[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 22:25:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเครื่อง  (อ่าน 237227 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #80 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2561 17:03:39 »


     รูปเหรียญปั๊ม รุ่นแรก หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์ของอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้เคารพนับถือเลื่อมใสท่านมาก คือหลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เข้มขลังในวิทยาคมมากรูปหนึ่งของจังหวัดชัยนาทครับ

วัดวิหารทองตั้งอยู่ที่ตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท วัดอยู่ติดกับแม่น้ำน้อย อยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี เดิมเป็นวัดโบราณอยู่ในกำแพงเมืองสรรค์ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมากลายสภาพเป็นวัดร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้ปกครองเมืองสรรค์ ชื่อหลวงวัง และนายสอน ได้นำวัวมาเลี้ยงในบริเวณนี้และพบองค์พระเจดีย์เก่าแก่ ภายหลังนายสอนได้บวช และมาจำพรรษาที่องค์พระเจดีย์ร้าง แล้วก็ได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์จนเป็นวัดขึ้น และมีเจ้าอาวาสสืบต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนี้

หลวงพ่อโตเกิดที่ตำบลดงคอน อำเภอสรรคบุรี เมื่อปี พ.ศ.2401 โยมบิดาชื่อเงิน โยมมารดาชื่อปุ้น เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบได้บรรพชาเป็นสามเณร และเมื่ออายุได้ 20 ปี บริบูรณ์จึงได้อุปสมบทที่วัดท่าทวน อำเภอสรรคบุรี โดยมีพระอุปัชฌาย์อ่วม เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้เดินทางมาศึกษาบาลีสันสกฤตที่วัดสามปลื้ม กทม. ต่อมาภายหลังจึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดวิหารทอง อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ระหว่างนี้ท่านก็ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมกับพระอุปัชฌาย์อ่วม หลวงพ่อเฒ่า วัดค้างคาว หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลังจากที่หลวงพ่อเมฆ เจ้าอาวาสวัดวิหารทอง มรณภาพ ชาวบ้านต่างพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อโตขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนต่อมา

เมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ และพัฒนาวัดวิหารทองและวัดอื่นๆ จนมีความเจริญรุ่งเรือง โดยท่านเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านสร้างมณฑปพระพุทธบาทจำลอง วัดวิหารทอง ศาลาการเปรียญ วัดบ้านเชี่ยน สร้างพระอุโบสถ วิหาร หอประชุม ศาลาการเปรียญ วัดดงคอน ศาลาการเปรียญ วัดสระแก้ว ศาลาการเปรียญ วัดนก ศาลาการเปรียญ วัดบางขุด ศาลาการเปรียญ วัดท่าโบสถ์ ศาลาการเปรียญ วัดมหาธาตุ ศาลาการเปรียญ วัดกำแพง ศาลาการเปรียญ วัดสระไม้แดง เป็นต้น ท่านได้ช่วยสร้างความเจริญให้แก่วัดต่างๆ มากมาย

หลวงพ่อโตเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ มีตบะแก่กล้า พูดน้อย และมีวาจาสิทธิ์ เรื่องวาจาสิทธิ์ของท่านนั้นเป็นที่ทราบกันดีของชาวบ้าน ซึ่งก็มีเรื่องอยู่มากมาย เช่น มีชาวบ้านถูกโจรกระตุกสร้อยคอ แล้วมาบอกหลวงพ่อ ท่านบอกว่า “ไม่หาย มันเอาไปไม่ได้” ปรากฏว่าอีกสักพักใหญ่คนร้ายได้วิ่งเข้ามาในวัด และเอาสายสร้อยมาคืนเจ้าของ เข้าใจว่าคนร้ายไปไหนไม่ได้หรืองงงวยจนทำอะไรไม่ถูกจึงนำสร้อยกลับมาคืนที่วัด อีกครั้งหนึ่งที่วัดโพธิ์ทอง นิมนต์ท่านไปงานวัดโพธิ์ทอง เมื่อเลิกงานก็มีคนมาแจ้งกับหลวงพ่อว่าจักรยานหาย หลวงพ่อโตท่านก็ว่า “เดี๋ยวมันก็ขี่กลับมาเอง” และบอกให้ชายคนนั้นนั่งรอ

ปรากฏว่าประมาณครึ่งชั่วโมงขโมยได้ขี่จักรยานเข้ามาในวัด กรรมการวัดจึงได้จับตัวไว้ได้ เรื่องไฟไหม้บ้านผู้ใหญ่โต๊ะ เนื่องจากวัดมีงานและชาวบ้านจุดตะไลแต่ตะไลไม่ขึ้นกลับวิ่งข้ามแม่น้ำไปตกบนหลังคาบ้านผู้ใหญ่ ไฟไหม้โหมแรงมาก กำลังจะลามไปติดบ้านชาวบ้านอีกหลายหลัง กรรมการวัดรีบวิ่งไปบอกหลวงพ่อ ท่านจึงลงมาดู และท่านได้ใช้ผ้าแดงโบก 3 ครั้ง แล้วพูดว่า “เอาแต่หลังเดียว” ปรากฏว่าไฟค่อยๆ ดับลง โดยไม่ลามไปติดบ้านหลังอื่นๆ วัน รุ่งขึ้นหลวงพ่อได้นำไม้สัก หลังคาไปให้ผู้ใหญ่สร้างบ้านใหม่

หลวงพ่อโตได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ มงคลแขน โดยท่านจะเขียนยันต์เป็นภาษาไทย ซึ่งต่างจากเกจิอาจารย์ท่านอื่นๆ การสร้างพระเครื่องนั้นท่านก็ได้สร้างไว้ เช่น เหรียญพระพุทธปางลีลา เนื้อทองเหลืองมีหูในตัว พระพิมพ์เนื้อตะกั่ว ทั้งพิมพ์นั่งและยืน นอกจากนี้ยังมีเหรียญรุ่นแรกรุ่นเดียวเป็นรูปครึ่งองค์ ปัจจุบันหาชมยาก หลวงพ่อโตท่านมรณภาพเมื่อปีพ.ศ.2485 สิริอายุได้ 84 ปี พรรษาที่ 63

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญปั๊ม รุ่นแรก หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ด้วยความจริงใจ



     พระนาคปรกช่อคันไถ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุเก่าๆ การเรียกชื่อพระก็มักจะตั้งชื่อและเรียกกันง่ายๆ ตามที่เห็นรูปทรงของพระบ้าง เรียกตามสถานที่ขุดบ้าง ซึ่งก็เป็นการตั้งชื่อเพื่อให้รู้ว่าเป็นพระอะไร พบที่ไหน และไม่ได้คิดมากเรื่องชื่อของพระเท่าไรนัก

ครับพระที่ตั้งชื่อเรียกกันง่ายๆ เช่น พระสุพรรณหลังผาล ก็เนื่องจากเป็นพระที่พบในจังหวัดสุพรรณฯ ที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งก็พบพระพิมพ์ต่างๆ มากมาย พระสุพรรณหลังผาลที่เรียกกันแบบนั้นก็เนื่องจากเป็นพระที่มี 2 หน้า

คือมีด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนที่เป็นด้านหลัง มีรูปพระองค์เล็กๆ และมีกรอบนอกเป็นรูปร่างคล้ายๆ กับผาลไถนา ก็จึงตั้งชื่อเรียกกันง่ายๆ ว่า พระสุพรรณหลังผาล คนทั่วไปก็จะเข้าใจได้ว่าเป็นพระที่พบที่สุพรรณฯ และด้านหลังมีพระที่มีกรอบพิมพ์คล้ายๆ รูปผาลไถนา แต่ที่ด้านหลังเรียบๆ ก็เรียกว่าพระสุพรรณหลังเรียบ เป็นต้น

พระอีกแบบหนึ่งที่มีชื่อเรียกเกี่ยวกับการเกษตรกรรม และไม่ค่อยจะได้พบจนอาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จัก ซึ่งพระเครื่ององค์นี้เป็นพระที่พบในจังหวัดสุโขทัย กรุวัดมหาธาตุ คือพระนาคปรกช่อคันไถ บางท่านก็เรียกสั้นๆ ว่า พระช่อคันไถ  พระนาคปรกช่อคันไถ เป็นพระเนื้อชิน จำนวนพระที่พบน้อยมาก อาจจะชำรุดไปตามกาลเวลาเสียตั้งแต่อยู่ในกรุก็เป็นได้ครับ พระนาคปรกช่อคันไถ มีรายละเอียดของพิมพ์แปลกมาก และไม่เจอพระนาคปรกที่ทำพิมพ์เป็นแบบนี้เลย

พระนาคปรกช่อคันไถ พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งพระนาคปรกส่วนมากจะทำเป็นแบบปางสมาธิเสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากพระพุทธรูปประทับนั่ง มีนาคแผ่พังพานเป็นนาค 7 เศียรแล้ว ส่วนยอดต่อจากนาคปรกยังมีทำเป็นช่อดอกไม้หรือกิ่งโพธิ์ต่อขึ้นไปอีก

ตอนที่มีผู้ขุดพบ เห็นกิ่งโพธิ์ด้านซ้ายมือเราเป็นลักษณะโค้งลงคล้ายๆ กับคันไถ ก็เลยตั้งชื่อเรียกกันง่ายๆ ตามที่เห็นว่า “พระนาคปรกช่อคันไถ” ศิลปะขององค์พระน่าจะเป็นศิลปะแบบสุโขทัยยุคต้นๆ และมีรายละเอียดของพิมพ์น่าสนใจมาก ไม่พบเห็นในพระเครื่องนาคปรกในกรุอื่นๆ ครับ

พระนาคปรกช่อคันไถปัจจุบันหาชมยากมาก ไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย และน่าเสียดายที่อาจจะไม่ค่อยมีผู้รู้จักกันเสียแล้วครับ พระนาคปรกช่อคันไถในด้านพุทธคุณนั้น เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี คนสุโขทัยในสมัยก่อนต่างหวงแหนกันมาก เนื่องจากจำนวนพระมีน้อยมาก แต่ปัจจุบันกลับแทบไม่มีคนรู้จักกันแล้วครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระนาคปรกช่อคันไถ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันลืมครับ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ด้วยความจริงใจ



     พระเครื่องกรุเมืองตาก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดตากเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพระกรุพระเก่าเช่นกัน แต่อาจจะไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนัก จึงทำให้ไม่ค่อยมีคนรู้จักพระกรุเมืองตากกันเท่าไร จังหวัดตากก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน และแน่นอนที่สุดก็คือมีวัดเก่าแก่ และมีพระกรุเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเช่นกันครับ

จังหวัดตากในสมัยกรุงสุโขทัย ก็มีประวัติศาสตร์กล่าวถึง ครั้งพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชโอรสเสด็จไปทำยุทธหัตถีกับพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ผู้ยกทัพมาประชิดเมืองตาก เมื่อปี พ.ศ.1805 และได้รับชัยชนะ

เมืองตากเก่าปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลตะเภา อำเภอบ้านตาก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ยังมีความสำคัญคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อพม่า ณ เมืองแครง ก็ทรงยกทัพเสด็จกลับมาทางด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

หลังจากนั้นก็ทรงย้ายเมืองตากเดิมจากตำบลตะเภาอำเภอบ้านตาก ลงมาทางใต้ตามลำน้ำปิง มาตั้งอยู่บริเวณอำเภอเมืองตากในปัจจุบัน ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปชุมนุมพลที่เมืองตากเมื่อครั้งไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ

ซึ่งยังปรากฏหลักฐานคือวัดพระนารายณ์ เชิงสะพานกิตติขจร จนถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ยังทรงเคยเป็นพระยาตากปกครองเมืองตากก่อนที่จะทรงเป็นพระยาวชิรปราการ

อำเภอบ้านตาก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางเหนือประมาณ 60 ก.ม. บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งเมืองตากจึงมีวัดเก่าแก่ และได้แตกกรุออกมาหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่เป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา และเป็นเนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วเสียเป็นส่วนใหญ่

พระเครื่องของเมืองตากที่รู้จักกันมาก็คือพระพิมพ์งบน้ำอ้อย พระร่วงนั่ง พระพิมพ์ซุ้มยอ และพระพิมพ์พิจิตร เป็นต้น พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ของจังหวัดตาก ปัจจุบันอาจจะลืมๆ กันไปบ้าง แต่คนเมืองตากก็ยังภูมิใจในพระเครื่องเก่าแก่ของบ้านเขาอยู่ตลอดมา พุทธคุณและประสบการณ์ของพระกรุเมืองตากนั้น เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดครับ

พระกรุเมืองตาก เป็นพระกรุที่น่าสนใจกรุหนึ่ง สนนราคาก็ยังไม่สูงนัก แต่พุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมไม่แพ้พระกรุอื่นเลย ในวันนี้ผมนำ พระเครื่องกรุเมืองตาก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชม เช่น พระซุ้มยอ เนื้อชินเงิน กรุบ้านแตก และ พระพิมพ์งบน้ำอ้อย เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง กรุบ้านตาก มาให้ชมกันครับ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ด้วยความจริงใจ



     พระปรุหนัง พิมพ์บัวเม็ด เนื้อชินเงิน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ผมเองเป็นคนรุ่นเก่าก็ชอบพระเก่าๆ เช่น ประเภทพระกรุ จึงพอมีความรู้บ้างเรื่องพระกรุพระเก่าๆ ส่วนเรื่องพระใหม่ๆ แทบไม่มีความรู้เลยครับ ก็เป็นคนประเภทตกยุค จึงขอเขียนเรื่องเก่าๆ พระเก่าพระกรุ ก็แล้วกันนะครับ

พระเครื่องที่เขียนวันนี้ก็คือพระปรุหนัง ซึ่งเป็นพระกรุในสมัยอยุธยา ขอย้อนไปเมื่อประมาณ 50 กว่าปี ในยุคนั้นผมเองก็ยังเป็นหนุ่มวัยรุ่นอยู่ ก็ชื่นชอบพระเครื่อง ในสมัยก่อนก็มีคนที่ชอบพระเครื่องเสาะหาพระเครื่องที่เป็นพระอยู่ยงคงกระพัน ส่วนคนที่ชอบเจ้าชู้ก็จะหาพระประเภทเมตตามหานิยม หรือเสน่ห์ ผมนั้นก็ชอบพระประเภทอยู่คง และชอบฟังเรื่องราวจากผู้ใหญ่ที่เล่าเรื่องตื่นเต้นประเภทบู๊หนังเหนียว และชอบไปขอให้อาจารย์เภา ผู้เชี่ยวชาญในด้านเหรียญพระเครื่องต่างๆ เล่าเรื่องเก่าๆ ให้ฟัง

ท่านเป็นคนมีอารมณ์ขันเล่าเรื่องสนุกใครๆ ก็ชอบฟัง เคยได้ฟังเรื่องเล่าจากท่านอาจารย์เภาเรื่องหนึ่งว่า เคยมีคนไปถามหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติว่า “พระเครื่องที่เป็นพระกรุของอยุธยา มีพระอะไรบ้างที่เชื่อถือได้ทางด้านอยู่ยงคงกระพัน” หลวงพ่อกลั่นท่านก็บอกว่า “พระปรุหนัง พระกริ่งคลองตะเคียน พระวัดตะไกร เชื่อถือได้ ท่านเคยเห็นมาแล้ว” ท่านอาจารย์ยังเล่าว่าพระปรุหนังนั้นเป็นพระอยู่คง มีประสบการณ์มาก แต่ก็หาสมบูรณ์ยาก ส่วนมากจะชำรุดเนื่องจากองค์พระนั้นบาง และมีจุดอ่อนที่ทำให้หักได้ง่าย ออกมาจากกรุก็ชำรุดเสียมากแล้ว

ผมก็ได้ไปสังเกตดูจึงเห็นว่าเป็นเช่นนั้นจริง ตอนนั้นก็อยากได้ พระปรุหนังเช่นกัน แต่ก็หายาก ของแท้เจ้าของก็ไม่ยอมปล่อย ได้ดูและเห็นพระปรุหนังจากหลายๆ ท่าน พระบางองค์ที่เจ้าของเป็นคนรุ่นเก่าใช้ห้อยคอก็จะเห็นว่าเขาใช้แผ่นไม้มาเจาะเป็นรูปองค์พระแล้วเอาพระใส่ลงไปในไม้แล้วจึงนำมาถักห้อยคออีกที

ในสมัยก่อนการเลี่ยมทำตลับยังไม่ค่อยมี ถึงมีค่าทำแพงมาก ส่วนใหญ่มักจะถักลวดห้อยคอกันมาก พระปรุหนังซึ่งบางและหักง่ายจึงเห็นทำแบบเจาะไม้ฝังองค์พระลงไปเพื่อรักษาพระไม่ให้หักง่าย และเจอลักษณะนี้บ่อยๆ ในพระปรุหนังก็เป็นวิธีอนุรักษ์พระปรุหนังในสมัยนั้น

พระปรุหนังเป็นพระที่พบบรรจุอยู่ในกรุสมัยอยุธยา เท่าที่พบก็มีอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดราชบูรณะ กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพุทไธศวรรย์ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดประสาท เป็นต้น พุทธลักษณะก็คล้ายๆ กันแตกต่างกันบ้างในแต่ละกรุ พระปรุหนังเป็นพระที่มีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว และมีช่อชัยพฤกษ์ องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย

ด้านข้างทั้งสองมีพระโมคคัลลาน์ กับพระสารีบุตรยืนอยู่ทั้งด้านซ้าย ขวา ในส่วนที่ทำเป็นองค์พระพุทธเจ้าเดี่ยวๆ ก็มีบ้าง มักจะเรียกว่า “พระปรุหนังเดี่ยว” แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นแบบที่มีพระโมคคัลลาน์ สารีบุตร จะพบมากกว่า พระปรุหนังจะพบมีพิมพ์ต่างๆ แล้วแต่กรุอยู่หลายแม่พิมพ์ เช่น พิมพ์บัวเบ็ด พิมพ์บัวก้างปลา พิมพ์ขนมต้ม เป็นต้น

พระปรุหนังพิมพ์ที่นิยมที่สุดคือ พิมพ์บัวเบ็ด คือบัวที่ฐานจะเป็นขีดแบบเดียวกับพิมพ์ก้างปลา แต่ปลายบัวจะงอโค้งคล้ายๆ ตัวเบ็ดตกปลา จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อพิมพ์ ส่วนคำว่าปรุหนังก็มาจากพระส่วนใหญ่จะมีความโปร่งเหมือนรอยฉลุของตัวหนังตะลุง จึงเรียกกันต่อๆ กันมาว่า “พระปรุหนัง” พระกรุเก่าเท่าที่พบมีเฉพาะเนื้อชินเงินเท่านั้น

พระปรุหนังที่พบจากหลายกรุส่วนมากจะชำรุด เนื่องจากความบางและมีความโปร่งตามลวดลายต่างๆ จึงเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ชำรุดง่ายกว่าพระอื่นๆ พระที่สมบูรณ์จึงหายาก การเล่นหาสะสมก็มีความนิยมมานานมาก สนนราคาค่อนข้างสูง การปลอมแปลงก็มีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องระวังสังเกตให้ดีครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระปรุหนัง พิมพ์บัวเบ็ด เนื้อชินเงิน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ด้วยความจริงใจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กันยายน 2561 15:40:53 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #81 เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2561 12:57:49 »



เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเข็ม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดข่อย ตำบลโพธิ์รังนก อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง และที่วัดแห่งนี้อดีตเจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระครูสุกิจวิชาน (หลวงพ่อเข็ม) พระเกจิอาจารย์ผู้อาวุโส อดีตเจ้าคณะแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ (ในสมัยยังไม่ได้ตั้งเป็นจังหวัดอ่างทอง) และที่วัดนี้ได้สร้างเหรียญรูปหลวงพ่อเข็มไว้ในปี พ.ศ.2477 ซึ่งเป็นเหรียญที่แจกเป็นที่ระลึกในงานศพของท่าน แต่เหรียญนี้น่าสนใจ และเป็นที่หวงแหนของชาวอ่างทองมาก

วัดข่อยเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาในยุคสมัยเดียวกับวัดขุนอินทรประมูล ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่หลายอย่าง เช่น มณฑป พระวิหาร พระอุโบสถ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ ซึ่งสร้างแบบทรงไทยโบราณ เป็นสิ่งที่สร้างในสมัยโบราณเก่าแก่คงอยู่ในสภาพเดิมได้รับการอนุรักษ์ไว้และยังคงอยู่อย่างดี นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะข้าวของเครื่องใช้อันเนื่องมาจากเจ้าอาวาสรูปแรก (หลวงพ่อเข็ม) เช่น ตะเกียงโบราณ มีโคมไฟติดตั้งอยู่บนพานมีจานเชิงคลุมโดยรอบ แล้วมีสายทองเหลืองโยง ตะเกียงอันนี้มาจากกรุงวอชิงตัน ในสมัยรัชกาลที่ 5 และยังมีนาฬิกาโบราณ ในสมัยรัชกาลที่ 5 จากกรุงปารีส ตู้พระไตรปิฎก ทำด้วยไม้สักสลักลายจีนจากประเทศจีน มีอักษรไทยจารึกว่า "พ่อเหว่า แม่ยา ผู้ทร่าง (สร้าง) พ.ศ.2463"

นอกจากนี้ก็ยังมีการรวบรวมเรือพื้นบ้านต่างๆ เช่น เรือบด เรือแจว เรือสำปั้น เรืออีโปง เรือปาบ เรือพะม้า เรือยาว โดยเฉพาะเรือประทุนของหลวงพ่อเข็มที่สร้างขึ้นในราว ร.ศ.128 หรือปี พ.ศ.2452 ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นเรือของหลวงพ่อเข็ม เวลาเดินทางไปรับกิจนิมนต์ อีกจุดหนึ่งยังมีการรวบรวมข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยก่อน เช่น เปลกล่อมลูกในสมัยก่อน อุปกรณ์การทำนา เครื่องจับสัตว์น้ำ เช่น เกวียน ล้อกระแทะ เลื่อน คันไถ แอกวัว แอกควาย คราด เกลี่ยดิน เครื่องสีฝัด ตะข้อง ตะกร้าสาน ไซดักปลา ไซดักกุ้ง ไซดักปลาไหล แร้วดักนก ฯลฯ น่าสนใจมาก หากผ่านไปทางนั้นก็น่าจะแวะไปเข้าชม และจะได้ไปกราบพระอีกด้วย

หลวงพ่อเข็มประวัติของท่านก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้ มีแต่คำบอกเล่าสืบต่อกันมา เท่าที่สังเกตจากเหรียญรูปท่านระบุปี พ.ศ.2477 และเป็นเหรียญที่ระลึกงานศพ อายุ 82 ปี พรรษาที่ 61 ถ้านับย้อนหลังก็แสดงว่าหลวงพ่อเข็มเกิดในปี พ.ศ.2395 อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2416 ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาหลวงพ่อเข็ม เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังในวิทยาคม และมีอาวุโสมากกว่าหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ หรือแม้กระทั่ง หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ ว่ากันว่าหลวงพ่อเข็มเป็นที่เคารพนับถือของพระเกจิ อาจารย์สายเมืองอ่างทองมาก โดยเฉพาะเมืองวิเศษชัยชาญ ในสมัยที่หลวงพ่อเข็มยังมีชีวิตอยู่ได้ทำผ้ายันต์ ตะกรุด ไว้แจกลูกศิษย์ลูกหา แต่ท่านไม่ได้สร้างพระเครื่องเลย ต่อมาเมื่อหลวงพ่อมรณภาพในปี พ.ศ.2477 ได้มีการสร้างเหรียญแจกเป็นที่ระลึก เป็นเหรียญรูปท่านนั่งเต็มองค์ การปลุกเสกนั้นสุดยอดมาก เนื่องจากพระเกจิอาจารย์ของสายวิเศษชัยชาญมาร่วมปลุกเสกครบครัน เช่น หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ เป็นต้น

เหรียญนี้มีประสบการณ์มากมาย เด่นทางด้านอยู่คง และเมตตามหานิยม พุทธคุณยอดเยี่ยมครับ สนนราคาก็ยังไม่สูงอีกด้วย แต่ก็หาเหรียญยากสักหน่อย คนท้องถิ่นเขาหวงกันมาก และในวันนี้ผมได้นำเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเข็ม จากหนังสือพระเครื่องเมืองอ่างทองมาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 




พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในปัจจุบันนี้ข้อมูลข่าวสารเผยแพร่กัน ได้อย่างกว้างขวางโดยการเผยแพร่ทาง โซเชี่ยลมีเดีย ไม่เว้นแม้ในสังคมพระเครื่อง ซึ่งเป็นเรื่องของโลกสมัยใหม่ ซึ่งสื่อออนไลน์นี้ก็มีทั้งประโยชน์และโทษควบคู่กันไป ดังนั้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ ก็ต้องใช้วิจารณญาณของผู้เสพสื่อต่างๆ เหล่านั้นด้วย ต้องใช้เหตุใช้ผลในการเลือกที่จะเชื่อหรือไม่

ในส่วนของสังคมพระเครื่องก็มีข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมาย มีทั้งที่เป็นความจริงและข้อมูลที่ไม่จริงปะปนกันอยู่ ซึ่งก็เป็นธรรมดาของโลกปัจจุบันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมเองเป็นคนประเภทตกยุค แต่ก็ได้เข้าไปอ่านข้อมูลเหล่านี้อยู่บ้างก็รู้สึกเป็นห่วงอยู่ลึกๆ เหมือนกันกับข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง

เพื่อนผมคนหนึ่งที่เคยเรียนหนังสือมาด้วยกัน ซึ่งเพื่อนผมคนนี้ผมก็ไม่เคยทราบว่าเขาสนใจในพระเครื่อง เขามาหาผมและสอบถามข้อมูลบางประการเกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ ผมก็ถามเขาว่าสนใจหรือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ปัจจุบันหายากและมีราคาสูงมากๆ นะ เขาก็นำพระสมเด็จฯ ของเขามาให้ผมดู

ผมเองก็บอกไปว่าผมเองไม่ใช่เซียนนะ มีความรู้บ้างก็แบบงูๆ ปลาๆ เท่านั้น เขาก็คะยั้นคะยอขอให้ช่วยวิจารณ์ตามความจริง ผมดูแล้วก็บอกว่า ไม่น่าจะใช่พระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้นะ และอย่าเชื่อผมนัก เพราะผมเองก็ไม่ใช่เซียนพระ เขาก็เลยเล่าเรื่องราวของพระสมเด็จฯ องค์นี้ให้ฟังว่า เขาได้ไปพบข้อมูลในโซเชี่ยลมีเดียรายหนึ่ง ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับพระ สมเด็จฯ ก็เลยอ่านดู ก็เห็นว่าน่าสนใจและเข้าไปพบ

ซึ่งต่อมาก็ได้เช่าหาพระสมเด็จฯ องค์นี้มาในราคาก็สูงพอสมควร แต่ก็ยังถูกกว่าราคาที่เคยรู้มาก และมีใบรับรองพระแท้แถมให้ด้วย ซึ่งก็เป็นใบรับรองของเจ้าของพระนั่นแหละ ก็เชื่อมั่นว่าได้พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ แท้ๆ มา ทำตลับทองห้อยคอมาโดยตลอด มีอยู่วันหนึ่งในกลุ่มเพื่อนๆ ของเขาได้มีการพูดคุยกันเรื่องพระสมเด็จฯ และนำพระมาอวดกันดู ก็ถูกทักท้วงจากกลุ่มเพื่อนของเขา ทำให้เขาเกิดความไม่แน่ใจ จึงนำพระเข้าไปในสนามพระแห่งหนึ่ง แกล้งทำเป็นเสนอขายแต่ปรากฏว่าไม่มีใครสนใจเช่าพระของเขาเลย ทำให้เริ่มใจเสียและไม่แน่ใจ ก็นำพระไปขายคืนให้กับเจ้าของพระคนนั้น แต่ก็ได้รับการบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอดและรับรองว่าพระของเขาแท้อย่างโน้นอย่างนี้ตามตำรา (ของเขา) และมีพรรคพวกของเจ้าของพระก็มาเป็นลูกคู่ รับรองว่าแท้มากมาย มีข้อเสนออีกว่าถ้าไม่พอใจพระองค์นี้ก็เปลี่ยนเอาพระองค์อื่นไปก็ได้ (ซึ่งเจ้าของพระรายนี้มีพระสมเด็จฯ อยู่หลายองค์)

เพื่อนผมคนนี้ก็เริ่มไม่แน่ใจเสียแล้วว่าพระของเขาแท้ จึงนำไปเสนอขายกับเซียนพระอีกหลายคน ก็เหมือนเดิมไม่มีใครเช่าไว้เลย เขาจึงไปแจ้งความเพื่อขอคืนพระ ได้มีการเจรจากันหลายครั้ง ทั้งยินยอมให้เจ้าของพระหักเงินค่าเสียเวลาได้ ไม่ต้องคืนเต็มจำนวน แต่ก็ผัดวันประกันพรุ่งมาโดยตลอด

ทีนี้เรื่องราวก็ถูกเร่งรัดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจขอข้อมูลและสอบถามพยานที่ระบุและยืนยันว่าพระองค์นี้ไม่แท้ ไม่ใช่พระสมเด็จฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ที่วัดระฆังฯ ตามที่คนขายระบุ ก็ยุ่งล่ะครับมีหนังสือขอความร่วมมือพยานที่ชี้ขาด ซึ่งเพื่อนผมต้องการเพื่อประกอบการฟ้องร้อง เรื่องนี้ตัวพยานก็ต้องไปโรงพักและเป็นพยานในศาล แล้วใครจะไปล่ะครับ อยู่ดีๆ ก็ต้องไปขึ้นศาลเบิกความ และต้องมีหน้าที่พิสูจน์ว่าพระองค์นี้แท้หรือไม่

อีกทั้งก็ต้องไปเจอกับจำเลยในศาลอีกเห็นหน้าเห็นตากัน แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้อีกมากมายถ้าฝ่ายจำเลยแพ้คดี ก็ย่อมเกิดความแค้นเคืองกันอีกต่อไปกับพยานผู้นี้ ดังนั้นเรื่องนี้จึงหาพยานผู้ชี้ความแท้หรือไม่แท้ของพระองค์นี้ยากครับ

เพื่อนผมคนนี้ก็อยากจะหาพยานและให้ผมช่วย ผมก็เลยแนะนำเขากับทนายไปว่า พระเครื่องที่นิยมกันนั้นมีมูลค่ารองรับใช่หรือไม่ เนื่องจากการไปนำสืบว่าแท้อย่างนั้นอย่างนี้กันในศาลนั้น จะยากที่จะชี้ให้ศาลเห็นว่าสิ่งที่เราพูดนั้นถูกต้อง และทางฝ่ายจำเลยก็ต้องแก้ต่าง ว่าที่แท้ เป็นแบบของเขาต่างหาก เถียงกันไม่สิ้นสุดหรอกและยาก เอาแบบนี้ในเมื่อพระเครื่ององค์นี้มีมูลค่ารองรับก็นำไปขายในสถานที่ที่เป็นมาตรฐาน ในราคาเท่าไรก็ได้ตามแต่จะกำหนด แล้วไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่เจ้าของคดีที่แต่งนอกเครื่องแบบ ไปขายดูสักหลายๆ เจ้าหน่อย เมื่อขายไม่ได้ก็ให้เจ้าหน้าที่เจ้าของคดีเป็นประจักษ์พยาน และไปเป็นพยานในศาล โดยไม่ต้องนำเซียนพระไปเป็นพยานในศาล ซึ่งเขาไม่ยอมไปแน่เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อเขาได้ในเวลาต่อมา และเจ้าของพระเขาว่าพระของเขาแท้ก็ให้เขารับรองมูลค่าและรับซื้อไป

เรื่องนี้ต่อมาก็จบได้ค่อนข้างดี คือเจ้าของพระก็รับ ซื้อพระองค์นี้กลับไป แต่ก็ถูกหักเปอร์เซ็นต์ไปโขอยู่ครับ แต่ก็ยังดีที่ได้คืนมาบ้างครับ

เรื่องเหล่านี้ไม่แน่ว่าวันหนึ่งอาจจะเป็นตัวเราเองที่ประสบปัญหา และจะได้แก้ปัญหาได้ถูกต้อง พระแท้ก็ย่อมมีมูลค่ารองรับโดยเฉพาะพระยอดนิยมทุกประเภท จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับความนิยมของพระนั้นๆ และราคาค่าการตลาดในเวลานั้นๆ ครับ สิ่งที่พิสูจน์ได้ดีกว่าคำพูดใดๆ ก็คือมีมูลค่ารองรับ เนื่องจากพระเครื่องในปัจจุบันมีมูลค่ารองรับครับ

รูปพระที่ผมนำมาให้ชมไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เล่ามานะครับ วันนี้ขอนำรูปพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ พิมพ์หลังเตารีดใหญ่ สร้างปี พ.ศ.2505 แท้ๆ สวยๆ มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์






พระพุทธนวราชบพิตรหลัง ภปร

ถามไถ่กันเข้ามามากมายหลายท่าน สำหรับ "เหรียญและพระผง พระพุทธนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร" บางท่านก็สอบถามถึงประวัติ บางท่านก็อยากเช่าบูชาเพื่อเก็บเป็นที่ระลึกอันทรงค่า ก็นำมาลงเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง เริ่มกันที่องค์พระพุทธนวราชบพิตร พระประธาน ณ วัดตรีทศเทพ

อันว่า "พระพุทธนวราชบพิตร" คือ พระนามของพระพุทธรูปในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ทรงสร้างพระราชทานไปยังทุกจังหวัดของไทยเพื่อเป็นมิ่งมงคลสูงส่งแก่อาณาประชาราษฎร์

แต่ "พระพุทธนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพ" นั้น นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์แรกและองค์เดียวที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบจัดสร้างเพื่อเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดตรีทศเทพ และพระราชทานพระนามว่า "พระพุทธนวราชบพิตร" เช่นกัน

ย้อนอดีตสมัยรัชกาลที่ 4 ... พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร กราบบังคมทูลขอสร้าง "วัด" ใกล้ "วัง" ของพระองค์ ทรงโปรยเงินไปทั่วบริเวณที่ทรงต้องการ เหล่าไพร่ฟ้าจึงแผ้วถางป่านั้นจนเตียนโล่งเพื่อเก็บหาเงิน อันเป็นกุศโลบายในการจ่ายค่าแรง แต่เริ่มก่อสร้างได้ไม่มากนักก็สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2404

ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ดำเนินการสร้างสืบต่อ แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จ สิ้นพระชนม์ไปอีกพระองค์ ในปี พ.ศ.2410 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสงคราม อำนวยการสร้างต่อ จนแล้วเสร็จทันในปี พ.ศ.2410 นั้น ทั้งทรงให้สร้างพระพุทธปฏิมากร ปางสมาธิ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ หล่อด้วยโลหะผสม ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 29 นิ้ว ถวายเป็นประธานในพระอุโบสถ

ด้วยความเป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุนานนับศตวรรษ วัดตรีทศเทพได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์สืบต่อเรื่อยมา กระทั่งประมาณปี พ.ศ.2528-2529 พระเทพวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงส์ ฐานวโร) อดีตเจ้าอาวาส จึงก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นอาคารทรงไทยตรีมุข ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม และทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้หล่อ พระพุทธนวราชบพิตร เพื่อประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในพระอุโบสถ และเสด็จพระราชดำเนินเททองด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2530 พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ 5 ล้านบาท เป็นทุนให้อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ กำกับออกแบบและเขียน "ภาพจิตรกรรมฝาผนัง" ภายในพระอุโบสถ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ

พระพุทธนวราชบพิตร พระประธาน ณ พระอุโบสถ วัดตรีทศเทพ จึงนับเป็น "พระพุทธรูปองค์แรกและองค์เดียว" ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบ "พระพุทธนวราชบพิตร" โดยมีขนาดหน้าพระเพลา 61.9 นิ้ว สูง 89 นิ้ว พระรัศมี 14 นิ้ว ฐานถึงบัว 19 นิ้ว ส่วนกว้าง 32 นิ้ว

ด้วยความงดงามและศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระปฏิมาประธาน "พระพุทธนวราชบพิตร" ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญกันว่า "ขออะไร ท่านก็ให้สมความปรารถนา ถ้าเป็นสิ่งที่ชอบและประกอบด้วยธรรม" สมดังพระราชดำรัสที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ทุกประการ กอปรกับความงดงามอลังการของภาพจิตรกรรมฝาผนัง จึงดึงดูดให้พุทธศาสนิกชนรวมทั้งชาวต่างชาติแวะเวียนมากราบสักการะขอพรและชื่นชมความงดงามอยู่เป็นเนืองนิตย์

นี่คือปฐมบทแห่งการสร้าง "พระพุทธนวราชบพิตร วัดตรี ทศเทพ" อันนำมาสู่การจัดสร้าง "เหรียญและพระผง พระพุทธนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร" ในปี พ.ศ.2554 ที่จะกล่าวถึงในฉบับหน้าครับผม

ปลายงอนชี้ช่อฟ้า ลอยอินทร์
งามเงื่อนบรรเจิดจินต์ ช่อชั้น
เทพเสกเทวาสรรค์ นฤมิต ฤาพ่อ
ตรีทศเชิญช่อสวรรค์ ประดับฟ้าบุญดิน

ประพันธ์โดย อาจารย์ราม วัชรประดิษฐ์

จากนั้นเป็นต้นมา ทางวัดได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถ เสนาสนะต่างๆ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง รวมถึงตกแต่งบริเวณโดยรอบอย่างประณีตและพิถีพิถันเรื่อยมา

จนล่วงเข้าสู่ปี พ.ศ.2554 อันเป็นปีมหามงคลที่รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา คณะสงฆ์วัดตรีทศเทพและพสกนิกรทุกหมู่เหล่าต่างมีความปลาบปลื้มปีติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พร้อมทั้ง "พระอุโบสถ" ก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะประกอบพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ เพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่ง

สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพ จึงได้ขอพระราชทานจัดสร้าง "เหรียญและพระพิมพ์พระพุทธนวราชบพิตร" โดยจำลองแบบจากพระประธานในพระอุโบสถ เพื่อมอบแก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมกิจกรรมและร่วมบุญยกช่อฟ้าพระอุโบสถ โดยพระพิมพ์ส่วนหนึ่งจะนำบรรจุไว้ในพระเจดีย์วัดตรีทศเทพ เป็นมรดกของแผ่นดินเพื่อชนรุ่นหลัง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาต และให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานด้านหลังเหรียญกับพระพิมพ์ และโปรดพระราชทานไฟพระฤกษ์ เพื่อจุดเทียนชัยมหามงคลในพิธีมหาพุทธาภิเษก

นอกจากนี้ ยังได้รับประทานมวลสารจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มวลสารจากสมเด็จพระวันรัต, ผงปถมัง, ผงอิทธิเจ, ผงตรีนิสิงเห, ผงมวลสารที่ใช้สร้างพระสมเด็จวัดระฆังและพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ยังมีทองคำเปลวที่ลอกจากองค์พระประธานในพระอุโบสถ ช่อฟ้าเก่า และกระเบื้องอุโบสถเก่าที่ชำรุด เม็ดและชนวนพระกริ่งพระพุทธนวราชบพิตร ปี 30 ฯลฯ โดยจัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองคำ เนื้อนวโลหะ เนื้อเงินแท้

ปรากฏว่าเนื้อทองคำและเนื้อนวโลหะหมดลงในเวลาอันรวดเร็ว ต่อมาได้นำเหรียญและพระพิมพ์บางส่วนมาตกแต่งเพิ่มเติมให้มีหลากหลายรูปแบบขึ้น เป็นเนื้อเงินหน้าทองคำ เนื้อทองแดงชุบสามกษัตริย์ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และพระผง หน้าทอง ที่เห็นกันอยู่ ณ ปัจจุบัน

พิธีมหาพุทธาภิเษกในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 ณ พระอุโบสถ วัดตรีทศเทพ เบื้องหน้าองค์พระพุทธนวราชบพิตร องค์ประธานใหญ่ ประกอบพิธีบวงสรวงเทพเทวาในช่วงเช้า

จากนั้น สมเด็จพระวันรัต เชิญไฟพระฤกษ์พระราชทานจุดเทียนชัย พร้อมพระเกจิชื่อดังเข้าร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิตมากมาย อาทิ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทร์, พระพรหมสุธี วัดสระเกศ, พระธรรมวิมลมุนี วัดพระเชตุพนฯ, พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดระฆังฯ, พระเทพภาวนาวิกรม วัดไตรมิตร, หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว ฯลฯ วัตถุมงคลทั้งหมดแล้วเสร็จสมบูรณ์แบบ พร้อมแจกจ่ายในวันประกอบพิธียกช่อฟ้า ณ วันที่ 18 เมษายน 2554 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จฯไปทรงเป็นประธาน

เหรียญและพระพิมพ์พระพุทธนวราชบพิตร จึงถือเป็นสิ่งมงคลล้ำค่าอันงดงาม เข้มขลัง และทรงคุณค่าด้านจิตใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับปวงชนชาวไทย ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นที่ต้องการและแสวงหาจนถามไถ่กันมา

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
 
 



"พระร่วงหลังรางปืน" และ "พระร่วงหลังลายผ้า"

คํากล่าว "สองยอดขุนพล ... ความเหมือนที่แตกต่าง" นั้น ไม่เกินความเป็นจริงเลย สำหรับ "พระร่วงหลังรางปืน" และ "พระร่วงหลังลายผ้า" 2 พระยอดนิยมเนื้อชิน ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "พระยอดขุนพล" อันทรงคุณค่าและพุทธคุณ เป็นที่ต้องการและแสวงหาอย่างสูงในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง ซึ่งพระทั้ง 2 องค์นี้จะมีพุทธลักษณะค่อนข้างคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะพิมพ์ด้านหน้า ทั้งที่ถูกค้นพบกันคนละที่คนละเวลา ส่งผลให้ค่านิยมของแต่ละองค์ สูงต่ำต่างกันครับผม

พระร่วงหลังรางปืน ถูกค้นพบที่จังหวัดสุโขทัยบริเวณหน้าพระปรางค์องค์ใหญ่ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.ศรีสัชนาลัย ในคราวแตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2493 นั้น พระที่พบมีจำนวนน้อยมากเพียง 200 กว่าองค์เท่านั้น อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นพระที่ชำรุดแตกหัก แต่ด้วยพุทธลักษณะที่อ่อนช้อยงดงาม

มีคำกล่าวกันว่า "ถ้าแขวนพระร่วงหลังรางปืน จะไม่มีการตายโหงอย่างเด็ดขาด" จึงได้รับการยกย่องให้เป็น "จักรพรรดิแห่งพระเนื้อชิน" และเป็นหนึ่งใน "ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" จนได้รับความนิยมเป็นที่ใฝ่ฝันและแสวงหากันอย่างกว้างขวาง แต่ด้วยจำนวนพระค่อนข้างน้อยมาก สนนราคาค่านิยมจึงจัดว่าสูงที่สุดสำหรับพระพิมพ์ประเภทเดียวกัน

พระร่วงหลังรางปืน มีพุทธศิลปะแบบเขมรยุคบายน มีอายุอยู่ในราวปี ค.ศ.13 ซึ่งเป็นสมัยที่ขอมเรืองอำนาจและเข้าปกครองพื้นที่บริเวณนี้ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพิมพ์ที่พวกขอมเป็นผู้สร้างและบรรจุไว้ในพระปรางค์ และด้วยพุทธลักษณะองค์พระที่ทรงเครื่องอย่างอลังการเยี่ยงพระมหากษัตริยาธิราช

จึงคาดเดาว่าผู้สร้างจะน่าเป็นกษัตริย์ผู้ครองนคร

องค์พระมีขนาดความสูงประมาณ 8 ซ.ม. กว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางประทานพร สวมหมวกออกศึกแบบโบราณที่เรียกว่า "หมวกชีโบ" อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ยอดซุ้มเป็นลายกระหนกแบบ "ซุ้มกระจังเรือนแก้ว" ส่วนด้านหลังจะมีลักษณะเฉพาะ คือ มีร่องกดลึกลงไปเป็นแนวยาวตลอดองค์พระ ซึ่งเรียกกันว่า "หลังกาบหมาก หรือ หลังร่องกาบหมาก"

ต่อมาได้ปรากฏพุทธคุณทางแคล้วคลาดจากภยันตรายในเรื่อง "ปืน" อีกทั้งร่องกาบหมากนั้นมีลักษณะคล้าย "ร่องปืนแก๊ป" จึงขนานนามว่า "หลังรางปืน" มีบางองค์ที่เป็นแบบหลังตันแต่พบน้อย และที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ที่ด้านหลังจะเป็นรอยเส้นเสี้ยนทุกองค์

แบ่งออกได้เป็น 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ ฐานสูง, พิมพ์ใหญ่ ฐานเตี้ย, พิมพ์แก้มปะ, พิมพ์หน้าหนุ่ม และพิมพ์เล็ก ซึ่งพุทธลักษณะโดยรวมนั้นเหมือนกัน แต่จะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างไปตามชื่อพิมพ์

พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็น "พระเนื้อชินตะกั่ว" ถ้าแก่ตะกั่วจะเรียก "ตะกั่วสนิมแดง" ผิวขององค์พระจะมีสีแดงเข้ม บางองค์ออกสีลูกหว้า และเนื่องจากเป็นพระที่ผ่านกาลเวลายาวนาน

ถ้าเป็นพระกรุเก่าที่แท้จริงแล้ว วรรณะของสนิมที่ฝังตัวติดอยู่ในเนื้อตะกั่วจะมีสีสันที่แตกต่างกัน มีทั้งสีแดงอ่อน สีแดงเข้ม แดงอมม่วง สีแดงส้ม รวมถึงสนิมแดงที่เรียกว่า "สนิมมันปู" ขึ้นอยู่กับแร่โลหะต่างชนิดที่ผสม เนื้อพระที่แท้จริงของตะกั่วได้เปลี่ยนสภาพปรากฏเป็นเนื้อตะกั่วผสมสนิมสีแดง ตั้งแต่ผิวชั้นบนสุดฝังลึกถึงแกนกลางของเนื้อชั้นในสุด เรียกว่า "ยิ่งลึกสนิมยิ่งแดง" ก็ว่าได้ ไม่ใช่เกาะเพียงแค่พื้นผิวภายนอกเท่านั้น ซึ่งหากมีรอยระเบิดจะปะทุจากในเนื้อออกด้านนอก ถ้าเป็นของปลอมมักใช้น้ำกรดกัดทำให้ปริจากนอกเข้าด้านใน

จุดสังเกตสำคัญ พื้นผิวสนิมมักจะแตกระแหงเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายใยแมงมุม คือ จะแตกไปในทิศทางต่างๆ กัน สลับซับซ้อน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสนิมแดงตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาและจากสภาวะอากาศภายในกรุ ลักษณะพิเศษอีกประการคือ จะมีไขขาวคลุมอีกชั้นหนึ่งและมีมากกว่าพระร่วงกรุอื่นๆ ซึ่งไขขาวนี้จะจับเกาะแน่นแกะไม่ออก

ถ้าเป็นไขขาวของปลอมเมื่อใช้ของแหลมทิ่มเบาๆ จะหลุดออกครับผม

มาดูพระร่วงหลังลายผ้า จังหวัดลพบุรี กันบ้าง พระยอดขุนพลที่ได้รับการจัดให้เป็น "หนึ่งในจักรพรรดิพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดง" และมีวลียกย่องสำหรับชาวลพบุรีไว้ว่า "ถ้าเป็นพระพิมพ์ยืนต้องยกให้พระร่วงหลังลายผ้า แต่ถ้าพระพิมพ์นั่งล่ะก็ต้องเป็นพระหูยานลพบุรี"

พระร่วงหลังลายผ้ามีการแตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2430 ราวๆ ร้อยกว่าปีมาแล้ว ที่พระปรางค์องค์ใหญ่หรือปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ต่อมามีการแตกกรุอีก 2 ครั้ง คือ พ.ศ.2455 และ พ.ศ.2458 ในบริเวณใกล้เคียงกัน พบพระจำนวนหนึ่งขึ้นปะปนกันหลายประเภท ล่วงมาถึงปี พ.ศ.2515 ได้มีการขุดค้นพบอีกครั้งที่บริเวณโรงเรียนช่างกลละโว้ ซึ่งเดิมเคยเป็นวัดเก่ามาก่อน ได้พบพระร่วงหลังลายผ้าประมาณ 200 องค์ รวมทั้งพระพิมพ์อื่นๆ อีกหลายพิมพ์

พระร่วงหลังลายผ้าที่พบนั้นเป็นพระพิมพ์เดียวกับของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุทุกประการ จะผิดกันที่สนิมขององค์พระที่มีสีแดงเข้มกว่าและขนาดบางกว่า เข้าใจว่าจะเป็นพระที่สร้างในคราวเดียวกันแต่แยกบรรจุคนละที่เลยเรียกว่า "พระร่วงกรุช่างกล"

เมื่อพิจารณาจากความเก่าของเนื้อองค์พระและพุทธศิลปะแล้ว พระร่วงหลังลายผ้าน่าจะมีอายุอยู่ในราว 800 ปี ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสมัยที่พวกขอมเรืองอำนาจเช่นกัน โดยได้ขยายอาณาเขตเข้ามาปกครองเมืองละโว้หรือลพบุรีด้วย จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นพระเครื่องที่สร้างโดยพวกขอม และด้วยพุทธศิลปะขององค์พระแลดูสง่างามและอลังการอย่างมาก จึงน่าจะเป็นกษัตริย์เจ้าผู้ครองแคว้นเป็นผู้สร้าง เพราะพระประเภทนี้จะเป็นลักษณะของสมมติเทพ คือเป็นพระทรงเครื่องเยี่ยงกษัตริยาธิราช เช่นเดียวกับ "พระร่วงหลังรางปืน"

นอกจากนี้ ยังมีผู้สันนิษฐานอีกว่า พระทั้ง 2 พิมพ์นี้น่าจะสร้างในยุคใกล้เคียงกัน เพราะพุทธศิลปะและพุทธลักษณะเป็นฝีมือสกุลช่างเดียวกัน จะต่างกันก็เพียงพิมพ์ด้านหลัง ที่ "พระร่วงหลังลายผ้า" ใช้ผ้ากระสอบกด แทนที่จะใช้แท่งไม้เหมือน "พระร่วงหลังรางปืน"

พระร่วงหลังลายผ้าจะมี 2 เนื้อ คือ เนื้อชินเงิน และตะกั่วสนิมแดง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางประทานพร พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายทอดลงสู่เบื้องล่าง ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์แลดูเคร่งขรึมและดุดัน พุทธศิลปะแบบศิลปะเขมรยุคบายน ซึ่งนับได้ว่าเป็นศิลปะสมัยลพบุรีโดยแท้ แบ่งออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ ซึ่งเรียกว่า "พิมพ์นิยม" และพิมพ์เล็ก ส่วนพิมพ์ด้านหลังเป็นหลังลายผ้า ซึ่งคงจะเป็นผ้ากระสอบที่ใช้ปิดลงบนหลังแม่พิมพ์เมื่อเทโลหะแล้วกดเล็กน้อยเพื่อให้ด้านหน้าเต็มพิมพ์ จึงนำมาขนานนามองค์พระ

พระร่วงหลังลายผ้านับเป็นพระที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นเลิศ อีกทั้งพุทธคุณเป็นที่ปรากฏครบครัน ทั้งด้านคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และโชคลาภ เรียกได้ว่าพอๆ กับ "พระร่วงหลังรางปืน" อีกทั้งยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีสำคัญอันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของช่างขอมจากสวรรคโลก สุโขทัย มาสู่เมืองละโว้ และเกี่ยวพันกับลัทธิเทวราชากับพุทธแบบมหายานที่แพร่หลายเข้ามาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้เป็นที่แสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่องและพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ส่วนการพิจารณาพระแท้ เบื้องต้นให้ดูที่ผิวสนิมจะมีสีออกแดงอมส้ม ในบางส่วนที่เข้มก็จะออกแดงอมม่วง แซมด้วยสนิมไขขาว มีรอยแตกใยแมงมุมเช่นเดียวกับ "พระร่วงหลังรางปืน" ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผิวสนิมแดงที่ขึ้นเป็นปื้นปกคลุมทั่วทั้งองค์พระ ซึ่งนอกจากเนื้อองค์พระแล้วการดูพระแท้สำหรับพระยอดขุนพลทั้ง 2 พิมพ์นี้ควรมีความรู้เรื่องศิลปะขอมหรือเขมร เพราะองค์พระแต่งองค์ทรงเครื่องตามหลัก "เทวราชา" พื้นผนังมีการจำหลักลวดลายงดงามมาก เพราะเป็นพระชั้นสูงเยี่ยงกษัตริย์ ฝ่าพระหัตถ์ขวายกขึ้นแสดงปางประทานพร อยู่ในระดับเหนือพระอุระ ส่วนพระกรด้านซ้ายปล่อยทิ้งยาวแนบลำพระองค์

สิ่งสำคัญคือ เส้นนิ้วพระหัตถ์จะทาบลงเป็นเส้นตรงทับชายจีวรจนมองดูเป็นเส้นเดียวกันครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กรกฎาคม 2561 13:00:26 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #82 เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2561 13:01:17 »



พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์เนื้อตะกั่ว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าเราจะพูดถึงพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี จะหายากมากที่สุดและจะเป็นพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่มีราคาแพงที่สุด เนื่องมาจากประสบการณ์และคำร่ำลือถึงเรื่องเมตตามหานิยม โชคลาภค้าขาย และจำนวนพระน้อยมาก ใครมีต่างก็หวงแหนมากครับ

หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ประวัติความเป็นมาไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีแต่เพียงคำบอกกล่าวกันต่อๆ มาว่า ท่านเป็นชาวเพชรบุรี และได้ออกธุดงค์มาเรื่อยๆ ผ่านมาหลายจังหวัดจนกระทั่งมาถึงจังหวัดชลบุรี และปักกลดอยู่ตรงบริเวณที่เป็นวัดเครือวัลย์ ชาวบ้านต่างเลื่อมใสในตัวหลวงพ่อแก้วมาก จึงนิมนต์ขอให้อยู่จำพรรษาและสร้างวัดเครือวัลย์ ท่านก็เมตตาอยู่จำพรรษาและสร้างวัดเครือวัลย์ขึ้นมา มีการบอกเล่าถึงการสร้างศาลาการเปรียญว่า ชาวบ้านก็ช่วยกันหาไม้ในป่าและช่วยกันสร้างศาลาการเปรียญขึ้นจนสำเร็จ หลวงพ่อแก้วก็ได้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักแจกให้เพื่อเป็นการตอบแทน

พระปิดตาของหลวงพ่อแก้วที่แจกไปนั้น ผู้ที่ได้รับไปและนำไปห้อยคอก็มีเมตตามหานิยม ค้าขายก็ขายดิบขายดีจนร่ำรวยกันไป เรื่องเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ก็เล่าขานกันต่อๆ มาหลากหลายเรื่อง เช่น มีลูกศิษย์วัดบางรายไปหลงรักสาว แต่สาวเจ้าไม่เล่นด้วย จึงได้นำผงของพระปิดตาไปแอบใส่น้ำให้สาวกิน แล้วก็ได้แต่งงานอยู่กินด้วยกัน ความถึงหลวงพ่อแก้วท่านจึงประกาศว่าถ้าใครนำพระของท่านไปขูดเอาผงใส่น้ำให้ผู้หญิงกินแล้ว ไม่รับเลี้ยงดู จะเป็นบ้าแล้วก็สั่งห้ามไว้ เรื่องเมตตามหานิยมของพระปิดตาหลวงพ่อแก้วนั้นมีมากมาย เป็นเรื่องเล่าบอกลูกหลานกันต่อๆ มาของชาวชลบุรี

อีกเรื่องหนึ่งคนเฒ่าคนแก่แถววัดเครือวัลย์เล่าให้ฟังว่า ตอนที่หลวงพ่อแก้วยังมีชีวิตอยู่นั้น มีแม่ค้าคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ใกล้ๆ วัด แต่แกก็ยังไม่เคยได้พระปิดตาของหลวงพ่อแก้ว แกมีอาชีพขายปลาทู ซึ่งแกจะไปซื้อปลาทูสดมาจากสะพานปลา แล้วนำมาต้มขายเป็นปลาทูเข่ง และแกก็จะหาบเข่งปลาทูผ่านวัดเครือวัลย์ไปขายทุกวัน มีอยู่วันหนึ่งแกก็หาบเข่งปลาทูไปบ่นไปผ่านมาทางกุฏิของหลวงพ่อแก้วว่า ค้าขายไม่ค่อยดี ขายไม่ค่อยหมด การเป็นอยู่ค่อนข้างฝืดเคือง พอดีหลวงพ่อแก้วอยู่บนกุฏิได้ยิน จึงเรียกแม่ค้าปลาทูให้หยุดก่อน และหลวงพ่อก็ให้พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักแม่ค้าคนนั้นองค์หนึ่ง แล้วก็ให้พรให้ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่านะ แม่ค้าก็กราบลาหลวงพ่อแก้วไปค้าขายตามเดิม

แต่ที่แปลกคือวันนั้นขายดีผิดปกติ ขายได้ประเดี๋ยวเดียวก็ขายหมด ก็เลยนึกถึงหลวงพ่อแก้วที่ให้พระมาและให้พร วันต่อมาก็พกพระปิดตาหลวงพ่อแก้วไปขายอีกก็ขายดี ทุกวัน มีฐานะดีขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นผู้มีฐานะคนหนึ่งของชลบุรี เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง

อีกเรื่องที่กล่าวถึงกันมากก็คือเรื่องการทำพระปลอมเป็นพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่พระหายากและมีผู้ต้องการมากๆ ก็มีคนไม่ดีคิดทำปลอมขึ้นมาหลอกขาย แต่แทบทุกคนที่ทำพระหลวงพ่อแก้วปลอมมักจะมีอันเป็นไป

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ที่นิยมกันมากๆ ก็คือพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก ซึ่งพิมพ์มาตรฐานก็มี พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็กพิมพ์นี้ไม่ค่อยเห็น เข้าใจว่าคงมีไม่มากนัก พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่ด้านหลังจะมีทั้งหลังแบบ และหลังเรียบ แต่ทุกพิมพ์จะหายากมาก สนนราคาสูงหลักล้านทุกพิมพ์ นอกจากพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักแล้วหลวงพ่อแก้วยังทำเป็นเนื้อตะกั่วอีกด้วย

พระเนื้อตะกั่วนี้กล่าวกันว่า ลูกศิษย์ของหลวงพ่อที่เป็นชาวประมงได้นำพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักห้อยคอติดตัวไปตลอด ถูกน้ำทะเลบ้างแห้งบ้างตลอดเวลา ทำให้องค์พระสึกกร่อนเสียหาย จึงไปกราบหลวงพ่อเล่าให้ฟัง หลวงพ่อจึงให้นำตะกั่วมาหลอมเททำเป็นพระปิดตาแล้วหลวงพ่อแก้วปลุกเสกให้ ขนาดองค์พระจะเล็กกว่าพระเนื้อผงคลุกรักเล็กน้อย พระปิดตาเนื้อตะกั่วของหลวงพ่อแก้วปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากมากเช่นกัน สนนราคาก็สูงแต่ก็ยังถูกกว่าพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักครับ

พระปิดตาทั้งเนื้อผงคลุกรักทุกพิมพ์ และพระปิดตาเนื้อตะกั่ว ของหลวงพ่อแก้วปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ วันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์เนื้อตะกั่วมาให้ชมกันครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 
1-30/6




พระพิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น หลวงปู่อ้น

หลวงปู่อ้น วัดบางจาก พระเกจิชื่อดังแห่งแม่กลอง หรือ จ.สมุทรสงคราม ที่ชีวิตฆราวาสท่านเป็นถึง "หม่อมราชวงศ์" แต่ด้วยความสมถะ รักสันโดษ เมื่ออยู่ในสมณเพศจึงไม่รับยศตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น คงเป็นพระลูกวัดอยู่กระทั่งมรณภาพ

เป็นหนึ่งในศิษย์เอกที่มีความใกล้ชิดมากๆ กับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และได้รับการถ่ายทอดวิทยาการต่างๆ มาอย่างสมบูรณ์แบบ สังเกตได้จากวัตถุมงคลในยุคต้นๆ ของท่านนั้นสามารถใช้ศึกษาเนื้อหามวลสารของ "พระสมเด็จวัดระฆัง" ได้สบายๆ โดยเฉพาะพระหลวงปู่อ้น พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น ที่มีเนื้อหา พิมพ์ทรง และพุทธลักษณะใกล้เคียงมากที่สุด อีกทั้งพุทธคุณที่ปรากฏโดดเด่น จนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระเครื่องสำคัญของ อ.อัมพวา ซึ่งเป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูงของสาธุชน ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากยิ่ง เพราะผู้มีไว้ต่างหวงแหนยิ่ง

ประวัติของท่านมีเพียงบันทึกของพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) เลขานุการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นคนแรกที่ค้นคว้าและเขียนบันทึกประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่เกิดทันยุคนั้น และหนังสือจดหมายเหตุต่างๆ บางตอนได้มีกล่าวถึงประวัติของ "หลวงปู่อ้น" ไว้ดังนี้

"... หลวงปู่อ้น มีนามเดิมว่า ม.ร.ว.อ้น อิศรางกูร นิสัยของท่านรักสันโดษ เมื่ออุปสมบทที่วัดระฆังฯ แล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดคอยปรนนิบัติและศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานและไสยเวท กับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เล่ากันมาว่าท่านยังได้ติดตามท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ครั้งไปเยี่ยมเยียนหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก, หลวงปู่เอี่ยม วัดบางจาก และหลวงปู่อ่วม วัดไทร ด้วยต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดปรกคลองวัว หรือวัดปรกสุธรรมาราม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ระยะหนึ่ง จากนั้นย้ายไปจำพรรษาที่วัดบางจาก จ.สมุทรสงคราม จนมรณภาพ ..."

