[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 07:44:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย  (อ่าน 10345 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 เมษายน 2553 15:34:54 »




ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
จากฮาร์วาร์ด-สวนโมกข์
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี อาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัย มจร. กรุงเทพฯ

สาเหตุที่ระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักในสมัยของท่านพุทธทาสภิกขุ ทอดทิ้งส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบการศึกษา กล่าวคือ ทอดทิ้ง "ปฏิบัติสัทธรรม" (ธรรมคือการปฏิบัติธรรม) และ "ปฏิเวธสัทธรรม" (ธรรมคือการบรรลุมรรคผล) คงไว้แต่ "ปริยัติสัทธรรม"

(การศึกษาธรรมะภาคทฤษฎีซึ่งแม้จะเป็นการศึกษาส่วนที่สำคัญที่สุดที่คณะสงฆ์ยกย่อง แต่กระนั้นก็ยังก้าวไปไม่ถึงการศึกษาที่ตัวพระไตรปิฎกโดยตรง หากยังคงเป็นเพียงการศึกษาผ่านคัมภีร์รุ่นหลัง และยุ่งยากกว่าพระไตรปิฎก กล่าวคือ ศึกษาคัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎกซึ่งเนื้อหาเน้นหนักไปทางอักษรศาสตร์มากกว่ามุ่งความแจ่มแจ้งในธรรมะ)

จนกลายเป็นระบบการศึกษาที่ท่านพุทธทาสภิกขุเรียกรวมกันในเวลาต่อมาว่า "การศึกษาหมาหางด้วน" นั้น สืบเนื่องจากเหตุปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน

ซึ่งเหตุปัจจัยเหล่านี้ควรได้รับการอธิบาย เพราะมิเช่นนั้นแล้ว เราจะทำได้อย่างดีเพียงแค่โจมตีพระสงฆ์กระแสหลักในปัจจุบันที่อุดมไปด้วยปัญหานานาชนิด

ซึ่งเมื่อกล่าวอย่างถึงที่สุดและยุติธรรมแล้ว คณะสงฆ์ก็เสมอเป็นเพียง "เหยื่อ" หรือ "ผู้ถูกกระทำ" อย่างหนึ่งของระบบการศึกษาที่พิกลพิการเท่านั้นเอง หาใช่ "สาเหตุหลัก" แห่งความย่ำแย่ของระบบการศึกษาแต่อย่างใดไม่

การที่ระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักในยุคของท่านพุทธทาสภิกขุ (คำนวณอย่างไม่เคร่งครัดนัก คือนับแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งวชิรญาณภิกขุเริ่มตั้งคณะธรรมยุติกนิกาย) จวบจนล่วงเลยมาถึงยุคปัจจุบันไม่ให้ความสำคัญกับ "โลกุตรธรรม" อันได้แก่ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ทว่า กลับเน้นเพียง "โลกิยธรรม"

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 15:44:44 »



กล่าวคือ ความเจริญก้าวหน้าในทางสมณศักดิ์ ความมีเกียรติ มีตัวตน มีตำแหน่งหน้าที่การงาน ความมีอำนาจวาสนาในทางการปกครอง รวมทั้งความมั่งคั่ง (และควรเพิ่มค่านิยมความอยากมีปริญญาอย่างที่ชาวบ้านทั่วไปเป็นอยู่ในเวลานี้เข้าด้วยนั้น) อันเป็นค่านิยมแบบโลกีย์ระดับเดียวกันกับที่สังคมคฤหัสถ์เป็นกันอยู่นั้น

เราสามารถสืบสาวหาสาเหตุของปรากฏการณ์เช่นนี้ได้ตั้งแต่สมัยของรัชกาลที่ 3 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

