[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 15:27:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: a way for peace chapter 1  (อ่าน 12761 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 02 เมษายน 2553 17:48:06 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/23.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/23.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/23.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>



.............................มรรคาแห่งสันติสุข......................



..........................วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน.............................


การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นเป็นหนทางเดินสู่ทางพ้นทุกข์โดยแท้จริงและทำให้เกิด
ความมั่นคงในชีวิตอันสถาพรด้วยการเข้าใจในเรื่องความเป็นจริงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เราปฏิบัติไปเพื่ออะไรครับ ? ก่อนอื่นที่เราจะต้องมีความเข้าใจอย่างมากคือ การปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติอะไรก็แล้วแต่ เช่น ปฏิบัติราชการ ปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นครู เราก็ต้องรู้ว่าในจุดมุ่งหมายของงานนั้น เน้นหนักไปในการกระทำอะไรเป็นสิ่งสำคัญ
เช่นเดียวกันครับ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับชีวิตเพราะว่าชีวิตของแต่ละบุคคลเกิดมาแล้วก็จะต้องมี
ความทุกข์ ความบ่นเพ้อรำพันตัดอาลัยไม่ขาด.......................................

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:27:33 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 17:57:02 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


ปรารถนาสิ่งใดไม่สมความปรารถนา มีความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ มีการเกิด มีการแก่ มีการตายเป็นองค์ธรรมดาแล้ว
นอกจากนั้น ในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งเรามีการกระทำจำเจอยู่กับสิ่งที่ไร้สาระ ไร้แก่นสาร โดยที่เราไม่เคยตรวจสอบเลยว่า
สภาพแห่งความจริงในชีวิตนั้นมีอะไรบ้าง
ฉะนั้น.......หลักของพระพุทธศาสนาว่าด้วยเรื่องพระอภิธรรมปิฎก จะทำให้เรามีความเข้าใจในธรรมชาติของชีวิตของเรา เพราะว่าชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก ถ้าผู้ใดปล่อยชีวิตให้พลาดถลำตกอยู่ในความประมาท ก็จะไม่พบความจริงของชีวิตเลย
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็เพื่อจะคลี่ลายความจริง มุมอันยังไม่เด่นชัด แง่อันซ่อนเร้น และประเด็นอันสำคัญออกมาให้เราเข้าใจว่า
ภายใต้ชีวิตของแต่ละบุคคลนั้น มีความเสมอเหมือนกันหมด และยังมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่สามารถบังคับบัญชาได้
ในการปฏิบัตินั้น เป็นการปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสตัณหา ทำไมจึงต้องขัดเกลากิเลสตัณหา ?
เพราะกิเลสคือโรคร้ายทางใจ ซึ่งทำให้เกิดความหดหู่ เศร้าหมอง บ่นเพ้อรำพัน พลัดพราก แล้วก็ไม่สมความปรารถนา นั่นคือเรื่องของกิเลส
ส่วนตัณหา คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นเหตุที่เกิดขึ้นพร้อมกับสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้นตัณหาจึงเป็นมูลรากเง่าอันสำคัญที่เราจะต้องขุดรากถอนโคนออกให้ได้ เพราะว่า ผู้ใดก็แล้วแต่ ยังไม่หมดจดจากการกระทำเนื่องด้วยตัณหา ก็ยังไม่สิ้นสุดจากการเวียนว่ายตายเกิดได้
ฉะนั้นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จึงเป็นไปเพื่อคลายความกำหนัดโดยตรง ไม่ยินดี ไม่ติดใจในสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นของจอมปลอม และวิปริตผันแปรจากสภาพความเป็นจริง เรามาดูว่า วิปัสสนากรรมฐานจะทำลายอะไร ออกไปในความหลงผิดได้บ้าง ?
ความหลงผิดใหญ่ ๆ นั้นก็มี สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส อัตตวิปลาส สัญญาวิปลาส หมายถึง การลวงตัวเองด้วยการจำผิด
จิตตวิปลาส หมายถึง การลวงตัวเองด้วยการคิดผิด อัตตวิปลาส หรือใช้คำว่า ทิฏฐิวิปลาส หมายถึง การลวงตัวเองด้วยการเห็นผิด
เห็นผิดอย่างไร ? คิดผิดอย่างไร ? จำผิดอย่างไร ?
ก็คือมองผิด จำผิด คิดผิดว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ มันเป็นของอย่างนั้นอย่างนี้ เช่นมองกี่ครั้งก็ยังเป็นรูปเทียนไขอยู่ มองกี่ครั้งก็ยังเห็นเป็นผู้หญิงอยู่............
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 19:52:55 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:00:14 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


เพราะอะไรครับ ? คำว่า ผู้หญิง ผู้ชาย รูปอย่างนั้น รูปอย่างนี้ ซึ่งมีความแตกต่างกัน เราเคยป้อนข้อมูลอบรมเข้าไปให้เก็บอยู่ในสัญญาสัญญาอันนั้นมันเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นจากสมมุติสัจจะทั้งสิ้น แล้วเราเอาสัญญานี้ออกมาใน
เวลาเห็นอะไรใหม่ เช่น เรามีสีต่าง ๆ แดง เหลือง เขียว ขาว เก็บเอาไว้ในใจ เพราะถูกอบรม สั่งสอนตั้งแต่เด็กว่า สีอย่างนี้เรียกว่าสีแดง อย่างนี้เรียกว่าสีเหลือง มันก็เก็บใส่เอาไว้ในสัญญา เมื่อเรากระทบกับสีอย่างนี้อีก ของใหม่ที่มาปรากฏนั้นมันไม่ได้ใหม่แท้ เพราะเราเอาของเก่ามาตีเทียบ แล้วก็เสพอารมณ์ สัญญานั้นจึงเรียกว่า สัญญาวิปลาส เพราะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ความเป็นจริง สีสันต่าง ๆ เขียว เหลือง แดง มันไม่มี เป็นเพียงคลื่นแสงมากระทบกับประสาทตาเท่านั้น
จิตตวิปลาส หมายถึงการลวงตัวเองด้วยการคิดผิด คิดผิดอย่างไรครับ? คิดผิดว่าชีวิตของเรานั้นดี คิดผิดว่าฉันกำลังนั่งอยู่ เดินอยู่ นอนอยู่ คิดผิดอยู่สารพัดว่าเป็นตัวตน คน สัตว์อยู่ตลอดเวลา
การคิดผิดว่าอันนั้นมันดี อันนั้นมันสวย อันนี้พอใจ อันนี้ไม่พอใจ เพราะอารมณ์ต่าง ๆ มันเป็นเพียงชั่วขณะหนึ่ง เหมือนการเกิดขึ้นของการทำงานชนิดหนึ่ง แล้วมันก็ดับลงไป แต่เราคิดผิด คิดว่ามันเป็นสิ่งที่คงทนอยู่อย่างถาวร เป็นความเที่ยงแท้แน่นอน
ส่วนทิฏฐิวปลาส การลวงตัวเองด้วยการเห็นผิด เห็นผิดอย่างไรครับ ? เห็นว่าชีวิตของเรานั้นมีสาระแก่นสาร เห็นว่าชีวิตเป็นของดี ของงาม เห็นว่าชีวิตเป็นของสุข ของเที่ยง เห็นว่าชีวิตเป็นตัวตน คน สัตว์ฉะนั้น จุดสำคัญใหญ่ ๆ ของ สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส และทิฏฐิวิปลาส มีความเห็นผิดมากมายก่ายกอง ถึง 4 ประการ คือ..............................................................

เห็นผิดว่าความไม่เที่ยงแท้ถาวร เป็นความเที่ยงแท้ถาวร

เห็นผิดว่าสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นสิ่งบริสุทธิ์

เห็นผิดว่าความชั่ว เป็นความดี

เห็นผิดว่าความไม่ใช่ตัวตน เป็นตัวตน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 19:53:25 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:08:03 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