ช่วงที่ท่านจำพรรษาที่วัดบางจาก สร้าง "พระพิมพ์" ขึ้นจำนวน 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคตินิยมแต่โบราณกาล โดยส่วนหนึ่งเพื่อไว้แจกแก่ผู้ที่เคารพศรัทธาตามสมควร และอีกส่วนหนึ่งได้นำบรรจุกรุพระเจดีย์ไว้ 2 แห่ง คือ วัดเกาะลอย อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี และวัดปรกคลองวัว อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พระของท่านจึงมี 2 ลักษณะ คือ พระที่ไม่ได้บรรจุกรุ และพระที่บรรจุในกรุ ซึ่งจะมีคราบนวลและขี้กรุตามลักษณะของพระกรุโดยทั่วไป

ดูจากเนื้อหามวลสารขององค์พระเชื่อมั่นว่าท่านใช้สูตร "การลบผงพุทธคุณ" ที่ร่ำเรียนมาจากพระอาจารย์อย่างแน่นอน อาทิ มวลสารหลักเป็นปูนเปลือกหอย ผสมด้วยผงวิเศษตามสูตร เช่น ผงปถมัง อิทธิเจ มหาราช ตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ ธรรมคุณ ผงอิติปิโส นะร้อยแปด ผงอักขระสูตรสนธิ ฯลฯ ข้าวสุก ข้าวก้นบาตร ขี้ธูปพระประธาน กล้วยน้ำว้า ดอกไม้บูชาพระ มีตัวประสานคือ น้ำอ้อยและน้ำมันตั้งอิ้ว ที่พิเศษ และเป็นเอกลักษณ์ก็คือ การผสมเยื่อกระดาษสา โดยรวบรวมตำราต่างๆ ที่ขาดและชำรุด ซึ่งสร้างจากกระดาษสาหรือกระดาษปะว่าวมาแช่น้ำจนยุ่ย แล้วนำมาตำเป็นส่วนผสม ทำให้เนื้อองค์พระมีความหนึกเนียนซึ้ง เฉกเช่น "พระสมเด็จ" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ

หลวงปู่อ้นสร้าง "พระสมเด็จ" หลายพิมพ์ทรงด้วยกัน มีอาทิ พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น, พิมพ์เล็บมือ, พิมพ์ประคำรอบ ฯลฯ แต่ "พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น" นับเป็น "พิมพ์นิยม" ซึ่งทั้งเนื้อมวลสารและพุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระสมเด็จ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มากที่สุด คือ พิมพ์ทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานหมอน 3 ชั้น ฐานชั้นล่างสุดตรงกลางเป็นร่องลึกซึ่งคล้าย "พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่" แต่หลวงปู่อ้นได้สร้างพิมพ์ด้านหลังให้เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างออกไป โดยทำพื้นด้านหลังโค้งและนูนเป็นพิเศษ

บางครั้งจึงนิยมเรียกว่า "สมเด็จหลังประทุน" เพราะมีลักษณะเหมือน "ประทุนเรือ" แต่ด้วยเอกลักษณ์นี้เองทำให้ผู้ฉวยโอกาสทั้งหลายได้นำเอาพระของท่านมาแกะและเปลี่ยนแปลง เพื่ออุปโลกน์เป็น "พระสมเด็จ" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้อย่างง่ายดายครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์






ล็อกเกตหลวงปู่ทวน
 
"หลวงปู่ทวน ปุสสวโร" วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์พระป่า

ปัจจุบันสิริอายุ 109 ปี

นามเดิม ทวน โสภา เกิดวันพฤหัสบดีที่ 14 พ.ค.2451 ปีวอก ที่ ต.ชอนสารเดช อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

พ.ศ.2466 บรรพชาอยู่กับหลวงพ่อทรัพย์ พระอุปัชฌาย์ วัดชอนสารเดช ได้ 1 ปี เดินทางไปปรนนิบัติรับใช้ และฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เรียนอักขระเลขยันต์และวิทยาคม

พ.ศ.2471 อุปสมบทที่วัดเขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมีหลวงปู่อ่ำ (พระเทพวรคุณ) วัดเขาพระงาม เป็น พระอุปัชฌาย์

จากนั้นออกธุดงค์ ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ศึกษาวิชาจิตตภาวนา เสร็จแล้วเดินทางกลับวัดชอนสารเดช และลาสิกขาในเวลาต่อมา

อุปสมบทครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2533 ที่วัดวังน้ำเย็น อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี มีพระธรรมญาณประยุกต์ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบทออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลานาน 11 ปี ปฏิบัติกิจวิปัสสนากัมมัฏฐานตลอดเส้นทาง จนมาจำพรรษาอยู่ที่วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2561 หลวงปู่ทวนมีอายุครบ 110 ปี ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "ล็อกเกตมหาสมปรารถนา" โดยจัดสร้าง 2 ชนิด คือ ล็อกเกตฉากป่า หลวงปู่ทวนนั่งเพชรกลับ 999 องค์ และชนิดนั่งสมาธิ 1,999 องค์

ลักษณะเป็นล็อกเกต พิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นภาพหลวงปู่ทวนนั่งสมาธิ ด้านหลังเป็นฉากป่า ขวามือท่านมียันต์ ครูประจำตัว ส่วนซ้ายมือท่าน เป็นยันต์อิติปิโสแปดทิศ เป็นยันต์เดียวกับที่ท่านสักไว้บนแผ่นหลัง

ด้านล่างมีอักษรไทย "หลวงปู่ทวน ปุสฺสวโร อายุ ๑๑๐ ปี วัดโป่งยาง"

ส่วนด้านหลังล็อกเกตไม่มีขอบ บรรจุผงมะตูมและ พลอยเสกของท่าน พร้อมผงเก่าหลวงปู่หมุนที่รวบรวมจาก พระเกจิกว่า 350 รูป, ผงโสฬสหลวงปู่บัว และผงพุทธคุณเก่าวัดทรัพย์ลำใย

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ ที่วัดโป่งยาง วาระที่ 1 วันที่ 9 มี.ค., วาระที่ 2 วันที่ 4 เม.ย. และ วาระที่ 3 วันที่ 22 เม.ย.2561

มีพระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงปู่ทวน วัดโป่งยาง, หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร, เจ้าคุณมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่, หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย, หลวงพ่ออ่อง วัดถ้ำเขาวงกต, หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียง, หลวงพ่อบุญมา วัดบ้านแก่ง เป็นต้น

สนใจติดต่อได้ที่ วัดจันทคุณาราม (โป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี โทร. 09-8923-6492

นสพ.ข่าวสด




รูปหล่อหลวงพ่อพร้า น้ำมนต์บาทเดียว

"หลวงพ่อพร้า อัตตสันโต" ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสรรคบุรี และเจ้าอาวาสวัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม ได้รับสมญานาม "หลวงพ่อพร้า เจ้าตำรับน้ำมนต์บาทเดียว"

ปัจจุบัน สิริอายุ 95 ปี พรรษา 75

พื้นเพเป็นชาวชัยนาท เกิดวันอาทิตย์ที่ 5 พ.ค. 2466 เข้าอุปสมบทเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 พ.ค.2486 ณ พัทธสีมาวัดโคกดอกไม้ มี พระครูปัตย์ วัดสนามชัย เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ซึ่งเป็นหลวงลุง รวมทั้งได้เรียนสรรพวิชามากมายจากหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตารามด้วย

ด้วยความที่เมื่อท่านเยาว์วัย อยากเรียนหนังสือ แต่ไม่มีโอกาส เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานเอาไว้ว่า "...หากมีโอกาสได้บวช จะอุปถัมภ์การศึกษาแก่เด็กๆ ที่พ่อแม่ฐานะยากจน จะช่วยให้เต็มความสามารถ..."

ตั้งแต่บัดนั้นมา ก็มุ่งปฏิบัติตนตามคำอธิษฐานของท่านมาโดยตลอด ด้วยการอุปถัมภ์เด็ก ที่ยากจน และทำนุบำรุงปูชนียสถาน ถาวรวัตถุภายในวัดจนรุ่งเรือง ตลอดจนช่วยเหลือสังคมส่วนรวม

ปี 2561 หลวงพ่อพร้า อนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล "รูปหล่อบูชา หลวงพ่อพร้า "น้ำมนต์บาทเดียว"... " ขนาดบูชา หน้าตักกว้าง 5.9 นิ้ว เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างมณฑป วัดโคกดอกไม้ โดยให้จัดสร้างตามจำนวนสั่งจองเท่านั้น

หลวงพ่อพร้า เสกเดี่ยวตลอดพรรษา ไตรมาส(สามเดือน) รับวัตถุมงคลได้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป

พระบูชา รูปหล่อเหมือน "หลวงพ่อพร้า น้ำมนต์บาทเดียว" จัดสร้างด้วยเนื้อทองเหลือง

ลักษณะเป็นรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อพร้านั่งพนมมือทำน้ำมนต์บนอาสนะ ด้านหน้ามีบาตรน้ำมนต์ มีเทียนน้ำมนต์วางพาดบนบาตร ที่บาตรมีอักขระขอม "นะ โม พุท ธา ยะ" ใต้ฐานอุดผงมวลสารและแผ่นยันต์ ที่อาสนะ ด้านหลัง มีอักษรไทย "หลวงพ่อพร้า น้ำมนต์บาทเดียว วัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ๒๕๖๑"

วัตถุมงคลชุดนี้ต้องสั่งจองเท่านั้นสอบถามได้ที่ วัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท โทร.0-5648-2948 ทุกวัน


นสพ.ข่าวสด






หลวงปู่ทวด ไขปริศนามหาสมบัติ

เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารต่างๆ ของ "หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด" พระอริยสงฆ์สมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย โดยเฉพาะเรื่องอันเกี่ยวกับเอกราชของบ้านเมืองที่เล่าขานสืบกันมาถึงปัจจุบัน

จากความศักดิ์สิทธิ์อันเป็นคุณวิเศษ ดังกล่าว ถูกนำมารังสรรค์ปั้นแต่งให้เกิดเป็นงานพุทธศิลป์ โดยวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง มอบหมายให้ "นายนเรศ มือทอง" เป็นผู้ออกแบบพุทธศิลป์อย่างงดงามอลังการ และ "แพรนด้า จิวเวลรี่" สร้างสรรค์งานผลิตอย่างวิจิตรบรรจง เพื่อมอบเป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยอีกครั้ง ในรูปแบบ "เหรียญหล่อ" ประกอบมงคลนาม "หลวงปู่ทวด ไขปริศนามหาสมบัติ" รายได้นำไปสมทบทุนจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมวัดขุนอินทประมูล

ลักษณะเป็นเหรียญทรง "เต่าเรือน" อันถือเป็นสิริมงคล ค้าขายร่ำรวย สุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว ด้านหน้า บนสุดมีองค์พระพุทธปฏิมากร ประทับนั่งบนฐานกลีบบัว ถัดมาเป็นองค์พระธรรม อักขระเลขยันต์ "นะ โม พุท ธา ยะ มะ อะ อุ" ตรงกลางเป็นองค์พระสงฆ์ "หลวงปู่ทวด" ถัดลงมาเป็นองค์พระพิฆเนศ ปางกามเทพ ขอบเหรียญเป็นลำตัวของนาค 2 ตน ประหนึ่งคอยปกป้องพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อีกทั้งช้างและนาคนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดโดยตรง ด้านหน้าเหรียญจึงมีองค์ประกอบครบทั้งพระรัตนตรัย มหาเทพ และบริวาร

ส่วนด้านหลัง บนสุดเป็นอุณาโลม และ ตัว "นะ" ถัดมาเป็นพระคาถาหลวงปู่ทวด "นะโม โพธิสัตโต อาคันติ มายะ อิติภะคะวา" ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนบรรทุกทรัพย์สินเงินทองแล่นน้ำหันหัวเรือเข้า ตามความเชื่อจีนที่ว่า จะนำความร่ำรวยมาสู่ ทั้งยังสื่อถึงเมื่อครั้งหลวงปู่ทวดไขปริศนาธรรมสำเร็จ ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้มหาสมบัติจากเรือสำเภาทั้งเจ็ดลำ

พิธีมหาพุทธาภิเษก จะจัดขึ้น 3 วาระ วาระที่ 1 วันที่ 15 ก.ค.61 บวงสรวงขอพรหลวงปู่ทวด ณ วัดแค ราชานุสาวรีย์ จ.พระนครศรีอยุธยา ต้นกำเนิดตำนานหลวงปู่ทวดไขปริศนามหาสมบัติ วาระที่ 2 วันที่ 18 ก.ค.61 ปลุกเสกชนวนมวลสาร ณ อุโบสถ วัดขุนอินทประมูล และวาระที่ 3 วันที่ 25 ต.ค.61 พิธีพุทธา ภิเษกหลังไตรมาส ณ อุโบสถ วัดขุนอินทประมูล

มีให้เลือกสรรถึง 9 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ, เนื้อทองคำลงยา, เนื้อเงินซาตินรมดำองค์ทองคำ, เนื้อนวโลหะผสมทองคำ, เนื้อเงินซาตินรมดำ, เนื้อบรอนซ์พาตินาเขียวองค์เงินซาตินรมดำ, เนื้อบรอนซ์พาตินาเขียวองค์ทองระฆังซาตินรมดำ, เนื้อทองระฆังซาตินรมดำ และเนื้อบรอนซ์ซาตินรมดำ โดยทุกรายการสร้างจำนวนจำกัดและตามการสั่งจอง

ผู้มีจิตศรัทธาและผู้สนใจรีบสั่งจองตั้งแต่วันนี้ ที่วัดขุนอินทประมูล โทร.09-2557-7511


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2561 17:12:52 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #83 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2561 14:41:08 »



พระผงสมเด็จอุทยาน

"พระผงสมเด็จอุทยาน" พระธัมม วิตักโกภิกขุ หรือ พระยานรรัตนราชมานิต วงการพระเครื่องเรียกนามท่านด้วยความเคารพว่า "เจ้าคุณนรฯ" สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานวางศิลาฤกษ์สร้างโบสถ์วัดอุทยาน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.2511

โดยพระมหาสงัด สุวิเวโก วัดเทพศิรินทราวาส กุฏิ10 ผู้จัดทำและบันทึกข้อความ ลงวันที่ 19 พ.ค.2511 บันทึกไว้ว่า "...ปี 2511 (พุทธศักราช) อาตมภาพมีความประสงค์ต้องการเชิญท่านสาธุชน มีท่านเจ้าของโรงพิมพ์ พรรณศิริ และคณะศิษย์เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง จัดหาปัจจัยเพื่อรวมสมทบในงานพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างโบสถ์ วัดอุทยาน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี อาตมภาพได้จัดสร้างพระเครื่องพิมพ์แบบสมเด็จ วัดระฆัง พระนคร และมีพระกริ่งโลหะ แบบพระบูชาเชียงแสน จำนวนรวมกันประมาณหนึ่งหมื่นองค์

พระเครื่องพิมพ์สมเด็จ (แบบสมเด็จวัดระฆัง) นั้นอาตมภาพได้นำมวลสาร ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้จำนวนมาก คือพระของ วัดอมตรส พระนคร ที่ชำรุดแตกหัก เป็นจำนวนมาก ผงเกสรดอกไม้ ผงพระเก่าต่างๆ ที่ท่านผู้มีจิตศรัทธา กรุณานำมามอบให้ โดยสามารถสร้างได้จำนวนห้าพันองค์

สำหรับพระกริ่งโลหะแบบบูชาเชียงแสน ทางเจ้าของโรงพิมพ์พรรณศิริและคณะศิษย์ชาวพระนคร ได้นำมาจำนวนมาก สามารถสร้างพระกริ่งได้ห้าพันองค์

ภาพหลังสร้างเสร็จจึงได้แจ้งไปยังศิษย์และผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมบุญ โดยนำปัจจัยที่ได้ทั้งหมด สมทบทุนในงานวางศิลาฤกษ์ สร้างอุโบสถ วัดอุทยาน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ต่อหลวงพ่อนรรัตน์ (ธัมมวิตักโกภิกขุ) ท่านได้เมตตาอนุญาตให้นำพระเครื่องทั้งหมดไปบรรจุในฐานชุกชีภายใน พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส

โดยท่านได้ปลุกเสกให้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม ปี 2511 (ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก) เป็นวันวิสาขบูชา ตลอดเป็นระยะเวลา 7 วัน 7 คืน จนถึงวันที่18 พฤษภาคม ปี 2511 โดยหลวงพ่อนรรัตน์ ได้บอกอาตมภาพว่า ให้นำพระที่อยู่ในฐานชุกชีทั้งหมดออกไปใช้ประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาเถิด

เจ้าคุณนรฯ ท่านบอกกับอาตมาว่า "ฉันก็ไม่เคยสร้างโบสถ์เหมือนกัน ขอร่วมโมทนาบุญครั้งนี้ด้วยนะและฉันอธิษฐานจิตให้พระคุณเจ้า และสมเด็จอาจารย์ช่วยให้สำเร็จด้วยดี" ในพิธีการนั่งปลุกเสก ในครั้งนี้หลวงพ่อนรรัตน์ ท่านนั่งปลุกเสกตลอดรุ่ง คือตั้งแต่ 6 โมงเย็น ถึง 6 โมงเช้า ท่านไม่ลุกขึ้นเลยเป็นเวลา 12 ชั่วโมงเต็มนับว่าหาได้ยากยิ่ง อาตมภาพได้บันทึกภาพไว้ด้วยแสงธรรมชาติไม่ใช้ไฟช่วย เพราะเกรงว่าแสงไฟจะไปรบกวนหลวงพ่อนรรัตน์ ซึ่งเพื่อนกำลังอยู่ในสมาธิ ภาวนาจิตบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ..."

เหตุที่ชื่อ "พระสมเด็จอุทยาน" นั้น เพราะจัดสร้างมาเพื่อนำปัจจัยมา สร้างโบสถ วัดอุทยาน จ.นนทบุรี ซึ่งวัตถุมงคลดังกล่าวสร้างจำนวนไม่มาก ปัจจัยก็ครบสามารถสร้างอุโบสถจนเสร็จสิ้น พระสมเด็จอุทยานที่เหลือ จึงได้เก็บไว้ใต้ฐานพระประธานในโบสถ์ วัดอุทยาน

พระสมเด็จอุทยาน ด้านหน้าพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง ด้านหลังปั๊มยันต์ เจ้าคุณนรฯ ด้วยน้ำหมึกอย่างดีจากประเทศจีนสีแดง ด้านล่างยันต์ เขียน คำว่า "วัดอุทยาน นนทบุรี" ถือได้ว่าเป็นพระที่หาได้ยากแล้วในปัจจุบันนี้ เพราะทำมาจำนวนไม่มาก


เปิดตลับพระใหม่
เจริญ อาจประดิษฐ์






วัตถุมงคลบุญมหาเศรษฐี 80 ปี-หลวงปู่บุญมา

"พระครูสุนทรโชติธรรม" หรือ "หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม" เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่ง ต.วังตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี พระเกจิชื่อดัง วัตถุมงคลที่สร้างล้วนทรงพุทธาคมเป็นที่ประจักษ์

เป็นชาวจังหวัดปราจีนบุรีโดยกำเนิด ในวัยเรียนบิดานำไปฝากกับหลวงพ่อเขียน หรือพระครูประสารวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดบ้านกุง พระเกจิชื่อดังของปราจีนบุรี เพื่อศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดบ้านกุง และปรนนิบัติรับใช้

กระทั่งจบการศึกษาประชาบาลชั้นประถมปีที่ 3 บิดาได้ไปรับมาอยู่กับหลวงปู่เอี่ยม หรือหลวงพ่อใหญ่ พระเกจิผู้เก่งกล้าด้านวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อศึกษาต่อในระดับประถมปีที่ 4 รวมถึงเรียนวิทยาคม อักขรสมัยต่างๆ และฝึกทำสมาธินั่งวิปัสสนากรรมฐานขั้นต้น

จากนั้นใช้ชีวิตฆราวาส จนอายุ 25 ปี จึงตัดสินใจอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดทุ่งแฝก หมู่ 2 ต.กบินทร์บุรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มีพระครูศรีวิเลิศ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอธิการกรอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า โชติธัมโม

ศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบนักธรรมเอกได้ในเวลาต่อมา จังหวะนั้นเองทางวัดบ้านแก่งว่างสมภารลง หลวงพ่อใหญ่ก็ได้สั่งให้มาเป็นสมภาร สืบแทนหลวงพ่อทองดีที่มรณภาพ

สมัยนั้นวัดบ้านแก่งและหมู่บ้านค่อนข้างทุรกันดาร ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ความเป็นอยู่ของชาวบ้านไม่ค่อยดี วัดก็เลยไม่รุ่งเรืองตามสภาพ ขณะอยู่วัดหลวงปู่บุญมาก็ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน โดยเฉพาะพระกรรมฐานนั้นท่านให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้รับถ่ายทอดวิชาจากหลวงปู่เอี่ยมนำมาปฏิบัติด้วยตนเองอย่างเคร่งครัด

หลวงปู่บุญมาทำกรรมฐานโดยกำหนดเอาแสงสว่างจากเปลวเทียนเป็นหลัก เพ่งกสิณจากเปลวแสงเทียนที่เรียกกันว่า "เตโชกสิณ" คือ การทำสมาธิจิตเพ่งแสงสว่างแห่งเปลวไฟ กำหนดเอาธาตุทั้ง 4 อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นมั่นคง แล้วพุ่งกระแสจิตสู่สิ่งที่กำหนดนั้น จนดวงจิตสงบนิ่งบังเกิดความสว่างขึ้นกลางมโนจิต อันเป็นการบรรลุมรรคผลในระดับหนึ่ง นั่นคือการสามารถกำหนดจิตให้เป็นสมาธิอันแน่วนิ่งและมั่นคงได้ จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบของการบำเพ็ญพระกรรมฐานและการทำกสิณ

พัฒนาวัดบ้านแก่งมาตลอดจนสามารถสร้างกุฏิ สร้างศาลาการเปรียญและสร้างโบสถ์ใหม่ได้สำเร็จ ยกช่อฟ้าอุโบสถและผูกพัทธสีมา ปิดทองฝังลูกนิมิตในปี 2538

ชื่อเสียงของท่านจึงเริ่มขจรไกล แม้แต่เจ้าแหลม ศรีสะเกษ นครหลวงโปรโมชั่น แชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวต นักชกขวัญใจชาวไทยยังให้ความเคารพศรัทธาอย่างสูง เมื่อจะเดินทางเพื่อไปชกที่ใด จะต้องมากราบนมัสการขอพรทุกครั้งไป

ในปี พ.ศ.2561 เป็นโอกาสฉลองอายุครบ 80 ปี จึงดำริจัดสร้างวัตถุมงคล 2 แบบ ในชื่อ "รุ่นบุญมหาเศรษฐี" มาจากคำว่า บุญมา+มหาเศรษฐี เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างพระพุทธรูปใหญ่ วัดป่ามหาศรีนวล จ.ศรีสะเกษ ประกอบด้วย รูปหล่อท้าวเวสสุวัณ ประทับราหู ความเจริญในทรัพย์ ลาภยศสรรเสริญบารมี และพระขุนแผน ชินบัญชร หลังตะกรุด โรยพลอย เสน่ห์เมตตามหานิยม

โดยเนื้อหามวลสารประกอบด้วย มวลสารเก่าที่ท่านสะสมไว้ อาทิ ผงเก่าสมเด็จวัดระฆัง, ผงตะไบเก่าจากการหลอมพระเก่ารุ่นต่างๆ, ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ฯลฯ หลวงปู่ยังได้จารแผ่นยันต์เพื่อใช้ทำตะกรุดด้วยตัวท่านเองทั้งหมดอีกด้วย ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ 2 วาระ วาระแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา

หลวงปู่จารอักขระแผ่นยันต์และเสกนำฤกษ์เป็นที่เรียบร้อย

สำหรับวาระที่ 2 จะประกอบพิธีพุทธาภิเษกในวันศุกร์ที่ 10 ส.ค.2561 นี้ มงคลฤกษ์เวลา 13.59 น. ที่อุโบสถวัดบ้านแก่ง จ.ปราจีนบุรี

วัตถุมงคล รุ่นบุญมหาเศรษฐี 2 แบบ 2 มงคล ติดต่อโทร.08-5359-5915 และ 08-7936-3168

ข่าวสดออนไลน์





เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน

พระยอดขุนพล มีการจัดสร้างมาแต่โบราณกาลทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา มาจนถึงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีหลากหลายเนื้อ ทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน และเนื้อสัมฤทธิ์ โดยเชื่อกันว่าทรงพุทธคุณเป็นเลิศในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี กาลต่อมา ปรากฏพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ อีกทั้งพระบางประเภทยังถูกผูกเข้ากับตำนานวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ จึงส่งผลให้ "พระยอดขุนพล" เป็นพระที่ได้รับความนิยมอย่างสูงและต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยเฉพาะในหมู่ข้าราชการทหารตำรวจทั้งหลาย

พระยอดขุนพลกรุเก่าที่ขึ้นชื่อลือชานั้นมีมากมาย โดยเฉพาะที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งนับเป็นพระพิมพ์ยุคต้นๆ เช่นที่ กรุวัดไก่ และกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพบในกรุอื่นๆ อีก อาทิ กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา, กรุเสมาสามชั้น จ.เพชรบุรี หรือกรุชากังราว จ.กำแพงเพชร เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังต้องลงลึกไปถึงองค์พระแต่ละพิมพ์แต่ละกรุอีกด้วย

ในราวปี พ.ศ.2497 ที่ "ท่านตรียัมปวาย" ได้ริเริ่มมีการจัดลำดับ "เบญจภาคีของพระเครื่อง" แต่ละชุดเอาไว้ รวมทั้ง "ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" ซึ่งถือเป็นพระยอดขุนพลตระกูลเหนียว คือ มีพุทธคุณโดดเด่นเป็นเลิศในด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และมหาอุด อันประกอบด้วย พระร่วงรางปืน, พระหูยาน, พระท่ากระดาน, พระชินราชใบเสมา และพระมเหศวร โดยจะสังเกตได้ว่า พระแต่ละองค์นั้นจะมีพุทธลักษณะอันสง่างาม เข้มขลัง น่าเกรงขาม สมเป็น "ยอดขุนพล" ทั้งสิ้น

พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย พระกรุที่มีเอกลักษณ์ประจำ คือ "หลังรางปืน" และได้รับการยกย่องให้เป็น "จักรพรรดิแห่งพระยอดขุนพลเนื้อชิน" ด้วยพุทธศิลป์ที่อ่อนช้อยงดงามแต่แฝงด้วยความเข้มขลัง กอปรกับพุทธคุณเป็นเลิศเป็นที่ประจักษ์ มีการขุดพบบริเวณหน้าพระปรางค์องค์ใหญ่ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เพียงแห่งเดียว และมีจำนวนน้อยมากๆ

พระหูยาน จ.ลพบุรี พระกรุเก่ายอดนิยมอันดับหนึ่งแห่งเมืองละโว้ ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ พระกรรณยาวจดพระอังสา จึงนำมาขนานนามองค์พระ และมีการค้นพบ ณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก จึงเรียกกันว่า "พระหูยาน ลพบุรี" ซึ่งมีทั้งกรุเก่าและกรุใหม่ นอกจากนี้ยังมีปรากฏในอีกหลายกรุหลายจังหวัด

พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี พระกรุเก่าที่มีพุทธศิลปะแบบอู่ทองบริสุทธิ์ที่อันงดงาม พระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม สมัยก่อนเรียกขานกันว่า "พระเกศบิด ตาแดง" ตามพุทธลักษณะเฉพาะ มีการขุดค้นพบที่วัดเหนือ วัดกลาง วัดล่าง และบริเวณถ้ำลั่นทม ด้วยต่างเวลาต่างกรุจึงได้แบ่งแยกเป็นพระกรุเก่าและพระกรุใหม่

พระพุทธชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก พุทธศิลปะและพิมพ์ทรงขององค์พระน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพระตระกูล "ยอดขุนพล" ในศิลปะลพบุรี และน่าจะสร้างขึ้นพร้อมหรือไล่เลี่ยกันกับการสร้างพระปรางค์ประธานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ "วัดใหญ่" โดยจำลองแบบมาจากพระพุทธชินราช พระประธานในพระอุโบสถ ส่วนคำว่า "ใบเสมา" มาจากที่องค์พระมีสัณฐานเหมือนใบเสมาโบราณ

พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี พระกรุที่มีพุทธลักษณะแปลกแตกต่างพิมพ์หนึ่งของเมืองไทย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของโบราณจารย์ในอดีต ที่แก้ปัญหาพระเนื้อชินที่ส่วนพระศอมักจะบอบบาง โดยรังสรรค์องค์พระเป็นสองหน้าและให้พระศอสวนทางกัน จึงกลายมาเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นขององค์พระ มีการค้นพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชินนี้ นับเป็น "สุดยอดแห่งตำนานพระยอดขุนพล" เป็นยอดปรารถนา ค่านิยมจึงสูงเอามากๆ และหาของแท้ยากยิ่งนัก

มาติดตามรายละเอียดของแต่ละองค์กันใน "พันธุ์แท้พระเครื่อง" ฉบับต่อๆ ไป ครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์






เลสเงินไหลมา หลวงปู่ทวน

"หลวงปู่ทวน ปุสสวโร" วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

ปัจจุบันสิริอายุ 109 ปี

นามเดิม ทวน โสภา เกิดวันพฤหัสบดีที่ 14 พ.ค.2451 ปีวอก ที่ ต.ชอนสารเดช อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

พ.ศ.2466 บรรพชาอยู่กับหลวงพ่อทรัพย์ พระอุปัชฌาย์ วัดชอนสารเดช ได้ 1 ปี เดินทางไปปรนนิบัติรับใช้และฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เรียนอักขระเลขยันต์และวิทยาคม

พ.ศ.2471 อุปสมบทที่วัดเขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมี หลวงปู่อ่ำ (พระเทพวรคุณ) วัดเขาพระงาม เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นออกธุดงค์ ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ศึกษาวิชาจิตตภาวนา เสร็จแล้วเดินทางกลับวัดชอนสารเดช และลาสิกขาในเวลาต่อมา

อุปสมบทครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2533 ที่วัดวังน้ำเย็น อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี โดยมีพระธรรมญาณประยุกต์ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท ออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลานาน 11 ปี ปฏิบัติกิจวิปัสสนากัมมัฏฐานตลอดเส้นทาง จนมาจำพรรษาอยู่ที่วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2561 หลวงปู่ทวนมีอายุครบ 110 ปี ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "เลสเงิน ไหลมา" ฉลองอายุวัฒนมงคล 110 ปี มีเนื้อ หัวเลสทองคำ 2 บาท 29 เส้น, เนื้อเงิน ลงยา 299 เส้น และเนื้ออัลปาก้าลงยา 1,999 เส้น

ลักษณะเป็นเลส สวมข้อมือ ด้านหน้าเลส ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงปู่ทวน ครึ่งองค์ ด้านซ้ายและขวา เป็นรูปนูน หัวหนุมาน มีอักขระขอมกำกับ "หะ นุ มา นะ นะ มะ พะ ทะ"

ส่วนด้านท้องเลส ตรงกลาง เป็นยันต์ประจำตัวหลวงปู่ทวน "อุ สะ จะ พะ อุณาโลม" สองข้างมีอักษรไทย "หลวงปู่ทวน ปุสฺสวโร พ.ศ.๒๕๖๑ ลาภ ผล พูน ทวี มั่ง มี ศรี สุข แคล้วคลาด ปลอดภัย" พร้อมตอกโค้ดและมีลำดับเลส

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ ที่วัดโป่งยาง วาระที่ 1 วันที่ 9 มี.ค., วาระที่ 2 วันที่ 4 เม.ย., วาระที่ 3 วันที่ 22 เม.ย.2561 มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก

อาทิ หลวงปู่ทวน วัดโป่งยาง, หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร, เจ้าคุณพระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่, หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย, หลวงพ่ออ่อง วัดถ้ำเขาวงกต, หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียง, หลวงพ่อบุญมา วัดบ้านแก่ง เป็นต้น

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี โทร.09-3808-8881


ข่าวสดออนไลน์




พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลวงพ่อรักษ์

"พระสมเด็จปรกโพธิ์"หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย วัดสุทธาวาส วิปัสสนา อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา จัดสร้างขึ้นเพื่อน้อมระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในครานั้น พระองค์ประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่า "แม้เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไป ตราบใดที่ยังไม่บรรลพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์"

การสร้าง "พระสมเด็จปรกโพธิ์" เนื้อผงรุ่นแรก ในครั้งนี้ได้รวบรวมนำมวลสารเก่าแก่ที่เก็บสะสมและปลุกเสกมานาน อีกทั้งยังลบผงเองตามตำราโบราณ จัดสร้างเป็นองค์พระสมเด็จปรกโพธิ์ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์

วัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนมอบเป็นทุนการศึกษา พระภิกษุ-สามเณร และมอบเงินทุนการศึกษา ให้กับเด็กเยาวชนที่ขาดแคลน ยากจน ประจำปี 2561

ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ พระสมเด็จปรกโพธิ์ บารมีร่มโพธิ์ ในอาทิตย์ที่ 5 ส.ค.2561 ที่วัดสุทธาวาสวิปัสสนา (พุทธมณฑลพระนครศรีอยุธยา) อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา

โดย พระภาวนาธรรมาภิรักษ์ วิ. "หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย" เมตตาเป็นประธานจุดเทียนชัยนั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบพิธีสวดพระคาถามหาพุทธาภิเษกใหญ่ตามตำรับการสร้างพระเครื่องแบบฉบับโบราณาจารย์สมัย กรุงศรีอยุธยา

ผู้เข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกจะได้รับแจกวัตถุมงคล พระสมเด็จปรกโพธิ์ เนื้อรวมมวลสาร ผสมผงไม้ตะเคียนโบราณ เป็นที่ระลึกซึ่งมีจำนวนจำกัดเพียง 1,000 องค์เท่านั้น

ติดต่อสอบถามร่วมบุญสั่งจอง ได้ที่วัดสุทธาวาส วิปัสสนา โทร.09-9796-2464, 09-6896-4549 และ 09-6453-9415

ข่าวสดออนไลน์




เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังประเภทเบี้ยแก้ของจังหวัดอ่างทองเป็นเบี้ยแก้อีกสายหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ซึ่งก็มีพระเกจิอาจารย์อยู่หลายรูปที่มีชื่อเสียงมาก หลวงพ่อซำวัดตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ ก็เป็นหนึ่งในนั้น เบี้ยแก้ของท่านมีความเข้มขลังมาก คนวิเศษชัยชาญต่างหวงแหน

หลวงพ่อซำ อินฺทสุวณฺโณ นามสกุลเดิม ลีสุวรรณ์ เป็นบุตรของนายจีนซึง กับนางอินท์ แซ่ลี้ มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน 3 คน หลวงพ่อท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2415 ที่บ้านหลักขอน ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และได้อุปสมบทที่วัดตลาดใหม่ ตอนอายุได้ 23 ปี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2438 โดยมีพระอธิการดี วัดฝาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแป้น วัดสิงห์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์จันทร์ วัดท่าสุวรรณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากที่อุปสมบทแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดตลาดใหม่ ด้วยความเคารพในหลวงปู่คุ่ย พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมอีกทั้งยังเป็นพระสงฆ์ผู้ทรงวิทยาคมเลิศล้ำในทุกๆ ด้าน จึงขอจำพรรษารับใช้หลวง ปู่คุ่ย จนมีความผูกพันและกลายเป็นศิษย์รักในเวลาต่อมา จนได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ ครั้นจำพรรษาได้เพียง 2 พรรษา หลวงปู่คุ่ยเห็นแววใฝ่รู้อีกทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร จึงส่งหลวงพ่อซำให้มาศึกษาหาความรู้ร่ำเรียนภาษาบาลี ศึกษา พระคัมภีร์ พระธรรมวินัยอยู่ที่ วัดระฆังโฆสิตาราม กทม. จึงได้พบและรู้จักกับ พระมหาอยู่ ญาโณทัย (สมเด็จพระสังฆราช อยู่ ญาโณทัย วัดสระเกศวรมหาวิหาร) จนเป็นสหธรรมิกกันตั้งแต่นั้นมา

หลวงพ่อซำเรียนอยู่ที่วัดระฆังฯ ได้เพียง 1 พรรษา ท่านก็ย้ายมาที่วัดสร้อยทอง จนถึงปี พ.ศ.2442 ก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดตลาดใหม่ ด้วยความเป็นห่วงโยมบิดา-มารดา และต้องการกลับมาดูแลรับใช้หลวงปู่คุ่ย สำหรับสรรพวิชาอาคมต่างๆ ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงปู่คุ่ยจนหมดสิ้นทุกวิชา โดยเฉพาะวิชาสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ หลวงพ่อซำชอบมาก เพราะเคยได้รับรู้ถึงพลังพุทธาคมได้ประจักษ์แก่สายตาท่านเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ท่านจึงสนใจเป็นพิเศษ อีกทั้งด้านยาสมุนไพรและแพทย์แผนโบราณและดูแลงานแทนหลวงปู่คุ่ยได้ จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน ต่อมาเมื่อถึงปี พ.ศ.2446 หลวงปู่คุ่ยมรณภาพด้วยโรคชรา ชาวบ้านจึงพากันนิมนต์หลวง พ่อซำเป็นเจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่สืบต่อมา

หลวงพ่อซำท่านเริ่มสร้างวัตถุมงคลเมื่อปี พ.ศ.2480 เรื่อยมานับว่าเป็นของดีที่มีประสบการณ์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยแก้อาถรรพณ์ ผ้ายันต์กันภัย ตะกรุดโทนคู่ใจ และเหรียญรุ่นแรกสร้างปี พ.ศ.2506

ในวันนี้ขอนำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ จากหนังสือพระเครื่องเมืองอ่างทองบล็อกเกศตูม (พระเกศของพระพุทธรูปด้านหลังเหรียญ) ซึ่งเป็นบล็อกนิยมมาให้ชมครับ


อริยะโลกที่ 6
ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #84 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2561 18:12:31 »




พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย
มาว่ากันต่อเรื่องเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชินองค์แรก พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น "จักรพรรดิแห่งพระยอดขุนพล เนื้อชิน"

ถ้ากล่าวถึงพระกรุเก่าที่เป็นยอดนิยมของจังหวัดและสร้างชื่อเสียงในระดับประเทศ ต้องยกให้ "พระร่วงหลังรางปืน" ซึ่งแตกกรุเมื่อประมาณปีพ.ศ.2493 บริเวณพระปรางค์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ "วัดพระปรางค์" โบราณสถานที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น และพระที่พบก็มีจำนวนเพียง 200 กว่าองค์ ส่วนใหญ่เป็นพระที่ชำรุดแตกหัก ที่สมบูรณ์สวยงามจริงๆ น้อยมาก

พระร่วงหลังรางปืนมีพุทธศิลปะสมัยลพบุรี แบบเขมรยุคบายน ในราวปี ค.ศ.13 ซึ่งเป็นสมัยที่ขอมเรืองอำนาจและเข้าปกครองพื้นที่บริเวณนี้ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพิมพ์ที่ "ขอม" เป็นผู้สร้างและบรรจุไว้ในพระปรางค์ องค์พระมีขนาดความสูงประมาณ 8 ซ.ม. และกว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. องค์พระประธานประทับยืน ปางประทานพร สวมหมวกออกศึกแบบโบราณที่เรียกว่า "หมวกชีโบ" ภายในซุ้มเรือนแก้ว ยอดซุ้มเป็นแบบ "ซุ้มกระจังเรือนแก้ว" ด้านหลังมีเอกลักษณ์เฉพาะ คือ "มีร่องกดลึกลงไปเป็นแนวยาวตลอดองค์พระ" จากการนำไม้กดหลังพิมพ์เพื่อให้ด้านหน้าติดเต็ม ซึ่งสมัยก่อนมักเรียกกันว่า "หลังกาบหมาก" หรือ "หลังร่องกาบหมาก"

ต่อมาปรากฏพุทธคุณทางแคล้วคลาดจากภยันตรายในเรื่องของปืน อีกทั้งร่องกาบหมากนั้นมีลักษณะคล้าย "ร่องปืนแก๊ป" จึงขนานนามใหม่ว่า "พระร่วงหลังรางปืน" มาถึงปัจจุบัน ลักษณะร่องรางยังแบ่งได้เป็นแบบร่องรางแคบและแบบร่องรางกว้าง

จุดสังเกตสำคัญอีกประการคือ จะปรากฏรอยเสี้ยนจากไม้ที่กดพิมพ์ทั้งสองแบบ แบ่งพิมพ์ย่อยได้ทั้งหมด 5 พิมพ์ ซึ่งพุทธลักษณะโดยรวมนั้นเหมือนกัน จะแบ่งแยกชื่อตามลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน อันได้แก่ พิมพ์ใหญ่ ฐานสูง, พิมพ์ใหญ่ ฐานเตี้ย, พิมพ์แก้มปะ, พิมพ์หน้าหนุ่ม และพิมพ์เล็ก

พระส่วนใหญ่ที่พบเป็นเนื้อชินตะกั่ว ผิวมีสีแดงเข้ม บางองค์ออกสีลูกหว้า หรือบางทีเรียก "ตะกั่วสนิมแดง" ซึ่งหากมีรอยระเบิดจะปะทุจากภายในเนื้อออกด้านนอก ถ้าเป็น "ของปลอม" มักใช้น้ำกรดกัดทำให้ปริจากด้านนอกเข้าด้านใน และเนื่องจากพระผ่านกาลเวลายาวนาน เมื่อส่องดูจะมีทั้ง "สนิมแดง" และ "สนิมมันปู" มีไขขาวแทรกจับเกาะแน่นแกะไม่ออก ส่วน "ของปลอม" ใช้ของแหลมทิ่มเบาๆ ก็จะหลุดออก ลักษณะพิเศษที่น่าสังเกตคือ จะมีไขคลุมอีกชั้นหนึ่งและมีมากกว่าพระร่วงกรุอื่นๆ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงจะเป็นเนื้อชินปนตะกั่วสนิมดำโบราณจากเมืองสวรรคโลก ที่เรียกว่า "สนิมมันปู" ซึ่งมีน้อยมาก

วิธีการดูพระร่วงหลังรางปืนนั้น ควรมีความรู้เรื่องศิลปะขอมหรือเขมร เพราะองค์พระแต่งองค์ทรงเครื่องตามหลัก "เทวราชา"
-พื้นผนังมีการจำหลักลวดลายงดงามมาก เพราะเป็นพระชั้นสูงเยี่ยงกษัตริย์
-ฝ่าพระหัตถ์ขวายกขึ้นแสดงปางประทานพร อยู่ในระดับเหนือพระอุระ
-ในองค์ที่สมบูรณ์เมื่อใช้กล้องส่องดูจะเห็นติ่งแซมบริเวณโคนพระอนามิกา (นิ้วนาง) แต่บางองค์สนิมเกาะอาจมองไม่ถนัด
-พระกรด้านซ้ายปล่อยทิ้งยาวแนบลำพระองค์
-เส้นนิ้วพระหัตถ์จะทาบลงเป็นเส้นตรงทับชายจีวรจนมองดูเป็นเส้นเดียวกัน อันเป็นจุดสังเกตสำคัญ
-ฝ่าพระบาทด้านขวาขององค์พระจะกางออกและแผ่กว้าง ส่วนฝ่าพระบาทด้านซ้ายจะงุ้มงอและจิกลง อันเป็นจุดสังเกตสำคัญอีกประการ บางทีเวลาพบจะเห็นฝ่าพระบาทชำรุดหรือมีรอยซ่อม ให้สำเหนียกไว้ว่า "อาจปลอม" เพราะเคล็ดลับสำคัญ ของการดูพระแท้คือ ถ้าจุดสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์มีรอยซ่อม ต้องระวังไว้ให้ดี

พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย จะมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ "พระร่วงหลังลายผ้า จ.ลพบุรี" พระยอดนิยมของจังหวัดลพบุรี ที่นับวันจะหาของแท้ได้ยากยิ่งเช่นกัน แต่ด้านหลังพระร่วงหลังลายผ้านั้นเป็น "ผ้ากระสอบ" กดแทนที่จะใช้แท่งไม้ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
 




พระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องประเภทเนื้อชินที่มีความนิยมมากนั้นมีพระเครื่องหลายชนิดที่มาจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นกรุพระที่ใหญ่และพบพระเครื่องมากมายหลายชนิด อีกทั้งจำนวนของพระที่พบก็มีมากมาย พระที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันมากก็คือพระร่วงยืนหลัง ลายผ้า เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยาน เนื้อชินเงิน และอื่นๆ อีกมาก

ลพบุรีเป็นชุมชนที่มีมาแต่โบราณ เท่าที่พบหลักฐานต่างๆ ก็พบว่าเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม จนถึงสมัยอยุธยา หลักฐานทางสถาปัตยกรรมที่เป็นศิลปะขอมก็ยังคงมีอยู่มากมาย บางที่ก็อาจมีการบูรณปฏิสังขรณ์ในยุคต่อมาและมีการแก้แบบไปบ้าง

แต่ยังมีเค้าโครงของศิลปะดั้งเดิมพอให้เห็นอยู่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นวัดหนึ่งที่พบพระเครื่องศิลปะขอมมากมาย ทั้งพระเครื่องที่เป็นเนื้อชินชนิดต่างๆ พระเครื่องเนื้อสัมฤทธิ์ พระเครื่องเนื้อดินปะปนกันไป นับว่าเป็นกรุพระใหญ่กรุหนึ่ง

พระเครื่องของกรุนี้ต่อมาเป็นที่นิยมกันมาก ปัจจุบันก็หายากแทบทุกพิมพ์ โดยเฉพาะพระร่วงยืนหลังลายผ้า เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยาน เนื้อชินเงิน พระนาคปรก พระยอดขุนพล ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มีมูลค่าสูงและหาพระแท้ๆ ยาก

พระเครื่องบางอย่างของกรุนี้ก็พบจำนวนน้อย และอาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก แต่ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าๆ ก็จะรู้จัก แต่ก็ไม่ค่อยมีการเผยแพร่กันนัก อย่างเช่นพระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนก เนื้อชินเงิน พระชนิดนี้พบจำนวนน้อยมาก คนที่ได้ไว้ในสมัยก่อนก็มักจะหวงแหน และไม่ค่อยนำออกมาให้ได้เห็นกันบ่อยนัก

พระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนก พระที่พบเป็นเนื้อชินเงิน องค์พระเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย แบบไม่ทรงเครื่อง ค่อนข้างแตกต่างจากพระพิมพ์อื่นๆ ซึ่งพระส่วนที่พบในกรุนี้จะเป็นพระแบบทรงเครื่องแทบทั้งหมด พระเกศขององค์พระเป็นแบบเกล้ามวยรูปทรงฝาละมี ห่มจีวรลดไหล่ มีสังฆาฏิเป็นปื้นหนายาวลงมาจรดท้อง และมีชายจีวรต่อลงมาพาดกับแขนลงมาถึงหัวเข่า นั่งขัดสมาธิราบ อยู่ในซุ้มเรือนแก้วเป็นเส้นคู่ นอกเส้นคู่เป็นลวดลายกระหนกโดยรอบ ศิลปะเป็นแบบลพบุรีหรือเทียบเคียงกับศิลปะเขมรก็อยู่ในยุคบายน พระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนกมีขนาดไม่เขื่องนัก ขนาดกำลังเลี่ยมห้อยคอได้อย่างสวยงาม พระกรุนี้โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดค่อนข้างเขื่อง

พระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนก เป็นพระที่พบตั้งแต่ตอนแตกกรุน้อยมาก แทบจะนับองค์ได้ สันนิษฐานว่าคงมีไม่กี่สิบองค์เท่านั้น นอกนั้นคงจะชำรุดเสียตั้งแต่ตอนที่อยู่ ในกรุก่อนแล้ว ผิวของพระจะมี สีคล้ำดำๆ ตามแบบพระเก่าๆ เนื้อชินเงิน ส่วนในด้านพุทธคุณนั้นว่ากันว่าถือเป็นสุดยอดคงกระพันชาตรี ในปัจจุบันหาชมยากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพล ซุ้มข้างกระหนก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 




พระร่วงหลังรางปืน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุที่เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ซึ่งหายากและเป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือพระร่วงหลังรางปืน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย พระร่วงยืนเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงศิลปะลพบุรี มีการพบครั้งแรกที่จังหวัดลพบุรี เป็นพระร่วงยืนหลังลายผ้า ต่อมาได้มีการพบพระร่วงยืนเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงที่องค์พระปรางค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย พุทธลักษณะคล้ายกับพระร่วงที่พบของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรีมาก ที่สังเกตง่ายๆ คือผิดกันที่ด้านหลังของลพบุรีจะเป็นลายผ้า แต่ของสุโขทัยจะมีลักษณะเป็นร่อง ความนิยมมูลค่ายกให้พระร่วงหลังรางปืนสูงกว่าบ้าง เนื่องจากจำนวนพระที่พบน้อยกว่ามาก รายละเอียดของพิมพ์จะติดชัดกว่า แต่ปัจจุบันก็หายากทั้ง 2 กรุ และมีสนนราคาสูงทั้ง 2 กรุครับ

พระร่วงหลังรางปืน มีการขุดพบโดยบังเอิญโดยพวกที่ลักลอบขุดหาสมบัติตามกรุพระต่างๆ พระที่พบมีจำนวนไม่น่าจะเกิน 200 กว่าองค์ และพระส่วนใหญ่ก็ชำรุดเสียเป็นส่วนมาก พุทธลักษณะคล้ายกับพระร่วงหลังลายผ้าที่พบก่อนที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แต่รายละเอียดขององค์พระพักตร์จะดูอ่อนหวานกว่าของพระร่วงหลังลายผ้าเล็กน้อย รายละเอียดของตัวซุ้มเรือนแก้วก็จะติดชัดกว่าของพระร่วงหลังลายผ้า ส่วนด้านหลังนั้นก็แตกต่างกันตามชื่อที่เรียก พระร่วงหลังรางปืนได้รับความนิยมมาตั้งแต่ตอนแตกกรุออกมาใหม่ๆ เลย แต่ก็หายากมาตั้งแต่สมัยนั้น เพราะจำนวนพระมีน้อยมาก ใครมีก็มักจะเก็บเงียบไม่ยอมบอกใครเพราะกลัวจะมีขอแบ่งแบบหักคอ พระร่วงหลังรางปืนที่พบในครั้งนั้น พระส่วนใหญ่หรือแทบจะทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีไขขาวปกคลุม ถ้าล้างเอาไขออกบ้างก็จะเห็นผิวสนิมแดงเข้มสีออกแบบลูกหว้าคลุมอยู่ตลอดองค์พระสวยงามมาก ว่ากันว่ามีผู้พบพระร่วงหลังรางปืนที่เป็นเนื้อชินเงินอยู่บ้างแต่ก็น้อยมาก พิมพ์ของพระร่วงหลังรางปืน อาจจะมีการแยกออกกันเป็นตามลักษณะของพระ เช่น มีฐานสูงก็จะเรียกกันว่าพิมพ์ฐานสูง ถ้าตัดฐานชิดก็จะเรียกว่าพิมพ์ฐานเตี้ย บางองค์แม่พิมพ์อาจจะแตกมีเนื้อเกินที่ข้างแก้ม ก็เรียกกันว่าพิมพ์แก้มปะ เป็นต้น ส่วนด้านหลังจะมีร่องแทบทุกองค์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแบบพิมพ์ประกบด้านหลัง เท่าที่เห็นจะมี 2-3 แบบ

ในด้านพุทธคุณนั้นว่ากันว่ามีผู้ได้รับประสบการณ์ต่างๆ เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดเฉกเช่นเดียวกับพระร่วงหลังลายผ้า พระร่วงหลังรางปืนมีจำนวนน้อยมาก จึงหายากมากๆ ครับ ราคาก็สูงมากๆ เช่นกัน ปัจจุบันก็แทบไม่ค่อยพบเห็นกันเลย

ในวันนี้ผมมีรูปพระร่วงหลังรางปืน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อการศึกษาครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 




พระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ตื้น
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เคยมีผู้สงสัยและถามมาว่า ผู้ที่มีความชำนาญในด้านพระเครื่องที่มักเรียกกันว่าเซียนพระนั้น เคยมีบ้างไหมที่จะดูพระพลาด โดยเฉพาะพระประเภทที่ตนมีความชำนาญ ก็ตอบได้เลยครับว่ามีโอกาสผิดพลาดได้ครับ

เซียนพระหรือผู้ที่มีความชำนาญในการพิจารณาพระเครื่องนั้น โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ที่มีอาชีพรับซื้อ-ขายพระเครื่อง ซึ่งก็เป็นอาชีพของเขา จึงเป็นธรรมดาที่จะต้องมีความรู้ความชำนาญในด้านนั้น เพราะเขาทำมาหากินในด้านนั้น ก็ต้องศึกษาหาความรู้เพื่อที่จะประกอบอาชีพได้ และย่อมพบเห็นพระเครื่องประเภทที่เขาทำมาหากินมามาก

ดังนั้นจึงมีผู้ชำนาญการในแต่ละด้านและไม่มีใครรู้เรื่องหรือชำนาญไปเสียทุกด้าน เพราะพระเครื่องนั้นมีมากมายเหลือคณานับจำกันไม่รู้จักหมด จึงจำเป็นต้องศึกษาและมีความชำนาญในแต่ละด้าน ในสังคม พระเครื่องจึงได้แบ่งพระเครื่องเป็นแต่ละประเภท เช่น พระเครื่องประเภทเบญจภาคี (พระสมเด็จฯ พระนางพญา พระกำแพง ซุ้มกอ พระรอด และพระผงสุพรรณ เป็นต้น) พระประเภทเนื้อชิน ส่วนใหญ่จะเป็นพระกรุ พระประเภทเนื้อดินเผา ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพระกรุเช่นกัน พระประเภทเหรียญยังแบ่งเป็นเหรียญปั๊มกับเหรียญหล่อ พระประเภทพระกริ่ง ก็ยังแบ่งเป็นพระรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ พระประเภทรูปเหมือนที่มักเรียกว่า พระรูปหล่อ (เนื่องจากพระรูปเหมือนรุ่นเก่าๆ กรรมวิธีการสร้างจะเป็นวิธีการหล่อ) พระประเภทเนื้อผง เป็นต้น ในแต่ละประเภทยังแยกออกมาอีกว่า เป็นประเภทยอดนิยมและประเภททั่วไป ในส่วนของคำว่าประเภทยอดนิยมก็จะเป็นพระที่มีสนนราคาสูงกว่าพระประเภททั่วไป ซึ่งคำนิยามเหล่านี้เราจะเห็นได้ในหนังสือสูจิบัตรของงานประกวดพระต่างๆ

ครับทำไมถึงต้องแยกออกมาเยอะแยะไปหมด ก็อย่างที่ผมบอกในตอนแรกครับว่าไม่มีใครรู้ไปหมด หรือเก่งไปหมดเสียทุกอย่างได้ เพราะพระเครื่องมีมากมายเหลือเกินจำกันไม่หมด การจำนั้นไม่ได้หมายถึงจำได้ว่าพระแบบนั้นแบบนี้เรียกว่าพระอะไร แต่ต้องจำพิมพ์จำเนื้อ และแยกแยะพระแท้กับ พระปลอมเลียนแบบได้ด้วย อย่างเซียนพระประเภทนั้นประเภทนี้เขาก็มีความรู้ความชำนาญในด้านนั้นเป็นพิเศษ เนื่องจากเขาทำมาหากินซื้อ-ขายพระประเภทนั้นๆ จึงพบเห็นพระประเภทนั้นๆ มามาก และต้องมีความรอบคอบในการซื้อเข้ามา เพราะถ้าพลาดพลั้งไปก็จะเสียเงินไปเปล่าๆ โดยได้พระปลอมไป

ทีนี้ถามว่าเคยไหมที่เซียนเองก็ดูพระพลาดในประเภทที่ตนเองถนัดหรือมีความชำนาญ เคยแน่นอนครับ แต่ก็ต้องมาดูกันที่ว่าเซียนแต่ละคนก็มีความรู้ความสามารถไม่เท่ากัน ก็แล้วแต่ละบุคคล ในส่วนของผู้ที่มีความรู้ความชำนาญสูงๆ ก็ยังมีโอกาสผิดพลาดได้เช่นกัน อาจจะมีสาเหตุด้วยกันหลายๆ อย่าง เอาง่ายๆ คนที่มีความชำนาญไม่ว่าในด้านใดก็ตามไม่ใช่แต่ในด้านพระเครื่อง เช่นคนที่ชำนาญการในด้านการขับขี่มอเตอร์ไซค์ผาดโผน ก็มีบางครั้งก็พลาดเกิดการบาดเจ็บได้ ลิงที่ปีนป่ายต้นไม้เก่งก็ยังมีโอกาสตกต้นไม้ได้เช่นกัน การที่เราทำอะไรก็ตามอยู่เป็นประจำก็ย่อมมีโอกาสผิดพลาดได้ทั้งนั้น แต่สำหรับผู้ที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆ โอกาสที่จะผิดพลาดน้อยกว่าผู้ที่ไม่มีความชำนาญก็เท่านั้นครับ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา

ผมเองชื่นชอบพระเครื่องศึกษาและเช่าหาเก็บไว้ตลอดหลายสิบปี แต่ก็ไม่ใช่เซียนหรือประกอบอาชีพนี้ ก็ผิดพลาดเป็นประจำครับ เวลามีท่านผู้อ่านส่งรูปพระมาถามผมจึงต้องนำรูปพระของทุกท่านไปสอบถามเซียนผู้ที่ชำนาญในแต่ละด้านให้อีกที แล้วจึงนำคำตอบมาเขียน บางท่านก็คิดว่าผมมีความรู้ความชำนาญด้วยตัวผมเองก็บอกได้เลยว่าไม่ใช่ครับ เป็นเพียงชอบศึกษาสอบถามหาข้อมูลเท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ตื้น ซึ่งพระรอดพิมพ์ตื้นจะมีอยู่ 2 แม่พิมพ์ ส่วนรูปที่ผมนำมาให้ชม แม่พิมพ์นี้จะพบเห็นน้อยกว่าอีกแม่พิมพ์หนึ่ง สิ่งที่เห็นได้ง่ายก็คือรอยพิมพ์แตกของพระรอดพิมพ์ตื้นทั้ง 2 แม่พิมพ์จะแตกต่างกัน ซึ่งก็อาจจะทำให้ดูพลาดได้ครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 




เหรียญปั๊มรุ่นแรกของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี หลายๆ ท่านก็คงรู้จักวัตถุมงคลของท่าน โดยเฉพาะนางกวักทองเหลือง ซึ่งนิยมเสาะหากันมาก เนื่องจากพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยมสูง ค้าขายดี

หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เกิดเมื่อปี พ.ศ.2405 ที่ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี อุปสมบทในปี พ.ศ.2426 ที่วัดพร้าว หลวงพ่ออิ่มสนใจในด้านวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้ออกธุดงค์ไปในสถานที่อันสงบต่างๆ ศึกษาพุทธาคมและวิชาแพทย์แผนโบราณจากหลายคณาจารย์ โดยเฉพาะหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นต้น ต่อมาท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช

หลวงพ่ออิ่มได้ใช้วิชาความรู้ช่วยเหลือชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องความเดือดร้อนของชาวบ้านต่างๆ จึงเป็นที่พึ่งของชาวบ้านในแถบนั้น มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย และมีชื่อเสียงโด่งดัง ลูกศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียงได้แก่ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม เป็นต้น

วัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่มมีหลายอย่าง เช่น พระเนื้อผงดำ พิมพ์สมาธิ พิมพ์มารวิชัย พิมพ์พระปิดตา ปัจจุบันหายาก พระโลหะหล่อ พิมพ์ต่างๆ พระปิดตา นางกวัก และแหวนหล่อ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญปั๊มอยู่อีกประมาณ 3 รุ่น เป็นเหรียญทรงอาร์มรุ่นแรก เหรียญเสมารุ่น 2 และเหรียญรูปไข่ รุ่น 3

พระผงดำพิมพ์ปิดตาปัจจุบันหายาก นิยมกันมาก วัตถุมงคลเนื้อทองเหลืองหล่อที่นิยมและหากันมากก็คือนางกวัก สำหรับเหรียญปั๊มรุ่นแรกนั้นก็หายาก และมีสนนราคาค่อนข้างสูง เหรียญรุ่นนี้สร้างในปี พ.ศ.2470 ซึ่งลูกศิษย์ลูกหาขออนุญาตหลวงพ่ออิ่มจัดสร้างเป็นที่ระลึก เป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์ม ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ มีตัวหนังสือเขียนว่า "ที่ระลึกหลวงพ่ออิ่ม" ด้านหลังเป็นตัวยันต์อุหัวขึ้นหัวลง และตัวมะ อะ เท่านั้น เหรียญนี้มีประสบการณ์ และท้องถิ่นหวงกันมากครับ ปัจจุบันหายาก ราคาค่อนข้างสูง

เหรียญรุ่นแรกหาสวยๆ ยาก คนในสมัยก่อนมักห้อยติดตัวกันมานาน ในสมัยนั้นก็ไม่ได้เลี่ยม ห้อยกันเปลือยๆ เลย เท่าที่พบจึงเห็นแต่เหรียญสึกๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ สำหรับเหรียญสวยๆ หายากพอสมควรครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญปั๊มรุ่นแรกของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 





พระเครื่องและเหรียญหลวงพ่อปั้น
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ นามนี้มีความสำคัญอย่างไร วัดแห่งนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงวีรกรรมความรักชาติและเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องประเทศ เมื่อครั้งที่ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกถึงวีรกรรมของชาวบ้าน บ้านสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญที่เป็นกองอาสาสู้ศึกปกป้องประเทศชาติ โดยเป็นกองอาสาทะลวงฟันเข้าสู้รบและเข้าตะลุมบอนกับกองทัพพม่าจำนวนหมื่นอย่างห้าวหาญที่อ่าวหว้าขาว แต่ก็ขาดกำลังสนับสนุนจนต้องพลีชีพทั้ง 400 ชีวิต

มีตำนานกล่าวถึงขุนรองปลัดชู ที่เป็นหัวหน้านำชาวบ้านไปอาสาสู้ศึก ขุนรองปลัดชูคือใคร ท่านเป็นครูดาบ อยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ ต่อมาได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศให้เป็นปลัดเมืองกรมการเมืองวิเศษชัยชาญ

ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ขุนรองปลัดชู" เมื่อทราบข่าวว่าพม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาทางด้านมะริด ตะนาวศรี ท่านก็สละตำแหน่งปลัดเมือง แล้วนำชายฉกรรจ์ที่เป็นลูกศิษย์ประมาณ 400 คน เดินทางมายังกรุงศรีฯ กับเห็นว่าพม่ามีจำนวนมากจึงถอยทัพโดยไม่ได้เข้าช่วยขุนรองรบ เลย ด้วยจำนวนที่น้อยกว่ากันมาก แต่ก็ได้ทำความเสียหายให้แก่พม่าเป็นอย่างมาก กล่าวกันว่านักรบสี่ร้อยอยู่ยงคงกระพัน ทำให้พม่าครั่นคร้ามเป็นอย่างมาก แต่ด้วยกำลังที่มากกว่าทำให้กองอาสาวิเศษชัยชาญ ที่ต้องต่อสู้โดยลำพังต้องอ่อนแรง และข้าศึกทำอย่างไรก็ไม่ตายต้องใช้ช้างกระทืบให้ตาย แม่ทัพพม่ายกย่องในความกล้าหาญของกองอาสาที่ต่อสู้ป้องกันประเทศจนตัวตายทั้งหมด ชาววิเศษชัยชาญเมื่อทราบข่าวก็โศกเศร้าเสียใจ ในปี พ.ศ.2313 ชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างวัดเพื่ออนุสรณ์ถึงความรักชาติและความกล้าหาญของกองอาสาวิเศษชัยชาญทั้ง 400 คน และตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า "วัดสี่ร้อย"

ต่อมาในสมัยหลวงพ่อบุญเป็นเจ้าอาวาสวัดสี่ร้อย และมีความสนิทสนมกับหลวงพ่อปั้น เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง อำเภอบางบาล (ภายหลังหลวงพ่อปั้นได้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลโสกัน อยุธยา) ได้ปรึกษากับหลวงพ่อปั้นที่จะสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ไว้เป็นที่สักการบูชาของชาวบ้าน จึงได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์องค์ใหญ่ขึ้นที่วัด โดยชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างพระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดใหญ่โตและใช้เวลาสร้างนานถึง 16 ปี แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2475 ชาวบ้านมักจะเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อโต"

ในการพุทธภิเษกยกรัศมีเบิกพระเนตร ติดอุณาโลมนี้ ได้มีการบรรจุวัตถุมงคลไว้ในองค์หลวงพ่อโตด้วย

พระเครื่องของวัดนี้ ที่ปลุกเสกโดยหลวงพ่อปั้น มีพระเครื่องเนื้อผงน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม ชาวบ้านเรียกว่า พระผงหลวงพ่อปั้นวัดสี่ร้อย มีอยู่หลายพิมพ์ นอกจากนี้ยังมีเหรียญปั๊มหลวงพ่อปั้น ที่ออกให้วัดสี่ร้อยอีกเหรียญหนึ่งเป็นเหรียญรูปเสมา

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเครื่องและเหรียญหลวงพ่อปั้นที่ออกให้วัดสี่ร้อย จากหนังสือพระเครื่องเมืองอ่างทองมาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 





พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี
มาถึง "เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" องค์ที่ 3 "พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี" พระกรุพุทธศิลปะอู่ทองบริสุทธิ์อันงดงามมาก พุทธคุณก็โด่งดังเป็นที่เลื่องลือมาแต่โบราณทั้งแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี จนได้รับการยกย่องให้เป็นพระกรุอันดับหนึ่งของจังหวัดและได้รับฉายา "ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง"

พระท่ากระดาน ตั้งตามชื่อ "วัดท่ากระดาน หรือวัดกลาง" วัดสำคัญ 1 ใน 3 วัด คือ วัดเหนือ (วัดบน), วัดกลาง (วัดท่ากระดาน) และวัดล่าง ของเมืองท่ากระดาน เมืองเก่าแก่เมืองเดียวริมลำน้ำแควใหญ่ที่มีความสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา เคียงคู่กับเมืองกาญจนบุรีเก่าและเมืองไทรโยค อีกทั้งเป็นเมืองหน้าด่านที่ต้องสู้รบกับกองทัพพม่าที่ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่ปัจจุบันลดฐานะเป็นหมู่บ้านและตำบลในเขตการปกครองของ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

ตั้งแต่ราวปีพ.ศ.2440 ได้มีการขุดพบพระท่ากระดาน ที่วัดเหนือ วัดกลาง วัดล่าง และที่บริเวณถ้ำลั่นทม แต่พบพระไม่มากนัก จนถึงปี พ.ศ.2495-2496 เป็นการค้นหากันอย่างจริงจัง เรียกว่า "แตกกรุครั้งใหญ่" จึงพบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดทั้งสามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดกลาง ปรากฏ พระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงงามจัดและ ปิดทองมาแต่ในกรุแทบทุกองค์

จากวัตถุโบราณที่พบ เช่น บาตรขนาดเขื่อง เตาดินเก่าๆ หลายเตา ที่สำคัญคือปรากฏมีสนิมแดงตกอยู่เรี่ยราด อีกทั้งพบพระท่ากระดานกระจายอยู่ทุกพิมพ์ จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นแหล่งสร้างพระอย่างแน่นอน และเนื่องจากหน้าถ้ำมีต้นลั่นทมใหญ่ต้นหนึ่ง จึงเรียกพระที่พบในบริเวณนี้ว่า "พระท่ากระดาน กรุถ้ำลั่นทม"