แต่เดิมนั้น โลกทัศน์หรือระบบความคิดความเชื่อของสังคมไทยอิงอยู่กับพระพุทธศาสนาอย่างชนิดที่แยกกันไม่ออก และรากฐานสำคัญของการที่พระพุทธศาสนาเข้าไปมีบทบาทสำคัญต่อประชาชนอย่างแน่นแฟ้น ก็คือ ระบบความคิดความเชื่อที่ส่งผ่านมาทางไตรภูมิพระร่วง ความเชื่อเรื่อง "นรก-สวรรค์" กลายเป็นกรอบอ้างอิงทางศีลธรรมที่ทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันมาได้อย่างสันติสุข

โลกทัศน์เช่นนี้ยืนยาวสืบต่อมาแม้จนในสมัยของรัชกาลที่ 1, 2, 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น เราจะพบว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น เมื่อทรงตั้งพระราชปณิธานก็ยังทรงอ้างเอา "พุทธภูมิ" เป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งพระชนม์ชีพ เช่น

ข้อความที่ปรากฏในพระราชกำหนดใหม่ (ในกฎหมายตราสามดวง) ตอนหนึ่งว่า "...มีพระราชประณิธานปรารถนาพระพุทธภูมิโพธิญาณ"

อุดมคติสูงสุดของชนชั้นนำไทยในลักษณะนี้ เป็นอุดมคติพื้นฐานสำหรับคนไทยในยุคสมัยที่พุทธศาสนายังเฟื่องฟูอย่างยิ่ง ซึ่งเราสามารถอ้างอิงย้อนกลับไปได้ถึงสมัยพระยาลิไท ที่พระองค์โปรดให้จารึกข้อความทำนองนี้ไว้ในจารึกหลักหนึ่งความว่า

"พระองค์มีพระราชประสงค์พระโพธิญาณในอนาคตกาล แลปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อจะนำสัตว์ให้พ้นจากสงสารวัฏ ไปสู่พระนฤพานในอนาคตกาล"
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 16:01:21 »


http://i271.photobucket.com/albums/jj142/paobunjin/35ac115e.jpg
ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย


หรือแม้แต่พระเจ้ากรุงธนบุรี ก็ยังทรงเชื่อในโลกทัศน์แบบพุทธภูมิคือที่หมายสุดท้ายของชีวิตเช่นนี้ พระองค์ได้ทรงตั้งพระสัตยาธิษฐานไว้ในคราวบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดบางยี่เรือใต้ว่า "เดชะผลทานนี้... จงเป็นปัจจัยแก่พระโพธิญาณในอนาคตกาลโน้นเทอญ"

หลังสมัยรัชกาลที่ 1 มาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 อุดมคติแห่งชีวิตที่ผูกโยงอยู่กับมรรค ผล นิพพาน ของชนชั้นนำไทย (ซึ่งเป็นเหมือนตัวแทนของประชาชนในสมัยนั้นด้วย) ก็ยังคงเด่นชัดอยู่ ดังปรากฏอยู่ในพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จารึกไว้ในฐานพระสมุทรเจดีย์ ที่จังหวัดสมุทรปราการ ว่า

"ทรงปรารถนาพระโพธิญาณศรัทธิกบารมี...ทรงพระวิริยะภาพเพียรพะยายามตามประเพณีพระมะหาโพธิสัตว์เจ้าแต่ปางก่อนสืบมา...ปลงพระไทยแต่จะให้สำเร็จแก่พระสรรเพชญโพธิญาณจะรื้อขนสัตว์จากสงสารทุกข์"

ในศิลาจารึกสมัยพุทธศตวรรษที่ 13-14 ที่จังหวัดนครราชสีมา มีข้อความตอนหนึ่งว่า "ขอให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย...จงเป็นพุทธองค์...และลุถึงพุทธภูมิ"

ข้อความในศิลาจารึกฉบับนี้สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ของประชาชนทั่วไปที่มีความเชื่อ หรือมีอุดมคติในชีวิตเช่นเดียวกันกับชนชั้นนำของตน

แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 อุดมคติแห่งชีวิตที่ผูกพันความฝันอันสูงสุดของตนเองเอาไว้กับพุทธภูมิหรือนัยหนึ่งกับโลกุตรธรรม เริ่มสั่นคลอนและเลือนหายไปในที่สุด ดังที่พระองค์ทรงระบุเอาไว้ในเอกสารฉบับหนึ่งว่า "มิได้ทรงเอื้อมอาจปรารถนาพุทธภูมิ ดังท่านผู้อื่นๆ เป็นอันมาก"

แต่ข้อความสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า คติการถือเอาพุทธภูมิหรือมรรค ผล นิพพาน เป็นเป้าหมายสูงสุดได้ "ขาดตอน" ลงอย่างจริงจังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ตอนที่พระองค์ทรงระบุถึงคนที่ "ได้มรรคผลรู้พระนิพพาน" ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ "...ทุกวันนี้ ไม่มีคนเช่นนั้นแล้ว"

นอกจากนี้แล้ว ทัศนะของชนชั้นนำไทยอย่างเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ ผู้เขียนหนังสือ "แสดงกิจจานุกิจ" ที่กล่าวว่า "ทุกวันนี้ พระอริยบุคคลที่จะเป็นเนื้อนาบุญไม่มีแล้ว" ก็เป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันได้ว่า ปฏิเวธสัทธรรม ได้ถูกทำให้เป็นเรื่องที่ไม่มีความหมายอีกต่อไปในสมัยพระจอมเกล้านี่เอง

และเมื่อปฏิเวธสัทธรรมกล่าวคือ มรรค ผล นิพพาน หรือพุทธภูมิ ไม่ได้รับความสำคัญอีกต่อไปในสมัยรัชกาลที่ 4 สิ่งที่ถูกนำมาเน้นย้ำก็คือประโยชน์ในปัจจุบันหรือโลกิยธรรม (เข้ามาแทนที่โลกุตรธรรม)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2553 05:29:11 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพที่หายไปค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 16:12:41 »


คําถามสำคัญก็คือ ทำไมโลกุตรธรรม หรือปฏิเวธสัทธรรม และ/หรือมรรค ผล นิพพาน ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญถึงขนาดเป็นโลกทัศน์หลักของชนชั้นนำไทยและประชาชน จึงมาขาดช่วงหรือไม่มีความสำคัญอีกต่อไปในสมัยรัชกาลที่ 4

คำตอบก็คือ เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาแผนใหม่ที่รับอิทธิพลมาจากประเทศตะวันตกนั่นเอง การศึกษาแผนใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญนั้น ถูกถ่ายทอดผ่านมายังภาษาอังกฤษ

หรือกล่าวให้ตรงกว่านั้นก็คือ

ผ่านมายังตำรับตำราภาษาอังกฤษมากมายที่พระองค์ทรงศึกษาเพื่อเตรียมรับมือกับจักรวรรดินิยมตะวันตก รวมทั้งผ่านตำราแขนงอื่นๆ ที่ต่างออกไปจากภูมิปัญญาไทยแบบเดิม และผ่านวิธีวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ซึ่งทรงสนพระทัยศึกษาค้นคว้าเป็นพิเศษจนต่อมาทรงได้รับการยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของเมืองไทย นับแต่สมัยที่พระองค์ยังทรงครองเพศสมณะและเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "วชิรญาณภิกขุ" เสียด้วยซ้ำ

ลักษณะจำเพาะอย่างหนึ่งของของการศึกษาแผนใหม่ที่พระจอมเกล้าทรงศึกษา ก็คือ วิทยาการต่างๆ ล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวิธีวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ที่เน้นความมีเหตุผล และเน้น "ความรู้เชิงประจักษ์" เป็นสำคัญ ทั้งนี้ โดยมีระบบเหตุผลหรือลัทธิเหตุผลนิยมเป็นเครื่องมือสนับสนุนที่หนักแน่นยิ่งนัก

ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เมื่อศึกษาวิทยาการแผนใหม่อย่างลึกซึ้งแล้ว โลกทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเปลี่ยนแปลงไปจากคนในสมัยก่อนหน้านั้นอย่างแทบจะสิ้นเชิง

ผลของการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาแผนใหม่ก็คือ ทำให้พระองค์ทรงกลายเป็นนักเหตุผลนิยม และนักมนุษยนิยม ที่โดดเด่นของยุคสมัย คำสอนของพระองค์อันเนื่องด้วยพุทธศาสนาแต่เมื่อเป็นวชิรญาณภิกขุก็ดี แม้เมื่อทรงลาสิกขาออกมาเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์เต็มตัวแล้วก็ดี มีน้ำเสียงของความเป็นนักเหตุผลนิยมและเน้นความจริงเชิงประจักษ์อย่างชัดเจน เช่น

เรื่องนรกสวรรค์ พระองค์ก็ทรงอธิบายเสียใหม่โดยเน้นไปที่ "สวรรค์ในอก นรกในใจ" เป็นสำคัญ

คติเรื่องพระนิพพานคืออุดมคติสูงสุดของชีวิตก็ทรงไม่ให้ความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องเหนือวิสัยไกลตัวนัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2553 05:36:23 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพที่หายไปค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 16:22:53 »



หลักฐานที่เด่นชัดที่สุดก็คือ การที่ทรงปรับเปลี่ยนวิธีบรรพชาของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย โดยในคำขอผ้ากาสายะ ทรงโปรดให้ตัดข้อความบาลีที่แปลว่า "เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน เป็นที่ออกไปจากทุกข์ทั้งปวง : นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย" ออกเสีย

ทั้งนี้ โดยทรงให้เหตุผลว่า การกล่าวข้อความเช่นว่านั้น "ไม่ตรงต่อความจริงใจของผู้กล่าวมากกว่ามาก" ซึ่งเราอาจตีความได้อีกอย่างหนึ่งว่า การบวชไม่ใช่เป็นเรื่องของการทำพระนิพพานให้แจ้ง หรือไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการก้าวไปให้ถึงพระนิพพานอีกต่อไป

โลกทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์วัตถุนิยมเต็มรูปแบบนี้ ไม่เพียงปรากฏในขณะเมื่อยังทรงเป็นภิกษุเท่านั้น ทว่า เมื่อเสวยราชย์แล้ว พระองค์ก็ทรงเลิกเชื่อมั่นในโลกทัศน์แบบไตรภูมิอย่างชัดเจน แล้วหันมาทรงเน้นศักยภาพของมนุษย์ (มนุษยนิยม) มากกว่า เช่น

เมื่อทรงเอ่ยถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์ ก็ทรงปฏิเสธว่าไม่ใช่ได้มาเพราะ "บุญญาธิการ" แต่ปางก่อนเหมือนอย่างที่เคยเชื่อกันมา ทว่า พระองค์กลับทรงเชื่อว่า การทั้งปวงที่ทำให้ได้เป็นพระมหากษัตริย์นั้นเป็นเพราะ "มนุษย์" มากกว่า

เช่น ที่พระองค์ตรัสยืนยันแนวคิดเช่นนี้ไว้ว่า

"ที่ได้เปนเจ้าแผ่นดินทั้งนี้ ครั้นจะว่าไปว่าได้เปนด้วยอำนาจเทวดา ก็จะเปนอันลบหลู่บุญคุณของท่านผู้หลักผู้ใหญ่ที่ท่านพร้อมใจกันอุปถัมภ์ค้ำชูให้เปนเจ้าแผ่นดินนั้นไป ด้วยว่า ความที่ได้เปนเจ้าแผ่นดิน เพราะท่านผู้หลักผู้ใหญ่ค้ำชูอุดหนุนนั้น รู้อยู่แก่ตา เห็นอยู่แก่ตา ของคนเปนอันมากตรงๆ ไม่อ้างว่าอำนาจเทวดาแล้ว"

