[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 00:58:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เทพเจ้าจีน  (อ่าน 3057 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2559 16:46:23 »



เทพเจ้าจีน


เทพเจ้าตามความเชื่อของคนจีน
ชาวจีนนับถือกราบไหว้เทพเจ้าหลายองค์ นอกจากเทพของศาสนาเต๋า และมีพระโพธิสัตว์ทางพุทธศาสนาแล้ว เทพพื้นถิ่นก็มีบทบาทไม่น้อย  เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก็นำความเชื่อเรื่องเทพเจ้าต่างๆ เข้ามาด้วย ดังจะพบเห็นศาลเจ้าจีนในกรุงเทพมหานครและในจังหวัดต่างๆ ที่มีคนจีนอยู่อาศัย แต่เนื่องจากปัจจุบันมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี วิถีการดำรงชีวิตมีความพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของเทพย่อมถูกดัดแปลงให้เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้คนสมัยใหม่ เพื่อให้ผู้คนเข้ามากราบไหว้เทพมากขึ้น หรือจะกล่าวอีกอย่างคือทำให้ศาลมีรายได้เพื่อความอยู่รอดของศาลนั้นๆ

เทพเจ้าตามความเชื่อของคนจีนที่พบเห็นกันบ่อยๆ มีดังนี้



ภาพจาก : wikipedia

๑.เทพเจ้ากวนอู (Guan Yu)

เทพเจ้ากวนอู หรือรู้จักกันโดยทั่วไปว่า “กวงกง”  มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง"  เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง ปรากฏในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์มากและนับถือกันอย่างแพร่หลาย “กวงกง” เป็นแม่ทัพใหญ่ของจ๊กก๊ก ในยุคสมัยสามก๊ก ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ.๗๐๔ ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้นฮวนเต้  ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๒ เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี พ.ศ.๗๖๓ ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้  

ในวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก บรรยายลักษณะของกวนอูไว้ว่า ...เป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ ๙ ฟุตจีนหรือประมาณ ๖ ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว ๑๑ ศอก หนัก ๘๒ ชั่ง อาวุธประจำกายเรียกว่า "ง้าวมังกรเขียว" หรือ "ง้าวมังกรจันทร์ฉงาย" ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ

เทพกวนอูเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณธรรม ปัญญา สัจจะ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ และซื่อสัตย์เป็นเลิศ

ในหนังสือหุ้ยถูซานเจี้ยวเอวี๋ยนหลิวโซวเสินต้าเฉวียน ตอนอี้หย่งอู่อาน กล่าวไว้ว่า กวนอู เป็น อี้หย่งอู่อานหวาง แซ่กวน ชื่อ อวี่ มีอีกชื่อว่า อวินฉาง เป็นชาวเจี่ยเหลียงเหริน ของเมืองผู่โจว ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นได้ร่วมมือกับเล่าปี่และเตียวหุยก่อการขึ้น โดยมีขงเบ้งเป็นที่ปรึกษา แล้วตั้งประเทศเรียกว่า “สู่” ต่อมาถูกลวี่เมิ่งปองร้าย หาอุบายทำให้กวนอูต้องจบชีวิตลง หลังจากเสียชีวิตแล้วจึงได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็นขุนพลใหญ่ และฝังศพไว้ที่อวี้เฉวียนซาน ผู้คนในสมัยหลังรำลึกถึงบุญคุณ ความมีสัจจะของอวนอู จึงได้สร้างศาลขึ้นกราบไหว้

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง กวนอูได้รับการเลื่อนฐานันดรศักดิ์เป็นหนิง จื้อเต้าเจินจวิน  ชาวไต้หวัน นิยมกราบไหว้กวนอูมาก มีศาลเจ้ากวนอูมากมาย ทั้งเกาะมีมากถึง ๑๙๒ แห่ง  

