทั้ง 2 พิมพ์นี้มีพุทธคุณเป็นเลิศทางด้านคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยมเป็นที่ปรากฏ โดยเฉพาะ “พระขุนแผนพิมพ์ไข่ผ่าซีก” นั้นค่านิยม ณ ปัจจุบันค่อนข้างสูง ในวงการเรียกว่า “เป็นพระเบ่งได้” คือ เบ่งราคาได้นั่นเอง มาดูจุดพิจารณาแม่พิมพ์สำคัญๆ ที่จะใช้พิจารณาพระแท้กัน …

-พิมพ์นี้จะมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด หน้าตาไม่ชัดนัก ปรากฏเม็ดแร่สีน้ำตาลอมแดงกระจายอยู่ทั่วองค์พระ เนื้อจะดูคล้ายพระขุนแผนพิมพ์อื่นแต่มีความแน่นตัวมากกว่า เมื่อถูกเหงื่อจะขึ้นมันเงางาม

สำหรับแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชาแล้ว ชื่อเสียงของ “วัดพระรูป” จะขึ้นชื่อลือชามากว่าเป็นแหล่งกำเนิดพระกรุเก่ามากมายที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัด และเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง เรียกขานกันว่า “พระกรุวัดพระรูป” และพระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ “พระขุนแผน” ซึ่งนับเป็นหนึ่งในพระขุนแผนอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ทีเดียว
 
พระขุนแผน
กรุวัดพระรูป เข้าใจว่าสร้างในสมัยอู่ทอง ซึ่งนับว่ามีอายุเก่าแก่กว่าพระตระกูลขุนแผนทั้งหมด มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์ยาว พิมพ์ด้านหลังเป็นหลังอูม ลักษณะพิมพ์ทรงคล้ายไข่ผ่าซีก โดยแบ่งแยกออกไปอีกเป็น 2 พิมพ์ คือ “พิมพ์ไข่ผ่าซีก” คือ ลักษณะคล้ายไข่ไก่ผ่าซีก และ “พิมพ์แตงกวาผ่าซีก” ซึ่งพิมพ์ทรงจะเรียวยาวและเล็กกว่าพิมพ์ไข่ผ่าซีก

ขุนแผนพระรูปทั้ง 2 พิมพ์นี้มีพุทธคุณเป็นเลิศทางด้านคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยมเป็นที่ปรากฏ โดยเฉพาะ “พระขุนแผนพิมพ์ไข่ผ่าซีก” นั้นค่านิยม ณ ปัจจุบันค่อนข้างสูง ในวงการเรียกว่า “เป็นพระเบ่งได้” คือ เบ่งราคาได้นั่นเอง มาดูจุดพิจารณาแม่พิมพ์สำคัญๆ ที่จะใช้พิจารณาพระแท้กัน …

-พิมพ์นี้จะมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด หน้าตาไม่ชัดนัก ปรากฏเม็ดแร่สีน้ำตาลอมแดงกระจายอยู่ทั่วองค์พระ เนื้อจะดูคล้ายพระขุนแผนพิมพ์อื่นแต่มีความแน่นตัวมากกว่า เมื่อถูกเหงื่อจะขึ้นมันเงางาม
-องค์พระคงเอกลักษณ์ของพระพุทธชินราช คือ ประทับนั่งปางมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์เป็นทรงรี ขมับทั้งสองข้างยุบตัวเข้าไป จุดสำคัญคือ “ปลายพระเกศจะมีติ่งงอคล้ายเงี่ยงเบ็ดหรือแฉกลูกศรอยู่ทางซ้ายมือขององค์พระ
-เหนือขมับซ้ายมีเส้นพิมพ์แตกวิ่งเฉียงไปจรดซุ้ม ส่วนบนของพระกรรณทั้งสองข้างติดไม่ชัดเจน แต่ส่วนตอนล่างเมื่อใช้กล้องส่องจะเห็นรางๆ วิ่งลงมาจรดพระอังสา จุดสำคัญอีกจุดคือ “มีเส้นเอ็นคอวิ่งเชื่อม 1 เส้น
-ซุ้มเรือนแก้วมีลักษณะพลิ้วโค้ง มีเสาซุ้มรับทั้งสองด้าน ระหว่างเสาซุ้มด้านซ้ายขององค์พระกับลำพระกรซ้ายจะมีจุดเล็กๆ หนึ่งจุด อยู่ตรงกลางเหนือข้อศอกด้านนอกขององค์พระ
-เอกลักษณ์สำคัญที่สุด ที่คนโบราณเรียกกันว่า “ตราเบนซ์” คือ เป็นรูปดาวสามแฉกคล้าย “โลโก้รถเมอเซเดสเบนซ์” (ตอนหัดเล่นพระใหม่ๆ อาจารย์ให้ส่องหาตราเบนซ์จนตาแทบกลับ เพราะบริเวณนั้นจะเต็มไปด้วยเส้นสายยุ่งอีนุงตุงนังไปหมด แต่พอดูเป็นแล้วจะเห็นได้ชัด แฉกสามเหลี่ยมจะมีรอยย่นเล็กน้อย) บางคนเรียกแฉกดาว หรือใบพัดเรือ
-องค์พระประทับนั่งบนฐานบัวหงาย มีเส้นคั่นกลางระหว่างพระเพลากับฐานบัว เส้นนี้จะหนาหน่อย และตรงกลางเส้นจะขาดหาย ส่วนฐานบัวจะคลี่กลับบานออกด้านขวามือ ด้านล่างระหว่างกลีบบัวที่คลี่จะมีเส้นเรียวเล็กๆ ปลายแหลมโค้งสะบัดพลิ้วอย่างงดงาม

นอกจาก “พระขุนแผน กรุวัดพระรูป” ที่โด่งดังแล้ว “พระกรุวัดพระรูป” ยังมีพระพิมพ์อื่นๆ ส่วนใหญ่การเรียกขานนามจะนำมา ผูกกับวรรณคดี อาทิ พระพลายงาม พระขุนไกร พระกุมารทอง (พระยุ่ง) พระมอญแปลง พระนาคปรกชุมพล ฯลฯ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 2 3 [4] 5 6 ... 10   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.284 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 10 ชั่วโมงที่แล้ว