[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 00:56:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  (อ่าน 7413 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.86 Chrome 46.0.2490.86


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2558 11:45:47 »

.



พุทธประวัติ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

   พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นมหาบุรุษสุดประเสริฐในแดนไตรโลกธาตุ พระองค์ทรงอุบัติในแคว้นสักกะ โดยมีพระพุทธบิดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะ และพระพุทธมารดา คือพระนางสิริมหามายา

     พระโพธิสัตว์ปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ปีระกา ทรงอยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาเป็นเวลา ๑๐ เดือน
 
      พระโพธิสัตว์ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ อัญชันศักราช ๖๘ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ ลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
 
      วันอังคารแรม ๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ ๕ วัน ประชุมพราหมณ์ ๑๐๘ คน ถวายพระนามพระโพธิสัตว์ว่า "สิทธัตถะ" มีความหมายว่า "ผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ"
 
      เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ ๗ วัน พระนางมหามายาเทวี พระมารดาสวรรคต พระนางปชาบดีโคตมี พระน้านางได้รับหน้าที่เป็นผู้เลี้ยงดูพระโพธิสัตว์ต่อมา
 
      เมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงได้พระโอรสองค์หนึ่ง พระนามว่า ราหุล หลังจากพระราหุลประสูติได้ ๑ วัน พระโพธิสัตว์ก็เสด็จออกบวช เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ คืนเพ็ญเดือน ๘ ไปยังแม่น้ำอโนมา แล้วทรงถือเพศบรรพชิต ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมา ในคืนวันนั้น
 
      ในวันที่ ๙ แห่งการบวช พระโพธิสัตว์เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์เป็นครั้งแรก พระโพธิสัตว์ ได้ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา อยู่ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เป็นเวลา ๖ ปี
 
      ครั้นวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา อัญชันศักราช ๑๐๓ เวลา ๐๕.๓๓ น. พระโพธิสัตว์ ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอันทำให้พระองค์ได้พระนามว่า "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ซึงมีความหมายว่า "ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง"
 
 
๒. สหชาติของพระพุทธเจ้า
     สิ่งที่เกิดขึ้นวันเดียวกับการประสูติของพระสิทธัตถกุมาร คือ
       ๑.  พระนางยโสธรา พระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ
       ๒.  พระอานนท์ พุทธอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า
      ๓.  นายฉันนะ มหาดเล็กผู้ติดตามเจ้าชายสิทธัตถะในวันเสด็จออกบวช 
      ๔.  กาฬุทายีอำมาตย์ ผู้ที่พระเจ้าสุทโธทนะ ส่งไปเชิญเสด็จพระพุทธเจ้า ให้เสด็จมาเยี่ยมกรุงกบิลพัสดุ์ และได้บวชเป็นภิกษุ แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ 
      ๕.  ม้ากัณฐกะ ที่เจ้าชายสิทธัตถะประทับเสด็จออกบวช 
      ๖.  ต้นพระศรีมหาโพธิ์ คือต้นไม้ที่พระพุทธองค์ประทับตรัสรู้ 
      ๗.  ขุมทรัพย์ ๔ ขุม
 
๓. พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?
     ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทั้งในอดีต ในอนาคต และปัจจุบัน ตรัสตู้เรื่องเดียวกัน คือ อริยสัจ ๔ ได้แก่
      เรื่องทุกข์ คือทรงพบว่าธรรมชาติของชีวิตประกอบด้วยทุกข์ประเภทต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า ทุกขอริยสัจ = ความจริงคือทุกข์
      เรื่องสาเหตุของทุกข์  คือทรงพบว่า ทุกข์แต่ละอย่างนั้น เนื่องมาจากสาเหตุ คือ ตัณหาประเภทต่างๆ เรียกว่า ทุกขสมุทัย = เหตุให้เกิดทุกข์
      เรื่องความดับทุกข์ คือทรงพบว่า ทุกข์นั้นดับได้ หรือแก้ไขได้ โดยการดับหรือขจัดตัณหาอันเป็นสาเหตุของมันเสีย เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ = ความจริงคือความดับทุกข์
      เรื่องหนทางให้ถึงความดับทุกข์ คือ ทรงพบว่า ความดับทุกข์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ก็โดยการปฏิบัติ หรือดำเนินตามแนวทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) หรือมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การมีวาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ = ความจริงคือหนทางให้ถึงความดับทุกข์
 
      อริยสัจ ๔ โดยใจความก็คือความจริงเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์ของชีวิต หรือกล่าวในความหมายรวม ก็คือความจริงเรื่องชีวิตนั่นเอง
 
     จากการพบหรือเห็นความจริงของชีวิต ในอริยสัจ ๔ ดังกล่าว ทำให้พระพุทธองค์ทรงพบความจริงอีกอย่างหนึ่งคือ ความที่ทุกสิ่งล้วนอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้นและดับไป พระพุทธองค์ทรงเรียกกระบวนการหรือความจริงอันนี้ว่า ปฏิจจสมุปบาท = การอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น
 
      กระบวนการของปฏิจจสมุปบาทนั้น กล่าวโดยใจความ ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล ทั้งวัตถุและชีวิตรวม ทั้งธรรมชาติที่เป็นนามธรรมล้วน เป็นไปตามกฎแห่งเหตุและผล
 
      การตรัสรู้ หรือการค้นพบหลักอรัยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า จึงเป็นการค้นพบความจริงของโลกและชีวิตว่า โลกและชีวิตทั้งปวงเป็นไป ตามกฏแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และเสื่อมสิ้นไปโดยปราศจากเหตุผล
 
๔. ต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
     พระพุทธศาสนาเชื่อว่า พระพุทธเจ้าได้เคยมีมาแล้วในอดีตหลายพระองค์ แต่ละพระองค์ตรัสรู้ภายใต้ต้นไม้ต่างๆกัน แต่ต้นไม้ทุกชนิดที่เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เรียกว่า "พระศรีมหาโพธิ์"  ซึ่งมีความหมายว่า "ต้นไม้ที่ตรัสรู้" ในอดีตได้มีพระพุทธเจ้ามาแล้ว ๒๔ พระองค์ รวมทั้งพระโคตมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์  พระศรีมหาโพธิ์ของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ดังนี้
      ๑.พระทีปังกรพุทธเจ้า - ต้นมะขวิด
      ๒.พระโกณฑัญญพุทธเจ้า - ต้นขานาง
      ๓.พระมังคลพุทธเจ้า - ต้นกากะทิง
      ๔.พระสุมนพุทธเจ้า - ต้นกากะทิง
      ๕.พระเรวตพุทธเจ้า - ต้นกากะทิง
      ๖.พระโสภิตพุทธเจ้า - ต้นกากะทิง
      ๗.พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า - ต้นกุ่ม
      ๘.พระปทุมพุทธเจ้า - ต้นอ้อยช้าง
      ๙.พระนารทพุทธเจ้า - ต้นอ้อยช้าง
      ๑๐.พระปทุมุตตรพุทธเจ้า - ต้นสาละ
      ๑๑.พระสุเมธพุทธเจ้า - ต้นกะทุ่ม
      ๑๒.พระสุชาตพุทธเจ้า - ต้นไผ่
      ๑๓.พระปิยทัสสีพุทธเจ้า - ต้นกุ่ม
      ๑๔.พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า - ต้นจำปา
      ๑๕.พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า - ต้นมะพลับ
      ๑๖.พระสิทธัตถพุทธเจ้า - ต้นกรรณิกา
      ๑๗.พระติสสพุทธเจ้า - ตันประดู่
      ๑๘.พะปุสสพุทธเจ้า - ต้นมะขามป้อม
      ๑๙.พระวิปัสสีพุทธเจ้า - ต้นแคฝอย
      ๒๐. พระสิขีพุทธเจ้า - ต้นกุ่มบก
      ๒๑.พระเวสสภูพุทธเจ้า - ตันสาละ
      ๒๒.พระกกุสันธพุทธเจ้า - ต้นซึก
      ๒๓.พระโกนาคมนพุทธเจ้า - ต้นมะเดื่อ
      ๒๔.พระกัสสปพุทธเจ้า - ต้นไทร
      ๒๕.พระโคตมพุทธเจ้า - ต้นโพธิ์

๕. ที่ประทับจำพรรษาของพระพุทธเจ้า
     พรรษาที่ ๑ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
     พรรษาที่ ๒ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์
     พรรษาที่ ๓ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์
     พรรษาที่ ๔ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์
     พรรษาที่ ๕ ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี
     พรรษาที่ ๖ มกุลบรรพต ใกล้กรุงโกสัมพี
     พรรษาที่ ๗ ดาวดึงส์เทวโลก
     พรรษาที่ ๘ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมาระคีระ
     พรรษาที่ ๙ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี
     พรรษาที่ ๑๐ รักขิตวัน ป่าปาลิเรยยกะ
     พรรษาที่ ๑๑ ทักขิณาคิริวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์
     พรรษาที่ ๑๒ เมืองเวรัญชา
     พรรษาที่ ๑๓ จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา
     พรรษาที่ ๑๔ เชตวนาราม กรุงสาวัตถี
     พรรษาที่ ๑๕ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
     พรรษาที่ ๑๖ เมืองอาฬวี
     พรรษาที่ ๑๗ กรุงราชคฤห์
     พรรษาที่ ๑๘ จาลิยบรรพต ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
     พรรษาที่ ๑๙ จาลิยบรรพต ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ 
     พรรษาที่ ๒๐ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์
     พรรษาที่ ๒๑-๔๔ กรุงสาวัตถี โดยประทับสลับกันไปมาระหว่างเชตวนาราม กับ ปุพพาราม
     พรรษาที่ ๔๕  บ้านเวฬุวคาม ใกล้กรุงเวสาลี

๖. ความเหมือน ความต่างกัน ของพระพุทธเจ้า
 
     พระพุทธศาสนาสอนว่า พระพุทธเจ้ามีหลายพระองค์ คือในอดีตกาลนานไกลก็เคยมีพระพุทธเจ้ามาแล้วหลายพระองค์ ในอนาคตกาลก็จักมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นอีก พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นมีทั้งความเหมือนกันและความต่างกัน กล่าวคือ
 
      พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เหมือนกันในเรื่องคุณธรรมที่ทรงบรรลุ คือ พระสัพพัญญุตญาณ พระทศพลญาณ และโทษที่ทรงละได้
 
      พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ต่างกันในเรื่องเหล่านี้คือ กาล, อายุ, ประมาณ, การบวช, ความเพียร, ที่ตรัสรู้, พระรัศมี,
 
      พระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในเวลาที่มนุษย์มีอายุอย่างต่ำ ๑๐๐ ปี อย่างสูง ๑๐๐,๐๐๐ ปี
 
      พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะทรงบำเพ็ญเพียรอย่างต่ำ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ อย่างสูง ๑๖ อสงไขยแสนกัปป์
 
      พระพุทธเจ้าบางพระองค์อุบัติในตระกูลกษัตริย์ บางพระองค์อุบัติในตระกูลพราหมณ์
 
      พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จะมีพระกายสูงอย่างต่ำ ๑๕-๑๘ ศอก อย่างสูงไม่เกิน ๘๘ ศอก
 
      พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จออกบวชด้วยช้างบ้าง ด้วยม้าบ้าง ด้วยรถบ้าง ด้วยวอบ้าง โดยทางอากาศบ้าง
 
      พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วันบ้าง กึ่งเดือนบ้าง หนึ่งเดือนบ้าง สองเดือนบ้าง สามเดือนบ้าง หนึ่งปีบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง หกปีบ้าง จึงตรัสรู้
 
      พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ตรัสรู้ใต้ต้นไม้ต่างๆกัน คือ ต้นโพธิ์บ้าง ต้นไทรบ้าง เป็นต้น
 
      พระพุทธเจ้าบางพระองค์มีพระรัศมีวาหนึ่ง บางพระองค์มีพระรัศมี ๘๐ ว่า บางพระองค์มีพระรัศมีไม่มีกำหนด แต่สามารถแผ่ไปได้ตามพระประสงค์
 
 
๗.พุทธกิจ ๔๕ พระพรรษา
พรรษาที่ ๑  ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
      -๗ สัปดาห์แรกของการตรัสรู้ ประทับเสวยวิมุติสุข ณ บริเวณโดยรอบพระศรีมหาโพธิ์
      -ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ครั้งแรก
      -แสดงปฐมเทศนาโปรดพระเบญจวัคคีย์ คือ ฤาษี ๕ รูป จนได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
      -ประทานอุปสมบทแก่พระยสะพร้อมด้วยสหายรวม ๕๕ รูป และทรงสั่งสอนจนได้บรรลธรรมเป็นพระอรหันต์
      -ได้อุบาสก อุบาสิกา ชุดแรกในพระพุทธศาสนา คือ บิดา มารดา และอดีตภรรยาของพระยสะ
      -ส่งพระสาวกไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก
      -เสด็จไปแสดงธรรมแก่ชฎิล ๓ พี่น้อง พร้อมด้วยบริวารรวม  ๑,๐๐๐ คน จนได้บบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
      -เสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารและรับถวายสวนไผ่ (เวฬุวัน) เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า เวฬุวนาราม ณ กรุงราชคฤห์
     -ได้พระอัครสาวก คือ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
      -มีการประชุมสงฆ์ครั้งแรกในพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ในวันมาฆปุณณมี คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งนับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนาเรียกว่า วันมาฆบูชา
      -เสด็จเยี่ยมพระพุทธบิดา คือพระเจ้าสุทโธทนะ ณ กรุงกบิบพัสดุ์ครั้งแรก
      -ให้พระราหุลบรรพชาเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
      -ประทานอุปสมบทแก่เจ้าศากยะ ๖ รูป มีพระเทวทัต เป็นต้น
      -ทรงได้อุบาสกคนสำคัญในพระพุทธศาสนา คือ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้สร้างวัดเชตวนาราม ถวายเป็นวัดแห่งที่ ๒ ในพระพุทธศาสนา ณ กรุงสาวัตถี
 
พรรษาที่ ๒-๓-๔ กรุงราชคฤห์
     -ทรงรับถวายอารามิกะ คือคนทำงานให้วัด จากพระเจ้าพิมพิสาร
     -พระปิณโฑภารทวาชะ แสดงปาฏิหาริย์ให้ชาวบ้านดู เป็นเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้ภิกษุแสดงปาฏิหาริย์
     -พระพุทธองค์ทรงใช้พุทธานุภาพระงับโรคระบาด ณ กรุงเวสาลี
     -พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ปลูกต้นมะม่วง เพื่อข่มการท้าทายของพวกเดียรถีย์
     -พวกเดียรถีย์จ้างนางจิญจมาณวิกาให้กล่าวหาพระพุทธองค์ว่า ทำให้นางตั้งครรภ์ เป็นเหตุให้นางจิญจมาณวิกาถูกแผ่นดินสูบ เป็นคนแรก
     -ทรงห้ามหมู่พระญาติฝ่ายศากยะ และฝ่ายโกลิกะ ที่จะทำสงครามแย่งน้ำกัน
     -รับถวายอัมพปาลีวัน จากทางอัมพปาลีเป็นวัดแห่งที่ ๓ ในพระพุทธศาสนา ณ เมืองนาทิกา
 
พรรษาที่ ๕ กรุงเวสาลี
     -เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดาซึ่งประชวรหนัก จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และปรินิพพานในวันที่ ๗
     -พระมหาปชาบดีโคตมี ขออุปสมบทเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา และมีเจ้าหญิงศากยะขออุปสมบทตามจำนวนมาก
 
พรรษาที่ ๖ มกุลบรรพต ใกล้กรุงโกสัมพี
     -ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นครั้งที่ ๒
 