นอกจากนี้ ยังมีการขุดค้นพบตามบริเวณต่างๆ โดยรอบ แต่มีจำนวนไม่มากนัก อาทิ วัดบ้านนาสวน (วัดต้นโพธิ์) วัดร้างใน อ.ศรีสวัสดิ์, วัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว), วัดท่าเสา อ.เมือง และบริเวณถ้ำในเขต อ.ทองผาภูมิ เป็นต้น ซึ่งองค์พระจะเหมือนกันทุกประการกับ "กรุศรีสวัสดิ์" จึงสันนิษฐานว่า ในสมัยก่อนมีผู้นำพระท่ากระดานที่พบจากศรีสวัสดิ์ไปถวายตามวัดต่างๆ ซึ่งแต่ละวัดได้นำมาบรรจุกรุเก็บรักษาไว้เช่นกัน นักนิยมสะสมพระเครื่องจึงแบ่งพระท่ากระดานออกเป็น 2 กรุ คือ "พระกรุเก่า" เป็นพระที่ค้นพบที่กรุศรีสวัสดิ์และกรุถ้ำลั่นทม ส่วนพระที่พบในบริเวณนอกเหนือจากนี้จะเรียกว่า "พระกรุใหม่"

พระท่ากระดาน เป็นพระประติมากรรมนูนสูงลึก องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย บนฐานหนาที่เรียกว่า "ฐานสำเภา" อันเป็นเอกลักษณ์ของพระศิลปะอู่ทอง เค้าพระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม พระหนุแหลมยื่นออกมา พระชงฆ์ (แข้ง) เป็นสัน พระเกศยาว เหมือนพระอู่ทองหน้าแก่ พุทธศิลปะ สมัยลพบุรี และด้วยอายุการสร้างที่ยาวนาน พระเกศบางองค์จึงชำรุดหรือคดงอ ทำให้มีหลายลักษณะ อาทิ เกศตรงยาว เรียก "เกศตรง" ส่วนที่บิดงอเรียก "เกศคด" หรือบางองค์หักเหลือสั้นลงก็เรียก "เกศบัวตูม"

สมัยโบราณมักเรียก "พระท่ากระดาน" ว่า "พระเกศคด ตาแดง" จากเอกลักษณ์เฉพาะ คือ มีเกศค่อนข้างยาวและคดงอ ส่วน "ตาแดง" นั้นเนื่องจากเป็นพระเนื้อชินตะกั่ว เมื่อผ่านกาลเวลามากว่า 600 ปี เนื้อตะกั่วจะขึ้นสนิมปกคลุมผิวเป็นสีแดง หนา และติดแน่น มีความมันเยิ้ม ยิ่งเมื่อถูกสัมผัสก็จะยิ่งมันวาว และบนสนิมแดงจะเกิดสนิมไขสีขาวครีมเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง

จุดสังเกตของสนิมแดง จะเป็นสีแดงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด และมี "รอยแตกตามุ้ง" เป็นตาตารางบนเนื้อสนิมแดงตลอดจนบนสนิมไข ซึ่งเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของเนื้อตะกั่ว เอกลักษณ์อีกอย่างคือ "คราบปูนแคลเซียม" อันถือเป็นหลักสำคัญในการพิจารณา ซึ่งในอดีตมักนำพระไปล้างผิวแคลเซียมออกเพื่อให้เห็นสีของสนิมแดงและรอยแตกตามุ้งได้อย่างชัดเจน แต่ปัจจุบันนิยมความบริสุทธิ์ขององค์พระเดิม ตำหนิแม่พิมพ์และรายละเอียดต่างๆ จึงถูกบดบังด้วยผิวรักปิดทอง สนิมแดง และแคลเซียม

การพิจารณาจำเป็นต้องตรวจสอบจากขนาดขององค์พระและเอกลักษณ์แม่พิมพ์เท่านั้นครับผม  

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
 




เหรียญมังกรคู่ฯ หลวงปู่ขำ  
"หลวงปู่ขำ เกสโร" หรือ "พระครูโสภณสราธิการ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม พระเถระที่อายุพรรษามากที่สุดรูปหนึ่งของเมืองมหาสารคาม เป็นพระเถระทรงศีลบริสุทธิ์ สมถะ

ปัจจุบันสิริอายุ 92 ปี พรรษา 72

เกิดที่บ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

เมื่ออายุครบ 20 บริบูรณ์ อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบ้านค้อธิ มีหลวงปู่รอด พรหมสโร วัดหนองกุง อ.นาเชือก เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เนาว์ ยโสธโร อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง

พ.ศ.2512 หลวงปู่เนาว์อาพาธหนักจึงได้สั่งให้ญาติโยมไปนิมนต์ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านหนองแดง และท่านก็รับนิมนต์กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้

ต่อมาภายหลังหลวงปู่เนาว์มรณภาพ ท่านได้รับการแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง เรื่อยมาตราบจนปัจจุบัน

เป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย วัตรปฏิบัติดี ร่วมมือกับญาติโยม ทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัดอย่างต่อเนื่อง

ขณะนี้วัดหนองแดงอยู่ระหว่างการก่อสร้างศาลาการเปรียญ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรคู่ทรัพย์เทวา" เพื่อหารายได้สมทบทุน

เหรียญรุ่นนี้ ด้านหน้าเหรียญยกขอบเกลียวเชือกที่ใต้ห่วงเป็นรูปธรรมจักร บริเวณขอบเหรียญข้างซ้าย-ขวาเป็นรูปมังกร 2 ตัวหางพันกัน ส่วนหัวพุ่งขึ้นไปสักการะธรรมจักร บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ขำ ครึ่งองค์ ล่างสุดเขียนคำว่า "พระอุปัชฌาย์ขำ" ที่พื้นเหรียญด้านขวาของเหรียญตอกโค้ดรูปทรงข้าวหลามตัด ข้างในเป็นตัวบาลีตัวย่อชื่อหลวงปู่ ด้านซ้ายของพื้นเหรียญจะตอกโค้ดหมายเลขกำกับทุกเหรียญและทุกเนื้อ

ด้านหลังเหรียญยกขอบ บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปท้าวเวสสุวัณถือกระบองปกป้องพระพุทธศาสนาป้องปรามสิ่งชั่วร้าย พื้นเหรียญเป็นอักขระยันต์ อ่านว่า นะ ชา ลี ติ เป็นคาถาเรียกลาภ รวมทั้ง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด เป็นต้น ที่ด้านขวาของเหรียญลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายมีอักษรเขียนว่า ที่ระลึกในงานสมโภช ท้าวเวสสุวัณ วัดหนองแดง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ๒๕๖๑

จำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อทองคำ 16 เหรียญ บูชา 47,999 บาท เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 72 เหรียญ บูชา 4,799 บาท เนื้อเงินนำฤกษ์ 172 เหรียญ บูชา 1,699 บาท ทองแดงผิวรุ้ง 2,699 เหรียญ เนื้อสัตโลหะ 332 เหรียญบูชา 350 บาท เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ก.ค.2561 ที่ผ่านมา ที่ปะรำพิธีลานหน้าศาลาการเปรียญวัดหนองแดง สำหรับรายนามพระเกจิที่ร่วมพิธีอธิษฐานจิต ประกอบด้วย 1.หลวงปู่ขำ เกสาโร 2.หลวงปู่อุดมทรัพย์ จ.ศรีสะเกษ 3.หลวงปู่บุญกอง วัดหนองกินเพล จ.อุบลฯ 4.หลวงปู่คำจันทร์ วัดบ้านเมย จ.กาฬสินธุ์ 5.พระมหาประกิต วัดทองนพคุณ จ.มหาสารคาม

ติดต่อที่วัดหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม หรือโทร. 08-6225-4665

เปิดตลับพระใหม่
ข่าวสดออนไลน์
 
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #85 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2561 18:13:55 »




เหรียญเสมาหลวงปู่ราม
"หลวงปู่ราม ปรักกโม" วัดวังเงิน ต.บ้านน้ำพุ อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย

สมญานาม "เทพเจ้าแห่งโชคลาภ" ศิษย์พุทธาคมของพระมงคลสุนทร หรือหลวงปู่โถม กัลยาโณ วัดธรรมปัญญาราม อดีต เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย หลวงปู่ทุเรียน วรธัมโม วัดศรีคีรีสุวรรณาราม (วัดท่าดินแดง) อ.คีรีมาศ และหลวงพ่อจ้อย ฐิตปุญโญ แห่งวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี

ปัจจุบัน สิริอายุ 73 ปี เป็นชาวศรีสำโรง เกิดเมื่อวันที่ 5 เม.ย.2488 บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดไทยชุมพล อ.เมือง จ.สุโขทัย จากนั้นได้อุปสมบทเล่าเรียนพระธรรมพอสมควร จึงลาสิกขาออกมาเป็นศิลปินด้านการแสดงใช้ ชื่อว่า รามเมศทองสุขใส

ต่อมาในปี พ.ศ.2528 เข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ณ วัดศรีชุม (หลวงพ่อใหญ่อจนะ) มีพระครูสถิตย์ญาณคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูแห้ว เขมโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอำนวย เตชวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ปรักกโม หมายถึง ผู้มีความพากเพียร

มุ่งบำเพ็ญเพียรภาวนาเข้านิโรธสมาบัติอยู่เป็นประจำ อีกทั้งช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านผู้เดือดร้อนและบูรณะวัดวังเงิน ปัจจุบันกำลังจัดสร้าง "ศาลา 5 ธันวามหาราชเฉลิมพระเกียรติ" เพื่อเป็นสถานที่ให้ญาติโยมศิษยานุศิษย์ร่วมกันทำกิจกรรมทางศาสนา

วัตถุมงคลที่ได้รับการกล่าวขวัญว่า มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน ปัจจุบันวัดวังเงิน กำลังหาปัจจัยสร้างสาธารณประโยชน์และถาวรวัตถุต่างๆ เพื่อให้เป็นสถานปฏิบัติธรรมอันร่มเย็น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ซึ่งยังขาดแคลนงบประมาณอีกมาก

ล่าสุดมีหนังสือมอบหมายให้นายวุฒิชัย อรุณศิริประเสริฐ พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ให้ดูแลการจัดสร้างวัตถุมงคลที่จะออกในนามหลวงปู่ราม ปรักกโม แต่เพียงผู้เดียว โดยมีคณะกรรมการวัดร่วมเป็นสักขีพยาน

ทั้งนี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 พ.ค.2561 เวลา 13.09 น. มหามงคลฤกษ์ หลวงปู่ราม อธิษฐานจิตเดี่ยวและนิมนต์ฤๅษี 3 ตน ร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลเหรียญเสมาและเหรียญเสมาจิ๋ว "รุ่นมหาบารมีศรีวังเงิน"

วัตถุประสงค์นำรายได้เพื่อสมทบทุนจัดสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9, จัดซื้อที่ดินและบูรณะถาวรวัตถุภายในวัดวังเงิน

ลักษณะเหรียญเสมา หลวงปู่ราม รุ่นมหาบารมีศรีวังเงิน มีหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่รามนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ หันหน้าตรง

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า "มหาบารมี-ศรีวังเงิน" ใต้ยันต์ เขียนคำว่า "๕ เมษายน ๒๕๖๑ หลวงปู่ราม ปรกฺกโม วัดวังเงิน อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย"

สอบถาม โทร.09-3176-3539, 09-4395-4199, 08-9644-5541

เปิดตลับพระใหม่
ข่าวสดออนไลน์
 
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #86 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2561 12:53:29 »





พระพุทธชินราชใบเสมา 
 องค์ต่อมาสำหรับ "พระเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" คือ พระพุทธชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก ส่วนใหญ่มีการค้นพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ "วัดใหญ่" มรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของจังหวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ตลอดทั้งมีพระกรุเก่าที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมสูงมากมาย อาทิ พระนางพญาวัดใหญ่, พระพุทธชินราชใบเสมา, พระท่ามะปราง, พระอัฏฐารส, พระชินสีห์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบที่กรุพระปรางค์ กรุอัฏฐารส กรุเขาสมอแคลง กรุพรหมพิราม และกรุเขาพนมรุ้ง เป็นต้น ซึ่งมีค่านิยมลดหลั่นกัน แต่ที่นับว่าเป็นที่นิยมมากที่สุด คือ "พระชินราชใบเสมา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ"

พระพุทธชินราชใบเสมา มีพุทธศิลปะแบบสุโขทัยลัทธิลังกาวงศ์ผสมผสานกับศิลปะเขมร พุทธลักษณะเข้มขลังงดงาม เข้าใจว่าจำลองแบบมาจาก "พระพุทธชินราช" พระประธานในพระอุโบสถ ส่วนคำว่า "ใบเสมา" มาจากที่องค์พระมีสัณฐานเหมือนใบเสมาโบราณ ซึ่งดู จากพุทธศิลปะพิมพ์ทรงแล้วน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพระตระกูล "ยอดขุนพล" ในศิลปะแบบลพบุรี โดยเฉพาะลักษณะของซุ้มฐานบัว จึงน่าจะสร้างขึ้นพร้อมหรือไล่เลี่ยกันกับการสร้างพระปรางค์ประธานของวัด ส่วนด้านพุทธคุณนั้นเป็นเลิศ ปรากฏทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและอำนาจบารมีครบครัน

พระพุทธชินราชใบเสมา มีการแตกกรุ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หลายต่อหลายครั้ง องค์พระส่วนใหญ่ที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน ผิวเนื้อจะออกสีนวลดำๆ มีคราบปรอทให้เห็นประปราย อาจพบรอยระเบิดจากภายในสู่ภายนอก นอกนั้นยังมีเนื้อสำริด เนื้อดิน เนื้อชินเขียว ฯลฯ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2440 ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เมืองพิษณุโลก ยังมีประชาชนนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย พระองค์ทรงแจกจ่ายไปยังพสกนิกรที่ติดตามเสด็จอย่างถ้วนหน้า

พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะ ฐานบัวคว่ำบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระศกแสดงอิทธิพลเขมรที่เรียกว่า "เขมรผมหวี" ชัดเจน ปลียอดพระเกศจะทะลุซุ้มทุกองค์ พระเกศนูนเหมือนกลีบบัวสามกลีบ พระพักตร์รูปไข่หรือผลมะตูม ก้มต่ำเล็กน้อย แลดูเข้มและแฝงไปด้วยอำนาจ

 
ปรากฏรายละเอียดของพระขนง พระเนตร พระนาสิก พระ โอษฐ์ ชัดเจน เอกลักษณ์โดยรวมคือ ปลายสังฆาฏิยาวจรดพระอุทร, ข้อพระบาทขวาจะปรากฏกำไลข้อพระบาทสองหรือสามปล้อง (แล้วแต่ติดเต็มหรือไม่เต็ม), ฐานบัว 2 ชั้น มีเม็ดไข่ปลาคั่นเป็นจุดๆ ระหว่างบัวบนกับบัวล่าง ทำให้ฐานองค์พระแลดูสวยงามอย่างลงตัว

ส่วนด้านหลังจะเป็นหลังเรียบ มีลายผ้าละเอียดเล็กๆ ถี่บ้าง ห่างบ้าง และพื้นผิวเป็นคลื่น เป็นแอ่ง ไม่เสมอกัน ขอบด้านข้างจะมนไม่คมและปรากฏรอยหยักตัดด้านข้างหลายหยักเป็นธรรมชาติ เท่าที่พบมี 3 พิมพ์ใหญ่ๆ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก นอกจากนี้ในแต่ละพิมพ์ บางองค์จะมีเนื้อส่วนเกินตรงใต้ฐานทำให้ฐานดูสูงขึ้น จึงเรียกว่า "ฐานสูง"

"พิมพ์ใหญ่" องค์พระมีขนาดประมาณ 2.5 x 3.5 ซ.ม. พระพักตร์กว้าง แลดูเคร่งขรึมกว่าทุกพิมพ์ พระนาสิกโตหนา พระพาหาหนาใหญ่ ปรากฏเส้นพระศอค่อนข้างชัดเจน เส้นรอบขอบจะเป็นรูปเสมาที่งดงามกว่าทุกพิมพ์และปีกเสมากว้างกว่าทุกพิมพ์ ช่วงโค้งของใบเสมาจะตกอยู่ช่วงพระกัประ (ข้อศอก) ซึ่งรับกันอย่างงดงามสง่า ส่วนใหญ่ด้านหลังลายผ้าจะค่อนข้างหยาบ

"พิมพ์กลาง" เค้าพระพักตร์จะไม่ขรึมเท่าพิมพ์ใหญ่ จุดที่ต่างเป็นเอกลักษณ์คือพระพาหาจะไม่หนาใหญ่เหมือนพิมพ์ใหญ่ และไม่ปรากฏเส้นพระศอ ตลอดทั้งเส้นรอบขอบพิมพ์ช่วงที่เป็นเสมาด้านบนจะไม่เป็นลักษณะซุ้ม แต่กลับเป็นลักษณะของการหักเหลี่ยม ช่วงโค้งเป็นลักษณะโค้งแบบเทราบ ด้านหลังลายผ้าค่อนข้างหยาบเช่นกัน

ส่วน "พิมพ์เล็ก" เค้าพระพักตร์จะแตกต่างจากพิมพ์อื่น คือไม่เคร่งขรึมมากและขนาดจะเล็กกว่าทุกพิมพ์ พระพาหาด้านซ้ายก็มีลักษณะเป็นข้อกลมๆ เส้นรอบขอบแม่พิมพ์จะทิ้งมาตรงๆ ไม่มีช่วงโค้งแบบใบเสมาหรือเป็นพุ่ม สำหรับด้านหลัง ลายผ้าจะละเอียดมาก

การพิจารณาพระเนื้อชินเงินนั้น ต้องใช้ความชำนาญอย่างมากในการดูความเก่า สนิมตีนกา ผิวกรุ คราบกรุ ความแห้ง และรอยระเบิด ซึ่งต้องเป็นธรรมชาติ สังเกตความชัดเจนของพิมพ์ทรง พิมพ์ใหญ่จะลึกกว่าพิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก ตามลำดับ ถ้าพบเจอพระพิมพ์ตื้นมากๆ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นพระปลอม ครับผม 

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
ข่าวสดออนไลน์





พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี
 องค์สุดท้ายของ "พระเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" คือ พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี พระยอดนิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัดมาแต่โบร่ำโบราณ ซึ่งมีการค้นพบเฉพาะ "กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" เท่านั้น

พระมเหศวร มีพุทธศิลปะเป็นแบบศิลปะอู่ทอง เช่นเดียวกับ "พระผงสุพรรณ" จึงสันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์เมืองอู่ทองเช่นกัน พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย สองหน้า แต่ละหน้าขององค์พระสวนกัน มีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นตำนานเล่าขานสืบมา 2 ประการ คือ

1. "พิมพ์ทรง" ที่ออกจะแปลกแตกต่างไปจากพระพิมพ์อื่นๆ ที่เห็นกันอยู่ทั่วไป ซึ่งต้องยอมรับในภูมิปัญญาไทยสมัยก่อนที่สามารถรังสรรค์ชิ้นงานประติมากรรมด้วยความชาญฉลาด ด้วยปัญหาข้อหนึ่งของพระเนื้อชิน คือส่วนพระศอขององค์พระมักจะบอบบาง ทำให้เปราะและแตกหักง่าย ผู้สร้างจึงแก้โดยเอาส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่งนั่งสวนทางกัน ดังนั้น ส่วนที่เปราะบางคือพระศอ จึงไปอยู่ในส่วนที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง สามารถลบล้างในส่วนที่เปราะบางได้อย่างสิ้นเชิง จึงเรียกกันแต่ก่อนว่า "พระสวน" ส่วน คำว่า "มเห" แปลว่ายิ่งใหญ่ เพราะถือกันว่ากรุวัดพระศรีมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นวัดที่กษัตริย์สร้าง ซึ่งภายในกรุพระปรางค์ที่พบนั้น นอกจากพบพระมเหศวรแล้วยังพบพระสำคัญอื่นๆ อีกจำนวนมาก อาทิ พระผงสุพรรณอันลือลั่น พระกำแพงศอก พระกำแพงคืบ และพระกำแพงนิ้ว เป็นต้น

2 "ความเข้มขลังด้านพุทธคุณครบครัน" ตามตำนานกล่าวขานกันสืบต่อมาว่า "... หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแถบภาคกลางของไทย เช่น ชัยนาท อุทัยธานี และสุพรรณบุรี ได้เกิดชุมโจรออกปล้นสะดมชาวบ้านอย่างชุกชุม จนเป็นที่หวาดผวาแก่อาณาประชาราษฎร์ทั่วไป ตกเพลาค่ำคืนต้องคอยระมัดระวังอยู่ยามตามไฟอย่างเข้มงวด ยิ่งตามรอยต่อของทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าว จะมีชุมโจรที่น่าเกรงขาม อาทิ เสือฝ้าย และเสือมเหศวร เป็นต้น โดยเฉพาะ "เสือมเหศวร" มีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน ยิงฟันไม่เข้า เล่ากันว่า เพราะเสือมเหศวรมีพระเครื่องชั้นดีอยู่องค์หนึ่งที่อาราธนาอยู่บนคอตลอดเวลา เป็นพระเนื้อชิน ประทับนั่งปางมารวิชัย สองหน้า นั่งเอาพระเศียรสวนทางกัน สมัยนั้นเรียกกันว่า "พระสวน"..." บ้างจึงกล่าวกันว่า ได้นำเอาชื่อของเสือมเหศวรมาเรียกเป็นชื่อพระพิมพ์นี้ว่า "พระมเหศวร" นั่นเอง

พระมเหศวร มีมากมายหลายพิมพ์ทรง โดยแบ่งเป็นพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พระสวนเดี่ยว และพระสวนตรง

"เนื้อองค์พระเป็นประเภทเนื้อชินเงินหรือเนื้อชินแข็ง ที่เรียกว่า เนื้อชินกรอบ" มวลสารจะเป็นส่วนผสมของเนื้อดีบุกมากกว่าเนื้อตะกั่ว เนื้อชินชนิดนี้จะมีลักษณะแข็ง เมื่อผ่านกาลเวลา จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเกิดสนิม ซึ่งจะกัดกร่อนลงไปในเนื้อ มากบ้างน้อยบ้าง เล็กบ้างใหญ่บ้าง แล้วแต่ปัจจัยปรุงแต่ง อย่างเช่น ความชื้น ฯลฯ เราเรียกว่า "สนิมขุม"

นอกจากนี้จะเกิด "รอยระเบิดแตกปริ" ตามผิว ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยจะแตกจากภายในปะทุออกมาข้างนอก สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด ใช้เป็นหลักการพิจารณาสำคัญประการหนึ่ง สำหรับบางองค์ที่มีส่วนผสมของเนื้อตะกั่วมากกว่าเนื้อดีบุก ซึ่งเรียกว่า "เนื้อชินอ่อน" เนื้อจะไม่แข็งกรอบเหมือนชินเงิน เมื่อกระทบของแข็งจะเกิดเป็นรอยบุ๋มลึก และสามารถโค้งงอได้เล็กน้อย จะมีข้อดีตรงที่ไม่เกิดสนิมขุม รอยกัดกร่อน หรือระเบิดแตกปริ แต่จะเกิดเป็น "สนิมไข" ที่มีลักษณะเป็นแผ่นสีนวลขาว เมื่อใช้ไม้ทิ่มแทงจะค่อยๆ หลุดออก แต่ถ้าทิ้งเอาไว้หรือแขวนคอ พอถูกไอเหงื่อก็จะเกิดขึ้นมาอีกภายใน 3-4 วัน ซึ่งต่างจาก "สนิมไขเทียม" แม้จะมีลักษณะเป็นแผ่นเช่นกัน แต่เวลาล้างสนิมไขก็จะหลุดลอกออกหมด และไม่เกิดขึ้นมาใหม่ อันเป็นข้อสังเกตสำคัญอีกประการหนึ่ง

ผิวขององค์พระนั้น ถ้ายังไม่ได้ถูกใช้หรือสัมผัส ผิวจะเนียนและมีสีออกไปทางดำเอามากๆ แต่ถ้าถูกใช้จนสึกจะเห็นเนื้อในขาวนวลสดใสราวกับสีเงินยวง หรือผิวพระจะเป็นสองชั้น เข้าใจว่าน่าจะมีส่วนผสมของปรอทอยู่มาก ดังภาษาชาวบ้านที่ว่า "ตลอดองค์พระมีเสื้อใส่ทับอยู่อีกชั้นหนึ่ง" ย่อมยืนยันได้ว่า เป็นของแท้แน่นอน

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
ข่าวสดออนไลน์




เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ 
 สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะพูดคุยกันถึงสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสฺสมหาเถระ (อ้วน) วัดบรมนิวาสกันครับ ท่านเป็นพระเถระที่มีประชาชนเคารพนับถือกันมาก โดยเฉพาะชาวจังหวัดอุบลราชธานี และเหรียญรุ่นแรกของท่านก็นับว่าหายาก และเป็นที่นิยมกันมากเช่นกันครับ

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า อ้วน เกิดที่บ้านหนองแคน ต.ดอนมดแดง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2410 โยมบิดาชื่อ เพี้ยเมืองกลาง (เคน) โยมมารดาชื่อ บุดสี ตอนอายุได้ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่ ต.สว่าง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาที่สำนักวัดศรีทอง (ศรีอุบลรัตนาราม ปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2430 จึงได้อุปสมบทที่วัดศรีทอง โดยมี พระเทวธัมมีเถระ (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโชติปาลเถระ (ทา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) เป็นอุทเทศาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้พำนักอยู่ที่วัดศรีทอง พอปี พ.ศ.2434 จึงได้เข้ามาศึกษาต่อใน กทม. อยู่ที่วัดพิชยญาติการาม

ต่อมาปี พ.ศ.2438 จึงย้ายไปอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส ปี พ.ศ.2442 ได้เดินทางกลับมาอยู่ที่ จ.อุบลราชธานี เป็นครูสอนบาลี และรับตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน พ.ศ.2446 เป็นเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหาร จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2447 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระศาสนดิลก พ.ศ.2454 ได้รับพระราชทานพัดยศพระราชาคณะผู้ใหญ่เสมอชั้นราช พ.ศ.2455 เป็นที่พระราชมุนี พ.ศ.2464 เป็นที่พระเทพเมธี พ.ศ.2468 เป็นที่พระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ.2470 เป็นเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา พ.ศ.2472 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมปาโมกข์ พ.ศ.2475 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี และในปี พ.ศ.2475 ก็ได้ย้ายมาครองวัดบรมนิวาส ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พ.ศ.2485 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กทม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านมรณภาพในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2499 ณ หอธรรมวิจารย์ วัดบรมนิวาส สิริอายุได้ 89 ปี พรรษาที่ 68

ในปี พ.ศ.2477 คณะศิษย์ได้ขออนุญาตท่านเพื่อสร้างเหรียญรูปท่านนั่งเต็มองค์ไว้เป็นที่ระลึก ท่านก็อนุญาตให้จัดสร้างได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน เหรียญที่สร้างนี้เป็นเหรียญทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปท่านนั่งสมาธิเต็มองค์ มีอักษร "ติส" และ "เถร. อ" ด้านหลังเป็นยันต์กระบองไขว้ เป็นเหรียญได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะชาวอุบลราชธานีจะเคารพนับถือท่านมากครับ เหรียญนี้นับว่าหายากพอสมควร วันนี้ผมก็นำมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
 แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




พระลือ กรุประตูลี้
 สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสกุลลำพูนมีอยู่หลายอย่าง ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินเผาแทบทั้งสิ้น กรุที่สำคัญก็คือกรุของวัดสี่มุมเมือง เช่น วัดมหาวัน วัดพระคง วัดดอนแก้ว และวัดประตูลี้ กรุต่างๆ นี้ พบพระเครื่องเนื้อดินเผาอยู่หลายแบบ

แต่โดยส่วนมากก็จะจำกันเฉพาะ พระที่นิยมกันมากที่สุดของแต่ละกรุ เช่น วัดมหาวันก็จะนึกถึงพระรอด วัดพระคง ก็จะนึกถึงพระคงวัดดอนแก้วก็จะนึกถึงพระบาง วัดประตูลี้ ก็จะนึกถึงพระเลี่ยง เป็นต้น ซึ่งก็เป็นพระยอดนิยมของแต่ละกรุ

วัดประตูลี้ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองหริภุญชัย ทางด้านประตูลี้ ที่วัดนี้มีการขุดพบพระเครื่องมานานแล้ว และมีการขุดกันหลายครั้ง ครั้งใหญ่ที่สุดน่าจะเป็นปี พ.ศ.2484 ในคราวสงครามอินโดจีน ซึ่งมีการขุดหาพระเครื่องกันทั่วประเทศ เนื่องจากประชาชนหวาดกลัวภัยสงคราม จึงขุดหาพระเครื่องเพื่อไว้ติดตัวป้องกันอันตรายต่างๆ

ที่วัดประตูลี้ก็เช่นกันและได้พบพระเครื่องมากมาย พระที่พบมากที่สุดคงจะเป็นพระเลี่ยงจึงทำให้มีคนรู้จักมากกว่าพระชนิดอื่นๆ และพระเลี่ยงก็มีขนาดเล็กพอเหมาะที่จะนำมาเลี่ยมห้อยคอ ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากครับ

พระที่พบในวัดประตูลี้นอกจาก พระเลี่ยงแล้วก็ยังพบพระเครื่องเนื้อดินเผาชนิดต่างๆ อีกหลายอย่างเช่น พระเลี่ยงหลวง (คำว่าหลวงหมายถึงใหญ่) ซึ่งเป็นพระที่ลักษณะคล้ายๆ พระเลี่ยงแต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก พระอีกชนิดหนึ่งก็คือพระลือ ซึ่งก็มีขนาดใหญ่กว่าพระเลี่ยงเช่นกัน จำนวนของพระลือที่พบก็มีไม่มากนัก

ต่อมาภายหลังเรียกพระลือว่าพระลือหน้ามงคล ก็มีสาเหตุอีกนั่นแหละครับจึงต้องมีชื่อสร้อยตามท้าย

ในระยะต่อมาได้มีคนขุดพบแม่พิมพ์พระที่ทุ่งกู่ร้างอยู่ทางใต้ของวัดประตูลี้ เป็นพิมพ์พระลือหน้ายักษ์ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่ไม่มีใครพบพระลือหน้ายักษ์องค์จริงๆ เลย เท่าที่มีก็เป็นพระลือหน้ายักษ์ที่สร้างกันในสมัยหลังๆ ทั้งสิ้น ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อสร้อยตามท้ายของพระลือที่พบที่วัดประตูลี้ว่า “พระลือหน้ามงคล” เพื่อแยกแยะให้ชัดเจน พระลือหน้ามงคลปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน มีการทำปลอมเลียนแบบมาช้านาน แต่พิมพ์และเนื้อของพระมักจะผิดเพี้ยนจากของแท้

พระลือหน้ามงคลนั้นเชื่อกันว่ามีพุทธคุณเฉกเช่นเดียวกับพระสกุลลำพูน เช่นแคล้วคลาดปลอดภัย โชคลาภ โดยเฉพาะมีชื่อเสียงโด่งดังเลื่องลือ พระลือเป็นพระที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งของพระสกุลลำพูน ขนาดออกจะเขื่องสักเล็กน้อย มีขนาดพอๆ กับพระเปิม การเช่าก็ต้องระวังหน่อย พิจารณาให้ดีๆ เพราะของปลอมมีมานานแล้ว และทำได้เหมือนขึ้นทุกวันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลือ กรุประตูลี้ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ 

ชมรมพระเครื่อง
 แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




เหรียญปาดตาล พระผงนั่งตั่งสรงนํ้า
 หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม พระเกจิชื่อดังวัดห้วยด้วน (วัดธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ เป็นประธานพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล "เหรียญปาดตาล พระผงนั่งตั่ง รุ่นสรงน้ำ 61" เมื่อเร็วๆ นี้ ที่มณฑลพิธีวัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์

นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกที่ประกอบพิธีบวงสรวงขอบารมีหลวงพ่อเดิมและครูบาอาจารย์ด้วยตัวท่านเอง

ช่วงบ่ายฤกษ์มงคล เวลา 14.19 น. หลวงพ่อพัฒน์ เมตตานั่งปรกปลุกเสกและดับเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ทั้งหมด 9 รูป หลังเสร็จพิธี หลวงพ่อพัฒน์โปรยข้าวตอกดอกไม้ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

หลังเสร็จพิธี คณะกรรมการนำโดย พ.ต.ท.เจริญ และ นางรุ่งทิพย์ สอนจันเกตุ คณะศิษยานุศิษย์ ประชาชน เข้าร่วมพิธีสรงน้ำหลวงพ่อพัฒน์ เพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นประกอบพิธีทำลายบล็อกปั๊มต่อหน้าหลวงพ่อพัฒน์ และลูกศิษย์ที่ร่วมสังเกตการณ์ เป็นสักขีพยานจำนวนมาก

โดยในครั้งนี้หลังเสร็จพิธี ผู้เข้าร่วมพิธีได้รับแจกฟรีพระผงนั่งตั่ง พุทธะสังมิ เป็นที่ระลึก

สำหรับหลวงพ่อพัฒน์ เป็นศิษย์พุทธาคมหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เกิดเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2465 ที่บ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เป็นบุตรของ นายพุฒ ก้อนจันเทศ และ นางแก้ว ฟุ้งสุข

เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2489 ที่อุโบสถวัดสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี โดยมี พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อยอด) วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการชั๊ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท โดยระหว่างนั้น หลวงพ่อเดิมสร้างเสนาสนะและอุโบสถวัดอินทราราม หลวงพ่อพัฒน์ เดินทางไปเรียนพุทธาคมกับหลวงพ่อเดิม ซึ่งท่านเมตตาถ่ายทอดวิชากัมมัฏฐานและพุทธาคมให้พระภิกษุพัฒน์ โดยให้พระภิกษุพัฒน์ไปจำวัดอยู่ที่วัดเขาแก้วกับหลวงพ่อกัน

ขณะนั้นวัดอินทรารามกำลังซ่อมสร้างเสนาสนะอยู่จึงไม่สะดวก ในการพัก ในช่วงเวลานี้ พระภิกษุพัฒน์ต้องเดินทางไปมาระหว่างวัดเขาแก้วกับวัดอินทราราม โดยไปเช้าเย็นกลับ เพื่อไปเรียนกับหลวงพ่อเดิม บางครั้งก็พักค้างแรมกับหลวงพ่อเดิม ที่วัดอินทราราม เกือบสองพรรษา จึงเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิมจนจบ

ในปี พ.ศ.2513 หลวงพ่อพัฒน์ย้ายมาจำพรรษาวัดห้วยด้วน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ชาวบ้านหนองบัว ตราบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

วัตถุมงคลเหรียญปาดตาลรุ่นแรก พระผงนั่งตั่ง พุทธะสังมิ รุ่นสรงน้ำ 61 พ.ต.ท.เจริญ และนางรุ่งทิพย์ สอนจันเกตุ ศิษย์สายตรงขออนุญาตจากหลวงพ่อพัฒน์ ซึ่งท่านอนุญาตจัดสร้างเป็นกรณีพิเศษวัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนบูรณะเสนาสนะภายในวัดห้วยด้วน

เหรียญปาดตาล พระผงนั่งตั่ง พุทธะสังมิ หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม กล่าวสำหรับ "พุทธะสังมิ" คือหัวใจไตรสรณาคมน์

"พุท" ย่อมาจาก พุทธัง หมายถึง พระพุทธเจ้า

"ธะ" ย่อมาจาก ธัมมัง หมายถึง พระธรรม

"สัง" ย่อมาจาก สังฆัง หมายถึง พระสงฆ์

"มิ" มาจากคำว่า สรณังคัจฉามิ ซึ่งอยู่เบื้องปลายของพระคาถาบูชาพระรัตนตรัย คือ พุทธังสะระนังคัจฉามิ ธัมมังสะระนังคัจฉามิ สังฆังสะระนังคัจฉามิ

รายการที่จัดสร้างเหรียญปาดตาล รุ่นแรก

1.เหรียญปาดตาลเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 19 องค์ 2.เหรียญปาดตาลเนื้อเงิน สร้างจำนวน 199 องค์ 3.เหรียญปาดตาลเนื้อนวะ สร้างจำนวน 299 องค์ 4.เหรียญปาดตาลเนื้อทองแดงมันปู สร้างจำนวน 1,999 องค์ 5.เหรียญปาดตาลเนื้อกะไหล่ทองลงยาน้ำเงิน สร้างจำนวน 499 องค์ 6.เหรียญปาดตาลเนื้อกะไหล่ทองลงยาแดง สร้างจำนวน 499 องค์

พระผงนั่งตั่งพุทธะสังมิ 1.พระผง นั่งตั่งหลังฝังตะกรุดทองคำ 3 ดอก สร้างจำนวน 99 องค์ 2.พระผงนั่งตั่งหลังฝังตะกรุดเงิน 1 ดอก สร้างจำนวน 499 องค์ 3.พระผงนั่งตั่งผงพุทธคุณ สร้างจำนวน 2,999 องค์

สอบถามโทร. 08-4496-2634, 08-7206-0603, 08-9567-3456, 09-2264-4151   

ข่าวสดออนไลน์



พระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง
 สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง หรือพระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง 2 ชื่อนี้เป็นพระชนิดเดียวกัน แต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้นเป็นพระกรุของอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ในสมัยก่อนผมเคยได้ยินท่านผู้หลักผู้ใหญ่พูดคุยกันถึงพระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง โดยคุยกันถึงเรื่องพุทธคุณว่าเหนียวมาก ทั้งปืนทั้งมีดทำอะไรไม่ได้เลย อีกทั้งสนนราคาก็ยังถูกกว่าพระเครื่องดังๆ ของลพบุรีมาก

ผมเข้าไปฟังการสนทนาของผู้ใหญ่ในสมัยนั้นอย่างสนใจ และมีโอกาสได้ดูพระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดงในครั้งนั้นด้วย เท่าที่รับฟังมาก็เป็นเรื่องของการขุดพบพระเครื่อง ชนิดนี้ว่าถูกพบโดยบังเอิญ โดยชาวบ้านในแถบท่าวุ้ง ลพบุรี ได้เที่ยวยิงนกยิงกระต่ายป่าแถวๆ นั้น พอเดินมาถึงวัดร้างที่ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดใหญ่ ก็เห็นเหยี่ยวตัวหนึ่งเกาะอยู่บนต้นไม้ที่เจดีย์ร้างของวัด จึงนึกสนุกยิงปืนลูกซองไปที่เหยี่ยวตัวนั้น แต่ก็ต้องแปลกใจเพราะลูกปืนด้าน จึงเปลี่ยนลูกใหม่และยิงอีกก็ด้านอีก ลองเอาลูกปืนที่ด้านใส่แล้วยิงขึ้นฟ้าไปทางอื่นก็ลั่นออกไปง่ายดาย

เหยี่ยวตัวนั้นตกใจก็บินหนีไป ทำให้พวกที่ไปด้วยกันสงสัยเป็นอย่างมาก จึงเข้าไปดูที่องค์พระเจดีย์ร้าง ก็เห็นมีโพรงอยู่จึงคุ้ยดูก็พบพระเครื่องจำนวนมาก เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา มีทั้งสีดำและสีแดงก็แบ่งกันเอาไป ต่อมาก็รู้ถึงชาวบ้านในแถบนั้นจึงพากันมาขุดเอาพระไปจนหมด และก็เรียกกันตามคำเล่าขานว่า "พระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง" คำว่า "เหยี่ยว" ก็มาจากคำบอกเล่าเรื่องการยิงเหยี่ยว ส่วน "ดำ-แดง" ก็มาจากสีของพระที่พบเป็นส่วนใหญ่ ความจริงสีของพระเนื้อดินเผานั้นก็มีสีต่างๆ ตามแบบเนื้อดินเผาทั่วๆ ไป แต่ก็เรียกกันตามสีที่พบมาก นอกจากพระเนื้อดินเผาแล้วก็ยังพบพระเนื้อชินเงินและพระเนื้อชินตะกั่วอยู่บ้าง แต่มีไม่มากนัก อาจจะผุพังไปเสียก่อนแล้วก็เป็นได้

พระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง ต่อมาเรียกกันเพี้ยนไปเป็น "เดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง" แต่ก็เป็นพระชนิดเดียวกันครับ พระที่นิยมจะเป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งเท่าที่พบจะมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ จะมีพระพักตร์ (หน้า) ที่ใหญ่ กว่าอีกพิมพ์หนึ่ง องค์พระก็จะเขื่องกว่า ด้าน หลังจะมีรอยปาดหลัง คล้ายๆ กับพระหลวงพ่อจุก อีกพิมพ์หนึ่งคือพิมพ์เล็ก พระพักตร์จะเล็กเรียวกว่า หลังมักจะไม่มีรอยปาด แต่เป็นรอยมือเป็นจ้ำๆ เนื้อดินเผาที่พบมีทั้งเนื้อดินละเอียดและหยาบ มีหลายสี

พระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดงมีการเล่าขานต่างๆ มากมาย โดดเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด คนท่าวุ้งสมัยก่อนหวงกันมาก ปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากเช่นกัน และก็มีพระปลอมเลียนแบบกันมานานแล้วครับ การเช่าหาก็ต้องระมัดระวังปรึกษา ท่านผู้รู้ไว้ก่อนก็จะดีครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระเหยี่ยวดำ-เหยี่ยวแดง ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ [/b]

ชมรมพระเครื่อง
 แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #87 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2561 11:25:19 »


หลวงพ่อวัดไร่ขิง จ.นครปฐม

มาลงรายละเอียดของ "พระพุทธรูปลอยน้ำ" แต่ละองค์กัน เริ่มด้วย หลวงพ่อวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม องค์แรกที่ลอยมาตามลำน้ำนครชัยศรี เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเมืองนครปฐม รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

สำหรับหลวงพ่อวัดไร่ขิงนั้น นอกจาก "ตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ" แล้ว ยังมีตำนานเล่าขานถึงที่มาขององค์พระปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์อีกตำนาน กล่าวกันว่า

"... แต่เดิม วัดไร่ขิงเป็นเพียงวัดเล็กๆ ต่อมาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศาลาปูน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นชาวเมืองนครชัยศรี จ.นครปฐม ได้มาเยี่ยมเยือนวัดในเขตอำเภอสามพราน เมื่อเข้าไปกราบพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง มีความเห็นว่าพระประธานมีขนาดเล็กเกินไป จึงให้ท่านเจ้าอาวาสวัดพร้อมชาวบ้านไปอัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูน มาประดิษฐานเป็นพระประธาน โดยวางลงบนแบบไม้ไผ่และนำล่องมาตามลำน้ำ และได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ ในวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันสงกรานต์ ซึ่งองค์พระได้แสดงปาฏิหาริย์ตั้งแต่ประกอบพิธีอัญเชิญเป็นที่อัศจรรย์ ชาวบ้านจึงพากันอธิษฐานจิต "ขอหลวงพ่อจักทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อน คลายความทุกข์ให้หมดไป เจริญงอกงามด้วยธัญญาหาร" ..."

สำหรับ "วัดไร่ขิง" ก็มีเรื่องเล่าว่า พื้นที่ของวัดในอดีตมีชาวจีนมาอยู่อาศัยกันเป็นจำนวนมากและนิยมปลูกขิงกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนในแถบนี้ว่า "ไร่ขิง" ต่อมาเมื่อชุมชนหนาแน่นขึ้น จึงได้สร้างวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในการประกอบศาสนกิจ จึงให้ชื่อวัดว่า "วัดไร่ขิง" แต่นั้นมา

หลวงพ่อวัดไร่ขิง พระพุทธรูปเนื้อสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธศิลปะผึ่งผายคล้ายสมัยเชียงแสน พระหัตถ์เรียวงามตามแบบสุโขทัย แต่พระพักตร์ดูคล้ายรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานเหนือฐานชุกชี สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนาและล้านช้าง ได้สร้างอิทธิปาฏิหาริย์แก่ผู้มาสักการะขอพรให้สำเร็จได้ดังประสงค์ จนเป็นที่กล่าวขวัญเลื่องลือ เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนโดยถ้วนทั่ว ที่มักแวะเวียนมากราบสักการะขอพรอยู่เป็นเนืองนิตย์ จน ณ ปัจจุบัน วัดไร่ขิง ถือเป็นหนึ่งในวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วประเทศ

วัตถุมงคลหลวงพ่อวัดไร่ขิง จัดสร้างกันเรื่อยมาในหลายแบบหลายประเภท ทั้งพระบูชา พระเครื่อง รูปหล่อ เหรียญ ฯลฯ โดยเฉพาะ "เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี 2467" เหรียญรุ่นแรก ที่ถือเป็นสุดยอดเหรียญดังของจังหวัด และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "ชุดเบญจภาคีเหรียญพระพุทธ" ด้วยพุทธลักษณะอันงดงาม คมชัด และพุทธคุณเป็นเลิศปรากฏ เป็นที่ใฝ่ฝันและแสวงหาอย่างสูง ปัจจุบันหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากยิ่งครับผม

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก ปี 2467 นี้ จัดสร้างโดย หลวงพ่อใช้ ปติฏโฐ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น มีทั้งเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม รูปทรงเสมา หูในตัว ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อวัดไร่ขิง ประทับนั่งเหนืออาสนะฐานผ้าทิพย์ ขอบเหรียญแกะลายกระหนกอย่างงดงาม เหนือพระเศียรมีเส้นรัศมีเปล่งออกมาจากขอบเหรียญ

ด้านข้างตรงพระชานุทั้ง 2 ข้าง มีอักษรไทยว่า "ทืร" และ "ฤก" หมายถึง ที่รฤก ใต้อาสนะจารึกอักษร "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ด้านหลังเป็นยันต์ "หัวใจของยันต์ใหญ่" อยู่ในตาราง 25 ช่อง อ่านว่า "พุท ธัง สะ ระ นัง คัจ ฉา มิ ธัม มัง สะ ระ นัง คัจ ฉา มิ สัง ฆัง สะ ระ นัง คัจ ฉา มิ" ช่องกลางของตารางเป็น "ตัวอะ" คำย่อของ "อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ" ด้านนอกยันต์ด้านล่าง มีอักขระขอม 4 ตัว อ่านว่า "พุท ธะ สัง มิ" ย่อมาจาก "พุท ธัง สะ ระ นัง คัจ ฉา มิ" ซึ่งถือเป็นยอดแห่งศีล หรือ "ไตรสรณคมน์" ด้านล่างสุดระบุปีที่สร้าง คือ "พ.ศ.๒๔๖๗" (

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์





หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน


ตํานานพระพุทธรูปลอยน้ำองค์ต่อมา "หลวงพ่อโตบางพลี" ได้ลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยาจนมาถึงคลองสำโรง แต่ในระหว่างทางนั้นเมื่อชาวบ้านช่วยกันฉุดดึงเท่าไรก็ไม่สามารถนำพระขึ้นจากน้ำได้ จึงต้องใช้เรือพายฉุดท่านให้ลอยมาตามคลองสำโรงและอธิษฐานว่า หากประสงค์จะขึ้นที่ใดก็ขอให้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้น และเมื่อแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดบางพลีใหญ่ในก็เกิดหยุดนิ่ง ฝีพายพยายามพายอย่างเต็มกำลังก็ไม่สามารถลากแพไปได้ จึงอัญเชิญองค์พระขึ้นมาประดิษฐานในพระวิหาร

ต่อมาเมื่อสร้างพระอุโบสถแล้วเสร็จ จึงอาราธนามาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบางพลีใหญ่ใน

วัดบางพลีใหญ่ใน เดิมชื่อว่า “วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม” ส่วนตำบลให้ชื่อว่า "บางพลี" ตามพิธีพลีกรรม นานวันเข้าก็เรียกชื่อวัดกันง่ายๆ ตามชื่อตำบลเป็น "วัดบางพลี"

ต่อมาได้มีการสร้างวัดอีกแห่งหนึ่งทางด้านนอกเรียกว่า “วัดบางพลีใหญ่กลาง” กอปรกับวัดบางพลีได้ "หลวงพ่อโต" มาเป็นมิ่งขวัญ จึงเรียกกันว่า "วัดบางพลีใหญ่ใน" หรือ "วัดหลวงพ่อโต" มาจนทุกวันนี้

หลวงพ่อโต พระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ศิลปะสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ การที่ท่านได้รับการถวายนามว่า “หลวงพ่อโต” นั้น คงเป็นเพราะองค์พระใหญ่โตมากนั่นเอง

เดิม หลวงพ่อโตประดิษฐานในวิหารหลังเดิม จนเมื่อมีโครงการรื้อวิหารเพื่อสร้างเป็นพระอุโบสถ จึงอาราธนาองค์พระปฏิมามาพักไว้ยังศาลาชั่วคราว กระทั่งสร้างพระอุโบสถแล้วเสร็จจึงได้อาราธนากลับไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ เล่ากันว่าเมื่อคราวสร้างพระอุโบสถเสร็จใหม่ๆ ได้วัดช่องประตูแล้วใหญ่กว่าองค์พระประมาณ 5 นิ้ว ซึ่งสามารถนำองค์พระผ่านเข้าไปได้ แต่พอถึงคราว อาราธนาจริงๆ ปรากฏว่าองค์พระใหญ่กว่าประตูมาก คณะกรรมการส่วนหนึ่งเห็นว่าควรทุบช่องประตูทิ้ง แต่อีกส่วนหนึ่งยังเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวง พ่อโต จึงพร้อมใจกันอธิษฐานขอให้องค์พระผ่านเข้าประตูได้เพื่อสถิตเป็นมิ่งขวัญคุ้มครองชาวบางพลีสืบไป ปรากฏว่าองค์หลวงพ่อโตผ่านประตูได้โดยง่ายดายเป็นที่อัศจรรย์นัก

พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะชาวบางพลีและใกล้เคียงต่างให้ความเคารพศรัทธา เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และบารมีแห่ง "หลวงพ่อโตบางพลี" ว่าจะคุ้มครองปกป้องให้ปลอดภัยจากภัยพิบัติต่างๆ และมีความร่มเย็นเป็นสุขสืบไป วัตถุมงคลทุกรุ่นทุกแบบจึงเป็นที่นิยมสะสมทั้งสิ้น แม้กระทั่ง "รูปเหรียญหลวงพ่อโต" ชาวบ้านยังนำมาห้อยคอลูกหลาน เพราะเมื่อเด็กเผลอพลัดตกน้ำเด็กนั้นกลับลอยได้เป็นที่น่าอัศจรรย์

ในทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ชาวบางพลีจะอาราธนา “หลวงพ่อโตจำลอง” ลงเรือ แห่ล่องไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสองฝั่งคลองและผู้ร่วมงานได้ร่วมสักการบูชา ด้วยการโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อประดิษฐานอยู่ โดยมีความเชื่อว่า หากสามารถโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่แล้ว อธิษฐานสิ่งใดไว้ก็จะประสบความสำเร็จดังหวังทุกประการ  ซึ่งกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาเนิ่นนานเรียกว่า ประเพณีรับบัว-โยนบัว ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม

ตํานานพระพุทธรูปลอยน้ำองค์ที่ 3 ลอยมาตามลำน้ำแม่กลอง คือ "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" พระประธาน ณ พระอุโบสถ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือวัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม ซึ่งบางตำนานก็ว่าชาวศรีจำปาได้พระพุทธรูปจากที่ "ชาวบ้านแหลม" จ.เพชรบุรี ทำหล่นไว้ 1 องค์ เมื่อครั้งมีพายุตอนหาปลา จึงต้องตั้งชื่อองค์พระและวัดเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้พบพระพุทธรูปลอยน้ำรายแรก

หลวงพ่อวัดบ้านแหลม พระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลือง ประทับยืนปางอุ้มบาตร ความสูงจากปลายนิ้วพระบาทถึงยอดพระเกศมาลา 170 ซ.ม. ขนาดเท่าคนจริง พุทธศิลปะผสมระหว่างสุโขทัยตอนปลายกับอยุธยาตอนต้นอันงดงามมาก พระเกศมาลาเป็นเปลวเพลิง จีวรเป็นแผงอยู่ด้านหลังมีแฉกมุข สังฆาฏิเรียบและพาดยาวลงมาถึงพระชงฆ์ ข้อพระกรทั้งสองข้างทำเป็น 2 ท่อน (สวมใส่ได้) ฐานรองตอนบนเป็นดอกบัวบาน ตอนล่างหักมุข 12 มุข เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วทั้งประเทศ โดยเฉพาะชาวเมืองแม่กลอง รวมไปถึงพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ก็ทรงให้ความเคารพศรัทธา เสด็จฯ นมัสการอยู่เป็นเนืองนิตย์ อาทิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ และเครื่องทรงเป็นพุทธบูชา และสมเด็จเจ้าฟ้า ภานุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช ถวายบาตรแก้วสีน้ำเงิน เป็นต้น

กิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของ "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" นั้น เป็นที่กล่าวขวัญกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ เริ่มจากเมื่อคราวอาราธนาองค์พระจนมาประดิษฐาน ณ วัดบ้านแหลม (วัดศรีจำปา) ซึ่งเดิมเป็นป่ารกชัฏ ก็มีการพัฒนาเรื่อยมาจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังปรากฏพุทธคุณโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ขอพร ทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ค้าขาย เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุต่างๆ ชื่อเสียงยิ่งเลื่องลือเมื่อคราวเกิด "อหิวาตกโรค" ระบาดในเมืองไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ.2416

จึงไม่น่าแปลกใจที่วัตถุมงคลหลวงพ่อวัดบ้านแหลม มีการจัดสร้างกันหลายแบบหลายประเภทมาตั้งแต่อดีตสืบถึงปัจจุบัน ซึ่งล้วนได้รับความนิยมสะสมของบรรดาพุทธศาสนิกชนและในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญมาโดยตลอด โดยเฉพาะ "เหรียญหล่อรุ่นแรก ปี 2459" และ "เหรียญปั๊มรุ่นแรก ปี 2460" ที่มีค่านิยมสูงขึ้นตามกาลเวลา ผู้บูชาก็ต่างหวงแหนยิ่ง ไม่ค่อยพบเห็นของแท้กันนัก

กล่าวถึงเหรียญปั๊มรุ่นแรก ปีพ.ศ.2460 ที่เรียกว่าสุดยอดแล้วนั้น จากพิมพ์เท่าที่พบ 3 พิมพ์ คือ พิมพ์แหวกม่าน รูปไข่ หลังตัวหนังสือ, พิมพ์รูปไข่ หลังยันต์ห้า และพิมพ์ใบเสมา หลังตัวหนังสือ หนึ่งพิมพ์ในนั้นเรียกได้ว่าเป็น "สุดยอดแห่งสุดยอด" เลยทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นเหรียญจำลองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา ยังได้สุดยอดพระเกจิเมืองแม่กลองในยุคนั้นร่วมอธิษฐานจิต ทั้งความงดงามเข้าตากรรมการ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "เบญจภาคีเหรียญพระพุทธยอดนิยม" อีกด้วย นั่นก็คือ "เหรียญปั๊มรุ่นแรก ปีพ.ศ.2460 พิมพ์แหวกม่าน รูปไข่ หลังตัวหนังสือ" ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




ลิงหลวงพ่อดิ่ง ลูกอม ตะกรุด 7 ดอก ของหลวงพ่อดิ่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เราๆ ท่านๆ ก็คงรู้จักกันดีว่าเหรียญของท่านนั้นหายากและราคาสูงมาก นอกจากนี้ยังมีเครื่องรางประเภทหนุมานแกะ ที่มักจะเรียกกันว่า "ลิงหลวงพ่อดิ่ง" ซึ่งนิยมกันมาก สำหรับเครื่องรางของขลังของหลวงพ่อดิ่งก็ยังมีอีก เช่น ลูกอม และตะกรุด แต่ก็หายากเช่นกันและมีคนรู้จักน้อย วันนี้เรามาคุยกันถึงประวัติของท่านและวัตถุมงคลของท่านกันครับ

หลวงพ่อดิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2420 ที่บ้านตำบลบางวัว โยมบิดาชื่อเหม โยมมารดาชื่อล้วน เมื่อหลวงพ่ออายุได้พอสมควรที่จะเรียนหนังสือได้แล้ว โยมก็ได้พาไปฝากเรียนกับวัดบางวัว พออายุครบบวช บิดามารดาจึงได้จัดการอุปสมบทให้ เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2440 ที่วัดบางวัว โดยมีหลวงพ่อดิษฐ์ วัดบางสมัคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ่าง เทศลำใย วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ปลอด วัดบางวัว เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "คง คสุวณฺโณ" เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วก็ได้ จำพรรษาอยู่ที่วัดบางวัว 2 พรรษา แล้วจึงได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและบาลีที่วัดไตรมิตรวิทยาราม พอศึกษาอยู่ได้ 1 พรรษา พระอาจารย์ปลอด เจ้าอาวาสวัดบางวัวได้มรณภาพ คณะสงฆ์วัดบางวัวและชาวบ้านก็ได้มานิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัวสืบแทน

พอท่านได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัวแล้วท่านก็ได้พัฒนาวัดมาอย่างต่อเนื่อง จนวัดบางวัวเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2446 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอธิการเป็นทางการ พ.ศ.2453 เป็นเจ้าคณะหมวดตำบลบางวัว พ.ศ.2463 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2476 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงบางปะกง พ.ศ.2478 เป็นเจ้าคณะแขวงบางปะกง พ.ศ.2479 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นประทวน พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูพิบูลย์คณารักษ์ หลวงพ่อดิ่งมรณภาพในปี พ.ศ.2495 สิริอายุได้ 75 ปี พรรษาที่ 55

ในด้านวิทยาคมของท่านก็ได้ศึกษาในด้านแพทย์แผนโบราณ จากหลวงพ่อดิษฐ์ วัดบางสมัคร และอาจารย์จ่าง เทศลำใย ซึ่งทั้งสองท่านนั้นเชี่ยวชาญในด้านนี้เป็นอย่างมาก และได้ศึกษาจากอาจารย์เปิ้น วัดบ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี ซึ่งท่านมีความรู้ทางด้านกฤตยาคมสูงมาก และยังได้ศึกษากับอาจารย์เปอะ ทางด้านกฤตยาคมอีกด้วย นอกจากนี้ท่านก็ยังได้ตำราโบราณอีกหลายเล่มมาศึกษาจนได้ผลในการสร้างหนุมาน ผ้ายันต์ต่างๆ ศิษย์เอกของหลวงพ่อดิ่งก็คือ หลวงพ่อฟู เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร หลวงพ่อสนิท เจ้าอาวาสวัดบางวัว เป็นต้น

วัตถุมงคลของหลวงพ่อดิ่งมีอยู่หลายอย่างเช่นเหรียญ ตะกรุดโทนและตะกรุด 7 ดอก ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลูกอม และหนุมาน ที่เรียกกันว่าลิงหลวงพ่อดิ่งนั่นแหละครับ วัตถุมงคลของหลวงพ่อดิ่งล้วนแล้วหายากทั้งสิ้น เวลาจะเช่าหาควรพิจารณาให้ดี และควรปรึกษาผู้ที่ชำนาญการโดยเฉพาะจะดีกว่าครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปลิงหลวงพ่อดิ่ง ลูกอม ตะกรุด 7 ดอก ของหลวงพ่อดิ่ง จากหนังสือ ตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์




พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัญหาเรื่อง พระเก๊พระปลอมมีมากขึ้นเรื่อยๆ ความจริงเรื่องพระปลอมนั้นมีมานานแล้ว และก็มีคู่กับพระแท้มาตลอด เช่นเดียวกับคนดีกับคนเลวมีคู่กันมาเป็นสัจธรรม ปัญหาเรื่องพระปลอมสำหรับผู้ที่ศรัทธาจะเช่าหาหรือเพื่อการศึกษาและสะสมที่ไม่ใช่เซียนเป็นปัญหามากเนื่องจากไม่ใช่ผู้ชำนาญการ พวกเซียน (ผู้ที่มีอาชีพซื้อ-ขาย) เขาก็มีปัญหากับเรื่องนี้เช่นกัน แต่เขาก็ยังพอเอาตัวรอดได้บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ใช่เซียน เป็นแค่ผู้ที่ศรัทธาและสะสมนั้นย่อมเป็นปัญหามากครับ

ในสมัยก่อนๆ ย้อนไปสัก 50 ปี การปลอมแปลงพระเครื่องนั้นยังทำได้ไม่เหมือน พิมพ์เนื้อผิดมากชัดเจน ยังพอแยกออกได้ไม่ยากนัก แต่ปัจจุบันการทำปลอมเลียนแบบมีการพัฒนาได้ดีมาก ที่ทำดีๆ ทำได้ใกล้เคียงมาก ย่อมเป็นปัญหาของผู้ที่เป็นเพียงผู้ศรัทธาหรือศึกษาสะสม ยิ่งเป็นมือใหม่ด้วยแล้วก็ยากมากขึ้น คนที่ทำพระปลอมฝีมือดีๆ นั้นปัจจุบันเขาทำโดยวิธีถอดพิมพ์ ก็เหมือนกับการที่เราถ่ายเอกสารนั่นแหละครับจะใกล้เคียงมาก แต่ก็ยังสามารถแยกแยะได้ถ้าเรารู้จริง ของปลอมก็ย่อมเป็นของปลอมวันยันค่ำ ปัญหาก็คือผู้ที่เริ่มศึกษาพระใหม่ๆ จะยังแยกไม่ออก และมักตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพพวกนี้

ปัญหาอีกอย่างก็คือ ในปัจจุบันการพิจารณาพระเครื่องของคนที่ได้รับคำยกย่องว่า "เซียน" บางครั้งบางทีก็มีความคิดเห็นแตกต่างกันในพระเครื่องบางอย่าง เช่น กลุ่มนี้บอกว่า "แท้" อีกกลุ่มบอกว่า "ปลอม" เรื่องแบบนี้ก็เป็นเรื่องน่ากลุ้มใจของผู้ที่เช่าหาสะสม เพราะจะเชื่อใครดี และเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ต่อไปในอนาคต เพราะถ้ายังหา ความแน่นอนไม่ได้ ผู้ที่จะมาเช่าหาพระเครื่องก็คงจะต้องถอยออกไป หลายๆ คนก็เข็ดขยาด ไม่กล้าที่จะเช่าหาต่อไป ผลที่จะกระทบกลับมาก็จะมีผลกับผู้ที่ทำอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง (เซียน) นี่แหละครับ

พระแท้พระปลอมนั้นความจริงในการพิจารณาก็ย่อมมีเหตุผลอธิบายได้ทั้งสิ้น และหลักการพิจารณาก็ย่อมต้องมีเหตุผลและชี้ชัดได้ เหตุผลของฝ่ายใดมีความน่าเชื่อถือและมีหลักการที่ชี้ให้เห็นได้ชัดเจนก็น่าจะ เป็นที่น่าเชื่อถือ เช่น แบบพิมพ์ กรรมวิธีการสร้างใน ยุคนั้นๆ และถ้านำพระแท้ๆ แบบเดียวกันที่เป็นที่ยอมรับเป็นสากลหลายๆ องค์มาเปรียบเทียบกันว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้มีเหมือนกัน เป็นแบบเดียวกัน แล้วก็มาดูองค์พระที่มีปัญหาว่า เป็นอย่างพระองค์ที่ไม่มีปัญหาอื่นๆ หรือไม่ ถ้ามีและเหมือนกัน พระองค์นั้นๆ ก็แท้ แต่ถ้าผิดแผกแตกต่างออกไปก็ย่อมมีปัญหาแน่ น่าจะปลอมเสียมากกว่า พระแท้หรือไม่แท้นั้นย่อมสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุและผล

แต่ถ้ากลุ่มใดที่มีความเห็นแตกต่างและไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลและผลที่ดีพอก็แสดงว่าเขาอาจจะยังไม่มีความชำนาญมากพอ และคงยังไม่น่าเชื่อถือพอ สิ่งที่แน่นอนและเป็นสัจธรรมอยู่อย่างหนึ่งในความแท้ของพระเครื่องยิ่งเป็นพระที่มีความนิยมสูงๆ ย่อมมีมูลค่ารองรับในสังคมพระเครื่อง ส่วนพระที่ไม่แท้จะไม่มีมูลค่ารองรับในสังคมพระเครื่องครับ

ปัจจุบันสังคมพระเครื่องกว้างขวางขึ้น มีผู้ทำอาชีพค้าขายมากขึ้น มีการเผยแพร่มากขึ้น ปัญหาก็มากขึ้นตาม คนรู้จริง คนรู้ไม่จริง คนดี คนเลว ก็มากขึ้นตามธรรมชาติ นิทานประกอบการขายก็มากขึ้น คนที่มีผล กระทบกลุ่มแรกคือผู้ที่มาเช่าหาด้วยความศรัทธาหรือชื่นชอบเช่าหาเพื่อศึกษาและสะสมในพระเครื่องนั้นๆ ความจริงคนกลุ่มนี้ก็คือผู้บริโภคโดยตรง ไม่ใช่ผู้ที่ประกอบอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง ถ้าเซียนหรือผู้ที่ประกอบอาชีพซื้อ-ขายไม่ช่วยกันทำความถูกต้องให้ปรากฏชัดเจน ไม่ช่วยกันจรรโลงความถูกต้องไว้ ปล่อยปัญหาความสับสนให้เกิดต่อไปเรื่อยๆ ผู้บริโภคหรือผู้ที่ไม่ใช่พ่อค้าก็จะเอือมและเสื่อมศรัทธาในที่สุด ความเชื่อถือก็จะหมดไปกลายเป็นแดนสนธยา

ครับช่วยกันจรรโลงความถูกต้องเถอะครับ ส่วนตัวผมเองเชื่อนะครับว่ากรรมมีจริง แม้ว่าจะยังไม่ถึง แต่เมื่อกรรมตามทันแล้วจะแก้อะไรไม่ได้ ผมเห็นคนในสังคมพระเครื่องในอดีตที่ทำตัวดีซื่อตรง แม้ท่านจะเสียชีวิตไปแล้ว ก็ยังมีคนเคารพนับถือและยังพูดถึงความดีของท่านอยู่เสมอ กลับกันคนที่ทำตัวไม่ดี หลอกลวงขายพระเก๊ ทำพระปลอม บั้นปลายชีวิตยากลำบาก ไม่มีคนนับถืออาชีพก็หมด แม้ตายไปก็ยังมีคนกล่าวถึงความเลวของเขาอยู่ กรรมมีจริงตามหลักศาสนา "วัวใครก็เข้าคอกคนนั้น" เป็นคำพูดของผู้ใหญ่ที่เคยสอนไว้ ความหมายก็คือใครทำอะไรไว้ก็ย่อมได้รับผลกรรมนั้นๆ ไม่ว่ากรรมดีหรือไม่ดี ในส่วนตัวผมเชื่อเช่นนั้นครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #88 เมื่อ: 06 กันยายน 2561 18:11:20 »


หลวงพ่อวัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี

องค์ที่ 4 ใน "ตำนานพระพุทธรูป ลอยน้ำ" คือ หลวงพ่อวัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี ลอยมาตามลำน้ำเพชรบุรี นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะมาแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน และขึ้นชื่อลือชามาก ในเรื่องบนบานศาลกล่าวแล้วมักประสบความสำเร็จ

นอกจาก "ตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ" ยังมีเรื่องที่เล่าขานกันของผู้เฒ่าผู้แก่สืบต่อกันมาว่า...ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงต่อพม่า ชาวบ้านแหลม จ.เพชรบุรี ได้อพยพหนีพม่าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากคลองแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ใกล้กับวัดศรีจำปา ซึ่งเป็นวัดร้าง และช่วยกันบูรณะก่อสร้างใหม่ แล้วให้ชื่อว่า "วัดบ้านแหลม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้สร้าง อยู่มาวันหนึ่งชาวบ้านแหลมเหล่านี้ได้ออกไปลากอวนหาปลา และไปพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน จึงอัญเชิญพระพุทธรูปยืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม ตั้งพระนามว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" ส่วนอีกองค์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง ได้มอบให้ชาวบ้านบางตะบูน ชาวบางตะบูนจึงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ บริเวณวัดเขาตะเครา จึงเรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดเขา ตะเครา"...

