[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 04:38:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล วัดดอนธาตุ จ.อุบลราชธานี  (อ่าน 5094 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 เมษายน 2559 17:17:53 »


ขอขอบคุณ คุณพิศิษฐ์ ไสยสมบัติ - ผู้ค้นคว้าเรียบเรียง ที่ได้กรุณาอนุญาตให้นำประวัติของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล
ผลงานอันเกิดจากกุศลเจตนาของท่านที่ได้ศึกษา สืบเสาะ ค้นหา ติดตาม สอบถามข้อมูล ตลอดจนสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับประวัติ
ของท่านพระอาจารย์เสาร์ จากผู้ทราบเรื่องราว โดยใช้เวลากว่า ๒ ปี มาเรียบเรียงเป็นหนังสือ เพื่อรักษาและเผยแพร่เกียรติคุณ
ของท่านพระอาจารย์ พระสุปฏิปันโนผู้เป็นพระบูรพาจารย์ที่ก่อกำเนิดพระธุดงค์กรรมฐานของภาคอีสาน ที่หาได้ยากยิ่งรูปหนึ่ง 
มาเผยแพร่ในเว็บไซต์ sookjai.com แก่สมาชิกและประชาชนทั่วไปเพื่อเป็นธรรมทาน ได้ตามความประสงค์  kimleng.
-----------------------------------------





พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
วัดดอนธาตุ  อำเภอพิบูลมังสาหาร  จังหวัดอุบลราชธานี
ชมรมพุทธศาสน์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย : พิมพ์เผยแพร่

เปิดปก
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ  ชาติภูมิของท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี  ชาตะเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓ มรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ท่านเป็นอาจารย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ และเป็นพระวิปัสสนาธุระผู้เคร่งครัดในธรรมวินัยอย่างยอดเยี่ยม บุคลิกลักษณะสมบูรณ์ สง่าผ่าเผย เกรงขาม พูดน้อย แต่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดอะไรมักจะเป็นอย่างนั้น ดังสมัยหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปในท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นปฐมฤกษ์ที่พระกัมมัฏฐานรุ่นแรกเหยียบย่างเข้าไปสู่ถิ่นนั้น มีประชาชนแตกตื่นเลื่อมใสไปให้ทานทำบุญเป็นจำนวนมาก หลังจากให้ทานแล้วก็ใคร่อยากจะฟังธรรมเทศนาของท่าน ท่านจึงกล่าวธรรมเป็นคติแต่โดยย่อว่า “การให้ทานใครๆ ก็ให้ทานมามากแล้ว มีผลาอานิสงส์มากเหมือนกัน แค่สู้บวชเป็นขาวเป็นชีรักษาศีลอุโบสถไม่ได้ มีอานิสงส์มากกว่าให้ทานนั่นเสียอีก ถ้าใครอยากได้บุญมากขึ้นสวรรค์ไปนิพพานพ้นทุกข์ ก็ควรบวชเป็นขาวเป็นชีรักษาศีลอุโบสถเสียในวันนี้”  ปรากฏว่าในค่ำวันนั้นเอง มีญาติโยมชายหญิงบวชชีกันร่วมร้อย อย่างน่าอัศจรรย์

ประการหนึ่ง สถานที่แห่งใด ที่ท่านเที่ยวธุดงค์ไปพักชั่วคราว สถานที่แห่งนั้นมักจะกลายเป็นวัดถาวรและเจริญรุ่งเรืองตามมาภายหลัง เช่น พระธาตุนครพนม ซึ่งแต่ก่อนรกร้างเป็นดง เมื่อท่านเดินรุกขมูลเข้าไปพักอาศัยที่นั้นชั่วคราว ให้คนถากถางทำความสะอาดปัดกวาดอย่างดี ครั้นต่อมาภายหลัง ที่นั่นจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเจริญรุ่งเรืองเป็นที่เลื่อมใสของชาวพุทธทั่วประเทศ มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

และในทำนองเดียวกัน ก็ยังมีสถานที่อีกหลายแห่งที่ท่านธุดงค์ผ่านไปพักชั่วคราว แล้วกลายมาเป็นวัดได้รับความเจริญรุ่งเรืองเหลือเป็นอนุสรณ์สำหรับอนุชนจนกระทั่งทุกวันนี้
.....โดย พระครูสถิตบุญญารักษ์


ชาติภูมิ
ท่านเกิดที่บ้านข่าโคม
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล  ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ เดือนสิบสอง ปีระกา เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ (ตามบันทึกของท่านพระครูพิบูลธรรมภาณ วัดภูเขาแก้ว) หรือ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๔ (ตามหนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพพระอาจารย์เสาร์ฯ โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สังฆนายก) ที่บ้านข่าโคม (ชื่อเดิม “บ้านท่าโคมคำ”) ต.หนองขอน อ.เมืองอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ ต.ปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี)

นามเดิมของท่าน ชื่อเสาร์ นามสกุล สมัยนั้นยังไม่มี  ภายหลังมีญาติสืบสายกันมาในตระกูล อุปวัน* และพันธ์โสรี**

เป็นบุตรของ พ่อทา และแม่โม่ (ส่วนพ่อใหญ่คำดี ชารีนะ ชาวบ้านข่าโคม กล่าวไว้ว่า ชื่อบิดาของพระอาจารย์เสาร์นั้นไม่ทราบชื่อ มารดาชื่อแม่บัวศรี)

ท่านมีพี่น้องรวมกัน ๕ คน ตามลำดับดังนี้:-
๑.ท่านพระอาจารย์เสาร์
๒.นางสาวแบ (อยู่เป็นโสดตลอดชีวิต)
๓.แม่ดี
๔.แม่บุญ
๕.พ่อพา อุปวัน


*นามสกุล อุปวัน นี้ คุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก หลานชายผู้เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ (เป็นญาติทางฝ่ายบิดาของพระอาจารย์เสาร์) ให้ข้อมูลข้าพเจ้าไปสืบเสาะจากเครือญาติสายน้องชายพระอาจารย์เสาร์
**นามสกุล พันโสรี นี้ พบว่ามีใช้กันในบ้านข่าโคม พระครูพิบูลธรรมภาณ (โชติ อาภัคโค) เจ้าอาวาสวัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร เป็นผู้ให้ข้อมูล




รูปนี้ถ่ายเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๘๐ ที่วัดป่าแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
ตอนองค์พระอาจารย์เสาร์ เดินทางจากบ้านข่าโคม มาพักที่ศาลาหลังเล็กของวัดป่านี้
ก่อนที่จะเดินทางไปกรุงเทพฯ ทางรถไฟ (สถานีรถไฟอยู่ใกล้กับวัดนี้) ภาพนี้คณะลูกศิษย์
ได้อัดถวายให้พระอาจารย์เสาร์ แจกในคราวงานพิธีทอดผ้าป่าที่วัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคม
โดยคณะตัวแทนเจ้าจอมมารดาทับทิม เป็นเจ้าศรัทธา เมื่อกลางปี พ.ศ.๒๔๘๐

ชีวิตเมื่อวัยเยาว์
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล มีรูปร่างสูงใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณดีมาก สมัยเมื่อยังเป็นเด็ก ท่านมีความพึงพอใจ ศรัทธา เลื่อมใส ในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างสูงยิ่ง กอปรกับนิสัยสนใจใฝ่ศึกษาหาความรู้ของท่าน  ดังนั้น เมื่อท่านอายุได้ ๑๒ ปี จึงได้ตัดสินใจเข้าวัด โดยได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์วัด เพื่อเตรียมตัวบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี


เมืองนักปราชญ์
สำนักศึกษาในสมัยก่อนคือวัด ถือว่าวัดเป็นแหล่งรวมความรู้ เป็นที่ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการด้านต่างๆ และเป็นแหล่งเนื้อนาบุญ เป็นที่อยู่ของคนดี คนมีบุญ พ่อแม่ผู้ปกครองในสมัยนั้นจึงนิยมส่งบุตรหลานอันเป็นที่รักของตนให้ “เข้าวัด” และ “บวชเรียน” เพื่อที่ว่าจะได้เป็น “คนสุก” ลบเสียซึ่งคราบของ “คนดิบ” แลยังเป็น “ญาคู” ผู้รู้ เป็น “มหาเปรียญ” ผู้ปราดเปรื่อง หรือสึกออกมาเป็น “ทิด” เป็น “นักปราชญ์” มีความรู้รับราชการ “ได้เป็นเจ้าเป็นนาย” ต่อไป

อุบลราชธานีในอดีตจึงเป็นแดน “ตักกศิลา” เป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาของภาคอีสาน มีวัดวาอารามสวยงามตระการตา แพรวพราว หลากหลายเต็มไปหมดทุกแห่งแหล่งถนนในตัวเมืองอุบล ก่อให้เกิดพระเถรานุเถระ พระอุปัชฌายาจารย์ นักปราชญ์ราชบัณฑิต อย่างมากมาย อันเป็นค่านิยมของสังคมสมัยนั้น จนมีคำกล่าวว่า
     • อุบล เมืองนักปราชญ์
     • โคราช เมืองนักมวย
     • เชียงใหม่ เมืองคนบุญ
     • ลำพูน เมืองคนสวย


วัดใต้
วัดใต้ท่า และวัดใต้เทิง
“วัดใต้” หรือ “วัดใต้เทิง” เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนที่สูงริมฝั่งแม่น้ำมูลตอนใต้ ทางทิศตะวันออกของเมืองอุบลราชธานี เป็นบริเวณแถบที่อยู่ทางท้ายเมือง ด้วยแม่น้ำมูลไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านอำเภอเมืองไปอำเภอพิบูลมังสาหาร แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่ตะวันออกสุดของประเทศไทย ที่อำเภอโขงเจียม

ตามประวัติวัดในเมืองอุบลราชธานี มีอยู่ว่าวัดใต้เทิงนี้ ญาท่านบุญศรี เป็นผู้สร้างเมื่อ จ.ศ.๑๑๗๖ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๗๗ โดยครั้งนั้นเป็นวัดในคณะมหานิกาย

เดิมทีนั้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่ลาดลงไปจนจรดแม่น้ำมูลนั้นเป็นที่ตั้งของวัดใต้เช่นกัน มีชื่อเรียกขานกันว่า วัดใต้ท่า เดิมพระมหาราชครูเจ้าท่านหอแก้ว ผู้เป็น “หลักคำเมืองอุบล” (หลักคำ คือตำแหน่งประมุขสงฆ์เดิมของทางอีสาน) หลบไปนั่งกรรมฐานที่ป่าบริเวณนี้ ครั้นมีพระสงฆ์ตามไปอยู่ปฏิบัติมากขึ้น จึงได้สร้างเพิ่มขึ้นเป็นวัด ชื่อว่าวัดใต้ท่า ต่อมาถูกยุบร้างไป เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙

ส่วนประวัติวัดใต้ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๕๒๙ กล่าวไว้ว่า “การริเริ่มก่อสร้างนั้น จะเป็นเมื่อไรไม่มีใครทราบ วัดใต้ได้จดทะเบียนเป็นทางการเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๒๒ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๑๗ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๔๑ โดยมีท้าวสิทธิสารกับเพียเมืองแสนพร้อมราษฎรได้กราบบังคมทูลพระกรุณา ขอเป็นที่วิสุงคามสีมา ตามหนังสือที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่ ๑๐๓/๓๗๘ อันเป็นวันที่ ๑๐๙๗๖” ในรัชกาลที่ ๕

ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ก็ยังกล่าวถึงประวัติวัดใต้ไว้อีกว่า “เดิมทีนั้นวัดใต้มีอยู่ ๒ วัด คือวัดใต้ท่า กับวัดใต้เทิง เพราะเหตุที่วัดทั้งสองนั้นอยู่ติดกัน ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ซึ่งเป็นผู้ปกครองสังฆมณฑลในสมัยนั้น จึงได้ยุบวัดใต้ท่าที่ร้างไปให้รวมกับวัดใต้เทิง กลายเป็นวัดใต้วัดเดียวในปัจจุบัน แล้วโอนมอบที่ดินวัดใต้ท่าให้เป็นศาสนสมบัติกลางในกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาที่ดินบริเวณนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นสำนักงานไฟฟ้าบริษัทส่วนบุคคล ทำการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง (เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ) โดยมีนายวิเชียร ศรีสมบูรณ์ เป็นเจ้าของผู้จัดการนับแต่นั้นเป็นต้นมา”

เรื่อง วัดใต้ นี้มีท่านผู้รู้อีกท่านหนึ่งของเมืองอุบลฯ คือ คุณตาบำเพ็ญ ณ อุบล กล่าวยืนยันว่า “วัดใต้นี้มี ๒ วัด คือ วัดใต้ท่า และ วัดใต้เทิง (เทิง แปลว่า ที่สูง, ข้างบน) ทั้งสองวัดนี้ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน ต่อมาไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้วัดใต้ท่ากลายเป็นวัดร้างไป ซึ่งต่อมาที่ตรงนั้นได้เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าของเมืองอุบลฯ ใช้เครื่องจักรฉุดเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า จนต่อมาใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนกั้นน้ำจึงได้เลิกใช้เครื่องจักรปั่นไฟ เหลือเป็นที่ตั้งสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.อุบลราชธานี ส่วนวัดใต้เทิงนั้นยังคงอยู่และเจริญรุ่งเรืองมาจนกระทั่งบัดนี้เรียกขานกันว่า “วัดใต้”

ก่อนดำเนินเรื่องต่อไป ข้าพเจ้าขอแทรกเรื่องประเทืองความรู้จาก “ทำเนียบสมณศักดิ์ของชาวเมืองเวียงจันทน์โบราณ” โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) ดังนี้
ธรรมเนียมการจัดสมณศักดิ์ของวัฒนธรรมล้านช้าง แบ่งออกเป็น ๘ ขั้น คือ สำเร็จ ซา คู ฝ่าย ด้าน หลักคำ ลูกแก้ว ยอดแก้ว

ธรรมเนียมการจัดสมณศักดิ์ของหัวเมืองอีสานโบราณ แบ่งออกเป็น ๖ ขั้น คือ สำเร็จ ซา คู ฝ่าย ด้าน หลักคำ สมณศักดิ์ชั้นลูกแก้ว ยอดแก้ว นั้นไม่มีในหัวเมืองอีสาน เพราะเป็นสมณศักดิ์เทียบเท่าชั้น สังฆราชา และ รองสังฆราชา



สมณศักดิ์ฝ่ายปริยัติ
สำเร็จ  เป็นครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการ
ซา
คู

สมณศักดิ์ฝ่ายปกครอง
ฝ่าย  - ปกครองในหมวด
ด้าน  - ปกครองในแขวง
หลักคำ  - ประมุขสงฆ์



บวชเณร
ท่านเป็นสามเณรที่ครูบาอาจารย์รักและไว้วางใจ
พระอาจารย์เสาร์ได้เข้าไปพำนักรับใช้เป็นศิษย์วัดใต้ตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี จวบจนกระทั่งอายุ ๑๕ ปี ใน พ.ศ.๒๔๑๗ ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยสมบูรณ์ในคณะมหานิกาย

ด้วยความยึดมั่นแน่วแน่ในพระพุทธศาสนา เมื่อบวชเณรแล้ว ท่านมีความอุตสาหะขยันขันแข็ง พากเพียรเรียนศึกษา หมั่นท่องมนต์บทสวด เรียนมูลกัจจายนะ ศึกษาพระวินัยทั้งห้าคัมภีร์พระธรรมบท ทศชาติ มงคลทีปนี วิสุทธิมรรค อภิธัมมัตถสังคห อีกทั้งอักษรไทยน้อย ไทยใหญ่ “ตัวธรรม” อักษรขอม ก็ล้วนชำนาญการ แตกฉานไปทุกอย่าง

พระอาจารย์เสาร์เคยเล่าชีวประวัติเมื่อครั้งเป็นสามเณรให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังอยู่เสมอ ถึงการปฏิบัติครูบาอาจารย์ของท่านว่า...
“สมัยนั้นท่านเป็นสามเณรใหญ่ ถ้ามีกิจนิมนต์พระไปฉันภัตตาหารนอกวัดแล้ว ท่านจะต้องได้ไปช่วยรับใช้เสมอ เพราะเป็นสามเณรใหญ่ที่ครูบาอาจารย์รัก และไว้เนื้อเชื่อใจมาก ไปไหนจะต้องเอาท่านไปด้วยเสมอ เพื่อคอยปฏิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ กิจการทุกอย่างของครูบาอาจารย์นั้น ท่านรับหน้าที่ทำหมด โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าลำบากยากเข็ญใดๆ ทั้งสิ้น เป็นต้นว่า ตอนรับบาตร ท่านจะรับภาระองค์เดียวหมด หิ้วบาตรและสะพายบาตรรอบกายเลยทีเดียว”

ท่านเล่า “ในสมัยนั้นท่านฉันภัตตาหารได้มากนัก พอถึงเวลาไปติดตามฉันอยู่ในบ้านเหล่าญาติโยม เจ้าภาพจะต้องคอยดูแลภัตตาหารตักเติมให้ท่านเสมอ ท่านก็ยิ่งฉันฉลองศรัทธาเขาได้มากเท่านั้น บางคนสงสัยว่าท่านฉันได้จุมากกว่าพระอย่างนี้ ท่านเอาท้องที่ไหนมาใส่ไหว” และนี่ก็คือประวัติตอนที่ได้รับการถ่ายทอดจาก พระครูพิบูลธรรมภาณ (โชติ อาภัคโค) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี



