[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 12:10:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้  (อ่าน 1239 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 มีนาคม 2559 15:43:41 »



ภาพจาก: wikimedia.org

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระมหากษัตริย์พม่าในราชวงศ์ตองอู ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๒๐๗๔-๒๐๙๔ ทรงยกกองทัพเข้ามาทำสงครามกับไทยในศึกเชียงกราน อันถือเป็นสงครามครั้งแรกระหว่างไทยกับพม่า และเป็นมูลเหตุให้เสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.๒๑๑๒

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ตามความหมายแปลว่าสุวรรณเอกฉัตร เป็นพระราชโอรสพระเจ้าเมงคยินโย หรือพระเจ้ามหาสิริไชยสุระ กษัตริย์พระองค์แรกในราชวงศ์ตองอู

มีเรื่องกล่าวกันว่าพระองค์ประสูติก่อนรุ่งอรุณขณะบรรยากาศยังมืดอยู่ แต่พระแสงดาบและหอกในห้องสรรพาวุธกลับส่งประกายแวววาว ถือเป็นนิมิตว่าพระองค์จะทรงเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ พระบิดาจึงขนานพระนามว่าตะเบ็งชะเวตี้  พระองค์ทรงมีพระเกียรติคุณแผ่ไพศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความกล้าหาญ เมื่อครั้งที่ทรงเป็นพระมหาอุปราชทรงเลือกทำพิธีเจาะพระกรรณตามพระราชประเพณีที่วัดมหาธาตุมุเตาหรือวัดชเวมาวดอ ซึ่งอยู่ที่เมืองหงสาวดีหรือพะโค เมืองศูนย์กลางของมอญ ขณะนั้นยังเป็นอิสระอยู่ โดยทรงนำกำลังทหารพม่าไปด้วย ๕๐๐ คน ขณะกำลังทำพิธีอยู่ในวัด ทหารมอญเมื่อทราบข่าวก็เข้ามาล้อมจับ พระองค์ทรงนำกำลังทหารพม่าตีฝ่าวงล้อมของทหารมอญออกไปได้ กิตติศัพท์ความกล้าหาญของพระองค์ครั้งนี้ปรากฏไปทั่ว เป็นการสร้างเสริมพระบารมี

สภาพการเมืองในพม่านั้นประกอบด้วยชนเผ่าต่างๆ เข้ามาตั้งที่ทำกินอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เริ่มต้นเมื่อพวกพยูซึ่งเป็นเชื้อสายต้นตระกูลพม่าตั้งเมืองหลวงชื่อว่าศรีเกษตร อยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีในพม่าตอนกลาง พวกมอญตั้งอาณาจักรอยู่ในพม่าตอนล่าง ต่อมาพม่าตั้งอาณาจักรพุกามในพม่าตอนบนริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี  อาณาจักรนี้รุ่งเรืองมาก ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สามารถขยายลงมายึดครองอาณาจักรมอญที่เมืองสะเทิม อาณาจักรรุ่งเรืองอยู่เป็นเวลากว่า ๒๐๐ ปี ก็ถูกกองทัพมองโกลสมัยจักรพรรดิกุบไลข่านตีย่อยยับไปใน พ.ศ.๑๘๓๐ พุกามถูกยึดครองระยะหนึ่ง

ดินแดนพม่าจึงแตกแยกเป็นแว่นแคว้นต่างๆ ทางเหนือมีศูนย์อำนาจอยู่ที่เมืองอังวะ ตอนกลางมีศูนย์อำนาจอยู่ที่เมืองตองอู ทางด้านตะวันตกของภาคกลางมีแคว้นยะไข่ ทางใต้มีเมืองหงสาวดีของมอญ  ระหว่างนี้อาณาจักรตองอูได้สะสมกำลังมีอำนาจขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจแห่งใหม่ พวกพม่าที่อังวะก็เข้ามาร่วมด้วย  ในที่สุด พระเจ้าเมงคยินโยก็สามารถก่อตั้งราชวงศ์ตองอูขึ้นใน พ.ศ.๒๐๒๙

ราชวงศ์ตองอูพยายามขยายอาณาจักรลงทางใต้ โดยเฉพาะเมืองหงสาวดีในอาณาจักรมอญเพื่อใช้เป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับฝรั่งชาติตะวันตกซึ่งเดินทางมาหาสินค้าประเภทเครื่องเทศ เครื่องหอม ไหม เพชร พลอย และของป่าจากเอเชียส่งไปขายที่ยุโรป ขณะเดียวกันฝรั่งก็ได้นำอาวุธปืนและสินค้าฟุ่มเฟือยจากยุโรปเข้ามาขายในดินแดนเอเชียด้วย  เนื่องจากหงสาวดีอยู่ในเส้นทางการเดินเรือจากอินเดียผ่านมาเพื่ออ้อมแหลมมลายูไปยังอินโดจีน จีน ญี่ปุ่น ต่อไป