นั่นแหละครับ จึงจะต้องมีปัญญาเท่านั้น เข้ามาแก้ความเห็นผิดเหล่านี้ได้
เราอยู่ดี ๆ จะบอกว่าไม่มีตัวตนไม่ได้ เรากำลังนั่นอยู่ เราก็รู้ตัวว่าเราเป็นคน อันไหนเป็นคน อันไหนเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสิ่งที่จิตใจของเรารู้อยู่
อยู่ดี ๆ เรามาเรียนได้ยินว่าไม่มีคน ไม่มีสัตว์จะเชื่อทันทีเลยก็จะเป็นการเชื่อโดยงมงายไม่มีเหตุผลเราต้องรู้เหตุผลก่อนว่า ทำไมเล่าหลักของพระพุทธศาสนา จึงสอนว่า คนไม่มี สัตว์ไม่มี มาดูความเป็นจริงตรงนี้ครับ
คำว่าชีวิต เราเคยเรียนวิทยาศาสตร์มาว่าชีวิตนั้นคือสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ เจริญเติบโตได้ หายใจได้ เสพอารมณ์ต่าง ๆได้ นี่คือคำว่าชีวิต โดยชีววิทยาทางรูปธรรมเท่านั้น
แต่ชีวิตโดยแท้จริง หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมา ในภาษาพระก็คือ อุบัติ ย่อมต้องเกิดขึ้นมาด้วยเหตุ มีเหตุเกิด และมีปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม
จึงจะเรียกว่าชีวิต สิ่งแวดล้อมนั้นคืออะไรครับ สตรีมีระดูงาม มีการสมสู่ระหว่างเพศ มีจิตมาปฏิสนธิ เหตุมาประกอบพร้อมจึงจะเกิดการมีชีวิตขึ้นมาได้
ในคำว่าชีวิตคำเดียวนี้ เราหลงผิดว่าเป็นคนเป็นสัตว์ก็เพราะว่า ตั้งแต่เล็กมาพอเราพูดได้ จำได้ แม่เป็นคนเลี้ยงดู สอนให้เรียกว่า
แม่ นี่แม่ นี่ลูกนะมันก็อยู่ในสัญญา
คำว่าแม่ คำว่าลูก แตกต่างกันออกไปแล้ว มันเก็บข้อมูลภาษาไทยเอาไว้ ซึ่งไม่จริงแท้ เพราะแม่ ลูก ไม่มี............เป็นเพียงสมมุติกันขึ้น
และภายใต้ชีวิตนั้น เราก็เห็นแต่ว่าเป็นคนอย่างเดียว เดินได้ เป็นแท่ง ๆ นี่เรียกว่าหญิง นี่เรียกว่าชาย รวมเป็นกลุ่มก้อน
เพราะว่าเราไม่เคยศึกษาความจริงว่า ลักษณะที่แท้จริงของชีวิตนั้น มันต้องประกอบไปด้วยเหตุ 5 อย่าง เราเรียกว่าขันธ์ 5 ขันธ์
แปลว่าหมวด หรือกอง กองทั้ง 5 อย่างมีอะไรบ้างครับ...............................................

รูป

เวทนา

สัญญา

สังขาร

วิญญาณ

ทั้ง 5 อย่างนี้เป็นเหตุประชุมกันขึ้นมา เราจึงใช้เรียกว่าเป็นผู้หญิง ผู้ชาย ถ้าขาดอย่างไรอย่างหนึ่ง จะไม่เรียกว่าชีวิตอันสมบูรณ์
ชีวิตที่อุบัติขึ้นมา ไม่ว่าจะในครรภ์มารดา ในฟองไข่ ในของโสโครก หรือเกิดและเติบโตขึ้นโดยฉับพลัน ล้วนต้องมีรูป นาม ขันธ์ 5 แม้กระทั่งในภูมิของมนุษย์เอง จะมีคนไทย ฝรั่ง อเมริกัน ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย หรือแม้กระทั่ง อียิปต์ เอสกิโม ต่างล้วนมีรูปนาม ขันธ์ 5 ทั้งสิ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 19:57:31 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:12:01 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


เรามาพิสูจน์กันก่อนว่า รูป นาม ขันธ์ 5 นี้ เป็นปรมัตถ์สัจจะจริงหรือไม่ ?
รูป คือสิ่งที่มองเห็นได้ทางตา แล้วบอกให้เรารู้ว่า ลักษณะที่กระทบนั้นเป็นอย่างไร
รูปนี้จะต้องมีลักษณะที่กระทบ มีลักษณะเป็นของใหญ่เช่น อย่างคน นี่ต้องเป็นของใหญ่ ของเล็กที่เรามองไม่เห็น เรายังไม่ยอมรับว่าเป็นรูป ใช่ไหมครับ?
รูปต้องเป็นของใหญ่ ต้องมีการบริหารมาก เช่น ต้องยืน เดิน นั่ง นอน มาก ๆ และต้องดูแลมาก คือกินแล้ว กินอีก เพราะเสื่อมอยู่ตลอดเวลา ร่างกายของเราไม่คงที่คงทนเลย มีความชราอยู่ทุกขณะจิต แต่ที่เราไม่เห็นเพราะว่าเป็นของใหญ่ที่ดูได้ยาก
ถ้าเราพิจารณาดูทุกวันๆ ที่เราเดินไป เราไม่รู้ว่ามันเสื่อม แต่เราลองนึกย้อนไปดูจากเมื่อตอนเป็นเด็กจนโตมานี่เราเรียกว่าเจริญเติบโต แต่ที่จริงแล้วเจริญไปในทางเสื่อมด้วยซ้ำ
เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ก็จะต้องวิวัฒนาการไปในความเสื่อม กล้ามเนื้อของเด็กนั้นมีความบริบูรณ์ มีเซลล์ต่าง ๆ ผลิตผลของเม็ดเลือดทำให้
เนื้อหนังมังสาเต่งตึง ผิวพรรณนวลใย แต่พอเราโตขึ้นจะมีรอยย่น มีความหยาบของผิวหนัง มีกระขึ้นมา เพราะว่าสภาพนั้นมันเสื่อมไปแล้ว
เชลล์ต่าง ๆ มันเสื่อมแล้วก็ตายอยู่ตลอดเวลา
นี่คือลักษณะของรูป ซึ่งเราต้องยอมรับด้วยความจริงว่า รูปอันนี้มันมีจริง แต่เราใช้คำว่าหญิง ชายเป็นการอ้างอิงในรูปนั้นเท่านั้นเอง
เวทนา หมายถึง การเสวยอารมณ์เข้าไป เสวยอารมณ์ได้ เสวยอารมณ์เป็นอย่างไรบ้าง? ก็คือความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ เฉย ๆ หรือไม่สุข ไม่ทุกข์
ใช่ไหมครับ ? คำนี้มาทีหลังคือสมมุติขึ้นมาว่าสุขว่าทุกข์
เพราะถ้าหากสุขมีจริงแล้ว แต่ละคนก็ต้องเสวยอารมณ์เหมือน ๆ กัน เช่น เห็นสีเหลืองแล้ว รู้สึกชอบ พอใจ ก็ต้องรู้สึกชอบ พอใจเหมือน ๆ กันทุกคน แต่นี่ไม่ใช่ บางคนก็ไม่ชอบ เห็นสีเหลืองแล้วรู้สึกไม่พอใจ เพราะมันเป็นความสุข ความทุกข์ ที่เกิดขึ้นจากสัญญาวิปลาสใช่ไหมครับ? ของจอมปลอม การเสวยอารมณ์นั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดก็แล้วแต่ ต้องมีการเสวยอารมณ์ได้ เป็นสุข เป็นทุกข์
สัญญา คือความจำได้หมายรู้ ทุกคนมีความจำ ตั้งแต่เล็กจนโต เราจำมาสารพัดเรื่อง เรากลับบ้านถูก เราไปเที่ยวในที่นั้นถูก ขึ้นรถเมล์ถูก เราต้องมีความจำ ชีวิตจะต้องมีความจำ แม้กระทั่งสัตว์เดรัจฉานก็ต้องมีความจำ
นกบินมาหาอาหาร หาเหยื่อแล้วก็ต้องกลับรังถูก เพราะมันมีความจำว่าที่อยู่อาศัยของมันอยู่ที่ไหน ไม่ว่าชนชาติใดต้องมีความจำทุกคนทุกชีวิต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:01:04 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:15:58 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