บวชพระ
ญาคูเสาร์
หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ๕ ปี จวบจนอายุของท่านได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ครบเกณฑ์ที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ตามพระวินัยบัญญัติ ในปี พ.ศ.๒๔๒๒ ท่านก็ได้ตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์ในคณะมหานิกาย

ท่านพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดใต้ ในเพศบรรพชิต ปฏิบัติกิจพระพุทธศาสนามาถึง ๑๐ พรรษาได้เป็น “ญาครู” เป็นครูผู้อรบรมหมู่คณะสืบต่อซึ่งชาวบ้านเรียกท่านว่า “ญาคูเสาร์”


เมื่อญาคูเสาร์จะสึก
ในสมัยที่ท่านบวชได้สิบกว่าพรรษา ณ วัดใต้นี้ เป็นช่วงเวลาที่ท่านมีความคิดอยากจะลาสิกขาเป็นกำลัง ท่านเตรียมสะสมเงินทอง อีกทั้งวัตถุข้าวของเป็นจำนวนมาก บนกุฏิของท่านเต็มไปด้วยสิ่งของเครื่องใช้ มีทั้งผ้าไหม แพรพรรณ ท่านเตรียมตัวที่จะเป็นพ่อค้าวานิชไปทางน้ำ เพราะท่านมีความชำนาญในการดำรงชีวิตตามลำน้ำตั้งแต่วัยเยาว์ สมัยอยู่ที่บ้านข่าโคม อันเป็นบ้านเกิดนั้นก็ใช้เส้นทางสัญจรทางลำน้ำเซบาย-ลำน้ำชี-ลำน้ำมูล เป็นสายใยเส้นทางชีวิต

จากคำบอกเล่าของชาวบ้านข่าโคม ปรากฏว่ามีลุงของท่านทำการค้าประสบผลสำเร็จ มีกิจการเดินเรือใหญ่โต อันเป็นแนวทางแห่งจินตนาการของท่านที่วาดไว้ว่า เมื่อลาสิกขาแล้วจะใช้ชีวิตเป็นพ่อค้าขายเสื้อผ้า ของกินของใช้เบ็ดเตล็ด บรรทุกเรือล่องไปขายตามลำแม่น้ำชี ลัดเลาะออกลำน้ำแม่มูลเรื่อยไปจนจรดแม่น้ำโขง – จำปาศักดิ์ – เมืองโขง – สีทันดร ถึงบ้านไหนก็แวะบ้านนั้น ซื้อสินค้าบ้านนี้ไปขายบ้านนั้น เอาของบ้านนั้นไปขาย พอกะว่าค้าขายได้เงินพอสมควรแล้วจึงจะหวนกลับมาบ้านเกิด สร้างครอบครัว – แต่งงาน ตั้งหลักปักฐานทำไร่ทำนา ค้าขายหาเลี้ยงครอบครัวไปตามวิถีของชาวโลกต่อไป




รูปนี้ได้รับจากหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ซึ่งองค์ท่านเล่าว่า
มีญาติโยมทางแถบ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม นำมาถวายให้ท่านเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑

 

 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 เมษายน 2559 14:34:07 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 เมษายน 2559 15:09:02 »





เมื่อญาคูเสาร์จะสึก
ในสมัยที่ท่านบวชได้สิบกว่าพรรษา ณ วัดใต้นี้ เป็นช่วงเวลาที่ท่านมีความคิดอยากจะลาสิกขาเป็นกำลัง ท่านเตรียมสะสมเงินทอง อีกทั้งวัตถุข้าวของเป็นจำนวนมาก บนกุฏิของท่านเต็มไปด้วยสิ่งของเครื่องใช้ มีทั้งผ้าไหม แพรพรรณ ท่านเตรียมตัวที่จะเป็นพ่อค้าวาณิชไปทางน้ำ เพราะท่านมีความชำนาญในการดำรงชีวิตตามลำน้ำตั้งแต่วัยเยาว์ สมัยอยู่ที่บ้านข่าโคม อันเป็นบ้านเกิดนั้น ก็ใช้เส้นทางสัญจรทางลำน้ำเซบาย-ลำน้ำชี-ลำน้ำมูล เป็นสายใยเส้นทางชีวิต

จากคำบอกเล่าของชาวบ้านข่าโคม ปรากฏว่ามีลุงของท่านทำการค้าประสบผลสำเร็จ มีกิจการเดินเรือใหญ่โต อันเป็นแนวทางแห่งจินตนาการของท่านที่วาดไว้ว่า เมื่อลาสิกขาแล้วจะใช้ชีวิตเป็นพ่อค้า ขายเสื้อผ้า ของกินของใช้เบ็ดเตล็ด บรรทุกเรือล่องไปค้าขายตามลำแม่น้ำชี ลัดเลาะออกลำแม่น้ำมูลเรื่อยไปจนจรดแม่น้ำโขง-จำปาศักดิ์-เมืองโขง-สีทันดร  ถึงบ้านไหนก็แวะบ้านนั้น ซื้อสินค้าบ้านนี้ไปขายบ้านนั้น เอาของบ้านนั้นไปขาย พอกะว่าค้าขายได้เงินพอสมควรแล้วจึงจะหวนกลับมาบ้านเกิด สร้างครอบครัว-แต่งงาน ตั้งหลักปักฐานทำไร่ทำนา-ค้าขายหาเลี้ยงครอบครัวไปตามวิถีชีวิตของชาวโลกต่อไป



ลักษณะเรือสมัยก่อน

ญาคูเสาร์ขุดต่อเรือ
ในเวลานั้นสิ่งที่ยังขาดก็คือเรือเท่านั้น และท่านได้ทราบข่าวว่ามีไม้ต้นใหญ่ที่งามมากต้นหนึ่ง เหมาะสำหรับขุดเป็นเรือ แต่ร่ำลือกันว่าหลายคนที่เข้าไปตัดฟัน มักมีอันเป็นไปต่างๆ นานา ต่างก็พากันเข็ดขยาดไม่มีใครกล้าไปแตะต้องเลย

ญาคูเสาร์ท่านได้ทราบข่าวลือ จึงตัดสินใจไปดูด้วยตนเอง พอไปเห็นต้นไม้ที่มีลักษณะที่งดงามมากเหมาะอย่างยิ่งที่จะขุดเป็นเรือ ท่านจึงตัดสินใจขุดต่อเรือทันที จนกระทั่งสำเร็จเสร็จสิ้น เป็นเรือที่มีขนาดใหญ่และงดงาม เหมาะจะใช้บรรทุกสินค้า โดยที่ไม่อาเพศเหตุร้ายเกิดขึ้นเลย

ท่านได้นำเรือลอยลำมาผูกไว้ที่ท่าน้ำหน้าวัดใต้นั่นเอง เล่ากันว่ามักมีเหตุการณ์ประหลาดๆ เกิดขึ้นกับเรือลำนี้บ่อยครั้ง คือ เรือลอยลำออกไปกลางน้ำได้ ทั้งๆ ที่ผูกเชือกไว้แล้ว พอถึงวันพระช่วงกลางคืน เรือก็จะลอยออกไปเอง หรือ บางทีก็ลอยลำมาจอดที่ท่าได้เอง จนไม่มีใครกล้าที่จะขึ้นไปนั่งเล่นบนเรือลำนี้อีกเลย



โยมมารดาสิ้น
ในระยะนี้เองเป็นช่วงที่โยมมารดาของพระอาจารย์เสาร์เสียชีวิต ที่บ้านข่าโคม (บ้านเกิดของท่าน) ข่าวนี้ยังความเศร้าสะเทือนใจอย่างใหญ่หลวงมาสู่ท่าน ความคิดฟุ้งซ่าน แผนการทุกอย่าง จำเป็นต้องถูกระงับไว้ ท่านต้องรวบรวมกำลังใจอย่างเต็มที่ แล้วจึงเดินทางไปร่วมทำศพของโยมมารดาที่บ้านเกิด เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อมารดาผู้ให้กำเนิดเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากเสร็จงานฌาปนกิจศพโยมมารดาแล้ว ท่านก็เดินทางกลับมาพำนักที่วัดใต้เหมือนเดิม


ญาคูเสาร์ไม่สึก
หลังจากงานปลงศพโยมมารดาของท่าน ทำให้ท่านต้องรวบรวมจิตให้เป็นสมาธิ ปลงธรรมสังเวช แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลแด่โยมมารดาของท่าน จนกระทั่งในที่สุดความคิดที่จะลาสิกขาก็ค่อยๆ ผ่อนคลาย เลือนราง จางหาย มลายไปในที่สุด


สละสิ้น
เมื่อพระอาจารย์เสาร์ได้ตัดสินใจได้แน่นอน มั่นคง เด็ดขาด ว่าจะไม่สึกเช่นนั้นแล้ว จึงมุ่งตรงไปยังท่าน้ำหน้าวัดที่จอดเรือไว้ทันที  พอไปถึงท่านก็ไม่รอช้ารีบลงไปแก้เชือกที่ผูกเรือไว้อย่างรวดเร็ว แล้วผลักหัวเรือออกไปอย่างสุดแรงเกิด เรือก็พุ่งแหวกสายน้ำออกไปตามแรงผลัก แล้วลอยเคว้งคว้างไปตามกระแสน้ำจนไกลลิบ สุดสายตา เฉกเช่นดั่งที่ท่านละทิ้งความคิดที่จะลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตให้ล่องลอยไปตามกระแสโลกย์โดยเด็ดขาดฉะนี้แล

พอเรือลอยลับไปแล้ว ท่านจึงหันหลังกลับหวนคืนสู่กุฏิ ท่านมีความสุขสงบใจ และมั่นในในตัวเองอย่างเต็มที่ เพราะท่านได้ปลดเปลื้อง ปล่อยวาง ซึ่งห่วงพันธนาการ ที่ผูกรัดมัดคาจิตใจท่านมาเป็นเวลาช้านาน  ดังนั้นพอรุ่งเช้าวันใหม่ท่านจึงประกาศให้หมู่คณะและญาติโยมทั้งหลายที่คอยฟังข่าวได้ทราบทั่วกันว่า ต่อไปนี้ท่านจะไม่สึกอย่างเด็ดขาด ใครต้องการอะไรขอให้มาเอาไปได้เลย พวกสิ่งของเครื่องใช้ สินค้า ของมีค่าต่างๆ ที่ท่านอุตส่าห์เก็บสะสมไว้นาน ท่านจะสละให้เป็นทานจนหมดสิ้น ญาติมิตรทั้งหลายเมื่อได้ทราบข่าวต่างก็อนุโมทนาสาธุการ แล้วทยอยกันมารับแจกสิ่งทานเหล่านั้นเป็นเวลาหลายวันจึงหมด โดยท่านไม่อาลัยอาวรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น กลับยินดีที่ได้แจกทานจนหมดในครั้งนี้

ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ ที่ได้รวบรวมมาต่อไป ขอแทรกเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน ควรได้รับทราบก่อนเพื่ออรรถรสที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยได้รับความเมตตาเอื้อเฟื้อจากเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามมอบข้อมูลหนังสือประวัติวัดสุปัฏนารามวรวิหาร, อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีอุบลรัตนารามได้มอบหนังสือประวัติวัดศรีอุบลรัตนาราม ประวัติพระแก้วบุษราคัม, คำบอกเล่าของคุณตาบำเพ็ญ  ณ อุบล ผู้เฒ่าผู้แก่ของเมืองอุบลฯ และจากหนังสือประวัติเมืองอุบลราชธานี, ประวัติคณะธรรมยุติกนิกายเมืองอุบลราชธานี




รูปอดีต ท่าวัดสุปัฏนารามวรวิหาร ลงแม่น้ำมูล

กำเนิดธรรมยุติกนิกาย
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีเหตุการณ์สำคัญด้านการพระศาสนาเกิดขึ้นเรื่องหนึ่ง คือได้มีกำเนิดคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ในประเทศไทยอีกคณะหนึ่ง เรียกว่า “ธรรมยุติกนิกาย” หรือ คณะธรรมยุต ถือว่าเป็นคณะสงฆ์ที่ยึดมั่นในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด

ผู้ให้กำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุตนี้ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งขณะนั้นยังทรงดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ และกำลังทรงผนวชเป็นพระภิกษุได้ ๕ พรรษา อยู่ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาสในปัจจุบัน)

พระองค์ได้ทรงอุปสมบทในคณะสงฆ์ไทยที่สืบมาแต่เดิม ซึ่งเรียกภายหลังว่า มหานิกาย เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๗ และต่อมาหลังจากทรงผนวชได้ ๕ พรรษา ก็ได้ทรงอุปสมบทอีกในวงศ์สีมากัลยาณี ซึ่งสืบวงศ์บรรพชา อุปสมบท มาแต่คณะสงฆ์มอญ  ผู้อุปสมบทในนิกายสีมากัลยาณี ในรามัญประเทศ ที่ได้รับสมณวงศ์ต่อมาจากพระภิกษุสงฆ์ลังกา คณะมหาวิหาร ซึ่งสืบสายมาจากพระมหินทเถระ อันพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งจากกรุงปาฏลีบุตร ชมพูทวีปหรือประเทศอินเดีย ให้มาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป หรือประเทศศรีลังกาโน้นแล

พระองค์ทรงมีพระนามในพระศาสนาว่า “วชิรญาณ” เมื่อได้ทรงให้กำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุติแล้ว จะทรงบังคับพระภิกษุสงฆ์ให้รวมเป็นนิกายเดียวกันก็หาไม่ เพราะทรงเล็งเห็นว่า แม้จะทรงใช้พระราชอำนาจ รวมพระสงฆ์ให้เป็นนิกายเดียวกันได้ แต่ก็เป็นวิธีที่บังคับขืนใจ จักไม่ได้ผลยั่งยืนนาน  ดังนั้น พระองค์กลับทรงใช้พระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แด่ทุกนิกายเสมอกัน ทรงชักนำนิกายที่หย่อนยาน

ให้แก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ตามระเบียบปฏิบัติที่ทรงรื้อฟื้นตั้งขึ้นและทรงตราระเบียบแบบแผนไว้ โดยพระบรมราโชบายอันสุขุมนุ่มนวล ไม่เป็นการกระทบกระเทือนฝ่ายใด วิธีการบริหารคณะสงฆ์เช่นนี้ ถือเป็นแบบอย่างในรัชกาลต่อๆ มา กิจการคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายนี้จึงได้เจริญควบคู่สืบต่อกันมาอย่างแน่นแฟ้น ดังที่ปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้



คณะสงฆ์ธรรมยุตสู่อีสาน
มีพระมหาเถระเมืองอุบลฯ รูปหนึ่ง ซึ่งเป็นปูราณสหธรรมิกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งจักรีวงศ์  เมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงผนวชอยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) พระมหาเถระรูปนั้นมีนามว่า พนฺธุโล (ดี) หรือ ญาท่านพันธุละ ท่านเป็นชาวบ้านหนองไหล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านไปอยู่วัดเหนือในเมืองอุบลราชธานี ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ ณ เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร ที่สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ แล้วเข้ารับทัฬหิกรรมตามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดราชาธิวาส นับว่าเป็นพระธรรมยุตรุ่นแรกของภาคอีสาน

ในกาลต่อมาท่านกลับมาเยี่ยมบ้านเกิด แล้วได้นำพระหลานชายผู้สนิทชื่อ เทวธมฺมี (ม้าว) เข้าถวายตัวเป็นพระศิษย์หลวง สมัยนั้นพระศิษย์หลวงเดิมมีอยู่ ๔๘ รูป ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) นับว่าเป็นสัทธิวิหาริกแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมเด็จพระสังฆราช (สา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์  ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๑ ในเมืองอุบลราชธานี ได้รับการบรรพชา อุปสมบทที่วัดเหนืออันเป็นวัดเดิมที่ท่านพนฺธุโล (ดี) เคยพำนักอยู่มาก่อน ซึ่งท่านพนฺธุโล (ดี) นี้ ได้ส่งศิษย์เข้าไปศึกษาเล่าเรียนตลอดจนอบรมสมถวิปัสนาธุระที่กรุงเทพมหานคร หลายรุ่นได้แก่
   ๑.ท่านเทวธมฺมีเถระ (ม้าว)
   ๒.ท่านธมฺรกฺขิตเถระ (อ่อน) ได้เป็นเจ้าคุณพระอริยกวี
   ๓.ท่านสิริจนฺทเถระ (จันทร์) ได้เป็นเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์
   ๔.ท่านติสสเถระ (อ้วน) ได้เป็นเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์

ซึ่งต่อมาต่างได้เป็นกำลังสำคัญของคณะธรรมยุตที่ได้แผ่ขยายไปในที่ต่างๆ ทั่วอีสาน  ทั้งนี้เนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกพระสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรมอันสูงส่ง ดังประทีปดวงแรกที่จุดประกายอันสุกสว่างแห่งพระธรรมยุตอีสาน ปฏิปทาของท่านพันธุละเถระนี้ เด็ดเดี่ยวมั่นคงน่าเคารพบูชายิ่งนัก ดั่งเกร็ดประวัติของท่านที่พอมีปรากฏในช่วงปัจฉิมวัยว่า ในการอธิษฐานพรรษา ท่านได้สมาทาน เนสัชชิกธุดงค์ ถือการไม่นอนตลอดพรรษา พอออกพรรษาแล้วไม่นานนัก ท่านก็มรณภาพที่วัดสระแก้ว เมืองพิบูลมังสาหาร รวมอายุได้ประมาณ ๗๐ ปี


