[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 19:39:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ คนพาลเกิดเป็นมนุษย์ได้ยาก  (อ่าน 13387 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 09:11:18 »



ตอน ๑๐

ผลของศรัทธาในพระพุทธเจ้า
ปัญหา ในศาสนาฝ่ายเทวนิยม ผู้ใดมีความเชื่อและความรักในพระผู้เป็นเจ้า ผู้นั้นย่อมมีหวังเข้าสู่สวรรค์ ในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "...บุคคลใดมีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา บุคคลนั้นทั้งหมดเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า"
อลคัททูปมสูตร
 
วิธีกำจัดความขลาด
ปัญหา ความกลัวก็ดี ความขลาดก็ดี ย่อมเกิดขึ้นแก่เราเป็นครั้งคราว เราจะกำจัดความกลัวและความขลาดได้โดยวิธีใด ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้ อนึ่ง ความกลัวและความขลาดอย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำย่ำยีความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำตนให้เหินห่างจากฌาน พอกพูนสุญญาคาร (คือพยายามอยู่ในเรือนว่างหรือที่สงัดเงียบ บำเพ็ญเพียรทางจิตใจ)"
อากังเขยยสูตร
 
สมาธิเกื้อหนุนปัญญา
ปัญหา สมาธิเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่ปัญญาอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง รู้อะไรตามความเป็นจริง ? ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า มีทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับทุกข์..."
สมาธิสูตร
 
ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์
ปัญหา ญาติ โภคะ ยศ กับปัญญา อย่างไหนสำคัญกว่ากัน ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมแห่งญาติ...ความเสื่อมแห่งโภคะ...ความเสื่อมแห่งยศเป็นเรื่องเล็กน้อย ความเสื่อมแห่งปัญญาเรื่องร้ายแรงกว่าความเสื่อมทั้งหลาย
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยญาติ...ความเจริญด้วยโภคะ...ความเจริญด้วยยศเป็นเรื่องเล็กน้อย ความเจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แลเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเจริญด้วยความเจริญแห่งปัญญา"
บาลีแห่งเอกธรรม
 
สิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ปัญหา อะไรบ้างที่เป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเห็นชอบ
จะพึงยึดถือสังขารใด ๆ ว่า เป็นสภาพเที่ยง.... จะพึงยึดถือสังขารใด ๆ ว่าเป็นสุข....
จะพึงยึดถือธรรมใด ๆ ว่าเป็นตน.... จะพึงฆ่ามารดา.... จะพึงฆ่าบิดา....

จะพึงฆ่าพระอรหันต์.... จะพึงยังพระโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ....
จะพึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน.... จะพึงถือศาสดาอื่น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้
ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้..."
อัฏฐานบาลี
 
การต่อสู้ดิ้นรน ๒ แบบ
ปัญหา การต่อสู้ดิ้นรนที่ทำได้ยากในโลกมีอะไรบ้าง และอย่างไหนดีกว่า ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดิ้นรนที่ทำได้ยากในโลกนี้มี ๒ อย่าง คือการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อแสวงหาเครื่องนุ่มห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และเครื่องยารักษาโรคของคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ๑ การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อสละอุปธิทั้งปวงของผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต ๑...
 "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการต่อสู้ดิ้นรน ๒ อย่างนี้ การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อสละอุปธิทั้งปวงเป็นเลิศ...เพราะเหตุนั้นแลเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเริ่มตั้งความเพียรพยายามเพื่อสละอุปธิทั้งปวง..."
ป. ทุก. อํ.
 
ทำจริงถึงจริง
ปัญหา ถ้าเราพากเพียรพยายาม แบบวางชีวิตเป็นเดิมพันเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า เราจะบรรลุมรรคผลหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นคุณค่าของธรรม ๒ อย่าง คือ ความไม่ยินดีพอใจในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ (ในเรื่องนี้ไม่ควรมีความสันโดษ) ความไม่ท้อถอยในความพากเพียร ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเคยตั้งความเพียรไม่ท้อถอยไว้ว่า หนังเอ็นและกระดูกเท่านั้นจงเหลืออยู่ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ผลใดที่พึงบรรลุถึงด้วยกำลังบุรุษด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ เมื่อยังไม่บรรลุถึงผลนั้น จักไม่หยุดยั้งความเพียรเสียดังนี้

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพธิญาณของเรานั้นเราได้บรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท ธรรมอันเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เราบรรลุถึงได้ด้วยความไม่ประมาท ถ้าแม้นว่าท่านทั้งหลายพึงตั้งความเพียรไม่ท้อถอย...แม้เธอทั้งหลายก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการปรารถนานั้น ด้วยความรู้ยิ่งเอง ในปัจจุบันชาตินี้ต่อเวลาไม่นานนัก..."
ป. ทุก. อํ.
 
ธรรมคุ้มครองโลก
ปัญหา ธรรม ๒ ประการ คือ หิริและโอตตัปปะช่วยผู้ครองโลกอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ย่อมคุ้มครองโลก คือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ถ้าธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ไม่พึงคุ้มครองโลก การนับถือกันว่ามารดา น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ ภรรยาของครูไม่พึงปรากฏในโลกนี้ โลกจักถึงความสำส่อนเหมือนพวกแพะ แกะ ไก่ หมู สุนัขบ้าน และสุนัขจิ้งจอก...แต่เพราะธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ยังคุ้มครองโลกอยู่ ฉะนั้นการนับถือกันว่า มารดา น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ ภรรยาของครู จึงมีปรากฏอยู่ในโลก..."
ป. ทุก. อํ.
 
คนก็ไม่สะดุ้งเมื่อฟ้าผ่า
ปัญหา อะไรบ้างที่ไม่สะดุ้งเมื่อฟ้าผ่า ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแลสัตว์เหล่านี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้งคือ  พระภิกษุขีณาสพ ๑  ช้างอาชาไนย ๑  ม้าอาชาไนย ๑ สีหมฤคราช ๑"
ทุ. ทุก. อํ.
 
สมาธิเพื่อให้เกิดญาณ
ปัญหา จะบำเพ็ญสมาธิแบบไหน อย่างไร จึงจะเป็นเหตุให้เกิดการเห็นแจ้งด้วยญาณ ?

