[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 กรกฎาคม 2568 10:53:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : คิดว่าคนทั่วไปคงเปลี่ยนตัวเอง 4 หน-ใน 4 พาราไดม์  (อ่าน 2076 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554 21:22:03 »




ไม่ชอบและไม่เคยคิดที่จะเขียนเรื่องของตัวเองแม้แต่น้อย เช่นเดียวกับที่ไม่ชอบถ่ายรูปตัวเองมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ลึกๆ เหตุผลคงมีคือความกลัว กลัวความมีอัตตาตัวตน กลัวการหลงตัวเอง (narcissism)  ไม่ชอบมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ แล้ว แม้แต่บทความนี้จริงๆ แล้วก็ไม่อยากเขียน แต่มันมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงตัวเองของคนทั่วไปทั้งโลกที่ผู้เขียนคิดว่าเปลี่ยนแปลงรูปแบบของวิถีชีวิตของตัวเอง - ไม่มากก็น้อย - 3 หนหรือ 3 ครั้งในชีวิต ผู้เขียนโชคดีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองถึง 4 ครั้ง  (transformation) รวมทั้งได้มีการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งในแบบที่มีความหมายที่ล้ำลึก รวบยอดขององค์กรเก่าหรือพาราไดม์เก่าไว้ในพาราไดม์ใหม่ หรือกระบวน-โลกทัศน์ใหม่ไว้ทุกครั้ง ใคร่ขอยืมคำพูดของเค็น วิลเบอร์ อีกทีมาใช้ในที่นี้ (คือคำว่า transcend and include) เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนคิดไม่เหมือนกับอัตชีวประวัติคนอื่นๆ นอกจากนั้นก็มีอีกเรื่องหนึ่ง คือบทความของผู้เขียนบทนี้ ซึ่งจะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนเองที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงของพาราไดม์หรือกระบวนทัศน์ - แห่งองค์รวมซ้อนองค์รวมที่ใหญ่กว่า ซ้อนๆ องค์รวมที่ใหญ่กว่านั้นเข้าไปอีก ฯลฯ มากกว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองของตัวผู้เขียนเอง

การเปลี่ยนแปลงตัวเองทางสังคมหรือพาราไดม์ของผู้เขียนคิดว่าคง “ไม่” เหมือนกับคนอื่นๆ คือเป็นการเปลี่ยนที่วิสัยทัศน์หรือโลกทัศน์หรือมุมมอง (worldview) ที่ผู้เขียนมองโลกและมองสังคม ซึ่งก็คือวิถีชีวิตหรือรูปแบบของสังคม (pattern) หรือพาราไดม์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งสำหรับผู้เขียนเมื่อมองย้อนหลังกลับไปพบว่ามันมีถึง 4 พาราไดม์ หรือ 4 ครั้ง เริ่มต้นตั้งแต่ผู้เขียนยังเล็กๆ คือเริ่มตั้งแต่พาราไดม์ที่มีศาสนา หมายถึงพุทธศาสนาสายเถรวาทเป็นแกนนำ เพราะบ้านที่อยู่เก่าปลูกอยู่หน้าวัด (วัดบางนรา)  หลังบ้านทางซ้ายยังเป็นป่ารกที่ติดกับป่าช้าของวัดพุทธศาสนาที่ในตอนนั้นผู้เขียนคิดเหมือนคนทั่วๆ ไปคิด ว่ามีแต่ความเชื่อศรัทธาเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นตรงกันข้ามกับความรู้ที่ได้มาจากโรงเรียนในตอนนั้น     พาราไดม์ที่มีพุทธศาสนาที่มีความเชื่อแต่เพียงอย่างเดียวจึงเป็นสิ่งที่ให้กับผู้เขียนในตอนเป็นเด็กและอยู่กับผู้เขียนนานกว่า 10 ปี จำได้ว่าในช่วงนั้นพอดีมีสงครามที่ยุโรป และเยอรมันยกทัพโจมตีโปแลนด์ “ดุจสายฟ้าแลบ” แพ้ภายใน 2-3 วันก่อนที่จะบุกตีออสเตรีย-เชกโกสโลวะเกีย ฮังการี และตามมาด้วยการตีเนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศสด้วย “ดุจสายฟ้าแลบ” ทั้งสิ้น ยังจำได้ถึงตอนอยู่มัธยม 2 กับความหลงใหลและจินตนาการของเด็ก 8-9 ขวบในภาพซึ่งวาดไว้ในหนังสือนิทานอีสปเรื่องหนึ่งที่แสดงถึงความสงบที่สันโดษอย่างล้ำลึกของจิตที่ปราศจากการรบกวนจนตัวผู้เขียนเองต้องแอบหลบตัว ไม่กินข้าวกลางวันเพื่อชื่นชมภาพวาดนั้นบ่อยๆ โดยไม่มีใครรบกวน เพราะอยู่ในห้องนั้นคนเดียวจริงๆ ภาพนั้นได้แสดงถึงต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรงยังโค่นล้มด้วยแรงลมจนหักโค่นลงมาลอยเท้งเต้งอยู่ในน้ำหลังฝนที่เจิ่งนอง นั่นแสดงภาพของจิตหรือของอัตวิสัย (subjective) ซึ่งแสวงหาความสงบ สันโดษ และต่อต้านความรุนแรง ซึ่งไม่มีประโยชน์อันใด สู้ความสงบที่ล้ำลึกและสันโดษไม่ได้