พรรษาที่ ๗ เทวโลกชั้นดาวดึงส์
     -ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาซึ่งอุบัติเป็นเทวดาในดาวดึงส์นั้น ตลอดพรรษา ๓ เดือน
     -เสด็จลงจากดาวดึงส์ ณ เมืองสังกัสสนคร อันเป็นที่มาของประเพณ๊ตักบาตรเทโว ซึ่งเป็นคำย่อมาจากคำว่า เทโวโลหนะ ที่แปลว่า การลงจากเทวโลก
 
พรรษาที่ ๘ ป่าเภสกลาวัน แคว้นภัคคะ
     -ทรงแสดงธรรมโปรดโพธิราชกุมาร ราชบุตรพระเจ้าอุเทน
 
พรรษาที่ ๙ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี
     -พระสงฆ์ชาวโกสัมพีแตกกัน เป็นเหตุให้พระพุทธองค์เสด็จหลีกออกไปจำพรรษาในป่าปาลิเลยยกะลำพังพระองค์เดียว
 
พรรษาที่ ๑๐ ป่าปาลิเลยยกะ
     -จำพรรษาในป่าลำพังพระองค์เดียว โดยมีช้างและลิงเป็นผู้ถวายอุปัฏฐาก (รับใช้)
 
พรรษาที่ ๑๑ ทักขิณาคิริวิหาร นอกกรุงราชคฤห์
     -โปรดให้พระอานนท์ตัดเย็บจีวรตามแบบคันนาของชาวมคธ ดังที่ภิกษุทั้งหลายใช้กันสืบมาจนทุกวันนี้
     -มีพุทธานุญาตให้ภิกษุมีผ้าเพียง ๓ ผืน คือ อันตรวาสก ผ้านุ่ง (สบง),  ผ้าห่ม (จีวร), สังฆาฏิ ผ้าทาบ ผ้าห่มกันหนาว (ปัจจุบันใช้พาดบ่า) รวมเรียกว่า ไตรจีวร
 
พรรษาที่ ๑๒ เมืองเวรัญชา
     -ทรงได้พระสาวกองค์สำคัญอีกรูปหนึ่ง คือ พระมหากัจจายนะ ซึ่งมีความเป็นเลิศในทางอธิบายธรรมให้พิสดาร
 
พรรษาที่ ๑๓ จาลิกพรรษา เมืองจาลิกา
     -ทรงแสดงธรรมโปรดพระเมฆิยะตลอดพรรษา
 
พรรษาที่ ๑๔ เชตวนาราม กรุงสาวัตถี
     -มีพระพุทธานุญาตให้คณะสงฆ์ ๕ รูป อุปสมบทกุลบุตรได้ในชนบทที่ห่างไกล ซึ่งหาพระยาก
     -พระราหุล อุปสมบทเป็นภิกษุ
 
พรรษาที่ ๑๕ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
     -เสด็จไปโปรดพระเจ้าสุปปพุทธะ พระบิดาของพระนางยโสธรา แต่พระเจ้าสุปปพุทธะกลับแสดงตนเป็นศัตรูต่อพระพุทธองค์ และถูกแผ่นดินสูบ เป็นคนที่ ๒
 
พรรษาที่ ๑๖ เมืองอาฬวี
     -ทรงบัญญัติวินัยเกี่ยวกับการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัยของภิกษุ
 
พรรษาที่ ๑๗ กรุงราชคฤห์
 
พรรษาที่ ๑๘ - ๑๙ จาลิยบรรพต ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
 
พรรษาที่ ๒๐ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์

     -ทรงบัญญัติวินัยให้ภิกษุอยู่จำพรรษาในฤดูฝน ๓ เดือน
     -มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุประชุมกล่าวธรรม ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ เรียกว่า วันธรรมสวนะ (วันพระ)
     -ทรงตั้งพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐาก ประจำพระองค์ตลอดไป
     -มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุรับถวาย จีวรจากชาวบ้านได้
     -ทรงบัญญัติวินัยข้อปาราชิก และสังฆาทิเสส เป็นครั้งแรก
 
พรรษาที่ ๒๑ - ๔๔ ประทับ ณ กรุงสาวัตถีระหว่าง ๒ พระอาราม คือเชตวนาราม และพุทธนาราม-ปุพพาราม
     -พรรษาที่ ๒๑ ทรงงดทำอุโบสถร่วมกับภิกษุ และมีพระพุทธานุญาต ให้ภิกษุสวดปาฏิโมกข์กันเองทุกวัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำของเดือน และทรงโปรดพระองคุลิมาลจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
     -พรรษาที่ ๒๔ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ถึงแก่กรรมไปเกิดเป็นเทพบุตรชั้นดุสิต
     -พรรษาที่ ๓๗ พระเทวทัตเริ่มวางแผนทำร้ายพระพุทธเจ้า เพื่อตั้งตนเป็นศาสดาแทนพระพุทธองค์ และถูกแผ่นดินสูบเป็นคนที่  ๓
 
พรรษาที่ ๔๕ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงเวสาลี
     -พระสารีบุตร ทูลลานิพพาน
     -พระโมคคัลลานะ ทูลลานิพพาน
     -โปรดให้พระอานนท์อุปสมบทพระสุภัททะ เป็นปัจฉิมสาวกที่ทันเห็นพระพุทธเจ้า
     -ประทานพระโอวาทแก่ภิกษุว่า "เมื่อพระองค์ล่วงไปแล้ว ธรรมวินัยจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย"
     -ประทานปัจฉิมโอวาทว่า "พวกท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด  นี้เป็นปัจฉิมวาจาของตถาคต"
     -เสด็จปรินิพพาน เมื่อวันอังคารขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง อัญชันศักราช ๑๔๗ เวลา ๐๕.๕๐ น. ณ ป่าไม้สาละ ใกล้กรุงกุสินารา
 
 
๘. พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
     เมื่อถวายพระเพลิงพุทธสรีระแล้ว พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น ๘ ส่วน และอัญเชิญไปประดิษฐานในที่ต่างๆ ดังนี้
 
    ส่วนที่หนึ่ง  ประดิษฐานไว้ ณ กรุงราชคฤห์
    ส่วนที่สอง ประดิษฐานไว้ ณ กรุงเวสาลี
    ส่วนที่สาม ประดิษฐานไว้ ณ กรุงกบิลพัสดุ์
    ส่วนที่สี่ ประดิษฐานไว้ ณ กรุงอัลลกัปปะ
    ส่วนที่ห้า ประดิษฐานไว้ ณ รามคาม กรุงเทวทหะ
    ส่วนที่หก ประดิษฐานไว้ ณ เมืองเวฏฐทีปะ
    ส่วนที่เจ็ด ประดิษฐานไว้ ณ เมืองปาวา
    ส่วนที่แปด ประดิษฐานไว้ ณ กรุงกุสินารา
 
ส่วนพระอังคาร (เถ้า)  กษัตริย์แห่งแคว้นโมลิยะอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองปิปผลิวัน

พระพุทธองค์
    ประสูติ  เวลา ๑๑.๐๐ น. วันศุกร์เพ็ญเดือนหก ปีจอ ศักราช ๖๘
    ตรัสรู้  เวลา ๕.๓๓ น. วันพุธเพ็ญเดือนหก ปีระกา ศักราช ๑๐๓
    นิพพาน เวลา ๕.๕๐ น.  วันอังคารเพ็ญเดือนหก ปีมะเส็ง ศักราช ๑๔๗
 
   (คำว่าศักราช คือ อัญชันศักราช ที่ใช้กันอยู่ในครั้งนั้น)

 
 
ที่มา : ธรรมจักษุ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ปีที่ ๙๐ ฉบับที่ ๘

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.86 Chrome 46.0.2490.86


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2558 09:55:05 »


ตอนที่ 1

ทูลเชิญสันดุสิตเทวราชโพธิสัตว์จุติ



ทูลเชิญสันดุสิตเทวราชโพธิสัตว์จุติ 

พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ได้ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่ในชาติต่างๆ เรียกว่า พระโพธิสัตว์
 
ในอดีตภพ พระโพธิสัตว์แห่งเราบังเกิดเป็นสุเมธดาบส ได้พบพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระพุทธทีปังกร ได้ตั้งความปรารถนาไว้ ขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์ท่าน  ครั้นพระพุทธเจ้าทีปังกรเสด็จผ่านทางที่เป็นเปือกตมหลุมบ่อ สุเมธดาบสก็ทอดตัวลงนอน ถวายหลังให้เป็นทางเสด็จ เมื่อพระทีปังกรพุทธเจ้าเสด็จถึง สุเมธดาบสก็ได้ตรัสพยากรณ์ว่า "ดาบสนี้ทำอภินิหารปรารถนา เพื่อเป็นพระพุทธะ ความปรารถนาของดาบสนี้จักสำเร็จ ในอนาคตเบื้องหน้าโน้น" สุเมธดาบสครั้นได้รับพุทธพยากรณ์ก็ได้ชื่อว่าเป็นโพธิสัตว์นับแต่นั้นมา

ท่านแสดงว่า อภินิหารความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จักสำเร็จเพราะผู้ตั้งความปราถนาประกอบด้วยธรรมสโมธานแปดประการได้แก่
1.เป็นมนุษย์
2.เป็นบุรุษเพศสมบูรณ์
3.มีเหตุสมบูรณ์  คือ มีนิสัยบารมี พร้อมทั้งการปฎิบัติประมวลกัน เป็นเหตุที่จะให้บรรลุพระอรหัตต์ในอัตภาพนั้นได้แล้ว  แต่เพราะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า จึงยังไม่สำเร็จก่อน
4.ได้เห็นพระศาสดา  คือ ได้เกิดทัน และได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
5.บรรพชา คือ ถือบวชเป็นนักบวช เช่น ฤษี  ดาบส ไม่ใช่เป็นคฤหัสถ์
6.ถึงพร้อมด้วยคุณ คือ ได้อภิญญา 5 สมาบัติ 8 หมายถึงการได้สมาธิจิตอย่างสูงจนจิตบังเกิดความรู้ความเห็น อย่างมีตา มีหู รับรู้เห็นเกินมนุษย์สามัญที่เรียกว่า ตาทิพย์ หูทิพย์
7.ถึงพร้อมด้วยอธิการ คือ การกระทำอันยิ่งจนถึงอาจบริจาคชีวิตของตน เพื่อพระพุทธเจ้าได้
8.มีฉันทะ คือ มีความพอใจ มีอุตสาหพยายามยิ่งใหญ่ จนเปรียบเหมือนว่า ยอมแบกโลกทั้งโลก เพื่อนำไปสู่แดนเกษมได้ หรือเปรียบเหมือนว่ายอมเหยียบย่ำโลกทั้งโลกที่เต็มไปด้วยขวากหนาม  หอกดาบ และถ่านเพลิงไปได้
ท่านผู้ประกอบด้วยธรรมสโมธานแปดนี้ ทำอภินิหาร ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในสำนักของพระพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ความปรารถนาของท่านย่อมสำเร็จได้

สุเมธดาบส มีธรรมสโมธานแปดประการบริบูรณ์ จึงมีอภินิหารปราถนาพุทธภูมิได้ ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้บำเพ็ญพุทธการธรรมสิบประการ ได้แก่
1.บำเพ็ญทาน  สละบริจาคสิ่งทั้งปวงจนถึงร่างกาย และชีวิตให้ได้หมดสิ้น เหมือนอย่างเทภาชนะใส่น้ำคว่ำจนหมดน้ำ
2.บำเพ็ญศีล รักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต เหมือนอย่างเนื้อทรายรักษาขนยิ่งกว่าชีวิต
3.บำเพ็ญเนกขัมม์ ออกจากกาม จากบ้านเรือน เหมือนอย่างมุ่งออกจากพันธนาคาร
4.บำเพ็ญปัญญา เข้าหาศึกษา ไต่ถามบัณฑิต โดยไม่เว้นว่าจะเป็นบุคคลมีชาติชั้นวรรณะต่ำ ปานกลางหรือสูง  เหมือนอย่างภิกษุเที่ยวบิณฑบาตรับไปตามลำดับ ไม่เว้นแม้นที่ตระกูลต่ำ
5.บำเพ็ญวิริยะ มีความเพียร ไม่ย่อหย่อนทุกอิริยาบท เหมือนอย่างสีหราชมีความเพียรมั่นคงในอิริยาบททั้งปวง
6.บำเพ็ญขันติ อดทนทั้งในคำยกย่อง ทั้งในการดูหมิ่นแคลน เหมือนอย่างแผ่นดินใครทิ้งของสะอาด หรือไม่สะอาดก็รองรับได้ทั้งนั้น
7.บำเพ็ญสัจจะ รักษาความจริงไม่พูดเท็จทั้งที่รู้ แม้ฟ้าจะผ่าเพราะเหตุไม่พูดเท็จ ก็ไม่ยอมพูดเท็จ  เหมือนอย่างดาวโอสธี ดำเนินไปในวิถีของตน เที่ยงตรงทุกฤดู
8.บำเพ็ญอธิฐาน ตั้งใจมุ่งมั่นไม่หวั่นไหว คือเด็ดเดียวแน่นอนในสิ่งที่อธิษฐานใจไว้ เหมือนอย่างภูเขาหิน ไม่หวั่นไหวในเมื่อถูกลมกระทบทุกทิศ
9.บำเพ็ญเมตตา แผ่มิตรภาพไมตรีจิต ไม่คิดโกรธอาฆาต มีจิตสม่ำเสมอเป็นอันเดียวทั้งในผู้ให้คุณ ทั้งในผู้ไม่ให้คุณหรือให้โทษ เหมือนน้ำแผ่ความเย็นไปให้อย่างเดียวกันแก่คนทั้งชั่วทั้งดี
10.บำเพ็ญอุเบกขา วางจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง ทั้งในคราวสุขในคราวทุกข์ เหมือนอย่างแผ่นดิน เมื่อใครทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาดลงไปก็มัธยัสถ์เป็นกลาง

พุทธการธรรมสิบประการนี้เรียกว่า บารมี  แปลว่าอย่างยิ่ง หมายถึงว่าเต็มบริบูรณ์ บำเพ็ญจนเต็มบริบูรณ์ เมื่อใดก็สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีนับตั้งแต่ได้รับพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าตลอดเวลาสี่อสงไขยแสนกัป ผ่านพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ในกัปนั้นๆ นับแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้นมาถึง 24 พระองค์ จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

บารมีที่บำเพ็ญมาโดยลำดับ แบ่งเป็น 3 ขั้น ขั้นสามัญเรียกบารมีเฉยๆ  ขั้นกลางเรียกว่าอุปบารมี และขั้นสูงสุดเรียกว่าปรมัตถบารมี

แต่นั้นมาก็ทรงบำเพ็ญบารมี 10 ประการ มีทานบารมีเป็นต้น อุเบกขาบารมีเป็นที่สุด ได้บำเพ็ญบารมีเป็นเวลานานนับด้วยกัลป์ สิ้นภพสิ้นชาตินับประมาณมิได้  ในภพชาติสุดท้ายได้บังเกิดเป็นพระเวสสันดร ทรงสร้างทานบารมีอย่างยอดเยี่ยม เมื่อสิ้นจากชาตินั้นก็ได้ไปอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต (สวรรค์กามาวจรชั้นที่สี่)  เป็นเทพบุตรมีนามว่าสันดุสิตเทวราช

เมื่อใกล้กาลกำหนดที่จะจุติมาตรัส ได้เกิดโกลาหลขึ้นในบรรดาเทวดาทั้งปวง การเกิดโกลาหลนี้มีอยู่สามสมัยคือ  สมัยเมื่อโลกจะวินาศ  สมัยเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิ์จะเกิด และสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น