พุทธดำรัสตอบ "...ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาให้เกิดความเข้าใจหมายรู้ว่ามีแสงสว่างภายในใจ (อาโลกสัญญา) พยายามสร้างความจำหมายว่าเป็นกลางวัน (ทิวาสัญญา) ให้เกิดขึ้นในใจ คิดว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงบระงับปราศจากเครื่องผูกมัด อบรมจิตให้มีความสว่างไสวอยู่...
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้...ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดการเห็นแจ้งด้วยญาณ..."
สมาธิสูตร
 
สมาธิเพื่อสติสัมปชัญญะ
ปัญหา จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาแบบไหน อย่างไรจึงจะเป็นเหตุให้สติสัมปชัญญะเจริญไพบูลย์ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้แจ้งเวทนาที่กำลังเกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่กำลังดับไป รู้แจ้งสัญญาที่กำลังเกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่กำลังดับไป รู้แจ้งวิตกที่กำลังเกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่กำลังตั้งอยู่รู้แจ้งวิตกที่กำลังดับไป
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้ที่บุคคลเจริญพัฒนาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ"
สมาธิสูตร
 
ใช้ตัณหาปราบตัณหา
ปัญหา มีบางท่านกล่าวว่าความอยากถึงนิพพานก็จัดเป็นตัณหาอย่างหนึ่ง และเป็นแรงผลักดันให้คนปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงนิพพาน เข้าทำนอง 'ใช้ตัณหาดับตัณหา' คำกล่าวเช่นนี้มีหลักฐานในพระไตรปิฏกยืนยันหรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ "...ดูก่อนน้องหญิง คำที่เรากล่าวว่ากายนี้เกิดด้วยตัณหา อาศัยตัณหาแล้วพึงละตัณหาเสียดังนี้เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร
"ดูก่อนน้องหญิง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เมื่อได้ข่าวว่า ภิกษุชื่ออย่างนี้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ เธอเกิดความปรารถนา (ตัณหา) อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้... ในปัจจุบันชาตินี้ดังนี้ ในเวลาต่อมา เธออาศัยตัณหานั้นแล้วละตัณหาเสียได้
"ดูก่อนน้องหญิงคำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหาอาศัยตัณหาแล้วพึงละเสียดังนี้ เรากล่าวเพราะอาศัยความจริงข้อนี้..."
อินทริยวรรค
 
โทษของกาม
ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงอธิบายเปรียบเทียบความสุข อันเกิดแต่กามไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "...ดูก่อนคฤหบดีเปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด พึงโยนร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อแล้วเปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข ฉันใด...
"ดูก่อนคฤหบดีอริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยร่างกระดูกมีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

"...ดูก่อนคฤหบดีเปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยวก็ดี พาชิ้นเนื้อบินไป แร้งทั้งหลายหรือนกตะกรุมทั้งหลาย หรือเหยี่ยวทั้งหลาย จะพึงโผเข้ารุมจิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ฉันใด...
"...ดูก่อนคฤหบดีอริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

"...ดูก่อนคฤหบดีเปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว เดินทวนลมไปฉันใด...
"...ดูก่อนคฤหบดีอริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

"....ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ปราศจากควัน บุรุษผู้รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับแขนบุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใด...
"...ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง มีความทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

"...ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไรฉันใด...
"...ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยความฝันมีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

"...ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ มีแก้วมณีและกุณฑลอย่างดีบรรทุกยานไป เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมา พึงเดินไปในตลาด คนเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญบุรุษผู้มีโภคสมบัติหนอ ได้ยินว่าชนทั้งหลายผู้มีโภคสมบัติ ย่อมใช้สอยโภคสมบัติอย่างนี้ดังนี้ พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใด ๆ พึงนำเอาของตนคืนไปในที่นั้น ๆ ฉันใด...
"...ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง

"...ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม ต้นไม้ในราวป่านั้น พึงมีรสอร่อย ทั้งมีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว บุรุษผู้ต้องการผลไม้ พึงมาเที่ยวเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผลอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เราขึ้นต้นไม้นั้นแล้ว กินจนอิ่มและห่อพกไว้ ลำดับนั้นบุรุษคนที่สองต้องการผลไม้ ถือขวานอันคมเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้เขาแวะยังราวป่านั้นแล้ว เห็นต้นไม้มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย... แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว และเราก็ไม่รู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงตัดต้นไม้นี้แค่โคนต้นแล้วพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เขาพึงตัดต้นไม้นั้นแค่โคนต้นฉันใด...
"...ดูก่อนคฤหบดีอริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยผลไม้มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง..."
โปตลิยสูตร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 สิงหาคม 2555 10:10:42 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 09:22:07 »




พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
ตอน ๑๑
คนพาลเกิดเป็นมนุษย์ได้ยาก


 เหงื่อตก     กรุณาย้อนกลับไปหน้า ๑  อยู่โพสต์แรกค่ะ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 09:37:29 »



ตอน ๑๒
สิ่งที่สูงกว่าพระเจ้าจักรพรรดิและพระพุทธเจ้า
ปัญหา พระเจ้าจักรพรรดิและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยอะไร ในการปฏิบัติภาระหน้าที่ของพระองค์ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรมเป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษาป้องกัน คุ้มครอง กษัตริย์ผู้ตามเสด็จ กองทัพพราหมณ์ และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท สมณะและพราหมณ์ เนื้อและนก ด้วยธรรม ย่อมทรงหมุนจักรให้เป็นไปด้วยธรรมเท่านั้น จักรที่มนุษย์ ข้าศึก หรือสัตว์ใด ๆ จะหมุนไปไม่ได้ฉันใด

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยพระธรรม สักการะพระธรรม เคารพพระธรรม ยำเกรงพระธรรม มีพระธรรมเป็นธง มีพระธรรมเป็นตรา มีพระธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกัน อันประกอบด้วยธรรม ไว้ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้ว ทรงหมุนจักรคือพระธรรม ให้เป็นไปโดยธรรมจักรนั้น สมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนไปไม่ได้..."
จักกวัตติสูตร


หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
ปัญหา ภิกษุปฏิบัติอย่างไรบ้าง จึงจะชื่อว่าปฏิบัติถูกต้องเพื่อความพ้นทุกข์ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิดและชื่อว่าอบรมปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง ?...ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยความเพียร ๑..."
อปัณณกสูตร


เหตุที่ทรงแสดงธรรม
ปัญหา เพราะเหตุไรพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมและทรงอนุญาตให้พระสาวกแสดงธรรมโปรดคนอื่น ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่เห็นก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว หรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมไม่หยั่งลงสู่ความถูกต้องและความแน่นอนมั่นคงในกุศลธรรมทั้งหลาย
"บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่เห็นก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว หรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมหยั่งลงสู่ความความแน่นอนและความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลายเอง
"บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ เห็นพระตถาคต...ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว จึงหยั่งลงสู่ความแน่นอนและความถูกต้องมั่นคงในกุศลธรรมทั้งหลายเมื่อไม่ได้เห็น...ไม่ได้ฟัง...ย่อมไม่หยั่งลงสู่ความแน่นอนและถูกต้อง...