วัดธรรมยุตวัดแรกของอีสาน
สำหรับจังหวัดอุบลราชธานีนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะตั้งรากฐานของคณะธรรมยุติกนิกายในภาคอีสาน ในปีแรกที่ทรงครองราชย์นั่นเอง ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๘๘-๒๔๐๙) อาราธนา ญาท่านพนฺธุโล (ดี) ซึ่งเป็นชาวเมืองอุบลฯ และยังเป็นปูราณสหธรรมิกในพระองค์ พร้อมด้วยท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ให้มาสร้างวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔-๒๓๙๕ ที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลด้านเหนือ (ทิศตะวันตก) อยู่ระหว่างตัวเมืองกับบุ่งกาแซว โปรดพระราชทานทุนทรัพย์ เป็นเงิน ๑๐ ชั่ง (๘๐๐ บาท) พระราชทานเลกวัด (ผู้ปฏิบัติรับใช้วัด) ๖๐ คน และพระราชทานนิตยภัตแก่เจ้าอาวาส เดือนละ ๘ บาท  สร้างวัดเสร็จราว พ.ศ.๒๓๙๖ ตรงกับ ร.ศ.๗๒ พระราชทานนามว่า วัดสุปัตน์ อันแปลว่า อาศรมของพระฤๅษีชื่อดี ภายหลังเปลี่ยนชื่อว่าวัดสุปัฏนาราม แปลว่า ท่าน้ำดี เพราะอยู่ในทำเลท่าจอเรือที่ดี เป็น วัดธรรมยุตแห่งแรกของภาคอีสาน มีญาท่านพนฺธุโล (ดี) เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมา พ.ศ.๒๔๗๘ โปรดยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงวรวิหาร ชั้นตรี มีนามว่า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร มีพื้นที่ตามโฉนดประมาณ ๒๑ ไร่ ๓๘.๓ ตารางวา


ภาพประวัติศาสตร์ (ไม่มีให้เห็นแล้ว)
อุโบสถเก่าวัดศรีทอง ที่ญัตติกรรมของพระอาจารย์เสาร์
และยังเป็นที่อุปสมบทของหลวงปู่มั่น (หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต)

วัดศรีทอง-วัดธรรมยุตวัดที่ ๒
หลังจากนั้น ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ได้รับอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) วัดนี้เป็นวัดธรรมยุต วัดที่ ๒ ของภาคอีสาน ซึ่งพระอุปฮาด (โท) ต้นตระกูล ณ อุบล ผู้เป็นบิดาของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) เป็นกรมการเมืองอุบลราชธานี ได้มีจิตศรัทธายกที่สวนอันมีเนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่เศษ สร้างเป็นวัดเมื่อปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘ ตรงกับ ร.ศ.๗๔ เป็นปีที่ ๕ แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อของวัดศรีทองนี้ ตั้งตามนิมิตมงคลที่เห็นเป็นแสงสว่างกระจ่างไปทั่วบริเวณสวนแห่งนี้ในขณะที่ประกอบพิธีถวายที่ดินยกให้เป็นสถานที่ตั้งวัด  อีกราว ๒ ปีต่อมา ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ได้สร้างพระอุโบสถและผูกพัทธสีมา ประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๐ และได้ให้ ญาท่านสีทา ชยเสโน เป็นช่างสร้างหอพระแก้วไว้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม ดั่งที่เห็นอยู่ในพระอุโบสถตลอดมาจนบัดนี้ พระแก้วบุษราคัมนี้ เป็นที่เคารพนับถือสักการบูชาของปวงประชาชนชาวอุบลราชธานี เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองมาแต่สมัยโบราณ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ก็พร้อมใจกันประกอบพิธีสมโภช เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ากราบนมัสการ ถวายน้ำสรง เป็นประจำทุกๆ ปีมา ต่อมาก็มีการขยายเพิ่มจำนวนวัดและพระภิกษุสามเณรมากขึ้นโดยลำดับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ มีวัดและพระภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุตมากกว่าทุกภาคในประเทศไทย

กำเนิดยุคกัมมัฏฐาน
หลังจากที่ญาคูเสาร์ได้สละเครื่องเกี่ยวพันทุกสิ่งทุกอย่างจากตัวท่านแล้ว ท่านได้มีเวลาพิจารณาดูจิตของท่าน พร้อมกับได้เสาะแสวงหาท่านผู้รู้เพื่อที่จะคอยชี้แนะแนวทางดำเนินเพศบรรพชิตต่อไป

สมัยนั้นท่านได้ทราบว่า ญาท่านม้าว เทวธมฺมี ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตรงต่อพระธรรมวินัย ตรงต่อมรรคผลพระนิพพาน “ญาคูเสาร์” จึงได้ละทิ้งทิฐิความเป็น “ญาคู” ของท่าน แล้วจึงมุ่งตรงไปยังวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ที่พำนักของญาท่านม้าวเทวธมฺมี ทันที ได้รับฟังเทศน์ที่ท่านอบรมสั่งสอนพระภิกษุ สามเณร ให้เลิกแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตรงตามพระพุทธวินัยบัญญัติ เลิกเส้นทางดำเนินใดๆ ก็ตามอันที่จะทำให้ศีลด่างพร้อย ให้ห่างเครื่องสั่งสมกิเลสให้พอกพูน ติดหล่มโลกโลกีย์ต่างๆ เหล่านั้น มันไม่ใช่แนวทางของพระพุทธองค์ ให้ละเลิกเสียโดยเด็ดขาด  ให้หันมาประพฤติปฏิบัติในพระธรรมวินัยอย่างแท้จริง ทรงศีลให้บริสุทธิ์ เจริญสมาธิให้แน่วแน่ เดินปัญญาให้เต็มรอบบริบูรณ์

นี่คือแนวทางขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าประทานไว้ ให้ผู้เป็นสาวกทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติตามนั้นแล

ญาคูเสาร์นั้นหลังจากได้รับฟังโอวาทจาก ญาท่านม้าว เทวธมฺมี แล้วน้อมโน้มนำมาพิจารณาประพฤติปฏิบัติจนเห็นจริง ตามกระแสธรรมที่ได้สดับรับฟังมา แล้วต่อมายังได้ชักชวนสหธรรมิกผู้รู้ใจ คือ ท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาล (หนู ฐิตปญโญ) ครั้งเมื่อยังอยู่วัดใต้ด้วยกัน พร้อมหมู่คณะ ติดตามไปรับฟังเทศน์ฟังธรรมที่วัดศรีทองด้วยเป็นจำนวนมาก และได้พากันมุ่งหน้าปฏิบัติธรรม ปฏิบัติจริง ปฏิบัติชอบ ประกอบความเพียรอย่างเข้มแข็งต่อมา


ญัตติกรรม
ในระยะต่อมา ท่านคงมองเห็นว่าการปฏิบัติของท่านยังมีอุปสรรคอยู่ อย่างเช่นท่านไปฟังธรรมจาก ญาท่านม้าว เทวธมฺมี แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงขอมอบตัวเป็นศิษย์ ท่านก็ยอมรับ แต่ว่าไม่ได้เข้าอุโบสถร่วมสังฆกรรมด้วยกับท่าน แม้ของใช้ของฉัน จะไปจับต้องของท่านไม่ได้ จะต้องถวาย (ประเคน) ท่านใหม่  ประกอบกับทางหมู่คณะนิกายเดิมของตนเอง ยังไม่เลื่อมใสในการถือปฏิบัติตามครรลองแบบอย่างธรรมยุต  จนในที่สุดท่านได้ตัดสินใจพร้อมด้วยพระเณรลูกวัดทั้งหมดในวัดใต้ ซึ่งเข้าใจว่าในครั้งนั้นจะมีพระอาจารย์หนู ฐิตปญโญ (ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ มีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถระ) ร่วมประกอบพิธี  “ทัฬหิกรรม” หรือ ญัตติกรรม ใหม่ในคณะธรรมยุตินิกายด้วยกัน เป็นการบวชครั้งที่ ๒ ณ อุโบสถวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม)  โดยมีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์  เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ส่วนสถานะของวัดใต้นั้น ก็กลายเป็นวัดธรรมยุตมาตราบจนกระทั่งบัดนี้




ท่านพนฺธุโล (ดี)

ชาติภูมิ
ท่านพนฺธุโล (ดี) เกิดที่บ้านหนองไหล ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วันเดือนปีเกิดไม่ปรากฏชัด

บรรพชาอุปสมบท
เมื่อบรรพชาอุปสมบทที่วัดหนองไหลแล้ว ท่านไปอยู่ที่วัดเหนือในเมืองอุบลราชธานี ต่อมาเดินทางเข้าไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพมหานคร ที่สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ภายหลังมีผู้นำถวายตัวในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยเปลี่ยนจากมหานิกายเป็นธรรมยุติกนิกาย และอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมธรรมเนียมประเพณีที่วัดบวรนิเวศวิหาร

เกียรติประวัติ
ประมาณ พ.ศ.๒๓๙๔-๒๓๙๕ (หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลาผนวชขึ้นเสวยราชย์แล้วไม่นาน) พระพรหมวรราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ ๓ ได้อาราธนาท่านพนฺธุโล (ดี) ออกไปเมืองอุบลราชธานี สร้างวัดในสังกัดธรรมยุติกนิกาย

ท่านพนฺธุโล (ดี) เดินทางไปอุบลราชธานีและร่วมกับพระพรหมวรราชวงศา (กุทอง) สร้างวัดขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล ข้างบ้านบุ่งกาแซว สร้างเสร็จประมาณ พ.ศ.๒๓๙๖ ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดสุปัฏนาราม” เป็นพระอารามหลวง  ท่านพนฺธุโล (ดี) เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก    ในการสร้างวัดสุปัฏนาราม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทรัพย์จำนวน ๑๐ ชั่ง พระราชทานผู้ปฏิบัติรับใช้วัด ที่เรียกว่า “เลกวัด” จำนวน ๑๐ คน พระราชทานนิตยภัตรแด่เจ้าอาวาสเดือนละ ๘ บาท

ภายหลังมีวัดที่สังกัดธรรมยุติกนิกาย เกิดขึ้นในสมัยท่านพนฺธุโล (ดี) อีก ๕ วัด คือวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนารามใจปัจจุบัน) วัดสุทัศนาราม วัดไชยมงคล วัดสระแก้ว เมืองพิบูลมังสาหาร และวัดหอก่อง เมืองมหาชนะชัย

มรณภาพ
ในการอธิษฐานพรรษา ท่านได้สมาทานเนสัชชิกธุดงค์ถือการไม่นอนตลอดพรรษา เสมือนการไม่นอนตลอดพรรษาของพระจักขุบาลเถระ ปางอดีต  ครั้นพ้นพรรษาไม่นานนัก ท่านก็มรณภาพที่วัดสระแก้ว เมืองพิบูลมังสาหาร รวมอายุได้ประมาณ ๗๐ ปี




ท่านเทวธมฺมี (ม้าว)

ชาติภูมิ
ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๑ ในเมืองอุบลราชธานี

บรรพชาอุปสมบท
ท่านเทวธมฺมี บรรพชาอุปสมบทที่วัดเหนือ ในเมืองอุบลราชธานี ต่อมาท่านพนฺธุโล (ดี) ได้นำเข้ากรุงเทพมหานคร ถวายตัวในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่ ท่านเทวธมฺมี เป็นสัทธิวิหาริกแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   สมเด็จพระสังฆราช (สา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

เกียรติประวัติ
ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากท่านพนฺธโล (ดี) มรณภาพแล้ว  ศิษย์ที่สำคัญของท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เช่น พระอริยกวี (อ่อน) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เป็นต้น  

วัดในสังกัดธรรมยุตินิกายที่เพิ่มขึ้นในสมัยท่านเทวธมฺมี คือ
     เมืองอุบลราชธานี ได้แก่ วัดบ้านกลาง และวัดโนนผึ้ง
     เมืองจำปาศักดิ์  ได้แก่ วัดมหามาตยราม
     เมืองยโสธร ได้แก่ วัดสร่างโศก
     เมืองอุดรธานี ได้แก่ วัดมหาชัย

ปฏิปทาที่สำคัญของท่านเทวธมฺมี (ม้าว) คือ ท่านดำเนินอยู่ในความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด ท่านเป็นผู้ประสานรอยร้าวซึ่งเป็นความขัดแย้งในหมู่สงฆ์และในหมู่ผู้ปกครองในขณะนั้น หากไม่มีท่านเป็นหลักในเวลานั้นแล้ว คณะสงฆ์ในจังหวัดอุบลราชธานีอาจจะแตกแยกกันอย่างรุนแรงระหว่างมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ในกลุ่มผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานี ขณะนั้นก็อาจจะแตกแยกถึงขั้นวิวาทใหญ่โต รบราฆ่าฟันกันนองเลือดก็ได้ เดชะบุญที่ได้ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ดำรงอยู่ในอุเบกขาธรรม ประสานรอยร้าวให้สมานกันได้ เรื่องร้ายแรงจึงเพลาลงและกลายเป็นดี

มรณภาพ
ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อเดือน ๑๑ แรม ๑ ค่ำ พ.ศ.๒๔๓๓ รวมอายุได้ ๗๒ ปี




พระอาจารย์สีทา  ชยเสโน

ชาติภูมิ
พระอาจารย์สี  ชยเสโน  เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ที่บ้านหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

บรรพชาอุปสมบท
บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) พ.ศ.๒๔๐๙๘ และต่อมาอุปสมบทที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) เช่นเดียวกัน

วิทยฐานะ
เมื่ออุปสมบทแล้วได้เอาใจใส่ในวิปัสสนาธุระเป็นอย่างมาก ได้ออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ทั้งภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ ท่านได้ปฏิบัติทางวิปัสสนาอย่างเคร่งครัด มีลูกศิษย์ที่ปฏิบัติเคร่งครัดเป็นจำนวนมาก พระอาจารย์สีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล

มรณภาพ
เมื่อเข้าสู่วัยชรา ท่านได้เข้าพำนักที่วัดบูรพาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้มรณภาพในปี พ.ศ.๒๔๖๘ รวมอายุ ๗๘ ปี




พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู ฐิตปญฺโญ)
ท่านเป็นสหธรรมิกที่รักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดียิ่ง
กับพระอาจารย์เสาร์ กับทั้งยังเป็นพระอุปัชฌาย์
ของพระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)


ลำดับต่อไป
"บำเพ็ญเพียร"  โปรดติดตาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กันยายน 2560 13:54:21 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 กันยายน 2560 17:20:52 »


ภาพศาลาเก่าอุโบสถวัดเลียบ และพระประธานคือพระพุทธจอมเมืององค์ที่พระอาจารย์เสาร์สร้าง

บำเพ็ญเพียร
หลังจากท่านพระอาจารย์เสาร์ พร้อมด้วยหมู่คณะได้ประกอบพิธีญัตติกรรมใหม่แล้ว ที่วัดใต้ เมืองอุบลราชธานี วัดนี้จึงกลายเป็นวัดธรรมยุตไปโดยปริยาย ท่านพระอาจารย์เสาร์ไม่ได้นิ่งนอนใจแม้แต่น้อย ท่านรีบเร่งประกอบความเพียรทุกขณะจิตไม่มีลดละ ไม่เห็นแก่นอน ไม่เห็นแก่ปากท้อง ไม่เห็นแก่ลาภสักการะและสิ่งสรรเสริญเยินยอ สิ่งเหล่านี้ท่านสละโดยเด็ดขาดแล้ว ท่านครองศีลครองธรรม ยึดมั่นเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ในหลักธุดงควัตร ๑๓ ประการ ไม่ว่าท่านไปที่ใด อยู่ที่ใด ใจท่านมิได้เหินห่างจากความเพียร แม้แต่ไปบิณฑบาต ปัดตาด กวาดลานวัด ขัดกระโถน เย็บผ้า ย้อมผ้า เดินไปเดินมาในวัดและนอกวัด ตลอดจนการขบฉัน ท่านทำความเท่าทันอยู่กับความเพียรทุกขณะที่เคลื่อนไหว ไม่ยอมให้อารมณ์ภายนอกมากระทบกระทั่งให้จิตใจวอกแวกไปตามอารมณ์ปรุงแต่งโดยเปล่าประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น จิตของท่านก็ได้รับความสงบสุขโดยสม่ำเสมอมา



