[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 19:33:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ห่วงเอว” เครื่องประดับสำริดสมัยก่อนประวัติศาสตร์  (อ่าน 2160 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2559 15:53:02 »

.



เครื่องประดับสำริดลักษณะพิเศษ
ที่นักโบราณคดีเรียกว่า “ห่วงเอว”


ในระหว่างพุทธศักราช ๒๕๔๐-๒๕๔๑ กรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ทำการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญในจังหวัดนครราชสีมา บริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน เรียกว่า “แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก” อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ห่างจากแหล่งโบราณคดีที่มีชื่อเสียงอีกแหล่งหนึ่งของประเทศไทย คือ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ในพื้นที่ตำบลพลสงคราม เพียง ๒ กิโลเมตร ในการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีเนินอุโลกครั้นนั้น พบโครงกระดูกมนุษย์ ๑๒๕ โครง มีผลจากการตรวจสอบกำหนดอายุของแหล่งโบราณคดีว่า การฝังศพในสมัยแรกนั้น มีอายุราว ๒,๒๐๐ ปี – ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว หากลำดับยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย จัดอยู่ในสมัยเหล็ก ซึ่งในสมัยนี้มีลักษณะการดำรงชีวิตแบบชุมชนที่ทำการเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะมีการปลูกข้าวอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งอาจเป็นทั้งใช้งานและเป็นอาหาร เช่น วัว ควาย สุนัข และหมู ทั้งยังล่าสัตว์ป่าและจับสัตว์น้ำเป็นอาหาร ที่เด่นชัดที่สุดในประเพณีวัฒนธรรม คือ การฝังศพ โดยฝังสิ่งของเครื่องใช้เป็นเครื่องอุทิศจำนวนมาก ที่ขุดค้นพบเช่นใบหอก หัวขวาน ที่ทำจากสำริดและเหล็ก เครื่องประดับสำริด เหล็ก แก้ว และหินอาเกต หินคาร์เนเลี่ยน กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และเครื่องปั้นดินเผา นอกจากนั้นยังพบลูกปัดทองคำในหลุมฝังศพ ซึ่งน่าจะเป็นของที่แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายมาจากชุมชนอื่น จำนวนสิ่งของและประเภทของสิ่งของที่ฝังพร้อมกับศพ บ่งบอกถึงความแตกต่างของฐานะทางสังคมได้เป็นอย่างดี

เมื่อการสำรวจและขุดค้นดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นโบราณวัตถุได้นำไปเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อรอการศึกษาเพิ่มเติมและการนำออกจัดแสดง มีโบราณวัตถุสำคัญที่น่าสนใจหลายชิ้น ชิ้นหนึ่งที่ดูแปลกตาและเป็นลักษณะพิเศษ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์พบไม่มากนักในแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก คือ เครื่องประดับที่ขุดค้นพบบริเวณส่วนเอวของโครงกระดูก นักโบราณคดีเรียกว่า “ห่วงเอวสำริด” (Bronze Belts)



โครงกระดูกหมายเลข ๖๙
ภาพจากหนังสือ The Excavation of Noen U-Loke and Noen Muang Kao



(บน) ห่วงเอวสำริด ๓ ห่วง พบที่โครงกระดูกหมายเลข ๑๔
(ล่าง) ภาพขยายห่วงเอวสำริดที่พบบนโครงกระดูกหมายเลข ๖๙
ส่วนที่เป็นวงเล็กๆ คือแหวนนิ้วมือ

โครงกระดูกเพศชายหมายเลข ๑๔ จากแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก เสียชีวิตเมื่ออายุ ๓๕-๔๐ ปี นับว่าเป็นชายที่มีฐานะและแต่งงายด้วยการสวมเครื่องประดับจำนวนมาก มีต่างหูเงินขอดเป็นเกลียวเคลือบด้วยทองคำข้างละ ๑ อัน บริเวณคอมีห่วงที่ทำจากโลหะสองชนิดคือสำริดและเหล็ก ต้นแขนทั้ง ๒ ข้างสวมกำไลสำริดชนิดกลมตัน ข้างละประมาณ ๗๕ วง ตั้งแต่ข้อศอกถึงหัวไหล่ นิ้วมือสวมแหวนสำริดหลายวง ที่รอบเอวมีห่วงสำริด ๓ วง ที่หัวแม่เท้าสวมแหวนสำริดขนาดใหญ่ มีภาชนะดินเผา ใบมีดเหล็ก และลูกปัดแก้วฝังรวมอยู่ด้วย