สังขารไม่ใช่แปลว่ากาย แต่หมายถึงธรรมชาติชนิดหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา
คำว่าปรุงแต่งนี้ เราต้องเข้าใจว่า ปรุงแต่งนั้นไม่ได้มาจากชิ้นเดียว แต่เป็นของที่รวมกันมา เหมือนคำว่า ข้าวผัด นี่เป็นรสข้าวผัด
หรืออาหารประเภทยำต่าง ๆ ปรุงด้วยอะไรบ้างครับ ? และถ้าเราจะปรุงให้รสดี ก็ต้องมีหลาย ๆ อย่างปรุงเข้ามา
ฉะนั้น ต้องมีเหตุที่ทำให้เกิดผลขึ้นมา จึงต้องถูกปรุงแต่ง ธรรมชาติที่ถูกปรุงแต่งต่าง ๆ ขึ้นมา เป็นกายสังขารให้มีรูปธรรมต่างๆ
ปรุงแต่งในที่นี้หมายถึง ถ้าเป็นเรื่องของชีวิต ก็คือปรุงแต่งจากการเสพอารมณ์แต่ละครั้ง ให้มีการเป็นไปตามสิ่งที่ถูกปรุงแต่งตัวเจตสิกนั่นเอง
วิญญาณ แปลว่า จิต (จิต) หมายถึงตัวรู้ในอารมณ์ อารมณ์จึงหมายถึงสิ่งที่จิตรู้
อารมณ์มีอะไรบ้าง?อารมณ์มีมากมาย ตัวอย่างเช่น อารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หดหู่ อารมณ์เศร้าหมองต่าง ๆ อย่างนี้เราเรียกว่าอารมณ์ทั้งสิ้น คือสิ่งที่เรารู้ได้แล้วก็เสพเข้าไป
ฉะนั้น.................ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ต้องมีการประชุมกัน แล้วเราใช้คำว่าสมมุติสัจจะ เรียกไปเองว่าคน ว่าสัตว์ ว่าคนไทย ว่าฝรั่ง ว่าแขกต่าง ๆ
สิ่งเหล่านั้นเป็นภาษาสมมุติ ซึ่งไม่มีความเป็นจริง ความเป็นจริงอยู่แต่ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ขณะนี้เราต้องมีศรัทธาเชื่อเกิดขึ้นมาแล้ว เพราะเราพิสูจน์เอง ไม่มีใครมาสอนเรา ที่ผ่านมาเมื่อสักครู่เราพิสูจน์แล้วนะครับ จึงต้องมีศรัทธาเชื่อ เพราะพระธรรมคงทนต่อการพิสูจน์
ไม่ว่าคุณจะเกิดมาในประเทศไหน คุณก็จะต้องรู้ว่าชีวิตนั้นจะต้องมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ไม่ว่าเด็กในครรภ์มารดาคนนี้ จะเป็นลูกเต้าเหล่าใครก็ตาม ออกมาต้องมีรูป นาม ขันธ์ 5
ศึกษาแล้วจะต้องมีศรัทธา และเป็นศรัทธาอันแรงกล้า ที่เชื่อมั่นอย่างจริงใจว่า ชีวิตจะต้องประกอบไปด้วย รูป นาม ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ รูปคือสิ่งที่มองเห็นได้ทางตา นามคือสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เป็นของมีจริง
ฉะนั้น............................รูปนี้ก็ยังคงสภาวะรูปอยู่ เวทนา อารมณ์ที่เสวยเข้าไป ไม่มีรูป เมื่อสักครู่เราพิสูจน์แล้วว่ามีจริง เราเรียกว่านามธรรม สัญญาความจำได้หมายรู้ ไม่มีรูปปรากฏ แต่มีจริง เรานึกคิดอะไรแล้วไปถึงที่นั่นที่นี่ได้ถูก มันอยู่ในความทรงจำซึ่งไม่มีรูปปรากฏ แต่ก็เก็บอยู่ในจิตตลอดเวลา เป็นนามธรรม สังขารการปรุงแต่งขึ้นมาได้ตามเหตุตามปัจจัย เรามองไม่เห็นเหตุปัจจัย มองไม่เห็นการปรุงแต่ง แต่เรารับรู้อารมณ์นั้นได้ เรียกว่านามธรรม วิญญาณ คือ จิต หัวใจคือรูปเป็นที่ตั้งให้จิตอาศัย หัวใจกับจิตคนละอย่าง จิตนี่เป็นนามธรรม แต่หัวใจเป็นรูป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:01:31 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:19:00 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


ลักษณะหัวใจคนเรามี 4 ห้อง แต่ละห้องมีกล้ามเนื้อ มีหลอดเลือดดำ มีเยื่อเมือก มีการสูบฉีดโลหิต มีหลอดที่สำหรับฟอกโลหิตส่งไปเลี้ยง นั่นคือรูปธรรม
แต่เราพูดถึงเรื่องวิญญาณ คือนามธรรม เพราะว่าเวลาเราเห็น วิญญาณต้องเข้าร่วมด้วย เราไม่เห็นตัววิญญาณเลย แต่เราเห็นสิ่งต่าง ๆได้ เป็นนามธรรม เป็นของที่เราพิสูจน์ได้ทั้งนั้น
ฉะนั้น ชีวิตที่แท้จริง เมื่อเราปฏิเสธสมมุติสัจจะออกจนหมดสิ้นแล้ว คือ รูป - นามเท่านั้น ใช่ไหมครับ
มีรูป มีนาม มีนาม มีนาม มีนาม 5 อย่าง รวมเป็นคนเป็นสัตว์ขึ้นมา ฉะนั้น เราย่นย่อ แทนที่จะบอกว่า รูป นาม นาม นาม นาม เรื่อยไป ย่นเสียเหลือ 2 คำ เป็นรูปนาม..........................ขันธ์ 5 คือมีรูป มีนาม เป็นหมวดอยู่ 5 อย่าง
ฉะนั้นคำว่าขันธ์ 5 จึงได้แก่ชีวิต ๆ หนึ่งเท่านั้นเอง.........................นี่พอเข้าใจนะครับ
เราต้องเรียนเรื่องนี้ให้เข้าใจ เรามีศรัทธาเชื่อแน่ นี่แหละครับคือภูมิของปัญญา ถ้าเราไม่เคลียร์ตัวเอง ยังไม่ทำลายวิจิกิจฉานี้ เราจะปฏิบัติอะไรให้เกิดผลดีไม่ได้เลย เพราะเราไม่ยอมรับความจริง ถ้าหากว่าเรายอมรับความจริงได้แล้ว แม้เราจะเอาไปพิสูจน์ตอนหลัง ก็จะออกมาเป็นบทพิสูจน์ได้
เรายอมรับของจริงแล้ว เราก็เอาของจริงนั้น ไปพิสูจน์ในสิ่งที่เราพบอยู่ทุกวัน มันต้องพบความจริงจนได้
แต่ถ้าเราเรียนจนเรายอมรับแล้ว แต่เราไม่ทำลายมานะ ความยกตัว ถือตัว อวดดื้อถือดี ไม่ทำลายทิฏฐิอันเป็นมิจฉาทิฏฐิ เราก็ไม่สามารถก้าวสู่ความเป็นจริงได้ ใช่ไหมครับ
ในหลักของพระพุทธศาสนา มีการปฏิบัติอยู่ 2 อย่างคือ การทำสมาธิ (สมถกรรมฐาน) กับการทำวิปัสสนา ไม่ใช่อย่างเดียวกันครับ ที่พูดว่า นั่ง - วิปัสสนา เดินวิปัสสนานั้นไม่ใช่
คำว่าวิปัสสนากรรมฐานรวมกันแล้ว หมายถึงการกระทำฐานที่ตั้งแห่งปัญญา ปัญญา คือ ความรู้จริง รู้ชัด และรู้ในสิ่งที่เป็นปรมัตถ์ทั้งสิ้น ไม่ใช่รู้ในของสมมุติ แต่รู้ของจริงเลยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:01:56 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:22:31 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


เหมือนเราผสมสีมานี่ เราเห็นเป็นสีม่วง เราบอกว่า สีม่วงผิด ! ที่แท้จริงมันคือสีแดงผสมกับสีน้ำเงิน เรารู้สึกเข้าไปไกลกว่านั้นว่า มีสีแดง กับน้ำเงินปรุงแต่งมาอีกทีหนึ่ง ส่วนมากเราจะมองเห็นว่านี่สีม่วง แท้ที่จริงมันมีเหตุปรุงแต่งมา แต่เราคิดว่ามีสีม่วงขึ้นมาเอง
ฉะนั้น................................วิปัสสนากรรมฐาน คือการกระทำเพื่อให้เกิดปัญญา ปัญญาคือความรู้จริงในปรมัตถธรรมเท่านั้น
รู้ของจริง รู้อะไรเล่า?รู้ว่าชีวิตมีแต่รูป มีแต่นาม ยอมรับอันนี้โดยมีศรัทธามั่นคงว่า คำว่าผู้หญิง ผู้ชาย ไม่จริง ของจริงคือรูป นาม จึงจะปฏิบัติได้
คราวนี้เรามาพูดเรื่องการปฏิบัติกันต่อ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คำว่า วิปัสสนาการรมฐาน เป็นการปฏิบัติชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในหลักของพระพุทธศาสนา
เรามาดูว่าการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่ออะไร ? เพื่อเป็นการคลี่คลายแง่มุมให้เด่นชัดออกมา ด้วยการเอารูปนามที่เรายอมรับว่า เป็นของจริงที่มีอยู่นี้ไปเป็นตัวกำหนดเป็นภูมิ
ภูมิคือที่ตั้ง สถานที่ แทนความวิปลาส คือ คน สัตว์ ฉัน เธอ เขา แก แต่เอารูปนามไปเป็นภูมิ คือ เป็นที่ตั้งแทนความวิปลาสที่เคยผังอยู่ในใจ เพราะตราบใดที่เราไม่ถ่ายถอนความวิปลาสออกมา เราจะเห็นของจริงไม่ได้
พูดเรื่องของจิตก่อน คนเราต้องมีจิต จิตคือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ที่นี้การเห็นของเรา การได้ยินของเรา การได้กลิ่นของเรา การรู้รสของเรา การสัมผัสถูกต้องเย็นร้อนอ่อนแข็งของเรา การนึกคิดไปในอารมณ์ต่างๆ ของเรา ที่มีมาได้เพราะต้องมีวิญญาณ คือจิตนั่นเอง
จะเห็นเอง ได้ยินเอง ได้กลิ่นเอง รู้รสเอง สัมผัสเอง ถูกต้องเอง นึกคิดเองไม่ได้ มันเป็นหน้าที่ของจิตเองทั้งสิ้น แล้วจิตนี่ก็คือนามธรรม
เวลาที่เห็น เราไม่ได้เป็นผู้เห็นนะครับ ตรงนี้สำคัญนะเข้าเรื่องการปฏิบัติแล้ว พอเรานึกว่าเราเห็น แต่เมื่อกี้บอกแล้วว่าเราไม่มี มีแต่รูป มีแต่นาม ยอมรับแล้วใช่ไหมครับ
ฉะนั้น.....................ต้องเอารูป - นามเข้ามาปฏิบัติ คือจิตของเราเป็นผู้เห็น เรามองไม่เห็นจิตเพราะจิตเป็นนาม จึงเป็นนามเห็น เพราะนามเป็นผู้เห็นตาของเรามีไว้เป็นทวารให้จิตมาทำหน้าที่เห็น ไม่มีเรา เอาเราออกเสียก่อน เอาสมมุติออก เราจะทำลายความวิปลาส ความเข้าใจผิดออก ที่แท้จริงคือนามธรรม มี 2 อย่างแค่นี้เอง ในชีวิต คือนามเป็นผู้เห็นรูป เราไม่มี เวลาที่ได้ยิน เรานึกว่าเราได้ยิน การได้ยินเกิดขึ้นได้ต้องมีจิต จิตเป็นนาม จึงต้องกำหนดว่า นามได้ยิน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:02:22 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:25:11 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