หลวงพ่อวัดเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปนั่งแสดงปางมารวิชัย สมาธิราบ หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว สูง 29 นิ้ว ได้สร้างปาฏิหาริย์ให้เป็นที่ประจักษ์มากมาย ผู้ใดตกทุกข์มาบนบานศาลกล่าวก็จะได้ตามประสงค์ทุกประการ มีอยู่คราหนึ่ง ท่านเจ้าอาวาสวัดฝันว่า มีพระสูงอายุรูปหนึ่งนำถุงบรรจุทองคำมายื่นให้ พร้อมกับพูดว่า "เอาไป" ต่อมาไม่นานก็ปรากฏว่ามีไฟลุกไหม้องค์หลวงพ่อ ทำให้ทองคำหลอมไหม้ไหลออกมา ท่านเจ้าอาวาสจึงได้นำทองไปจัดทำเป็น "ลูกอมทองไหล" หรือ "ลูกอมหลวงพ่อทอง" แจกจ่ายให้พุทธศาสนิกชนนำไป ติดตัวและบูชา ได้ปัจจัยมาสร้างมณฑป โรงเรียน และศาสนสถานอื่นๆ จนรุ่งเรืองสืบมา เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและสาธุชนทั่วไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มชาวประมง ต่างพากันมากราบไหว้สักการะขอพรและปิดทอง จนองค์พระมีทองคำเปลวปิดหนามาก จึงเปลี่ยนมาเรียกกันว่า "หลวงพ่อทอง" ซึ่งกลายเป็นพระนามที่เรียกขานกันติดปากสืบมา

วัตถุมงคลหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา มีการจัดสร้างมากมายหลายประเภทมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูง ด้วยพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ปรากฏแก่ผู้บูชาจนเป็นที่กล่าวขาน มีอาทิ ลูกอมทองไหล เหรียญหล่อโบราณรุ่นแรก ปี 2465 ฯลฯ แต่ที่มีค่านิยมสูงที่สุดก็คือ "เหรียญปั๊มรูปเหมือน ปี 2468" อาจสืบเนื่องจากความเป็นเหรียญปั๊มรุ่นแรก และมีความประณีต คมชัด

นอกจากนี้ยังมีการจัดพิธีสมโภชอย่างใหญ่โตและอัญเชิญ "หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา" ไปตามวัดวาอารามต่างๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบสักการะอย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันหาดูหาเช่ายากยิ่ง

เหรียญปั๊มรูปเหมือน ปี 2468 เท่าที่พบมีเนื้อเงินและเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมา หูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อวัดเขาตะเครา ประทับนั่งปางมารวิชัย บนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย มีซุ้มเรือนแก้วครอบองค์พระ บนสุดจารึกอักษรไทยว่า "หลวงพ่อวัดเขา" ด้านล่างใต้บัลลังก์เป็นปีที่สร้าง คือ "พ.ศ.๒๔๖๘" ด้านหลัง พื้นเรียบจารึกอักขระขอม 5 แถว อ่านว่า "อุ นะโม พุทธายะ อะสังวิสุ โลปุสะพุกะ"

จุดสังเกตสำคัญในการพิจารณาคือ พิมพ์ด้านหน้าขององค์พระจะแกะคมชัดมาก และด้านขวามือบริเวณซุ้มกนกจะปรากฏเส้นรอยพิมพ์แตกตรงตัว "ศ" ของคำ "พ.ศ." ปลายหางจะเชื่อมติดกับฐานบัว ส่วนพิมพ์ด้านหลัง พื้นจะเรียบมาก ขอบข้างก็สม่ำเสมอ ไม่มีรอยขยักหรือรอยปลิ้นครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




หลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา
พระพุทธรูปองค์สุดท้าย ของ "ตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ" ว่ากันว่าเป็นองค์สุดท้อง ที่ลืมนำน้ำพระพุทธมนต์ที่จะคืนร่างตามคำสั่งของพี่ๆ มาด้วย ทั้งหมดจึงคงสภาพเป็นพระพุทธรูปใหญ่เช่นนั้นสืบมา ซึ่งก็คือ "หลวงพ่อโสธร" หรือ "หลวงพ่อพระพุทธโสธร" ซึ่งลอยมาตามลำน้ำบางปะกง ไปจนถึงวัดหงษ์ จ.ฉะเชิงเทรา ชาวบ้านได้อาราธนาขึ้นไปประดิษฐานในอุโบสถ "วัดหงษ์" (เรียกชื่อตามรูปหงส์บนยอดเสาใหญ่ ต่อมาหงส์หักตกลงมา ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้แทน จึงได้ชื่อว่า "วัดเสาธง" ครั้นมีพายุพัดเสาธงหักลงส่วนหนึ่ง จึงได้ชื่อว่า "วัดเสาทอน" เพี้ยนไปเพี้ยนมาจนกลายไปเป็น "วัดโสธร") ณ ปัจจุบันคือ "วัดโสธรวรวิหาร"

องค์หลวงพ่อโสธรเดิมนั้น เป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยาตอนต้น หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอก ปางสมาธิ ขัดราบ พระพักตร์ค่อนข้างกลมแป้น พระขนงโก่งเล็กน้อย พระเนตรเล็กหรี่เหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์เล็ก สี พระพักตร์ขรึมแบบอยุธยาที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร แต่ได้เสริมแต่งโดยพอกปูนและลงรักปิดทอง ให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ส่วนสูง 6 ฟุต 7 นิ้ว ดังที่เห็นในปัจจุบัน

แต่เดิมประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่าปะปนกับพระพุทธรูปอื่นอีก 18 องค์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมาถวายสักการะ ทรงมีพระราชปรารภถึงความคับแคบ

พระจิรปุณโณ (ต. เจียม กุลละวณิชย์) อดีตเจ้าอาวาสจึงริเริ่มรับบริจาคซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยทรงเสด็จฯ วางศิลาฤกษ์ด้วยพระองค์เอง เมื่อปี พ.ศ.2531 และทรงยกยอดฉัตรทองคำประดิษฐานเหนือมณฑป เมื่อปี พ.ศ.2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549

หลวงพ่อโสธร นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์สำคัญคู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่งของไทย เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั้งชาวไทยและชาวจีนที่มักแวะเวียนไปกราบไหว้ขอพรและบนบานศาลกล่าวแล้วประสบผลตามปรารถนา พากันไปแก้บนด้วยละครชาตรีและไข่ต้มอย่างเนืองแน่น ซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานมากว่าร้อยปีมาแล้ว โดยเล่ากันสืบต่อมาว่า ... ผู้ริเริ่มชื่อ "ทรัพย์" โต้โผละครในคลองโสธร มาบนบานเนื่องจากโรคฝีดาษระบาดไปทั่ว ปรากฏว่าชาวบ้านบริเวณนั้นแคล้วคลาดปลอดภัย และตัวนายทรัพย์ก็เจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์ศฤงคารมากมาย จึงปวารณาตัวเป็นคณะละครรำถวายแก้บนหลวงพ่อจากนั้นมา ...

วัตถุมงคลหลวงพ่อโสธร มีการจัดสร้างกันมาแต่โบร่ำโบราณมากมายหลายประเภท ซึ่งขึ้นชื่อลือเลื่องมาทุกยุคสมัยและได้รับความนิยมสะสมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพระบูชา พระเครื่อง เหรียญ ฯลฯ ยิ่งมีอายุเก่าแก่มากเท่าไหร่ค่านิยมก็ยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ "เหรียญปั๊มหลวงพ่อโสธร รุ่นแรก ปี 2460" ซึ่งถือเป็นเหรียญพระพุทธยอดนิยมที่มีราคาแพงที่สุดของไทย

เหรียญปั๊มหลวงพ่อโสธร รุ่นแรก ปี 2460 หรือที่เรียกกันว่า "เหรียญรูปอาร์ม" สร้างในสมัยพระอาจารย์หลิน รักษาการเจ้าอาวาส โดย ขุนศิริราชภักดี (เล้ง สันธนะกุล) มัคนายก เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง เพื่อสมนาคุณผู้บริจาคซ่อมฐานชุกชีหลวงพ่อโสธรและบูรณะพระวิหาร มีทั้งหมด 4 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เงิน สำริด และทองแดง

ลักษณะเป็นเหรียญรูปอาร์ม ขอบข้างเลื่อย หูในตัว ด้านหน้ายกขอบเป็นเส้นลวดแบบขอบกระด้ง ตรงกลางเป็นองค์หลวงพ่อประทับนั่งเหนืออาสนะ ถัดลงมาเป็นปีที่สร้าง "พ.ศ.๒๔๖๐" เหนือลายกนกหน้าสิงห์ มีอักษรไทยเขียน "พระพุทธโสทร เมืองฉเชิงเทรา" และมี "ตัว อุ" ปิดหัวท้าย ด้านหลัง เรียบ บนสุดเป็นอุณาโลม ต่อมาเป็นอักขระบาลี 4 แถว อ่านว่า "นะโมพุทธายะ อายุวัณโณสุขังพะลัง" โดยพิมพ์ด้านหน้ามี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์สระอุติดชัด และพิมพ์สระอุติดไม่ชัด (ดูจาก "สระอุ" ที่อยู่ใต้คำว่า "พุทธ") ส่วนพิมพ์ด้านหลังแบ่งเป็น 3 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ยันต์ใหญ่ ยันต์กลาง และยันต์เล็ก

เหรียญหลวงพ่อโสธร รุ่นแรก ปี พ.ศ.2460 เป็นเหรียญที่มีการทำเทียมเลียนแบบมากมาแต่อดีต ดังนั้น ก่อนเช่าบูชาต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะเรื่องธรรมชาติของเหรียญปั๊มรุ่นเก่าครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระหูยาน เป็นพระเครื่องเนื้อชินที่มีความนิยมสูง พระหูยานนั้นมีอยู่หลายกรุเช่นกัน กรุที่นิยมและรู้จักกันมากก็คือกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี นอกจากนี้พระหูยาน กรุวัดปืน ลพบุรี และที่เป็นพระเนื้อชินสนิมแดงก็เป็นของกรุสมอพลือ เพชรบุรี และพระหูยานเนื้อชินเงิน กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา

พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา เป็นพระที่พบในกรุองค์พระปรางค์ที่เปิดเป็นทางการเมื่อประมาณปี พ.ศ.2500 ซึ่งพบพระเครื่องมากมาย รวมทั้งทรัพย์สมบัติมากมายเช่นกัน สำหรับกรุพระนั้นถือว่าเป็นกรุใหญ่ที่สุดของอยุธยา พระเครื่องที่พบมีมากมายหลายพิมพ์ และมีจำนวนมาก พระเครื่องที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันมากก็มีอยู่หลายอย่างเช่น พระยอดขุนพล พระใบขนุน พระปรุหนัง และพระหูยาน เป็นต้น

พระหูยานกรุวัดราชบูรณะ เป็นพระที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสามพระยา (อยุธยายุคต้น) โดยเป็นการสร้างล้อพิมพ์ของพระหูยานลพบุรี พุทธลักษณะคล้ายๆ กับของลพบุรี มีผิดแผกแตกต่างกันบ้างที่เห็นชัดๆ ก็คือ พระเกศของกรุวัดราชบูรณะอยุธยาจะเป็นเส้นวงๆ อยู่ 3 ชั้น ซึ่งเป็นจุดใหญ่ๆ ที่มองเห็นได้ง่ายๆ พระพักตร์ก็จะไม่เข้มขรึมเท่าของลพบุรี เนื้อที่พบจะเป็นเนื้อชินเงิน มีผิวปรอทจับขาวอยู่เกือบทั้งองค์พระ บางองค์อาจจะมีสนิมจับเป็นสีดำๆ อยู่บ้างเช่นกัน พิมพ์เท่าที่พบเห็นมีอยู่พิมพ์เดียว ขนาดขององค์พระฐานกว้างประมาณ 3 ซ.ม. สูงประมาณ 5 ซ.ม.

พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ เป็นพระที่หายากกรุหนึ่งเช่นกัน ราคาค่อนข้างสูง ในด้านพุทธคุณก็เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เรื่องพระปลอมนั้นก็มีทำกันมานานแล้วเช่นกันครับ เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ หรือเช่าจากผู้ที่ไว้ใจได้

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์




พระสมเด็จพญานางดำ วัดดงเค็ง

วัดดงเค็ง ต.ประทาย อ.ประทาย จ.นครราชสีมา เป็นวัดเก่าแก่ก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับชุมชนตั้งแต่ปี พ.ศ.2470  ปัจจุบัน พระมหาวชิรา ปัญญาธโร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

เป็นที่ตั้งของโรงเรียนเจ้าคุณพระปริยัติมุนีวิทยา ในแต่ละปีจะมีพระภิกษุ-สามเณร เดินทางมาศึกษาเล่าเรียนอยู่โรงเรียนแห่งนี้เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ ยังเป็นวัดที่หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเคยอุปถัมภ์สร้างพระอุโบสถ และสร้างกุฏิ ช่วงปี 2514 วัดดงเค็ง เคยออกวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ผางที่โด่งดังเช่าหากันในวงการ

เนื่องจากในแต่ละปีจะมีพระภิกษุ-สามเณร เดินทางมาจำพรรษาอยู่วัดดงเค็งจำนวนมาก เพื่อศึกษาเล่าเรียน จนมีปัญหาบางปีกุฏิไม่พอรองรับ

เจ้าอาวาสวัดดงเค็ง และเป็นผู้จัดการโรงเรียน จึงได้แก้ปัญหาด้วยการจัดสร้างกุฏิเพิ่มขึ้น แต่ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก จึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล "พระสมเด็จพญานางดำ" เพื่อหาทุนสมทบการก่อสร้างกุฏิให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

สำหรับพระสมเด็จพญานางดำ จัดสร้างขึ้นจากไม้มะเค็ง อายุหลายร้อยปี เป็นไม้เก่า ที่อดีตเจ้าอาวาสวัดดงเค็ง ในสมัยกว่าสี่สิบปีที่ผ่านมา ได้นำต้นเค็งมาเลื่อยทำโต๊ะ-ม้านั่ง ให้พระภิกษุ-สามเณรได้นั่งเรียนหนังสือ และไม้บางส่วนเหลือจากการใช้งาน ทางวัดจึงเก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน และได้นำมาแกะเป็นพระสมเด็จพญานางดำ

ด้านหน้าของวัตถุมงคลรุ่นนี้ เป็นรูปพระพุทธ เจ้าปางสมาธิอยู่ในครอบแก้ว

ด้านหลังเป็นอักขระยันต์หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต พุทธคุณเด่นรอบทุกด้าน และมีตัวอักษรเขียนว่า "พญานางดำ วัดดงเค็ง ต.ประทาย จ.นครราชสีมา" ด้านล่างสุด จะเป็นโค้ดตัวเลขเรียงลำดับจำนวน การสร้าง

สร้างเพียง 187 องค์ เปิดบูชาองค์ละ 499 บาท ทางวัดได้นำวัตถุมงคลทั้งหมดไปให้พระอาจารย์นก วัดเขาพังเหย อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ และหลวงปู่จือ วัดเขาตาเงาะอุดมพร อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ได้อธิษฐานจิตให้เป็นกรณีพิเศษ เมื่อวันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2561

ติดต่อได้ที่เจ้าอาวาสวัด โทร.08-3966-7999

เปิดตลับพระใหม่
ข่าวสดออนไลน์




ท้าวเวสสุวัณ ประทับราหู

"ท้าวเวสสุวัณ"/ หรือ ท้าวกุเวร ผู้สถิตอยู่ในสวรรค์ ชั้นจตุมหาราชิกาภูมิ รูปลักษณ์เป็นยักษ์ถือตะบองขนาดใหญ่ คนโบราณมักนำรูปหรือยันต์ท้าวเวสสุวัณแขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ภูตผีปีศาจมารบกวน

นอกจากนี้ ยังนิยมทำเป็นจำหลักที่ด้ามมีดหมอ ด้วยเชื่อว่าสามารถป้องกันและปราบภูตผีปีศาจได้

ตำราโบราณและงานวรรณคดี กล่าวตรงกันว่า ท้าวเวสสุวัณ เป็นยักษ์ที่มีพัสตราภรณ์และผิวกายสีเหลืองทอง จิตใจดีงาม อุทิศตนถวายเพื่อพิทักษ์รักษาพุทธสถานและองค์พระพุทธเจ้า จึงจะเห็นได้ว่าตามวัดวาอารามต่างๆ มักมีรูปปั้นยักษ์ยืนถือกระบองค้ำ หรือไม้เท้าขนาดใหญ่อยู่ระหว่างขา เฝ้าอยู่หน้าประตูโบสถ์หน้าวิหาร ที่มีพระพุทธรูปหรือสมบัติมีค่าที่ทางวัดเก็บรักษาอยู่

หากว่าตามความหมายของชื่อ ท้าวเวสสุวัณ คำว่า "เวส" แปลว่า พ่อค้า จึงหมายถึง พ่อค้าอันมีทรัพย์ อันได้แก่ ทองคำ เนื่องจากในอดีตชาติท่านเคยเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวย และได้นำเงินทองบริจาคให้ผู้ยากไร้ เมื่อเกิดใหม่จึงได้ครองเมืองชื่อ วิสานะนคร ผู้คนจึงเรียกว่า เวสาวัณ

ด้วยกุศลดังกล่าวจึงได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะไม่ตาย และให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติต่างๆ ทั่วแผ่นดิน บ้านเรารู้จักกันในชื่อ "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์" อีกทั้งมีหน้าที่คอยจดความดีของคนทางทิศอุดร ขึ้นไปจารึกและประกาศให้ปวงเทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์รับรู้ ผู้คนจึงนิยมจัดสร้างหรือจำหลักรูปท้าวเวสสุวัณไว้สักการบูชา เพื่อความมั่งคั่งอีกด้วย

ในโอกาสฉลองอายุครบ 80 ปี พระครูสุนทรโชติธรรม หรือ หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม เจ้าอาวาสวัดบ้านแก่ง จ.ปราจีนบุรี จัดสร้าง "รูปหล่อท้าวเวสสุวัณ ประทับราหู" โดยให้ชื่อรุ่น "บุญมหาเศรษฐี" มาจากคำว่า บุญมา + มหาเศรษฐี มอบแก่ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาร่วมกุศล สมทบทุนสร้าง พระใหญ่ วัดป่ามหาศรีนวล จ.ศรีสะเกษ

ชนวนมวลสารในการจัดสร้างนั้น เป็นมวลสารศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ที่ท่านสะสมไว้ อาทิ ผงเก่าสมเด็จวัดระฆัง, ผงตะไบเก่าจากการหลวมพระเก่ารุ่นต่างๆ, ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ฯลฯ ประการสำคัญ หลวงปู่บุญมาท่านจารแผ่นยันต์เพื่อใช้ทำตะกรุด ด้วยตัวท่านเองทั้งหมด

ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ 2 วาระ วาระแรก เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มิ.ย.2561หลวงปู่ได้กระทำการจารอักขระแผ่นยันต์และเสกนำฤกษ์เป็นที่เรียบร้อย วาระที่ 2 พิธีพุทธาภิเษก วันศุกร์ที่ 10 ส.ค.2561 ตามมงคลฤกษ์ 13.59 น. ณ อุโบสถวัดบ้านแก่ง จ.ปราจีนบุรี

สอบถามโทร.08-5359-5915 และ 08-7936-3168

เปิดตลับพระใหม่
ข่าวสดออนไลน์






ช่วงนี้เป็น "ช่วงเทศกาลเข้าพรรษา" โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 จนถึงวันที่ 24 ตุลาคม เป็นเวลา 3 เดือน ช่วงนี้ พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะตั้งใจรักษาอุโบสถศีล, ไปวัดฟังเทศน์ในทุกวันพระ และทำความดีต่างๆ เป็นพิเศษ เพื่อเป็นพุทธบูชา

ตลอดระยะเวลา 3 เดือน หรือ "1 ไตรมาส" ในช่วงเข้าพรรษานั้น นับเป็นศุภมงคลฤกษ์ในการประกอบพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสกวัตถุมงคลให้เกิดความเข้มขลังเป็นทวีคูณ อาจด้วยเป็นช่วงเวลาที่ทั้งพระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและประพฤติปฏิบัติธรรม อันถือเป็นการสั่งสมบารมี เสริมพุทธานุภาพแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อไปผนวกกับมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ยิ่งเสริมสร้างให้วัตถุมงคลนั้นๆ ยิ่งทรงพลานุภาพเป็นที่เลื่องลือปรากฏ

โดยจะเห็นได้ว่า พระเกจิอาจารย์ชื่อดังยุคเก่ามักนิยมปลุกเสกวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งล้วนเป็นวัตถุมงคลที่มีค่านิยมสูงและเป็นที่แสวงหาของบรรดาเซียนทั้งหลายมาจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น พระขรรค์โสฬส ของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และ พระปิดตา 3 ไตรมาส ของ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี พระขรรค์โสฬส หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

"พระขรรค์โสฬส" จัดเป็นศาสตราวุธของเทพ หลวงปู่ศุขได้จำลองรูปแบบมาจากพระขรรค์โบราณของพระมหากษัตริย์ ซึ่ง พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ศิษย์เอกของหลวงปู่ ได้นำมาจากในวังเพื่อเป็นต้นแบบ โดยสร้างครั้งแรกในปี พ.ศ.2452

"ตัวพระขรรค์" มีความยาว 7 นิ้ว ทำจากยอดเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านได้รวบรวมไว้นานแล้ว ผสมกับโลหะมงคลและวัสดุอาถรรพ์อีกหลายชนิด รวมทั้งมวลสารที่เสด็จในกรมฯ ทรงนำมาถวาย อาทิ เครื่องทอง เงิน และนากส่วนพระองค์ จากนั้น หลวงปู่ศุขได้จารึกอักขระและเลขยันต์ประจำตัว ทั้งด้านหน้า-ด้านหลัง ส่วน "ด้ามพระขรรค์" ทำจากฝักคูนตายพราย ภายในแก่นพระขรรค์บรรจุกระดูกผีและเส้นผมผีตายโหง 7 ป่าช้า กับของอาถรรพ์อีกหลายอย่าง

หลวงปู่ศุขได้อัญเชิญทวยเทพทั้ง 16 ชั้นฟ้า มาอำนวยอวยพร และปลุกเสกเดี่ยวนานตลอดพรรษา (3 เดือน หรือ 1 ไตรมาส) ซึ่งถือเป็นการทำพิธีกรรมในการจัดสร้างที่เร้นลับ ซับซ้อน และเข้มขลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา เชื่อกันว่ามีเพียงแค่ 7 เล่มเท่านั้น อยู่ที่เสด็จในกรมฯ หนึ่งเล่ม หลวงปู่ศุขหนึ่งเล่ม ส่วนที่เหลืออีก 5 เล่ม อยู่กับพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งไม่มีใครได้พบเห็นพระขรรค์ทั้ง 5 เล่มนั้นอีกเลย เรื่องพุทธานุภาพไม่ต้องพูดถึงเลยทีเดียว

พระปิดตา รุ่น 3 ไตรมาส (รุ่นปลดหนี้) หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

"พระปิดตา" นับเป็นพระเครื่องที่โด่งดังมากที่สุดของหลวงปู่โต๊ะ ซึ่งท่านได้สร้างไว้มากมายหลายรุ่น และทุกรุ่นล้วนมีประสบการณ์เป็นเลิศ ทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ

เมื่อประมาณปี 2521-2523 ท่านได้สร้าง พระปิดตารุ่น 3 ไตรมาส คือท่านได้ปลุกเสกตลอดพรรษา ซึ่งเท่ากับ 1 ไตรมาส เป็นเวลาถึง 3 ไตรมาส ในช่วงเวลา 3 ปี โดยสร้างเป็น "เนื้อผงพุทธคุณ" สีเหลืองอ่อน และ "เนื้อผงใบลาน" สีเทาดำ มีหลายพิมพ์หลายขนาดด้วยกัน เป็นที่กล่าวขวัญและเชื่อถือกันว่ามีพุทธคุณอัดแน่นเต็มเปี่ยม และเมื่อแจกให้บรรดาลูกศิษย์ลูกหาไป ก็ต่างมีประสบการณ์เยี่ยมยอดเป็นที่ปรากฏโดยทั่วกัน โดยเฉพาะลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งถึงกับขนานนามพระว่า พระปิดตา รุ่นปลดหนี้ เพราะผู้บูชาที่มีหนี้ ก็หมดหนี้ ผู้ไม่มีหนี้ ก็มีเงินทองไหลมาเทมาอย่างเหลือเชื่อจริงๆ

กระทั่งถึงปัจจุบัน ความเชื่อนี้ก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์เรื่อยมา พระเกจิผู้ทรงคุณชื่อดังหลายต่อหลายรูป ยังคงประกอบพิธีกรรมปลุกเสกวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังในช่วงเวลา ดังกล่าวนี้ ซึ่งล้วนทรงพุทธคุณเป็นเลิศเป็นที่ปรากฏเลื่องลือ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์




เหรียญรุ่นแรก ของหลวงปู่จัน วัดนางหนู

ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่จัน วัดนางหนู จังหวัดลพบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวลพบุรีเคารพนับถือมากรูปหนึ่ง วัตถุมงคลของท่านที่รู้จักกันมากและนิยมมากคือเหรียญรุ่นแรกของท่านที่สร้างในงานฉลองศาลาการเปรียญ

ประวัติของหลวงปู่จันไม่ได้มีการบันทึกไว้ มีเพียงการบอกเล่าของผู้ที่เป็นลูกศิษย์และอยู่ในช่วงที่หลวงปู่มีชีวิต ได้เล่าสืบทอดกันต่อๆ มาว่าหลวงปู่เป็นชาวบ้านบางพุทโธ ตำบลตะลุง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เกิดประมาณปี พ.ศ.2395 หลวงปู่จันเป็นคนพูดจริงทำจริง ไม่เกรงกลัวผู้ใด ช่วยเหลือผู้คนที่โดนรังแกอยู่เสมอ ต่อมาหลวงปู่จันได้อุปสมบทที่วัดบัว ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่ก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และยังสนใจในวิปัสสนากรรมฐาน ได้ศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์หลายรูป ในพรรษาที่ 3 หลวงปู่เห็นว่า วัดนางหนูซึ่งเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดบัวเป็นสถานที่อันสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้ย้ายไปพำนักอยู่ที่วัดนางหนู โดยได้รับความศรัทธาจากชาวบ้านจึงขอให้หลวงปู่อยู่จำพรรษา และได้พัฒนาวัดโดยลำดับ

หลวงปู่ได้ช่วยเหลือชาวบ้านในทุกเรื่องที่ชาวบ้านมีความเดือดร้อนเจ็บไข้ได้ป่วย หรือความทุกข์ร้อนในเรื่องต่างๆ หลวงปู่ก็ช่วยเหลือเสมอมา จนเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านเป็นอย่างมาก มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จนมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว

ในด้านวัตถุมงคลก็มีลูกศิษย์มาขอให้หลวงปู่สร้างให้อยู่หลายอย่าง เช่น ตะกรุดไม้รวก ตะกรุดสังวาล 16 ดอก รูปถ่ายอัดกระจก และเหรียญรุ่นแรกที่สร้างในปี พ.ศ.2478 เป็นที่ระลึกในการฉลองศาลาการเปรียญ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มีอายุได้ 83 ปี เหรียญนี้เป็นที่นิยมกันมากและหายาก สนนราคาค่อนข้างสูงครับ นอกจากนี้ยังมีพระเครื่องเนื้อผงที่หลวงปู่ปลุกเสกให้วัดโคกหม้อ

หลวงปู่จันอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดนางหนูจนถึงปี พ.ศ.2490 จึงมรณภาพ สิริอายุได้ 95 ปี

วันนี้ผมขอนำรูปเหรียญรุ่นแรก ของหลวงปู่จัน วัดนางหนู พ.ศ.2478 เป็นเหรียญทองแดงกะไหล่เงิน จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่ายพระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์




พระเนื้อผงพระอาจารย์สุริยันต์

พระครูภาวนาชยานุสิฐ หรือพระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ ประธานคณะสงฆ์วัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม สืบสายธรรมจากหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ

ญาติโยมชาวมหาสารคามที่มีความเลื่อมใสศรัทธาบริจาคที่ดินบริเวณบ้านวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พื้นที่กว่า 11 ไร่ คือ บริเวณที่ตั้งวัดป่าวังน้ำเย็นในปัจจุบัน มอบให้สร้างวัด

ด้วยความศรัทธาที่ญาติโยมในพื้นที่และข้างเคียงที่มีต่อพระอาจารย์สุริยันต์ ทำให้การพัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดป่าวังน้ำเย็นลุล่วงในเวลาอันรวดเร็ว อาทิ หอระฆัง ศาลาปฏิบัติธรรมไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศ ไทย สร้างจากไม้เนื้อแข็งประกอบด้วยไม้แดง ไม้ประดู่ และตกแต่งด้วยไม้สักทอง อุโบสถไม้ซุงอยู่ระหว่างการก่อสร้าง พระมหาเจดีย์ศรีมหาสารคาม เป็นต้น

จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม ในแต่ละวันโดยเฉพาะช่วงวันหยุด จะมีพุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศเดินทางเข้ามาเที่ยวชมถาวรวัตถุจำนวนมาก

สำหรับวัตถุมงคล พระอาจารย์สุริยันต์มีการสร้างออกมาหลายรุ่น แทบทุกรุ่นล้วนได้รับความนิยมจากนักสะสมและผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก

ล่าสุด วัดป่าวังน้ำเย็น รวมทั้งคณะศิษยานุศิษย์ได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลพระเนื้อผง "ดวงเศรษฐีเงินล้าน"

วัตถุประสงค์ 1.เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างพระอุโบสถไม้ตะเคียนทองใหญ่ที่สุดในโลกให้ แล้วเสร็จสมบูรณ์ 2.สมทบทุนสร้างห้องเรียนมหาวิทยาลัยสงฆ์จังหวัดมหาสารคาม

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ลักษณะเป็นรูปไข่ยกขอบเกลียวเชือก

ด้านหน้าพระผง เป็นรูปเหมือนพระอาจารย์สุริยันต์ ครึ่งองค์ ด้านบนมีอักขระยันต์ 4 ตัวอ่านว่า นะ ชา ลิ ติ เป็นคาถาหัวใจพระสิวลีเด่นโชคลาภ ส่วนด้านล่างสุดเขียนว่า พระอาจารย์สุริยันต์ และมีโค้ดรวมทั้งหมายเลขตามจำนวนการสร้าง

ส่วนด้านหลังพระผง จากขวามือของเหรียญขึ้นไปด้านบนวนลงมาด้านซ้ายมีตัวอักษรเขียนว่า วัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ๒๕๖๑ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันมหาปรารถนา พุทธคุณเด่นรอบด้าน และที่บริเวณขอบล่างสุดเขียนว่า ดวงเศรษฐีเงินล้าน

มวลสารที่นำมาเป็นส่วนผสมวัตถุมงคลรุ่นนี้มาจากวัตถุมงคลพระเนื้อผงของหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน อาทิ พระผงนั่งตั่ง พระปิดตามหาลาภ พระสมเด็จ เป็นต้น

กำหนดพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 17 พ.ย.2561 โดยพระอาจารย์สุริยันต์จะประกอบพิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคต ติดต่อโทร. 08-4654-194

เปิดตลับพระใหม่
ข่าวสดออนไลน์



      พระพิมพ์ซุ้มปรางค์ กรุบ้านหัวเกาะ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดที่พบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงมากที่สุด จังหวัดหนึ่งบ้านหัวเกาะเป็นที่พบกรุ พระที่มีเนื้อชินสนิมแดงจัดกรุหนึ่งของ สุพรรณฯ พระที่พบมากและรู้จักกันดีคือพระร่วงยืน พิมพ์ต้อ และพระซุ้มนครโกษา

บ้านหัวเกาะ อยู่ที่อำเภอพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2510 ที่บ้านลุงฉั่ง มีเนินดินอยู่ตรงหน้าบันไดบ้าน เป็นเนินดินเตี้ยๆ เป็นดินปนทราย วันหนึ่งลูกของลุงฉั่งมาขนทรายไปถมคอกม้า และเจอแผ่นอิฐปะปนอยู่ด้วย จึงเกิดความสงสัย เนื่องจากในจังหวัดสุพรรณฯ นั้น ถ้าขุดดินลงไปเจอทรายและแผ่นอิฐมักจะเจอพระเครื่องอยู่บ่อยๆ พอตกกลางคืนจึงวางแผนขุดดู และก็เจอพระเครื่องจำนวนมาก มีพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ศิลปะลพบุรีอยู่ 1 องค์ พระเครื่องพบบรรจุอยู่ในโอ่งขนาดใหญ่ มีประมาณสามถึงสี่พันองค์ได้ พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระร่วงพิมพ์ต้อ และพระซุ้มนครโกษา พระพิมพ์อื่นๆ จะพบจำนวนน้อยกว่า เช่น พระร่วงนั่งมีทั้งปางมารวิชัยและปางสมาธิ พระร่วงยืนพิมพ์ยาว พระซุ้มปรางค์ซึ่งพบเพียงแค่ 3 องค์เท่านั้น

พระเครื่องที่พบทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง โดยส่วนใหญ่เมื่อล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบกับสนิมแดงสดใส บางองค์ปริแตกแยะตามขอบ ส่องดูเป็นสนิมแดงเกาะกินลึกเข้าไปจนแทบไม่เหลือเนื้อชินตะกั่วเลย ลักษณะแบบนี้องค์พระมักจะเปราะแตกบิ่นง่าย

สนิมแดงของพระกรุบ้านหัวเกาะจะเป็นเอกลักษณ์ ที่มีสีสนิมแดงจัดทั่วทั้งองค์พระ ผิวจะมีไขขาวจับเช่นเดียวกับพระเนื้อชินสนิมแดงทั่วไป แต่นักสะสมพระเนื้อชินมักจะนิยมล้างผิวไขขาวด้านหน้าออกบ้างเพื่อให้มองเห็นผิวสนิมแดงที่สวยงาม ส่วนด้านหลังมักจะปล่อยผิวไขขาว ไว้เดิมๆ

พุทธคุณของพระกรุบ้านหัวเกาะเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยาก ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้วเช่นกัน เวลาเช่าหาก็ต้องพิจารณาดีๆ สนนราคาค่อนข้างสูงครับ คนสุพรรณฯ เขาหวงเก็บเงียบกันหมด พระจึงไม่ค่อยมีออกมาหมุนเวียน

พระกรุบ้านหัวเกาะพิมพ์ที่หายากเนื่องจากพบจากกรุเพียงแค่ 3 องค์ คือพระพิมพ์ซุ้มปรางค์ ตอนสร้างอาจจะมีมากกว่านี้ แต่คงชำรุดไปตามกาลเวลา เท่าที่ผู้ขุดพบบอกว่า พระพิมพ์นี้เจอแค่ 3 องค์เท่านั้น ในวันนี้เลยนำรูปพระพิมพ์ซุ้มปรางค์ กรุบ้านหัวเกาะ จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กันยายน 2561 15:29:35 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #89 เมื่อ: 18 กันยายน 2561 15:25:30 »

    วัตถุมงคล"หลวงปู่ปัน" วัดเทพนิมิตฯ

"วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม" ตั้งอยู่ที่บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นวัดที่ตั้งใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2549 เนื้อที่ 9 ไร่เศษ เป็นวัดมหานิกาย และเนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งใหม่ได้เพียงสิบปีเศษ ดังนั้นถาวรวัตถุสำคัญภายในวัดยังไม่มี อาทิ ประตูโขง กำแพงแก้ว อุโบสถ เป็นต้น

ปัจจุบัน "หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม" สิริอายุ 79 ปี พรรษา 19 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม ถือได้ว่าท่านเป็นพระที่อายุมากอีกรูปหนึ่งของแวดวงพระสงฆ์ในเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

ชีวิตในร่มผ้ากาสาวพัสตร์ มุ่งวิปัสสนากัมมัฏฐานเสมอต้นเสมอปลาย อุทิศตนรับใช้พระพุทธศาสนาจนถึงช่วงบั้นปลายชีวิต

มีนามเดิม ปัน คำวงศ์ เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่อุโบสถวัดในหมู่บ้าน แต่หลังจากอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา ท่านมีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปูผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ผาง

จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึงเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุต) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมีพระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อาทิ วัดเขาบอระเพ็ด, วัดใหม่สุวรรณโณ จ.สระบุรี, วัดโนนสว่าง จ.บุรีรัมย์, วัดป่าพัฒนาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ในปี พ.ศ.2560 บรรดาญาติโยมบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กราบนิมนต์หลวงปู่ให้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เนื่องจากไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่สภาพเป็นวัดร้าง

พิจารณาแล้วเห็นว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมยิ่งนัก จึงรับนิมนต์ปฏิบัติศาสนกิจอยู่วัดแห่งนี้ ตราบจนปัจจุบัน

สืบเนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เป็นวัดในชนบทที่ยังขาดแคลนในทุกด้าน การจะพัฒนาวัดแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองจำเป็นต้องใช้ปัจจัยจำนวนมาก

กรณีดังกล่าวญาติโยมในพื้นที่ รวมทั้งคณะศิษยานุศิษย์ผู้เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ปัน นำโดย "พ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย" และ "ศุภกิจ พิสมัย" มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ปัน หลายรายการ วัตถุประสงค์เพื่อหาจตุปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิให้หลวงปู่จำพรรษาปฏิบัติธรรม และพัฒนาก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนารามที่ยังขาดแคลน

รายการวัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้ นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงปู่ปัน เนื่องจากที่ผ่านมา ท่านไม่เคยอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลของท่านแต่อย่างใด

วัตถุมงคลที่จัดสร้าง ประกอบด้วย 1.เหรียญรูปไข่รุ่นแรก 2.เหรียญหล่อโบราณรวยทันใจ 3.พระสมเด็จ 4.พระขุนแผนพรายเทพนิมิต รวยมหาเสน่ห์ 5.พระผงดวงเศรษฐี และ 6.รูปหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ปัน

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล รุ่นดังกล่าว เมื่อวันเสาร์ที่ 4 ส.ค.2561 ที่ปะรำพิธีภายในวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม

ช่วงเช้ามีการประกอบพิธีบวงสรวงเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระภูมิเจ้าที่ อัญเชิญเข้ามาร่วมพิธีเป็นสักขีพยาน เพื่อให้พิธีอธิษฐานจิตวัตถุมงคลครั้งนี้เกิดความเข้มขลัง จากนั้นประกอบพิธีเททองหล่อโบราณนำฤกษ์รุ่นรวยทันใจ

ส่วนช่วงบ่ายวันเดียวกัน ประกอบพิธี พุทธาภิเษกภายในศาลาการเปรียญ โดยหลวงปู่ปัน ปลุกเสกเดี่ยวนานหลายชั่วโมง ภายหลังพิธีอธิษฐานจิต ได้มีการแจกเหรียญรุ่นแรกรูปไข่ เนื้ออัลปาก้า ให้ผู้ที่มาร่วมพิธีทุกคน ในส่วนของวัตถุมงคลรูปหล่อรูปเหมือน หลวงปู่จะทำพิธีอธิษฐานจิตทุกวันต่อเนื่องนานถึง 3 เดือน หรือ 1 ไตรมาส

เชิด ขันตี ณ พล


     เหรียญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดห้วยสามพันนาม

วัดห้วยสามพันนาม บ้านห้วยสามพันนาม ต.หินเหล็กไฟ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เดิมเป็นที่พักสงฆ์ชื่อ "วังสามพันนาม"

ต่อมานายชุบ สังข์ทอง ได้ดำเนินการยื่นเรื่องขออนุญาตสร้างวัดและได้รับอนุญาตสร้างวัด เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553

ปัจจุบัน มี "พระใบฎีกาสรัญ โฆสิโต" เป็นเจ้าอาวาส มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน 8 รูป

วัดแห่งนี้แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นวัดสร้างใหม่ แต่ก็มีพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือกราบไหว้ของชาวบ้านทั้งใกล้และไกล

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปที่แกะจากไม้ขนุน มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน ปางห้ามสมุทร สูงประมาณ 150 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่ในศาลาปฏิบัติธรรมของวัด นอกจากนี้ วัดได้สร้างรูปจำลองไว้บนหน้าบันโบสถ์ทั้ง 2 ด้าน

ส่วนที่มาของหลวงพ่อสัมฤทธิ์ พระใบฎีกาสรัญระบุว่า เมื่อครั้งที่หลวงพ่อสำราญ อดีตเจ้าอาวาสยังมีชีวิตอยู่ ท่านมีความนับถือหลวงพ่อสัมฤทธิ์ แห่งวัดนาโคก ต.นาโคก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

ครั้นเมื่อพระใบฎีกาสรัญได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาส จึงอัญเชิญจากกุฏิเก่า ประดิษฐานไว้ที่ศาลาธรรม เพื่อให้ญาติโยมกราบไหว้ขอพรและบนบาน เมื่อญาติโยมสมประสงค์ตามสิ่งที่บนไว้ ก็จะมาแก้บนด้วยซาลาเปา เช่นเดียวกับหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ที่วัดนาโคก

ขณะนี้ พระใบฎีกาสรัญกำลังดำเนินการก่อสร้างกำแพงแก้วรอบโบสถ์ จึงจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์ชื่อ ดังหลายรูปใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก

เหรียญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ลักษณะเป็นเหรียญรูปใบเสมา ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนพระพุทธรูป หลวงพ่อสัมฤทธิ์ ยืนเต็มองค์

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ใต้ยันต์เขียนคำว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดห้วยสามพันนาม"

เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


     พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อดินของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่หายากมากๆ ก็คือ พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จำนวนพระที่ขุดพบส่วนมากชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่สมบูรณ์จริงพบจำนวนน้อยมาก ว่ากันว่าพบประมาณสองร้อยกว่าองค์เท่านั้น ดังนั้นจึงหายากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามประวัติ พระกรุวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นพระเครื่องที่สมเด็จพระนเรศวรทรงให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ และสมเด็จพระพนรัตน์ ผู้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรเป็นผู้ปลุกเสกไว้ ยิ่งทำให้พระกรุนี้เป็นที่นิยม โดยเฉพาะพระพิมพ์ขุนแผนเคลือบที่มีจำนวนน้อยจึงหายากและมีความต้องการสูง

การเปิดกรุวัดใหญ่ชัยมงคลนั้น มีการพบทั้งพระบูชาและพระเครื่องจำนวนมากมายหลากหลายพิมพ์ มีทั้งพระเครื่องเนื้อดินเผาและเนื้อชิน พระเครื่องที่มีความนิยมรองลงมาจากพระขุนแผนเคลือบก็คือพระขุนแผนใบพุทรา พระที่พบมีทั้งเนื้อดินเผาและพระเนื้อชิน แต่พระเนื้อดินเผาจะมีความนิยมมากกว่าพระเนื้อชิน จำนวนพระที่พบมีจำนวนมากกว่าพระขุนแผนเคลือบ สนนราคาในสมัยก่อนจึงไม่สูงมากนัก แต่ในปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ ของปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้ว

พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผาเท่าที่พบมีทั้งชนิดเนื้อดินละเอียดและเนื้อดินหยาบ พุทธลักษณะทรงกรอบนอกจะมีปีกกลมมนๆ คล้ายกับใบพุทรา จึงเป็นชื่อเรียกมาแต่โบราณ องค์พระเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยอยู่เหนือกลีบบัวสองชั้น ตรงกลางฐานกลีบบัวจะมีลักษณะคล้ายเดือยต่อลงมาด้านล่าง พระขุนแผนใบพุทราลักษณะโดยรวมก็ไม่เหมือนกับพระขุนแผนทั่วๆ ไป ซึ่งส่วนมากจะเป็นพระประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว แต่คนเฒ่าคนแก่ก็เรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พระขุนแผนใบพุทรา" มานมนานแล้ว อาจจะเป็นเพราะพุทธคุณของพระหรือเปล่าไม่ทราบ เนื่องจากเด่นในทุกๆ ด้านทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และอยู่ยงคงกระพัน เรียกว่าครบเครื่องเลยทีเดียว

พระขุนแผนใบพุทราที่เป็นเนื้อชินเงิน จะเป็นพระที่ไม่มีปีก เป็นการตัดขอบชิดกับองค์พระ มีพบบางองค์ที่มีปีกก็มักจะตัดปีกเป็นรูปห้าเหลี่ยม ไม่มีแบบที่ทำปีกเป็นทรงมนๆ แบบพระเนื้อดินเผาเลย เฉพาะพระเนื้อชินนั้นมีพบพระที่พิมพ์ทรงคล้ายๆ กันในกรุวัดราชบูรณะด้วย แต่ก็มีข้อแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน ตรงรัศมีของกรุวัดใหญ่จะเรียบๆ ของกรุวัดราชบูรณะจะทำเป็นกิ่งโพธิ์และใบโพธิ์ และองค์พระก็จะเขื่องกว่า

พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่นั้น มีของปลอมกันมานานแล้วมีหลากหลายฝีมือ เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ หน่อยครับ ปัจจุบันองค์สวยๆ ราคาก็สูงและหายากอยู่ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล เนื้อดินเผาองค์สวยจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



     พระพุทธนิมิตวิชิตมารฯ

พระนครศรีอยุธยา หรือเมืองกรุงเก่า เป็นอดีตราชธานีเก่าของไทยที่เคยรุ่งเรือง เต็มไปด้วยวัดวาอารามและปราสาทราชวัง แต่หลังจากการเสียกรุง ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 ได้สร้างความสูญเสียแก่กรุงศรีอยุธยาอย่างใหญ่หลวง แต่ "หนึ่งเดียว" เท่านั้นที่รอดพ้นจากการถูกเผาทำลาย นั่นคือ "วัดหน้าพระเมรุ" รวมถึงพระประธานในอุโบสถ "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ" พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ศิลปะสมัยอยุธยา

วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวตรงข้ามพระราชวังโบราณ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นอารามหลวงสามัญชั้นตรี ตามตำนานกล่าวว่า พระองค์อินทร์ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รัชกาลที่ 10 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2046-47 และพระราชทานนามว่า "วัดพระเมรุราชิการาม" แต่ต่อมาภายหลังเรียกกันว่า "วัดหน้าพระเมรุ" ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็เป็นได้

ภายในพระอุโบสถขนาดใหญ่ รูปแบบสถาปัตยกรรมในราวสมัยอยุธยาตอนกลาง ตกแต่งหน้าบันอย่างงดงาม เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ" เป็นพระประธาน พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ (คือ ทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์อย่างเต็มยศ เช่น สวมมงกุฎ มีกรรเจียกจอน ตกแต่งเครื่องถนิมพิมพาพร อาทิ กุณฑล พาหุรัด ข้อพระกร ธำมรงค์ สร้อยสังวาล ทับทรวง ปั้นเหน่ง สนับเพลา ชายไหว กำไลพระบาท รองพระบาท อย่างอลังการ) ศิลปะอยุธยา ปางมารวิชัยหน้าตักกว้างประมาณ 4.40 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร

นับเป็นพระปฏิมากรที่มีขนาดใหญ่และงดงามมาก ประการสำคัญ "พระนามขององค์พระ" มีความหมายบ่งบอกอย่างชัดเจนถึงคุณลักษณะพิเศษ อิทธิปาฏิหาริย์ และความเป็น "สรณะ" ที่พึ่งอันควรแก่การเคารพ สักการะทั้ง 3 โลก

นอกเหนือจากความศักดิ์สิทธิ์แล้ว "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ" ยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องด้วยเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ศิลปะสมัยอยุธยาองค์เดียวที่ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นทั้งสิ้น

ถ้ามีโอกาสควรแวะไปเยี่ยมชมความงดงามแห่งศิลปะสมัยอยุธยาอันสมบูรณ์แบบ ณ วัดหน้าพระเมรุ และกราบสักการะขอพร พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ พระปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์องค์สำคัญ เพื่อความสิริมงคลและบังเกิดสิ่งดีๆ ในชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์ครับ

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



     พระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม เป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้เพื่อบรรจุกรุในองค์พระเจดีย์ประธานของวัดบางขุนพรหม เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2411 จนถึงปี พ.ศ.2413 จึงได้บรรจุ ในการสร้างครั้งนี้จึงมีการทำแม่พิมพ์ต่างๆ เพิ่มขึ้นจากพระสมเด็จของวัดระฆังฯ ที่มีอยู่เดิมอีกหลายพิมพ์ พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิก็เป็นอีกแม่พิมพ์หนึ่งที่มีการทำแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ และพิมพ์สังฆาฏินี้ก็มีแม่พิมพ์อยู่หลายพิมพ์เช่นกัน

ครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนท่านตั้งชื่อพิมพ์และแยกหมวดหมู่ของพระสมเด็จพิมพ์นี้ว่า "พิมพ์สังฆาฏิ" เราลองมาดูที่องค์พระกัน พระพิมพ์สังฆาฏินี้ สังเกตดูที่ลำพระองค์จะเห็นว่ามีร่องยาวตลอดหน้าอก จากบริเวณไหล่ซ้ายขององค์พระ (ขวามือเรา) ลากยาวลงมาจนถึงหน้าตักที่มือประสานกัน สันนิษฐานว่าช่างผู้แกะแม่พิมพ์ท่านคงจะแสดงให้เห็นว่าเป็นเส้นผ้าสังฆาฏิของพระ

ในส่วนของพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมที่หน้าอกเป็นร่องนั้นก็มีอยู่หลายพิมพ์เหมือนกัน เช่น พิมพ์ฐานแซม พิมพ์ฐานคู่ และพิมพ์เกศบัวตูม เป็นต้น สำหรับพระพิมพ์ฐานแซมและพิมพ์ฐานคู่ เส้นที่ทำเป็นร่องบริเวณหน้าอกนั้นจะเป็นร่องจากตรงกลางหน้าอกลงมาจนถึงหน้าตัก ส่วนพระพิมพ์เกศบัวตูมกับพิมพ์สังฆาฏิจะเป็นเส้นเยื้องมาทางไหล่ซ้ายลากยาวลงมาแสดงเป็นเส้นสังฆาฏิ แต่พิมพ์เกศบัวตูมนั้นพระเกศจะอ้วนสั้นกว่าพระพิมพ์สังฆาฏิ มีอยู่แม่พิมพ์หนึ่งของพระพิมพ์เกศบัวตูมเท่านั้นที่จะเป็นพระเกศยาวเรียว

สิ่งที่เห็นชัดของพระพิมพ์เกศบัวตูมและเป็นเอกลักษณ์ก็คือพระบาท (เท้า) ของพระจะปรากฏเห็นชัดและค่อนข้างห้อยปลายเท้าลงมาเล็กน้อยแต่ก็เห็นได้ชัด ส่วนพระพิมพ์สังฆาฏินั้นพระเกศจะยาวเรียวบางทุกแม่พิมพ์ และจะไม่มีปลายพระบาทห้อยลงมา จากการที่มีร่องสังฆาฏิเห็นได้ชัดเจนนี้เองครูบาอาจารย์รุ่นเก่าท่านจึงแยกการเรียกชื่อพิมพ์ออกมาเป็น "พิมพ์สังฆาฏิ" และยังแยกตัวแม่พิมพ์ออกได้อีกหลายแม่พิมพ์

เอกลักษณ์ของพิมพ์สังฆาฏินั้นยังมีเอกลักษณ์ของพิมพ์ที่เหมือนๆ กันอีกเช่น ตัวเส้นกรอบแม่พิมพ์ของพระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ จะเห็นเป็นเส้นนูนสูงขึ้นมาชัดเจนทุกแม่พิมพ์ และชัดกว่าพระสมเด็จทุกพิมพ์ ถึงแม้ว่าจะตัดขอบชิดกรอบหรือมีการสึกหรออย่างไรก็ตามก็ยังจะปรากฏให้เห็นได้ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง หน้าตักของพระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิทุกแม่พิมพ์ สังเกตดูเหมือนกับว่าหัวเข่าทางด้านขวาขององค์พระ (ซ้ายมือเรา) จะกระดกยกขึ้นเล็กน้อยสูงกว่าทางด้านซ้ายขององค์พระ ซึ่งก็จะเป็นเช่นนี้ทุกแม่พิมพ์

สันนิษฐานว่าช่างผู้แกะแม่พิมพ์ในหมวดพิมพ์สังฆาฏิคงจะเป็นช่างคนเดียวกัน และแกะแม่พิมพ์ไว้หลายแม่พิมพ์ บางแม่พิมพ์ทำพระกรรณ (หู) ของพระไว้ชัดเจน บางแม่พิมพ์ก็เห็นเพียงไรๆ บางแม่พิมพ์ก็ไม่ปรากฏ พระสมเด็จ พิมพ์สังฆาฏิ กรุวัดบางขุนพรหม แม่พิมพ์หนึ่งที่ในปัจจุบันเรียกกันว่า "พระสมเด็จ พิมพ์สังฆาฏิมีหู" แต่ในสมัยก่อนครูบาอาจารย์รุ่นเก่าท่านเรียกว่า "พระสมเด็จ พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง" ซึ่งถ้าเราสังเกตดูใบหูของพระจะใหญ่และห้อยลงมาคล้ายๆ กับหูของช้าง

ครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนจึงตั้งชื่อแม่พิมพ์นี้ว่า "พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง" ครับ และแม่พิมพ์นี้จะเห็นว่าพระเกศจะยาวทะลุซุ้มขึ้นไปครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง (มีหู) องค์สวยมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



     หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง

วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา อีกหนึ่งวัดเก่าแก่สำคัญที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมืองกรุงเก่า "พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ" กล่าวไว้ว่า ได้มีการสถาปนาพระพุทธรูป นาม "พระเจ้าพแนงเชิง" เมื่อปี พ.ศ.1867 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี

ทั้งยังมีประวัติใน "พระราชพงศาวดารเหนือของจีน" โดยอ้างอิงถึงของไทย อีกด้วย

ส่วนพระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต พระปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปะอู่ทองตอนปลาย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 14.20 เมตร สูง 19.20 เมตร เป็นพระพุทธรูปโบราณคู่บ้านคู่เมืองกรุงศรีอยุธยามาแต่แรกสร้างกรุง

ใน "พงศาวดารกรุงเก่า" ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ ระบุว่า "สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1868 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 " และเป็นที่อัศจรรย์ที่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาใกล้จะแตกนั้น ปรากฏใน "คำให้การของชาวกรุงเก่า" ว่า " พระปฏิมากรใหญ่ที่วัดพนัญเชิงองค์นี้ มีน้ำพระเนตรไหลออกมา ..."

นอกจากเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวไทยแล้ว พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต ยังเป็นที่เคารพนับถือในหมู่ชาวจีนเป็นอันมาก โดยเรียกกันว่า "ซำปอฮุดกง" หรือ "ซำปอกง"

วัดพนัญเชิง จึงมีทั้งชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีน รวมถึงชาวต่างชาติ มักแวะเวียนไปกราบสักการะขอพรเป็นเนืองนิตย์ โดยเฉพาะในงานประจำปี ชาวไทยจะจัดในช่วงวันสงกรานต์เดือนเมษายน ส่วนชาวจีนจะจัดในช่วงเดือน 9 เรียกกันว่า "งานงิ้วเดือนเก้า" ซึ่งตรงกับวันสิ้นเดือน 7 ของจีน นอกจากนี้ยังมีการจัดงานในช่วงเทศกาลสำคัญๆ อาทิ วันสารทจีน และวันตรุษจีน เป็นต้น

หลังจากกราบสักการะขอพรและห่มผ้าพระปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์ในพระวิหารเรียบร้อย ก็มักจะแวะมาสักการะ "เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก" หรือภาษาจีนเรียก "เจ้าแม่จู๊แซเนีย" ด้วยเชื่อกันว่าพระองค์สามารถบันดาลให้ผู้ที่กราบไหว้สมปรารถนาตามที่ขอทุกประการ โดยเฉพาะเรื่องความรัก คู่ครอง และการขอบุตร มีการบนบานศาลกล่าวด้วยผ้าแพร ไข่มุก เรือสำเภา หรือนำสิงโตมาเชิด เมื่อสมหวังก็มาแก้บนกันคึกคัก และบอกเล่าต่อๆ กัน จนเป็นความเชื่อและความศรัทธาสืบต่อมา

วัดพนัญเชิง มีการจัดสร้าง "วัตถุมงคลจำลองรูปหลวงพ่อโต" อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธาได้มีโอกาสเช่าบูชาติดตัวเพื่อความเป็นสิริมงคล และด้วยบารมีแห่ง "หลวงพ่อโต" ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน ก็ปรากฏพุทธคุณและปาฏิหาริย์เป็นที่เลื่องลือทั้งสิ้น

ประการสำคัญคือ เป็นบุญกุศลในการได้ร่วมสมทบทุนบูรณะ ซ่อมแซม และก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด โดยลักษณะการจัดการเป็นเช่นเดียวกับ วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา คือ มีคณะกรรมการที่เรียกว่า "เฒ่านั้ง" ไปจ้างโรงงานทำแล้วควบคุมดูแลเรื่องการปั๊ม-การสร้าง เพื่อไม่ให้มีของเสริม จึงเป็นที่เชื่อถือได้แน่นอนครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



     เหรียญรวยทันใจ วัดป่าวังน้ำเย็น

พระครูภาวนาชยานุสิฐ หรือ พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ ประธานคณะสงฆ์วัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสาน สืบสายธรรมจากหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง จ.นครพนม

ญาติโยมชาวมหาสารคามที่มีความเลื่อมใสศรัทธา บริจาคที่ดินบริเวณบ้านวังน้ำเย็น กว่า 11 ไร่ ถวายพระอาจารย์ สุริยันต์ สร้างวัด

ด้วยความศรัทธาที่ญาติโยมในพื้นที่และข้างเคียงที่มีต่อพระอาจารย์สุริยันต์ ทำให้การพัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดป่าวังน้ำเย็นลุล่วงในเวลาอันรวดเร็ว อาทิ หอระฆัง ศาลาปฏิบัติธรรมไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างจากไม้เนื้อแข็งประกอบด้วยไม้แดง ไม้ประดู่ และตกแต่งด้วยไม้สักทอง อุโบสถไม้ซุงอยู่ระหว่างการก่อสร้าง พระมหาเจดีย์ศรีมหาสารคาม เป็นต้น

จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม ในแต่ละวันโดยเฉพาะช่วงวันหยุด จะมีพุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศเดินทางเข้ามาเที่ยวชมถาวรวัตถุจำนวนมาก

สำหรับวัตถุมงคล พระอาจารย์สุริยันต์ มีการสร้างออกมาหลายรุ่น แทบทุกรุ่นล้วนได้รับความนิยม

ล่าสุด วัดป่าวังน้ำเย็น รวมทั้งคณะศิษยานุศิษย์นำโดย "ดาว ลำปาง" ได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญ "รุ่นรวยทันใจ"

วัตถุประสงค์ 1.เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างพระอุโบสถไม้ตะเคียนทองใหญ่ที่สุดในโลกให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ 2.เป็นกองทุนสวัสดิการสมาชิกชมรมอนุรักษ์พระเครื่องเมืองมหาสารคาม และ 3.เป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนดีแต่ยากจนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ยกขอบมีหู ไม่เจาะรู

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนพระอาจารย์ สุริยันต์ เต็มองค์นั่งในท่าวิปัสสนากัมมัฏฐานห่มจีวรเฉียง ล่างสุดเขียนว่า พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ

ส่วนด้านหลัง บนสุดใต้หูเหรียญเขียนว่า รวยทันใจ บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์มหาปรารถนา พุทธคุณเด่นรอบด้าน ล่างสุดมีตัวอักษรเขียนว่า วัดป่าวังน้ำเย็น จังหวัดมหาสารคาม

จำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนการสั่งจอง เนื้อเงิน สร้าง 199 เหรียญ นวโลหะ สร้าง 199 เหรียญ ตะกั่ว สร้าง 199 เหรียญ ทองแดงลงยา 199 เหรียญ เป็นต้น ทุกเหรียญตอกโค้ดหมายเลขกำกับ

สำหรับพิธีพุทธาภิเษกกำหนดจัดขึ้น ในวันที่ 17 พ.ย.2561 โดยพระอาจารย์ สุริยันต์ ประกอบพิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว

เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


หลวงพ่อมงคลบพิตร

วิหารพระมงคลบพิตร ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ พระนาม "พระมงคลบพิตร" พระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 8 พระพุทธรูปสำคัญคู่กรุงศรีอยุธยา ที่มีพระพุทธานุภาพเป็นหลักกรุง ซึ่งน่าจะเป็นองค์เดียวกันกับ "พระพุทธสยมภูวญาณโมฬี" ตามคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งกล่าวว่า ... เป็นพระพุทธรูปนั่งสมาธิ หน้าตัก 16 ศอก หล่อด้วยทองเหลือง อยู่ในพระมหาวิหารวัดสุมงคลบพิตร ซึ่งต่อมาเรียกชื่อวัดย่อลง เป็น "วัดมงคลบพิตร" ...

