[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 02:52:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เบญจขันธ์  (อ่าน 10890 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2554 08:11:11 »





เบญจขันธ์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบญจขันธ์

เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ ๕ เป็นธรรมชาติกลุ่มหนึ่งที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งในแต่ละอย่าง แล้วก็ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้มารวมกัน และเมื่อถึงวันหนึ่งก็แยกจากกันไป หรือตกอยู่ในกฎแห่งความไม่เที่ยง คือ เบญจขันธ์ จะมีลักษณะที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป หมายถึง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่คงที่แปรไปเปลี่ยนไปแล้วก็แตกดับ แต่ตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งสิ่งทั้ง ๕ หรือขันธ์ ๕ ก็จะกลับมารวมตัวกันอีก แต่ก็จะไม่ได้อยู่ในสภาพเดิมจะแปรปรวนไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งนั้น ๆ
ถ้า จะกล่าวให้เข้าใจได้ง่าย เบญจขันธ์ ก็คือ ร่างกายและจิตใจของสัตว์โลกทั้งหลาย ในภพภูมิต่าง ๆ อันมี มนุษย์ภูมิ เป็นต้น ในส่วนที่เป็นกายมนุษย์ เรียกว่า “รูปขันธ์” หรือ “รูปธรรม” ส่วนจิตใจ เรียกว่า “นามขันธ์” หรือ “นามธรรม”

ความหมายของเบญจขันธ์

คำว่า “เบญจขันธ์” มาจากภาษาบาลีว่า “ปญฺจขนฺธ” ซึ่งแยกออกเป็น ๒ คำ คือ “ปญฺจ” กับ “ขนฺธ”
- ปญฺจ หรือ ปัญจะ เป็นจำนวนนับในภาษาบาลี แปลเป็นภาษาไทย คือ ๕
- ขนฺธ หรือ ขันธะ เป็นคำนามที่เรียกชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นสัดเป็นส่วนเฉพาะตน และมีคุณสมบัติเฉพาะตน ในภาษาไทยหมายถึง กอง หรือกลุ่ม ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นจากเหตุปัจจัย และจะดับไปเมื่อเหตุปัจจัยดับ
ฉะนั้น เมื่อนำทั้ง ๒ คำมารวมกันเป็น “ปญฺจขนฺธ” หรือ “ปัญจขันธ์” แผลงเป็นภาษาไทยว่า “เบญจขันธ์
เบญจขันธ์ หมายถึง ธรรมชาติที่ถูกปรุงแต่งขึ้นโดยเหตุปัจจัย ๕ กอง หรือเรียกกันทับศัพท์ว่า “ขันธ์ ๕” อันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


พระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวไว้ในหนังสือพุทธรรมของท่าน เกี่ยวกับเบญจขันธ์ไว้สั้นกระชับและได้ใจความ ง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้ใหม่ต่อการศึกษาเกี่ยวกับเบญจขันธ์ ดังนี้ (พุทธธรรม หน้า ๑๖)

รูป (Corporeality) ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติการณ์ต่าง ๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น
เวทนา (Feeling หรือ Sensation) ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

สัญญา (Perception) ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ (object) นั้น ๆ ได้

สังขาร (Mental Formations หรือ Volitional Activities) ได้แก่ องค์ประกอบ หรือคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่ว หรือ เป็นกลาง ๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา ให้เป็นไปต่าง ๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่าย ๆ ว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม

วิญญาณ (Consciousness) ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ


เบญจขันธ์ ตามแนวพระอภิธรรม

เบญจขันธ์ สามารถอธิบายตามแนวพระอภิธรรมปิฎกได้อย่างหลายหลายวิจิตรพิสดาร เพราะมีนัยอันลึกซึ้ง แต่ในที่นี้จะนำมาแต่ใจความสำคัญที่ท่านแสดงไว้เท่านั้น ดังนี้
รูปขันธ์รูปขันธ์ประกอบด้วย สิ่งเหล่านี้ คือ

๑. มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย แต่ละรูปแบ่งเป็น ๔ รวมเป็น ๑๖ ประการ
ก. ลักขณปฐวี ได้แก่สภาพแข้นแข็งและอ่อน
ข. สลัมภารปฐวี ได้แก่ เกสา โลมา นขา ฯลฯ
ค. อารัมมณปฐวี ได้แก่ ปฐวีกสิณของโยคาวจร ผู้เอาดินเป็นนิมิต
ง. สัมมติปฐวี หรือ ปกติปฐวี ได้แก่แผ่นดิน ที่สัตว์อาศัย
ในจำนวน ๔ ประการนั้น ลักขณปฐวี จัดเป็นปรมัตถะ เป็นปฐวีที่ประสงค์ในที่นี้