เมื่อพระเจ้าเมงคยินโยสวรรคต พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ขึ้นครองราชย์สมบัติเมืองตองอูสืบต่อมา พระองค์ทรงมีนายทหารคนสนิทนายหนึ่งมีนามว่าชินเยทูต มีอายุมากกว่าพระองค์เล็กน้อย เป็นนายทหารที่มีความสามารถ กล้าหาญ เข้มแข็ง มีประสบการณ์ รับใช้ใกล้ชิดและเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ ปรากฏว่านายทหารผู้นี้ผูกสมัครรักใคร่กับพระเชษฐภคินีของพระองค์ ตามกฎมณเฑียรบาลของพม่าถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นกบฏซึ่งมีโทษประหาร แต่พระองค์ทรงตัดสินพระทัยให้พระเชษฐภคินีสมรสด้วย และทรงแต่งตั้งให้ชินเยทูตเป็นเจ้า มีตำแหน่งเป็นกยอดินนรธา การตัดสินพระทัยดังกล่าวทำให้พสกนิกรชื่นชมในพระเมตตามาก และทำให้กยอดินนรธาจงรักภักดีอย่างยิ่งยวด เป็นกำลังสำคัญทำการรบได้ชัยชนะหลายครั้ง ทำความดีความชอบให้มาก จึงทรงแต่งตั้งให้มีตำแหน่งสูงขึ้นเป็นบุเรงนอง หรือ พระเชษฐาธิราช

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ทรงขยายพระราชอาณาจักร โดยการปราบปรามเมืองต่างๆ พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะปราบปรามมอญโดยเร็วที่สุดเพื่อจะยึดเมืองท่ามอญเป็นเส้นทางการค้า เป็นแหล่งซื้อปืนคาบศิลา ปืนใหญ่จากโปรตุเกส ตลอดจนจ้างทหารชาวโปรตุเกสเพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการเข้ายึดเมืองหงสาวดี พระองค์ตีได้เมืองพะสิม จากนั้นทรงเข้าตีได้เมืองหงสาวดี แปร และอังวะ นับได้ว่าพระองค์ทรงรวบรวมมอญและพม่าให้เป็นชาติเดียวกันได้สำเร็จ จากนั้นได้ยกกองทัพไปตีเมืองเมาะตะมะ ซึ่งมีทหารจ้างชาวโปรตุเกสเช่นกัน ทำให้การสู้รบค่อนข้างยาก แต่ทรงได้ชัยชนะในที่สุด พวกมอญที่เมาะลำเลิงและบริเวณใกล้เคียงต่างเกรงกลัวพระบารมี จึงยอมอ่อนน้อมต่อพม่าทั้งสิ้น จากนั้นทรงปราบปรามไทยใหญ่แล้วเสด็จไปยังเมืองพุกามกระทำพิธีบรมราชาภิเษกอย่างสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับกษัตริย์พุกามทุกประการ เมื่อย้อนกลับมาเมืองหงสาวดีก็ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบกษัตริย์มอญ เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระราชอำนาจที่ทรงมีครอบคลุมทั้งพม่าและมอญ

ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทรงไปโจมตียะไข่ ยังตีไม่สำเร็จก็มีข่าวทัพไทยยกมาบริเวณตะนาวศรี จึงรีบเสด็จกลับเมืองหงสาวดี

เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงปราบปรามอาณาจักรต่างๆ ได้แล้ว ทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี แทนที่จะย้อนกลับไปตั้งราชธานีที่พุกามหรืออังวะเหมือนในอดีต ความพยายามขยายอาณาเขตลงทางใต้ทำให้พรมแดนพม่าเข้ามาประชิดกับดินแดนของกรุงศรีอยุธยาจนเป็นสาเหตุให้เกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้น

