[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 03:38:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "หลวงพ่อโต" วัดไชโย จ.อ่างทอง  (อ่าน 2037 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 ธันวาคม 2558 18:12:39 »

.


พระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโย จ.อ่างทอง

กราบขอพร หลวงพ่อโต
วัดไชโยวรวิหาร  ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง


วัดไชโย ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในท้องที่ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

วัดไชโยเป็นวัดพระอารามหลวง ชนิดวรวิหาร มีเนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา  เป็นวัดเก่าแก่แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง

วัดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๐ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) พระพุทธรูปได้พังลงมา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างองค์ใหม่ขึ้นแทน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระราชทานชื่อว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” หลังจากนั้นได้มีการบูรณะและปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งก่อสร้างถาวรวัตถุอีกหลายอย่าง เช่น พระวิหารครอบองค์พระพุทธรูป พระอุโบสถ ศาลาราย กำแพงแก้ว หอสวดมนต์  และโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง

พระมหาพุทธพิมพ์ หรือ “หลวงพ่อโต” แห่งวัดไชโยนี้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธามาก  มีพุทธลักษณะศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก ๘ วา ๗ นิ้ว ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง  เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร ที่เรียกกันติดปากว่า สมเด็จโต  พระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดใหญ่โตสมนามของท่าน

เมื่อมาสร้างหลวงพ่อโตที่วัดไชโยนี้ แรกทีเดียวสมเด็จโต ท่านสร้างเป็นพระนั่งขนาดใหญ่มาก ก่อด้วยอิฐและดินแต่ไม่นานก็พังทลายลง ท่านจึงสร้างขึ้นอีกครั้ง  ครั้งนี้ ใช้วิธีเดิมแต่ลดขนาดให้เล็กลง ก็สำเร็จเป็นพระปางสมาธิองค์ใหญ่ถือปูนขาว ไม่ปิดทอง ปรากฏในพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า “พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนี้ รูปร่างหน้าตาไม่งามเลย ดูที่หน้าวัด ปากเหมือนท่านขรัวโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านไม่คิดจะปิดทอง จึงได้เจาะท่อน้ำไว้ที่พระหัตถ์..."

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอาราม  เมื่อมีการสร้างพระวิหาร ก็จำเป็นต้องมีการกระทุ้งฐานราก แต่เมื่อกระทุ้งรากพระวิหาร  แรงสั่นสะเทือนทำให้องค์พระขนาดใหญ่พังทลาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) ที่สมุหนายก สำเร็จราชการกรมมหาดไทย และพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างปั้นพระพุทธรูปซึ่งมีฝีพระหัตถ์ยอดเยี่ยมในสมัยนั้น เป็นแม่กองมาช่วย  เมื่อพิจารณาแล้วทรงให้รื้อองค์พระออกทั้งองค์แล้ววางรากฐานใหม่ ใช้วิธีวางโครงเหล็กยึดไว้ภายในแล้วก่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิช้อนพระหัตถ์ ตามลักษณะที่สมเด็จพระพุฒจารย์ทำไว้แต่เดิม มีขนาดหน้าตักกว้าง ๘ วา ๖ นิ้ว สูงสุดยอดพระรัศมี ๑๑ วา ๑ ศอก ๗ นิ้ว สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๗ รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์ ๘ ปี แล้วพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งคือ หลวงพ่อโต องค์ที่ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้  และโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะของวัดไชโยขึ้นเป็นพระอารามหลวงชื่อ “วัดไชโยวรวิหาร” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีมหกรรมเฉลิมฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ ๓ วัน ๓ คืน เมื่อวันที่ ๕-๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๘  พระราชทานของช่วยงาน ได้แก่ ละคร ๑ โรง หนัง ๑ โรง ดอกไม้เพลิง ๑ ต้น กัลปพฤกษ์ ๒ ต้น ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ทำการปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ ปรากฏเห็นจวบจนทุกวันนี้




ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต เป็นที่ประจักษ์กันดีในหมู่ชาวเมืองอ่างทองที่เคารพนับถือ
กล่าวกันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มาก จะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้
เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะเห็นว่าหลวงพ่อโตกำลังจะล้มลงมาทับ


พระประธานประจำพระอุโบสถวัดไชโย




จิตรกรรมสูงค่าภายในฝาผนังพระอุโบสถ






พระวิหารครอบองค์พระมหาพุทธพิมพ์ มีลักษณะเป็นเรือนใหญ่ สูง ๑ เส้นเศษ


ศาสนสถานของวัดไชโย จ.อ่างทอง


ขนมกง

ขนมโบราณ มีวางขายแทบทุกร้านในร้านค้าของวัด


ขนมกง มีลักษณะเป็นวงกลมเหมือนวงล้อของเกวียน ตรงกลางทำไส้เป็นเส้นกลมไขว้กันเป็นรูปกากบาท  ใน “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม” ซึ่งเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (ช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)  เรียกขนมชนิดนี้ว่าขนมกงเกวียน  ตามหลักฐาน ว่า “ย่านป่าขนม ชาวบ้านย่านนั้นทำขนมขายและนั่งร้านขายขนมชะมด กงเกวียน...”

