[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:56:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 6 7 [8] 9 10   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเครื่อง  (อ่าน 237185 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #140 เมื่อ: 02 มีนาคม 2563 15:45:26 »


พระลือหน้ามงคล กรุวัดประตูลี้

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าพูดถึงพระเครื่องสกุลลำพูน เราก็จะนึกถึงพระรอดวัดมหาวันเป็นอันดับแรก รองลงมาก็จะเป็นพระคงวัดพระคงฤาษี ไม่ก็พระเลี่ยงวัดประตูลี้ พระบางวัดดอนแก้วเป็นต้นส่วนพระที่มีขนาดเขื่องหน่อยก็คงจะเป็นพระเปิม พระที่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึงก็คือพระฤาหรือพระลือวัดประตูลี้ พระลือก็เป็นพระกรุเดียวกับพระเลี่ยง ขุดพบพร้อมๆ กัน แต่พระลือมีขนาดเขื่องหน่อย และมีจำนวนน้อยพบไม่มากนัก พระเลี่ยงมีมากกว่าคนก็รู้จักมากกว่า อีกทั้งขนาดของพระลือเป็นพระที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ส่วนพระเลี่ยงมีขนาดกำลังพอเหมาะ ความนิยมก็มาอยู่ที่พระเลี่ยง

วัดมหารัตตาราม (วัดประตูลี้) พระอารามนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้นอกกำแพงเมือง ไปทางประตูลี้ ซึ่งเป็นทวารพระนครฝ่ายทิศใต้ ของนครหริภุญชัยนครและเป็นหนึ่งในจตุรพุทธปราการที่พระนางจามเทวีทรงให้สร้างไว้ และที่พระอารามแห่งนี้ได้มีการขุดพบพระเครื่องที่สำคัญอยู่หลายอย่าง และมีการขุดพบอยู่หลายครั้งหลายหนมาแล้วในอดีต เท่าที่มีการบันทึกไว้มีดังนี้

ในปี พ.ศ.2417 เจ้าดิเรกรัตนไพโรจน์ (ดาวเรือง) เป็นเจ้าหลวงลำพูนองค์ที่ 8 ได้อุปสมบทในพระอารามนี้ ทั้งได้ปฏิสังขรณ์พระอารามเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้แก่พระเจดีย์องค์ประธาน และได้พบพระเครื่องชนิดต่างๆ ของวัดประตูลี้เป็นอันมาก เช่นพระเลี่ยง พระเลี่ยงหลวง พระลือ พระสามและพระสิบสองเป็นต้น

การขุดหาพระเครื่องวัดประตูลี้ในปี พ.ศ.2484 ในปีนี้เป็นการขุดหาพระเครื่องครั้งใหญ่ทั่วไปในลำพูน ในยุคเจ้าหลวงจักรคำ ขจรศักดิ์ ซึ่งเป็นระยะเวลาของสงครามอินโดจีน การขุดในครั้งนี้กระทำในพื้นที่ด้านใต้นอกเขตอุปจารของพระอาราม และได้พบพระเครื่องของกรุนี้เป็นจำนวนมาก พระเครื่องที่ขุดพบได้แก่ พระเลี่ยง พระเลี่ยงหลวง พระลือ พระสาม พระแปด และพระสิบสองเป็นต้น

ในปี พ.ศ.2496 เป็นการขุดครั้งหลังสุดของกรุนี้ ซึ่งเป็นการพบโดยบังเอิญ โดยสามเณรอินตา (ในสมัยนั้น) และนายคำ แก้วตา ได้ขุดถอนต้นมะพร้าวซึ่งอยู่ทิศเหนือของตัวพระอารามและได้ขุดพบโถโบราณเนื้อดินเผาใบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายตะเกียงหลอด มีฐานเป็นชั้นๆ ตรงกลางป่อง และมีคอยาวเรียวขึ้นไปถึงปาก ภายในโถมีพระเลี่ยงหลวงบรรจุอยู่ประมาณ 300 องค์

โถโบราณที่บรรจุพระเครื่องที่พบในครั้งนั้น เป็นที่สนใจของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ซึ่งขณะนั้นท่านขึ้นไปค้นคว้าโบราณคดีและศิลปวัตถุในลำพูน ต่อมาอาจารย์จิต บัวบุศย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่างนักค้นคว้าโบราณคดี สาขาเครื่องปั้นดินเผา ได้มีความสนใจมากและติดต่อขอซื้อ แต่ผู้เป็นเจ้าของไม่ยอมขายให้

ครับ พระเครื่องกรุวัดประตูลี้ ที่มีผู้รู้จักมากที่สุดก็คือพระเลี่ยง เนื่องจากมีจำนวนมากกว่าและมีขนาดเล็กกว่าพระทุกพิมพ์ของกรุนี้ จึงเป็นที่นิยมกันมากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ของกรุเดียวกัน พระที่มีขนาดเขื่องขึ้นมาอีกหน่อยก็คือพระลือ แต่ก็มีจำนวนพระที่ขุดพบไม่มากนัก จึงอาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันมากนัก จนอาจทำให้ลืมกันไปได้ว่า พระเครื่องที่น่าสนใจอีกพิมพ์หนึ่งของกรุนี้ก็คือพระลือ ซึ่งเป็นพระเครื่องที่น่าสนใจอีกพิมพ์หนึ่ง ในเรื่องพุทธคุณและประสบการณ์นั้น ก็เฉกเช่นเดียวกันกับพระเลี่ยง คือเด่นทางด้านแคล้วคลาด หลีกลี้หนีภัยพาลได้ อีกทั้งพระลือนั้นยังมีความเชื่อที่ว่าจะอำนวยอวยผลให้มีชื่อเสียงเลื่องลือโด่งดังอีกด้วย ตามชื่อของพระ แต่พระลือหน้ามงคลนั้นที่เป็นพระแท้ๆ ก็หาได้ยากยิ่งครับ อันเนื่องจากจำนวนพระที่ขุดพบนั้นมีไม่มากนักครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระลือหน้ามงคล กรุวัดประตูลี้จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญกงจักรหลวงพ่อทองอยู่

หลวงพ่อทองอยู่ ปัญญาวัฑฒโน หรือ พระครูนิรภัยวิเทต อดีตเจ้าอาวาสวัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) ต.เกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ พระเถระผู้ทรงวิทยาคุณ มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

ครูบาอาจารย์ของท่าน คือ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, พระปลัดนิ่ม วัดบางศาลา อ.ไชโย จ.อ่างทอง, พระครูฉ่ำ วัดบางตะเคียน ต.โตนด อ.ไชโย จ.อ่างทอง

เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 6 ปีมะเมีย พ.ศ.2437 ที่บ้านเกยไชย ต.เกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ เป็นบุตรของพ่อสุ่มและ แม่จั่น

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดหนองขอน มีพระครูสวรรค์วิจิตร (สถ) เจ้าคณะอำเภอชุมแสงในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์

ในสมัยนั้น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก จึงเดินทางไปหาหลวงพ่อเงินและฝากตัวเป็นศิษย์เรียนการฝึกสมาธิ และแนวทางการปฏิบัติธรรม

เดินทางกลับมาที่วัดเกยไชย ช่วยสอนธรรมวินัยแก่พระภิกษุ-สามเณร จนวัดเกยไชยเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียง

ต่อมาตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกยไชยว่างลง จึงรับหน้าที่เป็นผู้รักษาการแทน พรรษาที่ 9 จึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเกยไชย รับภาระสร้างถาวรวัตถุ ทำนุบำรุงวัดเป็นอย่างดี

เป็นพระเถระที่อยู่ในใจของประชาชนตลอดมา ด้วยท่านเป็นพระผู้สมถะ ไม่สะสม เสียสละเพื่อพระพุทธศาสนาตลอดมา รวมทั้งบำรุงส่งเสริมการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

วันที่ 19 ต.ค. 2524 มรณภาพด้วยอาการอันสงบ สิริอายุ 87 ปี พรรษา 67

วัดเกยไชยเหนือ จัดสร้างเหรียญรุ่นกงจักร หลวงพ่อทองอยู่ เพื่อฉลองในพิธีพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นเอก ในปี พ.ศ.2515 ซึ่งเป็นเหรียญที่มีจำนวนการสร้างค่อนข้างมาก ทั้งยังมีการสร้างติดต่อกันอย่างยาวนาน ตั้งแต่ พ.ศ.2515-2524

ครั้งแรกสร้างเป็นเนื้อทองแดงชุบนิกเกิล กับเหรียญชุบทอง เพื่อแจกกรรมการ สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณ 2,000 เหรียญ ปรากฏว่า ได้รับความนิยม จนเหรียญที่สร้างขึ้นหมดไป ไม่พอแจก จึงสร้างขึ้นใหม่อีกเป็นเนื้ออัลปาก้าชุบ ประมาณ 5,000 เหรียญ และยังสร้างเป็นเหรียญที่มีสีต่างๆ ตามวัน เช่น สีขาว สีเขียว สีเหลือง สีฟ้า สีชมพู สีม่วง

โดยพระเถระที่ร่วมปลุกเสกได้แก่ หลวงพ่อทบ วัดชนแดน จ.เพชรบูรณ์, หลวงพ่อทวี วัดโรงช้าง จ.พิจิตร, หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง, หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน, หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช, พระสมุห์สุชาติ วัดนาคปรก ฯลฯ

ลักษณะเหรียญกงจักร มีรอยหยักแหลมคล้ายฟันปลารอบเหรียญแบบกงจักร จำนวน 16 หยัก มีหูเชื่อม

ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อทองอยู่ครึ่งองค์ ใต้รูปหลวงพ่อมีตัวอักษรว่า พระครูนิรภัยวิเทต ส่วนที่รอยหยักรอบเหรียญจะมีลงยาเป็นสีต่างๆ มีหูห่วงเชื่อมติดตรงรอยหยักที่อยู่ตรงศีรษะหลวงพ่อ แต่ละเหรียญจะมีลงยาสีต่างกันไป

ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปพระบรมธาตุอยู่ตรงกลางเหรียญ สองข้างซ้ายขวาของพระบรมธาตุ จะมีตัวยันต์นะล้อมอยู่ทางด้านข้าง
  ข่าวสดออนไลน์  



พระกำแพงกลีบจำปา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระในตระกูลทุ่งเศรษฐีที่เป็นพระปางลีลาเนื้อดินเผา นอกจากพระกำแพงเม็ดขนุน แล้ว ก็ยังมีพระปางลีลาที่หายากอีกอย่างหนึ่ง ก็คือพระกำแพงกลีบจำปา ซึ่งเป็นพระที่ไม่ค่อยได้พบเห็นนัก เรียกว่าหาพระแท้ๆ ยากจริงๆ พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกับพระเม็ดขนุน และเป็นพระที่นิยมกันมากมาแต่ในอดีต

พระกำแพงกลีบจำปา ชื่อนี้ไม่ใช่ชื่อที่แปลกใหม่ ส่วนมากก็เคยได้ยินกันมาแทบทั้งนั้น แต่องค์พระเป็นอย่างไรหรือหน้าตาเป็นอย่างไร แทบไม่ได้เคยเห็นกันเลยจริงไหมครับ พระกำแพงกลีบจำปา ก็คือพระปางลีลาอีกอย่างหนึ่งของพระตระกูลทุ่งเศรษฐี รูปทรงสัณฐานจะคล้ายๆ กับพระกำแพงเม็ดขนุน แต่แม่พิมพ์ของ พระกำแพงกลีบจำปาจะตื้นกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน ตัวฐานของพระกำแพงกลีบจำปาในองค์ที่ติดชัดๆ จะเห็นเป็นฐานสองชั้น มีกลีบบัวรองรับชั้นละ 3 กลีบ

ส่วนพระกำแพงเม็ดขนุน ฐานจะเป็นแบบฐานเขียงเป็นเส้นตรงๆ เท่านั้น ไม่มีกลีบบัวรองรับ เส้นขอบซุ้มของพระกำแพงกลีบจำปาจะมีสองชั้น ส่วนกำแพงเม็ดขนุนจะมีเส้นซุ้มเส้นเดียว ในส่วนที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือ รูปทรงกรอบ พระกำแพงกลีบจำปาจะมีทรงกรอบยอดบนเป็นปลายเรียวค่อนข้างแหลม ส่วนพระกำแพงเม็ดขนุนทรงกรอบด้านบนจะเป็นยอดมนๆ คล้ายๆ กับเม็ดขนุน สรุปง่ายๆ คือทรงกรอบของพระกำแพงกลีบจำปาจะเรียวด้านบนคล้ายกับกลีบของดอกจำปา และก็เป็นที่มาของชื่อพระด้วย

พระกำแพงกลีบจำปา พบที่กรุวัดพิกุล และอีกหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม ที่พบทางฝั่งจังหวัดก็มีอยู่บ้างที่กรุวัดพระแก้วและกรุวัดอาวาสน้อยเป็นต้น เนื้อของพระที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเป็นส่วนใหญ่ พระเนื้อชินก็มีพบบ้าง แต่น้อยกว่า จะมีพระเนื้อว่านบ้างหรือเปล่านั้น ยังไม่มีการพบพระเนื้อว่านในพระพิมพ์นี้เลย

พระกำแพงกลีบจำปาจะเป็นพระที่ค่อนข้างบางไม่หนาอย่างพระเม็ดขนุน จำนวนพระที่พบนั้นมีจำนวนน้อยมาก จึงทำให้ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก ยิ่งในปัจจุบันยิ่งเรียกว่าไม่พบเห็นกันเลยครับ แม้แต่รูปพระแท้ๆ ก็หายากมากครับ อาจจะเป็นเพราะพระกลีบจำปาเป็นพระที่ค่อนข้างบางมาก อาจจะทำให้พระชนิดนี้ชำรุดสูญหายไปมากก็เป็นได้ ยิ่งที่เป็นพระเนื้อชินก็คงผุกร่อนไปเสียหมดตามสภาพและอายุกาล

พระกำแพงกลีบจำปาเป็นพระที่อยู่ในความนิยมตั้งแต่ในอดีต แต่ก็อย่างที่บอกครับ เป็นพระที่หายากอย่างหนึ่งของพระตระกูลนี้ ด้วยจำนวนที่มีพบน้อย พระกําแพงกลีบจําปาคุณลักษณะของเนื้อดินก็จะเป็นแบบเดียวกับพระตระกูลทุ่งเศรษฐี คือมีเนื้อที่ละเอียดหนึกนุ่ม ผิวของพระมักจะปรากฏราดำหรือรารักจับอยู่ทั่วๆ ไป ซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระตระกูลทุ่งเศรษฐี พุทธศิลปะ ก็อ่อนช้อยพลิ้วไหวงดงาม

ในด้านพุทธคุณก็ครบเครื่อง ทั้งเมตตามหานิยม เจริญก้าวหน้า โชคลาภโภคทรัพย์ เฉกเช่นเดียวกันพระกำแพงเม็ดขนุน แต่เป็นพระหายากสักหน่อย สนนราคาก็สูงอยู่ครับ พระปลอมแปลงเลียนแบบนั้นก็มีทำกันมานานแล้ว เนื่องจากเป็นพระที่มีความนิยมและราคาสูง เวลาจะเช่าหาก็ควรที่จะพิจารณาดูดีๆ สักหน่อย

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกำแพงกลีบจำปา จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมเพื่อเป็นการอนุรักษ์พระกรุ พระเก่าที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระร่วงหลังลายผ้า พิมพ์เล็ก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงยืนหลังลายผ้าเป็นพระที่พบในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นพระที่จัดอยู่ชุดพระยอดขุนพล นอกจากพระพิมพ์ใหญ่ที่เราพบเห็นในรูปอยู่บ่อยๆ แล้วยังมีพบที่เป็นแบบพิมพ์เล็กปะปนอยู่ด้วยในกรุนี้ ความนิยมก็เป็นรองพระพิมพ์ใหญ่ ลงมาเล็กน้อย พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกันกับพระร่วงยืนพิมพ์ใหญ่

พระร่วงหลังลายผ้าเป็นพระร่วงยืนที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรีเป็นพระร่วงยืนสนิมแดง กรุแรกที่พบในเมืองไทย ประมาณปี พ.ศ.2430 มีคนแอบขุดกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ได้พบ พระเครื่องแบบต่างๆ มากมาย และพระร่วงยืนเนื้อชินสนิมแดงก็พบปะปนอยู่ในกรุนี้ด้วย ต่อมาก็ยังมีการขุดพบอีก 2-3 ครั้งในปีต่อๆ มาเฉพาะพระร่วงยืนเนื้อชินสนิมแดงที่พบด้านหลังจะมีรอยคล้ายผ้าหยาบๆ อยู่ที่ด้านหลัง จึงตั้งชื่อกันในสมัยนั้นว่าพระร่วงหลังลายผ้า นอกจากจะพบพระพิมพ์ใหญ่แล้วก็ยังพบพระที่มีลักษณะเดียวกันแต่มีขนาดย่อมกว่าเล็กกว่า ก็เรียกกันว่าเป็นพิมพ์เล็ก เนื้อเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเช่นเดียวกัน

สำหรับพระร่วงยืนพิมพ์เล็กนั้นส่วนใหญ่จะพบว่าด้านหน้าของพระส่วนด้านบนสุด จะมีติ่งเนื้อเกินเป็นตุ่มอยู่ที่ปลายยอดแหลม บ้างก็เลยเรียกว่าพระร่วงยืนพิมพ์เล็กปลายติ่ง พระร่วงยืนพิมพ์เล็กบางองค์ที่ไม่มีปลาย เป็นติ่งก็มี แต่ส่วนใหญ่จะพบว่ามีปลายเป็นติ่งอยู่ปลายด้านบน พระร่วงยืนพิมพ์เล็ก ในส่วนของพระพักตร์จะดูเสี้ยมๆ กว่าพระพิมพ์ใหญ่

พระร่วงหลังลายผ้านี้นอกจากพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุแล้วต่อมาก็ยังมีผู้พบที่กรุช่างกลอีกด้วยแต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระของกรุช่างกลจะบางๆ กว่าของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนพิมพ์ของพระก็เหมือนๆ กัน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมๆ กันแต่อาจจะแยกบรรจุก็เป็นได้

พระร่วงหลังลายผ้าลพบุรีนั้นพุทธคุณจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาด อำนาจบารมี ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก สนนราคาก็ค่อนข้างสูง สำหรับพระพิมพ์ใหญ่ก็เป็นรองพระร่วงหลังรางปืนไม่มากนัก ส่วนพิมพ์เล็กก็ย่อมเยา ลงมาจากพระพิมพ์ใหญ่ แต่ก็หายาก เช่นกันครับ

พระร่วงยืนหลังลายผ้าเป็นพระที่มีศิลปะแบบขอม อายุการสร้างสันนิษฐานว่าตรงกับยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของอาณาจักรขอมโบราณ ประมาณศตวรรษที่ 18 พระร่วงหลังลายผ้าเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ แต่ก็หาแท้ๆ ยากสักหน่อย ในส่วนของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว และมีหลากหลายฝีมือ การเช่าหาก็ควรมีที่ศึกษาหาข้อมูลและควรมีที่ปรึกษาหรือเช่าหาจากผู้ที่ไว้ใจได้ จะได้ไม่ผิดหวังครับ เรื่องพระจริงพระปลอม พระแท้ พระไม่แท้นี้มีปัญหากันมาตลอดไม่ว่าจะเป็นเพราะอะไรก็ตาม ดังนั้นสำหรับผู้ที่จะหาเช่าบูชาก็ต้องดูให้ดีๆ ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงหลังลายผ้าพิมพ์เล็กกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี จากหนังสืออมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระโคนสมอเนื้อชินเงิน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระโคนสมอส่วนใหญ่เท่าที่เราพบนั้นจะเป็นพระเนื้อดินเผา จนนึกไปว่าพระโคนสมอมีแต่เนื้อดินเผา แต่ความจริงที่เป็นเนื้อชินเงินก็มี แต่พบน้อยมาก สันนิษฐานว่าน่าจะชำรุดผุพังไปเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงพบที่เป็นเนื้อชินเงินน้อยมาก และพระเนื้อชินเงินก็จะมีขนาดเล็กกว่าพระเนื้อดินเผามาก ขนาดสามารถนำมาห้อยคอได้ จึงเป็นที่นิยมกันมาในอดีต แต่ก็มีพบน้อย สนนราคาก็สูงกว่าพระเนื้อดินเผามาก

ทำไมถึงเรียกว่าพระโคนสมอ และพระโคนสมอที่แท้จริงเป็นพระที่สร้างในยุคสมัยใด หลายๆ ท่าน ก็อาจจะทราบดี แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ไม่ทราบเรื่องราวความเป็นมา

ผมจึงขออนุญาตเล่าเรื่องพระโคนสมออีกครั้งนะครับ ในปี พ.ศ.2430 เมื่อคราวที่ราชการจะตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำหรับพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) เป็นแม่กองซ่อมแซมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เจ้าคุณวรพงศ์ฯ ได้พบพระเป็นจำนวนมากประมาณ 13 ปี๊บ อยู่บนเพดานท้องพระโรงพระที่นั่งศิวโมกข์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ของพระราชวังบวรสถานมงคล จึงได้สั่งให้ชะลอพระทั้งหมดมาพักไว้ ณ โคนต้นสมอพิเภก ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล พระดังกล่าวได้ถูกทิ้งไว้ที่โคนต้นสมอพิเภกเป็นเวลานานพอสมควร จนต่อมาทางการจึงได้เคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้ และมีพระบางส่วนที่มีการแบ่งให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ซึ่งใกล้ชิดเกี่ยวข้องในการซ่อมแซมพระราชวังบวรสถานมงคล และการที่มีผู้มาพบพระ ดังกล่าวที่โคนต้นสมอพิเภก ซึ่งท่านเจ้าคุณวรพงศ์นำพระไปชะลอไว้ จึงเรียกชื่อของพระตามสถานที่พบว่า "พระโคนสมอ" นอกจากนี้ในครั้งหลังๆ ที่มีการขุดซ่อมแซมต่างๆ ภายในพระราชวังบวรสถานมงคลก็ยังได้พบพระโคนสมอที่เป็นแบบเนื้อดินอยู่อีกเนืองๆ

ที่มาที่ไปของพระโคนสมอนี้ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท กรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงนำพระดังกล่าวมาจากวัดโบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อคราวที่พระองค์ท่านเสด็จไปปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดาราม เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในส่วนที่พบในครั้งอื่นๆ ก็มีที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกหลายวัดในองค์พระเจดีย์ และที่ในกรุงเทพฯ ก็มีพบบ้าง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีการชะลอมาจากพระนครศรีอยุธยาเช่นกัน แต่โดยส่วนมากจะพบแต่พระโคนสมอแบบเนื้อดินแทบทั้งสิ้น ซึ่งพระที่พบแบบเนื้อดินนั้นจะเป็นพระปางประจำวันเกิดเสียเป็นส่วนใหญ่และพบพระที่มีการลงรักปิดทองล่องชาดกับพระที่ไม่ได้ปิดทองก็มี แต่พระที่มีการลงรักปิดทองจะมีภาษีกว่าในด้านสนนราคา

พระโคนสมอที่เป็นพระเนื้อชินเงินนั้น เท่าที่รู้มาจะพบที่พระราชวังสถานมงคลเพียงแห่งเดียว ที่อื่นๆ นั้นยังไม่ทราบข้อมูล และพระเนื้อชินจะมีขนาดย่อมกว่าพระเนื้อดินมากโขอยู่เหมือนกันครับ ความนิยมจะนิยมพระเนื้อชินมากกว่าพระเนื้อดิน ในส่วนของศิลปะเท่าที่เห็นนั้น สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะแบบอยุธยายุคปลาย สังเกตง่ายๆ จากซุ้มของพระโคนสมอจะเห็นทำเป็นคล้ายเจดีย์ย่อมุมไม่สิบสอง ที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาครับ พุทธคุณของพระโคนสมอนั้น ที่ประจักษ์กันมาก็ในด้านอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระโคนสมอเนื้อชินเงินพิมพ์ห้อยพระบาท ซึ่งเป็นพิมพ์นิยม จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญหล่อหลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พูดถึงเหรียญหล่อของวัดนางสาว จังหวัดสมุทรสาคร ผู้ที่นิยมพระเครื่องก็คงจะ รู้จักกันดีว่าเป็นพระของหลวงพ่อแก้ว วัดนางสาวได้สร้างไว้ ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนักและยังพอหาได้ แต่พุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมครับ ชื่อวัดนางสาวก็เป็นชื่อที่น่าสนใจว่าทำไมจึงมีชื่อนี้ และก็มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจครับ

วัดนางสาวเป็นวัดที่ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าไม้ วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในตอนที่เสียกรุง ครั้งที่ 2 ชาวบ้านที่หนีภัยสงครามได้มาอาศัยหลบภัยอยู่ภายในโบสถ์แห่งนี้ ในจำนวนนั้นมีสองสาวพี่น้องได้มาหลบทหารพม่าที่ออกลาดตระเวนอยู่เช่นกัน และได้อธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าถ้ารอดไปได้จะช่วยกันบูรณะซ่อมแซมโบสถ์หลังนี้ให้ดีขึ้น พร้อมจะสร้างวัดขึ้นใหม่ ปรากฏว่าพวกทหารพม่าก็จากไปโดยไม่ได้เข้ามาที่โบสถ์เลย หลังจากหมดภัยสงครามแล้วทั้งสองก็ได้สร้างบ้านเรือนอยู่ในบริเวณแถบนั้น และทำมาหากินจนพอมีหลักฐานมั่นคงแล้ว หญิงสาวผู้น้องจึงคิดจะซ่อมแซมโบสถ์หลังนี้ตามคำอธิษฐาน ส่วนพี่สาวคัดค้านว่าโบสถ์เก่าชำรุดทรุดโทรมมากคงจะซ่อมแซมไม่ไหว สร้างวัดขึ้นใหม่ดีกว่า แต่น้องสาวก็ยืนยันว่าจะซ่อมแซมโบสถ์หลังเก่า

ต่อมาผู้เป็นพี่ได้แต่งงานและย้ายไปอยู่ที่อื่น และได้สร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อวัด "กกเตย" ปัจจุบันไม่มีแล้วเนื่องจากน้ำกัดเซาะพังทลายไปหมด ฝ่ายน้องสาวยังครองตัวเป็นโสดและตั้งสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ยอมแต่งงานจนกว่าจะได้บูรณะซ่อมแซมโบสถ์หลังเก่าให้สำเร็จ พร้อมกับสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ ต่อมาจึงได้ซ่อมแซมโบสถ์หลังเก่าจนแล้วเสร็จ ชาวบ้านจึงพร้อมใจให้ชื่อวัดว่า "พรหมจารี" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่หญิงสาวผู้น้อง แต่คนส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า "วัดน้องสาว" และต่อมากลายเป็นชื่อ "วัดนางสาว" จนกระทั่งปัจจุบัน

สำหรับโบสถ์เก่าของวัดนางสาวนั้น เป็นโบสถ์มหาอุดฐานสำเภา ซึ่งเป็นรูปแบบโบสถ์ในสมัยอยุธยา โบสถ์มหาอุดนั้นจะมีประตูทางเข้าในตัวโบสถ์เพียงด้านเดียวไม่มีหน้าต่าง แต่อากาศภายในตัวโบสถ์ก็จะเย็นสบายดี และมีแสงสว่างเพียงพอ โบสถ์มหาอุดนี้ปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมากในเมืองไทย ภายในโบสถ์มีพระประธานคือหลวงพ่อมหาอุตม์ ประดิษฐานอยู่คู่กับวัดนี้

ที่วัดนางสาวนี้เมื่อครั้งที่หลวงพ่อแก้วเป็นเจ้าอาวาส ได้มีการสร้างพระหล่อแบบเหรียญหล่อไว้ เป็นที่นิยมและหวงแหนของชาวบ้านในแถบนี้ มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด เมตตามหานิยม และเป็นที่นิยมของผู้นิยมพระเครื่องทั่วไป ปัจจุบันก็ยังพอหาได้ สนนราคาก็ยังไม่แพงนัก อยู่ที่หลักพัน ของปลอมเลียนแบบก็มีนะครับ เวลาจะเช่าหาก็ควรศึกษาให้ดี หรือปรึกษาท่านผู้รู้ก่อนที่จะเช่าหาก็จะได้ไม่ผิดหวัง อะไรก็ตามที่มีราคารองรับก็ย่อมมีผู้ที่ไม่หวังดีทำปลอมเป็นธรรมดา

พระของหลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว มีทั้งเป็นแบบพระปิดตา แบบ พระหลวงพ่อโต และแบบพระพุทธชินราช ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อแบบต่างๆ ของวัดนางสาวมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  

  

พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า เป็นพระเนื้อดินเผาองค์เล็กๆ ในสมัยก่อนคนโบราณมักนิยมอมไว้ในปาก เวลาไปไหนมาไหนก็จะอมพระเม็ดน้อยหน่าไปด้วย ประสบการณ์ของพระเม็ดน้อยหน่าว่ากันว่าเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ตามแบบพระเมืองพิจิตรที่มีชื่อเสียงทางด้านนี้ คนรุ่นเก่าจะหวงแหนกันมาก

จังหวัดพิจิตรมีพระกรุที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ส่วนมากก็จะพูดกันถึงพระที่มีขนาดเล็กจิ๋ว เรียกว่าเล็กพริกขี้หนูพุทธคุณคับแก้ว เด่นทางอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด และมักจะรู้จักกันดีก็คือพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พิมพ์ต่างๆ ซึ่งเป็นพระเนื้อชิน ที่มีชื่อเสียงทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แต่พระกรุอีกอย่างหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาคู่กัน แต่เป็นเนื้อดินเผา ก็คือพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า และพระพิจิตรเขี้ยวงู คนในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีการเลี่ยมพระแพร่หลายนัก พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า และพระพิจิตรเขี้ยวงู ซึ่งเป็นพระขนาดเล็กมาก จึงนิยมที่จะนำพระมาอมไว้ในปาก เวลาเดินทางไปไหนต่อไหนก็จะอมพระเม็ดน้อยหน่าไปด้วย แล้วเกิดมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด จนมีชื่อเสียงโด่งดัง เลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ

พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า และพระพิจิตรเขี้ยวงู พบที่กรุเดียวกัน ที่กรุท่าฉนวน พระที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อพระมักเป็นสีดำสนิท ส่วนที่เป็นเนื้อออกแดงก็มีบ้างแต่เป็นส่วนน้อย เนื้อพระของกรุนี้จะละเอียดหนึกนุ่ม ในเรื่องของพิมพ์พระนั้นพระพิจิตรพิมพ์เขี้ยวงูจะพบน้อยกว่ามาก พระทั้งสองชนิดมีขนาดเท่าๆ กัน ผิดกันที่องค์พระ พระพิจิตรพิมพ์เขี้ยวงูนั้นจะมีองค์พระผอมเรียวกว่าพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าอย่างเห็นได้ชัด พระเศียรเรียวแหลม จนเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ ส่วนพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า จะมีลักษณะเล็กเรียวและมีสีดำคล้ายๆ กับเม็ดน้อยหน่า จึงเรียกกันมาแต่โบราณว่าพระเม็ดน้อยหน่า นอกจากพบที่กรุท่าฉนวนแล้ว ยังขุดพบที่กรุมะละกออีกด้วย พิมพ์พระจะคล้ายกัน พระของกรุมะละกอจะอวบอ้วนกว่าเล็กน้อย เนื้อพระของกรุมะละกอจะแกร่งกว่าของกรุท่าฉนวน และสีก็มักจะเป็นสีแดงอมเหลืองเป็นส่วนมาก

พระเม็ดน้อยหน่านี้นอกจากจะพบที่จังหวัดพิจิตรแล้วก็ยังพบที่จังหวัดอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เช่น กรุทางจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดสุโขทัย และกรุทางอยุธยาก็เคยพบ พระเม็ดน้อยหน่าของจังหวัดอื่นๆ มักจะพบเป็นพระเนื้อดินเผาสีออกมาทางแดงเป็นส่วนใหญ่ องค์พระก็มีพุทธลักษณะคล้ายกัน แต่จะไม่เหมือนกันนัก เนื่องจากต่างแม่พิมพ์กันครับ

พระเม็ดน้อยหน่าที่มีชื่อเสียงนั้นเริ่มมาจากของกรุท่าฉนวนของพิจิตรก่อนเป็นปฐม เมื่อพบพระที่มีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงเรียกว่าพระเม็ดน้อยหน่าตามๆ กันมา แต่จะมีชื่อกรุหรือจังหวัดนั้นๆ ต่อท้ายเพื่อให้รู้ว่าเป็นของกรุใด พระพิจิตรพิมพ์เขี้ยวงูพบที่กรุท่าฉนวนเพียงแห่งเดียว ซึ่งปัจจุบันหายากและหวงแหนกันมากในคนยุคเก่าๆ เนื่องจากเชื่อกันว่านอกจากจะมีพุทธคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพันแล้ว ยังถือว่าดีทางด้านกันงูเงี้ยวเขี้ยวขออีกด้วยครับ และจำนวนพระที่มีน้อยกว่าจึงหายากมากในปัจจุบัน นานๆ จะได้พบเห็นกันสักที ส่วนมากก็จะอยู่กับคนรุ่นเก่าๆ ครับ

พุทธคุณคนรุ่นเก่าๆ ยกย่องว่าเป็นเลิศนัก และมักจะหวงแหนกันมาก ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า และพระพิจิตรเขี้ยวงู กรุท่าฉนวน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



 พระร่วงกรุวัดปู่บัว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงโดยส่วนใหญ่มักจะนึกถึงพระประทับยืนปางประทานพร ที่เป็นพระปางประทับนั่งก็มี พระร่วงยืนของจังหวัดสุพรรณฯ ก็มีพบด้วยกันหลายครั้งหลายกรุ และพระร่วงส่วนใหญ่ของจังหวัดนี้ก็จะเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระร่วงยืนกรุหนึ่งที่มีชื่อเสียงและเป็นเนื้อชินสนิมแดง ก็คือพระร่วงกรุวัดปู่บัว

วัดปู่บัวอยู่ที่ตำบลพิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี การพบพระของกรุนี้ก็พบโดยบังเอิญ โดยเมื่อราวปี พ.ศ.2475-2476 พระอาจารย์ใย เจ้าอาวาสวัดปู่บัวในสมัยนั้น มีความประสงค์จะทำทางเดินจากกุฏิไปยังศาลาการเปรียญให้สะดวกสบายขึ้น จึงขอแรงชาวบ้านตลอดจนพระเณรช่วยกันขุดดินทำทางให้ราบเรียบระหว่างทางมีเนินดินเล็กๆ อยู่เนินหนึ่ง จึงขุดให้ราบเรียบ พอขุดไปได้ไม่มากนักก็พบทรายจำนวนมาก ก็ช่วยกันขนออกไป หลังจากนั้นก็พบแผ่นหินปูอยู่ด้านล่างหลายแผ่น พองัดแผ่นหินขึ้นก็พบว่าภายใต้แผ่นหินมีพระพุทธรูปปางนาคปรกแกะจากหินทรายสีขาวอยู่หลายองค์ ลักษณะการวางเรียงเป็นวงกลมอย่างมีระเบียบ มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดย่อมลงมาประมาณ 40 องค์ ตรงกลางอยู่ในวงล้อมของพระพุทธรูป มีไหอยู่ใบหนึ่ง ภายในบรรจุพระเครื่องเป็นพระร่วงเนื้อชินสนิมแดงอยู่ประมาณ 300-400 องค์ได้

พระพุทธรูปปางนาคปรกที่พบเป็นศิลปะแบบบายน งดงามมาก แต่พระเกือบทั้งหมดก็อันตรธานหายไปจากวัดปู่บัว กระจัดกระจายไปอยู่ที่ต่างๆ หลงเหลืออยู่ที่วัดประมาณ 4 องค์ ในส่วนของพระเครื่องก็มีชาวบ้านแบ่งๆ กันไปใครมาก็แจกๆ กันไป พระร่วงที่พบในไหจะมีอยู่ประมาณ 4 พิมพ์ คือพิมพ์เศียรโต พิมพ์แบบลพบุรี พิมพ์รัศมี และพิมพ์พระเนตรโปน

พระพิมพ์เศียรโต จะมีพบคล้ายๆ กันอีกหลายกรุในจังหวัดสุพรรณบุรี เช่น กรุวัดราชเดชะ กรุวัดท่าเสด็จ เป็นต้น

พระพิมพ์แบบลพบุรี ก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กับของกรุลพบุรี

พระพิมพ์รัศมี ก็จะมีพบในกรุอื่นเช่นกัน คล้ายๆ กับของกรุหนองแจง

ส่วนพิมพ์พระเนตรโปนนั้นก็เรียกกันตามพุทธลักษณะที่เห็น และพระพิมพ์นี้จะพบเพียงแค่ของกรุวัดปู่บัวเท่านั้น

พระทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง คือมีไขขาวปกคลุม เมื่อล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบสนิมแดงสีเข้มออกเลือดหมูอมลูกหว้าจับผิวเกือบทั้งองค์ สวยงาม ในส่วนของพุทธคุณเท่าที่สอบถามชาวบ้านที่มีประสบการณ์ต่างบอกว่า เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน พระร่วงกรุวัดปู่บัวเป็นพระที่หวงแหนของชาวสุพรรณบุรีอีกอย่างหนึ่ง คนเฒ่าคนแก่หวงกันมาก

ในปัจจุบันพระร่วงกรุวัดปู่บัวนั้นหาแท้ๆ ยากแล้วครับ พระที่ทำปลอมเลียนแบบก็มีมาก หลากหลายฝีมือ เวลาเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดีๆ หรือเช่าหาจากผู้ที่ไว้ใจได้ มีอะไรผิดพลาดจะได้คืนกันได้ไม่เสียใจภายหลังครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงกรุวัดปู่บัว พิมพ์รัศมี จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 มีนาคม 2563 15:57:16 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #141 เมื่อ: 04 มีนาคม 2563 15:57:29 »



เหรียญหลวงปู่แสง รุ่นสุดท้าย

พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดบ้านแก้ง ต.เขมราฐ มี พระครูบริหารเกษมรัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์

มุ่งศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาด้านวิทยาคม อักขระ เลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลังเดินธุดงค์ไปหลายจังหวัด กลับมาสู่มาตุภูมิจำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่พระครูอุดมรังสี

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมา และยังเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลืองในห้วงเวลานั้น

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 109 ปี พรรษา 89

วันที่ 10 ก.พ.2563 นายชุติมันต์ พลบำรุง มีศักดิ์เป็นเหลน ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นศรัทธาสร้างบารมี รุ่นสุดท้าย ก่อนปิดการสร้าง เพื่อรักษาธาตุขันธ์

เนื่องในโอกาสฉลองอายุวัฒนมงคล 109 ปี ในวันที่ 10 มี.ค.2563

วัตถุมงคลจัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 39 เหรียญ, เนื้อนวะหน้ากากทองคำ 39 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาแดง 99 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 199 เหรียญ, เนื้อนวโลหะเต็มสูตร (ลุ้นตอก 9 รอบ 29 เหรียญ) 199 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้าลงยา (สีวันเกิด 7 สี คละสีละ 49 เหรียญ) 343 เหรียญ, เนื้อปลอกลูกปืน (ลุ้นตอก 9 รอบ 99 เหรียญ) 999 เหรียญ และเนื้อทองแดงผิวไฟ (ลุ้นตอก 9 รอบ 149 เหรียญ)

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นเหรียญรูปทรงไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนบาง ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ในท่านั่งขัดสมาธิ ด้านล่างสุดสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่แสง จนฺทวํโส

ด้านหลังเหรียญ มีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมสลักตัวหนังสืออ่านว่า วัดโพธิ์ชัย อ.นาแก จ.นครพนม ตรงกลางเหรียญมีอักขระ 5 บรรทัด ซึ่งเป็นยันต์คาถารวมคาถา ด้านล่างสุดสลักตัวหนังสือคำว่า รุ่นสร้างบารมี พ.ศ.๒๕๖๒

วัตถุมงคลรุ่นนี้ หลวงปู่แสงปลุกเสกเดี่ยวเมื่อวันที่ 20 ก.พ. หลังวันที่ 10 มี.ค. ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดหลวงปู่จึงจะนำออกมาให้เช่าบูชา
   ข่าวสดออนไลน์



พระรูปเหมือนหลวงปู่ทวด รุ่นก้นลายเซ็น

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ทวดเป็นพระที่ประชาชนทั่วทั้งประเทศไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะให้ความเคารพนับถือมาก และเชื่อมั่นในพุทธคุณที่จะช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวงได้ จากประสบการณ์ต่างๆ ที่มีการบอกเล่ากัน ต่อๆ มาจนเป็นที่ประจักษ์ว่ามีผู้ประสบเหตุการณ์ต่างๆ แล้วแคล้วคลาดปลอดภัยมาโดยตลอด และเขาเหล่านั้นก็ห้อย พระหลวงปู่ทวดไว้ในคอไม่ว่าจะเป็นรุ่นใด วัดไหน ก็แคล้วคลาดปลอดภัยเช่นกัน หลวงปู่ทวดจึงเป็นพระที่มีคนศรัทธากันมากไม่เสื่อมคลาย

ในบรรดาพระเครื่องที่เป็นรูปหลวงปู่ทวดนั้นที่นิยมมากที่สุดก็เห็นจะเป็นพระที่ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ปลุกเสกไว้ โดยเฉพาะของวัดช้างให้ ซึ่งก็มีหลายรุ่นหลายพิมพ์ สนนราคาก็สูงเกือบทุกรุ่น ยิ่งพระสวยๆ ก็ยิ่งแพง พระเครื่องหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ที่พระพุทธรูปเหมือนชนิดห้อยคอที่นิยมและราคาสูงที่สุดก็คงจะไม่พ้นพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดรุ่นเลขใต้ฐาน ที่ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นผู้ที่ดำริสร้างไว้ และขออนุญาตท่านอาจารย์ทิมสร้างและปลุกเสกให้ในปี พ.ศ.2505 จำนวนการสร้างประมาณหนึ่งพันองค์ เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสสร้างพระวิหารประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ทวดที่วัดพุทธาธิวาส อ.เบตง ปัจจุบันราคาสูงมาก จำนวนจำกัด

ต่อมาในปี พ.ศ.2508 ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ มีความประสงค์ที่จะสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี ท่านจึงสร้างพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดขึ้น โดยทำเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทวดนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย และด้านใต้ฐานขององค์พระได้มีการเจาะเพื่อบรรจุเม็ดกริ่ง พระรุ่นนี้จึงเป็นพระรูปเหมือนกริ่งเป็นรุ่นแรกของวัดช้างให้ และที่ใต้ฐานจะตอกอักษรไว้ 3 แถว บรรทัดที่หนึ่งตอกคำว่า "วิสัย โสภณ" ซึ่งเป็นสมณศักดิ์ของท่านอาจารย์ทิม ลักษณะเป็นลายเซ็นของท่าน บรรทัดต่อมาเป็นคำว่า "หลวงปู่ทวด" บรรทัดสุดท้ายตอกคำว่า "วัดช้างให้" บางองค์ที่ตอกติดแค่ 2 บรรทัดก็มี เนื้อของพระรุ่นนี้เป็นเนื้อโลหะผสมแก่ทองแดง จำนวนการสร้างประมาณ 5,000 องค์ พระรุ่นนี้สร้างขึ้นเพื่อมอบตอบแทนแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสมทบทุนในการสร้างอาคารเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ

พระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดรุ่นนี้มีจำนวนมากหน่อยจึงมีผู้ที่ได้รับมาบูชากันทั่วหน้าในปัตตานี เป็นพระรูปเหมือนที่นิยมรองลงมาจากรุ่นก้นลายเซ็น ปัจจุบันหายากแล้วและมีของปลอมระบาดอยู่พอสมควร แต่ก็ปลอมได้ไม่เหมือนนัก ตัวตอกอักษรของพระรุ่นนี้ ถือเป็นโค้ดได้เป็นอย่างดี และไม่สามารถปลอมได้เหมือนครับ พระรุ่นนี้จึงสามารถแยกแยะพระที่แท้กับพระไม่แท้ได้ชัดเจน พระสวยผิวเดิมๆ ราคาสูงมากพอสมควรครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดรุ่นก้นลายเซ็น วัดช้างให้ ทั้งด้านหน้า ด้านหลังและก้นมาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระลีลาวัดถ้ำหีบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธรูปปางลีลาเป็นพระพุทธรูปที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยและเป็นที่ยอมรับว่าเป็นศิลปะที่งดงามมาก พระที่พบในจังหวัดสุโขทัยส่วนใหญ่จะพบเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่และงดงามมาก แต่ที่เป็นพระเครื่องกลับพบน้อย ส่วนใหญ่พระเครื่องปางลีลาจะพบในจังหวัดอื่นๆ เสียมากกว่า

พระเครื่องปางลีลาที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสุโขทัยก็คือพระลีลากรุวัดถ้ำหีบ ซึ่งเป็นพระปางลีลาที่มีศิลปะงดงาม แต่ก็มีขนาดค่อนข้างเขื่อง พระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผา ที่เป็นพระเนื้อชินเงินก็มีพบบ้างแต่จำนวนไม่มากนัก เราก็จะรู้จักพระลีลาวัดถ้ำหีบที่เป็นพระเนื้อดินเผาเสียมากกว่า ส่วนพิมพ์พระก็จะมีพิมพ์ที่พบเห็นทั่วๆ ไป แต่ก็มีอีกพิมพ์หนึ่งที่ด้านข้างขององค์พระมีเม็ดไข่ปลาอยู่รอบๆ องค์พระพระพิมพ์นี้จะพบน้อยมาก เราจะเคยชินกับพระลีลาวัดถ้ำหีบที่เป็นแบบพิมพ์ธรรมดาเสียเป็นส่วนใหญ่

พระลีลาถ้ำหีบนอกจากที่พบที่วัดถ้ำหีบแล้วก็ยังมีการพบที่วัดอื่นอีกบ้างเช่น พบที่วัดเจดีย์งาม วัดเขาพระบาทน้อย เป็นต้น แต่ก็พบจำนวนไม่มากนัก พระลีลาถ้ำหีบส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผาเนื้อค่อนข้างละเอียด องค์พระส่วนใหญ่ก็จะติดพิมพ์ชัดเจน มีรายละเอียดของพระพักตร์ หูตาปากคิ้วคางชัดเจนสวยงาม ในส่วนของพระหัตถ์ก็จะปรากฏนิ้วคมชัดสวยงามทั้ง 2 ข้าง องค์พระห่มจีวรแนบเนื้อปรากฏริ้วจีวรงดงาม ประทับยืนบนฐานเขียงเรียบๆ ถ้าถามว่าพระเครื่องลีลาที่สวยงามแสดง ออกทางด้านศิลปะสุโขทัยเต็มรูปแบบก็ต้องพระลีลาวัดถ้ำหีบนี่แหละครับ

พระลีลาถ้ำหีบเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเขื่องหน่อย ส่วนสูงประมาณ 80 ซ.ม. กว้างประมาณ 3 ซ.ม.ในสมัยก่อนนิยมนำมาเลี่ยมห้อยคอกันครับ พุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม ต่อมาในยุคหลังๆ มักจะนิยมพระขนาดเล็กๆ ไม่ค่อยเห็นใครนำมาห้อยคอกันเท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่ก็จะเก็บบูชาไว้กับบ้านเพื่อเป็นสิริมงคล

ในปัจจุบันก็ไม่ใช่จะหาได้ง่ายๆ นะครับ สนนราคาก็สูงอยู่พอสมควร ส่วนของพระปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้วเช่นกัน เนื่องเป็นพระที่นิยมกันมาแต่โบราณ แต่ก็ทำได้ไม่ค่อยเหมือนเท่าไรนัก พระลีลาวัดถ้ำหีบเป็นพระที่มีรายละเอียดคมชัดสวยงาม และลายเส้นของริ้วจีวรจะเล็กละเอียดพลิ้วงดงาม ของปลอมก็จะทำได้ไม่เหมือน ส่วนใหญ่พระปลอมจะไม่มีรายละเอียดของริ้วจีวร เพราะถอดพิมพ์ไม่ติดหรือทำก็แข็งเกินไป เพราะลีลาวัดถ้ำหีบบางองค์ที่ผิวสมบูรณ์ก็ดูคล้ายๆ กับพระใหม่ แต่ความจริงสังเกตดูดีๆ ใช้แว่นขยายสัก 10 เท่าก็พอจะมองเห็นความเสื่อมของผิวพระตามธรรมชาติได้ แต่ของปลอมจะดูตึงๆ และดูใหม่ ไม่เห็นความเสื่อมของผิวพระ

พระลีลาวัดถ้ำหีบเป็นพระเก่าที่มีศิลปะสุโขทัยที่งดงามทรงคุณค่าแก่การเก็บรักษา และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระลีลากรุวัดถ้ำหีบจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #142 เมื่อ: 10 มีนาคม 2563 14:23:49 »


พระกรุวัดสำปะซิว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องเนื้อดินเผากรุหนึ่งของสุพรรณบุรีที่มีชื่อเสียง คือ กรุวัดสำปะซิว ที่มีการขุดพบโดยบังเอิญ พระที่พบเป็นพระเนื้อดินเผาค่อนข้างแกร่ง ต่อมามีผู้นำไปใช้ห้อยคอเกิดมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ปัจจุบันก็ค่อนข้างหายากพอสมควรครับ

วัดสำปะซิวนี้ เป็นชื่อเรียกพระกรุกรุหนึ่งว่าพระกรุวัดสำปะซิว ซึ่งความเป็นจริงการพบพระกรุนี้ไม่ได้พบภายในวัดสำปะซิว แต่มีผู้ขุดพบพระเครื่องที่ใกล้ๆ กับวัดสำปะซิว ผู้ที่พบก็คือ นายดี มาแสง บ้านอยู่ไปทางทิศเหนือของวัดสำปะซิว ได้ขุดดินบริเวณตรงริมรั้วบ้านของตัวเอง และบังเอิญไปพบพระเครื่องเนื้อดินเผาเข้าจำนวนหนึ่ง ในส่วนทางด้านทิศใต้ของวัดก็เคยมีผู้ขุดพบพระบูชาสมัยลพบุรีอยู่หลายครั้งหลายหนเช่นกัน สันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเคยเป็นแหล่งชุมชนสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน สาเหตุที่เรียกพระกรุเนื้อดินกรุนี้ว่า "กรุวัดสำปะซิว" ก็เนื่องจากหลังที่พบพระเครื่องดังกล่าว และมีการนำพระออกมาสู่นักสะสมและถามถึงที่มา ก็มักจะตอบว่า "พระกรุวัดสำปะซิว" ซึ่งเป็นย่านที่มาของการพบพระเครื่อง พระเครื่องของกรุนี้จึงเป็นชื่อเรียกกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้

พระเครื่องที่พบในครั้งนั้นมีพระพิมพ์ต่างๆ คือ พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา พระพิมพ์ท่ามะปรางค์หรือบางท่านในสมัยก่อนเรียกว่า นางสำปะซิวก็มี พระพิมพ์นารายณ์ทรงปืน พระพิมพ์ซุ้มปรางค์ เป็นต้น พระเครื่องทั้งหมดที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา ประเภทเนื้อหยาบมักปรากฏเม็ดกรวดปะปนอยู่ในเนื้อพระ เป็นพระประเภทเนื้อแกร่ง สีที่พบมักจะเป็นสีอิฐ สีนวลๆ และสีดำซึ่งเป็นสีที่พบน้อยกว่าสีอื่นๆ

พระกรุวัดสำปะซิว ที่พบเห็นกันมากหน่อย และเป็นพิมพ์นิยมของกรุนี้ก็คือ พิมพ์ซุ้มนครโกษา ลักษณะคล้ายๆ กับพระซุ้มนครโกษาของลพบุรี สันนิษฐานว่าคงสร้างล้อแบบศิลปะลพบุรี ส่วนอีกพิมพ์หนึ่งที่นิยมก็คือพิมพ์ท่ามะปรางค์ พุทธลักษณะก็คล้ายกับพระท่ามะปรางค์ ของทางจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร แต่จะมีพุทธลักษณะต้อๆ กว่าของกรุอื่นๆ ส่วนมากมักจะมีปีกกว้างออกมา ส่วนพิมพ์ซุ้มปรางค์และพิมพ์นารายณ์ทรงปืนก็สร้างล้อศิลปะลพบุรีเช่นกัน พิจารณาศิลปะโดยรวมของพระกรุนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในตอนปลายสมัยสุโขทัยต่ออยุธยาตอนต้น

ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นพระกรุนี้มากนัก นับวันค่อนข้างจะหายากพอสมควรครับ พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพัน สนนราคาก็ยังไม่สูงนัก แต่ก็ไม่ค่อยพบเห็นกันนักครับ ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระกรุสำปะซิว พิมพ์ซุ้มนครโกษาและพิมพ์ท่ามะปรางค์จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระขุนแผน หลวงปู่เสวียน

หลวงปู่เสวียน จารุธัมโม เจ้าอาวาสวัดกระมัลพัฒนา ต.โพธิ์วงศ์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิอาจารย์อีสานใต้

ปัจจุบันสิริอายุ 76 ปี พรรษา 56

มีนามเดิมว่า เสวียน จอมรัตน์ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 20 ก.พ.2487 ชาว ต.โพธิ์วงศ์ อ.ขุนหาญ โดยกำเนิด

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อ พ.ศ.2506 ขณะอายุ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดอรุณสว่าง ต.ไพร อ.ขุนหาญ มีพระครูวิภัชธรรมคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาจันทร์ ขันติธัมโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเจ้าอธิการทรัพย์ ปารคามี พระอนุสาวนาจารย์

จำพรรษาที่วัดบ้านเกิดนาน 2 ปี จึงออกธุดงค์มุ่งสู่กรุงเทพฯ จำพรรษาที่วัดศรัทธาธรรม ได้ระยะหนึ่ง ก่อนเดินธุดงค์ไปประเทศเพื่อนบ้านชายแดนกัมพูชา พบกับฆราวาสผู้มีวิชาอาคมในสมัยนั้น จึงขอเล่าเรียนวิชาด้วย

ช่วงที่จำพรรษาที่วัดศรัทธาราม ย่านสาธุประดิษฐ์ ศึกษาข้อวัตรและธรรมวินัยจากเจ้าคุณพระมงคลโสภิต วัดรัตโสภณ จ.ไพลิน ประเทศกัมพูชา เดินทางไปที่วัดดังกล่าวในพ.ศ.2511

จำพรรษาที่กัมพูชานานกว่า 30 ปี พ.ศ.2545 จึงธุดงค์กลับมาตุภูมิ สร้างวัดกระมัลพัฒนา ซื้อที่ดิน 30 ไร่ สร้างอุโบสถ พัฒนาวัดเจริญสืบมา

เดือน ก.พ.2563 คณะศิษย์ "กล้วยอุบล พระใหม่" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นพระขุนแผน รุ่นพรายแม่เศรษฐี (แม่หญิง) เพื่อสร้างซุ้มประตูโขงวัดกระมัลพัฒนาให้แล้วเสร็จ

จัดสร้างมีเนื้อบูชาครูลองพิมพ์ 39 องค์, ขุนแผนลุ้นเซอร์ไพรส์ เนื้อทูโทนราชพฤกษ์ 99 องค์, เนื้อนากกระยาสารท, เนื้อเทาเทวา, เนื้อแดงสุริยะ, เนื้อเหลืองจันทรา, เนื้อเขียวมรกต, เนื้อม่วงเผือก, เนื้อฟ้าเทอร์ควอยส์, เนื้อดำนิลกาฬ, เนื้อขาวสมเด็จ ชนิดละ 199 องค์, เนื้อรวมมวลสาร 1,109 องค์ และลูกอมเศรษฐีพรายแม่หญิง 399

ด้านหน้า มีพระพุทธในท่านั่งขัดสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว ผสมมวลสาร อาทิ ผงขี้เถ้า 7 เมรุ, ดิน 7 โป่ง, ขี้ตะไคร้ 7 โบสถ์, เพชรหน้าทั่ง, ผงเถ้ากระดูกแม่พรายหญิง, พลอยแดงเสกหลายวาระ, เม็ดพระธาตุ, ว่าน 108 และเม็ดมวลสารหลากสี เป็นต้น

ด้านหลัง มีรูปเหมือนเครื่องอัฐบริขาร บาตร ร่ม กาน้ำ ถัดมามียันต์อักขระสลักไว้ ด้านล่างสุดฝังตะกรุดแผ่นทอง มีนัมเบอร์และตอกโค้ดเป็นรูปบาตร 1 คู่

มีพิธีพุทธาภิเษก 2 วาระ วาระแรก ที่พุทธอุทยานธรรมวัดพระธาตุจังเกา พระธาตุวิหาร 959 ปี อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ มีพระเกจิชื่อดัง 5 รูปอธิษฐานจิต ก่อนที่หลวงปู่เสวียนเสกเดี่ยวนาน 7 วัน 7 คืน วาระสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ก.พ.
    ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญหลวงปู่ผอง อุชุจาโร

หลวงปู่ผอง อุชุจาโร วัดป่าแสงธรรม อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร พระเกจิที่มีวัตรปฏิบัติสมถะเรียบง่าย ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชน

ปัจจุบัน สิริอายุ 87 ปี พรรษา 39

เกิดเมื่อวันที่ 2 ก.ค.2476 ที่ ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ย่างเข้าวัยหนุ่มนุ่งขาวห่มขาวปฏิบัติธรรมอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี นานหลายปี ซึ่งหลวงปู่ขาว เมตตาอบรมสั่งสอนการปฏิบัติธรรมตามแนวทางสายพระป่าให้จนมีความชำนาญ

จนถึงปี พ.ศ.2524 เข้าพิธีอุปสมบท ที่พระอุโบสถวัดพิศาลรัญญาวาส ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี โดยมีพระครูศรีธรรมคุณาราช เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิเศษธรรมาภรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระทวีศักดิ์ สิริธมฺโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "อุชุจาโร" แปลว่าผู้ประพฤติเที่ยงตรง

จำพรรษาปฏิบัติธรรมภาวนาอยู่กับหลวงปู่ขาว ที่วัดถ้ำกลองเพล 1 พรรษา ก่อนกราบลาหลวงปู่ขาว ผู้เป็นพระอาจารย์ออกวิเวกตามป่าเขาหลายแห่งในภาคอีสาน มีโอกาสฝึกฝนกัมมัฏฐานกับพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลายรูป

ย่างเข้าช่วงปัจฉิมวัย เดินทางกลับมา จ.สกลนคร บ้านเกิด บรรดาญาติโยมชาวบ้านดงยาง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร กราบนิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ป่ารกร้างใกล้หมู่บ้าน ปัจจุบัน คือ วัดป่าแสงธรรม โดยร่วมแรงร่วมใจกับชาวบ้านพัฒนาสถานที่แห่งนี้จนได้รับการยกฐานะจากที่พักสงฆ์ขึ้นเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ในปี พ.ศ.2562 วัดป่าแสงธรรมมีโครงการจัดสร้างพระสีวลีสูงกว่า 2 เมตร และศาลาสำหรับประดิษฐานพระสีวลี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้ เพื่อความเป็นสิริมงคล แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมากญาติโยมและคณะศิษย์หลวงปู่ผอง ที่มีจิตอันเป็นกุศล นำโดย "แท็กสกล พระใหม่" จึงขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ผองเพื่อมอบให้กับพุทธศาสนิกชนที่ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนสร้างพระสีวลีและศาลาให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูไม่เจาะห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ล่างสุดมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่ผอง อุชุจาโร

ด้านหลังบนสุดเขียนว่าศิษย์สร้างถวาย บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปพระสีวลี ส่วนบริเวณพื้นเหรียญตอกโค้ดและหมายเลขลำดับการสร้าง พร้อมตอกตัวอักษรคำว่า รวย ที่ใต้รูปพระสีวลี มีตัวเลข ๒๕๖๒ เป็นปีพุทธศักราชที่ขอจัดสร้าง

จำนวนสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อเงินลงยาแดง 31 เหรียญ อัลปาก้าลงยาน้ำเงินจีวรเหลือง 69 เหรียญ อัลปาก้า 39 เหรียญ ทองแดงแจกในพิธี 500 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นเมื่อเดือนม.ค.2563 โดยพระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกอธิษฐานจิตล้วนมีชื่อเสียง
    ข่าวสดออนไลน์    



พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม วัดบางขุนพรหม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมมีอยู่หลายพิมพ์ที่มีลักษณะพิมพ์คล้ายๆ กับพระสมเด็จของวัดระฆังฯ ซึ่งคล้ายกันมากจนแทบจะเหมือนกันเลย แล้วจะแยกได้อย่างไรว่าเป็นพระของวัดไหนกันแน่ ถ้าพระสมเด็จของวัดบางขุนพรหมที่เป็นพระกรุเก่าและไม่มีคราบกรุเลย

ครับเรื่องการพิจารณาพระว่าใช่หรือไม่โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมกับพระสมเด็จของวัดระฆังฯ นั้น เขามีหลักในการพิจารณาที่ระบุได้แน่ชัดเช่นเดียวกันกับการพิจารณาว่าเป็นพระแท้ใช่หรือไม่ ด้วยการพิจารณาร่องรอยการผลิต พระสมเด็จฯของทั้ง 2 วัดเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ทั้งสิ้น และก็มีระยะเวลาการสร้างก็ไล่เลี่ยกัน แม่พิมพ์บางแม่พิมพ์ก็คล้ายกันมาก แต่ก็มีข้อแตกต่างกันอยู่ในขั้นตอนการผลิต จึงทำให้สามารถแยกแยะได้ชัดเจน

พระสมเด็จของกรุวัดบางขุนพรหมนั้นเราก็รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นพระที่สร้างบรรจุกรุ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่มักจะปรากฏให้เห็นก็คือคราบกรุ ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังฯ ไม่ได้ถูกบรรจุกรุแต่สมมติพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม ที่ไม่มีคราบกรุจับที่ผิวของพระล่ะและโดยเฉพาะพระสมเด็จบางขุนพรหม บางแม่พิมพ์ที่มีพิมพ์คล้ายๆ กัน เท่าที่ทราบพระสมเด็จของกรุวัดบางขุนพรหมที่มีการลักลอบนำออกมาจากองค์พระเจดีย์ใหญ่ของวัดบางขุนพรหมนั้นมีมาตั้งแต่สมัยที่ เจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นไปได้ไม่นาน ที่เรียกกันว่า "ตกเบ็ด" ผมคงยังไม่อธิบายรายละเอียดของการตกเบ็ดในวันนี้นะครับ และนอกจากนี้ก็ยังมีการลักลอบเจาะองค์พระเจดีย์เพื่อนำพระออกมาอีก มีกันหลายครั้ง พระสมเด็จที่ออกมาจากกรุในครั้งแรกๆ จะไม่มีคราบกรุ ผิวพระก็จะเหมือนๆ กับพระของวัดระฆังฯ แม้แต่เนื้อหาของพระก็จะคล้ายๆ กัน ต่อมาหลังจากน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2485 วัดบางขุนพรหมก็ถูกน้ำท่วมด้วย องค์พระเจดีย์ก็ถูกน้ำท่วมด้วยเช่นกัน ทำให้พระที่อยู่ในองค์พระเจดีย์มีน้ำท่วมขังและพระแช่น้ำพระที่ถูกลักลอบนำออกจากเจดีย์ก็จะปรากฏคราบกรุขึ้นหนาที่ผิวพระที่ขึ้นจากกรุหลังจากปี พ.ศ.2485 จึงมีคราบกรุจับที่ผิวพระเห็นได้ชัดเจนจนถึงปี พ.ศ.2500 ได้มีการเปิดกรุนำพระออกมาเป็นทางการ พระเหล่านี้ก็มักจะเรียกกันว่าพระกรุใหม่แยกกันโดยคราบกรุ

ทีนี้เรามาพูดกันถึงพระกรุเก่าที่ไม่มีคราบกรุและเนื้อหาจัดแบบพระสมเด็จวัดระฆังฯ โดยเฉพาะพระที่มีแบบพิมพ์คล้ายๆ กันนั้น จะแยกได้อย่างไร สำหรับพระสมเด็จบางขุนพรหมที่มีแบบพิมพ์เหมือนกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้นมีไม่กี่พิมพ์นัก คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซมบางแม่พิมพ์ และพิมพ์เกศบัวตูมหนึ่งแม่พิมพ์เท่าที่มีการศึกษาแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมจากท่าน ผู้อาวุโสของสังคมพระเครื่องสืบต่อกันมานั้น สามารถแยกได้ชัดเจน เนื่องจากพระสมเด็จของวัดบางขุนพรหมนั้น ขอบแม่พิมพ์จะยกสูงขึ้นกว่าของวัดระฆังฯ อย่างเห็นได้ชัดทุกแม่พิมพ์ ซึ่งก็ได้เปรียบเทียบดูหลายๆ องค์หลายๆ พิมพ์ก็เป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่าสิ่งที่เห็นนี้เป็นขั้นตอนการผลิตอย่างหนึ่งในตอนนั้น ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าการสร้างพระสมเด็จของวัดบางขุนพรหมนั้นมีเวลาการสร้างจำกัดเพื่อนำไปบรรจุในองค์พระเจดีย์ และให้ทันกำหนดสมโภชพระเจดีย์ จึงมีการแกะแม่พิมพ์เพิ่ม และตกแต่งแม่พิมพ์เดิมบ้างบางแม่พิมพ์

ขั้นตอนการพิมพ์พระสมเด็จในสมัยนั้น เมื่อนำพระออกจากแม่พิมพ์แล้วต้องตัดขอบอีกครั้ง ดังนั้นจึงทําเส้นขอบให้เห็นได้ชัดเพื่อให้การตัดขอบเรียบร้อยและเร็วขึ้น จึงเซาะขอบแม่พิมพ์ให้ลึกทำให้พอพิมพ์พระออกมาก็จะเห็นว่าเป็นเส้นสันนูนชัดเจนเพื่อสะดวกในการกำหนดในการตัดขอบ ในสมัยก่อนท่านผู้อาวุโสจะสอนว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมจะมีขอบปลิ้นมาด้านหน้า ก็เป็นจุดสังเกตร่องรอยการผลิตได้ชัดเจนอย่างหนึ่ง นอกจากร่องรอยการผลิตที่เห็นได้จากพระสมเด็จบางขุนพรหมที่กล่าวมาเพียงจุดเดียวนี้ก็เพื่อให้เห็นว่าร่องรอยการผลิตนั้นเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งของการพิจารณาพระ แต่พระสมเด็จบางขุนพรหมนั้นก็ไม่ได้มีเพียงจุดเดียวที่ใช้ในการพิจารณาว่าใช่หรือไม่ ยังมีอีกมากที่เป็นร่องรอยการผลิตเรียกว่าก็มีเกือบทั้งองค์ครับ

ผมยกตัวอย่างมาเพียงจุดเดียวก็เพื่อให้เห็นว่าการพิจารณาพระเครื่องนั้นเขาพิจารณาพระว่าใช่หรือไม่ จากร่องรอยการผลิต และก็ใช้กับพระทุกประเภททุกชนิด แต่ร่องรอยการผลิตนั้นก็แตกต่างกันไปตามแต่ละอย่างไป การพิจารณาพระเครื่องว่าใช่หรือไม่นั้นมีเหตุและผลประกอบเสมอ และสามารถพิสูจน์ได้จากหลักความเป็นจริงไม่ใช่ยกขึ้นมาลอยๆ หรืออุปโลกน์ขึ้นมาโดยไร้เหตุผลหรือขัดจากความเป็นจริง สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้จากการศึกษาฝึกฝนใช้เหตุผล ศึกษาจากผู้ที่มีความรู้จริงที่เขาแนะนำให้

การศึกษาเรื่องพระเครื่องในการพิจารณาพิสูจน์ว่าใช่หรือไม่นั้น ต้องศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติ ถ้าไม่เคยเห็นองค์พระจริงตามที่ศึกษามา ก็ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าตามทฤษฎีที่เรียนรู้มานั้นเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ และเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม วัดกรุวัดบางขุนพรหม แม่พิมพ์ที่คล้ายกับของวัดระฆังฯ มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #143 เมื่อ: 08 เมษายน 2563 16:02:02 »

.