พระมงคลบพิตร หรือ "หลวงพ่อมงคลบพิตร" พระพุทธรูปก่อด้วยอิฐแล้วหุ้มสำริดแผ่น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 9.55 เมตร สูง 22.45 เมตร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในรัชกาลใด แต่ด้วยพระพักตร์แม้จะค่อนข้างเป็นวงรี แต่ก็ยังคงเห็นเค้าพระพักตร์ที่เป็นเหลี่ยมอยู่ และเส้นพระขนงที่วาดโค้ง อันเป็นพุทธศิลปะผสมระหว่างอู่ทองและสุโขทัย จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างสมัยอยุธยาตอนต้นในระหว่างแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจนถึงแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม

ตาม "พงศาวดารวิหารพระมงคลบพิตร" นั้น เดิมประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง บางคนสันนิษฐานว่า เคยประดิษฐานอยู่กลางแจ้งที่วัดชีเชียงมาก่อน ในปี พ.ศ.2146 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดให้ชะลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ ต่อมาในปี พ.ศ.2246 สมัยพระเจ้าเสือ เกิดอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑป เกิดไฟไหม้พังลงมาต้องพระศอของพระมงคลบพิตรหัก พระองค์จึงโปรดให้รื้อเครื่องบนออกแล้วสร้างใหม่เป็น "พระวิหาร" แต่คงทำเครื่องยอดอย่างมณฑปของเดิม

กระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น ในปี พ.ศ.2463 พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ขณะดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้ดำเนินการซ่อมพระเมาฬีและพระกรข้างขวาของหลวงพ่อมงคลบพิตรที่หักให้เต็มบริบูรณ์ รวมทั้งบูรณะพระวิหารที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม

ต่อมาปี พ.ศ.2474 คุณหญิงอมเรศ ศรีสมบัติ มีศรัทธาปฏิสังขรณ์ฐานพระพุทธปฏิมาขึ้นใหม่ ครั้งนั้นจำเป็นต้องลบรอยปูนปั้นของเดิมออกจนหมด เพื่อทำเป็นผ้าทิพย์ลวดลายใหม่เป็นแผ่นตรงแทน ส่วนซากพระวิหารของเก่านั้น กรมศิลปากรได้ซ่อมแต่งรักษาเพื่อไม่ให้ ผุพังทำลายต่อไป และอยู่ในสภาพเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2499 สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและองค์พระเสียใหม่ โดยองค์หลวงพ่อมงคลบพิตรนั้นได้ทาสีดำตลอดทั้งองค์

ปี พ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้บูรณะพระพุทธปฏิมาและพบพระพุทธรูปบรรจุไว้ในพระอุระด้านขวาเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา" และ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม"

ต่อมาในปี พ.ศ.2533 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จทรงเป็นประธานเททองหล่อ "หลวงพ่อมงคลบพิตรจำลอง" ได้ประทานพระดำริว่า...ควรปิดทององค์พระพุทธปฏิมาทั้งองค์ ซึ่งจะทำให้มีพุทธลักษณะที่งดงามสง่า น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งขึ้น อันจะเป็นการส่งเสริมศรัทธาของบรรดาพุทธศาสนิกชนอีกประการหนึ่งด้วย ประกอบกับเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ทรงนมัสการหลวงพ่อมงคลบพิตร ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 50,000 บาท เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระ ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงร่วมกับมูลนิธิพระมงคลบพิตรดำเนินการบูรณะปิดทององค์พระเพื่อความสง่างาม ตามพระดำริของสมเด็จพระสังฆราชฯ ทั้งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปี พ.ศ.2535 อีกด้วย

ณ ปัจจุบัน หลวงพ่อมงคลบพิตร ณ วิหารพระมงคลบพิตร นับเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญของ จ.พระนครศรีอยุธยา ดังจะได้ยินคำกล่าวอยู่เสมอว่า "ผู้ใดที่มาเที่ยวอยุธยาแล้ว ยังไม่ได้มาไหว้หลวงพ่อมงคลบพิตร ถือว่ามาไม่ถึงอยุธยา" ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กันยายน 2561 15:31:36 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #90 เมื่อ: 18 กันยายน 2561 15:32:06 »


      เหรียญหลวงพ่อโตรุ่นแรก ปี 2460

วัตถุมงคลรุ่นแรกของ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง นั้น คงต้องยกให้ "เหรียญหลวงพ่อโต รุ่นแรก" ที่มีการจัดสร้างในปี พ.ศ.2460 ซึ่ง ณ ปัจจุบันค่านิยมพุ่งขึ้นสูงมากและจะหาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่ง

เหรียญหลวงพ่อโตรุ่นแรก ปี 2460 จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดง ทั้งกะไหล่เงิน กะไหล่ทอง และแบบรมดำ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์ม หูในตัว ด้านหน้ายกขอบเป็นเส้นนูน และมีขอบเส้นลวดอีกชั้นหนึ่ง ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธไตรรัตนนายก ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะยกเป็นฐานชุกชี ด้านข้างทั้งซ้ายและขวามีพระอัครสาวกพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรยืนหันข้าง ด้านบนเป็นอักษรไทยว่า "พระพุทธไตรยรัตนนายก"

ส่วนด้านหลังเป็นพื้นเรียบ ตรงกลางเป็น "ยันต์ 3" บรรจุอักขระขอม 4 ตัว อ่านว่า "อิ สวา สุ อิ" ซึ่งเป็นอักขระย่อของ "หัวใจพระรัตนตรัย" ด้านบนของยันต์เป็นอักษรไทยโค้งรอบยันต์ว่า "วัดพนัญเชิง กรุงเก่า" ด้านล่างของยันต์เป็นอักษรจีน 4 ตัว อ่านได้ว่า "ซำปอฮุดกง" โดยจะเห็นได้ว่า มีอักษรปรากฏบนเหรียญถึง 3 ภาษา อันนับเป็นความพิเศษและแตกต่างจากเหรียญทั่วไปซึ่งโดยส่วนใหญ่มีเพียง 2 ภาษาเท่านั้น

ที่สำคัญอีกประการคือ พิธีพุทธาภิเษกนั้นจัดอย่างยิ่งใหญ่และถูกต้อง ตามกระบวนการแบบโบราณทุกประการ นอกจากนี้ ยังเป็นการรวมพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงคุณชื่อดังในยุคนั้นร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตมากมาย ยิ่งทำให้เหรียญหลวงพ่อโตรุ่นแรก เป็นที่ใฝ่ฝันและแสวงหาอย่างสูง

แต่อย่างไรก็ตาม จากจุดเด่นทั้งหลายทั้งมวล ก็ยังมี "จุดบอด" ที่ทำให้ยากยิ่งในการพิจารณาหาของแท้ "รุ่นแรก" มาไว้แนบกาย นั่นคือ "เหรียญหลวงพ่อโต" ทุกรุ่นจะมีพุทธลักษณะโดยรวมเหมือนกันทุกประการ และไม่ระบุปี พ.ศ.ที่สร้างกำกับไว้ โดยหลังจากสร้างรุ่นแรก ในปี พ.ศ.2460 แล้ว ได้มีการจัดสร้างหลังจากนั้นอีก 25 ปี ในปี พ.ศ.2485 เป็น "รุ่น 2" ต่อมาก็ปี พ.ศ.2517 และ ปี พ.ศ.2533 ซึ่งยังคงรายละเอียดต่างๆ เหมือนเหรียญเดิม ปี 2460 ทุกประการ

มาดูหลักการพิจารณาแรกที่เป็นหนึ่งใน "จุดตาย" สำคัญ เพราะจะมีเฉพาะรุ่นแรกเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น นั่นคือให้สังเกตที่เศียรของพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา คือพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร จะมีขนาดเล็ก จนมักเรียกเหรียญรุ่นแรกนี้ว่า "เหรียญหลวงพ่อโต พิมพ์เศียรเล็ก" หรือ "เหรียญหลวงพ่อโต พิมพ์เศียรถั่วงอก" นอกจากนี้ ก็ต้องมาพิจารณากันที่ความเก่าของเหรียญตามกาลเวลา เนื้อในการจัดสร้างและจุดตำหนิแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่น

สำหรับผู้มีความปรารถนา "เหรียญหลวงพ่อโต รุ่นแรก ปี 2460" คงต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ต้องดูให้เป็น ดูให้ขาด โดยเฉพาะรุ่น 1 และ 2 ที่ย้ำนักย้ำหนานี้ก็เพราะค่านิยมต่างกันมาก เอาว่า เลข "0" หายกันเป็นหลักๆ ทีเดียว แต่ผู้ที่ต้องการมีไว้เพื่อสักการบูชา ด้วยบารมีแห่ง "หลวงพ่อโต" ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนก็ปรากฏพุทธคุณและปาฏิหาริย์เป็นที่เลื่องลือทั้งสิ้นครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #91 เมื่อ: 26 กันยายน 2561 17:58:30 »


    เหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.2479 ของหลวงปู่กลีบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูทิวากรคุณ (หลวงปู่กลีบ) วัดตลิ่งชัน พระเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ ลูกหามากมาย ท่านได้สร้างพระกริ่งโดยใช้พิมพ์ของพระกริ่งหนองแส ซึ่งเป็นหนึ่งในพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ และเป็นที่นิยมในสายพระกริ่งครับ

หลวงปู่กลีบเกิดในย่านคลองชักพระ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2419 ในสมัยเด็กท่านได้เรียนหนังสือกับเจ้าอธิการวัดตลิ่งชัน ซึ่งโยมบิดามารดานำท่านมาฝากเรียน ต่อมาได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2439 ที่วัดตลิ่งชัน โดยมีอธิการม่วง วัดนายโรงเป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดพระเชตุพน ในครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอมรเมธาจารย์ และอาจารย์เทศ วัดกัลยาณมิตร เป็นพระคู่สวด เมื่ออุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดตลิ่งชัน อยู่ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดตลิ่งชัน 2 พรรษา ต่อมาได้มาศึกษาอยู่ที่วัดมหาธาตุ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม และย้ายมาศึกษาอยู่ที่วัดสุทัศน์อีก 6 พรรษา

ต่อมาเจ้าอาวาสวัดตลิ่งชันว่างลง พระครูธรรมจริยาภิรมย์ เจ้าอาวาสวัด คฤหบดี เห็นว่าหลวงปู่กลีบเป็นผู้เหมาะสมและศึกษาพระปริยัติธรรมแตกฉาน จึงแต่งตั้งหลวงปู่กลีบให้มาดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดตลิ่งชัน ปี พ.ศ.2455 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด พ.ศ.2467 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูทิวากรคุณ พ.ศ.2469 ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ตลอดเวลาที่ท่านได้ปกครองวัดตลิ่งชันก็ได้ทำนุบำรุงเสนาสนะและถาวรวัตถุหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น สร้างศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ ซ่อมแซมพระอุโบสถ สร้างสะพาน สร้างเขื่อนหน้าวัด สร้างโรงเรียน จนวัดตลิ่งชันเจริญรุ่งเรืองมาทุกวันนี้

หลวงปู่กลีบเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์มากเป็นที่นับถือของคนในย่านนั้น ครั้งในช่วงสงครามอินโดจีนก็มีบรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่มาขอเครื่องรางของขลังเพื่อป้องกันตัว ท่านก็อนุญาต มีวัตถุมงคลอยู่หลายอย่างเช่น ผ้ายันต์ ตะกรุด เสื้อยันต์ ซึ่งเสื้อยันต์นี้ลูกศิษย์ของท่านตัดมาให้หลวงปู่ลงให้ ก็มีประสบการณ์ในครั้งสงครามอินโดจีน มีคนถูกยิงหลายนัดแต่ไม่เข้าเลย ยันต์ที่หลวงปู่ลงตะกรุดและผ้ายันต์ส่วนมากจะลงยันต์ไตรสรณคมน์ ปัจจุบันหายากมาก ใครมีก็หวงแหน

ในปี พ.ศ.2479 หลวงปู่อายุครบ 60 ปี ลูกศิษย์จึงขออนุญาตจัดงานทำบุญอายุ และขอจัดทำเหรียญรูปหลวงปู่กลีบและแหวนมงคลเก้า เหรียญรุ่นนี้จึงเป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของท่าน ในปี พ.ศ.2494 หลวงปู่ได้ปรึกษาท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ จัดสร้างพระกริ่งขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่ง รูปแบบพระกริ่งหนองแส และแจกในปี พ.ศ.2495 ปัจจุบันก็เริ่มหายากแล้วครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.2479 ของหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชันมาให้ชมครับ 

ชมรมพระเครื่อง
นสพ.ข่าวสด



      เหรียญหล่อหลวงปู่ทวด

เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารต่างๆ ของ "หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด" พระอริยสงฆ์สมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย โดยเฉพาะเรื่องอันเกี่ยวกับเอกราชของบ้านเมืองที่เล่าขานสืบกันมาถึงปัจจุบัน

จากความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว ได้ถูกนำมารังสรรค์ปั้นแต่งให้เกิดเป็นงานพุทธศิลป์ โดย วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง มอบหมายให้นายนเรศ มือทอง เป็นผู้ออกแบบพุทธศิลป์อย่างงดงามอลังการ และบริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน) สร้างสรรค์งานผลิตอย่างวิจิตรบรรจง เพื่อมอบเป็นสมบัติอันล้ำค่าในรูปแบบเหรียญหล่อ ประกอบมงคลนาม "หลวงปู่ทวด ไขปริศนามหาสมบัติ"

รายได้นำไปสมทบทุนจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมวัดขุนอินทประมูล

ลักษณะเป็นเหรียญทรงเต่าเรือน

ด้านหน้าเหรียญบนสุดมีองค์พระพุทธปฏิมากร ประทับนั่งบนฐานกลีบบัว ถัดมาเป็นองค์พระธรรม อักขระเลขยันต์ นะ โม พุท ธา ยะ มะ อะ อุ ตรงกลางเป็นองค์หลวงปู่ทวด ถัดลงมาเป็นองค์พระพิฆเนศ ปางกามเทพ ขอบเหรียญเป็นลำตัวของนาค 2 ตน ประหนึ่งคอยปกป้องพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อีกทั้งช้างและนาคนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดโดยตรง

ด้านหลังเหรียญ บนสุดเป็นอุณาโลม และตัวนะ ถัดมาเป็นพระคาถาหลวงปู่ทวด "นะโม โพธิสัตโต อาคันติ มายะ อิติภะคะวา" ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนบรรทุกทรัพย์สินเงินทองแล่นน้ำหันหัวเรือเข้า ตามความเชื่อจีนที่ว่า จะนำความร่ำรวย ทั้งยังสื่อถึงเมื่อครั้งหลวงปู่ทวดไขปริศนาธรรมสำเร็จ ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้มหาสมบัติจากเรือสำเภาทั้งเจ็ดลำ

ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก จัดขึ้น 3 วาระ วาระที่ 1 วันที่ 15 ก.ค.2561 บวงสรวงขอพรหลวงปู่ทวด ณ วัดแคราชานุวาส จ.พระนครศรีอยุธยา ต้นกำเนิดตำนานหลวงปู่ทวดไขปริศนามหาสมบัติ วาระที่ 2 วันที่ 18 ก.ค. ปลุกเสกชนวนมวลสาร ณ อุโบสถวัดขุนอินทประมูล และวาระที่ 3 วันที่ 25 ต.ค. พิธีพุทธาภิเษกหลังไตรมาส ณ อุโบสถวัดขุนอินทประมูล

จัดสร้างเป็น 9 เนื้อ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ, เนื้อทองคำลงยา, เนื้อเงินซาตินรมดำองค์ทองคำ, เนื้อนวโลหะผสมทองคำ, เนื้อเงินซาตินรมดำ, เนื้อบรอนซ์พาติน่าเขียวองค์เงินซาตินรมดำ, เนื้อบรอนซ์พาติน่าเขียว องค์ทองระฆังซาตินรมดำ, เนื้อทองระฆัง ซาตินรมดำ และเนื้อบรอนซ์ซาตินรมดำ ทุกรายการสร้างจำนวนจำกัด

หนังสือพิมพ์ข่าวสด


     พระขุนแผน รุ่น 1 หลวงปู่ปัน

"หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม" วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น พระเกจิที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 79 พรรษา 19

มีนามเดิม ปัน คำวงศ์ เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่อุโบสถวัดในหมู่บ้าน แต่หลังจากอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา ท่านมีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ผาง

จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบทที่อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุติ) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมีพระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อาทิ วัดเขา บอระเพ็ด, วัดใหม่สุวรรณโณ จ.สระบุรี, วัดโนนสว่าง จ.บุรีรัมย์, วัดป่าพัฒนาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ต่อมาหลวงปู่มีปัญหาด้านสุขภาพ จึงได้ญัตติใหม่เป็นมหานิกาย

ในปี พ.ศ.2560 บรรดาญาติโยมบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กราบนิมนต์หลวงปู่ให้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เนื่องจากไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ สภาพเป็นวัดร้าง

เนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนารามเป็นวัดที่ยังไม่ได้มีการพัฒนา บรรดาคณะศิษย์นำโดยนายศุภกิจ พิสมัย และ พ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลพระขุนแผนเนื้อผง นับเป็นพระขุนแผนรุ่นแรก

วัตถุประสงค์เพื่อหาจตุปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิปฏิบัติธรรมและพัฒนาสาธารณูปโภคสาธารณูปการภายในวัด

ลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์ 5 เหลี่ยม ด้านหน้าเป็นรูปองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าปางสมาธิประทับนั่งอยู่ในซุ้ม 5 เหลี่ยม

ด้านหลังจากด้านขวาของเหรียญวนขึ้นไปด้านบนวนทางด้านซ้ายเขียนว่า หลวงปู่ปัน สมฺปนฺนธมฺโม บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ล่างสุดมีตัวอักษรเขียนว่า วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม จ.ขอนแก่น และตัวเลข ๒๕๖๑ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

จำนวนการสร้างรวม 12,000 องค์ มีทั้งฝังตะกรุดเงิน และตะกรุดทอง

มวลสารที่นำมาจัดสร้างประกอบด้วยผงพุทธคุณ 108 และดินจากบริเวณที่หลวงปู่ปันนั่งกัมมัฏฐานและเดินจงกรม

พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2561 หลวงปู่ปันอธิษฐานจิตเดี่ยว

ติดต่อโทร.08-3095-1110, 06-2653-2899

หนังสือพิมพ์ข่าวสด



เหรียญหลวงปู่รัศมี รุ่น 1

ศูนย์ปฏิบัติธรรมป่าช้าสำนักสงฆ์หนองแดง บ.หนองบัวคำ หมู่ 8 ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม ปัจจุบัน สภาพยังคงรกร้าง เป็นพื้นที่ป่าช้าบนเนื้อที่ 28 ไร่ ที่ผู้นำชุมชนและชาวบ้านร่วมกันชี้แนวเขตอนุญาตให้ "หลวงปู่รัศมี ธัมมจาโร" พร้อมลูกศิษย์ จัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์

ด้วยลูกศิษย์ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาหลวงปู่รัศมี ในวัย 91 ปี พรรษา 56 พระเถระสืบสายธรรมพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แม่ทัพธรรมภาคอีสาน ต้องการบุกเบิกป่าช้าแห่งนี้ ให้เป็นที่สำนักปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนชาวพุทธต่อไป

จึงได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรุ่นแรก

เพื่อจัดหารายได้สมทบทุนนำไฟฟ้าเข้าสำนักสงฆ์ และจัดสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ภายในสำนักสงฆ์

ประกอบด้วยเนื้อเงินหน้าทองคำ 29 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า (แจกเฉพาะกรรมการ) 5 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาสีแดง 108 เหรียญ, เนื้อทองเหลืองสัตตะลงยาสีเขียว 149 เหรียญ, เนื้อทองเหลืองสัตตะลงยาสีน้ำเงิน 149 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า 499 เหรียญ และเนื้อทองแดงผิวรุ้ง 1,999 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน กลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ด้านล่างสุดมีตัวหนังสือนูนสลักคำว่า หลวงปู่รัศมี ธมฺมจาโร

ด้านหลังเหรียญ เส้นรอบขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ใต้หูเชื่อมมีตัวหนังสือสลักคำว่า ที่ระลึกอายุครบ ๙๑ ปี กลางเหรียญมีอักขระยันต์ที่หลวงปู่เขียนให้เอง เป็นยันต์คล้ายยันต์ยอดมงกุฎของหลวงพ่อเดิม ด้านซ้ายของยันต์ตอกโค้ดตัว "ม" มีเปลวรัศมี ซึ่งตัว ม หมายถึงชื่อหลวงปู่ แผ่รัศมีคล้ายดวงอาทิตย์ ส่วนตัวเลขไทย ๓๕๘ เป็นนัมเบอร์ของเหรียญ ใต้ยันต์มีตัวหนังสือคำว่า รุ่นแรก บรรทัดท้ายสุดสลักคำว่า สำนักสงฆ์หนองแดง อ.ปลาปาก จ.นครพนม ๒๕๖๑

เหรียญแต่ละชนิดเนื้อ จะตอกโค้ดไม่เหมือนกัน บางชนิดตอกที่บริเวณข้างตัวหนังสือด้านขวาคำว่า รุ่นแรก

เหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่รัศมี นั่งภาวนาจิตปลุกเสกเดี่ยวภายในศาลาโรงฉัน เมื่อเวลา 09.09 น. วันที่ 18 มิ.ย.2561

หลังเปิดให้สั่งจองในช่วงแค่ 1-2 สัปดาห์ ปรากฏว่าได้รับความนิยมสูง

เป็นเหรียญใหม่อีกรุ่น ที่น่าจับตามอง

หนังสือพิมพ์ข่าวสด


     เหรียญพระพุทธโสธรรุ่นแรก 2460

ได้กล่าวถึงพระพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศไทย หนึ่งในตำนาน "พระพุทธรูปลอยน้ำ" อันลือเลื่องไปแล้ว ฉบับนี้มาดูเรื่อง "วัตถุมงคลพระพุทธโสธร" ที่มีการจัดสร้างกันมาแต่อดีตสืบจนปัจจุบันมากมายหลายประเภท ทั้งพระบูชา พระเครื่อง เหรียญ แหวน ฯลฯ

แต่ที่ยกให้เป็น "สุดยอด" ก็ต้อง "เหรียญอาร์มรุ่นแรก ปี 2460" ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "ชุดเบญจภาคีเหรียญพระพุทธ" และประการสำคัญที่สุดคือ เป็นเหรียญพระพุทธที่ "แพง" ที่สุดในประเทศ และหาของแท้ยากเอามากๆ ครับผม

ในปีพ.ศ.2460 สมัยที่พระอาจารย์หลินดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดโสธรฯ ท่านได้ดำริจัดสร้าง เพื่อมอบแก่พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์ ในการ "ซ่อมแซมฐานชุกชีขององค์หลวงพ่อโสธร" โดยมี ขุนศิรินิพัฒน์ มัคนายกวัด เป็นผู้ดำเนินงาน โดยสร้างเป็น 2 แบบ คือ เหรียญรูปอาร์ม และเหรียญรูปเสมา โดย "เหรียญรูปเสมา" สำหรับแจกเฉพาะกรรมการเท่านั้น

มากล่าวถึง "เหรียญอาร์มพระพุทธโสธร ปี 2460" มีการจัดสร้างเป็น 4 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อสำริด และเนื้อทองแดง แต่ในอดีตจะนิยมเล่นหากันเฉพาะเนื้อเงิน เนื้อสำริด เนื้อทองแดง เพิ่งจะมานิยมและยอมรับ "เนื้อทองคำ" กันเมื่อไม่นานมานี้

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์ม หูในตัว ขอบข้างเลื่อย ความกว้างประมาณ 2.3 ซ.ม. และสูง 3 ซ.ม. ด้านหน้า ยกขอบสูง ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธโสธรประทับนั่งเหนืออาสนะ ระบุปีที่สร้างคือ "พ.ศ.๒๔๖๐" ด้านล่างอาสนะเป็นลายกนกหน้าสิงห์ ด้านข้างทั้ง 2 มีอักษรไทยว่า "พระพุทธโสทร เมืองฉเชิงเทรา" โดยมีตัว "อุ" ปิดหัว-ท้าย ด้านหลัง บนสุดเป็นตัว "อุ"

ต่อมาเป็นอักขระขอม 4 บรรทัด อ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง" แต่เนื่องจากมีการจัดสร้างเป็นจำนวนมาก เหรียญนี้จึงมีหลายแม่พิมพ์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดย "แม่พิมพ์ด้านหน้า" แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์สระอุติดชัด, พิมพ์สระอุติดไม่ชัด และพิมพ์สระอุติดไม่ชัด มีเส้นแตก หรือเรียกกันว่า "พิมพ์แตก" ส่วน "แม่พิมพ์ด้านหลัง" มี 4 พิมพ์

สังเกตที่อักขระขอมบรรทัดสุดท้ายที่อ่านว่า "สุขัง พะลัง" คือ "พิมพ์ยันต์ใหญ่" ตัว "ขัง" มีลักษณะกลมมน หางไม่ชิด "พิมพ์ยันต์กลาง" ตัว "ขัง" มีลักษณะแกะปลายหางชิดติดกันเป็นเส้นตรง "พิมพ์ยันต์เล็ก" ตัว "ขัง" มีลักษณะแกะปลายหางติดกัน แต่ไม่เชื่อมต่อกับช่วงตัว และ "พิมพ์ยันต์เล็กบล็อกแตก" จะเป็นพิมพ์ยันต์เล็ก ที่ตรงท้ายอักขระขอมบรรทัดสุดท้ายจะมีรอยขี้กลาก

ผู้ชำนาญการรุ่นเก่าได้ให้ข้อชี้แนะในการพิจารณา สำหรับ "เนื้อเงิน เนื้อสำริด และเนื้อทองแดง" ไว้ว่า ให้ดูที่ "สระอุ" ใต้คำว่า "พระพุทธ" คือ "พิมพ์สระอุติดชัด" จะเจอในเนื้อเงินและสำริด ส่วน "พิมพ์สระอุติดไม่ชัด" เจอในเนื้อทองแดง แต่อาจจะมีพิมพ์สระอุติดชัดในเนื้อทองแดงบ้าง แต่ก็น้อยมาก

นอกจากนี้ยังมีเอกลักษณ์แม่พิมพ์ต่างๆ ในการพิจารณา ดังนี้

เอกลักษณ์แม่พิมพ์ ของพิมพ์สระอุติดชัด

- เส้นขอบด้านหน้าเหนือคำว่า "โส" เส้นนอกจะยกเป็นขดลวดเหมือนขอบกระด้ง มีรอยเส้นตีคู่เป็น "เส้นใน" ลักษณะเป็นเม็ดไข่ปลาเล็กๆ เรียงกัน
- พระกรรณยาวและปลายไม่แตกเป็นปากตะขาบ
- ตัว "พ" หางจะสั้น
- ปรากฏเส้นพระศอโค้งงอ 2 เส้น
- ที่ตัวเลขพ.ศ. ปลายหางเลข ๔ กับเลข ๖ จะจรดกัน
- ตัวอักขระด้านหลังจะเล็กกว่า

เอกลักษณ์แม่พิมพ์ ของพิมพ์สระอุติดไม่ชัด

- เส้นขอบด้านหน้าเหนือคำว่า "โส" รอยเส้นตีคู่ที่เป็น "เส้นใน" ลักษณะเป็นเส้น
- พระกรรณจะสั้นกว่า และปลายแตกเป็นปากตะขาบทั้งสองข้าง
- ตัว "พ" หางจะยาวกว่า ส่วนสระอุจะติดเลือนๆ
- ไม่ปรากฏเส้นพระศอ
- ที่ตัวเลขพ.ศ. ปลายหางเลข ๔ จะยาวกว่าเลข ๖

อย่างไรก็ดี ตามที่บอกไปแล้วว่า "เป็นเหรียญพระพุทธที่ "แพง" ที่สุดในประเทศ และหาของแท้ยากเอามากๆ" ดังนั้น ท่านผู้สนใจใฝ่แสวงหาไว้แนบกายควรปรึกษากูรูผู้เชี่ยวชาญและไว้ใจได้จริงๆ ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



      เหรียญหลวงพ่อวัดเขาตะเครา

หลวงพ่อวัดเขาตะเครา หรือหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี อีก 1 ใน "ตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะมาแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน และขึ้นชื่อลือชามากคือ "เรื่องการบนบานศาลกล่าว" แล้วมักประสบความสำเร็จ ก็มีการจัดสร้างวัตถุมงคลที่มากมายหลายประเภทเช่นกัน เริ่มตั้งแต่ลูกอมทองไหล เหรียญหล่อรุ่นแรกปี 2465 ฯลฯ โดยเฉพาะ "เหรียญปั๊มรูปเหมือนปี 2468" เหรียญปั๊มรุ่นแรกที่มีค่านิยมสูงสุด อาจสืบเนื่องจากความคมชัดและประณีตของเหรียญที่สร้างจากการปั๊ม แต่ที่นับว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกจริงๆ นั้น จะเป็นเหรียญรุ่นที่สร้างในปี พ.ศ.2465 ซึ่งเป็น "เหรียญหล่อโบราณ" และด้วยรูปทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วงการพระจึงมักเรียกกันว่า "สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์"

เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ ที่นับเป็นเหรียญรุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2465 สมัยพระอธิการห้อย เป็นเจ้าอาวาส โดยสร้างเป็นเนื้อทองเหลืองเพียงเนื้อเดียว ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ หูเชื่อม ยกขอบทั้งหน้าและหลัง ด้านหน้าจำลององค์หลวงพ่อทอง ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะบัวสองชั้น มีพื้นฐานเขียงรองรับอีกชั้นหนึ่ง ด้านหลังมีอักขระขอม 3 บรรทัด อ่านว่า "อิ สวา สุ มิ โน เชย ยะ"

ปัจจุบันนับว่าหายากยิ่ง สนนราคาสูงเอาการ และทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างสูง ดังนั้น นอกจากการพิจารณาพิมพ์ทรงแล้ว ต้องใช้หลักการพิจารณา "เหรียญหล่อโบราณ" โดยหลักสังเกตใหญ่ๆ คือ การเข้าดินนวลซึ่งจะผสมขี้วัวหมัก โบราณเรียก "ดินขี้งูเหลือม" เมื่อเทมวลสารลงในหุ่นเทียนจะเกาะติดกับเนื้อองค์พระเห็นเป็นจ้ำๆ และให้สังเกตบริเวณหูเชื่อมที่จะต้องจับโค้งติดกับตัวเหรียญ มักจะปรากฏเนื้อปลิ้นระหว่างปลายตัวปลิง อีกประการหนึ่งคือรอยตะไบ เหรียญหล่อโบราณมักจะมีการใช้ตะไบในการตกแต่งเหรียญให้ได้รูป ซึ่งรอยตะไบจะไม่ไปในทิศทางเดียวกัน

มาถึงเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2468 ที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้น ไม่ได้ออกที่วัดเขาตะเครา แต่ออกที่ "วัดต้นสน" โดยสร้างในสมัยที่หลวงพ่อจีนเป็นเจ้าอาวาส เหรียญนี้มีความโดดเด่นอยู่ที่การจัดพิธีสมโภชอย่างยิ่งใหญ่ และมีการอัญเชิญ "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา" ไปตามวัดวาอารามต่างๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบสักการะอย่างใกล้ชิด

เท่าที่พบน่าจะสร้างเป็นเนื้อเงินและเนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมา หูในตัว พิมพ์ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อวัดเขาตะเคราประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย บนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย มีซุ้มเรือนแก้วครอบองค์พระ บนสุดจารึกอักษรไทยว่า "หลวงพ่อวัดเขา" ด้านล่างใต้บัลลังก์เป็นปีที่สร้าง "พ.ศ.๒๔๖๘" พิมพ์ด้านหลัง พื้นเรียบจารึกอักขระขอม 5 แถว อ่านว่า "อุ นะโม พุทธายะ อะสังวิสุ โลปุสะพุกะ"

ด้วยความเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูง จึงต้องพิจารณากันอย่างถ้วนถี่ โดยจุดสังเกตสำคัญคือ พิมพ์ด้านหน้าองค์พระจะแกะคมชัดมาก และด้านขวามือบริเวณซุ้มกนกจะปรากฏเส้นรอยพิมพ์แตกตรงตัว "ศ" ของคำ "พ.ศ." ปลายหางจะเชื่อมติดกับฐานบัว ส่วนพิมพ์ด้านหลังพื้นจะเรียบมาก ขอบข้างก็สม่ำเสมอ ไม่มีรอยขยักหรือรอยปลิ้น

อย่างไรก็ตาม วัตถุมงคลทุกรุ่นทุกประเภทของหลวงพ่อวัดเขาตะเครา ที่มีการจัดสร้างกันสืบมาถึงปัจจุบัน ยังคงได้รับความนิยมสะสม ด้วยพุทธคุณปรากฏในทุกรุ่นทุกแบบ

ดังที่ "ท่านสุนทรภู่" มหากวีเอก ได้ประพันธ์ไว้ใน "นิราศเมืองเพชร" ราวปี พ.ศ.2374 ว่า "ไปครู่หนึ่งถึงเขาตะเคราสวาท มีอาวาสวัดวามหาเถร มะพร้าวรอบขอบเขตที่บริเวณ พอจวนเพลพักร้อนผ่อนสำราญ กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้ ขึ้นไปไหว้พระสัมฤทธิ์พิษฐาน เขานับถือลือมาแต่บุราณ ใครบนบานพระก็รับช่วยดับร้อน" ครับผม 

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



     พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พิมพ์สังฆาฏิยาว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน เป็นพระหล่อรูปจำลองพระพุทธชินราช มีพิธีการสร้างและพุทธาภิเษกที่ใหญ่มาก ในการสร้างครั้งนี้มีอยู่หลายพิมพ์ปัจจุบันเริ่มหายากครับ

พระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีนนี้ เริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้างโดยพลเรือตรีหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีนในราวปีพ.ศ.2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงคราม และให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชา

ต่อมาในปี พ.ศ.2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้ จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธชิน รุ่นอินโดจีนขึ้น ในตอนแรกมีกำหนดการให้ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก แต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททองให้มาทำพิธีที่วัดสุทัศน์ แทน เนื่องจากในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลก ไม่สะดวกในการเดินทางและทำพิธี จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่มายังวัดสุทัศน์แทน

กำหนดการทำพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยมีสมเด็จพระสังฆราช แพ ทรงเป็นประธาน และท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินงาน ทำพิธี ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศน์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย และได้มอบหมายให้ช่างอีกหลายโรงงานรับช่วงไปดำเนินงานต่อจนเสร็จ ชนวนมวลสารที่ใช้หล่อนั้นประกอบด้วย ชนวนโลหะของวัดสุทัศน์ แผ่นจารจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศ รวมทั้งโลหะทองเหลืองที่ประชาชนนำมาบริจาคให้

หลังจากนั้นเมื่อหล่อพระเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำพระทั้งหมดมามอบให้กับทางพุทธสมาคมฯ เพื่อตอกโค้ดเป็นรูปธรรมจักรและรูปอกเลาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก พระส่วนใหญ่ได้ทำการตอกโค้ด แต่ก็มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด เนื่องจากโค้ดชำรุดเสียก่อน จากนั้นได้นำพระทั้งหมดเข้าทำพิธีมหาพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์

พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินราช อินโดจีน เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่มาก เนื่องจากในครั้งนี้มีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาเข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่งจำนวนถึง 108 รูป พระคณาจารย์ที่เข้าร่วมในพิธีจะขอยกตัวอย่างเพียงคร่าวๆ คือ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทัศน์ หลวงปู่นาค วัดอรุณฯ กทม. หลวงพ่อนวม วัดอนงค์ กทม. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ กทม. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทร์ กทม. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร กทม. หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กทม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) วัดบรมฯ กทม.

หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ หลวงพ่อภักตร์ วัดบึงทองหลาง กทม. หลวงพ่อเหมือน วัดโรงหีบ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว หลวงพ่อ ทองสุข วัดโตนดหลวง หลวงปู่จันทน์ วัดบ้านยาง หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อพิธ วัดระฆัง หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก เป็นต้น

หลังจากเสร็จพิธีแล้วจึงนำออกมาแจกจ่ายให้แก่ทหารหาญที่ไปราชการสงคราม และประชาชนที่ได้สั่งจองไว้ พร้อมทั้งนำเอาไปถวายไว้ที่วัดพระศรีมหาธาตุ พิษณุโลก อีกจำนวนหนึ่ง ในส่วนที่แจกจ่ายไปนี้เป็นพระที่ตอกโค้ดแล้วทั้งสิ้น พระส่วนที่เหลือทั้งที่ตอกโค้ดและไม่ได้ตอกโค้ดทาง พุทธสมาคมได้เก็บรักษาไว้ จนในปีพ.ศ.2516 จึงเปิดให้ประชาชนมีโอกาสได้เช่าบูชาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้มีทั้งพระที่ตอกโค้ดและพระที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด

พระพุทธชินราชอินโดจีนสามารถแบ่งออกมาเป็นหมวดพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ 3 หมวดพิมพ์ คือ พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น และพิมพ์ต้อ แต่ละหมวดพิมพ์นั้นก็ยังแยกออกได้อีกหลายแม่พิมพ์ครับ

วันนี้ขอนำรูปพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน พิมพ์สังฆาฏิยาว (นิยม) มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #92 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2561 15:46:05 »

     เหรียญบูชาครูหลวงปู่สรวง

"หลวงปู่สำราญ จันทวโร" หรือ "หลวงปู่น้อย" เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองขี ต.นาข่า อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ปัจจุบันอายุ 55 ปี พรรษา 27

เกิดเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2506 ที่ จ.สุรินทร์ แต่ครอบครัวย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ตั้งแต่สมัยท่านเป็นเด็ก ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2543 ที่วัดสระจันทร์ ต.นาข่า อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองขี หลวงปู่สำราญ เริ่มพัฒนาวัดมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี ซึ่งที่ผ่านมา ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญ ศาลาปฏิบัติธรรม และในขณะนี้กำลังเริ่มก่อสร้างอุโบสถ หรือคนทางภาคอีสาน เรียกว่า "สิม" เดิมของเก่าเป็นโบสถ์เป็นเรือนไม้ ซึ่งกาลเวลาผ่านมายาว นาน ทำให้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ชาวบ้านและกรรมการวัด จึงเห็นสมควรให้ก่อสร้างขึ้นใหม่แทนของเดิม

เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2561 ได้ประกอบพิธีลงเสาเอก เสาโท อุโบสถวัดบ้านหนองขี โดยมีชาวบ้านบ้านและพุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวต่างเดินมาร่วมพิธีกันอย่างเนืองแน่น

ในวาระอันเป็นมงคลฤกษ์ หลวงปู่สำราญจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญบูชาครูหลวงปู่สรวง และพระขุนแผน รุ่นบูชาครู โดยได้รับเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ อาทิ หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม, หลวงปู่อุดมทรัพย์ สิริคุตโต วัดเวฬุวัน, หลวงปู่วัน จันทวโส วัดโนนไทยเจริญ จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่อุดมโชค วัดโพธิ์พระองค์ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่บุญหลาย จ.ศรีสะเกษ, หลวงพ่อประโยค สำนักสงฆ์หนองโพธิ์น้อย จ.สุรินทร์ และหลวงปู่น้อย วัดบ้านหนองขี จ.มหาสารคาม

โดยมีหลวงปู่วัน จันทวโส วัดโนนไทยเจริญ เป็นประธานจุดเทียนชัยพิธีพุทธาภิเษก และหลวงปู่สำราญ (หลวงปู่น้อย) เป็นประธานพิธีดับเทียนชัย

เหรียญบูชาครู หลวงปู่สรวง และพระขุนแผน รุ่นบูชาครู จัดสร้างขึ้นเพื่อมอบให้ผู้ที่ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์วัดบ้านหนองขี ประกอบด้วย เหรียญเนื้อทองคำ เนื้อเงิน, เนื้อหน้ากากทองคำ, เนื้อเงินลงยาสีแดง, น้ำเงิน, สีเขียว เนื้อนวะ, นวะหน้ากากเงิน, เนื้อชนวนหน้ากากเงิน, เนื้อสามกษัตริย์ เนื้อสัตตะ และเนื้อทองแดง

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงปู่สรวง วัดไพรพัฒนา ครึ่งองค์ ห่มเฉียง

ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์ว่าวจุฬาหลวงปู่สรวง ใต้ยันต์ เป็นเลขไทย "๒๕๖๑" ขอบเหรียญด้านบน เขียนคำว่า "งานมหามงคลบูชาพระคุณครู หลวงปู่สรวง" ขอบเหรียญด้านล่าง เขียนคำว่า "พระอธิการสำราญ จันทวโร (หลวงปู่น้อย) วัดบ้านหนองขี จ.มหาสารคาม"

เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


   พระกริ่ง วัดตรีทศเทพ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดตรีทศเทพวรวิหาร กทม. มีพระกริ่งสำคัญที่มีชื่อว่า "พระกริ่งพระประธาน" หรือที่นักนิยมพระเครื่องมักเรียกว่า "พระกริ่งวัดตรีฯ" พระกริ่งรุ่นนี้มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระกริ่ง 7 รอบของวัดบวรฯ ความเป็นมาเป็นอย่างไรเรามาศึกษากันดีกว่านะครับ

วัดตรีทศเทพวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์-ต้นราชสกุลสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างขึ้นใกล้วังของพระองค์ หลังจากทรงกำหนดและเริ่มงานเพียงเล็กน้อยก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน ในปี พ.ศ.2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ (พระองค์เจ้านพวงศ์-ต้นราชสกุลนพวงศ์ ณ อยุธยา) พระราชโอรสดำเนินการก่อสร้างต่อ แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ก็มาสิ้นพระชนม์อีกพระองค์หนึ่ง ในปี พ.ศ.2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองก่อสร้างจนแล้วเสร็จ

ทรงสร้างพระพุทธปฏิมาประธานถวายในพระอุโบสถ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร 2 องค์ เพื่ออุทิศฉลองพระองค์กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรและกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศพระราชโอรส ประดิษฐานไว้สองข้างพระพุทธปฏิมาประธาน พระราชทานวิสุงคามสีมา สถาปนาเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานนามว่า "วัดตรีทศเทพวรวิหาร" หมายถึงวัดที่เทพ 3 องค์สร้างขึ้น

ต่อมาในปี พ.ศ.2491 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) จึงโปรดให้จัดสร้างพระกริ่งพระประธานสำหรับผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพ โดยทำพิธีหล่อที่บริเวณพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2491 เป็นวาระแรก พระกริ่งที่หล่อเป็นแบบพระประธานในโบสถ์ปางมารวิชัย มีครอบน้ำมนต์ที่พระหัตถ์ซ้าย จึงเรียกว่า "พระกริ่งพระประธาน" ฐานมีบัวด้านหน้า 9 กลีบ ด้านหลังมีบัว 2 กลีบ เทหล่อแบบเทตัน แล้วเจาะรูใต้ฐาน ขนาดประมาณเท่าแท่งดินสอ บรรจุเม็ดกริ่งอุดด้วยทองชนวนเนื้อเดียวกัน แล้วแต่งตะไบจนแทบมองไม่เห็นรูบรรจุเม็ดกริ่ง วรรณะออกเหลืองอมขาวเล็กน้อย

พัทธสีมาวัดตรีทศเทพฯ ได้ประกอบพิธีผูกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2492 ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระสังฆราชพระกริ่งรุ่นนี้โปรดให้ประกอบพิธีสวดมนต์บริกรรมที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2492 พระกริ่งพระประธานนี้ ผู้นิยมพระเครื่องมักจะเรียกกันว่า "พระกริ่งวัดตรีฯ" พระกริ่งรุ่นนี้จะมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระกริ่ง 7 รอบ ปี พ.ศ.2499 ของวัดบวรฯ แตกต่างกันที่พระหัตถ์ของพระกริ่ง 7 รอบจะไม่มีครอบน้ำมนต์ และที่บัวด้านหลังของพระกริ่ง 7 รอบจะมีตัวเลข ๗ ปรากฏอยู่

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งพระประธาน หรือพระกริ่ง วัดตรีฯ มาให้ชมครับ


แทน  ท่าพระจันทร์


    หลวงปู่ทวดไขปริศนามหาสมบัติ

เคยได้กล่าวกันไปแล้วเกี่ยวกับ "หลวงปู่ทวดไขปริศนามหาสมบัติ" วัตถุมงคลที่รังสรรค์รูปแบบออกมาได้อย่างงดงาม สื่อสารถึงความอัจฉริยะของ "เจ้าสามีราม" หรือ "หลวงปู่ทวด" ที่สามารถปกป้องบ้านเมืองจากอุบายอันแยบยลของอารยประเทศ ในสมัยนั้น บัดนี้ผู้ที่สั่งจองใกล้สมปรารถนากันแล้วครับ

รังสรรค์ให้เกิดเป็นงานพุทธศิลป์ โดยมอบหมายให้ "นเรศ มือทอง" เป็นผู้ออกแบบ และ "แพรนด้า จิวเวลรี่" สร้างสรรค์งานผลิตอย่างวิจิตรบรรจงในรูปแบบเหรียญหล่อ นาม "หลวงปู่ทวด ไขปริศนามหาสมบัติ" เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างสถานปฏิบัติธรรมวัดขุนอินทประมูล

ลักษณะเป็นเหรียญทรง "เต่าเรือน" อันถือเป็นสิริมงคลทั้งค้าขายและสุขภาพ ด้านหน้า บนสุดมีองค์พระพุทธประทับนั่งบนฐานกลีบบัว ถัดมาเป็นองค์พระธรรม อักขระเลขยันต์ 8 ตัว "นะ โม พุท ธา ยะ มะ อะ อุ" ตรงกลางเป็นองค์พระสงฆ์ "หลวงปู่ทวด" ถัดลงมาเป็นองค์พระพิฆเนศ ปางกามเทพ ขอบเหรียญเป็นลำตัวของนาค 2 ตน ประหนึ่งคอยปกป้องพระรัตนตรัย อีกทั้งช้างและนาคนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดโดยตรง ส่วนด้านหลัง บนสุดเป็นอุณาโลม และตัว "นะ" ถัดมาเป็นพระคาถาหลวงปู่ทวด "นะโม โพธิสัตว์โต อาคันติ มายะ อิติภะคะวา" ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนบรรทุกทรัพย์สินเงินทอง แล่นน้ำหันหัวเรือเข้า ตามความเชื่อของชาวจีนว่า จะนำความร่ำรวยมาสู่ ทั้งยังสื่อถึงเมื่อครั้งหลวงปู่ทวดไขปริศนาพระธรรมสำเร็จ ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้มหาสมบัติจากเรือสำเภาทั้งเจ็ดลำ

พิธีมหาพุทธาภิเษก จัดขึ้น 3 วาระ วาระที่ 1 บวงสรวงขอพรหลวงปู่ทวด และวาระที่ 2 ปลุกเสกชนวนมวลสาร แล้วเสร็จสมบูรณ์ ส่วนวาระที่ 3 จะจัดในวันที่ 25 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ ณ พระอุโบสถ วัดขุนอินทประมูล โดยได้มีฎีกานิมนต์พระเถระผู้ทรงคุณเข้าร่วมในพิธี อาทิ หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก พระอาจารย์แดง วัดป้อมรามัญ จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อวราห์ วัดโพธิ์ทอง กรุงเทพฯ หลวงพ่อสุวรรณ วัดยาง จ.อ่างทอง และพระครูวิเศษชัยวัฒน์ วัดชัยมงคล จ.อ่างทอง เป็นต้น

ด้วยเจตนาการจัดสร้าง ความพิถีพิถันในการออกแบบ การผลิต และพิธีกรรม จึงมีผู้ร่วมบุญและเตรียมสะสมยอดวัตถุมงคลที่จะสร้างคุณค่าในอนาคตกันมากมายทั้ง 9 เนื้อ ผู้สนใจที่ยังไม่ได้สั่งจองคงต้องรีบกันหน่อย เพราะทุกรายการสร้างจำนวนจำกัดและตามการสั่งจองเท่านั้น


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



    เหรียญหล่อเนื้อทองเหลืองหน้าเสือ และเหรียญหล่อคอน้ำเต้า หลวงพ่อน้อย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูภาวนากิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย) วัดธรรมศาลา ซึ่งคนส่วนใหญ่จะรู้จักเหรียญหล่อเนื้อทองเหลืองหน้าเสือ และเหรียญหล่อคอน้ำเต้าของท่านเป็นอย่างดี วัตถุมงคลของหลวงพ่อน้อยเป็นที่นิยมทุกรุ่น และหายากมีประสบการณ์สูงครับ

หลวงพ่อน้อยเกิดที่บ้านหนองอ้อ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2426 โยมบิดาชื่อ แสง โยมมารดาชื่อ อ่อน เมื่อวัยเด็กโยมบิดามารดาก็นำไปฝากเรียนหนังสือไทยกับพระครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา และต่อมาเมื่ออายุได้ 15 ปี โยมบิดาก็ได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการชา เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือก เพื่อศึกษาต่อ จากนั้นจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และไปมากับวัดธรรมศาลาเป็นประจำ ต่อมาเมื่อบิดามารดาถึงวัยชรา หลวงพ่อน้อยจึงได้ลาสิกขามาอยู่ช่วยเหลือบิดามารดาประกอบอาชีพ ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม

เมื่อหลวงพ่อน้อยอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2446 โดยมีพระอธิการทอง วัดละมุด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปริมานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์แสง วัดใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "อินฺทสโร" นับจากหลวงพ่อน้อยอุปสมบทแล้วท่านก็ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัดและสนใจทางด้านวิปัสสนาธุระ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิทยาคมจากอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ พระอธิการทอง วัดละมุด พระครูปริมานุรักษ์ พระครูทักษินานุกิจ แจ้ง พระสมุห์แสง โดยอาศัยที่หลวงพ่อน้อยมีความรู้เรื่องอักษรขอมมาแต่เดิมและมีสมาธิที่แน่วแน่ จึงศึกษาพุทธาคมได้ด้วยความรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาใดก็สำเร็จไปทุกอย่าง

อุปนิสัยของหลวงพ่อน้อย ท่านเป็นพระที่สงบเสงี่ยมสำรวมอยู่เป็นนิจ มักน้อยสันโดษมีเมตตาต่อบุคคลและสัตว์ เป็นที่เคารพเลื่อมใสแก่คนทั่วไป หลวงพ่อได้สร้างอาคารโรงเรียนประชาบาลเมื่อปี พ.ศ.2495 สร้างพระอุโบสถเมื่อปี พ.ศ.2501 สร้างสะพานคอนกรีตและถนนในปี พ.ศ.2502 สร้างอาคารโรงเรียนหลังที่ 2 ในปี พ.ศ.2505 สร้างฌาปนสถานในปี พ.ศ.2510 สร้างกุฏิสงฆ์ในปี พ.ศ.2511 สร้างหอระฆังในปี พ.ศ.2512 เป็นต้น

ในงานพุทธาภิเษกต่างๆ หลวงพ่อน้อยได้รับนิมนต์ให้ร่วมปลุกเสกด้วยแทบทุกครั้ง หลวงพ่อน้อยมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่เคารพเลื่อมใสของบุคคลทั่วไป เหรียญหล่อรุ่นที่นิยมกันมากก็คือเหรียญหล่อหน้าเสือ ซึ่งเหรียญหล่อหน้าเสือก็มีสร้างกันต่อมาอีกหลายรุ่น แต่เหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรกจะนิยมมากที่สุด มีประสบการณ์มาก ปัจจุบันหายากมากครับ ในวันนี้ผมนำรูปเหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรกองค์สวยของคุณอ้วนนครปฐม มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



     เหรียญหลวงปู่ถนอม รุ่น 1

พระครูสิริโพธาภิวัฒน์ หรือ หลวงปู่ถนอม จันทรวโร รองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ และเจ้าอาวาสวัดขามเตี้ยใหญ่ บ้านขามเตี้ยใหญ่ หมู่ 12, 15 ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม อดีตพระเกจิชื่อดัง ศิษย์เอกหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน แห่งวัดพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เป็นพระสายป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตร ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง เป็นที่เคารพศรัทธา

พระสุปฏิปันโนที่ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 78 ปี พรรษา 58 อยู่อย่างเรียบง่าย พอเพียงสมถะ ถ่อมเนื้อถ่อมตน

ในปีพ.ศ.2561 คณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาจัดสร้างวัตถุมงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อไว้บูรณะอุโบสถที่เริ่มจะชำรุดทรุดโทรม และเสนาสนะภายในวัด เป็นเหรียญหลวงปู่ถนอม รุ่นแรก ในชื่อรุ่นลาภ ผล พูนทวี และเป็นเหรียญรุ่นเดียวที่จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม

ด้านหน้าเหรียญมีขอบเส้นสันนูน ใต้หูเชื่อมสลักอักขระยันต์ ปิดท้ายด้วยสัญลักษณ์อุณาโลม 2 ตัว ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ข้างใบหูด้านซ้ายของเหรียญตอกโค้ดดอกจัน ตรงจีวรมีอักขระยันต์ตัวอุ ด้านล่างสุดสลักคำว่า หลวงปู่ถนอม จันทรวโร

ด้านหลังเหรียญ ใต้หูเชื่อมสลักคำว่า ลาภ ผล พูน ทวี บรรทัดถัดลงมาตอกโค้ดเลข ๙ ไทย ซึ่งเป็นนัมเบอร์ของเหรียญ บรรทัดถัดลงมาสลักอักขระ 2 บรรทัด ถัดมาสลักคำว่า รุ่นแรก และ 2561 ส่วนบรรทัดสุดท้ายสลักคำว่า วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อตะกั่ว 9 เหรียญ เนื้อลงยาสีแดงหลังเรียบ 9 เหรียญ เนื้อเงินหน้าทองคำ 59 เหรียญ เนื้อทองแดงหน้าทองคำ 19 เหรียญ เนื้อเงิน 79 เหรียญ เนื้อทองทิพย์ลงยาสีแดง 99 เหรียญ เนื้อทองทิพย์ลงยาสีม่วง 99 เหรียญ เนื้อสตางค์ 99 เหรียญ และเนื้อทองแดงผิวรุ้ง 2,561 เหรียญ

เหรียญรุ่นดังกล่าวหลวงปู่ถนอมนั่งอธิษฐานปลุกเสกเดี่ยวข้ามคืนในอุโบสถ เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2561

แม้เป็นเหรียญใหม่ออกแบบได้สวยงามอีกทั้งเป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียว


เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


     พระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 (พระกริ่งหลักชัย) ของท่านเจ้าคุณศรีฯ วัดสุทัศน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งเก่าแบบหนึ่งที่ในสมัยก่อนมักเรียกกันว่า "พระกริ่งอุบาเก็ง" ส่วนมากก็จะหมายถึงพระกริ่งนอก ทำไมถึงเรียกกันว่า พระกริ่งอุบาเก็งก็ไม่ทราบได้ ผมเองก็ไม่ค่อยมีความรู้หรือสะสมพระกริ่งนัก แต่ก็สนใจในชื่อของพระที่เขาเรียกกัน พอเห็นพระกริ่งที่ว่าชื่อพระกริ่งอุบาเก็งก็นึกชอบในรูปร่างลักษณะขององค์พระ ดูสวยน่ารักดี ก็เลยติดตามศึกษาที่มาที่ไปของพระ

ในสมัยนั้นก็ขอความรู้จากผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่อง ท่านก็กรุณาบอกว่าเป็นพระกริ่งที่พบในประเทศกัมพูชาที่เขาพนมบาเก็ง ที่ในประเทศไทยก็พบบ้างเหมือนกัน ที่วัดเก่าๆ ในพระนครศรีอยุธยา และที่เมืองกาญจนบุรี เป็นต้น แต่ก็พบไม่มากนัก ตามประวัติที่เล่าบอกต่อกันมาว่า พระกริ่งแบบนี้พบที่โบราณสถานเขาพนมบาเก็งในกัมพูชาเป็นแห่งแรก และพบจำนวนพอสมควร จึงเรียกชื่อตามที่ขุดพบว่า "พระกริ่งอุบาเก็ง" ในสมัยนั้นผมเองก็ยังสงสัยต่อว่า พระกริ่งแบบนี้ทำไมจึงมีคำว่า "อุ" อยู่ด้วย คืออุบาเก็งทำไมไม่เป็นพระกริ่งบาเก็ง ก็งงๆ เหมือนกันว่า คำว่า "อุ" นั้นมาจากไหน แต่ปัจจุบันก็เรียกสั้นๆ ว่า "พระกริ่งบาเก็ง" ตามชื่อของเขาพนมบาเก็ง ความเป็นมาของพระกริ่งบาเก็งนอกนั้น ก็ว่ากันว่า คนจีนคงจะสร้างมาบรรจุไว้ที่เขาพนมบาเก็ง เนื่องจากศิลปะของพระกริ่งเป็นแบบศิลปะจีน ซึ่งแตกต่างจากศิลปะของขอมมาก ก็เป็นข้อสันนิษฐานที่ยึดถือกันมาตามนั้น

ในสมัยก่อนผมเองชอบพระกริ่งบาเก็งนอกมาก แต่ก็จนใจ เนื่องจากสนนราคานั้นสูงมาก และก็หายากมาก ไม่มีปัญญาเช่าหาแต่ก็เก็บความชอบไว้ในใจตลอดมา ระหว่างที่ศึกษาเรื่องราวของพระกริ่งบาเก็งนอก ก็ได้ทราบว่าพระกริ่งรูปแบบพระกริ่งบาเก็งนั้นท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ท่านก็ได้ถอดแบบสร้างไว้เช่นกัน ก็เริ่มเสาะหาสอบถามดู จึงรู้ว่าท่านเจ้าคุณศรีฯ สร้างไว้หลายรุ่น โดยการถอดพิมพ์จากพระกริ่งบาเก็งนอกมาสร้าง สังเกตรูปแบบองค์พระก็เหมือนกับพระกริ่งบาเก็งนอก สวยงามน่ารัก กรรมวิธีการสร้างก็พิถีพิถันมากตามแบบของพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ จึงเริ่มศึกษาและเสาะหา จึงทราบว่าพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้สร้างโดยมีส่วนผสมของเงินบัวยันต์ แล้วเงินบัวยันต์นั้นเป็นอย่างไร? ชักเริ่มสนุกในการค้นคว้าต่อ และทราบว่าเงินบัวยันต์ก็คือเงินกลมหรือเงินพดด้วงของเก่า ซึ่งเลือกเอาเฉพาะอันที่ตอกตราดอกบัว และตรายันต์เท่านั้น ต่อมาลูกศิษย์ของท่านจึงเล่ากันต่อมาว่า มีส่วนผสมเงินบัวยันต์

พระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 นั้น ท่านเจ้าคุณศรีฯ ตั้งชื่อว่า "พระกริ่งหลักชัย" สร้างเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2487 โดยท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้นิมนต์อาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นองค์ประธานด้วย ในการผสมเนื้อโลหะก็ใช้ชนวนโลหะพระกริ่งรุ่นเก่าๆ ของสมเด็จพระสังฆราชฯ มาผสมกับเงินบัวยันต์ จำนวนที่เทมีทั้งสิ้น 162 องค์ การบรรจุเม็ดกริ่งแบบกริ่งในตัว 2 รู วรรณะของเนื้อในแดงออกชมพูกลับเทาขึ้นประกายเงิน พระกริ่งรุ่นนี้ มีบางองค์ตอกโค้ดมีไส้ และโค้ดไม่มีไส้ ใต้ฐานลงเหล็กจารโดยท่านเจ้าคุณศรีฯ ส่วนบางองค์ก็มีที่ไม่ได้ตอกโค้ด

ในปีเดียวกันก็ยังมีพระกริ่งบาเก็ง ของท่านเจ้าคุณศรีฯ สร้างอีกครั้งเมื่อ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2487 สร้างจำนวน 202 องค์ พิมพ์เดียวกับพระกริ่งรุ่น 1 เนื้อหาก็คล้ายกับรุ่น 1 มาก เพราะใช้ทองชนวนที่เหลือจากการเทรุ่นแรกมาเท แต่มีการตกแต่งที่ใต้ฐานเพื่อให้แยกออกได้ง่ายขึ้น คือมีการปาดใต้ฐานเว้าเข้าไปที่ด้านหลังเล็กน้อย เป็นที่สังเกตในการแยกรุ่นได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นก็ยังมีการเทพระกริ่งบาเก็งโดยท่านเจ้าคุณศรีฯ อีกหลายรุ่นครับ

พระกริ่งบาเก็งของท่านเจ้าคุณศรีฯ โดยส่วนตัวผมชอบมาก ทั้งในด้านรูปร่างลักษณะของพระ ซึ่งมีขนาดกะทัดรัดน่ารัก กรรมวิธีการสร้างดี เนื้อหาโลหะเข้มข้น อีกทั้งศรัทธาในเจ้าประคุณสมเด็จฯ และท่านเจ้าคุณศรีฯ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงชอบมากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 (พระกริ่งหลักชัย) ของท่านเจ้าคุณศรีฯ วัดสุทัศน์มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



     พระขุนแผน วัดราษฎร์สามัคคี

วัดราษฎร์สามัคคี ตั้งอยู่ที่บ้านหนองแฮ หมู่ 5 ต.หนองเม็ก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เป็นวัดสังกัดมหานิกาย เป็นวัดที่เก่าแก่ตั้งวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 พร้อมกับชุมชนบ้านหนองแฮ

แต่เนื่องเพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชนบท สภาพที่ปรากฏจึงยังคงขาดแคลนในทุกๆด้าน อาทิ ถาวรวัตถุภายในวัดหลายอย่างก็ยัง ไม่มีไม่ว่าจะเป็นพระอุโบสถ กำแพงแก้ว ประตูโขง เป็นต้น ล้วนยังต้องรอเมตตาจิตจากสาธุชนผู้มีจิตอันเป็นกุศลเข้ามาร่วมกันพัฒนาวัดแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรือง

ปัจจุบันมีพระครูสุตศีลวุฒิ หรือพระมหาธรรมวุฒิกร อธิปัญโญ อายุ 33 ปี พรรษา 14 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

ถาวรวัตถุที่อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปก่อนสร้างไว้ คือ ศาลาการเปรียญ แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จท่านก็มรณภาพไปก่อน ครั้นเมื่อ พระครูสุตศีลวุฒิ มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ จึงมีโครงการเร่งด่วน คือ ก่อสร้างศาลาการเปรียญที่ยังค้างคาอยู่ให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 ด้วยมีความจำเป็นในการใช้ปฏิบัติศาสนกิจ การก่อสร้างต้องใช้ปัจจัยกว่า 2 ล้านบาท แต่วัดยังขาดแคลนปัจจัยที่จะดำเนินการ

เพื่อให้การก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังนี้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ วัดพร้อมญาติโยมจึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล "พระขุนแผนเนื้อผง รุ่นเศรษฐีรวยทันใจ" เพื่อให้ญาติโยมเช่าบูชาสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญหลังดังกล่าว โดยได้รับความอนุเคราะห์จากหลวงปู่ขำ เกสาโร วัดหนองแดง ที่ให้ความอุปถัมภ์วัดราษฎร์สามัคคีมาโดยตลอด

วัตถุมงคล พระขุนแผนเนื้อผงรุ่นเศรษฐีรวยทันใจ สร้างจากผงพุทธคุณ 108 ลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์ 5 เหลี่ยม ด้านหน้าเป็นรูปองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าปางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานดอกบัวอยู่ในซุ้ม ด้านหลังจะมีอักขระยันต์ มะอะอุ 2 แถว และด้านล่างมีอักขระอ่านว่า สุ นะ โม โล เป็นคาถาหัวใจขุนแผนพุทธคุณรอบเด่น

จำนวนการสร้างประกอบด้วยเนื้อมหาว่าน 108 ฝังตะกรุดทองคำและผสมผงงาช้าง สร้าง 38 องค์ บูชา 1,499 บาท เนื้อครูกดนำฤกษ์ สร้าง 38 องค์ บูชา 699 บาท และเนื้อครูกดในพิธี 56 องค์ บูชา 499 บาท

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล เมื่อวันเสาร์ที่ 22 ก.ย.2561 ภายในศาลาการเปรียญวัดวัดราษฎร์สามัคคี

พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีนั่งปรก ประกอบด้วย หลวงปู่ขำ เกสาโร, หลวงปู่ทองดำ ฐานะทัตโต วัดหนองโพธิ์ อ.นาเชือก, หลวงปู่บาล วัดหนองโจด จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่ภู วัดสระบัวแก้ว จ.ขอนแก่น, หลวงพ่อหนู สุวรรณโณ วัดอัมพวนาราม จ.ร้อยเอ็ด, ครูบาโฮม วัดป่าโนนตะคร้อ จ.บุรีรัมย์

จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคต เนื่องจากหลวงปู่ขำ พระเกจิชื่อดัง ร่วมพิธีนั่งปรก


เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


     พระลีลา วัดถ้ำหีบ สุโขทัย เนื้อดินเผา  

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อดินเผาของจังหวัดสุโขทัยกรุหนึ่งที่แสดงรูปแบบศิลปะสุโขทัยได้อย่างสวยงามมากคือพระลีลา กรุวัดถ้ำหีบ ที่เป็นศิลปะสกุลช่างสุโขทัย บริสุทธิ์งดงาม ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากครับ

วัดถ้ำหีบเป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตั้งอยู่บนเนินเขาในบริเวณเมืองเก่า สถาปัตยกรรมของวัดชำรุดทรุดโทรมจนแทบไม่มีอะไรเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน แต่พระเครื่องที่มีผู้เข้าไปแอบขุดพบในสมัยก่อนนั้นมีศิลปะที่สวยงามมาก และก็เรียกกันตามชื่อวัดว่า “พระลีลาวัดถ้ำหีบ” พระที่พบมีทั้งที่เป็นเนื้อดินเผาและเนื้อชินเงิน แต่พระเนื้อดินเผาจะมีจำนวนมากกว่า พิมพ์ของพระจะมีพิมพ์หนึ่งที่มีเม็ดไข่ปลา อยู่รอบๆ องค์พระ จะเรียกว่า “พระลีลาข้างเม็ด วัดถ้ำหีบ” สำหรับพระพิมพ์นี้ จะหายากสักหน่อย พบเห็นน้อยมาก