พาราไดม์ที่ 2 ตามมาติดๆ กันเมื่อขึ้นช่วงปลายของชั้นมัธยม 3 ชนิดเป็นตรงกันข้ามกับกระบวนทัศน์แรก เป็นพาราไดม์ที่ค่อนข้างเป็นวัตถุนิยมหรือตั้งอยู่ภายนอกหรือภาววิสัย (objective) ชัดเจน พาราไดม์นี้เริ่มต้นจากความรักชาติ รักสังคม รักกำพืดของตัวเอง พาราไดม์นี้มีส่วนอย่างสำคัญมาจากการปลุกเร้าของรัฐบาลทหารในตอนนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมจนได้เป็นผู้ถือธงชาติไทยในการเดินขบวนของชาวจังหวัดนราธิวาส เพื่อสนับสนุนการรบและเอาดินแดนคืนมาจากฝรั่งเศสทั้งที่อายุเพียง 8-9  ขวบเท่านั้น ความรู้สึกแบบนี้ โลกทัศน์แบบนี้ ทำให้ผู้เขียนค่อยๆ เป็นภายนอก (objective) ค่อยๆ เป็นนักวัตถุนิยม หรือเป็นวิทยาศาสตร์ (กายภาพ) ตามชั้นที่ไล่สูงขึ้นไป ไม่ว่าที่โรงเรียนเตรียมฯ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คณะแพทยศาสตร์ฯ และไปเมืองนอก ผู้เขียนจะค่อยๆ เป็นแมตทีเรียลลิสติกที่หายใจเป็นส่วนรวม เป็นสังคม เป็นประเทศไทย ค่อยๆ เป็นนักเทคโนโลยี และค่อยๆ เป็นนักวิทยาศาสตร์แบบที่เราเชื่อและใช้กันมากขึ้น และมากขึ้นจนกระทั่งไม่มีคำว่าจิตและจิตวิญญาณเหลืออยู่เลยในจิตสำนึก พอดีแม่ของผู้เขียนเองก็เป็นคนที่แทบว่าจะเป็นลูกคนจีน (ที่เกิดในตุยงหรือหนองจิก) ในประเทศไทยก็ได้ จึงรู้จักทำมาค้าขายมาแต่กำเนิด รู้จักกำไรและขาดทุนมาตั้งแต่กำเนิด จึงมีวิสัยทัศน์ทางระบบเศรษฐกิจที่เป็นตรงกันข้าม ทำให้ผู้เขียนที่เริ่มจะเป็นหนุ่มแล้วค่อนข้างมากจึงยากที่จะรับได้  สำหรับผู้เขียนแล้วในช่วงเวลานั้นจะมองระบบเศรษฐกิจทุนนิยม มองการหากำไรสูงสุดโดยไม่ได้กังวลว่ากำไรหรือเงินที่ได้มานั้นมาจากที่ใด? มองการหาทางร่ำรวยด้วยการสร้างครอบครัวและวงศ์ตระกูลของตนเป็นปึกแผ่น โดยไม่ได้คำนึงถึงสังคมประเทศชาติว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นแก่ “ตัวกูของกู” และสกปรก  เคยว่าแม่ต่อหน้าในระหว่างนั้นว่าแม่เป็นคนยิวทางตะวันออก และตอนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นก็เคยเขียนเป็นบทความว่าพระสงฆ์ว่าเอาเปรียบสังคม วันๆ หนึ่งไม่ได้ทำอะไรนอกจากบิณฑบาตขออาหาร โชคดีที่ไม่ค่อยมีคนเห็นด้วยหนึ่ง และมีพื้นฐานทางจิตดีอีกหนึ่ง คือ มีอนุสยสันดานที่นอนแนบเนื่องกับจิตใต้สำนึกอยู่บ้าง ดังที่บอกไว้มาแล้วถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองแบบองค์รวมซ้อนๆ องค์รวม  (transcend and include) จึงพอจะมีเค้าบ้างถึงได้ไม่เป็นแมตทีเรียลลิสต์ หรือเป็นนักวิทยาศาสตร์กายภาพสุดโต่งเช่นเดียวกับแพทย์ส่วนใหญ่มากๆ ทั้งหลาย