"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนั้น เพราะเห็นแก่บุคคลผู้ได้เห็นพระตถาคต...ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว จึงหยั่งลงสู่ความแน่นอน...ถูกต้องในกุศลธรรม เมื่อไม่ได้เห็น...ไม่ได้ฟัง...ย่อมไม่หยั่งลง
...เราจึงอนุญาตการแสดงธรรมไว้และก็เพราะอาศัยบุคคลนี้ จึงควรแสดงธรรมแม้แก่บุคคลอื่น ๆ ด้วย..."
คิลานสูตร


พระธรรมวินัยแท้และของปลอม
ปัญหา พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามีมากมายเหลือหลาย อาจจะมีคำสอนของศาสนาอื่นหรือคนอื่นแทรกแซงอยู่บ้างเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอันไหนเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอันไหนไม่ใช่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอุบาลี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพานโดยส่วนเดียว เธอพึงทราบธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ส่วนธรรมเหล่าใด... เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว... นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา"
วินัยวรรค


เหตุทำให้พระศาสนาเสื่อม
ปัญหา อะไรเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ไม่ได้นาน ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสนา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาท ในปฏิสันถาร ดูก่อนกิมพิละ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้วฯ"
กิมมิลสูตร


เหตุแห่งสังฆเภท
ปัญหา ได้ทราบว่า การทำลายสงฆ์ให้แตกกันเป็นอนันตริยกรรมอย่างหนึ่ง อยากทราบว่ามีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ว่าเป็นธรรม ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่ใช่ธรรม ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัย ว่าเป็นวินัย ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่ใช่วินัย ๑

ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ ไม่ได้บอกไว้ว่าตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ ว่าตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา ๑

ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตเคยประพฤติมาว่าตถาคตไม่เคยประพฤติมา ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคตบัญญัติไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ว่าตถาคตไม่ได้บัญญติไว้ ๑

ภิกษุเหล่านั้นย่อมทอดทิ้งกัน แยกจากกัน ทำสังฆกรรมแยกกัน สวดปาติโมกข์แยกจากกันด้วยวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ดูก่อนอุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ"
อุปาลิสังฆเภทสูตร


ความเจริญ ๑๐ ประการ
ปัญหา มีหลักฐานอะไรบ้างที่แสดงว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงปฏิเสธโลกอย่างสิ้นเชิง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยความเจริญ ๑๐ ประการ ย่อมเจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ และเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็นสาระ...ความเจริญ ๑๐ ประการเป็นไฉน

คืออริยสาวกย่อมเจริญด้วยนาและสวน ๑
ย่อมเจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก ๑
ย่อมเจริญด้วยบุตรและภรรยา ๑
ย่อมเจริญด้วยทาส กรรมกร และ คนใช้ ๑
ย่อมเจริญด้วยสัตว์ ๔ เท้า ๑

ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ๑
ย่อมเจริญด้วยศีล ๑
ย่อมเจริญด้วยสุตะ ๑
ย่อมเจริญด้วยจาคะ ๑
ย่อมเจริญด้วยปัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยความเจริญ ๑๐ ประการนี้ ย่อมเจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ...ฯ"
วัฑฒิสูตร


พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนแบบลบจริงหรือ ?
ปัญหา ชาวยุโรปบางคนเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนแบบลบ (Negative) ประกาศการไม่กระทำ (อกิริยาวาท) ไม่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ไม่สู้กับโลก มีแต่สอนให้หนีโลก เป็นความจริงหรือไม่เพียงใด ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวการไม่กระทำดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้นมีอยู่ เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวการไม่กระทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว

"ดูก่อนพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้นมีอยู่ เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความขาดสูญแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวความขาดสูญดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว ฯ"
เวรัญชสูตร


เตือนใจพระทุศีล
ปัญหา กุลบุตรที่บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ประพฤติล่วงละเมิดพุทธบัญญัติมีธรรมอันลามก หลอกลวงชาวบ้าน จะมีโทษอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลายการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติสกปรก น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลจะดีอย่างไร

การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกโชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปถึงไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้ดีกว่า

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไปไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย

"ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก... เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล... ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก...ฯ"
อัคคิขันธูปมสูตร


ควรบวชเมื่อหนุ่มหรือเมื่อแก่
ปัญหา การบวชในเมื่อยังหนุ่มแน่น กับบวชเมื่อแก่ อย่างไหนจะดีกว่ากัน ?

พุทธดำรัสตอบ "...ภิกษุบวชเมื่อแก่เป็นคนละเอียดหาได้ยาก เป็นผู้มีมารยาทสมบูรณ์หาได้ยาก เป็นพหูสูตรหาได้ยาก เป็นธัมมกถึกหาได้ยาก เป็นวินัยธรหาได้ยาก... เป็นผู้ว่าง่ายหาได้ยากเป็นผู้คงแก่เรียนหาได้ยาก เป็นผู้รับโอวาทด้วยความเคารพหาได้ยาก..."
ทุลลภสูตร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กันยายน 2555 19:24:45 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 10:36:58 »



ตอน ๑๓

วาระสุดท้ายของโลก
ปัญหา นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า โลกของเราจะมีอายุประมาณ ๕,๐๐๐ ล้านปีแล้วก็จะแตกดับ ทางพระพุทธศาสนาแสดงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม... ควรเบื่อหน่าย... ควรคลายกำหนัด... ควรหลุดพ้น
"ขุนเขาสิเนรุโดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร๘๔,๐๐๐ โยชน์สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปีหลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติป่าไม้ใหญ่ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้

"...โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ...แม่น้ำลำคลองทั้งหมดย่อมงวดแห้ง... ไม่มีน้ำ
"...โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรพู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ...
"...โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ ๆ ที่ไหลรวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรพู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ

"...โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสุมทรลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี... ๗๐๐ โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี... ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน... เพียงเขา... เพียงในรอยเท้าโค
"...โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏแผ่นดินใหญ่นี้และเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น

"...โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ...แผ่นดินใหญ่นี้และเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน... เมื่อแผ่นดินใหญ่และเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า...
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... สังขารทั้งหลาย... เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง..."
สุริยสูตร


สิ่งที่ควรพูดและไม่ควรพูด
ปัญหา สิ่งใดก็ตามที่เราเห็นมาจริงได้ฟังมาจริง ประสบมารู้แจ้งจริง เราควรพูดสิ่งนั้นออกมาได้ทันทีโดยไม่มีโทษใด ๆ ได้หรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่กล่าวสิ่งที่เห็นทั้งหมดว่าควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่เห็นทั้งหมดว่าไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมด ว่าควรกล่าว(หรือ)... ไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวสิ่งที่ได้ประสบมาทั้งหมดว่าควรกล่าว (หรือ)... ไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวสิ่งที่รู้แจ้งมาทั้งหมดว่า ควรกล่าว(หรือ)... ไม่ควรกล่าว

"ดูก่อนพราหมณ์แท้จริง เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใด... สิ่งที่ได้ฟังมาอันใด... สิ่งที่ได้ประสบมาอันใด... สิ่งที่ได้รู้แจ้งมาอันใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวสิ่งที่ได้เห็นมา... ได้ฟังมา... ได้ประสบมา... ได้รู้แจ้งมาเช่นนั้นว่า ไม่ควรกล่าว แต่เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้เห็นมา... ได้ฟังมา... ได้ประสบมา... ได้รู้แจ้งมาอันใด อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวสิ่งที่ได้เห็น... ได้ฟัง... ได้ประสบ... ได้รู้แจ้งมาเช่นนั้น ว่าควรกล่าว"
โยธาชีวสูตร


กลัวผิดจนไม่ยอมพูด
ปัญหา เพราะเหตุไรตัวกินนรซึ่งพูดภาษามนุษย์ได้จึงไม่พูดภาษามนุษย์ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ จึงไม่พูดภาษามนุษย์ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการคืออะไร? คือ เราอย่าได้พูดเท็จเลย ๑ เราอย่าได้กล่าวต่อผู้อื่นด้วยคำไม่จริง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงไม่พูดภาษามนุษย์..."
ทุ. ทุก. อํ


ทิพยจักษุมีได้จริง
ปัญหา ตามพุทธประวัติกล่าวว่า พระปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ได้ทอดทิ้งพระสมณศากยมุนีหนีไปก่อนที่พระองค์จะได้ตรัสรู้ เมื่อได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ ซึ่งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นระยะทางไกลมาก พระองค์ทราบได้อย่างไรว่า พระปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และเสด็จไปถูกที่ ?

   พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... เราจึงคิดว่า เราจะแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่ใครหนอ ใครจักทราบชัดธรรมนี้ได้โดยเร็ว เราจึงคิดว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้อุปัฏฐากเราผู้กำลังบำเพ็ญเพียรอยู่ เป็นผู้มีอุปการะแก่เรามากนัก ถ้าไฉน เราพึงแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่พวกเธอ เราจึงคิดว่า บัดนี้ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ เราก็รู้ได้ว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสีด้วยทิพยจักษุที่บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ครั้นเราอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาพอสมควรแล้ว จึงได้ออกจาริกไปเมืองพาราณสี...ฯ"
ปาสราสิสูตร


พระพุทธเจ้าทรงรู้วิธีเหาะได้
ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงเหาะเหินเดินอากาศได้จริงหรือไม่ ? ถ้าจริงทรงกระทำได้โดยวิธีใด ?

   พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอานนท์เราทราบอยู่ว่าเราเข้าสู่พรหมโลกด้วยกายที่สำเร็จแต่ใจ ด้วยอำนาจฤทธิ์ได้...เรารู้อยู่ว่า เราเข้าสู่พรหมโลกด้วยกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เพราะอาศัยฤทธิ์ได้...
   "ดูก่อนอานนท์สมัยในตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือรวมจิตตั้งไว้ในกายก้าวลงสู่ความเห็นว่าสุขและความเห็นว่าเบาในกาย สมัยนั้นกายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ...เปรียบเหมือนก้อนเหล็กเผาไฟอยู่ตลอดวัน ย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ...และผุดผ่องกว่าปกติ...

   "ดูก่อนอานนท์ สมัยใดตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิตหรือรวมจิตตั้งลงในกาย...สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมออกจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง...เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายซึ่งเป็นเชื้อธาตุที่เบา ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย..."
อโยคุฬสูตร


คนธรรมดากับญาณพิเศษ
ปัญหา มีบางคนกล่าวว่าญาณพิเศษที่พระอรหันต์ได้บรรลุถึงนั้นเป็นสิ่งผิดหลักธรรมชาติไม่สามารถจะมีได้จริง เป็นแต่เพียงการสร้างเรื่องขึ้นด้วยจินตนาการเท่านั้น ในเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างไร ?

   พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนมาณพ พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตรผู้เป็นใหญ่ในสภควัน... เป็นคนบอดไม่มีจักษุ เขาจักรู้ จักเห็น จักทำให้แจ้งชัดซึ่งญาณทัสสนะวิเศษของพระอริยะ... ได้หรือหนอ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
   "ดูก่อนมาณพเปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิด เขาไม่เห็นรูปดำ รูปขาว รูปเขียว รูปเหลือง รูปแดง รูปสีชมพู รูปที่เสมอและไม่เสมอ หมู่ดาว ดวงจันทร์และอาทิตย์ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่มีรูปดำ รูปขาว ไม่มีคนเห็นรูปดำ รูปขาว ไม่มีรูปเขียว ไม่มีคนเห็นรูปเขียว... ไม่มีหมู่ดาว ไม่มีคนเห็นหมู่ดาว ไม่มีดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ไม่มีคนเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นสิ่งนั้นย่อมไม่มี เมื่อเขากล่าวดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบหรือ มาณพ ?

สุภมานพ "ไม่ใช่เช่นนั้นท่านพระโคดม รูปดำรูปขาวมี คนเห็นรูปดำรูปขาวก็มี รูปเขียวก็มี คนเห็นรูปเขียวก็มี... หมู่ดาวมี คนเห็นหมู่ดาวก็มี ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มี คนเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็มี ผู้ที่กล่าวว่าเราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นสิ่งนั้นย่อมไม่มี ดังนี้ ไม่ชื่อว่ากล่าวชอบ ท่านพระโคดม..."
สุภสูตร


ความคิดเรื่องสสาร - พลังงานในพระพุทธศาสนา
ปัญหา ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า สสารเป็นแต่เพียงรูปหนึ่งของพลังงาน เราอาจแปลงสสารให้เป็นพลังงานได้ ทางพระพุทธศาสนาเห็นด้วยหรือไม่กับมตินี้ ?

   คำตอบของพระสารีบุตร "...ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญทางใจ เมื่อจำนงพึงน้อมใจถึงกองไม้กองโน้นให้เป็นดินได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกองไม้โน้นมีปฐวีธาตุ... เมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้กองโน้นให้เป็นน้ำได้... เพราะกองไม้โน้นมีอาโปธาตุ...เมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้กองโน้นให้เป็นไฟได้...เพราะกองไม้กองโน้นมีเตโชธาตุ... เมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้กองโน้นให้เป็นลมได้...เพราะกองไม้กองโน้นมีวาโยธาตุ...  เมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้กองโน้นให้เป็นของงามได้... เพราะกองไม้กองโน้นมีสุภธาตุ... เมื่อจำนงพึงน้อมใจถึงกองไม้กองโน้น ให้เป็นของไม่งามได้ เพราะกองไม้โน้นมีอสุภธาตุ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ มีความชำนาญทางใจ พึงอาศัยน้อมใจถึงให้เป็นของไม่งามได้ ฯ"
ทารุกขันธสูตร


ฤทธิเดชปาฏิหาริย์เป็นไปได้จริง
ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงรับรองไว้จริงหรือว่า เรื่องของฤทธิเดชปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องเป็นไปได้จริง ?

   พุทธดำรัสตอบ "ภิกษุเมื่อเจริญเพิ่มพูนซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏขึ้นมาก็ได้ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุผ่านฝาผนัง กำแพงภูเขาไปได้โดยไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงใต้แผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่ทำให้น้ำแยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ให้พลังทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้...ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งอยู่ใกล้และไกล ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์อันบริสุทธิ์ เหนือโสตของมนุษย์ธรรมดา...ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น คนอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ...โทสะ...โมหะ...ก็รู้ว่าจิตมีราคะ...โทสะ...โมหะ จิตไม่มีราคะ...โทสะ...โมหะ...ก็รู้ว่าจิตไม่มีราคะ...โทสะ...โมหะ..."
ปุพพสูตร


เป็นอรหันต์แต่ไม่มีฤทธิ์
ปัญหา ภิกษุที่ได้เป็นอรหันตขีณาสพแล้วจะต้องมีฤทธิ์สามารถกระทำปาฏิหาริย์ได้ทั้งนั้นหรือ ?

