[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 10:33:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จากใจโจรเป็นใจพระ - พระองคุลิมาลเถระ  (อ่าน 1465 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2559 19:58:29 »



"จากใจโจรเป็นใจพระ" องคุลิมาลเป็นหนึ่งในบุคคลในครั้งพุทธกาล
ที่ได้ฉายาว่านักฆ่า ๙๙๙ ศพ แต่ต่อมาได้บวชเป็นพระสงฆ์และบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด
เป็นวิถีชีวิตแบบ "ต้นคดปลายตรง" หรือ "โจรกลับใจ"


พระองคุลิมาลเถระ

องคุลิมาล (อหิงสา) ยุติความรุนแรงด้วยความไม่รุนแรง
องคุลิมาลเป็นหนึ่งในบุคคลครั้งพุทธกาลที่คนไทยทั่วไปทราบว่าเป็นมหาโจรนักฆ่า ๙๙๙ ศพผู้ร้อยนิ้วมือของเหยื่อเป็นพวงมาลัยคล้องคอ (องคุลิมาลแปลว่า มีนิ้วเป็นพวงมาลัย) ต่อมาได้บวชเป็นพระสงฆ์สาวกในพระพุทธศาสนา และบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด เรียกได้ว่ามีวิถีชีวิตแบบ “ต้นคดปลายตรง” หรือ “โจรกลับใจ”

จากใจโจรเป็นใจพระ
วิถีแห่งพระพุทธศาสดาในการยุติความรุนแรงหรือความเบียดเบียนขององคุลิมาลนี้ ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก องคุลิมาลสูตร๑ ความว่า ครั้งพุทธกาลณ แคว้นสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีจอมโจรหยาบช้าไร้ความกรุณานามว่า “องคุลิมาล” ออกเข่นฆ่าผู้คน พร้อมทั้งนำนิ้วมือร้อยเป็นพวงคล้องคอไว้

ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงเสร็จไปตามทางที่องคุลิมาลซุ่มอยู่ แม้ชาวบ้านจักกราบทูลทัดทานแล้วถึงสามครั้งก็ตาม เมื่อองคุลิมาลเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาองค์เดียว ก็คิดว่าแม้คนมาพร้อมกันถึงสี่สิบคนก็มิอาจรอดพ้นเงื้อมมือตนได้ เช่นนั้นแล้วเราจักปลงชีวิตสมณะผู้นี้เสีย จึงถือดาบและโล่ผูกสอดแล่งธนูตามไป พระพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธาภิสังขาร (การปรุงแต่งฤทธิ์ขึ้นทันใด การบันดาลด้วยฤทธิ์) แม้ว่าองคุลิมาลจักวิ่งจนสุดกำลังก็ไม่ทันพระพุทธองค์ผู้เสด็จตามปกติได้

องคุลิมาลเกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง หยุดยืนแล้วกล่าวว่า “จงหยุดก่อนสมณะ จงหยุดก่อนสมณะ” พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า“เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่าจงหยุดเถิด” องคุลิมาลจึงถามกลับว่า “ดูกรสมณะ ท่านกำลังเดินไป ยังกล่าวว่าเราหยุดแล้ว และท่านยังไม่หยุด ยังกล่าวกับข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่าไม่หยุด ดูกรสมณะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กับท่านท่านหยุดแล้วเป็นอย่างไร ข้าพเจ้ายังไม่หยุดแล้วเป็นอย่างไร”

พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า “ดูกร องคุลิมาล เราวางอาชญาในสรรพสัตว์ได้แล้ว จึงชื่อว่าหยุดแล้วในกาลทุกเมื่อ ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราจึงหยุดแล้ว ท่านยังไม่หยุด” ดังนี้องคุลิมาลจึงได้ทิ้งอาวุธลงเหวและทูลขอบรรพชาในบัดนั้นเอง

พระพุทธองค์ทรงยุติความรุนแรงในพฤติการณ์ขององคุลิมาลด้วยพระเมตตาอย่างล้นพ้น ทรงพิจารณาตัดสินและกระทำสิ่งต่างๆ ไปตามเหตุผล มุ่งประโยชน์สุขที่แท้จริงแก่คนทั้งหลาย ทั้งมีพระทัยเสมอไม่เอนเอียง แม้จอมโจรจักประสงค์ปองร้าย พระองค์ก็มิทรงแสดงอาการโกรธตอบบุคคลที่คิดเป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ ยังทรงแสดงธรรมให้ปรากฏต่อผู้นั้น ดังเนื้อความในพระสุตตันตปิฎกว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงมีพระทัยเสมอกัน ทั้งต่อนายขมังธนู (ที่รับจ้างมาลอบสังหารพระองค์) ต่อพระเทวทัต ต่อโจรองคุลิมาล ต่อช้างธนบาล (ที่พระเทวทัตปล่อยมาเพื่อฆ่าพระองค์) และต่อพระราหุล ทั่วทุกคน”