ขนมกงทำจากถั่วทองหรือถั่วเขียว น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลมะพร้าว หัวกะทิคั้นข้น แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว น้ำปูนใส ไข่เป็ด การทำขนมกง เริ่มด้วยการเคี่ยวหัวกะทิกับน้ำตาลมะพร้าวด้วยไฟอ่อนจนเป็นยางมะตูม ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น นำไปผสมกับถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก บดให้แหลก  ค่อยๆ เทลงในน้ำตาลที่เคี่ยวลงในถั่วบดทีละน้อย นวดจนกระทั่งปั้นได้...ปั้นเป็นท่อนกลมเล็กๆ คลึงให้ยาวแล้วขดเป็นวงกลม  เสร็จแล้วคลึงถั่วที่นวดแล้วเป็นท่อนกลมสั้นๆ คาดกลางสองเส้นไขว้กันเป็นกากบาทกลางวงขนม ปั้นถั่วเป็นเม็ดกลมเล็กๆ อีกห้าเม็ด ติดสี่มุมและตรงกลางอีกหนึ่งเม็ด ต้องติดให้แน่นแล้ววางพักไว้ จากนั้นทำแป้งชุบทอด โดยใช้แป้งข้าวเหนียวผสมแป้งข้าวจ้าว ใส่ไข่ ใส่หัวกะทิลงไปทีละน้อย นวดไปเรื่อยๆ จนกะทิหมด จึงใส่น้ำปูนใส (ทำให้แป้งกรอบ) คนแป้งละลายให้เข้ากัน ก่อนจะทอดให้นำขนมที่ปั้นไว้ชุบแป้งทอดในน้ำมันมากให้ท่วมขนม ใช้ไฟกลางจนกระทั่งขนมสุกกรอบออกสีเหลืองนวล

การทอดขนมกงมีเคล็ดคือ ขณะที่ทอดขนมในกระทะต้องหยดหรือพรมแป้งให้ติดเป็นเม็ดพองขึ้นตามวงขนม เรียกว่า “หัวเพชร หัวพลอย” ถือว่าเป็นสิริมงคลงอกงาม โดยเฉพาะขนมกงที่ใช้ในพิธีมงคล เช่น พิธีหมั้น และพิธีแต่งงาน

การทำขนมกงในบางโอกาส มักเอาไม้ตอกยาวประมาณ ๓ นิ้ว มาเสียบสี่มุมของขนม รวบปลายทำเป็นยอดแหลมคล้ายรูปฝาชี แล้วนำแป้งมาทอดทำฝอย นำมาโรยให้ฟูคลุมเป็นรูปกระโจม ก็ทำให้สวยงามดี แต่โดยมากมักทำง่ายๆ ไม่มีฝอยคลุม

ขนมกงนี้นิยมทำในงานพิธีแต่งงานของคนไทยมาแต่โบราณ ถึงกับกล่าวเป็นสำนวน เช่น ถามกันว่า “เมื่อไรจะได้กินขนมกงเสียสี” อย่างนี้เป็นอันรู้กันว่าหมายถึง “เมื่อไรจะแต่งงานเสียที” เป็นต้น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ธันวาคม 2558 10:54:50 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
"Lemon Soup" อาสาส่ง"ทุกวัน"เพลงกระตุ้น"รัก"ที่เมื่อรู้สึกแล้วต้อง"บอก"
หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
มดเอ๊ก 0 5142 กระทู้ล่าสุด 03 มิถุนายน 2554 10:29:07
โดย มดเอ๊ก
"สามัญชน" ผู้กลายเป็น "ราชินี" และ "เจ้าหญิง" โชคชะตาที่ฟ้าได้ "ลิขิต" ไว้
สุขใจ จิบกาแฟ
Kimleng 0 8162 กระทู้ล่าสุด 17 ธันวาคม 2557 14:13:59
โดย Kimleng
หลวงพ่อโต ยโสธโร วัดบ้านกล้วย ต.ท่าหลวง (ต.ดงใหญ่) อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1085 กระทู้ล่าสุด 20 ธันวาคม 2561 13:02:08
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อไพฑูรย์ เขมวีโร วัดสระแก้ว ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 907 กระทู้ล่าสุด 04 มีนาคม 2562 15:29:04
โดย ใบบุญ
เที่ยววัดไทยสไตล์ญี่ปุ่น หลวงพ่อโต ไดบุตสึแห่งเมืองลำปาง
สุขใจ ไปเที่ยว
มดเอ๊ก 0 223 กระทู้ล่าสุด 18 กุมภาพันธ์ 2566 18:27:21
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.305 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 เมษายน 2567 03:32:11