พระครูวิเวกพุทธกิจ
อุปนิสัยที่แท้จริงของพระอาจารย์เสาร์ ท่านเป็นผู้สันโดษ ชอบความสงบ ไม่ระคนด้วยหมู่คณะ ถ้าที่ไหนมีความวุ่นวายจุ้นจ้านแล้วละก็ ท่านจะปลีกตัวหนีห่างไปเอง จะเห็นได้จากการเที่ยวจาริก ปลีกวิเวก หรือเที่ยวเผยแผ่สัจธรรม แม้การเที่ยวไปจะเป็นหมู่คณะมาด้วยกันหมู่มาก แต่ก็เงียบสงบเหมือนไม่มีพระเลย เมื่อท่านเดินทางมาถึง ปักกลดพัก มีพระเณรติดตามท่านมามากมาย กระทั่งพระธุดงค์จรมา พอทราบข่าวก็จะเที่ยวมากราบนมัสการท่านมิได้ขาด พอเข้าไปในบริเวณวัดทั้งวัดจะเห็นก็แต่ท่านกับพระอุปัฎฐากเท่านั้น นอกนั้นจะเข้าหาที่วิเวกสงัดกันหมด ท่านทำความรู้สึกตัวอยู่กับความเพียร ทุกขณะที่เคลื่อนไหวไม่ยอมให้เปล่าประโยชน์จากการเคลื่อนไหวในอิริยาบถใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งพระคณะติดตามท่านสมัยก่อนนั้น ต่างได้พากันสืบทอดปฏิปทา วัตรปฏิบัติของบูรพาจารย์อย่างมิขาดตกบกพร่อง ซึ่งก็คือพระเถระที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของมวลหมู่ชาวประชาในยุคปัจจุบันนี้เอง

พระอาจารย์เสาร์เป็นผู้ชอบความสงบอย่างแท้จริง จนต่อมาท่านได้ชื่อว่า “พระครูวิเวกพุทธกิจ

อุปนิสัยเป็นผู้ชอบความวิเวกนั้นแสดงออกให้เห็นตั้งแต่ท่านออกปฏิบัติธรรมสมัยโน้น คือ หลังจากที่ท่านตัดโลก ตัดเป็น ตัดตาย ไม่ยอมสึกตลอดไป ตั้งจิตอธิษฐาน มุ่งประพฤติพรหมจรรย์ ครองศีล ทรงธรรม เสาะแสวงหาที่สงบปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญานสมฺปณฺโณ บันทึกไว้ในหนังสือประวัติท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ว่า “ท่านไม่ชอบพูด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครมากมายหลายประโยค เวลานั่งสมาธิก็ทนทานนั่งอยู่ได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง เวลาเดินจงกรมก็ทำนองเดียวกัน ลักษณะท่าทางของท่านมีความสง่าผ่าเผย เยือกเย็น เปี่ยมล้นด้วยเมตตา น่าเคารพเลื่อมใสยำเกรงมาก มองเห็นท่านแล้วก็เย็นตาเย็นใจไปหลายวัน ทั้งพระเณรและประชาชนต่างพากันเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมาก”


วัดเลียบ
วัดใต้เทิง เป็นจุดเริ่มแรกการปฏิบัติของท่าน ในสมัยก่อนนั้นวัดใต้เป็นวัดที่อยู่นอกเมือง ยังเป็นสถานที่สงบพอประกอบความเพียรได้ดี ท่านได้ตั้งหน้าบำเพ็ญทางจิตเบื้องแรกที่วัดนี้ และด้วยอุปนิสัยเป็นผู้สันโดษนี่เอง จึงทำให้ท่านถือโอกาสหลีกเร้นออกจากหมู่คณะ เพื่อไปประกอบความเพียรตามป่าตามสวนที่สงบเงียบแถบแถวนั้น ซึ่งท่านหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมนั้นที่ตรงข้างๆ วัดใต้นี้ เป็นสวนมะม่วง สวนขนุน จนต่อมาราว พ.ศ.๒๔๓๕ เจ้าของที่ดินผืนนี้ ซึ่งคุณตาบำเพ็ญ ณ อุบล เล่าว่าคือ พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู) ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล พรหมวงศานนท์ ที่นับเนื่องเป็นหลานของพระพรหมราชวงศา (อดีตเจ้าเมืองอุบลฯ คนที่ ๓) มีจิตศรัทธายกที่ดินถวายให้สร้างวัด แล้วพร้อมด้วยเพียเมืองแสน (อุ่น) ได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์ขึ้นแล้วขอพระราชทานวิสุงคามสีมาเป็นวัดธรรมยุตชื่อ วัดเลียบ ถวายให้ท่านพระอาจารย์เสาร์พำนัก จนที่ตรงนี้ได้สืบทอดเป็นวัดอย่างถาวรมาจวบจนทุกวันนี้

วัดเลียบและวัดใต้ จึงอยู่ใกล้ชิดติดกันเหมือนพี่กับน้องทั้งสองสำนัก จะมีห่างก็เพียงถนนที่ขั้นอยู่กึ่งกลางเท่านั้น

วัดเลียบเมืองอุบลราชธานีแห่งนี้นี่เอง คือวัดที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เมื่อแรกที่เข้าเมืองอุบลฯ ได้มามอบตัวเป็นศิษย์ในสำนักท่านพระอาจารย์เสาร์ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นป่ามีกุฏิกระต๊อบเล็กๆ โน้นแล



ประวัดวัดเลียบ
รายละเอียดเกี่ยวกับวัดเลียบนี้มีปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติวัดเลียบ ฉบับล่าสุด พิมพ์ พ.ศ.๒๕๔๑ ดังนี้

เมื่อจุลศักราช ๑๒๑๐ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๙๑ ปีวอก เอกะศก เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันพฤหัสบดี ได้ตั้งวัดเลียบ มีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๑ งาน ๓๗ ตารางวา มีสมภารอยู่นับได้ ๑๐ รูป และมีพระอาจารย์ทิพย์เสนา แท่นทิพย์ ฉายา ทิพฺพเสโน เป็นหัวหน้าปกครองสำนักสงฆ์ ต่อมาท่านได้มรณภาพลง สำนักสงฆ์แห่งนี้จึงร้างไป

ต่อมาพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) ได้มาเป็นสมภาร เมื่อจุลศักราช ๑๒๕๔ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๓๕ ปีมะเส็ง เบญจศก เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ วันอังคาร พร้อมภิกษุสามเณร ส่วนฆราวาสมีพระอุบลการประชานิจ (บุญชู) พระสุระพลชยากร (อุ่น) ท้าวกรมช้าง (ทองจัน) สังฆการีจารปัจฌา สังฆการีจารเกษ และทายกทายิกา ได้พร้อมกันมีศรัทธาสร้างขยายวัดออกด้านบูรพา, กว้างได้ ๑๑ วา ยาว ๖๔ วา ๒ ศอก ด้านอุดรกว้าง ๑๘ วา ๒ ศอก ยาว ๕๓ วา และได้สร้างรั้วรอบวัด มีเสนาสนะ มีพัทธสีมา ๑  มีหอแจก ๑ หลัง  หอฉัน ๑ หลัง  มีกุฏิ ๔ หลัง  โปง ๑  และได้ปลูกต้นไม้ ได้แก่ มะพร้าว ๒๑๐ ต้น  หมาก ๖๐ ต้น  มะม่วง ๔๐๐ ต้น  ขนุน (หมากมี้) ๓๒๘ ต้น  มะปราง ๒๕ ต้น

ต่อมาพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พร้อมด้วยท้าวสิทธิสารและเพียเมืองจัน ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามพระราชโองการที่ ๘๗/๓๐๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๙ ตรงกับ ร.ศ.๑๑๕ อันเป็นปีที่ ๒๙ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีขนาดด้านยาว ๗ วา  ด้านกว้าง ๕ วา  อุโบสถหลังเดิมมีขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ก่อสร้างด้วยไม้ หลังคามุงด้วยสังกะสี ควบคุมการก่อสร้างโดยพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานนามว่า “พระพุทธจอมเมือง” ซึ่งพระอาจารย์เสาร์ เป็นผู้สร้างอุโบสถหลังนี้ ดำรงอยู่มาได้ ๗๔ ปี ต่อมาพระครูประจักษ์อุบลคุณ (พระมหาสุธีร์ ภทฺทิโย) ได้ทำการรื้อถอน เพราะชำรุดทรุดโทรมมากจนใช้การไม่ได้

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ จึงได้ทำการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น มีขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๓๔ เมตร และได้อัญเชิญพระประธาน “พระพุทธจอมเมือง” องค์เดิมขึ้นประดิษฐาน เสร็จสิ้นสมบูรณ์ผูกเป็นพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒  สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๒ ล้านบาท



อุโบสถเก่าวัดบูรพาราม


หอไตรวัดบูรพาราม
หอไตรวัดบูรพาราม ในเขตเทศบาลเมือง เห็นหอไตรสร้างไว้บนบก ลักษณะอาคารเป็นเรือนไม้ ๒ หลังคู่กัน
ยกพื้นสูงด้วยไม้กลมหลังละ ๘ ต้น  (บางท่านว่าสร้างไว้กันการรบกวนจากสัตว์ใหญ่ประเภทช้าง-เสือ เป็นต้น)
มีชานเชื่อมอาคารทั้ง ๒ หลัง (ปัจจุบันพังหมดแล้ว) ฝาหนังอาคารเป็นแบบก้างปลา ส่วนประกอบอื่นๆ ไม่อาจ
มองเห็นรูปแบบได้ชัดเจน เนื่องจากอาคารทั้ง ๒ หลังอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก

วัดบูรพาราม
พระอาจารย์เสาร์ ท่านชอบความสงบและที่วิเวก  ดังนั้น เมื่อวัดเลียบมีศิษย์เพิ่มมากเข้า เพื่อนสหธรรมิกมากขึ้นเรื่อยๆ ท่านจึงหาที่วิเวกแห่งใหม่ เป็นที่วิเวกดีมาก อยู่ท้ายเมือง ห่างไกลผู้คนไปทางทิศตะวันออก ระยะทางราว ๑ ก.ม.จากวัดเลียบ สถานที่แห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่มาก่อน แต่รกร้างมานานหลายปี มีโบสถ์เก่าคร่ำคร่าหลังเล็กๆ ที่รอการบูรณะปฏิสังขรณ์อยู่หลังหนึ่ง รอบบริเวณนั้นเต็มไปด้วยต้นหนามคม

หลังจากเสร็จภัตตกิจเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ออกเดินจากวัดเลียบมุ่งมาหาที่วิเวกยังโบสถ์ร้างหลังนี้ ยึดเอาเป็นที่บำเพ็ญเพียรเจริญธรรมกรรมฐานเป็นประจำ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านพระครูพิบูลธรรมภาณ (โชติ อาภคฺโค) วัดภูเขาแก้ว กล่าวไว้ว่า “พระอาจารย์เสาร์เล่าว่า...ในตอนเย็นก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับวัดเลียบ ท่านได้เข้าไปกราบพระประธาน ทำวัตรสวดมนต์อธิษฐานจิต ขอให้ผู้มีฤทธิ์ดลบันดาลให้สถานที่แห่งนี้ได้เป็นวัดสมบูรณ์แบบต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ ท่านได้อธิษฐานเป็นประจำ ทั้งก่อนทำสมาธิภาวนาและก่อนเลิกจะกลับมิได้ขาด ท่านบอกว่าก่อนทำความเพียรทุกครั้ง ท่านต้องไหว้พระสวดมนต์ก่อน โดยที่ท่านบอกว่า การทำความเพียรก็คือการทำจิตของเราให้สงบนั่นเอง เมื่อเราทำวัตรสวดมนต์ก่อนจิตใจของเราก็สงบ เป็นการป้องกันจิตของเราไม่ให้ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์อื่นทั้งกายทั้งใจตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ทำให้รู้สภาพสภาวะของตัวเอง สภาวะก็คือภาวนานั่นเอง

ต่อจากนั้นพระอาจารย์เสาร์ก็พาพระอาจารย์มั่นออกเที่ยวธุดงค์ไปทางบ้านคำบง (บ้านเกิดของท่านพระอาจารย์มั่น) แล้วต่อไปพำนักที่ภูหล่น ทำให้ท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์ได้เริ่มออกเที่ยวธุดงค์รอนแรมกลางขุนเขาไพรลึกร่วมกันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ครั้นเมื่อพระอาจารย์เสาร์ได้เที่ยวธุดงค์ไปได้ไม่ถึง ๗ วัน สถานที่วัดร้างที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้อธิษฐานไว้แล้วนั้น ก็มีพระอาจารย์องค์หนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านก็คือ พระครูสีทา ชยเสโน (พระกรรมวาจาจารย์ของท่าน) แห่งวัดศรีทอง ออกไปทำความเพียรที่นั่น ท่านเห็นบริเวณนั้นเป็นป่าที่เงียบสงัดดี เหมาะอย่างยิ่งสำหรับบำเพ็ญเพียร ประกอบกับโบสถ์มีสภาพทรุดโทรม ท่านจึงเกิดศรัทธาขึ้นมาทันที พอวันหลังท่านออกไปบำเพ็ญเพียรอีก ก็ได้เรียกศิษย์วัดติดตามออกไปถากถางพงไม้ที่ขึ้นเป็นป่ารกทึบ พร้อมทำความสะอาดไปด้วย ส่วนตัวท่านก็ประกอบความเพียรไปเรื่อยๆ ทุกวัน พอตกเย็นจึงเดินกลับวัด

อยู่มาวันหนึ่งขณะที่ตะวันกำลังจะบ่ายคล้อยแล้ว พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้นได้ขี่ช้างออกมาตรวจรอบเมืองพร้อมด้วยทหาร พอมาถึงบริเวณนั้นท่านข้าหลวงได้ยินเสียงคนตัดไม้ ด้วยความสงสัยว่าใครมาหักร้างถางพงที่นั่น จึงให้ทหารวิ่งไปดู แล้วกลับมารายงานว่า “ญาคูสีทา” ท่านได้ให้เด็กวัดถางป่ารอบโบสถ์ร้าง ท่านข้าหลวงได้ยินดังนั้นจึงให้ทหารวิ่งกลับไปถามอีกว่า “ท่านญาคู จะอยู่เองหรือ” ท่านได้ให้ทหารกลับมารายงานว่า “ถ้ามีคนศรัทธาสร้างวัดให้ก็จะอยู่ ถ้าไม่มีใครสร้างให้ก็จะไม่อยู่” เมื่อท่านข้าหลวงได้ยินดังนั้นก็ไม่พูดอะไร แล้วเดินทางกลับเข้าสู่ตัวเมืองต่อไป ส่วนพระครูสีทาก็อยู่ต่อจนถึงตอนเย็นจึงพาศิษย์วัดเดินทางกลับวัดตามเดิม

พอถึงเช้าวันรุ่งขึ้น พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ในสมัยนั้น ได้สั่งเบิกนักโทษจากเรือนจำ (เรือนจำ ในสมัยนั้น ตั้งอยู่ที่สโมสรข้าราชการพลเรือนบริเวณใกล้ศาลหลักเมืองในปัจจุบัน) ทั้งหมดให้ออกไปถากถางพงหญ้าป่ารกแถบนั้นเป็นการใหญ่จนบริเวณโบสถ์ร้างเตียนโล่ง เหลือเฉพาะต้นไม้ใหญ่ แล้วสร้างวัดขึ้นมาใหม่ ถวายท่านพระครูสีทา เรียกว่า “วัดบูรพาราม” มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้


ลำดับต่อไป
"ศิษย์เอก"  โปรดติดตาม
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2560 13:05:45 »


พระครูกมลภาวนากร เจ้าอาวาสวัดภูหล่น

• ศิษย์เอก
ศิษย์เอกของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล คือ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต เมื่อกล่าวถึงองค์ใดองค์หนึ่งจะขาดเสียอีกองค์ใดองค์หนึ่งไปมิได้

ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน กล่าวไว้ในหนังสือประวัติท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ว่า

พระอาจารย์และศิษย์ทั้งสององค์นี้รักและเคารพกันมาก ไปที่ไหนท่านชอบไปด้วยกันทั้งในพรรษาและนอกพรรษา จนหลายๆ ปีต่อมากระทั่งลุล่วงถึงมัชฌิมวัย จึงแยกห่างกันอยู่ ช่วงเวลาพักจำพรรษา แต่ก็ไม่ห่างไกลกันมากนัก พักอยู่พอไปมาหากันได้สะดวก มีน้อยครั้งที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันในวัยกลาง ระยะนี้อาจเกี่ยวกับบรรดาลูกศิษย์ลูกหาซึ่งต่างก็มีมากและเพิ่มขึ้นมากด้วยกัน ถ้าจำพรรษาอยู่ร่วมกัน ถ้ารวมศิษย์พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และ ศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จะเป็นการยากลำบากในการจัดที่พักอาศัย จึงต้องแยกกันอยู่จำพรรษา เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระในการจัดที่พักอาศัยไปได้บ้าง กอปรกับพระอาจารย์เสาร์และท่านพระอาจารย์มั่นขณะที่แยกกันอยู่จำพรรษาหรือนอกพรรษาก็ตาม จะรู้สึกคิดถึงกันมากและเป็นห่วงกันมาก เวลามีพระที่เป็นลูกศิษย์ของแต่ละฝ่ายมากราบนมัสการ ต่างจะต้องถามถึงความสุขทุกข์ของกันและกันก่อนเรื่องอื่นๆ จากนั้นก็ฝากบอกข่าวคราวและความเคารพคิดถึงไปกับพระลูกศิษย์ที่มากราบเยี่ยมตามสมควรแก่ “อาวุโสภันเต” ในทุกๆ ครั้งไป