พระปรุหนัง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อชินของอยุธยาที่มีชื่อเสียงโด่งดังชนิดหนึ่งก็คือพระปรุหนัง และปรุหนังก็เป็นพระชนิดหนึ่งที่หลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ ท่านเคยกล่าวกับลูกศิษย์ของท่านว่าเชื่อถือได้ ท่านเคยเห็นกับตามาแล้ว ปัจจุบันจะหาพระปรุหนังแท้ๆ ที่สมบูรณ์ยากมากครับ

พระปรุหนังเป็นพระที่พบแต่เนื้อชินเท่านั้น กรุที่พบก็มีอยู่ด้วยกันหลายกรุ เช่น กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดราชบูรณะ กรุวัดพุทไธศวรรย์ กรุวัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุวัดปราสาท เป็นต้น และพระทั้งหมดที่พบก็เป็นเนื้อชินเพียงอย่างเดียว การที่ตั้งชื่อพระปรุหนังนั้นก็เนื่องจากองค์พระเป็นแบบเนื้อชินที่เทบางมาก และองค์พระจะโปร่งเป็นลายฉลุตามลวดลายสวยงาม ซึ่งองค์พระจะมีส่วนประกอบของซุ้ม และมีพระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร ยืนอยู่ด้านข้างทั้งสองด้าน ระหว่างลวดลายต่างๆ จะทะลุโปร่งสวยงาม คล้ายการฉลุลายของหนัง ก็เลยเรียกกันว่า พระปรุหนัง

พระปรุหนังก็มีการพบอยู่หลายพิมพ์ พิมพ์ที่นิยมที่สุดก็คือพิมพ์บัวเบ็ด ที่ฐานบัวจะเป็นเส้นปลายโค้งคล้ายตะขอเบ็ด ส่วนอีกพิมพ์หนึ่งฐานบัวจะเป็นเพียงขีดเส้นเฉยๆ ก็เรียกกันว่าเป็นพิมพ์ก้างปลา ค่านิยมจะเป็นรองพิมพ์บัวเบ็ด นอกจากนี้ก็ยังมีพิมพ์ขนมต้มที่พบของกรุวัดปราสาทอีกแต่ก็พบน้อย พิมพ์ปรุหนังเดียว คือจะมีเพียงองค์พระประธานเท่านั้น ไม่มีพระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร พระปรุหนังที่เป็นแบบปางลีลาก็มีแต่หายากมากพบเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น

พระปรุหนังแม้จะพบอยู่หลายกรุก็ตาม แต่พระที่พบส่วนใหญ่จะชำรุดเสียหาย เนื่องจากผุพังด้วยสนิมกัดกินบ้าง หักเสียหายไปบ้างเนื่องจากองค์บางมาก และยังฉลุโปร่งอีกจึงทำให้พระชำรุดไปเสียมากตั้งแต่พบในกรุแล้ว ส่วนที่นำมาใช้กันก็ทำให้พระชำรุดไปอีกก็มาก คนในสมัยก่อนคิดวิธีรักษาไม่ให้พระชำรุดเวลานำมาห้อยคอ ด้วยการนำไม้แผ่นมาเจาะลงไปให้เป็นรูปองค์พระ และนำมาติดฝังลงไปในไม้ที่แกะไว้ และยึดด้วยยางไม้ พบเห็นพระที่เจาะฝังในไม้ในภายหลังจากคนโบราณทำไว้ก็มี

พระปรุหนังเป็นพระที่มีศิลปะอู่ทองยุคปลายหรืออยุธยายุคต้น และเป็นพระที่โชว์ฝีมือการเทเนื้อโลหะชั้นสูงทีเดียว เนื่องจากเป็นการเทโลหะที่บางมาก และเป็นลวดลายฉลุโปร่งอีกด้วย ถ้าฝีมือไม่ถึงโลหะจะวิ่งไม่เต็มพิมพ์ ดังนั้นต้องใช้ฝีมือชั้นสูงในการเทโลหะ สำหรับพระปรุหนังแม้ว่าจะเป็นที่เทบางมาก แต่ก็มีรายละเอียดขององค์พระชัดเจนไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของพระพักตร์ เส้นจีวร เส้นซุ้ม ฐานบัว คมชัดเจนทุกสัดส่วน นับว่าเป็นพระที่มีศิลปะสวยงามฝีมือการเทโลหะชั้นเยี่ยมทีเดียวครับ

นอกจากศิลปะองค์พระจะสวยงามแล้ว พุทธคุณของพระปรุหนังนั้นก็ถือว่ายอดเยี่ยมเช่นกัน เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ขนาดหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติออกมารับรองว่าเชื่อถือได้ ท่านเคยเห็นมากับตา ก็นับว่าไม่ธรรมดาแน่ครับ นอกจากนั้นประสบการณ์ต่างๆ ของผู้ที่เคยห้อยพระปรุหนังต่างก็ว่าสุดยอดเช่นกันครับ

ปัจจุบันพระปรุหนังแท้ๆ ที่สวยสมบูรณ์นั้นหายากมากครับ สนนราคาสูง ส่วนใหญ่มักชำรุดบ้างไม่มากก็น้อย วันนี้ผมนำรูปพระปรุหนังพิมพ์บัวเบ็ด จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญหลวงปู่เฉลิม

พระครูวินิตปัญญาคุณ หรือ หลวงปู่เฉลิม ผลปัญโญ รองเจ้าคณะอำเภอเขาฉกรรจ์ และเจ้าอาวาสวัดพวงนิมิต ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว เทพเจ้าแห่งเขาฉกรรจ์

สิริอายุ 76 ปี พรรษา 51

ศิษย์สืบสายธรรมหลวงพ่อทอง รัตนสาโร อดีตเจ้าคณะอำเภอสระแก้ว วัดสระแก้ว ต.บ้านแกง อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี

มีนามเดิมว่า ฉลอง ของนา เกิดวันที่ 28 ธ.ค.2487 เป็นชาวบ้าน ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์

อายุ 24 ปี พ.ศ.2512 เข้าพิธีอุปสมบท ที่อุโบสถวัดราษฎร์นิมิต อ.เมือง จ.สระแก้ว มีหลวงพ่อทอง รัตนสาโร หรือ พระครูรัตนสราธิคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์

ร่ำเรียนพระปริยัติธรรมและวิทยาคมจากหลวงพ่อทอง อุปัชฌาย์นาน 7 ปี จนแตกฉานและช่ำชอง ก่อนไปเรียนวิชามหาอุดกับหลวงพ่อมี วัดราชนิมิต (หนองปรือ) ซึ่งเรียนทำปลัดขิกจากหลวงพ่ออี๋ พระเกจิชื่อดังวัดสัตหีบ

พ.ศ.2518 จำพรรษาที่สำนักสงฆ์บ้านหนองอีพวง ป่ารกทึบไม่มีพระสงฆ์ ศึกษาสรรพวิชาที่วัดเขาฉกรรจ์

พ.ศ.2534 ก่อตั้งวัดพวงนิมิต

พ.ศ.2546 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบล ในราชทินนามที่ พระครูวินิต ปัญญาคุณ

ด้านวัตถุมงคลลูกศิษย์จัดสร้างหลายรุ่นมาแต่ปี 2519 ล้วนมีประสบการณ์

เดือน ก.ค.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใส "ภูวนัฏฐ์ จิโรชอัครหิรัญ" ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญหลวงปู่เฉลิม รุ่นแสนล้าน

เพื่อสมทบสร้างศาลาการเปรียญวัดพวงนิมิต

จัดสร้างมีเนื้อทองคำ 9 เหรียญ (แถมเนื้อเงินหน้ากากทองคำ 1 เหรียญ), เนื้อเงินขุ้ยพื้นลงยาเขียว 69 เหรียญ, ลงยาน้ำเงิน 99 เหรียญ, ลงยาแดง 129 เหรียญ, เนื้อนวโลหะ 99 เหรียญ (ลุ้นหน้ากากเงิน 9 หน้ากากทองทิพย์ 49), เนื้อ 3 กษัตริย์ 299 เหรียญ (ลุ้นหน้ากากทองคำ 5 เหรียญ) เนื้ออัลปาก้าขุ้ยพื้นลงยาแดง น้ำเงิน เขียว 299 เหรียญ (ลุ้นหน้ากากทองแท้ 15 เหรียญ) และ(ลุ้นพิเศษ) มีเนื้อทองคำ 1 เหรียญ (ลุ้นเลขท้าย 3 ตัวรางวัลที่ 1), เนื้อเงินลงยาราชาวดี 19 เหรียญ, เนื้อเงินขุ้ยพื้นยาแดง น้ำเงิน เขียว ชนิดละ 50 เหรียญ, เนื้อชนวนมวลสารหน้ากาก อัลปาก้า 40 เหรียญ, ทองทิพย์ 59 เหรียญ, เนื้อปลอกลูกปืนขุ้ยพื้นลงยาสีแดง 500 เหรียญ, สีเหลือง ชมพู สีเขียว 300 เหรียญ, สีส้ม สีฟ้า สีม่วง ชนิดละ 200 เหรียญ

ลักษณะเป็นหรียญนั่งพาน ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญส่วนในมีใบช่อระกาขนาบข้าง ปลายบนสุดมีพระพุทธ ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ในท่านั่งขัดสมาธิบนพาน ขนาบข้างด้วยไก่ 2 ตัว ด้านล่างสุดสลักตัวหนังสือคำว่า เฉลิมแสนล้าน

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ขอบเหรียญส่วนในมีรูปเหมือนมังกรทอง 1 คู่ขนาบข้าง ปลายบนสุดมีพระพุทธ ตรงกลางเหรียญมียันต์หนุนดวงมังกรล้อมทรัพย์ ใต้ยันต์สลักตัวหนังสือ 3 บรรทัดอ่านว่า ฉลองอายุครบรอบ ๗๕ ปี ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว ล่างสุดสลักคำว่า วัดพวงนิมิต

มีพิธีพุทธาภิเษก วันที่ 19 ธ.ค.2562 ที่ผ่านมา ที่วัดพวงนิมิต จ.สระแก้ว มีพระเกจิชื่อดังหลายรูปนั่งปรกอธิษฐานจิต
  ข่าวสดออนไลน์  



ใช้มาตรฐานอะไรมาตัดสินว่า พระแท้หรือไม่แท้

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน บรรดาเซียนพระเอาอะไรมาตัดสินว่าพระองค์นั้นองค์นี้แท้ไม่แท้ แล้วพระเก่าๆ เช่นพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้ทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหม มีใครเกิดทันหรือ? จึงรู้ว่าพระองค์นั้นๆ ใช่ไม่ใช่ มีพิมพ์แบบนั้นแบบนี้ เนื้อแบบนั้นแบบนี้

ครับเรื่องการศึกษาและเล่นหาสะสมพระเครื่องนั้นมีการศึกษากันมานานเป็นร้อยๆ ปีมาแล้วไม่ใช่เพิ่งจะมีการศึกษาและบันทึกไว้ ยกตัวอย่างเรื่องของพระสมเด็จก็มีการบันทึกไว้เป็นร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยบันทึกจากผู้ที่ทันในสมัยที่เจ้าประคุณ สมเด็จฯ ยังมีชีวิตอยู่และมีพระสมเด็จที่ได้รับมาจากมือเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นตัวอย่างในการศึกษา มีการค้นคว้าศึกษายืนยันและมีเหตุผลรองรับจนเป็นที่เชื่อถือและพิสูจน์ได้ ทำไมจึงมีการบันทึก ในสมัยนั้นรู้หรือว่าวันหนึ่งพระสมเด็จจะมีมูลค่า สูงมากๆ

เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้คนนับถือศรัทธาในตัวท่านสูงมากตั้งแต่ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ประวัติของท่านก็มีการบันทึกไว้ตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตามที่เราได้เห็นและศึกษากันต่อมา ในส่วนของเรื่องพระเครื่องนั้นก็มีการทำปลอมกันตั้งแต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นไปได้เพียงปีเดียว (ตามที่มีการบันทึกไว้) ก็แสดงให้เห็นว่าพระสมเด็จนั้นก็มีความนิยมเสาะหาและมีมูลค่ามาตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว จึงมีผู้สนใจศึกษาค้นคว้าและบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ไม่ว่าจะใครเป็นผู้แกะแม่พิมพ์พระ เนื้อหาวัสดุคืออะไร และมีบันทึกไว้ทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหมโดยละเอียดชัดเจน

จนเป็นที่เชื่อถือยอมรับของสังคมซึ่งก็มีมูลค่ารองรับกันมาโดยตลอด

ดังนั้น ความเชื่อถือโดยสังคมยอมรับนั้นเขาก็ต้องมีเหตุผลรองรับจนเป็นที่แน่ใจพิสูจน์ได้ การพิจารณาว่าใช่หรือไม่ก็ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ข้อกำหนดที่ชัดเจน ถ้าถูกต้องตามนั้นก็คือใช่ ถ้าไม่ถูกต้องก็คือไม่ใช่ และข้อสำคัญที่สุด ถ้าพระสมเด็จองค์ใดสังคมยอมรับว่าใช่ก็จะมีคุณค่ารองรับ โดยพระที่สมบูรณ์ไม่หักซ่อมก็จะมีมูลค่าตั้งแต่ล้านบาทขึ้นไป จะกี่ล้านก็ว่ากันไป เป็นมูลค่าที่สูงมากนะครับ

ดังนั้น จะมามั่วๆ อุปโลกน์กันเอาเองไม่ได้แน่ครับ ไอ้ที่ว่าแท้อยู่คนเดียวก็คงขายไม่ได้ หรือขายได้ก็คงมีปัญหาตามมาภายหลัง ครับ พระแท้ตามที่สังคมยอมรับนั้นเมื่อไหร่ๆ ก็แท้ตลอดกาล ไม่ใช่แท้วันนี้พรุ่งนี้ไม่แท้ อย่างนี้คงปวดขมับน่าดูนะครับ

ที่ผมยกตัวอย่างพระสมเด็จก็เนื่องจากมีการทำปลอมโดยมีหลักฐานชัดเจนนั้นมีมาเป็นร้อยปีมาแล้ว และในปัจจุบันก็ยังมีการทำปลอมกันอยู่ตลอด มีการปรับปรุงแก้ไขการทำปลอมให้ดูดียิ่งขึ้นมากมาย ที่ร้ายยิ่งไปกว่านั้นมีการสร้างนิยายประกอบมีการสร้างเรื่องราวต่างๆ มาประกอบในการขายพระปลอมมากมาย และก็มีผู้หลงเชื่อถูกหลอกกันมา พอนำพระมาแห่ในสังคมพระจึงรับรู้ความจริง ว่าไม่ใช่ไม่มีมูลค่ารองรับสังคมเขาไม่ยอมรับ เมื่อนำไปคืนกันก็เกิดปัญหาตามมาต่างๆ นานา

ครับที่ผมเขียนมานี้ก็เพราะเป็นห่วงนะครับ เล่นหาตามมาตรฐานสังคมเถอะครับ เอาที่มีมูลค่ารองรับจะสบายใจกว่าครับ เวลามีปัญหาขัดสนก็สามารถนำไปให้เขาเช่าต่อได้ มีมูลค่ารองรับครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม ซึ่งมีมูลค่ารองรับ และเป็นที่ยอมรับของสังคม สำหรับแม่พิมพ์นี้เป็นแม่พิมพ์ฐานแซมใหญ่ หายากกว่าแม่พิมพ์อื่นของพิมพ์ฐานแซมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระนาคปรกกรุวัดลาวทอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุวัดลาวทอง สุพรรณบุรี มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกว้างขวาง จากพระนาคปรก เนื้อชินสนิมแดง ซึ่งมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ปรกแบน พิมพ์ชีโบ พิมพ์ปรกผมเม็ดและพิมพ์ปรกเล็ก เป็นต้น แต่ที่กรุนี้ก็ยังมีพระพิมพ์อื่นๆ เช่น พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พระนารายณ์สี่กร และพระซุ้มนครโกษา อีกด้วย แต่ด้วยจำนวนพระนาคปรกมีจำนวนมากกว่า และมีพิมพ์พระที่สวยงามจึงทำให้ได้รับความนิยม และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายด้วยพระพิมพ์นาคปรก

วัดลาวทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่เดิมเรียกกันว่าวัดเลา ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้เข้ากับเรื่องในวรรณคดีเป็น "วัดลาวทอง" ทั้งนี้ฝั่งตรงข้ามมีวัดเก่าอยู่หลายวัด เช่น วัดพลายชุมพล วัดศรีมาลา วัดพลายงาม เป็นต้น จึงเปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกัน ซึ่งนางลาวทองเป็นตัวละครในวรรณคดีขุนช้างขุนแผน

ในสมัยประมาณปี พ.ศ.2504 ตาป้อมภารโรงของโรงเรียนวัดลาวทอง จะปลูกบ้านใหม่ภายในบริเวณโรงเรียน ขณะขุดหลุมเสาอยู่ก็พบโอ่งใบหนึ่งฝังอยู่ใต้ดิน ตาป้อมและลูกชายจึงเปิดปากโอ่งดู ก็พบว่าภายในโอ่งมีพระเครื่องกับพระบูชาเป็นจำนวนมาก ตาป้อมก็ค่อยลำเลียงพระไปไว้บนบ้าน ต่อมาตาป้อมก็ค่อยๆ นำพระออกไปขายในตลาด ในตอนแรกๆ ไม่ค่อยมีใครสนใจนัก มีครูคนหนึ่งได้ซื้อไว้บ้าง 2-3 องค์ พอแกเดินทางมาที่กรุงเทพฯ ก็ได้นำพระไปขายที่สนามวัดมหาธาตุ ปรากฏว่าเซียนแย่งกันซื้อ ครูคนนั้นแกจึงกลับมาสุพรรณฯ และซื้อพระที่ตาป้อมอีกหลายองค์ นำเข้ามาขายในกรุงเทพฯ ได้กำไรไปหลายบาทอยู่

ต่อมาทางการเริ่มรู้ข่าวเรื่องพระแตกกรุ ก็มีข่าวว่าจะจับกุมตาป้อม ตาป้อมจึงได้นำพระที่เหลือทั้งหมดไปฝากไว้ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นพระและเป็นญาติกับตาป้อม โชคไม่ดีของตาป้อม พระที่เป็นญาติกันนั้นได้เอาพระกรุวัดลาวทองของตาป้อมไปขายจนหมด เมื่อตาป้อมจะไปเอาคืนปรากฏว่าหมดไปเสียแล้ว เหลือเงินคืนให้ตาป้อมเล็กน้อยเท่านั้น

พระที่พบโดยตาป้อมนั้น มีพระบูชาศิลปะลพบุรี และพระเครื่องพิมพ์นาคปรก ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของพระกรุนี้ เช่น พระนาคปรกแบน พระนาคปรกพิมพ์ชีโบ พระนาคปรกพิมพ์ผมเม็ดและพิมพ์ปรกเล็ก พระนารายณ์สี่กร พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พิมพ์มารวิชัย และพิมพ์สมาธิ พิมพ์ซุ้มนครโกษา พระเครื่องทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และที่แปลกอีกอย่างหนึ่ง สนิมของพระกรุนี้บางองค์เป็นสนิมสีน้ำเงินลักษณะคล้ายกับสนิมแดงแต่เป็นสีน้ำเงินเข้ม แต่ก็พบน้อยมาก ก็สวยไปอีกแบบหนึ่ง พระกรุนี้จะมีสนิมไขขาวปกคลุมหนามากทุกองค์ ต้องล้างสนิมไขขาวออกบ้างจึงจะเห็นเนื้อสนิมชั้นในสวยงามได้ และเอกลักษณ์ของพระกรุนี้ จะมีคราบผิวสีน้ำตาลอ่อน มีความแห้งผากจับอยู่บนชั้นนอกสุดและมีทรายเกาะติดแน่นกับสนิมไขขาว ก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระกรุลาวทองครับ

พระเครื่องนาคปรกเนื้อชินสนิมแดง ก็ต้องยกให้พระกรุวัดลาวทองนี้เป็นพระที่มีความสวยงามที่สุดทั้งพิมพ์และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงหากรุอื่นเทียบยากครับ เมื่อพูดถึงพระกรุวัดลาวทอง ผู้นิยมพระเครื่องทั้งหลายจะนึกถึงพระนาคปรก วันนี้ผมจึงนำรูปพระนาคปรกของกรุวัดลาวทอง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยหลายๆ พิมพ์มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระผงกลีบบัวพระครูใบฎีกาเกลี้ยง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ผมจะมาเล่าถึงพระเครื่องเนื้อผงขนาดเล็ก ที่ถูกลืมหรือถูกย้ายวัดกันไปด้วยความเข้าใจผิด หรือได้รับจากสถานที่ต่างๆ ที่ได้รับมา เป็นต้น พระที่จะพูดถึงคือ พระผงกลีบบัว พระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์

พระครูใบฎีกาเกลี้ยง เป็นฐานานุกรมของสมเด็จพระวันรัตน์ (แดง) แห่งวัดสุทัศน์ เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ และท่านพระครูใบฎีกาเกลี้ยงท่านเก่งทางด้านทำผงและการลงยันต์พุทธซ้อน ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ก็ยังเรียนกับพระครูใบฎีกาเกลี้ยง และหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองก็ได้เรียนกับพระครูใบฎีกาเกลี้ยงเช่นกัน ในด้านการทำผงวิเศษ ประกอบด้วยผงปถมัง อิทธิเจ มหาราช ตรีนิสิงเหนั้น ผงของพระครูใบฎีกาเกลี้ยงแห่งวัดสุทัศน์เจ้านี้ได้รับคำยกย่องมาก เล่าขานกันว่าผง ที่ท่านลบอยู่ในกระดานนั้น ขณะที่ ท่านบริกรรมปลุกเสกจะเดินได้ประหนึ่งมดปลวกที่มีชีวิต และผงวิเศษต่างๆ ที่ท่านสำเร็จดังกล่าวนี้แหละ ท่านได้รวบรวมแล้วนำมาสร้างเป็นพระรูปกลีบบัว

ท่านอาจารย์หนู (นิรันดร์ แดงวิจิตร) ได้เล่าให้ฟังว่า พระครูใบฎีกาเกลี้ยงขณะที่อยู่ที่วัดสุทัศน์นั้น ท่านได้สร้างพระผงกลีบบัว ประมาณปี พ.ศ.2470 ถึงปี พ.ศ.2480 กว่าเป็นระยะเวลานานมาก การสร้างพระพิมพ์นี้ไม่ได้สร้างครั้งเดียวเสร็จ ท่านค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ มีพระเณรในวัดสุทัศน์ช่วยท่านทำ แม้แต่ท่านอาจารย์หนูก็ยังไปช่วยท่านทำด้วยตามโอกาส ท่านอาจารย์หนูเล่าต่อว่า เนื้อของพระกลีบบัวพิมพ์นี้เป็นเนื้อผงขาวปูนเปลือกหอย และน้ำมันตั้งอิ้ว มีสีต่างๆ เช่น เหลือง เทา เขียว และดำนั้นได้ตบแต่งด้วยสีฝุ่น จำนวนที่ท่านสร้างน่าจะประมาณ 84,000 องค์ เนื่องจากใส่โอ่งมังกรขนาดใหญ่ถึง 2 โอ่ง

ต่อมาเมื่อมีวัดใดจะสร้างโบสถ์หรือบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีการบรรจุพระลงพระเจดีย์มาขอ ท่านก็จะมอบให้แห่งละจำนวนมากๆ และอาจจะด้วยเหตุนี้กระมัง พระผงกลีบบัวพิมพ์นี้ จึงมีแจกอยู่แพร่หลายและหลายสำนักด้วยกัน เช่น ที่หลวงพ่อท้วม วัดไชยนาวาส หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ วัดบางหัวเสือ วัดยอด และอีกหลายวัดในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อย่างไรก็ตามพระกลีบบัวพิมพ์นี้สร้างที่วัดสุทัศน์และเป็นพระที่พระครูใบฎีกาเกลี้ยงท่านสร้างไว้ครับ และเป็นพระที่เข้าพิธีพุทธาภิเษกด้วยกันหลายครั้งในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ พระผงกลีบบัวของพระครูใบฎีกาเกลี้ยงเด่นทางด้านเมตตามหานิยม

พระผงกลีบบัวตามรูปที่ผมเอาลงให้ชมนี้ หากท่านพบเห็นที่ใดก็พึงรู้ไว้ได้เลยว่าเป็นของดีราคาถูก เด่นทางเมตตามหานิยมสูงมาก ตอนนี้ยังไม่แพงครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ กับวัดบางขุนพรหม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม บางพิมพ์ก็แทบจะเป็นแม่พิมพ์เดียวกันเลย อย่างเช่นพิมพ์ทรงเจดีย์ทั้งของวัดบางขุนพรหม ดูรายละเอียดแม่พิมพ์แล้วให้สันนิษฐานได้ว่าน่าใช้แม่พิมพ์เดียวกัน แล้วถ้าพระของวัดบางขุนพรหมที่เป็นพระกรุเก่าและไม่มีคราบกรุจะแยกได้อย่างไรว่าเป็นของวัดไหน พิจารณาจากรายละเอียดของพิมพ์ได้ไหม

ครับพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ของทั้ง 2 วัดรายละเอียดของพิมพ์แทบจะเป็นพิมพ์เดียวกันเลย แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างอยู่บ้าง เนื่องจากเท่าที่สังเกตดูแม่พิมพ์ของวัดบางขุนพรหมจะมีการตกแต่งแม่พิมพ์เพิ่มอยู่นิดหน่อย เช่น ที่เห็นได้ชัดก็คือ เส้นกรอบแม่พิมพ์พระสมเด็จของวัดระฆังฯ จะเป็นเส้นกรอบแม่พิมพ์ธรรมดา แต่ในส่วนของเส้นกรอบแม่พิมพ์ของวัดบางขุนพรหม เท่าที่สังเกตดูทุกแม่พิมพ์จะเห็นได้ว่ามีการเน้นเส้นกรอบแม่พิมพ์ไว้ชัดเจนกว่า โดยจะสังเกตเห็นว่าเส้นกรอบแม่พิมพ์ของวัดบางขุนพรหมจะเห็นเส้นนูนขึ้นมาเล็กน้อยเห็นได้ชัดเจนทุกแม่พิมพ์

สันนิษฐานว่าน่าจะทำไว้เพื่อให้สังเกตได้ง่ายเพื่อการตัดขอบ และบางแม่พิมพ์ซึ่งอาจจะใช้แม่พิมพ์ของวัดระฆังฯ มาใช้ก็มีการเซาะเส้นกรอบแม่พิมพ์ให้ลึกลงไปเล็กน้อยเพื่อให้เป็นเส้นที่เห็นได้ชัดขึ้น ก็สะดวกในการสังเกตเพื่อการตัดขอบพระ

ครับที่ผมกล่าวมานี้ก็ได้จากการสังเกตดูจากพระหลายๆ องค์หลายๆ พิมพ์ ก็ทำให้สันนิษฐานได้ตามนี้ แล้วก็สันนิษฐานได้ว่าเป็นขั้นตอนการผลิต และทำให้เราใช้เป็นจุดสังเกตขั้นตอนการผลิตได้เช่นกัน ในสมัยก่อนคนเก่าคนแก่ก็ได้สอนให้สังเกตดูเป็นปริศนาไว้ว่า วัดระฆังฯ ตัดหลังไปหน้า วัดบางขุนพรหมตัดหน้าไปหลัง และด้านหลังของทั้ง 2 วัดก็ยังมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย และก็มีปริศนากล่าวสนับสนุนไว้เช่นกัน

สำหรับพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ ทั้งของ วัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหม ถ้าเรามาพิจารณาดูรายละเอียดของแม่พิมพ์ก็จะเหมือนกัน จุดสังเกตก็มีเหมือนๆ กัน ตำแหน่งต่างๆ ก็อยู่ที่เดียวกันเหมือนกัน มิติต่างๆ ก็เหมือนกันจึงทำให้สันนิษฐานว่าน่าจะใช้แม่พิมพ์อันเดียวกัน แต่มีการตกแต่งแม่พิมพ์ที่เป็นเส้นกรอบแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นเท่านั้น และทำให้สามารถสังเกตขั้นตอนการผลิตชี้ชัดได้เป็นอย่างดี

ในสมัยก่อนพระสมเด็จของทั้ง 2 วัดบางพิมพ์ที่มีพิมพ์หรือแม่พิมพ์ที่เหมือนกัน พระบางองค์ที่เป็นของบางขุนพรหมกรุเก่าที่ขี้กรุบางๆ และผ่านการใช้มาบ้างเนื้อจัดบางองค์ก็ยังถูกตีให้เป็นพระสองคลอง หมายความว่าเป็นพระวัดระฆังฯ ที่นำมาบรรจุในเจดีย์วัดบางขุนพรหม ทีนี้ราคาก็จะสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะเป็นพระวัดระฆังฯ แต่มาพบที่วัดบางขุนพรหม ในสมัยก่อนก็มีคำว่า "พระสองคลอง" เกิดขึ้น ก็ต้องมาศึกษากันต่อไปครับ

สำหรับส่วนตัวผมผู้ใหญ่ที่สอนผมดูและมีพระองค์จริงมาให้ดูและศึกษาหลายๆ องค์ ทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหม ก็สังเกตได้ว่ามีการแตกต่างกันตั้งแต่แม่พิมพ์ด้านหน้า และจุดสังเกตด้านหลังพระด้วย เรื่องจุดสังเกตด้านหลังพระของทั้ง 2 วัด ท่านแรกที่แยกแยะให้ฟังก็คือ พี่ลิใหญ่ (มะลิ สงวนเรือง) ท่านเป็นผู้ที่บอกได้ทันทีว่าเป็นของวัดไหน แท้หรือไม่ จากการดูด้านหลังของพระสมเด็จฯ เพียงอย่างเดียว ในสมัยนั้นก็สงสัยกันมากว่ารู้ได้อย่างไร แต่ก็พิสูจน์กันหลายครั้งท่านก็ไม่เคยพลาดเลย แต่ท่านก็ไม่ได้สอนทุกคนนะ ท่านจะเลือกคนที่จะสอนและบอกเคล็ดลับให้ด้วยเหตุและผล ท่านหนึ่งที่สอนผมก็คือเฮียเธ้า ท่าพระจันทร์ (วิโรจน์ ใบประเสริฐ)

การสอนของท่านอาวุโสรุ่นเก่าๆ นั้นท่านจะสอนให้เป็นปริศนาเสมอ และให้เราไปขบคิดเอาเอง จนกว่าจะคิดออกว่าน่าจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ใช่หรือไม่ และมีคำถามกลับมาถาม ท่านจึงจะสอนต่อ และอธิบายเหตุผลให้ฟัง แต่ถ้าเราไม่นำปริศนาไปขบคิดและไม่มีคำถามมาถามต่อก็จะได้ไปแค่นั้น แสดงว่าเราไม่ได้สนใจศึกษาให้รู้จริง แต่ถ้าเราสนใจจริงจะมีคำถามมีข้อสงสัยกลับมาถามเสมอ ท่านก็จะค่อยๆ สอนและให้ไปทำการบ้านและกลับมาตอบท่าน เมื่อท่านสอนให้แล้วก็จะมีพระแม่พิมพ์นั้นๆ มาให้ดู และสังเกตสิ่งที่ท่านบอกไว้ว่าเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่

ผมโชคดีที่สมัยนั้นยังพอมีพระองค์จริงให้ได้ดู นอกจากพระของท่านที่มีอยู่หรือ เพิ่งเช่ามาได้ท่านก็จะให้ดู และพระองค์ดังๆสวยๆ ของผู้หลักผู้ใหญ่ ท่านก็จะพาไปขออนุญาตนำมาให้ผมได้ดู แล้วก็ให้สังเกตสิ่งที่ท่านสอนไว้ว่าเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ มีคำถามสงสัยก็ถามท่านอีกทีหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างในการศึกษาพิมพ์ของพระนั้นต้องมีเหตุมีผล พระที่ออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกันก็จะต้องมีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนๆ กัน ตำแหน่งและมิติก็ต้องเหมือนกัน และร่องรอยการผลิตก็ต้องเหมือนกัน

เรื่องเส้นขอบแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯ กับพระสมเด็จบางขุนพรหมก็เป็นร่องรอยการผลิตอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นจุดสังเกตได้ครับ ในวันนี้ผมก็นำรูปพระสมเด็จฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ ทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหม มาให้ชมเปรียบเทียบกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระวัดใหม่ปากบาง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อผงของอยุธยากรุหนึ่งคือพระกรุวัดใหม่ปากบาง เป็นพระเครื่องชนิดของดีราคาถูกที่น่าสนใจ พุทธคุณก็มีประสบการณ์ ผู้ที่ใช้ห้อยคออยู่หลายราย ทั้งด้านแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม ปัจจุบันก็ยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ

วัดใหม่ปากบางตั้งอยู่ที่อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่วัดแห่งนี้มีการพบพระเครื่องเนื้อผง โดยถูกขโมยเจาะเจดีย์เมื่อประมาณปี พ.ศ.2498 พระเครื่องส่วนหนึ่งจึงออกมาสู่สายตานักสะสมพระเครื่อง พระที่ออกจากกรุครั้งนี้เรียกกันว่าพระกรุ เก่าซึ่งเนื้อพระจะไม่ค่อยมีขี้กรุจับ เนื้อพระหนึกนุ่มประเภทเนื้อจัด หลังจากนั้นก็มีการแอบเข้าไปขุดพระกันอีกครั้งสองครั้ง จนในที่สุดปี พ.ศ.2510 พระครูสถิตธรรมโสภิต เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงต้องตัดสินใจเปิดกรุนำพระออกมา และนำไปรักษาไว้

ส่วนหนึ่งได้เปิดให้ประชาชนที่สนใจเช่าหา เพื่อนำปัจจัยมาบูรณะวัดต่อไป ในการเปิดกรุอย่างเป็นทางการครั้งนั้นได้พระประมาณ 2,000 องค์ได้ พระที่เปิดกรุครั้งนี้เรียกกันว่าพระกรุใหม่ เนื่องจากเป็นการเปิดครั้งสุดท้าย พระที่พบส่วนมากจะมีขี้กรุจับที่ผิวพระเป็นคราบสีหลืองๆ มีเม็ดผุดขึ้นตาม ผิวพระ บางองค์ก็จะเห็นเม็ดกรวดปะปนอยู่ในเนื้อพระคล้ายพระวัดเฉลิมพระเกียรติ พิมพ์ของพระเท่าที่แยกได้มี พระพิมพ์ยืนประทานอภัย พระพิมพ์ลีลา พระพิมพ์นางกลีบบัว พระพิมพ์นางพญาแบบสามหลี่ยม พระพิมพ์เล็บมือ มีทั้งฐานชั้นเดียวและสามชั้น

พระวัดใหม่ปากบางใครป็นผู้สร้างไว้ เท่าที่ฟังจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อทรัพย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่ปากบาง เป็นผู้สร้างบรรจุไว้ในเจดีย์ ประวัติของหลวงพ่อทรัพย์ไม่ได้มีการบันทึกไว้นัก มีเพียงคำบอกเล่ากันว่า หลวงพ่อทรัพย์เคยบวชเป็นสามเณรที่วัดบางขุนพรหม และต่อมาได้มาได้อุปสมบทที่วัดระฆังฯ ได้เป็นศิษย์ของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หลังจากนั้นท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่ปากบาง และได้สร้างพระเนื้อผงไว้ในปี พ.ศ.2430 เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดใหม่ปากบาง

ครับก็เป็นประวัติของหลวงพ่อทรัพย์และการสร้างพระเนื้อผงไว้เท่าที่พอสรุปได้จากการบอกเล่าสืบต่อกันมา พระวัดใหม่ปากบางเมื่อครั้งที่ออกจากกรุใหม่ๆ ก็ยังไม่ค่อยมีราคาค่างวดสักเท่าไรนัก องค์ละไม่กี่สิบบาท ต่อมาในปี พ.ศ.2509 พระวัดใหม่ปากบางเริ่มมีประสบการณ์เด่นทางด้านเมตตามหานิยมโชคลาภ ราคาก็เริ่มขยับขึ้นไป จนทางวัดเปิดกรุออกมาในปี พ.ศ.2510 ก็ได้เปิดให้เช่าบูชาองค์ละ 100 บาท

พอพระหมดไปจากวัดราคาก็ขยับขึ้นไปเป็น 400-500 บาท องค์สวยๆ ก็อาจจะแพงกว่านี้ และก็เป็นหลักพันในที่สุด ในองค์สวยๆ ก็อาจจะแพงกว่านี้ พอพระมีราคาก็มีการทำปลอมไปตามระเบียบ เวลาเช่าหาก็ควรต้องพิจารณาให้ดีๆ เช่นกันครับ

พระวัดใหม่ปากบางพุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด เมตตามหานิยมโชคลาภ ปัจจุบันก็ยังพอหาได้อยู่ครับ นับว่าเป็นพระดีราคาไม่สูง และน่าสนใจครับ วันนี้ผมได้นำรูปพระวัดใหม่ปากบางพิมพ์เล็บมือมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 เมษายน 2563 16:13:01 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #144 เมื่อ: 08 เมษายน 2563 16:15:00 »

.



เหรียญมหาเศรษฐี หลวงปู่สีลา

หลวงปู่สีลา สีลคุโณ เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองคล้าใต้ ต.โสน อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ พระสุฏิปันโน ที่ชาวอีสานใต้ให้ความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบันอายุ 81 ปี พรรษา 30

เป็นศิษย์สืบธรรมหลวงพ่อสาย ยสชาโต ที่สืบทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อคง สุวัณโณ พระเกจิดังในอดีต

ถือกำเนิดวันศุกร์ ตรงกับปีวอก เดือน ก.ค.2482 เป็นชาวตาสุด ต.จะกง อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ

อายุ 21 ปี เป็นทหารเกณฑ์ประจำชายแดนเขมร มีการสู้รบกันกับเขมรแดง หลังกลับจากค่าย พี่ชายเป็นอาจารย์สักชื่อดัง จับสักยันต์เต็มตัวและถ่ายทอดวิทยาคม

หลังปลดประจำการ เดินทางไป จ.ชลบุรีเป็นผู้ติดตามกำนันชื่อดังคนหนึ่ง จนชาวบ้านเรียก "เสือสีลา" ยุคนั้น

ต่อมากลับใจเข้าสู่ร่มกาวสาวพัสตร์ ขณะอายุ 49 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดกลางขุขันธ์ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีพระครูบริหารสุขบท เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์ 7 ปี ธุดงค์ไปจำพรรษาที่วัดกระเฉด จ.เพชรบูรณ์ นั่งวิปัสสนานาน 3 ปี ศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิชื่อดังหลายรูป

กลับถิ่นเก่า จ.ชลบุรี ศึกษาวิชาสมุนไพรที่สำนักปฏิบัติธรรมเขาน้อย 7 ปี ธุดงค์ต่อตะเข็บชายแดนภาคตะวันออก สร้างวัดวังน้ำใส อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา นาน 8 ปี ได้พบกับหลวงพ่อสาย ยสชาโต วัดชำป่างาม ศิษย์หลวงพ่อคง สุวัณโณ เกจิดัง อยู่ร่ำเรียนวิทยาคม

พ.ศ.2547 จึงธุดงค์กลับมาตุภูมิ สร้างวัดบ้านหนองคล้าใต้ พัฒนาเสนาสนะเจริญรุ่งเรือง พ.ศ.2251 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบมา รักษาผู้คนจนมีชื่อเสียงขจรไกล

เดือน ต.ค.2562 คณะศิษย์ นำโดย "กล้วยอุบลพระใหม่" ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญรุ่นแรก รุ่นมหาเศรษฐี ฉลองอายุวัฒนมงคลครบ 80 ปี

เพื่อจัดหารายได้สมทบเทพื้นคอนกรีตรอบเมรุวัดหนองคล้าใต้

จัดสร้าง มีเนื้อทองคำ 1 เหรียญ, เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 19 เหรียญ, เนื้อเงินลุ้นลงยา 88 เหรียญ, เนื้อนวโลหะ 168 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 399 เหรียญ, เนื้อทองแดง 2,999 เหรียญ, เนื้อชนวน 111 เหรียญ, เนื้อทองฝาบาตร 1,999 เหรียญ และตะกรุดมหากันรุ่นแรก 300 ดอก

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงไข่ หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์หน้าตรง บริเวณด้านซ้ายลำคอตอกโค้ด "ส" ในเปลวแฉก ด้านขวาลำคอมีนัมเบอร์ของเหรียญ ด้านล่างสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่สีลา สีลคุโณ

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมสลักตัวหนังสืออ่านว่า ครบรอบ ๘๐ ปี ตรงกลางเหรียญมีอักขระยันต์แคล้วคลาด มีอักขระ 4 ตัวกำกับอ่านว่า นะ มะ อะ อุ ถัดมามีอักขระอ่านว่า นะโมพุทธายะ ตามด้วยรุ่นแรก มหาเศรษฐี บรรทัดล่างสุดตามส่วนโค้งของเหรียญ สลักตัวหนังสืออ่านว่า วัดบ้านหนองคล้าใต้ ต.โสน อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก วาระแรก ที่วัดบ้านหนองคล้าใต้ มีหลวงปู่ทอง ปภากโร เกจิชื่อดังวัดบ้านคูบ จ.ศรีสะเกษ นั่งอธิษฐานจิต วาระสอง วันที่ 28 ธ.ค.2562 วาระ 3 วันที่ 30 ม.ค.2563 หลวงปู่สีลา อธิษฐานจิตเสกเดี่ยว
  ข่าวสดออนไลน์  



พระคง ลำพูน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเล่นๆ เรื่อยเปื่อยนะครับ เรื่องที่จะคุยกันก็คือเรื่องพระคงลำพูนหรือที่คนโบราณเรียกว่าพระลำพูน ในสมัยก่อนผมก็สงสัยว่าทำไมจึงเรียกว่าพระลำพูนเนื่องจากพระกรุในลำพูนเองก็มีอยู่หลายกรุที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มานึกดูอีกทีอาจจะเป็นเพราะพระคงนั้นมีจำนวนมากและพบเห็นได้บ่อยก็อาจเป็นได้ จึงเรียกพระคงว่าพระลำพูนเป็นตัวแทนพระของลำพูนไปเลย

ในสมัยก่อนผมเคยได้ยินผู้ใหญ่เรียก พระลําพูนดํา พระลําพูนแดง ก็หมายถึงพระคงต่อท้ายด้วยสีของพระ ครับพระคงอย่าดูถูกว่าเป็นพระพื้นๆ ที่หาง่ายราคาถูกนะครับ ในปัจจุบันนั้นราคาไม่ถูกแล้ว สวยๆ หูตากะพริบก็ต้องว่าด้วยหลักแสนครับ แถมในปัจจุบันพระปลอมก็ไม่เบาพอสนนราคา เริ่มสูงคนทำปลอมก็พัฒนาให้มีฝีมือสูงขึ้น ทำพิมพ์และเนื้อได้ดีทีเดียวอย่าประมาท เผลอเป็นโดนครับ

สมัยผมเล่นพระใหม่ๆ พระคงนี่แหละที่ผมดูพระเนื้อดินเป็นชนิดแรกเลย แต่กว่าจะดูเป็นก็โดนซะอ่วมไปไม่น้อย เนื่องจากสมัยนั้นก็ยังไม่ประสีประสาอะไร พอเริ่มชอบพระเครื่องก็เสาะหาพระที่เขานิยมกันไม่ว่าจะเป็นพระสมเด็จฯ พระเม็ดขนุน พระซุ้มกอ พระนางพญา แถมเงินทองก็ไม่ค่อยจะมีหรอกเพราะยังเรียนหนังสืออยู่แต่ก็ใจรัก เก็บออมค่าขนมหาเงินที่พอจะหาได้มาเช่าหา ก็คิดอย่างเดียวเผื่อฟลุก อยากได้ของดีราคาถูก ดูก็ยังไม่เป็นได้แต่แอบดูของคนอื่นเขาแอบจำแล้วไปเช่าหา ก็โดนซะ ต่อมาผู้ใหญ่ท่านหนึ่งก็แอบบอกว่าหัดดูพระคงก่อนสิ หาได้ง่ายและหัดจดจำศึกษาพิมพ์และเนื้อคราบกรุความเก่าให้เข้าใจก่อน ก็มาหาพระคงมาดูศึกษาก็โดนอีก เพราะยังไม่เข้าใจเรื่องพิมพ์พระ และที่สำคัญหาของถูกๆไว้ก่อนเช่าพระองค์สิบยี่สิบบาทก็เจอแต่ของปลอม (ในสมัยนั้นพระคงก็ยังไม่แพง ราคาพระแท้ๆ ก็แค่ 60-80 บาทในสภาพที่ดีพอสมควร) แต่ผมก็ยังคิดหาของดีราคาถูกอยู่ จึงโดนซ้ำอีกจนยอมไปหาเช่าพระแท้ๆ จากเซียนในราคา 60 บาทมาศึกษา ถามผู้หลักผู้ใหญ่บางตำราบ้างก็พอจะเข้าใจ ตำราที่ทำให้เข้าใจได้ดีก็คือหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 3 พระรอด และพระเครื่องฯ สกุลลำพูน ของอาจารย์ตรียัมปวาย นอกจากนี้ก็สอบถามผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่อง จนพอเข้าใจและจดจำได้ ก็เริ่มหาเช่าพระคงอีกต่อไปจนเรียกว่าผ่าน ก็เช่าหามาหลายองค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบจนเข้าใจและเช่าพระสวยๆ มาเรื่อยๆ

จากการศึกษาพระคงก็ทำให้รู้ว่า การจะพิสูจน์พระใดๆ ก็ตามว่าแท้หรือไม่ ต้องศึกษาพระนั้นๆ ให้ถ่องแท้ ที่สำคัญต้องศึกษาจากพระแท้ที่สังคมยอมรับเท่านั้น อย่าออกนอกลู่นอกทางเด็ดขาด และก็ไม่ต้องไปหาพระปลอมมาศึกษาเปรียบเทียบให้เสียเวลาเปล่าๆ เพราะพระปลอมนั้นมีทำออกมาเรื่อยๆ หลากหลายฝีมือศึกษาเพียงพระแท้เท่านั้น ที่ไม่เหมือนไม่ใช่ก็คือพระปลอมครับ ถ้าจะยกตัวอย่างก็คือมีฝาแฝดคู่หนึ่ง สมมติคนหนึ่งชื่อ ก. คนที่สองชื่อ ข. ถ้าเรารู้จักกับ ก. คุ้นเคยกันดี ก็จะจำ ก. ได้ พอเราไปเจอ ข. เราก็จะสังเกตได้ว่าไม่ใช่ ก. ก็เหมือนพระแท้กับพระปลอมเมื่อจำพระแท้ได้ อีกองค์หนึ่งที่ไม่ใช่ก็คือพระปลอมแน่ครับ

ข้อสำคัญคือ เราต้องศึกษาและรู้จักพระแท้แบบนั้นเสียก่อน เราก็จะแยกแยะพระแท้กับพระปลอมในชนิดนั้นๆ ได้ ที่สำคัญ อย่าหลงฟังนิยายต่างๆ ที่คนขายพระปลอมสร้างขึ้นมา พวกมิจฉาชีพนั้นต้องพยายามสร้างนิยายต่างๆ ให้เราหลงเชื่อและตกหลุมพรางของเขา เรื่องจริงย่อมพิสูจน์ได้ ในส่วนของพระเครื่องก็ต้องฟังและเชื่อถือตามที่สังคมเขายอมรับและมีคุณค่ารองรับเท่านั้น

กลับมาเรื่องพระคง ลำพูน พระคงในปัจจุบันที่สวยๆ นั้นราคาสูงแล้ว ที่ไม่ค่อยสวยก็ต้องหลักหมื่น ดังนั้นปัจจุบันก็มีพระคงที่ทำปลอมฝีมือดีๆ อยู่ให้เห็น เวลาจะเช่าหาก็ไม่หมูเหมือนเมื่อก่อน ต้องระวังไว้หน่อย ไม่อย่างนั้นอาจเจอพระปลอมฝีมือดีจะเสียทั้งเงินและเสียใจในภายหลังครับ

วันนี้ผมนำรูปพระคงแท้ๆ สภาพพอสวยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระปิดตาเจ้าคุณผล วัดหนัง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ท่านเจ้าคุณผลเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดหนัง บางขุนเทียน ชาวบ้านแถวฝั่งธนฯ เคารพนับถือท่านมาก และท่านก็สร้างพระเครื่องทั้งเครื่องรางของขลังไว้แจกแก่ศิษย์หลายอย่างพร้อมทั้งมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เป็นที่เชื่อถือได้ครับ

ท่านเจ้าคุณผล เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2473 ที่บ้านโคกขาม สมุทรสาคร โยมบิดาชื่อแก้ว โยมมารดาชื่อยืน ต่อมาบิดามารดาได้ย้ายมาอยู่ที่บางขุนเทียนใกล้ๆ วัดหนัง จนอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดหนังโดยมีหลวงปู่เอี่ยม เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดหนังศึกษาเล่าเรียนกับหลวงปู่เอี่ยมมาโดยตลอด และได้รับถ่ายทอดวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงปู่เอี่ยม ท่านเจ้าคุณผลมีความขยันหมั่นเพียรศึกษาและฝึกฝนจริง จนหลวงปู่เอี่ยมเอ่ยปากชม

พอบวชได้ 9 พรรษาเจ้าคุณผลจึงขออนุญาตหลวงปู่เอี่ยมออกธุดงค์ ท่านได้ธุดงค์ไปในป่าเขาพบสิ่งลี้ลับมากมายอยู่หลายปี และได้ปฏิบัติธรรมหาที่สงบวิเวกฝึกฝนจิตใจจนแน่วแน่ หลังจากนั้นก็ได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนังตามเดิม พอหลวงปู่เอี่ยมมรณภาพ ท่านเจ้าคุณวิเชียรได้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน จนถึงปีพ.ศ.2503 ท่านเจ้าคุณวิเชียรก็มรณภาพอีก ชาวบ้านและคณะสงฆ์ได้อาราธนาเจ้าคุณผลเป็นเจ้าอาวาสวัดหนังต่อจากท่านเจ้าคุณวิเชียร

ชาวบ้านแถบนั้นต่างก็ทราบกันอยู่แล้วว่าท่านเจ้าคุณผลนั้นมีวิทยาคมแก่กล้า จึงได้ขอให้ท่านช่วยสร้างเครื่องรางของขลังให้ ท่านก็เมตตาทำให้ มีทั้งหมากทุยซึ่งก็ได้ทำตามแบบหลวงปู่เอี่ยม แต่หมากทุยนั้นทำยากมาก ต้องหาหมากทุยตามตำราซึ่งก็หายาก อีกทั้งวิธีเก็บหมากทุยจากต้นนั้นก็มีกรรมวิธีที่ทำได้ไม่มากต่อครั้ง หมากทุยของท่านจึงมีน้อยและหายาก หมากทุยรุ่นเก่าๆ ของท่านบางคนเอามาตีเป็นหมากทุยของหลวงปู่เอี่ยมเลยก็มี และหมากทุยของเจ้าคุณผลก็ใช้ได้ผลไม่ต่างจากหมากทุยของอาจารย์เลย

ชาวบ้านและลูกศิษย์ก็อยากได้ของขลังจากเจ้าคุณผลมาก จึงขออนุญาตสร้างเหรียญรูปท่านก็ได้รับความนิยมจากชาวบ้านมาก มีประสบการณ์ นอกจากนี้ท่านก็ยังสร้างพระปิดตาตามแบบหลวงปู่เอี่ยมอีกด้วยเช่น พระปิดตาเนื้อตะกั่ว เป็นพิมพ์ปิดตานะหัวเข่า พิมพ์พระปิดตาท้องอุ ด้านหลังจะมีจาร และพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น ด้านหลังจะมีฝังแผ่นโลหะและมีจาร พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นของเจ้าคุณผลจะมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากผงหัวบานเย็นจะทำยาก กว่าจะเก็บรวบรวมได้พอก็ใช้เวลามาก

พระปิดตาของเจ้าคุณผลนั้นมีประสบการณ์มาก มีผู้ถูกทำร้ายอยู่หลายรายแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เรียกว่าเหนียวจริงๆ ชาวบ้านในแถบวัดหนังต่างรู้ดี และหวงกันมาก ใครหาพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยมไม่ได้ก็จะหาพระปิดตาของเจ้าคุณผลใช้แทนก็ได้ผลดีเช่นกัน

ปัจจุบันพระปิดตาเจ้าคุณผลก็ไม่ใช่จะหาแท้ได้ง่าย คนที่มีก็จะหวงส่วนของปลอมก็เริ่มมีแล้วต้องพิจารณาดีๆ พระปิดตาของเจ้าคุณผลสนนราคาก็ไม่แพงน่าจะอยู่ที่หลักพัน แต่ก็ไม่ใช่จะหาง่ายนะครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อตะกั่วพิมพ์นะหัวเข่า และพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


 
พระกริ่งจุติ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกริ่งอีกรุ่นของวัดสุทัศน์ ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านได้สร้างไว้ และสร้างในปี พ.ศ.2483 ซึ่งได้เข้าพิธีเดียวกับพระกริ่งรุ่นฉลองพระชนมายุพระกริ่งรุ่นนี้คือพระจุติครับ

พระกริ่งจุติมีความเป็นมาดังนี้ครับ ในท้องถิ่นอำเภอเมืองสมุทรปราการมีครอบครัวชาวประมงผู้มีฐานะดีครอบครัวหนึ่ง มีบ้านช่องไม่ห่างจากวัดกลางเท่าใดนัก หัวหน้าครอบครัวคือโยมแดง ภรรยาคือโยมฮุ่น ครอบครัวนี้มีความสนิทสนมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นอย่างยิ่ง โยมแดง ถึงกับได้ยกบุตรชายให้เป็นบุตรบุญธรรมในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ชื่อสอิ้ง ได้บวชเรียนอยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระใบฎีกาฐานานุกรมของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ

สืบต่อมาพระใบฎีกาสอิ้งได้ลาสิกขาเข้ารับราชการในกระทรวงศึกษาฯ ครั้งนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต และเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้ประทานนามสกุลให้พระใบฎีกาสอิ้งว่า "แพรัตกุล" เป็นอนุสรณ์ถึงพระเดชพระคุณท่านสืบมา

ในปี พ.ศ.2483 โยมแดงได้เสียชีวิต ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงได้กำหนดฌาปนกิจโยมแดง ณ วัดกลาง สมุทรปราการ ในวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระองค์ พอถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2483 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เสด็จไปยังวัดกลางพร้อมด้วยท่านคุณศรี (สนธิ์) กำหนดการฌาปนกิจโยมแดงนั้นเป็นเวลาเที่ยงตรง พระองค์เป็นผู้จุดไฟพร้อมกับได้ฤกษ์เทพระกริ่งไปพร้อมกัน เข้าใจว่าเป็นการเทพระเพื่อเป็นพุทธบูชาและอุทิศส่วนกุศลในการเทพระครั้งนี้ให้แก่โยมแดง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ประทานนามพระกริ่งรุ่นนี้ว่า "พระกริ่งจุติ" หลังจากที่พระองค์ทรงเททองพระกริ่งที่มีพิธีเทหล่อในคืนวันเดียวกัน

ขบวนการเทหล่อพระกริ่งจุตินั้นถูกต้องตามตำราครบครัน จำนวนการสร้างประมาณ 108 องค์ เนื้อโลหะ ประกอบด้วยชนวนโลหะงานพิธีสำคัญๆ ของวัดสุทัศน์หลายพิธี ครับพระกริ่งจุตินี้ในตอนแรกๆ ผมเองก็ยังงงๆ อยู่เกี่ยวกับเรื่องชื่อของพระ พอได้ค้นดูข้อมูลจึงได้ทราบความเป็นมา พระกริ่งจุตินี้จึงเป็นพระกริ่งที่น่าสนใจรุ่นหนึ่ง ที่ทำพิธีเททองในวันเพ็ญเดือน 12 และทำพิธีพุทธาภิเษกพร้อมกับพระกริ่งฉลองพระชนม์อีกด้วยครับ

ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระกริ่งจุติ สภาพเดิม มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระพิจิตรกรุบ้านตาก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดตากเคยเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยโบราณ และก็มีวัดเก่าแก่และมีพระกรุอยู่เช่นกัน เราอาจจะไม่ค่อยคุยกับพระเครื่องของจังหวัดตากนัก เนื่องจากในสมัยโบราณเมืองตากเป็นเมืองเล็กๆ วัดวาอารามก็คงมีไม่มากนัก พระเครื่องที่พบก็ยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชิน มีทั้งเป็นเนื้อชินเงินและพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง

บ้านตากแต่เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองตากเก่า ต่อมาได้มีการย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ตัวจังหวัดปัจจุบัน เมืองเก่าจึงลดสถานะลงมาเป็นเพียงอำเภอบ้านตาก แต่ก็ยังพบซากเมืองเก่าและพระเครื่องอยู่บ้าง พระเครื่องต่างๆ ที่พบที่บ้านตากนั้นเป็นพระเครื่องที่สร้างในสมัยอยุธยา เท่าที่พบจะเป็นพระเครื่องเนื้อชิน ซึ่งมีทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่ว ส่วนพิมพ์ที่พบก็จะเป็นพระซุ้มยอ พระร่วงนั่ง พระงบน้ำอ้อย พระพิจิตร พระยอดขุนพลซุ้มเรือนแก้ว

พระเครื่องของกรุบ้านตากนั้นมีจำนวนที่พบไม่มากนัก พระส่วนใหญ่ก็จะตกอยู่กับชาวบ้านเมืองตากเป็นส่วนใหญ่ มีเข้ามาในส่วนกลางบ้างไม่มากนัก ส่วนใหญ่ที่เห็นพระเข้ามาในส่วนกลางจะเป็น พระซุ้มยอ และพระร่วง พระงบน้ำอ้อย ส่วนพระพิจิตรไม่ค่อยพบเห็นเข้ามาในส่วนกลาง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะชาวบ้านต่างเก็บไว้ใช้เอง องค์พระพิจิตรกรุบ้านตากมีขนาดเล็กมากลักษณะเรียวๆ เนื้อจะเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง รายละเอียดขององค์พระไม่มีอะไรนัก เป็นพระนั่งปางสมาธิ ตัดชิดองค์พระ เท่าที่สอบถามคนเฒ่าคนแก่เมืองตากดู จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เหนียวเด็ดนัก ก็คือเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน คนเก่าคนเก่าเล่าว่าเนื่องจากมีขนาดเล็ก เวลาจะไปไหนมาไหนก็มักจะอมไว้ในปากเดินทางไป ก็รอดพ้นภัยแคล้วคลาดมาตลอด บางรายถูกฟันจังๆ เสื้อผ้าขาดหมด แต่ไม่เข้าเลย เป็นแค่รอยเป็นทางยาวเท่านั้น คนเก่าคนแก่เมืองตากเล่าให้ฟังและรับรอง นอกจากนี้ตนเมืองตากก็ห่วงกันมาก

พระพิจิตรกรุบ้านตากมีขนาดเล็กลักษณะคล้ายๆ กับพระของเมืองพิจิตรจึงยืมชื่อมาตั้งชื่อพระ โดยยืมชื่อมาใช้นำหน้าและต่อท้ายด้วยชื่อกรุพระ ก็เลยเป็น "พระพิจิตรกรุบ้านตาก" แถมพุทธคุณก็เด่นเช่นเดียวกันอีกด้วย พระพิจิตรกรุบ้านตากปัจจุบันนั้นหายากครับ คนทั่วไปก็อาจจะไม่ค่อยรู้จักแต่คนเมืองตากเอง รู้จักกันดีและหวงแหนกันมาก จำนวนพระก็มีไม่มากนัก ส่วนใหญ่ก็จะตกทอดกันในหมู่ลูกหลาน ในส่วนกลางแทบจะไม่ค่อยได้เห็นกันเลย เรียกว่าเป็นพระหายากชนิดหนึ่ง

พิจิตรกรุบ้านตาก มีของปลอมหรือเปล่าผมเองก็ยังไม่เคยเห็น อาจจะเป็นเพราะไม่มีคนรู้จักมากนักก็เป็นได้ แต่ก็นั่นแหละครับเวลาจะเช่าหาอะไรก็ตาม พิจารณาให้รอบคอบจะดีกว่า พิจิตรกรุบ้านตากจะเป็นพระเนื้อตะกั่ว มีสนิมแดงขึ้นประปราย และมีสนิมไขขึ้นอยู่เป็นจุดๆ ลักษณะของสนิมขึ้นคล้ายๆ กับพระของ กรุศาลเจ้าราชบุรี องค์พระเล็กมากเล็กกว่าพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าของพิจิตรเล็กน้อย ลักษณะเรียวๆ ไม่มีรายละเอียดอะไรมากนัก สนนราคาก็ยังไม่สูงแต่ก็หายากครับ เผื่อไปพบเห็นก็รู้ได้เลยว่าเป็นพระพิจิตรกรุบ้านตาก ของดีที่ถูกลืมครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระพิจิตรกรุบ้านตากจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระกำแพงซุ้มยอ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องสกุลกำแพงเพชรนั้น โดยส่วนใหญ่จะตั้งชื่อเรียกง่ายๆ ตามรูปทรงของพระเป็นที่ตั้ง เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงเม็ดมะลื่น พระกำแพงซุ้มกอ พระนางกำแพงกลีบบัว พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบจำปา พระกำแพงซุ้มยอ เป็นต้น

พระกำแพงเม็ดขนุน ถ้าเราสังเกตดูดีๆ ก็จะเห็นว่ารูปทรงกรอบนอกขององค์พระก็คล้ายๆ กับเม็ดขนุนครับ อย่างพระกำแพงพลูจีบ ก็คล้ายกับพลูที่จีบไว้ หรือกำแพงกลีบจำปารูปทรงกรอบนอกก็คล้ายๆ กับกลีบจำปา กำแพงซุ้มกอ ถ้าเราดูเฉพาะกรอบนอกก็เป็นวงโค้งแบบตัว ก.ไก่ สิ่งเหล่านี้คนโบราณก็นำมาตั้งชื่อพระเครื่องที่พบ พระอีกอย่างหนึ่งคือพระกำแพงซุ้มยอ ก็เช่นกัน ทรงกรอบซุ้มหยักเว้าตรงกลางเส้นซุ้มจึงเรียกกันต่อๆ มาว่า พระกำแพงซุ้มยอ

พระกำแพงซุ้มยอ เป็นพระที่พบตามกรุต่างๆ ในบริเวณทุ่งเศรษฐีและทางฝั่งจังหวัดกำแพงเพชร เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย และบริเวณกรุในทุ่งเศรษฐีอีกหลายกรุ พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน และพระเนื้อดิน ที่เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงก็พบบ้างแต่น้อย แต่ที่พบน้อยที่สุดก็คือพระเนื้อว่าน และพระว่านหน้าเงิน หน้าทอง สำหรับพระเนื้อชินเงินนั้นจะพบมากที่สุด และก็เป็นเนื้อที่นิยมที่สุดของพระกำแพงซุ้มยอ

กรุของพระซุ้มยอที่นิยมกันมากก็คือกรุวัดบรมธาตุ เนื้อชินเงินของพระกรุนี้ สังเกตได้จากผิวของพระกรุนี้จะมีผิวเป็นสีดำหม่นๆ ปกคลุมเนื้อพระอยู่ ส่วนพระกำแพงซุ้มยอกรุทางฝั่งจังหวัด เช่น กรุวัดอาวาสน้อยนั้น ผิวของพระมักจะมีคราบปรอทจับขาวอยู่ตามซอกขององค์พระ ส่วนพระเนื้อดินเผา ก็จะมีหน้าที่ละเอียด หนึกนุ่มตามแบบพระสกุลกำแพงเพชรครับ

พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระประทับนั่งเหนือฐานบัว สองชั้น และอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว มองดูแล้วคล้ายๆ กับพระยอดขุนพลย่อส่วนและมีขนาดเล็กกว่ามาก ด้วยขอบซุ้มเรือนแก้วมีส่วนเว้าโค้งตรงกลางซุ้มจึงทำให้มองดูตามรูปขอบซุ้มเหมือนกับตัว ย.ยักษ์ จึงกลายมาเป็นชื่อเรียกว่า "พระกำแพงซุ้มยอ" ศิลปะก็เป็นแบบสุโขทัย อายุราว 600 ปี

ในสมัยก่อนคนกำแพงหวงแหนพระกำแพงซุ้มยอมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ ทางด้านอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาด พอมาถึงปัจจุบันก็แทบไม่ค่อยได้พบเห็นพระกำแพงซุ้มยอแท้ๆ กันอีกเลย จนอาจทำให้หลายๆ คนลืมเลือนพระกำแพงซุ้มยอไปบ้าง สนนราคาในปัจจุบันก็ยังย่อมเยากว่าพระพิมพ์อื่นๆของพระกำแพงเพชรอยู่มาก แต่ก็ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

พระกำแพงซุ้มยอจึงเป็นพระที่น่าสนใจ ทั้งพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา สนนราคาก็ไม่แพงอย่างพระพิมพ์อื่นๆ เป็นพระดีของกรุกำแพงเพชรเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกำแพงซุ้มยอ เนื้อชินเงิน กรุวัดบรมธาตุ จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระมเหศวร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระมเหศวรเป็นพระเนื้อชินที่จัดอยู่ในพระเบญจภาคีชุดยอดขุนพล 4 ปัจจุบันเป็นพระที่หายาก มีความนิยมมาก ของปลอมเลียนแบบก็มีมากเช่นกัน เนื่องจากมีความนิยมกันมาตั้งแต่อดีต

พระมเหศวรถูกขุดพบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี กรุเดียวกับพระผงสุพรรณ พุทธลักษณะของพระมเหศวรนั้นแปลกจากพระเครื่องอื่นๆ คือทำเป็นแบบสองหน้า พระทั้งสองด้านจะเป็นรูปพระประทับนั่งปางมารวิชัย องค์พระจะนั่งสวนทางกัน คือ ถ้าเราดูอยู่ด้านหนึ่งแล้วพลิกกลับมาอีกด้านหนึ่งนั้น เศียรของพระจะไม่ตรงกันแต่สวนทางกัน คือด้านหนึ่งเศียรขึ้นด้านบน อีกด้านหนึ่งจะคว่ำลง ในสมัยแรกๆ ที่พบพระนั้นก็มักจะเรียกกันว่าพระสวน ตามลักษณะของพระที่มีเศียรสวนทางกัน ต่อมาก็ตั้งชื่อเรียกกันใหม่ให้ไพเราะเป็น พระมเหศวร และเรียกกันมาจนทุกวันนี้

พระมเหศวรที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แยกออกเป็นหลายพิมพ์ เช่น พระพิมพ์ใหญ่ ในส่วนของพิมพ์ใหญ่ยังแยกออกได้เป็นพิมพ์ใหญ่ต้อ พิมพ์ใหญ่เศียรโต พิมพ์ใหญ่ฐานสูง พระพิมพ์กลาง พระพิมพ์เล็ก พระแบบสวนเดี่ยว คือมีพิมพ์ด้านหน้าอย่างเดียวไม่มีด้านหลัง พิมพ์สวนตรง คือเป็นพระสองหน้า แต่เศียรพระตรงกัน พระ 2 พิมพ์หลังนี้จะไม่มีปีกด้านข้าง พระมเหศวรทั้งหมดพบแต่ที่เป็นเนื้อชิน

พระเนื้อชินทั้งหมดของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุที่เป็นเนื้อชินเงิน นอกจากพระลีลากำแพงศอกก็พระมเหศวรนี่แหละครับ ที่นิยมที่สุดและมีสนนราคาสูง เนื่องจากคนที่เคยมีประสบการณ์จากพระมเหศวรนั้นมีมากมายตั้งแต่โบราณมาแล้วว่าเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ในสมัยก่อนคนแถบสุพรรณฯ ต่างก็หาพระมเหศวรมาห้อยคอกันแทบทั้งสิ้น พุทธคุณเลื่องลือกันไปทั่ว แต่ก็ไม่ใช่หาง่ายๆ มาตั้งแต่สมัยก่อนมาแล้ว ของปลอมก็มีกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว แต่พระปลอมในสมัยก่อนนั้นแบบพิมพ์นั้นทำไม่ค่อยดี ไม่ค่อยเหมือน จึงแยกแยะได้ไม่ยากนัก แต่พระปลอมในสมัยปัจจุบันจะทำกันได้ดี พิมพ์ค่อนข้างจะเหมือน แต่เนื้อหาก็ยังไม่ได้ ไม่มีความเก่าของพระตามอายุ ดังนั้น การจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ยิ่งพระมเหศวรมีอยู่หลายพิมพ์ก็ต้องศึกษาเป็นพิมพ์ๆ ไป หรือหาจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความเชื่อถือได้

พระมเหศวรปัจจุบันมีราคาสูงมาก การจะเช่าหาก็ควรจะต้องรอบคอบหน่อยครับ ไม่อย่างนั้นเวลามีปัญหาต้องคืนพระกันจะลำบาก ทางที่ดีอย่าเช่าเปะปะ อย่าคิดเพียงได้ของ แพงในราคาถูก ไม่มีแล้วครับในสมัยปัจจุบัน พระแท้ย่อมมีมาตรฐานมูลค่ารองรับตลอดกาล ถ้านำไปแห่ขายไม่มีคนสนใจก็เท่ากับเป็นพระนอกมาตรฐานที่สังคมยอมรับก็น่าจะเป็นพระปลอมแน่ พระแท้พระปลอมพิสูจน์ง่ายๆ ด้วยมูลค่ารองรับของสังคมครับ ไม่ต้องเถียงกันให้เสียเวลาเจ็บคอเปล่าๆ

พระมเหศวรปัจจุบันราคาสูงมากครับ โดยเฉพาะพระสวยๆ และหาเช่ายาก ส่วนใหญ่คนที่มีก็ไม่ยอมให้เช่าต่อง่ายๆ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระมเหศวรจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย พิมพ์ใหญ่ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญนาคปรกเศรษฐี อุดมทรัพย์

พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตในวัย 109 ปี พรรษา 90

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่ คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้าน ดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

อุปสมบท ที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระธรรมวินัย สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาวิทยาคมอักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลายปีต่อมา เมื่อหลวงปู่กลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม บ้านเกิด และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูอุดมรังสี" และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง

นอกจากจะเป็นผู้มีพุทธาคม ยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญการวิปัสสนากัมมัฏฐาน ศึกษาแนวทางปฏิบัติจากพระป่ากรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ฯลฯ

สำหรับวัตถุมงคลมีการจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจวันที่ 26 มิ.ย.2562 ทีมงาน 11 เสือ "ป๊อบ วีระพล" ขออนุญาตหลวงปู่แสง จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญนาคปรกหลวงปู่แสง รุ่นเศรษฐีอุดมทรัพย์

เพื่อสมทบเข้ากองทุนอาพาธ และใช้ในประโยชน์ของวัดโพธิ์ชัย

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ (ลุ้นตอก 9 รอบ) 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้ากากทองคำ (ลุ้นตอก 9 รอบ) 19 เหรียญ, เนื้อเงินลงยา 7 สี (ลุ้นหน้ากากทองคำ 3 องค์และลุ้นตอก 9 รอบ) 89 เหรียญ, เนื้อเงินบริสุทธิ์ (ลุ้นหน้ากากทองคำ 3 องค์และลุ้นตอก 9 รอบ) 108 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 3K (ลุ้นหน้ากากทองคำ 3 องค์และลุ้นตอก 9 รอบ) 234 เหรียญ เป็นต้น

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ ด้านหน้าเหรียญเป็นเหรียญรูปทรงไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญ 2 ชั้นลดหลั่น ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนพระมหาจักรพรรดิ องค์ปฐมพระพุทธเจ้าต้นวงศ์ ซึ่งเป็นปางนำมาจากองค์พระธาตุพนม ปรกพญานาค 9 เศียร บริเวณฐานบัวหงาย มีอักษรตัว "ส" ในวงกลม ข้างขอบเหรียญด้านซ้ายแนวตั้งสลักตัวหนังสือคำว่า มหาบารมี ด้านขวาสลักคำว่า มหาบารมี 9 รอบ

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญด้านนอกมีเส้นสันนูนหนา มีเส้นบางชั้นในอีกชั้น ใต้หูเชื่อมสลักตัวหนังสืออ่านว่า เศรษฐีอุดมทรัพย์ ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนพระปิดตาภควันใต้ฐานพระปิดตาสลักอักขระยันต์หัวใจ 84,000 พระธรรมขันธ์ที่หลวงปู่แสงมอบให้

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 4 วาระ วาระแรกวันที่ 12 ต.ค.2562 ที่วัดประสิทธิ์ชัย อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์ วาระ 2 วันที่ 13 ต.ค.2562 ที่วัดป่าศิลาอาสน์ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ วาระที่ 3 วันที่ 13 ต.ค.2562 ช่วงบ่าย ที่วัดเดียวกัน และวาระที่ 4 วันที่ 18 ต.ค.62 ที่วัดโพธิ์ชัย จ.นครพนม มีหลวงปู่แสง นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว
  ข่าวสดออนไลน์  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 เมษายน 2563 16:19:27 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #145 เมื่อ: 21 เมษายน 2563 12:35:27 »



พระร่วงทิ้งดิ่ง กรุเจดีย์สูง สุโขทัย

สวัสดีครับผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทย ดังนั้น จึงมีวัดวาอารามมากมาย และเมื่อมีวัดเก่าแก่มากแล้วก็ย่อมจะมีพระเครื่องที่สร้างบรรจุไว้มากมายเช่นกัน พระเครื่องของจังหวัดสุโขทัยมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่หลายกรุ เช่น พระร่วงยืนหลังรางปืน พระร่วงนั่งหลังลิ่ม และอื่นๆ อีกมากพระอีกกรุหนึ่งที่พบพระเครื่องมากก็คือ วัดเจดีย์สูง

วัดเจดีย์สูง ตั้งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์ไปทางทิศตะวันออก อยู่ใกล้ๆ กับวัดตะพังทองหลาง วัดเจดีย์สูงมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งตระหง่านอยู่กลางทุ่ง เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ แต่เดิมคงเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งในสมัยสุโขทัย ด้วยเหตุที่องค์พระเจดีย์มีขนาดสูงใหญ่จึงมักจะเรียกกันว่า วัดเจดีย์สูง มาจนทุกวันนี้

วัดเจดีย์สูงเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยตอนปลาย ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมทรงสูง แล้วจึงเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา เจดีย์แบบนี้อาจจะเป็นต้นเค้าของเจดีย์ตอนต้นกรุงศรีอยุธยา (อโยธยา) ของภาคกลางก็เป็นได้

บริเวณด้านหน้าของพระเจดีย์สูง พบฐานพระอุโบสถ และพบร่องรอยพระเจดีย์รายอยู่ด้านหลัง ปัจจุบันเหลือเพียงองค์พระเจดีย์สูงเพียงองค์เดียว

มีการพบพระเครื่องของวัดเจดีย์สูงมากมาย ทั้งที่เป็นพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา พระที่พบมากที่สุดจะเป็นพระร่วงยืนปางเปิดโลก มีแบบพิมพ์ต่างๆ มากมายหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน นอกจากนี้ก็พบพระนางแขนอ่อน ที่มีทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชินเงิน พระนางแขนอ่อนที่พบที่วัดเจดีย์สูงนี้ยังมีพบที่กรุวัดมหาธาตุ และกรุเขาพนมเพลิง ซึ่งมีพิมพ์ที่คล้ายกันมาก นอกจากนี้ยังพบพระร่วงเปิดโลกที่เป็นหินแก้วจุยเจียสีขาว และพบพระร่วงเปิดโลกที่เป็นเนื้อว่านหน้าทองอีกด้วย แต่พบน้อยมาก

พระร่วงเปิดโลกกรุวัดเจดีย์สูงนี้คนในสมัยก่อนมักจะเรียกว่าพระร่วงทิ้งดิ่ง เนื่องจากพระบาทของพระร่วงเปิดโลกของกรุนี้เท้าจะค่อนข้างจิกงุ้มลงมาด้านล่างมากกว่าของกรุอื่นๆ และปลายมือทั้งสองข้างวางทอดทิ้งลงมาตรงๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระร่วงเปิดโลกของกรุนี้ครับ

พุทธคุณของพระกรุนี้เด่นทางเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด ปัจจุบันก็หายากพอสมควรครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงเปิดโลกทิ้งดิ่ง พิมพ์ต่างๆ ของกรุวัดเจดีย์สูง สุโขทัย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระรูปเหมือนหลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวสุพรรณบุรีเคารพนับถือรูปหนึ่ง หลวงพ่อคำเป็นพระสงฆ์ที่ถือสันโดษ ใจดี ท่านมีความรู้เรื่องแพทย์แผนโบราณ มีชาวบ้านมาขอให้ท่านช่วยรักษาอยู่เนืองๆ

หลวงพ่อคำ จันทโชโต หรือพระครูสุวรรณวรคุณ เป็นชาวพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เกิดเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2430 โยมบิดาชื่อฮั้ว โยมมารดาชื่อจันทร์ พออายุได้ 15 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร จนอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2451 ที่วัดมะนาว โดยมีพระครู วินยานุโยค วัดอู่ทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดบุญมีเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระช้างเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาว

ต่อมาเมื่อพระอาจารย์บุญมาซึ่งเป็นญาติของท่าน ได้ย้ายมาจากวัดภาวนาภิตาราม กทม. มาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดหน่อพุทธางกูรในปี พ.ศ.2452 จึงได้ชวนให้หลวงพ่อคำ มาช่วยกันพัฒนาวัดหน่อพุทธางกูร หลวงพ่อคำได้ศึกษาพระธรรมวินัยและอักขระขอมกับพระอาจารย์บุญมาจนแตกฉาน

หลวงพ่อคำช่วยพัฒนาวัดหน่อพุทธางกูรจนเจริญรุ่งเรืองและได้เป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา ท่านเป็นผู้มีเมตตาธรรมสูง ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา หลวงพ่ออบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณร และประชาชนให้มีความประพฤติดีประพฤติชอบอยู่เสมอ เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านในแถบนั้นมาก นอกจากนี้เรื่องวิชาแผนโบราณของท่านยังช่วยเหลือชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นนิจ ใครเดือดร้อนเรื่องอะไรก็มักจะไปขอความช่วยเหลือจากท่านตลอด ในสมัยนั้น หน้าร้อนก็มักจะมีโรคพิษสุนัขบ้าอยู่เป็นประจำ เนื่องจากในสมัยนั้นเรื่องวัคซีนแก้โรคสุนัขบ้านั้นยังไม่มีแพร่หลาย สุนัขเถื่อนมักจะติด โรคนี้และถ้ามีใครผ่านไปเจอก็มักจะโดนกัดและติดเชื้อกันเป็นประจำถ้ารักษาไม่ทันก็จะเสียชีวิต ชาวบ้านในแถบนั้นถ้ามีใครถูกสุนัขบ้ากัดก็จะมาขอให้หลวงพ่อคำรักษาให้ ท่านก็ช่วยรักษาให้หายทุกรายไป จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่วว่าชะงัดนัก มีชาวบ้านเมืองสุพรรณไปให้ท่านช่วยรักษากันมากมาย และหายได้ทุกรายไป จนมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

ในปี พ.ศ.2498 ลูกศิษย์และชาวบ้านมาขออนุญาตสร้างรูปเหมือนเท่าองค์จริง ท่านก็อนุญาตโดยมัคนายกวัดหน่อฯ ได้ติดต่อช่างปั้นชื่อนายชิ้น มาปั้นรูปเหมือนของท่าน ในการนี้ก็ได้สร้างพระรูปเหมือนองค์เล็ก และสร้างเหรียญรูปอาร์มขึ้นด้วย รูปเหมือนองค์เล็กขนาดห้อยคอนี้สร้างประมาณ 1,000 องค์ มี 2 พิมพ์คือ พิมพ์สังฆาฏิยาวและพิมพ์สังฆาฏิสั้น พิมพ์สังฆาฏิยาวนั้นผ้าสังฆาฏิจะยาวลงมาจนลอดใต้มือลงมา

ส่วนพิมพ์สังฆาฏิสั้นจะไม่ยาวลอดมือ จะอยู่ที่มือของหลวงพ่อพอดี ส่วนเหรียญรูปอาร์มเป็นแบบไม่มีหูเหรียญใช้เจาะรู ที่ตัวเหรียญ นอกจากนี้ก็ยังมีสร้างรุ่น 2 รุ่น 3 ต่อมาอีก รวมทั้งเหรียญรุ่นต่อมา อีกด้วย

ปัจจุบันรูปเหมือนรุ่นแรกหายากแล้วครับ ใครมีก็หวงแหนกันมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปเหมือนรุ่นแรก พิมพ์สังฆาฏิยาว มาให้ชมด้วยครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญมังกร หลวงปู่หา

พระญาณวิสาลเถร หรือ หลวงปู่หา สุภโร ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ เจ้าอาวาสวัดป่าสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองน้ำดำ ที่มีชาวพุทธให้ความเลื่อมใส

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ สิริอายุ 95 ปี พรรษา 76

มีนามเดิมว่า หา ภูบุตตะ เกิดวันศุกร์ที่ 2 ก.ค.2486 ปีฉลู ชาวบ้านนาเชือก ต.เว่อ ต.นาเชือก อ.ยางตลาด (ปัจจุบัน อ.เมือง) จ.กาฬสินธุ์

อายุ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่สิมน้ำวัดสว่างนิวรณ์นาแก ต.นาเชือก อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ มีหลวงปู่ลือ เป็นพระอุปัชฌาย์ จำพรรษาที่วัดสุวรรณชัยศรี จ.กาฬสินธุ์อยู่ 1 ปี และต่อมาจึงมีญัตติมหานิกายเป็นธรรมยุต ที่สิมน้ำวัดหนองโจด จ.กาฬสินธุ์ มีพระครูสมณญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังญัตติเสร็จจำพรรษาที่วัดสุวรรณศรีมุ่งมั่นจนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก อุปัฏฐากรับใช้สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ด้วยใฝ่รู้ไปเรียนกัมมัฏฐานกับพระธรรมมงคลญาณ ที่วัดธรรมมงคล และกับพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ ที่วัดบรมนิวาส

ก่อนกลับสู่มาตุภูมิพัฒนาวัดป่าสักกะวัน จนมีความเจริญรุ่งเรือง กระทั่งก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสัตว์โลกล้านปี ได้รับพระราชทานนามว่า "พิพิธภัณฑ์ สิรินธร"

ชาวบ้านจึงเรียกขานท่านว่า หลวงปู่ไดโนเสาร์

เดือน มี.ค.2563 คณะลูกศิษย์ที่เลื่อมใส "อ๊อฟ วิโดว์" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหล่อมังกร รุ่นรวยมหาเศรษฐี เพื่อจัดหารายได้บำรุงวัด

โดยจัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อนำฤกษ์สังฆวานร เนื้อนำฤกษ์นวะเทดินไทย เนื้อเงินหน้ากากทองคำลงยาชนิดละ 59 เหรียญ เนื้อเงินลงยาแดง 79 เหรียญ, เนื้อเงินบริสุทธิ์ 111 เหรียญ เนื้อนวะหน้ากากเงินขอบเงินลงยา 199 เหรียญ เนื้อเหล็กน้ำพี้ 239 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 299 เหรียญ เนื้อชุบทองลงยา 399 เหรียญเนื้ออัลปาก้าลงยา 559 เหรียญ เนื้อสัมฤทธิ์ 999 เหรียญ เนื้อทองระฆัง 1,111 เหรียญ และเนื้อทองแดง 2,222 เหรียญ เป็นต้น

ลักษณะเป็นเหรียญคล้ายหัวมังกร หูเชื่อม

ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญชั้นนอกมีเส้นสันนูนหนา มีลวดลายกนกและมีเส้นสันบางล้อมรอบอีกชั้น ตรงกลางมีรูปเหมือน ด้านบนมีเสมาธรรมจักร ส่วนด้านข้างมีมังกร 2 ตัวขนาบข้าง

ด้านหลังเหรียญ แบนราบ ใต้หูเชื่อมมียันต์อุณาโลม หัวใจของคาถา ตรงกลางเหรียญมีอักขระยันต์ อ่านว่า อิสวาสุ หมายถึง หัวใจพระรัตนตรัย ด้านล่างมีตัวหนังสืออ่านว่า รวยมหาเศรษฐี ด้านข้างของเหรียญด้านซ้ายไปขวา สลักตัวหนังสือ เขียนคำว่า หลวงปู่หา สุภโร วัดสักกะวัน อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ พ.ศ.๒๕๖๓ ประกบด้วยดอกจัน

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ได้นำชนวนมวลสาร ตะปูสังฆวานรสลักโบสถ์วิหารวัดระฆัง โฆสิตารามวรมหาวิหาร และวัดโสธรวรารามวรมหาวิหาร หล่อนำฤกษ์ จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก เดือน พ.ค.2563  
  ข่าวสดออนไลน์  



พระเนื้อชินเขียว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราๆ ท่านๆ ผู้นิยมพระเครื่องก็คงจะเคยได้ยินเนื้อพระเครื่องชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเนื้อชินเขียวมาบ้างแล้ว และโดยส่วนใหญ่ก็จะไม่นิยม เนื่องจากเท่าที่พบเป็นพระปลอมประเภทหนึ่งที่พบเห็นเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่มีใครสนใจและพระปลอมประเภทนี้ก็มักจะกล่าวอ้างว่าเป็นพระกรุพะเยา หมายถึงเป็นพระของกรุทางจังหวัดพะเยา ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่มีพระกรุทางพะเยาที่เป็นแบบนี้เลย หาที่มาที่ไปไม่ได้ แล้วพระกรุที่เป็นเนื้อชินเขียวมีจริงหรือไม่ ก็ต้องมาหาคำตอบกันครับ

พระเครื่องที่เป็นพระกรุเก่า และสร้างด้วยเนื้อโลหะก็มีอยู่หลายประเภท เช่น เนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่ว สำหรับเนื้อชินเงินก็ยังแยกออกเป็นชินต่างๆ อีกแล้วแต่การผสมสัดส่วนของโลหะ และก็มีเนื้อชินอีกประเภทหนึ่งที่เรียกกันว่าชินเขียว ที่เป็นพระแท้มีไหม มีครับและก็มีอยู่หลายกรุเหมือนกัน แต่เนื้อชินเขียวที่เคยออกมาอาละวาดจนคนขยาดไม่กล้าเล่นพระชินเขียวจนคิดว่าพระเนื้อชินเขียวเป็นพระปลอมเสียทั้งหมด ก็เมื่อประมาณ 60-70 ปีก่อนนั้น มีขบวนการปลอมพระกลุ่มหนึ่งได้ทำพระเนื้อชินเขียวขึ้นมา โดยทำแบบพระที่นิยมกันหลายๆ อย่าง ขบวนการแรกทำกันที่ภาคเหนือ ที่จังหวัดแพร่ หมู่บ้านเชตวัน อำเภอเมือง พระเหล่านี้เมื่อหมักให้เกิดสนิมขึ้นบ้างแล้วก็นำมาขายในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ เมื่อมีคนถามก็ว่าแตกกรุมาจากจังหวัดพะเยา จึงเป็นที่มาของพระชินเขียวพะเยา ซึ่งความจริงทำกันที่แพร่ ต่อมาก็มีคนทำกันอีกหลายที่ทั้งที่กรุงเทพฯ เองก็ทำ และก็อ้างว่าเป็นพระกรุทางพะเยาเช่นเดิม ต่อมาก็มีคนนำความมาเปิดเผยจนรู้กันทั่วไปว่าเป็นพระปลอม แล้วผู้ที่ดูพระเป็นเล่นพระได้ ก็ดูออกก็รู้แต่แรกแล้วว่าเป็นพระที่ยังไม่เก่าอายุไม่ได้ เขาก็ดูจากสนิมต่างๆ ที่องค์พระก็พอรู้ได้ว่าเป็นพระปลอมอายุไม่เก่า

อ้าวแล้วทำไมต้องทำเป็นพระเนื้อชินเขียวด้วย ครับก็พระเนื้อชินเขียวนั้นของเก่าเขาก็มีจริงๆ และพุทธคุณก็เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันเสียด้วย จึงมีคนนิยมกันมาก เช่น พระยอดอัฏฐารส กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก พระร่วงทรงเกราะของสุโขทัย เป็นต้น สนนราคาสูงมาแต่โบราณเนื่องจากพุทธคุณเด่นชัดและมีประสบการณ์มากมาย มีคนเสาะหากันมาก่อนปี พ.ศ.2500 นอกจากนี้ เนื้อชินเขียวยังพบที่ทำเป็นเงินพดด้วงโบราณสมัยสุโขทัย และยังพบในกรุสมัยอยุธยาอีก เช่นตะปูสังฆวานรที่ใช้เป็นสลักตอกตรึงในการสร้างพระอุโบสถวิหาร และพบที่อยู่ในกรุเจดีย์สมัยอยุธยายังพบเครื่องรางรูปช้างที่เป็นเนื้อชินเขียว ที่นิยมนำมาเป็นเครื่องรางของขลังอีกด้วย ตะปูสังฆวานรที่พบในกรุหรือตามซากโบราณสถานนั้นเป็นที่เชื่อถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะมักพบอยู่ตามซากโบสถ์วิหารในสมัยอยุธยา เชื่อกันว่าผ่านการสวดมนต์มานับครั้งไม่ถ้วน นิยมนำมาเป็นเครื่องรางของขลัง และนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเนื้อโลหะต่างๆ ถือว่าเป็นของอาถรรพณ์ เป็นต้น

ทีนี้เมื่อในยุคหนึ่งที่มีการนิยมชินเขียวมากจึงมีนักปลอมแปลงหาผลประโยชน์ทำเนื้อชินเขียวปลอมขึ้นมาในรูปแบบต่างๆ ส่วนมากจะทำเป็นรูปพระเครื่องที่นิยมกันอยู่แล้วหลายๆ อย่างมาหลอกขาย แต่ก็ไปไม่รอด ทำความเก่าหรือสนิมที่มีความเก่าแก่ในตัวอย่างของแท้ไม่ได้ ก็เลิกๆ ทำกันไปแต่ในปัจจุบันก็ยังมีพวกที่นำพระเนื้อชินเขียวปลอมรุ่นเก่ามาหลอกขายกันอยู่เหมือนกัน แต่เนื้อและสนิมก็ยังไม่รอดอยู่ดี ถ้าศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องสนิมและความเก่าได้ก็จะพอรู้ได้ครับ

สรุปว่าพระเนื้อชินเขียวของแท้เขามีจริงครับ แต่ก็หายากและราคาสูงด้วยครับ สนิมของเนื้อชินเขียวนั้นจะเรียกกันว่าสนิมไข่แมงดา เนื่องจากจะขึ้นเป็นเม็ดกลมๆ คล้ายไข่แมงดา มีสีแบบสนิมไขของเนื้อชินตะกั่วมีสีขาวอมเหลืองขึ้นสลับซับซ้อน ในส่วนที่ลึกลงไปจะมีพื้นเป็นสีดำสนิท ตัวเนื้อโลหะเองก็จะเป็นสีเทาอมเขียว พอมองดูภาพรวมผิวสนิมที่ขึ้นสลับซับซ้อนแล้วจะมีความใสเป็นมันวาว มองดูคล้ายๆ กับเนื้อของสบู่กรดในสมัยก่อน ภาพรวมก็จะเป็นสีออกอมเขียวๆ จึงเรียกกันว่าชินเขียว

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดอัฏฐารส เนื้อชินเขียว ซึ่งเป็นพระพิมพ์สองหน้า จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญย้อนยุค หลวงปู่ฝั้น

"วัดดอยเทพเนรมิต" ตั้งอยู่บนเกาะกลางลำน้ำอูน บ้านนาเลา ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร มีเนื้อที่กว่า 300 ไร่ หากยืนบนสันเขื่อนน้ำอูน มองไปทางที่ตั้งวัดจะเห็นพระพุทธรูปลีลา "ภูมินพคุณ" โดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดเขา

ปัจจุบันมี พระครูวรธรรมโชติ หรือ หลวงปู่สุดใจ อนุตตโร เป็นเจ้าอาวาส

แต่เดิมวัดแห่งนี้เป็นที่พักสงฆ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2457 ในสมัยนั้น มีพระสงฆ์เดินทางมาจากภูเขาควาย ประเทศ สปป.ลาว มาสร้างเป็นที่พักสงฆ์ปฏิบัติธรรมที่นี่ ต่อมาได้กลายเป็นที่พักสงฆ์ร้าง

หลายปีต่อมา พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ธุดงค์

ปฏิบัติธรรมที่นี่ เห็นว่าเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ท่านจึงมอบหมายให้หลวงปู่ศรี มหาวีโร พัฒนาที่พักสงฆ์แห่งนี้ให้เป็นวัด ช่วงแรกเรียกว่า วัดดอย ต่อมาหลวงปู่สมัย วัดป่าโนนแสงทอง เดินทางมาจำพรรษาปกครองที่นี่และเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดดอยเทพเนรมิต"

หลวงปู่สมัยย้ายกลับไปจำพรรษาที่วัดป่าโนนแสงทอง จึงมอบหมายให้หลวงปู่สุดใจ อนุตตโร จากวัดศรีจำปาชนบท อ.พังโคน พัฒนาวัดนี้ในปี พ.ศ.2538 อาทิ สร้างถนนขึ้นวัด สร้างกุฏิ เป็นต้น

นับแต่นั้นมา หลวงปู่สุดใจ อนุตตฺโร ก็จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2563 วัดดอยเทพเนรมิต มีโครงการวางท่อระบบประปา ระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร สูบน้ำด้วยระบบโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ และปรับปรุงเทพื้นศาลาการเปรียญ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

"แท็กสกล พระใหม่" พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ที่มีจิตอันเป็นกุศล ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญย้อนยุครุ่นแรก หลวงปู่ฝั้น อาจาโร" เพื่อมอบให้ผู้ที่ร่วมบริจาคทำบุญพัฒนาวัด

จำลองพุทธศิลป์มาจากเหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร จึงอาศัยบุญบารมีของท่านช่วยพัฒนาวัด

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูไม่เจาะรู ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่เอียงข้างห่มจีวรเฉียง ด้านล่างเขียนว่า พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ด้านหลังบนสุดใต้หูเหรียญเขียนว่า วัดดอยเทพเนรมิต บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน ใต้อักขระยันต์เขียนว่า ๒๕๖๓ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง และล่างสุดจากด้านขวาของเหรียญวนไปด้านซ้ายเขียนว่า รุ่นแรกศิษย์สร้างถวาย พร้อมกับตอกโค้ดและหมายเลขเรียงลำดับ

จำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อเงินลงยา 29 เหรียญ เนื้อเงินขาวลุ้นหลังเรียบจารมือ 99 เหรียญ อัลปาก้า 499 เหรียญ ทองแดงผิวโบราณ 3,000 เหรียญ เป็นต้น พิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นบนเรือกลางเขื่อนน้ำอูน เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2563 ที่ผ่านมา  
  ข่าวสดออนไลน์  



พระร่วงนั่งกรุคอกควาย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อชินชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า "พระร่วงนั่งกรุคอกควาย" ผมได้ยินชื่อในครั้งแรกๆ ก็เกิดความสงสัยว่าทำไมถึงมีคำว่าคอกควายตามหลังชื่อพระ น่าจะมีอะไรที่เกี่ยวข้องเป็นแน่ ก็ลองหาชมองค์พระและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระร่วงนั่งชนิดนี้

พระร่วงนั่งกรุคอกควาย เป็นพระที่พบในจังหวัดชัยภูมิ มีศิลปะแบบขอม เนื้อชินสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ มีที่เป็นเนื้อชินเงินบ้างแต่พบน้อย เมื่อศึกษาถึงเมืองชัยภูมิดูก็พบว่าเป็นแหล่งชุมชนมาเก่าแก่ และเป็นเมืองที่ขอมมีอิทธิพลมาก่อน โดยมีโบราณสถานประเภทปรางค์กู่อยู่หลายแห่งเช่น ปรางค์กู่ในตัวเมืองชัยภูมิ ปรางค์กู่ที่อำเภอบ้านแท่น ที่อยู่ห่างออกไปจากตัวเมืองไปทางเหนือ เป็นต้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเมืองเก่า เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 พร้อมๆ กับเมืองพิมาย และคงมีการติดต่อค้าขายกันมาและเชื่อมต่อกับเมืองในแถบนี้ เช่น เมืองเสมา เมืองโคราฆะปุระ

ต่อมาเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงจนมาถึงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองนี้ก็เป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา และได้มีชาวกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้มีบุรุษหนึ่งนามว่าท้าวแล ได้พาครอบครัวและสมัครพรรคพวกและครอบครัวอพยพมาจากเวียงจันทน์ มาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองนี้ และได้มีผู้คนอพยพมาอยู่อีกมากมาย จนเป็นชุมชนใหญ่ ดังปรากฏชื่อบ้านแสนพัน (ต่อมากลายเป็นบ้านสัมพันธ์ในปัจจุบัน)

โบราณสถานและโบราณวัตถุเก่าแก่ของเมืองชัยภูมิ ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลศิลปะขอม ได้แก่ ปรางค์กู่ เทวรูป พระพุทธรูป เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ การค้นพบก็จะพบบริเวณปราสาทเก่า ภูพระ ภูเขียว คอนสวรรค์ เป็นต้น ส่วนที่เป็นพระเครื่องก็มีพบบ้างแต่ไม่มากนัก และที่รู้จักกันดีก็คือพระร่วงนั่งกรุคอกควาย

พระร่วงนั่งกรุคอกควายพบที่บ้านโศกพริก เมื่อปี พ.ศ.2505 มีชาวบ้านผู้หนึ่งได้ขุดหลุมเพื่อปักเสาทำคอกควาย เผอิญได้พบพระเครื่องเป็นพระเนื้อชิน พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางสมาธิ ทรงเทริด มีกรองพระศอ และกำไลแขน ตัดขอบชิดองค์พระ ศิลปะแบบขอม จึงเรียกชื่อกันว่าพระร่วงนั่ง ส่วนคำว่าคอกควายก็มาจากสถานที่พบพระ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "พระร่วงนั่งกรุคอกควาย" การพบพระครั้งแรกก็พบพระจำนวนไม่มากนัก แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2541 ก็มีผู้พบพระลักษณะเดียวกันอีกครั้ง ในบริเวณที่เดิมที่เคยพบพระ ได้พระจำนวนประมาณ 40 องค์ สันนิษฐานว่าคงจะตกค้างอยู่หลังจากนำพระขึ้นไปในครั้งแรก พระที่พบทั้ง 2 ครั้งเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ มีพระเนื้อชินเงินบ้างเล็กน้อย พระส่วนมากจะมีคราบไขขาวจับอยู่ตามผิวพระ เมื่อล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบสนิมแดงสีเข้ม ส่วนพระเนื้อชินเงินก็จะมีผิวสีดำ

ปัจจุบันพระร่วงนั่งกรุคอกควายไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก ในวันนี้ผมได้นำรูปจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญสมโภชหุ้มทองคำ ยอดพระธาตุพนม

พระธาตุพนม ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ชาวพุทธไทย-ลาว สองฝั่งโขงประดิษฐานที่วัดพระธาตุพนมวรมหา วิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

มีอายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี สร้างใน พ.ศ.8 โดยเจ้าพญาทั้ง 5 มีพระมหากัสสปะ เป็นประธาน พร้อมพระอรหันต์ 500 รูป

เป็นพระมหาธาตุเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยม ฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร มีความสูง ถึงยอดฉัตร 57 เมตร บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) พระพุทธเจ้า

บูรณปฏิสังขรณ์ 7-10 ครั้ง ย้อนไปวันที่ 11 ส.ค. เวลา 19.09 น. พระธาตุพนมได้หักครืนพังทลายลงมา สร้างความเศร้าสลดให้ชาวพุทธทั่วประเทศ

รัฐบาลในสมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ก่อสร้างโดยเงินบริจาคของประชาชน จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2522

กาลเวลาล่วงเลยมา 40 ปี สำนักศิลปากรที่ 10 อุบลราชธานี ได้พิจารณาให้บูรณปฏิสังขรณ์ทาสีใหม่และปิดทองเปลว

วันที่ 22 ก.ค.2562 วัดแจ้งไปที่กรมศิลปากร จะหุ้มยอดเม็ดน้ำค้างและทองคำบริสุทธิ์ ใช้เวลาบูรณปฏิสังขรณ์นาน 1 เดือนจึงแล้วเสร็จ

วันที่ 28 ม.ค.2563 นายปฐมพงศ์ ณ จำปาศักดิ์ ขออนุญาตทางวัดจัดสร้างวัตถุมงคล ที่ระลึกเนื่องในวาระสมโภชยกทองคำหุ้มยอด พระธาตุพนม

วัตถุประสงค์สร้างถวายแจกในพิธีดังกล่าว (ไม่มีการจำหน่ายแต่อย่างใด)

จัดสร้างเป็นเหรียญสมโภชสี่เหลี่ยม เนื้อทองคำ 18 เหรียญ, เนื้อเงิน 108 เหรียญ, เนื้อทองสำริด 4,200 เหรียญ, เหรียญสมโภชวงรี เนื้อทองคำ 1 เหรียญ, เนื้อเงิน 2 เหรียญ, เนื้อทองสำริด 2,200 เหรียญ, เหรียญสมโภชวงรีหลังบรรจุผงกรุพระธาตุ เนื้อทองคำ 1 เหรียญ, เนื้อเงิน 119 เหรียญ และเนื้อทองสำริด 103 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ รูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีหูห่วง มีขอบเส้นสันนูนบาง ขอบเหรียญด้านในมีหยักคล้ายฟันปลา ตรงกลางเหรียญประดิษฐานองค์พระธาตุพนม เหนือฉัตรมีเปลวรัศมีแฉก ด้านข้างองค์พระธาตุพนมมีดอกบัวหงายคล้ายคบเพลิงประกบข้างซ้ายขวา ด้านล่างสลักตัวหนังสือคำว่า พระธาตุพนม

ด้านหลังเหรียญ มีสันขอบนูนหนา วงรอบเส้นในมีจุดไข่ปลาล้อมรอบอีกชั้น ใต้หูห่วงสลักอักขระ ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนคล้ายปลียอด ด้านล่างสลักตัวหนังสือ 3 บรรทัดอ่านว่า สมโภชหุ้มทองคำ ยอดพระธาตุบรมเจดีย์ 7 กันยายน 2562

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระธาตุพนม วันที่ 6 ก.ย.2562 มีพระภิกษุสามเณร 300 รูปสวดเจริญพระพุทธมนต์

มีพระเกจินั่งปรก 3 วาระ อาทิ พระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม, พระวิบูลย์ธรรมาภรณ์ จ.อุบลราชธานี, พระครูพิพัฒน์วิทยาคม วัดโนนสว่าง จ.อุดรธานี, หลวงปู่กลม อภิลาโส อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

เป็นอีกเหรียญที่มีประสบการณ์ และค่อนข้างหายากไปแล้ว  
  ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญหล่อหลวงปู่รอด วัดสามไถ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่รอด วัดสามไถ เป็นพระเกจิอาจารย์ของอยุธยาที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เป็นที่เคารพนับถือมากของชาวบ้านสามไถ ลูกศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปท่านไว้รุ่นหนึ่ง ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากครับพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งมีประสบการณ์มากมายเชื่อถือได้

ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากซักหน่อย หลวงปู่รอดเป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดา ชื่อแม่เฒ่ากา เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ โยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรหลวงปู่รอดเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา จึงได้กราบลาพระอธิการแดง ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน

เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้ เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปี พ.ศ.2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถมรณภาพทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปี พ.ศ.2429 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่รอดเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่าน ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของพระภิกษุภายในวัดต้องมาปลงอาบัติกับท่านทุกๆ เช้าห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดี จะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรม และจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลกนาถ (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา

ในปี พ.ศ.2467 หลวงปู่รอดได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่า แผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอมละลาย แล้วเมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมด หลวงปู่ได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืน ที่ในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75

เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถนี้ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากครับ พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อของท่าน จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 สิงหาคม 2563 16:23:46 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #146 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2563 16:15:17 »


พระผงหลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์ราษฎร์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระผงพุทธคุณอีกองค์หนึ่ง คือพระของหลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์ราษฎร์ หลวงพ่อผึ่งได้สร้างพระเนื้อผงไว้อยู่หลายพิมพ์ ซึ่งเป็นพระที่น่าสนใจมากองค์หนึ่งแถมปัจจุบันยังพอหาได้ไม่ยากนักและสนนราคาก็ไม่แพง ด้วยครับ

หลวงพ่อผึ่งเกิดที่บ้านไผ่หมู่ ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2426 โยมบิดาชื่อ หร่าย โยมมารดาชื่อปุ๋ย อาชีพชาวนา ฐานะครอบครัวค่อนข้างยากจน ต่อมาบิดามารดาได้แยกทางกัน หลวงพ่อผึ่งอยู่กับมารดา จึงต้องช่วยทำนาตั้งแต่เด็ก มารดาของหลวงพ่อต้องการให้หลวงพ่อผึ่งอ่านออกเขียนได้จึงนำไปฝากเรียนกับหลวงพ่อแสง วัดคลองมะดัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านนัก หลวงพ่อผึ่งเป็นคนขยันหมั่นเพียร เล่าเรียนหนังสือไทยและขอม สามารถอ่านเขียนได้คล่องแคล่วแตกฉานตลอดจนบทสวดมนต์ ต่อมาเมื่ออายุครบบวช ในปี พ.ศ.2488 จึงได้อุปสมบทที่วัดสองพี่น้องโดยมีพระปลัดบุญยัง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อ เหนี่ยง อินทโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อโหน่ง อินฺทวัณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงพ่อผึ่งบวชได้หนึ่งพรรษา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำฯ ซึ่งเป็นคนสองพี่น้องก็มาบวชที่วัดสองพี่น้องจำพรรษาอยู่กุฏิเดียวกันกับหลวงพ่อผึ่งและหลวงพ่อหอม ทั้งสามองค์สนิทสนมกันมากออกธุดงค์ด้วยกันและใฝ่เรียนวิปัสสนากรรมฐาน ได้เดินทางไปศึกษาวิชาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อปลื้ม สำนักวัดเขาใหญ่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เมื่อศึกษาแล้วก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม ส่วนหลวงพ่อสดมาจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ

ต่อมาหลวงพ่อผึ่งมาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ ต.บ้านกุ่ม อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2462 มีขบวนแห่มาอย่างครึกครื้น หลวงพ่อโหน่ง หลวงพ่อสด และหลวงพ่อหอม ก็มาส่งด้วย ท่านมาถึงก็เริ่มก่อสร้างวัดสว่างอารมณ์ทันทีด้วยการขอแรงชาวบ้านช่วยกันขุดคูรอบวัด ปลูกมะพร้าวบนคันคู ขุดดินถมเป็นเนินเพื่อสร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อผึ่งจะแจกพระผงของท่านให้แก่ญาติโยมที่มาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัด

หลวงพ่อผึ่งได้สร้างผงวิเศษขึ้นมานานแล้ว ท่านได้เขียนยันต์ด้วยดินสอพองในกระดานชนวน เสร็จแล้วลบ ท่านเขียนเป็นเวลาหลายปี เก็บไว้หลายปี๊บ ในปี พ.ศ.2493 หลวงพ่อสดยังมาขอผงวิเศษของหลวงพ่อผึ่งไปผสมสร้างพระของท่านเลย ในการสร้างพระของหลวงพ่อผึ่งท่านจะใช้สายสิญจน์ 108 เส้น วงรอบบริเวณที่จะทำพระ ผู้ที่จะพิมพ์พระจะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาด และถือศีล จึงจะเข้าร่วมพิมพ์พระของท่านได้ เมื่อสร้างพระเสร็จแล้วท่านก็จะนำพระทั้งหมดเข้าไว้ในพระอุโบสถ ให้พระสวดมนต์เช้าเย็น และกลางคืน เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นท่านก็นำมาปลุกเสกเดี่ยวอีก จนครบไตรมาส

พระที่ท่านสร้างมีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ประภามณฑล พิมพ์เชียงแสน พิมพ์อกร่อง พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ชินราช บางพิมพ์ก็เป็นพิมพ์แบบพระวัดท้ายตลาดก็มี เป็นต้น ในวันนี้นำรูปพระสมเด็จพิมพ์อกร่องและพิมพ์ 7 ชั้นมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


 
เหรียญพระศรีอริยเมตไตรย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระศรีอริยเมตไตรย วัดไลก์ ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดลพบุรี มีประชาชนเคารพศรัทธามาก มีการจัดงานประเพณีนมัสการองค์พระปีละ 3 ครั้ง

พระศรีอริยเมตไตรย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า "พระศรีอาริย์" นั้นเป็นพระรูปหล่อแบบพระพุทธรูปแต่ไม่มีเปลวรัศมี (ไม่มีพระเกศ) นั่งสมาธิแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัย สวยงามมาก ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดไลก์ ในทางประวัติศาสตร์มิได้มีการระบุไว้ว่าสร้างในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้าง คงมีแต่ตำนานกล่าวถึงการสร้างของทางวัด เกี่ยวกับเรื่องของอภินิหารเทพที่มีผู้วิเศษเข้ามาเกี่ยวข้อง

ประชาชนโดยทั่วไปศรัทธาและไปกราบนมัสการเป็นจำนวนมาก ในทุกๆ ปีจะมีการจัดงานนมัสการประจำปี โดยจัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เริ่มงานวันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3

ครั้งที่ 2 เริ่มงานวันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ครั้งนี้เป็นประเพณีใหญ่ เรียกว่างานแห่พระศรีอริยเมตไตรย จากวัดไลก์ไปถึงวัดท้องคุ้ง

ครั้งที่ 3 เริ่มงาน วันแรม 4-6 ค่ำ เดือน 11 แต่โบราณเป็นประเพณีแห่พระศรีอริยเมตไตรยทางน้ำและได้ยกเลิกประเพณีแห่ทางน้ำตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 คงเพียงนมัสการภายในวัดเท่านั้น

งานประเพณีประจำปีแห่พระศรีอริยเมตไตรยในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ถือเป็นงานใหญ่ทางคณะกรรมการจัดงานและประชาชนจะอัญเชิญรูปหล่อพระศรีอริยเมตไตรยขึ้นประดิษฐาน และจัดขบวนแห่ ด้วยให้ประชาชนที่มาร่วมขบวนไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ก็จะมีการสรงน้ำ และปิดทอง ผู้เฒ่า ผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ประชาชนทั้งหลายที่มาร่วมขบวนจะจัดประดับตกแต่งช้างม้าบรรดามีของตนอย่างสวยงามตามที่จะจัดได้ แล้วนำมาร่วมขบวนแห่ นอกจากนี้ผู้ที่ไปร่วมขบวนก็มีศิลปิน นักแสดงต่างๆ เกาะกันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งมีทั้งเทิ้งบ้องกลองยาว เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัยและการเล่นต่างๆ ซึ่งแล้วแต่ผู้ใดจะถนัดการแสดงทางไหน ก็แสดงกันไปอย่างสนุกสนาน เป็นงานใหญ่ประจำปี ผู้คนต่างสนุกสนานครึกครื้นที่สุดตั้งแต่เริ่มขบวนแห่และเมื่อขบวนแห่กลับมาถึงวัดไลก์ ก็นำองค์พระศรีอริยเมตไตรยมาประดิษฐานที่ปะรำพิธี เพื่อเปิดงานนมัสการต่อไป

ปัจจุบันนี้พิธีแห่พระศรีอริยเมตไตรยก็ยังกระทำเป็นประจำทุกปี และเป็นงานใหญ่ที่ประชาชนพยายามรักษาประเพณีดั้งเดิมไว้ ถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ทำสืบทอดกันต่อมาแต่ครั้งโบราณ และเป็นงานสำคัญของจังหวัดลพบุรี

วัตถุมงคลของวัดไลก์ได้เริ่มสร้างมาในสมัยหลวงพ่อสุ่น ติสฺสโร เป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ (2451-2472) ได้จัดสร้างเหรียญรูปพระศรีอริยเมตไตรยขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ ผู้ที่มานมัสการพระศรีอริยเมตไตรยและร่วมทำบุญที่วัดไลก์ เหรียญที่สร้างในครั้งแรกนั้น สร้างเป็นเหรียญรูปทรงเสมาด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธชินราช อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีอริยเมตไตรย มีสร้างสองเนื้อ คือเนื้อทองแดงกะไหล่ทองและเนื้ออะลูมิเนียม สร้างประมาณปี พ.ศ.2460 อีกรุ่นหนึ่งเป็นรูปทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระศรีอริยเมตไตรย ด้านหลังเป็นยันต์ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง สร้างระบุปี  พ.ศ.2467 ทั้งสองรุ่นเป็นรุ่นนิยม เป็นเหรียญหายากที่สวยสมบูรณ์ราคาค่อนข้างสูงครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก ด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีอริยเมตไตรย อีกด้านเป็นรูปพระพุทธชินราช เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    



พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน "พระขุนแผน" ถ้านึกถึงพระขุนแผน ก็ต้องนึกถึงเมตตามหานิยม พวกหนุ่มๆ ในสมัยก่อนก็มักจะชอบหาพระขุนแผนมาใส่ห้อยคอ เพราะนึกถึงความเจ้าชู้และมีเสน่ห์ของพระเอกขุนแผน แถมมีความเก่งกล้าในวิทยาคม จึงถูกใจชายหนุ่มในสมัยก่อนกันนัก

พระขุนแผน ของสุพรรณบุรี กรุที่มีชื่อเสียงก็จะเป็นกรุวัดพระรูปและกรุวัดบ้านกร่าง พระกรุ วัดบ้านกร่างนั้นมีมากมายหลายพิมพ์ และมีแบบคู่คือพระพลายคู่ ก็ยังมีอีกหลายพิมพ์เช่นกัน วัดบ้านกร่าง ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ ตรงข้ามตัวตลาดและที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ วัดนี้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง พระกรุวัดบ้านกร่างนี้สันนิษฐานว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้สร้างไว้หลังจากเสร็จศึกสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารที่เสียสละชีวิตในการศึกครั้งนั้น

พระกรุวัดบ้านกร่างแตกกรุออกมา ประมาณปี พ.ศ.2440 อาจจะเนื่องจากองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระล้มลง คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า เกิดมาก็เห็นพระบ้านกร่างนี้กระจัดกระจายไปทั่วบริเวณวัด และเจ้าอาวาสในสมัยนั้นก็ได้ให้นำพระเครื่องทั้งหมดมากองรวมไว้ที่โคนต้นพิกุลหน้าวิหาร และในวิหารหลังเก่าก็มีกองสูงถึงฐานชุกชี แสดงว่าจำนวนพระมีมากมาย คนในสมัยก่อนไม่ค่อยมีใครนำพระเครื่องจากวัดเข้าบ้าน จึงมีพระกองอยู่อย่างนั้น จะมีก็พวกเด็กแถววัดและเด็กวัด ที่นำเอามาร่อนลงน้ำให้กระท้อนกับพื้นน้ำเล่นว่าใครจะกระท้อนได้มากกว่ากัน หรือไม่ก็เอามาทอยกอง เป็นที่สนุกสนานของเด็กๆ ในสมัยนั้น แต่ก็ยังไม่มีใครกล้านำกลับไปบ้าน เพราะผู้ใหญ่จะดุเอา ห้ามเอาของวัดเข้าไว้ที่บ้าน (ในสมัย พ.ศ.2440) ต่อมาที่ท่าน้ำวัดบ้านกร่างมักมีชาวเรือที่นำข้าวของมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมาพักจอดเรือที่ท่าน้ำวัดในหน้าแล้ง ส่วนมากเป็นชาวนครชัยศรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ก็เก็บกลับไปบ้านของเขาบ้าง บางคนเอาไปห้อยคอแล้วมีประสบการณ์ต่างๆ ก็มาเอากันอีก พระก็เริ่มงวดลงไป ชาวบ้านก็จึงเริ่มเอาพระมาเก็บไว้บ้าง พวกหนุ่มๆ เอาพระพลายคู่ไปห้อยคอแล้วไปมีเรื่องกับคนต่างถิ่น ถูกฟันไม่เข้าก็จึงเริ่มมาหาพระที่วัดกันจนหมดไปในที่สุด สมัยก่อนผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า พระบ้านกร่างคู่นั้น สามารถแลกกับวัวได้คู่หนึ่งทีเดียว

ต่อมามีการตั้งชื่อพระพิมพ์ต่างๆ เช่นพระขุนแผนทรงพลใหญ่-เล็ก พระขุนแผนห้าเหลี่ยมอกใหญ่-อกเล็ก พระขุนแผนใบมะยม พระขุนแผนใบพุทรา พระพิมพ์พระประธาน พิมพ์ซุ้มเหลือบ พิมพ์เถาวัลย์ พิมพ์ใบไม้ร่วง พิมพ์ซุ้มประตู และพลายคู่พิมพ์ต่างๆ ฯลฯ ทำไมต้องเป็นชื่อขุนแผน ก็เมืองสุพรรณนั้นตามวรรณคดีเป็นบ้านเกิดของขุนแผนตัวพระเอกของเรื่อง แม้แต่ถนนหนทางในสุพรรณฯ ยังตั้งชื่อตามวรรณคดีเลยครับ ชื่อพระกรุอื่นๆ ก็มีที่เป็นชื่อตามวรรณคดีทั้งนั้น ทีนี้พระที่มีชื่อว่าขุนแผน ผู้คนก็นึกเอาว่าคงจะเก่งกล้าสามารถและมีเสน่ห์เมตตามหานิยมตามพระเอกในเรื่องขุนแผนด้วย พวกชายหนุ่มวัยรุ่นก็มักจะนิยมเสาะหากันใหญ่

ความจริงพุทธคุณของพระกรุวัดบ้านกร่างนั้นเด่นทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม แต่ร้อยทั้งร้อยคนที่หา พระขุนแผนนั้นชอบเจ้าชู้เกือบทั้งนั้นครับ ไม่ได้ว่าใครนะครับ แต่ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นเป็นอย่างนั้น ตัวผมเองเมื่อตอนวัยรุ่นก็ห้อยพระวัดบ้านกร่างเช่นกัน แหมใครจะไม่ชอบล่ะครับ แต่ปัจจุบันไม่ได้ห้อยแล้ว แม่บ้านไม่ให้ห้อยครับ สงสัยเขาจะอ่านวรรณคดีมากไปครับ

ครับโม้มามากแล้ววันนี้ผมนำรูปพระกรุวัดบ้านกร่าง ที่นิยมกันมากคือพระขุนแผน พิมพ์อกใหญ่และพิมพ์อกเล็ก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมด้วยครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    



เหรียญหลวงปู่ธูป

หลวงปู่ธูป ญาณวโร หรือ พระครูสังฆรักษ์สมาน เจ้าอาวาสวัดลาดน้ำขาว ต.สาลี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 83 ปี พรรษา 59

มีนามเดิม สมาน ใจเที่ยง เกิดเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2480 ภูมิลำเนาเดิมเป็นชาวบ้านลาดน้ำขาว อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

พ.ศ.2500 เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดทรงกระเทียม จ.สุพรรณบุรี แต่หลังจากบวชได้ 1 พรรษา ท่านจำเป็นต้องลาสิกขาออกมาคอยดูแลบิดาที่ชราภาพ เมื่อบิดาเสียชีวิต ในปี พ.ศ.2504 เมื่อหมดภาระทางครอบครัวแล้ว จึงตัดสินใจอุปสมบทอีกครั้ง ที่อุโบสถวัดบางซ้ายใน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้ายใน) เจ้าคณะอำเภอบางซ้ายใน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดเจริญ วัดบางซ้ายใน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์ทองหยด วัดบางซ้ายใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า ญาณวโร แปลว่า ผู้มีญาณอันประเสริฐ

พ.ศ.2509 จำพรรษาอยู่ที่วัดลาดน้ำขาว จ.สุพรรณบุรี ตราบจนปัจจุบัน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดลาดน้ำขาว และได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสังฆรักษ์สมาน พระฐานานุกรมในพระเทพปริยัติกวี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี

ย้อนไปในปี พ.ศ.2562 ในโอกาสที่อายุครบ 83 ปี คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย "ภีม วังน้ำเขียว" ขออนุญาตหลวงปู่ธูป จัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญรูปเหมือน รุ่นมหามงคล 83 ปี เพื่อแจกจ่ายให้กับญาติโยมที่ร่วมงานและหาปัจจัยสมทบทุนก่อสร้างห้องน้ำให้กับวัดลาดน้ำขาว ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างรวม 8 ห้อง

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูห่วงตัน

ด้านหน้าเหรียญ มีรูปหลวงปู่ครึ่งองค์ เขียนว่า หลวงปู่ธูป ญาณวโร วัดลาดน้ำขาว ต.สาลี อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี พ.ศ.๒๕๖๒ ที่หน้าอกมีคำว่ามหามงคล และตอกโค้ด รูประฆังที่สังฆาฏิ

ด้านหลังเหรียญ บนสุดกำกับด้วยอักขระยันต์ตรงกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์เมตตาและยันต์แคล้วคลาด แถวต่อมาเป็นคาถาคงกระพันล่างสุดเขียนว่า อายุวัฒนมงคล ๘๓ ปี

จำนวนการสร้างน้อย อาทิ เนื้อทองคำ 1 เหรียญ เนื้อเงิน ปะหน้าทองคำ 9 เหรียญ ชุดกรรมการ นำฤกษ์ 20 ชุด เนื้อเงินลงยาสีน้ำเงิน 20 เหรียญ เนื้อเงินลงยาแดง 40 เหรียญ เนื้อเงิน 50 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 199 เหรียญ เนื้อทองแดง 1000 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 16 พ.ย.2562 ฤกษ์มงคลโสฬส เสาร์ 5 พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธี อาทิ หลวงปู่ธูป ญานวโร หลวงปู่สมบุญ ปิยธมฺโม วัดลำพันบอง จ.สุพรรณบุรี หลวงปู่ชม อลีนจิตโต วัดโปรดสัตว์ จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อประเสริฐ โชติปญฺโญ วัดแก้ว จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อหอม เดชพโล วัดท่าโขลง จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อไกร วัดขุนไกร จ.สุพรรณบุรี

หลังเสร็จพิธีได้นำไปปลุกเสกเดี่ยวอีก 7 วัน เมื่อถึงวันมุทิตาสักการะอายุ 83 ปี วันที่ 16 ธ.ค.2562 จึงนำออกมาเป็นที่ระลึกแก่ผู้มาร่วมงาน  
 



พ่อท่านแสง วัดคลองน้ำเจ็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์สายใต้กันดีกว่านะครับ พระเกจิอาจารย์ทางใต้นั้นมีอยู่มากมายหลายจังหวัด แต่วันนี้ผมจะมาคุยถึงพระเกจิอาจารย์ของจังหวัดตรัง คือพ่อท่านแสง วัดคลองน้ำเจ็ด ซึ่งท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาธรรมสูง เป็นที่เคารพรักของชาวบ้านจังหวัดตรังครับ

พระครูโอภาสวุฒิคุณ (หลวงพ่อแสง) วัดคลองน้ำเจ็ด ท่านเกิดที่บ้านพรุชี ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ.2429 โยมบิดาชื่อรอด โยมมารดาชื่อนุ่ม ในวัยเด็กบิดาได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือกับพระครูวินัยธร วัดแจ้ง ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ประมาณ 16 ปี ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดคลองน้ำเจ็ด อยู่ได้ 2 พรรษา ท่านก็ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ พอท่านอายุได้ 21 ปี ในปี พ.ศ.2450 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดคลองน้ำเจ็ด โดยมีพระครูบริสุทธิศีลาจารย์ (ลบ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิมลศิละขัน (หนู) วัดแจ้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อช้วน วัดคลองน้ำเจ็ด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ยโสธโร"

เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้ง เล่าเรียนพระธรรมวินัย และวิทยาคมต่างๆ จากหลวงพ่อหนู 4 พรรษา ซึ่งหลวงพ่อหนูเก่งกล้าทางด้านวิทยาคม ต่อมาจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อลบ อุปัชฌาย์ของท่าน และได้เรียนวิทยาคมจากหลวงพ่อลบ ต่อมาได้เรียนกับหลวงพ่อวัน มานะโส และกับหลวงพ่อทุด วัดคลองน้ำเจ็ด

เมื่อหลวงพ่อทุด เจ้าอาวาสวัดคลองน้ำเจ็ดมรณภาพ หลวงพ่อแสงก็ได้รับนิมนต์ให้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองน้ำเจ็ดสืบแทน สมณศักดิ์ที่ท่านได้รับ คือ ปี พ.ศ.2467 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดคลองน้ำเจ็ด ปี พ.ศ.2469 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล ปี พ.ศ.2498 ได้แต่งตั้งเป็นพระครูโอภาสวุฒิคุณ หลวงพ่อแสงเป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาธรรมสูง ผู้ใดมีความทุกข์โศกต่างๆ ท่านก็ช่วยบำบัดให้ทุกรายไป ท่านสั่งสอนธรรมให้แก่บรรดาศิษย์เสมอ ปกครองภิกษุ สามเณรด้วยความเสมอภาค เป็นที่เคารพของภิกษุ สามเณร เป็นที่พึ่งของทุกชนชั้น ดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของชาวบ้าน หลวงพ่อแสงมรณภาพ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2527 สิริอายุได้ 98 ปี พรรษาที่ 77

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ชาวบ้านและลูกศิษย์ที่เคารพนับถือมักจะมาขอปิดทองที่ตัวท่านอยู่เสมอ ท่านก็ไม่ว่าอะไร และจะมีผู้มาขอเอาทองที่ปิดที่ตัวท่านนำไปเก็บไว้เพื่อสักการบูชา ท่านก็อนุญาตให้ทุกครั้ง ต่อมาเมื่อท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูโอภาสวุฒิคุณ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2498 ลูกศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญขึ้น จำนวนประมาณ 800 เหรียญ เพื่อแจกจ่ายให้แก่บรรดาศิษย์ที่มาแสดงมุทิตาจิตต่อท่าน

เหรียญรุ่นนี้ถือเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน และปัจจุบันก็หายาก ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก ยิ่งคนตรังด้วยแล้วหวงมากครับ เหรียญรูปคล้ายๆ กันมีสร้างต่อมาอีกหนึ่งครั้ง แต่แกะแม่พิมพ์ใหม่ ต่างกันที่ด้านหลังเหรียญ จะมีคำว่า "ที่ระลึกในงาน..." ที่แตกต่างจากรุ่นแรกที่จะเขียนว่า "ไว้เป็นที่ระลึกในคราวฉลองสมณศักดิ์ ๒๔๙๘" เหรียญรุ่นแรกจึงนิยมเรียกกันว่า เหรียญ "ในคราว" ซึ่งบ่งบอกความหมายถึงเป็นเหรียญรุ่นแรกครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกมาให้ชมกัน ทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    



เหรียญหันข้างที่ระลึกสร้างโบสถ์

พระครูไตรสังวรกิจ หรือหลวงพ่อหอม รตินธโร เจ้าคณะตำบลกุสุมาลย์ (ธ) แห่งสำนักสงฆ์บ้านอีกุด ต.กุสุมาลย์ อ.เมือง จ.สกลนคร พระเกจิสายป่า พระวิปัสสนากัมมัฏฐานชื่อดัง

ศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แม่ทัพธรรมภาคอีสาน ศิษย์เอกหลวงปู่คำดี ปัญโญภาส วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

ปัจจุบันสิริอายุ 60 ปี พรรษา 39

มีนามเดิมว่า ผจญ ใบแสน เกิดเมื่อวันที่ 1 มี.ค.2503 เป็นชาวบ้านอีกุด ต.โพธิ์ไพศาล (ปัจจุบัน ต.กุสุมาลย์)

เข้าพิธีอุปสมบท อายุ 21 ปี เมื่อ พ.ศ.2524 ที่พัทธสีมาวัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมีพระราชสุทธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูพิศาลปัญโญภาส (หลวงปู่คำดี ปัญโญภาส) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลังจากสร้างวัดไตรคามวาสี มีเนื้อที่ป่ากว่า 100 ไร่ ร่มรื่น มีสิงสาราสัตว์อยู่อาศัย ล่าสุดย้ายมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านอีกุด ถิ่นมาตุภูมิแล้ว

ปัจจุบันสร้างสำนักสงฆ์บ้านอีกุด อยู่ห่างจากวัดเดิม 1 กิโลเมตร

เดือน ต.ค.2562 คณะลูกศิษย์บ้านนาเดื่อ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญหันข้างที่ระลึกสร้างโบสถ์ พระอาจารย์หอม รตินธโร

เพื่อมอบให้กับผู้ร่วมทำบุญเป็นที่ระลึกในการสร้างอุโบสถวัดนาเดื่อ ต.นาเดื่อ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

จัดสร้างมีเนื้อเงินบริสุทธิ์ 60 เหรียญ, เนื้อนวะ 99 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้าสอดไส้ทองฝาบาตร 200 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า เนื้อชนวน ชนิดละ 300 เหรียญ, เนื้อทองฝาบาตร เนื้อทองแดงผิวไฟ ชนิดละ 500 เหรียญ เนื้อทองแดงผิวรุ้ง 5,000 เหรียญ และเนื้อตะกั่วหลังจารยันต์ 19 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญเป็นเหรียญรูปทรงไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงพ่อหอมครึ่งองค์ ด้านล่างสลักตัวหนังสือคำว่า พระอาจารย์หอม รตินธโร ประกบด้วยสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดปิดหัวท้าย

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมมีตัวหนังสือ เขียนคำว่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ถัดลงมามีตัวหนังสือ 2 บรรทัด เขียนคำว่า ที่ระลึก รุ่นสร้างโบสถ์ กลางเหรียญมีอักขระยันต์ 2 บรรทัด บรรทัดแรกอ่านว่า นะมะ นะอะ นะอุ บรรทัดที่ 2 อ่านว่า อะระหัง มฺคฺยฺคฺ ถัดลงมาสลักตัวหนังสือคำว่า มหาโชค มหาลาภ ปิดหัวท้ายด้วยดอกจัน 2 บรรทัดสุดท้ายสลัก ๒๕๖๒ วัดนาเดื่อ รุ่นแรก

มีพิธี 2 วาระ วาระแรกนำฤกษ์วันที่ 29 พ.ย.2562 มีพิธีพุทธาภิเษกวันที่ 30 พ.ย. ที่อุโบสถวัดไตรคามวาสี อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร มีหลวงพ่อหอมอธิษฐานจิตเสกเดี่ยว  
  ข่าวสดออนไลน์  



เลือกเล่นพระแบบไหนแล้วแต่ใจปรารถนา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ขึ้นหัวข้อแบบนี้ก็เพราะเวลานี้ได้เห็นการแสดงความคิดเห็นในโซเชี่ยลกันมากมายหลากหลายความคิด บ้างก็ตั้งทฤษฎีกันขึ้นมาเองว่าด้วยการตรวจสอบพระว่าแท้หรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะพระที่เป็นยอดนิยมเช่น พระเบญจภาคี เป็นต้น เนื่องจากว่าพระเบญจภาคีมีมูลค่าสูง และเป็นที่ปรารถนาของคนส่วนใหญ่ ก็ให้เหตุผลกันไปหลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากมาตรฐานของคนส่วนใหญ่ที่มีมูลค่ารองรับของพระนั้นๆ

ครับพระชุดเบญจภาคีเป็นพระที่ผู้นิยมพระเครื่องส่วนใหญ่ปรารถนากันแทบทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีมูลค่าสูงมากๆ ด้วยเช่นกัน แต่ก็เป็นธรรมดาที่พระที่มีมูลค่าสูงๆนั้นก็ย่อมจะหายาก มีผู้คนนิยมมากจึงทำให้มีมูลค่าสูง ด้วยเหตุนี้เองก็ย่อมทำให้มีคนที่คิดทำของเลียนแบบออกมา และก็มีมานานมากแล้ว ซึ่งในปัจจุบันเองก็ยังมีผู้ทำอยู่เนืองๆ ทีนี้ก็ย่อมมีคนที่ครอบครองพระแบบนี้ หรือได้รับตกทอดกันต่อๆ มา ย่อมคิดว่าพระเครื่ององค์นั้นๆ เป็นพระที่ถูกต้องตามมาตรฐานไปด้วยเช่นกัน แต่พอนำไปสอบถามหรือตรวจสอบดูกับกลุ่มที่เล่นหากันเป็นมาตรฐานที่มูลค่ารองรับก็มักจะได้รับการปฏิเสธว่าเป็นพระที่ถูกต้อง ก็มีคนที่ยอมรับและคนที่ไม่ยอมรับความคิดเห็นนั้นๆ

เอาล่ะเรามาพูดถึงมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับนั้นเขามีมาตรฐานอย่างไร คนในสังคมพระเครื่องส่วนใหญ่นั้นเขาก็ได้รับการถ่ายทอดหลักการตรวจสอบว่าใช่หรือไม่อย่างไรที่สืบต่อกันมา โดยสังคมยอมรับและรับรองมูลค่า ซึ่งถามว่าแล้วจะมั่วๆ หรืออุปโลกน์กันขึ้นมาหรือเปล่า? ส่วนตัวผมเองในสมัยก่อนก็ได้ทดลองศึกษามามากมายหลายรูปแบบ และให้เหตุผลต่างๆ มาหักล้างแล้วจึงศึกษาดูก็เห็นว่าที่เขาเล่นหากันเป็นมาตรฐานนั้นถูกต้อง มีเหตุผลอธิบายได้จริง ซึ่งก็ต้องศึกษาหาความรู้เปรียบเทียบดูก็จะเห็นได้ว่ามีเหตุและผลที่พิสูจน์ได้ เพียงแต่ผู้ที่ยังศึกษาได้ไม่ถึงก็อาจจะงงอยู่ว่าเขาใช้เหตุผลอะไรมาพิสูจน์ และที่มองเห็นง่ายๆ ก็คือ ถ้าไม่มีเหตุผลแล้วสังคมส่วนใหญ่เขาก็คงไม่ให้มูลค่าแน่ๆ

พระเครื่องไม่ว่าจะเป็นพระประเภทใดก็ตาม ย่อมมีร่องรอยการผลิตพระชนิดนั้นๆ ขึ้นมา เช่น แบบพิมพ์ ถ้าเป็นพระเก่าๆ ยุคโบราณเราก็คงไม่ต้องถึงกับเห็นแม่พิมพ์หรือเกิดทันหรอกนะครับ เพราะวัตถุใดๆ ก็ตามที่ถูกผลิตขึ้นด้วยแม่พิมพ์ ร่องรอยของแม่พิมพ์นั้นๆ ก็จะมีให้เห็นได้ในชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรืออะไรก็ตาม อย่างพระเครื่องที่ออกมาจากพิมพ์อันเดียวกันก็ย่อมจะมีร่องรอยของตัวแม่พิมพ์นั้นๆ ปรากฏอยู่ในองค์พระเครื่อง ที่เรามักจะเรียกกันว่าตำหนิแม่พิมพ์ และร่องรอยของตัวแม่พิมพ์ อันเดียวกันก็ย่อมจะปรากฏในทุกๆ องค์ที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน มิติความตื้นลึกก็จะเป็นเช่นเดียวกัน และเกิดในตำแหน่งเดียวกันทุกองค์

นอกจากนี้ก็ยังมีร่องรอยการผลิตพระเครื่องนั้นๆ อีก คือกรรมวิธีการผลิตของพระเครื่องแต่ละอย่างแต่ละรุ่น คือด้านหลังองค์พระด้านข้างองค์พระแต่ละชนิดจะเกิดขึ้นเหมือนๆ กันในพระเครื่องที่ผลิตรุ่นเดียวกัน ยกตัวอย่างพระกรุวัดตะไกร จะเห็นร่องรอยการนำพระออกจากแม่พิมพ์ด้วยการใช้ไม้เสียบที่ใต้ฐานพระแล้วงัดเอาพระออกมาจากแม่พิมพ์ ดังนั้นพระกรุวัดตะไกรก็จะมีร่องรอยปรากฏเป็นรูที่ใต้ฐานทุกองค์ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใด นั่นก็เป็นร่องรอยการผลิตชนิดหนึ่ง พระเครื่องแบบอื่นๆ ก็มีร่องรอยการผลิตตามแบบของเขาเช่นกัน เพียงแต่แตกต่างกันไปในของแต่ละพระ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราต้องศึกษาหาความรู้เอา

ยกตัวอย่างพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ ที่เราเห็นเขาเรียกพิมพ์กันว่า พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เกศบัวตูมนั้น ตัวแม่พิมพ์มีแค่ 4 แม่พิมพ์เท่านั้นหรือ? ความจริงก็คือ แต่ละพิมพ์มีแม่พิมพ์แยกอีกหลายแม่พิมพ์ ผมคงยังไม่พูดถึงตรงนี้นะครับ เพียงแต่อยากจะบอกว่ายังมีตัวแม่พิมพ์แยกออกได้อีกหลายแม่พิมพ์ แต่เขาจัดไว้เป็นหมวดๆ เท่านั้น ทีนี้เวลาเราศึกษาก็ต้องศึกษาทีละแม่พิมพ์ ทุกแม่พิมพ์ก็จะไม่งงและเข้าใจง่ายขึ้น ก็มายกตัวอย่างอีกครั้งที่พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯ ตัวแม่พิมพ์ที่เห็นได้บ่อยที่สุดก็คือแม่พิมพ์อกวี แม่พิมพ์นี้จะมีอกเป็นรูปคล้ายตัววีในภาษาอังกฤษ (V) คือด้านบนของอกจะกว้างแล้วค่อยๆเรียวลงมา คล้ายตัววี จึงมักจะเรียกกันง่ายๆว่าแม่พิมพ์อกวี

พระสมเด็จแม่พิมพ์อกวีทุกองค์ก็จะมี ร่องรอยในส่วนต่างๆ เหมือนกันหมดทุกองค์เพราะเกิดมาจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์พระเกศ ฐานกรอบแม่พิมพ์ก็จะเหมือนกันหมดทุกองค์ มิติความตื้นลึกในส่วนต่างๆ ตำแหน่งก็จะต้องเหมือนกันหมด เพราะเกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน เมื่อนำพระแท้แม่พิมพ์เดียวกันมาเปรียบเทียบกันก็จะมีร่องรอยการผลิตที่เหมือนกันทุกองค์ ทีนี้มาว่ากันด้วยเนื้อหา พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ ก็สร้างมาจากเนื้อผงปูนขาวที่ทำในสมัยนั้น ที่ว่ามีส่วนผสมอื่นๆ นั้นก็เป็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เนื้อหาหลักก็จะเป็นปูนขาวทั้งสิ้น พอเรามาดูพิสูจน์เปรียบเทียบก็จะเหมือนๆ กันหมด ในพระสมเด็จฯ ของวัดระฆังฯ สภาพความเสื่อมของอายุก็จะเหมือนๆ กันอีกเช่นกัน

ธรรมชาติการตัดขอบก็จะเป็นกรรมวิธีเดียวกัน ธรรมชาติที่เกิดขึ้นที่ด้านหลังก็จะออกมาแบบเดียวกันทั้งๆ ที่ไม่ได้มีแม่พิมพ์ด้านหลัง แต่ร่องรอยของด้านหลังที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้างก็จะออกมาเหมือนๆ กันอย่างมีเหตุผล เพียงแต่เราจะศึกษาไปถึงหรือไม่ สามารถเปรียบเทียบได้หมด เมื่อมีการศึกษากันมาเป็นร้อยปี ศึกษาเปรียบเทียบต่อๆ กันมาจนเป็นมาตรฐานแล้ว เขาจึงยึดถือแบบการพิสูจน์ว่าถูกต้องตามนี้ และก็มีการรับรองมูลค่า จึงทำให้เป็นมาตรฐาน

ในส่วนการพิสูจน์แบบอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ก็มีแบบต่างๆ มากมาย มีทั้งนั่งทางในหรือกำหนดรูปแบบต่างๆ กันขึ้นมาอีกเยอะมาก เพียงแต่ถ้ายังไม่ถูกต้องตรงกับมาตรฐานเขายังไม่ยอมรับเป็นมาตรฐาน พระแบบนี้ก็ยังไม่มีมูลค่ารองรับทางสังคม เมื่อนำมาขายต่อโดยเฉพาะในสถานที่เป็นมาตรฐานสังคมรับรองมูลค่าก็ยังขายไม่ได้ไม่มีมูลค่ารองรับ ถ้าแบบไหนพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ก็จะมีมูลค่า ในการแสดงทฤษฎีใหม่ๆ ในการพิสูจน์ว่าใช่หรือไม่นั้นก็คงต้องทำให้สังคมส่วนใหญ่ยอมรับเสียก่อนจึงจะเป็นมาตรฐานที่สังคมให้คุณค่า ถ้ายังก็คงต้องศึกษากันต่อๆ ไป ไม่ต้องไปต่อว่ากันต่างๆ นานา สิ่งสำคัญก็คือต้องทำให้สังคมยอมรับก่อนครับ

ผมคงไม่ไปว่าแบบไหนถูกหรือแบบไหนผิด มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นแบบสัตว์สังคม ก็ต้องยอมรับความคิดเห็นของสังคมส่วนใหญ่ แต่ความคิดที่เป็นส่วนตัวก็เป็นของตัวเรา ไม่มีใครว่าเป็นสิทธิ์ส่วนตัว ในส่วนตัวผมนั้นยอมรับความเป็นมาตรฐานของสังคมที่มีมูลค่ารองรับครับ ส่วนที่ใครจะเลือกเชื่อแบบไหนก็เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลครับ ก็เลือกกันนะครับ

วันนี้ก็ขอนำรูปพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์อกวี ที่เป็นแบบมาตรฐานสังคมมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พฤษภาคม 2563 16:17:39 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #147 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2563 16:18:51 »



พระสมเด็จปรกโพธิ์ใหญ่ วัดทองนพคุณ

วัดทองนพคุณ ชื่อเดิม วัดสระทอง ตั้งอยู่บ้านปะหลาน หมู่ 2 เทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม จัดเป็นวัดเก่าแก่ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2384 จนถึงปัจจุบันมีอายุเก่าแก่กว่า 176 ปี อยู่คู่ชุมชนแห่งนี้ก่อนตั้งเมืองพยัคภูมิพิสัยถึง 38 ปี จึงเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมายาวนานจวบจนปัจจุบัน

วัดทองนพคุณ ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมีผลงานดีเด่น เป็นศูนย์การศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์เป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรม เป็นสำนักงานเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย หน่วยกำกับงานพระธรรมทูตอำเภอ และค่ายคุณธรรมเยาวชนจิตอาสา เป็นต้น ปัจจุบันมีพระมหาประกิต ฐิตญาโณ รองเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด

ย้อนอดีตไปในปี พ.ศ.2518 ช่วงที่พระครูพินิตพยัคฆภูมิ (อุดม อหิสโก) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ และเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ได้มีโครงการก่อสร้างศาลาการเปรียญภายในวัดทองนพคุณ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก ท่านจึงหารือกับญาติโยมและทุกภาคส่วนในการหาปัจจัยสมทบทุนสร้างศาลา

ผลการหารือได้มีมติข้อตกลงจัดสร้างวัตถุมงคล "พระสมเด็จ เนื้อผงพิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่" เพื่อมอบให้กับพุทธศาสนิกชนที่ร่วม ทำบุญบริจาคเงินสร้างศาลาการเปรียญ

สำหรับวัตถุมงคลรุ่นดังกล่าว เป็นพระเนื้อผงลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดใหญ่กว่าพระสมเด็จทั่วไป ด้านหน้าเป็นรูปองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้น พระศรีมหาโพธิ ภายในครอบแก้ว ด้านหลังมีตราประทับชื่อวัดทองนพคุณ เป็นการปั๊มใหม่เมื่อปี 2561 เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำหลังจากค้นเจอพระชุดนี้ภายในกุฏิของพระครูพินิตพยัคฆภูมิ (อุดม อหิสโก) อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ สำหรับจำนวนการสร้างตามบันทึกของวัดประมาณ 1 พันองค์ สร้างจากผงพุทธคุณ 108

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ภายในอุโบสถวัดทองนพคุณ เมื่อช่วงต้นเดือน พ.ย.2518 โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรวมอธิษฐานจิต คือ หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้น อธิษฐานจิตเดี่ยว จึงเชื่อถือได้ในความเข้มขลัง

หลังเสร็จพิธี วัดทองนพคุณนำออกให้ผู้สนใจร่วมทำบุญ เช่าบูชาในสมัยนั้นองค์ละ 5 บาท ปรากฏว่าได้รับความสนใจ อย่างล้นหลามทำให้การก่อสร้างศาลาการเปรียญสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 
   ข่าวสดออนไลน์  



พระกริ่งเชียงตุง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่ง วัดสุทัศน์ ที่สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นที่นิยมสะสมของผู้นิยมพระเครื่องทุกรุ่น และมีอยู่รุ่นหนึ่งที่เรียกกันว่าพระกริ่งเชียงตุง ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2486 และเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายขององค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) นับว่าเป็นพระกริ่งรุ่นหนึ่งที่หายากมากเช่นกันครับ

พระกริ่งเชียงตุงนั้น สร้างขึ้นมาเนื่องในโอกาสที่คณะสงฆ์ของไทยกำลัง จะเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาสาธารณรัฐเชียงตุง ในปี พ.ศ.2486 สมเด็จพระสังฆราชจึงดำริที่จะสร้างขึ้นเพื่อแจกให้เป็นขวัญกำลังใจแก่คณะสงฆ์ในชุดนี้ โดยใช้แบบพิมพ์พระกริ่งใหญ่ ซึ่งในช่วงนั้นภรรยาของท่านพระยาศุภกรได้พบแม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่ของพระยาศุภกร ซึ่งท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว จึงนำแม่พิมพ์มาถวายให้แก่องค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ดูแม่พิมพ์แล้ว ทรงกล่าวว่าเป็นแม่พิมพ์ที่สวยสมบูรณ์ จึงได้รับสั่งให้ช่างใช้แม่พิมพ์นี้เทหล่อพระกริ่งเชียงตุงในปีนั้นเลย

พระกริ่งเชียงตุง เนื้อโลหะใช้ชนวนบนตำหนักสมเด็จฯ กับเนื้อชนวน พระกริ่ง รุ่นปี พ.ศ.2482 ได้นำโลหะที่ลงพระยันต์ 108 นะ ปถมัง 14 นะ กับแผ่นทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราชของพุทธสมาคมผสมด้วย กระแสเนื้อมีอยู่กันสองกระแส คือกระแสเนื้อออก สีนากอ่อน แล้วกลับเป็นสีน้ำตาลและกระแสเนื้อออกสีเหลืองแกมขาว แล้วกลับเป็นสีเหลืองแกมเขียว จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 108 องค์ พระกริ่งรุ่นนี้เป็นการเทหล่อแบบกริ่งในตัว และบางองค์ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ตอกโค้ดไว้ที่ใต้ข้อศอกขวาด้านหลังขององค์

พระกริ่งที่มีกระแสเนื้อออกสีนากอ่อนหรือแดงนั้น มีจำนวนน้อย เข้าใจว่าจะเป็นพระที่เทในเบ้าแรกๆ ส่วนกระแสเนื้อที่ออกสีเหลืองจะมีจำนวนมากกว่า ช่างที่ตกแต่งพระกริ่งเชียงตุงมีทั้งช่างชม และช่างฮั้ว มีพระบางองค์ที่ผู้ได้รับไปแล้วนำมาให้อาจารย์หนู (นิรันตร์ แดงวิจิตร) ตกแต่งเพิ่มเติมภายหลัง และองค์ที่นำไปให้อาจารย์หนูท่านแต่งให้ ท่านก็จะตอกเลขไทย ๘๖ ที่ใต้ฐาน ซึ่งหมายถึงปีที่สร้างพระ

พระกริ่งเชียงตุงเป็นพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่งที่ผู้นิยมพระเครื่องนิยมกันมาก ซึ่งพระกริ่งรุ่นนี้ถือเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายของสมเด็จฯ พระสังฆราช (แพ) และเป็นพระกริ่งที่สร้างเพื่อมอบให้แก่คณะสงฆ์ไทยที่ไปเผยแผ่พระศาสนาที่เมืองเชียงตุง จึงนิยมเรียกพระกริ่งรุ่นนี้ว่า "พระกริ่งเชียงตุง" กันจนถึงทุกวันนี้ครับ

ในปัจจุบันพระกริ่งเชียงตุงหายากมากพอสมควร และมีราคาสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีการทำมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดี ควรสอบถามจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านนี้ก่อนเช่าหาครับ

ครับและก็ไม่ลืมที่จะนำรูปพระกริ่งเชียงตุง กระแสเนื้อแดง พระองค์นี้ได้รับการตกแต่งเล็กน้อยโดยท่านอาจารย์ นิรันตร์ แดงวิจิตร (อาจารย์หนู) มาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



หลวงปู่ทวดเนื้อผงกัมมัฏฐานวัดสะแก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ทวดเป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดองค์หนึ่ง เราจะเห็นได้ว่ามีการสร้างพระหลวงปู่ทวดกันอยู่หลายจังหวัดไม่ว่าจะเป็นทางภาคใต้หรือภูมิภาคใดก็ตาม เช่นใน กทม. ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสานมีสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดกันหมด เนื่องจากความศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวด กันมากนั่นเองครับ พระหลวงปู่ทวดของ วัดช้างให้ปัตตานีที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรก และพระเครื่องหลวงปู่ทวดที่ท่านอาจารย์ ทิมได้สร้างไว้ล้วนแต่มีความนิยมมาก สนนราคาก็สูงตามไปด้วย แต่ก็มีอีกหลายๆวัดที่เรายังสามารถเสาะหามาบูชาได้ไม่ยากนักอยู่เช่นกันครับ

ในวันนี้ผมจะพูดถึงพระหลวงปู่ทวดอีกวัดหนึ่ง ซึ่งบางรุ่นนั้นก็มีความนิยมสูงและสนนราคาก็ค่อนข้างสูงเอาการอยู่ แต่ก็มีบางรุ่นที่ราคาไม่สูงนักและน่าบูชามาก ก็คือพระหลวงปู่ทวดของวัดสะแก อยุธยา ที่ปลุกเสกโดยหลวงปู่ดู่ (พรหมปัญโญ) ซึ่งท่านเป็นศิษย์สายวัดพระญาติการาม หลวงปู่ดู่มีความเคารพนับถือหลวงปู่ทวดมากและมักจะเรียกว่าอาจารย์เสมอๆ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า เมื่อท่านนั่งกัมมัฏฐาน เวลาติดขัดมีปัญหาหลวงปู่ทวดจะมาปรากฏในนิมิต ช่วยแนะนำท่านตลอด ดังนั้นพระเครื่องที่ท่านสร้างจึงเป็นพระหลวงปู่ทวดมากมายหลายรุ่น โดยปลุกเสกเดี่ยวทุกครั้ง

การแบ่งแยกรุ่นบางพิมพ์คงทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากท่านสร้างไว้มากมายหลายรุ่นหลายวาระ หลายพิมพ์ จึงอาจจะแบ่งแยกเป็นประเภทได้ดังนี้ ประเภทพระบูชา ประเภทพระเครื่องเนื้อผง ประเภทเหรียญ และพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดลอยองค์ เป็นต้น

พระเครื่องหลวงปู่ทวดของหลวงปู่ดู่ที่รู้จักกันดี ก็คือเหรียญเปิดโลก สร้างในปี พ.ศ.2532 มีอยู่หลายเนื้อด้วยกัน ทั้งทองคำ เงิน ทองแดง เนื้อตะกั่ว สำหรับพระรุ่นนี้นั้นมีสนนราคาสูงมาตั้งแต่ในตอนที่พระออกใหม่ๆ แล้ว และในปัจจุบันก็มีราคาสูงมากเป็นที่นิยม ส่วนในอีกรุ่นที่เป็นพระเนื้อผงกัมมัฏฐาน ซึ่งสร้างมานานแล้วที่ผมจะกล่าวถึงสนนราคายังไม่สูงมากนักครับ ซึ่งเป็นพระหลวงปู่ทวดของหลวงปู่ดู่ที่สร้างในระยะแรกๆ ซึ่งหลวงปู่ทำแจก จึงไม่ค่อยได้พิถีพิถันในเรื่องพิมพ์นัก เมื่อท่านเห็นลูกศิษย์ของท่านแขวนพระหลวงปู่ทวด และท่านเห็นว่าสวยดีท่านก็จะขอมากดแม่พิมพ์ไว้ โดยไม่เจาะจงว่าเป็นรุ่นใดหรือวัดใด

หลังจากนั้นท่านก็พิมพ์พระหลวงปู่ทวดด้วยเนื้อผงสีขาวเก็บไว้พิมพ์ละไม่มากนักในแต่ละครั้ง เวลาลูกศิษย์หรือผู้เคารพศรัทธาไปกราบขอขึ้นกัมมัฏฐานกับท่านจะได้รับมอบพระเนื้อผงขาว 1 องค์ จึงมักเรียกพระเนื้อผงสีขาวทุกพิมพ์ว่า "พระผงกัมมัฏฐาน"

สำหรับพระหลวงปู่ทวดด้านหลังบางองค์จะปั๊มตรายางสีน้ำเงินเป็นรูปกงจักร ตรงกลางเป็นตัวอักษร พ. ซึ่งหมายถึง พรหมปัญโญ พระดังกล่าวนี้เป็นพระที่ค้นพบภายในกุฏิของหลวงปู่ดู่ ภายหลังที่ท่านได้มรณภาพแล้ว และกรรมการวัดได้รวบรวมปั๊มตรายางไว้ จากนั้นจึงนำออกมาให้เช่าไม่นานก็หมด พระเหล่านี้ทันยุคหลวงปู่ดู่อย่างแน่นอน บางองค์เป็นพระยุคแรกๆ ด้วยซ้ำไป

พระเครื่องของหลวงปู่ดู่ทุกรุ่นทุกพิมพ์ เป็นพระที่มีพุทธคุณสูงยิ่ง เนื่องจากท่านสนใจศึกษาทางด้านพุทธาคมจากหลายอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ ทำให้ท่านมีความเข้มขลัง ต่อมาท่านเคร่งครัดทางด้านปฏิบัติวิปัสสนาและเชื่อกันว่าท่านสำเร็จธรรมชั้นสูง จึงไม่น่าแปลกใจที่พระของท่านเกิดประสบการณ์กับผู้ใช้บูชามากมาย และมีค่านิยมสูงขึ้นตลอดเวลาโดยเฉพาะพระที่สร้างในรูปลักษณ์ขององค์หลวงปู่ทวดครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงปู่ทวดเนื้อผงกัมมัฏฐาน ซึ่งปัจจุบันสนนราคายังไม่สูงมากนัก และพอที่จะเสาะหากันได้มาให้ชมกันครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญหลวงพ่อกลั่น พิมพ์ขอเบ็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญหลวงพ่อกลั่น พิมพ์ขอเบ็ด เขียนมาแค่นี้ท่านก็คงจะทราบว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ อยุธยา และเป็นเหรียญยอดนิยมในชุดเบญจภาคีเหรียญปั๊ม ซึ่งปัจจุบันมีราคาสูงมาก แล้วก็หาแท้ๆ ยากมากเช่นกัน

ในสมัยก่อนตัวผมเองสนใจศึกษาเล่นหาพระเครื่องประเภทพระกรุ ซึ่งก็จะเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อชินเสียเป็นส่วนใหญ่ ในสมัยนั้นก็ยังหาได้ไม่ค่อยยากนักและมีพระมากมายหลากหลายกรุให้เลือก แต่ตัวผมเองก็ศรัทธาในพระเกจิอาจารย์เช่นหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม ซึ่งก็เป็นเบญจฯ เหรียญนั้นแหละ ที่ผมศรัทธานั้นก็ได้ยินได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เล่าประวัติของท่านให้ฟังบ่อยๆ จึงเลื่อมใสศรัทธามาก แต่ก็ยังไม่ได้ศึกษาเรื่องเหรียญของท่านเลย เมื่อ 40-50 ปีก่อนนั้นเหรียญของท่านก็แพงอยู่แล้ว แต่ผมก็สนใจที่จะศึกษาเรื่องพระกรุก่อน ต่อมาก็ได้เจอกับอาจารย์เภา ปรมาจารย์เหรียญ และท่านก็ใจดีที่จะสอนผมเรื่องเหรียญ ผมก็บอกกับอาจารย์เภาว่าผมอยากศึกษาเรื่องพระกรุ ท่านก็บอกว่ารู้ไว้ไม่เสียหลายจำไว้สักห้าเหรียญสิบเหรียญยอดนิยมนี่แหละ วันหนึ่งจะมีประโยชน์ได้เงิน เหรียญยอดนิยมนั้นขายง่ายได้ตังค์ ผมก็เรียนกับท่านมา ก็ได้ความรู้มาพอสมควรและเป็นประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้ก็ยังจำคำของท่านได้เสมอ แต่ก็ยังไม่ได้เช่าหาเหรียญพระเกจิอาจารย์เลยสักเหรียญ

ต่อมาเมื่อประมาณสามสิบปีที่แล้วจึงเริ่มมาทบทวนและเริ่มศึกษาเช่าหาเหรียญหลวงพ่อกลั่นและหลวงพ่ออื่นๆ เฉพาะเหรียญหลวงพ่อกลั่นก็เช่าหาเฉพาะเหรียญพิมพ์ขอเบ็ด เพราะเป็นเหรียญรุ่นแรก ก็เช่ามาอยู่หลายเหรียญ เป็นเหรียญที่มีสภาพดี และก็ได้ศึกษาเพิ่มเติมจากเหรียญจริงที่เรามีอยู่ ทบทวนที่อาจารย์เภาสอนมา และศึกษาเพิ่มเติม ทั้งตำหนิหน้าหลัง กรรมวิธีการสร้างในแต่ละยุค ด้านข้างของเหรียญ เท่าที่เรียนรู้มาก็มีข้างเหรียญอยู่หลายแบบ เช่น เหรียญข้างกระบอก เหรียญข้างเลื่อย เหรียญข้างปั๊มตัด ก็แล้วแต่ละยุคสมัยที่สร้างเหรียญนั้นๆ เครื่องไม้เครื่องมือในการสร้างเหรียญเป็นอย่างไร จึงเป็นที่มาของขอบข้างเหรียญในแต่ละเหรียญ และเป็นเหตุผลของ ร่องรอยที่เราสามารถเห็นได้จากเหรียญนั้นๆ