เทวดาในหมื่นจักรวาฬ ได้พร้อมใจกันมาประชุมกันที่สวรรค์ชั้นดุสิต ทูลอาราธนาสันดุสิตเทวราชว่า ในกาลบัดนี้ สมควรที่พระองค์จะจุติไปบังเกิดในมนุษย์โลก เพื่อขนสัตว์ในมนุษย์โลกกับเทวโลก ข้ามให้พ้นจากห้วงแห่งความเวียนว่ายตายเกิด อันไม่มีต้นไม่มีปลายไม่รู้จบสิ้น ให้รู้ความจริงบรรลุถึงทางปฏิบัติซึ่งจะเข้าสู่พระนิพพาน

พระโพธิสัตว์ได้ทรงพิจารณาดู ปัญจมหาวิโลกนะ คือ กาล 1 ทวีป 1 ประเทศ 1 ตระกูล 1 พระมารดา 1
ข้อ 1 กาลกำหนดแห่งอายุมนุษย์ ถ้าอายุมนุษย์มากเกินแสนปีขึ้นไป หรือต่ำกว่าร้อยปีลงมา ก็ไม่ใช่กาลที่จะลงมาตรัส เพราะเมื่ออายุยืนมากเกินไปก็อาจเห็นไตรลักษณ์ ถ้าอายุสั้นเกินไปก็จะมีกิเลสหนาไม่อาจเห็นธรรม
ข้อ 2 ทวีป ทรงพิจารณาเห็นว่าชมพูทวีปเป็นทวีปที่เหมาะที่จะลงมาตรัส
ข้อ 3 ประเทศ ทรงพิจารณาเห็นว่า มัชฌิมประเทศ คือพื้นที่ส่วนกลางของชมพูทวีป เป็นสถานที่เหมาะที่จะลงมาตรัส
ข้อ 4 ตระกูล ทรงพิจารณาเห็นว่า สักยราชตระกูล และพระเจ้าสุทโธทนะ สมควรเป็นพระบิดาได้
ข้อ 5 พระมารดา ทรงพิจารณาเห็นว่า พระนางสิริมหามายา มีศีลและบารมีธรรม  สมควรเป็นพระมารดาได้ทั้งจะมีพระชนม์สืบไป จากเวลาที่พระโอรสประสูติเพียงเจ็ดวัน สัตว์อื่นไม่อาจอาศัยคัพโภทรบังเกิดได้อีก

ครั้นพระโพธิสัตว์ทรงเห็นสถานะทั้งห้ามีครบบริบูรณ์แล้ว แล้วจึงทรงรับปฏิญญาณ เสด็จแวดล้อมด้วยเทพบริวารไปสู่นันทวันอุทยานในดุสิตเทวโลกและจุติลงสู่ปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งพระนางสิริมหามายา พระอรรคมเหสีพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์  ณ ชมพูทวีป ในวันอาสาฬหปูรณมีเพ็ญเดือน 8



บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.86 Chrome 46.0.2490.86


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2558 15:29:35 »


ตอนที่ 2
อสิตดาบสเข้าเฝ้าเยี่ยม


 

เมื่อพระราชกุมารประสูติใหม่ๆ อสิตดาบส หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า กาฬเทวิลดาบส ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยและนับถือของราชสกุล ได้ทราบว่าพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติ จึงเข้าไปเยี่ยม พระเจ้าสุทโธทนะทรงอุ้มพระราชโอรส ออกมาเพื่อให้นมัสการพระดาบส แต่ด้วยอภินิหารแห่งกุศลสมภารที่พระบรมโพธิสัตว์ได้สั่งสมอบรมมาจนถึงพระชาติสุดท้าย  บันดาลให้พระบาททั้งสองของพระราชกุมารไปปรากฏเหนือเศียรแห่งดาบสเป็นอัศจรรย์ พระราชบิดาและพระดาบสจึงได้ยกหัตถ์ทั้งสองขึ้นประนตนมัสการแด่พระราชกุมารบรมโพธิสัตว์อันธรรมดานิยมว่า พระบรมโพธิสัตว์พุทธางกูร เมื่อถึงพระชาติสุดท้ายที่จะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้บำเพ็ญบารมีมาเต็มบริบูรณ์เป็นเอกอัครมหาบุรุษรัตน์อันบุญฤทธิ์กฤษดาภินิหาร หากให้เป็นไปจึงไม่ปรากฎว่าถวายนมัสการผู้หนึ่งผู้ใดเลย

 

โกณทัญญพราหมณ์ถวายคำพยากรณ์เจ้าชายสิทธัตถะ

เมื่อพราหมณ์ 8 คน เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะ ณ พระราชนิเวศน์ กรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อถวายพยากรณ์พระศิริลักษณ์พระสิทธัตถะราชกุมารซึ่งเพิ่งประสูติใหม่  

ในพราหมณ์ทั้ง 8 คนนั้น มีจำนวน 7 คน ที่เจริญด้วยวัยวุฒิได้ถวายพยากรณ์รวมกันเป็น 2 คติว่า พระกุมารนี้ถ้าอยู่ครองราชสมบัติจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์มหาราชาธิราช ถ้าออกทรงผนวชจะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก โดยยกนิ้วมือ 2 นิ้วยืนยันพยากรณ์ดังในภาพ ส่วนพราหมณ์โกณทัญญะยังหนุ่ม (พราหมณ์ผู้นั่งหลังและมีผมดำ) แต่สูงด้วยวิทยาคุณได้ถวายพยากรณ์เป็นคติเดียว โดยยกนิ้วมือนิ้วเดียวยืนยันว่าพระราชกุมารพระองค์นี้จะไม่อยู่ในราชสมบัติจะเสด็จออกทรงผนวชและตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกในโลกแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง

 


พระฉายของเจ้าชายสิทธัตถะไม่เอนเอียงไป

ในสมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารยังทรงพระเยา มีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ครั้นเมื่อนักขัตฤกษ์วัปปะมงคลพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นขัตติยะประเพณีนิยมมาถึง พระเจ้าสุทโธทนะจึงโปรดให้เชิญพระราชโอรสเสด็จไปในพระราชพิธีนั้นด้วย เมื่อเสด็จถึงจึงตรัสสั่งให้ข้าราชบริพารประดิษฐ์พระราชอาสน์เป็นที่ประทับสำหรับพระราชโอรส ณ บริเวณต้นหว้าใหญ่ ส่วนพระราชบิดาก็เสด็จไปทรงประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญ  

พระกุมารประทับอยู่โดยลำพังจึงทรงประทับนั่งขัดสมาธิบัลลังก์ ดำรงพระสติกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกเจริญพระอานาปานสติกรรมฐานจนได้บรรลุปฐมญาณเป็นสัมโพธินิมิตเป็นที่อัศจรรย์ แม้ดวงอาทิตย์จะบ่ายคล้อยลงไปแต่เงาของต้นหว้ายังตั้งตรงดำรงอยู่ประดุจเวลาเที่ยงมิได้เอนเอียงไปตามแสงอาทิตย์ ครั้นพระพี่เลี้ยงกลับมาเห็นความอัศจรรย์ดังกล่าวจึงรีบกลับไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะให้ทรงทราบ เมื่อพระองค์เสด็จมาทอดพระเนตรเห็นปรากฎการณ์นั้นจึงได้ถวายบังคมพระราชโอรสโดยนิยมกำหนดในบุญญาภินิหารบารมี



ทรงแข่งธนูแผลงศร

เป็นขัตติยประเพณี พระศากยกุมารจะต้องศึกษาวิชายุทธศิลป์อย่างชำนิชำนาญให้สมกับพระนามว่าขัตติยะซึ่งแปลว่านักรบ เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงศึกษายุทธศิลป์มาโดยช่ำชองจนพระกิติศัพท์เลื่องลือไปทั่วทุกแว่นแคว้นในชมพูทวีป ก่อนที่พระองค์จะทรงอภิเษกสมรสพระองค์ได้ทรงแข่งขันการยิงธนูแผลงศรซึ่งเป็นยุทธศิลป์ชั้นสูงในสมัยนั้น ปรากฎว่าทรงชนะเลิศในการแข่งขันอย่างง่ายดายแม้เจ้าชายเทวทัตคู่แข่งสำคัญที่มีฝีมือก็ไม่สามารถสู้ได้แสดงถึงความเป็นเลิศของพระองค์แม้ทางโลกียวิสัยสมพระวาจาที่ทรงเปล่งเมื่อตรัสรู้แล้วว่าเราเป็นผู้เลิศในโลก
 
 

เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษก

เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงยโสธราพิมพา ที่กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา  
ในภาพฝ่ายเจ้าหญิงอยู่ด้านซ้ายเจ้าชายอยู่ด้านขวา ทั้งสองพระองค์ประทับบนพระแท่นพิธีมีพระภูษาลาดเป็นพระราชอาศน์เป็นเครื่องหมาย บรรดาผู้ที่นั่งบนแท่นต่ำลงไป ถัดไปทางเบื้องปฤษฎางค์เจ้าชายและเจ้าหญิงเป็นเพื่อนฝ่ายเจ้าบ่าวและฝ่ายเจ้าสาว มีบายศรีประดิษฐานอยู่ท่ามกลางระหว่างทั้งสองฝ่าย ภายในพระพิธีมณฑล  

ชั้นล่างมีคณะพราหมณ์กำลังเบิกแว่นเวียนเทียน นั่งอยู่ทางกลุ่มด้านขวา ส่วนกลุ่มด้านซ้ายเป็นพวกหญิงพนักงานและข้าเฝ้า



เจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับราชรถชมบริเวณพระราชวัง

เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จประพาสอุทยานสี่วาระโดยลำดับกัน ทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง สี่คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ อันเทวดาแสร้งเนรมิตไว้ในระหว่างทาง ทรงสังเวชพระหฤทัยเพราะเหตุได้ทรงเห็นเทวทูตทั้งสี่ข้างต้น อันพระองค์ยังไม่เคยทรงพบมาเลยในกาลก่อน และทรงพอพระทัยในบรรพชาเพราะได้เห็นสมณะเทวทูต วาระที่สี่เป็นเหตุให้พระองค์เสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์บำเพ็ญบารมีธรรมจนได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ


เจ้าชายสิทธัตถะทรงสละราชโอรสและพระชายา

เมื่อกาลเวลาผ่านไปความจริงค่อยปรากฎชัดแก่เจ้าชายสิทธัตถะ ธรรมชาติแห่งความคิดนึกตรึกตรองและพระมหากรุณาของพระองค์ ไม่ยอมให้พระองค์เสวยความเพลิดเพลินในราชสำนักต่อไป พระองค์ไม่รู้จักความทุกข์เลย แต่รู้สึกสงสารมนุษยชาติผู้มีความทุกข์ ทรงเบื่อหน่ายต่อความสุขอย่างชาวโลก จึงได้เสด็จหนีจากวังในเวลาดึกเพื่อออกบรรพชา ด้วยทรงเห็นสาวสนมนางใน และพวกเล่นดนตรีทั้งหลายนอนกลิ้งเกลือกอยู่ไม่เป็นที่น่ายินดี ทรงเห็นสภาพเหล่านี้ประกอบกับความสงสารในหมู่ประชาจึงทรงตัดสินพระทัยทิ้งพระชายาและพระโอรสผู้บรรทมอยู่บนพระแท่นในราตรีกาลนั้น


ที่มา:.heritage.thaigov.net/religion/bio/index01.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤศจิกายน 2558 15:34:08 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.86 Chrome 46.0.2490.86


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2558 12:29:55 »



ตอนที่ 3
พระมหาบุรุษเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา



พระมหาบุรุษเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา
                         


เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อทรงบรรพชา  ในราตรีกาลวันเพ็ญแห่งอาสาฬมาส ก่อนพุทธศก 51 ปี คือในปีที่พระองค์มีพระชนมายุ 29 พรรษา ภายหลังจากที่พระองค์ได้เสด็จประพาสอุทยาน และได้ทอดพระเนตรเห็นทูตทั้งสี่ คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ แล้วเสด็จกลับพระราชวังได้ทรงสดับข่าวการประสูติพระโอรส ทรงเปล่งอุทานว่า ราหุโล  ซึ่งแปลว่า ห่วงคล้องแล้ว

ภาพนี้เขียนขึ้นจากความรู้ ความเข้าใจในพระพุทธประวัติและปฐมสมโพธิกถา ตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรม โดยได้ประมวลข้อความนั้นๆ มาเขียน แสดงถึงการออกจากพระราชวังของเจ้าชายสิทธัตถะ โดยบุคคลาธิษฐานคือมีภาพบุคคลแสดง เจ้าชายสิทธัตถะประทับบนหลังม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะยึดหางม้าตามไป ข้างหน้ามีเทวดาถือธงนำ ถัดมาเป็นท้าวสักกะเทวราชกำลังจูงม้า เบื้องหลังมีพรหมเชิญเครื่องบวช ท้าวจตุโลกบาลประคองเท้าม้าทั้งสี่ให้เคลื่อนที่ไป และในขณะที่จะพ้นพระราชวังออกไป มีพระยามารวัสวดีผู้ใจบาป แสดงอาการห้ามไว้มิให้ไป

ถ้าสันนิษฐานโดยธรรมจะได้ใจความจากภาพนี้ว่า การทำความดีนั้นบรรดาคนดีย่อมมาร่วมกันอนุโมทนาสาธุการและช่วยเหลือประดุจที่บรรดาเทวดาได้พากันมาแห่แหนไป ส่วนพระยามารแสดงถึงคนชั่วที่ไม่ต้องการให้ใครทำดีประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือความห่วงหาอาลัยของเจ้าชายสิทธัตถะ  จากสภาวะเดิมของพระองค์

 
 

เจ้าชายสิทธัตถะปลงพระเกศา
                               
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกจากวัง พร้อมด้วยนายฉันนะและม้ากัณฐกะ เพื่อแสวงหาโมกขธรรม เมื่อเสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำเนรัญชราพระองค์ก็ทรงเปลื้องเครื่องทรงกษัตริย์มอบให้นายฉันนะ และรับสั่งให้นำม้ากัณฐกะกลับคืนสู่พระนครเพื่อแจ้งข่าวแก่พระประยูรญาติและพระราชบิดา ก่อนจากไปนายฉันนะและม้ากัณฐกะได้แสดงความโศกเศร้าโสกาอาดูรด้วยความจงรักภักดีและอาลัยรัก

เจ้าชายสิทธัตถะผู้ทรงมั่นคงเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ในอุดมคติว่า สาธุ โข ปพฺพชฺชา ทรงอธิษฐานเพศบรรพชิตได้ประทับนั่งบนแผ่นศิลา บ่ายพระพักตร์สู่ฝั่งชล มีหมู่เทพและพรหมถวายความเคารพ และน้อมถวายสมณบริขาร คือ บาตรและกาสาวพัตร์ พระองค์ทรงตัดพระเมาฬีด้วยพระแสงขรรค์ แล้วทรงรับเครื่องสมณบริขารเหล่านั้น มาครองเพศเป็นบรรพชิต

  

พระมหาโคดมเข้าศึกษาที่สำนักอุทธกะรามบุตรดาบส

 
พระมหาบุรุษได้ทรงศึกษาอยู่ในสำนักของอุทธกะรามบุตร ซึ่งอยู่ ณ แขวงเมืองพาราณสี จนสำเร็จวิชาชั้นสมาบัติแปด คือ รูปฌาณสี่และอรูปฌาณสี่ ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงสุดของอุทธกะรามบุตร พระมหาบุรุษเห็นว่ายังไม่ใช่ทางตรัสรู้โลกุตรธรรมชั้นสูงสุดจึงทรงอำลาอุทธกะรามบุตรเพื่อไปค้นคว้าเพื่อความบรรลุ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยลำพังพระองค์เองต่อไป
 

พระมหาโคดมทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จออกบรรพชาแล้ว ได้ทรงศึกษาค้นคว้าหาทางตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยวิธีการต่างๆ อยู่ถึง 6 พรรษา วิธีหนึ่งที่ทรงปฏิบัติคือการบำเพ็ญทุกกรกิริยา ทุกกรกิริยา เป็นการทรมานตนให้ลำบากด้วยประการต่างๆ เริ่มแต่ทรงกัดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระดาลด้วยพระชิวหา ผ่อนลมหายใจเข้าออกทีละน้อย เสวยพระกระยาหารแต่น้อยจนถึงไม่เสวยเลย จนร่างกายซูบผอม ยากที่ผู้ใดจะทำได้เท่าเทียมกับพระองค์ นับเป็นความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ โดยมีพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เป็นผู้อุปัฏฐากและเป็นพยาน แต่การปฏิบัติดังกล่าวไม่ใช่ทางแห่งความตรัสรู้ และพระองค์ได้ทรงเลิกในเวลาต่อมา


พระมหาโคดมทรงเลิกล้มทุกกรกิริยา
                               
พระมหาบุรุษทรงกระทำทุกกรกิริยา ณ เชิงเขาปราคโพธิ หรือ คงฺคสิริ อันตั้งอยู่เบื้องหน้าจากลุมพินี ประเทศเนปาล สู่พุทธคยาประเทศอินเดีย ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้งนั้นปัญจวัคคีย์ คือ โกณทัญญะ ภัททิยะ วัปปะ มหานามะ และอัสสชิ ได้อยู่เฝ้าปฏิบัติพระองค์อยู่ ด้วยหวังว่าเมื่อพระมหาบุรุษผู้มีสรีระสมบูรณ์ต้องตามมหาปุริสลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ มีคติเป็นสอง คือถ้าอยู่เป็นฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ถ้าออกบวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์กระทำทุกกรกิริยา อดพระกระยาหารอยู่จนพระสรีระซูบผอม พระฉวีวรรณเศร้าหมอง พระเสโทใหล มีพระหทัยสวิงสวาย เพราะพระวาโยธาตุกำเริบ พระปัญจวัคคีย์ ต่างเข้าประคองสองพระพาหา โอบอุ้มพระสรีระ โบกพัดให้คลายร้อน และแสดงความปริเทวนาการ


ศุภนิมิตแห่งพิณสามสาย

พระมหาบุรุษได้กระทำความเพียรอย่างแรงกล้าถึงขั้นอุกฤษฏ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ในชมพูทวีป ถึงวาระที่ 3 คือ อดพระกระยาหารจนพระวรกายซูบผอม ซวนเซแทบจะทรงพระกายอยู่ไม่ได้นั้น อุปมาญาณก็ได้เกิดขึ้นในมโนธาตุของพระองค์ว่า "อันความเพียร ถ้าย่อหย่อนก็เสียผลที่หวัง ถ้าเคร่งครัดเกินไปก็ให้ผลเสียหาย" ต่อเมื่อกระทำได้พอดีทั้งกายและใจจึงจะเกิดผลต่อผู้บำเพ็ญ ดุจพิณสามสาย ถ้าหย่อนนักมักไม่ดัง ถ้าตึงนักมักขาด ต่อเมื่อพอดีจึงจะให้เสียงนิ่มนวลฟังได้ไพเราะ  

ภาพนี้ พระโบราณาจารย์ได้แสดงเป็นบุคคลาธิษฐานว่า เมื่อพระมหาบุรุษบำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฏ์ จวนเจียนพระชนม์จะแตกสลายอยู่นั้น ท้าวสักกะเทวราช ที่คอยให้ความช่วยเหลืออนุเคราะห์แก่ธรรมจารีชนทั้งหลายอยู่เบื้องบนได้เห็นความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวของพระมหาบุรุษจะไร้ผลเสียเปล่า จึงได้ถือพิณสามสายเสด็จลงมาดีดถวาย สายที่หย่อนยาน ดีดเข้าไม่ดัง สายที่ตึงนักดีดเข้าก็ขาด สายที่สามพอดีดีดเข้าประสานเสียงกลมกลืนไพเราะ พระมหาบุรุษได้สติ จึงยึดเอาพิณสายกลางที่พอดี มาเป็นแนวทางปฏิบัติ คือตั้งความเพียรทางใจ ให้เป็นไปพอดี ไม่หย่อน ไม่ตึง จึงเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา จึงสำเร็จพระโพธิญาณสมประสงค์  

บรรดาปัญจวัคคี เมื่อเห็นพระองค์เลิกทุกกรกิริยากลับมาเสวยพระกระยาหาร ก็คลายศรัทธาพากันหลีกไป


ที่มา:.heritage.thaigov.net/religion/bio/index01.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ธันวาคม 2558 12:33:12 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.86 Chrome 46.0.2490.86


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 09 ธันวาคม 2558 17:39:13 »

.
ตอนที่ 4
นางสุชาดากวนข้าวมธุปายาส



นางสุชาดากวนข้าวมธุปายาส


นางสุชาดาธิดาของกฎมพี าวเสนานิคม ผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ ครั้งหนึ่งเธอตั้งความปรารถนาต่อรุกขเทวดาผู้สิงอยู่ ณ ต้นไม้แห่งหนึ่งว่า หากตนได้บุตรเป็นชายแล้วจะกระทำบวงสรวงด้วยมธุปายาสอันโอชะ ครั้นเธอได้บุตรชายสมความปรารถนาแล้ว งได้จัดแจงกวนข้าวมธุปายาสด้วยตนเอง ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการที่ซับซ้อน ละเอียดอ่อนและใช้เวลาในการจัดทำมาก  

ตามภาพเมื่อกำลังปรุงอยู่ พระอินทร์ได้นำทิพยอาหารอันโอชะมาโปรยลงในกะทะทองที่เธอกำลังกวนข้าวมธุปายาสอยู่เพื่อให้ข้าวมธุปายาสมีรสโอชะยิ่งขึ้น  

เมื่อเสร็จแล้วเธอก็เตรียมนำข้าวมธุปายาสไปถวายรุกขเทวดาตามความเชื่อของตน

 
 

พระมหาโคดมทรงรับถาดข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา

เมื่อนางสุชาดาถือถาดทองที่บรรจุข้าวมธุปายาสเต็ม ออกจากบ้านมุ่งไปสู่นิโครธพฤกษ์สถานพร้อมด้วยนางบริวารเป็นอันมาก เมื่อนางมาถึง ณ ที่นั้นแล้วได้เห็น พระมหาบุรุษประทับอยู่ มีบุคคลิกลักษณะเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา นางสำคัญว่าพระมหาบุรุษนี้เป็นรุกขเทวดาโดยแท้ จึงน้อมนำถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย พระมหาบุรุษทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาออกรับข้าวมธุปายาสและทอดพระเนตรดูนาง นางทราบอาการเช่นนั้นแล้วจึงกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าขอถวายข้าวมธุปายาส พร้อมกับภาชนะทองอันรองใส่ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรับไปโดยควรแก่พระหฤทัยปรารถนาเถิด" แล้วนางก็กราบถวายบังคมลากลับสู่นิเวศน์ของตน
  

พระมหาโคดมทรงเสี่ยงบารมีลอยถาด

ก่อนที่พระมหาบุรุษจะได้ตรัสรู้ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเรื่องเล่าว่าเมื่อทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ 6 พรรษา แล้วยังไม่พบทางตรัสรู้ ทรงแน่พระทัยว่า ทุกกรกิริยานั้น เป็นการทำตนให้ลำบากเปล่าไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงทรงเลิกทุกกรกิริยาแล้วแสวงหาโมกขธรรมทางมัชฌิมาปฏิปทา เริ่มเสวยพระกระยาหารตามปกติ  

ในเช้าของวันตรัสรู้นั้น นางสุชาดาธิดาของกฏุมพีชาวเสนานิคม ได้นำข้าวมธุปายาสมาถวาย พระมหาบุรุษทรงรับไว้และเสวยหมดแล้ว จึงได้เสด็จไปริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสี่ยงบารมีว่า "ถ้าจะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ขอให้ถาดลอยทวนกระแสน้ำไป" ถาดก็ได้ลอยทวนกระแสน้ำไปด้วยแรงอธิษฐาน และได้จมลงสู่นาคพิภพ รวมกับถาดอีก 3 ใบ ของอดีตพระพุทธเจ้าในภัททกัปป์นี้ มีพระพุทธกกุสันโธ เป็นต้น



โสตถิยะพราหมณ์ถวายฟ่อนหญ้าคาแด่พระมหาโคดม


เป็นภาพแสดงพุทธประวัติตอนโสติถิยพราหมณ์ถวายฟ่อนหญ้าคาแก่พระมหาบุรุษ ก่อนที่พระองค์จะทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตเพื่อตรัสรู้ เมื่อทรงรับหญ้าคาแล้วก็ทรงเอามาปูลาดเป็นสันถัตแล้วประทับนั่งบนสันถัตนั้น บำเพ็ญเพียรทางจิตจนได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ตามธรรมเนียมของพุทธศาสนิกชนชาวไทย เมื่อเวลาประกอบพิธีในพุทธศาสนา มักใช้ฟ่อนหญ้าคาสำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์เพราะถือว่าหญ้าคาใช้ทำเป็นพุทธบัลลังก์ตามพุทธประวัติดังกล่าว



พระมหาบุรุษผจญพญาวัสวดีมาราธิราช

เมื่อพญาวัสวดีมารเห็นพระมหาบุรุษกำลังจะพ้นอำนาจของตน จึงได้ระดมพลพร้อมด้วยศัตราวุธนานาชนิดมาประชิดอาสนะบัลลังก์ หมายมั่นที่จะจู่โจมทำลายพระมหาบุรุษไม่ทรงหวั่นไหว ได้ทรงน้อมพระทัยถึงพระบารมีธรรมสิบทัศที่ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้วในอดีต ทรงอธิษฐานพระปฐพีมณฑลเป็นสักขีพยาน เสี่ยงพระบารมีธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ ด้วยเดชะอำนาจพระบารมีธรรมนั้น พระนางธรณี เทพยดาผู้รักษาแผ่นดินจึงแปลงเพศเป็นหญิงมาปรากฎกายอยู่ภายใต้อาสนะบัลลังก์อธิษฐานแล้วบีบพระเกศาเป็นอุทกธาราใหลหลั่งออกมาท่วมท้นพญามารและเสนามารให้ปราศนาการพ่ายแพ้ไปหมดสิ้นตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่อัสดง  

หลังจากนั้น พระมหาบุรุษก็ทรงตั้งมโนปณิธานบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไปจนได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ราตรีเพ็ญวิสาขมาสนั้น  

ภาพนี้เขียนขึ้นด้วยมโนภาพ แสดงให้เห็นว่าพระมหาบุรุษต้องเผชิญกับอุปสรรค แห่งการบรรลุมรรคผลนานาประการ อันเกิดด้วยอำนาจกิเลสในส่วนที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะ ตัณหา ราคะ อรตี  อันเป็นมารน้อยใหญ่ เป็นเครื่องบั่นทอนมิให้บุคคลบรรลุผลอันเป็นความดีงามที่ปรารถนา การที่พระมหาบุรุษทรงมีชัยชนะต่อพญามาร ผู้ล้างผลาญความดีงามภายในเหล่านี้ได้ก็ด้วยอำนาจพระบารมีธรรมที่ได้ทรงอบรมมาแล้วอย่างเต็มเปี่ยม มีทาน ศีล เมตตา ขันติ เป็นต้น ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงสามารถบรรลุพระอมตธรรมได้ในที่สุด

  

พระพุทธเจ้าทรงเพ่งศรีมหาโพธิ

ในสัปดาห์ที่สองจากวันที่ตรัสรู้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จพระราชดำเนินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ ในระยะทางพอสมควรแก่การทอดพระเนตรแล้ว พระองค์ก็ได้ประทับยืนพิจารณาต้นพระศรีมหาโพธิอันเป็นที่ตรัสรู้นั้นโดยมิได้กระพริบพระเนตรตลอดหนึ่งสัปดาห์ เสมือนหนึ่งจะทรงทบทวนความทรงจำต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วโดยลำดับ และได้หยุดการเวียนว่ายในสังสารวัฏลงเพียงนี้ ต้นไม้ต้นนี้เป็นที่ให้กำเนิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ผู้ที่จะนำสัจธรรมอันบริสุทธิ์สำหรับชำระกิเลสนานาประการของสัตว์โลก เป็นการยืนยันการตรัสรู้โดยความพอพระทัย สถานที่นี้จึงเรียกว่า อนิมิสเจดีย์


พระพุทธเจ้าประทับในรัตนฆรเจดีย์

หลังจากตรัสรู้แล้วสัปดาห์แรกพระองค์ได้ประทับอยู่ภายใต้ต้นโพธิที่ตรัสรู้นั้น สัปดาห์ที่สองเสด็จประทับทางด้านทิศอิสานของต้นโพธิ  เพ่งพระเนตรต้นโพธิโดยไม่กระพริบพระเนตรตลอดเจ็ดวัน เพื่อคารวะพระธรรม สถานที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์ แล้วเสด็จจากที่นั้นมาหยุดระหว่างกลางแห่งพระศรีมหาโพธิและอนิมิสเจดีย์  ทรงนิรมิตที่จงกรมขึ้น แล้วเดินจงกรม ณ ที่นั้นสิ้นเจ็ดวัน สถานที่นั้นเรียก รัตนจงกรมเจดีย์  

ในสัปดาห์ที่สี่ เทวดาได้นิรมิตเรือนแก้วขึ้นทางทิศพายัพแห่งต้นโพธิ เสด็จนั่งขัดสมาธิบัลลังก์ทรงพิจารณาพระอภิธรรมสิ้นเจ็ดวัน สถานที่นี้เรียกว่ารัตนฆรเจดีย์

 
 
ที่มา:heritage.thaigov.net/religion/bio/index03.htm
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 48.0.2564.103 Chrome 48.0.2564.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2559 16:34:12 »

.