พระลีลา วัดถ้ำหีบ จะเป็นพระที่มีขนาดค่อนข้างเขื่อง แต่องค์พระนั้นมีศิลปะที่งดงามมาก แสดงศิลปะสกุลช่างสุโขทัยบริสุทธิ์ได้อย่างงดงาม พระพักตร์หรือรายละเอียดขององค์พระนั้นจะชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเม็ดพระศก หน้าตาคิ้วคางปากจมูก นิ้วมือ เส้นสายลายจีวร แสดงเป็นเส้นละเอียดชัดเจน พระลีลา วัดถ้ำหีบ ที่พบนี้ส่วนใหญ่จะมีผิวพระที่สมบูรณ์ เข้าใจว่ากรุพระอยู่ในที่สูงจึงไม่ถูกน้ำหรือความชื้นเข้าไปในตัวกรุนัก องค์พระที่พบจึงสมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ ผิวของพระเนื้อดินจะมีฝ้านวลกรุจับอยู่บางๆ แสดงถึงอายุความเก่า เรื่องของฝ้านวลกรุของพระเครื่องเนื้อดิน ที่เป็นพระกรุเก่าๆ นั้นมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการแสดงถึงอายุของพระนั้นๆ ได้ ฝ้านวลกรุนั้นเกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวพระที่เป็นพระเนื้อดินที่ถูกสัมผัสกับอากาศและความชื้นตามกาลเวลา ถ้าพระที่ออกมาจากกรุและเก็บรักษาไว้อย่างดี เวลาส่องดูด้วยแว่นขยายจะเห็นผิวของพระคล้ายมีฝ้านวลจับอยู่บางๆ แต่ถ้าเอามือไปสัมผัสหรือขัดถูฝ้านวลกรุก็จะหายไปทันที และสีของผิวพระก็จะเข้มขึ้น ฝ้านวลกรุนี้เมื่อหายไปแล้วไม่สามารถทำให้กลับคืนมาได้ นักอนุรักษ์ในปัจจุบันจึงรักษา ผิวฝ้านวลกรุไว้เป็นอย่างดี และฝ้านวลกรุนี้ถ้าเป็นผู้ที่มีความชำนาญก็ยังสามารถแสดงถึงความเก๊แท้ได้ด้วย เนื่องจากของปลอม ทำเลียนแบบนั้นไม่สามารถทำเลียนแบบ ฝ้านวลกรุของแท้ได้ครับ

พระลีลา วัดถ้ำหีบ ที่พบนั้นบางองค์ก็พบแบบที่มีการปิดทองล่องชาดมาแต่ในกรุ แต่ก็พบน้อยมาก พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อเผา ที่พบเป็นเนื้อชินเงินก็มี แต่พบจำนวนน้อยกว่าพระเนื้อดินเผามาก ถึงแม้ว่าพระลีลา ถ้ำหีบ จะเป็นพระที่มีขนาดเขื่องสักหน่อย แต่ก็เป็นพระกรุ พระเก่าที่มีศิลปะสุโขทัยที่สวยงามมาก ปัจจุบันหาแท้ๆ ก็ยากเช่นกันครับ ของเลียนแบบมีมานานแล้ว แต่ก็ทำได้ไม่ใกล้เคียงนัก เนื่องด้วยพระของแท้นั้นมีรายละเอียดที่คมชัด ส่วนของปลอมจะถอดพิมพ์ออกมาได้ไม่ดีนัก รายละเอียดของพระจะไม่คมชัดได้เท่าพระแท้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลีลา วัดถ้ำหีบ สุโขทัย เนื้อดินเผา จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #93 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2561 15:49:05 »



เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตรรุ่นสองปี 2485  เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตรรุ่นแรก ปี 2460

เหรียญเด่นหลวงพ่อมงคลบพิตร

กล่าวถึงองค์พระพุทธปฏิมา "พระมงคลบพิตร" หรือ "หลวงพ่อมงคลบพิตร" ณ วิหารพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญ 1 ใน 8 องค์ ที่มีพระพุทธานุภาพเป็นหลักกรุงตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

"วัตถุมงคลหลวงพ่อมงคลบพิตร" ที่มีความโดดเด่นเป็นที่นิยมและแสวงหา แต่ก็หาได้ยากยิ่ง ณ ปัจจุบัน อันดับหนึ่งต้องยกให้ "เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรก" ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในชุด "เบญจภาคีเหรียญพระพุทธ"

เหรียญรุ่นแรกนี้จัดสร้างในราวปี พ.ศ.2460-2463 แต่โดยมากจะระบุไว้ที่ "ปี 2460" สร้างโดยพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนในการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระมงคลบพิตร ซ่อมพระเมาฬีและพระกรข้างขวาที่แตกหักตั้งแต่ครั้งเสียกรุง ครั้งที่ 2 พร้อมทั้งบูรณะพระวิหารที่ชำรุดทรุดโทรมขึ้นใหม่ ประการสำคัญคือ เชื่อกันว่าได้ประกอบพิธีปลุกเสกในพระวิหาร หน้าพระพักตร์หลวงพ่อพระมงคลบพิตร นอกจากนี้ยังมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังยุคนั้นเข้าร่วมอธิษฐานจิตมากมาย อาทิ พระญาณไตรโลก (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง, พระพุทธวิหารโสภณ (หลวงพ่ออ่ำ) วัดวงฆ้อง, หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม, พระอธิการชม วัดพุทไธศวรรย์, หลวงปู่ปั้น วัดพิกุลโสคัน และหลวงพ่อขันธ์ วัดนกกระจาบ เป็นต้น โดยจัดสร้างเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อเงินและเนื้อทองแดง แต่เนื้อเงินพบเห็นน้อยมาก

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม รูปไข่ใหญ่ หูเชื่อม พื้นเรียบ ยกขอบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้าเป็นรูปจำลองหลวงพ่อมงคลบพิตร ประทับบนพระแท่น จารึกอักษรโดยรอบว่า "พระปฏิมากร มงคลบพิตร ศรีอยุธยา" ด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์เฑาะว์

ที่ตามมาติดๆ นั่นก็คือ "เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร ปี 2485" นับเป็นเหรียญรุ่นที่สอง ซึ่งสร้างพร้อมแหวนยันต์มงคลและเข็มกลัดแจกกรรมการ เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนบูรณปฏิสังขรณ์ "วัดเสนาสนาราม" ที่ขณะนั้นทรุดโทรมมาก ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดเหรียญที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งพุทธคุณ จากความพิถีพิถันทั้งรูปแบบอันงดงาม การรวบรวมชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ และพิธีกรรมต่างๆ

โดย ฯพณฯ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้เป็นผู้อุปถัมภ์ พิธีการจัดสร้างถือว่ายิ่งใหญ่มากในยุคนั้น มีการรวบรวมแผ่นทองแผ่นทองแดงที่ให้พระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษร่วมจารอักขระปลุกเสกถึง 121 แผ่น โลหะเครื่องรางโบราณที่พบในบริเวณพระราชวังโบราณเมื่อคราวปรับปรุงเกาะเมืองฯ อีกมากมาย อาทิ "ชินสังขวานร" บนวิหารพระมงคลบพิตร วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดป่าพาย, ทองคำและเนื้อสำริดกะเทาะจากองค์พระมงคลบพิตร, พระชินขุนแผนจากวัดป่าพาย วัดสะพานเงินสะพานทอง, พระชินกำแพงพันจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ, พระปรุหนังวัดพระศรีสรรเพชญ์, ลูกอมทองแดง วัดพระราม, แผ่นทองกะเทาะจากองค์พระธาตุเชียงใหม่ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีทองชนวนจากพิธีสำคัญของพระอารามต่างๆ เช่น วัดอนงคาราม วัดหิรัญรูจี วัดราชบพิธ วัดกัลยาณมิตร วัดชนะสงคราม และวัดสุทัศน์ เป็นต้น รวมถึงพระเกจิคณาจารย์ผู้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกอธิษฐานจิตล้วนเป็นพระเถระผู้ทรงวิทยาคมแห่งยุคทั้งสิ้น

เหรียญรุ่นสองนี้สร้างเป็นเนื้อเงินและเนื้อทองแดง มีอยู่จำนวนหนึ่งเป็นเนื้อทองแดงพระเกศเป็นทองคำ จะเป็น "พระคะแนน" ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม ทรงห้าเหลี่ยม หูเชื่อม ด้านหน้าจำลององค์หลวงพ่อมงคลบพิตร ภายในซุ้มเรือนแก้ว มีอักษรขอมจารึกหัวใจพุทธคุณทั้งเก้า คือ "อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ" ด้านล่างแท่นจารึกนาม "พระมงคลบพิตร อยุธยา" ด้านหลังยกขอบ ตรงกลางเป็น "ยันต์พระเจ้า 16 พระองค์" ใต้ยันต์บอกวันเดือนปีที่สร้าง"๑๗ กุมภ์ ๒๔๘๕"

สำหรับ "แหวนยันต์มงคล" นั้น มีเนื้อเงิน เนื้อเงินกะไหล่ทองลงยา และเนื้อทองแดงรมดำ ตรงกลางเป็นรูปยันต์สี่เหลี่ยม ภายในมีอักษร ม. ภายใต้อุณาโลม 2 ข้าง ยันต์มีลายกนกประกอบ ซึ่งจำนวนการสร้างไม่มากนัก จึงหายากยิ่งครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



      พระสรรค์นั่งไหล่ยก เนื้อชินเงิน กรุวัดท้ายย่าน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุพระเก่าของจังหวัดชัยนาทที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากๆ จะพบเจอจากกรุต่างๆ ในอำเภอสรรคบุรี กรุที่มีคนรู้จักมากก็คือกรุวัดท้ายย่าน เมืองสรรค์มีวัดเก่าแก่อยู่มากมายและมีชื่อเสียงโด่งดังแทบทุกวัด ในสมัยก่อนก็จะเรียกรวมๆ ว่าพระเมืองสรรค์ พุทธคุณที่โดดเด่นก็ทางอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด

พระเครื่องเมืองสรรค์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นศิลปะแบบอยุธยาต้นๆ ที่รู้จักกันมากหน่อยและเรียกกันรวมๆ ว่า "พระสรรค์ยืน และพระสรรค์นั่ง" ซึ่งทั้ง 2 แบบก็จะแยกแม่พิมพ์ออกได้อีกหลายแม่พิมพ์ เช่น พระสรรค์ยืน พระสรรค์ยืนคางเครา พระสรรค์ยืนข้างเม็ด พระสรรค์นั่งไหล่ยก พระสรรค์นั่งไหล่ตรง พระสรรค์นั่งแขนอ่อนซุ้มไข่ปลา พระสรรค์นั่งซุ้มรัศมี กรุที่โด่งดัง ได้แก่ กรุวัดท้ายย่าน กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดส่องคบ เป็นต้น

พระเมืองสรรค์ส่วนใหญ่ที่พบมีทั้งพระเนื้อดินเผา มีทั้งที่เป็นเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ พระเนื้อชินเงินก็มี แต่ส่วนใหญ่จะนิยมพระเนื้อดินเผามากกว่า ในสมัยก่อนที่นิยมกันมากก็จะเป็นพระสรรค์ยืนคางเคราและสรรค์นั่งไหล่ยก ว่ากันว่าเหนียวนัก ชนิดแมลงวันไม่ได้กินเลือด คนชัยนาทจะหวงแหนกันมากครับ พระเมืองสรรค์ที่มีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คงก็เนื่องมาจากในสมัยโบราณ เมืองสรรค์เป็นเมืองหน้าด่าน และมักจะต้องปะทะต่อสู้กับศัตรูก่อนที่จะผ่านเข้าเมืองหลวง พระส่วนใหญ่จึงเด่นทางด้านการต่อสู้

พระเครื่องเมืองสรรค์คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงพระเครื่องเนื้อดินเผากันเป็นอันดับแรก แต่ที่จริงพระเมืองสรรค์ก็มีพระเนื้อชินเงินอยู่ไม่น้อยเช่นกัน และก็มีอยู่ทุกพิมพ์ พระสรรค์นั่งที่นิยมกันมากกว่าพิมพ์อื่นๆ ก็ต้องยกให้พระสรรค์นั่งไหล่ยก เนื้อดินเผา ซึ่งในสมัยก่อนนั้นอาจจะมีประสบการณ์มาก ส่วนพระสรรค์นั่งไหล่ยก เนื้อชินเงิน ก็มีแต่อาจจะมีจำนวนน้อยหน่อย ซึ่งมีการพบจำนวนน้อยกว่าเนื่องจากอาจจะชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่ตอนแตกกรุออกมาก็เป็นได้ พระสรรค์นั่งเนื้อชินส่วนใหญ่จะพบเป็นพิมพ์ไหล่ตรงมากกว่า พระสรรค์นั่งไหล่ยก จึงไม่ค่อยมีให้พบเห็นกันนัก

พระสรรค์นั่งไหล่ยกเนื้อชินเงิน องค์พระจะค่อนข้างบางกว่าพระสรรค์นั่งพิมพ์อื่นๆ จึงเป็นไปได้ว่าพระจะชำรุดเสียแต่ในกรุเป็นส่วนใหญ่ จึงพบจำนวนไม่มากนัก จนทำให้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ที่นำมาพูดถึงก็เผื่อท่านไปพบหรือมีอยู่แล้วก็จะได้ภูมิใจว่ามีพระเครื่องที่โด่งดังของเมืองสรรค์มาตั้งแต่ในอดีตครับ

ผมนำรูปพระสรรค์นั่งไหล่ยก เนื้อชินเงิน กรุวัดท้ายย่าน จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



      พระยอดอัฏฐารส เนื้อชินเขียว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัญหาพระเนื้อชินเขียวที่ว่าเป็นพระปลอมทั้งหมดเป็นความจริงหรือไม่? เรื่องพระเนื้อชินเขียวผมเองก็เคยได้ยินมาตั้งแต่เริ่มสนใจพระเครื่องใหม่ๆ คือประมาณ 50 ปีที่แล้ว ก็ได้ยินทั้งที่ว่าเป็นพระแท้และเป็นพระปลอม ฟังดูก็งงไปหมด ในปัจจุบันก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่เช่นเดิม

ผมเองก็ศึกษาดู เห็นว่าพระเนื้อชินเขียวที่มีการยอมรับก็มีอยู่หลายอย่าง และเนื้อหาของพระที่เขายอมรับนั้นคราบไขแสดงความเก่าได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น พระยอดอัฏฐารส พระร่วงทรงเกราะ เป็นต้น สนนราคาก็สูงด้วย แต่พระเนื้อชินเขียวบางอย่างก็ไม่เป็นที่ยอมรับและตีว่าเป็นพระปลอม ลองศึกษาดูก็พบว่าพระที่ว่าเป็นพระปลอมหรือว่าเป็นกรุพะเยานั้น เนื้อหาและคราบไขก็ไม่เก่าจริงๆ เสียด้วย และพระที่ว่าเป็นพระเนื้อชินเขียวปลอมก็มีมากพิมพ์ ล้อพิมพ์ของพระนิยมๆ หลายอย่างทีเดียว

พระชินเขียวที่ว่าเป็นของกรุพะเยาสืบค้นดูที่จังหวัดพะเยาเองก็ไม่มีใครยืนยันได้ว่าเป็นของกรุใด สืบทราบต่อมาก็มีข้อมูลว่าเมื่อห้าหกสิบปีก่อนมีกลุ่มที่ผลิตพระเนื้อชินเขียวปลอมที่หมู่บ้านเชตวัน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้ผลิตพระเนื้อชินเขียวปลอมกันเป็นจำนวนมาก นำพระมาหมักให้เกิดสนิมคราบไขแล้วนำออกขายไปทั่วประเทศโดยอ้างว่าเป็นพระที่พบในกรุจังหวัดพะเยา แต่ก็อาจจะมีผลิตจากแหล่งอื่นๆ อีกหลายแหล่ง แต่ที่แหล่งนี้เป็นแหล่งใหญ่ ลองคิดๆ ดูก็แปลก ทำไมจึงทำปลอมเป็นเนื้อนี้ แสดงว่าพระเนื้อชินเขียวของกรุเก่าๆ นั้นน่าจะมีของแท้จริงๆ และก็มีความนิยมจึงมีผู้คิดทำปลอม

มาดูที่ยอมรับว่าเป็นพระแท้ก็คือพระยอดอัฏฐารส มีหลักฐานชัดเจนว่าขุดพบที่ยอดพระเศียรของพระอัฏฐารส พิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.2420 พิมพ์ของพระเป็นพระปางลีลา มีสองหน้า ส่วนใหญ่ด้านหนึ่งจะเป็นพระพุทธรูปปางลีลา อีกด้านจะเป็นรูปซุ้มอรัญญิก พระกรุนี้เป็นเนื้อชินเขียวทั้งสิ้น พระเนื้อชินเขียวที่เป็นพระนิยมอีกอย่างก็คือ พระร่วงทรงเกราะ สุโขทัย ก็เป็นพระที่ได้รับการยอมรับและมีสนนราคาสูงเช่นกัน พระทั้ง 2 แบบนี้มีผู้นำไปใช้และมีประสบการณ์มากมายทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ดังนั้น จึงได้รับความนิยมและมีราคาสูง ลองพิจารณาคราบไขของพระเนื้อชินเขียวที่ได้รับการยอมรับก็จะเห็นการเกิดของสนิมที่ขึ้นสลับซับซ้อนเป็นมันใส พื้นด้านในมักจะมีคราบสีดำเป็นปื้น และมีคราบไขขาวทับอยู่อีกชั้นหนึ่ง โดยขึ้นซ้อนทับถมกันไปมา มองโดยรวมๆ เหมือนสบู่กรดในสมัยโบราณ และดูออกเป็นสีอมเขียว ประการนี้กระมังคนโบราณจึงเรียกกันว่า เนื้อชินเขียวตัวโลหะของพระชินเขียว สีออกจะดูเทาหม่นๆ คล้ายดีบุก ตามเมืองโบราณทั้งที่เมืองสุโขทัยและอยุธยาก็มีการขุดพบตะปูชนิดหนึ่ง ที่เรียกกันว่าตะปูสังฆวานร จะพบตามโบราณสถาน สันนิษฐานว่าเป็นตะปูโบราณที่ใช้ตอกยึดไม้ของสถาปัตยกรรม ในสมัยก่อนก็มีการนำมาใช้เป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง และยังมีการพบเงินพดด้วงหรือเงินกลมในสมัยสุโขทัยที่เป็นเนื้อชินเขียวอีกด้วย เนื้อหาและคราบไขก็จะเหมือนกับพระเครื่องเนื้อชินเขียวยอดนิยมที่มีการยอมรับเป็นสากลเช่นเดียวกัน นั่นก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเนื้อชินเขียวของเก่านั้น มีจริง

ในส่วนของพระเนื้อชินเขียวที่เป็นของปลอมล่ะ ก็มีอีกเช่นกัน และมากกว่าของจริงมากมาย ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของปลอมก็ย่อมจะมีมากกว่าของจริง แถมยังมีการทำการล้อพิมพ์ของพระเครื่องกรุเก่าๆ อีกมากมาย ถ้าเราคิดอย่างมีเหตุผลก็จะขอยกตัวอย่างพระสมเด็จพระวัดระฆังฯ ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ก็จะชัดดี ของปลอมนั้นมีมากมาย ทำกันต่อๆ มาหลายยุคหลายสมัย แถมยังมีพิมพ์แปลกๆ อีกมากมาย แน่นอนว่าของปลอมก็ย่อมจะมีมากกว่าของแท้ พระเนื้อชินเขียวก็เช่นกัน ของปลอมมีมามากมายกว่าของจริงมาก แถมพิมพ์แปลกๆ อีกก็เยอะ ในเมื่อมีพระแท้และมีคนนิยมก็ย่อมมีคนทำปลอม

สรุปว่าพระเนื้อชินเขียวที่เป็นพระแท้มีแน่นอน และที่เป็นพระปลอมก็มาก เวลาพิจารณาก็ต้องดูพิมพ์ เนื้อหา และคราบไขเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากจะแสดงถึงอายุความเก่าได้เป็นอย่างดี ของปลอมยังทำคราบไขให้เก่าแบบของแท้ไม่ได้ ถ้ายังพิจารณาคราบไขไม่เป็นก็ต้องเช่าหาจากผู้ที่ไว้ใจได้ครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระยอดอัฏฐารส เนื้อชินเขียว จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



      สมเด็จองค์ปฐม วัดสายไหม

"พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม" หรือ "พระครูปลัดอิทธิพล ปธานิโก" เจ้าอาวาสวัดสายไหม ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าตำรับวัตถุมงคลตะกรุดลูกปืน ที่ลูกศิษย์ลูกหานำไปบูชาติดตัวเกิดประสบการณ์มากมาย

ศึกษาวิชาด้านการทำตะกรุดมาจากพ่อรอด สุขแสงจันทร์ ฆราวาส เมื่อร่ำเรียนได้วิชาความรู้มาแล้ว จึงได้มาบวชเรียนอยู่ที่วัดสายไหม เป็นเวลากว่า 25 ปี ก่อนจะจัดสร้างปลุกเสกตะกรุดลูกปืนแจกจ่ายประชาชน

การแจกตะกรุดลูกปืน พระอาจารย์อ๊อดแจกให้ญาติโยมทุกวัน โดยไม่มีการเรียกร้องเงินทอง ส่วนเงินที่ได้จากการบริจาคจะนำไปสมทบทุนเป็นค่าใช้จ่ายภายในวัด และก่อสร้างศาลาหลังใหม่

นอกจากนี้ พระอาจารย์อ๊อด ยังได้จัดสร้างวัตถุมงคลอีกหลายอย่าง อาทิ เหรียญเนื้อปลอกลูกปืน พระปิดตาเนื้อผงชุบรัก เหรียญเสมารุ่นเสาร์ ๕ โดยใช้มวลสารโลหะจำนวนมาก ประกอบพิธีบวงสรวงพุทธาภิเษกและนั่งปรกอธิษฐานจิต ที่วัดสายไหม

ล่าสุด พระครูปลัดอิทธิพล จัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จองค์ปฐม รุ่น 1 วัดสายไหม 2 อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

ลักษณะเป็นเหรียญเสมา หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปองค์พระประธานองค์ปฐม ด้านข้างเหรียญทั้งสองข้างมีอักขระมงคล ใต้ฐานเขียนคำว่า สมเด็จองค์ปฐม

ด้านหลังเหรียญเป็นรูปเหมือนพระอาจารย์อ๊อด นั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ขอบบนเหรียญ เขียนคำว่า "สมปรารถนา" ด้านล่างเขียนคำว่า "พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม ๒ พระนครศรีอยุธยา รุ่น ๑"

เหรียญทั้งหมดจัดสร้างเป็น 5 เนื้อ อาทิ เนื้อเงิน สร้าง 500 เหรียญ ราคา 999 บาท เนื้อนวะ สร้าง 500 เหรียญ ราคา 499 บาท เนื้อลงยาแดง สร้าง 300 เหรียญ ราคา 1,499 บาท เนื้อลงยาน้ำเงิน สร้าง 300 เหรียญ ราคา 1,499 บาท และเนื้อลงยาเขียว สร้าง 300 เหรียญ ราคา 1,499 บาท

เหรียญมีชนวนมวลสารเก่าของหลวงพ่ออ๊อดมากมาย อาทิ ตะกรุดปลอกลูกปืนรุ่น 1 เนื้อโลหะเก่ากว่า 100 ปี จารอักขระครอบจักรวาล และชนวนมวลสารอีกมากมาย

รายได้สมทบการก่อสร้างวัดสายไหม แห่งที่ 2 สอบถามและสั่งจองเช่าบูชาได้ที่จุดจำหน่ายวัตถุมงคล วัดสายไหม อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี รับเหรียญหลังจากออกพรรษาแล้ว


เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


      เหรียญหล่อ หลวงปู่ปัน

"หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม" วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น พระเกจิที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 79 ปี พรรษา 19

มีนามเดิม ปัน คำวงศ์ เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่วัดในหมู่บ้าน แต่หลังจากอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา มีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ผาง จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุต) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมี พระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อาทิ วัดเขาบอระเพ็ด, วัดใหม่สุวรรณโณ จ.สระบุรี, วัดโนนสว่าง จ.บุรีรัมย์, วัดป่าพัฒนาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ต่อมาหลวงปูมีปัญหาด้านสุขภาพ จึงได้ญัตติใหม่เป็นมหานิกาย

ในปี พ.ศ.2560 ชาวบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กราบนิมนต์ให้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เนื่องจากไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ สภาพเป็นวัดร้าง

พิจารณาแล้วเห็นว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมยิ่งนัก จึงรับนิมนต์ปฏิบัติศาสนกิจอยู่วัดแห่งนี้ ตราบจนปัจจุบัน

เนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เป็นวัดที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควร บรรดาคณะศิษย์ นำโดย นายศุภกิจ พิสมัย และพ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ปันเพื่อหาจตุปัจจัยสมทบทุนสร้างกฏิและพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัด

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ยกขอบ มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญ บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ปันเต็มองค์ ในท่านั่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่พื้นเหรียญจะตอกโค้ดหมายเลขกำกับ ส่วนด้านล่างสุดเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นในทุกด้าน

ด้านหลังเหรียญ มีตัวอักษรเขียนว่า ร.ศ.๒๓๗ เทียบปฏิทินสุริยคติไทยก็เป็นปี พ.ศ.2561 เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ ล่างสุดเขียน คำว่า หลวงปู่ปัน

เหรียญหล่อ จัดสร้างเป็นเนื้อเงินนำฤกษ์สร้าง 99 เหรียญ นวนำฤกษ์ 99 เหรียญ มหาชนวนนำฤกษ์ผสมชนวนหลวงปู่หมุน 999 เหรียญ เนื้อเงิน 299 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม ถึง 2 ครั้ง หลวงปู่ปันอธิษฐานจิตเดี่ยว ด้วยความที่ท่านมีพุทธาคมประกอบกับเจตนาการสร้างที่บริสุทธิ์ จึงมั่นใจได้ในความเข้มขลัง

จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคตยาว

ติดต่อได้ที่โทร. 08-3095-1110 และ 06-2653-2899


เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


       เหรียญพญาศรีสัตตนาคราช

พญาศรีสัตตนาคราช เป็นหนึ่งในพญานาคผู้มีฤทธิ์เดชและอานุภาพ โดยเฉพาะเผ่าพันธุ์ของพญามุจลินท์นาคราช หรือพญานาค 7 เศียร เชื่อกันว่าเป็นกษัตริย์แห่งพญานาคฝั่งลาว

หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ พระเกจิชื่อดังภาคอีสาน วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม เล่าไว้ตอนหนึ่งว่า "พญาศรี สัตตนาคราช เป็นใหญ่เหนือพญานาคทั้งปวง มีฤทธิ์เหนือกว่าพญานาคในแผ่นดินทั้งไทยและลาว แต่ชอบจำศีลภาวนา"

ส่วนพระพญาศรีสุทโธนาคราช เป็นพญานาคฝั่งไทยเศียรเดียว มีนิสัยอ่อนโยนไม่ชอบการต่อสู้ ชอบจำศีลและปฏิบัติธรรม ตามตำนานกล่าวไว้ว่าชอบมาที่วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม

หลวงปู่คำพันธ์ยังกล่าวไว้ด้วยว่า หากมีพิธีอันใดอยู่ใกล้ต้นน้ำลำธาร ให้อัญเชิญบอกกล่าวแก่เหล่าพญานาค พิธีกรรมนั้นจะศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 232 ปี เมืองนครพนม ได้จัดให้มีพิธีมหาเทวาภิเษกวัตถุมงคล เหรียญพญาศรีสัตตนาคราช รุ่นรวยทรัพย์ รับโชค เพื่อจัดหารายได้เข้ากองทุนสมาคมกีฬา จ.นครพนม และส่วนหนึ่งมอบให้กองทุนพญาศรีสัตตนาคราช

เหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญรูปทรงเสมา หูเชื่อม ประกอบด้วยเนื้อทองคำ 1 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทอง เนื้อเงินลงยาแดง ลงยาเหลือง ลงยาชมพู, ลงยาเขียว, ลงยาส้ม ลงยาฟ้า, และเนื้อเงินลงยาม่วง ชนิดละ 232 เหรียญ เนื้อเงินบริสุทธิ์และเนื้อตะกั่วดำ ชนิดละ 1,000 เหรียญ

นอกจากนี้ยังมีเนื้อทองแดงสามกษัตริย์ 2,000 เหรียญ เนื้อทองขาว, เนื้อทองแดงขัดเงา และเนื้อทองทิพย์ขัดเงา ชนิดละ 5,000 เหรียญ เนื้อทองแดงขัดเงาหูเชื่อม, เนื้อทองแดงรมมันปู ชนิดละ 10,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน 2 ชั้น ตรงกลางมีจุดไข่ปลา กลางเหรียญสลักภาพนูนพญาศรี สัตตนาคราช 7 เศียรขดในลำตัวเดียว ด้านล่างสุดสลักตัวหนังสือคำว่า พญาศรีสัตตนาคราช

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน กลางเหรียญสลักอักขระและยันต์มหาปรารถนา ซึ่งเป็นยันต์ของหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ พระเกจิชื่อดังภาคอีสาน วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม ด้านขวาของเหรียญเหนืออุณาโลมตอกโค้ดตัว รร ด้านซ้ายของเหรียญเหนืออุณาโลมสลักนับเบอร์ ๒๑๙ บรรทัดถัดมาสลักชื่อรุ่นว่า รุ่น รวยทรัพย์ รับโชค บรรทัดสุดท้ายสลักปีพุทธศักราชที่สร้าง พ.ศ.๒๕๖๑ รอบขอบเหรียญสลักอักขระยันต์กำกับไว้ มีดอกจันคั่นกลาง

เหรียญรุ่นดังกล่าวประกอบพิธีมหาเทวาภิเษก ในวันที่ 9 เดือน 9 ซึ่งตรงกับวันที่ 9 ก.ย.2561 ที่ผ่านมา มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมาร่วมพิธี อาทิ หลวงปู่สอ ขันติโก อายุ 113 ปี แห่งวัดโพธิ์ศรี อ.ท่าอุเทน และหลวงปู่กลม อภิลาโส วัย 91 ปี ลูกศิษย์หลวงปู่คำพันธ์ วัดโพธิ์ชัย ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

ติดต่อได้ที่ลานแลนด์มาร์กพญานาค ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร หรือสอบถามโทร.08-1965-3240, 08-1872-8141


เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


      เหรียญท่านเจ้าคุณเฒ่า

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญเก่าแก่ของจังหวัดชลบุรีคือเหรียญของท่านเจ้าคุณพระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุณณโก) อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย เป็นเหรียญเก่าแก่มาก แต่มิได้ระบุปี พ.ศ.ไว้ว่าสร้างในปี พ.ศ.ใด วันนี้เราจะพูดคุยกันถึงเรื่องราวและประวัติของท่านโดยสังเขปครับ

ประวัติของท่านเจ้าคุณเฒ่านั้นสืบค้นมาได้ไม่มากนัก เท่าที่สืบค้นได้ก็คือ พระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุณณโก) ท่านเกิดเมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 11 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ.2361 เมื่ออายุได้ 13 ปี ได้บวชเป็นเณรอยู่ที่วัดประยุรวงศ์ อยู่ 8 ปี ต่อมาจึงได้อุปสมบทอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ 8 ปี จึงได้ลาสิกขาบทออกมารับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้รับตำแหน่งเป็น "ขุนสาครวิสัย" ในกรมมหาดเล็ก ต่อมาในตอนหลังเมื่อปัจฉิมวัยได้ออกจากราชการและมาบวชอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาได้ลงเรือมาขึ้นที่หาดทรายหน้าวัดเขาบางทราย ได้รับช่วงภารกิจในการสร้างวัดในบริเวณนี้ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย

วัดเขาบางทรายในช่วงที่ท่านเจ้าคุณเฒ่ามาอยู่นั้นยังเป็นป่ารก บ้านเรือนชาวบ้านแถบชุมชนหน้าวัดยังไม่มี ต่อมาในปี พ.ศ.2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสจังหวัดชลบุรี ทรงมีพระราชดำริว่า ท่านเจ้าคุณเฒ่าอุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มามากและเป็นข้าหลวงเดิม จึงทรงแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่ "พระชลโธปมคุณมุนี"

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เมื่อยังเยาว์ก็เคยเรียนอักษรสมัยอยู่กับท่านเจ้าคุณเฒ่าจนอายุได้ 12 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณร โดยนิมนต์ท่านเจ้าคุณเฒ่าไปบรรพชาให้ที่วัดช่องลม นาเกลือ เมื่อปี พ.ศ.2426 แล้วมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาบางทราย 3 พรรษา พออายุได้ 15 ปี ท่านเจ้าคุณเฒ่าเห็นความสามารถ จึงส่งให้เข้ามาศึกษาอยู่ในวัดราชบพิธฯ กทม. ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2435 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ท่านได้อุปสมบทที่วัดเขาบางทราย โดยมีท่านเจ้าคุณเฒ่าเป็นพระอุปัชฌาย์

ในปี พ.ศ.2442 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ได้เสด็จนมัสการพระพุทธบาท วัดเขาบางทราย และเสด็จเยี่ยมท่านเจ้าคุณเฒ่าด้วย

ในปี พ.ศ.2447 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่นั้น ก็เสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธบาทวัดเขาบางทราย และเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยม

ท่านเจ้าคุณเฒ่าเป็นบุคคลที่อยู่มาถึง 4 แผ่นดิน คือท่านเกิดในแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และมามรณภาพในแผ่นดินสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.2449 สิริอายุได้ 89 ปี

ในหนังสือ 80 ปี ชลบุรี สุขบท ได้กล่าวไว้ว่า "เหรียญเจ้าคุณเฒ่า" เป็นเหรียญที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) สร้างขึ้นเป็นเหรียญแรก เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2450 ในสมัยที่เจ้าประคุณสมเด็จ ยังดำรงสมณศักดิ์ "พระเทพกวี" มีจุดประสงค์การสร้างเหรียญเจ้าคุณเฒ่า ซึ่งเป็นรูปท่านเจ้าคุณพระชลโธปมคุณมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแจกแก่ผู้มาร่วมงานในพระราชทานเพลิง"

เหรียญนี้จึงนับว่าเป็นเหรียญที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดชลบุรีและเป็นเหรียญแรกที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้อธิษฐานจิต เหรียญนี้เป็นเหรียญที่หายาก และเป็นที่หวงแหนของคนเมืองชลครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญท่านเจ้าคุณเฒ่ามาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #94 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2561 12:51:14 »



พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน

"พระสมเด็จจิตรลดา" หรือ "พระกำลังแผ่นดิน" วัตถุมงคลอันทรงคุณค่าสูงส่งและเป็นที่หวงแหนยิ่งนักสำหรับผู้ที่ได้รับพระราชทานที่จะเก็บรักษาไว้สักการะบูชาสืบต่อลูกหลาน ด้วยเหตุผลประการสำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงสร้างด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เป็นครั้งแรก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสร้าง "พระสมเด็จจิตรลดา" ขึ้น เพื่อบรรจุที่ฐานบัวหงายของ "พระพุทธนวราชบพิตร" พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 23 ซ.ม. สูง 40 ซ.ม. เพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร โดยทรงตรวจพระพุทธลักษณะของพระปฏิมาด้วยพระองค์เองจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงโปรดให้เททองหล่อเป็นพระพุทธรูปขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2508 และส่งมอบไปยังจังหวัดต่างๆ ในปี พ.ศ.2509

จากนั้นทรงมีพระราชดำริให้สร้างเพิ่มเติม เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพารในพระองค์ที่มีความดีความชอบและสร้างคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง แต่การสร้างในแต่ละครั้งมีจำนวนน้อยมาก

เนื้อหามวลสาร

มวลสารประกอบด้วยผงมหามงคลจาก "สิ่งมงคลในส่วนพระองค์" และ "ผงมหามงคลร้อยแปด" อาทิ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต, เส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศา), สีจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์, ชันและสีซึ่งทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่ง รวมกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทยและวัสดุมงคลจากสังเวชนียสถานชมพูทวีปอีกหลายแห่ง

พุทธลักษณะ-พิมพ์ทรง

เป็นพระเครื่องทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว สีน้ำตาลแก่ มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ มีขนาด 2 X 3 ซ.ม. และพิมพ์เล็ก ขนาด 1.2 X 1.9 ซ.ม. จากจำนวนที่ทรงสร้างทั้งหมดไม่เกิน 3,000 องค์นั้น พิมพ์เล็กมีไม่เกิน 30 องค์ ลักษณะพิมพ์ทรงคมชัด ขอบขององค์พระทั้ง 3 ด้านจะป้านเฉียงออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย ปรากฏรายละเอียดต่างๆ ชัดเจน พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิขัดราบ ประทับเหนือดอกบัวบาน 9 กลีบ

แนวทางการพิจารณา
- พระพักตร์ คล้ายผลมะตูม
- พระเกศเด่นชัด
- พระกรรณทั้งสองข้างจะติดชัดเจน และโค้งอ่อนช้อย ยกเว้นทรงสร้างในปี 2508-2509 จะติดไม่เด่นชัด
- พระนาสิกเป็นสันเด่นชัด ยกเว้นที่ทรงสร้างในปี 2508-2509 จะไม่ติดเป็นสันเด่นชัด
- กลีบดอกบัวบานจะอ่อนช้อยได้สัดส่วน ส่วนมากมักมีฟองอากาศเป็นรูปเล็กๆ
- เกสรเหนือกลีบดอกบัวบานจะติดเป็นเม็ดกลมเรียงกันเป็นแถว และฟองอากาศเป็นรูเล็กๆ ยกเว้นที่ทรงสร้างในปี 2508-2509 มักจะไม่ติดเป็นเม็ดกลมและเรียงกันเป็นแถว

ประการสำคัญ ผู้ได้รับพระราชทาน "สมเด็จพระจิตรลดา" ทุกองค์ จะได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และมีใบประกาศนียบัตร (ใบกำกับองค์พระ) ทุกคนครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหล่อพิมพ์เศียรแหลม หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย วัตถุมงคลของท่านเป็นที่เสาะหาและนิยมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเหรียญปั๊ม เหรียญหล่อ และตะกรุด ปัจจุบันหายากมาทุกอย่าง มีราคาสูง เนื่องจากประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อมาก อีกทั้งวัตถุมงคลของท่านก็มีประสบการณ์มาก

หลวงพ่อแก้วท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2393 ที่ ต.บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อกัน โยมมารดาชื่อเนียม ท่านได้บวชตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นสามเณรที่วัดบางแคใหญ่ อ.อัมพวา พออายุได้ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เจ้าอาวาสวัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า "พรหมสโร" และได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดแห่งนี้

หลวงพ่อแก้วได้เรียนวิทยาคมมาจากบิดาของท่าน ซึ่งเป็นอดีตทหารของวังหน้า และท่านมีวิชาอาคมขลังมาก สามารถเสกดอกจำปีให้กลายเป็นแมลงภู่ และบินไปหาญาติมิตรที่รู้จักกันได้ แล้วตกลงมากลายเป็นดอกจำปีอย่างเดิม นอกจากนี้ท่านก็ยังมีวิชาคงกระพันชาตรีเป็นเลิศอีกด้วย วิชาต่างๆ เหล่านี้หลวงพ่อแก้วได้เรียนมาจากบิดาของท่าน นอกจากนี้หลวงพ่อแก้วท่านก็ได้เรียนคันถ์ธุระและวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อเพ็ง พระอุปัชฌาย์ของท่าน และหลวงพ่อเพ็งท่านก็ยังเก่งในด้านพุทธาคมอีกด้วย ต่อมาหลวงพ่อแก้วได้เดินทางมาอยู่ที่เพชรบุรี เพื่อเรียนวิปัสสนาธุระและพุทธาคมที่วัดเขาตะเครา เพชรบุรีอีก และมาเรียนเพิ่มเติมกับพระอาจารย์เกตุ พระพี่ชายของท่าน ที่วัดทองนพคุณ เพชรบุรี ท่านอยู่จำพรรษาที่เพชรบุรีนานมากจนบางคนเข้าใจว่าท่านเป็นคนเพชรบุรี

ในปี พ.ศ.2424 เจ้าอาวาสวัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม ได้ว่างลง ประชาชนชาวสมุทรสงครามจึงได้ขึ้นไปนิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านจึงได้เดินทางมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม พร้อมด้วยหลวงพ่อบ่าย และพระอีก 3 รูป ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมอยู่ได้ 6 ปี ต่อมา พ.ศ.2430 ชาวบ้านได้มาอาราธนาให้ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ พอท่านมาอยู่ที่วัดพวงมาลัยแล้วท่านก็ได้ก่อสร้างกุฏิ ศาลาต่างๆ เพิ่มเติมอีกหลายหลัง นอกจากนี้ท่านยังสร้างวัดขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น วัดเขา อีโก้ และวัดสาธุชนาราม เป็นต้น ชาวแม่กลองเคารพนับถือในตัวท่านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อแก้วมรณภาพในปี พ.ศ.2462 สิริอายุได้ 69 ปี พรรษาที่ 49

หลวงพ่อแก้วได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุดใบลานบางปืน เหรียญปั๊ม และเหรียญหล่อหลายรุ่น นอกจากนี้ก็ยังมีพระเนื้อผงอีกด้วย วัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วนั้นเป็นที่นิยมและหวงแหนกันมาก สนนราคาค่อนข้างสูงครับ อย่างเหรียญรุ่นแรกที่เป็นเหรียญพระพุทธและเหรียญรูปท่านที่สร้างในปี พ.ศ.2459 นั้นสนนราคาสวยๆ หลักแสนครับ นอกจากนี้ยังมีเหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม ที่สร้างในปี พ.ศ.2460 นิยมกันมาก และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อพิมพ์เศียรแหลมมาให้ชมกันครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่เก่าแก่และโด่งดังมากของจังหวัดฉะเชิงเทราก็คือ พระปิดตาของหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ สุดยอดแห่งพระปิดตาเมตตามหานิยม และหายากมากในปัจจุบัน ประวัติของหลวงปู่จีนและประวัติวัดไม่มีผู้ใดได้บันทึกไว้ เพียงมีการบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น การสืบค้นจึงทำได้ยากมาก ต้องสอบถามและเก็บข้อมูลจากหลายๆ ที่และประมวลไว้ ตามที่ได้สืบค้นพอจะจับเค้าโครงได้ก็มีดังนี้

วัดท่าลาดเหนือ ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดท่าลาดเหนือนี้สร้างโดยพระยาเขมรที่อพยพมาจาก พระตะบองได้เป็นผู้สร้างไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณปี พ.ศ.2395 เมื่อสร้างวัดเสร็จได้ประมาณปีก็ได้มีพระธุดงค์ผ่านมาด้วยกัน 3 รูป ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติแล้วก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้นิมนต์ทั้ง 3 องค์ ให้ ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดท่าลาด ต่อมาอีกระยะหนึ่งพระอีก 2 องค์จึงได้ออกธุดงค์ต่อ

พระที่อยู่จำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้ก็คือหลวงปู่จีน ส่วนประวัติความเป็นมาของท่านในสมัยนั้นไม่มีผู้ใดบันทึกไว้เลย เพียงแต่เล่าสืบต่อกันมาจากผู้ที่เกิดทันได้พบหลวงปู่จีนเท่านั้น จากการสืบค้นดูท่านเป็นคนจังหวัดเพชรบุรี และบวชมาจากเพชรบุรี ออกธุดงค์ผ่านมาทางอำเภอพนมสารคาม สันนิษฐานว่าท่านคงเกิดในราวปี พ.ศ.2357 และมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาด ราวปี พ.ศ.2397 หลวงปู่จีนเป็นพระที่เมตตาธรรมสูง มีความรู้ในด้านวิปัสสนาธุระเป็นอย่างดีได้สั่งสอนอบรมลูกศิษย์ พระเณรอยู่เสมอๆ และท่านยังเก่งกล้าในด้านพุทธาคม อีกทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณก็เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ท่านได้ช่วยเหลือชาวบ้านในแถบนั้นอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนในทุกๆ ด้าน ท่านก็ได้ช่วยปัดเป่าให้ทุเลาหายได้ทุกรายได้ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือและศรัทธามากในย่านนั้น และกิตติคุณของท่านก็ล่วงรู้กันไปทั่วทั้งแปดริ้วและจังหวัดใกล้เคียง จึงทำให้ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายต่างหลั่งไหลไปสู่วัดท่าลาดไม่ขาดสาย หลวงปู่จีนเป็นเจ้าอาวาส วัดท่าลาดเหนือสืบจนถึงราวปี พ.ศ.2440 โดยประมาณ ท่านก็มรณภาพที่วัดท่าลาดเหนือ สิริอายุได้ราว 83 ปี

ส่วนพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่ท่านได้สร้างไว้เป็นพระเนื้อผงพุทธคุณผสมว่านวิเศษต่างๆ และนำมาคลุกรักเพื่อเป็นตัวประสาน นำมากดแม่พิมพ์พระปิดตา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์เช่นพิมพ์แข้งหมอน พิมพ์เม็ดกระบก พิมพ์กลีบบัวใหญ่ พิมพ์กลีบบัวเล็ก พิมพ์เม็ดบัว พิมพ์ไม้ค้ำเกวียน เป็นต้น พระปิดตาของท่านส่วนใหญ่ด้านหลังมักจะอูมเป็นแบบหลังเบี้ยหรือหลังประทุนแทบทุกองค์ และพระของท่านส่วนใหญ่จะมีการลงรักทับไว้อีกชั้นหนึ่ง พระปิดตาของท่านนั้นมีการสร้างด้วยกันหลายครั้ง จำนวนครั้งละไม่มากนัก เนื่องจากกรรมวิธีการสร้างนั้นทำได้ยากมาก จึงทำให้ในปัจจุบันหาพระปิดตาของท่านแท้ๆ ยากครับ สนนราคาก็สูงมากตามไปด้วย

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีนนับเป็นต้นกำเนิดพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของเมืองแปดริ้วเลยทีเดียว พระเกจิอาจารย์สายแปดริ้วที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านก็ได้สร้างพระปิดตาตามแบบองค์อาจารย์อีกหลายรูปและได้รับความนิยมโด่งดังด้วยเช่นกัน

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ พิมพ์แข้งหมอนใหญ่ มาให้ชมกันครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระสมเด็จทองเหลือง หลวงพ่อแพ จำลองแบบ
"พระสมเด็จทองเหลือง หลวงพ่อแพ จำลองแบบ "พระสมเด็จ" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผู้ที่ท่านเคารพศรัทธาอย่างสูง นับเป็นพระสมเด็จรุ่นแรกที่ท่านสร้างและเป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัด"

พระธรรมมุนี หรือ "หลวงพ่อแพ เขมังกโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ได้รับการยกย่องให้เป็น "เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย" แม้จะละสังขารไปเกือบ 20 ปี แต่ก็ยังเป็นที่รำลึกนึกถึงเสมอมา

เป็นชาวสิงห์บุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ.2448 ณ บ้านสวนกล้วย ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี

จนอายุได้ 16 ปีจึงกลับบ้านเกิดเพื่อบรรพชา ที่วัดพิกุลทอง มี พระอธิการพัน จันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นเดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่หลังจากสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค นัยน์ตาเกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง แพทย์จึงแนะนำไม่ให้ใช้สายตาเพ่งอ่านหนังสือเพราะอาจพิการได้ การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมของท่าน จึงต้องยุติลง

แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจใฝ่การศึกษา ท่านจึงหันมาศึกษาด้านสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่สำนักพระครูภาวนา วัดพระเชตุพนฯ และยังได้เป็นศิษย์รูปหนึ่งของสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ ด้วย

เมื่ออายุครบ 21 ปี ในปีพ.ศ.2469 ได้กลับมาอุปสมบท ณ วัดพิกุลทอง โดยมี พระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ เจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เขมังกโร" จากนั้นเดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดชนะสงคราม ศึกษาด้านพระปริยัติธรรมขั้นสูง ต่อมาทราบว่าที่ อ.บางระจัน มีพระอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมและวาจาศักดิ์สิทธิ์นัก ชื่อหลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ ท่านจึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาอาคมจนแตกฉาน และเป็นที่โปรดปรานของพระอาจารย์ยิ่ง

ปีพ.ศ.2473 อาจารย์หยด พวงมะสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ลาสิกขา ชาวบ้านพิกุลทองและจำปาทองจึงนิมนต์ท่านให้รับตำแหน่งในปี พ.ศ.2474 ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 26 ปี ต่อมาได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ ในโอกาสเสด็จครองราชย์ครบ 50 ปี เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ "พระธรรมมุนี"

บำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนและตกทุกข์ได้ยาก เปรียบดั่งร่มโพธิ์ ร่มไทร เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนโดยถ้วนทั่ว จวบจนท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 10 ก.พ.2542 สิริอายุ 94 ปี

หลวงพ่อแพเริ่มสร้างพระเครื่องมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2482 ซึ่งล้วนทรงพุทธคุณเป็นที่นิยมสะสมทั้งสิ้น สำหรับ "พระสมเด็จทองเหลือง" นั้น นับเป็นพระสมเด็จรุ่นแรก สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2494 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระครูศรีพรหมโสภิต" โดยจำลองแบบพิมพ์จาก "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม" ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งท่านเคารพนับถืออย่างสูง จัดสร้างเป็นเนื้อทองเหลืองแบบเนื้อขันลงหิน มีลักษณะพิเศษคือ จะปรากฏเกล็ดทองทั่วองค์พระ

พระสมเด็จทองเหลืองมี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ลึกและพิมพ์ตื้น ลักษณะเป็นพระเครื่องแบบหล่อโบราณ รูปทรงสี่เหลี่ยม ด้านหน้า เป็นรูปจำลององค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานบัว ภายในซุ้มครอบแก้ว มีฐานบัลลังก์รองรับ 2 ชั้น ระหว่างฐานทั้งสองจะมีเส้นฐานแซม พระพักตร์แบบผลมะตูม พระเกตุมาลาเป็นต่อม รัศมีเป็นดอกบัวตูม พระกรรณยาว พระอุระปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจนและยาวลงมาจดพระหัตถ์ ส่วนด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์ซ้อนกัน 3 ตัว เรียกว่า "ยันต์พุดซ้อน" ใต้ยันต์เป็นอักขระขอม 3 ตัว อ่านว่า "ช ย"

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์





เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถ
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ที่ เข้มขลังในวิทยาคุณมากจังหวัดหนึ่งที่ตำบลสามไถ อำเภอนครหลวง ก็มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าองค์หนึ่งที่อยากจะพูดถึงในวันนี้ ท่านก็คือหลวงปู่รอด วัดสามไถ ซึ่งชาวบ้านในแถบนั้นเคารพนับถือท่านมาก และท่านก็ได้สร้างเหรียญหล่อไว้ ปัจจุบันหาได้ยากมากพอสมควรครับ

ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากซักหน่อย หลวงปู่รอด เป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา

เมื่อปีพ.ศ.2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดา ชื่อแม่เฒ่ากา เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ โยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร หลวงปู่รอดเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา ท่านจึงได้กราบลาพระอธิการแดง ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน

เมื่ออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปีพ.ศ.2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็น เจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปีพ.ศ.2429 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่รอดเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่าน ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของพระภิกษุภายในวัดต้องมาปลงอาบัติกับท่านทุกๆ เช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดี จะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรม และจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้ และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลกนาท (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา

ในปีพ.ศ.2467 หลวงปู่รอดได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอม ละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมดหลวงปู่รอดได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืน ที่ในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75

เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถนี้ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากครับ พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมกันตามเคยครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์




พระผงดวงเศรษฐีหลวงปู่ปัน
"หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม" วัด เทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ปัจจุบัน สิริอายุ 79 ปี พรรษา 19

มีนามเดิม ปัน คำวงศ์ เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่อุโบสถวัดในหมู่บ้าน แต่หลังจากอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา มีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ผาง

จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุต) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมีพระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อาทิ วัดเขาบอระเพ็ด, วัดใหม่สุวรรณโณ จ.สระบุรี, วัดโนสว่าง จ.บุรีรัมย์, วัดป่าพัฒนาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ต่อมามีปัญหาด้านสุขภาพ จึงได้ญัตติใหม่เป็นมหานิกาย

ในปี 2560 บรรดาญาติโยมบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กราบนิมนต์หลวงปู่ให้มา จำพรรษาที่วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เนื่องจากไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่สภาพเป็นวัดร้าง หลวงปู่พิจารณาแล้วเห็นว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เงียบสงบภายในอุดมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมยิ่งนักท่านจึงรับนิมนต์ปฏิบัติศาสนกิจอยู่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

เนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เป็นวัดที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควร ถาวรวัตถุภายในวัดก็ยังไม่มี บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ปัน นำโดย "คศุภกิจ พิสมัย" และ "พ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย" มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลพระผงดวงเศรษฐี หลวงปู่ปัน

วัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิให้หลวงปู่จำพรรษาปฏิบัติธรรม และพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม

ลักษณะเป็นพระเนื้อผงรูปไข่ขอบเกลียวเชือก บนสุดมีอักขระยันต์ 4 ตัว บริเวณกลางเหรียญ เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์หลวงปู่ห่มจีวรเฉียง ล่างสุดเขียนคำว่า หลวงปู่ปัน

ส่วนด้านหลังยกขอบ บนสุดเขียนว่า หลวงปู่ปัน สมฺปนฺนธมฺโม ตรงกลางเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน และตัวเลข ๒๕๖๑ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง ล่างสุดมีตัวอักษรเขียนคำว่า วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม จ.ขอนแก่น

สำหรับมวลสารที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ อาทิ พระผงดวงเศรษฐีหลวงปู่หมุน พระกรุนาดูนปี 2522 ดินกรรมฐานจงกรมหลวงปู่ปัน เกศาหลวงปู่ปัน พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 100 ปีพระสมเด็จบางขุนพรหม 108 ปี เป็นต้น

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทูโทนองค์น้ำตาล 99 องค์ เนื้อก้นครกตะกรุดทองคำ 111 องค์ เนื้อก้นครกตะกรุดทองคำคู่ 156 องค์ เนื้อผงพุทธคุณตะกรุดทองคำ 200 องค์ เนื้อผงธูปตะกรุดทองคำ 200 องค์ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในวัดเทพนิมิตจันทร์ แสงวนาราม เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2561 หลวงปู่ปัน อธิษฐานจิตเดี่ยว

ที่มา ข่าวสดออนไลน์







พระหยกเชียงราย วัดพระแก้ว
พระหยกเชียงราย หรือ "พระพุทธรตนากร" มีชื่อเป็นทางการว่า "พระพุทธรตนากร นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล" ประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ หอพระหยก วัดพระแก้ว พระอารามหลวง จ.เชียงราย วัดเก่าแก่ศิลปะล้านนา เดิมชื่อ "วัดป่าเยี้ยะ (ป่าไผ่)" ซึ่งเป็นสถานที่พบ "พระแก้วมรกต" แล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ชาวเชียงรายจึงเรียกขานนามวัดว่า "วัดพระแก้ว" สืบมา

ตามประวัติกล่าวไว้ว่า...เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.1897 สมัยที่ "พระเจ้าสามฝั่งแกน" ครองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่าเจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออกจึงพบว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือ "พระแก้วมรกต" หลังจากนั้นได้รับการอัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐาน ณ เมืองต่างๆ ตามลำดับ ดังนี้ ลำปาง เชียงใหม่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2321 จนถึงปัจจุบัน...

จนถึงปี พ.ศ.2533 เนื่องในมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชชนนี ในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา ในวันที่ 21 ต.ค.2533 และเพื่อ รำลึกถึง "องค์พระแก้วมรกต" ซึ่งมีการค้นพบ ณ สถานที่แห่งนี้จึงได้มีการจัดสร้าง"พระหยกเชียงราย" ขึ้นแทนองค์ "พระแก้วมรกต" อันเป็นที่เคารพศรัทธา พร้อมทั้งเฉลิม พระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้ทรงเปรียบประดุจประทีปนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่เมืองเชียงรายในคราวเดียวกัน

พระหยกเชียงราย เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิราบ ฐานเขียง พุทธศิลปะแบบเชียงแสนทรงเครื่อง ขนาดหน้าตักกว้าง 47.9 ซ.ม. สูง 65.9 ซ.ม. ซึ่งเป็นส่วนสัดที่ใกล้เคียงกับ "พระแก้วมรกต" องค์พระแกะสลักจากหินหยกที่ดีที่สุดของประเทศแคนาดา เครื่องทรงสร้างด้วยอัญมณีและทองคำ รองรับฐานเขียงด้วยฐานบัวศิลปะเชียงแสนที่แกะสลักด้วยหินหยกสูงประมาณ 1 ศอก โดยมี อาจารย์กนก วิศวะกุล เป็นผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ แล้วส่งแกะสลักโดยช่าง ผู้ชำนาญที่โรงงานวาลินนานกู ประเทศจีน

เมื่อแล้วเสร็จได้ประกอบพิธีรับมอบ ณ พระวิหารวัดกวางจี้ มหานครปักกิ่ง โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานนามว่า "พระพุทธรตนากร นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล" แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นอากรแห่งรัตนะ เป็นอนุสรณ์ 90 พรรษา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสามัญว่า "พระหยกเชียงราย" และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังในวันที่ 20 ก.ย.2534 ทรงเจิม ทรงพระสุหร่าย และทรงจุดเทียนชนวนถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เพื่อทรงจุดเทียนชัย ก่อนอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ หอพระหยกวัดพระแก้ว ในวันที่ 19 ต.ค.2534 โดยประกอบพิธีสมโภชอย่างยิ่งใหญ่

"พระหยกเชียงราย" หรือ "พระพุทธ รตนากร" แม้จะเป็นพระพุทธรูปยุคใหม่ แต่นับเป็นพระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวเชียงรายและใกล้เคียงยิ่ง ด้วยถือเป็นองค์แทน "พระแก้วมรกต" อีกทั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติ "สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" มิ่งขวัญของชาวเชียงรายทั้งปวง

นอกจากนี้ ภายในพระอุโบสถ วัดพระแก้ว ยังประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญอีกองค์หนึ่ง คือ "พระเจ้าล้านทอง" พระพุทธปฏิมาที่สวยงามสง่าองค์หนึ่งของไทย รวมทั้ง "พระเจดีย์เก่าแก่" ที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อปี พ.ศ.2478 และ "โฮงหลวงแสงแก้ว" อาคารทรงล้านนาประยุกต์ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงพระพุทธรูปองค์สำคัญๆ เช่น พระพุทธสิหิงค์ (จำลอง) รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอีกมากมายครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #95 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2561 12:56:38 »




พระเจ้าทันใจ วัดพระบรมธาตุบ้านตาก
ในยุคนี้ ใครไม่รู้จัก "พระเจ้าทันใจ" หรือ "หลวงพ่อทันใจ"นี่ถือว่า "ตกยุค" กันเลยทีเดียว เพราะสาธุชนมากมายนิยมไปกราบสักการะขอพร โดยเชื่อกันว่า "ขออะไรก็มักจะประสบผลภายในเวลา อันรวดเร็ว" สมกับนามขององค์พระพุทธ ปฏิมาจริงๆ

พระเจ้าทันใจนั้นมีการจัดสร้างกันมาแต่โบราณแล้ว จะเห็นได้ตามวัดสำคัญๆ ทางภาคเหนือและภาคอีสานหลาย ต่อหลายวัด โดยมีคติความเชื่อที่ว่า "จะต้องสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน"

ถือเป็นเรื่องอัศจรรย์ จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะพุทธานุภาพแห่งเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เห็นถึงความมุ่งมั่นและความสามัคคีของพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา บันดาลให้พิธีกรรมสำเร็จลุล่วงโดยปราศจากอุปสรรคใดๆ

ประการสำคัญอีกประการของการสร้าง "พระเจ้าทันใจ" คือ จะบรรจุหัวใจพระเจ้า คล้ายกับหัวใจมนุษย์ ตลอดจนวัตถุมงคลและสิ่งของมีค่าต่างๆ ไว้ในองค์พระพุทธปฏิมาด้วย

พระเจ้าทันใจที่จะกล่าวถึงฉบับนี้นับเป็นพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ที่เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองตาก และจังหวัดใกล้เคียง ประดิษฐาน ณ วิหารเก่า วัดพระบรมธาตุบ้านตาก วัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เดิมเป็นเมืองตากเก่า ที่มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ก่อนที่จะมีการย้ายเมืองไปอยู่ที่ ต.ระแหง ในปัจจุบัน และในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะศึกเจ้าเมืองฉอด บนเนินเขาใกล้กับพระบรมธาตุนี้ด้วย

ประการสำคัญวัดนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก เขียนไว้เป็นภาษาเหนือ ความว่า ... สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์ล่องมาตาม ลำน้ำปิง เสด็จมายังดอยมะหิยังกะ ในเขตตัวเมืองตาก ตรัสกับพระอานนท์ว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่สำราญ ร่มรื่น หากเราตถาคตปรินิพพานแล้วให้นำอัฐิและเกศากลับมายังดอยนี้ด้วย ภายหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอรหันต์ทั้ง 4 จึงได้นำพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ พร้อมด้วยเกศาอีก 4 องค์ มาประดิษฐานยังดอยมะหิยังกะ โดยก่อเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมบรรจุไว้ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

ต่อมา พระครูพิทักษ์พระบรมธาตุ (ทองอยู่) ได้ไปนมัสการ พระธาตุชเวดากอง ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า จึงได้จำแบบมาก่อสร้างคลุมพระเจดีย์องค์เก่าไว้และปิดทองสวยงาม ถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของ "ปีมะเมีย"

พระเจ้าทันใจเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองคำเปลว ปางมารวิชัย หน้าตัก 32 นิ้ว สร้างตามกฎเกณฑ์ "การสร้างพระเจ้าทันใจ ไม่ว่าจะสร้างด้วยวัสดุอะไร ต้องสร้างให้เสร็จในช่วงเวลา 1 ราตรี" จึงถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวบ้านในละแวกนั้นได้เป็นอย่างดี

ดังที่ พระครูพิทักษ์บรมธาตุ (พาน) เจ้าอาวาสวัด ได้กล่าวว่า "... ตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นพระลูกวัด "พระครูบาตา" อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน ได้ปรึกษากับญาติโยมว่ามีความประสงค์จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นสัก 1 องค์ โดยศรัทธาญาติโยมพร้อมใจร่วมกันนุ่งขาวห่มขาว แล้วเริ่มก่อพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตัก 32 นิ้ว และลงรักปิดทองคำเปลว ก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก 1 วัน กับ 1 คืน เสร็จพอดี โดยคณะศรัทธาได้ตั้งชื่อว่า "พระเจ้าทันใจ" เพราะทำเสร็จเร็วทันใจ ต่อมามีญาติโยมได้มาตั้งจิตอธิษฐานขออะไร ก็ได้สมความปรารถนาทุกสิ่งทุกประการ ..."