กวนอูมีชื่อเรียกขานต่างๆ กัน คือ กวนเซิ่งตี้ กวนตี้เอี๋ย อู่เซิ่ง เอินกงจวิน เป็นต้น  กวนอูในศาสนาเต๋าจะเป็นเทพ แต่ในพุทธศาสนากวนอูคือพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง  กวนอูคือผู้กล้าหาญ รักษาความสงบ ขจัดสิ่งชั่วร้าย สิ่งอัปมงคลและคนเลว เป็นเทพแห่งเงินตรา เป็นเทพแห่งผู้ชนะ ชาวบ้านเชื่อว่าท่านประทานความร่ำรวย เราจึงเห็นตามบริษัท ร้านรวงต่างๆ ที่ประกอบธุรกิจมักตั้งรูปกวนอูไว้สักการะบูชา

การบูชาเทพกวนอูมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง จนกลายเป็นประเพณีที่ฮ่องเต้หลายพระองค์ต้องกราบไหว้ ในฐานะผู้กล้าหาญและซื่อสัตย์  ปัจจุบันศาลเทพเจ้ากวนอูมีมากที่สุดในประเทศจีน เนื่องจากท่านได้รับแต่งตั้งจากฮ่องเต้หลายพระองค์ เช่น ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ฮ่องเต้ฮุยแต่งตั้งให้เป็นอู่อันหวัง หมายถึง อ๋องผู้กล้าหาญ รักษาความสงบ  ต่อมาสมัยราชวงศ์หยวน ฮ่องเต้หยวนเหวินจง เพิ่มยศให้เป็นอ๋องผู้กล้าหาญเปี่ยมด้วยอิทธิฤทธิ์

กล่าวสำหรับในประเทศไทย ศาลเทพเจ้ากวนอูที่ตลาดเก่า เยาวราช จะเห็นว่าภายในศาลมีรูปเทพเจ้ากวนอูขนาดใหญ่ นอกศาลมีม้าทรงของกวนอู เมื่อซื้อธูปกราบไหว้เทพก็ต้องซื้อผักบุ้งผักกาดไหว้ม้าของกวนอูด้วย  นอกจากนั้นยังมี เทพกวนอูในท่านั่งอ่านชุนชิวก็ถือกันว่าเป็นกวนอูแบบบุ๋น ให้คุณทางด้านการศึกษา จึงสรุปได้ว่า เทพกวนอูมี ๒ ลักษณะคือ มีทั้งแบบบุ๋นและแบบบู๊



.


ภาพจาก : : book.mindcyber.com

๒.เทพเทียนโหว (เทียนโหวเซ่งหมู) - เจ้าแม่ทับทิม

เทียนโหว หรือ เทียนโหวหยวนจวิน เป็นเจ้าแม่หรือเทพธิดาแห่งท้องทะเลที่คุ้มครองผู้เดินทางทางเรือ ที่มีคนจีนในไทยและสิงคโปร์นับถือมาก ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันดีก็คือ “เจ้าแม่ทับทิม” หรือ “เจ้าแม่มาจู่” ชาวแต้จิ๋วเรียกว่า เทียงโหว่เซี้ยบ้อ แต่ชาวฮกเกี้ยนเรียกว่าหมาโจ้ว หรือหมาจู่ คนไหหลำเรียกว่า  “โผ่วโต้ว” หรือ “ตุ๊ยบ่วยเต๋งเหนี่ยง” หรืออีกหลายต่อหลายชื่อ เช่น "จุยบ่วยเนี่ยว" ที่วัดสุทธิวรารามเรียก “โอวโต่วเซี๊ยม่า” ที่เขาสามมุขเรียก “ไห่ตังม่า” ซึ่งชื่อเรียกเจ้าแม่จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น