๒. ประสาทรูป ๕ รูป ได้แก่จักษุประสาท ฯลฯ
๓. โคจรรูปหรือวิสัยรูป ๗ ได้แก่ รูป สัททะ คันธะ รสะ โผฎฐัพพะ
(โผฎฐัพพะแบ่งออกเป็น ๓ คือ ปฐวี เตโช วาโย ส่วนอาโปธาตุนั้นไม่ได้นับรวมเข้าด้วย
เพราะสัมผัสไม่ได้)
- เราถูกน้ำรู้สึกว่าอ่อนเป็นปฐวี
- เราถูกน้ำรู้สึกว่าร้อนหรือเย็นจัดเป็นเตโช
- อาการที่น้ำนิ่งหรือไหลไปมาจัดเป็นวาโย
๔. ภาวรูป ๒ ได้แก่ปุริมสภาวะ อิตถีภาวะ
๕. หทยรูป ๑

๖. ชีวิตรูป ๑ รูปชีวิตินทรีย์ ที่หล่อกัมมัชรูป
๗. อาหารรูป ๑ ได้แก่ กวฬงการาหาร
๘. ปริจเฉทรูป คือช่องว่างของอวัยวะ เช่น ช่องหู ช่องจมูก
๙. วิญญัติรูป ๒ ได้แก่ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ
๑๐. วิการรูป ๓ ได้แก่ รูปสฺส ลหุตา รูปสส กมฺมญญตา
๑๑. ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุจจยะ สันตติ ชรตา อนิจจตา


ใน บรรดารูปขันธ์เหล่านี้ รูป ๒๘ ได้แก่ เป็นอเหตุกะ คือไม่ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ หรือประกอบด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ นั่นเองได้ชื่อว่า “สปจฺจย” เพราะเกิดด้วยกรรมบ้าง จิตบ้าง อุตุบ้าง และเป็นอนารัมมณะ เพราะมิอาจเสพอารมณ์ เช่น จิต หรือเจตสิก เป็นสาสวะ เป็นสังขตะและเป็นอัปปหาตัพพะ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2554 09:02:40 »



เวทนาขันธ์

เวทนาคือธรรมชาติผู้เสวยชาติผู้เสวยในอารมณ์ มีผัสสะเป็นปัจจัย เช่น อาศัยจักษุมาประจวบเข้าเกิดจักษุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรมทั้ง ๓ กองชื่อผัสสะ แล้วจึงเกิดเวทนา เช่น จักขุสัมสชาสุขเวทนา เป็นต้น
ในพระสูตรโดยมากแสดงเวทนา คือ สุข ทุกข์ โทมนัส

เวทนา ทั้ง ๕ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๖, ๕x๖=๓๐ แบ่งเป็นอัชฌัตติก ๓๐ รวม ๖๐ เป็นไปในอดีตปัจจุบันนอนาคต กาลละ ๖๐ รวม ๑๘๐ ในบาลีทีฆนิกายทรงแสดงถึงสามิสสุขเวทนา นิรามมิสสุขเวทนา สามิสทุขเวทนา นิรามิสทุกขเวทนา สามิสอทุกขมสุขเวทนา นิรามิส- อทุกขสุขเวทนา
สามิสสุข เวทนา คือ โสมนัส อาศัยเรือน ๖ อิงอามิส คือกามคุณ ๕
นิรามิสสุขเวทนาอาศัยเรือน ๖ อิง เนกขัมมะ ในฉฬายตนวิภังคสูตร ทรงแสดงโสมนัส เพราะประสบอารมณ์ ๖ มี รูปารมณ์ ซึ่งน่าใคร่ น่าพอใจ หรือความนึกอารมณ์ที่เคยเสพมาแล้ว เรียกว่า เคหสิตโสมนัส ส่วนโสมนัสที่เกิด เพราะอารมณ์ ๖ ไม่เที่ยงแปรปรวนเป็นธรรมดา เรียกว่า เคหสิตโทมนัส คือโทมนัสที่เกิดเพราะมิได้เสพอารมณ์ ซึ่งน่าพอใจ หรือการวางอุเบกขาในอารมณ์ที่ยังไม่เคยเสพ

ส่วนที่สามารถกำหนดรู้อารมณ์ แม้ที่ยังไม่เคยเสพทั้งอดีต ปัจจุบัน ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เกิดปรารถนาใคร่จะพ้นไป เรียกว่า เนกขัมนสิตโทมนัส
ส่วนมากอุเบกขาน่าจะเป็นเรื่องของจิต ตามศัพท์แปลว่า ความเข้าไปเพ่งของจิต
ใน นิเทศแห่งมหาสติปัฎฐานสูตร ทรงแสดงว่า “อทุกฺขมสขํ วา เวทนํ เวทยมาโน อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทยามีตี ปชานาติ” ชี้ชัดว่า อทุกฺขมสุข เป็นเวทนาชัด แต่ในพรหมวิหาร มีคำว่า อุเปกฺขาสหคเตน เจตนา ไม่ตรัสว่า อทุกฺขมสุขสหคเตน เจตนา หรือผู้ที่ได้จตุตถฌาน ตรัสไว้ว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพเพ วา โสมนสฺส โทมนสฺสานํ อฎฐงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปริสุทธิ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ เพราะละสุขและทุกข์ได้ด้วย และเพราะโสมนัส โทมนัสดับไปก่อนเทียวย่อมเข้าถึงจตุตถฌาน อันไม่ทุกข์ไม่สุขมีความบริสุทธิด้วยสติและอุเบกขาแล้วอยู่