พระเจ้าทันใจ ณ วิหารเก่า วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ไม่เพียงแต่ดลบันดาลในเรื่องหน้าที่การงาน การเงิน ธุรกิจ การค้าขาย สำเร็จไปด้วยดีเท่านั้น ยังรวมไปถึงเรื่องความรัก คู่ครอง และการขอบุตร โดยเชื่อกันว่าเมื่อทำเสร็จเร็วทันใจ การอธิษฐานขอพรก็จะบรรลุผลเวลาอันรวดเร็วทันใจเช่นกันครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ข่าวสดออนไลน์




เหรียญพระคันธารราษฎร์
หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ หรือ พระครูอุทิศธรรมรส พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองอุทัยธานี

ปัจจุบัน สิริอายุ 80 ปี พรรษา 60 เจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี

ศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมาย อาทิ หลวงปู่ธูป เจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี, หลวงพ่อมา วัดมะพร้าวสูง, หลวงปู่เภา วัดถ้ำตะโก เป็นต้น

เมื่อปี พ.ศ.2516 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 โบราณถือว่าเป็นวันฤกษ์แข็ง เหมาะสำหรับการประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง

ในครั้งนั้น นายอำเภอทัพทัน ได้มาขอให้ประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลในวันดังกล่าว โดยเชิญ นายไพฑูรย์ เก่งสกุล ผู้ว่าฯอุทัยธานี ในสมัยนั้น เป็นประธานในพิธี

พระคณาจารย์ที่ร่วมนั่งปรก อาทิ พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา, พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน, อาจารย์ขาว วัดเขาอ้อ และอีกมากมาย ประกอบพิธีปลุกเสกในอุโบสถวัดเขาปฐวี ภายในถ้ำเขาปฐวี พิธีเริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น. ไปจนถึงเวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น

วัตถุมงคลรุ่นนี้ เรียกว่า "เหรียญพระคันธารราษฎร์" เป็นพระศิลปะแบบอินเดีย จีวรริ้ว ยกพระหัตถ์ประทานพร ทำจากเนื้อทองวรรณะเหลือง รมดำ มี 2 แบบ เป็นรูปลอยองค์มีกริ่ง สร้าง 8,000 องค์ และเป็นเหรียญรูปไข่ 30,000 เหรียญ

สำหรับเหรียญพระคันธารราษฎร์ วัดเขาปฐวี ปี 2516 ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองวรรณะเหลือง รมดำ ขนาด 1.5x2.6 เซนติเมตร

ด้านหน้า มีขอบรอบวง ยกซุ้มห่วง มีพระคันธารราษฎร์ยกพระหัตถ์ประทานพร นั่งอยู่กลางเหรียญ ด้านซ้ายมือขององค์พระ มีพระอาทิตย์กำลังส่องแสงมีเมฆลอยอยู่ด้านข้าง

ด้านหลัง มีขอบเพียงเล็กน้อย กลางเหรียญเป็นยันต์ห้า มีอักขระขอม "นะโม พุท ธายะ" กำกับด้วยอุณาโลม 3 ยอด ด้านล่างของยันต์ มีอักขระขอม "นะ อุ อะ มะ" ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ล่างสุดมีตัวหนังสือเขียนว่า "พุทธาภิเศก วัดเขาปฐวี ๒๕๑๖"

กล่าวกันในหมู่แวดวงพระเครื่องวัตถุมงคลในเมืองอุทัยธานี ว่า เหรียญพระคันธารราษฎร์ วัดเขาปฐวี ปี 2516 ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการจากบรรดานักสะสมและเซียนพระ ต่างพากันกะเก็งว่า วัตถุมงคลรุ่นนี้จะได้รับความนิยมสูง

เป็นเหรียญยอดนิยมอีกเหรียญ

ที่มา ข่าวสดออนไลน์




เหรียญ พระครูวินัยธรรม (อินทร์) วัดสัตตนารถ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูวินัยธรรม (อินทร์ ปัญญาทีโป) วัดสัตตนารถปริวัตร ราชบุรี พระสงฆ์ที่ชาวราชบุรีเคารพนับถือมากรูปหนึ่ง และท่านได้เป็นผู้ที่ปลุกเสกเหรียญเก่าแก่ของจังหวัดราชบุรี คือ เหรียญพระพุทธวิริยากร (จิตร) ฉันโน) วัดสัตตนารถปริวัตร หรือที่นักนิยมพระเครื่องมักเรียกกันว่า เหรียญเต่า ซึ่งเป็นเหรียญที่แจกในงานพิธีศพของพระพุทธวิริยากร (จิตร)

พระครูวินัยธรรม (อินทร์) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2401 โยมบิดาคือหลวงวิสาหภัคดี (เพชร) โยมมารดาชื่อทิม ได้บรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนที่สำนักพะเนินพลู ต่อมาได้มาบรรพชาเป็นสามเณรในคณะธรรมยุติกนิกาย ที่วัดอัมรินทราราม (วัดตาลอัมรินทร์) จนอายุครบบวชในปี พ.ศ.2421 จึงได้อุปสมบทที่วัดอัมรินทราราม โดยมีพระสมุทรมุนี (หน่าย) วัดอัม รินทราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์จิตร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์

กระทั่งพรรษาที่ 6 ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์มาอยู่ที่วัดสัตตนารถ และในปี พ.ศ.2433 ได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ในทินนาม "พระครูวินัยธรรม"

หลวงพ่อพระครูวินัยธรรมสนใจในด้านวิปัสสนากรรมฐานและฝึกฝนจนสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านเป็นอย่างมาก หลวงพ่ออินทร์ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสัตตนารถมาโดยตลอดจนหลวงพ่อหน่ายมรณภาพ และพระพุทธวิรากร (จิตร) มาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2458 หลวงพ่อจิตรก็มรณภาพ ในงานพิธีศพหลวงพ่อจิตรได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึก ที่มักเรียกกันว่า เหรียญเต่า เนื่องจากรูปเหรียญขอบด้านข้างมีขอบยื่นออกมาทำให้มองดูรูปเหรียญแล้วคล้ายๆ รูปเต่า เหรียญนี้หลวงพ่ออินทร์ท่านเป็นผู้ปลุกเสก

ต่อมาในปี พ.ศ.2473 หลวงพ่ออินทร์มีอายุครบ 72 ปี คณะศิษย์และชาวบ้านจึงได้ขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้างเหรียญรูปท่านเพื่อแจกในงานทำบุญอายุ โดยสร้างด้วยกัน 2 แบบ คือด้านหลังจะต่างกันที่ตัวหนังสือ "พ.ศ.๒๔๗๓" มีแบบตัวหนังสือตรงกับตัวหนังสือโค้ง ด้านข้างของเหรียญจะเป็นขอบข้างเลื่อย บล็อกหลังหนังสือตรงจะมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่ได้รับไปจะเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิด ว่ากันว่าบล็อกนี้เป็นบล็อกที่สร้างครั้งแรก และในปีเดียวกันก็ได้สร้างอีกครั้งเป็นบล็อกหลังหนังสือโค้ง เนื่องจากเหรียญหนังสือตรงที่แจกไปนั้นไม่เพียงพอ ยังมีผู้ที่ยังไม่ได้รับอีกมากจึงต้องสร้างเพิ่ม แต่ด้านหลังจะเป็นตัวหนังสือโค้ง เหรียญหนังสือตรงจะมีจำนวนน้อย ส่วนเหรียญหนังสือโค้งจะมีมากกว่า ซึ่งบล็อกหนังสือโค้งส่วนหนึ่งที่เหลือจากการแจกให้แก่ศิษย์ไปแล้วท่านได้เก็บรักษาไว้ เพื่อแจกในงานศพของท่าน

พระวินัยธรรม (อินทร์) มรณภาพในปี พ.ศ.2483 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62

เหรียญพระวินัยธรรม (อินทร์) รุ่นแรกปัจจุบันหายากพอสมควรครับ โดยเฉพาะเหรียญบล็อกหลังหนังสือตรง ซึ่งสร้างจำนวนน้อยกว่า แต่เหรียญข้างเลื่อยของทั้ง 2 บล็อกก็หายากเช่นกันครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญ พระครูวินัยธรรม (อินทร์) วัดสัตตนารถ บล็อกหนังสือตรง (นิยม) มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ข่าวสดออนไลน์




เหรียญเสมาหลวงพ่อณรงค์
"หลวงพ่อณรงค์ สาโม" ประธานสงฆ์วัดมงคลนิมิต บ้านโนนเมือง ต.ปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ปัจจุบันสิริอายุ 68 พรรษา 48

เกิดปีพ.ศ.2493 ที่บ้านเขวาทุ่ง ต.ภารแอ่น อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา หลังจบชั้นประถมศึกษา ออกมาช่วยงานครอบครัวด้วยความขยันขันแข็ง

ในปี พ.ศ.2514 เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดทองนพคุณ อ.พยัคฆภูมิพิสัย มีพระครูพินิจพยัคฆภูมิ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้ไปจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัย ที่วัดหนองห้าง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และจบปริญญาตรีศาสนศาสตรบัณฑิต มหามกุฏราชวิทยาลัย

นอกจากนี้ ยังฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาไสยเวทกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสานอีกหลายท่าน อาทิ หลวงปู่มี กันตสีโล อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เป็นต้น อีกทั้งยังศึกษาค้นคว้าจากสมุดข่อย-ใบลาน จนมีความเชี่ยวชาญในการทำตะกรุดโทน

สำหรับวัดมงคลนิมิต นับเป็นวัดในชนบทที่ยังขาดแคลนสาธารณูปโภคสาธารณูปการหลายอย่าง ซึ่งหลวงพ่อณรงค์ก็ได้ร่วมกับญาติโยม พยายามทุ่มเทกำลังกายกำลังใจพัฒนาวัดแห่งนี้อย่างเต็มที่ แต่ถาวรวัตถุที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คือ ศาลาการเปรียญ เนื่องจากยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีการขออนุญาต จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อณรงค์

ในปี พ.ศ.2560 จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญเสมารูปเหมือนรุ่นแรก มอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ร่วมทำบุญ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเสมา

ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัยและมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงพ่อพุทธชัยมงคล ซึ่งเป็นพระประธานประจำวัด ด้านล่างสุดเขียนว่า รุ่น ๑-๒๓ พ.ค.๖๐

ด้านหลัง จากด้านขวาลงไปด้านล่างวนไปด้านซ้าย เขียนว่า "วัดมงคลนิมิต บ้านโนนเมือง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม" บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อณรงค์ ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ใต้รูปเหมือนมีอักขระยันต์

จัดสร้างเฉพาะเนื้อทองแดงเพียงอย่างเดียวจำนวน 1,000 เหรียญ หลวงพ่อณรงค์ ประกอบพิธีอธิษฐานจิตเดี่ยวภายในกุฏิของท่านตลอดพรรษา จากนั้นได้มอบให้ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสมทบทุนก่อสร้างศาลาการเปรียญกับวัด

สอบถามได้ตามศูนย์พระเครื่อง ใน อ.พยัคฆภูมิพิสัย และตัวเมืองมหาสารคาม

ที่มา ข่าวสดออนไลน์




พระปิดตา พิมพ์ท้องแฟบ ของหลวงปู่นาค
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาที่โด่งดังมากของจังหวัดนครปฐม ก็คือพระปิดตาของ หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ ซึ่งปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ ค่านิยมสูงมาก เรื่องพุทธคุณนั้นมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก ส่วนมากก็เก็บไว้เป็นมรดกตกทอดให้แก่ลูกหลาน

หลวงปู่นาคเกิดเมื่อปี พ.ศ.2358 พออายุครบ 21 ปี ท่านจึงอุปสมบทที่วัดพระปฐมเจดีย์ ได้รับฉายาว่า "โชติโก" จำพรรษาอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ จนถึงปี พ.ศ.2432 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์จากรัชกาลที่ 5 ให้เป็นพระครูสัญญาบัตรประจำทิศองค์พระปฐมเจดีย์ที่ "พระครูปาจิณทิศบริหาร" ตำแหน่งเจ้าคณะรองเมืองนครชัยศรี

ต่อมาในปี พ.ศ.2441 ท่านจึงได้มาสร้างวัดขึ้นใหม่ในพื้นที่ตำบลหนองพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เพื่อให้เป็นวัดบริวารขององค์พระปฐมเจดีย์ โดยตั้งห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ 1 ก.ม. แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2443 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2443 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ชื่อว่า "วัดนาคโชติการาม" แต่ชาวบ้านมักจะเรียกว่า "วัดใหม่ห้วยจระเข้" ต่อมาก็เป็น "วัดห้วยจระเข้" จนทุกวันนี้ โดยหลวงปู่นาคเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

หลวงปู่นาคเป็นผู้มีความรู้แตกฉานทั้งหนังสือไทย ขอม และบาลี และมีปฏิปทา มีศีลจารวัตรอันงดงาม เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของพระภิกษุ สามเณร ทายก ทายิกา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเป็นอย่างมาก ท่านปกครองวัดห้วยจระเข้นานถึง 11 ปี และมรณภาพในปี พ.ศ.2452

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างพระปิดตาเนื้อโลหะอันมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านเริ่มสร้างประมาณในปี พ.ศ.2432 ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ในสมัยแรกๆ มีทั้งเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทอง เนื้อชินเงิน

ต่อมาท่านได้เริ่มสร้างเป็นเนื้อเมฆพัด ซึ่งเป็นเนื้อมาตรฐานที่นิยมกันในปัจจุบัน เนื้อโลหะเมฆพัดนี้เกิดจากการนำแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วยกำมะถัน มีสีดำเป็นมัน แววเป็นสีคราม มีพิมพ์ท้องแฟบ พิมพ์ท้องป่อง

พระปิดตาเนื้อเมฆพัดของหลวงปู่นาคนี้ท่านจะสร้างเองภายในวัด เนื้อพระจะเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำ เคลือบเขียวสวยงาม น้ำหนักตึงมือ ที่สำคัญจะไม่ปรากฏรอยพรุนของโพรงอากาศเลย เนื้อเรียบสนิท บริเวณนิ้วพระหัตถ์จะมีรอยตะไบตกแต่ง และมีรอยจารอักขระซึ่งหลวงปู่นาคจารด้วยตัวเองทุกองค์ โดยท่านจะลงตัวนะคงคา อันเป็นนะสำคัญ ซึ่งต้องระเบิดน้ำลงไปลงอักขระ และท่านจะปลุกเสกเดี่ยวของท่านทุกองค์

พระปิดตาหลวงปู่นาคแฝงเร้นด้วยพลังอันเข้มขลัง ทั้งอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดและเมตตามหานิยม เป็นที่เลื่องลือกันทั่ว ปัจจุบันมีราคาสูงและหายากมากๆ ครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตา พิมพ์ท้องแฟบ ของหลวงปู่นาคมาให้ชมกันครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหลวงปู่สอน
หลวงปู่สอน สุนทโร หรือ พระสุนทรธรรมภาณี อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองเหล็ก และอดีตเจ้าคณะอำเภอโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์สืบสายธรรมจากหลวงปู่ศรีธรรมศาสน์ วัดใต้โกสุม

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2463 ณ บ้านหนองเหล็ก อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เมื่ออายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบัวใหญ่ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา

จากนั้นฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ศรีธรรมศาสน์ วัดใต้โกสุม อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เพื่อศึกษาวิทยาคม

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 28 ก.ค.2546 สิริอายุ 83 ปี พรรษา 62

วัตถุมงคลที่เป็นสุดยอดปรารถนา คือ เหรียญกลมรูปเหมือน รุ่นแรกปี 2528

วัดหนองเหล็ก จัดสร้างขึ้นเมื่อครั้งอายุครบ 65 ปี ที่ระลึกกฐินและผ้าป่าสมทบทุนสร้างสาธารณูปโภคสาธารณูปการ

เป็นเหรียญกลมเนื้อทองแดงรมดำ จำนวนการสร้างประมาณ 5,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญยกขอบ มีจุดไข่ปลารอบเหรียญ ด้านในขอบเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ ด้านล่างมีตัวหนังสือ เขียนคำว่า "หลวงพ่อพระครูพิศิษฎ์ธรรมาจารย์" สมณศักดิ์ขณะนั้น

ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสุนทรธรรมภาณี

ด้านหลังเหรียญ ยกขอบใต้ห่วงเหรียญ เขียนคำว่า "วัดบ้านหนองเหล็ก" เริ่มจากด้านซ้ายลงไปด้านล่างวนขึ้นไปทางด้านขวาของเหรียญ เขียนคำว่า "ต.หนองเหล็ก อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม" ตรงกลางเหรียญเป็นยันต์อักขระ และมีตัวเลข "๒๕๒๘" เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยว ภายในอุโบสถตลอดพรรษา

ร่ำลือกันว่าพุทธศาสนิกชนผู้ที่ห้อยเหรียญหลวงปู่รุ่นนี้ล้วนแต่มีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย

ราคาเช่าหายังไม่สูงเท่าใดนัก เหรียญสวยอยู่หลักร้อยปลาย สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยกลาง

ที่มา ข่าวสดออนไลน์




เหรียญพระครูวิชัยกันทรารักษ์
พระครูวิชัยกันทรารักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาวาส และอดีตเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์สืบสายธรรมจากพระครูวิบูลย์ศีลพรต (พรหมา) บูรพาจารย์รุ่นเก่า

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 ณ บ้านส้มป่อย ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทร วิชัย จ.มหาสารคาม เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดสุวรรณมงคล บ้านคันธารราษฎร์ จ.มหาสารคาม โดยมีพระครูวิบูลย์ศีลพรต (พรหมา) เป็นพระอุปัชฌาย์

มรณภาพอย่างสงบ ในปี พ.ศ.2510 ด้วยโรคชรา สิริอายุ 75 ปี พรรษา 55

เมื่อครั้งมีชีวิต จัดสร้างวัตถุมงคลน้อยชิ้น ส่วนใหญ่จะเป็นตะกรุดดอกเล็ก จำนวนการสร้างไม่แน่นอน

หลังมรณภาพ ผ่านไป 1 ปี วัดสุวรรณาวาสจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนขึ้น

เป็นเหรียญรูปใบเสมา มีหูห่วง สร้างประมาณ 3,000 เหรียญ เนื้อทองแดงเพียงอย่างเดียว

ด้านหน้า เป็นลายกนกสวยงาม ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนพระครูวิชัย กันทรารักษ์ครึ่งองค์ ด้านซ้ายโค้งลงไป ทางด้านล่างวนขึ้นไปด้านขวา เขียนคำว่า "พระครูวิชัยกันทรารักษ์"

หลังเหรียญ เป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ นะโมพุทธายะ มียันต์อุณาโลมปิด ตรงกลางยันต์มียันต์น้ำเต้าองค์พระ เป็นคาถาเด่นทางด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ที่ใต้อักขระเขียนว่า "เจ้าคณะอำเภอกันทราวิชัย" (ช่างแกะบล็อกผิดที่ถูกเป็นกันทรวิชัย) "๗ เม.ย.๒๕๑๑" เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายรูปร่วมพิธีอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร บ้านศรีสุข, หลวงปุ่บุญจันทร์ สุญาโณ วัดหนองผักแว่น เป็นต้น

ปัจจุบันราคาเช่าหาในพื้นที่ยังไม่สูง เป็นเหรียญดีราคาถูก

จึงเป็นอีกเหรียญหนึ่งที่นักสะสมนิยมพระเครื่องในพื้นที่





เหรียญระฆังไหว้ครูหลวงปู่ตี๋
หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ หรือ พระครูอุทัยธรรมกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังสะแกกรัง เจ้าตำรับสุดยอดเครื่องรางตะกรุดโทนอันลือเลื่อง

ศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อพูน วัดหนองตางู, หลวงพ่อพุฒ วัดทุ่งแก้ว, หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี, หลวงพ่อพลอย วัดห้วยขานาง รวมทั้งพระเกจิอาจารย์ที่ท่านได้มีโอกาสเข้าไปกราบฝากตัวเป็นศิษย์อีกหลายท่าน

เป็นชาวอุทัยธานี เกิดในสกุล แซ่ตั้ง เมื่อวันที่ 6 เม.ย.2455

อุปสมบท เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2476 ณ พัทธสีมา วัดธรรมโฆษก (โรงโค) มีพระสุนทรมุนี (หลวงพ่อฮวด) วัดพิชัยปุรณาราม อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์

เอกลักษณ์ คือ การพูดตรงไปตรงมา เป็นวาจาเสมือนเนื้อของหัวใจ ปากกับใจตรงกัน ท่านไม่เคยแสดงตัวโอ้อวด แม้ท่านจะมีชื่อเสียงในเรื่องของการจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นที่นิยมกันในวงการพระเครื่อง

วันที่ 1 มี.ค.2546 เวลา 11.57 น. มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา สิริอายุ 91 พรรษา 71

ทุกปีเมื่อครบวันมรณภาพ คณะศิษยานุศิษย์จะร่วมกันสรงน้ำและเปลี่ยนผ้าสบงจีวรให้สังขารของหลวงปู่

ย้อนไปในปี พ.ศ.2545 หลวงปู่ตี๋ จัดงานไหว้ครูประจำปี พร้อมมอบให้นายสมมุติ เกษมุติ หลานชาย จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญระฆังที่ระลึกงานไหว้ครู" โดยจัดสร้างเป็นเนื้อเงิน ขัดเงา 500 เหรียญ, เนื้อ ทองแดง ขัดเงา 5,000 เหรียญ นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นสุดท้าย ของหลวงปู่ตี๋

ลักษณะวัตถุมงคล เป็นเหรียญรูปทรงระฆัง หูห่วงตัน

ด้านหน้าที่ขอบเป็นระฆังเป็นลายกนก ตรงกลางเหรียญเป็นรูปนูนหลวงปู่ตี๋เต็มองค์ นั่งสมาธิ ที่ขอบระฆังด้านล่าง มีอักษรไทย "พระครูอุทัยธรรมกิจ(หลวงปู่ตี๋)"

ส่วนด้านหลัง ขอบเป็นรูปซุ้มระฆัง ตรงกลางเหรียญมีอักขระขอม "นะ ใหญ่" หรือ "นะ เศรษฐี" ใต้ล่างกำกับด้วย อักขระขอม "สะ สะ ลิ เต" ส่วนด้านบน มีอักขระขอม " อิ สะ หวา สุ สุ สะ อิ สะ หวา สุ " ด้านล่างมีอักษรไทย "วัดหลวงราชาวาส จ.อุทัยธานี" ตอกโค้ด "นะ" และเลขอารบิก ลำดับองค์พระ

เหรียญรุ่นนี้ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ผู้เช่าบูชาไปห้อยคอต่างพบประสบการณ์ เป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่คนกล่าวขวัญ

ที่มา ข่าวสดออนไลน์




พระกรุวัดบางยี่หน พิมพ์พระพุทธชินราช และพระพิมพ์เชียงแสน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระดีราคาไม่สูงกันดีกว่านะครับ พระที่จะพูดถึงนี้คือพระกรุวัดบางยี่หน สุพรรณบุรี พระกรุเนื้อดินที่มีประสบการณ์สูง ราคาไม่แพงครับ

วัดบางยี่หนเป็นวัดที่ตั้งอยู่ที่ปากคลองยี่หน ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี คลองยี่หนเป็นคลองขุดมาแต่สมัยโบราณ มีประตูระบายน้ำ ของกรมชลประทาน ที่เรียกว่า ประตูน้ำบางยี่หน

ในปี พ.ศ.2504 มีการแตกกรุของพระเครื่องวัดนี้ เนื่องจากมีคนร้ายลักลอบเข้ามาขุดองค์พระเจดีย์ คาดว่าน่าเป็นคนต่างถิ่นที่ทำมาค้าขายทางเรือ เมื่อผ่านมาก็เกิดความโลภหวังจะเข้าลักลอบขุดเจดีย์เพื่อหาสมบัติและพระเครื่องไปขายในเวลากลางคืน แต่สุนัขของวัดเกิดเห่ากันเสียงดัง จนท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้น คือพระอาจารย์พ่วงได้ยินและตื่นขึ้นมา จึงหยิบไฟฉายไปส่องดู ปรากฏกลุ่มคนวิ่งหนีออกไป ท่านอาจารย์พ่วงจึงไปสำรวจดูพร้อมพระลูกวัดก็พบว่าองค์พระเจดีย์ถูกเจาะเป็นโพรง และมีพระเครื่องเนื้อดินเผาจำนวนมาก จึงได้จัดเวรยามเฝ้าไว้ พอรุ่งเช้าก็ได้นำพระเครื่องทั้งหมดขึ้นมาจากกรุมาเก็บรักษาไว้

พระเครื่องที่พบนั้นเป็นพระเนื้อดินเผา และมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์พระพุทธชินราช และพระพิมพ์เชียงแสน ไม่ได้มีบันทึกว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในแถบละแวกวัด ก็พอจะจับใจความได้ว่า หลวงตาหยัด ผู้คงแก่เรียนทางพุทธาคมเป็นผู้ที่สร้างไว้ และได้นำพระทั้งหมดไปขอให้หลวงพ่อแก้ว วัดสวนหงส์ ปลุกเสกให้อีกทีหนึ่ง

ซึ่งหลวงพ่อแก้วเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐานในสมัยนั้น และท่านก็ยังสนิทสนมกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อยมาก สรุปพอสืบความได้ว่าพระกรุวัดบางยี่หนเป็นพระที่หลวงตาหยัดได้สร้างไว้ และหลวงพ่อแก้ว วัดสวนหงส์ได้ปลุกเสกพระชุดนี้ด้วย

หลังจากที่ พระอาจารย์พ่วง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางยี่หนได้นำพระทั้งหมดไปเก็บรักษาไว้ก็ได้ มีชาวบ้านและประชาชนทั่วไปได้ไปขอรับพระเครื่องดังกล่าวไปจำนวนมาก เนื่องจากมีผู้ที่ได้พระไปบางคนนำพระไปทดลองยิง และยิงไม่ออกข่าวได้แพร่ออกไปก็มีคนเข้าไปขอพระกรุนี้ไปเป็นจำนวนมากจนพระหมดไปจากวัดบางยี่หน

พระกรุวัดบางยี่หนเป็นพระเครื่องที่นับว่าเป็นของดีราคาถูก พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คง และแคล้วคลาด ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพง เนื่องจากจำนวนพระมีจำนวนมากพอแบ่งกันได้ ราคาจึงยังไม่สูง แต่ปัจจุบันก็เริ่มไม่ค่อยเห็นกันบ่อยนักครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกรุวัดบางยี่หนมาให้ชมทั้งพิมพ์พระพุทธชินราช และพระพิมพ์เชียงแสนครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




พระ"อู่-แสน-สุข"
พระครูสังฆรักษ์ประสิทธิ์ สิทธิโก หรือ หลวงพ่อประสิทธิ์ เจ้าอาวาสวัดเพลง (อุโบสถสีชมพู) ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี จัดสร้าง "พระพุทธรูปบูชา 3 สมัย เชียงแสน-อู่ทอง-สุโขทัย" ทรงเครื่อง ปางมารวิชัย เพื่อมอบให้กับเจ้าภาพกองกฐินสามัคคี ไตรพิเศษ จำนวน 9 ไตร

พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ทางภาคเหนือ ซึ่งหากเป็นพระพุทธรูปเชียงแสนต้นแบบ จะเป็นเนื้อสำริด เป็นปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ ส่วนของที่วัดเพลง (อุโบสถสีชมพู) จัดสร้างนั้นเป็นเนื้อเงินยวง นั่งอยู่บนฐานบัว และเบี้ยเงินโบราณ เชื่อว่าบ้านใดมีพุทธรูปศิลปะเชียงแสนบูชาจะเกิดสินทรัพย์นับแสน

พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่ขึ้นชื่องดงาม คือ "พระพุทธชินราช" วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เป็นพระพุทธรูปสำริด ปิดทองปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ สำหรับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ที่วัดเพลง (อุโบสถสีชมพู) จัดสร้างนั้นเป็นเนื้อเงินยวง นั่งอยู่บนฐานบัว และเบี้ยเงินโบราณ เชื่อกันว่าบ้านใดมีพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยบูชา จะเกิดความสุขพูนทวี

พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง มีลักษณะพระวรกายสูงชะลูด พระพักตร์ขึงขัง ส่วนใหญ่สร้างเป็นปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ สำหรับที่วัดเพลง (อุโบสถสีชมพู) จัดสร้างเป็นเนื้อเงินยวง นั่งอยู่บนฐานบัว และเบี้ยเงินโบราณ เชื่อว่าบ้านใดมีพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองบูชา จะเกิดแหล่งที่รวมธนสารสมบัติ

พระครูสังฆรักประสิทธิ์กล่าวว่า ในอดีตการบูชาพระพุทธรูปในบ้านของพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นเครื่องระลึกในการทำความดีนั้น นักสะสมนิยมจัดหาพระบูชาสามศิลปะเพื่อให้ครบชุด "มหาไตรภาคี" สำหรับบูชาในบ้าน พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย รวมเรียกนามมงคลว่า "อู่-แสน-สุข"

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดมงคลเป็นแหล่งรวมธนสารสมบัติ มีทรัพย์นับแสน และเกิดความสุขพูนทวี มีความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้าน

สำหรับพระพุทธรูปตามมงคล "อู่-แสน-สุข" หลวงพ่อประสิทธิ์ตั้งใจจัดสร้าง 1 พรรษา เพื่อให้ญาติโยมได้มาบูชาในช่วงเทศกาลปีใหม่ของไทยนำไปให้กับญาติ หรือผู้ที่เคารพนับถือ เป็นสิ่งมงคลยิ่งกับตัวเองและครอบครัวทั้งผู้ให้และผู้รับ ด้วยองค์พระทั้ง 3 องค์ ก็มีพุทธคุณที่เป็นมงคลอยู่แล้ว ประกอบกับหลวงพ่อประสิทธิ์สวดมนต์ภาวนาอธิษฐานจิต เช้า-เย็น ตลอดพรรษาจึงเป็นพระพุทธรูปบูชาที่ทรงคุณค่ายิ่ง

สอบถามหรือเช่าบูชาได้ที่วัดเพลง (อุโบสถสีชมพู) ปัจจัยที่ได้ทั้งหมดนำไปบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถ และหอระฆัง

ที่มา ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ธันวาคม 2561 12:58:13 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #96 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2561 13:01:36 »




พระสมเด็จเนื้อผงรุ่น 1 หลวงปู่ปัน
"หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม" วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น พระเกจิที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบันสิริอายุ 79 ปี พรรษา 19

เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา มีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมด้วย

จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัวจึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุต) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมีพระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน

ต่อมามีปัญหาด้านสุขภาพ จึงได้ญัตติใหม่เป็นมหานิกาย

ในปี 2560 ญาติโยมบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กราบนิมนต์ให้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิตรจันทร์แสงวนาราม เห็นว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เงียบสงบ ภายในอุดมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมยิ่งนัก จึงรับนิมนต์ ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ตราบจนปัจจุบัน

เนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เป็นวัดที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควร ถาวรวัตถุภายในวัดก็ยังไม่มี บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธา นำโดย "ศุภกิจ พิสมัย" และ "พ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย" มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลพระสมเด็จเนื้อผง รุ่น 1

เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างกฏิให้หลวงปู่จำพรรษาปฏิบัติธรรมและพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม

ลักษณะเป็นพระเนื้อผงรูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าปางนั่งสมาธิ

ด้านหลังปั๊มตัวอักษรข้อความว่า หลวงปู่ปัน วัดเทพนิมิต จ.ขอนแก่น หมึกที่ปั๊มมี 2 สี คือสีน้ำเงิน สร้าง 1 พันองค์ หมึกสีแดง สร้าง 2 พันองค์ หลวงปู่ปัน จารอักขระทุกองค์ จำนวนการสร้างรวม 3 พันองค์

มวลสารที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคล อาทิ พระผงดวงเศรษฐีหลวงปู่หมุน พระกรุนาดูนปี 2522 ดินกรรมฐานฯจงกรมหลวงปู่ปัน เกศาหลวงปู่ปัน พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 100 ปีพระสมเด็จบางขุนพรหม 108 ปี เป็นต้น สำหรับจำนวนการสร้างรวม 3 พันองค์

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2561 หลวงปู่ปันอธิษฐานจิตเดี่ยว

ที่มา ข่าวสดออนไลน์




พระปิดตาพิชัย
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาพิชัย ประวัติความเป็นมาก็ยังไม่มีหลักฐานบันทึกหรือการพบที่กรุพระเจดีย์ของวัดใด เนื่องจากพบกระจัดกระจายพร้อมกับพระกริ่งคลองตะเคียน ตามบริเวณทุ่งนาที่แถวคลองตะเคียน และบริเวณที่พบนั้นเป็นโคกดินยังพบเศษอิฐเก่าอยู่ปะปนในบริเวณนั้นด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดเก่าเล็กๆ ที่เสื่อมสภาพลงภายหลังจากการเสียกรุงครั้งที่สอง พระทั้งสองแบบนี้มีเนื้อหาและลักษณะการจารที่องค์พระแบบเดียวกัน จึงทำให้สันนิษฐานว่าผู้ที่สร้างน่าจะเป็นคนเดียวกันและสร้างในคราวเดียวกัน

ก็มีคำถามอยู่เรื่องหนึ่งว่าทำไม จึงตั้งชื่อพระปิดตาแบบนี้ว่า พระปิดตาพิชัย ทำไมไม่ตั้งชื่อว่าพระปิดตาคลองตะเคียน หรือพระยาพิชัยดาบหักมีส่วนในการสร้างพระไว้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบกับพม่า แต่พระกริ่งคลองตะเคียนทำไมไม่ตั้งชื่อว่า พระกริ่งพิชัยด้วยเล่า เรื่องนี้ก็คงต้องค้นคว้าศึกษาต่อไปนะครับ

ครับเราลองมาดูประวัติของท่านพระยาพิชัยดาบหักโดยย่อกันสักหน่อยนะครับ ท่านเป็นชาวเมืองพิชัยโดยกำเนิด ซึ่งท่านได้รับราชการทำการกู้ชาติ สร้างวีรกรรมอย่างห้าวหาญในการกอบกู้อิสรภาพฐานะทหารเอกคู่พระทัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี จนมีความดีความชอบได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าเมืองพิชัย

ครั้นถึงปี พ.ศ.2314 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพิ่งเสร็จศึกทางด้านเขมรลงมาใหม่ๆ กองทัพพม่าที่ตั้งอยู่เชียงใหม่ได้รุกดินแดนทางเหนือลงมาอีกครั้ง จนถึงกับตั้งล้อมเมืองพิชัยเอาไว้ (เมืองพิชัยเดิมคือเมืองอุตรดิตถ์ปัจจุบัน) พระยาพิชัยได้จัดการป้องกันเมืองอย่างเต็มความสามารถ และเจ้าพระยาสุรีสีห์ผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ได้ยกกองทัพขึ้นไปช่วยการรบในครั้งนั้น ไทยกับพม่าได้ต่อสู้โรมรันกันถึงขั้นตะลุมบอน กองทัพพม่ามิอาจจะทนทานได้ก็แตกทัพกลับไป พระยาพิชัยท่านได้รบอย่างสุดกำลังด้วยดาบสองมือ ได้ห้ำหั่นบั่นคอข้าศึกเสียเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งดาบในมือขวาถึงกับหักสะบั้น จึงได้รับสมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" เป็นเกียรติประวัติสืบมา ด้วยคุณความดีและวีรกรรมของท่านชาวจังหวัดอุตรดิตถ์จึงพร้อมใจกันจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์เพื่ออนุชนรุ่นหลังจะได้จดจำสืบต่อไป และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2513

จะเป็นด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านซึ่งเป็นนักรบที่กล้าหาญกรำศึกมาอย่างโชกโชน มีน้ำใจเด็ดเดี่ยว ซึ่งการรบพุ่งในสมัยนั้นถึงขั้นประชิดตัวกันเข้าทำนองมึงทีกูที ดังนั้นในสมัยก่อนเมื่อทำการศึกก็ต้องรบประชิดติดตัวกัน จะอาศัยกำลังฝีมือแต่ประการเดียวเห็นทีจะเอาตัวรอดยาก เข้าทำนองสาดน้ำรดกันย่อมจะต้องเปียกมากหรือเปียกน้อยด้วยกันทั้งคู่ แต่ท่านพระยาพิชัยท่านก็ปลอดภัยมาโดยตลอด นอกจากท่านจะมีฝีมือเพลงดาบแล้ว ท่านก็คงมีวิชาดี หนังเหนียวเป็นเยี่ยมเช่นกัน แต่ท่านจะอยู่คงด้วยคาถาหรือเครื่องรางอันใดนั้นคงไม่ทราบ

แต่ก็มีพระเครื่องปิดตาของอยุธยาแบบหนึ่ง ที่คนรุ่นเก่าๆ ต่างขนานนามว่า "พระปิดตาพิชัย" สันนิษฐานว่า เมื่อมีผู้พบพระเครื่องชนิดนี้และมีประสบการณ์ทางด้านอยู่คง อย่างมากจนเป็นที่ประจักษ์ กล่าวขวัญเล่าลือกันไปทั่วคุ้งน้ำ หลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติฯ ท่านยังกล่าวว่า ท่านเองก็ยังเห็นกับตา และยกย่องพระกริ่งคลองตะเคียนและพระปิดตาพิชัยว่า เชื่อถือได้จริง ด้วยสาเหตุนี้กระมังคนโบราณจึงนำชื่อท่านพระยาพิชัยมาเป็นเกียรติในการตั้งชื่อพระเครื่องชนิดนี้ว่า "พระปิดตาพิชัย"

ครับ พระปิดตาพิชัยนั้น ประวัติความเป็นมาถึงผู้สร้างยังไม่ชัดเจนนัก แต่ประสบการณ์ที่ประจักษ์นั้นแน่นอนนัก เป็นที่ยอมรับกันถ้วนหน้าครับ พระปิดตาพิชัยมีทั้งที่เป็นแบบหน้าเดียว สองหน้า สามหน้าและสี่หน้าครับ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นสีดำสนิท และที่พบเป็นสีออกแดงก็มีบ้างแต่พบน้อยครับ

พระปิดตาพิชัยในปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ แต่พระแท้ๆ ก็หาไม่ง่าย วันนี้นำรูปพระปิดตาพิชัยมาให้ชมกันครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ข่าวสดออนไลน์




เหรียญพระครูพิทักษ์ปทุมเขต
พระครูพิทักษ์ปทุมเขต อดีตเจ้าอาวาสวัดตระคลอง (วัดบ้านโคกไร่) และอดีตเจ้าคณะตำบลงัวบา อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของอำเภอวาปีปทุม ศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงปู่ซุน วัดบ้าน เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

เกิดปี พ.ศ.2447 ที่บ้านหนองแวงต้อน อ.วาปีปทุม เข้าสู่ร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์ เมื่ออายุ 20 ปี บริบูรณ์ โดยมีหลวงปู่ซุน วัดบ้านเสือโก้ก เป็นพระอุปัชฌาย์

มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2529 สิริอายุ 82 ปี พรรษา 62

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมโดดเด่นและหายากที่สุด จากนักนิยมสะสมพระเครื่องเป็นอย่างยิ่ง คือ "เหรียญรูปเหมือนพระครูพิทักษ์ปทุมเขต ปี 2517"

เหรียญรุ่นนี้ วัดตระคลอง (วัดบ้านโคกไร่) จัดสร้างเพื่อบูชาครู ในวาระ ที่ท่านมีอายุครบ 70 ปี และมอบให้กับ ผู้ที่บริจาคร่วมทำบุญสมทบทุนสร้างเสนาสนะภายในวัด ลักษณะเป็นเหรียญกลมเล็กกะทัดรัดขนาด 2 เซนติเมตร มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงผิวไฟ จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ หันหน้าตรง ด้านล่างใต้

รูปเหมือน เขียนคำว่า "หลวงพ่อพระครูพิทักษ์ปทุมเขต"

ด้านหลังเหรียญ จากด้านซ้าย โค้งไปทางด้านขวา เขียนคำว่า "วัดตระคลอง (บ้านโคกไร่) ต.งัวบา อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม" ตรงกลางเหรียญเป็นอักขระคาถาตัวอักษรธรรม 3 แถว อ่านว่า "จะ สะ พะ สัง มะ อิ วะ พะ จะ จะ ตุ สะ วะ"

เหรียญรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในกุฏิของท่าน ด้วยความที่ท่านมีพลังจิตที่แก่กล้า พุทธคุณจึงเด่นเข้มขลังยิ่ง กล่าวกันว่า ผู้ที่มีเหรียญรุ่นดังกล่าวห้อยเหรียญคอพกติดตัว ล้วนเคยมีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย

เรื่องราวความเข้มขลังวัตถุมงคลของท่านมีมากมาย แต่ในห้วงเวลาที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านห้ามนำวัตถุมงคลของท่านไปทดลองความขลังเด็ดขาด

จัดเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่ อีกเหรียญหนึ่งของ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ได้รับความนิยมในพื้นที่มาโดยตลอด อีกทั้งเป็นเหรียญที่ราคาเช่าหายังไม่สูงเท่าใดนัก สำหรับราคาเช่าหาเหรียญสวยคมอยู่หลักร้อยกลาง

ที่มา ข่าวสดออนไลน์




พระนาคปรกใบมะขาม
คณาจารย์โบราณมักนิยมสร้างพระประเภทหนึ่งซึ่งมีพุทธคุณลือเลื่อง และมีศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกกันว่า "พระนาคปรกใบมะขาม" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ปรกใบมะขาม" เนื่องจากรูปพระพุทธนั้นเป็นพระนาคปรก ส่วนองค์พระมีขนาดรูปทรงเหมือนใบมะขาม มีขนาดใหญ่กว่าใบมะขามจริง แต่ก็ยังถือว่าเล็กมากอยู่ดี

ในบรรดา "พระปรกใบมะขาม" ที่ขึ้นชื่อลือเลื่องนิยมกันแพร่หลายนั้น ได้แก่

- พระปรกใบมะขาม วัดท้ายตลาด ของ พระสนิทสมณคุณ สร้างในปี พ.ศ.2456 ถือเป็นพระยอดนิยมอันดับหนึ่ง มีทั้งเนื้อทองคำ เงิน และทองแดง ของปลอมจะใช้วิธีหล่อหรือเหวี่ยง เนื้อโลหะจึงขรุขระ แม่พิมพ์ของเนื้อทองคำกับเนื้อทองแดงจะเป็นบล็อกเดียวกัน ของแท้เป็นพระปั๊มเนื้อจะตึงไม่มีรอยปรุพรุน

- พระปรกใบมะขาม วัดกัลยาณมิตร สร้างโดย พระสุนทรสมาจาร เรียกกันในวงการว่า "ปรกวัดกัลยา" สร้างราวปี พ.ศ.2474-2476 เพื่อหารายได้สร้างระฆังขนาดใหญ่ของทางวัด

- พระปรกใบมะขาม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท พระชุดนี้สร้างโดยวัดอนงคาราม ธนบุรี ในปี พ.ศ.2463 แต่เนื่องจากปลุกเสกและมีหลวงปู่ศุขเป็นเจ้าพิธี จึงเรียกกันว่า "ปรกหลวงปู่ศุข" มีพระเกจิอาจารย์หลายท่านร่วมปลุกเสก อาทิ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม เป็นต้น

- พระปรกใบมะขาม วัดอนงคาราม ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์(นวม) ซึ่งมีการสร้างหลายคราว ปรากฏทั้งเป็นนาคสองชั้น และนาคสามชั้น บางบล็อกมีรอยแตกของแม่พิมพ์แล่นกลางองค์ในแนวยาว กลายเป็นพิมพ์นิยมบล็อกแตกนาค 3 ชั้น

- พระปรกใบมะขาม เนื้อเมฆพัด หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม เนื้อเป็นโลหะพิเศษสีดำมันวาว เรียก "เมฆพัด" มีการสร้าง 2 คราว คือ ก่อนปี พ.ศ.2500 และหลังปี พ.ศ.2500

นอกจากนี้ยังมี "ปรกใบมะขาม" ที่สร้างโดยเกจิคณาจารย์อื่นๆ และได้รับความนิยมแพร่หลาย เช่น พระปรกใบมะขาม ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส, ปรกใบมะขามหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, พระปรกใบมะขามหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หรือพระปรกใบมะขามหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง

ซึ่งทั้งหมดมักได้รับความนิยมอาราธนาขึ้นคอเป็นชุดๆ เพราะเชื่อในพุทธคุณแห่งรูปพระนาคปรกที่คอยคุ้มกันอันตราย และยังจัดสร้างโดยคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณซึ่งมักจะจารอักขระเลขยันต์ตามตำรับของท่าน โดยแต่ละสำนักก็จะมีวิธีการสังเกตแตกต่างกันไป

ผู้นิยมสะสมพระควรแสวงหา "พระนาคปรกใบมะขาม" เก็บไว้บูชาบ้าง ก็จะยอดเยี่ยมทีเดียวเชียวครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์




เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อศรีโท
"หลวงพ่อศรีโท สีลวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านโพธิ์ และอดีตเจ้าคณะตำบลหนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม อดีตพระเกจิที่มีวัตรปฏิบัติดี ได้รับความเคารพศรัทธาทั้งในและนอกพื้นที่ อ.วาปีปทุม

ประวัติพอทราบโดยสังเขปว่า เป็นคนบ้านโพธิ์โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 16 ก.ค.2456 ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

ในปี พ.ศ.2476 อายุครบบวช เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อุปสมบทที่วัดบ้านโพธิ์ อ.วาปีปทุม

มุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยสอบได้นักธรรมชั้นเอก นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจด้านวิทยาคม จึงฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงปู่สา อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านโพธิ์ รวมทั้งเรียนรู้ อักขระขอม ตัวธรรมลาว จนมีความรู้ด้านอักขระโบราณอีกแขนงหนึ่ง

ต่อมาได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะตำบลหนองแสง

มีความสนิทสนมเป็นอย่างมากกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของมหาสารคาม อาทิ หลวงปู่ซุน วัดบ้านเสือโก้ก อ.วาปีปทุม, หลวงปู่ทวง วัดบ้านยาง อ.บรบือ เดินทางไปมาหาสู่กันเป็นประจำในฐานะสหธรรมิก

มรณภาพเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2518 สิริอายุ 63 ปี พรรษา 43

สำหรับวัตถุมงคลที่สร้างไว้และได้รับความนิยมในพื้นที่คือเหรียญรูปเหมือนรูปไข่ สร้างในปี พ.ศ.2517 จำนวนสร้าง 450 เหรียญ ประกอบด้วยเหรียญเนื้อทองแดงรมดำ ทองแดงกะไหล่ทอง เนื้อนี้ค่อนข้างจะพบน้อยเพราะสร้างไม่มากเพราะสร้างมอบให้ประธานจัดสร้างเท่านั้น และมีเนื้อทองคำอีกจำนวนหนึ่ง

เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม โดยมอบเหรียญรุ่นนี้ให้แก่ผู้มาร่วมทำบุญและสายผ้าป่าสายต่างๆ ท่านยังประกอบพิธีปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้ จนถึงวันสุดท้ายของท่าน ก่อนที่ท่านจะละสังขาร ยังนำเหรียญรุ่นนี้แจกจ่ายให้ทุกคนที่มาเยี่ยมการอาพาธของท่าน

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้ายกขอบ จากขวามือของเหรียญมีตัวอักษรวนลงไปด้านล่างวกขึ้นไปด้านขวา เขียนคำว่า หลวงพ่อศรีโท สีลวณฺโณ วัดบ้านโพธิ์ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

ด้านหลัง มีอักขระยันต์ 3 แถว 2 แถวบนเป็นคาถาพระฤๅษีตาไฟ แถวล่าง อิสวาสุ เป็นคาถาหัวใจพระรัตนตรัย พุทธคุณเด่นรอบด้าน

จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งของมหาสารคาม ที่มีประสบการณ์

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง  ข่าวสดออนไลน์




เหรียญรุ่นแรก พระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดเจริญสุขารามฯ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขารามวรวิหาร อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม หลวงพ่อเจียงเป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เหรียญหลวงพ่อโต วัดเจริญสุขารามฯ เป็นเหรียญรุ่นแรกที่หลวงพ่อเจียงสร้าง ปัจจุบันหายากแล้วครับ

หลวงพ่อเจียงเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2425 ที่บ้านคลองกระจ่า ตำบลตาหลวง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อวัยเด็กบิดามารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือที่วัดเจริญสุขารามฯ กับหลวงพ่ออาจ ในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่าวัดกลางคลองบ้าง เรียกวัดต้นชมพู่บ้าง ต่อมาเมื่อทางการมาสร้างประตูน้ำบางนกแขวก ชาวบ้านก็เรียกว่า วัดประตูน้ำบางนกแขวกบ้าง

หลวงพ่อเจียงในช่วงวัยเด็กก็ได้ช่วยบิดามารดาทำสวนค้าขาย จนกระทั่งอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดเจริญสุขารามฯ โดยมีพระครูปรีชาวิหารกิจ(ช่วง) วัดโชทายิการามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการอาจ เป็น พระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเชย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า วณฺณสโร เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม พระธรรมจนแตกฉาน นอกจากนั้นหลวงพ่อเจียงยังสนใจทางวิปัสสนาธุระ และแพทย์แผนโบราณ จึงได้ศึกษาจากพระอุปัชฌาย์ และพระคู่สวดของท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญชื่อดังในยุคนั้น

นอกจากนี้ท่านยังได้เดินทางมาศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้กาญจนบุรี หลวงพ่อเจียงยังได้ช่วยหลวงพ่ออาจบูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรือง

ต่อมาในปี พ.ศ.2453 พระอธิการอาจมรณภาพ ทางการและคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเจริญสุขารามฯ ท่านก็ได้พัฒนาวัดเป็นการใหญ่ พ.ศ.2469 ได้เป็นพระครูปลัดของพระเทพกวี เจ้าคณะมณฑลราชบุรี พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอัตตโกศล และเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2480 ได้รับเลื่อนเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ.2490 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระสุเมธีสมุทรเขตต์ พ.ศ.2503 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระราชสมุทรเมธี พ.ศ.2506 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพสังวรวิมล หลวงพ่อเจียงมรณภาพในปี พ.ศ.2514 สิริอายุ ได้ 89 ปี

หลวงพ่อเจียงเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านได้สร้างโบสถ์และโรงเรียนเมธีชุณหะวัณ โดยมีจอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นกำลังสำคัญ หลวงพ่อเจียงสร้างวัดเจริญสุขารามฯ จนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ และได้รับเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เป็นวัดที่ 3 ของจังหวัดสมุทรสงคราม

หลวงพ่อเจียงได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกจ่ายแก่ศิษย์และชาวบ้านหลายอย่างเช่น ตะกรุด เหรียญรุ่นต่างๆ เหรียญรุ่นแรกนั้นสนนราคาหลักหมื่นครับ นอกจากนี้ยังมีพระแก้วมรกตจำลอง ซึ่งพระแก้วนี้ลูกศิษย์ของท่านที่อยู่ต่างประเทศได้จัดสร้างถวาย

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก ซึ่งเป็นเหรียญพระพุทธรูปหลวงพ่อโต ปี พ.ศ.2470 มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




พระพิมพ์ลีลา เนื้อทองเหลืองของหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องเนื้อทองเหลืองของจังหวัดสุพรรณบุรี พุทธคุณนั้นเชื่อถือได้ สนนราคาก็ไม่แพง คือพระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว หลวงพ่อได้สร้างพระเครื่องเนื้อทองเหลืองไว้หลายพิมพ์ สร้างเองปลุกเสกเองแจกเอง และชาวบ้านที่ได้รับไปล้วนแต่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย

หลวงพ่อโบ้ยเกิดเมื่อ พ.ศ.2435 ที่บ้านสามหมื่น ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า โยมบิดาชื่อ โฉมศรี โยมมารดาไม่ทราบชื่อ พออายุได้ 21 ปีจึงได้อุปสมบทที่วัดมะนาว อยู่ที่วัดมะนาวได้ 3 พรรษา ก็ได้ไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดาราม กทม. และได้ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานที่วัดอมรินทร์ ต่อมาจึงได้เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาว พ.ศ.2465-2466 ได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา และกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาวในปี พ.ศ.2467

หลวงพ่อโบ้ยจะถือสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์ใดๆ ท่านจะตื่นตี 4 ทุกวัน และสวดมนต์จนกระทั่งรุ่งสางจึงจะออกบิณฑบาต หลังจากกลับจากบิณฑบาตท่านก็จะขอให้พระภิกษุที่วัดทุกรูปยืนเข้าแถวแล้วท่านจะตักข้าวในบาตรของท่านใส่บาตรพระทุกรูป เป็นเช่นนี้ทุกวัน

หลวงพ่อโบ้ยได้สร้างวัตถุมงคลในราวปี พ.ศ.2473 ซึ่งสร้างด้วยเนื้อโลหะทองเหลืองผสม ซึ่งมีชาวบ้านนำมาถวาย เช่น ขันโตก ขันลงหิน เชี่ยนหมาก และอื่นๆ เนื้อพระบางองค์ก็มีสีออกเงินบ้าง และสีต่างๆ ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกันนัก ตอนที่เทพระเครื่องนั้นหลวงพ่อไม่ได้จำวัดเลย เทจนถึงรุ่งสาง และแต่งตะไบขอบพระทุกองค์ หลังจากฉันเพลแล้วท่านก็เอาพระทั้งหมดเข้ากุฏิปลุกเสกจนถึงตอนบ่าย ปรากฏว่ามีชาวบ้านมารอรับแจกพระจากท่านมากมาย แม้คนต่างจังหวัดทราบเรื่องก็ยังมารอรับแจกพระจากท่านด้วย พระเครื่องของท่านหมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว

ต่อมาในปี พ.ศ.2479 หลวงพ่อโบ้ยได้สร้างพระเนื้อดินเผาอีกครั้ง ปี พ.ศ.2500 ได้พระเนื้อชานหมาก พระของท่านไม่มีการจำหน่าย แจกให้เปล่าๆ อย่างเดียว

หลวงพ่อโบ้ยมรณภาพเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2508 ประชาชนไปร่วมงานฌาปนกิจท่านอย่างคับคั่ง

พระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ยมีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาด มีผู้ที่มีประสบการณ์ทั้งถูกยิงไม่เข้าอยู่หลายคน พระเครื่องเนื้อทองเหลืองเป็นที่นิยมกันมาก ปัจจุบันก็ยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ แต่ก็มีของปลอมอยู่เช่นกัน เวลาเช่าหาก็ต้องระวังพิจารณาให้ดีๆ ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์ลีลา เนื้อทองเหลืองของหลวงพ่อโบ้ยมาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหลวงพ่อเส็ง ปี 2547
พระครูอุปการพิสิฏฐ์ หรือ หลวงพ่อเส็ง ธัมมธโร พระเกจิชื่อดังแห่งวัดหนองเรือโกลน ต.หนองกลางดง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี

เป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2534 บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุย่าง 19 ปี

จนเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมะเดื่อ เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2454 มีพระใบฎีกาแจ้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ต.ค.2511 สิริอายุ 77 ปี พรรษา 57

พระอธิการกิตติธัช ยุตติโก เจ้าอาวาสวัดหนองเรือโกลน รูปปัจจุบัน จัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อเส็ง เพื่อสมทบ ทุนบูรณะหอสวดมนต์ที่ชำรุดทรุดโทรม

เป็นเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดง สร้างจำนวน 20,000 เหรียญ

ด้านหน้า เป็นเหรียญลักษณะไม่มีขอบ มีรูปหลวงพ่อเส็งนั่งขัดสมาธิเต็มองค์อยู่กลางเหรียญ ด้านล่างใต้รูปเหมือน มีตัวหนังสือเขียนคำว่า "(หลวงปู่เส็ง) พระครูอุปการพิสิฎฐ์" ตอกโค้ด "นะ" ตรงบริเวณสังฆาฏิรูปเหมือนหลวงพ่อเส็ง

ด้านหลัง มีขอบรอบ กำกับด้วยยันต์ไตรสรณคมน์มีอักขระขอม เขียนว่า "นะ โม พุท ธา ยะ เมตตา พา มะ นะ มะพะทะ" ตอกยันต์มีอุณาโลม กำกับด้วย ยะ และข้างขอบเหรียญด้านล่างยัง มีตัวหนังสือ เขียนคำว่า "วัดหนองเรือโกลน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี"

เหรียญรุ่นนี้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 เม.ย.2547 ณ อุโบสถวัดหนองกระดี่ใน ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี มีพระเกจิอาจารย์นั่งปรกปลุกเสก ประกอบด้วย พระราชอุทัยกวี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี ประธานจุดเทียนชัย,พระครูปทุม ชัยกิจ (หลวงพ่อนะ) วัดหนองบัว จ.ชัยนาท ประธานจุดเทียนชัย, พระครูอุปกิจสารคุณ (หลวงพ่อเสน่ห์) วัดพันสี จ.อุทัยธานี, พระครูมนูญธรรมรัต (หลวงพ่อฟู) วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา

พระครูอุทิศธรรมรส (หลวงพ่อโฉม) วัดเขาปฐวี จ.อุทัยธานี, พระครูอุทิศนวการ (หลวงพ่อสำเริง) วัดทุ่งนาไทย จ.อุทัยธานี, พระครูพิทักษ์ชลธรรม (หลวงพ่อใบ) วัดบ้านเก่า จ.ชลบุรี, พระอุทัยธรรมานุวัตร (หลวงพ่อมนัส) วัดหนองขุนชาติ จ.อุทัยธานี และพระครูอุปการพัฒนกิจ (หลวงพ่อสมัย) วัดหนอง หญ้านาง จ.อุทัยธานี

ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้พระอธิการกิตติธัช นำรายได้บูรณะซ่อมแซมหอสวดมนต์

ที่มา ข่าวสดออนไลน์




พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสังคมพระเครื่องนั้นในสมัยก่อนเรื่องพระแท้กับพระไม่แท้ก็มีปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก การสะสมเล่นหาก็ไม่กว้างขวางมากนักจะเป็นสังคมที่มีเฉพาะคนที่ชื่นชอบจริงเท่านั้น สื่อหรือหนังสือพระเครื่องก็ยังไม่ค่อยมี ในส่วนของสื่อสังคมออนไลน์นั้นก็ยังไม่มี ปัญหาของพระเครื่องที่เกี่ยวกับเรื่องพระแท้หรือไม่แท้นั้น ก็อยู่ที่สังคม ส่วนใหญ่ยอมรับและมีมูลค่ารองรับหรือไม่ ซึ่งก็ง่ายในการพิสูจน์โดยการนำไปบอกขาย ก็พอจะรู้คำตอบได้ไม่ยากนัก

ในปัจจุบันสังคมพระเครื่องเติบโตมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก มีสื่อทั้งหนังสือพระเครื่องและสื่อสังคมออนไลน์มากมาย ปัญหาเรื่องพระแท้หรือไม่แท้ก็ยิ่งมีมากขึ้นตามมา มีการแยกเป็นสองขั้วมากขึ้นกว่าเดิม โดยการจับกลุ่มกันเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น ความเห็นก็แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือมูลค่ารองรับพระเครื่องนั้นๆ พูดง่ายๆ ก็คือขายได้หรือไม่ เป็นสากลหรือไม่ ถ้าขายในที่ซึ่งเป็นศูนย์พระเครื่องต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานแล้วมีผู้ขอซื้อหรือต่อรองราคาก็แสดงว่าพระองค์นั้นๆ แท้ ทำไมถึงใช้มาตรฐานนี้ มีอะไรมาเป็นข้อพิสูจน์ ตามศูนย์พระเครื่องหรือสนามพระเครื่องต่างๆ ก็ย่อมมีคนที่ประกอบอาชีพนี้มารวมตัวกันอยู่ ก็ย่อมมีคนที่มีความชำนาญหรือมีความรู้พอที่จะตัดสินใจได้ว่าแท้หรือไม่ ถ้าแท้เขาก็ย่อมที่จะซื้อเข้ามาเพื่อนำไปขายต่อ ซึ่งก็เป็นอาชีพของเขาอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่แท้เขาก็คงไม่ซื้อให้เสียเงินโดยใช่เหตุ เพราะจะขาดทุนในการประกอบอาชีพทันที ซึ่งมูลค่ารองรับก็ยังคงเป็นหลักความจริงที่ยังคงอยู่ตลอดกาล

พระเครื่องต่างๆ ในปัจจุบันมีบางกลุ่มว่าแท้ และก็มีบางกลุ่มว่าไม่แท้ ทั้ง 2 กลุ่มก็อาจจะมีเหตุผลของตัวเอง ซึ่งผมคงไม่ต้องบอกว่ากลุ่มไหนถูกหรือผิดอย่างไร เพราะมูลค่ารองรับเป็นคำตอบอยู่แล้ว โดยเฉพาะพระเครื่องที่อยู่ในความนิยม

สำหรับผู้ที่เป็นนักสะสมหรือศรัทธาในพระเครื่องนั้นๆ ที่อยากจะหาเช่าพระที่เราชอบไว้บูชา ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่ประกอบอาชีพ ซื้อ-ขายพระเครื่อง ก็ดูท่าน่าจะปวดหัวพอสมควร เพราะปัจจุบันเข้าไปหาข้อมูลเกี่ยวกับพระนั้นๆ ได้ในหลายๆ รูปแบบทั้งสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งบางทีก็ดูเหมือนจะมีข้อมูลที่ขัดแย้งกัน แล้วจะเลือกที่จะเชื่อข้อมูลอันไหนดี มาถึงจุดนี้ผมเองก็อยู่ในสังคมนี้มายาวนานแม้จะไม่ใช่ผู้ที่มีอาชีพนี้หรือเป็นเซียนอะไรกับเขา แต่ก็ยังเข้าสังคมนี้อยู่ตลอดมา เห็นการเปลี่ยนแปลงมาอย่าง ต่อเนื่อง ก็ได้แต่มองดูการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ

ปัจจุบันก็มีหลากหลายสำนักที่ออกใบรับรองพระแท้ และรับตรวจสอบพระเครื่องให้แก่บุคคลทั่วไป บางครั้งผลก็ออกมาไม่ค่อยจะเหมือนกัน เพราะอะไรหรือ? ก็อย่างที่บอกไว้แต่ตอนต้นว่า ปัจจุบันมีการจับกลุ่มกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน และก็มี ความเห็นแตกต่างกันไป กลุ่มใครกลุ่มมัน แต่สำหรับกลุ่มที่เป็นมาตรฐานนั้น ผลการตรวจสอบก็จะออกมาเหมือนๆ กัน และที่สำคัญมีมูลค่ารองรับก็คือเราสามารถบอกขายได้และมีคนรับซื้อ ส่วนมูลค่าจะเป็นเท่าไรนั้นก็แล้วแต่มูลค่าการตลาดในเวลานั้น ส่วนพระที่ไม่แท้นั้นก็คงไม่มีใครขอเช่าหาแน่ครับ

ผมจะขอยกตัวอย่างเช่น พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างไว้ที่วัดระฆังฯ มีบางกลุ่มก็บอกว่าพระของกลุ่มเขาแท้ และยกเหตุผลต่างๆ มารับรอง และก็มีการออกใบรับรองให้ด้วย แต่พอเอาไปเข้าสังคมที่เป็นมาตรฐานหรือต้องการที่จะขายออก กลับมีแต่คนบอกว่าไม่แท้และไม่มีใครซื้อ พอกลับไปบอกกับกลุ่มที่เช่าหาพระมาก็ได้คำตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า "แท้แน่นอนเอาไปให้พวกในสนามพระดูเขาก็จะบอกว่าไม่แท้ เพราะเขาจะบอกว่าแท้ เฉพาะพระที่อยู่ในกลุ่มของพวกเขาเท่านั้น" อ้าวแล้วจะเชื่อใครดี

สำหรับคนนอกก็งงครับ เรื่องนี้พิสูจน์ง่ายๆ และเป็นวิธีโบราณที่ยังใช้ได้ผล ก็คือบอกขายไปเลย กลุ่มที่เขาว่าไม่แท้นั้นแน่นอนว่าเขาไม่ซื้อแน่ แต่กับกลุ่มที่ว่าแท้หรือกับผู้ที่เราไปซื้อมาจากเขานั้น ก็ขายกับเขาไปเลย ดูซิว่าเขาจะซื้อหรือไม่ ถ้าไม่กล้าซื้อก็คงจะได้รับคำตอบแล้วนะครับ เพราะพระยอดนิยมแบบพระสมเด็จวัดระฆังฯ แท้ๆ นั้น ไปที่ไหนก็มีคนรับซื้อถ้าราคาตกลงกันได้พอใจทั้งสองฝ่าย แม้แต่พระสมเด็จที่หักชำรุดหรือแม้แต่มีอยู่ครึ่งองค์ก็ยังขายได้ครับ แต่ถ้าไม่แท้ก็จบครับ ไม่มีมูลค่ารองรับ

พระอื่นๆ ก็เช่นกัน ถ้าเป็นพระเครื่องที่อยู่ในความนิยมและรู้จักกันแพร่หลายล้วนมีมูลค่ารองรับทั้งสิ้นครับ เรื่องมูลค่ารองรับ แม้ว่าจะเป็นวิธีโบราณมากแต่ก็ยังใช้ได้ ผลและเชื่อถือได้เสมอมาครับ ส่วนใครจะ ใช้วิธีอื่นๆ เชื่ออย่างไรก็เป็นความเชื่อส่วนบุคคลครับ

วันนี้ก็คุยกันมาพอสมควรครับ และก็อย่างเคยครับขอนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซมแท้ๆ สวยๆ มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #97 เมื่อ: 12 ธันวาคม 2561 13:03:28 »




พระพุทธสุวรรณมุนีฯเจ้าสัวเรียกทรัพย์
พระพุทธสุวรรณมุนีศรีมหาสมบัติ เจ้าสัวเรียกทรัพย์ เป็นสุดยอดพุทธประติมากรรมแบบคลาสสิค ที่มีความงดงามลงตัวเป็นอย่างยิ่ง พุทธลักษณะปางมารวิชัย ประทับบนฐานสำเภา ศิลปะอู่ทอง

ยุคปลาย พระเกศเปลวเพลิงแบบอ่อนช้อย มีเม็ดพระศกแบบหนามขนุน มีแถบเส้นไรพระศกเว้าบริเวณกลางพระนลาฏ พระขนงเป็นแบบปีกกา

พระพักตร์ค่อนไปทางรูปไข่ ลำองค์มีลักษณะค่อนข้างแข็งตามลักษณะของพระอู่ทองที่ดี มีจีวรบางแนบเนื้อ ชายสังฆาฏิวิ่งตรงลงมาถึงพระนาภีปลายสังฆาฏิแบบเขี้ยวตะขาบ แข้งกลม มีนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน บ่งบอกศิลปะอู่ทองยุคปลายที่นำเอาศิลปะแบบสุโขทัยผสมผสานอย่างลงตัว