   คำตอบ ไม่ได้ตามเรื่องในสุสิมสูตรว่า เมื่อพระสุสิมะได้ยิน ภิกษุหลายรูป ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์จึงเข้าไปหาแล้วก็ถามว่า ท่านเหล่านั้นแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ไหม มีหูทิพย์ตาทิพย์ไหม เมื่อภิกษุเหล่านั้นตอบว่าแสดงฤทธิ์ก็ไม่ได้ หูทิพย์ตาทิพย์ก็ไม่ได้ พระสุสิมะจึงแสดงความประหลาดใจว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ท่านเหล่านี้จึงตอบว่า ท่านหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา เป็นพระอรหันต์ประเภทสุกขวิปัสสกะ

   พระสุสิมะยังไม่หายสงสัยจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลถามเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสถามเธอว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ควรถือว่าเป็นเราเป็นของของเรา เป็นตัวตนของเราหรือไม่ พระสุสิมะทูลว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ควรถือว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตนของเรา พระพุทธองค์ทรงสอนต่อไปว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่ของเขา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นอย่างนี้แล้วจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและหลุดพ้น เป็นพระอรหันตขีณาสพ

ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสถามพระสุสิมะในเรื่องปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา และภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯลฯเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ในสายดับทุกข์พระองค์ทรงแสดงว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะ จึงดับ ฯลฯ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ในที่สุดทรงถามว่า

"ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ... ย่อมได้ยินเสียงสองชนิด... ด้วยทิพย์โสตธาตุอันบริสุทธิ์... ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น... ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก... ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ... บ้างหรือหนอ? "
พระสุสิมะทูลตอบว่า"ไม่ใช่อย่างนั้น ก็แสดงว่า พระอรหันต์ผู้ได้บรรลุเพราะอาศัยปัญญา เกิดความรู้จริงเห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ ย่อมไม่มีอิทธิปาฏิหาริย์ใด ๆ"
นัยสุสิมสูตร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กันยายน 2555 21:30:27 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 11:28:13 »



ตอน ๑๔

ไม่ใช่อรหันต์เสมอไป
ปัญหา ผู้ที่รู้เห็นปฏิจจสมุปบาทอย่างแจ่มแจ้งทั้งสายทุกข์ ทั้งสายดับทุกข์ อย่างละเอียดถี่ถ้วน จะจัดว่าเป็นพระขีณาสพได้หรือยัง ?

พระนารทะตอบ "ท่านผู้มีอายุ ข้อว่าภพดับเป็นนิพพาน ผมเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แต่ว่าผมไม่ใช่พระอรหันตขีณาสพ ท่านผู้มีอายุเปรียบเหมือนบ่อน้ำในหาทางกันดาร ที่บ่อนั้นไม่มีเชือก โพงจะตักน้ำก็ไม่มี ลำดับนั้นบุรุษถูกความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิวกระหายเดินมาเขามองดูบ่อน้ำนั้นก็รู้ว่ามีน้ำ แต่จะสัมผัสด้วยกายไม่ได้ ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อว่าภพดับเป็นนิพพาน ผมเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แต่ว่าผมไม่ใช่พระอรหันตขีณาสพ ฉันนั้นเหมือนกัน"
โกสัมพีสูตร


ดาราศาสตร์ในพุทธศาสนา
ปัญหา พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทรรศนะเกี่ยวกับโลกและจักรวาลไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอานนท์ จักรวาลหนึ่งมีกำหนดเท่ากับโอกาส (ช่องว่าง) ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์โคจรทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์ โลกมีอยู่พันจักรวาล ก่อนในโลกพันจักรวาลนั้นมีพระจันทร์พันดวง มีพระอาทิตย์พันดวง มีขุนเขาสินเนรุพันหนึ่ง มีชมพูทวีปพันหนึ่ง มีอมรโคยานทวีปพันหนึ่ง มีอุตตรกุรุทวีปพันหนึ่ง มีปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง มีมหาสมุทร ๔ พัน มีท้าวมหาราช ๔ พัน มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์พันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นยามาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดุสิตพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นนิมมานรดีพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสดีพันหนึ่ง มีพรหมโลกพันหนึ่ง ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างเล็กมีพันจักรวาล

โลกคูณโดยส่วนพันแห่งโลกธาตุอย่างเล็ก ซึ่งมีพันจักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างกลาง มีล้านจักรวาลโลกคูณโดยส่วนพันแห่งโลกธาตุอย่างกลางนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างใหญ่ ประมาณแสนโกฏิจักรวาล
"ดูก่อนอานนท์ ตถาคต เมื่อมุ่งหมาย พึงทำโลกธาตุอย่างใหญ่ ประมาณแสนโกฏิจักรวาล ให้รู้แจ้งได้ด้วยเสียง หรือทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่มุ่งหมาย...ฯ"
จูฬนีสูตร


วิธีเข้าถึงแก่นพระพุทธศาสนา
ปัญหา ได้ทราบว่าวิมุติคือความหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง เป็นแก่นของพระพุทธศาสนา เราจะปฏิบัติธรรมอะไรโดยลำดับ จึงจะบรรลุถึงวิมุตินั้นสมประสงค์ ?

พุทธดำรัสตอบ ..."โพชฌงค์ ๗ ประการแล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาแลวิมุติให้บริบูรณ์
"...สติปัฏฐาน ๔ แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ประการให้บริบูรณ์ "...สุจริต ๓ ประการแล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
"...อินทรีย์สังวรแลอันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ประการให้บริบูรณ์..."
กุณฺฑลิยสูตร


ฆราวาสก็มีหวังได้ลิ้มรสนิพพาน
ปัญหา เท่าที่ได้ฟังมานั้นการที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพานรู้สึกว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากมาก จะต้องสละโลกออกบวช ไปอยู่ในป่าบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา อย่างเคร่งครัดซึ่งน้อยคนจะกระทำได้ สำหรับฆราวาสที่ยังต้องอยู่ครองเรือนมีหน้าที่ในการเลี้ยงครอบครัว จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะมีโอกาสได้ลิ้มรสแห่งนิพพานสุขบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "...สาวกของพระอริยเจ้าในศาสนานี้ย่อมพิจารณาเห็นว่า เราปรารถนาชีวิตไม่คิดอยากตาย ปรารถนาแต่ความสุขความสบายเกลียดหน่ายต่อความทุกข์ บุคคลผู้ใดจะพึงปลงเราเสียจากชีวิต ข้อนั้นจะไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แล ถ้าเราจะพึงปลงผู้อื่นเสียจากชีวิต ถึงข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้นั้น ธรรมอันใดที่ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเรา ธรรมอันนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของคนอื่น... พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากปาณาติบาต แลชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากปาณาติบาต แลกล่าวพรรณาคุณของการเว้นจากปาณาติบาต...