แต่เป็นที่รู้จักกันทั่วๆ ไปว่า เทียนเฟย หรือพระสนมเอกแห่งสวรรค์ ในหนังสือ หุ้ยถซานเจี้ยวหยวนหลิวโซวเสินต้าเฉวียน ได้บันทึกไว้ว่า “พระนางแซ่ลิ้ม เป็นชาวหนิงไห่เจิ้น ซิงหว้าลู่ ซึ่งก็คือบริเวณเลียบทะเลที่เรียกว่าเหมยโจวของอำเภอผู่เถียนในปัจจุบัน บิดาชื่อลิ้มเฮ้ง มารดาชื่อลิ้มยุ้ย  มารดาแซ่เฉิน ค่ำคืนหนึ่งฝันเห็นเจ้าแม่กวนอิมและได้กลิ่นดอกไม้ที่เจ้าแม่กวนอิมประทานให้ จึงตั้งครรภ์ ๑๔ เดือน จุติในวันที่ ๒๓ เดือน ๓ พ.ศ.๑๕๐๓ รัชศกหยวนเป่า ปีที่ ๑ แห่งราชวงศ์ถัง...” (ไม่ปรากฏผู้แต่ง หุ้ยถูซานเจี้ยวหยวนหลิวโซวเสินต้าเฉวียน, ไถ่เป่ย : เหลียนจิงชูป่าน,๑๙๘๐ หน้า ๑๘๖.)  วันที่พระนางกำเนิดปรากฏมีแสงสว่างจ้าทั้งบ้าน มีกลิ่นหอมตลบอบอวล และมิได้ร้องไห้เหมือนเด็กทั่วไป จึงได้ชื่อว่า ลิ้มมิก (คำว่า มิก จีนกลางออกเสียงว่า โม่ แปลว่า เงียบขรึม) เมื่อลิ้มมิกโตขึ้นมาเป็นเด็กที่ฉลาดมาก สามารถอ่านหนังสือได้แตกฉาน ว่ายน้ำเก่ง ฝึกสมาธิและปฏิบัติธรรม ถือศิลกินเจอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้นางยังมีสัญชาตญาณในเรื่องของดินฟ้าอากาศดีมาก สามารถคาดคะเนการเปลี่ยนสภาพอากาศได้ค่อนข้างแม่น แล้วได้ใช้สัมผัสพิเศษนี้เตือนชาวเรือเรื่อยมา อีกทั้งยังมีความรู้เรื่องแพทย์อย่างน่าอัศจรรย์ ได้ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้ชาวบ้านเสมอๆ
      
วันหนึ่งบิดาและพี่ชายสี่คนออกเรือไปทะเล ลิ้มมิกห้ามไว้เพราะนางรู้ว่ากำลังจะเกิดพายุใหญ่ แต่พวกเขาไม่เชื่อ จนต้องเผชิญกับพายุร้าย เรือล่มต้องลอยคอในทะเล ขณะนั้นนางกำลังทอผ้าอยู่และทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบิดาและพี่ชายจากสมาธิพลังจิตที่สูงส่ง ลิ้มมิกจึงใช้กระแสจิตส่งไปช่วยพี่ชายและบิดาให้พ้นภัย

พระนางเป็นคนในสมัยราชวงศ์ถัง ได้รับการกราบไหว้บูชามาโดยตลอดจนถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง ความศักดิ์สิทธิ์ของพระนางระบือไปไกลดังเช่นหนังสือชื่อเหลียงซาน ตอนซุ่นจี้ เซิ่งเฟยเพี่ยวจี้ ของถิงเป๋อกุ้ย คนในสมัยราชวงศ์ซ่งบันทึกไว้ว่า เทพธิดาองค์นี้แซ่ลิ้ม เป็นชาวเหมยโจวผู่หยาง เมื่อเด็กพูดน้อยแต่หยั่งรู้เรื่องโชคลาภหรือภัยพิบัติ เมื่อสิ้นชีพลงได้สร้างศาลไว้กราบไหว้บูชา บ้างเรียกกันว่า เทพธิดาผู้ปราดเปรื่อง บ้างเรียกว่าธิดาแห่งเจ้ามังกร

พระสนมเอกแห่งสวรรค์ หรือเทียนโหวองค์นี้ เป็นผู้พิทักษ์คนเดินทะเลให้ได้รับความปลอดภัย ดังนั้น จึงมีผู้กราบไหว้พระนางมากขึ้นเป็นลำดับ พระจักรพรรดิในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงทรงสถาปนาพระนางขึ้นเป็นตำแหน่งหุ้ยฮูหยิน ในปี ค.ศ.๑๑๕๖ และต่อมาก็เลื่อนฐานันดรศักด์เป็นพระนางเจาอิ่ง พระนางฉงฝู่เสียงหลี หมายถึงผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตาและให้คุณประโยชน์ นับว่าพระนางเป็นเทพที่มีคนนับถือมากที่สุดในมณฑลฮกเกี้ยน กวางตุ้ง เจียงซี เจ้อเจียง