เวลาที่ได้กลิ่น จิตมาทำหน้าที่รู้กลิ่น จิตรู้กลิ่นได้ ได้กลิ่นได้ บอกว่าเหม็น บอกว่าหอม แต่ความสำคัญผิดของคนเราอยู่ที่รู้สึกว่า เรามันหอม เรามันเหม็น แท้ที่จริงเราไม่ได้หอม เราไม่ได้เหม็น ลักษณะที่หอมเหม็นนั้นอยู่ในที่ของมัน มันเหม็นเอง หอมเอง คือรูปนั่นเอง รูปมันเหม็น รูปมันหอม จึงต้องกำหนดในวิปัสสนาว่า รูปเหม็น รูปหอม ไม่ใช่เราเหม็น ไม่ใช่เราหอม หรือกำหนดว่า รูปกลิ่นก็ได้ สำหรับผู้ที่ชำนาญแล้ว
ฉะนั้น....................ต้องเอารูป - นามเข้ามาปฏิบัติ คือจิตของเราเป็นผู้เห็น เรามองไม่เห็นจิตเพราะจิตเป็นนาม จึงเป็นนามเห็น เพราะนามเป็นผู้เห็น
ตาของเรามีไว้เป็นทวารให้จิตมาทำหน้าที่เห็น ไม่มีเรา เอาเราออกเสียก่อน เอาสมมุติออก เราจะทำลายความวิปลาส ความเข้าใจผิดออก ที่แท้จริงคือนามธรรม มี 2 อย่างแค่นี้เอง ในชีวิต คือนามเป็นผู้เห็นรูป เราไม่มี เวลาที่ได้ยิน เรานึกว่าเราได้ยิน การได้ยินเกิดขึ้นได้ต้องมีจิต จิตเป็นนาม จึงต้องกำหนดว่า นามได้ยิน
เวลาที่ได้กลิ่น จิตมาทำหน้าที่รู้กลิ่น จิตรู้กลิ่นได้ ได้กลิ่นได้ บอกว่าเหม็น บอกว่าหอม แต่ความสำคัญผิดของคนเราอยู่ที่รู้สึกว่า เรามันหอม เรามันเหม็น แท้ที่จริงเราไม่ได้หอม เราไม่ได้เหม็น ลักษณะที่หอมเหม็นนั้นอยู่ในที่ของมัน มันเหม็นเอง หอมเอง คือรูปนั่นเอง รูปมันเหม็น รูปมันหอม จึงต้องกำหนดในวิปัสสนาว่า รูปเหม็น รูปหอม ไม่ใช่เราเหม็น ไม่ใช่เราหอม หรือกำหนดว่า รูปกลิ่นก็ได้ สำหรับผู้ที่ชำนาญแล้ว
ต่อไปเวลาที่รู้รส เรารู้รสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด เรารู้สึกอย่างนี้มาตั้งนาน ที่นี้เมื่อไม่มีเรา อะไรเป็นรสชาติ รูปครับ
พริกที่เราเห็นได้ เป็นรูป เกลือ เป็นรูป พริกมันเผ็ดของมันเองตามธรรมชาติ เราไม่ได้เอาใส่ปากเราก็ไม่เผ็ด แต่พอเราเอาใส่ปากเคี้ยวปุ๊บ เราคิดว่าเราเผ็ด เกลือมันเค็มเอามาใส่ปาก เราคิดว่าเราเค็ม เราหลงผิดคิดว่าเราเผ็ด เราเค็ม จึงต้องกำหนดรูปรส สำหรับคนที่ยังกำหนดรูปรสไม่ทัน ให้กำหนดรูปเปรี้ยว รูปหวาน รูปเค็ม ฯลฯ เพื่อตัดความรู้สึกว่าเราเป็นผู้รู้รสออกไปก่อน
ต่อไปความรู้สึกสัมผัส จิตรับสัมผัสได้เมื่อมีสิ่งมากระทบกาย สัมผัสอะไรบ้างครับ? เย็น ร้อน อ่อน แข็ง รูปที่มากระทบมีความเย็น มีความร้อน มีความอ่อน มีความแข็ง จิตของเราก็รับความรู้สึกที่กระทบทางกายนั้น ก็รู้สึกเย็น รู้สึกร้อน รู้สึกอ่อน รู้สึกแข็ง ที่แท้รูปมีลักษณะ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เมื่อมากระทบกาย จิตเป็นผู้รู้สึก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:02:59 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:28:19 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


ฉะนั้นในการกำหนด จึงกำหนดได้ทั้งรูปทั้งนาม โดยกำหนดอาการที่กระทบ เป็นรูปเย็น รูปร้อน รูปอ่อน รูปแข็ง หรือกำหนดนามรู้สึกเย็น นามรู้สึกร้อน นามรู้สึกอ่อน นามรู้สึกแข็ง สุดแท้แต่ความเด่นชัด เพราะจิตรับรู้ในเรื่องของรูปของนามทีละขณะ
ข้อสุดท้ายครับ การนึกคิด ที่เรานึกคิดไปเรื่องที่ผ่านมา หรือยังไม่เกิดขึ้น คิดถึงหน้าผู้หญิง หน้าผู้ชาย คนสวย คนไม่สวย นึกเกลียดคนนี้ นึกเกลียดคนนี้ เราไม่ได้เกลียด เราไม่ได้รัก แต่เป็นนามครับ นามเป็นตัวเกลียด ตัวรัก ตัวชอบ ตัวชัง
สิ่งที่มีเกิดขึ้นทางใจ เกิดขึ้นอย่างไร ? ตอนนี้กำลังนั่งฟังผมอยู่ คุณลองนึกถึงรูปกุญแจ กุญแจมีรูปร่างอย่างไร นึกออกไหมครับ ? นั่นคือรูปทางใจครับ เห็นไหม ไม่มีรูปจริงๆ แต่เป็นรูปที่เกิดขึ้นทางใจ เกิดจากความนึกคิด ต้องกำหนด รูปทางใจ
ฉะนั้น.......................การปฏิบัติ เราจะต้องเข้าใจกฎอันนี้เป็นสำคัญ คือเพื่อจะเอาคำว่ารูป นาม ไปตั้งแทนที่เราจะได้กำจัดความวิปลาส
พร้อมกันนั้นจะได้เป็นการฝึกสติ เพราะการระลึกรู้สึกตัวได้ในสิ่งที่เป็นจริงนั้น ก็ต้องมีฐานอันมั่นคง สติ จึงมีกำลัง เมื่อสติมีกำลังแล้ว รากฐานอันสำคัญเป็นที่พึ่งกันก็คือมีรูป มีนามอาศัย สติเป็นนามธรรม อาศัยรูป คือหัวใจของเรา ทำให้เกิดการระลึกได้
ฉะนั้น ก็จะมีฐานที่ตั้งอันมั่นคง และกำจัดความวิปลาสออกไป
อธิบายอย่างนี้ ใครยังไม่เข้าใจชัดในเรื่องทฤษฎีนี้บ้าง ถ้าเราไม่ทำความเข้าใจเรื่องของภูมิวิปัสสนา ก็จะปฏิบัติไม่ได้ครับ และเราจะไม่ถึงความจริงแน่
เพราะอะไรครับ ? เพราะเรายังติดคำว่า เรา อยู่ ไม่พ้นทุกข์แน่ แล้วก็หาทุกข์ใส่ตัวอยู่วันยังค่ำ เพราะอะไรครับ? คนเรารักชีวิต เราเจ็บ เรากลัว เขาเจ็บช่างมัน แต่ยังมีเราอยู่ การกระทำกรรมมันก็เกิดขึ้น
ฉะนั้น.................................ลองคิดว่าไม่มีเรา หลวงพ่อเสือ ท่านยกตัวอย่าง.................................................
ลูกของฉันที่ฉันรัก ลูกของฉันเจ็บนิด ฉันก็สงสาร ดูแล เฝ้าถนอม แต่ลูกของเขา (คนอื่น)เจ็บ เราดูแล้วก็เฉย ๆ เพียงกระทบอารมณ์แล้วก็ดับ
เห็นไหมครับ นี่ตัดได้แต่พอถึงเรื่องของเรา เราสืบต่ออารมณ์นั้นอยู่เรื่อย ๆ ลองคิดว่าถ้าลูกของเราตายดูซิ ตอนนี้ไม่ต้องทำอะไรให้ลูกแล้ว หมดภาระหน้าที่แล้ว
ถ้าเผื่อตัวเราไม่มีเสียอีก เราก็ไม่ต้องหา ไม่ต้องไปแก่งแย่งชิงดี อยากกิน อยากอะไรก็ไม่มี หมดจากการกระทำกรรมครับ หมดการกระทำกรรมก็หมดการได้รับผล เอ้า ! ถามได้ ใครยังไม่เข้าใจ? หรือเข้าใจแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:03:26 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:31:37 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