"บุคคลใดจะพึงถือเอาสิ่งของที่เราไม่ให้ซึ่งนับว่าเป็นขโมย ข้อนั้นก็ไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แล เราจะถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ให้ ถึงข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น... พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากอทินนาทานและชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากอทินนาทาน และกล่าวพรรณาคุณของการเว้นจากการอทินนาทาน...

"บุคคลใดจะประพฤติละเมิดในภรรยาของเรา ข้อนั้นไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลเราจะพึงประพฤติละเมิดในภรรยาของผู้อื่น ถึงข้อนั้นก็ไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น... พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากกาเมสุมิจฉาจารแลชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากกาเมสุมิจฉาจาร แลพรรณาคุณของการเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร...

"บุคคลใดจะพึงทำลายประโยชน์ของเราเสียด้วยการพูดปด ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลเราจะพึงทำลายประโยชน์ของผู้อื่นเสียด้วยการพูดปด ถึงข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น... พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากการพูดปดแลชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากการพูดปด แลกล่าวพรรณาคุณของการเว้นจากการพูดปด...

"บุคคลใดจะพึงทำให้เราแตกจากมิตรด้วยการกล่าวส่อเสียด ข้อนั้นก็ไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลยก็แลเราจะพึงทำผู้อื่นให้แตกจากมิตรด้วยการกล่าวส่อเสียด ถึงข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น... พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากการกล่าวส่อเสียด แลชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการกล่าวส่อเสียด และกล่าวพรรณาคุณของการเว้นจากการกล่าวส่อเสียด

"บุคคลใดจะพึงร้องเรียกเราด้วยคำหยาบ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลเราจะพึงเรียกคนอื่นด้วยคำหยาบเล่า ถึงข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น... พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วตนก็เว้นเสียจากการกล่าววาจาหยาบ และชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการกล่าววาจาหยาบ และกล่าวพรรณาคุณของการเว้นจากการกล่าววาจาหยาบ...

"บุคคลใดจะพึงร้องเรียกเราด้วยการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์ข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลจะพึงร้องเรียกผู้อื่นด้วยการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์ ข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น... พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์ แลชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์แลพรรณาคุณของการเว้นจากการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์

"สาวกของพระอริยเจ้านั้น
ประกอบด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าไม่หวั่นไหว...
ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระธรรมไม่หวั่นไหว...
ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระสงฆ์ ไม่หวั่นไหว...

ประกอบด้วยศีลทั้งหลายอันพระอริยเจ้ารักใคร่ไม่ให้ขาด ไม่ให้เป็นท่อน ไม่ให้ด่างพร้อย เป็นไทย (ไม่เป็นทาสแห่งตัณหา) อันผู้รู้สรรเสริญ อันตัณหาแลทิฐิไม่ครอบงำ ได้เป็นไปเพื่อสมาธิ

"เมื่อใดสาวกของพระอริยเจ้า ประกอบด้วยสัทธรรมความชอบเหล่านี้แล้ว...ก็พึงพยากรณ์ได้ด้วยตนเองว่า 'เรามีนรกสิ้นแล้ว เรามีกำเนิดเดียรัจฉานเปรตวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงต้นกระแสแห่งพระนิพพานแล้ว ไม่มีทางที่จะตกไปในอบายทั้งสี่อย่างแน่นอน เป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า"ดังนี้
เวฬุทวารสูตร


คุณค่าของสมถะและวิปัสสนา
ปัญหา การเจริญสมถวิปัสสนา มีประโยชน์อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ"
พาลวรรคปฐมปัณณาสก์


ธาตุ ๔เปลี่ยนสภาพได้
ปัญหา ในทางวิทยาศาสตร์ คำว่า ธาตุ (Element) หมายถึงปรมาณูซึ่งมีจำนวนอิเล็ตรอนและโปรตอนจำกัด เช่น ธาตุไฮโดรเจนมีอิเล็กตรอนและโปรตอนอย่างละหนึ่ง ถ้าเราเปลี่ยนให้มันมีอิเล็กตรอน ๒ และ โปรตอน ๒ มันจะกลายเป็น ธาตุฮีเลียม (Helium) ไป ไม่ใช่ไฮโดรเจน ฉะนั้นธาตุในทางวิทยาศาสตร์อาจจะเปลี่ยนเป็นธาตุอื่น ๆ ได้ ธาตุในทางพระพุทธศาสนาเปลี่ยนได้หรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอานนท์ มหาภูต ๔ (หมายถึงธาตุใหญ่ทั้ง ๔) คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ)เตโชธาตุ(ธาตุไฟ)วาโยธาตุ(ธาตุลม) พึงเป็นอย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างมั่นคงไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ ไม่พึงเป็นอย่างอื่นไปได้เลย..."
สมาทปกสูตร


คนฟังธรรม ๓ประเภท
ปัญหา คนที่ไปฟังเทศน์ ฟังธรรมอยู่ตามวัดเป็นประจำนั้น มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก... คือ บุคคลมีปัญญาคว่ำ ๑ บุคคลมีปัญญาเช่นกับตัก ๑ บุคคลมีปัญญากว้างขวาง ๑
"...บุคคลมีปัญญาคว่ำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เขา เขานั่งบนอาสนะนั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ของกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนหม้อคว่ำ ถึงจะเอาน้ำรดลงที่หม้อนั้นย่อมราดไปหาขังอยู่ไม่... นี้เรียกว่าบุคคลมีปัญญาคว่ำ

"...ก็บุคคลที่มีปัญญาเหมือนกับตักเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรม... แก่เขาเขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ของกถานั้นได้ ครั้นลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ของกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบนตักของบุรุษมีของเคี้ยวนานาชนิด คือ งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทรา เกลื่อนกลาด เขาลุกจากอาสนะนั้น พึ่งทำเรี่ยราดเพราะเผลอสติ... ที่เรียกว่าบุคคลมีปัญญาเหมือนตัก
"...ก็บุคคลมีปัญญากว้างขวางเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ หมั่นไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุเสมอ ภิกษุย่อมแสดงธรรม... แก่เขา เขานั่งบนอาสนะนั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุดของกถานั้นได้ แม้ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ของกถานั้นได้ เปรียบเหมือนหม้อหงาย เอาน้ำเทใส่ไปในหม้อนั้น ย่อมขังอยู่ หาไหลไปไม่... นี้เรียกว่าบุคคลมีปัญญากว้างขวาง..."
อวกุชชิตาสูตร