รังสรรค์แนวคิดและผลงานโดย อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารงานพุทธศิลป์ จากการจำลองพุทธลักษณะบางส่วนขององค์หลวงพ่อทอง พระประธานในพระอุโบสถวัดอ่างทองวรวิหาร จ.อ่างทอง โดยให้ อ.ชาตรี แก้วทอง เป็นผู้ออกแบบร่างองค์พระพร้อมฐานแบบสำเภาซ้อนกันหลายชั้นขึ้นมาใหม่ มี อ.สุชาติ แซ่จิว ประติมากรชื่อดังเป็นผู้สร้างงานประติมากรรมครั้งนี้

ที่มาของฐานสำเภานั้นอ้างอิงจากประวัติศาสตร์ในสมัยต้นราชวงศ์หมิงราวกว่า 600 ปีมาแล้ว กองเรือมหาสมบัติของแม่ทัพเรือเจิ้งเหอ ซำปอกง มหาขันทีผู้ยิ่งใหญ่ผู้ประกาศศักดาไปทั่วโพ้นทะเล ทั้งการค้าขายแลกเปลี่ยนทรัพย์สินสิ่งของมีค่าต่างๆ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเปิดโอกาสให้ชาวจีนตั้งรกรากผสมผสานกลมกลืนไปกับผู้คนต่างถิ่น เกิดเป็นชุมชนชาวจีนไปทั่วโพ้นทะเล

สำหรับสยามประเทศในเวลานั้นอยู่ในช่วงรัชสมัยของราชวงศ์อู่ทองปกครองแผ่นดิน อิทธิพลของกองเรือมหาสมบัติ โดยแม่ทัพเรือเจิ้งเหอ ก็ได้รุกเข้าถึงแผ่นดินสยามและยังมีส่วนช่วยหนุนนำพาความเจริญความรุ่งเรือง มั่งคั่งอย่างมากมายมาสู่แผ่นดินสยามในยุคนั้นด้วย

พระพุทธสุวรรณมุนีศรีมหาสมบัติ เจ้าสัวเรียกทรัพย์ ประทับบนกองเรือมหาสมบัติ หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว ถอดประกอบ 2 ชิ้น สลับฐานได้ ความสูงจากฐานล่างถึงปลายรัศมี 18 นิ้ว ฐานชั้นล่างกว้าง 12 นิ้ว ลึก 7 นิ้ว มี 5 สี

จัดสร้างเป็นเนื้อโลหะ 2 ชนิด คือโลหะบรอนซ์ออสเตรเลีย จัดสร้าง 5 สี สีละ 9 องค์ ราคาจอง 26,900 บาท เวลานี้โลหะบรอนซ์จองเต็มหมดแล้ว ส่วนงานโลหะทองชนวนจัดสร้าง 5 สีเช่นเดียวกัน แต่มีสีละ 99 องค์ ขณะยังมีเหลือให้จองอยู่ ในราคา 15,900 บาท และยังมีบริการจัดส่งให้ทั่วประเทศโดยมีค่าจัดส่งองค์ละ 300 บาท ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 หากมารับที่วัดเองก็ไม่มีค่าส่ง

วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สมทบทุนในการบูรณะโรงเรียนปริยัติธรรม

พระพุทธสุวรรณมุนีศรีมหาสมบัติ เจ้าสัวเรียกทรัพย์ ประทับบนกองเรือมหาสมบัติเจิ้งเหอ จึงเป็นพระพุทธรูปที่มีต้นกำเนิดคติความเชื่อมาจากพื้นฐานความมั่งคั่ง ร่ำรวย มั่งมี ศรีสุข ทั้งอำนาจ วาสนา บารมี ยิ่งใหญ่เกรียงไกร เหมาะสำหรับเป็นพระประจำตระกูลที่จะหนุนดวงชะตา เสริมบารมี นำพาความสุข ความเจริญ รุ่งเรือง มั่งคั่ง ทั้งอำนาจ วาสนา บารมี มาสู่ตนเองและครอบครัว ตราบชั่วลูก ชั่วหลาน ควรค่าแก่การสะสมทีเดียว ครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์




พระร่วง กรุวัดคูบัว พิมพ์ใหญ่
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมืองสุพรรณบุรีเป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมา ดังนั้นพระเครื่องที่พบในจังหวัดสุพรรณบุรีจึงมีหลายยุคหลายสมัย พระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงก็พบมากที่สุพรรณบุรี ที่พบมากก็เป็นพระร่วงพิมพ์ต่างๆ และมีอยู่หลายยุค พระร่วงกรุวัดคูบัวก็เป็นพระร่วงอีกกรุหนึ่งของสุพรรณบุรี ปัจจุบันหายากไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก

วัดคูบัวอยู่ที่อำเภอบางปลาม้า การพบพระเครื่องกรุนี้ไม่ได้พบที่บริเวณวัดคูบัว แต่พบที่ในที่นาของ นายกัณหา สาเหตุที่พบเนื่องจาก ในปี พ.ศ.2486 พระอธิการถนอม เจ้าอาวาสวัดคูบัว จะก่อสร้างพระอุโบสถและทราบว่าที่นาของนายกัณหามีกองเศษอิฐเก่าอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการประหยัดงบจึงได้เข้าไปขออิฐเก่าที่มีอยู่ในที่นาของนายกัณหาเพื่อนำไปสร้างโบสถ์วัดคูบัว นายกัณหาก็ยินดีไม่ขัดข้อง จึงได้เกณฑ์คนมาช่วยกันขนอิฐที่เนินดินบริเวณนั้น เมื่อขุดและขนอิฐไปเรื่อยๆ ก็บังเอิญพบไหโบราณใบหนึ่ง ภายในบรรจุพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเป็นจำนวนมาก ประมาณ 300 องค์ แต่ก็ไม่มีใครสนใจเท่าไรนัก แม้แต่นายกัณหาเอง จึงบอกให้พระอธิการถนอมเอาไป ท่านจึงนำพระมาเก็บไว้ที่วัด และแจกผู้ที่มาที่วัดไปเรื่อยๆ

ต่อมาก็มีพระร่วงของกรุนี้เข้าไปที่ตลาดสุพรรณฯ นักนิยมสะสมพระเห็นเข้าก็รู้ว่าเป็นพระเก่าแก่ ก็เช่าหาไว้และได้สอบถามข้อมูลจากคนที่เอาพระมาให้เช่า ก็รู้ว่าได้พระมาจากวัดคูบัว ก็เลยเรียกกันว่า "พระร่วงกรุวัดคูบัว" พระร่วงกรุนี้ได้หมดไปจากวัดคูบัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงที่แสดงถึงความเก่าแก่อย่างชัดเจน เนื้อพระมีสนิมไขขาวปกคลุมประปราย ส่วนสนิมแดงก็มีสีแดงสวยงามมีรอยรานใยแมงมุมแสดงถึงความเก่าแก่ พระร่วงกรุนี้มีขนาดค่อนข้างเขื่องสักหน่อย และมีความหนา พระของกรุนี้ที่พบมีทั้งแบบพระร่วงพิมพ์ใหญ่ซุ้มรัศมี พระร่วง พิมพ์เล็ก และพระร่วงนั่ง ซึ่งพิมพ์นี้พบน้อยไม่กี่องค์

พระร่วงกรุนี้ไม่ทรงเทริด ลักษณะเป็นแบบผมเวียน ศิลปะของพระเป็นแบบอู่ทองสุวรรณภูมิ ปัจจุบันค่อนข้างหายาก คนท้องที่มักหวง ประสบการณ์ของคนที่เคยใช้พระกรุนี้ห้อยคอคือเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาด

พระร่วงกรุวัดคูบัวเป็นพระร่วงกรุหนึ่งของสุพรรณบุรีที่ค่อนข้างหายากกรุหนึ่ง และเป็นที่นิยมกันมาก ของปลอมเลียนแบบก็มีการทำมานานแล้วเช่นกัน เวลาจะเช่าหาควรพิจารณาให้ดีๆ ครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระร่วง กรุวัดคูบัว พิมพ์ใหญ่ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




พระกรุวัดสะแก จ.นครราชสีมา
พระกรุวัดสะแก เป็นที่ปรากฏและยอมรับทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยม ไม่แพ้พระสมัยลพบุรีเลยทีเดียว

"ประตูสู่ภาคอีสาน" หรือปราการด่านแรกที่จะเข้าสู่ดินแดนที่ราบสูง ซึ่งก็คือ จังหวัดนครราชสีมา

ดินแดนเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยขอม มีเมืองเก่า 2 เมือง คือ เมืองเสมาและเมืองโคราฆะปุระ (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ.สูงเนิน ริม 2 ฟากฝั่งแม่น้ำลำตะคอง)

จากการสำรวจของนักโบราณคดีพบว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยทวารวดี แต่ต่อมากลายเป็นเมืองร้างไป สันนิษฐานกันว่า ชื่อเมือง "โคราช" หรือ "นครราชสีมา" น่าจะเป็นการรวมชื่อ เมืองเก่าแก่ทั้งสองเมืองนี้มาตั้งเป็นชื่อ เมืองใหม่

เมืองนครราชสีมา มีชื่อปรากฏในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมาขึ้นมาใหม่ให้เป็นเมืองหน้าด่านที่มั่นคง และได้กลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในภาคอีสาน

สำหรับด้านศิลปวัตถุของเมืองนครราชสีมานั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพระสมัยขอม จะมีสมัยทวารวดีบ้างเล็กน้อย และน้อยมาก ที่จะมีการขุดพบพระเครื่องที่เป็นพระกรุ แต่ที่ถือว่าสำคัญและมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องคือ "พระกรุวัดสะแก"

วัดสะแกตั้งอยู่ใจกลางเมืองนครราชสีมา ติดกับตลาดสดเทศบาล สันนิษฐานว่ามีความเก่าแก่ในราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ.2519 พระเจดีย์องค์ใหญ่ในวัดเกิดชำรุดแตกหัก ปรากฏพระเครื่องในองค์พระเจดีย์ทะลักออกมาเป็นจำนวนมาก มีมากมายหลายพิมพ์ทรง ทั้งพระพิมพ์นาคปรก พระพิมพ์อู่ทอง พระพิมพ์วัดตะไกร พิมพ์ฤๅษี ฯลฯ โดยส่วนใหญ่เป็นพระที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา และพระแทบทุกองค์จะมีการปิดทอง

พระกรุวัดสะแกพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ "พระพิมพ์นาคปรก" เป็นพระในสมัยอยุธยาที่สร้างล้อพิมพ์สมัยลพบุรี แบ่งได้เป็นหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ฐานห้าชั้น ฐานสามชั้น ฐานชั้นเดียว ฯลฯ เนื้อขององค์พระเป็นเนื้อชินเงิน และเนื้อตะกั่วสนิมแดง พระพิมพ์นาคปรกที่เป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง เนื้อจะแดงเข้มทุกองค์ จะปิดทองมาจากในกรุทั้งสิ้น และมีจำนวนมากที่สุดด้วย

ในส่วนของพุทธคุณนั้น พระกรุวัดสะแกเป็นที่ปรากฏและยอมรับทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยม ไม่แพ้พระสมัยลพบุรีเลยทีเดียว เรียกได้ว่าสุดยอดแน่นอนครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง  ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์




พระขุนแผนฝังศิลาน้ำ
พระขุนแผนแสนมงคล ฝังศิลาน้ำ คุณแม่บุญเรือน ได้รับการพุทธา ภิเษกโดยหลวงปู่แสน ปสันโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดัง แห่งภาคอีสานใต้

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก อีกครั้งหนึ่ง ณ วัดถ้ำขุนแผน กาญจนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในตำนานที่ขุนแผนเจ้าเมืองกาญจนบุรีได้จัดสร้างกุมารทองและดาบฟ้าฟื้น ณ ถ้ำแห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว มักเดินทางมานั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่บ่อยครั้ง เพื่อความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังของวัตถุมงคล

หลวงปู่แสน ปสันโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังแห่งภาคอีสานใต้ ปัจจุบันอายุ 111 ปี นับเป็นหนึ่งในพระเกจิผู้มีอายุยืนยาวในยุคปัจจุบัน ที่มีไม่กี่รูปนัก

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 พ.ย.2561 วันฉลองกฐินวัดบ้านหนองจิก ศรีสะเกษ พระขุนแผนแสนมงคลจำนวน 275 องค์ ซึ่งบรรจุใส่ไว้บนหอระฆัง ได้รับการพุทธาภิเษกอีกครั้งโดย หลวงปู่แสน, หลวงพ่อสว่าง, หลวงตาจ่อย และหลวงพ่อบุญหลาย พร้อมกับวัตถุมงคลรุ่นพุทธซ้อนเพชรกลับ พระขุนแผนแสนมงคลทั้ง 275 องค์นี้ มวลสารที่นำมาจัดสร้างล้วนเป็นพระเนื้อผงที่มีมวลสารศักดิ์สิทธิ์สายวัดป่าศิษย์บูรพาจารย์หลวงปู่มั่น ผสมเกศาจีวรหลวงปู่แสน บางส่วนฝังศิลาน้ำคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม นับเป็นมวลสารที่มีความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง

ในวันพฤหัสบดีที่ 6 ธ.ค.2561 พระขุนแผนแสนมงคลทั้ง 275 องค์นี้ ได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง ณ วัดถ้ำขุนแผน กาญจนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในตำนาน ที่ขุนแผนเจ้าเมืองกาญจนบุรี ได้จัดสร้างกุมารทอง และดาบฟ้าฟื้น ณ ถ้ำแห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว มักเดินทางมานั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่บ่อยครั้ง

พระชุดนี้จะนำออกให้บูชา เพื่อนำรายได้จ้างช่างวาดภาพกิจกรรมฝาผนังศาลาการเปรียญ วัดบ้านหนองจิก ถวายหลวงปู่แสน และรายได้อีกส่วนจะนำมาร่วมสร้างศาลาการเปรียญ วัดถ้ำขุนแผน ที่ยังไม่แล้วเสร็จ

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง  ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #98 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2561 12:59:57 »


เหรียญหล่อจอบเล็ก พิมพ์แข็งตรง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้นิยมสูงที่สุดและมีมูลค่าสูงที่สุดก็คือ พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงินบางคลาน ในการสร้างครั้งนั้นมีการสร้างทั้งพระรูปเหมือนลอยองค์ และเหรียญหล่อรูปเหมือนของหลวงพ่อเงิน ปัจจุบันหายากมาก และมีมูลค่าสูงมาก

หลวงพ่อเงินเกิดเมื่อปีพ.ศ.2351 โยมบิดาเป็นชาวบ้านท่านั่งบางคลาน หรือเรียกสั้นๆ ว่า บ้านบางคลาน ตอนที่ท่านอายุได้ 3 ขวบลุงของท่านได้ขอไปอุปการะ โดยนำเข้ากรุงเทพฯ ต่อมาได้ไปฝากเรียนกับเจ้าอาวาสวัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) พออายุได้ 12 ปีท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาอักขรวิธี เรียนบาลีสันสกฤต หนังสือไทยและขอม ตลอดจนพระธรรมวินัย จนเมื่ออายุครบบวชท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดชนะสงครามนั่นเอง ได้รับฉายาว่า "พุทธโชติ" ท่านได้ศึกษาทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอยู่ 3 พรรษา จึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาราม หรือวัดบางคลานใต้ เนื่องจากโยมปู่ของท่านกำลังเจ็บหนัก

หลวงพ่อเงินท่านทำวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ประกอบกับให้การอนุเคราะห์แก่ญาติโยมที่มาขอความช่วยเหลือ จนเป็นที่เคารพศรัทธาของญาติโยมทั้งหลาย ต่อมาพรรษาที่ 5 ท่านก็ออกจากวัดคงคาราม และไปสร้างกุฏิกรรมฐานเล็กๆ ที่หมู่บ้านวังตะโกริมฝั่งลำน้ำยม ซึ่งเป็นทำเลที่เงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม และด้วยวัตรปฏิบัติอันหมดจดงดงามด้วยศีลสังวร จึงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่สาธุชนทั้งหลาย จนชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว ในไม่ช้าหลวงพ่อเงินสร้างวัดเป็นที่เรียบร้อย ให้ชื่อว่า "วัดวังตะโก" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "วัดหิรัญญาราม" จนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อเงินมีชื่อเสียงโด่งดังมากทางน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์และปัดเป่าคุณไสยต่างๆ ของดีของท่านอีกอย่างคือน้ำมันเสี่ยงทาย ซึ่งผู้บูชาจะพกติดตัวเสมอ ถ้าดวงดีจะเจริญด้วยทรัพย์สินเงินทอง น้ำมันจะใสและเต็มขวดอยู่เสมอ แต่ถ้าน้ำมันขุ่นและเหือดแห้งไป แสดงว่าผู้บูชาดวงชะตาตกต่ำ ทรัพย์สินเงินทองจะขัดสน

นอกจากนี้ยังมีวัตถุมงคลอีกมากมายที่เป็นที่ต้องการและแสวงหาของพุทธศาสนิกชน เนื่องจากความมหัศจรรย์ได้ปรากฏแก่สายตา สันนิษฐานว่าท่านจะต้องเป็นผู้ทรงคุณวิเศษในอภิญญา คือความรู้ยิ่งในพุทธศาสนา

จากการฝึกฝนปฏิบัติในวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งมี 6 ประการ คือ อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ ทิพย์โสด หูทิพย์ ทิพย์จักษุ ตาทิพย์ เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดรู้ใจผู้อื่น ปุพเพนิวาสสานุสติ ระลึกชาติได้ และ อาสวักขยญาณ คือรู้จักทำอาสวะให้สิ้นลงนั่นเอง หลวงพ่อเงินมรณภาพในปีพ.ศ.2462 อายุได้ร้อยกว่าปี นับว่าท่านอายุยืนมากครับ

หลวงพ่อเงินได้อนุญาตให้ลูกศิษย์ลูกหาที่มาขออนุญาตสร้างรูปเหมือนของท่านเพื่อไว้เป็นตัวแทนตัวท่าน และเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงท่าน ในโอกาสนี้จึงได้มีการหล่อรูปเหมือนของท่านและจัดทำวัตถุมงคลอันเป็นที่นิยมสูงสุดมาจนถึงวันนี้ ได้แก่ พระรูปเหมือนหล่อพิมพ์นิยม พระรูปเหมือนหล่อพิมพ์ขี้ตา เหรียญหล่อจอบใหญ่ และเหรียญหล่อจอบเล็ก ซึ่งกระบวนการสร้างเป็นแบบหล่อโบราณ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อจอบเล็ก พิมพ์แข็งตรง จากหนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ท่านชมครับ [/b]

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์   ข่าวสดออนไลน์



รูปพระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์ของหลวงปู่เอี่ยม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมด้วยกันทั้งสิ้น เนื่องจากประชาชนมีความเคารพศรัทธาในตัวท่านมาก และจากประสบการณ์ต่างๆ ที่รับจากวัตถุมงคลของท่าน จนมีการกล่าวขวัญกันเป็นอย่างมาก

หลวงปู่เอี่ยมเกิดเมื่อปี พ.ศ.2375 ที่บางหว้า ภาษีเจริญ ต่อมาได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่รอด ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านวิทยาคม ต่อมาก็อุปสมบทที่วัดราชโอรส และไปจำพรรษาที่วัดนางนอง หลังจากที่หลวงปู่รอดได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโคนอน หลวงปู่เอี่ยมก็ได้ติดตามหลวงปู่รอดไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโคนอนด้วย ในฐานะศิษย์เอก ต่อมาปี พ.ศ.2441 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ให้หลวงปู่เอี่ยมเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูศีลคุณธราจารย์และอาราธนามาครองวัดหนัง ต่อมาก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระภาวนาโกศลเถระ หลวงปู่เอี่ยมครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนังนานถึง 27 ปี มรณภาพในปี พ.ศ.2469 สิริอายุได้ 94 ปี พรรษาที่ 72

หลวงปู่เอี่ยมได้สร้างพระปิดตาไว้หลายอย่างด้วยกัน สามารถแยกตามเนื้อได้เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อตะกั่ว เนื้อผงใบลาน เนื้อผงหัวบานเย็น และเนื้อไม้แกะ พระปิดตาและพระปิดทวารนี้ จากคำบอกเล่าของผู้หลักผู้ใหญ่บอกต่อกันมาว่า หลวงปู่เอี่ยมสร้างพระปิดตาเนื้อผงและพระปิดตาเนื้อไม้แกะขึ้นก่อน ต่อมาจึงได้สร้างพระปิดตาเนื้อตะกั่วและเนื้อสัมฤทธิ์ จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ในปี พ.ศ.2436 เมื่อเรือรบของฝรั่งเศสเข้ามาปิดอ่าวสยาม ทหารหาญและชาวบ้านได้เข้ามาขอรับพระจากหลวงปู่เอี่ยมจนล้นหลาม หลวงปู่เอี่ยมได้แจกพระปิดตาเนื้อตะกั่วที่สร้างไว้ก่อนหน้าไปจนหมด หลวงปู่จึงให้พระภิกษุและสามเณรและสานุศิษย์ ช่วยกันเทหล่อพระเนื้อตะกั่วติดต่อกันอีก หลังจากนั้น จึงได้มีการสร้างพระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งประมาณว่าท่านคงได้สร้างมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2441 ตอนที่ท่านได้มาครองที่วัดหนังแล้ว และเมื่อคราวบูรณะเขื่อนที่หน้าวัดหนัง ปี พ.ศ.2463 ก็มีการเทพระชัยวัฒน์และพระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์ เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคเงินช่วยเหลือในครั้งนั้นด้วย

พระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์ คุณลุงถมบอกว่าได้รับฟังมาจากหลวงพ่อเล็กลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่เอี่ยม เล่าให้ฟังว่าหลวงปู่เอี่ยมจะให้จัดหาโลหะต่างๆ ซึ่งจะนำมาเป็นส่วนผสมเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ แล้วให้ช่างรีดเป็นแผ่นบางๆ เพื่อให้ท่านลงอักขระเลขยันต์ ต่อจากนั้นจึงมอบให้ช่างนำไปหลอมเทหล่อเป็นองค์พระอีกทีหนึ่ง จากคำบอกเล่าหลวงปู่เอี่ยมท่านสร้างพระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์จำนวนไม่มากนัก น้อยกว่าพระชัยวัฒน์มาก แต่ต่อมาก็มีการสร้างอยู่หลายครั้งเช่นกัน แบบพิมพ์นั้นจะเป็นพระปิดทวารและมียันต์วางเป็นเส้นสายตลอดเกือบทั้งองค์พระ นิยมเรียกกันว่า พิมพ์ยันต์ยุ่ง ในส่วนที่บริเวณหัวเข่าถ้าเป็นยันต์ตัวนะก็มักจะเรียกกันว่าพิมพ์นะหัวเข่า เป็นต้น การวางยันต์ขององค์พระช่างจะปั้นเทียนเป็นเส้นลักษณะคล้ายเส้นขนมจีน แล้วจึงนำมาวางเป็นรูปยันต์ตามกำหนดของหลวงปู่เอี่ยมอีกทีหนึ่ง ตอนยังเป็นหุ่นเทียน ดังนั้นเส้นสายของยันต์จึงจะไม่เหมือนกันเป๊ะทุกองค์ทีเดียวนัก เนื่องจากเป็นการวางยันต์ทีละองค์ครับ

ปัจจุบันพระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อสัมฤทธิ์ของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังนี้หาพบแท้ๆ ได้ยากมาก สนนราคาสูงมากครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์ของหลวงปู่เอี่ยม จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์ มาให้ชมครับ [/b]

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งกันทรวิชัย 150 ปีมหาสารคาม

"บ้านลาดกุดยางใหญ่" ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมือง "มหาสารคาม" ตั้งแต่ครั้งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2408 โดยให้ท้าวมหาชัย (กวด) เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมืองคนแรก ที่ตั้งเมืองเดิมอยู่ที่บริเวณศาลหลักเมือง

แต่เนื่องจากเป็นที่ดอนทำให้มีปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ต่อมาจึงย้ายมาตั้งอยู่ระหว่างกุดยางใหญ่หรือกุดนางใย กับหนองทุ่ม นับแต่นั้นมา เมืองมหาสารคาม ได้มีพัฒนาการเจริญเติบโตมาจนถึงปัจจุบัน

จนถึงปี พ.ศ.2558 จังหวัดมหาสารคาม มีอายุครบ 150 ปี การก่อตั้งเมืองมหาสารคาม ทางจังหวัดได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองหลายกิจกรรม รวมทั้งการจัดสร้างพระกันทรวิชัย รุ่นพิเศษ

วัตถุประสงค์ของการจัดสร้าง เพื่อหารายได้สมทบการก่อสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์จังหวัดมหาสารคาม สนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุนาดูน และส่งเสริมกิจกรรมเฉลิมฉลอง 150 ปี มหาสารคาม จัดสร้างทั้งพระบูชา พระกริ่ง และเหรียญ ประกอบพิธีเททอง ในวันพฤหัสบดีที่ 2 เม.ย.2558 ณ ลานพระประธานกันทรวิชัย ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม (เดิม)

วัตถุมงคลรุ่นนี้ได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวัฑฒโน) จารแผ่นอักขระ

พิธีมหาพุทธาภิเษก จัดขึ้นในวันพุธที่ 29 ก.ค.2558 ณ มณฑลพิธีพระบรมธาตุนาดูน อ.นาดูน โดยมีพระสงฆ์สมณศักดิ์และ พระเกจิอาจารย์ ล้วนชื่อเสียงอยู่ในศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวอีสานร่วมในพิธีหลายรูป อาทิ พระเทพสิทธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม, พระสุทธิธรรมโสภณ เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม (ธ), หลวงปู่หนูอินทร์ วัดพุทธมงคล จ.กาฬสินธุ์, พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ วัดป่าวังน้ำเย็น, หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม, หลวงปู่จื่อ วัดเขาตาเงาะ จ.ชัยภูมิ, หลวงพ่อทองอินทร์ วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด, พระอาจารย์เขียว วัดโพธิ์สามต้น จ.มหาสารคาม เป็นต้น

พระกริ่งกันทรวิชัย รุ่นนี้พุทธศิลป์จำลองมาจากพระกรุกันทรวิชัย เป็นพระพิมพ์ดินเผาประทับนั่งในลักษณะสมาธิวิปัสสนา ขุดพบที่บริเวณโคกดอนพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พุทธศิลป์แบบปาลวะ หรือ คุปตะตอนปลาย สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13 แผ่อิทธิพลเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ สมัยอาณาจักรทวารวดีกำลังรุ่งเรือง กลายเป็นพระพุทธเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของ อ.กันทร วิชัย รวมทั้งจังหวัดมหาสารคาม

แตกต่างจากพระกริ่งกันทรวิชัย รุ่นอื่น คือที่บริเวณผ้าทิพย์จะมีตัวเลข "๑๕๐" ปรากฏอยู่

ในส่วนของจำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ ขนาดความสูง 4 ซ.ม. ประกอบด้วย เนื้อเงินสร้าง 99 องค์ เนื้อนวโลหะสร้าง 299 องค์ เนื้อทองทิพย์ สร้าง 299 องค์ และ ขนาดความสูง 3.50 ซ.ม. เนื้อทองคำ หนัก 19 กรัม สร้างไม่เกิน 99 องค์

สนใจสอบถามได้ตามศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคาม 

ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงพ่อสม
"พระครูศรีคณานุรักษ์" หรือ "หลวงพ่อสม" อดีตเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ และอดีตเจ้าอาวาสวัดดอนบุบผาราม ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเกจิ อาจารย์ระดับแถวหน้า

เป็นศิษย์ พระครูธรรมสารรักษา หรือหลวงปู่อ้น อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนบุบผาราม

นอกจากนี้ ยังเป็นศิษย์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ

มรณภาพ เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2532 สิริอายุ 91 ปี 71 พรรษา

คณะศิษยานุศิษย์หลวงพ่อสม ได้จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหลวงพ่อสม เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2524 เพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองตราตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ โดยในงานครั้งนั้น มีลูกศิษย์ลูกหาเข้าร่วมมุทิตาสักการะเป็นจำนวนมาก

โดยนำเหรียญรุ่นดังกล่าวเข้าพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวในอุโบสถวัดดอนบุบผาราม ก่อนนำมามอบให้ญาติโยมและคณะศิษย์ที่เดินทางเข้าร่วมงานฉลองตราตั้งเจ้าคณะอำเภอในครานั้น

เหรียญรุ่นฉลองตราตั้งเจ้าคณะอำเภอ หรือรุ่นเหรียญหวด ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านบนมีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงชุบกะไหล่ทอง จำนวน 5,000 เหรียญ

ด้านหน้า ตรงกลางมีรูปเหมือนหลวงพ่อสมครึ่งองค์ หันหน้าตรง ด้านล่างของเหรียญ เขียนเป็นตัวนูนว่า "พระครูศรีคณานุรักษ์" มีเส้นวิ่งนูนรอบเหรียญ

ด้านหลัง ตรงกลาง มียันต์มะอะอุ อันเป็นยันต์ประจำตัว ด้านบนของเหรียญเขียนเป็นตัวนูนว่า "ฉลองตราตั้ง" ด้านล่างของยันต์ เขียนเป็นเลขไทยว่า "๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔" ด้านล่างสุดเขียนเป็นตัวนูนว่า "เจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์"

รุ่นเหรียญหวด มีที่มาจากกรณีที่มีชาวบ้าน 2 คน มีปากเสียงทะเลาะกันอย่างหนัก จนถึงขั้นลงไม้ลงมือ มีคนหนึ่งใช้มีดดายหญ้าหวดฟาดคู่อริอีกฝ่ายหนึ่งอย่างแรงถึง 3 ครั้ง

แต่ปรากฏว่า กลับไม่ระคายผิวของผู้ที่ถูกฟาดแม้แต่น้อย

ปัจจุบัน จัดเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่อีกเหรียญหนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี   

ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2304


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #99 เมื่อ: 08 มกราคม 2562 15:35:26 »




พระกำแพงเปิดโลกเม็ดทองหลาง กรุวัดพิกุล
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระที่มักเรียกกันว่าพระเปิดโลกนั้นจะเป็นพระพุทธรูปหรือพระเครื่องที่ทำเป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ปล่อยลงมาข้างลำพระองค์ โดยส่วนใหญ่จะวางห้อยลงมาตามเส้นจีวร มีการพบพระกรุสมัยต่างๆ และหลายจังหวัดที่สร้างพระเครื่องปางเปิดโลก เท่าที่พบมีการเริ่มสร้างมาตั้งแต่ในสมัยกรุงสุโขทัยเรื่อยมา

พระเปิดโลกที่เป็นพระเครื่องนั้น จะพบมากก็ที่จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร มีพบอยู่หลายกรุด้วยกัน ซึ่งก็มีทั้งที่เป็นพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา พระเปิดโลกที่เป็นเนื้อดินเผานั้นจะนิยมพระที่พบในจังหวัดกำแพงเพชรมากกว่า เนื่องจากเป็นพระเนื้อดินเผาที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่ม มีการพบพระเปิดโลกในจังหวัดกำแพงเพชรอยู่หลายกรุด้วยกัน เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดพิกุล กรุวัดกะโลทัย กรุวัดพระแก้ว กรุวัดอาวาสน้อย เป็นต้น พระเปิดโลกที่พบในกรุของจังหวัดกำแพงเพชรจะมีชื่อเรียกคำนำหน้าว่า พระกำแพงเปิดโลก แล้วตามด้วยชื่อพิมพ์หรือกรุต่อท้าย กรุที่นิยมมากที่สุดก็จะเป็นของกรุวัดพิกุลที่มีเนื้อดินละเอียดหนึกนุ่มมากที่สุด

พระกำแพงเปิดโลกของกรุวัดพิกุลมักจะทำเป็นพระพุทธรูปยืน อยู่บนฐานที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างสูง จึงมักจะเรียกว่า "พระกำแพงเปิดโลกยืนตอ" สันนิษฐานว่าเนื่องจากเป็นพระที่มีขนาดเล็กช่างผู้แกะแม่พิมพ์พระจึงไม่ได้แกะ รายละเอียดของฐานพระไว้ ทำให้มองดูคล้ายกับว่าพระพุทธรูปยืนอยู่บนตอไม้ ผู้ที่ตั้งชื่อพระในสมัยแรกๆ ที่พบพระก็ไม่ได้คิดอะไรมากตั้งชื่อตามรูปพระที่เห็น เพื่อให้แยกชื่อพระจากพระพิมพ์อื่นๆ เท่านั้น และก็เรียกชื่อนี้กันต่อๆ มาจนปัจจุบันนี้ พระกำแพงเปิดโลกของกรุวัดพิกุลก็มีทั้งพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก แต่ทั้ง 2 พิมพ์ก็มีขนาดย่อม พระกำแพงเปิดโลกกรุวัดพิกุลพิมพ์ใหญ่ก็จะเรียกกันว่า "พระกำแพงเปิดโลกยืนตอ" ส่วนพระเปิดโลกกรุวัดพิกุลพิมพ์เล็กมักจะเรียกกันว่า "พระกำแพงเปิดโลกเม็ดทองหลาง" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "พระเม็ดทองหลาง" เนื่องจากมีขนาดเล็กและคล้ายๆ กับเม็ดต้นทองหลาง พระทั้ง 2 พิมพ์นี้เป็นพระที่หายาก โดยเฉพาะพระพิมพ์เล็กคือพระเม็ดทองหลางนั้นยิ่งหายากมาก สนนราคาสูงทั้ง 2 พิมพ์ แต่พระพิมพ์ เม็ดทองหลางจะสูงกว่า เนื่องจากหายากกว่าครับ

พระกำแพงเปิดโลกทั้ง 2 พิมพ์มีการทำปลอมมานานแล้ว เนื่องจากมีความนิยมและหายากมาตั้งแต่ในสมัยก่อนแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ครับ พระกำแพงเปิดโลกพุทธคุณเด่นทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ เมตตามหานิยม และแคล้วคลาด

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงเปิดโลกเม็ดทองหลาง กรุวัดพิกุล จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





เหรียญมังกรคู่หลวงปู่ที  โชติปัญโญ
"หลวงปู่ที โชติปัญโญ" สำนักสงฆ์บ้านกระต่ายด่อน ต.สมอ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิอีกรูปหนึ่งที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 79 ปี พรรษา 22

เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านขยอม อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา และบิดามีความรู้เรื่องยาสมุนไพร ได้ติดตามบิดาออกไปรักษาคนไข้ในแถบ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี

แต่ด้วยความที่มีจิตใจโน้มเอียงเข้าหาพระธรรม จึงขอให้นำไปบรรพชาที่วัดในหมู่บ้าน

ต่อมา เดินทางไปศึกษาที่สำนักเรียนวัดหลวงพ่อมุม จ.ศรีสะเกษ มุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมด้วยความขันแข็ง

ช่วงนั้น หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง จ.อุบลฯ เดินธุดงค์ผ่านมาและกำลังจะเดินทางไปยัง จ.เชียงใหม่ ท่านขอติดตามคณะไปด้วย จนไปถึง จ.เชียงใหม่ ได้ไปจำพรรษาอยู่วัดดอยแม่ปั๋ง

กระทั่งเมื่ออายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบท หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เจ้าอาวาสวัดดอยแม่ปั๋ง ได้อบรมสั่งสอนวิปัสสนากัมมัฏมฐาน และพระคัมภีร์ต่างๆ ถึง 7 ปี จากนั้นได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ที่ จ.ศรีสะเกษ

หลังจากที่ท่านบวชได้ประมาณ 10 พรรษา มีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพ ช่วยครอบครัว

กระทั่งหมดภาระทางครอบครัวได้เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์อีกครั้ง และอุปสมบทที่อุโบสถวัดโพธิ์ศรีโคกจาน ต.โคกจาน อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ โดยมีพระครูปัญญาวิริยกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้มาจำพรรษาที่วัดป่าหนองหวาย ต.ทุ่งไชย อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ

ท่านออกเดินธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ และสุดท้ายได้มาพำนักอยู่ที่กระท่อมกลางนานอกหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เมื่อพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสท่านทราบข่าว ช่วยพัฒนาปรับปรุงที่อยู่ให้ท่านเพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติธรรม

ต่อมากลายเป็นสำนักสงฆ์บ้านกระต่ายด่อน แต่เนื่องจากสำนักสงฆ์บ้านกระต่ายด่อน เป็นสถานที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควรถาวรวัตถุภายในวัดก็ยังไม่มี บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธา นำโดย "แท็กสกล พระใหม่" ได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรคู่ รุ่นมหามงคล" เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างถาวรวัตถุภายในสำนักสงฆ์แห่งนี้ ให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

ลักษณะเป็นเหรียญ มีหู ไม่เจาะห่วง

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ที่บริเวณขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวาจะมีรูปมังกรข้างละ 1 ตัว บริเวณหางพันกัน ส่วนหัวมังกรจะชูกงล้อธรรมจักร

ส่วนด้านหลังบริเวณกลางเหรียญจะเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า "มหามงคล ๒๕๖๑ ที่พักสงฆ์บ้านกระต่ายด่อน ต.สมอ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ"

วัตถุมงคลรุ่นนี้จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ 3 เหรียญ เนื้อเงินลงยาสร้าง 19 เหรียญ เนื้อนวโลหะ สร้าง 64 เหรียญ เนื้อสามกษัตริย์ สร้าง 19 เหรียญ เนื้อฝาบาตรลงยาแดง สร้าง 225 เหรียญ เป็นต้น

ข่าวสดออนไลน์




พระกำแพงเปิดโลก
พุทธคุณครบเครื่องทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเป็นเลิศปรากฏแก่สายตา และเป็นหนึ่งพิมพ์ที่ได้รับฉายา "มีกูไว้ไม่จน" เช่นกัน

"พระกำแพงเปิดโลก" มีการขุดค้นพบกันในหลายกรุหลายจังหวัด แต่ที่ได้รับความนิยมสูงเรียกได้ว่าในสมัยก่อนเป็นที่ฮือฮาเทียบเท่าหรืออาจจะมากกว่าพระกำแพงซุ้มกอและพระกำแพงเม็ดขนุนเสียอีก จะเป็นพระที่พบในกรุวัดพิกุล วัดบรมธาตุ วัดป่ามืด และวัดพระแก้ว บริเวณลานทุ่งเศรษฐี จ.กำแพงเพชร เท่านั้น

เนื่องด้วยพุทธศิลปะที่บรรจงสร้างอย่างอ่อนช้อยตามแบบฉบับของศิลปะกำแพงเพชรซึ่งสามารถถ่ายทอดอารมณ์สู่องค์พุทธปฏิมากรรมได้อย่างลงตัวและสมบูรณ์แบบ กอปรกับพุทธลักษณะพิมพ์ทรงซึ่งเล็กกะทัดรัดบูชาพกพาติดตัวได้สะดวก และพุทธคุณครบเครื่องทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเป็นเลิศปรากฏแก่สายตา และเป็นหนึ่งพิมพ์ที่ได้รับฉายา "มีกูไว้ไม่จน" เช่นกัน

ชื่อ "พระกำแพงเปิดโลก" เรียกขานตามพุทธอิริยาบถของพระประธานซึ่งแสดง "ปางเปิดโลก" คือพระกรจะทอดขนานกับลำพระองค์ ตามพุทธประวัติ ปางนี้เป็นปางที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากดาวดึงส์หลังจากการเทศนาโปรดพระมารดา และได้แสดงอิทธิฤทธิ์เปิดทั้ง 3 โลกคือ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และโลกนรก ให้สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้

องค์พระที่ขุดพบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดิน มีเนื้อว่านและเนื้อชินบ้างแต่ไม่มากนัก ดินที่นำมาสร้างองค์พระเป็นดินในแถบเมืองกำแพงเพชร จึงมีความหนึกนุ่มและละเอียด เมื่อได้รับการสัมผัสจะมันวาว มีคราบนวลกรุ รารัก และคราบไคล ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งในการพิจารณา มีทั้งหมด 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก

ลักษณะเป็นพระพิมพ์ครึ่งซีกที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดมาก รายละเอียดขององค์พระประธานที่ประทับยืน พระพักตร์ตรง บนอาสนะฐานสูงซึ่งมีทั้งแบบราบเรียบและแบบนูนยื่นออกมานั้น จึงไม่ค่อยปรากฏชัดเจนนักทั้งพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ และพระกรรณ แต่จะเห็น รายละเอียดของเส้นโดยรอบแสดงถึงพระเกศ วงพระพักตร์ ลำพระองค์ และพระจีวรซึ่งทอดยาวลงมาถึงข้อพระบาท ในองค์ที่กดติดชัดเจน ทำให้แลดูด้อยไปบ้างในเรื่องของความงดงามทางพุทธศิลปะ

"พระกำแพงเปิดโลก" นี้ ได้รับการกล่าวขวัญกันมากมาตั้งแต่สมัยโบราณ จึงมีการทำเทียมเลียนแบบค่อนข้างสูงมาถึงปัจจุบัน การพิจารณาต้องมีการพินิจพิเคราะห์กันอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยใช้หลักการสังเกตจากคุณลักษณะเฉพาะของเนื้อขององค์พระ พุทธลักษณะ และพุทธศิลป์ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรทุกพิมพ์ ของแท้มีจำนวนไม่มากนัก ผู้มีไว้ก็ต้องการเก็บรักษาไว้บูชา ค่านิยมค่อนข้างสูงเอาการ อีกทั้งสนนราคาก็สูงพอควรทีเดียว

ถ้าโชคดีสามารถเช่าหาไว้ครอบครองได้ จงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ครบครันครบเครื่องอย่างนี้ หากันไม่ได้ง่ายนัก

พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์
ข่าวสดออนไลน์





พระพิมพ์ท่ามะปรางค์ของกรุวัดสำปะซิว
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระท่ามะปรางค์กรุสำปะซิว สุพรรณบุรี บางท่านอาจจะสงสัยว่ามีพระท่ามะปรางค์ที่สุพรรณบุรีด้วยหรือ มีครับ พระท่ามะปรางค์มีการพบที่หลายๆ กรุและหลายๆ จังหวัด แบบพิมพ์ก็แตกต่างกันบ้างเล็กน้อยพอให้แยกออกได้ว่าเป็นพระของกรุไหน จังหวัดใด

กรุวัดสำปะซิวความจริงไม่ได้ขุดพบภายในวัดสำปะซิวแต่อย่างใด การพบพระกรุนี้ผู้ที่ขุดพบคือนายดี ขุดได้ในบริเวณบ้านของเขาซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดสำปะซิวนัก ขุดได้ที่ริมรั้วบ้านโดยบังเอิญ นอกจากนี้บริเวณทางทิศใต้ของวัดก็เคยมีผู้ขุดพบ พระพุทธรูปสมัยลพบุรี และโบราณวัตถุอยู่บ่อยครั้งรอบๆ วัด ในส่วนพระเครื่องเนื้อดินเผาที่เรียกกันว่าพระกรุวัดสำปะซิวนั้น

เมื่อนายดีขุดพบพระเครื่องกรุนี้เข้า ก็พบมีจำนวนมากพอสมควร ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพระพิมพ์ซุ้มนครโกษา นอกจากนี้ก็ยังพบพระท่ามะปรางค์หรือที่ในสมัยก่อนเรียกกันว่าพระนางสำปะซิว ซึ่งก็มีจำนวนไม่มากนัก และยังมีพระพิมพ์อื่นๆ บ้างแต่ก็ไม่มากนัก พิมพ์หลักๆ ก็คือพระพิมพ์ซุ้มนครโกษา พระทั้งหมดที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อค่อนข้างหยาบมีกรวดทรายผสมอยู่ ผิวพระก็จะออกแกร่งๆ หน่อย

เมื่อนายดีได้ขุดพระได้ก็ได้แบ่งพระให้พรรคพวกไป พระจำนวนหนึ่งได้เข้าไปในตลาดสุพรรณฯ ก็มีเซียนพระในจังหวัดเช่าไปหลายองค์ เมื่อสอบถามว่าได้พระมาจากไหน ก็ตอบกันว่า แถววัดสำปะซิว จึงเรียกชื่อกรุกันต่อๆ มาว่า พระกรุวัดสำปะซิว พระกรุนี้ศิลปะน่าเป็นแบบสุโขทัยตอนปลาย ที่เป็นพิมพ์ซุ้มนครโกษาสันนิษฐานว่าสร้างล้อแบบของศิลปะลพบุรี เนื้อพระเป็นแบบเนื้อดินเผาค่อนข้างหยาบมีเม็ดกรวดทรายผสมอยู่ในเนื้อ ส่วนเนื้อที่ค่อนข้างละเอียดหน่อยก็มีพบอยู่บ้าง

พระกรุนี้มีผู้นำไปใช้แล้วมีประสบการณ์เด่นในด้านอยู่คงและแคล้วคลาด และพิมพ์ที่รู้จักกันมากก็จะเป็นพระซุ้มนครโกษา เนื่องจากมีจำนวนมากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ จึงเป็นที่รู้จักพระพิมพ์นี้กันมากกว่า ส่วนพระพิมพ์ท่ามะปรางค์นั้นพบน้อยกว่าและหายากกว่าครับ

พระพิมพ์ท่ามะปรางค์ของกรุนี้มีเอกลักษณ์อยู่อย่างหนึ่งคือ มีปีกหรือขอบข้างทุกองค์ไม่มากก็น้อย จะไม่พบพระที่การตัดขอบข้างเลย ในปัจจุบันพระกรุนี้ก็หาแท้ๆ ยากทุกพิมพ์ สนนราคาก็ยังไม่สูงมากนัก แต่พุทธคุณเชื่อถือได้ครับ

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพิมพ์ท่ามะปรางค์ของกรุวัดสำปะซิวจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





เหรียญหล่อชินราชเข่าลอย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
สาเหตุที่เรียกขานกันว่า "ชินราชเข่าลอย" นั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้หลวงพ่อเงินได้จัดสร้างพระพุทธชินราชหล่อเนื้อทองผสมมาแล้วครั้งหนึ่ง เป็นการแกะแบบนูนต่ำ "ชินราชเข่าลอย" เป็นการแกะแม่พิมพ์แบบศิลปะนูนสูง ส่วนที่แตกต่างกันเด่นชัดที่สุดก็คือบริเวณเข่าขององค์พระ จึงนำมาขานนามตามพุทธลักษณะเด่น ซึ่งก็คือ "ชินราชเข่าจม" และ "ชินราชเข่าลอย" นั่นเอง

กล่าวถึง "พระพุทธชินราช" พระประธาน ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุดในโลก ซึ่งนอกเหนือจากคำกล่าวชมแล้ว ด้านความศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่เป็นสองรองใคร ผู้ที่เข้ากราบนมัสการขอพรต่างๆ ก็มักประสบความสำเร็จดังหวัง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนทั่วทั้งประเทศ ทำให้มีเกจิอาจารย์หลายๆ สำนักที่เคารพศรัทธาได้อาราธนามาจำลองเป็นวัตถุมงคลให้พุทธศาสนิกชนได้เช่าบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลในโอกาสต่างๆ เสมอมา ซึ่งยังคงพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระไม่เสื่อมคลาย หนึ่งในนั้นที่ได้รับความนิยมอย่างสูง คือ "เหรียญหล่อชินราชเข่าลอย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม"

พระราชธรรมภรณ์ หรือ หลวงพ่อเงิน จันทสุวัณโณ แห่งวัดดอนยายหอม จ.นครปฐม นับเป็นพระเกจิชื่อดังรูปหนึ่งของจังหวัด ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง ท่านเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวัดดอนยายหอมจนเจริญรุ่งเรืองเป็นที่เชิดหน้าชูตา บูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ โบสถ์ กุฏิสงฆ์ และสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล เป็นต้น และวัตถุมงคลของท่านก็ล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์

สำหรับ "เหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย" นี้ หลวงพ่อเงินจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2493 เพื่อแจกเป็นที่ระลึกสำหรับผู้มีจิตศรัทธาช่วยกำลังแรงงานและกำลังทรัพย์ในการจัดสร้าง "พระศรีทักษิณนุสร" เป็นพระประธานประจำอุโบสถวัดดอนยายหอม

สาเหตุที่เรียกขานกันว่า "ชินราชเข่าลอย" นั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้หลวงพ่อเงินได้จัดสร้างพระพุทธชินราชหล่อเนื้อทองผสมมาแล้วครั้งหนึ่ง เป็นการแกะแบบนูนต่ำ ทำให้องค์พระแลดูแบนๆ ไม่สูงจากพื้นผนังเหรียญนัก

ขณะที่ "ชินราชเข่าลอย" เป็นการแกะแม่พิมพ์แบบศิลปะนูนสูง และส่วนที่แตกต่างกันเด่นชัดที่สุดก็คือบริเวณเข่าขององค์พระ จึงนำมาขานนามตามพุทธลักษณะเด่น ซึ่งก็คือ "ชินราชเข่าจม" และ "ชินราชเข่าลอย" นั่นเอง

การหล่อเหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย เป็นการหล่อแบบโบราณ ดำเนินการกันบริเวณหน้าอุโบสถหลังใหม่ วัดดอนยายหอม โดยทางวัดได้ว่าจ้างโรงงานหล่อพระให้จัดสร้างขึ้น มีนายช่างสนิท เปาวโร เป็นผู้แกะแบบพิมพ์และหล่อพระขึ้น ทำให้องค์พระมีลักษณะพิมพ์ทรงและการหล่อที่งดงาม และด้วยเป็นการเทหล่อด้วยโลหะผสมหลากชนิด ทำให้มีชนวนหลายประเภทที่ผสมรวมกันอยู่ ผิวพรรณวรรณะขององค์พระจึงมีความหลากหลาย ที่พบมากที่สุดคือ สีเหลืองอมเขียว เนื่องจากใช้ทองที่เหลือจากพระประธานเป็นหลักทำให้แก่ทองเหลือง

ส่วนผิวสีอื่นๆ ก็มีโทนสีออกน้ำตาลไหม้เกือบดำ บางทีเรียกว่า "เนื้อขันลงหิน สันนิษฐานว่าน่าจะแก่เงินเมื่อเกิดสนิมจึงกลับดำ ส่วนอีกสีผิวหนึ่งเรียกกันว่า "ผิวก้านมะลิ" คือสีออกเขียวเข้มจัดใกล้เคียงสีดำแต่จะขึ้นพรายเงินสวยงามมาก ซึ่งสนนราคาการเล่นหานั้นนอกจากความสมบูรณ์ขององค์พระแล้ว ยังขึ้นอยู่กับสีสันวรรณะที่หายากง่ายต่างกันด้วย ว่ากันว่าสมบูรณ์สุดๆ ขยับขึ้นไปถึงหลักแสนแล้ว

นอกจากนี้ ของทำเทียมเลียนแบบก็ทำได้สุดยอด ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เก็บรายละเอียดและตำหนิต่างๆ ได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งความคมชัดของเส้นสาย ดังนั้น จะเช่าจะหาต้องระวังกันให้ดีๆ แนะนำให้ปรึกษากูรูผู้ชำนาญการและไว้ใจได้จริงๆ ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง  ราม วัชรประดิษฐ์
ข่าวสดออนไลน์





พระปิดตาคลุมโปง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดท่าพระฝั่งธนบุรี วัดนี้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานของหลวงพ่อเกษร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวย่านฝั่งธนฯ และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีพระเครื่องที่โด่งดังในสมัยอดีตเป็นพระปิดตา ที่มักจะเรียกกันว่า "พระปิดตาคลุมโปง"

ก่อนอื่นก็ขอพูดถึงวัดท่าพระและหลวงพ่อเกษรก่อน วัดท่าพระเป็นวัดเก่าแก่ ไม่มีบันทึกว่าเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่เมื่อใด เท่าที่หลงเหลือหลักฐานที่พอจะสันนิษฐานถึงความเก่าแก่ของวัดก็คือองค์หลวงพ่อเกษรและวิหารแกลบ (วิหารเดิมที่ครอบองค์หลวงพ่อเกษร) วัดท่าพระเดิมเรียกว่าวัดเกาะท่าพระ ต่อมาชาวบ้านมักเรียกกันสั้นๆ ว่า "วัดท่าพระ" และเป็นที่รู้จักกันในนามนี้ตลอดมา มูลเหตุของชื่อวัดสันนิษฐานว่า แต่เดิมบริเวณแห่งนี้คงเป็นที่ชุมนุมจอดพักเรือแพ จึงมีคำว่าท่านำหน้า และพื้นที่ของวัดคงจะมีลักษณะเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันมีการถมคลองเล็กๆ ด้านหนึ่งที่เข้ามาจากถนนจรัญสนิทวงศ์แล้ว จึงมองดูไม่เป็นสภาพเกาะ ที่ท่าน้ำแห่งนี้มีการสร้างองค์พระและเป็นวัดที่มีพระสงฆ์มาจำพรรษา

วัดท่าพระสันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากองค์หลวงพ่อเกษรเป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาที่งดงาม และองค์หลวงพ่อประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุขเดิม ลักษณะสถาปัตยกรรมของวิหารจัตุรมุขเดิมนั้น ทางโบราณคดีเรียกว่า "วิหารแกลบ" ซึ่งเป็นวิหารขนาดเล็กนิยมสร้างในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เป็นวิหารที่สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน ซึ่งเป็นการก่ออิฐแบบสลับตามยาวและตามขวางสลับกันไป มีการย่อมุมทั้งสี่ด้าน รูปแบบทางศิลปกรรมสามารถบ่งบอกถึงยุคสมัยของวิหารได้ว่าเป็นสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา วิหารจัตุรมุขที่เห็นในปัจจุบันเป็นการสร้างครอบวิหารเดิมไว้อีกทีหนึ่งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ เมื่อเข้าไปภายในเพื่อกราบนมัสการหลวงพ่อเกษรจะเห็นวิหารจัตุรมุขเดิมอยู่ภายใน อีกทั้งองค์หลวงพ่อเกษรก็เป็นศิลปะแบบอยุธยาตอนปลายเช่นกัน จึงสันนิษฐานได้ว่าวัดท่าพระนี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย

หลวงพ่อเกษรเป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนปลายที่สวยงามมาก และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนไปกราบนมัสการขอพรมากทุกวัน กล่าวกันว่าผู้ที่มาขอพรมักจะสำเร็จสมประสงค์ทุกราย มีการจัดงานนมัสการเป็นประจำทุกปี

ครับที่วัดท่าพระแห่งนี้ก็มีพระเกจิอาจารย์อยู่รูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านมักจะเรียกท่านว่า "ขรัวคลุมโปง" และประวัติของท่านก็ไม่มีผู้ใดบันทึกไว้เลย ท่านเป็นพระลูกวัดผู้เคร่งในวิปัสสนาธุระ พูดน้อย กล่าวกันว่าท่านสามารถรู้เหตุการณ์ข้างหน้าได้ และก็มีชาวบ้านชอบไปขอหวยจากท่าน เมื่อมีคนถูกบ่อยเข้าก็มีการกล่าวขวัญกันไปทั่ว และมีผู้คนมาขอหวยจากท่านมาก ท่านก็เลยไม่ยอมบอกใครอีก ใครไปกราบท่าน ท่านก็จะเอาจีวรคลุมหัวแบบคลุมโปง และไม่บอกหวยใครอีกเลย ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงมักเรียกท่านว่า "ขรัวคลุมโปง" ลูกศิษย์ของท่านได้ไปขออนุญาตสร้างพระเครื่อง และท่านก็อนุญาตและให้สร้างเป็นรูปพระปิดตา ลักษณะคล้ายๆ กับคนนั่งคลุมโปง ในสมัยนั้นก็เรียกกันว่า "พระปิดตาขรัวคลุมโปง" จนกลายมาเป็น "พระปิดตาคลุมโปง" เนื้อของพระเป็นพระเนื้อตะกั่วผสมปรอท เวลาส่องดูเนื้อพระจะเห็นเม็ดปรอทปะปนอยู่ในเนื้อพระ

พุทธคุณนั้นสุดยอดอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ในสมัยผมเด็กๆ ได้ยินเรื่องราวประสบการณ์ของพระปิดตาคลุมโปงมากมาย เรียกว่าใครมีพระปิดตาคลุมโปงแมลงวันไม่ได้กินเลือด แต่ก็หายากตั้งแต่สมัยก่อนใครๆ ก็เสาะหา และของปลอมก็มีมานานแล้วเช่นกันครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาคลุมโปงมาให้ชมครับ  

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





พระปิดตาอรหัง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระปิดตาเนื้อโลหะ ที่เล็กมากๆ อาจจะเล็กที่สุดโดยฝีมือการแกะแม่พิมพ์โดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ ปลุกเสกโดยหลวงพ่อไสว สุมโน วัดราชนัดดารามวรวิหาร กทม. คือ พระปิดตาอรหัง พระปิดตาอรหังนี้ยังไม่ค่อยมีใครทราบประวัติมากนัก เนื่องจากเป็นการแจกให้เฉพาะบุคคลที่ใกล้ชิดเท่านั้น เคยมีผู้เขียนประวัติการสร้างของพระปิดตาอรหังมาบ้าง แต่ยังไม่ค่อยชัดเจนและถูกต้องนัก วันนี้ผมจึงได้ขอประวัติที่ถูกต้องจากคุณไชยทัศน์ เตชะไพบูลย์ มาเขียนเพื่อเผยแพร่ให้ทราบกันครับ เรามาทำความรู้จักประวัติการสร้างพระปิดตาอรหัง ไปด้วยกันเลยนะครับ

หลวงพ่อไสว สุมโน วัดราชนัดดาฯ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ผู้ที่นิยมพระเนื้อโลหะ เช่นพระกริ่ง นั้นจะรู้จักและเคารพหลวงพ่อไสวมาก จะเห็นได้ว่าท่านจะเป็นเจ้าพิธีใหญ่ๆ อยู่เกือบทุกพิธี ยกตัวอย่างเช่น พระกริ่งนเรศวร ปี พ.ศ.2507 พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ พระพุทธสิหิงค์ พ.ศ.2509 จังหวัดชลบุรี พระกริ่งนเรศวรเมืองงาย ปี พ.ศ.2511 พระกริ่งเอกาทศรถ พ.ศ.2512 พระกริ่งยุทธหัตถี พ.ศ.2513 และพระกริ่งศรีนคร พ.ศ.2516 เป็นต้น พระดังที่ได้กล่าวมานี้เป็นพระที่นิยมกันมากในปัจจุบัน และพระปิดตาอรหังเป็นพระปิดตาที่หลวงพ่อไสว สุมโน ปลุกเสกนานที่สุดในบรรดาวัตถุมงคลของท่าน

พระปิดตาองค์นี้ต้นแบบสร้างโดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ ช่างแกะแม่พิมพ์ที่ถือว่าเป็นสุดยอดฝีมือของยุคสมัยนั้น ได้แกะแม่พิมพ์หลังจากที่ได้สร้างพระปิดตาสารพัดดีของหลวงพ่อเกษม เขมโก ปี พ.ศ.2518 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่ามีการทำพระปิดตาสารพัดดีปลอมออกมา นายช่างเกษมจึงได้แกะพระปิดตาที่มีขนาดเล็กมาก ขนาดขององค์พระมีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดถั่วเขียวเล็กน้อยเพื่อให้ปลอมแปลงได้ยากขึ้น เมื่อแกะเป็นองค์พระนี้เสร็จแล้วจึงมอบให้คุณไชยทัศน์ เตชะไพบูลย์ และได้นำไปขออนุญาตหลวงพ่อไสว สุมโน เพื่อปลุกเสก ท่านรับปากโดยแจ้งว่าจะปลุกเสกจนกว่าท่านจะพอใจ (มีปาฏิหาริย์) จึงจะคืนให้ ต่อมาหลวงพ่อไสวได้ให้นายช่างเกษมเทหล่อ โดยใช้เนื้อชนวนพระกริ่งศรีนคร ซึ่งถือว่าเป็นพระกริ่งที่มีพิธีและเนื้อหาดีที่สุดในยุคนั้นมาใช้เป็นเนื้อของพระปิดตาชุดนี้ โดยไม่มีการเจือโลหะอื่นอีกเลย เทได้กี่องค์ก็เอาแค่นั้น หลวงพ่อไสวได้ปลุกเสกพระปิดตาชุดนี้อยู่ถึง 2 ปีกว่า (ปลุกเสกตั้งแต่ปี พ.ศ.2518-2520) นอกจากนี้ท่านยังได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ ที่ท่านได้รับนิมนต์ไปในพิธีอีกหลายแห่ง จากนั้นหลวงพ่อไสวจึงให้คุณไชยทัศน์มารับพระปิดตาคืน โดยท่านได้ตั้งชื่อพระปิดตาชุดนี้ว่า "พระปิดตาอรหัง" และกำชับคุณไชยทัศน์ว่า "อย่าแจกพร่ำเพรื่อ มอบให้เฉพาะคนที่สนิท ญาติมิตร ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง หรือผู้ที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือจะไปทำงานต่างจังหวัดไกลๆ "พระที่สร้างในครั้งนี้สร้างตามชนวนที่มีอยู่ สันนิษฐานว่าจำนวนประมาณไม่เกิน 800-900 องค์และนายช่างเกษมได้ทำโค้ดตอกไว้ทุกองค์ที่ใต้ฐานบริเวณชนวนที่ตัดออกเป็นตัว "ท" พระส่วนหนึ่งหลวงพ่อไสวนำไปแจกลูกศิษย์ใกล้ชิด ส่วนหนึ่งมอบให้นายช่างเกษม และส่วนที่เหลือของคุณไชยทัศน์ก็ได้มอบให้แก่ญาติมิตร และคนใกล้ชิดเท่านั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 เป็นต้นมา

พระปิดตาอรหัง เป็นพระปิดตาเนื้อโลหะที่องค์เล็กที่สุด มีความสวยงามในด้านศิลปะ และเนื้อหาก็ดีมาก การปลุกเสกก็นานที่สุดของหลวงพ่อไสว และพระชุดนี้สร้างมาไม่มีการจำหน่ายเลย เป็นการแจกให้ผู้ใกล้ชิดเท่านั้น ปัจจุบันหายากมาก และเป็นที่นิยมเสาะหากัน มีอยู่บ้างที่หลุดเข้ามาในสนามพระ แต่ก็น้อยมาก และจะมีผู้ที่ทราบประวัติเช่าหาไปอย่างรวดเร็ว

ในวันนี้ผมก็เลยถือโอกาสนำรูปพระปิดตาอรหัง ถ่ายเปรียบเทียบกับเมล็ดถั่วเขียวมาให้ชมกันครับ

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ

พระครูวิบูลอาจารคุณ หรือ หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงเจริญธรรม ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอ่างทอง มีชื่อเสียงโด่งดัง

เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2522 ที่วัดนางใน (ธัมมิการาม) โดยมี พระครูสุนทรศีลคุณ (หลวงพ่อชม) เจ้าอาวาสวัดนางใน เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2527 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดม่วง พ.ศ.2529 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหัวตะพาน พ.ศ.2530 สอบได้นักธรรมชั้นเอก

มีความชำนาญด้านเทศนาปาฐกถาธรรม พ.ศ.2534 ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2542 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอวิเศษชัยชาญ

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 7 มี.ค.2544 รวมสิริอายุ 56 ปี

นับเนื่องจนถึงปัจจุบัน ศพยังไม่เน่าเปื่อยบุบสลายเป็นที่น่าอัศจรรย์ และบรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งให้กราบไหว้สักการะบริเวณวิหารแก้ว

กล่าวได้ว่า วัตถุมงคลของหลวงพ่อเกษมทุกรุ่น ล้วนแต่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะเหรียญหลวงพ่อเกษม รุ่นแรก เหรียญรุ่นดังกล่าวมีหูห่วง เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2528 ในงานที่ระลึกวางศิลาฤกษ์อุโบสถวัดม่วงเจริญธรรม

สร้างจากเนื้อทองแดง โดยมีพระเกจิที่เข้าร่วมพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อดี วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี เป็นต้น

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเกษม ห้อยประคำมาถึงตรงกลางอก ด้านหนึ่งเห็นเม็ดประคำ 19 ลูก อีกด้านเห็นเม็ดประคำ 20 ลูก ด้านข้างรอบเหรียญ เขียนคำว่า "เมตตามหานิยม ลาภผลพูนทวี อยู่เย็นเป็นสุข ซื้อง่ายขายคล่อง แคล้วคลาดปลอดภัย หลวงพ่อเกษม วัดม่วง อ.วิเศษฯ จ.อ่างทอง" ไหล่ด้านบนรูปหลวงพ่อเกษม 2 ด้าน มียันต์อักขระขอม "มะ อะ อุ" พระเจ้าห้าพระองค์

ด้านหลัง เขียนข้อความรอบเหรียญด้านนอก ว่า "ที่ระลึกในงานวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถวัดม่วงเจริญธรรม ๕ ก.ย. ๒๕๒๘ รุ่นที่ ๑" ตรงกลางเป็นยันต์มหาโภคทรัพย์

ปัจจุบันแวดวงพระเครื่องวัตถุมงคลใน จ.อ่างทอง กล่าวได้ว่า เหรียญหลวงพ่อเกษม รุ่น 1 เป็นที่นิยมและมีความต้องการสูงจากบรรดานักสะสมและเซียนพระ ต่างพากัน กะเก็งว่า วัตถุมงคลหลวงพ่อเกษมได้รับความนิยมสูง

ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.267 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 15:36:43