ข้อความที่ว่า "รู้อยู่แก่ตา เห็นอยู่แก่ตา ของคนเปนอันมาก ไม่อ้างว่าอำนาจเทวดาแล้ว" นั้น สะท้อนท่าทีแบบเหตุผลนิยม (ไม่อ้างอำนาจพิเศษเหนือสามัญวิสัย) มนุษยนิยม (ยอมรับศักยภาพของมนุษย์) และสะท้อนท่าทีวิทยาศาสตร์แบบประจักษ์นิยม/วัตถุนิยม (เน้นความจริงเชิงประจักษ์ที่เห็นผ่านประสาทสัมผัส) อย่างไม่ต้องสงสัย

และด้วยเหตุดังนั้นเอง เราจึงอาจกล่าวได้ว่า โลกทัศน์ที่ถือเอาโลกุตรธรรมอย่างคติการถึงพุทธภูมิเป็นที่หมายสุดท้ายของชีวิตก็ดี การเชื่อมั่นว่ามรรค ผล นิพพาน และนรกสวรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงก็ดี

ได้ "ขาดตอน" ลงและหายไปจากโลกทัศน์ไทยเอาในสมัยรัชกาลที่ 4 นี่เอง
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 16:55:43 »



ต่อมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นพระโอรสองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้นำในการปฏิรูปการศึกษาของคณะสงฆ์ พระองค์ซึ่งทรงได้รับการศึกษาแผนใหม่ ภายใต้โลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยม/มนุษยนิยมเช่นเดียวกับพระราชบิดา ก็ได้สานต่อแนวคิดแบบลดทอนความสำคัญของโลกุตรธรรมลงให้เด่นชัดยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า ตำราที่ทรงรจนานั้นก็เน้นเฉพาะ "ประโยชน์ในปัจจุบัน" (ทิฏฐธรรมมิกัตถประโยชน์) เป็นหลัก

หนังสือเล่มหนึ่งซึ่งสำคัญมากคือ "นวโกวาท" นั้นต้องนับว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดที่แสดงให้เห็นแนวความคิดแบบเหตุผลนิยม และความจริงเชิงประจักษ์แบบวิทยาศาสตร์ เพราะในหนังสือเล่มนี้ไม่กล่าวถึง "โลกุตรธรรม" เอาเลย

เมื่อกล่าวถึงหลักธรรมสำคัญต่างๆ แล้ว ก็มาหยุดอยู่เพียง "คิหิปฏิบัติ" (หลักธรรมสำหรับคฤหัสถ์) หรือเมื่อทรงกล่าวถึงสมาธิภาวนาบ้าง ก็ทรงกล่าวถึงแต่ในฐานะที่เป็นวิชาการทางปริยัติ (ทฤษฎี) ล้วนๆ ทั้งนี้ จึงไม่จำต้องกล่าวถึงธรรมขั้นลึกอย่างปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจยตาว่าจะได้รับการยกขึ้นมาเน้นย้ำหรือไม่

แต่หลักฐานชิ้นสำคัญที่ทำให้เราเห็นได้ว่า แนวคิดเรื่องมรรค ผล นิพพาน ถูกทำให้เลือนหายไปอย่างเด่นชัดในสมัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก็คือ การที่ทรงปฏิเสธที่จะนับเอา "ปฏิบัติสัทธรรม" (สมถกรรมฐาน, วิปัสสนากรรมฐาน) เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาคณะสงฆ์ โดยทรงให้เหตุผลว่า "เพราะเป็นวิชาที่ไม่มีหลักที่จะสอบไล่ได้"

นอกจากไม่ทรงสนพระทัยที่จะจัดให้ปฏิบัติสัทธรรม (โลกุตรธรรม) เป็นวิชาสำคัญในหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์แล้ว พระองค์ยังไม่ทรงมีนโยบายในทางส่งเสริมให้พระสงฆ์สนใจในวิปัสสนากรรมฐาน หากแต่ทรงหันมาส่งเสริมให้พระสงฆ์สนใจแต่เรื่องปริยัติธรรมและการปกครองอย่างเป็นด้านหลัก

เครื่องมือสำคัญของพระองค์ที่ทรงใช้เพื่อการนี้ก็คือ ระบบสมณศักดิ์ นั่นเอง
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 17:09:43 »