โลกก็มีคุณเหมือนกัน
ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า พระพุทธศาสนามองโลกในแง่ร้าย ประณามโลก สอนให้หนีจากโลกดังนี้ เป็นความจริงหรือไม่เพียงใด โลกมีส่วนดีอยู่บ้างหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนตรัสรู้เราเป็นพระโพธิสัตว์ได้คิดว่า ในโลกนี้อะไรหนอเป็นคุณ อะไรหนอเป็นโทษ อะไรหนอเป็นอุบายเครื่องออกไป... เรานั้นได้คิดว่า สุขโสมนัสอาศัยสภาพใดเกิดขึ้นในโลก สภาพนี้เป็นคุณในโลก โลกไม่เที่ยงเป็นทุกข์ หรือความแปรปรวนเป็นธรรมดานี้เป็นโทษในโลก การปราบปรามฉันทราคะ การละฉันทะราคะในโลกได้เด็ดขาด นี้เป็นอุบายเครื่องออกไปในโลก
  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่ง ซึ่งคุณของโลกโดยเป็นคุณ ซึ่งโทษของโลกโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปของโลก โดยความเป็นอุบายเครื่องออกไปตามความจริงเพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้ ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์เพียงนั้น...
ปุพพสูตร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กันยายน 2555 21:03:52 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 13:09:29 »





ตอน ๑๕

คุณของโลก
ปัญหา มีคนกล่าวว่า พุทธศาสนาเป็นลัทธินิยม มองโลกแต่ในแง่ร้าย มองเห็นแต่ความทุกข์ความโศกของโลก มีความจริงเพียงใด ?

   พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณในโลกนี้จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงกำหนัดยินดีในโลก แต่เพราะคุณในโลกมีอยู่ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดยินดีในโลก
   "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าโทษในโลกนี้ไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในโลก แต่เพราะโทษในโลกมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในโลก
"
อัสสาทสูตร


เหตุให้เกิดภพ
ปัญหา อะไรเป็นเหตุให้สัตว์เกิดในภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ?

   พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนอานนท์ เมื่อกรรมที่อำนวยผลให้กามธาตุ... ในรูปธาตุ.. ในอรูปธาตุจักไม่มีแล้วกามภพ... รูปภพ... อรูปภพ พึงปรากฏบ้างหรือหนอ (เมื่อพระอานนท์ทูลตอบว่า ไม่พึงปรากฏเลย ได้ตรัสต่อไปว่า) ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณ... เจตนา... ความปรารถนาประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างเลว... อย่างกลาง... อย่างประณีตของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดใหม่ในภพต่อไปอีก"
นวสูตร


วัฏสงสารที่ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย
ปัญหา เราอาจจะทราบได้ไหมว่า เราเริ่มเกิดขึ้นในวัฏสงสารเมื่อใดและจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

   พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดมัดละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่านี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเราโดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่าหญ้า กิ่งไม้ ใบไม้ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไปข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี ที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้พอทีเดียว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้"
ติณกัฏฐสูตร


ผู้เสียสละนั้นดีแล้วหรือ ?
ปัญหา คนบางคนชอบสละเวลาของตนทำประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างเดียว เพิกเฉยละเลยประโยชน์ของตน ชาวโลกสรรเสริญว่าเป็นคนเสียสละเห็นแก่ส่วนรวมควรได้รับการยกย่อง พระพุทธองค์ทรงยกย่องคนประเภทนี้อย่างไรหรือไม่ ?

   พุทธดำรัสตอบ "...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก คือบุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น๑ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน๑ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น๑
ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย ๑ ...

บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นผู้เลิศ เป็นผู้วิเศษ เป็นประธาน อุดม และเป็นผู้ประเสริฐ..."
ฉลาวาตสูตร


วิธีตอบคำถาม
ปัญหา ถ้ามีคนมาถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งแก่เรา เราควรจะพิจารณาตอบอย่างไรบ้าง ?

   พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิธีตอบปัญหามีอยู่ ๔ ประการ ๔ ประการนั้นคืออะไรบ้าง คือ
ปัญหาที่พึงตอบทันที ๑ ปัญหาที่พึงแยกตอบบางประเด็น ๑ ปัญหาที่พึงย้อนถามก่อนแล้วจึงตอบ ๑ ปัญหาที่ควรงดไว้ (ไม่ตอบ) ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิธีตอบปัญหามี ๔ อย่างนี้แล...
ปัญหาสูตร


รู้มาก ๆ เพียงพอหรือยัง ?
ปัญหา ความเป็นพหูสูตร คือได้เรียนรู้มาก พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่าเป็นมงคลประการหนึ่ง แต่ถ้าเราเป็นพหูสูตอย่างเดียวจะเพียงพอหรือไม่ ? มีอะไรที่จะต้องเรียนรู้อีก ?

   พุทธดำรัสตอบ "...บุคคลบางคนในโลกนี้เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เขาไม่รู้ทั่วถึงตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ บุคคลนี้เป็นดุจวลาหก (เมฆ) คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก...
   "...การก้าวการถอยการเหลียวการแลการคู้การเหยียด การทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวรของบุคคลบางคนในโลกนี้ ล้วนน่าเลื่อมใส แต่เขาไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ บุคคล (นี้)เป็นดุจห้วงน้ำตื้นเงาลึก... เป็นดุจหม้อเปล่าที่เขาปิดไว้... เป็นดุจมะม่วงดิบผิวสุก... เป็นดุจหนูขุดรูแต่ไม่อยู่..."
วลาหกสูตรที่ ๖


ควรศึกษาค้นคว้าอวกาศหรือไม่?
ปัญหา ในห้วงอากาศอันหาที่สุดมิได้นี้ จะมีที่แห่งใดแห่งหนึ่งหรือไม่ ซึ่งสัตว์ทั้งหลายไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ซึ่งเราควรไปถึง ควรรู้ ควรเห็น เพื่อความดับทุกข์ ?

   พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนผู้มีอายุ สัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติในที่ใด เราไม่ประกาศว่าที่นั่นเป็นที่สุดแห่งโลกที่ควรรู้ที่ควรเห็นที่ควรไปถึงได้ด้วยการเดินทางอีกทั้งเราก็ไม่ประกาศว่า จักมีการกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ โดยไม่ไปถึงที่สุดแห่งโลก
   "ผู้มีอายุ... เราย่อมบัญญัติโลก เหตุเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก และทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับแห่งโลก ลงที่ร่างกายอันมีความยาวประมาณหนึ่ง มีสัญญาและมีใจครองนี้เท่านั้น..."
โรหิตตัสสูตรที่ ๑


ศาสนาอื่นมีพระอริยบุคคลหรือไม่ ?
ปัญหา พระอริยบุคคลที่ได้บรรลุมรรคผล เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอานาคามีและพระอรหันต์มีอยู่ในศาสนาอื่นหรือไม่ ? หรือว่ามีเฉพาะในพระพุทธศาสนา ?

   พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสมณะมีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๑...สมณะที่ ๒...สมณะที่ ๓... สมณะที่ ๔... มีในธรรมวินัยนี้ที่ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาท (ประกาศ) โดยชอบอย่างนี้เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นไฉน ?
"ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ (สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาา) เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า นี้สมณะที่ ๑

   "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๒ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง เป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้สมณะที่ ๒
   "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะ (เป็นพระอนาคามี) จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา นี้สมณะที่ ๓

   "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๔ เป็นไฉนภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน...นี้สมณะที่ ๔
   "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑... ที่ ๒... ที่ ๓... ที่ ๔... มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด"
กรรมวรรค


โทษของความโกรธ
ปัญหา ความโกรธมีโทษอย่างไรบ้าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้ระงับและกำจัดเสีย ?