พระนางได้ดูแลประชาชนให้เดินทางทางทะเลอย่างปลอดภัย นับว่าได้ทำคุณประโยชน์อย่างมหาศาลต่อประเทศ มาถึงสมัยราชวงศ์หยวน พระเจ้าหยวนซื่อจู่จึงทรงสถาปนาพระนางให้ดำรงพระยศเป็นพระสนมเอกแห่งสวรรค์ นับว่าเป็นฐานันดรศักดิ์ที่สูงสุดของเทพองค์นี้ แต่ก่อนอุปกรณ์การเดินเรือไม่เจริญ ชาวเรือมักประสบอุบัติเหตุได้โดยง่าย ดังนั้น ผู้เดินเรือต้องหาที่พึ่งทางใจ อย่างน้อยก็เป็นกำลังให้เดินทางถึงจุดหมายได้

ในสมัยราชวงศ์หมิง ราชทูตเชงโฮ (เจิ้งเหอ) เดินทางมาทะเลใต้ ก็ต้องทำพิธีเซ่นไหว้เทพมารดรองค์นี้ก่อนออกเดินเรือเช่นกัน

ชาวจีนในประเทศต่างๆ ทางทะเลใต้ จะตั้งศาลกราบไหว้เทพมารดรองค์นี้ ที่เห็นว่ามีจำนวนมากคือชาวฮกเกี้ยน รองลงมาคือชาวไหหลำ ทั้งนี้เนื่องจากทั้งสองมณฑลนี้อยู่ติดทะเล ทั้งมีอาชีพในการหาปลามาก รวมทั้งการเดินทางออกสู่ทะเลด้วย  และศาลเจ้ามักจะหันหน้าลงสู่แม่น้ำหรือทะเล ชาวจีนในเมืองไทยก็มีทั้งชาวฮกเกี้ยนและชาวไหหลำ จึงได้พบศาลดังกล่าวอยู่มาก ทั้งชาวจีนแต้จิ๋วในเมืองไทยก็นิยมกราบไหว้เทพมารดรเทียนโหวเช่นกัน

ศาลเจ้าเทียนโหวในกรุงเทพมหานครที่นับว่าเก่าแก่มากก็คือศาลเทียนโหวที่บางขุนเทียน สร้างประมาณปี ค.ศ.๑๘๓๔ คือรัชศกเต้ากวงปีที่ ๑๔ ศาลนี้หันหน้าลงคลองชักพระ ในสมัยโบราณเส้นทางนี้คงมีความสำคัญมาก และคงมีชาวจีนอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นมากเช่นกัน จากข้อความบนแผ่นป้ายในศาลทำให้เรารู้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้มีการซ่อมแซมมาหลายครั้ง และครั้งล่าสุดซ่อมแซมในปี ค.ศ.๑๘๗๔ ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นของชาวจีนฮกเกี้ยนร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์สร้างขึ้น

ปัจจุบัน เทพมารดรเทียนโหวมิได้มีความศักดิ์สิทธิ์แต่เฉพาะในด้านการคุ้มครองผู้เดินเรือทางทะเลเท่านั้น ตลาดสดที่ตั้งขึ้นใหม่จะนิยมสร้างศาลเทียนโหว ซึ่งบางแห่งก็จะใส่ชื่อภาษาไทยว่าเจ้าแม่ทับทิมบ้าง เจ้าแม่ไข่มุกบ้าง เจ้าแม่เทียนโหวบ้าง ทั้งนี้ เพราะเชื่อว่า เทพมารดาเทียนโหวจะสามารถบันดาลให้กิจการค้าในตลาดเจริญรุ่งเรือง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 เมษายน 2559 18:10:20 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 เมษายน 2559 15:40:27 »

.