โครงกระดูกหมายเลข ๖๙ จากแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก เป็นชายหนุ่มเสียชีวิตเมื่อประมาณอายุ ๒๕-๓๐ ปี สูงประมาณ ๑๖๗.๙ เซนติเมตร สวมต่างหูทำจากสำริดทั้งสองข้าง สวมกำไลสำริดที่แขนซ้าย ๙ วง และอย่างน้อย ๑๑ วงที่แขนขวา สวมแหวนนิ้วมือข้างขวา ๕๙ วง และข้างซ้าย ๖๕ วง สวมแหวนนิ้วเท้าข้างขวา ๒๖ วง และข้างซ้าย ๗ วง วงที่สวมใส่นิ้วโป้งและนิ้วชี้มีขนาดใหญ่ ทำจากโลหะสองชนิด (bi-metallic) คือ สำริดและเหล็ก ที่ใต้ศีรษะและบนหน้าอกพบกำไลสำริดแตกหักวางอยู่ พบใบมีดเหล็กอยู่ที่ข้างศีรษะขวา เครื่องมือเหล็กคล้ายหัวลูกศรพบที่ใต้ขา พบเศษลูกปัดแก้วจากดินของหลุมศพ ที่น่าสนใจคือ ที่เอวของศพพบว่าสวมห่วงสำริดกลมรอบเอวถึง ๔ วง



ภาพขยายห่วงเอวสำริดและส่วนปลายทั้ง ๒ ข้าง


ภาพสันนิษฐานการแต่งกายด้วยเครื่องประดับสำริดจำนวนมาก
ในการฝังศพของชายผู้เสียชีวิตจากแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการสวมห่วงเอวสำริดน่าจะสวมให้ผู้ตายเมื่อเสียชีวิตแล้ว

“ห่วงเอวสำริด” (Bronze Belts) มีลักษณะด้านตัดเป็นเส้นสำริดกลมตันมีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย ๒๖ เซนติเมตร ขนาดด้านตัดเฉลี่ย ๕-๗ มิลลิเมตร โค้งเป็นวงกลม บางเส้นโค้งคล้ายรูปไข่ ตรงปลายแยกจากกันได้ด้วยเทคนิคการสร้างให้ปลายข้างหนึ่งแบนด้วยการตี แล้วม้วนให้เป็นคล้ายเกลียวหรือหลอด ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งแหลมทำให้สอดเข้าไปในเกลียวหรือหลอดได้ สามารถขยายหรือลดขนาดเส้นรอบวงและสวมบนร่างกายได้สะดวก นับเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งการทำเครื่องประดับที่ต้องการสวมใส่แบบขยายได้นี้ พบว่า เครื่องประดับห่วงคอทำจากสำริด ที่พบในแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียงใช้เทคนิคคล้ายกัน

ห่วงเอวสำริดที่แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก นับได้ว่าเป็นโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งเป็นหลักฐานแน่ชัดถึงการใช้งาน ในรูปแบบของเครื่องประดับร่างกาย ร่วมกับการประดับร่างกายอื่นๆ ที่น่าสนใจ คือ การประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับสำริดจำนวนมาก น่าจะแสดงให้เห็นว่าชายหนุ่มผู้เสียชีวิตนี้ ค่อนข้างจะมีฐานะสูงทางสังคม ลองเปรียบเทียบกับในยุคปัจจุบัน สังคมชาวเขาเผ่าลีซอ เครื่องประดับที่ขาดไม่ได้คือกำไลคอหรือห่วงคอ ที่จะสวมใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฐานะด้วยเช่นกัน

การสวมเครื่องประดับจำนวนมาก เช่นชายหนุ่มผู้นี้ จะสวมในชีวิตประจำวันหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าศึกษาเพิ่มเติม ในสังคมมนุษย์หลายๆ ท้องถิ่น เมื่อจะมีการไปร่วมกิจกรรมสำคัญหรือมีพิธีกรรมสำคัญมักจะแต่งกายประดับประดาร่างกายอย่างเต็มที่และสวยงามตามแต่ละประเพณีนิยมของสังคมในแต่ละท้องถิ่น แต่ในวิถีชีวิตประจำวัน การตกแต่งร่างกายจะแตกต่างไป เช่น เรียบง่ายและธรรมดาให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ อาชีพของตน จึงเป็นไปได้ว่า ในสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เนินอุโลกน่าจะคล้ายกับสังคมของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันโดยทั่วไป น่าจะแต่งกายด้วยเครื่องประดับอย่างมากมายและเป็นพิเศษเมื่อมีพิธีกรรมสำคัญเท่านั้น เช่น การตกแต่งร่างกายให้ผู้ตายในพิธีกรรมฝังศพ ตามความเชื่อเรื่องการไปมีชีวิตในโลกอื่นหรือในภพหน้า จะได้มีสิ่งของเครื่องใช้อุดมสมบูรณ์ไม่ลำบาก

ลองคิดถึงสภาพของหนุ่มนายพรานที่ต้องเข้าป่าล่าสัตว์ การสวมแหวนที่นิ้วมือนิ้วเท้าจำนวนมาก และสวมกำไลแขนหลายวง คงทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างยากลำบาก ยิ่งสวมห่วงเอวสำริดหลายวง การเคลื่อนที่แต่ละก้าวย่อมทำให้เกิดการกระทบกันจนมีเสียงดัง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการล่าสัตว์ เพราะอาจทำให้สัตว์ตกใจหนีไปในที่สุด



เรื่องและภาพ : นิตยสารศิลปากร กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.376 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2567 22:43:08