การไปเมืองนอกนานๆ ในเวลานั้นยิ่งตอกย้ำความเป็นนักวัตถุนิยม เป็นนักวิทยาศาสตร์กายภาพ พลอยบ้าคลั่งเทคโนโลยีตามฝรั่งส่วนใหญ่มากๆ เพราะเห็นประโยชน์จริงๆ ในความจริงทางโลกที่มองเห็น ใครเล่าจะไปคิดความจริงที่แท้จริงหรือความจริงทางธรรมหรือความจริงทางควอนตัมนอกจากคนเพี้ยนหรือคนบ้า แม้ว่าจะมีการค้นพบทฤษฎีควอนตัมแล้ว แต่เพราะว่าในเวลานั้นนักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะนักฟิสิกส์ทั้งหลายเอง แม้แต่ไอน์สไตน์ก็พากันสงสัยไม่เชื่อว่าทฤษฎีควอนตัมแมคคานิกส์จะเป็น ความจริงหรือไม่? เพราะมันผิดหลักการทางวิทยาศาสตร์และสามัญสำนึกของมนุษย์โดยสิ้นเชิง  ไอน์สไตน์ถึงพูดว่า “พระเจ้าไม่มีทางจะเล่นการพนัน (God dose not play dice) หรอก” นักฟิสิกส์ระดับโลกทุกคนจึงหาทางล้มล้างทฤษฎีควอนตัม หรือไม่ก็หาวิธีป้องกันมัน ซึ่งยิ่งพิสูจน์เท่าไรก็ยิ่งทำให้ควอนตัมฟิสิกส์มีความแข็งแกร่งขึ้นและเป็นความจริงที่แท้จริงมากยิ่งขึ้นมากกว่าเก่าเท่านั้น จนกระทั่งนักฟิสิกส์ทั่วๆ ไปบอกว่าคลาสิกคัลฟิสิกส์ของนิวตันสามารถให้ความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้เพียง 98-99%  แต่ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์สามารถให้ความจริงได้เท่าๆ กับทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ที่ให้ความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้ถึง 99.99% ซึ่งมีความหมายมากในมาตรวัดของดาว กาแล็กซี และจักรวาลเอง

หรือว่าโลกนี้จะตั้งต้นด้วยวัตถุ (matter) รวมทั้งเนื้อเยื่อของชีวิต หรือว่าจิตจะไม่มีจริงๆ หรือจิตจะเป็นผลิตผลของรูปกายของชีวิตหรืออย่างไ? พระพุทธเจ้าและแก่นแท้ของศาสนาทุกศาสนาต่างพากันผิดหรืออย่างไร?? นั่นล้วนเป็นคำถามที่ค้างคาใจผู้เขียนอยู่ตลอดเวลา