การที่พระพุทธองค์ทรงก้าวพ้นอคติเลือกที่รักมักที่ชัง และใช้วิธี “พิสูจน์ความจริง” คือสัจจะที่ทรงยึดมั่น จึงทรงอาจหาญในการตรัสแก่โจรองคุลิมาลว่า “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่า จงหยุดเถิด” ดังกล่าวแล้ว

พระพุทธเจ้าทรงนำพระองค์เองเป็นตัวอย่างของผู้อาจหาญในธรรม ที่มีกุศโลบายอันเยี่ยมยอด ประกอบด้วยสองส่วน กล่าวคือ
ประการที่หนึ่ง พระพุทธองค์ทรงถือพลังแห่งสัจจะในการหยุดเบียดเบียนทุกจิตวิญญาณ ทรงมุ่งฆ่าเฉพาะกิเลสแต่เพียงอย่างเดียว ความบริบูรณ์วิสุทธิ์ในสัจจะของพระองค์เองนี้เป็นดั่งธรรมาวุธและเกราะคุ้มกันภัย นำมาซึ่งชัยชนะเหนือผู้หลงเข่นฆ่าสัตว์ หรือ อันธพาลปุถุชน (ผู้เบียดเบียนผู้อื่น เพื่อประโยชน์แก่ตน) เช่น จอมโจรองคุลิมาล ดังพุทธภาษิตว่า “ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน คนอื่นทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้” และ “ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงมีตนเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย จงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย”

ประการที่สอง พระพุทธองค์ทรงใช้อิทธาภิสังขารและวาจาปริศนาธรรมในการจุดประกายความสงสัยแก่จอมโจร ผู้ซึ่งแท้จริงแล้วมีปัญญาเป็นเลิศ หากแต่มีมิจฉาทิฏฐิด้วยความหลงเชื่อ (โมหาคติ) ในคำอุบายของอาจารย์ ที่ให้ไปฆ่าคนจนครบหนึ่งพันคน แล้วจักมอบวิชาวิเศษให้ เมื่อองคุลิมาลได้พิจารณาธรรมอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) พลันจึงได้เปิดตาแห่งปัญญา และขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา จนได้บรรลุอรหันต์ในกาลต่อมาไม่ช้านาน

อนึ่ง ในกาลต่อมา เมื่อมีคำร่ำลือว่าโจรองคุลิมาลอาศัยอยู่ในแคว้นแห่งตน พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงรีบนำกำลังพลทหารออกเดินทาง หมายจับมหาโจรที่สุดเขตแดน ณ ที่นั้นเอง พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เข้าเฝ้าและทูลถึงวัตถุประสงค์ของการเสด็จมาในครั้งนี้แก่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงตรัสถาม ความว่า จะทรงทำเช่นไร หากทรงได้ทอดพระเนตรองคุลิมาลปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารหนเดียว ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงตอบว่า จักพึงไหว้ ลุกรับ เชื้อเชิญด้วยอาสนะ บำรุงด้วยจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม

ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์จึงทรงชี้แสดงตัวพระองคุลิมาลต่อหน้าพระพักตร์ ภายหลังระงับความหวาดกลัวแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงเสด็จเข้าไปหาพระองคุลิมาลและตรัสว่า “ท่านผู้เจริญ พระองคุลิมาลผู้เป็นเจ้าของเรา”
 
จักเห็นว่า เมื่อมีดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแล้ว ก็จักเปลี่ยน “จิตของมหาโจร” กลายเป็น “จิตของสมณะ” (สมณะ หมายถึง ผู้สงบระงับบาป) อันควรแก่การเคารพในธรรมได้ ดังพุทธวัจน์ว่า “สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักทางดำเนินถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล จึงควรแก่การยอมรับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และยอมรับได้ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และจึงได้ชื่อว่าได้บรรลุประโยชน์ของความเป็นสมณะและประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
 