ตอนที่ 5
พระพุทธเจ้าเมื่อเสวยวิมุติสุขอยู่ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก)




ในสัปดาห์ที่ห้าได้เสด็จไปประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร)
 
ในสัปดาห์ที่หก ได้มีฝนเจือลมหนาวตกพรำอยู่เจ็ดวัน พญานาคชื่อมุจลินท์เข้ามาวงด้วยขนดเจ็ดรอบ แล้วแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อป้องกันลมและฝนมิให้ถูกพระกาย ครั้นฝนหายแล้วก็คลายขนดออกจำแลงเพศเป็นมาณพ เข้ามายืนเฝ้า ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า "ความสงัดเป็นความสุขสำหรับบุคคลผู้ได้สดับธรรมแล้วยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามเป็นอย่างไร ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย  และความปราศจากกำหนัดคือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก ความนำอัสมิมานะ ถือว่ามีตัวตนให้หมดได้เป็นสุขอย่างยิ่ง"

 

ธิดาพระยามาราธิราชแสดงยั่วยวนพระพุทธองค์

เมื่อพระพุทธองค์อยู่ภายใต้ร่มไม้อชปาลนิโครธ อันตั้งทางทิศบูรพาของต้นพระศรีมหาโพธิ ในสัปดาห์ที่ห้าทรงเสวยวิมุติสุขอยู่ ธิดามาร 3 คน คีอนางตัณหา นางราคา และนางอรดี ได้อาสาพระยามารเข้าไปเฝ้า เนรมิตอัตภาพเป็นหญิงนานาชนิด หวังให้พระองค์พอพระทัย แต่พระองค์มิได้ใฝ่พระทัยกลับทรงขับไล่ให้ออกไป  อันแสดงถึงความไม่ยอมกลับมาเป็นผู้แพ้อีก
 
เรื่องนี้พระพุทธโฆษาจารย์กล่าวไว้ในอรรถคถาธรรมบ


 

ตปุสสะและภัลลิกะ สองพาณิชถวายข้าวสัตตุแด่พระพุทธองค์

เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ได้สี่สัปดาห์ และได้ประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ใต้ต้นเกต ซึ่งได้นามว่า ราชายตนะ ได้มีนายพานิชสองคน คือ ตปุสสะและภัลลิกะ เดินทางมาจากอกุกลชนบท เมื่อได้เห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ ที่นั่น มีพระรัศมีผ่องใสยิ่งนักก็บังเกิดความเลื่อมใส จึงได้นำข้าวสตุก้อนสตุผง ซึ่งเป็นเสบียงเดินทางของตนเข้าไปถวาย แล้วได้อ้างถึงพระองค์และพระธรรมว่าเป็นสรณะ นายพาณิชทั้งสองนี้ได้เป็นปฐมอุบาสกที่ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ เรียกว่า เทวาจิกะ  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับบาตรที่ท้าวจตุมหาราชนำมาถวายซึ่งพระองค์ได้ทรงอธิษฐานให้บาตรทั้งสี่ใบเป็นใบเดียวกัน

 

ท้าวจตุมหาราชถวายบาตรพระพุทธองค์

เมื่อพระบรมศาสดาอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว และได้ประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ใต้ต้นเกตอันมีนามว่า ราชายตนะ ซึ่งอยู่ทางทิศทักษิณของต้นพระศรีมหาโพธิ ครั้งนั้นมีนายพาณิชสองคนคือตปุสสะกับภัลลิกะ ได้น้อมนำเอาข้าวสตุก้อนและสตุผงเข้าไปถวายพระองค์ และพระองค์มีพระประสงค์จะรับ แต่ขณะนั้นพระองค์ไม่มีบาตร ครั้นจะรับด้วยพระหัตถ์ก็ผิดประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน
 
ฝ่ายท้าวมหาราชทั้งสี่ คือท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวกุเวร ทราบพุทธประสงค์ จึงต่างนำบาตรศิลาองค์ละใบเข้าไปถวาย พระองค์ทรงรับบาตรจากท้าวมหาราชทั้งสี่แล้วทรงอธิษฐานให้รวมกันเป็นบาตรใบเดียว แล้วทรงรับข้าวสตุก้อนสตุผงของนายพาณิชทั้งสองด้วยบาตรนั้น




พระผู้มีพระภาคเสด็จมาเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์

เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ต้นเกตได้เจ็ดวันอันเป็นสัปดาห์ที่เจ็ด หลังจากได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  ใกล้เมืองพาราณสี ในเวลาเย็นแห่งวันขึ้น 14 ค่ำ ก่อนพุทธศก 45 ปี เพื่อเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ผู้ซึ่งเคยได้อยู่อุปัฏฐากพระองค์ เมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ 

เมื่อปัญจวัคคีย์เห็นพระพุทธองค์เสด็จมาตั้งแต่ระยะไกล ปัญจวัคคีย์เข้าใจว่าพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยาแล้วและคงไม่ได้บรรลุธรรมวิเศษอะไร จึงนัดกันไม่ออกไปต้อนรับอย่างที่เคยปฏิบัติมา และเมื่อพระองค์เสด็จมาใกล้ก็ยังใช้โวหารเรียกพระนามโดยไม่เคารพ ต่อเมื่อพระองค์ตรัสว่า "เราได้ตรัสรู้อมฤตธรรมโดยชอบแล้ว  จะนำมาสั่งสอนพวกเธอ ถ้าพวกเธอตั้งใจฟังและปฏิบัติตามในไม่ช้าจะบรรลุอมฤตธรรมนั้น ปัญจวัคคีย์ระลึกได้ว่า พระวาจาเช่นนี้พระองค์ไม่เคยตรัสมาก่อน จึงได้ปฏิบัติเช่นที่เคยปฏิบัติมาก่อน"

ในวันรุ่งขึ้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์เป็นปฐมเทศนา เพื่อประกาศสัจธรรมอันประเสริฐ

 


ทรงแสดงปฐมเทศนา

พระบรมศาสดาได้เสด็จไปสู่สำนักปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี และได้แสดงพระปฐมเทศนา ชื่อว่าธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ทรงแสดงถึงที่สุดสองอย่างที่ไม่พึงเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค ความพัวพันหนักในกามสุข และอัตตกิลมถานุโยค การประกอบกรรมเป็นการทรมานตนให้เหนื่อยเปล่า ไม่ใช่ทางแห่งอริยภูมิ ทรงชี้ทางมัชฌิมาปฏิปทาคือทางสายกลาง ซึ่งมีอยู่ 8 ประการได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ  สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ สัมมากัมมันตา การงานชอบ สัมมาวาจา การเจรจาชอบ สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ สัมมาสติ การระลึกชอบ และสัมมาสมาธิ  ความตั้งใจมั่นชอบ

แล้วทรงแสดงอริยสัจสี่ประการ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัยสาเหตุแห่งทุกข์ ทุกขนิโรธ ความคับทุกข์ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หนทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์
1.ทรงชี้ว่า ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความโศก คือแห้งใจ ความคร่ำครวญ รัญจวนใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ คับแค้นใจ เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังเป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อขันธ์ที่ยึดไว้ทั้งห้าประการเป็นทุกข์

เหตุให้เกิดทุกข์ คือตัณหา อันเป็นความดิ้นรนทะยานอยากของใจ อันมีลักษณะซัดส่ายไปสู่ภพ คือภาวะใหม่เสมอ ไปด้วยกันกับความเพลิดเพลิน ความติดความยินดี มีความเพลิดเพลินเป็นอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ  มีสามประการคือ กามตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากในกาม คือ สิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ภวตัณหา  ความดิ้นรนทะยานอยากในภพ คือความเป็นนั่นเป็นนี่ วิภวตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากในวิภพ คือความไม่เป็นนั่นเป็นนี่ ความดับทุกข์ คือการดับตัณหาเสียได้หมด สละตัณหาเสียได้หมด ปล่อยคืนตัณหาเสียได้หมด พ้นตัณหาเสียได้หมด ไม่อาลัยพัวพันอยู่ในตัณหาทั้งหมด

หนทางปฎิบัติเพื่อความดับทุกข์ ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า มรรค ได้แก่ มรรค อันมีองค์แปดประการคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ

ทรงชี้แจงว่า รู้ที่เรียกว่าตรัสรู้นั้นเป็นความรู้ที่ผุดขึ้นว่า นี้เป็นทุกข์ เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นว่าทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นมาว่าทุกข์นี้ได้กำหนดแล้ว เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นว่า นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นมาว่า เหตุแห่งทุกข์นี้ควรละ เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นมาว่า สาเหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นว่า นี้เป็นความดับทุกข์ เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นมาว่า ความดับทุกข์นี้ควรกระทำให้แจ้ง เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นมาว่า ความดับทุกข์นี้ได้ทำให้แจ้งแล้ว เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นมาว่า นี้เป็นทางปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นมาว่า ทางปฎิบัติเพื่อความดับทุกข์นี้ควรอบรมให้มีขึ้น เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นมาว่า ทางปฎิบัติเพื่อความดับทุกข์นี้ได้อบรมให้มีบริบูรณ์แล้ว

ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นญาณคือความหยั่งรู้ที่มีวนรอบสาม มีอาการสิบสอง จึงเรียกว่าเป็นความตรัสรู้ ท่านผู้ที่ได้มีความรู้ดังกล่าวนี้จึงเรียกว่าเป็น พุทธะ คือเป็นผู้ตรัสรู้ ถ้าจะเรียกปัญญาของท่านก็เป็นโพธิ คือความตรัสรู้

ทรงประกาศว่าเมื่อความรู้ที่มีวนรอบสามมีอาการสิบสองดังกล่าวนี้ ยังไม่บริสุทธิบริบูรณ์ตราบใด ก็ยังไม่ทรงปฎิญญาพระองค์ว่าเป็นผู้ตรัสรู้ ต่อญาณดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นบริสุทธิบริบูรณ์พระองค์จึงปฎิญญาว่าเป็นพุทธะ และเรียกว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองเพราะเป็นความรู้ที่ผุดขึ้นในธรรมะ คือ ในความจริงที่ไม่ได้ทรงเคยสดับฟังมาจากใคร ไม่ได้ทรงเคยเรียนมาจากใคร พระองค์ทรงพบขึ้นเอง เมื่อจบพระธรรมเทศนาพระโกญทัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า
 
ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพัญตัง นิโรธธัมมัง
สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา
 
เป็นเหตุให้พระบรมศาสดาทรงเปล่งอุทานว่า "โกญทัญญะรู้แล้วหนอ" แล้วพระโกญทัญญะก็กราบทูลขออุปสมบท ทรงประทานอุปสมบทด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา   

ต่อมาพระองค์ได้เทศนาสั่งสอนจนพระปัญจวัคคีย์บรรลุพระอรหัตผลทั้งหมด
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.102 Chrome 50.0.2661.102


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2559 16:16:51 »


ตอนที่ 6
พระยสกุลบุตรออกบวช



พระยสกุลบุตรออกบวช

ยสกุลบุตรเป็นบุตรเศรษฐี แห่งเมืองพาราณสี ที่พ่อแม่รักและหวงแหน เขาถูกบำเรอด้วยกามสุขอย่างเลอเลิศ โดยเฉพาะด้านสตรีเพศ จึงเกิดความเบื่อหน่าย คืนวันหนึ่งเวลาดึกสงัด ยสกุลบุตรตื่นขึ้นมาเห็นบรรดานางบำเรอนอนหลับไหลกันอยู่ระเกะระกะ ในลักษณะที่ไม่น่าดูไม่น่าชมเป็นที่น่าทุเรศนัยตา ดุจดังซากศพในป่าช้า จึงเกิดความสลดใจจนลืมตัว ออกเดินจากเรือนไปในลักษณะของคนใจลอย ปากก็พร่ำบ่นว่า
    อุปัททุตัง วตโภ ที่นี่วุ่นวายหนอ  
     อุปสัฎฐัง วตโภ ที่นี่ขัดข้องหนอ

 
ยสกุลบุตรเดินพร่ำบ่นไปคนเดียวจนล่วงเข้าไปในป่านอกเมืองโดยไม่รู้ตัว และได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าในป่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่วุ่นวาย เมื่อยสกุลบุตรได้ยินดังนั้นก็ได้คิด เกิดความโล่งใจ และได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อได้สนทนากับพระองค์ก็ได้ความเลื่อมใสศรัทธาและได้บวช และบรรลุพระอรหันต์ในที่สุด ซึ่งเป็นปีแรกแห่งการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาค

 
                                           
โปรดชฎิลสามพี่น้อง

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงทรมานอุรุเวลกัสปะ ชฎิลผู้พี่พร้อมบริวาร 500 คน จนยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา ได้กราบทูลขอบรรพชาและเอาบริขารลอยตามน้ำไป
 
ฝ่ายนทีกัสปะและคยากัสปะ ผู้เป็นน้องชายทั้งสองคนเห็นเครื่องบริขารของพี่ชายลอยน้ำมา ก็แปลกใจจึงพากันขึ้นไปหาอุรุเวลกัสสปะพี่ชาย เมื่อไปถึงทราบว่าพี่ชายละลัทธิเดิมของตนแล้ว ขออุปสมบทเป็นสาวกของพระบรมศาสดาพร้อมด้วยบริวารทั้งหมด จึงได้พาบริวารของตนทั้งสองคนรวมได้ 500 คน มาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาตามพี่ชาย จากนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงแสดงอาทิตยปริยายสูตร พวกชฎิลทั้งหมดก็ได้บรรลุธรรมวิเศษบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

 

พระเจ้าสุทโธทนะส่งทูตมาเชิญเสด็จพระพุทธองค์

เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบว่าโอรสของพระองค์ผู้ซึ่งได้สละราชสมบัติออกแสวงหาพระอมฤตธรรมเป็นเวลานานแล้วนั้น บัดนี้ได้พบและบรรลุพระอมฤตธรรมนั้นแล้ว และกำลังจาริกเผยแผ่พระธรรมแก่บรรดาประชาชนในแคว้นต่างๆ อยู่  

ดังนั้นพระเจ้าสุทโธทนะ จึงได้ส่งมหาอำมาตย์ไปทูลเชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์ แต่ได้ถูกพระผู้มีพระภาคทรงยับยั้งไว้ถึง 9 ครั้ง ครั้งที่ 10 กาฬุทายี อำมาตย์ผู้เป็นสหชาติมาทูลเชิญ พระองค์จึงได้เสด็จไป  

การที่พระองค์ยับยั้งไว้นานเพียงนั้นก็เพื่อรอให้ญาณของพระชนกและบรรดาญาติของพระองค์แก่กล้าเสียก่อน จะได้โปรดได้ง่าย เสมือนกสิกรผู้ชาญฉลาดรอที่จะหว่านพืชให้ได้ผล ฉะนั้น



อุคคะคฤหบดีถวายภัตตาหาร
                             

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ  กูฎาคารศาลา แขวงเมืองเวสาลี ครั้นเวลาเช้าพระองค์ได้เสด็จไปยังนิเวศน์ของอุคคะคฤหบดี พวกญาติและบริวารชนต่างช่วยกันจัดแจงเครื่องไทยทานตามคำสั่งของคฤหบดีแต่เช้าตรู่ คฤหบดีนั้นได้นั่งเฝ้าเพ่งดูพระรูปโฉมของพระผู้มีพระภาค อันประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ อนุพยัญชนะ 80 ประการ มีพระรัศมี 6 สี แผ่สร้านออกจากพระวรกาย ครั้นเครื่องไทยทานเสร็จแล้วจึงได้กราบทูลว่า "ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ผู้ให้สิ่งที่พอใจย่อมได้สิ่งที่พอใจ ขอพระองค์จงอาศัยความอนุเคราะห์รับของขบฉัน และสมณบริขารอันล้วนแต่อย่างดี เป็นที่พอใจของข้าพระองค์เถิด"  เมื่อกราบทูลแล้วก็ได้น้อมของเหล่านั้นเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า  

ขณะที่พระองค์กำลังเสวยอยู่นั้นคฤหบดีและคนอื่นๆ  ต่างก็คอยปรนนิบัติอยู่อย่างใกล้ชิด ต่างก็ชื่นชมยินดีอยู่ในรูปโฉมของพระพุทธองค์ บ้างก็มีความศรัทธาใคร่จะฟังกระแสพระราชดำรัส บ้างก็นิยมติดใจในพุทธลีลาสและสีของสบง จีวร เมื่อเสวยเสร็จแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุโมทนาเป็นคาถาว่า "ผู้ให้สิ่งที่พอใจ ย่อมได้สิ่งที่พอใจ ผู้ใดเต็มใจถวายเครื่องนุ่งห่ม ที่นั่งที่นอน ข้าวน้ำ และปัจจัยต่างๆ ในท่านผู้ประพฤติตรงทั้งหลาย ผู้นั้นรู้จักการเสียสละ การบริจาค และการอนุเคราะห์ในพระอรหันต์ผู้เปรียบเสมือนนาบุญ ผู้ให้สิ่งที่พอใจย่อมได้สิ่งที่พอใจ ดังนี้"



พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยม ราชสำนักพระพุทธบิดา

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุครั้งแรก เมื่อได้รับปฏิสันฐานจากบรรดาพระญาติแล้ว พระองค์จึงได้เสด็จไปยังนิโครธาราม ทรงนิรมิตวัตรจงกลมบนอากาศเสด็จจงกรมอยู่ ทรงแสดงธรรมเพื่อทำลายมานะแห่งมวลพระญาติ เมื่อมวลพระญาติมีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นต้น มีจิตเลื่อมใสแล้ว ฝนโบกขรพรรษาได้ตกลงในสมาคมแห่งญาตินั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นมหาชนใคร่จะทราบเรื่องของฝนโบกขรพรรษา พระองค์จึงได้แสดงเรื่องนี้ให้ฟังว่า "ภิกษุทั้งหลาย ไม่แต่กาลนี้เท่านั้น ที่ฝนโบกขรพรรษาได้ตกลงมาในสมาคมแห่งมวลพระญาติของเรา ในกาลก่อนฝนโบกขรพรรษาก็ได้ตกลงในสมาคมแห่งพระญาติเราเหมือนกัน"  