พาราไดม์หรือกระบวนทัศน์ที่ 3 ทางสังคมคลี่ขยายจากความเป็นโลกทัศน์ของวัตถุ (matter) และเนื้อเยื่อ หรือแมตทีเรียลลิซึ่มอันเป็นโลกทัศน์ที่สาธารณชนคนทั่วไปหันมานิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะนักวิชาการที่แพทย์เราเป็นส่วนหนึ่งในนั้น แต่พาราไดม์หรือโลกทัศน์ทางแมตทีเรียลลิซึ่มก็มีส่วนที่ทำให้ตัวเองเปลี่ยนแปลง คือเปลี่ยนจากแมตทีเรียลลิซึ่มปัจเจกบุคคลไปสูสังคมโดยรวม ไล่ไปตั้งแต่ชั้นเรียนถึงโรงเรียน ถึงท้องถิ่นชุมชน ถึงจังหวัด ประเทศชาติ ถึงเผ่าพันธุ์ มนุษยชาติ ถึงโลกไปตามลำดับ พาราไดม์ทางสังคมที่สามพาราไดม์นี้โดยเฉพาะสังคมประเทศชาติที่มีขอบเขตดินแดน มีภาษา มีศาสนาและมีวัฒนธรรมอย่างเดียวกันหรือใกล้เคียงกันจะมีความสำคัญมากจนมนุษย์ต้องแยกกันอยู่ต่างหาก ทุกวันนี้แม้ต่างก็มีผลประโยชน์ (เศรษฐกิจ) ร่วมกันแต่ก็เพราะกฎหมายป้องกันหรอก ทั้งหมดนั้นได้สรรค์สร้างเป็นสังคม เป็นประเทศ เป็นชาติที่แปลกแยกจากกันดังเช่นที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ประเทศใครก็ประเทศมัน และต่างก็หาอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้ “เพื่อป้องกันตนเอง” แต่ส่วนใหญ่ก็เพื่อปราบปรามประชาชนพลเมืองของตนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลนั่นแหละ และแล้วสังคมหรือประเทศภายไต้การปกครองของรัฐบาลทหารที่ได้มาจากการทำรัฐประหารซ้ำๆซ้อนๆมาตลอดเวลาหลายสิบปี หรือ “สมบัติ (สังคม-ประเทศชาติ) ผลัดกันชม (ด้วยรัฐประหาร)” นั่นคือกระบวนทัศน์ที่สามของผู้เขียน และเป็นพาราไดม์ที่ทำให้ผู้เขียนได้ทำความรู้จักคำว่าการเมืองดีโดยเฉพาะของประเทศไทย โดยเพิ่งรู้เป็นครั้งแรกว่านักการเมืองของประเทศไทยนั้นมีความมัวเมา - ในส่วนที่ใหญ่มากๆ - จะก่อกิเลศตัณหาอย่างที่สุด สกปรกที่สุด (โดยรวม) ทั้งยังสอนให้คนเห็นแก่ตัวที่สุด (ปัจเจกบุคคล)

พาราไดม์ที่สี่หรือสุดท้ายเป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองที่สำคัญที่สุดที่ไม่นึกไม่ฝันว่าจะเป็นไปได้ นั่นคือความคล้องจองแนบขนานกันระหว่างพาราไดม์ที่หนึ่งหรือศาสนาที่อุบัติทางตะวันออกเช่นลัทธิพระเวทย์ (และศาสนาฮินดู) ศาสนาเต๋า พุทธศาสนาเป็นต้น เข้ากับ พาราไดม์ที่สอง วิทยาสาสตร์โดยเฉพาะแม่ของแม่หรือบิดาของวิทยาศาสตร์ซึ่งก็คือฟิสิกส์นั่นเอง (ฟิสิกส์ใหม่ที่รวมทฤษฏีควอนตัม) ที่นักฟิสิกส์หลายๆคนกล่าวว่าเหมือนกัน  “ยังกับแกะ” ออกมาจากพิมพ์เดียวกัน (in complete agreement - Amit Goswami) ได้ทยอยและค่อยๆเข้ามาถึงในช่วงปลายของชีวิตของผู้เขียน (Fritjof Capra, Gary Zukav, Amit Goswami, etc.  etc.) - คิดเอาเองว่าเป็นกระบวนทัศน์ทางจิตที่นำไปสู่สภาวะจิตวิญญาณที่น่าเสียใจและเสียดายที่มาพบก็เมื่อสายเสียแล้ว อายุใกล้กับ 60 เข้าไปแล้วว่ากันตามจริงมีอยู่สาเหตุเดียวและหามาตลอดชีวิตแต่ไม่รู้ว่าหาอะไร? เพิ่งมารู้ในตอนหลังแทบจะสายเกินไปแล้วว่าสิ่งที่ผู้เขียนแสวงหามาตลอดชีวิตนั้น คือ ปัญญาสูงสุดทางพุทธศาสนา (wisdom นะครบไม่ใช่  intelligence) หรือสัจธรรมความจริงที่แท้จริง (Supreme Reality).

http://www.thaipost.net/sunday/270211/34973

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2554 23:06:13 »

ไม่ได้ศึกษามาก่อน งงเต๊กกกก!!!!

v
v
v
v
v

ขอเวลาข้าน้อยซักหน่อย หงุดหงิด หงุดหงิด
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.081 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มิถุนายน 2568 03:10:04