อนึ่งในโพชฌงค์ ๗ ผู้ปฎิบัติสมบูรณ์ตามโพชฌงค์ ย่อมต้องมีจิตเป็นอุเบกขา เพ่งตามอารมณ์ที่เกิด เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อนึ่งพระอริยบุคคลท่านเห็นรูปด้วยตา แล้วไม่ยินดียินร้ายในสุขเวทนา ทุกขเวทนา และรู้เท่าทันในอทุกขขมสุขเวทนา แต่พระอรรถกถาจารย์ ท่านเรียกอุเบกขาเวทนา น่าจะเป็นการขอยืมใช้กระมัง หรือเป็นการเรียกอนุโลม

ใน บาลีมัชฌิมนิกาย ทรงแสดงว่า สุขเวทนาคงเป็นสุขเพราะสุขอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป ทุกขเวทนาคงเป็นทุกข์เพราะทรงอยู่กลายเป็นสุขเพราะแปรไป อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ไม่ชอบ สุขเวทนามีราคะเป็นอนุสัย ทุกขเวทนามีปฎิฆะเป็นอนุสัย อทุกขมสุขเวทนา มีอวิชชาเป็นอนุสัย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กุมภาพันธ์ 2554 17:00:30 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2554 11:24:24 »


http://i202.photobucket.com/albums/aa208/motybu2//Landscape%201/13_06_2007_0515915001181680593_mich.jpg
เบญจขันธ์

สัญญาขันธ์
สัญญาได้แก่ ธรรมชาติหมายจำ คือจำในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธัมมารมณฺ์ หรือ ที่เรียกว่า รูปสัญญา รสสัญญา
คันธสัญญา สัททสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา

๑. รูปสัญญา ความหมายรู้รูป เช่นว่า ดำ แดง เขียว ขาว เป็นต้น
๒. รสสัญญา ความหมายรู้รส เช่นว่า หวาน เปรี้ยว มัน ขม เค็ม เป็นต้น
๓. คันธสัญญา ความหมายรู้กลิ่น เช่นว่า หอม เหม็น เป็นต้น
๔. สัททสัญญา ความหมายรู้เสียง เช่นว่า ดัง เบา ทุ้ม แหลม เป็นต้น
๕. โผฏฐัพพสัญญา ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่นว่า เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น
๖. ธัมมสัญญา ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ เช่นว่า งาม น่าเกลียด เป็นต้น

สังขารขันธ์

คำ ว่าสังขารนั้นเป็นศัพท์กว้างมาก ในบทว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ท่านหมายเอารูปธรรมนามธรรมทั้งหมด
ที่เกิดจากเหตุปัจจัย ส่วนสังขารในขันธ์ ๕ ความแคบลงมา ได้แก่สังขารเจตสิก ซึ่งมีลักษณะดังบทว่า
เอกุปฺปาทนิโรธา จ เอการมฺมณวตฺถุกา
เจโตยุตฺตา ทวิปญฺญาส ธมฺมา เจตสิการ มตา

ธรรม ๕๒ นั้น ซึ่งเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกัน มีอารมณ์และวัตถุอันเดียวกับจิต พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจตสิกธรรม
เจตสิก ๕๒ นั้น แบ่งเป็นอัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุสลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕
ในอัญญสมานาเจตสิก ยังแบ่งออกอีกสองหมวด คือ สัพพจิตตสาธารณ์ ๗ ปกิณณกะ ๖

๑. สัพพจิตตสาธารณะ ๗ นั้นได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ
๒. ปกิณณกะ ๖ ได้แก่ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิระยะ ปีติ ฉันทะ
๓. อกุสลเจตสิก ๑๔ ได้แก่ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ โลภะ ทิฎฐิ โทสะ มานะ อิสา มัฉริยะ
กุกกุจจะ ถีนะ มิทธะ วิจกิจฉา
โสภณเจตสิก ๒๕ แบ่งออกเป็น ๓ หมวด คือ โสภณสาธารณะ ๑๙ วิรัตเจตสิก ๓ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ปัญญา ๑

๑. โสภณจิตจสาธารณะ ๑๙ ได้แก่ สัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ตัตรมัชฌัตตา กายปัสสัทธิ
จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตชุกตา (คำว่ากายในที่นี้ไม่ใช่ร่างกาย หมายเอา เวทนา สัญญา สังขาร)

๒. อัปปมัญญาเจตสิก ได้ กรุณา และมุทิตา


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กุมภาพันธ์ 2554 20:40:12 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2554 12:20:36 »




นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ
นตฺถิ โทสสโม กลิ
นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ . . . ฯ ๒๐๒ ฯ

ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ
ไม่มีโทษใดเสมอด้วยโทสะ
ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์
ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ


No fire is there like lust,
No crime like hatred,
No ill like the Five Aggregates,
No higher bliss than Nibbana's peace.