ตามพระราชพงศาวดารกรุงสยามกล่าวว่า ใน พ.ศ.๒๐๘๑ เกิดสงครามขึ้นที่ชายแดนที่เมืองเชียงกราน นับเป็นสงครามครั้งแรกระหว่างไทยกับพม่า กล่าวกันว่าในกองทัพไทยมีทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสช่วยรบอยู่ประมาณ ๑๒๐ คน  พม่าก็มีทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสช่วยรบอยู่ด้วย สงครามเมืองเชียงกรานเป็นสงครามแรกที่มีการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ในประวัติศาสตร์ไทย ปืนและปืนใหญ่เป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นเครื่องช่วยเสริมอำนาจได้เป็นอย่างดี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายในไทยรบพม่าว่า เมืองเชียงกรานเป็นหัวเมืองปลายแดนไทย มอญเรียกว่าเดิงกรายน์ อังกฤษเรียกว่าเมืองอัตรัน อยู่ต่อแดนไทยทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงทราบข่าวศึก จึงเสด็จยกทัพไปรบพม่า ตามความในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า “เถิงเดือน ๑๑ เสด็จไปเชียงไกร เชียงกราน” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายต่อไปว่า จดหมายเหตุของปินโตโปรตุเกสบันทึกว่าครั้งนั้นมีพวกโปรตุเกสเข้ามาตั้งค้าขายอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ๑๓๐ คน สมเด็จพระไชยราชาธิราช เกณฑ์โปรตุเกสเข้ากองทัพไปด้วย ๑๒๐ คน ได้รบพุ่งกันกับพม่าที่เมืองเชียงกรานเป็นสามารถ ไทยตีกองทัพพม่าพ่ายไป ได้เมืองเชียงกรานคืนมาเป็นของไทยดังแต่ก่อน เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราช เสด็จกลับมาถึงพระนครทรงยกย่องความชอบพวกโปรตุเกสที่ได้ช่วยรบพม่าคราวนั้น จึงพระราชทานที่ให้ตั้งบ้านเรือนที่แถวบ้านดินเหนือคลองตะเคียนแล้วพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พวกโปรตุเกสสร้างวัดสอนศาสนาตามความพอใจ จึงเป็นเหตุให้มีวัดคริสตังและบาทหลวงมาตั้งในเมืองไทยแต่นั้นมา

เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคตใน พ.ศ.๒๐๘๙ เกิดเหตุจลาจลเมื่อพระแก้วฟ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อมาถูกขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงขจัดเหตุวุ่นวายทั้งปวงและขึ้นครองราชสมบัติ ใน พ.ศ.๒๐๙๑

เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงทราบข่าวจลาจลในกรุงศรีอยุธยา ทรงเห็นเป็นโอกาสที่จะขยายพระราชอาณาเขตมาทางกรุงศรีอยุธยา จึงทรงสั่งให้เกณฑ์ทัพมาตั้งชุมนุมที่เมืองเมาะตะมะ แล้วเสด็จยกทัพเข้ามาทางกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้กองทัพไปตั้งรับทัพอยู่ที่สุพรรณบุรี และเตรียมกรุงศรีอยุธยาเป็นที่รับศึก พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ยกทัพเข้ามาทางเมืองกาญจนบุรีไม่มีผู้ใดต่อต้าน ก็ยกต่อมาถึงสุพรรณบุรี กองทัพไทยทานกำลังไม่ได้ถอยกลับมากรุงศรีอยุธยา พม่ายกทัพตามมาจนถึงชานพระนครทางทุ่งลุมพลีข้างด้านเหนือ

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิมีพระราชประสงค์จะดูกำลังข้าศึก พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระสุริโยทัยพระอัครมเหสีซึ่งทรงแต่งพระองค์เป็นชายอย่างพระมหาอุปราชา พระราเมศวร และพระมหินทรพระราชโอรสทรงพระคชาธารตามเสด็จ กองทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิยกไปปะทะกองทัพพระเจ้าแปรซึ่งเป็นทัพหน้าของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ช้างพระที่นั่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียที พระเจ้าแปรขับช้างไล่มา สมเด็จพระสุริโยทัยเกรงพระสวามีจะเป็นอันตรายจึงขับช้างเข้าขวางช้างข้าศึกไว้ พระเจ้าแปรได้ทีฟันสมเด็จพระสุริโยทัยด้วยสำคัญว่าเป็นชายสิ้นพระชนม์ซบลงกับคอช้าง พระราเมศวร และพระมหินทร ทรงขับช้างเข้าต่อสู้ พระเจ้าแปรถอยไป จึงกันพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยกลับพระนคร เมื่อเสร็จสงครามแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทำพระเมรุพระราชทานเพลิงศพที่สวนหลวงตรงต่อเขตวัดสบสวรรค์แล้วสร้างพระอารามขึ้นตรงพระเมรุ มีพระเจดีย์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ภายในวัด เรียกว่า วัดสวนหลวงสบสวรรค์

ส่วนกองทัพพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ไม่สามารถตีหักเอากรุงศรีอยุธยาได้ ตั้งล้อมอยู่จนเสบียงอาหารหมด จึงยกทัพกลับขึ้นไปทางเหนือออกไปทางด่านแม่ละเมา

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กลับจากกรุงศรีอยุธยาได้ไม่นาน ก็ถูกเจ้าเมืองสะโตงลอบปลงพระชนม์ ใน พ.ศ.๒๐๙๔ ประกาศให้หงสาวดีเป็นเอกราช เจ้าเมืองสะโตงตั้งตนเป็นกษัตริย์ แต่ชาวมอญไม่ยอมรับ ก่อกบฏขึ้น เมืองแปรและเมืองตองอูก็ตั้งตนเป็นอิสระ บุเรงนองต้องกลับมาปราบปราม และตั้งตนเป็นกษัตริย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ทำพิธีบรมราชาภิเษกใน พ.ศ.๒๐๙๖
ส.ข.




พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย
ทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา  

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.367 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มีนาคม 2567 23:37:56