ภาพจาก : : review.xn--l3cjf8d8bveb.com-
เทพเจ้า: ปุนเถ้ากง
เทพเจ้าองค์ประธาน: ตั่วเหล่าเอี้ย
ศรัทธาความเชื่อ: ความร่มเย็นเป็นสุข ป้องกันภัยต่างๆ การค้าเจริญรุ่งเรือง


๓.เทพปุนเถ่ากง

ปุนเถ่ากง เป็นชื่อเรียกตามภาษาจีนแต้จิ๋ว จีนกลางเรียกว่า เปิ่นโถวกง เป็นเทพเจ้าที่พบในเมืองไทย ฟิลิปปินส์ และที่ปีนัง เท่านั้น

ชื่อเทพองค์นี้ได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกสุดในหนังสือ J.D.Vaughan (๑๘๗๙) เขากล่าวว่า ชาวจีนแถบเอเชียใต้เคารพกราบไหว้ ต้าเป๋อกง (ตั่วแปะกง) และ เปิ่นโถวกง (ปุนเถ่ากง)

นักวิชาการชาวต่างชาติมีความเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเทพสององค์นี้แตกต่างกันออกไป

หานหวยจุ่น กล่าวสรุปไว้ว่า เปิ่นโถวกง และต้าเป๋อกง เป็นเทพองค์เดียวกัน และเป็นเทพที่นักเดินเรือในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) กราบไหว้กัน โดยมีชื่อเดิมว่า โตงกง แต่ที่ปีนังชาวพื้นเมืองเรียกเทพองค์นี้ว่า เปิ่นโถวกง  ฟิลิปปินส์เรียกเทพองค์นี้ว่า เปิ่นโถวกัง

ซวื่อวิ๋นเฉียว มีความเห็นว่าเทพเปิ่นโถวกงเป็นองค์เดียวกันกับต้าเป๋อกง และชื่อดังกล่าวเป็นเพียงตำแหน่งเทพผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะแตกต่างกันไปตามบุคคล เวลา และสถานที่ เทพองค์นี้เป็นเทพที่มีความสัมพันธ์กับเจ้าที่มากที่สุด เขากล่าวว่า เปิ่นโถวกง นั้น เป็นชื่อเรียกที่กลายเสียงมาจาก ถู่ตี้กง หรือ เจ้าที่ และมีฐานะทางเทพเท่ากับต้าเป๋อกง ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะเป็นใครไม่อาจจะทราบได้ หรืออาจจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ของบรรพบุรุษของชาวจีนโพ้นทะเลเท่านั้นก็ได้

เทียนกวนซื่อ ก็มีความเห็นว่าเทพเปิ่นโถวกง และ ต้าเป๋อกง มีความสัมพันธ์กัน เขากล่าวว่า ต้าเป๋อกง ได้กลายมาจากเปิ่นโถวกง ชาวแต้จิ๋วเรียกเทพองค์นี้ว่า เปิ่นโถว ซึ่งหมายถึง เปิ่นตี้ หรือที่ดั้งเดิม หรือโถวมู่ ซึ่งแปลว่าหัวหน้าในสถานที่นั้นๆ จึงทำให้บางคนเรียกย่อๆ ว่า ตี้โถว และเมื่อผู้เป็นใหญ่ในเขตนั้นๆ หรือผู้นำในเขตนั้นๆ ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่เขตปกครองมากมาย เมื่อตายไปแล้วก็ถูกยกย่องให้เป็นเทพ จึงเรียกว่า เปิ่นโถวกง ซึ่งหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งเขต นั่นเอง

ชาวจีนในกรุงเทพฯ นับถือเปิ่นโถวกงมาก ศาลต่างๆ ที่เราพบอยู่ในตลาดหรือแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวจีนนั้น หากไม่ตั้งเปิ่นโถวกงไว้เป็นเทพประธานในศาล ก็ต้องตั้งเป็นเทพชั้นรอง ในตลาดสดทั้งหลายส่วนมากจะตั้งเทพเปิ่นโถวกงไว้เป็นเทพประธาน เพื่อจะได้ช่วยปกป้องความร่มเย็นและการค้าเจริญรุ่งเรือง ศาลเจ้าของเทพองค์นี้จะมีอาคารใหญ่แบบซื้อเหอเอี้ยน เช่น ศาลเจ้าเล่าปูนเถ้าก๋งที่ถนนทรงวาด หรืออาคารที่เล็กขนาดกว้างเพียงห้องเดียว เช่น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง ที่ซอยเสนานิคม ๑ เป็นต้น

รูปเคารพของเปิ่นโถวกงอาจจะเป็นไม้สลัก หรือเป็นแผ่นไม้ที่เขียนตัวอักษรจีนบอกความหมายว่าเป็นสถานที่สถิตของเทพปุนเถ่ากงก็ได้