วิญญาณขันธ์

วิญญานคือธาตุรู้ จิต มีไวพจน์ หลายอย่าง ยํ จิตฺตํ มโน มานสํ ปณฺฑรํ มนายตํ มนินฺทรยํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺช มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ
แบ่งออกเป็น ๔ คือ กามาวจรจิต รูปาวรจิต อรูปาวจรจิต และโลกุตตรจิต

กามาวจรจิต
มี ๕๔ ดวง คือ อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ อกุสลจิต ๑๒ (โลภมูล ๘ โทสมูล ๒ โมหมูล ๒)

โลภมูลจิต ๘
๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฎฐิคตสมฺปยุตตํ อสงฺขารกํ สสงฺขาริกํ
หมายถึง จิตเกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา จิตประกอบกับทิฎฐิ ปราศจากเครื่องเร่งเร้าดวง ๑ มีเครื่องเร่งเร้าอีกดวง ๑
๒. โสมนสฺสสหคตํ ทฎฺฐคตวิปฺปยุตตํ อสงฺขาริกํ สสงฺขาริกํ
หมายถึง จิตเกิดพร้อมด้วยโสมนัส ไม่ประกอบด้วยทิฎฐิ ปราศจากเครื่องเร่งเร้าดวง ๑ มีเครื่องเร่งเร้าดวง ๑
๓. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฎฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขารกํ ๑ สสงฺขาริกํ ๑
หมายถึง จิตเกิดพร้อมด้วยอุเบกขาประกอบด้วยทิฎฐิ ไม่มีเครื่องเร่งเร้า ๑ มีเครื่องเร่งเร้า ๑
๔. อุเปกฺขาสหคฺตํ ทิฎฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑ สสงฺขาริกํ ๑
หมายถึง จิตเกิดพร้อมด้วยอุเบกขาไม่ประกอบด้วยทิฎฐิ ไม่เครื่องเร่งเร้า ๑ มีเครื่องเร่งเร้า ๑
โลภ มูลจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ โดยองค์ธรรมได้แก่ โลภะ ทิฎฐิ มานะ จิตใดประกอบด้วยมิจฉาทิฎฐิกล่าวคือ สัสสตทิฎฐิบ้าง อุจเฉททิฎฐิบ้าง ย่อมได้แก่ ทิฎฐิเจตสิกในสังขารนั้นเอง หากไม่ประกอบด้วยทิฎฐิ ย่อมได้แก่มานเจตสิก ทิฎฐิย่อมประหารได้ในชั้นโสดาบัน มานเจตสิกย่อมประหารได้ในชั้นอรหันต์

โทสมูลจิต ๒
๑. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ ดวง ๑
๒. อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ ดวง ๑


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กุมภาพันธ์ 2554 12:23:00 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2554 12:40:14 »


ประการหนึ่ง ศพที่ญาติทิ้งผมรำพันอยู่ว่า ญาติของข้า อย่าตายเลย ดังนี้ ก็ยังถูกคลุมด้วยผ้า นำไปสู่เชิงตะกอนแล้วชวนกันเผา ถูกแทงด้วยไม้สำหรับเขี่ยศพ เวลาละสมบัติตายไป มีแต่ผ้าพันกาย ญาติมิตรสหายก็ดี ผู้จะช่วยต้านทานได้ มิได้มี คนที่รับมรดกก็ชักชวนกันขนทรัพย์ของศพนั้นไป ส่วนสัตว์นั้นไปตามกรรมที่ทำไว้ ทรัพย์อันใดจะติดตามเจ้าของก็หาไม่ ลูกก็ดี เมียก็ดี ทรัพย์ก็ดี แว่นแคว้นก็ดี ย่อมเป็นอย่างเดียวกัน คนเราจะอายุยืนเพราะทรัพย์ที่รอบริบไว้ก็มิใช่ ด้วยทรัพย์ที่เราพอใจกันนักก็มิใช่ ทั้งเจ้าของทรัพย์ และทรัพย์นั้น ย่อมรวมเข้าหาความทรุดโทรมด้วยกัน



นักปราชญ์ได้กล่าวชีวิตนี้ว่า เป็นของนิดหน่อย ไม่คงที่ มีความเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา คนรวยหรือคนยากก็ตาม นักปราชญ์หรือคนพาลก็ตาม ย่อมกระทบกับผัสสะในโลก แต่คนพาลถูกกระทบแล้วเป็นผู้หวั่นไหว เสือกสน ไปตามประสาคนพาล ส่วนนักปราชญ์หาสะทกสะท้านหวั่นไหวไม่เพราะเหตุนี้เอง ปัญญาจึงประเสริฐกว่าทรัพย์ และเป็นปัญญาที่จะทำสัตว์ให้ถึงที่สุดแห่งโลกคือทุกข์ฯ


บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2554 14:03:17 »