การที่อดีตจอมโจรองคุลิมาลผู้โหดร้ายไร้กรุณาได้มีดวงตาเห็นธรรมหลังจากพิจารณาวาจาปริศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นกัลยาณมิตรสูงสุดแล้ว ก็ได้ยุติความเบียดเบียนผู้อื่น ทิ้งไว้ในเบื้องหลังก้าวสู่เส้นทางใหม่ว่าด้วยอริยสัจจ์แห่งการดับทุกข์ มุ่งเจริญในสันโดษและบำเพ็ญตบะ ฆ่าเสียแต่เฉพาะกิเลส จึงทำให้พระองคุลิมาลได้อาศัยธรรมะเป็นที่พึ่งคุ้มครองเพศสมณพรหมจรรย์ ดังพุทธวัจนะว่า “ส่วนผู้ใดเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ มองเห็นด้วยปัญญาโดยถ่องแท้ซึ่งทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และอริยมรรคมีองค์  อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ นี่แหละคือ สรณะอันเกษม นี้คือสรณะอันอุดม

คนถึงสรณะอย่างนี้แล้ว ย่อมปลอดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง” ร่วมกับเป็นการสกัดกั้นการสร้างกรรมใหม่อันสืบเนื่องจากมิจฉาทิฏฐิได้ ดังภาษิตของพระองคุลิมาลว่า “ผู้ใด เมื่อก่อนประมาท ภายหลังผู้นั้นไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดังพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้นผู้ใด ทำกรรมอันเป็นบาปแล้วย่อมปิดสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น”
 
อย่างไรก็ตาม วิบาก (ผล) แห่งกรรมที่องคุลิมาลเคยสร้างไว้ ทั้งสมัยเพศคฤหัสถ์และบรรพชิต ล้วนไม่สูญ ดังพุทธภาษิตว่า “กรรมดีหรือชั่ว ทุกอย่างที่คนสั่งสมไว้ย่อมมีผล ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะนิดหน่อย ที่จะว่างเปล่าไปเลยย่อมไม่มี” และ “กรรม ไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมไม่สูญเปล่าเลย” ดังปรากฏความในพระไตรปิฎก ครั้งเมื่อพระองคุลิมาลบิณฑบาตแล้วมีคนขว้างก้อนดิน ท่อนไม้ ก้อนกรวดมาถูกกายและศีรษะ จนศีรษะแตกโลหิตไหล บาตรแตกผ้าสังฆาฏิฉีกขาด

พระองคุลิมาลได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า “เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุ จะให้เธอพึงหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดปีเป็นอันมาก ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก ตลอดพันปีเป็นอันมาก ในปัจจุบันนี้เท่านั้น” และครั้งขณะท่านบิณฑบาตได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก เมื่อกลับมาทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงตรัสให้พระองคุลิมาลเข้าไปหาสตรีนั้นและกล่าวว่า “ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วในอริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด” ครั้นพระองคุลิมาลได้กล่าวดังนั้นก็เกิดผลจริงตามสัจจวาจา

สรุปและข้อเสนอแนะ
การยุติความรุนแรงหรือการเอาเปรียบเบียดเบียนกันนั้น ต้องใช้กำลังทางสติ และปัญญาเป็นธรรมาวุธ ความขัดแย้งไม่อาจสิ้นสุดได้ด้วยความคิดเห็นและ อารมณ์ อันเป็นปัจเจกลักษณะ ได้แก่ ความเชื่อ ความศรัทธา หรืออคติ รัก เกลียด หลง กลัว (อคติ ๔) ผู้ที่จักยุติความรุนแรงได้โดยสันติจึงต้องมีสอง คุณสมบัติ คือ พิสูจน์ได้จริงด้วยตนเอง อีกทั้งยังหลุดพ้นจากอารมณ์พันธนาการ (บ่วงแห่งกิเลส) การหมั่นเพียรฝึกตนให้เป็นผู้รู้ระงับความเบียดเบียนในตนและผู้อื่นจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด จักเกิดผลเจริญเป็นมั่นคงทั้งแก่ตนเอง(ตนเตือนตน) และผู้อื่น (ควรแก่การเป็นกัลยาณมิตร ผู้ชักนำความสงบสามัคคี สู่สังคม) ดังพระอรรถาพจน์เชื้อเชิญให้พิสูจน์สัจจะแห่งธรรมว่า “เอหิ ปสฺสิโก” (ควรเรียกร้องผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด) และ “โอปนยิโก” (ควรน้อมเข้ามาในจิต ของตน แม้จะถูกไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะก็ไม่เปลี่ยนแปลง)


หนังสือธรรมวิชัย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระองคุลิมาลเถระ
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
Kimleng 1 1806 กระทู้ล่าสุด 26 สิงหาคม 2564 20:22:19
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.363 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มีนาคม 2567 23:36:07