แล้วพระองค์จึงได้แสดงเวสสันดรชาดก เมื่อจบเทศนาแล้วพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาได้ดวงตาเห็นธรรม ทรงตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นในพระพุทธศาสนา

 

พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมพระนางยโสธรา


เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวสสันดรชาดกในท่ามกลางพระญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์แล้ว ก็ได้เสด็จไปในงานวิวาหมงคลของเจ้าชายนันทะ ในการเสด็จครั้งนี้พระนางยโสธราและพระราหุลกุมารได้เข้าเฝ้าเฉพาะพระพักตร์เป็นครั้งแรก พระนางได้ให้พระราหุลกุมารทูลขอราชสมบัติจากพระบิดา แต่แทนที่พระองค์จะพระราชทานสมบัติอันเป็นสมบัติภายนอกที่ไม่จีรังยั่งยืนและก่อให้เกิดทุกข์อยู่เป็นนิจแก่พระราหุลกุมาร พระองค์กลับพระราชทานอริยทรัพย์อันประเสริฐอันเป็นทรัพย์ที่จีรังยั่งยืนตลอดกาล

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.102 Chrome 50.0.2661.102


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2559 16:18:01 »


ตอนที่ 7
เจ้าชายนันทะเสด็จละจากเจ้าสาวไปตามเสด็จพระพุทธเจ้า



เจ้าชายนันทะเสด็จละจากเจ้าสาวไปตามเสด็จพระพุทธเจ้า

ภายหลังวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ จากการอัญเชิญของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นพระพุทธบิดาแล้ว เมื่อล่วงถึงวันที่สามอันเป็นวันวิวาหมงคล ของเจ้าชายนันทะ ผู้เป็นพระพุทธอนุชาต่างพระชนนี พระผู้มีพระภาคเสด็จไปรับบิณฑบาต แล้วประทานบาตรแก่เจ้าชายนันทะ ทรงอนุโมทนา แล้วเสด็จหลีกไป หาได้ทรงรับบาตรจากเจ้าชายนันทะไม่ เจ้าชายนันทะต้องตามเสด็จติดตามไป ฝ่ายเจ้าหญิงเห็นดังนั้นจึงได้เสด็จไปที่พระแกล แล้วกราบทูลแก่เจ้าชายนันทะว่า ขอให้รีบเสด็จกลับมาโดยเร็วด้วย เจ้าชายนันทะได้ฟังเสียงเจ้าหญิงแล้ว ก็เกิดความละล้าละลัง แต่ก็ได้ตามเสด็จไปจนถึงพระวิหารและได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ

ในกาลต่อมา ได้มีคำกล่าวจากเพื่อพรหมจารีว่า พระนันทะบวชเพราะต้องการได้นางสวรรค์ พระผู้มีพระภาคเป็นนายจ้าง พระนันทะเป็นลูกจ้าง เธอได้ฟังก็เกิดความละอายใจ จึงหลีกออกจากหมู่ไปบำเพ็ญเพียร จนในที่สุดก็ได้ประสบสุขชั่วนิรันดร



พระอานนท์และพระเทวทัตออกบวช

สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคม เมืองกุสินารา พวกพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ได้ทราบข่าว จึงอนุญาตให้โอรสของตนๆ ออกบวชตามพระญาติฝ่ายพระมารดาและพระญาติของพระบิดา จำนวนฝ่ายละแปดพันองค์ รวมเป็นหนึ่งหมื่นหกพันองค์ พระมหานามโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ได้อนุญาตให้พระอนุรุทธออกบวช พระอนุรุทธจึงชวนบรรดากษัตริย์คือ พระภัททิยะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ในสมัยนั้น พระอานนท์ ราชโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ พระภคุ พระกิมพิละ พระเทวทัตต์ พระอนุชาของพระนางยโสธราพิมพานอกจากนั้นยังมีอุบาลี ช่างกัลบกประจำราชสำนัก ทั้งหมดได้รับการบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ

ในบรรดาภิกษุใหม่ทั้งเจ็ดรูปนั้น เว้นพระอานนท์และพระเทวทัตต์ ได้บรรลุพระหัตผลทุกรูป ส่วนพระอานนท์ได้ฟังพระธรรมเทศนา จากพระปุณณมัมตานีบุตรเถร จึงได้บรรลุโสดาปัตติผลและได้เป็นผู้ ปรนนิบัติพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด และเชี่ยวชาญในคำสอนของพระพุทธองค์

ส่วนพระเทวทัตต์สำเร็จทางฌาณโลกีย์ ต่อมาภายหลังเมื่อถูกลาภสักการะเข้าครอบงำ คิดจะอยู่ในฐานะของพระพุทธเจ้าเสียเอง ได้ทูลขอปกครองสงฆ์จากพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ไม่ยินยอม จึงได้คบคิดกับพระเจ้าอชาติศัตรูแห่งกรุงราชคฤห์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ผลสุดท้ายได้ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงขั้นอนันตริยกรรม จึงถูกแผ่นดินสูบทั้งเป็น



อนาถปิณฑิกะ สร้างพระเชตวันวิหารถวายพระพุทธเจ้า

ในกรุงสาวัตถีแคว้นโกศล มีคหบดีผู้หนึ่งชื่อ สุทัตตะ ท่านผู้นี้เป็นคนใจเอื้อเฟื้อต่อคนยากจน ได้ตั้งโรงทานเพื่อให้ทานแก่คนยากจนทั่วไป จึงได้สมญานามว่า อนาถปิณฑิกะ แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวแก่คนอนาถา

วันหนึ่ง อนาถปิณฑิกะไปเยี่ยมราชคฤหเศรษฐี ซึ่งเป็นสามีของพี่สาวของตน พอดีตรงกับวันที่ราชคฤหเศรษฐีนิมนต์พระบรมศาสดาพร้อมพระภิกษุสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตน อนาถปิณฑิกะมีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งในโอกาสดังกล่าว อยากได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์
 
วันรุ่งขึ้น อนาถปิณฑิกะก็ได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ พระเวฬุวัน ได้ฟังพระธรรมเทศนาคือ อนุปุพพิกถาและอริยสัจสี่ แล้วบรรลุพระโสดาปัตติผล จึงได้สร้างพระเชตวันวิหารถวายพระบรมศาสดา นับเป็นวิหารที่สร้างถวายไว้ในพระพุทธศาสนาแห่งแรก



พระพุทธเจ้าทรงห้ามพระญาติ

กษัตริย์ชาวศากยะ พระญาติฝ่ายพระพุทธบิดาในนครกบิลพัสดุ์กับกษัตริย์ชาวโกลิยะ พระญาติฝ่ายพระพุทธมารดาในนครเทวทหวิวาทกันเพราะเหตุฝนแล้งจึงแย่งน้ำกันทำนา ขณะนั้นพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่แคว้นสักกะ ทรงทราบเหตุด้วยพระญาณ จึงได้เสด็จไป ณ ที่ต่อแดนระหว่างนครทั้งสองทรงปราศรัยกับพระญาติทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นการเตือนสติโดยทรงตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายวิวาทกันด้วยเหตุอะไร ก็ได้รับการทูลตอบว่า เพราะเหตุแห่งน้ำ ทรงตรัสถามต่อไปว่า น้ำกับคนอย่างไหนจะมีค่ามากกว่ากัน ก็ได้รับการทูลตอบว่า คนมีค่ามากกว่าน้ำ ทรงตรัสถามต่อไปอีกว่า คนพวกไหนมีค่ามากกว่ากัน ก็ได้รับการทูลตอบว่ากษัตริย์นั้นหาค่ามิได้ (คือมีค่าสูงสุด) ทรงตรัสถามต่อไปอีกว่า ถ้าเช่นนั้น การที่เอาเรื่องน้ำมาเป็นเหตุฆ่ามนุษย์ ผู้เป็นกษัตริย์ซึ่งมีค่าสูงสุดเช่นนี้ เป็นการสมควรหรือไม่ ก็ได้รับการทูลตอบว่าไม่สมควรเลย ทั้งสองฝ่ายได้ตระหนักถึงเหตุผลตามที่พระพุทธองค์ตรัสถามไปตามลำดับแล้ว จึงพากันเลิกรากันไป


พระพุทธองค์เสด็จโปรดพระพุทธบิดา

ในพรรษาที่ห้า หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว พระองค์พร้อมด้วยพระนันทะ พระพุทธอนุชา พระอานนท์ พระพุทธอุปฐาก และพระราหุลพระพุทธโอรส ได้เสด็จไปเยี่ยมอาพาธพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดาที่กรุงกบิลพัสดุ์

พระองค์ได้เทศนาโปรดพระพุทธบิดาจนได้บรรลุพระอรหันต์ แล้วพระพุทธบิดาก็ปรินิพพาน พระพุทธองค์พร้อมทั้งพระสาวกเป็นจำนวนมากได้ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระศพเรียบร้อยแล้ว จึงเสด็จจาริกเทศนาอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ต่อไป



นางจิญจมานวิกาบริภาษพระพุทธเจ้า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศพระศาสนาแผ่ไพศาล บังเกิดลาภสักการะบังเกิดในพระศาสนาเป็นอันมาก ฝ่ายพวกเดียรถีย์เสื่อมจากลาภสักการะ จึงพากันคิดอุบายใส่ร้ายพระพุทธเจ้า จึงให้นางจิญจมานวิกาผู้เลอโฉม ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดกับพวกของตน แสดงอาการดังอยู่ในคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดาจำเนียรกาลล่วงมาหลายเดือน ออกอุบายให้นางเอาไม้ผูกที่ท้อง ทุบมือเท้าให้บวม แสดงอาการดุจหญิงมีครรภ์ แล้วให้ไปกล่าวตู่พระพุทธเจ้าซึ่งกำลังประทับนั่งบนธรรมมาสน์แสดงพระธรรมเทศนาท่ามกลางประชาชนว่า "พระองค์ทรงรู้แต่การอภิรมย์ ไม่ทรงทราบทำเรือนให้ตลอดฯ" ยังความกังขาให้เกิดแก่ปุถุชน ยังความสังเวชให้เกิดแก่อริยชนในที่นั้นอย่างยิ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เรื่องนี้รู้กันแต่เธอกับเราเท่านั้น ขณะนั้นท้าวสักกะเทวราชทรงทราบเหตุ จึงได้ให้พระวิษณุกรรมเทพบุตรแปลงกายเป็นหนูเข้าไปกัดเชือกที่ผูกท่อนไม้ไว้ที่ท้อง และบันดาลให้เกิดลมพัดมาเลิกผ้านุ่งของนาง ท่อนไม้จึงได้ตกลงมาทับเท้านางในท่ามกลางบริษัท

บรรดาบริษัทที่เป็นปุถุชนเห็นความจริงดังนั้น ก็พากันโกรธแค้นต่างจับท่อนไม้และก้อนดินเข้าขับไล่นางออกไป เมื่อนางจิญจมานวิกาออกไปพ้นจากคลองจักษุก็ถูกแผ่นดินสูบลงไป
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.102 Chrome 50.0.2661.102


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2559 16:34:50 »


ตอนที่ 8
พระยกมปาฏิหารย์



พระยกมปาฏิหารย์


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระดำริจะกระทำพระพุทธปาฏิหารย์ ณ ต้นมะม่วง ที่พระองค์ประทานเมล็ดให้นายคัณฑะปลูกรักษาไว้ ได้นามว่า คัณฑามพพฤกษ์ และด้วยพุทธานุภาพไม้มะม่วงนั้นก็เจริญงอกงามบริบูรณ์ด้วยกิ่งก้านสาขา ใบ และผลร่วงหล่นอยู่กลาดเกลื่อน ผู้คนทั้งหลายได้บริโภค เห็นมีรสหวานอร่อยก็ชวนกันเก็บกิน และพากันโกรธแค้นพวกเดียรถีย์นิครนถ์ ที่พากันโค่นต้นมะม่วงที่มีอยู่ในบริเวณนั้นทั้งหมด เมื่อทราบว่าพระบรมศาสดาจะทรงกระทำปาฏิหารย์ที่ต้นมะม่วง ฝูงชนได้ใช้เมล็ดมะม่วงขว้างปาพวกเดียรถีย์ วลาหกเทพบุตรบันดาลให้ลมพายุพัดมณฑปกระจัดกระจายทำลายลง พระอาทิตย์เวลาเที่ยงก็ส่องแสงแผดกล้า ทำให้พวกนิครนถ์หิวกระหาย บอบช้ำลำบากพากันหนีไปทั่วทุกทิศทาง

ครั้นเวลาบ่ายชายลง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มกระทำยมกปาฏิหารย์ มีพระอาการเป็นคู่ คือ เมื่อพระองค์ทรงเหาะขึ้นไปในอากาศ เสด็จพระพุทธลีลาสด้วยปฐวีกสิณบริกรรม แล้วทรงนฤมิตพระพุทธนิมิตจงกรมไปมา บางครั้งทรงนั่งขัดสมาธิปุจฉา พระพุทธนิมิตนั่งขัดสมาธิวิสัชนา บางครั้งทรงไสยาสน์ พระพุทธนิมิตก็ไสยาสน์ เป็นต้น

ขณะนั้นโลกธาตุก็เกิดมหัศจรรย์หวั่นไหว พระพุทธองค์ได้ทรงยังพระโอภาสให้แผ่ไปในหมื่นจักรวาฬ ทรงพิจารณาอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ทั้งปวง แสดงพระธรรมเทศนาโปรดให้ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน



พระพุทธเจ้าโปรดพระพุทธมารดา

เมื่อพระนางสิริมหามายาเสด็จสวรรคตนั้น เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารจำเริญวัยได้เพียง 7 วัน เมื่อพระนางสวรรคตแล้ว ได้ไปอุบัติ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต

เมื่อพระพุทธองค์ทรงปรารภจะเสด็จเยี่ยมพระพุทธมารดา จึงได้เสด็จสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประทับบนพระแท่นบัณฑุกัมพลภายใต้ต้นปาริฉัตต์ แล้วทรงแสดงพระสัตตปกรณาภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ซึ่งเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดุสิต ท้าวสักกะเทวราชพร้อมทั้งเทพยดาในหมื่นจักรวาฬ ได้พร้อมกันมาประชุม ณ ที่นั้น เพื่อสดับพระธรรมเทศนา

พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ตลอดไตรมาส ครั้งนั้นพระพุทธมารดาพร้อมกับหมู่เทพยดาทั้งหลายได้บรรลุอริยผล



พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์

ครั้นถึงวันอัสสยุชปุรณมี เพ็ญเดือน 11 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปวารณาพระวัสสาแล้ว จึงตรัสแก่ท้าวสักกะเทวราชว่า พระองค์จะเสด็จลงสู่มนุษย์โลกในวันนี้ ท้าวสักกะเทวราชจึงได้นฤมิตบันไดทิพย์ ทั้งสามลงจากเทวโลก คือบันไดทองอยู่ทางขวา บันไดเงินอยู่ทางซ้าย บันไดแก้วอยู่ท่ามกลาง และเชิงบันไดทั้งสาม ลงมาที่พื้นปฐพีใกล้เมืองสังกัสสะ หัวบันไดจดยอดเขาสิเนรุราช อันเป็นที่ตั้งของดาวดึงส์พิภพ บันไดทองเป็นที่ลงของหมู่เทพยดาที่ตามเสด็จ บันไดเงินเป็นที่ลงของหมู่พรหมทั้งหลาย บันไดแก้วเป็นที่เสด็จของพระพุทธองค์
 
พระพุทธองค์ทรงประทับยืนเหนือบันไดแก้วท่ามกลางหมู่เทพ ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์อีกครั้ง ณ กาลบัดนั้น