เหรียญหลวงพ่อกลั่น พิมพ์ขอเบ็ด เป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อกลั่น ลักษณะของขอบข้างของเหรียญจะเป็นแบบข้างกระบอกซึ่งนับว่าเป็นเหรียญข้างกระบอกเป็นรูปทรงเสมาเหรียญแรกๆ ของไทย เนื่องจากเหรียญข้างกระบอกส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญรูปไข่หรือเหรียญกลมเสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการทำกระบอกข้างและขั้นตอนการผลิตจะง่ายกว่า ส่วนหูของเหรียญข้างกระบอกยุคเก่าๆ ก็มักจะเป็นเหรียญหูเชื่อม คือมาเชื่อมทำหูเหรียญภายหลังจากการปั๊มเหรียญแล้ว แต่เหรียญหลวงพ่อกลั่นก็เป็นเหรียญหูในตัว ที่เป็นเหรียญข้างกระบอกในยุคแรกๆ ในสมัยที่สร้างเหรียญหลวงพ่อกลั่นรุ่นแรกนั้น เครื่องปั๊มเหรียญจะเป็นแบบข้อเสือ คือใช้แรงคนเหวี่ยงลูกตุ้มในการปั๊มอัดขึ้นรูป ถ้าเราดูเหรียญรุ่นเก่าๆ ที่ใช้เครื่องปั๊มแบบข้อเสือจะเป็นเหรียญแบบนูนต่ำทั้งสิ้น เนื่องจากเครื่องไม้เครื่องมือสมัยนั้นยังไม่ทันสมัยแบบปัจจุบัน จึงทำแม่พิมพ์แบบนูนต่ำเพื่อให้การปั๊มอัดขึ้นรูปผลิตง่ายขึ้น ขอบของเหรียญในยุคนั้นก็จะมีแบบข้างกระบอกและแบบข้างเลื่อย ในยุคนั้นยังไม่มีแบบข้างปั๊มตัด

เหรียญของหลวงพ่อกลั่นรุ่นแรกขอเบ็ดพื้นของเหรียญด้านหน้าก็ไม่เหมือนใคร พื้นเหรียญจะเป็นลอนคลื่น ถือเป็นเอกลักษณ์ของเหรียญรุ่นแรกขอเบ็ด เรื่องหูเหรียญของหลวงพ่อกลั่นจะมีร่องรอยการผลิตให้เห็นคือหูเหรียญจะมีวงรอบหูเหรียญทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่หูเหรียญของหลวงพ่อกลั่นที่เป็นหูเชื่อมก็มีแต่น้อย สันนิษฐานว่าหูเหรียญอาจจะเสียตอนที่ปั๊มเหรียญออกมา จึงตัดออกและมาเชื่อมในภายหลัง ผมเองได้เคยเช่าเหรียญหลวงพ่อกลั่นสึกๆ (สึกมาก) หูเป็นแบบหูเชื่อม มาศึกษาดู ก็เห็นร่องรอยการผลิตที่ขอบเหรียญที่เหมือนกันกับเหรียญสวยๆ ที่เช่าหามาก่อน และเป็นเหมือนกันทุกเหรียญ จึงถือเป็นจุดร่องรอยการผลิตได้อย่างหนึ่ง ต่อมาก็ได้ยินว่าคุณเด่นอยุธยาเช่าเหรียญหลวงพ่อกลั่นพิมพ์ขอเบ็ดสึกๆ มาเหรียญหนึ่ง จึงเข้าไปขอดู ผมก็พยายามดูหาเหตุผลร่องรอยการผลิตที่ได้ศึกษามา เหรียญนี้สึกจนบางมาก ผมก็ดูโดยรอบแล้วก็พลิกดูข้างเหรียญ แล้วก็เห็นร่องรอยการผลิตที่บ่งบอกว่าเหรียญนี้แท้ และเป็นเหรียญขอเบ็ด คุณเด่นแกบอกว่าพี่เป็นนี่ ความจริงผมเองก็ไม่ได้ดูปงดูเป็นอะไรหรอกครับ เพียงแค่พอซื้อพระแท้ๆ เป็นเท่านั้นครับ

แสดงว่าร่องรอยการผลิตนั้นสำคัญมาก และจะมีเหมือนกันทุกเหรียญในรุ่นเดียวกัน และเป็นเหตุผลที่พิสูจน์ได้แม้เหรียญนั้นจะสึกจนมองแทบไม่เห็นอะไรแล้วก็ตาม และเซียนเขาก็จะใช้เหตุผลอันเดียวกันมาพิสูจน์เป็นมาตรฐานโดยมีมูลค่ารองรับ พระเครื่องทุกอย่างการพิจารณาจบสรุปสุดท้ายก็จะเป็นร่องรอยการผลิต ซึ่งจะมีเหมือนๆ กันในพระรุ่นเดียวกัน แม่พิมพ์ตัวเดียวกัน กรรมวิธีการผลิตเดียวกัน ก็ย่อมจะทิ้งร่องรอยการผลิตไว้เหมือนๆ กันเสมอครับ

เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติรุ่นแรกขอเบ็ด แม้จะสึกจนแทบไม่เห็นอะไร เห็นเป็นเงาๆ ก็ยังซื้อ-ขายกันได้นะครับและมีราคาด้วย แล้วเขาเอาอะไรมาพิสูจน์ล่ะว่าใช่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ร่องรอยการผลิตที่มีให้เห็นอยู่ แต่ใครจะรู้หรือไม่รู้นั้นก็แล้วแต่ว่าศึกษาถึงหรือไม่ และถ้าอยากจะรู้ก็ไม่ยากจนเกินไปครับ อยู่ที่ว่าถามเพราะอยากศึกษาจริงๆ หรือถามแบบท้าทาย ถ้าแบบอยากจะศึกษาหาเหตุผลจริงๆ ก็พอบอกกันได้ครับ ไม่ยากนักหรอกครับ แต่ก็ต้องศึกษาดูจากของจริงเปรียบเทียบหลายๆ องค์ครับ ถ้าพบร่องรอยการผลิตที่เหมือนกันทุกองค์ก็ใช้เป็นมาตรฐานได้ครับ

วันนี้ผมนำรูปเหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ พิมพ์ขอเบ็ดมาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญเม็ดแตงเศรษฐี หลวงปู่สิงห์

หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร หรือ พระครูสิริสุขวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีสุข อดีตเจ้าคณะตำบลศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมช่วงที่ยังดำรงธาตุขันธ์ วัตรปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย สมถะเรียบง่าย จึงอยู่ในศรัทธามาอย่างยาวนาน

เกิดในสกุลเหล่าทับ เมื่อวันที่ 9 พ.ย.2469 ที่บ้านเลขที่ 8 บ้านศรีสุข ต.โคกพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

อายุ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัด สระทอง ต.นาสีนวล อ.กันทรวิชัย โดยมี พระอธิการชม โสภโณ เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดกลาง จังหวัดกาฬสินธุ์ สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

พ.ศ.2495 เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เรียนพระปริยัติธรรมควบคู่กันไปกับการเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดย พระมหาโชดกญาณสิทธิ ป.ธ.9 และเจ้าคุณพระอุดมวิชาญาณ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เป็นครูสอน และยังศึกษาเพิ่มเติมวิชาแพทย์แผนโบราณที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จบหลักสูตรสาขาเภสัชกร และสาขาเวชกร

พ.ศ. 2504 เดินทางกลับมาตุภูมิเข้ารับตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีสุข ช่วงนั้นหลวงปู่เสาร์ พระพี่ชายของท่าน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีสุข นอกจากจะศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เสาร์ ยังได้ช่วยงานปกครองและพัฒนาวัดแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองทุกด้าน

หลังหลวงปู่เสาร์มรณภาพ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสุข และเป็นพระอุปัชฌาย์ รวมทั้งเจ้าคณะตำบลศรีสุข ตามลำดับ

ปี พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครู สัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามพระครูสิริสุขวัฒน์

ด้วยความไม่เที่ยงของสังขาร มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2563 สิริอายุ 94 ปี พรรษา 74

ในปี พ.ศ.2559 งานบุญกฐินของวัดศรีสุข วัดและญาติโยม รวมทั้งคณะศิษยานุศิษย์ จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญรูปเหมือนเม็ดแตงเศรษฐี" เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทำบุญสมทบงานบุญกฐิน โดยประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยวหนึ่งไตรมาส

วัตถุมงคลรุ่นนี้เป็นเหรียญทรงรูปไข่เล็ก ยกขอบ มีหูไม่เจาะรู ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่สิงห์ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง บริเวณพื้นเหรียญตอกโค้ดตัว ส.บาลี

ด้านหลังบนสุดเขียนว่า เศรษฐี บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ ล่างสุดเขียนว่า กฐิน ๕๙ จากด้านขวาของเหรียญลงไป ด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย เขียนคำว่า มหาสารคาม หลวงปู่สิงห์ คมฺภีโร วัดศรีสุข

สร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อเงิน 90 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 290 เหรียญเนื้อทองแดง 2,000 เหรียญ เป็นต้น

ผู้มีจิตศรัทธาประสงค์เช่าบูชา เข้าศึกษาดูในเฟซบุ๊ก "กลุ่มบารมีหลวงปู่สิงห์ คัมภีโร วัดบ้านศรีสุข ต.ศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม"   
    ข่าวสดออนไลน์  
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #148 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2563 12:39:43 »


พระนาคปรกกรุหนองแจง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุบ้านหนองแจง สุพรรณบุรี มีการขุดพบพระเครื่องโดยบังเอิญ ได้พบพระร่วงยืนมากกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงทำให้อาจจะไม่ทราบว่ามีการพบพระพิมพ์อื่นๆ อีกด้วย อีกทั้งพระร่วงยืนก็มิใช่มีแต่พิมพ์พระร่วงยืนพิมพ์รัศมี อย่างเดียว มีพระร่วงยืนพิมพ์อื่นอีกเช่นกัน ทั้งยังพบพระร่วงนั่งเทริด ขนนก และพระนาคปรกอีกด้วย

บ้านหนองแจง อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ.2508 มีชาวบ้านซึ่ง เช่าที่ดินทำไร่อยู่ ต่อมาได้มีการพบเศษกระเบื้องอยู่ในบริเวณไร่อยู่มาก จึงเกิดความสงสัยว่าน่าจะพบพระเครื่องหรือของมีค่าอื่นๆ อีก จึงได้ขุดแบบเดาสุ่มไปเรื่อยๆ ขุดไปลึกประมาณ 1 เมตร แต่ก็ไม่พบอะไร กำลังจะเลิกขุด พอดีมีเจ้าของร้านกาแฟ ที่เป็นเพื่อนกันมานั่งดูอยู่ด้วย จึงออกความเห็นว่าอย่าเพิ่งเลิกขุด ลองขุดไปดูทางใต้ อีกสักหน่อย ก็จึงลองขุดดูอีก ก็ได้พบ พระจริงๆ เป็นพระร่วงพิมพ์รัศมี ประมาณ 24 องค์

ต่อมาก็มีชาวบ้านรู้เรื่องการพบพระร่วงเข้า จึงได้เข้ามาขุดเป็นการใหญ่ โดยไม่สนใจผู้เช่าที่ดินเลย เจอเนินดินเป็นขุด จนบริเวณนั้นถูกขุดกันจนพรุนไปหมด และก็มีการพบพระอีกทางใต้ลงมาอีก 40 กว่าองค์ ซึ่งมีพิมพ์ต่างจากที่ได้พบครั้งแรก และก็ยังมีการขุดต่ออยู่อีกหลายวัน และก็พบไหอีกใบหนึ่ง แต่ไม่มีพระพบแต่เบี้ยจั่นเต็มไห มีผู้ที่ขุดไปทางเหนือ ก็พบไหบรรจุพระอีกใบหนึ่ง พบพระร่วงอีก 140 องค์ ต่อมาอีก 2-3 วัน ชาวบ้านก็มาขุดกันมากขึ้นจนเลยไปถึงบ้านยายแหร่มซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณนั้นก็พบพระร่วงยืนอีกกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นดิน

สรุปว่า มีการพบพระอยู่หลายครั้ง กระจัดกระจายอยู่บริเวณนั้นและใกล้เคียง พระที่พบเป็นพระเครื่องเนื้อชินตะกั่ว สนิมแดงทั้งสิ้น แต่ก็มีอยู่หลายพิมพ์ แม้แต่พระร่วงยืนก็พบหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์รัศมี พิมพ์เศียรโต พิมพ์พระพักตร์เสี้ยม พิมพ์ยกพระหัตถ์ซ้าย พระร่วงนั่งเทริดขนนก พระร่วงนั่งพิมพ์สมาธิ และพระนาคปรกอีกด้วย พระของกรุนี้เป็นพระร่วงยืนมีจำนวนมากกว่าเพื่อน นอกนั้นก็เป็นพระอื่นๆ ซึ่งแต่ละพิมพ์มีจำนวนไม่มากนัก พระของกรุนี้ตอนขึ้นมาใหม่ๆ จะมีไขขาวปกคลุม อยู่ทั่วองค์ แต่พอล้างไขขาวออกบ้างก็จะเห็นสนิมแดงอยู่ภายในสวยงามมาก แดงทั่วทั้งองค์

ศิลปะของพระกรุนี้ สันนิษฐานว่าเป็นพระศิลปะอู่ทองสร้างล้อศิลปะลพบุรี ปัจจุบันพระของกรุนี้ค่อนข้างหายาก ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และส่วนใหญ่ก็เข้าใจว่ามีแต่พระร่วงพิมพ์รัศมี เพียงพิมพ์เดียว เนื่องจากพระพิมพ์อื่นๆ ยิ่งไม่ค่อยได้พบเห็นและพูดถึงกันเลย จึงอาจทำให้ข้อมูลถูกลืมเลือนกันไป ผมจึงได้นำพระนาคปรกกรุบ้านหนองแจงมาบอกกล่าวครับ

พระนาคปรกของกรุนี้ ประทับนั่งอยู่บนขนดนาคสองชั้น พระเกศแบบผมหวี มีนาคปรกเจ็ดเศียร เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงแซมไขขาว บางองค์ไขขาวปกคลุมทั่วทั้งองค์ต้องล้างไขขาวออกบ้างจึงจะเห็นผิวชั้นใน ซึ่งเป็นสนิมแดงจัดสวยงามมาก พระนาคปรกนี้แตกกรุออกมาพร้อมกับพระร่วงยืนของกรุนี้ แต่จำนวนที่พบนั้นมีน้อยมาก จึงหายากครับ พุทธคุณก็ยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระนาคปรกกรุบ้านหนองแจง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันด้วยครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญเสมาหลวงปู่ฟู รุ่นมีฐานะ

พระมงคลสุทธิคุณ หรือ หลวงปู่ฟู อติภัทโท เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา พระเกจิที่ได้รับสืบทอดพุทธาคมจากครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง

อาทิ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทราหลวงพ่อบุญมา วัดอุทยานนที จ.ชลบุรี, หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี, หลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ จ.ฉะเชิงเทรา

ปัจจุบัน สิริอายุ 97 ปี พรรษา 77

เกิดในสกุล ดวงดารา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 ธ.ค.2465 ที่บ้านบางสมัคร

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2485 โดยมีพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบางวัว เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาด้านคันถธุระที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2487 ไปจำพรรษาที่วัดอุทยานนที จ.ชลบุรี เพื่อเรียนนักธรรมชั้นเอก

กระทั่งปี พ.ศ.2492 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค พ.ศ.2501 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอู่ตะเภา จ.ชลบุรี เลื่อนอันดับเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหนองไม้แดง จ.ชลบุรี

พ.ศ.2503 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2505 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา ว่างเว้นลง ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางสมัครจวบจนปัจจุบัน

พัฒนาวัดจนเป็นวัดที่ใหญ่โตและกว้างขวาง มีพระอุโบสถที่ใหญ่ที่สุดในเขต อ.บางปะกง พ.ศ.2543 ได้รับรางวัลเสมาธรรมจักรทองคำ สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา อีกทั้งมุ่งเน้นด้านการศึกษา มาตลอด

ทั้งนี้ วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา จัดสร้างเหรียญเสมา หลวงปู่ฟู รุ่นมีฐานะ

เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2562 ในวาระก่อสร้างฐานพระกริ่งใหญ่มงคล หลวงปู่ฟู เมตตาปลุกเสกอธิษฐานจิตเสกเดี่ยว

เป็นอีกหนึ่งเหรียญที่สวยงามในสายเหรียญเสมา มีความคมชัดเนื้อเหรียญโลหะตึง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงปู่ฟูนั่งสมาธิ

ด้านหลังเป็นยันต์นะโมพุทธายะ ด้านบนชื่อรุ่นมีฐานะ ด้านล่างเขียนคำว่า พระมงคลสุทธิคุณ (หลวงปู่ฟู) วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ๒๕๖๒ ยันต์และตัวหนังสือเป็นตัว จมในเหรียญ มีโค้ด ฟู เเละหมายเลขกำกับทุกเหรียญ โดยเฉพาะชุดพิเศษ 9 เหรียญ 9 เนื้อ ในชุดเดียวกันหมายเลขเดียวกัน จัดสร้าง 200 ชุดเท่านั้น

ร่วมทำบุญบูชาชุดละ 2,000 บาท ตอนนี้ที่วัดยังพอมีเหลือบ้างเล็กน้อย

สอบถามได้ที่พระครูธรรมธรมนต์ชัย สารโท ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร โทร.08-9891-3887  
  ข่าวสดออนไลน์  



พระร่วงหลังกาบหมาก กรุศรีโสฬส

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราๆ ท่านๆ ก็คงทราบดีเรื่องราวเกี่ยวกับวีรกรรมของวีรชนค่ายบางระจัน ที่เสียสละชีพเพื่อปกป้องบ้านเมือง ต่อสู้กับข้าศึกที่มารุกรานบ้านเมือง เมืองสิงห์บุรีมีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นที่ตั้งชุมชนมาตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงปัจจุบัน ได้มีการขุดพบโบราณวัตถุและโบราณสถานหลายยุคหลายสมัย เรามารู้จักอดีตของเมืองสิงห์บุรีและพระเครื่องที่ขุดพบกันครับ

จังหวัดสิงห์บุรีเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยทวารวดี มีการขุดพบคูเมืองเก่าแก่ที่อำเภออินทร์บุรี และพบเศษภาชนะเครื่องถ้วยชามและลูกปัดต่างๆ ที่บ้านคูเมืองพบตุ้มหูดีบุก ลักษณะแบบเดียวกันกับที่พบในเมืองออกแก้ว ประเทศกัมพูชา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 8-10 สันนิษฐานว่าบ้านคูเมืองเป็นชุมชนโบราณร่วมสมัยกับอาณาจักรฟูนัน นอกจากนี้นักโบราณคดียังขุดพบภาชนะดินเผาสมัยทวารวดีและเศษภาชนะเคลือบสมัยสุโขทัย และยังพบเครื่องทองสมัยอยุธยา แสดงให้เห็นได้ว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยติดต่อกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

การขุดค้นของนักโบราณคดียังพบการตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดสิงห์บุรีอีกหลายแห่ง เช่น บ้านชีน้ำร้าย เขตอำเภอเมือง แหล่งโบราณคดีบ้านคีม อำเภอบางระจัน เป็นต้น ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง บริเวณใกล้กับวัดหน้าพระธาตุ ซึ่งเป็นเมืองเก่าชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า "บ้านหน้าพระลาน" สันนิษฐานว่า พระเจ้าไกรสร โอรสของพระเจ้าพรหม ผู้ครองเมืองฝาง ได้โปรดให้สร้างเมืองขึ้นมาในราว พ.ศ.1650 ต่อมาเมืองสิงห์บุรีก็ยังปรากฏชื่ออยู่ในสมัยกรุงสุโขทัย ฐานะเมืองหน้าด่าน เมืองสิงห์บุรีได้มีการย้ายเมืองถึง 4 ครั้ง

โบราณวัตถุของเมืองสิงห์บุรีถูกพบมีตั้งแต่สมัยทวารวดี ลพบุรี จนถึงสมัยอยุธยา ในส่วนของพระเครื่องที่พบและมีชื่อเสียงได้แก่ พระนาคปรกกรุป่าไม้แดง ซึ่งเป็นศิลปะสมัยลพบุรี พระซุ้มนครโกษา กรุวัดสว่างอารมณ์ ศิลปะลพบุรี พระเครื่องที่โด่งดังมากและหายากก็คือพระร่วงยืนหลังกาบหมาก กรุศรีโสฬส เป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง ที่มีศิลปะลพบุรีที่สวยงามมาก

พระร่วงกรุศรีโสฬส แตกกรุออกมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2522 ที่บริเวณวัดศรีโสฬส พระที่พบมีจำนวนน้อยมาก ที่สมบูรณ์พบประมาณ 50 องค์ ด้านหลังจะเป็นรอยคล้ายกาบหมาก เนื้อเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น เท่าที่พบมีพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ตอนที่ขึ้นจากกรุใหม่ๆ มีสนิมไขขาวปกคลุมทั่วทั้งองค์ เมื่อนำมาล้างไขขาวออกแล้วจะพบสนิมแดงสวยงามมาก

ปัจจุบันหาชมยากมากเนื่องจากพระที่พบนั้นมีจำนวนน้อยมาก จึงทำให้มีคนทราบน้อยมาก ว่าเมืองสิงห์บุรีก็มีการพบพระร่วงยืน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดงด้วย สนนราคาของพระร่วงกรุศรีโสฬสนั้นสูงมากทีเดียวครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงกรุศรีโสฬส พิมพ์ใหญ่ องค์ที่สวยสมบูรณ์มากเท่าที่ผมเองเคยเห็นมา และผมก็ได้นำรูปมาให้ท่านผู้อ่านได้ชมความงดงามกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  





เหรียญหลวงพ่อพระใส จ.หนองคาย

"หลวงพ่อพระใส" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อ.เมือง จ.หนองคาย วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คือ "เหรียญหลวงพ่อพระใส รุ่นแรก" จัดสร้างโดยพระเวทีวุฒิกร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เมื่อปี พ.ศ.2485 ลักษณะทรงสามเหลี่ยม มีหูห่วง เนื้อทองแดง ด้านหน้าเหรียญ รูปหลวงพ่อพระใส บนพระแท่นมีคำว่า "พระใส" อยู่ที่ฐาน เส้นขอบซ้อนด้านในคมชัด เช่นเดียวกับเส้นซ้อนข้างศอกซ้าย จุดกลมและเส้นแตกข้างเข่าซ้าย เป็นสัญลักษณ์สำคัญของเหรียญรุ่นนี้ ด้านหลัง เส้นยันต์หนาใหญ่คมชัด มีจุดกลมข้างในหัวตัว อุ เป็นจุดสังเกตสำคัญ ด้วยความงดงามโดดเด่น ทำให้เป็นเหรียญที่มีค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้มีไว้ครอบครองต่างก็หวงแหนยิ่ง "พระวิสุทธิสารเถร" หรือ "หลวงพ่อผ่อง ธัมมโชติโก" อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์ สุดยอดพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าย่านฝั่งธนบุรี วัตถุมงคลยอดนิยมคือ "พระสมเด็จเล็บมือ" มีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่น คือ รุ่นแรกสร้างประมาณปี พ.ศ.2457 ด้านหลังนูนเรียบ ส่วนรุ่นสองสร้างประมาณปี พ.ศ.2464 ด้านหลังจะปรากฏอุณาโลมประทับอยู่ สร้างทั้งสองรุ่นประมาณกันว่าไม่เกิน 5,000 องค์ พุทธลักษณะมีกรอบพิมพ์เป็นรูปคล้ายครอบแก้วหรือปลายนิ้วมือ มีรูปพระพุทธปางขัดสมาธิเพชรเห็นสังฆาฏิประทับอยู่เหนือฐาน ซึ่งเป็นขีดหนา เนื้อพระเป็นผงสีขาวนวล ละเอียดแห้ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในครอบครองของชาวฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะชาวภาษีเจริญและใกล้เคียง ผู้มีไว้ครอบครองต่างหวงแหน "หลวงพ่อเสน่ห์ กตปุญโญ" หรือ "พระครูอุปกิจสารคุณ" เจ้าอาวาสวัดพันสี ต.ท่าโพ อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี ในปี พ.ศ.2520 คณะศิษยานุศิษย์ขออนุญาตจัดสร้าง "เหรียญหลวงพ่อเสน่ห์ รุ่นแรก" เป็นเนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 4,000 เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญรูปวงกลม ด้านบนเหรียญเป็นลายกนกทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เจาะหูห่วงที่ยอดกนก ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปนูนหลวงพ่อเสน่ห์ครึ่งองค์หันหน้าตรง ด้านหน้าเหรียญมีขอบ เหนือขอบล่างมีอักษรไทย เขียนว่า "เสน่ห์" ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ซุ้มเหรียญสามเหลี่ยมหน้าจั่วไม่มีลายกนก แต่มีอักษรไทย เขียนว่า "รุ่นแรก" และเหนืออักษรไทยมีอุณาโลมกำกับ ตรงกลางเหรียญมียันต์อักขระ "นะ" ซ่อนหัว หรือ "นะ" สำเร็จ ใต้ยันต์มีเลขไทย "๒๕๒๐" เหนือขอบเหรียญด้านล่างมีอักษรไทย เขียนว่า "วัดพันสี อุทัยธานี" กำกับด้วยลายกนก หัว-ท้าย เป็นอีกเหรียญหนึ่งที่มีอนาคตไกล ขอเชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพสร้างหอระฆังวัดโพธิ์ศรีธรรมาราม บ้านน้ำพุ ต.บ้านกลาง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ สอบถามที่ พระครูโพธิพัชรบวร เจ้าอาวาส โทร.08-6934-8779     ข่าวสดออนไลน์  



หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำแควอ้อม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อช่วง หรือพระครูวิมลศิลาจารย์ วัดปากน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่ชาวแม่กลองเคารพนับถือมาก วัตถุมงคลของท่านก็เข้มขลังมาก ตะกรุดโทนของหลวงพ่อช่วง หลวงกล้ากลางสมรมือปราบในสมัยนั้นพกติดตัวอยู่ตลอด

หลวงพ่อช่วงเกิดเมื่อปี พ.ศ.2399 ที่ตำบลบางพรม อำเภออัมพวา โยมบิดาชื่อรอด โยมมารดาชื่อแจ่ม พออายุได้ 9 ขวบ บิดาได้นำมาฝากเรียนกับหลวงพ่อกลัด วัดบางพรม ต่อมาเมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดบางพรม โดยมีพระอธิการเพ็ง วัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการกลัด วัดบางพรม และพระอธิการขาว วัดปากน้ำ เป็นพระคู่สวด ได้รับนามฉายาว่า "อินทโชติ" และได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำ ศึกษาทั้งมูลกัจจายน์ และพระธรรมวินัย ศึกษาวิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับพระอธิการเพ็ง ต่อมาได้ออกธุดงค์กับพระอธิการเพ็งและหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ท่านได้ธุดงค์ไปจนถึงประเทศกัมพูชา ประเทศลาว และประเทศพม่า

เมื่อกลับมาจากธุดงค์ หลวงพ่อช่วงก็ได้รับหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม และภายหลังได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ท่านก็ได้พัฒนาวัดปากน้ำจนเจริญรุ่งเรือง ได้สร้างโรงเรียนสำหรับลูกหลานชาวบ้านในแถบนั้นได้มีสถานศึกษา ในด้านการศึกษาของพระเณร หลวงพ่อช่วงก็ได้จัดหาครูจากวัดระฆังฯ มาเป็นผู้สอน การเรียนการสอนเจริญก้าวหน้ามาก ต่อมาก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวิมลศิลาจารย์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภออัมพวาในปี พ.ศ.2458

วัตถุมงคลของหลวงพ่อช่วงมีทั้งตะกรุด และเหรียญ ในปี พ.ศ.2463 หลวงพ่อช่วงได้สร้างเหรียญหล่อ เป็นรูปหลวงพ่อวัดบ้านแหลม และเมื่อปี พ.ศ.2471 ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อช่วงได้ขออนุญาตหลวงพ่อช่วงสร้างเหรียญที่ระลึกในการทำบุญอายุหลวงพ่อช่วง อายุครบ 6 รอบ 72 ปี เป็นเหรียญปั๊มรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ด้านหลัง เป็นรูปพระปิดตา และมียันต์ล้อมรอบ ปัจจุบันค่อนข้างหายากแล้ว

พุทธคุณเด่นทางด้านมหาอุตม์ แคล้วคลาด และเมตตามหานิยมครับ คนเก่าคนแก่ในแถบนั้นต่างมีประสบการณ์มาแล้วมากมาย ขนาดหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ยังกล่าวชม

หลวงพ่อช่วงมรณภาพในปี พ.ศ.2478 สิริอายุได้ 79 ปี พรรษาที่ 59

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อช่วง เหรียญปั๊มรุ่นแรก จากหนังสือตามรอยตำนาน อมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



ชีวประวัติย่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มีนามเดิมว่า "โต" ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ.2331 ที่บ้านไก่จ้น อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา นามโยมบิดาไม่ปรากฏชัดเจน โยมมารดาชื่อเกตุ โยมตาชื่อไชย ต่อมาโยมมารดาได้ย้ายมาอยู่ที่ ต.ไชโย จ.อ่างทอง ครั้นพอท่านสอนเดิน มารดาได้ย้ายอีกครั้งมาอยู่ที่บ้าน ต.บางขุนพรหม กทม. ภายหลังท่านจึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้ ณ ตำบลทั้งสามเป็นอนุสรณ์

การศึกษาอักษรสมัย เจ้าประคุณสมเด็จฯได้เล่าเรียนในสำนักเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) แห่งวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม ครั้นต่อมาเมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ อายุได้ 12 ปีในปี พ.ศ.2343 ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีเจ้าคุณบวรวิริยะเถระ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม (เดิมคือวัดบางลำพูบน) เป็นพระอุปัชฌาย์ เข้าใจว่าเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ท่านบรรพชาที่วัดอินทรวิหาร จนกระทั่งสามเณรโตย้ายสำนักมาอยู่ที่วัดระฆังฯ เพื่อศึกษาพระ ปริยัติธรรม กล่าวกันว่าท่านได้เล่าเรียนจากสำนักสมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังฯ เป็นพื้น และได้เรียนต่อกับสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุอีกด้วย สามเณรโตมักจะได้รับคำชมเชยจากครูบาอาจารย์ว่ามีความทรงจำดีเยี่ยม อีกทั้งมีปฏิภาณเป็นยอด นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาวิปัสสนาธุระอีกด้วย

ครั้งเมื่ออายุครบอุปสมบทในปี พ.ศ.2350 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นพระราชธุระให้เป็นนาคหลวงอุปสมบท ณ วัดศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (องค์มหาสังฆปริณายกที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่เคยมีปรากฏว่าสามัญชนได้รับพระกรุณาให้เป็นนาคหลวงและอุปสมบทได้ที่พระอารามหลวงในพระบรมมหาราชวังนี้ หลังจากนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังได้ศึกษากัมมัฏฐานและมหาพุทธาคมจากสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ในสมัยที่ท่านยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระญาณสังวร ครองวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)

สมณศักดิ์ เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ไม่ปรารถนายศศักดิ์ แม้เรียนรู้พระปริยัติธรรมก็ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ และไม่ยอมรับฐานานุกรม เล่ากันว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 ท่านเกรงว่าจะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ จึงมักหลบไปต่างจังหวัดอยู่เนืองๆ จนถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงแต่งตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ ท่านจึงไม่ขัด กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่าคุณธรรมของท่านยิ่งยอดเพียงใด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิตติ เมื่อปี พ.ศ.2395 ขณะนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ อายุได้ 65 ปี ต่อมาอีก 2 ปี คือปี พ.ศ.2397 ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่พระเทพกวี ครั้งต่อมาเมื่อสมเด็จพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศ มรณภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2407

ในการสร้างพระสมเด็จฯ นั้น ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง จันทโชติ) ศิษย์ผู้ใกล้ชิดเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เล่าและมีการจดบันทึกโดยนายกนก สัชชุกร ว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯได้ร่วมสร้างในปีพ.ศ. 2409 และได้มีหลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองหลวงในราชสำนักรัชกาลที่ 4 ได้แกะแม่พิมพ์ถวาย และได้แนะนำให้ใช้น้ำมันตั้งอิ้วผสมเนื้อปูนเปลือกหอย ในการสร้างพระสมเด็จฯ ด้วย แม่พิมพ์ที่แกะถวายมีแม่พิมพ์หมวดพิมพ์ใหญ่หมวดพิมพ์ทรงเจดีย์ หมวดพิมพ์ฐานแซม และพิมพ์เกศบัวตูม เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2409 เรื่อยๆ มา

พระสมเด็จฯ ที่เป็นพิมพ์มาตรฐานเหล่านี้ เป็นพระสมเด็จฯ ที่มีผู้นิยมเป็นมาตรฐาน และมีมูลค่ารองรับ จากการจดบันทึกทำให้เรารู้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระเรื่อยๆ มาวันละเล็กละน้อย หลังจากที่ท่านฉันภัตตาหารเพลเสร็จแล้ว และมีผู้มาช่วยตำผสมเนื้อพระ กดพิมพ์พระไปเรื่อยๆ เมื่อได้พระจำนวนพอสมควร เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะนำพระไปปลุกเสกของท่านเอง แล้วก็แจกพระของท่านไปเรื่อยๆ เช่น ออกไปบิณฑบาต ก็จะนำพระไปแจกด้วยเสมอ แล้วก็มีการสร้างพระต่อกันไปอีก พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ จึงไม่สามารถระบุจำนวนที่แท้จริงได้เนื่องจากไม่ได้กำหนดว่าจะสร้างจำนวนเท่าใด

มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า เมื่อปี พ.ศ.2411 เสมียนตราด้วงได้บูรณะวัดบางขุนพรหม ใน (วัดใหม่อมตรส) และได้เข้ามากราบเรียนขอให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระให้เพื่อบรรจุในองค์พระเจดีย์ใหญ่ ที่กำลังจะสร้างขึ้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็อนุญาต และเริ่มสร้างพระเครื่องของวัดบางขุนพรหมใน (วัดใหม่อมตรส) ดังนั้น พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ อาจจะหยุดสร้างในปี พ.ศ.2411 ก็อาจจะเป็นได้ ดังที่ได้กล่าวมา พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ในปี พ.ศ.2413

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 เวลา 24.00 น. ณ หอสวดมนต์ วัดระฆังโฆสิตาราม สิริอายุได้ 85 ปี พรรษาที่ 65

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯพิมพ์ใหญ่ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ มาให้ชมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระกรุวัดเพชร สระบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสระบุรีก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพระกรุพระเก่าอยู่มากเช่นกัน วัดเพชร อ.เสาไห้ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง และมีกรุพระที่แตกกรุออกมาและมีประสบการณ์เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เรามารู้จักพระกรุวัดเพชรกันครับ

วัดเพชรเป็นวัดเก่าวัดหนึ่งของจังหวัดสระบุรี สร้างมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ได้มีหลักฐานบันทึกไว้ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยายุคปลายหรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีเรื่องเล่าอยู่สองนัยว่า นายเพชรกับนายไท สองพี่น้องเป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นในปี พ.ศ.2295 และมีการสร้างพระเครื่องบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ อีกนัยหนึ่งว่า เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2310 บรรดาขุนนางและชาวบ้านได้หลบหนีภัยสงครามมาทางเรือโดยขึ้นเหนือตามแม่น้ำป่าสักมาจนถึงบ้านยาง เห็นเป็นทำเลที่ตั้งดีจึงตั้งบ้านเรือนอยู่ตรงที่ตั้งวัดเพชรปัจจุบัน

พระกรุวัดเพชรแตกก็เนื่องจากในปี พ.ศ.2491-2492 คณะกรรมการวัดเพชรได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ด้านหลังพระอุโบสถ ซึ่งพิจารณาดูว่าชำรุดทรุดโทรมมากจนไม่สามารถที่จะบูรณะได้ จึงได้รื้อองค์พระเจดีย์และซากปรักหักพังออกปรับพื้นที่ให้เรียบ ก็ได้เจอพระเครื่องที่บรรจุในองค์พระเจดีย์เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ก็เจอพระเครื่องเนื้อดินที่ใต้ฐานชุกชีในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นพระแบบเดียวกับที่พบที่วัดดาวเสด็จอีกด้วย ในส่วนพระเครื่องที่อยู่ในเจดีย์หลังพระอุโบสถนั้นเป็นพระเครื่องเนื้อชินเงิน มีพิมพ์ต่างๆ เช่น พิมพ์อู่ทอง พิมพ์ป่าเลไลยก์ พิมพ์สมาธิ พิมพ์ลายกนก พิมพ์เพชรกลับ พิมพ์ปรกโพธิ์ เป็นต้น

พระกรุเนื้อชินเงินนี้ในช่วงแรกๆ ชาวบ้านก็ไม่ได้สนใจสักเท่าไร เนื่องจากมีพระจำนวนมากและผิวของพระเป็นผิวปรอทขาวทั่วองค์ ชาวบ้านก็นึกว่าเป็นพระที่ยังไม่เก่านัก อีกทั้งยังมีพระจำนวนมากหาได้ไม่ยากนัก จึงขาดความสนใจ ต่อมามีคนที่นำพระกรุวัดเพชรไปห้อยคอแล้วมีประสบการณ์ถูกฟันไม่เข้า ก็เริ่มมีคนสนใจและนำพระไปทดลองยิงดู ซึ่งแกเป็นกำนันของตำบลนั้น ปรากฏว่ากระสุนด้านยิงเท่าไรก็ไม่ออก

ต่อมาก็มีอีกรายนำไปทดลองยิงบ้างก็ปรากฏเช่นเดียวกันยิงเท่าไรก็ยิงไม่ออก ข่าวคราวเมื่อแพร่ออกไปก็เริ่มมีคนสนใจพระกรุวัดเพชรมากขึ้น จนพระกรุวัดเพชรหมดไปจากวัดในที่สุด นอกจากเรื่องอยู่ยงคงกระพันแล้วก็มีผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดพ้นภัยจากอุบัติเหตุอีกด้วย

พระกรุวัดเพชรที่เป็นพระเนื้อดินมีพิมพ์เดียวกับพระของวัดดาวเสด็จ ปัจจุบันก็เล่นหาเป็นของวัดดาวเสด็จกันหมด เนื่องจากแยกกันไม่ออก เพราะเป็นพระพิมพ์เดียวกัน ส่วนพระเนื้อชินเงินก็แน่ชัดว่าเป็นของวัดเพชร ปัจจุบันก็เริ่มหายากสักหน่อย แต่ก็ยังพอหาได้อยู่ สนนราคาก็ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับพุทธคุณที่ปรากฏเด่นชัด และมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายจากคนในพื้นที่

ครับก็เป็นพระกรุที่น่าสนใจอีกกรุหนึ่งของจังหวัดสระบุรีที่มากด้วยพุทธคุณ แต่สนนราคาก็ยังไม่สูงและยังพอหาได้ไม่ยากนัก ของปลอมก็ยังไม่ค่อยพบ เป็นพระประเภทของดีราคาถูกครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเครื่องเนื้อชินของกรุวัดเพชรพิมพ์ต่างๆ มาให้ชมค
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระรูปเหมือนหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี วัตถุมงคลของท่านเป็นพระที่เข้มขลังพุทธคุณสูงมาก พระเครื่องบางรุ่นก็มีสนนราคาสูง แต่บางรุ่นก็ยังพอหาได้ สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนัก และยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนักเช่นพระเนื้อผงของท่านครับ

วัดบางพังเป็นวัดเก่าแก่ โดยชาวบ้านสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา เหตุที่ชื่อวัดบางพังก็เนื่องจากวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดบางพัง" ชื่อเป็นทางการชื่อว่า "วัดศรีรัตนาราม" เจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือหลวงพ่อแฉ่ง

หลวงพ่อแฉ่งเกิดที่ปากเกร็ด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2428 โยมบิดาชื่อสิน โยมมารดาชื่อขลิบ ตอนเด็กๆ เป็นคนที่มีลักษณะดีผิวพรรณงาม บิดาจึงตั้งชื่อว่า แฉ่ง ในปี พ.ศ.2443 บิดา-มารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสลักเหนือ 1 พรรษา ก็สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำงานเป็นหัวแรงสำคัญของครอบครัว ท่านเป็นคนขยัน รักสงบไม่ค่อยสุงสิงกับใคร ต่อมามีเหตุให้ท่านต้องไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วก็อุปสมบทที่วัดทางภาคเหนือ หนีความวุ่นวายจากโลกภายนอก พอบวชแล้วก็ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเรียนพุทธาคมจากพระอาจารย์อีกหลายรูป จากนั้นก็ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ในป่าเขาลำเนาไพร แถบภาคเหนือ ภาคอีสานเลยเข้าไปถึงประเทศลาว เขมร พม่า ท่านธุดงค์นานถึง 15 ปี จึงย้อนกลับมาภูมิลำเนาเดิม มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางพัง ชาวบ้านในแถบนั้นจำท่านแทบไม่ได้

วัดบางพังขณะนั้นมีพระอธิการเจริญเป็นเจ้าอาวาสซึ่งอยู่ในวัยชรามาก บริหารงานภายในวัดไม่ไหว เสนาสนะต่างชำรุดมาก จึงเป็นภาระของหลวงพ่อแฉ่งรับภาระบูรณปฏิสังขรณ์อย่างแข็งขัน ร่วมกับ ชาวบ้านในแถบนั้น จนวัดเจริญขึ้นด้วย ชาวบ้านศรัทธาในตัวหลวงพ่อแฉ่ง ครั้นหลวงพ่อเจริญมรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อแฉ่งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน เป็นที่ยินดีของชาวบ้าน เนื่องจากท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเสมอมา วิชาอาคมต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาจากการออกธุดงค์ ได้นำมาช่วยชาวบ้านที่ถูกของ ถูกคุณไสยต่างๆ ทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณท่านก็มีความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง ช่วยรักษาโรคให้ชาวบ้านหายไปทุกราย น้ำมนต์ของท่านก็ขลังนัก ดื่ม อาบ พรม เป็นสิริมงคลรักษาโรคภัยได้

สำหรับวัตถุมงคลท่านก็ได้สร้างไว้มาก เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เชือกคาดเอว พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ บาตรน้ำมนต์ ฯลฯ วัตถุมงคลของหลวงพ่อแฉ่งมีประสบการณ์ในครั้งสงครามอินโดจีนมาแล้วจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก และในพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงพ่อแฉ่งได้ถูกนิมนต์ให้ร่วมพิธีทุกครั้ง หลวงพ่อแฉ่งมรณภาพในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2500 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52

ในวันนี้ผมได้นำพระรูปเหมือนของหลวงพ่อแฉ่งรุ่นแรกมาให้ชมกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มิถุนายน 2563 12:41:18 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #149 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2563 12:42:49 »



พระสุเมธาจารย์ (วอน) วัดปรมัยยิกาวาส

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่เกาะเกร็ดปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ กรุงเทพฯ มีสิ่งที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นวัดวาอารามเก่าแก่ ชุมชนชาวรามัญ (ชาวมอญ) ที่อยู่มาเก่าแก่มีการปั้นหม้อดินเผาและอาหารอร่อยๆ มากมาย การเดินทางก็โดยทางเรือและมาขึ้นเกาะที่วัดปรมัยฯ ซึ่งถ้าเรามองที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาก็จะเห็นเจดีย์เอียงอยู่ที่หัวเกาะเกร็ด เป็นสัญลักษณ์ประจำเกาะเกร็ด ก็คือวัดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ที่วัดแห่งนี้มีพระสงฆ์รูปหนึ่งที่ชาวเกาะเกร็ดเคารพนับถือมาก คือพระสุเมธาจารย์บริหารธรรมขันธ์ รามัญสังฆนาธิบดี (วอน) อดีตเจ้าอาวาสวัดปรมัยฯ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2404 โยมบิดาคือสมิงสามปราบ โยมมารดาชื่อละเมอ (ภาษามอญแปลว่า ดอกมะลิ) ต่อมาได้อุปสมบทที่วัดปรมัยฯ ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระคุณวงศ์ (จู) เจ้าอาวาสวัดปรมัยฯ สมัยนั้น พระสุเมธาจารย์ (วอน) ตั้งใจศึกษาเปรียญธรรมรามัญมาก สอบเปรียญธรรมรามัญได้ 3 ประโยค ซึ่งเปรียญสูงสุดของรามัญนั้นมี 4 ประโยค ซึ่งสอบยากมาก ท่านได้เป็นครูสอนเปรียญรามัญที่วัดปรมัยฯ นอกจากศึกษาเรื่องพระธรรมวินัยและเปรียญรามัญกับพระคุณวงศ์ (จู) แล้ว ท่านก็ยังได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน อีกทั้งวิทยาคมต่างๆ จากพระคุณวงศ์ (จู) จนหมดสิ้น เป็นที่ไว้ใจของพระคุณวงศ์มาก เมื่อพระคุณวงศ์ (จู) ชราภาพ ท่านก็ได้ให้พระสุเมธาจารย์ (วอน) ลงอักขระเลขยันต์ลงผ้าประเจียดแดงแทนแล้วท่านจึงมาปลุกเสกอีกทีหนึ่ง วิชาอยู่ยงคงกระพันของรามัญเด่นที่ผ้าประเจียดแดง ลงอักขระรามัญ ยิงไม่ออกฟันไม่เข้า ตีหัวไม่แตก โด่งดังมากในสมัยนั้น

ต่อมาพระคุณวงศ์ (จู) ก็ให้พระสุเมธาจารย์ (วอน) ทั้งลงอักขระและปลุกเสกเอง ซึ่งก็เข้มขลังมากเช่นกัน จึงเป็นที่ไว้ใจของท่านพระคุณวงศ์ (จู) มาก และให้พระสุเมธาจารย์ (วอน) ทำต่อมาตลอด ภายหลังพระคุณวงศ์ (จู) มรณภาพ พระสุเมธาจารย์ (วอน) จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ภายในวัดปรมัยฯ ยังมีพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่พระสุเมธาจารย์ (วอน) เคารพนับถือมากคือ พระอาจารย์ละโว้ และท่านได้ศึกษาวิทยาคมจากพระอาจารย์ละโว้ด้วย ในช่วงที่พระคุณวงศ์ (จู) มรณภาพนั้น พระอาจารย์ละโว้ไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาส และให้พระสุเมธาจารย์ (วอน) เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

พระสุเมธาจารย์ (วอน) เป็นที่รักและเคารพของชาวบ้านมาก ใครมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจอันใดก็จะไปให้ท่านช่วยเหลืออยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเคราะห์ร้ายใดๆ ท่านก็รดน้ำมนต์ให้หายทุกราย เรื่องเครื่องรางของขลังทั้งชาวเกาะเกร็ดและฝั่งอำเภอก็มาขอจากท่านกันมาก ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เมตตากรุณามากไม่ว่าคนหรือสัตว์ ต่อมาเมื่อท่านอายุครบ 6 รอบ บรรดาศิษย์และชาวบ้านจึงขออนุญาตจัดทำเหรียญรูปท่านเพื่อแจกไว้เป็นที่ระลึก ท่านก็อนุญาตให้ จึงมีเหรียญรูปท่านในปี พ.ศ.2476 ซึ่งเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน ปัจจุบันหาชมยากแล้วครับ อีกเหรียญหนึ่งที่ท่านปลุกเสกไว้ก็คือเหรียญพระอาจารย์ละโว้ ที่สร้างเป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงของพระอาจารย์ละโว้ในปี พ.ศ.2478 อีกเหรียญหนึ่ง ปัจจุบันหายากเช่นกันครับ

พระสุเมธาจารย์ (วอน) อยู่เป็นเจ้าอาวาสและเป็นมิ่งขวัญของชาวบ้านเกาะเกร็ดจนถึงปี พ.ศ.2480 ท่านก็มรณภาพ วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญพระสุเมธาจารย์ (วอน) รุ่นแรกมาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ ซึ่งท่านที่เพิ่งเข้ามาศึกษาเรื่องพระสมเด็จฯ ก็อาจจะนึกว่า พระพิมพ์นี้มีแม่พิมพ์อันเดียว ซึ่งโดยส่วนมากเราก็จะเห็นพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังฯ อยู่แม่พิมพ์หนึ่งที่พบเห็นบ่อยๆ หรือจะเป็นภาพถ่ายก็ตาม แต่ความจริงแล้วแม่พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์นั้นมีอยู่หลายแม่พิมพ์ เท่าที่ผมศึกษา แม่พิมพ์ที่เป็นมาตรฐานมีมูลค่ารองรับนั้น มีอยู่ถึง 4 แม่พิมพ์ ซึ่งแต่ละแม่พิมพ์ก็มีความแตกต่างกันอยู่ครับ

พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ เท่าที่มีการยอมรับและมีมูลค่ารองรับด้วยนั้น มีแม่พิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์ใหญ่ พระแม่พิมพ์นี้หายากมากๆ ในสังคมพระเครื่องเท่าที่มีการบันทึกภาพไว้มีเพียงแค่ 2 องค์เท่านั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามีแค่ 2 องค์นะครับ เพียงแต่เท่าที่มีการบันทึกภาพไว้แค่ 2 องค์ แม่พิมพ์ที่มีพบเห็นมากที่สุดก็คือแม่พิมพ์ อกวี หรือแม่พิมพ์ที่มีเส้นชายจีวร แม่พิมพ์นี้จะพบเห็นภาพถ่ายมากที่สุด แม่พิมพ์เล็ก เป็นอีกแม่พิมพ์หนึ่งที่พบเห็นไม่มากนัก ส่วนอีกแม่พิมพ์หนึ่งเป็นแม่พิมพ์ที่ฐานมีเส้นแซม พระแม่พิมพ์นี้ตั้งแต่ใน สมัยก่อนอาจจะถูกยกไปอยู่ในพิมพ์เกศบัวตูมก็มี ซึ่งการแยกพิมพ์ก็มีอยู่ 2 กลุ่ม แต่การพิจารณาว่าใช่หรือไม่นั้นจะมีหลักการพิจารณาที่เหมือนกัน จึงไม่มีปัญหาอะไร ก็แตกต่างกันแค่การเรียกชื่อพิมพ์เท่านั้น

พระแม่พิมพ์นี้ในส่วนของกลุ่มที่จัดให้อยู่ในหมวดพิมพ์เกศบัวตูมก็จะแยกเป็นพิมพ์เกศบัวตูมแม่พิมพ์ฐานยาว ส่วนแม่พิมพ์เกศบัวตูมอีกแม่พิมพ์หนึ่งก็จะเรียกเป็นพิมพ์เกศบัวตูมแม่พิมพ์ฐานสั้น ในส่วนตัวผมที่ศึกษามาจากกลุ่มที่จัดแม่พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ทรงเจดีย์ ก็ขอจัดให้เป็นพิมพ์ทรงเจดีย์ก็แล้วกันนะครับ เหตุผลของแต่ละกลุ่มต่างก็มีเหตุผลด้วยกันทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งผมคงจะไม่กล่าวถึงนะครับ เนื่องจากหลักการพิจารณาต่างก็มีหลักการพิจารณาว่าใช่หรือไม่ไม่แตกต่างกัน คือพิจารณารายละเอียดของพระพิมพ์ เนื้อหา และธรรมชาติร่องรอยการผลิตจะเหมือนๆ กัน ซึ่งมีมาตรฐานมูลค่ารองรับเหมือนกัน

พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์นี้จะพบน้อยมาก ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก แม้แต่ภาพถ่ายก็เช่นกัน สันนิษฐานว่าคงจะมีสร้างจำนวนไม่มากนักเช่นเดียวกับแม่พิมพ์ใหญ่ ซึ่งพบน้อยมาก เพราะแม่พิมพ์นี้เป็นแม่พิมพ์ที่สวยงามมาก มองเห็นพระกรรณ (หู) ชัดเจนมาก ในส่วนของพระเกศ ที่ฐานพระเกศจะมีมุ่นมวยผมเหนือพระเศียร และต่อมาเป็นเส้นพระเกศตรงกลางมีขยัก เป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คล้ายกับดอกบัวตูม (ซึ่งอาจจะเป็นจุดนี้ที่กลุ่มหนึ่งจึงจัดไปอยู่ในพิมพ์เกศบัวตูม) แต่ปลายพระเกศจะยาวไปจรดเส้นซุ้มพอดี องค์พระล่ำสันอวบอิ่มสวยงาม หน้าตักแสดง รายละเอียดของขาทั้งสองข้าง ใต้หน้าตักระหว่างหน้าตักกับฐานชั้นบนจะมีเส้นแซม และระหว่างฐานชั้นบนสุดและฐานชั้นกลางก็จะมีเส้นแซมเห็นเป็นเส้นบางๆ ทั้งสองเส้น

พระพิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์นี้จะหายาก พบน้อยมาก ธรรมชาติของร่องรอยการผลิตนั้นก็จะเห็นได้ว่าเป็นเช่นเดียวกับพระสมเด็จของวัดระฆังฯ ทุกองค์ ทั้งด้านหลังของพระก็จะเป็นเอกลักษณ์ของวัดระฆังฯ ด้านหลังของพระสมเด็จ ไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ หรือของวัดบางขุนพรหม จะมีเอกลักษณ์ซึ่งเป็นร่องรอยการผลิตปรากฏอยู่ และของทั้ง 2 วัด แต่ละวัดก็จะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง

ครับเรื่องร่องรอยการผลิตนั้นสำคัญนะครับ ไม่ว่าจะเป็นพระอะไรก็ตาม อย่างด้านหลังของพระสมเด็จนั้นถึงแม้ว่าจะไม่มีแม่พิมพ์ด้านหลังก็ตาม แต่ร่องรอยการผลิตในการสร้างพระก็จะปรากฏให้เห็นได้ และจะมีเหมือนๆ กันในทุกๆ องค์ครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์นี้ซึ่งหายาก และมีมาตรฐานมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดราชบุรี มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอยู่หลายท่าน มีที่ท่านสร้างปิดตา เนื้อเมฆพัดไว้ และมีประสบการณ์สูงปัจจุบันหาชมยากเช่นกันครับ ท่านก็คือพระครูธรรมาภินันท์ (ปล้อง สุลีโล)

หลวงพ่อปล้องเป็นชาวตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี โยมบิดาชื่อแพง โยมมารดาชื่อหุ่น เกิดเมื่อปี พ.ศ.2419 ในวัยเด็กท่านได้เรียนหนังสือที่วัดบางลี่ ตำบลโคกหม้อ อยู่หลายปี แล้วได้ย้ายไปอยู่กับพระยอด น้าชาย ที่วัดกันมาตุยาราม กทม. จนอายุได้ 18 ปี จึงกลับมาบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสุรชายาราม 1 พรรษา แล้วจึงลาเพศมาช่วยบิดามารดาทำนาจนอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทในปีพ.ศ. 2439 ที่วัดสุรชายาราม โดยมีพระพุทธวิริยากร (จิตร) วัดสัตตนารถปริวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการยา วัดอัมรินทราราม (วัดตาล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเกิด วัดท่าโขลง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย ได้ศึกษาบาลีกับพระวินัยธร (เบี้ยว) วัดท่าโขลง จนมีความรู้แปลหนังสือได้

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2448 ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุรชายาราม (วัดหลุมดิน) พ.ศ.2474 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมาภินันท์ หลวงพ่อปล้องเป็นพระสงฆ์ที่มีศีลาจารวัตรงดงามน่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นที่เคารพรักของชาวบ้าน หลวงพ่อปล้องได้สร้างวัตถุมงคลเป็นพระปิดตามหาอุด เนื้อเมฆพัด มีอยู่สองแบบคือ เป็นแบบพระปิดตา กับพระกลีบบัว เป็นการสร้างในปี พ.ศ.2471 เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในการสร้างศาลาการเปรียญ และมีชื่อเสียงโด่งดังในครั้งสงครามอินโดจีน เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จากนั้นก็มีผู้คนและทหารเข้าขอพระเครื่องจากหลวงพ่อมากมาย พระเครื่องได้หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว ทางวัดได้จัดสร้างเพิ่มก็สร้างไม่ทัน ต้องทำผ้าประเจียดพิมพ์เป็นรูปพระปิดตาแล้วทำพิธีปลุกเสกแทนพระเครื่องทั้งหมดของหลวงพ่อปล้องแจกฟรีครับ

หลวงพ่อปล้องมรณภาพด้วยโรคอัมพาต ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2484 เวลา 10.35 น. สิริอายุได้ 66 ปี พรรษาที่ 45

พระปิดตาของหลวงพ่อปล้องมีทั้งแบบลอยองค์และแบบพิมพ์ครึ่งซีก ที่เรียกว่าพิมพ์จั๊กจั่น และพระพิมพ์กลีบบัว เนื้อเมฆพัด ที่องค์พระหรือด้านหลังมักจะมีรอยจารด้วยลายมือหลวงพ่อปล้องแทบทุกองค์ครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อเมฆพัด ของหลวงพ่อปล้องมาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระพุทธชินราชวัดป่าวังนํ้าเย็น

"วัดพุทธวนาราม" หรือวัดป่าวังน้ำเย็น ตั้งอยู่ที่บ้านวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม

พระครูภาวนาชยานุสิฐ หรือพระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสาน อายุ 41 ปี พรรษา 21 ดำรงตำแหน่งประธานคณะสงฆ์วัดป่าวังน้ำเย็น และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาชัย พระอารามหลวง จ.มหาสารคาม

หลายปีก่อน เดินทางกลับมหาสารคาม บ้านเกิด บรรดาญาติโยมที่มีความเลื่อมใสศรัทธา ร่วมบริจาคที่ดินบริเวณบ้านวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พื้นที่กว่า 11 ไร่ คือบริเวณที่ตั้งวัดป่าวังน้ำเย็นในปัจจุบัน ถวายให้สร้างวัด

จากนั้นร่วมแรงร่วมใจกับญาติโยมและคณะศิษย์ พัฒนาที่รกร้างว่างเปล่าผืนนี้ จนกลายสภาพเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน

ด้วยความศรัทธาจากทุกฝ่าย ทำให้การพัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดป่าวังน้ำเย็น ลุล่วงในเวลาอันรวดเร็ว อาทิ หอระฆัง ศาลาปฏิบัติธรรมไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างจากไม้เนื้อแข็งประกอบด้วยไม้แดง ไม้ประดู่ และตกแต่งด้วยไม้สักทอง พระมหาเจดีย์ศรีมหาสารคาม อุโบสถไม้ซุงใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เป็นต้น

จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่สำคัญของจังหวัด

สำหรับถาวรวัตถุที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและใกล้แล้วเสร็จ คือ อุโบสถไม้ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก คณะศิษย์ที่มีจิตอันเป็นกุศล นำโดย "บอล คำแคน ขอนแก่น" "ไอช์ ขอนแก่น" และ "โตโต้ ขอนแก่น" จัดสร้างวัตถุมงคล พระพุทธชินราช "โฆสปัญโญ มหาปรารถนา" เพื่อมอบให้กับผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนก่อสร้างอุโบสถไม้ซุงและพัฒนาปรับปรุงวัดในด้านอื่นๆ

วัตถุมงคลรุ่นนี้ พุทธศิลป์จำลองจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก

พระพุทธชินราช "โฆสปัญโญ มหาปรารถนา" ด้านหน้าและด้านหลัง คล้ายกับที่วัดอื่นเคยจัดสร้าง จะต่างกันที่บริเวณใต้ฐานพระพุทธชินราชรุ่นนี้จะตอกคำว่า "โฆสปัญโญ" และอักขระยันต์มหาปรารถนา รวมทั้งหมายเลขเรียงลำดับจำนวนการสร้าง มวลสารที่นำมาจัดสร้าง อาทิ เหล็กเปียก ที่มีคุณวิเศษเหมือนเหล็กไหล แผ่นอักขระยันต์เก่าของหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ แผ่นอักขระยันต์พระอาจารย์สุริยันต์ เป็นต้น โดยใช้กรรมวิธีการหล่อโบราณ

จำนวนการสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย เนื้อเหล็กน้ำพี้อุดเกศาก้นทองคำ สร้าง 9 องค์ เนื้อเหล็กน้ำพี้ สร้าง 19 องค์ เนื้อเหล็กเปียกพระธาตุพนม สร้าง 49 องค์ เนื้อมหาชนวน สร้าง 400 องค์

พระอาจารย์สุริยันต์ประกอบพิธีเสกเดี่ยว เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2563

ติดต่อได้ที่วัดป่าวังน้ำเย็น 
    ข่าวสดออนไลน์  


 
รู้ได้ไงว่าพระแท้-เก๊เกิดทันหรือ?

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วลีที่ว่า "รู้ได้ไงว่าพระแท้-เก๊ เกิดทันหรือ?" เป็นวลีที่เกิดขึ้นมานมนานแล้ว เมื่อ 50 ปี ก่อนนั้นผมเองก็เคยได้ยิน และยังเป็นวลีที่ยังมีอยู่จนถึงปัจจุบัน ส่วนมากก็เกิดจากความไม่พอใจในคำตอบที่ไม่สมหวังของผู้ที่เป็นเจ้าของพระ และที่สำคัญก็คือจะนำพระมาปล่อยให้เช่าแล้วเขาไม่เช่าก็ผิดหวังและไม่พอใจ พระเก่าๆ อย่างประเภทพระกรุหรือพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ก็ไม่ค่อยมีใครเกิดทันหรอกครับ แต่เขามีแบบอย่างที่ยอมรับกันในสังคมพระเครื่องว่าแบบนี้แท้ใช่ และมีมูลค่ารองรับคือขายได้มีราคา ส่วนที่ทำไม่เหมือนหรือคล้ายๆ ก็ขายไม่ได้ ไม่มีใครรับซื้อก็เท่านั้นเอง

ครับนอกจากพวกที่อยากขายแล้วก็มีพวกที่ขายพระเขาไปแล้ว แต่พอคนที่ซื้อไปนำไปขายหรือนำไปแห่ในสนามพระก็ขายไม่ได้ นำพระไปคืนคนขายก็โมโหจึงถามว่าคนที่ไม่ซื้อนั้นเกิดทันหรือจึงรู้ว่าไม่แท้ พระที่มีปัญหาบ่อยๆ ก็จะเป็นพระที่นิยมกันมากๆ สนนราคาสูงๆ เช่น พระสมเด็จฯ เป็นต้น จะมีปัญหาแบบนี้บ่อยมาก เรื่องของพระเครื่องนั้นเขาไม่ต้องเกิดทันการสร้างพระนั้นๆ หรอกครับ เขาเล่นหาซื้อ-ขายกันตามที่เขานิยมและเชื่อถือกันว่าใช่ และมีมูลค่ารองรับ คือพูดแบบชาวบ้านก็คือซื้อได้ขายได้ไงครับ ถ้าไม่ใช่ไม่เหมือนเขาก็ไม่ซื้อเพราะนำไปขายต่อไม่ได้ก็เท่านั้นง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก ในสังคมพระเครื่องคำว่าเก๊ก็คือไม่ใช่ตามที่เขาเล่นหากัน ส่วนใครจะว่าใช่แท้ก็แล้วแต่ เพียงเขาไม่ซื้อไม่เล่นหากัน ก็ต้องยอมรับสิ่งที่สังคมเขากำหนดครับ

ถ้าเราจะขายทองหรือขายเพชร เราจะไปขายที่ไหน? สิ่งแรกที่คิดก็คือขายทองไปร้านทอง ขายเพชรไปร้านเพชร เพราะเขารับซื้อ-ขายโดยตรงอยู่แล้ว แต่ถ้าเอาไปขายแล้วเขาไม่รับซื้อล่ะ จะไปว่าเขาเกิดทันทองหรือทันเพชรไหม? ในทำนองเดียวกันจะขายพระก็คงต้องไปที่สนามพระ-ศูนย์พระ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมร้านค้าพระเครื่องต่างๆ ซึ่งเขาทั้งรับซื้อและขาย เมื่อนำพระที่ต้องการจะขายไปขายแล้วขายไม่ได้ ไม่มีใครซื้อ จะหมายความว่าไง? จะว่าเขาเกิดทันหรือเปล่า หรือจะว่าเขาเล่นแต่พระเก๊ของพวกมันเองหรือ ใช่เหรอ? พวกที่เป็นพ่อค้าพระเครื่อง หรือที่มักเรียกกันว่าเซียนพระเขามีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง เขาจะไม่หาสินค้า ที่เขาขายได้เข้ามาในร้านเพื่อขายต่อหรือ? และถ้าคิดว่าเป็นการหลอกต้มกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย มันทำเก๊เอง อุปโลกน์กันเองซื้อขายกันเอง และอยู่ยงมาได้จนปัจจุบันหรือ? นอกจากนี้ยังมีสนนราคารองรับเป็นล้านๆ อย่างพระสมเด็จฯ นี่นะจริงเหรอ?