สำหรับความเป็นมาของเทพปุนเถ่ากงนี้ ชาวจีนผู้สูงอายุทั้งหลายต่างมีความเห็นแตกต่างกันออกไป บ้างก็กล่าวว่าในมณฑลกวางตุ้งและฮกเกี้ยนนั้นต่างก็มีเทพประจำท้องที่อยู่ทุกแห่งเรียกว่า ตี้โถว หรือที่เรียกว่า ตี้โถวกง ชาวแต้จิ๋วเรียกกันโดยทั่วๆ ไปว่า ตี่เถ่าเล่าเอี้ย หรือเทพผู้เป็นใหญ่ในที่นั้นๆ หน้าที่ของเทพองค์นี้คือ ดูแลความทุกข์สุขของประชาชนในแต่ละเขต ชาวจีนแม้จะอพยพมาอยู่ยังที่อื่นก็ยังยึดมั่นในความเชื่อดั้งเดิมนี้อยู่ จึงได้ใช้ไม้สลักเป็นรูปเคารพมากราบไหว้บูชา ในความหมายว่าเป็นรูปเคารพของเทพผู้เป็นใหญ่แห่งเขตนั้นๆ แล้ว ต่อมาชื่อนี้ได้เรียกอย่างง่ายๆ ว่า เปิ่นโถวกง เทพองค์นี้มีผู้กราบไหว้กันทั่วไปในเมืองแต้จิ๋วและเรียกกันว่า ตี้โถวกง

จากคำกล่าวนี้ก็อาจทำให้เราสรุปได้ว่า เทพปุนเถ่ากงนั้นที่แท้เป็นเทพประจำท้องถิ่นนั่นเอง

ศาลเจ้าปุนเถ่ากงในกรุงเทพฯ ที่นับว่าเป็นศาลเจ้าที่รู้จักกันกว้างขวางและมีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ของชาวจีนแต้จิ๋ว ได้แก่ ศาลเจ้าเก่าหรือศาลเจ้าเล่าปุนเถ่ากง ที่ถนนทรงวาด รูปเคารพปุนเถ่ากงส่งตรงมาจากเมืองแต้จิ๋ว ซึ่งสิ่งนี้ย่อมเป็นหลักฐานแสดงให้รู้ว่าที่เมืองแต้จิ๋วมีการนับถือเทพองค์นี้ด้วย

เทพปุนเถ่ากงที่ชาวจีนกราบไหว้กันในกรุงเทพฯ มีทั้งที่ประดิษฐานไว้เป็นเทพประธานในศาลและเทพชั้นรอง ศาลเจ้าที่ประดิษฐานเทพปุนเถ่ากงเป็นเทพประธานในศาลนั้น ดูจะมีเพียงศาลของชาวจีนแต้จิ๋วและชาวจีนฮกเกี้ยน ดังนี้
     ๑.ศาลเจ้าจี้หนันเมี้ยว (ศาลเจ้าตึกดิน) (ค.ศ.๑๗๘๖) ประดิษฐานเทพปุนเถ่ากงอยู่บนแท่นบูชาเดียวกับเจ้าแม่กวนอิม เทพฟ้าดิน พระเจ้าตากสิน และเทพกวนอู (ฮกเกี้ยน)
     ๒.ศาลเจ้าเล่าปุนเถ่ากง ที่ซอยตากสิน ๑ (ค.ศ.๑๘๕๔) (ฮกเกี้ยน)
     ๓.ศาลเจ้าบ้านหม้อ (ค.ศ.๑๘๑๖) (แต้จิ๋ว)
     ๔.ศาลเจ้าสูง (ค.ศ.๑๘๕๑) (แต้จิ๋ว)
     ๕.ศาลเจ้าเก่าถนนทรงวาด (ค.ศ.๑๘๑๘) (แต้จิ๋ว)
     ๖.ศาลเจ้าบางกอกน้อย (ค.ศ.๑๙๑๗) (แต้จิ๋ว) (ศาลนี้มีประวัติมาว่าสร้างมากกว่า ๒๐๐ ปีแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานในศาล ซ่อมต้นปี ค.ศ.๑๙๘๙ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นศาลเจ้าเล่าปุนเถ่ากง)
     ๗.ศาลเจ้าบ้านหม้อ (ค.ศ.๑๙๗๗ สร้างใหม่) (แต้จิ๋ว)