พระพุทธเจ้าเปิดโลก

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากดาวดึงส์เทวโลก หลังจากได้ทรงเสด็จไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว พระองค์ได้เสด็จลงมายังมนุษยโลกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ณ เมืองสังกัสสะ พระองค์ได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์ บรรดาลให้สรรพสัตว์มองเห็นกันและกัน ตลอดทั้งเทวโลก มนุษย์โลก และนรก นอกจากนั้นแม้แต่สัตว์ดิรัจฉานและคนตาบอด ก็สามารถมองเห็นพระพุทธองค์และบรรดาสัตว์เหล่านั้นต่างก็ปรารถนาพุทธภูมิด้วยกันทั้งสิ้น


นางมาคันทิยากับพวกบริภาษพระพุทธองค์

ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับที่นครโกสัมพี พระองค์ได้ยังประชาชนให้เลื่อมใสในพระธรรมเทศนา มีอนุปุพฬิกถา เป็นต้น ในหมู่ผู้เลื่อมใสนั้นมีพระนางสามาวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน พร้อมบริวารเป็นจำนวนมากได้บรรลุพระโสดาปัตติผลแล้ว ส่วนพระนางมาคันทิยา อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทนอีกองค์หนึ่งไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่ไม่พอใจในอดีต คือ เมื่อพระนางยังเป็นสาวอยู่นั้น มาคันทิยพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของพระนางได้ติดต่อเพื่อมอบพระนางให้เป็นพระชายาของพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ไม่ยอมรับและทรงตรัสติเตียน

ฉะนั้น เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมายังนครโกสัมพี และมีพระนางสามาวดีเป็นพุทธอุปัฏฐาก พระนางมาคันทิยาจึงได้ว่าจ้างชาวเมืองและให้ข้าทาษกรรมกรให้มาบริภาษพระพุทธองค์ด้วยวัตถุเป็นเครื่องบริภาษ สิบประการคือ เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นบ้า เจ้าเป็นอูฐ เจ้าเป็นวัว เจ้าเป็นลา เจ้าเป็นสัตว์นรก เจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน สุคติของเจ้าไม่มี และเจ้าหวังได้ทุคติอย่างเดียว

เมื่อถูกบริภาษเช่นนั้น พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากทนไม่ไหว จึงได้กราบทูลให้พระพุทธองค์เสด็จไปสู่นครอื่น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเมื่อเรื่องเกิดขึ้นที่ใดก็ควรให้สอบ ณ ที่นั้น เพราะถ้าไปสู่ที่อื่นและถูกบริภาษ ณ ที่นั้นอีก ก็จะต้องหนีเรื่อยไปหาที่สิ้นสุดมิได้ แล้วพระองค์ได้ตรัสพระคาถาธรรมเทศนาว่า เราจักอดกลั้นต่อถ้อยคำล่วงเกิน ดังช้างอดทนต่อลูกศรที่ตกไปจากแล่งในสงคราม เพราะคนเป็นอันมากเหล่านั้นเป็นผู้ทุศีล เมื่อพระองค์ประทับอยู่ต่อไปเรื่องร้ายก็สงบลง

 

พระพุทธเจ้าทรงทรมาน อาฬวกยักษ์ให้กลับเป็นสัมมาทิษฐิ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวี พระเจ้าอาฬวีกษัตริย์ผู้ครองเมืองได้เสด็จออกล่าสัตว์ ถูกอาฬวกยักษ์จับพระองค์ได้และจะฆ่าเสีย พระองค์จึงทำสัญญากับยักษ์ว่า ถ้าปล่อยพระองค์ไป พระองค์จะส่งมนุษย์มาให้กินทุกวัน ยักษ์ก็ยอมตามนั้น

นับแต่นั้นมา พระเจ้าอาฬวีก็ทรงสั่งให้นำนักโทษส่งไปให้เป็นอาหารของอาฬวกยักษ์ตามสัญญา เมื่อนักโทษหมดคุกแล้ว ก็ทรงสั่งให้เอาทองคำไปวางล่อไว้ เมื่อมีผู้มาหยิบทองคำก็ให้เจ้าหน้าที่จับกุม หาว่าขโมยของหลวง แล้วนำตัวส่งไปให้ยักษ์กิน ต่อมาเมื่อหาผู้ทำผิดไม่ได้ จึงทรงสั่งให้จับเด็กไปให้ยักษ์กิน บรรดาบิดามารดาต่างก็หวาดกลัวพากันหลบหนีไปซุกซ่อนในที่ต่างๆ ในที่สุดพระองค์ได้ให้ส่งราชโอรสของพระองค์ไปให้ยักษ์

พระผู้มีพระภาคทรงเห็นอุปนิสัยของอาฬวกยักษ์ว่าพอจะกลับใจได้ และพระราชกุมารจะเป็นคนดีต่อไปในภายหน้า จึงได้เสด็จไปที่ต้นไทรที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ และประทับบนบัลลังก์ของยักษ์ อาฬวกยักษ์โกรธมากจึงได้แสดงอิทธิฤทธิต่างๆ เพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่ไม่เป็นผลจึงได้ทูลถามปัญหาธรรมมีความว่า บุคคลฆ่าอะไรเสียจึงจะมีความสุข พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้จึงจะมีความสุข อาฬวกยักษ์ได้ฟังดังนั้นก็เกิดความเลื่อมใสและยอมตนเป็นสาวก เมื่อราชบุรุษนำพระราชกุมารไปมอบให้ยักษ์ ยักษ์จึงได้ยกถวายพระพุทธเจ้า อาฬวกยักษ์ได้กลับมาเป็นสัมมาทิฐิด้วยประการฉะนี้
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.102 Chrome 50.0.2661.102


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 26 พฤษภาคม 2559 10:11:14 »


ตอนที่ 9
พระราหุลออกบวช



พระราหุลออกบวช


สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจัาเสด็จไปบิณฑบาตในกรุงกบิลพัสดุ์นับเป็นวาระที่ 7 พระนางยโสธราพิมพา ได้รับสั่งให้พระราหุลราชกุมารไปทูลขอขุมทองต่อพระพุทธองค์ผู้เป็นพระราชบิดา แต่เมื่อพระราหุลได้พบพระบรมศาสดาแล้วก็เกิดความชื่นชมเลื่อมใสและหาได้ทูลขอขุมทองไม่

เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภัตตกิจเสร็จ ก็เสด็จกลับสู่พระวิหารนิโครธาราม พระราหุลก็เสด็จตามไปด้วย พระพุทธองค์ทรงทราบในอัทธยาศัยของพระราหุลว่าอยากจะได้สมบัติแต่พระองค์ควรที่จะประทานอริยทรัพย์มากกว่า จึงได้ตรัสสั่งให้พระสารีบุตรบรรพชาให้พระราหุล

เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบก็โทรมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ขอประทานพรต่อพระผู้มีพระภาคว่าขอมิให้สาวกองค์ใดบวชบุคคลที่ยังมิได้รับอนุญาตจากบิดามารดา พระพุทธองค์ก็ทรงประทานให้ตามที่ขอ



พระราหุลนิพพาน

เมื่อพระสารีบุตรบรรพชาให้พระราหุลเป็นสามเณร ดยการรับไตรสรณาคมน์ พระราหุลจึงเป็นสามเณรองค์แรกในพระศาสนา เมื่อได้บรรพชาแล้วพระราหุลก็มีความใคร่ต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่งจนได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นผู้เลิศในทางใฝ่การศึกษา

เมื่อพระราหุลมีพระชนมายุได้ยี่สิบพรรษาก็ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาพิจารณารูปกัมมัฏฐานให้เห็นเป็นอนัตตา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ละได้เสด็จไปดับขันธปรินิพพานในดาวดึงส์



พระพุทธเจ้าเสด็จมาพยาบาลพระติสสะ

พระติสสะเป็นชาวเมืองสาวัตถี ได้สดับพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาแล้วเกิดศรัทธาขอบรรพชาอุปสมบท ต่อมาท่านเกิดอาพาธด้วยโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีแผลแตกเปรอะไปทั่วร่างกาย ท่านจึงได้รับสมญานามใหม่ว่า พระติสสะเถระตัวเน่า แม้แต่ศิษย์ของท่านเองก็พากันหลีกหนีไปหมด

พระบรมศาสดาทราบเรื่อง จึงได้เสด็จไปยังเรือนไฟ ทรงล้างหม้อ ก่อไฟ ใส่น้ำยกขึ้นตั้งไฟ แล้วจึงเสด็จไปยังที่พำนักของพระติสสะ ทรงจับที่ปลายเตียง พวกภิกษุเห็นเข้าจึงช่วยกันหามเตียงพระติสสะมายังเรือนไฟ พระพุทธองค์มีรับสั่งให้นำรางมา แล้วทรงเทน้ำร้อนลงไป รับสั่งให้ภิกษุช่วยกันซักจีวรให้ท่านแล้วให้ผึ่งแดดไว้ จากนั้นช่วยกันทำความสะอาดร่างกายของท่านด้วยน้ำอุ่น เมื่อจีวรแห้งก็ผลัดผ้า นำสบงไปซัก เมื่อท่านได้นุ่งสบงจีวรใหม่ร่างกายและจิตใจก็ชื่นบาน นอนรอรับกระแสพระธรรมเทศนาอยู่

พระบรมศาสดาประทับยืนอยู่เบื้องศรีษะ ครั้นแล้วได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา เมื่อท่านได้สดับและพิจารณาไปตามกระแสพระธรรม พอพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาจบ พระติสสะก็บรรลุพระอรหันต์แล้วได้ปรินิพพานด้วยโรคนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งให้ฌาปนกิจศพของท่านและให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้



พระพุทธเจ้าโปรดองคุลิมาลย์

มีกุมารผู้หนึ่งชื่อ อหิงสกุมาร เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ไปศึกษาศิลปศาสตร์ที่นครตักสีลา เนื่องจากอหิงสกุมารเป็นผู้ที่มีความสามารถจึงเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์ ทำให้บรรดาสานุศิษย์อื่นๆ พากันอิจฉา และได้ช่วยกันยุยงให้อาจารย์ชิงชังอหิงสกุมาร
 
ในที่สุดอาจารย์ก็คล้อยตามศิษย์ส่วนใหญ่คิดหาทางขจัดอหิงสกุมารโดยวิธีการยืมมือผู้อื่นให้สังหารอหิงสกุมารเสีย จึงได้ออกอุบายให้ฆ่าคนให้ครบหนึ่งพันคน   เพื่อสังเวยวิทยาเวท  อหิงสกุมารต้องอุบายดังกล่าวจึงได้ออกสู่ป่าชาลินี แห่งแคว้นโกศล แล้วแอบฆ่าผู้คนที่สัญจรไปมาผ่านป่านั้น และเพื่อเป็นการนับจำนวนผู้ที่ถูกฆ่า จึงได้ตัดข้อนิ้วมือเอาไว้แล้วทำเป็นพวงมาลัยคล้องคอไว้กันลืม จึงได้ชื่อว่าองคุลิมาลย์ แปลว่าผู้มีนิ้วมือคนเป็นมาลัย

เมื่อฆ่าคนได้ 999 คน เหลืออยู่เพียงหนึ่งคนก็จะครบจำนวนตามที่อาจารย์กำหนด และกำลังจะฆ่ามารดาของตนที่ออกไปตามด้วยความไม่รู้ พระผู้มีพระภาคทราบด้วยพระญาณ พระองค์จึงได้เสด็จไปดักทางไว้ก่อน เมื่อองคุลิมาลย์เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จอยู่จึงรีบตามไปแต่ตามไม่ทัน จึงได้ร้องเรียกให้พระองค์หยุดก่อน  พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พระองค์หยุดแล้วแต่องคุลิมาลย์ยังไม่หยุด องคุลิมาลย์จึงได้ขอคำอธิบาย พระองค์จึงได้ขยายความหมายให้ฟังว่า พระองค์ได้หยุดการประกอบอกุศลกรรมทั้งปวงแล้ว แต่องคุลิมาลย์ยังไม่หยุดการประกอบอกุศลกรรม องคุลิมาลย์ได้คิดและขอบวชเป็นพระภิกษุต่อมา



พระพุทธเจ้าทรงทรมานช้างนาฬาคีรี 

พระเทวทัตต์ต้องการปลงพระชนม์พระพุทธองค์ ในขณะที่พระองค์เสด็จไปสู่นครราชคฤห์ โดยปล่อยช้างนาฬาคีรีซึ่งกำลังดุร้ายเพื่อให้เข้าทำร้ายพระพุทธองค์

เมื่อช้างวิ่งเข้ามาด้วยอาการดุร้าย พระอานนท์พระพุทธอุปัฏฐากยอมสละชีวิตเข้าไปยืนขวางหน้าช้างนาฬาคีรีไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทำช้างที่กำลังดุร้ายสงบลงด้วยการแผ่เมตตาอันมีอยู่เต็มเปี่ยมในพระองค์ ทำให้ช้างยอมสยบอยู่แทบพระบาทและหายจากความดุร้ายโดยสิ้นเชิง



บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.102 Chrome 50.0.2661.102


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 26 พฤษภาคม 2559 10:12:23 »

ตอนที่ 10
พระโมคคัลลานะปรินิพพาน



พระโมคคัลลานะปรินิพพาน

พระมหาโมคคัลลานะเป็นพระสาวกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระภิกษุอื่นในด้านมีฤทธิ์และเป็นคู่อัครสาวกเบื้องซ้ายคู่กันกับพระสารีบุตร ผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุอื่นในด้านปัญญาและเป็นอัครสาวกเบื้องขวา

พระมหาโมคคัลลานะเป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนา ท่านสอนคนที่ดุร้ายให้เป็นคนอ่อนโยน สอนผู้ที่กระด้างให้เป็นคนเรียบร้อย สอนผู้ที่ตระหนี่ให้เป็นคนเสียสละ เป็นต้น และท่านได้เป็นผู้นำเรื่องราวของนรกและสวรรค์มาแจ้งให้แก่คนทั่วไปได้ทราบ คนทั่วไปจึงหันหลังให้ศาสดาเก่าของตนแล้วกลับมานับถือพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

บรรดาพวกเดียรถีย์เห็นลาภสักการะที่ตนเคยได้ลดน้อยลงทุกทีก็ไม่พอใจ เมื่อทราบว่าพระโมคคัลลานะเป็นผู้ชักจูงประชาชนไปจึงเรี่ยไรเงินจากอุปัฏฐานของตน  จ้างโจรจำนวนมากให้ไปฆ่าพระโมคคัลลานะเสีย

ในครั้งนั้น พระโมคคัลลานะอาศัยอยู่ที่กาฬศิลา เมื่อพวกโจรพากันไปล้อม ท่านก็หลีกหนีพวกโจรไปได้ พวกโจรล้อมอยู่ถึงสองเดือนยังจับท่านไม่ได้ ครั้นล่วงถึงเดือนที่สามท่านได้พิจารณาถึงกรรมของท่านในอดีตชาติที่ได้เคยทุบตีบิดามารดา และถึงเวลาที่ท่านจะปรินิพพานจึงไม่ยอมหลีกหนีไป ยอมให้พวกโจรทุบตีตามใจชอบ

เมื่อพวกโจรทุบตีจนเป็นที่พอใจแล้ว พระโมคคัลลานะจึงได้เข้าฌานรวบรวมอัตภาพแล้วมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อทูลลาปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคก็ทรงอนุญาต จากนั้นพระโมคคัลลานะก็กลับไปปรินิพพานที่กาฬศิลา พระผู้มีพระภาคพร้อมพระภิกษุสงฆ์และบรรดาเทพยดาได้มาร่วมงานถวายพระเพลิง แล้วเก็บอัฐิบรรจุไว้ ณ ซุ้มพระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี



ปัจฉิมบิณฑบาต

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ทรงประดิษฐานบริษัททั้งสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นระยะเวลา 45 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้เสด็จจำพรรษา ณ บ้านเวฬุวคาม เขตเมืองเวสาลี  ครั้นออกพรรษาแล้วได้เสด็จต่อไปถึงปาวาลเจดีย์ได้ทรงปลงชนมายุสังขาร ณ ที่นั้นในวันมาฆปุรณมี เพ็ญเดือนสาม แล้วเสด็จไปสู่บ้านภัณฑคามหัตถีคาม อัมภคามชมพูคาม และเมืองโภคนคร ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดมหาชนทุกแห่ง ต่อจากนั้นได้เสด็จไปสู่เมืองปาวา และเสด็จไปอาศัยสวนมะม่วงของนายจุนทะ ช่างทอง

เมื่อนายจุนทะทราบข่าวก็มีความยินดี ได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ พระผุ้มีพระภาคได้ทรงประทานพระธรรมเทศนาโปรดนายจุนทะจนได้บรลุพระโสดาปัตติผล จากนั้นได้กราบทูลนิมนต์พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายไปฉันภัตตาหารยังนิวาสสถานของตน

ในวันรุ่งขึ้น นายจุนทะได้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ประกอบด้วย สุกรมัททวะ เมื่อพระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์มาถึงบ้านนายจุนทะ พระองค์ทรงทราบถึงอันตรายในสุกรมัททวะ จึงตรัสให้นายจุนทะนำสุกรปัททวะมาอังคาสเฉพาะแต่พระองค์แต่ผู้เดียว ที่เหลืออยู่ให้นำไปฝังเสีย เพราะทรงพิจารณาเห็นว่า ไม่มีผู้ใดที่บริโภคสุกรปัททวะแล้วจะย่อยได้ อันจะเกิดอันตรายแก่ผุ้บริโภคสิ่งนี้



อัคคทานของนายจุนทะ

เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยสุกรมัททวะบิณฑบาตของนายจุนทะแล้ว ได้ทรงทำอนุโมทนาให้นายจุนทะ เกิดความปราโมทย์ จากนั้นได้เสด็จไปประทับ ณ อัมพวันอุทยาน ในวันนั้นบังเกิดปักขันทิกโรคลงพระโลหิต ทรงแสดงบุพพกรรมของพระองค์ในชาติก่อน ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาด้วยอธิวาสนขันติ จนทุกขเวทนาบรรเทาลง

พระผู้มีพระภาคพร้อมพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปเมืองปาวา ในระหว่างทางเกิดทุกขเวทนากล้าจึงแวะพัก ณ ภายใต้ร่มไม้แล้วตรัสกับพระอานนท์ว่า ถ้าจะมีผู้สงสัยติเตียนนายจุนทะว่า พระพุทธเจ้าเสวยบิณฑบาตของนายจุนทะเป็นปัจฉิมบิณฑบาตแล้วปรินิพพาน นายจุนทะจะเดือดร้อนเคลือบแคลง ฉะนั้นจงเปลื้องข้อสงสัยของนายจุนทะว่า บิณฑบาตสองประการ คือ บิณฑบาตอันนางสุชาดาถวายพระองค์เมื่อเสวยแล้วตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และบิณฑบาตอันนายจุนทะถวายพระองค์เสวยแล้วปรินิพพาน มีอานิสงส์มากเสมอกันไม่มีทานอื่นเทียบเท่า เพราะบิณฑบาตของนางสุชาดาเป็นเหตุให้พระองค์ได้บรรลุอุปาทิเสสนิพพาน ส่วนบิณฑบาตของนายจุนทะเป็นเหตุให้พระองค์ได้อนุปาทิเสสนิพพาน

พระผู้มีพระภาคตรัสสอนต่อไปว่า บุคคลผู้ให้ทานย่อมเจริญด้วยบุญ ผู้ละเว้นจากบาปเป็นผู้ไม่มีเวร ผู้ตั้งมั่นในกุศลเป็นผู้เว้นจากกรรมอันลามก บุคคลผู้สิ้นจากราคะ โทษะและโมหะ เป็นผู้บรรลุพระนิพพาน



พระพุทธองค์ทรงประชวรหนักขอน้ำเสวย

ขณะที่พระผู้มีพระภาคเสด็จพุทธดำเนินไปนครกุสินารา ในท่ามกลางมรรคา ทรงพักใต้ร่มไม้ แล้วรับสั่งให้พระอานนท์ไปหาน้ำมาถวาย พระอานนท์กราบทูลว่า ธารน้ำที่มีอยู่ตื้นเขินและได้มีเกวียนจำนวนมากแล่นผ่านไปทำให้น้ำขุ่นไม่สมควรบริโภค ขอให้พระพุทธองค์เสด็จพุทธดำเนินไปยังแม่น้ำกกุธานที ซึ่งมีน้ำใสจะได้สรงเสวยเป็นที่สำราญ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสั่งพระอานนท์ถึงสามครั้ง พระอานนท์จึงได้นำบาตรไปตักน้ำในธารดังกล่าว เมื่อพระอานนท์ก้มลงตักน้ำ น้ำที่ขุ่นอยู่ก็กลายเป็นใสสะอาดเป็นที่อัศจรรย์ แล้วพระอานนท์จึงได้นำน้ำนั้นมาถวายพระผู้มีพระภาค


พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัจฉิมสาวกและปรินิพพาน

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จถึงป่าสาละวันของมัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา จึงได้รับสั่งให้พระจุนทะปูลาดอาสนะลง ณ ที่นั้นระหว่างต้นไม้สาละคู่หนึ่ง ให้หันพระเศียรไปทางทิศอุดร แล้วประทับสีหไสยา ตั้งพระทัยจะไม่เสด็จลุกขึ้นอีก ทรงแสดงธรรมแนะนำวิธีปฏิบัติต่างๆ แก่พระภิกษุสงฆ์อยู่ตลอดเวลา

พอย่างเข้าสู้ราตรีกาลวันนั้น มีปริพาชกผู้หนึ่งชื่อ สุภัททะ มาขอเข้าเฝ้า พระอานนท์เห็นพระพุทธองค์ทรงลำบากพระกาย จึงได้ห้ามไว้ แต่สุภัททะก็อ้อนวอนจะขอเข้าเฝ้าให้จงได้ พระผู้มีพระภาคทรงทราบจึงประทานโอกาสให้สุภัททะเข้าเฝ้าถามปัญหาต่างๆ พระองค์ทรงแก้ไขปัญหา และเทศนาธรรมกถาให้ฟังจนเป็นที่เข้าใจ สุภัททะได้ความเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท เมื่อสุภัททะอุปสมบทแล้วได้พยายามเจริญวิปัสสนาจนได้บรรลุพระอรหัตผล ได้ทันเห็นพระบรมศาสดาได้เป็นพระสาวกองค์สุดท้าย ต่อจากนั้นพระบรมศาสดาได้ประทานปัจฉิมโอวาทว่า

หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเตือนท่านทั้งหลายให้รู้ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา
ท่านทั้งหลายจงให้กิจทั้งปวง ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.102 Chrome 50.0.2661.102


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 26 พฤษภาคม 2559 10:13:53 »

ตอนที่ 11
พระมหากัสสปเถระทราบข่าวพุทธปรินิพพาน



พระมหากัสสปเถระทราบข่าวพุทธปรินิพพาน

เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้วถึงวันที่เจ็ด ครั้งนั้นพระมหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุบริวารกำลังเดินทางจากเมืองปาวา จะไปยังเมืองกุสินารา เพื่อเฝ้าพระบรมศาสดา ระหว่างได้แวะพักร้อนที่ร่มไม้ ขณะที่กำลังนั่งพักอยู่นั้นได้มีอาชีวกะผู้หนึ่งถือดอกมณฑารพที่ผูกติดกับกิ่งไม้ต่างร่มเดินมา จึงคิดว่าดอกไม้นี้ไม่มีในแดนมนุษย์เป็นดอกไม้สวรรค์ จะมีในแดนมนุษย์ก็ต่อเมื่อผู้มีฤทธิ์บันดาล และพระโพธิสัตว์เสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระมารดาเป็นต้น แต่ว่าพระบรมศาสดาของเรานั้นทรงพระชรามากอยู่แล้ว พระองค์คงเสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้วเป็นแน่

ดำริห์ฉะนี้แล้ว ท่านจึงได้ลุกขึ้นจากที่นั่งเข้าไปหาอาชีวกะผู้นั้น ยกหัตถ์ขึ้นอัญชลีทัศนสโมธานขึ้นเหนือเศียรเกล้า ถวายคารวะในพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจึงถามว่า ท่านยังทราบข่าวพระบรมศาสดาของเราบ้างหรือไม่ อาชีวะจึงตอบว่าพระสมณโคดมได้ปรินิพพานเสียได้เจ็ดวันเช้าวันนี้ ดอกไม้นี้ข้าพเจ้าได้เก็บมาจากบริเวณที่เสด็จปรินิพพานนั้น

พอทราบข่าวว่าพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพาน บรรดาภิกษุที่ที่เป็นปุถุชนและพระอริยบุคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตผลก็พากันร้องไห้ปริเทวนาการถึงองค์พระบรมศาสดา ส่วนท่านที่เป็นพระอรหันต์ก็ได้เกิดธรรมสังเวชในความที่สังขารเป็นอนิจจตาทิธรรม

ในพวกภิกษุบริวารนั้นมีพระสุภัททะซึ่งบวชเมื่อแก่รูปหนึ่งได้เที่ยวห้ามปรามมิให้บรรดาภิกษุทั้งหลายร้องไห้เศร้าโศก กลับแสดงความดีใจที่พระผู้มีพระภาคได้เสด็จปรินิพพาน เพราะจะได้ไม่มีผู้ที่คอยเคี่ยวเข็ญพวกตนอีกต่อไป การแสดงออกของพระสุภัททะทำให้พระมหากัสสปะได้ถือเป็นเหตุสำคัญ กระทำการสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก 



พระสุภัททะภิกษุ กล่าวลบหลู่พระธรรมวินัย

[size=11ptครั้งนั้น พระมหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุบริวารเป็นจำนวนมากเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา ในระหว่างทางได้ทราบข่าวปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรดาพระภิกษุที่เป็นพระอรหันต์ก็พากันปลงธรรมสังเวชแต่ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ต่างก็คร่ำครวญร่ำไห้กันไปมา

มีภิกษุที่บวชเมื่อแก่รูปหนึ่งชื่อสุภัททะ ได้ร้องห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศกร่ำไรถึงพระสมณะนั้นเลย เราทั้งหลายพ้นจากพระสมณนั้นได้ยิ่งดี  เพราะท่านย่อมสั่งสอนถึงสิ่งควรทำไม่ควรทำ เราลำบากใจนัก บัดนี้เราจะทำสิ่งใดก็ได้ตามความพอใจไม่ต้องเกรงบัญชาผู้ใด

แม้การปรินิพพานของพระบรมศาสดาได้เพียง 7 วัน เท่านั้น ก็ยังมีผู้กล่าวร้ายได้ถึงเพียงนี้ [/size]


ถวายพระเพลิงพระสรีระพระพุทธเจ้า

หลังจากพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานได้เจ็ดวัน เหล่ามัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินาราพร้อมทั้งชาวพระนครทั้งหลายได้อัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณ มกุฎพันธนเจดีย์

ในวันนั้นพระมหากัสสปะพร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มาจากเมืองปาวาได้ทราบข่าวจากอาชีวกะผู้หนึ่งในระหว่างทางว่า พระบรมศาสดาได้เสด็จปรินิพพานได้เจ็ดวันแล้ว จึงได้พากันไปยังมกุฎพันธนเจดีย์ เมื่อไปถึงได้กระทำปทักษิณสามรอบ ถวายบังคมแล้วได้กล่าวรำพึงถึงความกตัญญูกตเวทีและความจงรักภักดีที่ตนมีต่อพระพุทธองค์ แล้วตั้งสัตยาธิษฐานให้พระบาททั้งสองของพระพุทธองค์ชำแรกออกมาให้ได้ถวายบังคมพระพุทธบาทเป็นครั้งสุดท้าย
 
หลังจากนั้นไฟก็ได้ลุกขึ้นติดพระศพเองและไหม้อยู่เจ็ดวันเจ็ดคืน ครั้นแล้วเหล่ามัลลกษัตริย์จึงได้เก็บพระบรมธาตุ อัญเชิญเข้าสู่สันฐาคารศาลา กระทำการบูชาสมโภชน์อีกเจ็ดวัน



โทณพราหมณ์ห้ามทัพ

ขณะนั้น กษัตริย์ทั้งเจ็ดนครได้ยกกองทัพมายังเมืองกุสินาราเพื่อขอแบ่งปันพระบรมธาตุ พวกมัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราแจ้งว่า พระบรมศาสดาได้เสด็จมาปรินิพพาน ณ ที่นี้จึงไม่ยอมแบ่งพระบรมธาตุให้ จึงเกิดความขัดแย้งใกล้จะเกิดความรุนแรงถึงขั้นต้องใช้กำลังกัน

ครั้งนั้นโทณพราหมณ์ซึ่งเคยเป็นอาจารย์สั่งสอนผู้คนมาหลายนครได้สดับเหตุการณ์วิวาทอันจะก่อให้เกิดการใช้กำลังกันอันเนื่องมาจากการเสด็จปรินิพพานของพระบรมศาสดา ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมควร จึงได้ปรากฎตัวขึ้นท่ามกลางบรรดากษัตริย์เหล่านั้น แล้วประกาศให้ยุติการวิวาทและได้ตกลงแบ่งพระบรมธาตุออกเป็นแปดส่วน เพื่อแบ่งให้นครต่างๆ นำไปสักการะบูชาสืบต่อไป



โทณพราหมณ์แจกพระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อมัลลกษัตริย์ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วก็ให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ในสัณฐาคารศาลากลางนครกุสินารา จัดการรักษาไว้เป็นอย่างดีให้มีดุริยางค์ดนตรีประโคมตลอดเวลาเจ็ดวัน

ครั้งนั้น เหล่ากษัตริย์และพราหมณ์เจ็ดนคร คือ พระเจ้าอชาติศัตรู แห่งกรุงราชคฤห์ เจ้าลิจฉวีแห่งเมืองไพสาลี เจ้าศากยะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ถูลีกษัตริย์แห่งอัลลกัปปนคร โกลิยกษัตริย์แห่งเมืองรามคาม มหาพราหมณ์แห่งเมืองเวฏฐีปถะ และเจ้ามัลละแห่งเมืองปาวา ต่างก็พากันมาขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ พวกมัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราไม่ยอมให้จนเกือบจะเกิดสงครามกัน

ครั้งนั้นโทณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ใหญ่เป็นที่นับถือของคนส่วนใหญ่ ได้พูดจาเกลี้ยกล่อมบรรดากษัตริย์ทั้งหลายให้ปรองดองกัน ตกลงแบ่งปันพระบรมสารีริกธาตุไปสักการะบูชาอย่างทั่วถึง แล้วโทณพราหมณ์ก็ได้ใช้ทะนานทองตวงพระบรมสารีริกธาตุ โดยแบ่งเป็นแปดส่วนเท่าๆ กัน ในส่วนของตนก็ได้ขอทะนานทองที่ใช้ตวงไว้เป็นที่สักการะบูชา

กษัตริย์ทั้งแปดพระนคร มี นครราชคฤห์ ไพศาลี กบิลพัสดุ์ อัลลกัปปนคร รามคาม เวฏฐปถะ ปาวา และนครกุสินารา เมื่อได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุโดยเท่าเทียมกันแล้วก็มีความปิติโสมนัสชื่นชมยินดีเป็นที่ยิ่งได้พากันอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุแห่แหนกลับไปสักการะบูชา ยังบ้านเมืองของตน


จบ

ที่มา: http://www.heritage.thaigov.net/religion/bio/index10.htm
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.979 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 03:41:35