คำถาม ขณะที่กลิ่นกระทบเรา เราก็ต้องได้กลิ่น
คำตอบ ใช่ครับ กำหนดว่า เราได้กลิ่นไม่ได้ และกำหนดว่า นามได้กลิ่นก็ไม่ได้ เช่น น้ำหอม เรานึกว่าเราหอม พอยกน้ำหอมออกไป ก็ไม่หอมแล้ว น้ำหอมมีไหม ? ไม่มี แต่เราคิดว่ามันยังคงหอมของมันอยู่ ขี้หมา เราบอกว่า เราเหม็น เราไม่ได้เหม็น ขี้หมามันเหม็น ต้องแยกออกมาว่า ขี้หมาเป็นรูปครับ ต้องกำหนดว่า รูปมันเหม็น รูปมันหอม ไม่ใช่เราเหม็น ไม่ใช่เราหอม
คำถาม แล้วกลิ่นล่ะครับ
คำตอบ รูปกลิ่น ตัดเราออกไป
คำถาม อย่างเรานั่งนาน ๆ เราเมื่อยตัวเรา เป็นคนเมื่อย หรือว่าจิตของเรา
คำตอบ นามครับ ฟังนะครับ ถ้าคนเราถูกตีแขนแล้วไม่เจ็บ ชกไม่เจ็บ ฟันไม่เจ็บ แทงไม่เจ็บ เอามีดกรีดก็ไม่เจ็บ ถ้าไม่มีนาม เป็นผู้รู้
การรู้สึกตัวสารพัด เป็นเรื่องของนามธรรมทั้งสิ้น เถียงได้นะครับ แต่เมื่อเถียงอย่างไร ก็ต้องยอมแพ้ เพราะศพที่เพิ่งตายตัวยังอุ่นอยู่ แม้จะลงมือตบกันใหญ่ก็ยังไม่เจ็บเลย เพราะความรู้สึกสำนึกของจิตไม่มีแล้ว
ฉะนั้นที่เราเมื่อยนี่ เราหลงผิดว่าเราเมื่อยไม่ใช่ นามมันเมื่อย
หลงผิดคิดว่าเราชา ไม่ใช่เรา นามมันชา คำนี้มันสมมุติทั้งนั้น แต่เป็นเรื่องของนามรู้ทั้งสิ้น มาย้ำความแม่นยำในภูมิของวิปัสสนากันนะครับ

เวลาเห็น ต้องกำหนดนามเห็น

เวลาได้ยินต้องกำหนด นามได้ยิน

เวลาได้กลิ่นต้องกำหนด รูปกลิ่น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:07:15 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:35:26 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


เวลารู้รส ต้องกำหนดรูปรส

เวลายืน เดิน นั่ง นอนต้องกำหนด รูปยืน รูปเดิน รูปนั่ง รูปนอน

เวลารู้สึกเมื่อย ต้องกำหนด นามเมื่อย(หรือนามเป็นทุกข์)

เวลารู้สึก รักเกลียด ชอบ ชัง ต้องกำหนด นามรัก นามเกลียด นามชอบ นามชัง

เวลาอากาศร้อน อากาศหนาวต้องกำหนด รูปร้อน รูปหนาว
เมื่อเราเข้าใจภูมิวิปัสสนากรรมฐานกันมาแล้วว่า ชีวิตมีแต่รูป มีแต่นาม แล้วเราจะปฏิบัติกันอย่างไร ให้มีชีวิตอยู่กับรูป อยู่กับนามได้ตลอดเวลา
เป็นเรื่องที่เล่นไม่ยาก แต่ก็เล่นไม่ง่าย เพราะว่าเราจะต้องรู้จักคำแรก กาละ คำที่สอง เทศะ
จำไว้เลยครับ 2 ตัวนี้แยกให้เป็น กาละ คือกาลเวลา เทศะ คือสถานที่ รวมกันแล้วเป็น ความสมควร ความเหมาะสม
เราต้องแยกการกระทำในชีวิตของเรา ให้เป็นตามกาละ-เทศะ กาลเวลาเป็นของสำคัญนะครับ คนเราถ้าไม่รู้จักกาลเวลาก็ใช้ไม่ถูก
คราวนี้เราใช้ รูปนามอยู่กับกาละ - เทศะ โดยมีสติ จำไว้ นี่เป็น วิธีง่าย ๆ ครับ เริ่มต้น
เราหัดแยกกาลเวลา ถ้าเรามีเวลาพอ เราก็ปฏิบัติอยู่ในรูปในนาม ให้เวลาแก่ตัวเองบ้างว่า เวลานี้เราจะปฏิบัติรูป - นาม ปฏิบัติความจริง โดยเอาสติเข้าไปดู เช่นอย่างไร ? ตื่นเช้าขึ้นมาให้เราใช้เวลาตรงที่เราตื่นกำหนดวิปัสสนา คือปัญญาในเรื่องของ รูป-นามสักนิดว่า พอเราตื่นขึ้นมาปุ๊บนี่ ดัดเข้าไป ดัดอะไร ? เพราะหลวงพ่อเสือท่านบอกว่าจริตมี 6 อย่าง ต้องใช้จริตที่ 7 เข้าไปดัดจึงจะดี
เราก็ดัดจริตของเราลงไปว่าทุกทีเราตื่นขึ้นมาแล้ว เราหาวแบบออกเสียงด้วย คราวนี้เราถามตัวเองว่า เราอยากจะพ้นทุกข์หรือเปล่า เราอยากจะเจอความจริงหรือเปล่า ? เราอยากจะอยู่กับความจริงหรือเปล่า เราตอบว่าเราอยากได้ทั้งสิ้นของดี ๆ ใช่ไหมครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:07:45 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:39:13 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