   พุทธดำรัสตอบ "...คนผู้โกรธถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้วแม้จะอาบน้ำ ไล้ทาตัดผมโกนหนวดนุ่งผ้าขาวสะอาดแล้วก็ตาม... ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม...
   "...คนผู้โกรธถูกความโกรธครอบงำย่ำแล้ว แม้จะนอนบนบัลลังก์อันลาดด้วยผ้าขนสัตว์ลาดด้วยผ้าขาวเนื้ออ่อนลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีผ้าดาดเพดาน มีหมอนหนุนศีรษะและหนุนเท้าแดงทั้งสองข้างก็ตาม.. ย่อมนอนเป็นทุกข์...

   "...คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้วแม้จะถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งเป็นประโยชน์ แม้จะถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ธรรมเหล่านี้อันคนผู้โกรธ... ถือเอาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาล

   "...คนผู้โกรธถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้วแม้จะมีโภคะที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรสั่งสมได้ด้วยกำลังแขนอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม พระราชาย่อมริบโภคะของคนขี้โกรธเข้าพระคลังหลวง...
   "...คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้วแม้จะได้ยศมาเพราะความไม่ประมาท ก็เสื่อมจากยศนั้นได้...

   "...คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้วแม้เขาจะมีมิตร อมาตย์ ญาติสายโลหิต เหล่านั้นก็เว้นเขาเสียห่างไกล...
   "...คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นแล้วเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาตนรก..."
โกธนาสูตร


วิธีแก้ความอาฆาต ๑
ปัญหา ถ้าเกิดความอาฆาตขึ้นในจิตใจเรา ทำให้เราคิดมุ่งร้ายหมายแก้แค้นต่อบุคคลบางคน ซึ่งได้ล่วงเกินเราก่อน ควรจะแก้ไขอย่างไร ?

   พุทธดำรัสตอบ "...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคใด พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคลใดพึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคลใดพึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคลใดพึงถึงการไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลคนนั้น ๑ ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคลใดพึงถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน

   ให้มั่นในบุคคลนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นดังนี้ ๑... พึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้"
อาฆาตวินัยสูตรที่ ๑


เหตุให้อายุสั้น
ปัญหา ในจูฬกัมมวิภังคสูตร พระพุทธองค์ตรัสว่า คนเกิดมามีอายุสั้น เพราะในชาติก่อนเป็นผู้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตสำหรับในชาติปัจจุบันนี้เล่า มีปฏิปทาใดบ้างที่เป็นเหตุให้บุคคลมีอายุสั้น หรือตายเร็ว ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม (เหล่า) นี้เป็นเหตุให้อายุสั้น... คือ บุคคลไม่เป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑ ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑เป็นผู้เที่ยวไปในกาลไม่สมควร ๑ไม่ประพฤติเพียงดังพรหม ๑... เป็นคนทุศีล ๑ มีมิตรเลวทราม ๑ "
อนายุสสสูตรที่ ๑ - ๒


พวกเดียวกันคบกัน
ปัญหา ตามปกติคนที่มีอะไรคล้ายกันย่อมคบหาสมาคมกัน ใช่หรือไม่ ? พระผู้มีพระภาคตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร ?

   พุทธดำรัสตอบ "...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุทีเดียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่หิริ ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกเกียจคร้านย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกเกียจคร้าน สัตว์จำพวกมีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกมีสติหลงลืม สัตว์จำพวกมีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกมีปัญญาทราม แม้ในอดีตกาล... แม้ในปัจจุบันกาล..."
อสัทธมูลกสูตรที่ ๑


กรรมเก่าทั้งนั้นหรือ
ปัญหา ตามหลักกรรมในทางพระพุทธศาสนานั้นเราจะถือว่า ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดีที่เราได้รับอยู่ในบัดนี้เป็นผลของกรรมเก่าที่เราได้ทำไว้แล้วในชาติก่อน ดังนี้ได้หรือไม่ ?

   พุทธดำรัสตอบ ..."เวทนาอันบุคคลเสวยในโลกนี้บางเหล่าเกิดขึ้นมีดี เป็นสมุฏฐานก็มี...บางเหล่าเกิดขึ้นมีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี บางเหล่าเกิดขึ้นมีลมเป็นสมุฏฐานก็มี มีส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นรวมกันเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดแต่ความแปรแห่งฤดูก็มี เกิดแต่การบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอก็มี เกิดแต่ความพยายาม (ของตน) ก็มี เกิดแต่วิบากแห่งกรรมก็มี... ข้อนี้อันเจ้าตัวเองก็รู้เช่นนั้น อันโลกก็สมมติว่าเป็นจริง สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด มักกล่าวและมีความเห็นในข้อนั้นอย่างนี้ว่า 'บุคคล... เสวยเวทนาทั้งปวง (สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์) เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำแล้วในก่อน' เขาย่อมเพิกเฉยข้อที่ตนเองก็รู้ดี ย่อมเพิกเฉยต่อข้อที่โลกสมมติว่าเป็นจริง เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า การกล่าวแลความเห็นอย่างนี้ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นการกล่าวผิดแลเห็นผิด" ดังนี้
สิวกสูตร


พุทธโอวาทสำหรับคนใกล้ตาย
ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทแก่คนป่วยใกล้ต่อความตายไว้อย่างไรบ้าง ?

   พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนทีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเราจักมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ จักประกอบด้วยศีลอันเป็นที่รักของพระอริยเจ้า... ท่านตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นองค์ประกอบแห่งพระโสดาบัน ๔ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไป... คือ...ท่านจงพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยง มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความหมายรู้ในการละ... ในการคลายความกำหนัดยินดี... ในความดับทุกข์ ดูก่อนทีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แหละ..."
ทีฆาวุสูตร


วิธีละสังโยชน์เบื้องสูง
ปัญหา ทำอย่างไรจึงจะละสังโยชน์เบื้องสูงทั้ง ๕ ได้ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้รอบ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล..."
คังคาทิเปยยาลแห่งสติปัฏฐานสังยุตต์ที่ ๖

จบบริบูรณ์
ด้วยจิตกราบบูชา
จากคุณ : mayrin [ 18 ม.ค. 2545 ]




เรียนขออนุญาต ท่านผู้คัดลอก นำมาแบ่งปันค่ะ...
:http://www.dharma-gateway.com/buddha/buddha-misc/bd-misc-07-01.htm
sookjai.com * tairomdham.net
* Agaligo Home บ้านที่แท้จริง อกาลิโก โฮม
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานเหล่านี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานเหล่านี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ
ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ

อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กันยายน 2555 20:59:19 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg+จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.295 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กันยายน 2566 08:20:50