ส่วนที่มีความเห็นต่างก็ย่อมเป็นสิทธิส่วนบุคคล หรือส่วนกลุ่มของตนนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไร เชื่ออย่างไรก็เชื่ออย่างนั้น ย่อมเป็นสิทธิของตนเอง ทำไมต้องไปกล่าวหา หรือว่าร้ายคนอื่นที่ไม่เชื่อตามที่ตนหรือกลุ่มของตนเชื่อ ถ้าเชื่อตามหลักฐานที่ตนมีก็เชื่อไปตามนั้นได้ ไม่ผิดอะไร แต่เมื่อนำไปขายแล้วเขาไม่ซื้อก็เป็นเรื่องของกลุ่มเขาเช่นกัน เพราะความเชื่อนั้นต่างกันก็เท่านั้นเอง ความเชื่อของกลุ่มเซียนพระเขาก็มีมาตรฐานของเขา ถ้าใช่เขาก็รับซื้ออยู่แล้ว หลักการของใครของมันก็ว่ากันไป เชื่อแบบไหนก็ซื้อกันไป เชื่อแบบไหนก็ซื้อแบบนั้นแล้วก็ไปขายกับกลุ่มที่เชื่อแบบนั้น ปัญหาก็ไม่น่าจะมีอะไร มาถกเถียงกันไปทำไม กล่าวหาว่าร้ายกันไปทำไม ไม่ได้ประโยชน์อะไร จริงไหมครับ

ถ้าเซียนพระหมายถึงคนที่มีอาชีพเป็นพ่อค้าพระซื้อมาขายไป ผมเองก็ไม่ใช่เซียน เพราะไม่เคยมีอาชีพนี้เลย แต่ถ้าถามว่าชอบศึกษาสะสมพระเครื่องไหม ก็ใช่ ก็เล่นหาศึกษาสะสมมาตั้งแต่สมัยสนามพระวัดมหาธาตุยุคปลายๆ จนย้ายมาที่วัดราชนัดดา และท่าพระจันทร์ จนมาถึงปัจจุบันถ้าว่างก็ไปเป็นประจำ ยังเช่าพระอยู่ไหมก็มีบ้าง เคยขายพระไหมก็เคย เวลาเช่าหาสะสมมามากๆ เข้า พระบางอย่างก็ให้เซียนเขาเช่าไปบ้าง เพื่อมาเช่าองค์ใหม่เข้า บางทีก็เช่าเซียนมานั่นแหละ เช่ามานานหลายปี ราคาพระขึ้นไปมาก เขาก็มาขอเช่าคืนไปโดยบวกกำไรให้พอสมควร พระบางอย่างผมเช่ามาจากชาวบ้านหมายถึงนอกสนาม เป็นพระหน้าใหม่ เมื่อนำมาดูกันเซียนเขาก็ขอเช่าต่อ โดยให้กำไรเช่นกัน ผมว่านะเขาก็มีมาตรฐานในการพิสูจน์ของเขานะ หมายถึงพวกเซียนน่ะ

ถ้าถามผมว่าดูพระเป็นมั้ย ผมก็ตอบว่าไม่เป็นครับ ผมก็ศึกษาตามพวกเซียนพระนี่แหละ ดูว่าเขาดูอย่างไรว่าใช่ไม่ใช่ แล้วก็ไปหาเช่ามา ในสมัยก่อนก็จากข้างนอกสนาม ตามบ้านบ้าง ตามต่างจังหวัดบ้าง แล้วก็เอามาพิสูจน์ที่สนามดูว่าใช่ไหม สอบได้หรือสอบตก ก็เอาไปอวดแล้วตีราคาให้สูงๆ หน่อย ถ้าเขาขอเช่าและต่อรองราคาก็แสดงว่าเราสอบได้เป็นพระแท้ ถ้าราคาพอใจก็ขายไป เป็นทุนไปหาใหม่สอบกันใหม่ให้แม่นยำก็เท่านั้น การเล่นหาสะสมไม่ว่าจะเป็นอะไร ก็มีการซื้อขายกันทั้งนั้น เพียงแต่เราได้เล่นหาเป็นอาชีพหรือไม่ หรือว่าเล่นหาสะสมเป็นงานอดิเรก

ผมเองนั้นชอบเล่นหาสะสมแบบมีมูลค่ารองรับ เพราะเงินเราแท้ ก็ควรจะได้ของที่มีมูลค่ารองรับ เรื่องมันก็ง่ายๆ แค่นี้แหละ พระบางองค์ผมเช่าหามาเก็บไว้นาน ก็มีเซียนมาขอซื้อไปในมูลค่าเพิ่ม 20 เท่า ผมก็ให้เขาไปก็เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ผมก็ว่าเขาคงไม่มั่วทำเองขายเอง ไม่งั้นเขาจะมาง้อขอเช่าของผมทำไมไม่ไปทำเองใหม่ล่ะ เพราะเขาก็เป็นเซียนพระประเภทนั้นอยู่แล้วด้วย

ในวันนี้ผมนำพระสมเด็จวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็กเข่ากว้าง มาให้ชม พระแบบนี้มีมูลค่ารองรับของสังคมพระเครื่องครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อตาด วัดบางวันทองเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่มีความเข้มขลังในด้านวิทยาคมมากของสมุทรสงคราม ลูกศิษย์ของท่านที่เป็นพระสงฆ์ก็มีชื่อเสียงโด่งดังมากหลายท่าน อาทิหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงปู่นาค วัดหัวหิน หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง หลวงพ่อโต วัดคู้ธรรมสถิตย์ เป็นต้น

ประวัติของหลวงพ่อตาด ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นทางการ แต่ก็มีการถ่ายทอดโดยการบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า ดังนั้นชีวประวัติของท่านจึงไม่ค่อยละเอียดมากนัก แต่ก็พอจะรวบรวมไว้ได้ดังนี้

หลวงพ่อตาดเป็นชาวเบิกไพล อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อุปสมบทเมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ ที่วัดบ้านเกิดหลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ก็ได้เรียนพระธรรมวินัย ท่องจำบทสวดมนต์ต่างๆ จนจบ แล้วก็ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระ และวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์จนกล้าแกร่งจึงออกธุดงค์ ได้ศึกษาวิชาต่างๆ กับพระอาจารย์ที่ท่านพบในป่ามากมาย

ท่านธุดงค์อยู่หลายพรรษาจนมาถึงแม่น้ำแม่กลอง มุ่งเข้ามาทางแควอ้อม มาหยุดพักจำพรรษาอยู่ที่วัดบางวันทอง ในปี พ.ศ.2438 ซึ่งวัดบางวันทองขนาดนั้นเป็นสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร เนื่องจากวัดบางวันทองขณะนั้นเป็นวัดร้างรกร้างรุงรัง เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ในสมัยนั้นยังไม่มีบ้านผู้คนอาศัยอยู่มากนัก ท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดบางวันทองจนเจริญรุ่งเรืองกลับมาอีกครั้ง

เมื่อหลังจากออกพรรษาแล้วหลวงพ่อตาดท่านก็จะออกธุดงค์อยู่เสมอ ท่านได้ไปเจอสมุนไพรต่างๆ มากมายก็นำกลับมาไว้ที่วัด เพื่อทำเป็นยาแผนโบราณ ช่วยรักษาโรคให้แก่ชาวบ้านและประชาชนโดยทั่วไป ที่มาให้ท่านรักษาโรคให้ ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนต่างๆมาหาท่านก็ยินดีช่วยเหลือปัดเป่าให้คลายทุกข์ร้อนไปได้เสมอ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านและประชาชนทั่วไป ท่านได้เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้แก่ชาวบ้านมากมาย แม้ในจังหวัดใกล้เคียงก็ยังพาบุตรหลานมาบวชกับท่านมาก หลวงพ่อตาดมรณภาพในปี พ.ศ.2459 ด้วยโรคชรา คณะศิษย์และประชาชนจึงได้ปรึกษากันว่าจะตั้งสังขารไว้ที่กุฏิ เพื่อบำเพ็ญกุศลถวายจนครบ 1 ปีแล้วจะได้ประชุมเพลิงของท่าน

ศิษย์ผู้หนึ่งชื่อ นายพุก ได้ร่วมปรึกษากับศิษย์คนอื่นๆ พร้อมใจกันสร้างเหรียญรูปท่านเพื่อไว้เป็นที่ระลึก ในงานประชุม พระเพลิงงท่าน โดยมีนายพุก เป็นผู้แกะพิมพ์ และบุตรช่วยกันสร้างมีทั้งหมดประมาณ 1,200 เหรียญ มีสามชนิด เนื้อทองคำประมาณ 50 เหรียญสำหรับผู้สั่งจอง เนื้อเงินประมาณ 200 เหรียญ นอกนั้นเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ทั้งหมด

เมื่อสร้างเสร็จได้ให้พระเกจิอาจารย์ปลุกเสกได้แก่ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อคง วัดศรัทธาราษฎร์ หลวงพ่อคง วัดแก้วเจริญ หลวงพ่อปลั่ง วัดเพลง หลวงพ่อตุย วัดปราโมทย์ เป็นต้น ปัจจุบันนับว่าเหรียญของท่านหาดูได้ยากครับ เหรียญของท่านนับว่าเป็นเหรียญเก่าแก่เหรียญหนึ่งของแม่กลองครับ วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมกันครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระท่ามะปรางสุพรรณฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระท่ามะปรางค์เป็นพระยอดนิยมแบบหนึ่ง และมีพบด้วยกันหลายกรุหลายจังหวัดทุกกรุล้วนนิยมทุกกรุ วันนี้เรามารู้จักกับพระท่ามะปรางอีกกรุหนึ่งที่จังหวัดสุพรรณบุรี พระที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา ประเภทเนื้อค่อนข้างแกร่ง มีกรวดทรายผสมอยู่ในเนื้อพระ

วัดสำปะซิวเป็นชื่อเรียกพระกรุกรุหนึ่งว่าพระกรุวัดสำปะซิว ซึ่งความเป็นจริงการพบพระกรุนี้ไม่ได้พบภายในวัดสำปะซิว แต่มีผู้ขุดพบพระเครื่องที่ใกล้ๆ กับวัดสำปะซิว ผู้ที่พบก็คือนายดี มาแสง บ้านอยู่ไปทางทิศเหนือของวัดสำปะซิว ได้ขุดดินบริเวณบ้านตรงริมรั้วบ้านของตัวเอง และบังเอิญไปพบพระเครื่องเนื้อดินเผาเข้าจำนวนหนึ่ง ในส่วนทางด้านทิศใต้ของวัดก็เคยมีผู้ขุดพบพระบูชาสมัยลพบุรีอยู่หลายครั้งหลายหนเช่นกัน สันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเคยเป็นแหล่งชุมชนสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน สาเหตุที่เรียกพระกรุเนื้อดินเผากรุนี้ว่า "กรุวัดสำปะซิว" ก็เนื่องจากหลังจากที่พบพระเครื่องดังกล่าว และมีการนำพระออกมาสู่นักสะสมและถามถึงที่มา ก็มักจะตอบว่า "พระกรุวัดสำปะซิว" ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่พบพระเครื่อง และที่ย่านนี้ก็มี วัดที่ชื่อวัดสำปะซิวอีกด้วย พระเครื่องของกรุนี้จึงเรียกกันต่อมาว่าเป็น "พระกรุวัดสำปะซิว" เป็นชื่อเรียกกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้

พระเครื่องที่พบในครั้งนั้นมีพระพิมพ์ต่างๆ คือ พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา พระพิมพ์ท่ามะปราง หรือบางท่านในสมัยก่อนเรียกว่า นางสำปะซิวก็มี พรพิมพ์นารายณ์ทรงปืน พระพิมพ์ซุ้มปรางค์ เป็นต้น พระเครื่องทั้งหมดที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา ประเภทเนื้อหยาบมักปรากฏเม็ดกรวดปะปนอยู่ในเนื้อพระ เป็นพระเนื้อแกร่ง สีที่พบมักจะเป็นสีอิฐ สีนวลๆ และสีดำซึ่งเป็นสีที่พบน้อยกว่าสีอื่นๆ

พระกรุวัดสำปะซิว ที่พบเห็นกันมากหน่อย ก็คือ พิมพ์ซุ้มนครโกษา ลักษณะคล้ายๆ กับพระซุ้มนครโกษาของลพบุรี สันนิษฐานว่าคงสร้างล้อแบบศิลปะลพบุรี ส่วนอีกพิมพ์หนึ่งที่นิยมก็คือพิมพ์ท่ามะปรางพุทธลักษณะก็คล้ายกับพระท่ามะปราง ของทางจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และกำแพงเพชรแต่จะมีพุทธลักษณะต้อๆ กว่าของกรุอื่นๆ และส่วนมากมักจะมีปีกกว้างออกมา ส่วนพิมพ์ซุ้มปรางค์และพิมพ์นารายณ์ทรงปืนก็สร้างล้อศิลปะลพบุรีเช่นกัน พิจารณาศิลปะโดยรวมของพระกรุนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในตอนปลายสมัยสุโขทัยต่ออยุธยาตอนต้น

ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นพระกรุนี้มากนัก นับวันค่อนข้างจะหายากพอสมควรครับ พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพัน สนนราคาก็ยังไม่สูงนัก แต่ก็ไม่ค่อยพบเห็นกันนักโดยเฉพาะพิมพ์ท่ามะปราง ราคาก็จะสูงกว่าพิมพ์อื่นๆ หน่อย พระพิมพ์นี้ยังพบอยู่ที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรีด้วยเช่นกัน แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก พระของกรุวัดพระศรีฯ ส่วนมากจะพบเป็นพระเนื้อดินละเอียดกว่าของกรุ วัดสำปะซิว การเล่นหาก็จะมีค่านิยมสูงกว่าของกรุวัดสำปะซิว พระท่ามะปรางกรุวัด สำปะซิวก็หาพระแท้ๆ ยากพอสมควร ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้วเช่นกัน เพราะเป็นพระนิยมชนิดหนึ่งของสุพรรณฯ

ในวันนี้ผมนำรูปพระท่ามะปรางของกรุวัดสำปะซิว จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมด้วยครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #150 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2563 14:57:47 »


เหรียญนาคปรกมหามงคล ทองหนึ่ง

"วัดบ้านประปุนราษฎร์บำรุง" ต.หัวเสือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ เป็นวัดในความอุปถัมภ์ของสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธัมมธโช) วัดไตรมิตรวิทยาราม

วัดดังกล่าวมีพระพุทธรูปคือ หลวงพ่อแสนล้าน พระพุทธรูปโบราณอายุ 500 กว่าปี ประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญให้สักการบูชา

ความเป็นมาของหลวงพ่อแสนล้านเริ่มจาก พระยาคูทองม่วน ชาวลาว ออกแสวงบุญจาริกปฏิบัติธรรมในละแวกเขตลาว ไทย พม่า ได้พบเจ้านครรัฐในสมัยโบราณของประเทศลาว และรับถวายพระพุทธรูปโบราณ 2 องค์คือ พระแสนกับพระล้าน ด้วยความศรัทธา

ต่อมา พระยาคูทองม่วนมอบหลวงพ่อพระแสนและหลวงพ่อพระล้าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาแบบพระพุทธสิหิงค์จำลองให้กับพระอาจารย์ชัยยศ ชยสาโร (หงส์ยนต์) ที่เมืองอัตตะปือ

ครั้นพระยาคูทองม่วนดับขันธ์ธาตุ พระอาจารย์ชัยยศจึงนำพระพุทธรูปทั้งสองข้ามแม่น้ำโขง สักการบูชาที่กุฏิของท่าน ที่วัดศรีบุญเรือง ซ.รามคำแหง 107 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ เป็นระยะเวลา 6 ปี ท่านอาพาธ ก่อนมรณภาพท่านมอบหลวงพ่อพระแสนกับหลวงพ่อพระล้านให้พระอาจารย์แป๊ป ศิษย์ก้นกุฏิและผู้ติดตามธุดงค์ตามพระอาจารย์ยาคูทองม่วนและพระอาจารย์ชัยยศ

หลังพระอาจารย์แป๊ปมอบพระพุทธรูปโบราณทั้ง 2 องค์นี้ให้กับวัดบ้านประปุนราษฎร์บำรุง ซึ่งเป็นภูมิลำเนาบ้านเกิดของท่าน ถวายเป็นพุทธบูชาสืบไป

นอกจากนี้ วัดบ้านประปุนราษฎร์บำรุงกำลังก่อสร้างอุโบสถ ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างประมาณร้อยละ 70

จึงขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพบริจาคทรัพย์ครั้งนี้ จะได้รับวัตถุมงคล "เหรียญนาคปรก มหามงคล ทองหนึ่ง"

ทั้งนี้ เหรียญดังกล่าวได้รับเมตตาจากสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธัมมธโช) ประกอบพิธีพุทธาภิเษกมาหลายวาระ สมทบทุนสร้างอุโบสถครั้งนี้

ประกอบด้วย เหรียญทองคำ เหรียญเงิน เหรียญนวโลหะ และเหรียญทองแดง มอบให้เป็นที่ระลึก

เหรียญนาคปรก มหามงคล ทองหนึ่ง ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ ห่วงในตัว

ด้านหน้าเหรียญ เป็นพระพุทธมหานวนาคปฏิมากร ตรีโลกเชษฐ์สิทธารถ (พระนาคปรก) ล้อมด้วยอักขระขอม ด้านล่างองค์พระเขียนคำว่า มหามงคล

ด้านหลังเหรียญ เป็นพระนารายณ์ ทรงครุฑประทับพระราหู ด้านล่างเหรียญเขียนคำว่า ทองหนึ่ง บรรทัดต่อมาเขียน คำว่า พระพรหมมังคลาจารย์ เจ้าคุณธงชัย พ.ศ.2560

กล่าวได้ว่า เหรียญนาคปรก มหามงคล ทองหนึ่ง ออกแบบสร้างตามหลักโหราศาสตร์เพื่อแก้ไขอำนาจร้ายแห่งดวงดาว คือ พระราหูและพระเสาร์

สอบถามที่พระอธิการสาคร เจ้าอาวาสวัดประปุนราษฎร์บำรุง โทร.08-7021-3467, 08-1932-8067
  ข่าวสดออนไลน์  



พระร่วงกรุวัดกลาง

ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐมเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ เท่าที่มีการขุดพบโบราณสถานต่างๆ ที่มีศิลปะทวารวดี และเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดี มีการขุดพบสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปหินทรายอยู่หลายองค์ นอกจากนั้นพระเครื่องที่ขุดพบที่วัดกลาง ก็คือพระร่วงกรุวัดกลาง พระร่วงกรุนี้ปัจจุบันแทบไม่ค่อยจะมีพบเห็นกันนัก เนื่องจากจำนวนพระที่พบมีน้อยมาก พระที่ขุดขึ้นมาจะชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากจะพบพระร่วงยืนแล้วก็ยังพบพระร่วงนั่งข้างรัศมีอีกพิมพ์หนึ่งด้วย

พระร่วงกรุวัดกลางถูกขุดพบที่เนินดินร้างปรักหักพังในปี พ.ศ.2496 ในการขุดครั้งนั้นมีการพบพระพุทธรูปและพระเครื่อง ในส่วนของพระเครื่องที่พบเป็นพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง แต่ก็มีจำนวนพระที่สมบูรณ์ไม่มากนัก ประมาณร้อยกว่าองค์เท่านั้น พุทธลักษณะเป็นศิลปะแบบทวารวดียุคปลาย พระร่วงยืนเป็นแบบพระพุทธรูปที่ไม่ทรงเครื่อง พระศกแบบผมหวี ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงแนบกับลำพระองค์ ห่มจีวรแบบห่มคลุม ที่เอวจะเห็นขอบสบงนูนเด่นชัดเจน การตัดขอบตาม ลำตัวชิดองค์คือเป็นแบบไม่มีปีก ส่วนพระร่วงนั่ง เป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐาน บัวตุ่ม ปีกด้านข้างจะมีเส้นรัศมีเป็นซุ้มโดยรอบ ด้านหลังของพระทั้ง 2 แบบเป็นแบบหลังแอ่งธรรมดา

พระทั้ง 2 แบบจะเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง มีไขขาวคลุมอยู่ด้านนอกเกือบทั้งองค์ พอล้างไขขาวออกจะปรากฏผิวสนิมแดงเข้ม ออกสีน้ำตาลเข้มอมม่วงสวยงาม มีการพบพระร่วงแบบวัดกลางที่แถวบริเวณเจดีย์เก่าใกล้ๆ กับพระประโทนอีกครั้ง แต่ก็ไม่มากนักและสนิมก็สู้ของวัดกลางไม่ได้ ถ้าเป็นของวัดกลางจะมีสนิมที่สวยเข้มจัด ในเรื่องพุทธคุณว่ากันว่าเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด

ปัจจุบันหายากมากไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย ส่วนของปลอมเลียนแบบก็มีอยู่พอสมควร แต่ทำสนิมได้ไม่เหมือนสังเกตดูดีๆ ก็พอจะแยกออกได้ไม่ยากนัก สนนราคาก็สูงพอสมควรเพราะเป็นพระที่หาแท้ๆ ยากมีจำนวนน้อย พระหลายๆ ชนิดที่หายากมากๆ ต่อมาก็กลายเป็นตำนานไป เนื่องจากไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย ถ้าไม่เอามาเขียนลงรูปไว้ต่อไปก็คงไม่มีใครพูดถึงและลืมเลือนกันไป ยิ่งในปัจจุบันก็จะนิยมพระเกจิอาจารย์กันมากหน่อย พระกรุพระเก่าก็แทบจะลืมๆ กันไปหมด

ในวันนี้ผมจึงนำพระเก่าๆ มาแนะนำกันไว้นะครับ และนำรูปพระร่วงยืน และพระร่วงนั่งกรุวัดกลางนครปฐม จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระสมเด็จฯ แท้ มีมูลค่ารองรับ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัจจุบันก็มีวงสนทนากันว่าพระแบบนี้แท้แบบนั้นแท้ โดยเฉพาะพระสมเด็จฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้ เช่น พระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เนื่องจากพระสมเด็จฯ นั้นมีมูลค่าสูง เป็นที่นิยมของคนส่วนมาก ต่างฝ่ายต่างก็อ้างข้อมูลของตนเองหลักฐานอ้างอิง เพื่อสนับสนุนว่าพระแบบที่ตนเองคิดนั้นเป็นพระแท้ถูกต้อง แล้วจะตัดสินว่าแบบใดถูกต้องก็เป็นปัญหาที่เห็นเขาถกเถียงกัน

ครับเรื่องพระสมเด็จฯ นั้นใครๆ ก็อยากให้พระที่ตัวเองถือครองนั้นเป็นพระแท้ ที่เห็นส่วนใหญ่ก็มาจากมีมูลค่าสูงมาก สนนราคาในตลาดพระเครื่องถ้าพระไม่หักไม่สึกมากจนเกินไป ทั้งสองวัดเห็นเซียนเขารับซื้อเข้าไม่ต่ำกว่าล้านบาทนะครับ แต่จะกี่ล้านก็ว่ากันไปตามพิมพ์และความสวยสมบูรณ์ ก็อย่างที่เราๆ เคยได้ยินนั้นบางองค์มูลค่าหลายๆ ล้านกันเลยทีเดียว เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ไม่ยากว่าขายได้จริง ผมว่าสมัยนี้ใครๆ ก็รู้นะครับ ว่าพระสมเด็จฯ แท้ๆ นั้นมีมูลค่าสูง แต่ก็มีพระรูปแบบพระสมเด็จฯ อีกไม่ใช่น้อย และมีมากกว่าพระที่มูลค่ารองรับมากมายก่ายกองที่เขาไม่รับซื้อ ซึ่งในตลาดสื่อกลางเขาอาจจะบอกว่าไม่ชอบ ไม่ถูกพิมพ์ หรืออะไรก็ตามแต่ที่จะปฏิเสธที่จะซื้อเข้า ก็อาจจะเป็นว่าพระของเราไม่ถูกต้องตามที่เขานิยมแบบมีมูลค่ารองรับก็เท่านั้น ในส่วนที่เราคิดว่าแท้ก็แท้ไปครับ เพียงเขาไม่รับเช่าหาก็เท่านั้น

เรื่องพระแท้ไม่แท้ เท่าที่เห็นถกเถียงมีปัญหากัน ส่วนใหญ่ก็เนื่องจากเรื่องที่จะขายมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องแทบทั้งสิ้น ถ้าไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องก็ไม่น่าจะต้องมาทะเลาะเบาะแว้งกัน เพื่อนผมคนหนึ่งมีพระสมเด็จฯ ที่ได้รับตกทอดมาจากปู่ของเขา และเขาก็เชื่อมั่นว่าเป็นพระแท้ วันหนึ่งเขาไปเที่ยวในสนามพระเครื่องกับเพื่อนที่ชอบพระเครื่อง ก็มีพวกผีสนาม(นายหน้าหรือหน้าม้า) เข้ามาสอบถามว่า พี่มีพระอะไรปล่อยไหม เขาก็นึกสนุก เอาพระสมเด็จฯ ที่ห้อยคออยู่ออกมาให้ดู หน้าม้าก็พาไปที่ร้านรับเช่าพระสมเด็จฯ ปรากฏว่าเซียนดูแล้วก็คืนพระมาให้โดยไม่ได้ถามอะไร เพื่อนที่ไปด้วยชอบเล่นพระก็คุยกับ คนที่มีพระสมเด็จฯ ว่า "สงสัยจะไม่แท้" เพื่อนคนที่เป็นเจ้าของพระ ก็ไม่ได้ว่าอะไร ต่อมาได้มีโอกาสเจอกันกับผม เจ้าเพื่อนอีกคนที่ไปสนามพระในวันนั้นด้วยเห็นผมชอบเล่นพระเหมือนกันก็เลยเล่าเรื่องวันนั้นให้ผมฟัง แล้วถามผมว่ามีความเห็นเป็นอย่างไร พร้อมกับให้เพื่อนอีกคนเอาพระสมเด็จฯ องค์นั้นให้ผมดู ผมก็เลยบอกกับพวกเขาว่า ก็คงไม่แท้นะ เพราะถ้าแท้ตามแบบที่เขาเล่นหากันมีมูลค่ารองรับ เขาก็คงต้องขอซื้อถามราคาและต่อรองไปแล้ว เพื่อนคนที่เป็นเจ้าของพระก็ไม่ว่าอะไร แล้วเขาก็เล่าให้ฟังว่า เป็นพระของปู่เขาตกทอดมาก็ห้อยไว้ตามเดิม ก็ไม่เห็นถกเถียงอะไรกันเลย เพราะเขาเองก็ไม่เคยคิดที่จะขาย ทุกวันนี้เขาก็ห้อยของเขาอยู่ตลอด

ครับเรื่องพระที่ไม่มีมูลค่ารองรับนั้นก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ถ้าไม่พยายามที่จะให้คนยอมรับและให้มีมูลค่ารองรับ ถ้าเราคิดว่าแท้ก็แท้อยู่ของเรามันก็จบ แต่ถ้าคิดจะขายหรือให้สังคมยอมรับให้มีมูลค่าก็จะเกิดปัญหาทันที เพราะอะไรหรือผลประโยชน์ไงครับ ถ้าไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องก็ไม่มีปัญหาจริงไหมครับ ทองถ้าไปขายร้านทองไม่ได้เขาไม่ซื้อ ก็จบจะไปว่าเขาไม่ซื้อได้ด้วยหรือครับก็เขาไม่ซื้อก็ต้องมาคิดดูว่าทองที่เรามีนั้นไม่ตรงมาตรฐานที่เขาซื้อหากันหรือเปล่า? แต่ถ้าเราคิดว่าทองของเรานั้นแท้แต่ร้านทองไม่รับซื้อ เราก็ใส่ไว้เองเท่านั้นจบไม่มีปัญหาอะไรจริงไหมครับ ส่วนมากที่มีปัญหาก็เพราะต้องการให้เขาซื้อนั่นแหละ ทำอย่างไรเขาก็ไม่ซื้อไปที่ไหนก็ไม่มีใครซื้อ จึงโมโหโกรธา นู่นนี่นั่นตามมา ถ้าไม่คิดเรื่องผลประโยชน์ปัญหาก็ไม่เกิดจริงไหมครับ

ดังนั้นก็ง่ายๆ ครับ เล่นหาสะสมพระเครื่องแบบที่มีมูลค่ารองรับไปที่ไหนในสังคมพระเครื่องก็มีคนรับซื้อ คือมีมูลค่ารองรับแบบมีมาตรฐานมูลค่า เรื่องนี้ผมว่าตัดสินง่ายๆ นะครับ เมื่อนำเงินของเราไปแลกกับพระเครื่องที่มีมูลค่าสูงก็ควรที่จะมีมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับในสังคมพระเครื่องนะครับ

วันนี้เรามาดูพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์ที่มีเส้นแซมใต้ฐาน องค์ที่แท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับสูงมากอีกด้วยครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระ 25 พุทธศตวรรษ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเครื่องที่เป็นของดีราคาถูก มีให้เช่าหาไม่ยากนัก คือพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2500 เพื่อจัดหาทุนในการซื้อที่ดินและสร้างพุทธสถาน "พุทธมณฑล" ในโอกาสฉลองครบกึ่งพุทธกาล ในการนี้ทางการจึงสร้างพระเครื่องขึ้นเพื่อจำหน่ายหาทุน โดยให้ข้าราชการและประชาชนเช่าเป็นที่ระลึก

พระ 25 พุทธศตวรรษ เป็นพระเครื่องที่มีพิธีการสร้างและพุทธาภิเษกที่ดีมากๆ ถือว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่เคยมีมา พระที่สร้างมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน และเนื้อทองคำ เฉพาะพระชนิดเนื้อทองคำประมาณ 2,500 องค์ เฉพาะพระเนื้อทองคำจะต้องจองล่วงหน้าเท่านั้น พระส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา เท่าที่ทราบจำนวนการสร้างชนิดละ 250,000 กว่าองค์ เอาคร่าวๆ นะครับ และส่วนพระเนื้อดินเผา เนื้อชินได้จัดส่งไปตามจังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้เช่าหาโดยทั่วถึง

ต่อมาเมื่อการสร้างพุทธมณฑลเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ทางสำนักงานพุทธมณฑลก็ได้เรียกพระเครื่องที่ยังเหลือตกค้างอยู่ตามจังหวัดต่างๆ กลับมาเก็บรักษาที่สำนักงานพุทธมณฑล ซึ่งก็จะมีแต่พระเนื้อดินเผาและเนื้อชินเท่านั้น ซึ่งก็มีเหลือตกค้างอยู่มากมายและทางสำนักงานก็เปิดให้ประชาชนโดยทั่วไปเช่าหาบูชาได้ ในช่วงแรกๆ ผมเองก็ไปเช่าเก็บไว้เช่นกัน ช่วงนั้นพระยังเก็บอยู่ในตู้เหล็กเป็นลังๆ อยู่เลย ผมก็มาเปรียบเทียบกับพระที่คุณพ่อผมเช่าไว้ในช่วงปี พ.ศ.2500 ส่องดูก็เหมือนกันทุกอย่าง ทั้งเนื้อและพิมพ์พระ ทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน

ตอนหลังๆ นี้เขาเล่นหาแยกแม่พิมพ์ ออกมาเยอะมาก ซึ่งก็เป็นธรรมดาว่าพระที่สร้างจำนวนเยอะขนาดนั้นก็ต้องมีแม่พิมพ์เยอะมาก แต่โดยรวมก็จะเหมือนๆ กัน สันนิษฐานว่าคงจะใช้วิธีการถอดพิมพ์จากแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน แต่ก็จะมีผิดเพี้ยนกันบ้างเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ส่วนเนื้อหาทั้ง ดินเผาและเนื้อชินก็จะเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ถ้าเราใช้หลักสังเกตจากร่องรอยการผลิตนั้นก็จะเหมือนกันหมด

เรื่องของพิมพ์นักเล่นหาเขาก็จะแยกกันละเอียดหน่อย ซึ่งพระเนื้อชินพิมพ์ที่มีเข็มใต้ฐานก็จะมีราคาสูงกว่าเพื่อนหน่อย ก็ว่ากันไปตามเรื่องของราคาการเล่นหา เนื่องจากบล็อกมีเข็มจะเป็นบล็อกแม่พิมพ์เดียวกับพระเนื้อทองคำ ส่วนพิมพ์อื่นๆ ก็แท้เหมือนกัน เพียงแต่ราคาค่านิยมเป็นรองหน่อยเท่านั้น ในส่วนของเนื้อ เนื้อทองคำก็แพงกว่าเนื้ออื่นๆ ทั้งหมด เพราะจำนวนการสร้างมีน้อยกว่ามาก หายากกว่า เนื้อชินก็จะมีราคาสูงกว่าพระเนื้อดินเผาเล็กน้อย แต่สำหรับผมนั้นพุทธคุณผมว่าเหมือนกันหมด

มีเพื่อนผมคนหนึ่งในสมัยนั้นถูกส่งไปประจำอยู่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เขาถามผมว่าถ้าจะหาพระเครื่องห้อยคอองค์เดียวที่ราคาไม่สูงนักควรจะห้อยพระอะไร ผมก็เลยแนะนำให้ห้อยพระ 25 พุทธศตวรรษ เขาก็ถามผมว่าทำไม ผมก็บอกว่าเป็นพระที่มีพิธีสร้างดีมากหาไม่ยากราคาถูก และผมเคยเห็นประสบการณ์มาด้วยตนเอง เขาก็ให้เล่าให้ฟัง พระ 25 พุทธศตวรรษนั้นมีประสบการณ์มานมนานแล้วมากมาย เพียงแต่ว่าพระมีจำนวนมากและยังหาได้ง่าย จึงมีราคาไม่แพงนัก

ผมไม่กล่าวถึงพระเนื้อทองคำนะครับ เอาแค่พระเนื้อดินเผา และพระเนื้อชินเท่านั้น ในส่วนตัวผมนั้นในสมัยสงครามเวียดนาม ผมก็ได้เคยไปดูเขาทดลองยิงพระเครื่องกันหลายครั้ง เนื่องจากในสมัยนั้นมีการประกาศรับเช่าพระเครื่องที่ยิงไม่ออก มีกติกาว่า ต้องทดลองยิง 3 นัด ถ้าไม่ออกทั้ง 3 นัดก็เช่ากันไป มีสถานที่ทดสอบอยู่หลายแห่ง มีคนนำพระไปทดลองมากมาย เพราะเป็นพระอะไรก็ได้ ให้ราคาสูง ผมก็ไปดูกับเขาเหมือนกัน ก็เคยเห็นพระ 25 พุทธศตวรรษนี่แหละยิงไม่ออก

ต่อมาก็เล่าให้เพื่อนฟัง บางคนไม่เชื่อ พอดีเพื่อนผมคนหนึ่งห้อยพระ 25 พุทธศตวรรษอยู่พอดี และเพื่อนๆ ผมกลุ่มนี้ก็ชอบทดลองยิงพระเครื่องกันเหมือนกัน (ในสมัยยุคสงครามเวียดนามนะครับ) ผมจึงขอยืมพระที่เพื่อนผมห้อยคอมาทดลองยิง ในสมัยนั้นผมเองก็ออกจะห่ามๆ อยู่หน่อย โดยผมเป็นคนยิงเอง และปรากฏว่ายิงไม่ออก นี่ก็เป็นเรื่องที่ผมเองประสบมากับตัวเอง ก็เล่าให้เพื่อนที่ถูกส่งไปเป็นสารวัตรที่ชายแดนใต้ฟังและเขาก็ห้อยพระ 25 พุทธศตวรรษองค์เดียวอยู่จนเกษียณที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ครับ

ที่ผมเล่ามาไม่ได้จะมาปั่นราคาพระ 25 พุทธศตวรรษนะครับ เพียงเล่าสู่กันฟังว่าของดีราคาถูกก็ยังพอมีให้เช่าหามาห้อยคอ ราคาปัจจุบันทั่วๆ ไป ทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชิน ก็ประมาณองค์ละพันกว่าบาทบวกลบครับ และวันนี้ก็ได้นำรูปพระ 25 พุทธศตวรรษเนื้อชินมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุพรรณฯ มีเหรียญหล่อรุ่นเก่าที่มีพุทธคุณสูง แต่โดยส่วนมากจะรู้จักกันแต่ในท้องถิ่น คือเหรียญหล่อหลวงพ่อปลื้มวัดพร้าว ซึ่งปัจจุบันก็หายากมาก วันนี้ผมจึงได้นำเรื่องราวประวัติและพุทธคุณของเหรียญนี้มาเล่าสู่กันฟังครับ

วัดพร้าว ตั้งอยู่ที่ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เป็นวัดเก่าแก่ไม่ทราบประวัติผู้สร้าง สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา ยังมีใบเสมาและพุทธคุณรูปหินทรายศิลปะอยุธยาอยู่หลายองค์ มีนิทานเก่าแก่เล่ากันว่า บริเวณวัดแห่งนี้มีต้นมะพร้าวอยู่ต้นหนึ่ง ออกลูกมาเป็นแก้วอยู่ลูกหนึ่ง ใครเห็นก็อยากได้ แต่ก็เป็นที่หวงห้าม ห้ามใครเก็บ ต่างก็เฝ้าระวังกัน

อยู่มาวันหนึ่งลูกมะพร้าวแก้วนั้นหล่นลงมาแล้วจมหายไปในดิน ผู้คนต่างเข้าไปขุดหาจนบริเวณนั้นลึกลงไปและกว้างเป็นสระน้ำจนทุกวันนี้ แต่ก็ไม่มีใครพบลูกมะพร้าวแก้วเลย สระน้ำแห่งนี้ไม่เคยที่จะแห้งแม้จะเป็นในฤดูแล้งก็ตาม และกล่าวกันว่าชื่อของวัดก็เนื่องมาจากมะพร้าวแก้วลูกนั้นซึ่งเป็นเรื่องนิยายปรัมปราที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อๆ กันมาครับ

หลวงพ่อปลื้มเกิดเมื่อปี พ.ศ.2389 ที่บ้านตำบลโพธิ์พระยา ใกล้กับประตูน้ำโพธิ์พระยาปัจจุบัน โยมบิดาชื่อคุ้ม หลวงพ่อปลื้มอุปสมบทเมื่ออายุได้ 22 ปี พ.ศ.2411 ที่วัดพร้าว โดยมีหลวงพ่อม่วงเป็น พระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อปลื้มเป็นคนใฝ่เรียนและมีความจำดี มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ท่านมีเมตตาสูงทั้งกับญาติโยมและพระภิกษุสามเณร ใครนิมนต์ไปไหนท่านไม่เคยขัด เมื่อตอนที่ท่านมีอายุได้ 80 ปี พ.ศ.2469 ญาติโยมและลูกศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงพ่อเพื่อสร้างพระรูปเหมือนของท่านเท่ากับองค์จริง หลวงพ่อก็ได้อนุญาต และในการนี้จึงได้สร้างเหรียญหล่อรูปท่านด้วย เป็นเหรียญหล่อทรงเสมา หลวงพ่อปลื้ม ปลุกเสกเดี่ยวด้วยท่านเองเหรียญนี้มีประสบการณ์มากมาย ชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็หวงแหนกันมาก จนแทบไม่มีเล็ดลอดออกมาที่อื่นเลย

ขอยกเรื่องหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นมานานแล้ว มีชายคนหนึ่งเกิดไปรักชอบพอกับหญิงสาวบ้านเดียวกันและในที่สุดได้พากันหนี ฝ่ายผู้ใหญ่ของหญิงสาวก็เลยให้ฝ่ายชายมาขอขมากันตามธรรมเนียม ก็ตกลงกันได้ โดยฝ่ายชายได้พาผู้ใหญ่ฝ่ายของตนไปสู่ขอที่บ้านของเจ้าสาว พิธีการกำลังดำเนินไป ด้วยดี ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน มีเสียงดังแชะๆ ที่ด้านหลังของตัวฝ่ายชาย เป็นพี่ชายของฝ่ายหญิงยืนถือปืนอยู่ ก็เกิดการห้ามปรามและแย่งปืนกัน ในวันนั้นผู้ที่ถูกยิงห้อยเหรียญหล่อของหลวงพ่อปลื้มเพียงองค์เดียวเท่านั้น

อีกเรื่องคือโกลี่ หรือคุณศิริ ด่านตระกูล เจ้าของโรงเลื่อยท่าเสด็จ ขับรถไปประสบอุบัติเหตุ ตีลังกาตกลงไปในน้ำ ขณะที่รถเกิดอุบัติเหตุนั้น โกลี่เล่าว่า นึกในใจว่าคงไม่รอดแต่แวบหนึ่งในความคิดได้นึกถึงเหรีย หลวงพ่อปลื้ม ขณะที่ดิ้นขลุกขลักเพื่อไม่ให้จมน้ำ ก็รู้สึกว่าประตูรถได้เปิดออกพร้อมกับมีมือมาฉุดตัวออกมานอกรถที่จมน้ำอยู่ เมื่อโผล่พ้นน้ำก็ยังงงๆ อยู่ แต่จำได้ว่ามีคนมาเปิดประตูและฉุดขึ้นมา แต่บริเวณนั้นไม่มีใครอยู่เลยแม้แต่คนเดียว

ครับก็เป็นเรื่องที่ชาวบ้านในแถบนั้นรู้เรื่องกันเป็นอย่างดี เหรียญหล่อหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว มีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาด ปัจจุบันก็ค่อนข้างหายากครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อ รุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงพ่อปลื้ม มาให้ชมกันด้วยครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระรอดกรุวัดมหาวันแบบมีมูลค่ารองรับ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยก่อนถ้าพูดแค่พระรอดลำพูนก็จะรู้กันเองว่าหมายถึงพระรอดกรุวัดมหาวัน ซึ่งเป็นพระยอดนิยมมานมนานแล้วก่อนที่จะมีการจัดเป็นพระชุดสำหรับห้อยคอที่เรียกกันว่า "พระชุดเบญจภาคี" พระรอดกรุวัดมหาวันเป็นพระที่นิยมกันมาก ว่ากันว่าเด่นทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัย ในสมัยก่อนนั้นก็มีสนนราคารองรับสูงมานานแล้ว

ในสมัยก่อนตอนที่ผมเริ่มสนใจพระเครื่องใหม่ๆ ก็ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธคุณของพระรอดมามาก และอยากได้มาก แต่ราคาในสมัยนั้นก็สูงมากไม่มีปัญญาที่จะหาเงินมาเช่าได้ แต่ก็ยังพยายามศึกษาว่าพระแท้ๆ นั้นเป็นอย่างไร คิดในใจว่าถ้าเราดูเป็นก็อาจจะไปพบได้ในราคาไม่แพง ในสมัยแรกๆ ก็ได้ยินคนบอกว่าพระรอดมหาวันนั้นมีหลายพิมพ์ มีพิมพ์อะไรบ้างก็ยังไม่รู้พอรู้แค่รูปร่างคร่าวๆ เท่านั้น

ฟังจากคนนอกวงการพระเขาก็บอกว่าพระรอดแท้ๆ นั้นเนื้อแข็งกลายเป็นหิน เพราะเป็นพระมีอายุเก่าแก่มาเป็นพันปี จนเนื้อกลายเป็นหิน ผมก็เชื่อเขาไว้ก่อน เนื่องจากเขาเป็นผู้ใหญ่มีอายุมากแล้ว เขาเคยเอาพระรอดของเขามาให้ดูและทดลองนำมากรีดกับกระจก ก็กรีดเข้าเป็นรอย เราเองก็เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นจริง ก็หาพระรอดมากรีดกระจกดูก็กรีดเข้า จึงนึกว่าใช่แน่ เอาพระเข้าไปที่สนามพระวัดมหาธาตุให้เขาดู คำตอบก็คือปลอม ก็จึงต้องศึกษาสอบถามเซียนในสนามพระเพื่อจะได้ดูเป็นบ้าง ในสมัยนั้นผู้ใหญ่ในสนามพระคือเซียนพระเขาก็ดีมาก และพระก็ยังมีให้ดูเป็นครูได้ ท่านก็เอามาให้ส่องดู และแนะนำข้อมูลที่ถูกต้องให้ก็ศึกษาเรื่อยมา และหาเหตุผลก็ถึงบางอ้อ เนื้อพระเก่าๆ นั้นไม่ได้กลายเป็นหินไปได้ตามเหตุผล วัสดุที่จะกลายเป็นหินเป็นฟอสซิลได้นั้นต้องมีองค์ประกอบที่พอดีจริงๆ จึงจะกลายเป็นหินได้ ไม่ใช่อะไรก็จะกลายเป็นหินไปหมด เรื่องพระเก่าเนื้อจะแข็งและกลายเป็นหินในปัจจุบันก็ยังมีคนอ้างถึงอยู่ แม้กระทั่งพระสมเด็จฯ โดยอ้างเหตุผลประกอบด้วยก็ขำๆ ดีนะครับ

พระรอดกรุวัดมหาวัน เป็นพระเครื่องที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในพระชุดเบญจภาคี มีพิมพ์อยู่ด้วยกัน 5 พิมพ์คือ พระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์กลาง พระรอดพิมพ์เล็ก พระรอดพิมพ์ต้อ และพระรอดพิมพ์ตื้น ตามที่ผมบอกมานี้คือพระรอดกรุวัดมหาวันที่นิยมกันเป็นมาตรฐานและมีมูลค่ารองรับนะครับ และร่องรอยการผลิตก็ถูกต้องตามมาตรฐาน เนื้อของพระเขาก็มีกำหนดตามมาตรฐานของเขา และพระมีหลายสี สีเป็นแบบพระเนื้อดินเผามีตั้งแต่สีออกขาวนวลๆ สีเหลืองอ่อนแก่ต่างกันไป สีแดงแบบแดงอิฐ สีเทา สีออกเขียว มีทั้งแบบเขียวหินครก เขียวคราบเหลืองคราบแดง เป็นต้น พระเนื้อกลุ่มสีเขียวเนื้อจะแกร่งมากที่สุด ไม่ค่อยจะสึกหรอง่าย จึงเป็นเนื้อที่นิยมมากที่สุด

ขอย้อนกลับมาที่เอาพระเนื้อดินเผามากรีดกระจกทำไมกรีดเข้าเป็นรอย ก็กระเบื้องนั้นจะมีความแข็งของผิวใกล้เคียงกับกระจก จึงสามารถกรีดกระจกเป็นรอย ซึ่งกระเบื้องทั่วๆ ไปก็กรีดกระจกเป็นรอยทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นการพิสูจน์ว่าพระเก่าอะไรเลย หรือเก่าจนกลายเป็นหิน ตามหลักความเป็นจริงของธรรมชาติ ยิ่งเก่าผ่านอายุมามากก็ยิ่งจะเสื่อมลง ยิ่งพระสมเด็จที่ทำจากเนื้อปูนขาว ยิ่งจะมีความเสื่อมของปูนเป็นธรรมดา ปูนขาวยิ่งเก่ายิ่งจะกลายเป็นหินมีที่ไหน หลักวิทยาศาสตร์ก็เป็นไปไม่ได้ นิยายพวกนี้ไม่ตั้งอยู่บนหลักความเป็นจริงตรงไหนเลย ปัจจุบันก็ยังได้ยินนำมา กล่าวอ้างกันอีก

พระรอดกรุวัดมหาวันลำพูนเป็นพระที่นิยมมาก มีคนอยากได้มาก จึงมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่พระก็มีจำนวนเท่าเดิม ใครมีก็ไม่ค่อยจะนำออกมาให้เช่า ยิ่งพระสวยๆ ก็ยิ่งหายากมากขึ้น ราคาจึงสูงมากเป็นหลักล้านในปัจจุบัน เล่นหาสะสมก็ต้องศึกษาเสียก่อน และเล่นหาแบบที่เขานิยมกันและมูลค่ารองรับจะดีกว่าครับ อย่าเล่นพระด้วยหูฟังเขาโม้ สิ่งที่พิสูจน์ได้ง่ายๆ ก็คือมูลค่ารองรับ คือเอาไปขายในส่วนกลางแล้วมีคนถามซื้อต่อรองราคาก็แท้แน่ ถ้าไม่มีมูลค่าไปขายที่ไหนก็ไม่รับซื้อ แล้วจะว่าแท้อย่างไรครับ

วันนี้ผมนำรูปพระรอดกรุวัดมหาวัน ลำพูน พิมพ์ตื้น องค์สวยที่นิยมเป็นมาตรฐานมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ ถ้าพิมพ์ถูกต้องแบบนี้ เนื้อถูกต้องแบบนี้ มีมูลค่ารองรับ และถ้าสวยแบบนี้คงไม่ล้านเดียวนะครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่ผมนำเรื่องพระขุนแผนผงพรายกุมารมาพูดถึงในวันนี้ก็เนื่องจากมีผู้ที่สอบถามมาอยู่หลายคนว่า เขาเห็นในโซเชี่ยลมีเดีย (Social Media) เกี่ยวกับพระขุนแผนผงพรายกุมารสร้างในปี 2515 และมีหลักฐานเป็นเอกสารโชว์ด้วย ตกลงพระขุนแผนผงพรายกุมารสร้างในปีไหนแน่?

ครับก็เลยนำมาเป็นประเด็นที่จะคุยกัน ความจริงเรื่องนี้มีประเด็นถกเถียงกันมานานพอสมควร และนำเรื่องมาเข้าประชุมกันที่สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย โดยมีลูกศิษย์ตัวผู้ที่สร้างพระขุนแผนผงพรายกุมารและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ชำนาญด้านพระเครื่องหลวงปู่ทิมเข้าร่วมประชุมด้วย ก็มาเข้าประชุมเต็มห้องประชุมครับ ความจริงก็เชิญกลุ่ม 15 มาประชุมด้วยแต่ไม่มาครับ ผลก็ออกมาแน่ชัดยืนยันได้ว่า พระขุนแผนผงพรายกุมารนั้น สร้างในปลายปี พ.ศ.2516-2517 แน่นอนครับ ปัจจุบันบุคคลที่สร้างพระรุ่นนี้ถวายหลวงปู่ก็ยังมีชีวิตอยู่ครับ

เรื่องพระขุนแผนผงพรายกุมารที่เป็นเรื่องขึ้นมาเริ่มแรกก็เนื่องจากในช่วงนั้นมีผู้ให้เช่าหามา และจะนำส่งประกวดในงานประกวดพระ แต่กรรมการไม่รับ จึงเป็นเรื่องถกเถียงกัน ต่อมาจึงนำเรื่องมาเข้าที่ประชุมเพื่อหาข้อยุติ และได้เชิญบุคคลที่สร้างพระถวายมาเข้าประชุมเพื่อให้ข้อเท็จจริง ก็เป็นที่ชัดเจนและข้อยุติว่าพระขุนแผนผงพรายกุมารเริ่มสร้างในปลายปี พ.ศ.2516-2517 ความจริงเรื่องก็น่าจะจบ แต่ก็ไม่จบ เท่าที่ผมตามไปดูในโซเชี่ยล ก็พบว่ามีการบิดเบือนข้อความว่าทางองค์กรหรือกลุ่มก้อน "ว่าไม่มีพระที่สร้างในปี พ.ศ.2515" ที่ว่าไม่มีนั้นเขาหมายถึงเฉพาะพระพิมพ์ขุนแผนผงพรายกุมารเท่านั้น เพราะคนที่สร้างถวายก็ยังอยู่และยืนยันได้ คนที่รู้อยู่ในเหตุการณ์ก็ยังอยู่อีกหลายคน

ความจริงแล้วสังคมเล่นหาพระเครื่องของหลวงปู่ทิม และรู้ประวัติกันดีว่า เฉพาะพระเครื่องนั้นหลวงปู่ทิมสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 แล้ว ส่วนเครื่องรางของขลังประเภทตะกรุดนั้นสร้างมาตั้งแต่ก่อนพ.ศ.2500 แล้ว และเขาก็เล่นหากันสนนราคาสูงด้วย คนที่คิดปั่นให้เป็นเรื่องนั้น ผมเองก็ไม่รู้วัตถุประสงค์ของเขานะครับ

ครับพระเครื่องของหลวงปู่ทิม ปี พ.ศ.2503 เป็นพระเครื่องเนื้อผงโสฬสมหาพรหม มีอยู่หลายพิมพ์ ปี พ.ศ.2505 พระชุดนาคปรก สัตนาเค ปี พ.ศ.2508 สร้างเหรียญรุ่นแรก ปีพ.ศ.2515 สร้างพระเนื้อผงพรายกุมาร เป็นพิมพ์พระรูปเหมือนพิมพ์หัวโต พิมพ์พลายเดี่ยว พิมพ์พลายคู่ (พลายเพชรพลายบัว) พระสีวลีปี 2516 สร้างรูปเหมือน พิมพ์หัวเล็ก และพิมพ์ซุ้มคู่ และพระปิดตาพิมพ์บัวผุด พระทั้งหมดนี้นิยมเล่นหาเป็นมาตรฐานมีมูลค่ารองรับสูงนะครับ ไม่ใช่ว่าทางเซียนหรือสังคมเขาไม่เล่นและว่าไม่มีนะครับ

เอาล่ะ มาพูดกันถึงพิมพ์พระขุนแผนผงพรายกุมาร เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2516 ปลายๆ ปี และสร้างต่อมาจนถึงปี พ.ศ.2517 มีทั้งพระพิมพ์ใหญ่และพระพิมพ์เล็ก โดยแยกออกเป็นบล็อกแรกหรือบล็อกหนึ่งและบล็อกสอง ที่เล่นหาเป็นมาตรฐานสังคมยอมรับ และมีมูลค่ารองรับค่อนข้างสูงครับ ในส่วนของพระขุนแผนผงพรายกุมาร ผู้ที่สร้างก็ยังมีชีวิตอยู่ยืนยันได้ครับ

ครับพระเครื่องรุ่นอื่นๆ ก็ยังมีอีกมากมายที่หลวงปู่ได้ปลุกเสกไว้ครับ ตัวผมเองก็ยังเช่าพระขุนแผนผงพรายกุมารและพระเครื่องอื่นๆ ของหลวงปู่ทิมตอนที่ออกใหม่ไว้หลายอย่างครับ ก็เกิดทันและอยู่ในเหตุการณ์ครับ ก็มาเล่าเพื่อความถูกต้องให้ฟังกันนะครับ ส่วนจะเชื่อแบบไหนก็เลือกเชื่อได้เลยครับ ในส่วนตัวผมเชื่อแบบที่ผมเล่ามาครับ เพราะผมเช่าหาไว้ตอนที่พระออกใหม่ๆ เลยครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระผงพรายกุมารที่สร้างในปี พ.ศ.2515 พิมพ์พลายเดี่ยว และพระขุนแผนผงพรายกุมารปี พ.ศ.2516-2517 พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็กบล็อกแรกมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กรกฎาคม 2563 15:03:25 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #151 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2563 15:05:12 »





หลวงพ่อสุ่น วัดหนองปลาหมอ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องประวัติพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ลึกๆ ที่อยู่ในต่างจังหวัด บางครั้งบางทีก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้เลย จะมีเพียงจากการบอกเล่าสืบต่อกันมาจากลูกศิษย์ลูกหาของท่าน และชาวบ้านในแถบนั้นๆ เล่าบอกต่อให้ลูกหลานฟังเท่านั้น ซึ่งทำให้ประวัติของท่านค่อนข้างเลือนรางลงไปเรื่อยๆ จึงเป็นการน่าที่จะสืบค้น และบันทึกเอาไว้ เพื่อเป็นการสืบต่อมิให้ประวัติของท่านเลือนหายไป ครับในวันนี้ผมขอนำเอาประวัติของหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งท่านเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก มาบอกเล่าตามที่ได้สืบค้นมาให้อ่านกันคร่าวๆ ครับ

วัดบางปลาหมอ เป็นวัดเก่าแก่ สืบค้นไม่ได้ว่าสร้างมาตั้งแต่ครั้งใด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาตั้งแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำเต้า อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อวัดบางปลาหมอนี้คงได้มาตามชื่อของชุมชนในสมัยนั้น ซึ่งเมื่อสร้างวัดแล้วก็มักจะเรียกชื่อวัดตามชื่อของชุมชนนั้นๆ และชุมชนแห่งนี้ ตามห้วยหนองคลองบึงคงจะมีปลาหมอชุกชุม จนขึ้นชื่อและเป็นที่มาของชื่อชุมชน และในสมัยที่หลวงพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากชาวบ้านและมีผู้คนเลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงพ่อสุ่นมาก จะมีคนมาฟังเทศน์ และมาให้หลวงพ่อช่วยบำบัดรักษา โรคภัยไข้เจ็บอยู่เสมอ

ประวัติของหลวงพ่อสุ่น นั้นเลือนรางมาก มีแต่การเล่าต่อๆ กันมาอีกทีหนึ่ง ที่พอจะสันนิษฐานจากรูปถ่าย ปีพ.ศ.ที่ถ่ายไว้ และประมาณอายุของท่านในตอนที่ได้ถ่ายรูปนั้น ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่าหลวงพ่อสุ่นน่าจะเกิดในราวปี พ.ศ.2358 หลวงพ่อสุ่นอาจจะเป็นพระญาติของสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ฝ่ายเจ้าจอมมารดาก็อาจเป็นได้ สืบเนื่องจากพระราชนิพนธ์ "ประพาสต้น" ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2449 ของพระพุทธเจ้าหลวง กล่าวถึงว่า "วันที่ 5 เช้าโมงหนึ่ง น้ำลดสะพานเดินได้ ขึ้นไปถ่ายรูปในมณฑป ที่พูดเมื่อวานนี้ มีพระป่าเลไลยก์ และรูปเจ้าอธิการวัดบางปลาหมอ ที่เขาเรียกในคำจารึก แต่ว่าพระอาจารย์หมอ รูปร่างงาม ขนาดเท่าตัว ท่านอาจารย์คนนี้เป็นหมอรักษาบ้า ว่าเป็นพระญาติสมเด็จพระปวเรศ"

จากพระราชนิพนธ์นี้ทำให้ได้เค้าข้อมูลบางอย่าง ประการแรก ในปี พ.ศ.2449 นั้น พระพุทธเจ้าหลวงทรงนิพนธ์ไว้ว่า ได้ถ่ายรูป รูปเจ้าอธิการ จารึกว่าฯ แสดงว่าหลวงพ่อสุ่น มรณภาพแล้ว และที่ว่าเป็นพระญาติของสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ก็มาจากข้อมูลนี้ อีกทั้งรูปถ่ายของหลวงพ่อสุ่นนั้น ถ่ายคู่กับพัด ซึ่งมีจารึกไว้ที่พัดว่า เป็นที่ระลึกงานพระเมรุ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน (พระนามเดิม หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์) แสดงว่าหลวงพ่อสุ่นได้รับนิมนต์ในงานพระเมรุนั้นด้วยครับ จากหลักฐานที่ยังพอเหลืออยู่ก็ทำให้สันนิษฐานต่อได้ว่า หลวงพ่อสุ่นน่าจะมรณภาพในราวปี พ.ศ.2447 สิริอายุราว 89-90 ปี หลวงพ่อสุ่นเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสคันธ์ และหลวงพ่อเนียม วัดน้อย

จากคำบอกเล่าของชาวบ้านและหลวงพ่อฤๅษีลิงดำผู้เป็นศิษย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งได้รับการบอกเล่าต่อมาจากหลวงพ่อปาน ก็พอจะได้เค้าลางดังต่อไปนี้ หลวงพ่อสุ่นเป็นพระเกจิอาจารย์ที่แก่กล้าในด้านวิทยาคม และวิชารักษาคนป่วยไข้ มีผู้มาบวชกับหลวงพ่อสุ่นอยู่มาก และหลวงพ่อสุ่นก็เป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เมื่อหลวงพ่อปานมาบวชอยู่กับหลวงพ่อสุ่นแล้ว ท่านก็ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ กับหลวงพ่อสุ่น ซึ่งหลวงพ่อสุ่นก็ได้ถ่ายทอดวิทยาคมให้แก่หลวงพ่อปานจนหมดสิ้น หนึ่งในนั้นก็เป็นวิชารักษาคนเจ็บไข้ ซึ่งมีผู้คนเข้ามาให้หลวงพ่อสุ่นช่วยปัดเป่ามากแต่ละวัน เมื่อหลวงพ่อสุ่นเห็นว่าหลวงพ่อปานท่านพอที่จะรักษาคนป่วยได้แล้ว ท่านจึงให้หลวงพ่อปานรดน้ำมนต์ให้แก่คนไข้ หลวงพ่อปานก็เห็นว่าน้ำมนต์ในตุ่มเหลือน้อย หลวงพ่อปานก็กำลังจะไปตักน้ำเติมในตุ่มเพื่อทำน้ำมนต์ แต่หลวงพ่อสุ่นห้ามไว้ และให้หลวงพ่อปานรดน้ำมนต์เลย เมื่อหลวงพ่อปานรดน้ำมนต์ไปเรื่อยๆ ซึ่งมีผู้คนมาให้รดน้ำมนต์ประมาณ 50 คน แต่น้ำมนต์ในตุ่มกลับลดลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลังจากนั้นหลวงพ่อปานจึงถามหลวงพ่อสุ่นว่าทำไมน้ำมนต์ไม่ลดลงเลย หลวงพ่อสุ่นจึงบอกว่า "ฉันเอาใจตักแล้ว" จากนั้นหลวงพ่อสุ่นจึงได้สอนวิชาตักน้ำให้หลวงพ่อปาน

หลวงพ่อสุ่นเวลาที่จะรักษาคนไข้ท่านก็จะตรวจดูด้วยญาณก่อนเสมอ ว่าได้หรือไม่ ถ้าได้ท่านก็จะรักษาให้หายได้ทุกราย นอกจากคนที่ถึงฆาตแล้วจริงๆ เท่านั้น มีผู้คนทั้งไกลและใกล้จนถึงบางกอกทยอยเข้ามาให้หลวงพ่อสุ่นรักษาทุกๆ วันไม่ขาด และท่านก็เป็นที่รักเคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก ท่านจะสร้างสิ่งใดก็จะเข้ามาช่วยเหลือร่วมมือกันกระทำจนสำเร็จทุกเรื่อง หลวงพ่อสุ่นได้สร้างเสนาสนะ ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ วิหาร พระไสยาสน์ และองค์พระเจดีย์ วัดบางปลาหมอก็มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น ก่อนที่หลวงพ่อสุ่นจะมรณภาพ ท่านเคยบอกแก่หลวงพ่อปานว่าถ้าท่านสิ้นไปแล้ว ให้หลวงพ่อปานไปเรียนกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อยต่อ เนื่องจากท่านทั้งสองรูปนี้สนิทสนมกันมาก

วัตถุมงคลของหลวงพ่อสุ่นที่ท่านได้สร้างไว้ เท่าที่ทราบก็มีมีดหมอ ซึ่งมีน้อยหายากมากๆ ครับ และพระเครื่องเนื้อดินเผา บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ที่วัดบางปลาหมอ ในปี พ.ศ.2494 องค์พระเจดีย์แตกร้าว และมีพระเครื่องพิมพ์กลีบบัวไหลออกมา ชาวบ้านก็มาเก็บกันไว้บูชา หลังจากนั้นทางวัดก็ได้เข้ามาเก็บ และแจกจ่ายให้เช่าบูชาในภายหลัง เพื่อนำมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่อไป และในปี พ.ศ.2528 มีการรื้อวิหารพระไสยาสน์เพื่อสร้างขึ้นใหม่ก็ได้พบพระเครื่อง พิมพ์กลีบบัวฟันปลาอีกครั้งหนึ่ง แต่พบพระไม่มากนักครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูป มีดหมอของหลวงพ่อสุ่น และพระเครื่องพิมพ์กลีบบัว จากหนังสือ ตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยามมาให้ชมกันครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พระเกจิอาจารย์ที่ชาวราชบุรีเคารพนับถือมากอีกรูปหนึ่ง ท่านมีเมตตากรุณาแก่ชาวบ้าน ช่วยเหลือชาวบ้านที่มีทุกข์ร้อนป่วยไข้ท่านก็ช่วยรักษาช่วยเหลือให้ทุกราย

หลวงพ่อชุ่มเป็นชาวราชบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ.2422 โยมบิดาชื่อทุ้ม โยมมารดาชื่อลำไย เมื่ออายุได้ 9 ขวบ บิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงพ่อโต๊ะ วัดราชคาม พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร พออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดท่าสุวรรณ จากนั้นจึงได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดราชคาม และศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการพู่ และหลวงพ่อดำ วัดตาล หลวงพ่อชุ่มได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้พบกับพระเกจิอาจารย์ในป่า ได้ศึกษาวิชาและ พุทธาคมต่างๆ ครั้งหนึ่งได้ออกธุดงค์ไปจนถึงจังหวัดชัยนาท ได้ไปศึกษากับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ต่อมาหลวงพ่อชุ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดราชคาม ต่อจากพระอธิการพู่ที่มรณภาพในปี พ.ศ.2458 เมื่อหลวงพ่อชุ่มได้เป็นเจ้าอาวาสก็ได้พัฒนาวัดราชคามจนมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ โดยสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ รอยพระพุทธบาทจำลอง หอระฆัง ฌาปนสถาน ในด้านการศึกษาท่านได้สร้างโรงเรียนเพื่อเป็นที่ศึกษาสำหรับลูกหลานชาวบ้านในละแวกนั้น คือโรงเรียนประชาบาลชุ่มประชานุกูล การช่วยเหลือวัดใหม่ต้นกระทุ่ม สร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อชุ่มได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเจ้าคณะตำบลคุ้งน้ำวนตามลำดับ ในปี พ.ศ.2479 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน

ในปี พ.ศ.2484 หลวงพ่อชุ่มได้อนุญาตให้ศิษย์สร้างเหรียญสี่เหลี่ยม เป็นแผ่นอะลูมิเนียมสกรีนรูปท่าน เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่ร่วมบริจาคทรัพย์ช่วยสร้างพระอุโบสถ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม ปัจจุบันหายาก ต่อมาลูกศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตหลวงพ่อชุ่มสร้างเหรียญรุ่นแรกของวัดราชคามในปี พ.ศ.2486 ซึ่งชาวราชบุรีต่างหวงแหนกันมาก นอกจากนี้ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้อีกหลายอย่าง เช่น พระรูปเหมือน และเหรียญรุ่นสอง เป็นต้น

หลวงพ่อชุ่มมรณภาพเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 สิริอายุได้ 77 ปี พรรษาที่ 57

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของวัดราชคาม ปี พ.ศ.2486 มาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


3/7
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.105 Chrome 84.0.4147.105


ดูรายละเอียด
« ตอบ #152 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2563 16:22:32 »


พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์กัน ซึ่งพระพิมพ์ทรงเจดีย์ของวัดระฆังฯ ก็มีแม่พิมพ์อยู่หลายแม่พิมพ์ แต่แม่พิมพ์ที่เราพบเห็นกันอยู่บ่อยๆ หรือเห็นมากกว่าแม่พิมพ์อื่นๆ ก็คือแม่พิมพ์ที่นำมาพูดคุยกันในวันนี้ และเป็นการพูดคุยถึงร่องรอยการผลิตที่เป็นแบบมาตรฐานมีมูลค่ารองรับนะครับ

ตามรูปพระองค์ที่ 1 เป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์ที่มีเกศขยักเป็นตุ่มอยู่ด้านหนึ่ง ซึ่งพระองค์นี้เป็นที่ยอมรับกันในสังคมว่าเป็นองค์ที่มีความสวยงามมากและติดแม่พิมพ์สมบูรณ์มาก นอกจากนี้องค์พระไม่ได้สึกหรออะไรเลย จึงทำให้เห็นศิลปะแม่พิมพ์ได้ครบถ้วน ถือเป็นองค์ที่ใช้ศึกษาแม่พิมพ์ได้เป็นอย่างดี พระองค์นี้แต่เดิมเป็นพระที่ถูกลงรักไว้หนามาก ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนมือ จึงถูกนำมาให้ช่างลอกรักออก โดยการลอกรักแบบชั้นครูจึงทำให้มองเห็นรายละเอียดแม่พิมพ์ได้อย่างชัดเจนเกือบทุกส่วนสัด

เรามาดูที่องค์พระกันครับ เท่าที่เห็นตามรูป เราจะมองดูเหมือนกับว่าองค์พระจะเล็กกว่าอีกองค์หนึ่งที่ผมนำมาลงเปรียบเทียบกัน แต่ความจริงแล้วองค์พระทั้ง 2 องค์มีขนาดเท่ากัน และเป็นพระที่ออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน ทำไมจึงมองดูเหมือนกับว่าองค์พระองค์หนึ่งจะเล็กกว่า ความจริงคือ พระองค์ที่ 1 เป็นพระที่สมบูรณ์ไม่ได้สึกหรออะไรเลย องค์พระเมื่อยังไม่สึกลงไป ตาเราจะเห็นส่วนที่สูงที่สุดขององค์พระ ซึ่งจะมีรูปทรงที่ค่อยๆ เรียวสูงขึ้นมาจากด้านล่าง ส่วนบนก็จะค่อยๆ เล็กลงมากว่าส่วนที่ต่ำลงไป เมื่อมองจากรูปถ่ายซึ่งเขาจะถ่ายเป็นมุมตั้งฉากจากด้านบน จึงทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าองค์เล็กกว่า แต่ความจริงจะมีขนาดเท่าๆ กัน และเป็นแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน

ครับ ทีนี้เรามาดูร่องรอยการผลิตกันว่าเขาดูกันอย่างไร การเริ่มศึกษาพระเครื่องก็ควรจะศึกษาร่องรอยการผลิตจากแม่พิมพ์ก่อนเป็นอันดับแรก เวลาเราจะศึกษาแม่พิมพ์ก็หัดแบ่งองค์พระเป็น 2 ฝั่ง โดยแบ่งด้านซ้ายกับด้านขวา ลากเส้นจากบนตรงพระเกศผ่ากลางลงมาด้านล่าง วิธีนี้สามารถศึกษาด้วยตัวเองได้ แต่ต้องศึกษาจากพระแท้ตามมาตรฐานมูลค่ารองรับเท่านั้นนะครับ

หลังจากนั้นเราก็พิจารณาดูว่าด้านซ้ายกับด้านขวานั้นมีอะไรบ้างที่ไม่เหมือนกัน ไล่จากบนลงล่างไป เอาแบบคร่าวนะครับ ดูที่พระเกศ เราก็จะเห็นได้ว่าเกศด้านซ้ายมือเรานั้นจะเป็นเส้นตรงเรียบลงมาหาเศียร ส่วนที่ด้านขวามือเราจะมีขยักตรงกลางพระเกศป่องออกมานิดนึง แล้วลองดูเปรียบเทียบกับอีกองค์ก็จะเห็นเป็นเหมือนกัน ข้อนี้เป็นเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ครับ ถ้าเป็นแม่พิมพ์ตัวเดียวกันจะมีทุกองค์และจะมีความลับซ่อนอยู่ ถ้าได้ดูจากพระองค์จริงจึงจะเห็นครับ ใบหน้าหรือวงพระพักตร์ จะดูป้อมคางป้านกว่าพระพิมพ์ใหญ่ สังเกตดูดีจะเห็นเนินหูรางเลื่อนลงมาที่หน้าอก

ถ้าพระพิมพ์ทรงเจดีย์ที่ยังไม่สึกหรออะไรก็จะเห็นว่ามีเส้นสังฆาฏิ และชายจีวรสะบัดเข้าที่ใต้รักแร้ ในองค์ที่ติดชัดๆ แบบองค์ที่ 1 ส่วนองค์ที่ 2 จะมองไม่เห็นเนื่องจากองค์พระในส่วนนี้สึกลงไปแล้ว แต่ในส่วนที่ลึกลงไปก็ยังคงจะเห็นรายละเอียดอยู่ ในส่วนที่ลึกที่สุดก็จะยังเห็นร่องรอยของแม่พิมพ์ได้เพราะยังสึกลงไปไม่ถึง ในซอกแขนของพระแม่พิมพ์นี้ในส่วนที่ลึกที่สุดมีความลับซ่อนอยู่ และจะมีทุกองค์ เพียงแต่เขายังไม่เปิดเผยกันง่ายๆ เพราะพวกมือผีรอจะทำปลอมอยู่ครับ แต่ถ้าทำก็ไม่เหมือนหรอกครับ เพราะเป็นการจงใจทำขึ้นใหม่ ไม่ได้เกิดจากแม่พิมพ์อันเดิม

เอาล่ะมาดูที่ซอกแขนกัน ซอกแขนซ้ายและขวาสังเกตดูดีๆ จะมีรูปทรงไม่เหมือนกัน ต้องจดจำให้ดี ต่อมาก็ดูที่หน้าตักจะสังเกตเห็นว่าในองค์พระที่ติดแม่พิมพ์ชัดๆ และยังไม่สึกลงไปจะเห็นรายละเอียดของหน้าตัก เห็นขาขวาทับขาซ้ายชัดเจน มาดูองค์ที่ 2 หน้าตักจะไม่เห็นรายละเอียดของการวางซ้อนขา แต่ร่องรอยของขอบหน้าตักก็จะมีเส้นสายที่เหมือนกัน เส้นสายรอบหน้าตักจะโค้งเว้าขยักรูปทรงเดียวกันทั้ง 2 องค์ ฐานชั้นบนสุดด้านซ้ายขวาหัวฐานทั้ง 2 ด้านจะไม่เหมือนกัน

มาดูเปรียบเทียบกับอีกองค์ก็จะเห็นว่ามีรูปทรงเหมือนกันทั้ง 2 องค์ ฐานชั้นกลาง ให้ดูเปรียบเทียบซ้าย-ขวา แล้วมาดูกับอีกองค์ก็จะเป็นเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน ฐานชั้นล่าง หัวฐานทั้ง 2 ด้านเหมือนกันไหม แล้วดูเปรียบเทียบกับอีกองค์ก็จะเห็นว่า พระทั้ง 2 องค์มีลักษณะเหมือนกันทุกอย่าง ส่วนองค์ที่ 2 ที่ฐานชั้นล่างจะเห็นเป็นเส้นซ้อนนั้น เป็นการเขยื้อนจากการเอาออกจากแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์ ไม่เกี่ยวกับแม่พิมพ์ ซึ่งจะไม่มีให้เห็นในองค์อื่น กลับมาดูที่พระองค์ที่ 1 ดูที่เส้นซุ้มด้านซ้ายมือเรา ก็จะเห็นว่าเส้นซุ้มด้านซ้ายมือเราจะแป้วลงไป ก็เป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์เช่นกัน ไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกองค์และเป็นเฉพาะองค์เท่านั้น การศึกษาสังเกตร่องรอยการผลิตของแม่พิมพ์นั้นต้องดูเปรียบเทียบกันหลายๆ องค์ในแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน มีอะไรที่เหมือนกันบ้างในทุกองค์ อันนี้แหละเป็น

เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ที่เราควรศึกษาจดจำ และเป็นข้อพิสูจน์ว่าเป็นพระที่ออกมาจากแม่พิมพ์อันเดียวกันไหม รายละเอียดต่างๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง แต่ที่สำคัญที่สุดจะต้องหาแม่แบบองค์พระที่ของแท้ตามมาตรฐานสังคมที่มีมูลค่ารองรับมาศึกษาเปรียบเทียบกัน ก็จะรู้ได้ไม่ยาก ยิ่งมีผู้ให้คำปรึกษาด้วยก็จะรู้จริงได้เร็วขึ้น ทุกอย่างมีเหตุผลอธิบายทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องค่อยๆ ศึกษา และถ้ามีผู้ให้คำปรึกษาก็จะเข้าใจได้ไม่ยากครับ

ก็พูดคุยกันได้เพียงคร่าวๆ นะครับ เพราะเนื้อที่หน้ากระดาษคงไม่พอ รูปถ่ายก็อาจจะเล็กไปหน่อย ก็ลองหารูปเปรียบเทียบดูนะครับ ดูหลายๆ องค์ในแม่พิมพ์เดียวกันยิ่งดีครับ จะหาเหตุผลได้เองครับ ในส่วนของด้านข้างด้านหลัง และเนื้อหาของพระก็ยังมีอีกมากที่จะเป็นร่องรอยการผลิตที่สามารถเป็นเหตุผลประกอบในการพิจารณาแบบมาตรฐานมีมูลค่ารองรับครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์เดียวกัน ซึ่งพระทั้ง 2 องค์นี้เป็นพระที่มีมาตรฐานมูลค่ารองสูงมากทั้ง 2 องค์ มาให้ชมเปรียบเทียบกันเพื่อศึกษาร่องรอยการผลิต ลองศึกษาดูนะครับ
โดย แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์)



ระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระสมเด็จอีก ก็พอดีมีเพื่อนๆ ได้มาบอกว่าในโลกโซเชี่ยลมีการถกเถียงกันเป็นประเด็นมาก มีอยู่ 2 ฝ่าย

ฝ่ายหนึ่งก็บอกว่าพระของเขาแท้ อีกฝ่ายหนึ่งว่าปลอม ต่างก็อ้างเหตุผลของตัวเองมาสนับสนุน ผมก็เลยเข้าไปตามอ่านตามดูบ้าง ก็เห็นเขาถกเถียงกันมานานพอสมควร จึงนำมาเป็นเรื่องพูดคุยกัน

ครับเรื่องพระเครื่องก็มีอยู่ 2 ฝ่ายมานมนานแล้ว ซึ่งมีความคิดเห็นต่างกัน ฝ่ายหนึ่งมีการเล่นหาสะสมที่มีมูลค่ารองรับ ก็คือนำไปขายก็ขายได้ อีกฝ่ายหนึ่งเล่นหาสะสม ไม่เหมือนกัน

ที่สำคัญคือสังคมไม่ยอมรับ และนำไปขายก็ขายไม่ได้ จึงเกิดคำว่าเก๊-แท้เกิดขึ้น แท้ก็คือแบบที่สังคมยอมรับและมีมูลค่าราคา ส่วนเก๊ก็คือสังคมยังไม่ยอมรับขายก็ไม่ได้ จะให้ใช้คำศัพท์ใหม่ก็คือใช่และไม่ใช่

มาพิจารณาในฝ่ายที่เล่นหาสะสมแบบที่มีมูลค่ารองรับ ในฝ่ายนี้เขาก็เล่นหาสะสมกันมาแต่โบราณแบบนี้ และมีมูลค่ารองรับกันมาแต่โบราณเช่นกัน ฝ่ายนี้คนส่วนใหญ่ก็จะเรียกว่าพวกเซียนพระ คนพวกนี้โมเมเอา เองรึ? น่าจะใช่นะครับ เขาก็ศึกษากันมาตลอด ศึกษาประวัติความเป็นมาหรือไม่? ก็ตอบได้เลยว่าศึกษามาแน่ ตำรับตำราต่างๆ เขาหามาอ่านกันหรือไม่?