เอ้า 6 โมงเป๋ง คุณตื่นปุ๊บ คุณอย่าลุกขึ้นนั่งทันที จากเดิมที่เรานอนอยู่ ท่านอนคือรูป รูปมันนอน เมื่อเราตื่นขึ้นมาปุ๊บ คนเราต้องรู้ตัวว่าตื่น ก่อนที่จะลืมตา ไม่ใช่ลืมตาก่อนแล้วรู้สึกว่าตื่น มันต้องรู้สึกว่าตื่นก่อนแล้วค่อยลืมตา ใช่ไหมครับ
ตรงขณะที่รู้สึกตัวว่าตื่นแล้วอย่าเพิ่งลืมตา แต่นิดหนึ่ง...........................ทำความรู้สึกว่าตื่นแล้ว อะไรตื่นล่ะ นามมันตื่น นิดเดียวเท่านั้น
คราวนี้เป็นอย่างไร ตื่นแล้ว คุณกำหนดซีครับ รูปมันนอน ไม่ใช่เรานอน แต่ไม่ใช่ท่องว่ารูปนอน รูปนอน รูปนอน อาการของเราตั้งอยู่ในลักษณะใด ให้กำหนดรู้สึกอาการนั้นว่าเป็นรูป
รูปมันนอน เห็นไหมครับ ให้กาละอันมีปัญญาเกิดขึ้น ตื่นแล้ว นอนอยู่ในลักษณะใด ? กำหนดรูปนอน ทำความรู้สึกว่า ที่คุณอยู่ในขอณะนี้เป็นท่าไขว่ห้าง ตีลังกา ก้ม เอียงซ้าย เอียงขวา ตะแคงข้าง ตะแคงหน้า ตะแคงหลัง นั้นเป็นรูปนอนทั้งสิ้น เพียงใช้เวลานิดเดียวเท่านั้น ก็ได้ปัญญา แล้ว เพราะได้เจอของจริง แล้วก็สอนตัวเองอยู่กับของจริง เมื่อเรารู้สึกอย่างนั้นแล้ว ทีนี้เราก็ต้องรีบไปทำงาน ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ แม่บ้าน หรือแม่ครัวที่ต้องตื่นทำกับข้าว
จะใช้กาลเวลานี้ต่อไปมันก็เป็นทุกข์ใช่ไหมครับ ? เป็นการตึงเกินไป แต่เราได้แค่นี้ดีกว่าไม่ได้เลย เพราะเมื่อสักครู่เราได้ของจริงไปแล้ว
เราก็ลุกขึ้น กำหนดว่า ทุกข์มันเกิด เพราะว่า บางคนปวดปัสสาวะ ก็เป็นทุกข์ใช่ไหมครับ ทุกข์มันเกิด จึงนอนต่อไปไม่ได้ หรือมิฉะนั้น เราไม่ได้ปวดปัสสาวะ แต่ต้องรีบไปทำกับข้าว ใส่บาตร ทุกข์เกิด ถ้าไม่ทำก็เป็นทุกข์ ให้กำหนดว่า ทุกข์มันมีมาแล้ว ทุกข์มันเกิดขึ้นแล้วนะ หรือว่าคุณไม่ต้องทำอะไรเลย ตื่นขึ้นมาเป็นราชาแผ่นดิน คุณก็ขี้เกียจนอน คำว่าขี้เกียจก็เป็นทุกข์ กำหนดว่าทุกข์มันเกิดขึ้นมาแล้วก็ลุกขึ้น
นี่คือลักษณะของผู้มีสติ พอรู้สึกตัวตื่น..กำหนดว่านามตื่น ทุกข์มันเกิด เพราะปวดปัสสาวะ หรือสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ ที่เรานอนอยู่ต่อไปไม่ได้ กำหนดว่า ทุกข์มันเกิด ก็ลุกขึ้นมา แต่ขอให้เป็นจังหวะ จากนอนมาเป็นนั่ง จากนั่งจึงเป็นยืน แล้วเดิน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:08:12 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:44:10 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


คนเรายืน เดิน นั่ง นอน ต้องถูกอิริยาบถ ยืนอยู่จะนอนเลยไม่ถูก จากนั่งแล้วเดินเลยไม่ได้ ข้ามขั้น นอนแล้วต้องนั่งครับนั่งสักนิดหนึ่ง รู้สึกว่ารูปมันนั่งแล้วเห็นไหมได้อะไรอีกได้รูปนั่ง รูปนั่งอยู่ได้ไม่นาน คุณต้องรีบไป แต่ต้องให้เวลาตัวเองให้ถูกอิริยาบถ ไม่ข้ามขั้น นั่งแล้วคุณก็ยืน ยืนแล้วคุณก็เดินไป เดินไปเร็วๆ ด้วย แต่ขอให้ยืนสักนิดหนึ่ง
คราวนี้คุณจะทำอะไรต่อไปอย่างที่เคย ก็เป็นเรื่องของคุณ แต่เช้านี่คุณได้แล้ว กาละ กาละที่เป็นปัญญา ลองมาฝึกในท่านอนกันนะครับ แล้วลองกำหนดรู้สึกซีครับรูปนอน ความรู้สึกรู้สึกนะ ไม่ใช่ท่องนะ เรารู้สึกว่านี่เราไม่ได้นั่ง ท่าที่รู้สึกว่านอน ไม่ใช่ท่านั่งใช่ไหมครับ
ทำความรู้สึก อย่าท่อง รู้สึกว่านี้ลักษณะของการนอน
ทีนี้ลุกขึ้นนั่งนะครับ เห็นไหม เรารู้สึกใช่ไหมว่าต่างกับเมื่อสักครู่นี้ ความรู้สึกต่างกัน คือรูปต่างกัน ไม่ใช่เราต่างกัน
เราใช้กาละ เห็นไหมครับ แยกกาละกับเทศะ กาละนิดเดียว คุณปฏิบัติวิปัสสนาได้ มัวแต่จะรอไปเข้าที่นั่นที่นี่ รอให้แก่ก่อน รอให้พักร้อนก่อน คุณไม่ได้หยุดพักร้อน อาจตายก็ได้ คุณยังไม่ทันได้วิปัสสนาเข้าไปเลย ใช่ไหมครับ
คราวนี้เราพูดถึงตอนกลางคืนบ้าง วันละนิด ก่อนนอนคนเราก่อนจะนอน ก็มักจะอิดเอื้อน ค่อย ๆ ยุรยาตรนอน เอากาลตรงนี้แหละ คุณจะต้องนั่งก่อนใช่ไหมครับ ไม่ใช่พอถึงเตียง ยืนอยู่ ทิ้งตัวลงไปนอน มันต้องเป็นลักษณะที่ถูกต้อง คือ ขึ้นนั่งบนเตียง แล้วก็ล้มตัวลงนอน
และก่อนจะนั่ง ต้องกำหนดรูปยืนสักนิด อย่าเดินก้าวไปแล้วก็นั่ง ให้หยุด รูปยืน แล้วนั่งลง กำหนดรูปนั่ง แล้วก็นอน
นี่คือกาละอันมีปัญญา แล้วกำหนดรูปนอนต่อไป คราวนี้ยังนอนไม่หลับ คุณก็ทำความรู้สึกรูปนอน ยังไม่หลับเกิดความฟุ้งซ่าน แทนที่จะรู้สึกว่าเรากำลังฟุ้ง กำหนด นามฟุ้ง ระหว่างที่กำหนดได้ว่า นามฟุ้ง ขณะนั้นสติเกิดแล้ว เห็นไหมใครไม่เข้าใจคำว่า กาละ ยกมือ

คำถาม ที่ฟุ้งไป ไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ก็เมื่อฟุ้งมันดับ อย่างนี้จะกำหนดอย่างไร

คำตอบ คุณรู้ด้วยหรือว่าฟุ้งมันดับไปแล้ว นั่นเป็นความรู้ใน(อุทยัพพยญาณ)แล้วนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:08:38 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:48:19 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


คำถาม พอเรานอนรู้สึกตัวเราฟุ้งเราก็มีสติ ก็ดับ
คำตอบ อย่างนั้นมันดับไปเอง ไม่ใช่ไปบอกว่าฟุ้งมันดับไปแล้ว เป็นอย่างนี้เรียกว่า ท่อง ฃพอรู้สึกตัวกำหนดว่า นามฟุ้ง ฟุ้งมันดับไปแล้วตอนนั้น
ทำไมจึงให้กำหนดนามฟุ้ง เพราะว่าเรามักจะรู้สึกว่า เรื่องเมื่อสักครู่นี้มันทุกข์ใจจังเลย ซึ่งไม่เห็นน่าคิดเลย แต่มันก็จะคิดต่อใช่ไหมครับ เราเอานามเข้ามาตั้งแทนความวิปลาสเลย สกัดเลย เป็นการกำหนดของจริงเข้าไป เพื่อกันสิ่งที่จะไหลเข้ามาอีก เป็นสติมาตั้งแทน
ทำไมเราต้องกำหนดนามฟุ้ง ทั้ง ๆ ที่มันผ่านไปแล้วว่าเป็นนามฟุ้ง เพราะว่าถ้าหากเราไม่เคยเรียนเลย
เราก็จะบอกว่า เมื่อสักครู่นี้ คิดไม่ดีเลยเสียใจ แล้วมันจะเป็นจริงไหม มันวิตกกังวลเกิดขึ้นตามมา ใช่ไหมครับ
พอเราทำวิปัสสนา มันฟุ้ง ฟุ้งช่างมัน แต่พอรู้ว่าฟุ้ง กำหนดนามมันฟุ้ง แล้วเราก็กลับมากำหนดอิริยาบถใหม่

คำถาม  เมื่อเห็นว่าฟุ้งซ่านไม่ดี ตัดทิ้งมันเลยใช่หรือไม่

คำตอบ  สติมันตัดเอง คุณไม่ต้องไปตัด สติมันตัดแล้ว

คำถาม  ทีนี้พอตัดแล้วมันเบลอ มันก็ไม่ว่าง มันเบลอ มันนิ่งอยู่เฉย ๆ

คำตอบ  นิ่งหรือกำหนดจิตสงบ อะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่เรา เอาเราออกให้หมด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:09:12 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:52:36 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