และด้วยเหตุดังที่กล่าวมา การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสมถกรรมฐาน/วิปัสสนากรรมฐานอันเกี่ยวเนื่องกับมรรคผลนิพพานหรือโลกุตรธรรม จึงค่อยๆ เลือนหายไปจากวิถีชีวิตและจากระบบการศึกษาของคณะสงฆ์โดยลำดับอย่างเป็นรูปธรรม และกลายเป็นมรดกที่ตกทอดมาจนถึงยุคสมัยของ พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ (พ.ศ.2475-ปัจจุบัน)

จนเป็นเหตุให้ท่านปฏิเสธระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักโดยให้เหตุผลว่า ไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้ค้นพบความบริสุทธิ์ และการศึกษาพระปริยัติธรรมทางเจือด้วยยศศักดิ์ ก็เป็นการ "ก้าวผิด" ไปก้าวหนึ่ง จนทำให้ท่านเลิกก้าวตามโลกอย่างสิ้นเชิงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2475 ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงหนึ่งเดือน

การค้นพบ "เงื่อน" ที่ทำให้เราได้รับคำตอบว่าโลกุตรธรรมกล่าวคือ มรรค ผล นิพพาน หายไปจากระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักได้อย่างไร ทำให้เราเข้าใจคณะสงฆ์ในปัจจุบันได้ชัดขึ้น รวมทั้งสามารถอธิบายสาเหตุแห่งความเสื่อมทรามของคณะสงฆ์ได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น

และประการสำคัญยังทำให้เราได้ค้นพบคำตอบด้วยว่า เหตุไรการศึกษาที่เป็นผลมาจากการปฏิรูปพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความใฝ่รู้ความจริงของท่านพุทธทาสภิกขุได้

และสิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ทำให้เราได้เห็นความแตกต่างระหว่างท่านพุทธทาสภิกขุ กับนักปฏิรูปพุทธศาสนาชั้นนำอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญารวโรรส ซึ่งเติบโตมากับโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยม/มนุษยนิยมเหมือนกัน แต่ทว่า นักปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งสองฝ่ายกลับมีปฏิสัมพันธ์ต่อพระพุทธศาสนาหรือโลกุตรธรรมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะท่านพุทธทาสภิกขุได้นำเอาโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยมและมนุษยนิยมนั้นเองมาช่วยในการขับเคลื่อนเพื่อ "รื้อฟื้น" โลกุตรธรรมให้คืนกลับมา

ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กลับนำเอาโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์นั้นแหละมาเป็นเครื่องมือเพื่อลดทอนโลกุตรธรรม

จนหายไปจากวิถีชีวิตของพระสงฆ์ และระบบการศึกษาของคณะสงฆ์อย่างแทบจะสิ้นเชิง





Credit by : http://info.matichon.co.th/weekly/wk_txt.php?srctag=MTMyMzAwNjQ5
Pics by : Google

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาค่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อายตนะนิพพาน กับ นิพพาน เป็นคนละตัวกัน
พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
phonsak 3 3090 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2553 21:47:04
โดย phonsak
อายตนะนิพพาน กับ นิพพาน ไม่เหมือนกัน
พุทธวัจนะ ในธรรมบท
phonsak 1 4105 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2553 21:48:07
โดย phonsak
พระพุทธเจ้าสอนให้เกาะอัตตา(นิพพาน)เป็นที่พึ่งให้แน่นที่สุด
พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
phonsak 2 2580 กระทู้ล่าสุด 11 กันยายน 2553 13:30:53
โดย phonsak
ธรรมธาตุ=นิพพาน สิ่งนี้แหละเป็นสิ่งเดียวที่เป็น "อัตตา"
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
phonsak 0 1834 กระทู้ล่าสุด 05 พฤศจิกายน 2553 16:53:49
โดย phonsak
"มหาธรรม 13" นิพพาน อัตตา อนัตตา
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 988 กระทู้ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2559 15:54:00
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.381 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 02:48:42