อกุสลมูลทั้ง ๓ ถ้าปรับเข้ากับอกุสลกรรมบถ ๑๐ ได้ดังนี้
- กาเมสุมิจฉาจาร อภิชฌา มิจฉาทิฎฐิ มีโลภะเป็นมูล
- ปาณาติบาต ผรุสวาท พยายาท มีโทสะเป็นมูล
- อทินนาทาน มุสาวาท ปิสุณวาจา สัมผัปปลาปะ มีโทสะและโลภะเป็นมูลระคนกัน
อกุสลกรรมบถทั้ง ๑๐ ชื่อว่ามีโมหะเป็นมูล
อฎฺฐธา โลภมูลานิ โทสมูลานิ โทสมูลานิ จ ทวธา โมหมูลานิ จ เทฺวติ ทวาทสา กุสลา สิยุ ํ
อเหตุกจิต ๑๘ ดวง
อเหตุกะตรงกันข้าม กับ สเหตุกะ คือปราศจากเหตุ มีโลโภ โทโส โมโห หรือ อโลโภ อโทโส อโมโห เป็นวิบากชาติ แบ่งเป็น หมวด คือ
- อเหตุกะอกุสลวิบากจิต ๗ ดวง
- อเหตุกะกุสลวิบาก ๘ ดวง
- อเหตุกิริยา ๓ ดวง
รวมเป็น ๑๘ ดวง

อเหตุกอกุสลวิบากจิต ๗ ดวง
๑. อุเปกฺขาสหคต จกฺขุวิญฺญาณํ
๒. อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
๓. อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
๔. อุเปกฺขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ

๕. ทุกฺขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
๖. อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฎิจฺฉนฺนํ
๗. อุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ

ใน ที่นี่มีปัญหาว่า ไฉนกายวิญญาณจึงสหรคตกับทุกข์ ผิดกับ วิญญาณทั้ง ๔ ข้างต้นเล่า แก้ว่าโผฎฐัพพารมณ์เป็นของรุนแรง คือ ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง อันอิงอาศัยมหาภูตรูปคือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย มหาภูตรูปกระทบกับกายประสาทจึงหวั่นไหวมาก ให้ผลคือความทุกข์เกิดขึ้นในอกุศลเหตุกวิบากนี้ ส่วนวิญญาณ ๔ เบื้องต้นรับอารมณ์ซึ่งเป็นอุปาทายรูปเท่านั้น อุปาทายรูปกระทบอุปาทายรูปเหมือนสำลีกระทบสำลี อนึ่งคำว่า ปฎิจฉันนจิต หมายถึง จิตรับรู้อารมณ์จากปัญจญาณโดยตรงแล้วได้แก่ มโนธาตุนั้นเอง ส่วนสันตีรณจิต มีหน้าที่พิจารณาไต่สวนอารมณ์ต่อจากปฎิจฉันนจิต เพราะฉะนั้นจึงสงเคราะห์เป็นมโนวิญญาณธาตุ สมดังคำกล่าวว่า “จกฺขุวิญญาณทีนํ อนนฺตรํ รูปาทิวิชา นนลกฺขณา มโนธาตุ” แปลว่า สัมปฎิจฉันนจิต ซึ่งเรียกว่ามโนธาตุ มีลักษณะอารมณ์ที่ล่วงไป อันมีรูปารมณ์เป็นต้น (วิสุทธิมรรค) ที่เรียกว่ามหากุสลจิตนั้น เพราะมีอารมณ์สาธารณ์ทั่วไปใน ๓๐ ภูมิ ยกเว้น อสัญญีสัตตา ทั้งเกิดได้ในอารมณ์ทั้ง ๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น ตั้งบนวัตถุ ๑๐ คือ บุญกิริยาวัตถุ คือมหากุศล ๘ x บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ = ๘๐ อารมณ์ ๖ เท่ากับ ๔๘๐ x อธิบดี ๔ = ๑๙๒๐ x กรรม ๓ = ๕๗๖๐ x หีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ ๓ = ๑๗๒๘๐ อารมณ์




บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2554 15:46:47 »



มหากุสลจิต ๘
โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑ สสงฺขาริกํ ๑
โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตตํ อสงฺขาริกํ ๑ สสงฺขาริกํ ๑
อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตตํ อสงฺขาริกํ ๑ สสงฺขาริกํ ๑
อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑ สสงฺขาริกํ ๑

มหา วิบากจิตมี ๘ มหากิริยาจิตก็มี ๘ โดยองค์ธรรมเหมือนกับมหากุสล ๘ นั้น และมหา-กุสลเป็นผู้ปรุงแต่งภพชาติ มหาวิบากเป็นผู้เสวยผล เสวยชาติ เสวยกรรม ทั้งสองนี้ ปุถุชน และ เสขบุคคล มีเฉพาะขีณาสพเจ้าเท่านั้น มหากุสลบริบูรณ์ด้วยอายุ วรรณ สุขะ พละ สามารถทำงานและมรรคผลให้เกิดขึ้น ได้ ส่วนมหากุสลที่เป็นญาณวิปยุต เรียก ทวิเหตุกะ คือ อโลภะ อโทโสเท่านั้น ย่อมอำนวยวิบากให้เกิดในกรรมสุคติภูมิเหมือนกัน แต่ไม่ทำญาณและมรรคผลสำเร็จได้

รูปาวจรกุสลจิต ๕
๑. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานกุสลจิตฺตํ
๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานกุสลจิตฺตํ
๓. ปีตีสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานกุสลจิตฺตํ
๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานกุสลจิตฺตํ
๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานกุสลจิตฺตํ

ใน ที่นี้เป็นฌานปัญจกนัย ซึ่งปรากฎในอภิธรรม ส่วนจตุกนัย ปรากฏในพระสูตรเป็นส่วนมาก รูปาวจรวิบาก และ รูปาวจรกิริยา ก็มี องค์ธรรมเหมือนกับรูปาวจรกุสล รวม ๑๕ ดวง องค์ฌานในรูปาวจรกุสลนั้น คือเจตสิก ๕ ดวงนั้นเอง คือ วิตกเจตสิก ย่อมประหารถีนมิทธะ วิจารเจตสิกประหารวิจิกิจฉา ปีตีเจตสิกประหารพยายาท สุขเจตสิกประหารอุทธัจกุกกุจจะ เอกัคคตาเจตสิกประหารกามฉันทะ โดยวัตถุที่ตั้งแล้ว คือกรรมฐาน ๒๖ มีกสิณ ๑๐ อสุภะ อานาปานสติ ๑ กายคตาสติ ๑ พรหมวิหาร ๔ โดยทวาร ได้แก่ มโนทวารอย่างเดียว รูปาวจรกิริยาย่อมมีแก่ พระขีณาสพเจ้า

อรูปวจรกุสลจิต ๔
๑. อากาสนญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
๒. วิญฺญาณญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
๓. อากิญฺจญฺญายตนกุสลจิตฺตํ
๔ . เนวสญฺญานาสญฺญายตนกุสลจิตฺตํ

อรูปาวจรวิบาก ๔ อรูปาวจร ๔ กิริยา รวม รวม ๑๒ โลกุตรจิต คือ มรรค ๔ ผล ๔ รวม ๘ ดวง โดยสังเขปนัย ถ้าเอามรรค ๔ x ปัญจมฌาน ๕ ได้ ๒๐ ดวง ผล ๔ x ปัญจมฌานทั้ง ๕ ได้ ๒๐ ดวง โลกุตรจิตก็มี ๔๐ โดยวิตถารนัย

สรุปวิญญาณขันธ์
โดย สังเขปนัย จิตเป็นอกุสล ๑๒ ดวง เป็นกุสล ๒๑ ดวง เป็นวิบาก ๓๖ ดวง เป็นกิริยา ๒๐ ดวง รวมเป็น ๘๙ ดวง โดยวิตถารนัย กามาวจรจิต ๕๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ดวง โลกุตรจิต ๔๐ รวม ๑๒๑ ดวง


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2554 16:35:41 »


การอธิบายเบญจขันธ์อีกแนว
เบญจขันธ์ หมายถึง สังขารร่างกายของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่ถือกำเนิด ณ ภพภูมิต่าง ๆ สัตว์บางเหล่าก็ได้เบญจขันธ์หยาบ สัตว์บางเหล่าก็ได้เบญจขันธ์ละเอียด สัตว์บางเหล่าก็ถือกำเนิดด้วยเบญจขันธ์ครบทั้ง ๕ แต่สัตว์บางเหล่าก็ถือกำเนิดไม่ครบขันธ์ทั้ง ๕ อาจมีแต่รูปขันธ์ หรืออาจมีแต่นามขันธ์ก็ได้ สัตว์ที่ถือกำเนิดไม่ครบทั้ง ๕ ขันธ์ ก็มักจะเป็นสัตว์ที่บำเพ็ญเพียรทางจิต ณ มนุษย์โลกแล้วไปถือกำเนิดในภพภูมิที่ละเอียดด้วยอำนาจฌาน เช่น พระพรหมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นรูปพรหม ทั้งที่เป็นอรูปพรหม ทั้งที่เป็นพระอริยบุคคล หรือยังมิได้บรรลุอริยธรรม ตลอดถึงอสัญญีสัตว์ผู้อาภัพด้วย รูปธรรม นามธรรม

เบญจขันธ์สามารย่อลงได้เป็น ๒ พวก คือ รูปขันธ์ หรือ รูปธรรม กับ นามขันธ์ หรือ นามธรรม ดังนี้
รูป ย่อลงใน รูปขันธ์ หรือ รูปธรรม
เวทนา ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม
สัญญา ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม
สังขาร ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม
วิญญาณ ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม

สัญญา วิญญาณ ปัญญา
พระเดชพระคุณได้กล่าวไว้ในหนังสือพุทธธรรม หน้าที่ ๒๒ ว่า
“สัญญา วิญญาณ และปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง ๓ อย่าง แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คนละขันธ์ สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง ปัญญาอยู่ในสังขารก็อีกขันธ์หนึ่ง สัญญาและวิญญาณได้พูดมาแล้วพอเป็นพื้นเข้าใจ
ปัญญา แปลกันมาว่า ความรอบรู้ เติมเข้าไปว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริง หรือรู้ตรงตามความเป็นจริง.... เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดี รู้ชั่ว....แปลกันอย่างง่าย ๆ พื้น ๆ คือ ความเข้าใจ (หมายถึง เข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้)...”


ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่าง ๆ
ขันธ์ทั้ง ๕ อาศัยซึ่งกันและกัน รูปขันธ์เป็นส่วนกาย นามขันธ์ทั้งสี่เป็นส่วนใจ มีทั้งกายและใจจึงจะเป็นชีวิต กายกับใจทำหน้าที่เป็นปกติและประสานสอดคล้องกัน ชีวิตจึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยดี
นามขันธ์ทั้ง ๔ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและส่งอิทธิพลเป็นปัจจัยแก่กันและกัน ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎกว่า “เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ รูป เสียง ฯลฯ วิญญาณ) เป็นปัจจัย การเสวยอารมณ์ (เวทนา) จึงมี; บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (สัญญา), หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (สังขาร)...” (ม.มู. ๑๒/๒๔๘/๒๒๕)

เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ ๕ กับ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอันเดียวกัน
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเกี่ยวกับเบญจขันธ์ไว้หลายแห่งในพระไตรปิฎก ทรงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อุปาทานขันธ์ ๕” ปรากฏในพระไตรปิฎก ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง”
ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕”

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕” (สํ.ข. ๙๕-๙๖/๕๘-๖๐)

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง”
“รูป...เวทนา ...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทราคะ (ความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด) ในรูป...เวทนา...สัญญา...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้น ๆ”


บันทึกการเข้า
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2554 17:20:41 »


การอธิบายเบญจขันธ์อีกแนว
เบญจขันธ์ หมายถึง สังขารร่างกายของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่ถือกำเนิด ณ ภพภูมิต่าง ๆ สัตว์บางเหล่าก็ได้เบญจขันธ์หยาบ สัตว์บางเหล่าก็ได้เบญจขันธ์ละเอียด สัตว์บางเหล่าก็ถือกำเนิดด้วยเบญจขันธ์ครบทั้ง ๕ แต่สัตว์บางเหล่าก็ถือกำเนิดไม่ครบขันธ์ทั้ง ๕ อาจมีแต่รูปขันธ์ หรืออาจมีแต่นามขันธ์ก็ได้ สัตว์ที่ถือกำเนิดไม่ครบทั้ง ๕ ขันธ์ ก็มักจะเป็นสัตว์ที่บำเพ็ญเพียรทางจิต ณ มนุษย์โลกแล้วไปถือกำเนิดในภพภูมิที่ละเอียดด้วยอำนาจฌาน เช่น พระพรหมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นรูปพรหม ทั้งที่เป็นอรูปพรหม ทั้งที่เป็นพระอริยบุคคล หรือยังมิได้บรรลุอริยธรรม ตลอดถึงอสัญญีสัตว์ผู้อาภัพด้วย รูปธรรม นามธรรม

เบญจขันธ์สามารย่อลงได้เป็น ๒ พวก คือ รูปขันธ์ หรือ รูปธรรม กับ นามขันธ์ หรือ นามธรรม ดังนี้
รูป ย่อลงใน รูปขันธ์ หรือ รูปธรรม
เวทนา ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม
สัญญา ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม
สังขาร ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม
วิญญาณ ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม

สัญญา วิญญาณ ปัญญา
พระเดชพระคุณได้กล่าวไว้ในหนังสือพุทธธรรม หน้าที่ ๒๒ ว่า
“สัญญา วิญญาณ และปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง ๓ อย่าง แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คนละขันธ์ สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง ปัญญาอยู่ในสังขารก็อีกขันธ์หนึ่ง สัญญาและวิญญาณได้พูดมาแล้วพอเป็นพื้นเข้าใจ
ปัญญา แปลกันมาว่า ความรอบรู้ เติมเข้าไปว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริง หรือรู้ตรงตามความเป็นจริง.... เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดี รู้ชั่ว....แปลกันอย่างง่าย ๆ พื้น ๆ คือ ความเข้าใจ (หมายถึง เข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้)...”


ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่าง ๆ
ขันธ์ทั้ง ๕ อาศัยซึ่งกันและกัน รูปขันธ์เป็นส่วนกาย นามขันธ์ทั้งสี่เป็นส่วนใจ มีทั้งกายและใจจึงจะเป็นชีวิต กายกับใจทำหน้าที่เป็นปกติและประสานสอดคล้องกัน ชีวิตจึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยดี
นามขันธ์ทั้ง ๔ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและส่งอิทธิพลเป็นปัจจัยแก่กันและกัน ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎกว่า “เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ รูป เสียง ฯลฯ วิญญาณ) เป็นปัจจัย การเสวยอารมณ์ (เวทนา) จึงมี; บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (สัญญา), หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (สังขาร)...” (ม.มู. ๑๒/๒๔๘/๒๒๕)

เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ ๕ กับ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอันเดียวกัน
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเกี่ยวกับเบญจขันธ์ไว้หลายแห่งในพระไตรปิฎก ทรงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อุปาทานขันธ์ ๕” ปรากฏในพระไตรปิฎก ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง”
ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕”

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕” (สํ.ข. ๙๕-๙๖/๕๘-๖๐)

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง”
“รูป...เวทนา ...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทราคะ (ความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด) ในรูป...เวทนา...สัญญา...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้น ๆ”





<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/09.%20Track%209.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/09.%20Track%209.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/09.%20Track%209.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถานี้ว่า........................