แน่นอนเขาก็หามาอ่านกันทั้งนั้น และน่าจะเยอะเสียด้วย ที่สำคัญของการศึกษาก็คือต้องศึกษาแบบวิเคราะห์ เนื่องจากหนังสือต่างๆ นั้นก็มีทั้งที่ผิดบิดเบือนหรือผิดพลาดไปบ้าง ก็ต้องศึกษาเปรียบเทียบมากพอสมควร ที่สำคัญอย่างยิ่งเขาก็ต้องศึกษาถึงร่องรอยการผลิต หรือที่มักเรียกง่ายๆ ว่าการศึกษาเรื่องพิมพ์ เรื่องเนื้อหา และธรรมชาติความเก่า

โดยการนำพระที่มีแม่พิมพ์อันเดียวกันมาเปรียบเทียบกันหลายๆ องค์ ดูซิว่าร่องรอยที่เกิดขึ้นกับพระพิมพ์นี้มีอะไรบ้างที่เหมือนกัน ตำแหน่งเดียวกัน มิติเดียวกันร่องรอยการผลิตพระนั้นๆ ที่เกิดขึ้นเหมือนๆ กัน เนื้อหาคือวัสดุที่นำมาสร้างพระนั้นๆ มาจากวัสดุอะไร เหมือนๆ กันหรือไม่ อย่างไร

จากการศึกษาอายุการสร้างของพระนั้นประมาณอายุกาลเท่าใด จะมีการเสื่อมของวัสดุที่นำมาสร้างควรจะเป็นแบบไหน อย่างไรจึงนำมาสรุปออกมาเป็นมาตรฐาน ถ้าถามว่าบุคคลคนเดียวหรือที่ตั้งกฎเกณฑ์มาตรฐานนั้นขึ้น ตอบได้เลยว่าไม่ใช่

เนื่องจากต่างฝ่ายต่างก็ศึกษาหาเหตุผลของแต่ละคน ที่แปลกก็คือผลออกมาตรงกันแทบทุกข้อ ก็ของมันจริงเมื่อศึกษาอย่างมีเหตุผลก็ออกมาตรงกัน เท่านั้นเอง เมื่อได้ข้อสรุปที่ตรงกันและมีเหตุผลพิสูจน์ได้ก็เป็นที่ยอมรับของสังคม และมีมูลค่ารองรับในการเล่นหา

มาพูดกันถึงพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม เนื่องจากมีประวัติที่แน่นอนว่า เจ้าประคุณ สมเด็จฯ ได้สร้างพระบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ใหญ่ของวัดนี้ และมีผู้คนที่อยากได้พระสมเด็จฯไว้บูชา จึงมีพวกหัวใสคิดการนำพระออกมาจากกรุองค์พระเจดีย์ในสมัยนั้นเรียกว่าการตกพระ โดยการใช้ไม้ไผ่ลำยาวๆ มาทะลวงปล้องออกให้สอดเชือกผ่านเข้าไปได้

แล้วปลายเชือกด้านหนึ่งก็ขมวดเป็นปมใหญ่ ส่วนปลายก็ทำเป็นพู่ แล้วใช้ดินเหนียวคลุกเคล้าจนเกาะติดดินเหนียวแน่น แล้วสอดลำไม้ไผ่เข้าไปในช่องระบายอากาศของพระเจดีย์ ปล่อยเชือกไปจนกระทบกับพื้นซึ่งมีพระสมเด็จบรรจุอยู่แล้วก็สาวเชือกขึ้นมา บางครั้งก็มีพระสมเด็จติดปลายเชือกขึ้นมาก็นำไปขาย ต่อมาก็มากันมากขึ้น

ก็มีทั้งคนตกและมีคนรอรับซื้ออยู่ที่องค์พระเจดีย์ ทางวัดทราบเรื่องก็ห้ามปรามกันไปแต่ก็ไม่อาจทนคนที่มาตกได้ มีการตกครั้งใหญ่ๆ อยู่ถึง 3 ครั้ง ครั้งย่อยๆ ไม่ต้องนับ

นอกจากนี้ก็ยังมีพวกแอบมาเจาะองค์พระเจดีย์เลยก็มี จนครั้งสุดท้ายก็มีการลงทุนจัดงานศพและตั้งเต็นท์ทำโรงครัวติดกับองค์พระเจดีย์ในปี พ.ศ.2500 ทำให้องค์พระเจดีย์ชำรุดจนทางวัดทนไม่ไหว จึงเปิดกรุเป็นทางการในปีพ.ศ.2500 ในปีเดียวกัน

ก็ว่ามาถึงพระที่ออกมาจากกรุเจดีย์วัดบางขุนพรหมพอประมาณ ทีนี้พวกนักเลงพระที่ไปรับซื้อพระเขาก็นำพระมาศึกษาดูตั้งแต่ในสมัยที่มีการตกพระในยุคแรกๆ เก็บรวบรวมศึกษาแม่พิมพ์ต่างๆ ตลอดมาจนถึงปี พ.ศ.2500 ที่เปิดกรุเป็นทางการ

ซึ่งทางวัดก็เปิดให้เช่าบูชาเพื่อนำปัจจัยมาซ่อมแซมบูรณะวัดบางขุนพรหม พระที่บรรดานักเลงพระในสมัยนั้นเขาเก็บรวบรวม ศึกษาทั้งแม่พิมพ์ เนื้อหาวัสดุ และสภาพธรรมชาติต่างๆ ของพระที่ออกจากกรุต่างเวลากัน รวบรวมมาเป็นองค์ความรู้ที่จะเป็นมาตรฐานกำหนดรู้ว่าอย่างไหนแท้ อย่างไหนปลอม หรืออย่างไหนใช่ อย่างไหนไม่ใช่ จนสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับด้วยเช่นกัน

สนนราคาก็สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะพระมีจำกัด แต่คนต้องการเสาะหากันมากขึ้น เหล่ามิจฉาชีพคนที่ทำพระปลอมก็ทำพระปลอมออกมาหลอกขายกันไปเรื่อยเช่นกันจนทุกวันนี้ แถมการขายก็ต้องเล่านิยายประกอบการขาย ซึ่งก็มีกันมานานแล้ว ตั้งแต่ผมเด็กๆ ก็ได้ยินได้ฟังมามากเช่นกัน แต่งนิยายกันจนเป็นลิเก เลอะเทอะกันไปหมด บิดเบือนประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ

อีกด้วยเพื่อให้นิยายของเขาขายได้ ก็มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อกันอยู่จนถึงในสมัยนี้ พระสมเด็จต้องแม่เหล็กดูดติด ขำกันกลิ้ง ก็เอาผงเหล็กผสมเข้าไปในเนื้อพระ พอเอาแม่เหล็กมาดูดก็ติดไง นิยายแบบนี้เขาทำกันมาเท่าที่เห็นก็ตั้งแต่ผมยังเด็กๆ เลย สมัยก่อนปาหี่ท้องสนามหลวงก็เคยเห็นมีทำ ใครเกิดทันก็คงจะเคยเห็นกันบ้าง

พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ บางแม่พิมพ์ก็จะเกือบเหมือนกับ พระพิมพ์ใหญ่ของวัดระฆังฯ เลยทีเดียว สันนิษฐานว่าอาจจะนำแม่พิมพ์ของวัดระฆังฯ มาตกแต่งนิดหน่อยแล้วก็นำมาใช้ แต่เขาก็มีข้อสังเกตร่องรอยการผลิตและแยกออกได้ว่าเป็นของกรุวัดบางขุนพรหม  เช่น พระกรุเก่าที่ไม่มีขี้กรุก็ยังแยกออกได้ว่าของวัดใด เพราะร่องรอยการผลิตนั้นจะไม่เหมือนกันทั้งสองวัด สามารถบอกได้ด้วยเหตุและผล และจะมีเหมือนๆ กันหมดทุกองค์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่แท้ๆ และสวยสมบูรณ์ ถูกต้องตามมาตรฐาน มีมูลค่ารองรับ สังคมยอมรับ มาให้ชมครับ พระแบบนี้มีมูลค่ารองรับเป็นล้านๆ นะครับ พิสูจน์ได้ง่ายๆ ครับ
โดย แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์)



พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชร นั้นมีอยู่มากมายหลายกรุ พระที่มีชื่อเสียงและคนส่วนมากจะนึกถึงก็คือพระประเภทเนื้อดิน ซึ่งพระเนื้อดินของกำแพงเพชรมีความหนึกนุ่ม มองดูแล้วสวยซึ้ง โดยเฉพาะพระของกรุทางทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นต้น

ในส่วนของพระปางลีลาแล้วพระกรุทุ่งเศรษฐีก็มีความนิยมกันมากและได้รับ คำยกย่องว่ามีพุทธศิลปะที่งดงามอ่อนช้อยยิ่งนัก และก็มีพระอยู่หลายอย่างทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน ประเภทพระเนื้อดินเผา เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบจำปา เป็นต้น ประเภทเนื้อชินก็มีพระกำแพงขาว พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด เป็นต้น

พระกำแพงลีลาพิมพ์ต่างๆ ของกำแพงเพชร จะมีพุทธศิลปะที่อ่อนช้อยแบบสุโขทัยหมวดกำแพงเพชร ซึ่งมีความพลิ้วไหวดุจดั่งองค์สมเด็จพุทธเจ้าเสด็จพระราชดำเนินลอยล่องอยู่ในอากาศ พระพุทธรูปปางลีลานั้นถือเป็นสุดยอด แห่งศิลปะของสุโขทัย

ครับ พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ดก็เป็นหนึ่งในพระกรุกำแพงเพชรที่มีความนิยมมากตั้งแต่ในอดีต ที่มาของชื่อนั้นเนื่องจากพุทธลักษณะปางลีลาเยื้องก้าวอันประกอบด้วยพระกรข้างซ้ายที่กรีดพลิ้วอยู่นั้นช่างอ่อนไหวอยู่ใกล้ๆ กับคางมากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

คล้ายกับกำลังเชยคางอยู่ และที่กรอบซุ้มเรือนแก้วขององค์พระมีเม็ดไข่ปลาประดับอยู่รายรอบภายในซุ้มเรือนแก้ว จนได้ชื่อนามอันไพเราะว่า “พระกำแพงเชยคาง ข้างเม็ด”

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ดถูกขุดพบครั้งแรกที่กรุวัดบรมธาตุ ต่อมาก็พบอีกที่วัดอาวาสน้อย วัดสี่อิริยาบถ พระที่พบเป็นพระเนื้อ ชินเงินเป็นส่วนใหญ่ ที่พบเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงก็มีบ้างแต่พบน้อยมาก

พระที่พบของกรุวัดบรมธาตุนั้นมักจะพบว่าผิวเนื้อจะเป็นสีออกดำอมเทา และมีไขขาวเกาะอยู่ ของกรุอาวาสน้อยบางองค์จะมีร่องรอยคราบปรอทจับอยู่บ้าง พระกำแพงเพชรเชยคาง ที่พบจะมีพระพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่จะพบน้อยมาก แทบไม่ค่อยได้เห็นนัก

พระพิมพ์กลางจะมีปริมาณที่มากกว่าทุกพิมพ์ จึงถือว่าเป็นพิมพ์มาตรฐาน ส่วนพิมพ์เล็กก็พบบ้างตามกรุต่างๆ

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด ในสมัยก่อนนั้นมีความนิยมสูงพอๆ กับพระกำแพง เม็ดขนุน ด้วยศิลปะที่สวยงดงาม ในด้านพุทธคุณก็เด่นทางด้านเมตตาโชคลาภ โภคทรัพย์ เฉกเช่นเดียวกับพระเม็ดขนุน แต่ปัจจุบันนั้นก็พบหาได้ยากมาก และมีการปลอมแปลงกันมาตั้งแต่อดีต

จนทุกวันนี้แทบไม่มีใครได้พูดถึงหรือพบเห็นกันเลย แต่ก็ยอมรับครับว่าพระแท้ๆ หายากจริงๆ อาจจะเป็นเพราะเรื่องจำนวนอาจมีไม่มากนัก และอีกอย่างเนื่องจากเป็นพระเนื้อชินที่มีอายุความเก่าแก่ยาวนานถึงประมาณราว 600 ปีมาแล้ว

จึงทำให้มีการเสื่อมสภาพของเนื้อวัสดุ เกิดการแตกระเบิด ผุกร่อนไปตามกาลเวลาจึงทำให้เหลือองค์พระที่สมบูรณ์น้อยมาก ก็เป็นได้ จึงทำให้ไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลยครับ

ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระกำแพงเชยคางข้างเม็ด จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมความงดงามของศิลปะ และเพื่อการอนุรักษ์พระกรุต่อไปครับ
โดย แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์)



เหรียญพระรัตนธัชมุนี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาพูดคุยกันถึงพระรัตนธัชมุนี (ม่วง) วัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้พัฒนาการเรียนการศึกษาของจังหวัดนครศรีธรรมราชทั้งของพระสงฆ์และของประชาชน สร้างโรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช และในอีกหลายจังหวัดของภาคใต้ครับ

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2396 บิดาชื่อนายแก้ว มารดาชื่อทองคำ ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านหมาก ต.บ้านเพิง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เมื่ออายุได้ 15 ปีได้บวชเป็นสามเณร และศึกษากับพระครูการาม (จู) จนจบเปรียญ 3 ประโยค

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2416 จึงได้อุปสมบทที่วัดมเหยงคณ์ โดยมีพระครูการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้จำพรรษาอยู่กับพระครูการาม 1 พรรษา ต่อมาพระครูการามได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าโพธิ์ ท่านก็ติดตามมาอยู่ด้วย

ถึงปี พ.ศ.2432 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาตรวจการคณะสงฆ์ภาคใต้และได้สนทนาด้วย และเกิดพอใจ เมื่อเสด็จกลับจึงได้นำท่านเจ้าคุณเข้ามาที่กรุงเทพฯ และให้จำพรรษาอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริย์

ต่อมาจึงได้ญัตติเป็นพระธรรมยุติกนิกาย โดยมีท่านเจ้าคุณพรหมนุน (แฝง) เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้เล่าเรียนพระปริยัติจนสอบได้เปรียญ 4 ประโยคในปี พ.ศ.2433

พอถึงปี พ.ศ.2434 จึงได้ย้ายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่นครศรีธรรมราช และได้เริ่มสอนพระปริยัติธรรมให้แก่พระภิกษุสามเณรในวัด ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกของเมืองนครฯที่จัดให้มีการศึกษาแบบนวโกวาท และเมื่อออกพรรษาก็มีการสอบไล่ทุกปี

ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ได้พัฒนาการเรียนการสอนโดยขอพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิมาจากหลายๆ แห่งรวมทั้งในกรุงเทพฯ ด้วย เพื่อมาสอนให้แก่พระภิกษุสามเณรในนครศรีฯ ต่อมาท่านได้คิดถึงเด็กชาวบ้านไม่มีที่เรียน ท่านจึงได้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้แก่กุลบุตรกุลธิดาในปี พ.ศ.2434 ด้วยเช่นกัน ชื่อโรงเรียนเชลยศักดิ์ ที่วัดท่าโพธิ์

ต่อมาในปี พ.ศ.2442 ท่านได้เปิดโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อสุขุมาภิบาลวิทยา ต่อมาเมื่อมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นจนที่เรียนไม่เพียงพอ ท่านจึงเปิดโรงเรียนอีก ชื่อโรงเรียนศรีธรรมราช และได้โอนโรงเรียนให้ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ก็ได้สร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในจังหวัดนครศรีธรรมราชเอง และที่จังหวัดอื่นๆ ด้วย เช่น ที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และปัตตานี

นอกจากนี้ ยังได้สร้างโรงเรียนช่างโลหะรูปพรรณ อันเป็นศิลปะที่ล้ำค่าของเมืองนครฯ เกรงว่าจะสูญหาย จึงได้ตั้งโรงเรียนที่วัดท่าโพธิ์ สมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายที่ท่านเจ้าคุณได้รับแต่งตั้งคือ พระรัตนธัชมุนี

ตลอดชีวิตนั้นไม่ได้สร้างวัตถุมงคลไว้ เพราะมุ่งพัฒนาการเรียนการศึกษาเสียเป็นส่วนมาก จนบรรดาศิษย์เห็นว่าชรามากแล้ว จึงขออนุญาตสร้างเหรียญเพื่อไว้เป็นที่ระลึก โดยจัดสร้างขึ้นในงานทำบุญฉลองพระอุโบสถที่ท่านซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ.2476 หลังจากนั้นอีกหนึ่งปี คือ ในปี พ.ศ.2477 ตรงกับวันที่ 21 กันยายน ท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 82 พรรษา 61

เหรียญที่ระลึกปีพ.ศ.2476 จึงเป็นเหรียญรุ่นแรกและเหรียญเดียวที่สร้าง ไว้ครับ
โดย แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์)



เล่นพระตามมาตรฐาน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน การเล่นหาสะสมพระเครื่องนั้นเขาก็มีมาตรฐานของสังคมผู้นิยมพระเครื่องว่า พระแต่ละชนิดนั้นๆ เขานิยมกันแบบไหน มีกี่พิมพ์ที่นิยมกัน เนื้อหาของพระเป็นอย่างไร มีกี่อย่าง

มาตรฐานของพิมพ์ เช่นรายละเอียดของแม่พิมพ์แบบไหนที่เขานิยมกัน ซึ่งก็คือร่องรอยการผลิตพระนั้นๆ ต้องถูกต้องตามที่เขามีมาตรฐานกำหนด และสังคมยอมรับซึ่งก็จะมีมูลค่าราคารองรับด้วยเช่นกัน

แต่ในส่วนที่เราจะเล่นหาหรือชมชอบไปอีกอย่างหนึ่งนั้นก็ไม่ได้ผิดอะไร เป็นความเชื่อของส่วนบุคคลไม่มีปัญหา เรื่องความเชื่อส่วนบุคคลนั้น ผมขอยกตัวอย่างเช่นเราต้องการพระบูชาไว้บูชาที่บ้านสักองค์ ก็ไปซื้อมาจากร้านแถวเสาชิงช้า หรือในสนามพระที่มีวางขายเกลื่อนกลาด

โดยพระนั้นๆ ไม่ได้ผ่านพิธีอะไรเลย แล้วเรานำมาบูชาที่บ้านเพื่อระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ผิดอะไรเลย หรือเราจะไปเช่าหาพระเครื่องที่เขาทำขายกันเกลื่อนกลาดหรือทำปลอมเลียนแบบพระอื่นๆ นั้น แล้วนำมาห้อยคอ ก็ไม่ได้ผิดอะไร

สมมติว่าเราหาพระสมเด็จฯ แท้ๆ ไม่ได้ ก็ไปเช่าพระสมเด็จปลอมที่ขายกันเป็นกองๆ แล้วนำมาห้อยคอเพื่อระลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่เรานับถือ ก็ไม่ผิดอะไรอีกเช่นกันครับ

ในสมัยผมเป็นวัยรุ่น ผมเคยเห็นผู้มีอายุท่านหนึ่งแต่งตัวดี ดูท่าทางน่าจะเป็นข้าราชการที่เกษียณอายุแล้ว มาเช่าพระสมเด็จปลอมที่เขาวางขายเป็นกองๆ ท่านค้นเลือกหาอยู่นาน แล้วก็เช่าไปองค์หนึ่ง ผมก็เกิดสงสัยว่าท่านเช่าไปทำไม

พอดีผมว่างๆ อยู่และกำลังจะข้ามเรือไปที่วัดระฆังฯก็เจอท่านจะข้ามเรือไปที่วัดระฆังฯ เช่นกันพอไปถึงที่วัดระฆังฯ ผมเห็นท่านนำพระไปที่โบสถ์แล้วนั่งสวดมนต์ ผมก็เกิดความสนใจก็รอที่จะสอบถามท่านดู พอท่านสวดมนต์เสร็จท่านก็นำพระมาใส่กระเป๋าเสื้อ ผมก็ได้ไปคุยกับท่านว่าท่านเช่าพระปลอมมาทำไมท่านรู้หรือไม่ว่าเป็นพระปลอม

ท่านก็เล่าให้ผมฟังว่า ท่านศรัทธาในเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาก แต่ก็ไม่มีโอกาสที่จะเช่าพระสมเด็จแท้ๆ หรอก แต่ท่านก็สวดพระคาถาชินบัญชรทุกวัน และวันนี้ท่านก็มาเช่าพระปลอมนี่แหละ แล้วก็ข้ามมาที่วัดระฆังฯ นำพระมาสวดชินบัญชรจนจบ

จากนั้นท่านก็จะนำพระไปเลี่ยมห้อยคอ ท่านบอกผมว่า เราศรัทธาในเจ้าประคุณสมเด็จฯ เราก็เอาพระแบบพระสมเด็จมาห้อยคอก็ใช้ได้เหมือนกัน อยู่ที่ใจเราศรัทธาและหมั่นทำความดี บุญก็จะรักษาเราได้ ก็เป็นคติหนึ่งที่ผมได้รับฟังจากผู้ใหญ่ท่านนี้ และก็ไม่ผิดอะไรเลย

การที่เราจะเชื่อหรือเลือกเชื่ออะไรก็ตามก็ไม่ผิดอะไรเลย เช่น เราคิดว่าพระสมเด็จแบบนั้นแบบนี้เป็นพระแท้ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่อย่าพยายามคิดที่จะนำไปขายเพื่อผลประโยชน์ เพราะนอกจากจะผิดตามกฎหมายแล้วก็ยังผิด ในเรื่องบิดเบือนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนอีก ข้อนี้เป็นบาปที่จะมีผลตามมาภายหลังแน่นอน

ผมมีเพื่อนในสมัยเรียนที่ชอบพระเครื่องเหมือนกันอยู่หลายคน ในกลุ่มเพื่อนก็มีที่เล่นหาถูกทาง และเพื่อนที่เล่นหาผิดทางมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ ในกลุ่มที่เล่นหาถูกทางที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศก็มีอยู่หลายท่าน บอกก่อนนะครับว่าเพื่อนกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นพ่อค้าพระนะครับ แต่คนรู้จักกันทั้งประเทศ ผมขอไม่ไปเอ่ยชื่อของท่านนะครับ

ส่วนเพื่อนอีกกลุ่มที่ชอบเล่นหานอกมาตรฐานก็มีอีกหลายคน เขาก็เชื่อตามแบบของเขา ผมเองก็เคยเตือนว่าเล่นหาผิดทางนะ แต่พวกเขาก็ไม่เชื่อ และยังต่อว่าผมอีกด้วย ก็ต้องปล่อยกันไป แต่ก็ยังคบหากันอยู่ ไม่ได้โกรธเคืองอะไรกันและคบหากันมาจนทุกวันนี้

ต่อมาภายหลังอายุก็เริ่มมากกันแล้ว เพื่อนกลุ่มที่เล่นหาผิดทางกับมาตรฐานสังคมที่มีมูลค่ารองรับ เกิดมีปัญหาเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยความชรา ก็เริ่มโทร.มาหาผมให้ผมช่วยนำพระสมเด็จของเขาไปหาคนเช่าให้หน่อย เพราะจะนำเงินไปรักษาตัวผมก็ไม่รู้จะตอบอย่างไรไม่ให้เสียน้ำใจกัน ก็เลยบอกว่าช่วงนี้ยังไม่มีคนเช่าหรอก

เขาก็บอกให้นำไปให้เพื่อนกลุ่มที่มีฐานะที่เล่นหาถูกทางเช่าไปหน่อย ผมก็บอกเขาว่าก็เป็นเพื่อนกันทำไมไม่บอกเขาเอง เพื่อนที่จะให้เช่าพระก็โกรธผม เพราะความจริงเขานำพระไปให้เช่าแล้วไม่มีใครเช่า ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือในสนามพระก็ตาม ทั้งๆ ที่เขาก็ไปออกใบรับรองพระแท้ของกลุ่มที่เล่นหาผิดทางนอกตำรามาแล้วก็ตาม ปัจจุบันเพื่อนผมคนนี้ก็ยังเคืองๆ ผมอยู่เลยครับ

นอกจากนี้ก็ยังมีเพื่อนกลุ่มที่เล่นหา ผิดทางอีกหลายคนที่ให้ผมช่วยนำพระของเขาไปให้เช่าให้หน่อย ผมเองก็ช่วยอะไร เขาไม่ได้ เพราะก็เป็นพระปลอมทั้งนั้น พระสมเด็จถ้าแท้ขายได้ไม่ยากครับ ขอให้ราคาสมควรก็มีคนเช่าเป็นล้านแน่นอน

วันก่อนพระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม วัดระฆังฯ หักครึ่ง แต่ชิ้นส่วนอยู่ครบ เรียกว่าเป็นพระดูง่าย เจ้าของพระเป็นคนนอกนำมาขายที่ศูนย์พระพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน เซียนรับเช่าไปล้านกว่าบาทครับ ผมได้ข่าวและเห็นรูปพระตามไปยังไม่ทัน มีคนเช่าต่อไปแล้ว

ครับพระสมเด็จแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมยอมรับนั้น มีมูลค่ารองรับแน่นอนครับ แต่ถ้าเป็นพระสมเด็จนอกมาตรฐานสังคมก็เก็บไว้ได้ครับ เพียงแต่ยังขายไม่ได้ เพราะไม่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับครับ ทองแท้ก็ย่อมเป็นทองแท้ ทองชุบก็เป็นทองชุบวันยังค่ำครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม แม่พิมพ์หนึ่งในหลายแม่พิมพ์ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม และมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
โดย แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 สิงหาคม 2563 16:26:51 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.135 Chrome 84.0.4147.135


ดูรายละเอียด
« ตอบ #153 เมื่อ: 09 กันยายน 2563 18:08:56 »


พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ผมจะมาพูดคุยถึงพระสมเด็จ วัดระฆังฯ แม่พิมพ์ที่เป็นอีกแม่พิมพ์หนึ่งของพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ก็มีหลายๆ ท่านที่มาสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์แม่พิมพ์เกศทะลุซุ้ม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องพระสมเด็จฯองค์ลุงพุฒ ซึ่งก็มีการกล่าวขวัญกันไปจนผิดเพี้ยนว่า ชื่อแม่พิมพ์ลุงพุฒ ซึ่งความจริงแล้วพระองค์นี้เป็นพระพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มของวัดระฆังฯ ที่มีการเรียกขานพระสมเด็จเฉพาะองค์นี้ว่าองค์ลุงพุฒนั้นก็มีการเรียกขานกันมานานแล้วก่อนปี พ.ศ.2500 เสียอีก

เริ่มต้นนั้นก็มีคนที่ทราบว่าพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มที่สวยสมบูรณ์มากๆนั้นลุงพุฒท่านเป็นเจ้าของและหวงแหนมากหลังจากนั้นตั้งแต่ก่อนปี 2500 มาแล้วก็มีผู้เพียรเข้าไปหาลุงพุฒเพื่อขอเช่าหา แต่ลุงพุฒแกก็ไม่ยอมให้เช่า อย่าว่าแต่ให้เช่าเลยขอดูยังยากเลยครับ ถ้าไม่รู้จักหรือผู้คุ้นเคยที่แกเกรงใจไม่พาไปขอชมก็ไม่มีทางที่จะได้เห็น

วิธีการที่จะได้ชมอย่างไรนั้นผมยังไม่ขอกล่าวในที่นี้ ไว้ให้พวกชอบโม้เขาฝอยกันไปก็แล้วกัน ขำๆ ดี ต่อมาเมื่อลุงพุฒอายุมากแล้วพระองค์นี้ก็เปลี่ยนมือมาอยู่กับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง แล้วก็มาเปลี่ยนมืออีกครั้งมาอยู่กับผู้ใหญ่ที่ผมเคารพนับถือและอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ก็หลายสิบปีแล้ว

การตั้งชื่อพระองค์นั้นองค์นี้เขาตั้งกันมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาตั้งกันเมื่อ 20 กว่าปีมานี้ อย่างที่ผู้ไม่รู้เอามาพูดกัน ที่เขาเรียกชื่อพระองค์นั้นองค์นี้ก็เนื่องจากกล่าวถึงพระองค์สวยๆ และมีผู้อยากได้กันมาก ก็พูดถึงกันว่าเป็นพระของใครจะได้รู้ว่าเป็นพระองค์นั้นองค์นี้ไม่ใช่เรียกเป็นชื่อพิมพ์ และก็เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าของพระ ในสังคมวงการพระเมื่อพูดคุยกันก็ยกย่องพระองค์นั้นๆ ว่าเป็นพระที่สวยสมบูรณ์ จะได้รู้ว่าหมายถึงพระของใครองค์ใด ต่อมาในระยะหลังก็มีการตั้งชื่อ พระสมเด็จฯ องค์ต่างๆ กันอีกหลายองค์ บางองค์ก็มีการเปลี่ยนมือมาอยู่ที่ใครก็เรียกกันตามนั้นก็มี แต่สำหรับองค์ลุงพุฒนั้นมีการ ตั้งชื่อนี้มานานแล้ว ตั้งแต่ลุงพุฒยังหวงพระองค์นี้อยู่เลย ความจริงผมก็คงจะไม่พูดถึง แต่พอดีมีผู้ถามมาและได้ยินข้อมูลมาผิดๆ ก็เลยนำมาเล่าสิ่งที่ถูกต้องให้ฟังครับ

เอาล่ะทีนี้มาคุยกันถึงพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มกันหน่อยดีกว่าครับ พระสมเด็จที่ผมนำรูปมาให้ชมนี้มี 2 องค์ เป็นพระที่มาจากแม่พิมพ์เดียวกัน เพื่อให้ดูเปรียบเทียบกันเช่นเคย และองค์หนึ่งในนั้นคือพระสมเด็จองค์ลุงพุฒ สำหรับพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์นี้เรียกกันว่า “พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม” และเรียกกันมานมนานแล้ว เนื่องจากพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์นี้พระเกศของพระจะยาวทะลุซุ้มครอบแก้วขึ้นไปจรดขอบแม่พิมพ์ ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น มีแม่พิมพ์อยู่หลายตัวจึงแยกเรียกเพื่อให้รู้ว่าเป็นแม่พิมพ์ใด ตามแนวทางการศึกษาร่องรอยการผลิตนั้นๆ ในส่วนของแม่พิมพ์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เนื่องจากสิ่งของใดๆ ก็ตามที่เกิดมาจากแม่พิมพ์ก็ย่อมจะมีอะไรๆ หรือร่องรอยของแม่พิมพ์ปรากฏอยู่ให้พิสูจน์ได้

สิ่งแรกที่สายตาเราเห็นก็คือรายละเอียดของพิมพ์ หน้า ตา หู คางเป็นเช่นไร ก็เหมือนกับเราเห็นคนคนหนึ่งเราจะเห็นอะไรก่อนเนื้อ หนัง ไฝ ฝ้า หรือที่เห็นเป็นอันดับแรกก็คือหน้าตารูปร่างนั่นแหละ พระก็คือพุทธลักษณะว่าเป็นอย่างไร ถ้าจะศึกษาอันดับแรกก็คือ รายละเอียดของพิมพ์ ต่อมาก็เนื้อหา หมายถึงวัสดุที่นำมาสร้างพระในยุคนั้นๆ รุ่นนั้นๆ ธรรมชาติความเก่า ตามอายุขัยของพระ ธรรมชาติยังแยกออกเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ธรรมชาติแปรเปลี่ยน ธรรมชาติปรุงแต่ง ธรรมชาติของการผลิต ทั้งหมดนี้สำคัญทุกเรื่องต้องถูกต้องทั้งหมด จึงจะแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับ ถ้าไม่ถูกต้องสังคมก็อาจจะไม่ยอมรับและไม่มีมูลค่ารองรับด้วยเช่นกัน

ทีนี้ให้ท่านผู้อ่านลองแบ่งครึ่งพระออกเป็น 2 ส่วน โดยลากเส้นจากบนลงล่างแบ่งจากพระเกศลงมาให้สัดส่วนเท่าๆ กัน แล้วก็ลองสังเกตดูว่าซ้าย-ขวามีอะไรที่น่าสังเกตบ้าง นี่เป็นหลักการศึกษาด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดีครับ ให้สังเกตดูให้ละเอียดเส้นสายต่างๆ แล้วดูเปรียบเทียบทั้ง 2 องค์ว่าแม่พิมพ์ตัวเดียวกันนั้นมีอะไรที่เหมือนกันบ้าง ต้องพยายามดูนะครับถ้าอยากจะรู้ ผมจะไม่บอกนำเพื่อให้ท่านที่อยากจะศึกษาจริง พิสูจน์และรู้ได้ด้วยตัวท่านเองครับ นอกจากเห็นในสิ่งที่เหมือนกันแล้วก็ดูในส่วนที่ต่างกันด้วย และก็มีแน่ครับ ในส่วนที่ต่างกันนั้นจะเป็นตำหนิเฉพาะองค์ คือมีเพียงองค์เดียวที่เป็นแบบนั้นจะเป็นเหมือนกัน 2 องค์ไม่ได้เด็ดขาด คนปลอมพระในสมัยนี้ไม่รู้ก็นำพระไปเป็นต้นแบบ ที่พยายามหน่อยก็เอาไปสแกนคอมพิวเตอร์เลย แล้วนำไปแกะแม่พิมพ์ ที่บอกว่าสแกนสามมิติบอกว่าทำได้

ผมไม่ได้เถียงนะครับว่าปัจจุบันมีเครื่องสแกนสามมิติทำได้ แต่ผมถามจริงๆ เหอะว่าได้นำพระองค์จริงไปสแกนหรือ? แล้วจะได้สามมิติได้อย่างไร ก็สแกนจากรูปถ่าย รูปถ่ายเป็นสองมิตินะจ๊ะ แถมยังไม่รู้อีกว่าพระน่ะมีตำหนิเฉพาะองค์อีก พอทำแม่พิมพ์ปลอมแล้วก็เลยติดตำหนิเฉพาะองค์เข้าไป เลยปล่อยไก่อีก เรื่องแบบนี้เขาทำกันมานานแล้ว ก็เป็นเรื่องตลกในสังคมพระที่เขาเล่นหากันเป็นมาตรฐานมีมูลค่ารองรับครับ

เอ้า มาที่เรื่องเนื้อพระ บอกว่าพอพิมพ์เหมือนแต่เนื้อพระมีสีต่างกันก็บอกว่าไม่แท้ใช่หรือ? พระนั้นมีหลายสีหลายเนื้อ เนื่องจากพระแต่ละครกนั้นส่วนผสมต่างกรรมต่างวาระก็อาจจะแตกต่างกันไปบ้างได้ นี่อยู่ในหัวข้อธรรมชาติดั้งเดิม ต่อมาพระถูกนำมาใช้ห้อยคอบ้างไรบ้าง ผิวของพระก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามสถานะ นี่ก็อยู่ในเรื่องธรรมชาติแปรเปลี่ยน ยังมีเรื่องของธรรมชาติปรุงแต่งอีกนะเขาไม่ได้ตัดสินกันที่สีผิวของพระหรอก แต่ธรรมชาติการผลิตนี่สิเปลี่ยนแปลงไม่ได้นะ

เรื่องของเนื้อพระเขาก็ต้องดูว่าการผลิตนั้นเขาใช้วัสดุอะไรบ้างมาทำเป็นองค์พระ อย่างพระสมเด็จก็มีมวลสารต่างๆ เขาก็ศึกษากันมานานแล้ว แล้ววัสดุหลักล่ะ พระสมเด็จก็คือปูนขาว ปูนขาวแบบไหน อย่างไรในสมัยนั้น นั่นแหละเนื้อหลัก แล้วผ่านอายุกาลมาร้อยกว่าปีควรเป็นเช่นไร ความเสื่อมของวัสดุควรเป็นเช่นไร ไม่ใช่ยิ่งเก่ายิ่งแข็งเป็นหินหรือกลายเป็นหิน หรือมีผลึกแคลไซต์ ลองไปศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์ดูนะครับ เดี๋ยวนี้ถาม Google ดูก็ได้ครับ ว่าแคลไซต์มันคืออะไร มีกี่ชนิด และการเกิดของมัน อายุกาลของการเกิดพร้อมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดครับ ผมคงไม่ต้องมากล่าวให้เปลืองหน้ากระดาษนะครับ

ท่านผู้อ่านลองดูรูปที่ผมนำมาให้ชมนะครับ ทั้ง 2 องค์มาจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน มีอะไรบ้างที่เหมือนกันและคิดว่าเกิดมาจากแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน ผมบอกได้เลยดูพระสิบองค์หรือร้อยองค์ในแม่พิมพ์อันเดียวจะมีเหมือนกันทุกองค์ครับ นั่นก็คือร่องรอยการผลิตในหัวข้อของรายละเอียดแม่พิมพ์ครับ พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่มีหลายแม่พิมพ์นะครับ ต้องศึกษาให้หมดครับ แต่ก็ต้องศึกษาจากพระแท้ที่สังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับนะครับ ส่วนพระที่เขาว่าแท้แต่สังคมไม่ยอมรับและไม่มีมูลค่ารองรับนั้นก็แล้วแต่ครับ เก็บรักษาไว้ได้ ยึดมั่นได้ครับไม่ผิดอะไร แต่ถ้านำไปขายให้ผู้อื่นก็ต้องไตร่ตรองหน่อยนะครับ

ก็เขียนมายาวแล้ว วันต่อไปจะนำมาพูดคุยกันอีกนะครับ วันนี้ก็นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มมาให้ชมเปรียบเทียบกัน 2 องค์ และหนึ่งในนั้นคือพระสมเด็จองค์ลุงพุฒครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหล่อพระพุทธ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้เคารพนับถือมากรูปหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านแถบบางขุนเทียนวัตถุมงคลของท่านนั้นเป็นที่หวงแหนกันมาก อย่างเหรียญหล่อรุ่นแรกที่เรียกกันว่าเหรียญจอบนั้นสนนราคาสูงมาก และเป็นเหรียญหล่อเหรียญหนึ่งที่จัดอยู่ในชุดเบญจภาคี เหรียญหล่อพระเกจิอาจารย์ ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ

หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ในสมัยก่อนผู้คนต่างก็กล่าวกันว่าลูกศิษย์หลวงพ่อไปล่นั้นหนังดีมาก อยู่ยงคงกระพันชาตรี ในปี พ.ศ.2478 คณะศิษย์ร่วมกันทำบุญฉลองอายุให้ท่าน ในงานนี้ก็ได้ขออนุญาตหลวงพ่อไปล่จัดสร้างเหรียญหล่อรูปท่านเพื่อแจกเป็นที่ระลึก ลักษณะคล้ายรูปจอบ จึงเรียกกันมาจนติดปากว่าเหรียญจอบ และยังมีเหรียญรูปไข่อีกส่วนหนึ่ง เนื้อเหรียญเป็นเนื้อโลหะผสม มีบางเหรียญเป็นเนื้อแบบสำริดก็มี แต่มีน้อยมาก

ในวันที่เทหล่อเหรียญนั้น ปรากฏว่าสายสิญจน์ในพิธีตกลงมาถูกเทียนชัยจี้อยู่จนหมดเวลาทำพิธี สายสิญจน์ก็ไม่ไหม้ไฟ เป็นที่ตื่นเต้นของผู้ที่อยู่ในพิธี ในขณะที่ทำพิธีนั้นหลวงพ่อไปล่นั่งปรกบริกรรมอยู่ในพิธี เป็นที่โจษจันกันมากในเวลานั้น หลังจากที่เทหล่อเหรียญเสร็จแล้วหลวงพ่อได้ทำพิธีปลุกเสกเดี่ยวของท่านอีกครั้งหนึ่ง

เหรียญนี้ผู้ที่ไปร่วมงานต่างก็ได้รับแจกกันไปคนละเหรียญ ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อก็ไปขอเหรียญจากหลวงพ่อจนหมด ใครได้ไปต่างก็นำไปห้อยคอ มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ที่เห็นกันชัดๆ ก็คืออยู่ยงคงกระพัน มีด ดาบ ปืน ต่างก็ทำอะไรคนที่มีเหรียญของหลวงพ่อไปล่ไม่ได้ เป็นที่โด่งดังไปทั่วย่าน ฝั่งธนฯ ในสมัยนั้นคนต่างถิ่นเข้าไปหาอยากได้เหรียญหล่อของหลวงพ่อไปล่ก็ไม่ได้ เนื่องจากคนในพื้นที่ต่างก็หวงแหนกันมาก และเหรียญหล่อรุ่นนี้ก็หมดไปจากที่วัดหมดแล้ว ที่หลวงพ่อไปล่ก็ไม่มีเหลือ

ต่อมาทางวัดกำแพงมีงานล้างป่าช้าของวัด ก็มีผู้คนและชาวบ้านต่างก็มา ช่วยเหลือกันมาก หลวงพ่อไปล่ก็ได้ให้สร้างเหรียญหล่อขึ้นมาเพื่อแจกให้แก่ผู้ที่มา ช่วยงานอีกรุ่นหนึ่ง ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธ ด้านหลังเป็นยันต์ เหรียญหล่อรุ่นนี้หลวงพ่อปลุกเสกเดี่ยวเช่นกัน หลวงพ่อก็แจกให้แก่ทุกคนที่มาช่วยงาน และชาวบ้านที่ไปขอก็ได้กันทุกคน เหรียญรุ่นนี้ก็มีไม่มากนักและหมดไปอย่างรวดเร็ว ใครที่ไม่ได้เหรียญหล่อรุ่นแรกก็มาขอเหรียญรุ่นนี้กันมากจนหมดในเวลารวดเร็ว เหรียญหล่อรูปพระพุทธนี้ก็มีประสบการณ์มากเช่นกัน พุทธคุณเฉกเช่นเดียวกับเหรียญรุ่นแรกเลยทีเดียวครับ

สมัยก่อนคนก็จะหาแต่เหรียญจอบรุ่นแรก ต่อมาเมื่อคนต่างถิ่นเริ่มรู้ว่ายังมีเหรียญรูปพระพุทธอีกรุ่นหนึ่งต่างก็เริ่มเสาะหากัน แต่ปัจจุบันก็หายากแล้วครับ เหรียญรุ่นนี้เป็นเนื้อโลหะผสม มีบางเหรียญหลอมโลหะไม่เข้ากันดี จะมีสีเงินๆ ปนอยู่บ้าง แต่ก็พบน้อยมาก ปัจจุบันเหรียญหล่อรูปพระพุทธของหลวงพ่อไปล่นั้นสวยๆ
สนนราคาก็อยู่ที่หลักแสนครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อพระพุทธของหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง มาให้ชมครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญพระครูวินัยธรรม (อินทร์) รุ่นแรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูวินัยธรรม (อินทร์) วัดสัตตนารถฯ พระภิกษุรูปหนึ่งที่ชาวเมืองราชบุรีเคารพนับถือมาก ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนอะไรก็มักจะมาขอให้ช่วยปัดเป่าเสมอ ท่านสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำจนชาวบ้านต่างก็ขนานนามท่านว่า “พ่อเฒ่าอินทร์เทวดา”

พระครูวินัยธรรม (อินทร์ ปัญญาทีโป) วัดสัตตนารถปริวัตร เกิดเมื่อปี พ.ศ.2400 บิดาชื่อ หลวงวิสาหภัคดี (เพชร) มารดาชื่อทิม เมื่อครั้งยังเด็กบิดามารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือที่วัดพเนินพลู พออายุได้ 14 ปีก็ได้บรรพชา เนื่องจากเลื่อมใสศรัทธาในคณะธรรมยุต จึงได้บรรพชาใหม่อีกครั้ง ในสำนักวัดตาล (วัดอมรินทร์) พอถึงปี พ.ศ.2421 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดตาล อำเภอเมืองราชบุรี โดยมีพระสมุทรมุนี เมื่อครั้งที่เป็นพระครูขันตยาคม (หน่าย) เจ้าอาวาสวัดตาล เป็นพระอุปัชฌาย์พระพุทธวิริยากร (จิตร) เมื่อครั้งยังเป็นพระสมุห์จิตรเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อถึงปี พ.ศ.2527 พระครูขันตยาคม (หน่าย) ได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสัตตนารถปริวัตร แทนพระครูศีลคุณธราจารย์ (นิล) หลวงพ่ออินทร์จึงได้ย้ายตามพระครูขันตยาคมมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสัตตนารถฯ ด้วยในปี พ.ศ.2530 พระครูขันตยาคมก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระสมุทรมุนี ตำแหน่งเจ้าคณะเมืองราชบุรี หลวงพ่ออินทร์ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระปลัดอินทร์ ฐานานุกรมของพระสมุทรมุนี (หน่าย) ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ในทินนาม “พระครูวินัยธรรม” ในปี พ.ศ.2437 พระสมุทรมุนีมรณภาพ พระพุทธ วริยากรได้มาเป็นเจ้าอาวาสแทน

พระครูวินัยธรรม (อินทร์) ก็ยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดสัตตนารถฯ ในฐานะพระลูกวัดต่อไป หลวงพ่ออินทร์เป็นพระภิกษุที่เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตร ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านจะสนทนาธรรมกับอุบาสกอุบาสิกาที่มาเยี่ยมเยือนเสมอ และทำกิจวัตรกวาดลานวัดเป็นประจำ ในเทศกาลเข้าพรรษาจะคอยหาไม้กวาดแจกแก่พระภิกษุ สามเณร เพื่อกวาดลานวัดให้สะอาดอยู่เสมอ

นอกจากนี้ชาวบ้านที่มีเรื่องทุกข์ร้อนหรือมาให้ช่วยทำนายทายทักต่างๆ หรือมีปัญหาในเรื่องต่างๆ มาปรึกษา ท่านก็จะให้คำปรึกษาและช่วยเหลือตลอด ในเรื่องของวิทยาคมหลวงพ่ออินทร์ก็เข้มขลังมาก เป็นที่ประจักษ์ของชาวเมืองราชบุรี

ปี พ.ศ.2473 บรรดาลูกศิษย์ลูกหาได้ ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญเพื่อไว้แจกในงานทำบุญฉลองอายุ โดยเป็นเหรียญรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ ด้านหลังมีอักขระขอม พร้อมระบุปี พ.ศ.2473 เหรียญชุดนี้ สังเกตที่ตัว พ.ศ.จะเป็นแถวตรง ซึ่งเป็นบล็อกนิยม มีจำนวนน้อย แจกในวันงาน ต่อมาในปีเดียวกันคณะศิษย์ได้จัดสร้าง เพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่ตัวหนังสือ พ.ศ.จะเป็นตัวโค้ง

พระครูวินัยธรรม (อินทร์) มรณภาพในปี พ.ศ.2483 สิริอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 62

วันนี้ผมได้นำเหรียญพระครูวินัยธรรม (อินทร์) รุ่นแรก พ.ศ. ตรง (นิยม) มาให้ชมครับ เหรียญนี้ถือเป็นเหรียญที่หวงแหน ของชาวราชบุรีครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เซียนพระ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน คำว่าเซียนเป็นคำที่ไทยรับมาจากภาษาจีน หมายถึงผู้สำเร็จ ผู้วิเศษ และใช้โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เก่งหรือมีฝีมือ ในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษจนเป็นที่เลื่องลือ และยอมรับในวงการนั้นๆ เช่น เซียนพระ เซียนหมากรุกเล่นกับใครก็ชนะขาดทุกกระดาน เซียนมวยรู้ความเคลื่อนไหวทางวงการการมวยทุกเรื่องเป็นต้น

เซียนพระในปัจจุบันมีการใช้คำนี้กันอย่างพร่ำเพรื่อ เช่น คนที่ชอบดูหรือสะสมพระเครื่อง คนที่มีอาชีพค้าขายพระเครื่องโดยไม่ได้แยกว่าคนคนนั้น มีความรู้ความสามารถจนเป็นที่ยอมรับในวงการนั้นหรือไม่เช่น คนที่ขายพระปลอมใครที่ไหนก็ไม่รู้ไม่มีความเชี่ยวชาญหรือความรู้เรื่องพระ ก็เหมาเรียกกันว่าเป็นเซียนพระกันไปหมดบางคนชั่วชีวิตยังไม่เคยเห็นพระสมเด็จฯ แท้ๆ เลยก็เหมาว่าเป็นเซียนพระสมเด็จฯ แถมบางคนก็อวดโม้อ้างว่ารู้ เล่าประวัติต่างๆ นานา บ้างก็เขียนเป็นตำราเลยก็มี หาเรื่องราวต่างๆ นานามายืนยัน บางคนก็อ้างว่านั่งทางในจับพุทธคุณได้ รู้ไปหมดนู่นนี่นั่นวนไปวนมาก็หลอกขายความเชื่อให้ซื้อพระสมเด็จฯ ปลอมจากตนหรือพวกของตนไป ล้วนเพื่อผลประโยชน์ทั้งสิ้น เมื่อมีผู้จับได้ไล่ทันก็โมโหโกรธา ว่าร้ายผู้ที่รู้ทัน

เซียนพระจริงๆ นั้นเขามีความรู้ความชำนาญ และค้นคว้าศึกษาทั้งจากตำราบันทึกเก่าแก่ต่าง อีกทั้งฝึกฝนการพิจารณาพิสูจน์ว่าอย่างไหนใช่อย่างไหนไม่ใช่จนเชี่ยวชาญ สามารถหาเหตุผลรองรับได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่แบบพิมพ์ ว่ามีอยู่กี่พิมพ์ เนื้อหาวัสดุที่นำมาใช้สร้างพระ อายุการสร้าง กรรมวิธีการสร้างจึงได้เหตุผลถึงร่องรอยการผลิตพระนั้นๆ จนตกผลึก แล้วจึงนำมาสรุปเป็นหลักเหตุผลที่จะนำมาพิสูจน์พระนั้นๆ ว่าใช่หรือไม่

การประเมินผลโดยใช้ความรู้ความชำนาญจากประสบการณ์และแว่นขยาย เป็นตัวช่วยบางคนก็ประเมินผลได้เร็วหรือช้าต่างกันก็อยู่ที่ประสบการณ์และความรู้ที่มีการประเมินผลนั้นอาจจะมีผิดพลาดได้บ้างก็อยู่ที่ประสบการณ์และความรู้ความสามารถที่สั่งสมมาของผู้นั้น

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษามามากนักก็อาจจะสงสัยว่าอะไรกันดูประเดี๋ยวเดียวก็บอกได้แล้วหรือ? ความจริงนั้นเขาได้ศึกษามามากมีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์มาก ก็สามารถประเมิน ผลได้รวดเร็ว ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็คล้ายๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ก็จะมีหน่วยความจำมาก มีตัวประเมินผลที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะประมวลผลออกมาได้เร็ว ส่วนเครื่อง คอมพ์ที่มีประสิทธิภาพต่ำก็ย่อมจะช้าหรือไม่สามารถที่จะประเมินผลออกมาได้

สำหรับพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้นั้น ผู้ที่ได้รับการยอมรับในสังคมพระเครื่องเขาก็ย่อมมีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์มาก เห็นพระแท้ๆ มามากเช่นกันส่วนจะเป็นเซียนขั้นไหนก็แล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เซียนตัวจริงย่อมศึกษาทั้งประวัติและรูปแบบของพระสมเด็จฯ มาอย่างมากมาย แยกแยะตำราที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องออกจากกัน ตำราหรือหนังสือต่างๆ นั้น ก็มีทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ต่างก็เขียนกันอย่างมากมาย ตามความเข้าใจของผู้ที่เขียนเอง หรือเขียนเพื่อผลประโยชน์แอบแฝง ก็ต้องศึกษา และหา เหตุผลมาประกอบในการศึกษา

อย่างเรื่องการสร้างพระสมเด็จฯ ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ นั้น บางหนังสือเขียนกันว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้เป็นแสนๆ ล้านๆ องค์ ก็ต้องใช้วิจารณญาณคิดดูว่าจะจริงหรือไม่ หาเหตุผลมาเชื่อหรือไม่เชื่อ ลองศึกษาดูหลายๆ ทิศทางหาเหตุผลมาประกอบ แล้วที่เขาเล่นหาซื้อ-ขายกันมีมูลค่าเป็นล้านๆ บาทนั้น เขาศึกษาหรือเล่นหากันแบบไหนก็ต้องลองศึกษาดูว่าแบบไหนน่าเชื่อถือกว่ากันแตกต่างกันอย่างไร และสำคัญที่สุดตัวเราเองเชื่อแบบไหน ก็เลือกด้วยตัวเอง เลือกแบบที่ไม่มีมูลค่ารองรับเป็นมาตรฐานของสังคมก็ต้องยอมรับในสิ่งที่ตนเลือก เลือกในแบบที่สังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับก็จะมีมูลค่ารองรับในสังคมตลอดไปครับ

ทุกอย่างในโลกมีทั้งขาวและดำ อยู่ที่ตัวเราเองจะเลือกเดินไปในทางไหน ถ้าเลือกผิดพลาดไปแล้วก็ต้องยอมรับในสิ่งที่เราได้เลือกไปแล้ว แต่ก็สามารถหันกลับมาเลือกในสิ่งที่ถูกต้องได้เสมออยู่ที่ใจของเราว่าจะเลือกดำหรือขาวครับ

ในวันนี้ ผมได้นำรูปพระสมเด็จ วัดบางขุนพรหม พิมพ์ อกครุฑองค์สวยๆ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานของสังคม และมี มูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระครูไชยคีรีสวัสดิ์ (เข็ม) วัดม่วง จังหวัดราชบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเหรียญเก่าแก่เหรียญหนึ่งของจังหวัดราชบุรี คือ เหรียญของพระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ (พระอุปัชฌาย์เข็ม) วัดม่วง อำเภอบ้านโป่ง เรามาศึกษาเรื่องราวประวัติและเหรียญของท่านกันนะครับ

วัดม่วงเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีหลักฐานจารึกเป็นอักษรมอญระบุไว้ ชุมชนชาวบ้านม่วงในสมัยก่อนนั้น คนส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาวมอญ และมีคนไทย คนจีนคนลาวอาศัยอยู่ปะปนกัน ปัจจุบันยังเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมชาวมอญ และมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านม่วง เป็นแหล่งค้นคว้ารวบรวมประวัติความเป็นมา วิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นชาวมอญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีคัมภีร์จารึกภาษามอญ โบราณวัตถุ เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่บ่งบอกถึงมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจครับ

พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ หรือ พระอุปัชฌาย์เข็ม ประวัติของท่านเท่าที่สืบค้นได้ว่าท่านเป็นคนชาวบ้านม่วง เชื้อสายมอญ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2389 ได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุได้ 13 ปี และเมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดม่วงท่านเป็นพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญในทางวิปัสสนากรรมฐาน และท่านได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดม่วง ซึ่งชาวบ้านทั้งมอญ ลาว ไทย จีนต่างก็ เคารพศรัทธาในตัวท่านมาก

ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ก็มีคนมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก ทั้งคนต่างจังหวัดก็มาขอบวชกับท่านมากมาย รวมทั้งชาวกะเหรี่ยงก็ยังมาขอบวชกับท่านด้วย ถึงขนาดต้องอุปสมบทหมู่ เนื่องจากในแต่ละปีจะมีคนมาขอบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก นอกจากมาขอบวชแล้วก็ยังมีพระภิกษุที่บวชตามประเพณีจากที่ต่างๆ มาขอสึกกับท่าน ในตอนออกพรรษาอีกมากเช่นกัน

ในปี พ.ศ.2440 หลวงปู่เข็มจึงได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นที่พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วงก็เจริญรุ่งเรืองมาก ได้มีการสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญกำแพงวัดและโรงเรียน ทำให้วัดบ้านม่วงเป็นศูนย์กลางการเรียนการศึกษาพระธรรมในสมัยนั้นมีพระอาจารย์แปลบาลีมอญ และจารหนังสือไว้อย่างมากมาย หลวงปู่เข็มท่านเป็นพระสงฆ์ ที่มีเมตตาธรรมสูง ใครจะมานิมนต์ไปไหนก็ไม่เคยขัดศรัทธา เป็นที่รักเคารพของชาวบ้านเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จมาที่วัดม่วง และพระราชทานไตรแพรถวายแก่หลวงปู่เข็มด้วย

หลวงปู่เข็มยังมีวิชาแพทย์แผนโบราณช่วยเหลือชาวบ้านอยู่ตลอดว่ากันว่ายาลูกกลอนของท่านศักดิ์สิทธิ์นักรักษาโรคได้หลายอย่าง เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก ทำวัตร สวดมนต์ไม่เคยขาด ภายในวัดจะมีสัตว์ต่างๆ มาอาศัยบารมีของหลวงปู่อยู่มากมาย

ในปี พ.ศ.2464 มีการสร้างพระอุโบสถหลังที่เห็นในปัจจุบันหลวงปู่เข็มได้ออกเหรียญรูปท่านแจกให้เป็นที่ระลึกในการสร้างพระอุโบสถ มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองแดงปัจจุบันก็หาชมได้ยากท้องถิ่นเขาหวงกันมากครับ

พระอุปัชฌาย์เข็มมรณภาพในปี พ.ศ.2476 สิริอายุได้ 87 ปี พรรษาที่ 66

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของท่านมาให้ชมกันครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งคลองตะเคียน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งที่เราเห็นนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นพระที่มีเนื้อโลหะ แต่ก็มีพระกริ่งเก่าแก่ชนิดหนึ่งที่เป็นพระเนื้อดิน ก็คือพระกริ่งคลองตะเคียน พระกริ่งชนิดนี้เป็นพระที่พบกันมานานมากแล้ว ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2400 กว่าๆ และพบที่ตำบลคลองตะเคียน สถานที่พบไม่ปรากฏว่าเป็นโบราณสถานแล้ว เนื่องจากสถานที่พบนั้นเป็นโคกดินบริเวณท้องนา พบเพียงเศษอิฐสมัยอยุธยาเล็กน้อย พระที่พบก็กระจัดกระจายไป ทั่วๆ บริเวณแถบนั้น ในแถบตำบลคลองตะเคียนก็มีวัดเก่าแก่อยู่ 3 วัด แต่ก็ไม่ใช่กรุต้นที่พบพระกริ่งคลองตะเคียน พระกริ่งคลองตะเคียนจริงที่พบนั้น พบที่โคกดินท้องนาในแถบนั้น

พระที่พบมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระกริ่งคลองตะเคียนพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก ซึ่งถือว่าเป็นพิมพ์นิยมที่สุด พิมพ์สองหน้า พิมพ์หน้าเล็กและพิมพ์ฐานสองชั้น นอกจากนี้ ยังพบพระปิดตา ที่เรียกกันว่า พระปิดตาพิชัย พบทั้งพิมพ์ปิดตาหน้าเดียวพิมพ์ปิดตาสองหน้า พิมพ์ปิดตาสามหน้า และพิมพ์ปิดตาสี่หน้า เนื้อของพระจะเป็นเนื้อดินเผา สีส่วนใหญ่จะเป็นสีดำเป็นมัน ที่พบเป็นสีแดงเลือดหมูก็พบบ้างแต่น้อย นอกจากนี้ก็ยังพบที่เป็นเนื้อสีเหลืองอมเขียวก็มี ที่สำคัญนั้นพระทั้งหมดจะมีรอยจารอักขระขอมไว้ทุกองค์ เป็นการจารเปียกตอนที่ขึ้นรูปเป็นองค์พระ และเนื้อยังไม่แห้งดีก่อนที่จะนำพระไปเผา อักขระนั้นจะมีหลากหลายแบบไม่ตายตัว

ในส่วนพระกริ่งนั้น จะมีการอุดกริ่งที่ก้นพระ สันนิษฐานว่าในการกดพิมพ์แล้วคงจะใช้ไม้เสียบที่ก้น เพื่อเอาพระออกจากพิมพ์ จากนี้ก็บรรจุเม็ดกริ่งที่ทำด้วยเนื้อดินเผาเช่นกัน เข้าไว้แล้วปิดรูบรรจุกริ่ง และตรงบริเวณนี้มักจะพบการจารเป็นตัวอุตรงรอยอุดกริ่ง

ส่วนพระปิดตานั้น จะพบมีจารอักขระเช่นเดียวกันแต่ไม่มีการบรรจุเม็ดกริ่ง ในสมัยก่อนก็มีการถกเถียงกันว่า พระปิดตาพิชัยกับพระกริ่งคลองตะเคียนเป็นพระคนละกรุกัน แต่ถ้าเราพิจารณาเนื้อหาของพระรอยจารแล้ว เราก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกัน และเป็นพระที่สร้างในคราวเดียวกัน ในสมัยก่อนนั้นก็มีการพบพระกริ่งคลองตะเคียนที่ด้านหลังเป็นพระปิดตาพิชัยด้วย แต่พบน้อยมาก จำได้ว่าของคุณเสถียร เถียรสุด ผู้อาวุโสในสังคมพระ ท่านเคยเก็บไว้อยู่องค์หนึ่ง และก็ยังพบอีกในสังคมพระเครื่องสองสามองค์เท่านั้น เรื่องนี้ก็เป็นที่ยุติได้ว่าเป็นพระที่สร้างในคราวเดียวกันครับ

พระเเบบพระกริ่งคลองตะเคียนที่สร้างในยุคหลังๆ ก็ยังมีอีกหลายวัดหลายครั้ง แต่พิมพ์ทรงและเนื้อหาก็ต่างกัน ปัจจุบันก็ยังมีการพยายามยัดเยียดให้เป็นพระยุคเดียวกันแต่ต่างกรุอีกก็มี โดยส่วนตัว ผมเองนั้นเคยตามท่าน ผศ.สัมพันธุ์ เลขพันธุ์ ซึ่งท่านเป็นคนอยุธยาไปสำรวจกรุต่างๆ ในอยุธยา และบริเวณที่พบพระกริ่งคลองตะเคียน และสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ท้องถิ่นด้วย

ดังนั้นผมเองจึงเล่นหาสะสมตามที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยโบราณท่านเล่นหากันมา โดยถือคติเดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด จึงเล่นหาตามพิมพ์และเนื้อมาตรฐานของสมัยโบราณครับ

ในเรื่องประสบการณ์นั้น เยี่ยมยอดทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาดและป้องกันเขี้ยวงา ขนาดหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติท่านยังกล่าวชม และผมเองก็เคยเห็นพุทธคุณมากับตาครับ ในวันนี้ก็นำรูปพระกริ่งคลองตะเคียนพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก มาให้ชมกันด้วยครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กันยายน 2563 18:11:42 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.135 Chrome 84.0.4147.135


ดูรายละเอียด
« ตอบ #154 เมื่อ: 09 กันยายน 2563 18:13:22 »


พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ อกกระบอก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ผมก็นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่อีกแม่พิมพ์หนึ่งมาให้ชมครับ พระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์นี้เป็นแม่พิมพ์ที่ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก อาจจะมีจำนวนน้อยหรือพระอาจจะยังไม่ได้ถ่ายรูปมากนัก จึงไม่ค่อยได้มีเผยแพร่กันสักเท่าไรนักครับ

ผมเคยบอกว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ มีอยู่หลายแม่พิมพ์ ไม่ใช่มีแม่พิมพ์เดียว จึงได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ มาให้ชมหลายแม่พิมพ์ แต่ที่เขาจัดให้อยู่ในหมวดของพระพิมพ์ใหญ่ก็เนื่องจากมีพุทธลักษณะหลายๆ อย่างที่เหมือนๆ กัน เพียงแต่มีรายละเอียดของพิมพ์แตกต่างกันเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเท่าที่ในสังคมเขาศึกษากันมาก็มีเหตุผลพิสูจน์แล้วว่าทำไมจึงมีจึงเป็นเช่นนี้ ในส่วนของเนื้อหาหลักและธรรมชาติของการผลิตก็ยังคงเหมือนกันทั้งสิ้นครับ

เราลองมาดูที่พระทั้ง 2 องค์ดูครับ ก็ใช้สูตรเดียวกันกับพระองค์อื่นๆ คือแบ่งพระออกเป็น 2 ส่วน อย่างที่เคยแนะนำไปแล้วนะครับ เราก็จะเห็นว่าพระทั้ง 2 องค์ที่ออกมาจากแม่พิมพ์ตัวเดียวกันก็จะมีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนๆ กัน ลองเปรียบเทียบดูนะครับ ทั้งรายละเอียดขององค์พระ เส้นซุ้ม เส้นขอบ แม่พิมพ์

ข้อนี้สำคัญนะครับ เนื่องจากเส้นขอบแม่พิมพ์นั้นเป็นเรื่องสำคัญของพระสมเด็จทั้งของวัดระฆังฯ และของวัดบางขุนพรหมเลยทีเดียวครับ สำคัญอย่างไร? ก็เป็นร่องรอยการผลิตอย่างหนึ่ง ที่พระปลอมในสมัยก่อนเขาไม่รู้ก็เลยทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ แต่พระปลอมที่ออกมาประมาณสัก 20 ปีมานี้เขาเริ่มทำกันแล้วครับ แต่ทำอย่างไรก็ไม่เหมือนร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ เนื่องจากความจริงในทุกๆ ส่วนของร่องรอยการผลิตนั้นมีความลับซ่อนอยู่แทบทุกจุดครับ

เอามาคุยถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่อกกระบอกกันต่อครับ สังเกตดูนะครับ ที่หน้าอกของพระทั้ง 2 องค์จะเห็นว่าช่วงลำตัวจากใต้รักแร้ลงมาจนถึงมือที่ประสานกันจะลงมาเกือบตรงๆ ไม่ค่อยจะคอดเว้าอะไรเท่าไรลักษณะคล้ายทรงกระบอก จึงเรียกกันแบบนั้น สังเกตดูพระทั้ง 2 องค์ จะมีลักษณะเหมือนกัน นอกจากที่พระเกศหรือเส้นซุ้มด้านบนจะดูเหมือนเขยื้อนติดแม่พิมพ์ไม่ค่อยดี องค์ที่มีผิวค่อนข้างขาวจะติดแม่พิมพ์ได้ดีกว่าอีกองค์หนึ่งจึงเห็นว่าจุดเขยื้อนน้อยกว่า

อีกองค์เราจะเห็นว่ามีส่วนของการเขยื้อนเห็นได้ชัดโดยเฉพาะเส้นซุ้มด้านบน ซึ่งพระแม่พิมพ์นี้จะเป็นเช่นนี้ทุกองค์ แต่การเขยื้อนมากน้อยนั้นแล้วแต่องค์ครับ ก็เป็นตำหนิเฉพาะองค์ การเขยื้อนนี้อาจจะเป็นได้ว่าเนื่องมาจากตัวแม่พิมพ์ จึงสันนิษฐานว่าพระที่ออกมาจากแม่พิมพ์นี้อาจจะมีตำหนิทุกองค์จึงสร้างออกมาน้อยกว่าแม่พิมพ์อื่น สิ่งเหล่านี้เป็นร่องรอยการผลิตอย่างหนึ่ง

มาดูกันที่ผิวพระถ้าดูจากรูป จะเห็นว่าผิวของพระทั้ง 2 องค์ไม่เหมือนกันสีก็ไม่เหมือนกันนั้นก็อยู่ที่ธรรมชาติขององค์พระ องค์ที่มีผิวขาวนวล เป็นผิวพระแบบธรรมชาติดั้งเดิม ส่วนอีกองค์นั้นเป็นแบบธรรมชาติปรุงแต่ง พระองค์นี้เราจะเห็นสีเข้มๆ และมีจุดสีเข้มๆ ทั่วบริเวณองค์พระนั้นเนื่องมาจากพระองค์นี้มีการลงรักมาแต่ดั้งเดิม สันนิษฐานว่าน่าจะลงรักตั้งแต่ตอนที่สมัยการสร้างพระเลย ทำไม? ก็ให้สังเกตดูครับว่าพระองค์นี้มีการแตกลายงาที่พื้นผิว การแตกลายงานี้เกิดขึ้นจากการที่ลงรักมาแต่เดิมในสมัยที่สร้างพระใหม่ๆ พอผ่านกาลเวลาการหดตัวของผิวพระกับวัสดุที่เคลือบผิวไว้มีการหดตัวต่างกัน จึงมีความตึงผิวที่ต่างกันทำให้เกิดร่องรอยตามที่เห็นเมื่อเราลอกรักออก

ในตรงนี้ถ้าศึกษาลงไปลึกๆ ก็จะมีเหตุผลอธิบายได้ และพวกปลอมพระยังไม่รู้ว่าเป็นเช่นไรก็ทำปลอมพระแตกลายงาได้ไม่เหมือนครับ พระที่ลงรักมาก่อน แล้วลอกรักออกมาให้เห็นองค์พระชัดๆ ผิวของพระก็จะเป็นอย่างที่เห็นจะสวยซึ้งไปอีกแบบหนึ่ง เป็นผิวที่แตกลายงา มีเสน่ห์ไปอีกแบบครับ

ด้านหลังองค์พระของทั้ง 2 องค์ก็ทิ้งร่องรอยการผลิตไว้ให้เห็นต้องลองสังเกตดูดีๆ ครับ อาจจะเห็นได้ครับ ผมขออนุญาตยังไม่บอกจุดนี้นะครับ เพราะพวกทำพระปลอมก็อยากจะรู้เหมือนกัน ลองสังเกตดูครับว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จวัดบางขุนพรหม ด้านหลังก็ทิ้งร่องรอยการผลิตไว้ต่างกันครับ และทั้ง 2 วัดก็มีเอกลักษณ์ในร่องรอยการผลิตของเขาไว้ครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่อกกระบอกมาให้ชมเปรียบเทียบกัน 2 องค์ และที่สำคัญพระทั้ง 2 องค์นี้แท้ตามมาตรฐานสังคมนิยมและมีมูลค่าราคารองรับสูงครับ  
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระหูยานเนื้อชินสนิมแดง

พระหูยานเนื้อชินสนิมแดง - สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระหูยานเป็นพระเนื้อชินยอดนิยม และมีอยู่หลายกรุหลายจังหวัด หลายยุค แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน ทุกกรุ แต่ก็มีอยู่กรุเดียวที่เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง คือกรุสมอพลือ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นพระที่หายากมีจำนวนน้อยมาก

เมืองเพชร มีการพบหลักฐานการเป็นชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์แถบภูเขา ทางด้านตะวันตก เขตอำเภอท่ายาง ต่อมาในสมัยทวารวดีก็ยังพบหลักฐานการเป็น ที่ตั้งชุมชนในหลายพื้นที่ เช่นที่หนองปรง เขตอำเภอเขาย้อย กลุ่มบ้านหนองพระ กลุ่มบ้านลาด กลุ่มเขากระจิว เป็นต้น มีการพบธรรมจักรหินฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชร แต่จากการสำรวจทางอากาศกลับไม่พบแนวคันคูเมืองแบบทวารวดีเลย ซึ่งคันคูเมืองแบบทวารวดีมักนิยมทำเป็นรูปแบบวงรีๆ คล้ายรูปเปลือกหอยกาบ สันนิษฐานว่าคงเป็นแค่แหล่งชุมชนเท่านั้น

ในสมัยที่ขอม (เขมร โบราณ) เรืองอำนาจ ชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำเพชรก็ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมของขอมเข้ามา และมีการสร้างเมือง โดยการสำรวจทางอากาศพบผังแนวคันคูเมืองรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชร ซึ่งเริ่มนิยมสร้างในสมัยขอม อิทธิพลวัฒนธรรมขอมยังคงมีพบโบราณสถานที่วัดกำแพงแลง ซึ่งเป็นพระปรางค์ศิลาแลง 5 องค์ สถาปัตยกรรมและรูปเคารพที่พบจากบริเวณนี้เป็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 สันนิษฐานว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถไว้ ตามศิลาจารึกที่พบในนครธม และกล่าวถึงว่าคือ เมืองศรีชัยวัชรบุรี

หลักศิลาจารึกสมัยกรุงสุโขทัยก็ยังกล่าวถึงเมืองเพชรบุรีด้วย และมีการขุดพบเครื่องถ้วยเคลือบจีน สมัยราชวงศ์สุ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18-19 และเมืองเพชรก็น่าจะเป็นเมืองท่าเมืองหนึ่งในสมัยกรุงสุโขทัย และเป็นเมืองหน้าด่านและเมืองท่าต่อมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา

จากหลักฐานต่างๆ ที่พบนั้น ก็ยังมีการขุดพบพระเครื่อง ที่เป็นศิลปะขอมแบบบายน อีกหลายแห่ง เช่น ที่กรุสมอพลือ กรุเสมา สามชั้นและกรุวัดค้างคาว เป็นต้น พระเครื่องที่พบเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ทั้งหมดและพระของทั้งสามกรุก็เป็นพระ ที่นิยมกันมาก แต่ก็ค่อนข้างหายาก เนื่องจากพระที่พบสมบูรณ์ๆ มีจำนวนน้อยมาก ซึ่งพระส่วนใหญ่จะชำรุดเสียตั้งแต่ ในกรุ พระเครื่องของกรุสมอพลือ พระที่พบเป็นพระเครื่องแบบพระหูยาน มีส่วนคล้ายกับพระหูยานลพบุรีมาก แต่เป็นเนื้อชินสนิมแดง และก็เป็นเพียงกรุเดียวเท่านั้น ที่พบพระหูยานเป็นเนื้อชินสนิมแดง รายละเอียดของพิมพ์พระหูยานของกรุ สมอพลือ แตกต่างกันกับพระหูยานลพบุรี ที่สังเกตง่ายๆ ก็คือพระเกศของกรุสมอพลือจะเป็นเส้นวนรอบสามชั้นแบบผมมวย เส้นสังฆาฏิก็จะเล็กสั้น บางองค์ที่ชัดๆ ก็จะพอสังเกตเห็นว่ายาวพาดมาแค่เหนือพระถันเท่านั้น ไม่ยาวลงมาถึงท้องแบบพระหูยานลพบุรี ขนาดของพระหูยานกรุสมอพลือ จะเล็กกว่าของลพบุรี

พระหูยานกรุสมอพลือเป็นพระที่หายากมาก ว่ากันว่าพระที่สมบูรณ์ขึ้นจากกรุจำนวนหลักสิบเท่านั้นครับ พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาดแบบเดียว กับของลพบุรี

วันนี้ผมนำรูปพระหูยานกรุสมอพลือจากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระสมเด็จไกเซอร์ มีจริงหรือไม่?