แต่ในศาลเจ้าของชาวจีนไหหลำและจีนแคะนั้น ยังไม่ปรากฏว่าได้มีการประดิษฐานเทพองค์นี้เป็นเทพประธานในศาลแต่อย่างใด  ดังนั้น จึงทำให้เราทราบว่าชาวแต้จิ๋วและชาวฮกเกี้ยนคงมีความเชื่อในเทพปุนเถ่ากงมากกว่าชาวจีนภาษาอื่นๆ เทพองค์นี้มีลักษณะของรูปเคารพที่ไม่เหมือนกันในทุกศาลเจ้า เช่น มีทั้งที่แต่งกายแบบขุนนางฝ่ายบุ๋น บ้างก็แต่งกายแบบขุนนางฝ่ายบู๊ มีหนวด มือขวาถือหยูอี้ ที่ศาลเจ้าสมัยเก่า เช่น ศาลเจ้าตึกดิน ศาลเจ้าสูง ศาลเจ้าบ้านหม้อ เป็นต้น

รูปเทพปุนเถ่ากงจะส่งตรงมาจากประเทศจีน และจะมีลักษณะดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ปัจจุบันที่พบในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นรูปเคารพที่ทำขึ้นใหม่นั้นก็มักจะเลียนแบบรูปเคารพเดิม แต่ลักษณะของเทพอาจจะเปลี่ยนไปจากท่ายืนเป็นท่านั่ง ในศาลเจ้าชาวจีนไหหลำมักจะไม่นิยมทำรูปเคารพปุนเถ่ากง แต่จะใช้แผ่นไม้มาเขียนเป็นชื่อเทพไว้เท่านั้น และปุนเถ่ากงที่ชาวไหหลำนับถือนั้นมีรวมทั้งสิ้น ๓ องค์

เทพองค์นี้มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนสมัยโบราณมาก เนื่องจากช่วยดูแลความทุกข์สุขของประชาชนในเขตหนึ่งๆ ดังนั้น ไม่ว่าครอบครัวใดจะมีใครคลอดบุตร หรือมีผู้ถึงแก่กรรม สมาชิกในบ้านนั้นๆ ก็ต้องมาจุดธูปบอกกล่าวเทพปูนเถ้าก๋งเสียก่อน

สำหรับชาวจีนในเมืองไทยที่อพยพเข้ามาในรุ่นแรกๆ นั้น มีความรักในประเทศจีนมาก แม้ว่าในช่วงที่พวกเขามีชีวิตอยู่ไม่มีโอกาสได้กลับไปประเทศจีน เมื่อตายแล้วก็หวังที่จะให้บุตรหลานนำศพกลับไปฝังยังเมืองจีน และก่อนที่จะเคลื่อนศพออกไปก็ต้องไปจุดธูปบอกกล่าวเทพปุนเถ่ากงเสียก่อน แล้วจึงจะไปบอกกล่าวเทพเฉิงหวง (เซียอึ้ง)

ในปัจจุบันนี้ แม้เทพปุนเถ่ากงจะมิได้มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนเหมือนสมัยก่อน แต่ความเคารพต่อเทพองค์นี้ของชาวจีนมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่าสมัยแต่ก่อนเลย เทพปุนเถ่ากงได้วิวัฒนาการจากเทพประจำกลุ่มภาษาหนึ่งมาเป็นเทพที่ชาวจีนทุกกลุ่มภาษานิยมนับถือกราบไหว้ และเมื่อใดที่มีการสร้างศาลใหม่ในชุมชนของชาวจีนแต่ละเขต ก็มักจะตั้งปุนเถ่ากงไว้เป็นเทพประธานของศาลเสมอ ศาลเทพปุนเถ่ากงนี้พบในหลายจังหวัดในภาคกลาง


ข้อมูล: เทพปุนเถ่ากง หนังสือสารานุกรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๖, มูลนิธิสารานุกรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดพิมพ์
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.432 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 เมษายน 2567 19:47:40