พระอาจารย์ทั้งสององค์ท่านมีความเคารพคุณธรรมของกันและกันมาก ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือห่างไกลกัน เวลาท่านพระอาจารย์ทั้งสอง องค์ใดองค์หนึ่งพูดปรารภถึงกันและกันให้บรรดาลูกศิษย์ฟังนั้น จะมีแต่คำที่เต็มไปด้วยความเคารพยกย่องสรรเสริญ โดยสุดหัวจิต หมดหัวใจ ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และศิษย์สายนี้ นับวันยิ่งผูกพันแน่นแฟ้นเป็นที่น่าเคารพยิ่ง เป็นแบบอย่างให้ศิษยานุศิษย์ได้ยึดถือสืบทอดปฏิบัติกันต่อๆ มา

ความผูกพันอันล้ำลึกนี้ สุดที่จะพรรณนาให้หมดสิ้นได้ มีบันทึกเกร็ดประวัติที่หาได้ยากยิ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์แต่ครั้งดั้งเดิมของท่านทั้งสองไว้ในหนังสือภูหล่น ที่รวบรวมบันทึกไว้โดย พระครูกมลภาวนากร (สีทน กมโล) วัดภูหล่น อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ดังนี้


• พระบูรพาจารย์ทั้งสองท่าน
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต (ประวัติก่อนที่ท่านจะอุปสมบท)

ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ตรงกับปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ ที่โบสถ์วัดบ้านคำบง โดยมีญาท่านโคตร บ้านตุงลุงกลางเป็นบรรพชาจารย์ (บ้านตุงลุงกลาง ตั้งอยู่ห่างจากบ้านคำบงประมาณ ๓ กิโลเมตร) ท่านได้ลาสิกขาตามคำร้องขอของบิดาเพื่อออกไปช่วยงานทางบ้าน เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ ปี

• พระอาจารย์เสาร์ธุดงค์ถึงกุดเม็ก
ประมาณปี พ.ศ.๒๔๓๔-๒๔๓๕ พระอาจารย์เสาร์ได้เดินธุดงค์มาพักที่กุดเม็ก* ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านคำบง (ระยะทางราว ๒ กิโลเมตร) ที่นี่เป็นป่าร่มรื่นติดกับลำห้วยยางที่ไหลลงมาจากภูหล่น มีน้ำตลอดทั้งปี แม้จนปัจจุบันนี้ชาวบ้านคำบงและหมู่บ้านใกล้เคียง ยังได้อาศัยดื่มกินเมื่อยามขาดแคลนในหน้าแล้ง กุดเม็กนี้เป็นป่าร่มรื่นดีอยู่ในปัจจุบัน เพราะชาวบ้านคำบงได้เห็นความสำคัญของสถานที่ธุดงค์พระบูรพาจารย์ เมื่อครั้งสมัยที่พระอาจารย์เสาร์ท่านได้มาพักบำเพ็ญเพียรอยู่นั้น กุดเม็กยังเป็นป่าที่รกชัฏไปตลอดแนวของลำห้วยยาง ผู้เฒ่าที่เล่าประวัติได้เล่าให้ฟังว่า พอถึงตอนกลางคืนนั้นแสนเปลี่ยวยิ่งนัก ยากที่จะมีใครกล้าออกไปหาท่านพระอาจารย์เสาร์คนเดียว
* กุด คือลำน้ำที่ปลายขาดห้วง (ปลายกุด)
* เม็ก คือต้นสะเม็ก


• หลวงปู่ทั้งสองพบกันครั้งแรก
หลวงปู่มั่น (ตอนท่านเป็นฆราวาสอยู่) ไปพบกับพระอาจารย์เสาร์ครั้งแรกที่กุดเม็กและได้มอบตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์เสาร์ได้ขอเอาหลวงปู่มั่นไปบวชจากโยมพ่อ โยมแม่ของท่านในสถานที่กุดเม็กนี้เอง  ผู้เล่าประวัติเล่าว่า หลวงปู่มั่นเทียวเข้าเทียวออกประจำ บางคืนก็ไม่กลับเข้าไปนอนที่บ้าน อยู่ฝึกสมาธิและเพื่ออุปัฏฐากท่านอาจารย์เสาร์ คำพื้นบ้านจากผู้เล่าประวัติ “เผิ่นนั่นแหล่ว เทียวเข้าเทียวออกดู๋กว่าหมู่ ล้างบาตร เช็ดบาตร ต้มน้ำฮ้อน น้ำอุ่น รับเคนของเผิ่นประจำ ลางเทื่อกะอยู่จนเหมิดมื้อเหมิดคืนกับอาจารย์เผิ่น ฮอดบ่เข้าเมือนอนเฮือน เผิ่นว่าอยู่หัดกรรมฐานกับหลวงปู่เสาร์นั่นแหล่ว ผู้ซวนเอาเผิ่นไปบวชนำ เผิ่นว่าโตไปบวชกับเฮาน้อ”  และอีกตอนหนึ่งเล่าว่า ท่านอาจารย์ใหญ่ที่อยู่เมืองอุบลฯ สั่งลงมาว่า ให้นำเอาผู้ที่ชื่อมั่นขึ้นไปบวช ท่านจึงได้ขึ้นไปบวชพร้อมกับคณะญาติพี่น้องของท่าน (พระครูกมลภาวนากรถามว่า อาจารย์ใหญ่ท่านนั้นจะใช่พระอาจารย์เสาร์หรือไม่ ตอบมาว่า “หั่งสิแม่นตั๊ว ของเป็นอาจารย์ของเผิ่น เผิ่นถือเป็นอาจารย์ เผิ่นยังสั่งมาอีกว่า ให้นำผู้ลำหม่วนๆ นั่นเด้อ ขึ้นมาบวช” และในคืนก่อนที่จะอุปสมบทของท่าน ด้วยสาเหตุที่หมอลำฝ่ายชายไม่มา อีกทั้งทนการรบเร้าจากผู้เฒ่า ผู้แก่ ญาติ และเพื่อนไม่ได้ ท่านจึงได้ขึ้นไปลำแทน เล่ากันว่า ท่านลำเดินนิทานพื้นเมืองอีสานได้ไพเราะและจับใจผู้ฟังมากถึงกับมีผู้เฒ่าผู้แก่นั่งฟังน้ำตาซึมคลอเบ้าไปด้วย

ผู้เล่าประวัติเล่าว่า ท่านถูกพระอุปัชฌาย์ดุเอา จนจะไม่ยอมทำการอุปสมบทให้ และยังดุพวกญาติโยมที่ยุให้ท่านขึ้นไปลำด้วย จนพระอาจารย์ของท่านต้องได้เข้าไปขอขมาโทษแทน พระอุปัชฌาย์จึงได้ยอมทำการอุปสมบทให้

คำที่เล่าว่า “พระอาจารย์ของท่านได้เข้าไปขอขมาโทษแทน” กับ “ท่านอาจารย์ใหญ่ที่อยู่เมืองอุบลสั่งลงมาให้นำเอาผู้ที่ชื่อมั่นขึ้นไปบวช” และ “ให้นำเอาผู้ที่ลำเก่งๆ นั่นแหละขึ้นมาบวช” จะเป็นท่านพระอาจารย์เสาหรือไม่ พระครูกมลภาวนากร เล่าว่า เกรงว่าจะเป็นการล่วงเกินพระบูรพาจารย์ เพราะผู้เล่าประวัติก็ไม่ได้ยืนยันชัดเจน เล่าเพียงว่าเป็นพระอาจารย์ของท่านเท่านั้น จึงขอผ่านข้อความบางตอนไป และขอให้ท่านผู้รู้พิจารณาในถ้อยคำบอกเล่าที่ได้เขียนมาแล้วนั้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะเป็นภาษาพื้นๆ ซื่อๆ ของผู้เล่าประวัติที่จำเหตุการณ์ได้ในสมัยนั้น ซึ่งแต่ละท่านล้วนสูงด้วยวัยวุฒิ คือ ๙๐ ถึง ๑๐๐ ปีเศษก็มี


• พ.ศ.๒๔๓๖ ปฏิบัติธรรมที่ภูหล่น
ตอนนั้นปี พ.ศ.๒๔๓๖ หลังจากพระอาจารย์เสาร์บวชได้ ๑๔ พรรษา ก็ได้นำศิษย์เอกจากบ้านคำบงผู้มีชื่อว่า มั่น แก่นแก้ว เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในคณะธรรมยุติกา ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมืองอุบลราชธานี โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์  พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุศาสนาจารย์ เมื่อวันที่๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๖   พระอุปัชฌาย์ ให้ฉายานามว่า “ภูริทตฺโต” หลังจากอุปสมบทแล้วพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้กลับมาพำนักฝึกอบรมอยู่ในสำนักวิปัสสนาวัดเลียบของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งต่อมาศิษย์ท่านนี้เป็นศิษย์เอกที่มีชื่อเสียง เป็นเพชรน้ำเอกที่ไม่มีความด่างพร้อยเลย มีประวัติงดงามยิ่ง เป็นอาจารย์ทางวิปัสสนาชั้นเยี่ยมที่มีศิษยานุศิษย์มากมาย มีคนเคารพนับถือมาก ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ในภาคต่างๆ เกือบทั่วประเทศไทยจวบจนทุกวันนี้

ในช่วงเวลานั้น พระอาจารย์มั่นที่พึ่งบวชใหม่เข้าปฏิบัติใหม่ ได้เกิดความฟุ้งซ่านจิตไม่สงบชวนลาสิกขา เหมือนกับพระหนุ่มๆ ทั้งหลาย จิตใจยังไม่กล้าแข็ง แฝงอยู่ในโลกีย์ ท่านได้เข้าไปกราบลาพระอาจารย์เสาร์ เพื่อกลับมาเยี่ยมโยมมารดาของท่านที่บ้านเกิด แต่ด้วยบุญญาบารมีที่ท่านได้สั่งสมมาแต่อดีตชาติ จนทำให้พระอาจารย์มั่นเป็นพุทธสาวกผู้ทำหน้าที่เผยแพร่สัจธรรมแทนพระพุทธองค์อย่างกว้างขวางในยุคปัจจุบัน กอปรกับอาจจะเพราะพระอาจารย์เสาร์ ท่านกำหนดรู้ดวงจิตบุญบารมีของท่านพระอาจารย์มั่น คงเล็งเห็นแล้วว่า หากอนุญาตให้กลับไปโดยลำพังนั้นอาจเกิดผลร้ายอย่างมหันต์ต่อสถานภาพความเป็นสงฆ์ของศิษย์รัก ท่านจึงตัดสินใจออกเดินธุดงค์พาพระอาจารย์มั่นกลับสู่มาตุภูมิด้วยกัน

เมื่อพระอาจารย์มั่นกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอน พักอยู่บ้านคำบงได้ระยะเวลาหนึ่ง พระอาจารย์เสาร์เล็งเห็นว่า เพื่อนฝูงญาติพี่น้องชาวบ้านที่ทราบข่าวพากันมากราบเยี่ยมเยียนทักทายโอภาปราศรัยด้วย ยิ่งจะทำให้ศิษย์ท่านฟุ้งซ่านหนัก แล้วท่านจึงหาอุบายให้ญาติโยมช่วยนำทางไปยังที่สัปปายะบ้านภูหล่น ตามที่มีผู้เล่าประวัติระบุอยู่ในช่วงราวปี พ.ศ.๒๔๔๐ ชาวบ้านคำบงได้ติดตามมาส่งท่านทั้งสองจนถึงเขตหมู่บ้านภูหล่น  ท่านได้มาสำรวจดูภูเขาหลายลูกในเขตภูหล่น จนในที่สุดได้กำหนดเอาสถานที่บนหลังภูหล่นเป็นที่พักเพื่อบำเพ็ญเพียร ท่านเล่าว่า ภูหล่นเป็นภูเขาที่ไม่สูงนัก ขึ้นลงก็พอดี ไม่ถึงกับลำบาก ที่โคจรบิณฑบาตก็อยู่ไม่ไกล อีกทั้งบริเวณหลังภูหล่นนั้นอากาศดี เหมาะแก่การทำความเพียร อบรมสมาธิภาวนา


• เกิดปีติ
มีผู้เล่าประวัติเล่าว่า หลวงปู่มั่นท่านชอบอากาศบริเวณหลังเขา ท่านนั่งสมาธิได้รับความสงบติดต่อกันทั้งกลางวันและกลางคืน จนได้เกิดนิมิตและอุคคหนิมิตหลายสิ่งหลายอย่าง ทำให้เกิดปิติดื่มด่ำเปี่ยมล้นท้นจิตใจ อย่างที่ไม่เคยประสบความสุขสงบอันลึกล้ำเช่นครั้งนี้จากที่ไหนมาก่อน จิตใจค่อยถ่ายถอนจากความฟุ้งซ่าน  ผู้เล่าประวัติเล่าว่า ท่านได้เข้าไปเรียนเรื่องนี้ให้กับพระอาจารย์เสาร์ทราบถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติ ที่ได้รับความรู้แปลกๆ ใหม่ๆ เกิดขึ้น ท่านพระอาจารย์เสาร์กล่าวว่า “ดีแล้วท่านมั่น ท่านมาบำเพ็ญ อบรมสมาธิบนสถานที่แห่งนี้เพียงเวลาไม่นาน ท่านก็ได้กำลังจิตกำลังใจที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ และได้รับผลคือเกิดปีติ ความเย็นอกเย็นใจในสถานที่แห่งนี้ จงให้ท่านพยายามรักษาความบริสุทธิ์ และกำลังสมาธิที่เกิดขึ้นนั้นอย่าให้เสื่อม เรื่องต่างๆ เกี่ยวกับญาติโยมผมจะรับหน้าที่แทน”



• ภูหล่นสมัยที่ท่านอยู่
เล่าต่อมาว่า ภูหล่นสมัยนั้นมีสัตว์ชุกชุมมาก ตอนรุ่งเช้าเสียงนกร้องแข่งกับเสียงไก่ป่าขันกันเซ็งแซ่ พอตกตอนกลางคืน บางคืนเดือนมืดครึ้มฟ้าครึ้มฝนได้ยินเสียงสัตว์ป่านานาชนิดและเสียงเสือร้องคำราม บางคืนเงียบสงัดน่ากลัวมากต้องเข้าที่ภาวนาทั้งคืนไม่ได้หลับนอนเลย

หลวงปู่ผู้เล่าประวัติเล่าว่า “ตอนกลางคืนหมีมันไล่กัดกันขึ้นมาที่บนหลังภูหล่น กัดกันเอาเป็นเอาตายไม่ยอมไปที่อื่น และคืนหนึ่งเสือมันขึ้นมาหมอบอยู่ข้างๆ ต้นกระบก หัวทางเดินจงกรมของท่านอาจารย์ใหญ่ (หมายถึงท่านพระอาจารย์เสาร์) แต่ตอนกลางคืนที่มันมาไม่เห็นมันนะ พอตอนเช้าแล้วจึงได้เห็นรอยของมันหมอบซุ่มอยู่ใกล้ๆ ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้เล่าเรื่องนี้ให้โยมชาวบ้านที่ขึ้นมาในตอนเช้าฟัง และให้ชาวบ้านขึ้นมาช่วยขนหินขนดินก่อเป็นถ้ำมีประตูเข้าออกปิดเปิดได้ (เอาดินโคลนผสมกับเศษหินเล็กๆ และฟางข้าวฉาบทา) ทำอยู่หลายวันจึงแล้วเสร็จ” (พระครูกมลภาวนากร เรียนถามว่า หลวงปู่ทั้งสองท่านได้ทำด้วยหรือถ้ำนี้) ตอบว่า “ก็ท่านนั่นแหละ เป็นผู้บอกแนะวิธีทำ ยกหินเฝือดิน (ฉาบดินโคลน) ทำช่วยกันทั้งพระทั้งโยมนั่นแหละ ทำเสร็จยังไม่นาน ดินโคลนที่ฉาบทาผนังบางแห่งยังไม่แห้งสนิทดีด้วยซ้ำ เสือมันขึ้นมาตอนกลางคืน คืนนั้นครึ้มฟ้าครึ้มฝนและลมด้วย มันมาเดินเลาะรอบๆ ถ้ำ” (พระครูกมลภาวนากร ได้เรียนถามว่า มีผู้อยู่ในถ้ำนั้นไหม) ท่านเล่าว่า “ก็ท่านอาจารย์ใหญ่ท่านอยู่ข้างใน มันเดินวนเวียนไปมาเหมือนจะหาทางเข้า และมันได้เอาเท้าตะปบที่ข้างประตูทางด้านซ้าย” (ซึ่งยังปรากฏให้เห็นเป็นรอยติดอยู่ที่ข้างประตูถ้ำมาจนถึงทุกวันนี้)

“ภูเขาในบริเวณแถวๆ นี้หลายลูก ท่านหลวงปู่มั่นท่านเทียวขึ้นไปบำเพ็ญสมาธิภาวนาเกือบทุกลูก ท่านเป็นคนกล้ามาก และท่านเล่าว่า ถ้าได้ไปอยู่ที่เปลี่ยวๆ รู้สึกได้กำลังจิตดีมากในการทำสมาธิ”