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีผู้สอบถามกันมากพอสมควรถึงเรื่องพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้น่ะมีพิมพ์ไกเซอร์หรือไม่อย่างไร และปัจจุบันมีการพูดถึงกันมาในสังคมออนไลน์ และมีความเห็นต่างๆ กันไป

ถ้าจะให้ผมตอบตามความจริงพระสมเด็จที่ขนานนามว่าพิมพ์ไกเซอร์นั้นมีจริงครับ ปัจจุบันเรียกหากันว่าพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร ที่มีการขนานนามว่าไกเซอร์นั้นก็เนื่องจากมีเรื่องเล่ากันมาว่า

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงนำติดตัวไปในช่วงที่เสด็จประพาสยุโรป และพระเจ้าไกเซอร์ทรงเห็นแสงเป็นประกายออกมาจากกระเป๋าเสื้อของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงถามว่าเป็นสิ่งใด และเป็นที่มาของชื่อพระสมเด็จพิมพ์นี้ในสมัยหนึ่ง

ครับก็เป็นเรื่องย่อๆ ที่เล่าสู่กันมา ทีนี้ก็มีปัญหาอีกว่าเป็นพระสมเด็จพิมพ์ใด ในสังคมพระเครื่องก็ว่าเป็นพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร และมีมาตรฐานของพระพิมพ์นี้ในสังคมพระเครื่องว่ามีอยู่ 3 พิมพ์ทรง

ผมมีเรื่องที่จะเล่าสู่กันฟังอยู่เรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องจริงเกี่ยวกับตัวผมคือในสมัยที่ผมเรียนหนังสือนั้นผมได้มีโอกาสได้เรียนกับท่านที่มีคำนำหน้านามอยู่หลายท่าน เนื่องจากท่านเป็นราชสกุล ต่อมาเมื่อเรียนจบต่างคนต่างก็แยกย้ายกันแต่ก็มีโอกาสที่จะพบปะกันเป็นครั้งคราวอยู่เสมอ

มีครั้งหนึ่งได้ไปทานข้าวกันหลายคนท่านหม่อมก็ไปด้วยและท่านเห็นว่าผมสนใจในพระเครื่อง ท่านจึงถามผมว่าเคยเห็นพระสมเด็จไกเซอร์ไหม และท่านก็บอกว่าไว้จะนำมาให้ดูในการนัดกันครั้งต่อไป ผมก็รับคำท่าน และคิดอยู่ในใจว่าจะเป็นพระแท้ตามมาตรฐานสังคมหรือไม่

เนื่องจากเท่าที่มีคนนำพระสมเด็จไกเซอร์มาให้ดูก็มักจะเป็นพระที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมแทบทั้งสิ้น และผมต้องคิดหาคำตอบกับท่านอย่างดีด้วยเพื่อไม่ให้เสียมารยาทถ้าหากว่าไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม

ครั้งต่อมาเมื่อได้มีโอกาสได้พบกัน ท่านก็ไม่ลืมที่จะนำพระสมเด็จไกเซอร์มาให้ผมชม พอท่านหยิบพระมาให้ดูก็โล่งอกครับ ผมเห็นก็สบายใจเพราะเป็นพระสมเด็จอกครุฑพิมพ์ใหญ่แท้ดูง่าย ผมก็บอกท่านตามความจริงว่าแท้ดูง่าย ท่านก็เล่าให้ฟังว่าเป็นพระของตระกูลท่านและได้ตกทอดมาถึงท่าน ปู่ท่านบอกว่าเป็นพระสมเด็จไกเซอร์ตามที่คนโบราณเรียกหาพระพิมพ์นี้กัน

ครับก็เป็นการเรียกชื่อพระพิมพ์นี้กันอยู่ในยุคสมัยหนึ่ง แต่ในปัจจุบันมักเรียกกันว่าพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ พระพิมพ์นี้ส่วนใหญ่จะพบบรรจุอยู่ในกรุวัดบางขุนพรหม แต่ที่ไม่ได้บรรจุกรุนั้นมีไหม ผมเองเชื่อว่ามีแน่ครับ และพระส่วนหนึ่งอาจจะมีการแจกกันก่อนที่จะบรรจุกรุแล้ว และก็น่าจะมีอยู่หลายพิมพ์ที่ไม่ได้บรรจุกรุ แต่ก็คงจะมีอยู่ไม่มากนักครับ และคงเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยนั้นที่ได้รับแจกก่อนที่จะบรรจุกรุ

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑเท่าที่พบในกรุวัดบางขุนพรหมนั้นสามารถแยกได้เป็น 3 พิมพ์ มีพิมพ์อกครุฑใหญ่ พิมพ์อกครุฑ กลาง และพิมพ์อกครุฑเล็ก ในสมัยก่อนยังมีชื่อที่เรียกกันว่าพิมพ์อกครุฑเศียรบาตรเนื่องจากหน้าอกของพระนูนเด่นคล้ายๆ กับอกของครุฑ และเศียรของพระก็จะใหญ่กว่าพระสมเด็จทุกพิมพ์ฐาน ก็จะหนาทึบตันทั้ง 3 ชั้น ศิลปะก็แตกต่างจากพระสมเด็จพิมพ์ ทรงอื่นๆชัดเจน พระพิมพ์นี้ที่แตกต่างเห็นได้ชัดก็คือจะไม่มีฐานของซุ้มเรือนแก้วครับ

เรื่องของพระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ก็น่าจะเป็นพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑนี่แหละครับ อย่างพระของท่านหม่อมก็ได้รับตกทอดมาจากตระกูลของท่าน และเรียกหาต่อกันมาว่าพระสมเด็จไกเซอร์ตามที่ผมเล่ามา นอกจากนี้ผมก็ยังได้เห็นพระของตระกูลเก่าแก่ที่เรียกหากันมาแบบนี้ และเป็นพระอกครุฑแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมอีกหลายองค์ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์อกครุฑเศียรบาตรแท้ๆ และเป็นพระพิมพ์เดียวกับที่ท่านหม่อมเพื่อนของผมนำมาให้ดู พระแบบนี้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม และมีมูลค่ารองรับหลักล้านบาทครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



จำนวนพระสมเด็จฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีคำถามมากมายพอสมควรว่า พระสมเด็จที่เจ้าประคุณเด็จฯ สร้างไว้มีจำนวนเท่าไร มีการบันทึกไว้หรือไม่? ครับเท่าที่ผมเองได้ศึกษามานั้นก็ไม่มีอะไรมายืนยันได้อย่างชัดเจนว่ามีจำนวนการสร้างกี่องค์ เราก็ยังไม่มีหลักฐานที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานชัดเจน แต่เอาเท่าที่พระสมเด็จฯ ที่เชื่อได้ว่าเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ที่เป็นมาตรฐานและมีมูลค่ารองรับนั้น มีอยู่ 3 วัดคือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม และพระสมเด็จวัดไชโยฯ ทั้ง 3 วัดนั้นนิยมเล่นหาสะสมเป็นมาตรฐานและมีมูลค่ารองรับ

พระของทั้ง 3 วัดที่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานมีมูลค่ารองรับก็มีมาตรฐานแยกออกว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ มีกี่พิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมมีอยู่กี่พิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดไชโยฯ มีอยู่กี่พิมพ์ทรง ที่เชื่อได้ว่าเป็นพระที่สร้างโดยเจ้าประคุณสมเด็จฯเนื่องจากแต่ละวัดก็ยังมีการสร้างกันต่อมาอีกในยุคหลังๆ ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาว่า พระที่สร้างและปลุกเสกโดยเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่มีหลักฐานชัดเจนนั้นมีอะไรบ้าง และเป็นที่ยอมรับของสังคมมีมูลค่ารองรับ

ส่วนในเรื่องของจำนวนในแต่ละวัดนั้นก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้ในยุคนั้นเลย เนื่องจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็สร้างแจกไปเรื่อยๆ อย่างพระสมเด็จของวัดระฆังฯ ส่วนพระสมเด็จที่สร้างบรรจุในกรุพระเจดีย์ของวัดบางขุนพรหม ก็ไม่ได้มีบันทึกไว้ว่าสร้างจำนวนเท่าไร มีเพียงบันทึกว่าในปี พ.ศ.2411 เสมียนตราด้วงได้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหมใน และได้ขออาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระเพื่อบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ประธานที่จะสร้างขึ้นใหม่ เจ้าประคุณสมเด็จฯก็กรุณาอนุญาตและรับเป็นประธานในการสร้างพระ

สันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มสร้างพระตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปี พ.ศ.2413 องค์พระเจดีย์ก็แล้วเสร็จและได้นำพระทั้งหมดบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ แต่ก็ไม่ได้มีบันทึกอีกว่ามีจำนวนพระทั้งหมดจำนวนเท่าไร แต่ก็น่าเชื่อได้ว่ามีจำนวนมากพอสมควร หลังจากที่ได้มีการลักลอบขุดนำพระออกมา และในช่วงที่เปิดกรุเป็นทางการในปี พ.ศ.2500 ก็พบพระเป็นจำนวนมากที่สมบูรณ์ที่วัดนำมาจำหน่ายให้ทำบุญก็ประมาณถึง 3,000 กว่าองค์แล้ว นอกจากพระที่สมบูรณ์แล้วก็ยังพบพระที่ชำรุดเสียหายและที่พระติดกันเป็นก้อนอีกจำนวนหลายปี๊บ ส่วนพระของวัดไชโยฯ นั้นก็ไม่มีการบันทึกไว้เช่นกันพระที่พบก็มาจากการพังทลายลงมาของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ และทางการก็มีการเรียกให้ผู้ที่นำ พระไปตอนที่พระองค์ใหญ่พังทลายลงมานำพระมาคืน และแจกคืนให้ไปเป็นบางส่วน

ครับเรื่องจำนวนของพระทั้ง 3 วัดก็คือไม่มีใครทราบจริงๆ ว่ามีการสร้างพระไว้จำนวนเท่าไร ถ้าถามผม ในความคิดของผมเองนั้นก็ว่าทั้ง 3 วัดรวมกันน่าเชื่อได้ว่ามีจำนวนเป็นหมื่นๆ องค์ แต่เท่าไรแน่นั้นไม่ทราบจริงๆ ครับ แต่ที่ว่ามีเป็นแสนๆ ล้านๆ องค์นั้นผมไม่เชื่อนัก เนื่องจากการสร้างพระในสมัยโบราณนั้นสร้างได้ช้ามาก แม้จะมีคนมาช่วยกันหลายคนก็ยังสร้างไม่ได้จำนวนมหาศาลอย่างนั้น และการสร้างพระในสมัยโบราณก็สร้างแจก หรือสร้างบรรจุไว้ในเจดีย์เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา ที่ว่าจำนวน 8,400 องค์นั้นก็เป็นความเชื่อว่าน่าจะสร้างให้เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ ก็เป็นการสันนิษฐานเอาเองในภายหลังทั้งสิ้น

พระสมเด็จทั้ง 3 วัดที่สังคมยอมรับเป็นมาตรฐาน ผมเองก็เคยได้ดูจากผู้ที่ครอบครองไว้หลายองค์ส่วนใหญ่เป็นพระของผู้หลักผู้ใหญ่ในเมืองไทยหลายท่าน และเห็นที่อยู่ในสังคมพระเครื่องทั้งสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์อีกหลายร้อยองค์ ถ้าจะให้คาดคะเนพระสมเด็จฯ ที่อยู่ในสังคมพระเครื่องที่เป็นมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับน่ามีถึงหลักพันองค์ แต่พระที่อยู่กับตามบ้านที่ยังไม่เคยนำมาสู่สังคมก็น่าจะมีอีก เนื่องจากในสังคมพระเครื่องเราก็เห็นพระหน้าใหม่ที่นำมาถ่ายรูปบ้าง นำมาตีราคาบ้างก็มีให้เห็นอยู่เสมอ ดังนั้นก็น่าจะมีพระอีกหลายองค์ที่ยังไม่ปรากฏต่อสายตาของสังคมพระเครื่อง แต่จะให้เดาว่ามีพระจำนวนเท่าไรนั้นคงจะยากและตอบได้คำเดียวว่าไม่รู้ครับ

ส่วนพระปลอมเลียนแบบนั้น พระสมเด็จเป็นพระที่มีการปลอมมากที่สุด และมีนมนานแล้วและก็ยังมีการทำปลอมอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากมีผู้ศรัทธาในตัวเจ้าประคุณสมเด็จฯมาก จึงมีผู้ที่อยากได้ครอบครองพระที่ท่านสร้างไว้มาก มีทั้งที่ทำปลอมได้ใกล้เคียง คล้ายๆและปลอมแบบห่างๆ หรือสร้างแบบพิมพ์รูปแบบขึ้นใหม่เลย และสร้างนิยายประกอบการขายก็มากและเรื่องนิยายประกอบก็มีมานานแล้วเช่นกัน น่าจะเป็นร้อยปีหรือไม่ก็ใกล้เคียงมากมายหลายเรื่องหลายคนแต่ง เล่ากันเป็นตุเป็นตะเลยทีเดียว โดยนำเอาประวัติที่เกี่ยวเนื่องมาแต่งต่อเติมและก็ทำพระปลอมให้เข้า กับเรื่องนิยายนั้นๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขายพระ

แต่เท่าที่สังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับนั้น ก็มีอยู่แค่ 3 วัดดังที่กล่าวมาแล้วเท่านั้นครับ และแบบพิมพ์ก็มีเท่าที่กำหนดเป็นมาตรฐานของสังคม จึงจะมีมูลค่ารองรับ ส่วนตัวแม่พิมพ์นั้นก็มีอยู่หลายแม่พิมพ์อย่างของวัดระฆังฯ ก็ไม่ได้มีแม่พิมพ์แค่ 4 แม่พิมพ์ เนื่องจากยังสามารถแยกแม่พิมพ์ออกได้ในแต่ละหมวดพิมพ์อีก พระของวัดบางขุนพรหมก็เช่นกัน ในแต่ละหมวดเขาก็มีแม่พิมพ์อยู่หลายแม่พิมพ์ ยกตัวอย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้าย ก็มีแม่พิมพ์อยู่ถึง 8 แม่พิมพ์ เป็นต้น ผู้ที่กำลังศึกษาต้องศึกษาดูว่าในแต่ละหมวดของพิมพ์นั้นมีแม่พิมพ์อยู่กี่ตัวอย่างไรบ้าง ที่สำคัญต้องศึกษาจากพระที่เป็นมาตรฐานสังคมยอมรับ และมีมูลค่ารองรับครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดไชโยฯ พิมพ์ 7 ชั้นนิยม ที่เป็นมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระกรุมีแม่พิมพ์อันเดียวหรือ?  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สงสัยไหมครับว่าพระกรุบางชนิดทำไมจึงมีจำนวนพระอยู่มากมาย แต่รายละเอียด ของแม่พิมพ์มีรายละเอียดเหมือนกันหมด แล้วจะสร้างได้อย่างไรมีแม่พิมพ์ชิ้นเดียวหรือ? ครับในสมัยที่ผมเริ่มศึกษาเล่นหา พระเครื่องใหม่ๆ ก็มีความสงสัยและรู้สึกขัดแย้งอยู่ในใจเช่นกัน จึงเริ่มศึกษาว่าความจริงเป็นอย่างไร

เรื่องของแม่พิมพ์พระกรุพระเก่านั้นมีการค้นพบกันอยู่ในกรุอยู่หลายกรุ ทั้งที่กรมศิลปากรค้นพบและนำมาแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์เอง และที่ถูกนำมาขายโดยผู้ที่ลักลอบขุดบ้าง ในสมัยก่อนพอเห็นอยู่บ้างในสมัยสนามวัดมหาธาตุยุคปลายและที่สนามท่าพระจันทร์ยุคต้นๆ

ผมเองก็เคยเห็นอยู่หลายชิ้นแต่ก็ไม่ได้ซื้อหาไว้ เพราะหาแต่องค์พระ ก็มีเพื่อนบางคนซื้อหาไว้ก็มี มาศึกษาตัวแม่พิมพ์ของพระเก่าดูก็เห็นว่ากรรมวิธีการทำนั้นเขาถอดจากตัวต้นแบบมาทั้งสิ้น แม่พิมพ์มีทั้งที่เป็นดินเผา แม่พิมพ์สัมฤทธิ์ กรรมวิธีการสร้างนั้นก็ใช้การถอดจากต้นแบบเช่นเดียวกัน ดังนั้นรายละเอียดของแม่พิมพ์จึงมาจากต้นแบบอันเดียวกัน และมีรายละเอียดที่เหมือนกันในพระที่เป็นแม่พิมพ์เดียวกัน

จากการศึกษาเรื่องแม่พิมพ์ของพระ ก็พบว่าการสร้างพระในสมัยโบราณนั้น เขาสร้างต้นแบบเป็นองค์พระแบบที่เราเห็นกันนี่แหละครับ วัสดุที่นำมาทำตัวต้นแบบนั้นก็แล้วแต่จะนำมาใช้ แล้วนำมาแกะให้เป็นตัวต้นแบบแล้วจึงนำมามาถอดเป็นแม่พิมพ์ ซึ่งก็สามารถถอดแม่พิมพ์ออกมาได้หลายตัวเท่าที่ต้องการถ้าเป็นพระเนื้อดินเผาก็ใช้ดินที่นำมาสร้างพระนั่นแหละมาถอดพิมพ์ หลังจากนั้นก็นำไปเผาไฟเพื่อให้แม่พิมพ์แข็งตัวคงทน แล้วจึงนำไปพิมพ์พระออกมาได้มากมาย

ยกตัวอย่างพระกรุลำพูนที่เรียกกันว่าพระคง ในสมัยที่ผมเริ่มศึกษามีพระจำนวนมากสนนราคาก็อยู่ที่หลักสิบ สวยๆ หน่อยก็แค่ร้อยกว่าบาท ผมได้เช่าหามาศึกษาดูและได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่เรื่องรายละเอียดของพิมพ์ ก็ลองสังเกตดูก็เห็นว่ามีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนๆ กันหมด ก็ศึกษาดูว่าจำนวนพระที่พบในบริเวณวัดพระคงนั้นมีมากน้อยแค่ไหนอย่างไรก็พบว่ามีจำนวนมากมาย

ยิ่งในปี พ.ศ.2518 ทางวัดได้บูรณะโบสถ์ใหม่ มีการขุดฐานรากใหม่ ก็พบพระคงจำนวนหลายพันองค์ และทางวัดเปิดให้เช่าบูชา เพื่อนำปัจจัยมาบูรณะวัดในครั้งนั้น พระที่พบในครั้งนั้นเรียกว่าพระกรุใหม่ เนื่องจากเป็นการพบในครั้งใหม่หลังสุด ผมก็ได้เช่ามาอยู่หลายองค์ นำมาศึกษาเปรียบเทียบกับพระกรุเก่าที่เช่าหามาก่อนหน้านั้น สังเกตดูรายละเอียดของแม่พิมพ์ก็เหมือนกันทั้งสิ้น เนื้อหาก็เหมือนกัน ผิดกันอยู่ที่ผิวของพระที่เป็นแบบพระที่เพิ่งขึ้นจากกรุใหม่ๆ เท่านั้น

ดังนั้นเรื่องของรายละเอียดแม่พิมพ์จึง เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของการพิจารณาพระเครื่องว่าใช่หรือ ไม่เพราะสิ่งของหรือพระเครื่องก็ตามที่ สร้างขึ้นมาจากแม่พิมพ์อันเดียวกันย่อม มีรายละเอียดของพระนั้นๆ ก็ต้องมี รายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนกันหมด จะผิดเพี้ยนกันไม่ได้เด็จขาด หลังจากนั้นจึงพิจารณาเรื่องของเนื้อพระและธรรมชาติความเก่าตามอายุของพระ และธรรมชาติการผลิตต่างๆ ของพระนั้นๆ ก็จะเหมือนๆ กันหมด จึงจะสรุปได้ว่าใช่หรือไม่

ครับสำหรับพระคง ลำพูนที่นำมายกเป็นตัวอย่างนี้ ผมก็ได้นำรูปพระคงมาให้ชมเปรียบเทียบดูรายละเอียดของแม่พิมพ์ว่าเหมือนกันหรือไม่อย่างไร สังเกตดูใบโพธิ์ต่างๆ ก็จะเหมือนกัน กิ่งโพธิ์ก็ต้องเหมือนกัน เส้นสายต่างๆ ก็จะเหมือนๆ กันไม่ผิดเพี้ยน รายละเอียดขององค์พระ ฐานที่ประทับ รอยเส้นพิมพ์แตกก็จะเหมือนกันทั้งหมด มิติความลึกตื้นในส่วนต่างๆ ก็จะต้องเหมือนกันด้วยเช่นกันครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



ทำไมต้องเป็นพระสมเด็จ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พอดีมีผู้สอบถามมาและแนะให้ไปดูเรื่องพระสมเด็จที่มีการถกเถียงกันในสังคมเกี่ยวกับเรื่องพระสมเด็จ ผมก็ได้เขาไปดูและอ่านก็เห็นการมีการแสดงความคิดเห็นอยู่มากมาย มีทั้งที่แตกต่างกันบ้างและเหมือนกันบ้าง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องตัวองค์พระว่าแบบไหนใช่แท้ และแบบไหนที่ไม่ใช่ไม่แท้ ต่างก็ให้เหตุผลของในกลุ่มที่ตนเชื่อ และเป็นเรื่องหนึ่งที่มีการถกเถียงกันมากกว่าพระชนิดอื่นๆ

ครับแล้วทำไมจึงต้องเป็นพระสมเด็จ ถ้าโดยส่วนตัวผมคิดว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นพระสงฆ์ที่มีคนเคารพศรัทธามาก และมีพระเครื่องที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ แทบทุกคนก็อยากที่จะมีพระเครื่องของท่านไว้บูชา อีกอย่างหนึ่งก็คือมูลค่าราคาที่มีใน พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ เราก็เห็นๆ กันอยู่และก็ทราบกันดีว่ามูลค่าเป็นหลักล้านบาทที่เห็นมีผู้ที่ยอมจ่ายเงินเพื่อให้ได้พระมาบูชาจริงๆ ในส่วนนี้ก็มีบางท่านก็อยากจะได้ไว้เพราะมูลค่าใน องค์พระด้วย ถ้าพูดความจริงกันนะครับ หรือทั้งศรัทธากันจริงๆ กับมูลค่าด้วย บางท่านก็คิดว่าถ้าวันใดมีเหตุจำเป็นก็อาจจะนำไปให้เช่าเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายหรือแก้ไขปัญหาส่วนตัว แต่เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือจำนวนพระที่มีมูลค่าจริงๆ นั้นหายากมาก และปัจจุบันก็มีราคาสูงมากเช่นกัน ไม่สามารถจะหากันได้ง่ายๆ แต่ความปรารถนาก็ยังไม่สิ้นสุดก็อยากจะหาไว้ เผื่อได้พบพระสมเด็จที่สนนราคาจับต้องได้บ้าง ก็คล้ายๆ กับคนที่ซื้อลอตเตอรี่ เผื่อถูก รางวัลที่หนึ่ง คงประมาณนั้น

ทีนี้มาพูดถึงเรื่องความเห็นที่แตกต่างของเรื่องแบบไหนใช่ไม่ใช่ และมีมูลค่า ซึ่งความจริงก็มีการถกเถียงกันมานาน แล้ว ก่อนปี พ.ศ.2500 เสียอีก ก็มีผู้ที่ เขียนตำราต่างๆ มากมายเหมือนกันบ้าง แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงบ้างก็ว่ากันไป โดยทุกฝ่ายต่างก็อ้างบันทึกและเหตุผลต่างๆ กันไป เท่าที่สังเกตดูตำราต่างๆ นั้นก็มีการเขียนถึงประวัติและวิธีการสร้างพระของเจ้าประคุณสมเด็จฯ แตกต่างกันไป มีทั้งพิมพ์ต่างๆ ก็เหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้างแต่ที่สำคัญที่สุดก็ไม่มีใครที่เขียนตำราเกิดทันแม้แต่คนเดียว ต่างก็นำเอาคำบอกเล่าหรือที่บอกต่อกันมาทั้งสิ้น อ้างตำราต่างๆ ที่บันทึกไว้ ผมคงไม่ไปกล่าวถึงในส่วนนี้นะครับ เพราะสืบค้นความจริงไปแล้วต่างก็เกิดไม่ทันทั้งสิ้น

กลับมาที่ตำราใดที่บ่งบอกว่าพระองค์นั้นแบบนี้เป็นพระที่สร้างโดยเจ้าประคุณสมเด็จฯ จริงๆ ก็มีอยู่มากมายและแตกต่างกัน มีทั้งที่กล่าวอ้างว่าเป็นบันทึกเก่าแก่น่า เชื่อถือต่างๆ และวิธีพิสูจน์ว่าใช่ไม่ใช่ มีทั้งที่นำเอาการพิสูจน์แบบวิทยาศาสตร์แบบที่เขาคิดว่าถูกต้อง มีทั้งที่ใช้วิธีจับพลังภายใน ก็ว่ากันไปครับ แต่ที่แน่ๆ อยู่แบบหนึ่งก็คือแบบ ที่มีมูลค่าราคา สามารถนำไปขายได้จริง ผมเองเห็นและอยู่ในเหตุการณ์อยู่หลายครั้ง ก็พอจะยืนยันได้ครับว่ามีการซื้อ-ขายกันจริงตามมูลค่านั้น ซึ่งก็เป็นล้านๆ บาทในปัจจุบัน ในคนกลุ่มคนที่เล่นหาและเชื่อตามมาตรฐานการพิสูจน์ในแบบที่มีมูลค่ารองรับนั้นก็มีมานมนานแล้ว เขาก็มีมาตรฐานของเขาตามที่เขาเชื่อ เพราะเขาซื้อ-ขายกันเป็นล้านบาท ถ้าไม่มีมาตรฐานจริงก็คงไม่มีใครยอมจ่ายเงินจำนวนมากเช่นนั้น แล้วมาตรฐานการพิสูจน์นั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้ก็คงต้องไปศึกษาไปขอคำแนะนำจากกลุ่มของเขานะครับ เท่าที่ผมเห็นเขาก็มีการจัดเผยแพร่เรื่องการศึกษา พระสมเด็จอยู่บ่อยๆ แม้แต่ที่ข่าวสดเองก็เคยจัดครับ และผมก็ได้เข้าไปฟังการอบรมด้วยซึ่งก็มีองค์พระจริงๆ มาแสดงให้ดูด้วย

ครับถ้าเราคิดว่าชอบแบบไหนแนวทางการศึกษาแบบไหนก็ไปศึกษาตามแบบนั้นๆก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรครับ และผมไม่เห็นว่าจะต้องมาว่ากล่าวติเตียนกันเลย ชอบแบบไหนก็เลือกแบบนั้นจริงไหมครับ และก็เล่นหาศึกษาตามกลุ่มที่เห็นตรงกันก็จบ จะเช่าหาซื้อ-ขายก็อยู่ในกลุ่มของเราจบ แต่ที่ไม่จบเท่าที่เห็นอยู่ก็คือฉันเชื่อแบบนี้ แล้วนำพระไปขายให้กับอีกกลุ่มที่มีความเชื่อต่างกัน แล้วเขาไม่ซื้อก็เลยโกรธโมโหโกรธาด่าว่านินทาทีหลัง ก็เชื่อแบบไหนก็ไปขายที่เชื่อเหมือนๆ กันสิครับแค่นั้นก็จบ แต่ถ้าเขาไม่ซื้อแม้จะอยู่กลุ่มเดียวกันเชื่อแบบเดียวกันยังไม่ซื้อ ก็ต้องคิดดูเอาเองแล้วละครับว่าเป็นอย่างไร ความเชื่อเราชีวิตเราต้องเลือกเองครับว่าจะไปทางไหน คิดต่างกันได้ครับไม่มีปัญหา แต่อย่าให้คนที่เขาคิดต่างมายอมรับในสิ่งที่เราเห็นต่างครับ สังคมคงจะอยู่ยากนะครับ

เช่าหาพระสมเด็จมาแล้วจะนำไปขายในอีกกลุ่มหนึ่งที่เขาไม่ซื้อก็จบเท่านั้น ไม่น่าจะมีปัญหา ถ้าเราคิดว่าดีถูกต้องก็เก็บไว้เองครับไม่ต้องไปบังคับเขาให้ซื้อของเรานะครับ แบบนี้ไม่ถูกต้องครับ แล้วที่ว่าเอาพระขายแล้วเขาบอกว่าเก๊นั้น เรื่องนี้ไม่เป็นความจริงเพราะผมเองก็เข้าไปตามศูนย์พระใหญ่ๆ อยู่บ่อยๆ ไม่มีหรอกครับ มีแต่ว่านำไปขายแล้วเขาจะซื้อหรือไม่เท่านั้นครับ ไม่มีการบอกว่าแท้หรือเก๊ครับ นี่เป็นความจริงพิสูจน์ได้ครับลองไปดูสิครับ จะเล่นหาพระแบบไหนก็ไปในกลุ่มที่เล่นหาเหมือนกันครับปัญหาจบครับ

ส่วนกลุ่มที่เขาเล่นหาที่มีมูลค่ารองรับเขาก็เล่นแบบของเขา ก็หาพระแบบที่เขาเล่นหากันไปขายเขาสิครับ ถ้าถูกต้องรับรองว่าได้เงินกลับบ้านแน่นอนครับ อย่าเอาแต่พูดว่าพระคนอื่นเก๊หมด มีแต่พระของพวกมันเท่านั้นที่แท้ หาแบบที่เขาต้องการไปขายเขาสิครับ ลองดูครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กันยายน 2563 19:16:42 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 85.0.4183.102 Chrome 85.0.4183.102


ดูรายละเอียด
« ตอบ #155 เมื่อ: 19 กันยายน 2563 11:55:58 »


พระกริ่งปุญญกาโม ๙๙

“หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม” วัดห้วยด้วน(ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมที่มีชื่อเสียง เป็นศิษย์พุทธาคม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออิน วัดหางน้ำสาคร, หลวงพ่อหมึกวัดสระทะเล และ หลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ

วัดธารทหาร (วัดห้วยด้วน) สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2482 แต่เดิมเรียกว่า วัดห้วยด้วนตามชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากที่บ้านแห่งนี้มีลำคลองเล็กแยกมาจากห้วยน้ำสาดเหนือ และสิ้นสุดคลองลงที่นี้ จึงเรียกกันว่า ห้วยด้วน ต่อมาเปลี่ยนเป็นบ้านธารทหาร สืบต่อมาเท่าทุกวันนี้

มีนามเดิม พัฒน์ ก้อนจันเทศ เกิดเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2465 ที่บ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ บิดา-มารดาชื่อ นายพุฒ และนางแก้ว นามสกุลเดิม (ฟุ้งสุข)

พออายุครบเกณฑ์ทหารถูกคัดเลือกเข้าไปเป็นทหารกองประจำการ แต่ขณะที่ จะหมดวาระปลดจากทหารเกณฑ์ กลับเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลก ครั้งที่ 2) ขึ้นเสียก่อน จึงทำให้ต้องเป็นทหารต่อไปจนอายุ 24 ปี ปลดประจำการเมื่อปี พ.ศ.2489

จากนั้นเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2489 ที่อุโบสถวัดสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อยอด) วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการชั้ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม เริ่มเรียนนักธรรมชั้นตรีและชั้นโทไปได้สักระยะ โดยระหว่างนั้นหลวงพ่อเดิมได้ไปสร้างเสนาสนะและอุโบสถอยู่ที่วัดอินทราราม จึงไปเรียนพุทธาคมกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว, หลวงพ่อชุบ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์ ฯลฯ

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 ย้ายมาพัฒนาวัดธารทหาร (ห้วยด้วน) เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ชาวหนองบัวตราบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ทั้งนี้ ศาลาการเปรียญวัดธารทหาร สร้างตั้งแต่ พ.ศ.2502 ซึ่งกาลเวลาผ่านมายาวนาน ทำให้ชำรุดทรุดโทรม

ในปี พ.ศ.2563 หลวงพ่อพัฒน์ มีอายุครบ 99 ปี จึงอนุญาตให้คณะศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคลพระกริ่งพยัคฆ์ ปุญญกาโม ๙๙ เพื่อนำปัจจัยสร้างศาลาการเปรียญ 100 ปี เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำกิจกรรมของพระสงฆ์และชาวบ้าน

วัตถุมงคลพระกริ่งพยัคฆ์ ปุญญกาโม ๙๙ รุ่นนี้พุทธศิลป์ปางมารวิชัย ออกแบบสวยงาม บริเวณบัลลังก์ด้านหลัง เขียนคำว่า “ปุญญกาโม” และตัวเลข “๙๙” ซึ่งหมายถึงอายุหลวงพ่อพัฒน์ พร้อมกับตอกโค้ดหมายเลขกำกับทุกองค์

สร้างขึ้นเพื่อตอบแทนผู้ร่วมบุญสร้างศาลาการเปรียญ 100 ปี จัดสร้างเป็นพระกริ่งเนื้อนาก, พระกริ่งเนื้อเงิน และพระกริ่งเนื้อชนวนผสมเหล็กน้ำพี้ หุ้มเกศ ปิดก้นด้วยแผ่นทองคำ, แผ่นนาก, แผ่นเงิน และโลหะศักดิ์สิทธิ์ทุกเนื้อ
…ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ เป็นพระเกจิอาจารย์จังหวัดอ่างทองที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เรื่องเครื่องรางของขลัง เบี้ยเเก้ ตะกรุดนั้นหายากมาก นอกจากนี้เหรียญรูปท่านก็หายากมากเช่นกัน แทบจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย เนื่องจากจำนวนการสร้างนั้นมีจำนวนน้อย บางท่านเห็นแล้วก็อาจจะยังไม่รู้เลยว่าเป็นหลวงพ่ออะไร เนื่องจากไม่มีตัวหนังสือบอกอะไรเลย เป็นแค่รูปหลวงพ่อ ด้านหลังก็เป็นตัวยันต์ด้านบนจะเป็นอักษรขอมเขียนว่า พระอุปัชฌาย์พัก ถ้าเราอ่านอักษรขอมไม่ออกก็ไม่ทราบเลยครับ

หลวงพ่อพัก จนฺทสุวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2425 ที่บ้านท่ามะขาม ตำบลดอนปรู อำเภอวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี) บิดาชื่อถมยา มารดาชื่อพุก ในตอนเด็กๆ บิดาได้นำได้ไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงปู่เถื่อน วัดหลวง ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จนอ่านออกเขียนได้

ต่อมาเมื่อหลวงพ่อพักอายุครบ 20 ปี ในปี พ.ศ.2445 จึงอุปสมบทที่วัดย้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ โดยมีหลวงปู่เถื่อนเป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วท่านได้ติดตามท่านเจ้าคุณรัตนมุณี ซึ่งเป็นพระพี่ชายของท่านมาอยู่ที่วัดหงษ์ กทม. เพื่อศึกษาคันถธุระ และวิปัสสนากรรมฐาน อยู่ที่สำนักพระอาจารย์อูฐ ศึกษาอยู่ 9 พรรษา หลวงพ่อพักท่านก็เชี่ยวชาญทั้งคันถธุระ โดยเฉพาะทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาในปี พ.ศ.2454 หลวงปู่เนตร เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ได้มรณภาพ ญาติโยมและชาวบ้านแถบบ้านอบทมและบ้านโคกจันทร์จึงได้มานิมนต์หลวงพ่อพักขอให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์ และในปี พ.ศ.2455 หลวงพ่อพักก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์

หลวงพ่อพักมีอาจารย์อยู่หลายท่าน ได้แก่ อาจารย์วาต ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชายของท่าน อยู่ที่บ้านท่ามะขาม ตำบลดอนปรู อดีตเคยเป็นขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่แถวชาญเมืองอ่างทอง และสุพรรณบุรี นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีวิชาอาคมสูง ล่องหนหายตัวได้ ต่อมาได้เลิกราในอาชีพทุจริตโดยสิ้นเชิง แล้วหันเข้าสู่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ต่อมาจึงถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพักจนหมดสิ้นโดยเฉพาะวิชาเบี้ยแก้ ตะกรุดโทน ผ้ายันต์แดง ฯลฯ อาจารย์ของหลวงพ่อพักอีกองค์หนึ่งคือหลวงปู่บุญ ผู้มีวิชาอาคมสูงจากแขวงเมืองพิจิตร ซึ่งได้ธุดงค์ล่องมาถึง แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จนได้มาพบกับหลวงพ่อพัก และได้ถ่ายทอดวิชาปลุกเสกเขี้ยวเสือแกะ งาช้างแกะ และวิทยาคมต่างๆ ให้แก่ หลวงพ่อพัก

หลวงพ่อพักได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่างด้วยกัน ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เช่น เหรียญรูปท่านที่มีทั้งเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง แต่เป็นเหรียญที่ ค่อนข้างหายากและมีสนนราคาสูงครับ ส่วนเครื่องรางของขลังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเป็นสิงห์งาแกะเมื่อนำติดตัวผ่านฝูงวัว ฝูงวัวเหล่านั้นถึงกับแตกตื่นวิ่งหนี และเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี ตะกรุดโทนนั้นก็มีคุณวิเศษ ถ้ารูดไปข้างหน้าจะเป็นมหาอุด รูดไปด้านซ้ายจะเป็นเมตตามหานิยม รูดไปด้านขวาเป็นมหาอำนาจ รูดไปด้านหลังศัตรูไม่สามารถตามทัน ตะโพนงาแกะของหลวงพ่อพัก ท่านสร้างไว้แจกพวกศิลปิน มีคุณวิเศษทางด้านเมตตามหานิยม เมื่อนำติดตัวจะเป็นมหานิยมแก่ผู้พบเห็น

ส่วนเบี้ยแก้ของหลวงพ่อพัก เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลังที่มีพุทธคุณครบทุกด้านโดยเฉพาะด้านป้องกันคุณไสย ยาสั่ง แก้เหตุร้ายให้กลายเป็นดี แคล้วคลาดปลอดภัยและคงกระพันชาตรี เบี้ยแก้ของหลวงพ่อพักจะเรียกปรอทเข้าตัวเบี้ยแล้วอุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้วปิดทับด้วยตะกรุดที่ม้วนแล้วทุบให้แบน แปะทับบนชันโรง จากนั้นจึงถักเชือกทับอีกทีหนึ่ง

การถักเชือกนั้นจะถักเปิดด้านบนของตัวเบี้ยให้เห็นลายหอยเบี้ย ลายถักส่วนมากมักถักเป็นลายกระสอบ วนเป็นเส้นรูปไข่ตามตัวเบี้ย การถักห่วงจะถักเป็นด้านหลังสองห่วง หรือด้านบนหูเดียวก็มี บางตัวนั้นอาจจะมีที่ทำเป็นตะกรุดร้อยเชือกคาดเอวก็มี มีทั้งจุ่มรัก และไม่จุ่มรักก็มี

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงพ่อพัก จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ
… แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



รูปเหมือนปั๊ม หลวงปู่ธูป

หลวงปู่ธูป ญาณวโร หรือ พระครูสังฆรักษ์สมาน เจ้าอาวาสวัดลาดน้ำขาว ต.สาลี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 83 ปีพรรษา 59

มีนามเดิม สมาน ใจเที่ยง เกิดเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2480 ภูมิลำเนาเป็นคนบ้านลาดน้ำขาว อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

พ.ศ.2500 เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดทรงกระเทียม จ.สุพรรณบุรี แต่หลังจากบวชได้ 1 พรรษา จำเป็นต้องลาสิกขาออกมาคอยดูแลบิดาที่ชราภาพ เมื่อบิดาเสียชีวิต ในปี พ.ศ.2504

เมื่อหมดภาระทางครอบครัวแล้ว จึงตัดสินใจอุปสมบทอีกครั้ง ที่อุโบสถวัดบางซ้ายใน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้ายใน) เจ้าคณะอำเภอบางซ้ายใน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดเจริญ วัดบางซ้ายใน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระสมุห์ทองหยด วัดบางซ้ายใน เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณวโร แปลว่า ผู้มีญาณอันประเสริฐ

พ.ศ.2509 จำพรรษาอยู่ที่วัดลาดน้ำขาว จ.สุพรรณบุรี ตราบจนปัจจุบัน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดลาดน้ำขาว และได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสังฆรักษ์สมาน พระฐานานุกรมในพระเทพปริยัติกวี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี

ในปี พ.ศ.2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พุทธศาสนิกชนต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า แม้กระทั่งวัดก็ไม่มีปัจจัยที่จะนำไปพัฒนา สำหรับวัดลาดน้ำขาวก็ได้รับผลกระทบหนักในช่วงนั้น คณะศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส นำโดยพระอธิการศราวุธ สุนทโร, นายศักดิ์ดา ทองแน่นสิรินันท์ ร่วมขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก

วัตถุมงคลรุ่นนี้พุทธศิลป์ เป็นรูปเหมือนลอยองค์ ห่มจีวรเฉียงนั่งอยู่บนฐานเขียงในท่ากัมมัฏฐาน ที่บริเวณด้านหน้าฐานมีตัวอักษร เขียนว่า หลวงปู่ธูป ส่วนที่บริเวณอังสะทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีอักขระยันต์พุทธคุณเด่นทุกด้าน อาทิ เมตตา แคล้วคลาด โชคลาภ

ที่ใต้ฐานพระจะตอกตัวหนังสือเป็นภาษาบาลีอ่านว่าธูป

ในส่วนของมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาสร้าง อาทิ ระฆังยอดอุโบสถ เหรียญปั๊มรุ่นแรก เหรียญหล่อรุ่นแรก รูปหล่อรุ่นแรก เงินรางเก่า พานครูทองเหลืองที่จารอักขระ เป็นต้น

จำนวนการสร้าง อาทิ 1.ชุดพิเศษหลังเรียบ 2โค้ด เนื้อระฆัง เนื้อนวโลหะ เนื้ออัลปาก้า เนื้อระฆัง จำนวนสร้าง 10 ชุด 2.เนื้อระฆัง 799 องค์ 3.เนื้อระฆังหลังเรียบ 399 องค์ 4.เนื้อระฆัง หลังเรียบ 3 โค้ด 59 องค์ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่ธูปอธิษฐานจิตเดี่ยวถึง 2 วาระ ประกอบด้วย วาระที่ 1 วันเสาร์ที่ 16 พ.ค.2563 วาระที่ 2 วันจันทร์ที่ 6 ก.ค.2563 จึงมั่นใจได้ในความเข้มขลัง
… ข่าวสดออนไลน์



เล่นหาพระสมเด็จ ตามตำราไหนดี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านครับ ปัจจุบันมีการหามาตรฐานในการพิสูจน์พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้กันหลากหลายวิธี ซึ่งความจริงก็มีการพิสูจน์ในเรื่องนี้นานมาแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นร้อยปีมาแล้ว เนื่องจากมีความนิยมเสาะหาจนพระสมเด็จมีสนนราคามา หลังจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นไปได้เพียงปีเดียวเท่านั้น และก็มีการทำปลอมเลียนแบบขึ้นมาจากพวกที่หวังในผลประโยชน์ตอบแทน

ครับเท่าที่รับรู้มาก็เป็นอย่างนี้ ดังนั้นจึงมีกลุ่มที่เสาะหาพระสมเด็จอย่างจริงจังจึงต้องหาข้อยุติว่าแบบไหนจริงแบบไหนไม่จริง มีการค้นคว้าข้อมูลหลักฐานต่างๆ ในทุกๆ ด้านทั้งประวัติศาสตร์และหลักฐานจากพระองค์จริงที่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นพระที่ได้รับมาจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงมีการรวบรวมพิมพ์ของพระไว้เป็นหมวดหมู่ว่า พิมพ์อะไรบ้าง มีแม่พิมพ์กี่ตัวแบบไหนบ้าง เนื้อหามวลสารเป็นอย่างไร ก็ได้ความว่าเนื้อหาของพระเป็นไปในทางเดียวกันแบบนี้ และต่อมาก็มีการแอบตกพระ ก็คือการแอบขโมยพระจากองค์พระเจดีย์ของวัดบางขุนพรหม ก็มีผู้เสาะหาพระสมเด็จมาคอยรับเช่าพระจากผู้ที่ตกพระออกมาได้ และก็มีการจดจำและจดบันทึกไว้ว่าเป็นพิมพ์อะไรเนื้อหาเป็นอย่างไร

จนกระทั่งมีการเปิดกรุเป็นทางการในปี พ.ศ.2500 ในครั้งนั้นถือได้ว่าได้นำพระทั้งหมดออกจากองค์พระเจดีย์ พระที่พบก็มีหลากหลาย มีทั้งที่เป็นพระที่บรรจุในครั้งหลังต่อมาก็มี ทางวัดจึงตั้งคณะกรรมการจากของ วัดเอง และจากผู้ที่นิยมสะสมพระที่เป็น ผู้เชี่ยวชาญหลายคน เพื่อคัดแยกพระออกมาว่าพระองค์ใดเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ และมีการจดบันทึกไว้ว่ามีพิมพ์อะไรบ้าง แม่พิมพ์มีอย่างไรบ้าง ได้จดบันทึกไว้ชัดเจน รวมทั้งเนื้อหาของพระด้วย ซึ่งก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับของพระวัดระฆังฯ

พระสมเด็จที่เล่นหาและเป็นที่ยอมรับในสังคมพระเครื่อง ซึ่งมีมูลค่ารองรับจึงมีกำหนดมาตรฐานของพิมพ์พระ เนื้อหาของพระ ธรรมชาติการผลิต และธรรมชาติความเก่าขององค์พระควรเป็นเช่นไร จึงกำหนดเป็นมาตรฐานในการพิสูจน์ว่าใช่หรือ

ไม่ ในพระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมจนเป็นที่ยอมรับของสังคมพระเครื่อง และมีมูลค่ารองรับในพระสมเด็จแท้ๆ นี่ก็เป็นมาตรฐานของพิสูจน์และเล่นหาพระสมเด็จตามมาตรฐานมีมูลค่ารองรับ

ในส่วนของอีกแนวทางหนึ่งนั้น ก็เป็นแบบนอกมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ ซึ่งก็มีอีกหลากหลายตำราหลายรูปแบบ ทั้งจากการอ้างตำราที่มีผู้เขียนไว้บ้าง จับพลังทางในบ้าง พิสูจน์ในการใช้น้ำยาหยด จากการใช้กล่องกำลังขยายสูงบ้าง และใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ เข้ามาใช้ในการพิสูจน์บ้าง ใช้แม่เหล็กดูดบ้าง ก็มีหลากหลายวิธีการพิสูจน์ที่เขาเชื่อว่าใช้ในการพิสูจน์ได้ ผมเองคงไม่ชี้ว่าแบบไหนถูกหรือแบบไหนผิดนะครับ ก็ต้องใช้วิจารณญาณของแต่ละท่านเองครับ

ครับการพิสูจน์ก็แยกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือแบบที่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับ จะพูดว่าพุทธพาณิชย์หรืออะไรก็แล้วแต่นะครับ แต่สรุปว่า ถ้าถูกต้องตามมาตรฐานนี้ก็สามารถนำไปขายได้เงินแน่นอนครับ ส่วนที่นอกมาตรฐานไม่มีมูลค่ารองรับก็ไม่สามารถนำไปขายได้ในกลุ่มที่เขาเล่นหาเป็นมาตรฐานสังคมพระเครื่องครับ แต่พระสมเด็จประเภทนี้ก็อาจหาซื้อได้ในราคาถูกตามแผงทั่วไปเป็นร้อยเป็นพันองค์ ก็แล้วแต่ความเชื่อนะครับ เรื่องนี้เป็นเพียงความคิดเห็นที่แตกต่างเท่านั้น เชื่อและชอบแบบไหนก็เลือกเองได้ครับ เลือกในสิ่งที่เราคิดเห็นว่าถูกต้องก็เท่านั้นเองครับ

ในส่วนตัวผมก็เล่นหาศึกษาและสะสมมานานพอสมควร อ่านตำราแบบทุกตำรา โดยเฉพาะตำราเก่าๆ พิสูจน์ทดลองมาแทบทุกอย่าง ทั้งหัดนั่งสมาธิจับพลังและอื่นๆ พิสูจน์มามากพอสมควร ต่อมาศึกษาแบบที่มีมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับ ซึ่งในขณะนั้นพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่วัดระฆังฯ สวยๆ ก็ราคาแสนกว่าบาท พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมก็หลักหมื่น เห็นด้วยตัวเองว่าเขาซื้อ-ขายกันจริงๆ และได้ศึกษาในแบบมาตรฐานนั้นจากผู้ใหญ่ในสังคมหลายท่าน จนพอรู้ได้ว่าเขาพิสูจน์กันอย่างไรด้วยเหตุและผลได้ศึกษาพระองค์จริงแบบมาตรฐานสังคมหลายองค์ ซึ่งก็ยอมรับว่ามีมาตรฐานในการพิสูจน์ที่เป็นจริงได้ชัดเจนครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคม และมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
… แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.111 Chrome 86.0.4240.111


ดูรายละเอียด
« ตอบ #156 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2563 12:38:59 »


ปีระกาป่วงใหญ่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มีโรคระบาดทั่วโลก และเมืองไทยเราเองก็ไม่พ้น เราต้องร่วมมือกันอยู่บ้านไม่ออกไปไหนโดยไม่จำเป็น รักษาสุขภาพตัวเองและครอบครัว เพื่อลดภาระให้กับทีมแพทย์และสังคม เมืองไทยเราก็เคยประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาดใหญ่มาแล้วหลายครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งที่มีเรื่องเกี่ยวกับพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) คือปีระกาป่วงใหญ่ (ปีพ.ศ.2416) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นไปได้ 1 ปี

เรื่องปีระกาป่วงใหญ่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงจดหมายเหตุไว้ดังนี้

"ระกาความไข้ คนตายนับได้ เกือบใกล้สี่พัน

เบาน้อยกว่าเก่า หกเท่าลดกัน มะโรงก่อนนั้น

แสนหนึ่งบาญชี เขาจดหมายไว้ ในสมุดปูมมี

มากกว่าครั้งนี้ หกเท่าเป็นไป

เกิดไข้ในวัดน้อย วันละคน

ตั้งแต่สองค่ำดล หกเว้น

ศิษย์พระวอดวายชนม์ ถึงสี่ เชียวนา

บางพวกไกลโรคเว้น ชีพตั้งยังเหลือฯ

จนเสร็จเผด็จสิ้น ปีระกา

โรคป่วงเกิดมีมา ทั่วด้าน

น้ำน้อยไม่เข้านา เสียมาก เทียวแฮ

ในทุ่งรวงข้าวม้าน ไค่กล้านาเสียฯ

ครับก็เป็นจดหมายเหตุที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ท่านได้ทรงจดหมายเหตุไว้

ในส่วนของท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง จันทโชติ) ก็เคยเล่าให้นายกนก สัชชุกรฟัง และบันทึกไว้ว่า "เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ไปเข้าฝันชาวบ้านบางช้าง ให้ใช้พระสมเด็จฯ ของท่านอาราธนาแช่น้ำ ทำประสะน้ำพระพุทธมนต์ ดื่มจะรักษาโรคระบาดครั้งนี้ได้ ผู้นั้นก็ปฏิบัติตามที่ฝัน ก็ได้ผลหายจากโรคร้ายได้อย่างอัศจรรย์ และได้แจกจ่ายน้ำมนต์ให้คนป่วยอื่นๆ รับประทาน ก็พากันรอดพ้นจากอันตรายของโรคกันทุกราย ข่าวเรื่องนี้ก็แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางโดยรวดเร็ว และผู้ปฏิบัติตามต่างก็สัมฤทธิผลทุกราย ความทราบถึงพระกรรณสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง จึงพระราชทานแจกพระสมเด็จฯ ส่วนพระองค์แด่ข้าราชการเป็นการใหญ่ เพื่อให้อาราธนาทำน้ำพระพุทธมนต์แจกจ่ายชาวบ้านบำบัดโรคภัยครั้งนั้น และปรากฏผลว่าอหิวาตกโรคระบาดครั้งนั้นได้สงบลงอย่างรวดเร็ว จนปกติในที่สุด ด้วยอำนาจแห่งคุณวิเศษของพระสมเด็จฯ นี้"

ครับเรื่องที่ผมนำมาเล่าก็เป็นเพียงเรื่องเดียวที่เกี่ยวกับคุณวิเศษของพระสมเด็จฯ เกี่ยวกับการพิทักษ์และบำบัดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มีการเล่าสืบต่อกันมา และมีการบันทึกไว้ หลังจากที่มีการโจษขานกันเรื่องนำพระสมเด็จฯ มาทำน้ำพระพุทธมนต์รักษาโรคได้นั้นก็มีการเสาะหาพระสมเด็จฯ กันมาก และมีการแลกเปลี่ยนกันเป็นมูลค่า จึงเป็นเหตุให้มีผู้ทำพระสมเด็จฯ ปลอมขึ้นในปีนั้นเอง (พ.ศ.2416) และก็มีการปลอมกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้

ที่ผมนำมาเล่าสู่กันนั้นก็พอดีบ้านเมืองเราก็กำลังมีโรคระบาดอยู่ในช่วงนี้ แต่ก็มิได้จะให้ท่านเสาะหาพระสมเด็จฯ มาแช่น้ำทำน้ำพระพุทธมนต์นะครับ เพราะสนนราคามูลค่าพระสมเด็จฯ นั้นสูงมากในปัจจุบันหลักหลายๆ ล้านบาท คงไม่มีใครกล้านำมาแช่น้ำทำน้ำมนต์กระมังครับ เป็นเพียงแต่เล่าสู่กันฟังนะครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ แม่พิมพ์เล็ก ที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่องแทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    



พระชุดกิมตึ๋ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุพระเก่าที่มีการจัดชุดของพระกรุเนื้อดินที่มีมาแต่ในสมัยเก่า ที่เรียกกันว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” พระชุดนี้มีความเป็นมาอย่างไร และที่มาของชื่อพระที่เป็นชื่อของเครื่องถ้วยกระเบื้องเคลือบของจีน ทำไมมากลายเป็นชื่อของพระเครื่องชุดนี้

พระเครื่องชุดกิมตึ๋ง ประกอบด้วย พระ 4 องค์ คือพระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระนาคปรกหรือ พระปรกชุมพล รวมเป็นสี่องค์ พระชุดนี้เป็นพระกรุที่ถูกพบที่วัดร้างอยู่ติดกับเขตวัดพระรูป มีซากพระเจดีย์ที่พังทลายลงมานานแล้วตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2446 ไม่มีใครทราบว่าพระเจดีย์องค์นี้มีรูปทรงอย่างไร เหลือแต่ฐานซึ่งกว้างมากประมาณ 50 เมตรนับว่าเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่องค์หนึ่งทีเดียว บริเวณรอบๆ ฐานพระเจดีย์ในปี พ.ศ.2446 มีพระเครื่องเนื้อดินเผาอยู่ปะปนกับเศษอิฐกองอยู่เต็มไปหมด ในช่วงนั้นไม่ค่อยมีคนสนใจกันนัก บ้างก็เห็นว่าเป็นของวัดไม่ควรนำมาไว้ที่บ้าน และอีกอย่างหนึ่งคือพระมีมากมายกองอยู่เต็มไปหมด

ต่อมามีพวกนักเที่ยวพวกวัยรุ่นคะนองสมัยนั้น เมื่อผ่านมาต่างก็หยิบพระไปคนละองค์สององค์ บ้างก็เอาผูกกับผ้าคาดแขน ไว้ บ้างก็อมไว้ในปาก แล้วไปเที่ยวตามถิ่นต่างๆ และเกิดกระทบกระทั่งกับเจ้าถิ่น เกิดมวยหมู่ ตะลุมบอนกัน ทั้งมีดทั้งไม้ ปรากฏว่าคนที่เอาพระกรุนี้ไปด้วยไม่มีใครเลือดตกยางออก ส่วนคนที่ไม่ได้เอาพระติดตัวไปปรากฏว่าได้เลือดกลับมา

หลังจากนั้นจึงทำให้ชื่อเสียงของพระกรุนี้โด่งดังไปทั่ว และมีประสบการณ์ต่างๆ ทางด้านอยู่ยงคงกระพัน เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว พระกรุนี้จึงเริ่มร่อยหรอไปเรื่อยๆ จนหมดไปในที่สุด

พระกรุชุดนี้มีรูปร่างสัณฐานใกล้เคียงกัน มี 4 พิมพ์ ตามที่ได้กล่าวมาคือ พระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระปรกชุมพล พระชุดนี้เป็นที่นิยมกันมาในสุพรรณบุรีต่างก็เสาะกันมากและพยายามหาให้ครบ 4 องค์และเรียกกันในสมัยนั้นว่า “พระชุดพลาย ชุมพละ” ต่อมาพระเครื่องชุดนี้ก็แพร่เข้ามาสู่เมืองกรุง และได้รับความนิยมกันมากเช่นกัน และก็มีผู้ตั้งชื่อกันใหม่ว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” แต่ก็สืบไม่ได้ว่าใครเป็นคนตั้งชื่อนี้ “กิมตึ๋ง” เป็นชื่อที่มีความเป็นมาอย่างไร

สืบสาวราวเรื่องก็พบว่าในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการจัดประกวดโต๊ะหมู่บูชา อันประกอบด้วยชุดถ้วยกระเบื้องเคลือบ และชุดกระเบื้องเคลือบที่ได้รับรางวัล และมีชื่อเสียงได้รับคำยกย่องว่าสวยงามมากก็คือ ชุดกิมตึ๋งซึ่งเป็นเครื่องถ้วยที่พระยาโชฎึก ราชเศรษฐี ได้สั่งนำเข้ามาจากประเทศจีน มาจำหน่ายในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถ้วยที่ส่งมาได้ก้นประทับตราว่า “กิมตึ๋ง-ฮกกี่” แปลว่าเครื่องหมายอันวิเศษอย่างเต็มที่ ถ้วยที่ส่งมาชุดนี้ส่งมาเป็นชุด 4 ใบอาจจะเป็นเพราะพอดีกับพระชุดพลายชุมพลมี 4 องค์พอดี ก็อาจเป็นได้ และมีคุณวิเศษอยู่ด้วย จึงกลายมาเป็นชื่อเรียกพระชุดนี้ในเวลาต่อมาว่า “พระชุดกิมตึ๋ง” และเรียกกันมาจนทุกวันนี้ ส่วนชื่อกรุนั้นวัดพลายชุมพลซึ่ง เป็นวัดร้างติดกับวัดพระรูปจนกลายมาเป็นกรุวัดพระรูปไปโดยปริยายครับ

พระชุดกิมตึ๋งอาจจะไม่สวยงามอะไรนักเนื่องจากเป็นศิลปะแบบนูนต่ำ ตื้นๆ แต่ก็เป็นเอกลักษณ์ของพระกรุนี้ แต่คุณวิเศษที่เลื่องลือกันมากในด้านอยู่ยงคงกระพันจนเป็นที่ยอมรับนี่เอง จึงอาจจะเป็นที่ยกย่องให้รับชื่อนี้ไป ในสมัยก่อนนู้น ใครมีพระชุดกิมตึ๋งครบชุดยังไม่ยอมแลกกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ เลย แสดงว่าพระชุดนี้ ได้รับความนิยมมากในสมัยนั้นครับ พระชุดนี้มีทั้งหมด 4 องค์ เวลานำมาห้อยคอ จึงมักนำพระมาเพิ่มอีกองค์หนึ่งจะได้ครบ 5 องค์และมักจะนิยมนำพระขุนแผนไข่ผ่ามาห้อยไว้ตรงกลาง เป็นอันครบ 5 องค์ครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระชุดกิมตึ๋ง ครบทั้ง 4 องค์จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



รู้ได้ไงเก๊-แท้ใครเกิดทัน?

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วลีที่ว่า “เกิดทันหรือ?” มีการพูดอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่สมัยก่อนนานมาแล้ว ซึ่งโดยส่วนมากที่เกิดวลีนี้มาจากผู้ที่นำพระมาขาย แต่ขายไม่ได้ไม่มีใครรับซื้อ ก็เกิดความไม่พอใจจึงกล่าววลีนี้ขึ้นมาจากความไม่พอใจที่ไม่มีใครซื้อ

ครับช่วงนี้มีกระแสนี้เกิดขึ้นจากเรื่องพระสมเด็จที่เป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้ การเล่นหาศึกษาก็แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ พวกหนึ่งเล่นหาสะสมตามมาตรฐานสังคม มีมูลค่ารองรับ กับอีกกลุ่มหนึ่งที่เล่นหาแบบไม่มีมูลค่ารองรับ ส่วนใหญ่ก็ศึกษามาจากตำราบ้าง บอกต่อกันมาบ้างแล้วก็ตั้งมาตรฐานของกลุ่มตนเอง

ที่ศึกษาตามแบบตำราก็ไม่มีใครเกิดทันทั้งสิ้น และในปัจจุบันก็มีมากมายหลากหลายตำราที่อ้างว่าถูกต้องทั้งสิ้น แต่ก็มีแบบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็มี ตำราที่ว่าเก่าแก่ก็เป็นตำราที่ว่าเป็นฉบับ พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2473 ฉบับพระครูกัลยานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2492 ฉบับตรียัมปวาย ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.2495 ฉบับฉันทิชัย ตีพิมพ์ พ.ศ.2495 เรามาดูกันว่าหนังสือเหล่านี้ใครเป็นผู้ที่เขียนแล้วเกิดทันเจ้าประคุณสมเด็จหรือไม่ เชื่อถือได้แค่ไหน

ฉบับแรกคือฉบับพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) ซึ่งความจริงแล้วผู้เขียนคือ พระมหา ม.ล.สว่าง เสนีย์วงศ์ วัดสระเกษ ผู้ซึ่ง นายพร้อม สุดดีพงศ์ คนตลาดไชโย อ่างทอง เดินทางลงมาหาเพื่อขอให้สืบค้นเรื่องราวของสมเด็จโต เพราะชาวบ้านที่นั่นอยากรู้ประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ พระมหา ม.ล.สว่างจึงพานายพร้อมไปยังวัดระฆังฯ นมัสการถามเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) อดีตผู้ใกล้ชิดเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็สรุปว่าผู้เขียนเองก็เกิดไม่ทันเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็รวบรวมจากคำบอกเล่า แล้วจึงนำมาเขียนเป็นหนังสือ โดยใช้ชื่อว่า “ฉบับเจ้าพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์)” ซึ่งท่านเองก็ไม่ใช่ผู้ที่เขียนหนังสือเล่มนี้

ฉบับ พระครูกัลยา นานุกูล วัดกัลยาณมิตร เขียนครั้งแรกและตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2492 ขณะยังเป็นพระมหาเฮง โดยนำเค้าโครงมาจากฉบับของพระยาทิพโกษาฯ มาเขียนใหม่ โดยแก้ไขบางตอน และได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากหลายท่านที่ได้รับคำบอกเล่ามาอีกที

ฉบับตรียัมปวาย นามปากกาของ พ.อ.ผจญ กิตติประวัติ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2495 และพิมพ์อีก 4 ครั้ง ตีพิมพ์ครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ.2515 เป็นครั้งที่ 5 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลเป็นครั้งสุดท้าย โดยมีข้อมูลจากการไปสอบถามจากหลายคน คนที่สำคัญที่สุดคือนายกนก สัชฌุกร ซึ่งเป็นผู้นิยมพระเครื่องท่านหนึ่ง และได้เข้าไปสอบถามจดบันทึกข้อมูลจากท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง)

ฉบับของฉันทิชัย อันเป็นนามปากกาของ ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ผู้ที่เริ่มมีการออกอากาศรายการวิทยุในปี พ.ศ.2492 แล้วมาจัดพิมพ์ในนิตยสารตำรวจในปี พ.ศ.2495 แล้วรวมเล่มในปีเดียวกัน

(ข้อมูลหนังสือทั้ง 4 ฉบับได้รับการค้นคว้ามาจาก ม.ล.ชัยนิมตร นวรัตน ขอขอบคุณในข้อมูลความรู้มา ณ ที่นี้ด้วยครับ)

ครับตำราต่างๆ นั้นก็ไม่มีใครเกิดทันเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทั้งสิ้น เป็นการจดบันทึกจากการบอกเล่าทั้งสิ้น ส่วนใหญ่ในตำราก็บอกถึงประวัติของเจ้าประคุณฯ สมเด็จฯ ซึ่งจะถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ก็ยังไม่มีบทสรุปที่เป็นทางการ บางฉบับก็มีการกล่าวถึงการสร้างพระของเจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่ก็นั่นแหละครับผู้เขียนทั้งหมดก็ยังไม่มีใครที่เกิดทันเจ้าประคุณสมเด็จฯ

ทีนี้พระสมเด็จฯ ที่มีการสะสมศึกษาเล่นหากันนั้น ในปัจจุบันก็ไม่มีใครเกิดทันทั้งสิ้นเช่นกัน แต่ก็มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่ได้ศึกษาจากองค์พระสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ มรณภาพไปได้ไม่นานนัก มีการสืบค้นหาหลักฐานและเหตุผลประกอบ จนเป็นที่ยอมรับของสังคมพระเครื่อง และมีมูลค่ารองรับมาจนทุกวันนี้ ไม่แค่นั้นมูลค่ายังสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงหลักล้านในปัจจุบัน

ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็ศึกษาประวัติข้อมูลที่มีผู้เขียนขึ้นภายหลังจากนั้นอีก ก็มีอีกหลายตำรา ส่วนมากก็จะกล่าวถึงเรื่ององค์พระสมเด็จเป็นหลัก วิธีการสร้างการดูพิสูจน์ ซึ่งผู้เขียนตำราก็ไม่มีใครเกิดทันเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทั้งสิ้น ต่อมายังมีการกล่าวอ้างถึงสมุดข่อยโบราณเขียนบันทึกถึงการสร้างพระสมเด็จต่างๆ นานา กล่าวถึงจำนวนและแม่พิมพ์ด้วย ก็ว่ากันไปครับ

แต่ที่แน่ๆ ก็คือพระสมเด็จที่ถูกต้องมาตรฐานสังคมยอมรับนั้นมีมูลค่ารองรับสูงเป็นหลักล้านบาทและก็มีผู้รับซื้อหรือรอเช่าหาอยู่เสมอ เท่าที่ผมเห็นเองนะครับ ตอนนี้ถ้าใครซื้อพระสมเด็จที่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมมาไว้นานแล้วยิ่งหลายสิบปียิ่งดี นำไปคืนรับรองว่าคืนได้เงินครบแน่นอน และผู้รับคืนก็ยินดีมาก เนื่องจากในปัจจุบันมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมาก นอกจากจะได้เงินคืนครบแล้วยังได้มูลค่าเพิ่มอีกด้วยครับ ทดลองพิสูจน์ได้ครับ

ยกตัวอย่างเช่น ทองคำก็ย่อมเป็นทองคำ เช่นใครซื้อทองคำในสมัยเมื่อทองคำบาทละ 400 มาขายตอนนี้ก็มีมูลค่าสูงขึ้นหลายเท่าตัวครับ พระแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมก็เช่นกันครับ ถ้าคิดว่าเป็นการอุปโลกน์หลอกลวงก็คงไม่ยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้ครับ นอกจากนี้ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตลอดมาครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายที่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมยอมรับและมีมูลค่ารองรับหลักหลายล้านบาทมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญหล่อเจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษมาลา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องเนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ซุ้ม ชินราชของท่านเจ้าคุณโพธิ์นั้นเป็นพระที่รู้จักกันดีและเป็นที่นิยม นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างพระเนื้อดินเผาไว้ด้วย ซึ่งเป็นพระที่สนนราคาไม่สูงยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนัก แต่พุทธคุณยอดเยี่ยมและสร้างมาตั้งแต่ท่านยังเป็นเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง และนำมาบรรจุไว้ที่เพดานโบสถ์วัดชัยพฤกษมาลา

วัดชัยพฤกษมาลา เป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อเดิมคือวัดชัยพฤกษ ต่อมาได้รับบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 4 ต่อมาโดยลำดับและได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นโทและพระราชทานนามว่า วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร วัดนี้ตั้งอยู่ที่ถนนชัยพฤกษ แขวงตลิ่งชัน กทม. มีเจ้าอาวาสองค์หนึ่งที่พัฒนาวัดชัยพฤกษฯ ให้เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดก็คือพระนันทวิริยะหรือที่ชาวบ้านมักเรียกท่านว่าเจ้าคุณโพธิ์นั่นเองครับ

ท่านเจ้าคุณโพธิ์เป็นชาวบางอ้อยช้าง เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2394 โยมบิดาชื่อเมฆ เป็นเจ้ากรมในกรมหมื่นภูวดีราชหฤทัยโยมมารดาชื่ออ้น เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ได้ศึกษาอักษรสมัยในสำนักวัดบางอ้อยช้าง ครั้นอายุได้ 22 ปีจึงได้อุปสมบทที่วัดบางอ้อยช้าง ได้เล่าเรียน นักธรรมและบาลีต่อมาพรรษาที่ 8 ก็ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง ในปี พ.ศ.2443 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูนนทปรีชาว่าที่เจ้าคณะแขวงพอถึงปี พ.ศ.2444 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

ในปีเดียวกันนี้ก็ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดชัยพฤกษมาลาฯ ครั้นพอถึงปี พ.ศ.2455 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระนันทวิริยะ” และในปี พ.ศ.2459 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี

ครองวัดชัยพฤกษฯ นานถึง 26 ปี มรณภาพเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2465 สิริอายุได้ 76 ปี พรรษาที่ 54

(หมายเหตุ วัดชัยพฤกษมาลาฯ แต่เดิมนั้นขึ้นกับตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันขึ้นกับเขตตลิ่งชัน กรุงเทพ มหานคร)

เหรียญหล่อพิมพ์ ชินราชของเจ้าคุณโพธิ์สร้างไว้ครั้งเมื่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดชัยพฤกษมาลาแล้วและเป็นที่นิยมมาก พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด และคงกระพัน ปัจจุบันมีสนนราคาสูงและหายาก ของปลอมก็ไม่พลาด ทำเลียนแบบกันมานานแล้ว แต่ที่ปลอมในปัจจุบันนั้นทำได้ดีมากขึ้น เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบ หรือปรึกษาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยตรงจะดีกว่าครับ

ทั้งพระเนื้อดินและเหรียญหล่อเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมและน่าสนใจ แต่เหรียญหล่อจะหายากกว่าราคาสูงกว่าพระเนื้อดินเผา ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อของเจ้าคุณโพธิ์จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยามมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญที่ระลึกฉลองเจดีย์หลวงปู่ทอง

หลวงปู่ทอง ปภากโร แห่งวัดบ้านคูบ หมู่ 3 ต.คูบ อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ พระเกจิอาจารย์ที่ชาวอีสานใต้ จ.ศรีสะเกษ ให้ความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 115 ปี

ด้วยสังขารที่ร่วงโรย หลวงปู่ทอง จะรับกิจนิมนต์เฉพาะในวัด และเดินไม่ค่อยคล่องตัวนัก นอกวัดรับกิจสงฆ์ในบางครั้ง

ด้านวัตถุมงคล จัดสร้างจำนวนหลายรุ่น

คณะศิษย์ที่เลื่อมในศรัทธา นำโดย “กล้วยอุบล พระใหม่” ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญที่ระลึกฉลองเจดีย์บูรพาจารย์

วัตถุประสงค์จัดหารายได้สมทบจัดงานฉลองเจดีย์ดังกล่าว และค่าใช้จ่ายอื่น

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำบริสุทธิ์ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 29 เหรียญ, เนื้อเงินบริสุทธิ์ 99 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 599 เหรียญ, เนื้อทองแดงผิวไฟ 1,999 เหรียญ, เนื้อทองแดงมันปู 2,999 เหรียญ, เนื้อทองแดงผิวรุ้ง 3,999 เหรียญ และเนื้อทองฝาบาตร 2,999 เหรียญ(แจกวันงานฉลองเจดีย์ 25 ต.ค.)

ด้านหน้า เป็นเหรียญอาร์ม หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนาตามส่วนโค้งเว้า ใต้หูเชื่อมมีดอกจัน ถัดลงมามีอักขระยันต์ประกบเหนือศีรษะ ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่หน้าตรงครึ่งองค์ห้อยลูกประคำ เหนือไหล่ขวาของเหรียญและอังสะตอกโค้ดเจดีย์มีอักษรตัว ท บรรทัดล่างสุดสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่ทอง ปภากโร

ด้านหลัง ตรงกลางเหรียญประดิษฐานเจดีย์บูรพาจารย์ มีอักขระ 5 ตัวประกบส่วนยอด โคนพระธาตุและใต้ฐาน ข้างองค์พระธาตุสลักตัวหนังสือแนวตั้งซ้ายขวาขอบเหรียญอ่านว่า ที่ระลึกฉลองเจดีย์ วัดบ้านคูบ จ.ศรีสะเกษ บรรทัดล่างสุดสลัก ๒๕๖๓

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ที่อุโบสถวัดบ้านคูบ เวลา 13.09 น. วันที่ 25 ส.ค. มีหลวงพ่อพรชัย พุทธสโร (ทายาทธรรมหลวงปู่สรวงเทวดาเดินดิน) วัดถ้ำน้ำย้อย จ.ศรีสะเกษ หลวงปู่เสวียน จารุธัมโม วัดกระมัลพัฒนา จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่วิเชียร วิมโล วัดบ้านเสมอใจ จ.ศรีสะเกษ และหลวงปู่ทอง นั่งปรกอธิษฐานจิต

จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคตไกล
   ข่าวสดออนไลน์    



พระกรุวัดชายทุ่ง สุพรรณบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเก่าๆ ที่ไม่เคยได้พูดถึงกันในปัจจุบัน จึงทำให้อาจจะลืมๆ กันไปบ้าง ยิ่งพระบางอย่างมีจำนวนน้อย และไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก ก็ยิ่งจะทำให้ลืมเลือนกันไปครับ

ในจังหวัดสุพรรณบุรีมีวัดอยู่วัดหนึ่งชื่อวัดชายทุ่ง ตั้งอยู่ที่บ้านโคกหม้อ ตำบลท่าระหัด อำเภอเมือง สุพรรณบุรี ชาวบ้านดั้งเดิมในแถบนี้เป็นคนไทยเชื้อสายเวียงจันทน์ อพยพมาอยู่ตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 3 ราวปี พ.ศ.2369-2370 เนื่องจากในสมัยนั้นมีเหตุการณ์เจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามาตีเมืองไทย และกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยยังเมืองเวียงจันทน์ และได้ยกทัพเข้ามาจนถึงนครราชสีมา คุณหญิงโมได้รวบรวมคนไทยเข้าสู้รบกับกองทัพของเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่าย แล้วตั้งค่ายอยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งกองทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ แล้วยกกองทัพบุกไปตีเวียงจันทน์พร้อมกวาดต้อนครัวชาวเวียงจันทน์กลับมาเมืองไทย ให้ไปอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ที่สุพรรณฯ ก็มีอยู่หลายแห่งเช่นที่บ้านโคกหม้อ บ้านโพธิ์หลวง บ้านสวนแตง บ้านไผ่ขวาง เป็นต้น


ชาวเวียงจันทน์เมื่อมาอยู่เมืองไทยก็ทำมาหากินและตั้งหลักแหล่งอยู่ก็ไม่คิดจะ กลับไปเมืองเวียงจันทน์ ด้วยสถานที่อยู่มีความอุดมสมบูรณ์และอยู่เย็นเป็นสุข ขนบธรรมเนียมประเพณีก็เหมือนกันแทบทั้งสิ้น ในขบวนชาวเวียงจันทน์ที่มาอยู่นั้น ก็มีพระภิกษุร่วมขบวนมาด้วย ที่บ้านโคกหม้อก็มีหลวงพ่ออุมงค์และหลวงพ่อสุข ท่านก็ได้สร้างวัดขึ้น เฉพาะที่บ้านโคกหม้อ มีอยู่ 2 วัดคือ วัดชายทุ่ง และวัดไทร ต่อมาได้สร้างองค์พระเจดีย์ขึ้น ได้มีการนำเอาปืนคาบศิลา หอกดาบ หลาว แหลน รวมทั้งตะกรุด และพระเครื่องบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์

เจดีย์องค์นี้ยืนยงมาจนถึงปี พ.ศ.2496 ได้มีฝรั่งกับคนไทยมาเที่ยวยิงนก มาเห็นนกพิราบเกาะที่เจดีย์วัดชายทุ่ง ฝรั่งก็ด้อมเข้าไปยิงนกที่เกาะอยู่ ปรากฏว่ากระสุนด้านเสียงดังแชะ เขาก็หักลำเปลี่ยนกระสุนใหม่แต่นกตกใจบินหนีไปหมด ฝรั่งโมโหจึงยิงปืนไปที่เจดีย์อีกเช่นเคย กระสุนด้านเสียงดังแชะ คนไทยที่ไปด้วยจึงบอกว่าเจดีย์องค์นี้เฮี้ยน ยิงไม่ออก แต่ฝรั่งไม่เชื่อ คนไทยจึงบอกให้ลองเอากระสุนลูกเดิมลองยิงไปที่อื่นดู ปรากฏว่า ยิงออกทั้ง 2 ลูก ทำเอาฝรั่งงงไปเลย

ต่อมาข่าวนี้ก็แพร่ออกไป จึงทำให้มีคนแอบเข้าไปขุดหาพระ เพราะเชื่อว่าในองค์เจดีย์ต้องมีของดี คืนหนึ่งเมื่อ เจ้าอาวาสไม่อยู่ก็ได้มีคนเข้าไปแอบขุดกรุ พบพระเครื่องเนื้อชินและเนื้อว่าน พร้อมกับเครื่องศัสตราวุธต่างๆ

พระเครื่องที่พบ มีพระพิมพ์เศียรโล้น เป็นพระเนื้อชินแบบลอยองค์ และพบพระพิมพ์หน้านกฮูก ซึ่งมีทั้งเนื้อชิน และเนื้อว่านปัจจุบันหาชมยากทั้ง 2 พิมพ์ พุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์เศียรโล้น และพระพิมพ์หน้านกฮูก มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.198 Chrome 86.0.4240.198


ดูรายละเอียด
« ตอบ #157 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2563 14:57:09 »


ประวัติเจ้าคุณศรี ฯ (สนธิ์)  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าเราจะกล่าวถึงพระกริ่งที่สร้างประเทศไทยแล้ว พระกริ่งสายวัดสุทัศน์เป็นพระกริ่ง ที่มีผู้นิยมกันมาก ตั้งแต่พระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) รองลงมาก็คือพระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) วันนี้ผมขอกล่าวถึงประวัติของท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) บางท่านอาจจะทราบดีอยู่แล้ว แต่สำหรับบางท่านยังไม่ทราบจะได้ศึกษาไปพร้อมๆ กันนะครับ

ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) นามเดิมว่า สนธิ์เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2446 ที่ตำบลบ้านป่าหวาย อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โยมบิดาชื่อสุข โยมมารดาชื่อทองดี เมื่อท่านเจ้าคุณฯ มีอายุได้ 11 ขวบโยมบิดาได้เสียชีวิตโยมมารดาจึงนำท่านเจ้าคุณฯ มาฝากพระภิกษุบุญ ซึ่งเป็นญาติทางฝ่ายโยมมารดา ที่วัดสุทัศน์คณะ 15 เพื่อศึกษาอักขระสมัยฝ่ายบาลีตามคตินิยมในยุคนั้น และเรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2458 ท่านเจ้าคุณฯ มีอายุได้ 13 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระมงคลราชมุนี (ผึ่ง) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ เป็นพระครูปลัดสุวัฒนพรหมจริยคุณ ฐานานุกรมในพระพรหมมุนี จำพรรษาอยู่ในการอุปการะของพระภิกษุบุญ ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ.2459 พระภิกษุบุญได้รับสถาปนาแต่งตั้งไปครองวัดกลางบางแก้วอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม หรือที่เรารู้จักกันดีคือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วสมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายที่ พระพุทธวิถีนายก

สามเณรสนธิ์จึงได้ติดตามหลวงปู่บุญ ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดกลางบางแก้ว พอถึงปี พ.ศ.2460 หลวงปู่บุญจึงเห็นสมควรให้สามเณรสนธิ์ได้กลับมาศึกษาต่อยังสำนักวัดสุทัศน์ ในวันที่เข้าไปกราบลาหลวงปู่บุญเพื่อเดินทางนั้น หลวงปู่บุญได้พิจารณาดูตามดวงชะตาของสามเณร แล้วจึงพูดว่า “ดวงอย่างเณรต้องเป็นอาจารย์คน”

เมื่อสามเณรสนธิ์กลับมาที่วัดสุทัศน์ก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยต่อและได้เข้าสอบประโยคนักธรรมตรีได้เมื่อ พ.ศ.2464 และสอบนักธรรมโทได้ในปี พ.ศ.2465 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูปลัดสุวัฒนฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพิมลธรรม (นาค) เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระเทพกวี และยังสถิตอยู่ที่สุทัศน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ยติธโร”

ปี พ.ศ.2467 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค จนถึงปี พ.ศ. 2474 ก็สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยคตามลำดับสมณศักดิ์ที่ได้รับ ในปี พ.ศ.2468 เป็นที่พระครูธรรมรักขิต ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (แพ) ปี พ.ศ.2469 เป็นที่พระครูวิจิตรสังฆการ ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (แพ) ปี พ.ศ.2471 เป็นที่ พระครูวินัยธร ปี พ.ศ.2481 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีสัจญาณมุนี พระราชาคณะชั้นสามัญ ในปี พ.ศ.2493 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์จาก พระราชาคณะสามัญ ขึ้นเป็นพระราชา คณะชั้นราช ที่พระมงคลราชมุนีฯ

ชาวบ้านมักจะเรียกท่านจนติดปากว่า “เจ้าคุณศรีฯ ” จริยาวัตรของท่านเจ้าคุณศรีฯงดงาม เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป ท่านเจ้าคุณฯ มีความเชี่ยวชาญ ทั้งทางด้านพุทธาคม โหราศาสตร์ ฤกษ์พานาทีและเป็นศิษย์ใกล้ชิดของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) เป็นแม่งานช่วยสมเด็จพระสังฆราชฯ ทุกงาน จนกระทั่งพระองค์รับสั่งกับศิษย์ใกล้ชิดว่า “พระมหาสนธิ์เขาจะมา สร้างพระกริ่งแทนฉัน”
 
ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้สร้างพระกริ่งอยู่หลายรุ่น ในขณะที่สมเด็จพระสังฆราชยังพระชนม์ชีพอยู่นั้นท่านเจ้าคุณจะนิมนต์สมเด็จพระสังฆราชมาเป็นประธานในพิธีเสมอ ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้สร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์อยู่หลายรุ่นล้วนเป็นที่นิยมทั้งสิ้น จนถึงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2495 ท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 49 ปีพรรษาที่ 29

ปัจจุบันพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้าคุณศรีฯ นั้นหายากแล้วครับ และในวันนี้ผมขอนำรูปพระกริ่งหลักชัยหรือที่มักเรียกกันว่า พระกริ่งบาเก็ง 1 สร้างเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2487 จำนวนสร้าง 162 องค์บรรจุกริ่งในตัว 2 รู มาให้ชมกันด้วยครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวสุพรรณฯ เคารพนับถือมากรูปหนึ่ง

ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเนียม วัดน้อย และเป็นศิษย์ที่หลวงพ่อเนียมไว้วางใจมาก หลวงพ่อโหน่งสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาไว้หลายพิมพ์ที่นิยมมากก็คือพิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย ค่านิยมสูงมาก

หลวงพ่อโหน่ง เกิดเมื่อปี พ.ศ.2409 ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี บิดาชื่อโต มารดาชื่อ จ้อย พออายุได้ 24 ปี พ.ศ.2433 จึงได้อุปสมบท ที่วัดสองพี่น้อง โดยมีพระอธิการจันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอกเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุด เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบวชแล้วจึงได้เดินทางเข้ามาศึกษาที่กรุงเทพฯ มาอยู่จำพรรษาอยู่กับพระน้าชาย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ เปรียญ 9 ประโยคเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย แต่ด้วยหลวงพ่อโหน่งเห็นความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ต่างๆ ของพระในกรุง และคิดว่าไม่ใช่แนวทางการหลุดพ้น จึงกราบลาท่านเจ้าคุณน้าชายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม จากนั้นก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งคอก เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ พระอุปัชฌาย์ของท่าน

ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ได้ 2 พรรษา จึงเดินทางมาศึกษาต่อกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้าจนกระทั่งมีความรู้แตกฉาน เป็นที่ไว้วางใจแก่หลวงพ่อเนียม และให้ช่วยแนะนำพระรูปอื่นๆ แทนอยู่เสมอ เมื่อตอนที่หลวงพ่อปานวัดบางนมโคมาศึกษากับหลวงพ่อเนียม หลวงพ่อเนียมยังบอกกับหลวงพ่อปานว่า “เวลาข้าตายแล้วเอ็งสงสัยอะไร ก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ โหน่งเขาแทนข้าได้” แสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อเนียมไว้วางใจหลวงพ่อโหน่งมาก

เมื่อศึกษาจากหลวงพ่อเนียมจนแตกฉานแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม วันหนึ่งหลวงพ่อโหน่งมีจิตใจวาบหวิวชอบกลท่านจึงได้เดินทางไปหาหลวงพ่อเนียม ยังไม่ทันที่หลวงพ่อโหน่งจะพูดอะไร หลวงพ่อเนียมก็พูดขึ้นก่อนว่า “ฮื้อ ทำไปเองนี่นา ไม่มีอะไรหรอก กลับไปเถอะ” หลวงพ่อโหน่งก็สบายใจขึ้น และก็เดินทางกลับไปที่วัดสองพี่น้อง ตามเดิม

ต่อมาหลวงพ่อแสง วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง ทราบว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นผู้ที่จะมาแทนท่านได้ จึงนิมนต์ให้มาจำพรรษาที่วัดคลองมะดัน และเมื่อหลวงพ่อแสงมรณภาพ ชาวบ้านจึงนิมนต์หลวงพ่อโหน่ง ให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

หลวงพ่อโหน่งเมื่อครั้งมาจำพรรษาอยู่ที่วัดคลองมะดัน ท่านก็ฉันอาหารเจมาโดยตลอด ก่อนออกบิณฑบาตท่านจะนมัสการต้นโพธิ์ ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาก็จะใส่บาตร ถวายสังฆทาน หลวงพ่อโหน่งได้เอาโยมแม่ซึ่งชราภาพมากแล้วมาอยู่ที่วัดด้วย และปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม หลวงพ่อโหน่งเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอบรมสั่งสอน พระเณรและศิษย์วัดและชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรม จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก ท่านจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานในป่าช้าเป็นประจำ ถือสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์ ไม่รับเงิน และท่านยังได้สร้างสาธารณูปการสงฆ์ขึ้นอีกมากมาย หลวงพ่อโหน่งจะรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าเสมอ เมื่อครั้งที่หลวงพ่อปานจะมาหาโดยไม่บอกล่วงหน้า ท่านก็ยังสั่งศิษย์ไว้ก่อนว่าให้เตรียมจัดที่ทางไว้ วันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา หลวงพ่อโหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองมะดันจวบจนมรณภาพเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2477 สิริอายุ 68 ปี พรรษาที่ 44

สร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาไว้หลายพิมพ์ เนื่องจากท่านสร้างจำนวนมากและมีลูกศิษย์และชาวบ้านมาช่วยกันสร้าง สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในประมาณปี พ.ศ.2461 เป็นต้นไป ท่านจะพุทธาภิเษกพระของท่านตอนที่เผาไฟ มีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น มาร่วมประกอบพิธีมากมาย หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคก็มาร่วมในพิธีด้วย

พระเครื่องของหลวงพ่อโหน่งมีมากมายหลายพิมพ์ เช่นพิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย พิมพ์สมเด็จฯ พิมพ์ลีลา พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์จันทร์ลอย เป็นต้น แต่นิยมและมีสนนราคาสูงก็คือพิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์ขุนแผนหน้าค่ายครับ ปัจจุบันหายากพอสมควรครับ

พุทธคุณนั้นเด่นทางเเคล้วคลาด อยู่คง และเมตตามหานิยม เรียกว่าดีครบเครื่องครับ วันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์ซุ้มกอ ของหลวงพ่อโหน่งมาให้ชมด้วยครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่ง วัดสุทัศน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ผมเองความจริงก็มีความรู้น้อยมากในเรื่องพระกริ่ง ก็สนใจอยู่นานแล้วแต่ก็ยังไม่มีโอกาสได้ศึกษามากนัก เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนก็ได้เคยเห็นพระกริ่ง 79 วัดสุทัศน์ ในสนามพระ โดยมีผู้ใหญ่และเพื่อนๆ ที่เขาเล่นหาศึกษาสายพระกริ่งวัดสุทัศน์อยู่นำพระมาดูกัน ผมเองก็ได้มีโอกาสได้ฟังและส่องดูด้วย ก็เห็นว่าพระกริ่งรุ่นนี้มีเนื้อหากระแสโลหะสวยดี มีพรายเงินปรากฏขึ้นประปราย ก็เกิดความสนใจสอบถามเขาดู ต่อมาก็ยังได้เห็นอีกหลายองค์ในช่วงต่อๆ มาก็เห็นว่ามีกระแสโลหะเหมือนๆ กัน และก็มีความชื่นชอบในพระกริ่ง 79 วัดสุทัศน์มากและพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่งของวัดสุทัศน์ก็คือ พระกริ่งหลักชัย หรือพระกริ่งบาเก็ง 1 ของท่านเข้าคุณศรี (สนธิ์) ก็เป็นความชอบส่วนตัวครับ

ต่อมาก็ได้มีโอกาสได้ศึกษาเรื่องพระกริ่งต่างๆ โดยเฉพาะพระกริ่งสาย วัดสุทัศน์ในรุ่นที่ผมชื่นชอบเป็นพิเศษ ก็ได้มีโอกาสได้ศึกษาส่องดูเนื้อหาของพระกริ่ง 79 วัดสุทัศน์อีกหลายองค์ และก็ได้รับคำแนะนำจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีความรู้เรื่องพระกริ่งวัดสุทัศน์อีกหลายท่าน โดยเฉพาะคุณสมชัย จงทวีทรัพย์ ก็ได้แนะนำความรู้ให้ผมอีกมาก และก็นำพระกริ่ง 79 มาให้ผมได้มีโอกาสศึกษารูปแบบและเนื้อหาของพระด้วย อีกทั้งข้อมูลของช่างที่แต่งพระกริ่งรุ่นนี้ สอนให้ดูและจดจำฝีมือของช่างที่เป็นช่างแต่งประจำรุ่น คือช่างประสาร ศรีไทย และยังมีฝีมือแต่งโดยอาจารย์นิรันตร์ แดงวิจิตร ซึ่งเป็นช่างที่มีเจ้าของพระนำไปให้ท่านได้ช่วยแต่งให้เป็นพิเศษต่างหาก เรื่องพระที่มีการตกแต่งนั้นก็มีความสำคัญสำหรับผู้ที่ศึกษาพระกริ่ง เนื่องจากก็มีพระที่ได้รับการตกแต่งเป็นพิเศษต่างหากจากช่างแต่งประจำรุ่น ก็ต้องศึกษาให้รู้ไว้ด้วยเช่นกัน

พระกริ่ง 79 เท่าที่ผมได้ศึกษามา ก็ทราบว่าเป็นพระกริ่งที่สร้างหุ่นขึ้นมาเป็นพิเศษ คือเป็นเอกลักษณ์ของพระกริ่งรุ่นนี้เลย ซึ่งในสมัยก่อนผมเองมองว่าพระกริ่งก็มีรูปลักษณ์เหมือนๆ กันหมด แต่พอมาศึกษาโดยละเอียดจึงทราบว่ามีหุ่นอยู่หลายแบบ ในส่วนของเนื้อหาของพระคือเป็นพระโลหะหล่อ ก็มีเอกลักษณ์ของกระแสเนื้อพระต่างกันแล้วแต่รุ่นแล้วแต่วาระ ซึ่งก็แล้วแต่ส่วนผสมโลหะแตกต่างกันตามวาระ ในส่วนของพระกริ่ง 79 นั้นเป็นพระกริ่งเนื้อนวโลหะ และมีส่วนผสมของเงินกลม (พดด้วง) อยู่มากจึงทำให้ผิวของพระเวลาส่องดูจะมีพรายเงินเป็นประกายอยู่ประปราย ซึ่งพอส่องด้วยแว่นขยายดูแล้วมีความรู้สึกว่าซึ้งดีครับ เนื้อหาก็เข้มข้นมาก กระแสของพระกริ่ง 79 มีเนื้อในแดงกลับขาวแล้วกลับดำแกมเทา พระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่งเทแบบกริ่งในตัว อุดกริ่งที่ฐานใต้สะโพกหนึ่งรู เฉียงไปทางด้านซ้ายมือเราซึ่งโลหะที่อุดเป็นโลหะชนิดเดียวกันกับพระ ผ่านกาลเวลามาจนปัจจุบันนี้แทบมองไม่เห็น ต้องพิจารณาดีๆ จึงสังเกตได้ครับ

พระกริ่ง 79 นี้ผมอยากได้มานานมาก แต่ก็ไม่มีโอกาสได้เช่าหาเนื่องจากสนนราคาสูงมากมานานแล้ว และหาแท้ๆ ยากมาก บางช่วงพอเจอพระเจ้าของก็ไม่ให้เช่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.2530 กว่าๆ ก็มีหนุ่มวัยรุ่นคนหนึ่งนำพระมาให้เพื่อนผมดู ก็มีพระกริ่ง 79 ติดมาด้วยหนึ่งองค์ ผมก็เลยสอบถามดูเผื่อเขาจะให้เช่าในราคาไม่สูงมากนัก แต่เขาก็ไม่ได้ให้เช่า เขาบอกว่าเป็นพระของตาติดมาให้ดูเฉยๆ ครับก็อดไป และก็ได้เห็นพระกริ่ง 79 ต่อมาอีกหลายองค์ แต่ก็ไม่มีโอกาสได้เช่าหา ก็ได้เพียงศึกษาองค์พระกริ่ง 79 แท้ๆ จดจำเนื้อหาและฝีมือช่างไปเรื่อยๆ

ครับเรื่องการศึกษาพิมพ์ทรงในพระกริ่งหมายถึงรูปทรงของหุ่นเทียนที่นำไปเทหล่อ เนื้อหาหรือกระแสโลหะในแต่ละรุ่น กรรมวิธีการสร้าง เช่น การอุดกริ่ง ฝีมือช่างแต่งพระประจำรุ่น ตลอดจนอื่นๆ นั้นสำคัญมากในการพิสูจน์ทราบว่าเป็นพระกริ่งรุ่นนั้นๆ จริงหรือไม่ข้อสำคัญก็คือควรที่จะได้เห็นพระองค์จริงๆ ด้วย และถ้ามีผู้แนะนำที่ถูกต้องด้วยก็ยิ่งดี จะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น และต้องหมั่นศึกษาและจดจำให้แม่นยำ เรื่องการดูพระ หรือพิสูจน์ว่าเป็นพระแท้หรือไม่ สามารถศึกษาได้ด้วยเหตุผลที่พิสูจน์ได้อย่างถูกต้องครับ

ในปัจจุบันพระกริ่ง 79 วัดสุทัศน์นั้นมีสนนราคาสูง องค์สวยๆก็ทะลุล้าน หย่อนสวยหน่อยก็หลายแสนใกล้ๆ ล้านครับ และใน วันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่ง 79 วัดสุทัศน์ องค์ที่มีผิวเดิมๆ แต่งโดยช่างประสาร ศรีไทย ช่างแต่งประจำรุ่น มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



สะสมพระเครื่องมาตรฐาน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน การเล่นหาสะสมและศึกษาพระเครื่องนั้น ในสังคมพระเครื่องถ้าจะแยกก็จะแยกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือการเล่นหาสะสมแบบที่มีมาตรฐานมีมูลค่ารองรับ ก็คือสามารถนำมาซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนได้โดยมีมูลค่าราคารองรับ ซึ่งมีผู้ที่เล่นหาแบบนี้คอยรับซื้ออยู่ จึงสามารถนำไปขายได้เมื่ออยากจะขายหรือมีเหตุจำเป็นบางประการที่จะนำพระเหล่านั้นไปขายเปลี่ยนเป็นเงินได้เสมอ

อีกแบบหนึ่งก็คือการเล่นหาสะสมแบบที่ชอบตามความพอใจหรือความเชื่อส่วนตัว ซึ่งก็แยกออกได้หลากหลาย รูปแบบมีทั้งที่เชื่อโดยการจับพลังพุทธคุณ เชื่อตามตำราที่ตัวเองเชื่อ ซึ่งรูปแบบของพระอาจจะไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานของอีกสังคมหนึ่งที่เล่นหาโดยมีมูลค่ารองรับ

ครับการเลือกแบบไหนก็ย่อมเป็นสิทธิ์ที่แต่ละท่านจะเลือกเชื่อเลือกเล่นหาได้ตามความพอใจของตนเอง แต่ถ้าจะนำไปขายเปลี่ยนเป็นเงินกับกลุ่มที่เล่นหาแบบมีมูลค่ารองรับก็ต้องเล่นหาในแบบมาตรฐานของเขา ซึ่งก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ซื้อก็มีสิทธิ์ที่จะซื้อหาตามที่ตนเองเชื่อและชอบ ซึ่งกลุ่มดังกล่าวเขาก็มีมาตรฐานภายในกลุ่มของเขาเองว่า แบบไหนใช่หรือไม่ใช่ พระแบบไหนต้องมีมาตรฐานแบบไหนตามที่เขากำหนด จึงสามารถซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนได้ ซึ่งก็จะเป็นสิทธิ์ของกลุ่มของเขาเช่นกัน เพราะเขาเป็นผู้ซื้อและเป็นผู้จ่ายเงิน

พระที่เคยซื้อกับกลุ่มที่เล่นหาแบบที่มีมูลค่ารองรับก็สามารถนำไปขายได้กับกลุ่มที่เล่นหาแบบนี้กับใครก็ได้ ซึ่งกลุ่มนี้ก็ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ มีอยู่ทั่วประเทศไทย หรือสามารถนำไปขายคืนให้กับผู้ที่เราซื้อหามาจากเขาก็ย่อมได้เช่นกัน ส่วนราคาก็ว่ากันไปตามความพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย การเล่นหาสะสมทั้ง 2 แบบใครชอบแบบไหนก็เลือกได้ตามความพอใจของตนเอง แต่จะมาโทษว่าใครผิดใครถูกก็คงไม่ได้เช่นกันนะครับ

ประสบการณ์ของตัวผมเองนั้นตั้งแต่เริ่มสนใจศึกษาและสะสมพระเครื่องก็ไม่ต่ำกว่า 50 ปี ก็เห็นเขาเล่นหากันมีทั้ง 2 แบบตามที่เล่ามา ในตอนเริ่มแรกผมก็ศึกษาไปหมดทุกด้าน ก็เช่นหาพระเครื่องแบบไม่ถูกต้องตามมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับมาอยู่เช่นกัน พอนำไปขอคำปรึกษากับกลุ่มที่เขาเล่นหาแบบมีมูลค่ารองรับก็ไม่ใช่ทุกที่ จึงเริ่มหันมาขอคำชี้แนะจากผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องท่านก็กรุณาแนะนำว่า ชอบหรือสนใจพระแบบไหน เช่น เหรียญ พระหล่อ พระเนื้อดิน พระเนื้อชิน พระเนื้อผง ก็ค่อยๆ ศึกษาพระนั้นๆ ไปทีละองค์ทีละแบบ เพราะพระเครื่องต้องศึกษาร่องรอยการผลิตให้ถ่องแท้ และจดจำทีละอย่าง ไม่มีสูตรสำเร็จที่ศึกษาแล้วจะดูพระเป็นเล่นพระได้ทุกอย่าง จะต้องศึกษาทีละพิมพ์ทีละชนิดไป และที่สำคัญจะต้องเคยเห็นพระแท้ๆ ด้วย จะให้ดีก็ต้องเช่าหาพระที่เรากำลังจะศึกษามาเป็นของตัวเองเพื่อที่จะได้ศึกษาดูและคุ้นเคยจนจำได้มั่นคง

ในครั้งแรกผมก็ชอบพระกรุเนื้อดินคือพระรอด วัดมหาวัน คิดในใจว่าจะศึกษาเป็นอย่างแรก แต่ก็ต้องเปลี่ยนใจเนื่องจากมีมูลค่าสูงมาก และไม่มีปัญญาที่จะเช่าหามาเป็นองค์ครูได้ จึงเปลี่ยนมาเป็นพระคงลำพูนที่มีของแท้อยู่มากมายในสมัยนั้น และราคา ถูกองค์พระไม่กี่สิบบาทก็พอมีกำลังซื้อมาศึกษาได้

ในตอนนั้นพระแท้สภาพพอสวยก็อยู่ ห้าหกสิบบาทก็เลยหาเช่ามาศึกษา อ่านหนังสืออาจารย์ตรีฯ เล่มพระสกุลลำพูนอยู่หลายเที่ยว ทั้งไปขอความรู้จากผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องอยู่เนืองๆ ค้นคว้าอยู่เป็นปี จนพอดูพระคงเป็นเล่นพระคงได้ ไปหาเช่าพระคงมาอีกหลายองค์และนำไปทดสอบดูในสนามพระเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องในสิ่งที่ศึกษามา ก็เป็นผลสำเร็จเรื่องพระคง ในใจก็คิดว่าดูพระคงเป็นก็สามารถดูพระรอดหรือพระสกุลลำพูนได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะไปศึกษาพระบาง พระเลี่ยง พระรอด รายละเอียดของแม่พิมพ์และร่องรอยการผลิตนั้นต่างกัน แต่เนื้อและชนิดของดินก็เป็นแบบที่คล้ายกันแต่ก็มีข้อแตกต่างกันบางประการ

ซึ่งก็ต้องศึกษาเพิ่มเติม แต่ก็ง่ายขึ้นเพราะพอมีหลักในการศึกษามาบ้างแล้วในพระสกุลลำพูน ต่อมาก็ศึกษาอื่นๆ อีกเช่นพระเนื้อชินชนิดต่างๆ ทั้งเนื้อชินเงิน เนื้อชินสนิมแดง พระเหรียญ พระประเภทหล่อต่างๆ รวมทั้งพระเนื้อผง จนมาได้ศึกษากับผู้ใหญ่อีกหลายท่าน ในพระชุดเบญจภาคี โดยมีเฮียเธ๊า ท่าพระจันทร์ ที่สอนผมมากที่สุด ในส่วนของตำราหรือหนังสือของอาจารย์ตรีฯ นั้นมีครบทั้ง 3 เล่ม คือพระสมเด็จฯ พระนางพญา พระรอด และหนังสืออื่นๆ อีกมากมาย

ในปัจจุบันผมก็ยังต้องศึกษาและทบทวนอยู่เสมอ ตราบใดที่เรายังจะคิดว่าจะเช่าพระอยู่ ก็ต้องศึกษาอยู่ เพราะพระที่ทำเลียนแบบต่างก็พัฒนาในการเลียนแบบได้ใกล้เคียงขึ้นอยู่ตลอด และพระเครื่องอื่นๆ ที่เราชอบก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกเช่นกันครับ แต่ก็คงศึกษาในแบบที่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับครับ เพราะพระบางอย่างเราก็อาจจะต้องนำไปขายออกกับเซียนพระเพื่อนำเงินไปเช่าหาพระองค์ใหม่ หรือเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในยามจำเป็น ก็ขายได้พร้อมมูลค่าเพิ่มตลอด

การเล่นหาสะสมแบบมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับก็ดีอย่างนี้แหละครับ

วันนี้ผมนำรูปพระคง วัดพระคงฤๅษี ลำพูน กรุเก่ามาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



ไต้ฮงกงโจวซือ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องไต้ฮงกงโจวซือ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนในแผ่นดินใหญ่และชาวไทยเชื้อสายจีน อีกทั้งประชาชนคนไทยอย่างมากมายในประเทศไทยได้มีการก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการสงเคราะห์สาธารณภัยเพื่อเจริญรอยตามกุศลเจตนาของท่านไต้ฮงกงโจวซือ จนมีชื่อเสียงและรู้จักกันดีโดยใช้ชื่อว่า “มูลนิธิ ฮั่วเคี้ยวป่อเต๊กเซี่ยตึ้ง” หรือที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันนาม “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” เรามารู้จักประวัติโดยย่อของท่านและพระรูปเหมือนของท่านที่สร้างในปี พ.ศ.2493 กันนะครับ

ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ได้เกิดบุคคลสำคัญขึ้นท่านหนึ่ง แซ่ลิ้ม เป็นชาวมณฑลฮกเกี้ยน และมีสติปัญญาปราดเปรื่องสามารถสอบไล่ได้ตำแหน่ง “จิ้นสือ” และเข้ารับราชการในตำแหน่งนายอำเภอ มณฑลเจียะเจียง ท่านปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตสามารถปกครองราษฎรให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตราชการ ท่านจึงได้สละลาภยศอันสูงเกียรติออกอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนานิกายมหายาน ณ วัดแห่งหนึ่งในมณฑลฮกเกี้ยนได้รับฉายาว่า “ไต้ฮง” เมื่อได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้หมั่นบำเพ็ญศาสนกิจ ศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุธรรมอันวิเศษ

ท่านไต้ฮงพำนักอยู่ที่วัดดังกล่าวเป็นเวลาหลายปี ด้วยจิตที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาต้องการออกโปรดสัตว์ ท่านจึงได้ออกธุดงควัตรจากเมืองฮกเกี้ยนไปตามเมืองต่างๆ ตลอดเส้นทางที่ท่านธุดงค์ผ่านไปนั้น เมืองใดที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ ท่านก็จะช่วยขจัดปัดเป่า บรรเทาทุกข์ให้เมืองใดที่สร้างถนนหรือสะพาน ท่านก็จะช่วยเหลือจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อย ในบางแห่งที่มีโรคระบาด มีคนเจ็บและล้มตาย ท่านก็จะช่วยนำยารักษาโรคออกแจกจ่ายแก่ผู้เจ็บป่วย และออกบิณฑบาตไม้มาทำโลงศพและนำศพไปบรรจุฝังตามธรรมเนียม

พระภิกษุไต้ฮงออกธุดงค์โปรดสัตว์อยู่หลายปี จนกระทั่งผ่านมายังเมืองแต้จิ๋ว ก็มีพุทธศาสนิกชนนิมนต์ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งบนภูเขาปักซัว อำเภอเตี่ยนเอี้ย ซึ่งตลอดเวลาที่ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้ท่านได้บำเพ็ญศาสนกิจอย่างเคร่งครัด ด้วยความมีเมตตาธรรมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว ทำให้บรรดาสาธุชนที่มีความศรัทธาเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ท่านยังได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดดังกล่าวจนกลายเป็นพระอารามใหญ่ เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้

ในบั้นปลายชีวิตของท่าน ได้ออกธุดงค์ไปอยู่จำพรรษาที่วัดเมี่ยงอัง ตำบลฮั่วเพ้ง ห่างจากอำเภอเตี่ยนเอี้ยไปประมาณ 15 กิโลเมตร ที่หมู่บ้านนี้มีแม่น้ำเหลียงเจียงไหลผ่าน แบ่งเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตก วัดเมี่ยงอังตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ในสมัยนั้นแม่น้ำเหลียงเจียงเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำไหลเชี่ยวกรากมาก อีกทั้งมีความกว้างใหญ่และลึก ประชาชนจึงใช้เรือเป็นพาหนะ ยามเมื่อเกิดมรสุมมักจะเกิดเหตุเรือล่มบ่อยๆ ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ ท่านไต้ฮงจึงเกิดความเวทนาสงสารประชาชน จึงดำริที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหลียงเจียง เพื่อให้ประชาชนได้สัญจรโดยสะดวก ท่านจึงได้บิณฑบาตวัสดุก่อสร้างต่างๆ อยู่หลายปีจนในปี พ.ศ.1671 มีพ่อค้าใหญ่เดินทางมานมัสการท่าน และทราบว่าท่านจะสร้างสะพาน จึงได้นำช่างก่อสร้างและวัสดุมาร่วมสร้างสะพานด้วย

ส่วนบริเวณที่จะสร้างสะพานนั้นท่านได้เลือกตรงหน้าศาลเจ้าหลักเมือง และดูฤกษ์ยามสำหรับการเริ่มงาน ในวันที่เริ่มสร้างสะพานสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดน้ำในแม่น้ำเกิดลดลงไปจนเกือบแห้งเป็นที่อัศจรรย์ บรรดาประชาชนและช่างต่างก็ก้มลงกราบท่านด้วยความศรัทธา ท่านกลับบอกว่าให้กราบฟ้าดินเถิด การครั้งนี้น้ำทะเลที่ปากแม่น้ำจะไม่ขึ้นลงเป็นเวลา 7 วัน เมื่อทราบเช่นนั้นพวกช่างจึงสร้างรากฐานสะพานและสร้างถ้ำสำหรับระบายน้ำจำนวน 19 ถ้ำ จนแล้วเสร็จโดยใช้เวลา 7 วันพอดี วันต่อมาน้ำในแม่น้ำเหลียงเจียงก็ขึ้นลงตามปกติ การก่อสร้างสะพานจึงเป็นไปด้วยความราบรื่นจนกระทั่งเสร็จ จัดว่าเป็นสะพานหินที่มีความยาวมาก และตั้งชื่อสะพานนี้ว่า “ฮั่วเพ็ง” หลังจากที่สร้างสะพานเสร็จท่านก็เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา และมรณภาพด้วยอาการสงบสิริอายุได้ 85 ปี ชาวเมืองจึงได้ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลและฝังร่างของท่านไว้ ณ ภูเขาฮั่วเพ็งและยังสร้างศาลเจ้าประดิษฐานรูปเหมือน ไต้ฮงกงโจวซือ ไว้สักการบูชา มีนามว่า “ศาลเจ้าป่อเต็กตึ๊ง” มาจนทุกวันนี้

ในประเทศไทย ประมาณปี พ.ศ. 2453 ชาวจีนโพ้นทะเลได้เข้ามาอาศัยร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย ด้วยความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา จึงร่วมกันจัดตั้งองค์กรสงเคราะห์สาธารณภัย เพื่อเจริญรอยตามกุศลเจตนาของท่านไต้ฮง กงโจวซือ โดยใช้ชื่อว่า “มูลนิธิ ฮั่วเคี้ยวป่อเตกตึ้ง” หรือที่เรารู้จักกันในนาม “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” ตั้งอยู่บนถนนพลับพลาไชย กทม.

ในโอกาสครบรอบ 40 ปีแห่งการก่อตั้งมูลนิธิ ตรงกับวันที่ 1-15 มิถุนายน พ.ศ.2493 ทางมูลนิธิได้จัดสร้างรูปหล่อจำลองไต้ฮงกงโจวซือขนาดเล็กขึ้น หล่อด้วยเนื้อทองเหลือง เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธานำไปบูชา จำนวน 100,000 องค์ แบ่งออกเป็นแบบบรรจุเม็ดกริ่ง และไม่บรรจุเม็ดกริ่ง อย่างละ 50,000 องค์ โดยทำพิธีทางศาสนาทั้งฝ่ายหินยานและมหายาน มีสมเด็จพระสังฆราช อยู่ วัดสระเกศเสด็จมาเป็นประธานเททอง และยังได้อาราธนาพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วทุกภาคกว่า 108 รูปมาร่วมปลุกเสก นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2497-2498 ทางมูลนิธิยังได้จัดสร้างเหรียญรูปเหมือนไต้ฮงกงโจวซือขึ้น เป็นรูปลูกท้อ จัดเป็นเหรียญรุ่นแรกที่ได้รับความนิยมมาก

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหมือนรุ่นแรกของไต้ฮงกงโจวซือมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ธันวาคม 2563 15:02:43 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.198 Chrome 86.0.4240.198


ดูรายละเอียด
« ตอบ #158 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2563 14:59:27 »




หลากหลายความคิด-ในพระองค์เดียวกัน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ก็มีผู้ถามมาว่า มีบ้างไหมที่เซียนดูพระองค์เดียวกันแล้วมีความคิดเห็นต่างกันโดยสิ้นเชิง แล้วความจริงคืออะไรอย่างไร ทำให้ผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่องงงกันไปหมด ถ้าถามผมพระองค์เดียวกันจะมีคำตอบเดียวคือ แท้ หรือไม่แท้เท่านั้นไม่มีอย่างอื่นครับ เพียงแต่ว่าเรานำพระไปถามใครแล้วเขามีความรู้เรื่องพระเครื่องชนิดนั้นๆแค่ไหนอย่างไร ถ้าผู้ที่ลงความเห็นว่าแท้หรือไม่นั้นมีความรู้เท่าๆ กัน และพูดความจริง คำตอบย่อมมีเพียงคำตอบเดียว คือแท้หรือไม่แท้เท่านั้นครับ

ส่วนใหญ่ในปัญหาที่ถกเถียงกันมักจะไม่ใช่พระอย่างอื่น จะเป็นพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหม ในอดีตมีการพูดถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯ บางองค์ว่ามีเซียนใหญ่หลายคนพิจารณาแล้วมีความเห็นที่แตกต่างกัน แล้วพระองค์นั้นจะเป็นพระแท้หรือพระไม่แท้กันแน่ เพราะพระองค์นี้มีการซื้อขายกันไปแล้ว

เรื่องความจริงนั้นต้องมีคำตอบเดียวคือใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น ผมขอยืนยัน เพราะเหตุผลในการพิสูจน์นั้นมีแน่ แต่อาจจะมีผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้องจึงอาจทำให้มีการเห็นแย้งกันอยู่

นอกจากเรื่องแท้หรือไม่แท้แล้วก็ยังมีปัญหาอีกอย่างก็คือ พระสมเด็จบางขุนพรหมบางแม่พิมพ์อาจจะมีแม่พิมพ์อันเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับของพระวัดระฆังฯ บางทีก็ยังมีปัญหาได้อีก บางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจนึกว่าพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมจะต้องมีคราบกรุทุกองค์ แต่ความจริงแล้วบางองค์ก็ไม่มีคราบกรุเลยก็มี แถมเนื้อหาก็จัดแบบวัดระฆังฯ อีกด้วย พระที่ไม่มีคราบกรุนี้เขาจะเรียกว่าพระกรุเก่า ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพระที่ขึ้นจากกรุหลังจากที่บรรจุกรุได้ไม่นานนัก หรือพระที่ขึ้นมาก่อนปี พ.ศ.2485 ก่อนมีน้ำท่วมใหญ่ที่กรุงเทพฯ พระประเภทนี้จะมีคราบกรุน้อยหรือไม่มีเลย เนื้อหาของพระก็ยังไม่ได้ถูกน้ำท่วมหรือแช่น้ำ เนื้อหาของพระก็จะจัดหนึกนุ่มแบบพระวัดระฆังฯ

พระของกรุบางขุนพรหมบางแม่พิมพ์ก็เป็นพิมพ์เดียวกับของวัดระฆังฯ และเป็นพระประเภทกรุเก่าที่ไม่มีคราบกรุก็อาจจะถูกขายออกไปเป็นพระวัดระฆังฯ ก็เป็นได้ เนื่องจากสนนราคาของวัดบางขุนพรหมนั้นจะถูกกว่าของวัดระฆังฯ แต่ก็เป็นพระแท้เช่นเดียวกัน ก็เคยมีปัญหาอยู่บ้าง แต่ความจริงนั้นสามารถพิสูจน์แยกแยะออกมาได้ด้วยเหตุผลครับ และชัดเจนด้วย เพียงแต่จะพูดความจริงกันหรือเปล่า หรือความรู้ของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันก็อาจจะเข้าใจผิดได้ ที่สำคัญต้องอย่านำเอาผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง และตัดสินด้วยความเป็นธรรมก็จะได้ความจริงครับ

ผมเคยศึกษาเรื่องพระสมเด็จฯ จากผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน และท่านเหล่านั้นก็อยู่คนละกลุ่มกัน และก็ได้ความกรุณาชี้แนะสอนให้ พร้อมทั้งอธิบายด้วยเหตุและผลถึงเรื่องแม่พิมพ์ เนื้อหาของพระและธรรมชาติของพระ ว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้นแบบนี้จนเข้าใจ และเหตุผลของแต่ละท่านก็มาตรงกันหมด มีวิธีและเหตุผลเหมือนกันหมดทั้งๆ ที่เล่นหาคนละกลุ่มกัน แต่เล่นหาแบบที่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับเช่นเดียวกัน หลักการในการพิสูจน์จะเหมือนกัน แต่อาจจะเรียงลำดับหรือเรียกสัญลักษณ์ต่างกันเท่านั้น แต่ผลสรุปออกมาได้เหมือนกัน และในหลักการของแต่ละท่านในการพิสูจน์พระนั้นถ้าถูกต้องตามมาตรฐานสามารถนำมาขายในสังคมพระเครื่องได้ทุกองค์ โดยมีมูลค่ารองรับครับ

การเล่นหาพระแบบที่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับนั้นมีเหตุผลที่ดี สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจน เพียงแต่ถ้าเราอยากจะศึกษาก็ต้องไปหาผู้ที่รู้จริงและสอนให้จริงๆ ตัวเราเองก็ต้องมีจิตใจที่อยากรู้จริงศึกษาจริง มีความตั้งใจจริงและบริสุทธิ์ใจจริง ก็จะได้รับความรู้จากท่านเหล่านั้นกลับมาครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซมที่แทบจะไม่มีคราบกรุเลย เนื้อหาจัดแบบพระวัดระฆังฯ ศิลปะแม่พิมพ์ใกล้เคียงกับของวัดระฆังฯ มาก ที่สำคัญเป็นพระที่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมพระเครื่องและมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



ปัญหาเกี่ยวกับพระเครื่อง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราคงเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับปัญหาพระแท้-ไม่แท้กันมาบ้าง ยิ่งในโซเชี่ยลมีเดียนั้นก็มีเยอะ

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ก็ถกเถียงกันความคิดเห็นแตกต่างกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีสิทธิ์ที่จะคิดเห็นในแนวทางที่ตนเชื่อได้ ไม่ผิดอะไร เพราะเราก็เห็นในด้านที่ตัวเองเชื่อว่าถูกต้อง ก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร เพียงอย่าพยายามให้คนที่เห็นต่างนั้นเชื่อและเห็นด้วยกับฝ่ายของตนเองเท่านั้น ทุกฝ่ายก็สามารถเลือกเชื่อตามที่คนเห็นว่าถูกต้องเรื่องมันก็ไม่มีปัญหาอะไรเลย

เท่าที่ผมเห็นส่วนมาก ฝ่ายหนึ่งก็อยากที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับและเชื่อในสิ่งที่ฝ่ายตัวเองเชื่อปัญหาจึงเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ เอาแหละเราลองมาดูที่ปัญหา ก็คือ แท้-ไม่แท้ ซึ่งก็มีความเห็นแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม และการใช้มาตรฐานใดในการพิสูจน์ชี้ชัดและมีหลักการใดที่เป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งต่างก็ถกเถียงกันอยู่ใน โซเชี่ยลมีเดีย สำหรับผู้ที่เริ่มเข้ามาศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ก็คงจะงงๆ อยู่บ้างไม่รู้ว่าจะเชื่อหรือใช้มาตรฐานของฝ่ายไหน ในส่วนตัวผมเองก็เป็นผู้ศึกษาพระเครื่องด้วยเช่นกัน

ผมก็ศึกษาตามแนวทางของทุกฝ่าย แม้ในปัจจุบันก็ยังติดตามศึกษาอยู่ในทุกด้านของทุกๆ ฝ่าย และนำมาวิเคราะห์ดูว่าข้อไหนของฝ่ายใดมีประโยชน์และน่าจะถูกต้องมากที่สุด ก็นำมาใช้ส่วนตัว การศึกษานั้นไม่มีวันจบหรือสิ้นสุดเพราะจะมีข้อมูลใหม่ๆ ที่เพิ่งค้นพบอยู่เสมอ แต่จะใช่หรือไม่ก็ต้องศึกษาและวิเคราะห์ดูด้วย ตัวเองครับ เราสามารถเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อและเห็นด้วยในทุกๆ ข้อความคิดเห็น

ความเชื่อหรือความคิดเห็นใดๆ นั้นสามารถเลือกได้ด้วยตัวเราเอง เช่นพระองค์นั้นแท้ หรือพระองค์นั้นๆ ไม่แท้ ด้วยเหตุผลส่วนตัวเราเอง เราก็ควรเคารพตัวเองเชื่อตัวเอง และก็ไม่ควรที่จะให้ใครมาเชื่อและมีความคิดเห็นตามที่เราคิด ถ้าเป็นเช่นนั้นปัญหาต่างๆ ก็ไม่เกิดขึ้น แต่ที่เป็นปัญหาอยู่เท่าที่เห็นก็คือ การนำพระตามที่เราเชื่อว่าใช่แท้นั้นไปขายให้กับอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อและมีความเห็นแตกต่างกับตัวเรา เมื่อเขาไม่ซื้อหาตามที่เราต้องการก็เกิดความไม่พอใจ มีการกล่าวต่อว่าต่างๆ นานา

ซึ่งความจริงพระองค์นั้นๆ ที่เรานำไปขาย แต่เขาไม่ซื้อ ก็ย่อมเป็นสิทธิ์ของเขาควรเคารพสิทธิ์ของเขาเช่นกัน เมื่อเราก็มีกลุ่มที่มีความเชื่อเหมือนๆ กัน และเราต้องการที่จะขายก็นำไปขายในกลุ่มของเราเอง ปัญหาก็ไม่เกิดครับ เรื่องง่ายๆ แค่นี้เองครับ หรือถ้าเราจะนำพระของเราไปขอออกใบรับรองพระแท้ กลุ่มหนึ่งอาจจะบอกว่าไม่แท้ เราก็ไปขอออกใบรับรองจากอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อเหมือนๆ กันกับเรา มันก็จบด้วยดีอีกเช่นกันครับ

ปัญหาจริงๆ ก็คือความต้องการที่จะให้คนกลุ่มอื่นๆ เชื่อและมีความเห็นแบบเดียวกับเรา เรื่องมันก็เลยมีปัญหา ในสังคมพระเครื่องก็มีหลากหลายกลุ่ม กลุ่มหนึ่งที่เห็นๆ กันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ก็คือกลุ่มศูนย์พระหรือสนามพระในสมัยก่อน เป็นกลุ่มที่มีอยู่ช้านาน เท่าที่ชีวิตผมเห็นมาก็ไม่ต่ำกว่า 60 ปี กลุ่มนี้ก็มีผู้ที่ทำอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่องพระบูชา และผู้ที่นิยมพระเครื่องเข้ามาซื้อมาขายกันอยู่ตลอดมา กลุ่มนี้ก็เหมือนเป็นศูนย์กลางการซื้อ-ขาย พระเครื่องพระบูชา และกลุ่มนี้เขาก็มีมาตรฐานของเขาในการพิสูจน์ แท้-เก๊ หรือว่าใช่หรือไม่ใช่แบบของเขาเอง

แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันเสียทั้งหมดที่มีความคิดเห็นเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จะมีความคิดเห็นเหมือนๆ กัน ซึ่งก็เหมือนกับเป็นมาตรฐานในการซื้อ-ขายแบบของเขา ความเห็นต่างในศูนย์กลางการซื้อ-ขายในสนามพระก็ไม่มีปัญหาอะไรหรือทะเลาะเบาะแว้งกันเลย เพราะต่างคนต่างเชื่อ ต่างคนต่างซื้อ-ขาย ก็เท่านั้นเอง

ในปัจจุบันมีการสื่อสารไร้พรมแดน มีโซเชี่ยลมีเดีย ก็น่าจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันมากมาย ซึ่งถ้าเราเคารพสิทธิ์ในการเชื่อซึ่งกันและกันในแต่ละกลุ่มก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ถ้าไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง พระแบบนี้ขายได้ พระแบบนี้เขาไม่ซื้อก็น่าจะเป็นสิทธิ์ของเขาในสถานที่ของเขานะครับ เรื่องมันก็แค่นี้ง่ายๆ ปัญหาก็ไม่เกิดครับ ปัญหาเกี่ยวกับพระเครื่องต่างๆ ก็แก้ไขได้ง่ายนิดเดียวตามที่ผมกล่าวมาทั้งหมดถ้าเอาผลประโยชน์ออกไปครับ

ครับ ในวันนี้ผมก็นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ที่ถูกตามมาตรฐานที่ เขาซื้อ-ขายกันได้ในสังคมพระเครื่อง ซึ่งแน่นอนมีมูลค่ารองรับเป็นหลายล้านบาทครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระกริ่งพรหมมุนี รุ่นศิษย์ถวายสำรับ 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบพระกริ่งสายวัดสุทัศน์เป็นส่วนใหญ่ และพระกริ่งยอดนิยมของวัดสุทัศน์ก็จะเป็นพระกริ่งที่สร้างในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งมีจำนวนการสร้างไม่มากนักในแต่ละรุ่น แต่ละรุ่นก็จะพิถีพิถันมากในการสร้าง ทั้งในส่วนของพิธีการและส่วนผสมของโลหะ ผู้ที่เคารพศรัทธาในองค์สมเด็จฯ จึงนิยมเสาะหากันมาก มูลค่ารองรับนั้นสูงทุกรุ่นครับ

ในวันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระกริ่งรุ่นศิษย์ถวายสำรับ ที่นักนิยมสะสมพระกริ่งมักจะเรียกกันว่า พระกริ่งพรหมมุนี เนื่องจากในขณะที่ทรงสร้างพระกริ่งรุ่นนี้ดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี และพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราชในคราวที่ดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนีนั้นมีการสร้างพระกริ่งอยู่หลายรุ่น รวมทั้งตระกูลต่างๆ ที่เคารพศรัทธาในองค์สมเด็จฯ ก็ได้ขออนุญาตสร้างด้วยทุกปี

แต่ในรุ่นศิษย์ถวายสำรับนี้สมเด็จฯ ทรงอนุญาตให้สร้างขึ้นเพื่อประทานแก่ญาติและศิษย์ที่รับเป็นเจ้าภาพถวายสำรับคาวหวานโดยถวายหมดพร้อมทั้งภาชนะแด่พระเถรานุเถระที่นิมนต์มาฉันในการพิธีฉลองพระชนมายุครบ 5 รอบของสมเด็จฯ ในวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2459

พระกริ่งรุ่นนี้สร้างทั้งหมดจำนวน 60 องค์ เท่าพระชนมายุ และเพิ่ม 1 ปี องค์รวมเป็น 61 องค์ หุ่นของพระกริ่งรุ่นนี้เป็นแบบพระกริ่งจีนใหญ่ การบรรจุกริ่งเป็นแบบกริ่งในตัว เนื้อเป็นเนื้อนวโลหะ โดยนำนวโลหะเชื้อเดิมมาผสม เติมทองแดงบริสุทธิ์ เงิน ทองคำ เพิ่มเข้าไป เนื้อในจะเป็นสีนากแก่ๆ กลับขาวแล้วกลับดำ เมื่อเนื้อกลับดำแล้วเนื้อจะดำสนิท พระกริ่งรุ่นนี้ถ้าจะเรียกเฉพาะก็คือพระกริ่งรุ่น “ศิษย์ถวายสำรับ” พระกริ่งรุ่นนี้ในปัจจุบันหายากมาก มูลค่าราคาอยู่ที่หลักล้าน แต่จะเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสวยสมบูรณ์ของพระองค์พระประกอบ

ในสมัยที่ผมเริ่มศึกษาพระเครื่องใหม่ๆ นั้น ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ชื่นชอบพระกริ่งวัดสุทัศน์ ก็มักจะพูดถึงพระกริ่งอยู่ไม่กี่รุ่น ถ้าเป็นพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ก็มักจะพูดถึงพระกริ่งพรหมมุนี ซึ่งหมายถึงพระกริ่งรุ่นศิษย์ถวายสำหรับ พระกริ่ง 79 หมายถึงพระกริ่งที่สร้างในปี พ.ศ.2479 ครั้งที่สมเด็จฯ ดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวันรัต และพระกริ่ง 83 หมายถึงพระกริ่งที่สร้างในครั้งฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปี พ.ศ.2483 และมักเรียกกันว่าพระกริ่งรุ่นฉลองพระชนม์

ปัจจุบันพระกริ่งวัดสุทัศน์ทั้งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์หายากทุกรุ่น และมีมูลค่ารองรับสูง เนื่องจากมีจำนวนในแต่ละรุ่นไม่มากนัก ความศักดิ์สิทธิ์ในองค์พระกริ่งและความเคารพเสื่อมใสในองค์สมเด็จฯ และท่านเจ้าคุณศรีฯ นั้นมีมาก ผู้ที่ชื่นชอบพระกริ่งจึงเสาะแสวงหากันมาก แต่ก็หายากนะครับ ของปลอมเลียนแบบนั้นก็มีอยู่มากเช่นกัน หลากหลายฝีมือ

เวลาจะเช่าหาสะสมควรศึกษาหาข้อมูลก่อนที่จะเช่าหา หรือเช่าหาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเรื่องกริ่งโดยเฉพาะจะปลอดภัยกว่าครับ
วันนี้ผมนำรูปพระกริ่ง พรหมมุนี รุ่นศิษย์ถวายสำรับมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
 


หลวงพ่อสาย วัดรวก 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพระเกจิอาจารย์ที่ชาวอำเภอพระประแดงเคารพเสื่อมใสมากรูปหนึ่ง คือหลวงพ่อสาย วัดรวก ท่านมีเมตตาธรรมสูงช่วยเหลือและรักษาโรคภัยต่างๆ โดยเฉพาะวิชาต่อกระดูกมีชื่อเสียงมาก

หลวงพ่อสาย ท่านเกิดปี พ.ศ.2422 ที่บ้านตำบลบางผึ้ง สมุทรปราการ โยมบิดาชื่อแสง โยมมารดาชื่อวาย บิดามารดาท่านเป็นชาวสวนมีฐานะดี พอท่านอายุพอสมควรบิดามารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือที่วัดรวก ซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้าน พออายุครบบวช ท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดราวก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2446 โดยมีพระปลัดน้อย วัดโปรดเกษเชษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์อ้น วัดโปรดเกษฯ กับพระอธิการบุญ วัดแจงร้อน เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “จนฺทสุวณฺโณ” เมื่อบวชแล้วท่านก็ศึกษาพระธรรมวินัย บาลี และท่านยังสนใจวิปัสสนาธุระ โดยได้ตำราของเจ้าคุณพระญาณสังวร (ช้าง) พระอาจารย์วิปัสสนาชื่อดังของวัดโปรดเกษฯ เมื่อเรียนแล้วท่านก็ฝึกฝนมาตลอด

พอถึงปี พ.ศ.2455 วัดรวกว่างเจ้าอาวาสลง คณะสงฆ์และชาวบ้านจึงได้อาราธนาท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ท่านได้เอาใส่พัฒนาวัดปฏิสังขรณ์ของเก่าแก่ที่ชำรุดให้สมบูรณ์และก่อสร้างขึ้นใหม่หลายอย่างเช่นศาลาการเปรียญ กุฏิ โรงเรียนประชาบาล และโบสถ์ นอกจากนี้ท่านก็ได้อบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่ชาวบ้าน หลวงพ่อสายท่านช่วยเหลือชาวบ้านทุกคนที่ทุกข์ร้อนและมาขอให้ช่วยรักษาโรคภัยต่างๆ เนื่องจากท่านยังเชี่ยวชาญในเรื่องแพทย์แผนโบราณได้ประกาศนียบัตรแผนโบราณด้วย นอกจากนี้ท่านยังมีวิทยาคมสูงอีกด้วย มีผู้คนเดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อให้ท่านช่วยรักษามากมาย เรื่องผสานกระดูกท่านก็มีชื่อเสียงมาก เรื่องวิชาประสานกระดูกท่านได้ศึกษามาจากหลวงพ่อตึ๋ง วัดสร้อยทอง

หลวงพ่อสายท่านสนิทสนมกับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก และหลวงพ่อโม้ วัดสน ท่านได้รับการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนวิชากัน จนได้รับคำชมจากพระอาจารย์ทั้งสอง มีชาวบ้านมาขอเครื่องรางของขลังจากหลวงพ่อสายเป็นประจำ เช่นตะกรุดโทน เด่นทางด้านมหาอุด และไหมเจ็ดสีถักเป็นตะกรุด 7 ดอก เป็นต้น

ในปี พ.ศ.2491 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน และได้สร้างพระเนื้อดินเผาประมาณ 500 องค์ มีประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด ปัจจุบันหายากครับ พอถึงปี พ.ศ.2494 ท่านอายุได้ 72 ปี คณะศิษย์และชาวบ้าน ได้พร้อมใจจัดงานทำบุญฉลองอายุ และจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านประมาณ 1,000 เหรียญ เป็นเหรียญเนื้อทองแดง หลวงพ่อสายท่านปลุกเสกเดี่ยว 1 พรรษา เมื่อปลุกเสกเสร็จแล้วก็ออกแจกจนหมด เหรียญนี้มีประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด ชาวพระประแดงหวงแหนกันมาก จัดเป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งของพระประแดงครับ

หลวงพ่อสายท่านทำวัตรสวดมนต์ไม่เคยขาด และเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยท่านไม่สะสมทรัพย์ มีผู้มาถวายปัจจัยเท่าไรก็นำมาพัฒนาวัดหมดเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านเป็นอย่างมาก เมื่อถึงปี พ.ศ.2495 หลวงพ่อสายก็มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 73 ปี 49 พรรษา

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของท่านมาให้ชมกันด้วยครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 87.0.4280.88 Chrome 87.0.4280.88


ดูรายละเอียด
« ตอบ #159 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2563 17:35:29 »


หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐมนั้น มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากมายหลายองค์ ในวันนี้ผมจะคุยถึงพระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่ง คือพระครูไพศาลธรรมวาที พอบอกอย่างนี้หลายท่านอาจจะงง แต่ถ้าบอกว่า หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด ก็ร้องอ๋อจริงไหมครับ หลวงพ่อห้อยสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายพุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านมหาอุดและแคล้วคลาด

หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด อ.สามพราน จ.นครปฐม หลวงพ่อห้อยเกิดเมื่อ วันที่ 2 7 กันยายน พ.ศ.2415 โยมบิดาชื่อมั่ง โยมมารดาชื่อเมือง ท่านอุปสมบทใน ปี พ.ศ.2435 โดยมีพระครูปุริมานุรักษ์ วัดสุขประดิษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อรุ่ง วัดหอมเกร็ดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อแจ่ม วัดทรงคนอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปุญญัสสะ” หลวงพ่อห้อยได้เรียนวิทยาการต่างๆ จากพระอาจารย์ทั้งสามองค์นี้ นอกจากนี้หลวงพ่อห้อย ยังได้เรียนกับสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ตอนที่สมเด็จพระสังฆราชฯ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกษาจารย์ อีกด้วย

หลังจากที่หลวงพ่อห้อยบวชได้ประมาณ 3 พรรษา หลวงพ่อรุ่งเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ดก็มรณภาพ วัดหอมเกร็ดจึงว่างเจ้าอาวาส คณะศิษย์และมัคนายกวัดได้นิมนต์หลวงพ่อห้อยผู้เป็นศิษย์ เป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ด และก็ได้เป็นเจ้าอาวาส วัดหอมเกร็ด วัดหอมเกร็ดนั้นแต่เดิมชื่อว่า “วัดหอมกรุ่น” ต่อมาหลวงพ่อห้อยได้พิจารณาเห็นว่าวัดหอมกรุ่นอยู่ไกลแหล่งน้ำ การคมนาคมไม่สะดวก และสภาพวัดทรุดโทรมมากท่านจึงปรึกษามัคนายกวัด ในที่สุดจึงได้ย้ายวัดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 500 เมตร

หลังจากที่ได้ย้ายวัดมาอยู่ริมแม่น้ำแล้ว ก็ได้เริ่มสร้างพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ท่านได้สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ท่านสนใจในเรื่องการศึกษาของเด็กชาวบ้านในแถบนั้นในปี พ.ศ.2462 จึงได้ให้เปิดศาลาการเปรียญสอนหนังสือให้แก่เด็กๆ โดยมีนายเทพ นาคนาเกร็ด เป็นครูใหญ่คนแรก และต่อมาในปี พ.ศ.2465 จึงได้สร้างอาคารเรียนขึ้น เป็นโรงเรียนชื่อว่า “ห้อยศึกษาลัย” จากผลงานและความสามารถของหลวงพ่อท่านจึงได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูธรรมไพศาลธรรมวาที ต่อมาในปี พ.ศ.2481 หลวงพ่อห้อยก็ได้ขยายโรงเรียนขึ้นโดยการร่วมมือกับชาวบ้านและทางการจนเป็นโรงเรียนมาตรฐานชื่อว่า “โรงเรียนไพศาลประชานุกูล”

มรณภาพในปี พ.ศ.2483 สิริอายุ 68 ปี พรรษา 48

ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระปิดตามหาอุด เหรียญหล่อพระปิดตา พระว่าน และในปี พ.ศ.2465 คณะศิษย์ได้จัดงานฉลองสมณศักดิ์และสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น

ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้ราคาสูงมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อพระปิดตามาชมกันครับ
แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งสุจิตโต

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งสุจิตโต หรือที่ในสังคมพระเครื่องมักจะเรียกกันว่า พระกริ่งบัวรอบ วัดบวรฯ เป็นพระกริ่งที่หายากมาก และเป็นพระกริ่งที่สร้างเป็นครั้งแรกของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 6 รอบ

พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นโอรสหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์และหม่อมเอม ประสูติเมื่อ พ.ศ.2415 มีพระนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ ผนวชเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ.2430 พระพรหมมุนี (สุมิตโต หมือน) วัดบรมนิวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ.2435 พระพรหมมุนี (กิตติสาโร แพง) วัดมกุฏฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ทรงดำรงสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้
ปี พ.ศ.2439 เป็นพระญาณวราภรณ์
ปี พ.ศ.2446 เป็นพระญาณวราภรณ์ ตำแหน่งพระราชาคณะชั้นพิเศษ
ปี พ.ศ.2455 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามเดิม
ปี พ.ศ.2464 เลื่อนเป็นพระราชาคณะสมณศักดิ์เสมอตำแหน่งพระธรรมพิเศษ ในราชทินนามเดิม
ปี พ.ศ.2471 เลื่อนเป็นพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
ปี พ.ศ2488 ทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสถาปนาสมณศักดิ์และฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชพระอุปัธยาจารย์เป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และถวายพัดแฉกมหาสมณุตมาภิเษก

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงปฏิบัติพระกรณีย์ที่สำคัญๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการพระศาสนาและประเทศชาติหลายประการ พระกรณีย์สำคัญประการหนึ่งก็คือ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เมื่อคราวทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ยังทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระราชวงศ์ผู้ใหญ่อีกหลายพระองค์ มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ เป็นต้น

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร 38 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.2501 พระชนมายุ 84 พรรษา

ในปี พ.ศ.2487 สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ จะมีพระชนมายุครบ 6 รอบ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ได้ทรงจัดหล่อพระกริ่งขึ้นที่หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2487 ตั้งพิธีสวดพุทธาภิเษกในพระอุโบสถ เวลา 09.08 น. สมเด็จทรงจุดเทียนชัยแล้วสวดมนต์ จบแล้วมีการสวดภาณวาร พุทธาภิเษกต่อเวลา 13.51 น. พระกริ่งที่หล่อคราวนี้เป็นครั้งแรกในสมัยที่ทรงครองวัด ทรงมีพระประสงค์ให้เรียกว่า “พระกริ่งสุจิตโต” ตามพระนามฉายาของสมเด็จฯ แต่ในสังคมพระเครื่องก็มักจะเรียกกันติดปากว่า “พระกริ่งบัวรอบ วัดบวร” เนื่องจากพุทธลักษณะของพระกริ่งรุ่นนี้ มีฐานเป็นกลีบบัวรอบฐานพระ การบรรจุเม็ดกริ่ง โดยการคว้านก้นเป็นโพรง บรรจุเม็ดกริ่ง แล้วปะกันด้วยแผ่นทองแดงบัดกรีด้วยตะกั่ว ก้นมักเป็นแอ่งบุ๋มตรงกลาง จำนวนการสร้างประมาณ 300 องค์

พระกริ่งสุจิตโต เป็นพระกริ่งที่หายาก เนื่องจากจำนวนการสร้างน้อย และเป็นที่หวงแหน ปัจจุบันสนนราคาค่อนข้างสูงครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งสุจิตโตจากหนังสือทำเนียบพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ โดยคุณมอนต์ จันทนากร มาให้ชมกันครับ
ข่าวสดออนไลน์



เหรียญเม็ดแตงหลวงปู่ทวด 2506

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ช่วงนี้ผมได้รับคำถามบ่อยมากว่า ใส่พระหรือห้อยพระอะไรดี

คำถามนี้ โดยส่วนใหญ่ก็เพื่อจะหวังผลที่เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องค้าขายหรือโชคลาภเป็นหลัก เนื่องจากเศรษฐกิจเวลานี้ไม่ค่อยดี การค้าขายรายได้ลดลง แต่กลับกันค่าครองชีพกลับสูงขึ้นสวนทางกัน ซึ่งความจริงแล้วก็เป็นกันทั่วโลกคล้ายๆ กัน

ส่วนบ้านเราอาจจะกระทบมากหน่อย ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะจิตตกหาที่พึ่งทุกทางโดยเฉพาะทางใจ ชาวพุทธก็จะเข้าวัดเข้าวาฟังธรรมหรือปฏิบัติธรรม ส่วนคนที่ชอบพระเครื่องก็หวังจะหาพระเครื่องเพื่อช่วยเป็นที่พึ่งต่างๆ

คำถามต่างๆ เหล่านี้ตอบได้ยากเหมือนกัน ความจริงแล้วก็ควรห้อยพระที่เราชอบและศรัทธาจะดีที่สุด พระอะไรก็ได้ครับ แต่อย่าเพิ่งหวังว่าจะได้เพียงอย่างเดียว ความจริงพระเครื่องก็เป็นที่พึ่งทางใจ ช่วยให้มีกำลังใจ มีจิตที่สงบลงมีสติไม่ร้อนใจ วุ่นวาย การห้อยพระเครื่องเป็นที่พึ่งนั้นตัวเราเองก็ต้องปฏิบัติด้วยจึงจะได้ผล คือประพฤติตนให้อยู่ตามหลักของศาสนา เช่น พยายามลดละเลิกกิเลสทั้งหลายลงบ้าง ประกอบอาชีพสุจริต ไม่คดโกง ลดความโลภ โกรธ หลง ใช้จ่ายอย่างประหยัดพอเพียง ขยัน อดทน แน่นอนครับว่ามนุษย์เรามีกิเลสมากมาย มากน้อยแล้วแต่บุคคล ทุกศาสนาก็สอนให้เราลดละเลิกกิเลสลงเสียบ้างไม่มากก็น้อย หมั่นฝึกฝนให้เหลือน้อยลงก็จะค่อยๆ ดีขึ้นครับ พุทธคุณหรือพระเครื่องต่างๆ มีส่วนช่วยเราได้ ช่วยให้มีกำลังใจ ช่วยให้จิตใจสงบ และช่วยให้ประสบความสำเร็จได้ แต่ตัวเราเองก็ต้องช่วยตัวเองด้วย พยายามยืนให้ได้ด้วยตัวเอง มีสติแล้วปัญญาก็จะเกิดปัญหาต่างๆ มีไว้ให้แก้ แล้วทุกๆ อย่างก็จะผ่านพ้นไป

ในสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้ถ้าถามว่าในส่วนตัวผมเองคิดว่าน่าจะห้อยพระอะไร ผมเองว่าห้อยพระนิรันตรายแคล้วคลาดปลอดภัยครับ แคล้วคลาดจากทุกๆ อย่าง ในสภาวะแบบนี้มีทั้งภัยจากโจร ผู้ร้าย ในรูปแบบต่างๆ ภัยจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวยากหมากแพงต่างๆ ขอให้แคล้วคลาดผ่านพ้นไปได้ ก็ถือว่าดีที่สุดแล้วครับ พระเครื่อง นิรันตรายก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น พระหลวงปู่ทวดทุกวัดทุกรุ่นใช้ได้หมดครับ ส่วนที่นิยมมากหน่อยก็ของวัดช้างให้ จ.ปัตตานี ยิ่งเป็นรุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิมปลุกเสกยิ่งดีใหญ่ พูดง่ายๆ ก็คือก่อนปี พ.ศ.2513 ความจริงพระอาจารย์ทิมก็ได้ปลุกเสกไว้หลายวัดด้วยกันครับ

แต่ถ้าเป็นของวัดช้างให้รุ่นที่พระอาจารย์ทิมปลุกเสกก็จะนิยมมากกว่า ถึงแม้ว่าเราจะหาพระของวัดช้างให้ที่ท่านพระอาจารย์ทิมปลุกเสกไม่ได้ก็หาของวัดใดรุ่นใดก็ได้ครับ ขอให้ระลึกถึงหลวงปู่ทวด และพระอาจารย์ทิมก็ได้ผลเช่นกันครับ แต่อย่าลืมว่าตัวเราเองก็ต้องประพฤติตนให้เป็นคนดีด้วยนะครับจึงจะได้ผลดี พระไม่ช่วยคนเลวนะครับ ดีได้ไม่มากก็ขอให้พยายามดีบ้างก็ยังดีครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญเม็ดแตงหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปี พ.ศ.2506 พิมพ์หน้าผาก 4 เส้น ซึ่งเป็นพิมพ์ที่นิยมมาให้ชมครับ
ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งนิรันตราย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักท่าน พระกริ่งนิรันตรายหลวงพ่อกึ๋น วัดดอนยานนาวา เป็นพระกริ่งรุ่นเก่าที่สนนราคายังไม่สูงมากนัก แต่เป็นพระกริ่งที่มีพุทธคุณสูง และสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงเป็นประธานในพิธี และมีเรื่องเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่ตอนทำพิธี ความเป็นมาเป็นอย่างไรลองมาติดตามกันครับ

วัดดอน แต่เดิมมีชื่อเดิมว่า “วัดดอนทวาย” ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของถนนเจริญกรุง ในท้องที่อำเภอยานนาวา กทม. ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงครองราชย์ (พ.ศ.2335) มังจันจ่าเจ้าเมืองทวาย (เมืองมอญ) ได้อพยพครอบครัวญาติสนิทมิตรสหายและบริวารเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เข้าทำนองหนีร้อนมาพึ่งเย็น

ต่อมามังจันจ่า ได้รับราชการมีความดีความชอบเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงโปรดพระราชทานที่หลวง ณ ตำบลคอกกระบือ อันเป็นบริเวณที่ตั้งวัดดอนปัจจุบันนี้ให้เป็นถิ่นพำนักของ มังจันจ่าและบริวาร และได้ลงหลักปักฐานเป็นปึกแผ่นมั่นคง และพากันเรียกหมู่บ้านนั้นว่า “บ้านทวาย” โดยมีมัง จันจ่าเป็นหัวหน้าปกครองได้รับความร่มเย็นเป็นสุขสืบมา

โดยที่ชาวบ้านทวายเป็นพุทธศาสนิกชนผู้ถือเคร่งในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ในปี พ.ศ.2340 มังจันจ่าพระยาทวายจึงได้ชักชวนชาวทวายจัดสร้างวัดขึ้น ที่ด้านหลังหมู่บ้านทวาย ซึ่งเป็นที่ดอนสูงเด่น เป็นชัยภูมิที่เหมาะสม และให้ชื่อว่า “วัดดอนทวาย” ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจสิบต่อมา กาลผ่านมาจะด้วยชื่อวัดยาวไปหรืออย่างไรไม่ทราบได้ แต่ชาวบ้านมักจะชอบเรียกสั้นๆ ว่า “วัดดอน” และเรียกกันมาจนถึงทุกวันนี้ พระอธิการที่ครองวัดดอนที่พอสืบได้ก็คือ ท่านปู่จั่น หรือที่ชาวบ้านชอบเรียกท่านว่า ท่านปู่ใหญ่ เป็นพระเถระฝ่ายชาวทวาย ซึ่งอาราธนามาแต่เมืองทวาย ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังทางปฏิบัติ ทางกสิณสมาธิภาวนา มีผู้ศรัทธาเสื่อมใสเป็นอันมากในขณะนั้น ท่านครองวัดดอนมาจนถึงปี พ.ศ.2464 ก็ถึงแก่มรณภาพ พระครูกัลยาณวิสุทธิ์ (หลวงพ่อกึ๋น) ได้รับอาราธนาแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

หลวงพ่อกึ๋นเป็นลูกบ้านทวายโดยกำเนิด เกิดที่หมู่บ้านทวาย อำเภอยานาวา ท่านก็เป็นผู้ทรงคุณในทางสมาธิภาวนาและมีอาคมแก่กล้า ท่านได้อุปสมบทและเล่าเรียนวิทยาคมสืบเนื่องมาจากหลวงพ่อจั่น (ท่านใหญ่) และอาจารย์เปี่ยม วัดดอน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวิทยาคมขลังอีกรูปหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ.2480 สมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นพระครูกึ๋น อยู่นั้น ก็เริ่มเข้าสู่ยุคสงครามเอเชียบูรพา ชายไทยทุกคนต้องเข้ารับใช้ชาติ ในการนี้ท่านพระครูกึ๋นจึงดำริที่จะสร้างพระเครื่องขึ้นมา เพื่อแจกทหารที่มาลาไปทัพ จึงได้สร้างพระกริ่งนิรันตรายขึ้นมาโดยได้ทูลอาราธนาท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) แห่งวัดสุทัศน์ ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ที่ท่านเคารพสูงสุดเสด็จไปเป็นประธานจุดเทียนชัย ขอแผ่นทองและทองชนวนพระกริ่งต่างๆ ตลอดจนกำกับการเททองหล่อจนเสร็จการ

เหตุการณ์ในขณะที่บัณฑิตกำลังบวงสรวงอัญเชิญปวงเทพมาร่วมโมทนาในพิธีเทพระกริ่งอยู่นั้นพลันอสุนีบาต ก็ฟาดลงมาท่ามกลางพิธี เป็นที่อัศจรรย์ ผู้คนต่างตื่นตะลึง แต่หามีผู้ใดได้รับอันตรายไม่ ต่อมาในขณะที่ทำพิธีเททองอยู่นั้น สายสิญจน์ได้ตกลงไปในเบ้าที่หลอมทอง แต่ทว่าสายสิญจน์หาได้ไหม้ไฟแม้แต่น้อย ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นต่อหน้าเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ และมีผู้รู้เห็นมากมายต่างก็โจษจันกันไปทั่ว แม้แต่พระนามของพระกริ่งที่ท่านพระครูกึ๋นตั้งว่า “พระกริ่งนิรันตราย” ยังพลอยเรียกกันว่า “พระกริ่งฟ้าผ่า”

พระกริ่งรุ่นนี้มีสร้างด้วยกัน 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก โดยพระกริ่งพิมพ์ใหญ่สร้างประมาณ 108 องค์ ส่วนพระกริ่งพิมพ์เล็กสร้างประมาณ 300 องค์ พระกริ่ง วัดดอนนี้นับว่าเป็นพระกริ่งที่สมเด็จ พระสังฆราช (แพ) ท่านได้ทรงเป็นประธาน เททองอีกรุ่นหนึ่ง ที่น่าเก็บบูชามาก อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งนิรันตรายของวัดดอนพิมพ์เล็กมาให้ชมกันครับ
ข่าวสดออนไลน์



พระกลีบบัว วัดลิงขบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกลีบบัว วัดลิงขบ ของดีราคาถูก ซึ่งเป็นพระเก่าแก่ พุทธคุณสูง มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย แต่เนื่องด้วยจำนวนของพระที่พบมีมาก หาได้ไม่ยากนักจึงทำให้สนนราคายังไม่สูง แต่ในเรื่องของพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมครับ

วัดลิงขบ หรือวัดบวรมงคลเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องกับวัดราชาธิวาสฯ แต่เดิมเป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกันมาก จึงทรงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวรามัญ มีวัดเป็นที่ทำบุญกันโดยลำพังตามประเพณีของตน สมเด็จกรมพระราชวังบรมมหาเสนานุรักษ์ จึงทรงสถาปนาวัดลิงขบขึ้นเป็นพระอารามหลวง ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ กรมขุน ธิเบศร์บวรทรงปฏิสังขรณ์ ทั้งพระราชทานนามให้สมกับที่เป็นพระอารามหลวงว่า “วัดบวรมงคล”

ที่วัดแห่งนี้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เป็นแบบทรงลังกา ซึ่งอยู่มุมเขตด้านเหนือ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ในครั้งการปฏิสังขรณ์ และในเจดีย์องค์นี้ได้เกิดการชำรุด และมีพระพิมพ์กลีบบัวไหลออกมาตามแนวอิฐที่ผุกร่อน เด็กๆ ในแถบนั้นก็ เก็บเอามาให้พ่อแม่ดู และเกิดมีการซื้อ-ขายกันขึ้น ในที่สุดก็มีคนแอบเข้าไปขุดพระที่ องค์เจดีย์ ทางวัดรู้ข่าวโดยพระญาณเวทีผู้ช่วยเจ้าอาวาส จึงได้ให้พระภิกษุไปสำรวจแต่ก็มีคนไปแอบขุดหาพระกันอีก พระสุมงคลมุนี เจ้าอาวาสจึงได้ติดต่อไปยังกรมการศาสนาและกรมศิลป์ว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้คงมีคนมาแอบขุดจนตัวเจดีย์พังแน่

ทางวัดจึงได้เปิดกรุอย่าง เป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2509 โดยมีทหารเรือจากเรือรบหลวงจันทบุรีมาช่วยในการเปิดกรุ จัดเวรยามเฝ้าการขุด ได้ขุดตรงส่วนคอระฆัง พบพระบรมธาตุพระพุทธรูปพระเครื่องพิมพ์ต่างๆทั้งชนิดเนื้อชิน และเนื้อดินนอกจากนี้ยังพบพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จฯ และพระกลีบบัวที่เป็นเนื้อผงจำนวน เล็กน้อย (ไม่ระบุจำนวน) กับเครื่องรางและของมีค่าอีกจำนวนหนึ่ง และส่วนฐานได้พบพระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดินเผา บรรจุอยู่ในกระถางมังกร 4 ใบ ในส่วนของพระกลีบบัวเนื้อดินเผามีจำนวนมากที่สุดกว่าพระพิมพ์ อื่นๆ นับได้ประมาณเจ็ดหมื่นกว่าองค์ ทางวัดได้จัดพิธีฉลองสมโภชพระบรมธาตุตลอดจน พระพุทธรูปและพระเครื่อง 3 วัน

ทางวัดและคณะกรรมการได้เปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าพระพิมพ์กลีบบัวในราคาองค์ละ 30 บาท เพื่อนำเงินไปบูรณปฏิสังขรณ์ องค์พระเจดีย์ที่ชำรุด พระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดิน มีทั้งแบบดินละเอียดและเนื้อหยาบ พระส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของแร่ทรายเงินทรายทองปะปนอยู่เกือบทุกองค์ ผิวของพระบางองค์จะมีคราบรารักจับอยู่ที่ผิวของพระมากบ้างน้อยบ้าง ด้านหลังจะเป็นหลังเรียบและหลังเว้า มีรอยกดพิมพ์เป็นลายมือติดอยู่ด้านใต้องค์พระจะมีรูรอยไม้เสียบยกพระออกจากแม่พิมพ์ทุกองค์ มีพบบางองค์ก็มีการลงรักน้ำเกลี้ยง และลงชาดมาแต่ในกรุ เข้าใจว่าพระเหล่านี้น่าจะเป็นพระคะแนน แต่ก็มีจำนวนน้อย พระบางองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีมีหน้ามีตาสวยงาม สนนราคาก็อาจจะสูงกว่าธรรมดานิดหน่อย

พระกรุนี้เมื่อมีผู้นำไปใช้ ห้อยคอแล้วต่อมาเกิดมีประสบการณ์ในด้านแคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพันกันไม่น้อย ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้กันดีปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนักทั่วๆ ไปอยู่ที่พันแล้วแต่ความสวยงามเป็นหลัก ถ้ามีหน้ามีตาก็แพงหน่อยครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกลีบบัววัดลิงขบ เนื้อดินเผามาให้ชมกันด้วยครับ
ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งฟ้าลั่นเจ้าคุณศรี(ประหยัด)

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกริ่งของวัดสุทัศน์ รุ่นหนึ่งที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนัก แต่ก็เป็นพระกริ่งที่ดีมีคุณค่ามากองค์หนึ่งครับ ความเป็นมาของพระกริ่ง รุ่นเราจะมาคุยกันในวันนี้ครับ

พระกริ่งวัดสุทัศน์ที่เราส่วนมากรู้จักกันก็คือพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และพระกริ่งของท่านคุณศรี (สนธิ์) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากทุกรุ่น สนนราคาก็ สูงมากตามครับ แต่ก็ยังมีท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) อีกรูปหนึ่งที่ท่านได้สร้างพระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ แต่ท่านก็สร้างไว้ไม่มากรุ่นนักครับ

ท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) ท่านก็เป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เช่นกัน และได้รับการถ่ายทอดการสร้างพระกริ่งจากสมเด็จพระสังฆราช (แพ) อีกทั้งท่านก็ยังได้มีส่วนช่วยในการจัดพิธีการสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ด้วย และท่านก็เป็นผู้มีฝีมือในการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ด้วยเช่นกัน

การสร้างพระกริ่งรุ่นแรกของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) สร้างในปี พ.ศ.2486 และได้นำเข้าพิธีเดียวกับพระกริ่ง พ.ศ.2486 ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) อันมีท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) เป็นเจ้าพิธี พระกริ่งชุดนี้นับว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) กล่าวคือองค์พระกริ่งก็จะมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ทั่วๆ ไป แต่ที่ฐานบัวจะมีความแตกต่างออกไปโดยที่ฐานบัวนั้นจะทำเป็นกลีบบัวซ้อนกันสามชั้น ลักษณะของกลีบบัวจะทำเป็นแบบกลีบบัวจริงประกอบด้วยบัวคว่ำบัวหงาย ซ้อนกันสองชั้น ส่วนในชั้นล่างสุดเป็นกลีบบัวหงายอีกชั้นหนึ่ง และเป็นกลีบบัวรอบองค์พระสังเกตได้ง่าย เมื่อพบเห็นก็จะบอกได้เลยว่าเป็นพระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) ครับ

พระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) นั้นมีการสร้างพระกริ่งฟ้าลั่นเมื่อ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2517 โดยเทหล่อ ณ สนามหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ หล่อด้วยเนื้อนวโลหะวรรณะสีทองปนนาก ผิวสีน้ำตาลอมดำ พระกริ่งฟ้าลั่นได้ถอดพิมพ์จากพระกริ่ง รุ่น พ.ศ. 2479 ของสมเด็จ พระสังฆราชแพ พุทธลักษณะจึงคล้าย กัน แต่ขนาดขององค์พระจะเล็กกว่าพระกริ่งรุ่น 79 เล็กน้อยเนื่องจากเป็นการถอดพิมพ์มา จึงทำให้องค์พระมีขนาดหดเล็กลงไปเล็กน้อย พระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ที่น่าสนใจอีกรุ่นหนึ่ง อีกทั้งสนนราคาก็ย่อมเยา และยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งฟ้าลั่น ของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) มาให้ชมครับ
ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มีนาคม 2564 19:10:23 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 ... 6 7 [8] 9 10   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.642 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 09:24:07