ต่อไปเรื่องของ กาลเทศะ ความสมควร เช่น ตอนที่เราไปอาบน้ำ แปรงฟัน กินข้าว แต่งตัว ออกจากบ้าน ตรงนี้ต้องให้มีสติ เมื่อสักครู่นี้เป็นกาละ เราใช้รูปนามแล้ว คราวนี้เป็นกาลเทศะ ไม่จำเป็นต้องมีรูปนามแล้ว ขอให้มีสติ คุณตั้งเป้าก่อนว่าคุณออกจากห้องนอน
ออกจากห้องนอนแล้วเราจะไปไหนก่อนไปห้องน้ำ คุณก็มีความตั้งใจไปห้องน้ำ ไม่ใช่ไปแล้วแวะไปดูว่า มีกับข้าวอะไรบ้าง น่าอร่อยจัง อย่างนี้ตัณหามันมากครับ อย่าอยู่กับตัณหาเลย ตั้งใจไปไหน ก็ไปทำอันนั้นให้เสร็จอย่างหนึ่งถ้าเผื่อเผลอแวะแล้ว คุณก็จะต้องนึกว่าอย่าไปส้วมเลย กินมันก่อนเลย ดูซิตัณหามันชอบไหม กินทั้งสกปรก
ต้องหัดครับ เห็นไหม ออกจากห้องมาปุ๊บ เราไม่ต้องเป็นรูปเดินแล้ว ไม่จำเป็น เดี๋ยวไม่ทันไปโรงเรียน ไปทำงาน มีสติตั้งใจทำ
อาบน้ำ คุณก็อาบน้ำด้วยความตั้งใจ อย่าไปร้องเพลง อย่าไปคิดโน่นคิดนี่ มีความตั้งใจกับงานเห็นไหม
สติเข้าใช้กับกาลเทศะ อาบด้วยความตั้งใจ จะทำให้มีความละเอียดอ่อน เข้าไปในการงานที่ไม่ประมาท พอออกจากห้องน้ำแล้ว มีความตั้งใจก่อนว่าจะไปไหน เราก็มีสติไปที่นั่น
กินข้าว คราวนี้เราก็มีสติกินได้อย่างที่หลวงพ่อสอน ตักแล้ววาง เคี้ยว ๆ กลืน ออกจากบ้าน พอออกจากบ้าน เราก็ตั้งใจเลย ออกจากบ้านด้วยสติ อยู่ในบ้านด้วยปัญญา มีปัญญาอยู่ในบ้าน
พอลงไปขับรถ คุณจะมัวกำหนดรูปขับ นามเห็น อย่างนี้ไม่ได้ ผิดกาลเทศะ เดี๋ยวจะเกิดอุบัติเหตุ คุณต้องมีสติ ตั้งใจขับ ไม่ประมาท มีความตั้งใจ เห็นไหม เอาสติไปใช้
พอถึงที่ทำงาน ถ้ามีโอกาสว่างตอนไหน กำหนดรูปยืน กำหนดนามได้ยิน กำหนดรูปนามต่าง ๆ อย่างนี้ก็ใช้ได้ หาโอกาสที่ถูกกับกาลเทศะได้ทั้งวี่ทั้งวันเลยคุณเอ๋ย พระอรหันต์ไม่พ้นพวกคุณนี่แหละ

คำถาม เวลารับประทานอาหารเกิดเคี้ยวถูกพริก กำหนดรูปเผ็ด แล้วจะทำอย่างไร

คำตอบ กำหนดรูปเผ็ด แล้วก็แก้ไข คายออกไปทิ้ง ไม่ใช่เคี้ยว ๆไป คายออกดู อ๋อ รูปมันเผ็ด แล้วใส่ปากเข้าไปใหม่

คำถาม กำหนดรูปเผ็ด แต่ทีนี้มันก็ยังเผ็ดอยู่

คำตอบ นั่นไม่มีการหาย คุณกำหนดยังไงก็ไม่หายเผ็ด เพราะพริกมันต้องเผ็ดอยู่แล้ว มันหายไปไม่ได้ กำหนดให้มันหายไม่ได้ ไปบังคับมันไม่ได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:09:53 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 18:56:29 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


คำถาม ไม่กำหนดหาย แต่มันยังไม่หายเผ็ด แล้วมีความเฉย ๆ ไปอย่างนั้นหรือ
คำตอบ แล้วอาการของคุณตั้งอยู่ในอิริยาบถอะไร ให้กลับมาที่อิริยาบถนั้น เช่น กลับมาดูรูปนั่ง จะกำหนด ให้มันหายเผ็ด เป็นไปไม่ได้ เพราะพริกมันต้องเผ็ด

คำถาม ไม่ได้นามหายเผ็ด แต่ว่ามันยังเผ็ด

คำตอบ มันยังเผ็ดอยู่ แล้วคุณก็ยังไปใส่ใจมัน คุณก็ตั้งใจ มีสติกับการกินเข้าไป กระทบเผ็ดจนทนไม่ได้ คุณก็รู้ว่ารูปมันเผ็ด แต่ละครั้ง ๆ ไป ไม่อย่างนั้นก็กินน้ำเข้าไป หรืออมท๊อฟฟี่เข้า แก้ไขครับ ไม่ใช่ทำให้หาย

คำถาม เวลาฟุ้งนี่ จะกำหนดนามฟุ้งแล้ว ก็ยังฟุ้งต่อไป จะทำอย่างไร

คำตอบ คุณอย่ากำหนดว่าเมื่อไรฟุ้งจะหาย นั่นมันเหมือนกับคุณดูละครแล้วอยากให้ตัวนั้นเล่นอย่างนั้นตัวนี้เล่นอย่างนี้ นั่นเป็นตัณหาครับเราปฏิบัตินี่เพื่อทำลายตัณหา ไม่ใช่เพื่อหาตัณหา บังคับไม่ได้ เรามีหน้าที่ดูเฉย ๆ ฟุ้งมันเกิดขึ้น รู้สภาวะของมัน มีโยนิโสว่ามันเป็นรูปหรือเป็นนาม นามฟุ้ง แค่นี้เอง
เหมือนอย่างที่เราเคี้ยวพริก แล้วกำหนดว่ามันยังเผ็ดอยู่ จะให้มันหายเผ็ด เป็นตัณหา มันจะเผ็ด จะเปรี้ยว เป็นเรื่องของอาหาร แต่ขอให้เอารูปมาแทน ไม่มีเรา คุณจะเผ็ดจนตายคุณก็ไม่เกิด จะเปรี้ยวจนตายคุณก็ไม่เกิด ขอให้ไม่มีเรา ละสักกายะออก
กินเข้าไปนี่มันเปรี้ยว ก็กำหนดว่า รูปเปรี้ยว มันยังเปรี้ยวอยู่ ก็กำหนดอีกทีหนึ่งว่ารูปเปรี้ยว ถ้ามันมีความสะเทือนเข้ามาในใจ รู้สึกน่ะ ว่ารูปมันเปรี้ยว แล้วเรามากำหนดรูปนั่งก็ได้ ตอนนี้รูปนั่งอยู่ หรือมีสติกับการถือช้อนไม่ประมาท
ท่านทั้งหลายพอเข้าใจไหมครับ แล้วขอให้ปฏิบัติด้วยกาลเทศะ เช่นก่อนนอน ก่อนเข้านอน คุณกำหนดให้เป็นอิริยาบถที่มี นั่นแหละเป็นวิธีจัดระเบียบ เพราะเราเริ่มต้นได้ ถ้าหากเราเข้าห้องปฏิบัติในสำนักเลย ไม่เคยหัดนั่ง หัดยืนให้เป็นระเบียบ มันก็เผลอง่าย แล้วเราจะท้อแท้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:10:31 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 19:02:51 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


คำถาม ต้องไหว้พระก่อนนอนหรือไม่ ก่อนจะเริ่มปฏิบัติ
คำตอบ เพิ่มความเคารพอ่อนน้อมเพิ่มเจตนามีความตั้งใจลงไป คุณได้บุญ ตรงนั้นคุณไหว้พระอยู่ ไม่ต้องกำหนดรูปไหว้ ผิดครับ ตอนนี้คุณไหว้พระมีใจนอบน้อมในการทำความดี มันต้องมีบุญเป็นรากฐานอยู่แล้วไม่ใช่พอลงมือสวดมนต์ กำหนดรูปนั่ง ผิดแล้ว จะไหว้พระคุณก็มีความตั้งใจกับการทำงาน
มีสติอยู่กับตัว ใช่ไหมครับ แล้วคนเรานี่ ทำชั่ว - ทำช้า แต่เวลาทำดีก็มักจะทำให้เสร็จเร็ว ๆ พูดแค่นี้คุณยังไม่รู้จัก เมื่อจะทำความชั่ว คุณจะแกล้งทำ คุณอืด ๆ ใช่ไหมครับ ทำให้มันนานลงไป นานลงไป แกล้งเขียนให้นาน ไม่อยากจะทำ
ไม่ชอบ...นี่เป็นความชั่ว โทสะมันเกิดขึ้น แกล้ง แกล้งทำตะบิดตะบอยให้เวลาความชั่วมันยาว แต่พอทำความดี เช่น ไหว้พระอย่างรีบ ๆ เห็นไหมครับคุณให้เวลากับความดีสั้นเกินไป
ฉะนั้น......................เปลี่ยนใหม่สลับที่กัน พอคุณจะกราบพระ อ่อนน้อม ถ่อมตน นั่งอย่างตั้งใจ แล้วกราบไม่เสียเวลา กายสุจริตอันประกอบด้วยการกระทำอันตั้งใจ เวลาความชั่วเกิดขึ้น เช่น ไม่ชอบเขา คิดอยู่นั่น คิดอยู่นั่น รู้ตัวไหมครับ ว่าเร่งเวลาความชั่วให้มีกำลังมากขึ้น
พอเรื่องที่ดี ๆ คิดนิดเดียว สมมุติว่าคุณเคยไปนครพนม ไหว้พระธาตุพนม เคยไปตั้งแต่เด็ก แต่ไปอีกทีคุณบอกว่า เอ....................ไม่รู้ว่าเคยไปหรือเปล่า แต่ถ้าคุณเคยถูกวิ่งราวตรงไหน จำได้ว่าเคยถูกวิ่งราว จำได้แม่นเลย ของชั่ว