ท่านผู้เล่าประวัติเกี่ยวกับสถานที่ภูหล่น ตลอดถึงความสัมพันธ์ของท่านพระอาจารย์เสาร์และหลวงปู่มั่นตอนนี้คือ หลวงปู่โทน กนฺตสีโล  ท่านอายุได้ ๙๓ ปี ท่านขึ้นมาที่ภูหล่นเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ ท่านขึ้นมาทำวัตร ณ สถานที่ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ซึ่งท่านได้เคยมาปฏิบัติธรรมอยู่กับท่าน และหลังจากท่านกลับลงไปจากภูหล่นประมาณ ๕-๖ เดือน ก็เกิดอาพาธ และได้มรณภาพลง ก่อนที่จะออกพรรษาเพียง ๑๐ วัน ที่วัดบูรพา บ้านสะพือ


พระอาจารย์มั่น  ภูริทตฺโต
นามเดิม  มั่น แก่นแก้ว
บิดา  นายคำด้วง  แก่นแก้ว (เพียแก่นท้าวเป็นปู่)
มารดา  นางจันทร์
เกิด วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
การบรรพชาและอุปสมบท  ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านคำบง เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี และได้อุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดสีทอง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์ อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๕ นามมคธที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้ ชื่อ ภูริทตฺโต เมื่ออายุ ๒๒ ปี ได้เข้าศึกษาในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ณ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี

การจาริกเพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติ เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้บำเพ็ญสมณธรรมกับพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นเวลาหลายปี พระอาจารย์เสาร์ฯ ได้พาท่านไปเที่ยวศึกษาธรรมปฏิบัติในสถานที่ต่างๆ และไปทางฝั่งซ้ายเมืองหลวงพระบางและที่อื่น ๆ ซึ่งท่านเล่าว่าเคยพากันป่วยแทบกลับมาไม่รอด เพราะป่วยทั้งตัวท่านเองและพระอาจารย์เสาร์ด้วย ท่านเลยมาระลึกถึงธรรมปฏิบัติโดยไปในที่สงัดแห่งหนึ่งพิจารณาความตาย จิตเลยลงสู่ภวังค์ขจัดโรคาพาธไปได้ขณะนั้น

ภายหลังท่านได้ออกไปโดยเฉพาะ แสวงหาความวิเวกตามสถานที่ต่างๆ อาศัยพุทธพจน์เป็นหลักเร่งกระทำความเพียรบำเพ็ญสมณธรรมโดยมิได้คิดเห็นแก่อันตรายใดๆ ที่จะเกิดขึ้นในชีวิต ท่านได้อยู่บำเพ็ญสมณธรรมไปจนได้ความรู้ความฉลาดในทางดำเนิน แล้วท่านก็มาระลึกถึงหมู่คณะที่เป็นสหธรรมิกภาคอีสานที่พอจะช่วยแนะการปฏิบัติได้

ท่านจึงได้เดินจากภาคกลางไปทางอุบลราชธานี เที่ยวจาริกไปในสถานที่ต่างๆ อันเป็นสถานที่พอจะพาคณะเจริญสมณธรรมได้ ภายหลังครั้นเมื่อพระภิกษุสามเณรได้ยินว่าท่านมาทางนี้ ก็ได้เข้ามาศึกษาธรรมปฏิบัติ แต่ครั้งแรกมีน้อย ที่เป็นพระภิกษุสามเณรถือนิกายอื่นแต่ได้เข้ามาปฏิบัติก็มีอยู่บ้าง โดยที่ท่านมิได้เรียกร้องหรือชักชวนแต่ประการใด ต่างก็น้อมตัวเข้ามาศึกษาปฏิบัติ เมื่อได้รับโอวาทและอบรมก็เกิดความรู้ความฉลาดเลื่อมใสเกิดขึ้นในจิตใจ บางท่านก็ยอมเปลี่ยนจากนิกายเดิมกลับเข้ามาเป็นนิกายเดียวกับท่าน บางท่านก็มิได้เปลี่ยนนิกาย ท่านเองมิได้บังคับแต่ประการใด และเป็นจำนวนมากที่ยอมเปลี่ยนจากนิกายเดิม

ท่านพระเถระทั้งหลายนี้แหละเมื่ออบรมได้รับความเลื่อมใสในธรรมแล้ว ก็นำไปเล่าสู่กันฟังโดยลำดับ อาศัยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ต้องการพ้นจากกองทุกข์ ซึ่งอุปนิสัยวาสนาได้อบรมเป็นทุนดังที่ว่ามาแล้วแต่หนหลังก็ได้พยายามออกติดตามขอปฏิบัติด้วยเป็นจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ

ด้วยความที่ท่านหวังเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เหตุนั้นท่านจึงไม่อยู่เป็นที่เป็นทางหลักแหล่งเฉพาะแห่งเดียว เที่ยวไปเพื่อประโยชน์แก่ชนในสถานที่นั้นๆ ดังนี้
๑. แต่เดิมพระอาจารย์มั่นได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเลียบเป็นเวลานาน ต่อมาจึงได้เข้าไปจำพรรษาที่กรุงเทพฯ และทางเขาพระงามจังหวัดลพบุรี จนถึง พ.ศ.๒๔๕๗
๒. พ.ศ.๒๔๕๙ ท่านได้มาหาสหธรรมิกทางอุบลราชธานี และได้จำพรรษาที่วัดบูรพา
     ขณะนั้น ท่านมีพรรษาได้ ๒๕ พรรษา


๓. พ.ศ.๒๔๕๙   จำพรรษาที่     ภูผากูต บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม      
๔. พ.ศ.๒๔๖๐   จำพรรษาที่     บ้านดงปอ ห้วยหลวง อำเภอเพ็ญ    
๕. พ.ศ.๒๔๖๐ จำพรรษาที่     ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย    
๖. พ.ศ.๒๔๖๒   จำพรรษาที่     บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี    
๗. พ.ศ.๒๔๖๓   จำพรรษาที่     อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย    
๘. พ.ศ.๒๔๖๔   จำพรรษาที่     บ้านห้วยทราย อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม    
๙. พ.ศ.๒๔๖๕   จำพรรษาที่     ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร    
๑๐. พ.ศ.๒๔๖๖ จำพรรษาที่     วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี    
๑๑. พ.ศ.๒๔๖๗   จำพรรษาที่     บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี    
๑๒. พ.ศ.๒๔๖๘   จำพรรษาที่     อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย    
๑๓. พ.ศ.๒๔๖๙   จำพรรษาที่     บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม    
๑๔. พ.ศ.๒๔๗๐   จำพรรษาที่     บ้านหนองขอน อำเภอบุ่ง (ปัจจุบัน อำเภอหัวตะพาน) จังหวัดอุบลราชธานี    
๑๕. พ.ศ.๒๔๗๑   จำพรรษาที่     วัดปทุมวนาราม อำเภอปทุมวัน กรุงเทพฯ    
๑๖. พ.ศ.๒๔๗๒-๒๔๘๒   จำพรรษาที่     จังหวัดเชียงใหม่    
๑๗. พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๘๔   จำพรรษาที่     วัดโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี      
๑๘. พ.ศ.๒๔๘๕ จำพรรษาที่     เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร    
๑๙. พ.ศ.๒๔๘๖   จำพรรษาที่     เสนาสนะป่าบ้านนามน จังหวัดสกลนคร    
๒๐. พ.ศ.๒๔๘๗   จำพรรษาที่     เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร    
๒๑. พ.ศ.๒๔๘๘-๒๔๙๒   จำพรรษาที่     เสนาสนะป่าบ้านนามน จังหวัดสกลนคร    
๒๐. พ.ศ.๒๔๘๗   จำพรรษาที่     บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร    

มรณภาพ ณ ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ เวลา ๐๒.๒๓ น. สิริชนมายุรวมได้ ๘๐ ปี

โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 ตุลาคม 2560 13:07:26 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2560 20:04:33 »



ภาพพระธาตุพนม
ภาพวาดลายเส้นองค์พระธาตุพนม ซึ่งมองซิเออร์เตรอง วาดจากภาพถ่าย
ของนักสำรวจชาวฝรั่งเศส มองซิเออร์จีเชลล์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙
(มองจากมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

• ออกธุดงค์กรรมฐาน
จาริกไปถึงหลวงพระบาง

หลังจากปฏิบัติทำความเพียรจนจิตมีกำลังกล้าแข็งแล้ว ท่านก็พาศิษย์เอกคือท่านพระอาจารย์มั่นและเณรออกเที่ยวเดินธุดงค์กรรมฐานจากอุบลราชธานี เริ่มต้นมุ่งหน้าขึ้นทางทิศเหนืออันเป็นจังหวัดนครพนม พากันเดินลัดเลาะไปตามป่าเขาลำเนาไหพร แล้วยังได้ข้ามไปฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงดินแดนประเทศลาวจนถึงเมืองหลวงพระบาง เพื่อขอฝึกฝนเล่าเรียนกรรมฐานกับอาจารย์เก่งๆ ทั้งหลายที่ได้ยินได้ฟังมา

อันความรู้ที่ได้รับมาก็ไม่ยิ่งไปกว่าที่ท่านได้ปฏิบัติเรียนรู้มาแล้ว

จึงได้ย้อนลงมาแขวงคำม่วนถึงเมืองท่าแขก (อยู่ฝั่งตรงข้ามจังหวัดนครพนม) ซึ่งมีป่าดงดิบและภูเขาเพิงผาสลับซับซ้อนมากมายที่สุดเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร จนเข้าพรรษาปีนั้นท่านได้พาศิษย์พักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ถ้ำแห่งหนึ่งใกล้กับบ้านถ้ำ ได้รับความสงบสุขทางใจมากพอสมควร ในป่าดงดิบแถบภูเขานั้นท่านได้ผจญกับสัตว์ร้าย เช่น งู ช้าง เสือ หมี ที่มีชุกชุมพอๆ กับไข้ป่าที่ท่านได้รับเชื้อมาเลเรียจนงอมแงม เจียนไปเจียนอยู่ อาศัยจิตที่มาอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว และการเอาใจใส่พยาบาลไข้เป็นอย่างดีจากศิษย์ (พระอาจารย์มั่น) จึงทำให้รอดกลับมาฝั่งไทยได้

พระอาจารย์มั่นเล่าให้พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร) วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ว่า…”วันหนึ่งมีคณะอุบาสิกาได้นำผ้ามาบังสุกุล ท่านพระอาจารย์เสาร์จะต้องการตัดจีวร เราก็ต้องจัดทำทุกอย่าง กว่าจะเย็บเสร็จเป็นเวลาถึง ๗ วัน พอยังไม่เสร็จดีเลยไข้มันเกิดมาจับเอาเราเข้าให้แล้ว ทำให้เราต้องเกิดความวิตกกังวลขึ้นมา นึกในใจว่าเณรก็ไข้ อาจารย์ก็ไข้ เราก็กลับจะมาไข้เสียอีก ถ้าต่างคนต่างหนักใครเล่าจะดูแลรักษากัน ยิ่งกว่านั้นอาจารย์ของเรานั่นแหละจะยิ่งร้อนใจมาก เราจะต้องไม่ป่วยไข้ตามไปอีกเด็ดขาด มิฉะนั้นจะไม่รอดกลับฝั่งไทยทั้งหมด เราได้คิดมานะขึ้นมาในใจว่า บัดนี้เราไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว เพราะยาจะฉันแก้ไขก็ไม่มีเลย มีแต่กำลังอานุภาพแห่งภาวนานี้เท่านั้นเป็นที่พึ่ง เรานั่งสมาธิเข้าที่อยู่ โดยการเสียสละกำหนดจิตแล้ว ทำความสงบ ทำให้เป็นหนึ่งแน่วแน่ไม่ให้ออกนอกเป็นอารมณ์ได้เลย เพราะขณะนั้นทุกขเวทนากล้าจริงๆ พอกำหนดความเป็นหนึ่งนิ่งจริงๆ ครู่หนึ่ง ปรากฏว่าศีรษะลั่นเปรี๊ยะปร๊ะไปหมด จนเหงื่อไหลออกมาเหมือนรดน้ำ เมื่อออกจากสมาธิ ปรากฏว่าไข้ได้หายไปราวกับปลิดทิ้ง นี่เป็นการระงับอาพาธด้วยธรรมโอสถเป็นครั้งแรกของเรา เราได้พยาบาลอาจารย์ของเราได้เต็มที่ การเดินทางในครั้งนั้นได้เป็นเช่นนี้หลายหน บางครั้งมาเลเรียขึ้นสมองแทบเอาชีวิตไม่รอด...”

เมื่อลูกศิษย์อาจารย์ปรึกษากันเห็นว่าไม่มีผลในการเดินธุดงค์อันทุรกันดารเช่นนี้แล้ว ต่างก็ชวนกันกลับประเทศไทย



• พ.ศ.๒๔๔๔ บูรณะพระธาตุพนม
พระธาตุพนมสมัยก่อนนั้นชำรุดทรุดโทรม
มัชฌิมกาลสมัยของท่านพระอาจารย์เสาร์และท่านพระอาจารย์มั่น ท่านทั้งสองยังคงออกปฏิบัติธรรมไปมาหาสู่กันใกล้ชิดกันเสมอไม่ได้ขาด บางครั้งก็เที่ยวเดินธุดงค์ไปด้วยกัน บางครั้งก็แยกกันไปแล้วแต่ความเหมาะสม

สมัยหนึ่งท่านรวมกันอยู่ มีพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่นและท่านพระอาจารย์หนู (ภายหลังได้เป็นพระปัญญาพิศาลเถระ) ออกเที่ยวธุดงค์ร่วมกันไปตามฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พอจวนเข้าพรรษาในปีนั้น ท่านได้เดินลัดเลาะมาจนถึงปากเซบั้งไฟ จึงพากันนั่งเรือข้ามมาฝั่งขวา คือฝั่งประเทศไทย ขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำหน้าวัดพระธาตุพนมและหยุดพักที่วัดพระธาตุพนม

พระธาตุพนมสมัยก่อนนั้นรกทึบชำรุดทรุดโทรมเต็มไปด้วยเครือไม้เถาวัลย์ขึ้นปกคลุมเป็นอันมาก โดยเฉพาะบริเวณฐานส่วนล่างถูกปกคลุมจนมองไม่เห็นองค์พระธาตุเลย แต่ก็ไม่มีคนกล้าไปแตะต้อง เพราะหวาดเกรงในอาถรรพ์ทำให้มีอันเป็นไปต่างๆ นาๆ



•  ปรากฏเหตุอัศจรรย์
หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ได้รับฟังเรื่องที่ พระอาจารย์มั่นเล่าเมื่อครั้งเดินธุดงค์มาพักที่วัดอ้อมแก้ว (วัดเกาะแก้วอัมพวัน อ.ธาตุพนม) เพื่อจะเดินทางไปจัดงานศพพระอาจารย์เสาร์ที่เมืองอุบลฯ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖ ว่าจวบจนพระอาจารย์ทั้ง ๓ เข้าพำนัก ตกกลางคืนไม่นานได้มีเหตุอัศจรรย์ปรากฏขึ้น คือ มีแสงสีเขียวทรงกลมดั่งลูกมะพร้าว เปล่งรัศมีผุดออกจากองค์พระเจดีย์ แล้วลอยห่างออกไปจนลับสายตา พอตกดึกจวนสว่าง แสงนั้นก็ลอยพุ่งกลับมา แล้วหายวับเข้าสู่องค์พระเจดีย์เหมือนเดิม ปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดนั้นปรากฏขึ้นให้เห็นเป็นประจักษ์เช่นนี้ทุกวัน ท่านพระอาจารย์เสาร์จึงพูดว่า ”ที่พระเจดีย์นี้ต้องมีพระบรมสารีริกธาตุอย่างแน่นอน”

• เรื่องแสงประหลาดลอยออกจากพระธาตุฯ
มีผู้รู้เห็นกันมากมาย

เรื่องนี้มีการเล่าขานสู่กันฟังในหมู่ลูกหลานชาวเมืองพนม (ชาวธาตุพนม) ว่า ”ตกมื้อสรรวันดี ยามค่ำคืน กะสิมีแสงคือลูกไฟลอยออกจากพระธาตุให้ไทบ้านไทเมืองพนมได้เห็นกันทั่ว”

ข้าพเจ้าได้สอบถามคุณเฉลิม ตั้งไพบูลย์ เจ้าของร้านเจียบเซ้ง จำหน่ายยารักษาโรคผู้ตั้งรกรากอยู่ที่ถนนกุศลรัษฎากรอันเป็นถนนจากท่าน้ำตรงไปยังวัดพระธาตุพนม ท่านเล่าให้ฟังว่า “สมัยก่อนนั้น (เมื่อ ๔๐ ปีย้อนหลัง) ท่านยังได้เห็นแสงจากองค์พระธาตุฯ อยู่บ่อยๆ คือตอนกลางคืนราว ๓-๔ ทุ่ม จะมีแสงสว่างคล้ายหลอดไฟ ๖๐ แรงเทียน เป็นทรงกลมเท่าผลส้ม ลอยออกจากองค์พระธาตุฯ ในระดับสูงเท่ายอดมะพร้าว (๔๐-๕๐ เมตร) ลอยขนานกับพื้นในระดับความเร็วกว่าคนวิ่ง (๕๐ กม./ชม.) พุ่งไปทางทิศตะวันออก ผ่านหลังคาบ้านของท่าน... แล้วลอยข้ามโขง (แม่น้ำโขง) ไปจนลับสายตา  พอตกดึกจวนสว่างก็จะลอยกลับมาในแนวเดิม แล้วลับหายเข้าสู่องค์พระธาตุฯ เหมือนเดิม ผู้คนแถวนี้ได้เคยเห็นกันอยู่บ่อยๆ ปัจจุบันไม่มีปรากฏให้เห็นอีก”