ทางนี้เท่านั้น คือ มรรคมีองค์ ๘ เพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ คือ มรรคและผล

ทางอื่นไม่มีเพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางนี้เพราะทางนี้

เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลงด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว

จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เราทราบทางเป็นที่สลัดลูกศรคือ{กิเลส}แล้วจึงบอกแก่

ท่านทั้งหลายท่านทั้งหลาย พึงทำความเพียรเครื่องเผากิเลส{พระตถาคต}ทั้งหลาย

เป็นแต่ผู้บอกชนทั้งหลายผู้ดำเนินไปแล้ว มีปกติเพ่งพินิจอยู่ ย่อมหลุดพ้นจาก

เครื่องผูกของมารกล่าวคือ{วัฏฏะ}................................




.................จากพระไตรปิฏก....................


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กุมภาพันธ์ 2554 17:31:27 โดย 時々sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2554 18:31:07 »




คุณค่าทางจริยธรรม

เมื่อศึกษาในเรื่องเบญจขันธ์ จะส่งผลให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจในชีวิต อันประกอบด้วย กายและจิต คลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายและจิตใจ หมั่นฝึกฝนตนเองมิให้ประมาทในวัย เพราะเห็นแล้วว่าเบญจขันธ์ทั้งของตนและผู้อื่น ก็มีสภาพที่ไม่แตกต่างกัน นั่นคือ มีสภาพการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด
นอกจากนี้การ ศึกษาเรื่องเบญจขันธ์ยังทำให้ผู้ศึกษาไม่ตกไปสู่ทิฐิอันชั่วร้าย ๖๒ ประการ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในหลายพระสูตร อันมี พรหมชาลสูตร เป็นต้น และยังทำให้เป็นผู้ที่ไม่ถือโทษโกรธเคืองใครง่าย ๆ อีกทั้งยังทำให้เป็นผู้เจริญด้วยคุณธรรมอื่นตามมา เช่นการไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่หลงใหลในสรีระร่างกายของเพศตรงข้ามจนเกินพอดี ส่งผลให้เป็นคนมีสุขภาพจิตดีตามไปด้วย

จิต

จิต หมายถึง สภาพธรรมชาติอันหนึ่งที่ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และเป็นธรรมชาติที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา มีความรวดเร็ว ไปได้ไกลภายในระยะเวลาอันสั้น ไปได้ไกลและเร็วกว่าแสง และเมื่อเกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกันในแต่ละครั้ง บางครั้งเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง บางครั้งเกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งชักจูง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

“ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.
ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง
มีถ้ำ(คือกาย) เป็นที่อาศัย, ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมารได้.

ขุ. ธ. ๒๕/๑๙,๒๐.

ตามพระพุทธพจน์นี้เห็นได้ว่า จิตเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง และอาศัยอยู่ในถ้ำ คือกาย จึงแสดงสิ่งต่าง ๆ หรือทำอะไรในสิ่งที่ตาเห็นได้ แต่ถ้าหากไม่มีกายก็ไม่อาจแสดงสิ่งที่ตาเห็นได้ แต่อาจแสดงในสิ่งที่ตาไม่เห็นก็ได้
จิตนี้เองแต่เดิมเป็นสิ่งที่ผุดผ่อง มีรัศมีในตัว แต่เพราะความหลงเข้าครอบงำจึงทำให้จิตถูกย้อมเหมือนกับมนุษย์เราย้อมผ้าด้วย สีต่าง ๆ จิตก็เช่นกันเมื่อถูกย้อมทุกขณะที่เกิดขึ้น จึงทำให้จิตเปลี่ยนไปตามสิ่งที่ย้อมนั้น ทำให้ถือกำเนิดในภพภูมิต่าง ๆ เสวยผลกรรมที่ได้ทำไว้ขณะเกิดขึ้นในแต่ละขณะ ๆ และก็จมอยู่ในกับดัก คือกิเลส ตัณหา เพราะอวิชชาห่อหุ้ม ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานในภพภูมิต่าง ๆ มากมาย ในเรื่องจิตประภัสสรนี้ มีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า “ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐํ” ความว่า “ จิตเป็นธรรมชาติผ่องใส แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา

--------------
บรรณานุกรม
-----------
พระไตรปิฎก ฉบับซีดีรอม
ธรรมรักษา : พระไตรปิฎก ฉบับสุภาษิต, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, กทม., ไม่ทราบปีที่พิมพ์
พรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต),พระ : พุทธธรรม, กลุ่มผู้สนใจศึกษาธรรม พิมพ์แจกเป็น
ธรรมทาน : พิมพ์ที่ โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด, พระพุทธศักราช ๒๕๔๙.
เสถียร โพธินันทะ : ประวัติพระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ, (CD-ROM) ไม่ทราบปีที่พิมพ์

-----------





http://vimutto.blogspot.com/2009/02/blog-post.html
รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปันโดย... surabhata
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กุมภาพันธ์ 2554 19:39:09 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
คำค้น: ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับ ขันธ์ ๕ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.838 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กุมภาพันธ์ 2567 04:33:19