คำถาม มันไม่อย่างนั้น ชั่วทำง่าย แต่ดีทำยาก

คำตอบ ผิดครับ เพราะคุณไปหัดเอง หัดจนคล่อง มันจึงง่าย ความชั่วนี่ทำยาก แต่คุณไปทำให้เก่งเอง ตบยุงนี่ทำยาก กลับกัน
ไม่ตบยุงนี่ทำง่าย นั่งเฉย ๆ ไม่ตบยุง ง่ายจะตาย ตบยุงนี่ต้องหันไปดู ต้องยกมือขึ้นตบ ทำยากกว่า เห็นไหม เวลานานกว่าอีก
แต่เราเก่งแล้วกับความชั่ว ตบยุงยากกว่าใช่ไหม ไม่ตบยุง นั่งเฉย ๆ ง่ายกว่าอีก ความดีง่ายกว่า เยอะ ๆ เลย อย่าทำเลยของยาก
เจริญภาวนา จึงมีความสำคัญแก่ทุกคน ตั้งแต่เล็กจนโต แต่ละวันตั้งแต่เช้าจนเย็น คุณไม่เคยสงบเลย อยู่ดี ๆ คุณฟุ้งเก่งเลย
เมื่อความชำนาญมีขึ้นมา คุณก็จะกำหนดรูป - นาม คุณก็ฟุ้งไปเสีย กลายเป็นท่อง เป็นวิปัสสนึก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:10:57 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 19:07:09 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


ฉะนั้น...............จึงต้องมี รากฐานของสมาธิ สร้างความสงบเสียก่อน พอมีความสงบแล้วมันก็สดใส ที่จะคิดอะไรได้อีกมากขึ้นดีขึ้นถูกต้องขึ้น ใช่ไหมครับ นี่แหละจึงต้องนั่งสมาธิ คุณไม่ต้องมีพระพุทธรูป ถ้าเผื่อบ้านคุณไม่มีพระ คุณบอกว่าไม่มีพระที่บ้าน ฉันไม่ต้องสวดมนต์ ผิดนะครับ
คนโบร่ำโบราณท่านบอก ก่อนนอนให้กราบหมอน นี่ท่านสอนให้เรารู้จักการอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นศิริมงคล
เมื่อคุณกลับบ้านหมดภารกิจแล้ว มีเจตนาทำความดีดีกว่า ใช่ไหมครับ อยู่กับโลกียะมานานแล้ว ทำจิตใจ กาย วาจาให้เป็นกุศล คุณก็กำหนดรู้สึกว่ารูปนั่ง ถึงเวลาสวดมนต์แล้ว
เอ้า 2 ทุ่มเป๊ง หลวงพ่อเสือเคยนัดว่า ให้สวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิ พอถึงเวลา 2 ทุ่ม มีความรู้สึกตัวว่านี่เราจะได้ทำกุศล แล้วเราก็ได้รู้ว่าตอนนี้เราได้เริ่มต้นเป็นคนดี ผมก็หวังเหลือเกินว่า สิ่งที่ผมมีความตั้งใจเต็มที่เลยนะครับวันนี้ ว่าผมจะพยายามทำภูมิวิปัสสนา ให้ท่านทั้งหลายเข้าใจ
ขอผลานิสงส์ของผม ที่มีความตั้งใจอุทิศให้พวกคุณด้วย ให้รับรู้การกระทำความดีของผม
และขอให้คุณทั้งหลายมีการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงสู่มรรคผลนิพพาน โดยมีปัญญารู้แจ้งในปรมัตถ์วันนี้เลยนะครับ (สาธุ)



....................................เริ่มการปฏิบัติ.......................................


ต่อไปนี้เราก็จะได้เริ่มการปฏิบัติ เพื่อนำชีวิตไปสู่ความเจริญต่อไป การกระทำความดีของเราพุทธศาสนิกชน ผู้ที่กำลังจะเดินตามทางแห่งความพ้นทุกข์ ตามคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มต้นด้วยการน้อมจิตระลึกถึง พระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ซึ่งเป็นผู้ประเสริฐ สำหรับสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพราะทรงบ่งบอกและชี้ทางแห่งความพ้นทุกข์ให้
เราจึงควรมีความเคารพนบนอบ ด้วยการมองไปที่พระพักตร์ของพระพุทธรูป ซึ่งเป็นรูปจำลองขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธลักษณะที่ปรากฏความงดงามเยือกเย็น ประกอบไปด้วยความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมที่จะเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แจงแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้เวไนยสัตว์ทั้งหลายได้รู้ความจริง ตื่นอยู่บนความจริง แล้วเบิกบานบนความจริง เพื่อจะได้คลายความกำหนัดยินดี ซึ่งเป็นเหตุให้เราต้องผจญกับการเกิด การแก่ เจ็บ ตาย อันไม่รู้จักจบ นี่คือคุณลักษณะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.....................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:14:39 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: 02 เมษายน 2553 19:10:17 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/yesterday/5.jpg
a way for peace chapter 1


ฉะนั้น...................เราจะได้เริ่มสวดมนต์ เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ที่พระพุทธองค์เป็นผู้ประกาศศาสนามา
ขอให้เรามีความตั้งเจตนา เพื่อจะทำกาย วาจา และใจของเรา ให้คลายจากกิเลสในขณะที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ด้วยการตั้งเจตนากราบ สำรวมกาย สำรวมวาจา และตั้งเจตนา ตรงต่อการกระทำหน้าที่ของตนเองต่อไปครับ
องค์ใดพระสัมพุทธ์ สุวิสุทธสันดาน.....................เมื่อเราได้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยแล้ว ก็ถึงเวลาแห่งการกระทำจิตใจ ให้อยู่ในความสงบ เพราะว่าความสงบที่เราจะกระทำนี้ เป็นบ่อเกิดอันสำคัญของสติได้ จิตใจของคนเราทุกวันนี้ซัดส่ายฟุ้งซ่านอยู่เสมอ
หาความสงบนิ่งไม่ได้เลย
ฉะนั้น...................เราควรเริ่มต้นฝึกจิตตนเอง ด้วยการกำหนดให้อยู่ในอารมณ์ๆ เดียว ท่านจะใช้การภาวนาอย่างไร ซึ่งเป็นอารมณ์แห่งความสงบ มากำหนดได้ทั้งสิ้น
แต่ขอให้จำไว้ว่า การปฏิบัติสมาธิต่อไปนี้ เป็น สัมมาสมาธิ คือสมาธิที่ถูกต้อง ที่ชอบ ที่เที่ยงต่อการพ้นทุกข์ หมายถึงการกระทำเพื่อให้จิตใจสงบตั้งมั่น ไม่ต้องากรนิมิตหมายใด ๆ ทั้งสิ้น
เพราะนิมิตหมายต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่สามารถทำให้เราพบความจริงได้ ความจริงจะต้องค้นให้พบก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มิใช่ความจริงอย่างอื่น
การปฏิบัติสมาธิอย่างเดียว ไม่สามารถเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ จึงต้องมีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น การปฏิบัติสมาธินี้ จึงเป็นเพียงการทำให้จิตสงบ เพื่อเป็นรากฐานให้เกิดวิปัสสนาปัญญาต่อไป ก่อนที่เราจะลงมือปฏิบัตินั้น เราจะต้องมีการกล่าวคำ ขอกรรมฐานเสียก่อน
การกล่าวคำขอกรรมฐาน มีความมีความสำคัญอย่างไร ก็เพราะว่าจะได้ทำให้เกิดเจตนา ตั้งใจ และได้แสดงออกมาทางวาจาว่า เราจะปฏิบัติชำระความโลภ ความโกรธ และความหลงทั้งมวลออกไปไห้ได้
อำนาจแห่งเจตนาที่มีความจงใจนี้ เป็นเหตุปัจจัยให้บังเกิดผลได้ก็ คือความสงบ แต่ความสงบนั้นหาเที่ยงแท้แน่นอนไม่ ขอให้เราเพียรกระทำด้วยความตั้งใจ แต่อย่าให้แรงเกินไป เพียงแต่รู้สึกตัวและทำความเข้าใจว่า จิตสงบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2553 20:15:20 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.334 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 03 กันยายน 2566 15:16:47