          พระครูวิโรน์รัตโนบล บูรณะพระธาตุพนม


พระธาตุพนม เมื่อกว่าร้อยปีที่ผ่านมา (พ.ศ.๒๔๓๔)
ถ่ายภาพโดยชาวฝรั่งเศส

• การบูรณะพระบรมธาตุ
ท่านพระอาจารย์เสาร์จึงได้ชักนำชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายให้ช่วยกันถากถางทำความสะอาดรอบๆ บริเวณลานพระธาตุพนม ได้พาญาติโยมทำอยู่เช่นนี้ถึง ๓ เดือนเศษๆ จนโล่งเตียนเป็นที่เรียบร้อยจากนั้นท่านหลวงปู่ก็พาญาติโยมในละแวกนั้นมาทำมาฆะบูชาตามคำบอกเล่าที่ท่านพระอาจารย์เสาร์เล่าให้ท่านพระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส ศิษย์อุปัฏฐากของท่านฟังว่า เริ่มแรกชาวบ้านชาวเมืองได้อาราธนาให้ท่านพระอาจารย์เสาร์และคณะเป็นผู้บูรณะพระธาตุฯ แต่ท่านพระอาจารย์เสาร์ท่านบอกว่า “เราไม่ใช่เจ้าของผู้เคยสร้างแต่ปางก่อน เดี๋ยวเจ้าของผู้ซ่อมแซมจะมาทำเอง” ซึ่งท่านผู้นั้นก็คือ ท่านพระครูดีโลด (พระครูวิโรจน์รัตโนบล) นั่นเอง


• อุรังคนิทาน
ตามหนังสืออุรังคนิทาน อุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุพนมที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กฺนโตภาโส) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านพ่อ ได้กล่าวไว้มีใจความตอนหนึ่งว่า

บูรณะครั้งที่ ๖ ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๔๔ มีพระเถระนักปฏิบัติชาวเมืองอุบลฯ ๓ รูป เดินธุดงค์มาจำพรรษาอยู่วัดสระพัง “ตะพัง” ซึ่งเป็นสระโบราณอยู่บริเวณนอกกำแพงวัดทางด้านหรดีองค์ธาตุพนม คือพระอุปัชฌาย์ทา ๑  พระอาจารย์เสาร์ ๑  พระอาจารย์มั่น ๑  ท่านและคณะได้มานมัสการพระบรมธาตุ และพิจารณาดูแล้วมีความเลื่อมใส เห็นว่าพระธาตุพนมเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุอันแท้จริง แต่เป็นที่น่าสลดใจ เมื่อเห็นองค์พระธาตุเศร้าหมองรกร้างตามบริเวณทั่วๆ ไป ทั้งพระวิหารหลวงซึ่งพระเจ้าโพธิศาล (พ.ศ.๒๐๗๓-๒๑๐๓) แห่งนครหลวงพระบางได้สร้างไว้ (ตามประวัติพระธาตุพนมการบูรณะครั้งที่ ๒) ก็พังทลายกลายเป็นกองอิฐปูนอยู่ภายในกำแพงพระธาตุ ถ้าได้ผู้สามารถมาเป็นหัวหน้าบูรณะ จะเป็นมหากุศลสาธารณะแก่พระพุทธศาสนาและบ้านเมืองมิใช่น้อย จึงแต่งตั้งให้หัวหน้าเฒ่าแก่ชาวบ้านธาตุพนม เดินทางลงไปเมืองอุบล ให้อาราธนาเอาท่านพระครูวิโรจน์ รัตโนบล (รอด นันตระ) วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลฯ แต่เมื่อท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูอุดรพิทักษ์คณาเดช ขอให้ท่านขึ้นมาเป็นหัวหน้าซ่อมแซมพระบรมธาตุ ท่านก็ยินดีรับขึ้นมาตามความประสงค์ (ท่านมีคุณธรรมพิเศษโอบอ้อมอารีย์จนได้นิมิตนามว่า “พระครูดีโลด” คืออะไรก็ดีหมด) ท่านเป็นพระเถระผู้เชี่ยวชาญทางการฝีมือ ศิลปกรรมและจิตวิทยาสูง เป็นที่นิยมของประชาชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตมีศิษย์มากอยู่ ผู้ใดได้พบปะสนทนาด้วยแล้ว ต่างมีแต่ความเคารพ

เมื่อท่านพระครูฯ รับนิมนต์ เดินทางมาถึงแล้ว ได้ประชุมหารือทั้งชาววัดและชาวบ้าน ชั้นแรกชาวบ้านจะยอมให้ทำแต่เพียงทาปูนลานพระธาตุ ให้มีที่กราบไหว้เท่านั้น มิยอมให้ซ่อมองค์พระธาตุ เพราะเกรงกลัวเภทภัยทั้งหลายซึ่งเคยเป็นมาแล้วแต่หนหลัง ท่านพระครูไม่ยอมบอกว่าถ้ามิได้บูรณะองค์พระธาตุแต่ยอดถึงดิน แต่ดินถึงยอดแล้วจะมิทำ ชาวบ้านไม่ตกลง เลิกประชุมกัน ครั้นต่อมาในวันนั้นมีอารักษ์เข้าสิงคน (เข้าทรง) ขู่เข็ญผู้ขัดขวางจะทำให้ถึงวิบัติ ชาวบ้านเกิดความกลัวจึงกลับมาวิงวอนให้ท่านพระครูทำตามใจชอบ ท่านพระครูวิโรจน์ฯ ได้เริ่มบูรณะแต่เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ จนถึงเดือน ๓ เพ็ญ ได้ฉลองมีประชาชนหลั่งไหลมาจากจตุรทิศ ช่วยเหลือจนมืดฟ้ามัวดินเป็นประวัติการณ์นับแต่หลังจากบ้านเมืองเป็นจลาจลมา [เพราะเกิดศึกสงครามระหว่างไทยกับญวน ทำให้ผู้คนแตกตื่น อพยพหลับซ่อนหนีหายไปจำนวนมาก ช่วงนั้นกำลังเกิดกรณีผีบุญ* (*เหตุการณ์กรณีขบถผีบุญหรือผู้มีบุญ ขึ้นที่มณฑลอุบล เมื่อสมัย ร.ศ.๑๑๗ หรือ พ.ศ.๒๔๔๓ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕] พร้อมกับพากันบริจาคทรัพย์บูรณะพระธาตุเป็นจำนวนมาก

การบูรณะได้ชำระต้นโพธิ์เล็กที่เกาะจับอยู่ออก ขูดไคลน้ำและกะเทาะสะทายที่ชำรุดออก โบกปูน ทาสีใหม่ ประดับกระจกสีในที่บางแห่ง และลงรักปิดทองยอดตามที่อันสมควร สิ้นทองเปลว ๓ แสนแผ่น หมดเงินหนัก ๓๐๐ บาท ทองคำ ๕๐ บาทเศษ แก้วเม็ด ๒๐๐ แก้วประดับ ๑๒ หีบ หล่อระฆังโบราณด้วยทองแดง ๑ ลูก หนัก ๒ แสน (๒๔๐ กิโลกรัม) ไว้ตีเป็นพุทธบูชา

“ถึงกลางเดือนหกปีฉลู จะเกิดเภทภัยใหญ่หลวง หินแฮ่ (หินลูกรัง) จะกลายเป็นเงินทอง ฟักเขียวฟักทองจะกลายเป็นช้างม้า ควายทุยเผือกและหมูจะกลายเป็นยักษ์กินคน ท้าวธรรมิกราช (ผู้มีบุญ) จะมาเป็นใหญ่ในโลกนี้ ใครอยากพ้นเหตุร้ายก็ให้คัดลอกบทความลายแทงให้รู้กันต่อๆ ไป ถ้าใครเป็นคนบริสุทธิ์ ไม่ได้กระทำชั่วบาปกรรมใดๆ แล้ว ให้เอาหินแฮ่มาเก็บรวบรวมไว้ รอท้าวธรรมิกราชมาชุบเป็นเงินเป็นทองขึ้น ถ้าใครได้กระทำชั่วต่างๆ แต่เพื่อแสดงตนให้เป็นคนบริสุทธิ์ ก็ต้องมีการล้างบาปโดยจัดพิธีนิมนต์พระสงฆ์มารดน้ำมนต์ให้ ถ้ากลัวตายก็ให้ฆ่าควายทุยเผือกเสียก่อนกลางเดือนหก อย่าทันให้มันกลายเป็นยักษ์ต่างๆ นานา ผู้ที่เป็นสาวโสดก็ให้รีบมีผัว มิฉะนั้นยักษ์จะกินหมด...”



ภาพพระธาตุพนม สมัยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เสด็จตรวจราชการหัวเมืองภาคอีสาน เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙
(ภาพ: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร)

โปรดติดตามตอนต่อไป
p๕๗
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 10 มกราคม 2561 16:33:57 »



ข้อความดังกล่าวนี้ ได้แพร่หลายไปในหมู่ชนอีสาน แถบมณฑลอุบล สร้างความสะเทือนขวัญ ปั่นป่วน หวาดผวาให้กับชาวบ้านเป็นอันมาก

เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ สืบเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น สาเหตุความขัดแย้งกันระหว่างผู้ปกครองส่วนกลางจากกรุงเทพฯ กับผู้ปกครองส่วนท้องถิ่น “เจ้าเมืองเก่า” และความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้ปกครองกับราษฎรอีสาน อันเนื่องมาจากสภาพความแร้นแค้นขัดสนทางเศรษฐกิจ ความกดดันทางจิตใจ ประกอบกับความเชื่อถือในเรื่องภูตผีปีศาจ พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ที่ยังครอบงำชีวิตจิตใจและวิถีชีวิตของชาวบ้านตามชนบทอยู่เป็นส่วนใหญ่ ราษฎรบางส่วนจึงเกิดความไม่พอใจข้าราชการ เกี่ยวกับการเข้ามาขูดรีดเงินส่วยโดยไม่เป็นธรรม อีกทั้งเหตุการณ์ภาวะแห่งการแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในภาคพื้นดินแดนสองฝั่งลุ่มน้ำโขงของมหาอำนาจประเทศฝรั่งเศสในช่วงนี้ (พ.ศ.๒๔๓๖ - พ.ศ.๒๔๔๕) ที่กองทัพแห่งสยามประเทศจำต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมดถอยออกมาอยู่ฝั่งขวา ทำให้มีข่าวลือว่า ”ผู้มีบุญ จะมาแต่ตะวันออก... เจ้าเก่าหมดอำนาจ ศาสนาก็สิ้นแล้ว บัดนี้ฝรั่งเข้าไปเต็มกรุงเทพฯ แล้ว กรุงจะเสียแก่ฝรั่งแล้ว...”

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งในสมัยนั้นทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (พ.ศ.๒๔๓๖) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ศ.๒๔๔๒) แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอีสาน (พ.ศ.๒๔๔๓) พระองค์ได้ทรงบันทึกเอาไว้ในหนังสือทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า “ตามซึ่งไต่สวนขึ้นไป ได้ความเป็นพยายามมาตั้งแต่ปี ๑๑๘ (พ.ศ.๒๔๔๒) มาแล้ว...เดิมมาเป็นหมอลำ เที่ยวลำคำผญา (สุภาษิตคำกลอนของอีสาน) บ่งความไปในส่วนผู้มีบุญจะมาแต่ตะวันออก  ข่าวลือจึงมาจากตะวันออก เพราะเดินเป็นสายไปทางเดชอุดม ขุขันธ์ ทางหนึ่ง, ไปทางศรีสะเกษ สุรินทร์ ทางหนึ่ง, มาทางเขมราฐ อำนาจเจริญ เกษมสีมา ผาสีตอน กันทวิไชย หนองเลา วาปีปทุม มาหนองซำ พยัคฆ์ย? ไปทางกาฬสินธุ์และเสลภูมิ”  

หมอลำได้กระจายไปตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วหัวเมืองอุบลและใกล้เคียง เนื้อหาของกลอนลำนั้นเป็นการสรรเสริญผู้มีบุญว่าจะมาจากทิศตะวันออก และโจมตีการเข้ามาปกครองของกรุงเทพฯ เป็นต้นว่า... ลือแซะแซงแซ่ลำโขง หนองซำเป็นเขตลาสีมา ฝูงไทยใจฮ้ายตายสิ้นบ่หลง” หมายความว่า มีข่าวเล่าลือไปทั่วลำน้ำโขง จนไปถึงหนองซำ เมื่อผู้มีบุญมาเกิดแล้ว ชาวกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพวกใจโหดร้ายก็จะตายสิ้นไม่มีเหลือ ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์ของผู้มีบุญ ปรากฏว่าชาวบ้านนิยมฟังกันมาก และเริ่มคล้อยตามคำพยากรณ์ และโฆษณาชวนเชื่อกันเพิ่มมากขึ้นทุกท้องที่ อันเป็นช่องทางให้มีผู้แอบอ้างกระทำตนเป็นผู้วิเศษสวมรอยข่าวโคมลอยขึ้นมา โดยการตั้งสำนักขึ้นชวนเชื่อชาวบ้านให้เข้ามาอยู่ในอารักขา โดยมีเจ้าสำนักกระทำตนเป็นผู้มีบุญ ผู้วิเศษที่สามารถปัดเป่าความชั่วร้ายให้หายไปได้ ซึ่งบรรดาชาวบ้านที่ตกอยู่ในความหวาดกลัวอยู่แล้ว ต่างก็อยากจะแสวงหาที่พึ่งอยู่พอดี ซึ่งทันทีที่มีผู้วิเศษอวดอ้างฤทธิ์เดชปรากฏขึ้นต่างก็พากันแห่ไปหา เพื่อที่จะให้ช่วยเหลือคุ้มครองภัยต่างๆ

ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าเอาไว้ในหนังสือพระนิพนธ์เรื่อง “นิทานโบราณคดี” ที่พระองค์ทรงรับสั่งเอาไว้ว่า เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องเกร็ดนอกพงศาวดาร...เขียนรักษาไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานและผู้อื่นต่อไปว่า...”ข่าวที่มีผู้วิเศษรับจะช่วยป้องกันภัยรู้ไปถึงไหน ก็มีราษฎรที่นั่นพากันไปหาโดยประสงค์เพียงจะขอให้เสกเป่ารดน้ำมนต์ให้ก็มี ที่นึกว่าเป็นท้าวธรรมิกราชผีบุญมาบำรุงโลก เลยสมัครเข้าเป็นพรรคพวกติดตามผู้วิเศษนั้นก็มี ผู้วิเศษไปทางไหนหรือพักอยู่ที่ไหน พวกชาวบ้านก็รับรองเลี้ยงดู เลยเป็นเหตุให้มีคนเข้าเป็นสมัครพรรคพวกมากขึ้นโดยลำดับ เมื่อผู้วิเศษนั้นเห็นว่ามีคนนับถือกลัวเกรงมาก ก็เลยแสดงตนโดยเปิดเผยว่าเป็นท้าวธรรมิกราช ผีบุญที่จะมาดับยุคเข็ญตามคำพยากรณ์”

ในตอนแรกนั้น ฝ่ายรัฐบาลไม่ประสงค์จะเข้าไปยุ่งด้วย เพราะไม่แน่ใจว่าเรื่องผู้มีบุญเป็น “ความผิดแท้” และเกรงว่า “ถ้าห้ามไป กำลังตื่นคนนั้น ตำราว่า ไม่ได้ จะกลายเป็นยุบำรุงไป” ทำให้ผู้มีบุญหรือผีบุญมีโอกาสเกลี้ยกล่อมและซ่องสุมผู้คนได้มากขึ้น จนต่อมาได้พากันตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ไม่ขึ้นกับทางการบ้านเมืองอีกต่อไป มีการปกครองกันเองในกลุ่ม มีกองกำลังคุ้มกันตนเองที่ใหญ่ๆ มีอยู่ ๓ กอง
๑. กองอ้ายเล็ก (หรืออ้ายเหล็ก) นัยว่าเป็นผีบุญองค์แรกที่ตั้งตัวเป็นพระยาธรรมิกราช ประกาศว่าเป็นผู้ที่จะดับยุคเข็ญเป็นผู้มีบุญที่ตั้งสำนักขึ้นที่บ้านหนองซำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย เมืองสุวรรณภูมิ
๒. กองอ้ายบุญจัน เป็นน้องชายพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เมื่อพี่ชายถึงแก่กรรมได้เกิดความขัดแย้งกับทางการ จึงร่วมมือกับท้าวทันบุตรพระยาขุขันธ์ฯ พร้อมด้วยหลวงรัตนอดีตกรมการเมืองพากันไปตั้งตัวเป็นผู้มีบุญอยู่ที่สันเขาบรรทัดเขตเมืองขุขันธ์

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวประวัติพระอาจารย์เสาร์ก็ด้วยมีชื่อตรงกันกับ หลวงปู่มั่น ผู้นั้นคือ อ้ายมั่น! ผีบุญที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีอิทธิพลมากที่สุด นั่นเอง

๓. กองอ้ายมั่น ตั้งเป็นองค์ปราสาททอง (องค์หาสาตรทอง) อยู่ที่บ้านกระจีน แขวงเมืองเขมราฐ เคยร่วมมือกับองค์แก้วทางฝั่งซ้าย มีราษฎรนิยมทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาแม่น้ำโขง ต่อมาได้เข้าสมทบกับกองกำลังของท้าวสน นายอำเภอโขงเจียม และกองอ้ายเล็ก ที่ยกมาจากหนองซำ นำกำลังประมาณ ๒,๕๐๐ คนเศษ ยกเข้าปล้นและเผาเมืองเขมราฐ อีกทั้งได้สังหารท้าวโพธิราชกรมการเมือง ก่อนที่จะจับตัวท้าวธรรมกิตติกากรมการเมืองและพระเขมรัฐเดชนารักษ์ ผู้รักษาเมืองไปเป็นตัวประกัน แล้วถอดนักโทษออกทั้งหมด ทำให้ได้สมัครพรรคพวกเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย

หลังการกระทำอันอุกอาจครั้งนั้น พวกผีบุญทั้งหลายก็กลายเป็นขบถขึ้นแต่นี้ไป! และได้เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยส่งกำลังไปบุกล้อมจับท้าวกรมช้าง กรมการเมืองอุบลที่ออกมารักษาการนายอำเภอพนานิคมฆ่าทิ้งเสีย เป็นการข่มขวัญศัตรู ทำให้ผู้คนตื่นกลัวยินยอมเข้าเป็นพรรคพวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พวกราษฎรพากันแห่เข้าไปขอให้พวกผีบุญช่วยป้องกันภัย องค์ผีบุญก็เป่าคาถา รดน้ำมนต์ให้ตามประสงค์พร้อมโอภาปราศรัยด้วยเป็นอย่างดี ราษฎรทั้งหลายต่างพากันเข้านับถือองค์มั่นผู้วิเศษ

ในการนี้กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้รายงานเหตุการณ์ต่างๆ ให้ทางกรุงเทพฯ ทราบและขอกำลังทหารพร้อมอาวุธปืนไปโดยด่วน จำนวน ๔๐๐-๕๐๐ คน และพร้อมกันนั้นพระองค์ท่านทรงจัดทหารไปคอยสกัดพวกผีบุญอยู่ที่วารินชำราบ บ้านตุงลุง เมืองเกษมสีมา บ้านลืออำนาจ และได้ส่งกองกำลังออกไปจับพวกผีบุญอีกหลายกอง

ในตอนแรก กองกำลังที่ไปทางเมืองขุขันธ์ โดยการนำของร้อยโทหวั่น ได้ทำการปราบปรามผีบุญกองอ้ายบุญจันลงได้อย่างราบคาบ โดยอ้ายบุญจันตายในที่รบ ที่เหลือก็แตกสลายหนีไปไม่มีให้พบเห็นอีกเลยตลอดท้องที่เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ

แต่ศึกใหญ่หลวงนั้นอยู่ทางตะวันออกและทางเหนือ ล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกผีบุญทั้งหลายอันเป็นสมัครพรรคพวกขององค์มั่นผู้โด่งดังสุดขีด

ศึกยกแรกนั้นทางการประสบความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป คือ หน่วยของร้อยเอกหม่อมราชวงศ์ร้ายคุมกำลังพลตระเวน ๑๒ นาย กับคนนำทางและชาวบ้านที่เกณฑ์มาอีกเป็นจำนวน ๑๐๐ คน ได้เกิดปะทะกับกองระวังหน้าของพวกผีบุญจำนวนร้อยคนเศษใกล้บ้านขุหลุ พวกผีบุญร้องขู่ว่า “ผู้ใดไม่สู้ให้วางอาวุธ หมอบลงเสีย” พวกชาวบ้านที่โดนเกณฑ์มาก็พากันหมอบลงกราบพวกผีบุญเสียหมดสิ้น เหลือแต่หม่อมราชวงศ์ร้ายกับพลตระเวน ๑๒ นาย ที่ได้ต่อกรกับพวกผีบุญพร้อมกับล่าถอยกลับไป เพื่อกราบทูลสถานการณ์ให้เสด็จในกรมทรงทราบ

จากชัยชนะในครั้งนี้ทำให้บรรดาสาวกของเหล่าผีบุญทั้งหลายได้ใจมีความฮึกเหิมถึงขนาดประกาศว่าจะยกพวกเข้ามาตีเมืองอุบลราชธานี แล้วผนวกรวมกับดินแดน ๒ ฝั่งลุ่มน้ำโขง จัดตั้งอาณาจักรใหม่ที่ไม่ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และฝรั่งเศส สร้างความขุ่นเคืองพระทัยให้กับเสด็จในกรมยิ่งนัก พระองค์จึงทรงให้พันตรีหลวงสรกิจพิศาลผู้บังคับการทหารอุบลราชธานีจัดทหารออกไปสืบดูเหตุการณ์ที่แท้จริงอีกครั้ง

หลวงสรกิจฯ จึงได้จัดส่งร้อยตรีหลีกับทหารจำนวน ๑๕ คน ออกไปสืบดูร่องรอยของเหล่ากบฏทางอำเภอพนา – อำเภอตระการ ปรากฏว่าพวกทหารได้ไปเสียท่าโดนพวกผีบุญผีบ้าล้อมจับฆ่าตายถึง ๑๑ คน เหลือพลตระเวนหนีรอดกลับมาได้ ๔ คนเท่านั้น

รอให้เพลี่ยงพล้ำมากไปกว่านี้อีกไม่ได้แล้ว! การปราบปรามขั้นเด็ดขาดจึงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ โดยรับสั่งให้ร้อยเอกหลวงชิตสรการ (จิตร มัธยมจันทร์) นายทหารปืนใหญ่กับร้อยตรีอิน คุมทหาร ๒๔ คน พลเมือง ๒๐๐ คน อาวุธปืน ๑๐๐ กระบอก ปืนใหญ่อีก ๒ กระบอก ออกไปปราบขบถ พร้อมกับทูลกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ (รศ.๑๒๑)

“ทหารอุบลราชธานีคิดใช้หลายทางหมดตัว เรียกตำรวจภูธรขึ้นหมดกำลังก็ยังไม่พอจะใช้ ถ้าเกณฑ์มาเชื่อใจชาวบ้านไม่ได้ว่าจะไม่วิ่งเข้าหาองค์ผีบุญ ขอทหารหรือตำรวจปืนดีๆ รีบไปช่วยเร็วๆ อีกสัก ๔๐๐”

แล้วทหารจากมณฑลนครราชสีมาจึงถูกส่งไปปราบขบถ โดยแบ่งออกเป็น ๔ กองพัน กองพันละ ๒ กองร้อย ยกไปมณฑลอีสาน ๒ กองพัน และเตรียมพร้อมอยู่ที่เมืองนครราชสีมาอีก ๒ กองพัน ทหารทุกคนได้รับจ่ายปืนคนละ ๑ กระบอก กระสุนคนละ ๑๐๐ นัด และเสบียงติดตัวอยู่ไปได้ ๕ วัน... เป็นกองทหารที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น

กล่าวถึงทางด้านร้อยเอกชิตสรการ ได้ยกกำลังล่วงเข้าสู่บ้านสะพือในวันที่ ๔ เมษายน ตอนกลางคืน ท่านได้จัดให้กองกำลังส่วนหนึ่งตั้งพักที่ตรงบ้านสา ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งให้ตั้งค่ายอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมห่างจากค่ายพวกผีบุญประมาณ ๕๐ เส้น (๒ กิโลเมตร)

“ที่ตรงนั้นเป็นทางเดินเข้ามาเมืองอุบล...สองข้างเป็นป่าไม้ ต้องเดินเข้าในตรอก” แล้วจัดให้พระสุนทรกิจวิมล (คูณ สังโขบล) เป็นปีกขวา เพียซามาตย์ (แท่ง) เป็นปีกซ้าย ตั้งปืนใหญ่ไว้ใต้ซุ้มไม้ในป่าทึบใกล้ทางเลี้ยวออกมาจากบ้านสะพือ หมายยิงถล่มไปในทางตรอกนั้น แล้วให้ซุ่มกำลังไว้ในป่าสองข้างทางอีก

รุ่งขึ้นในวันนั้นก็ได้เกิดปะทะกับพวกขบถผีบุญ ยิงถล่มสู้รบใส่พวกผีบุญ เกือบ ๔ ชั่วโมง จึงกำชัยชนะได้โดยเด็ดขาด พวกขบถผีบุญถูกถล่มเสียชีวิตไป ๒๐๐ คนเศษ บาดเจ็บอีกไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน แถมถูกจับเป็นได้ ๑๒๐ คน ส่วนอ้ายมั่นผู้หัวหน้าผีบุญได้หลบหนีไปได้พร้อมกับสมุนราว ๑๐ คน

จากนั้นก็มีการกวาดล้างจับกุมพวกผีบุญไปทั่วมณฑลอีสานอย่างเด็ดขาด ดั่งตราสั่งที่มีไปถึงทุกหัวเมืองดังนี้ “อย่าให้มีการหลบหนีไปได้เป็นอันขาด ถ้าหากผู้ใดปกปิดพวกเหล่าภัยและเอาใจช่วยให้หลบหนีไปได้จะเอาโทษแก่ผู้ปิดบังและเจ้าหน้าที่หัวเมืองนั้นๆ อย่างหนัก”

ด้วยความที่หัวหน้าผู้ก่อการ คือ องค์มั่น พร้อมสมุนสนิทได้หลบหนีไปได้ จึงถูกตามล่าอย่างหนัก บังเอิญอีกที่มีชื่อไปซ้ำกับ พระอาจารย์มั่น แถมยังเป็นคนแถบถิ่น, แขวง, เขต, เมืองเดียวกันอีก  ทั้งยังเคยมีความสามารถเฉพาะตัวเป็น หมอลำกลอน คล้ายกันอีกด้วย แม้แต่การนุ่งห่มก็ยังพ้องจองกันอีกด้วย คือ ผีบุญองค์มั่น (และผีบุญระดับหัวหน้า) จะแต่งกายต่างไปจากคนอื่นๆ คือ “นุ่งห่มผ้าขาวจีบ ห่มครองอย่างพระหรือสามเณร” และผีบุญที่เป็นพระสงฆ์ก็มีหลายองค์เสียด้วย ซ้ำยังเป็นความบังเอิญอีกที่ “พระมั่น” ไม่ได้อยู่ที่เมืองอุบลฯ ดูเหมือนว่าจะหลบหนีไปเสียอีกด้วย ก็เพราะช่วงนั้น (ปี พ.ศ.๒๔๔๕) คณะของท่านพระอาจารย์เสาร์ที่มี “พระมั่น” ติดตามไปด้วยได้ออกเดินธุดงค์มาทางถิ่นนครพนมและฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงด้วย

ครูบาอาจารย์รุ่นต่อๆ มา จึงได้มีเรื่องเล่าถึงการตามล่า ผีบุญองค์มั่น ที่มาเกี่ยวข้องอย่างบังเอิญเหลือหลายกับหลวงปู่มั่น ผู้ที่เราเคารพเทิดทูนอยู่เหนือเศียรเกล้าฉะนี้แล
 


 พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ฉบับแรก
อีกเพียง ๒ เดือนต่อมา
หลังจากการจบสิ้นของกรณีขบถผีบุญหรือขบถผู้มีบุญแล้วไม่นานนัก อีก ๒ เดือนต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๕ ให้เป็นกิจลักษณะในรูปของกฎหมายเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังทรงโปรดให้จัดพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย


พ.ศ.๒๔๔๕
พระธรรมยุตมาถึงนครพนมชุดแรก
ท่านเจ้าเมืองนิมนต์ให้อยู่ด้วย

ในปลายปี พ.ศ.๒๔๔๕ นั่นเอง พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล วัดเลียบ เมืองอุบลราชธานี พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐาน ผู้เป็นอาจารย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และพระอาจารย์ปัญญาพิศาลเถระ (ฐิตปญฺโญ หนู) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ครั้งยังเป็นพระครูอยู่วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้พากันออกหาวิเวก เดินธุดงค์กัมมัฏฐานจากจังหวัดอุบลราชธานี ผ่านมาถึงจังหวัดนครพนม ปักกลดพักปฏิบัติกัมมัฎฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ สุดเขตเมืองนครพนมด้านทิศใต้ เข้าใจว่าจะเป็นแถวบริเวณโรงฆ่าสัตว์เทศบาลจังหวัดนครพนมในปัจจุบัน นับเป็นพระธรรมยุตชุดแรกที่เดินทางมาจังหวัดนครพนม ได้มีประชาชนชาวบ้านจำนวนมากไปสนทนารับการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) ข้าหลวงประจำบริเวณธาตุพนมและข้าหลวงประจำเมืองนครพนมได้ทราบเรื่องนั้น จึงไปนมัสการและพบปะสนทนาด้วย ในการพบปะสนทนานั้นพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ได้เรียนชี้แจงถึงความเป็นมาของตนเองและความเป็นไปของพระสงฆ์สามเณรในจังหวัด ถวายให้พระคุณเจ้าทั้งสองได้รับทราบและได้ปรึกษาหารือ ขอร้องให้พระคุณท่านทั้งสองช่วยคิดอ่านแก้ไข พร้อมกันนั้นได้เรียนชี้แจงความประสงค์ของตนถวายให้พระคุณท่านทั้งสองได้รับทราบด้วย

“กระผมขอโอกาสกราบเรียนนมัสการครูบาอาจารย์ พวกกระผมมีศรัทธาปะสาทะเต็มที่ต้องการอยากได้วัดคณะธรรมยุตินิกายไว้เป็นศรีสง่าคู่บ้านคู่เมืองนครพนมสืบไป เกล้ากระผมในนามเจ้าเมืองนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวจังหวัดนครพนม ขอกราบอาราธนานิมนต์ให้ครูบาอาจารย์อยู่เป็นประมุขประธาน เป็นพ่อแม่ที่พึ่งต่อๆ ไป


คำแนะนำที่สำคัญ
ให้คัดเลือกพระเณรชาวนครพนม

เมื่อท่านเจ้าเมืองกราบนิมนต์เช่นนั้น พระอาจารย์เสาร์ท่านก็ยิ้ม แล้วจึงพูดขึ้นว่า “ถ้าญาติโยมมีศรัทธาแรงกล้าอย่างนั้นก็ดีแล้ว อาตมาขออนุโมทนาสาธุการ แต่ทว่าตอนนี้อาตมายังออกเที่ยวธุดงค์ อยู่พำนักไม่เป็นที่ ไม่สามารถอยู่ตามที่อาราธนานิมนต์ได้ เมื่อญาติโยมมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าแบบนี้ ก็ขอให้ญาติโยมไปเลือกเฟ้นเสาะหาพระภิกษุสามเณร เป็นตัวแทนมาคัดเอาเฉพาะผู้ที่เฉลียวฉลาด มีความประพฤติดี มีความพอใจและสมัครที่จะรับการทำทัฬหิกรรม ญัตติเป็นพระภิกษุ – สามเณรในธรรมยุติกนิกาย และมีอัธยาศัยที่เห็นว่าจะมั่นคงหนักแน่นในพระธรรมวินัย แล้วอาตมาจะรับเอาเป็นธุระช่วยแนะนำสั่งสอนฝึกฝนอบรมให้จนสำเร็จแล้วจึงจะส่งกลับมา เป็นผู้นำสร้างวัดสร้างความเจริญในพระพุทธศาสนาในนครพนมต่อไป”

ได้อาจารย์เป็นกัลยาณมิตร
มอบถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์เสาร์

พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำจังหวัดนครพนม เมื่อได้คำแนะนำจากพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลและพระปัญญาพิศาล (ฐิตปญฺโญ หนู) อย่างนั้นแล้ว จึงได้คัดเลือกพระภิกษุ ๔ รูป  สามเณรอีก ๑ รูป คือ พระจันทร์ เขมิโย,  พระสา อธิคโม, พระหอม จนฺทสาโร,  พระสังข์ รกขิตฺธมฺโม  และสามเณรจูม จันทร์วงศ์  ซึ่งเป็นสามเณรติดตามพระจันทร์ เขมิโย มาจากท่าอุเทน  แล้วนำภิกษุ-สามเณรทั้ง ๕ รูปไปมอบถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลและพระปัญญาพิศาล (ฐิตปญฺโญ หนู) ขอให้ช่วยเอาเป็นธุระแนะนำ สั่งสอนฝึกฝนอบรมต่อไป พระคุณเจ้าทั้งสองก็รับไว้ด้วยความยินดี รับเอาเป็นธุระแนะนำสั่งสอนข้อวัตรปฏิวัติ ระเบียบวินัยอันเป็นรากแก้วแห่งพระพุทธศาสนา

”เจ้าคุณปู่”
พระเทพสิทธาจารย์ และพระธรรมเจดีย์

พระจันทร์ เขมิโย ที่ได้รับเลือกเฟ้นเป็นอย่างดีในสมัยนั้น ก็คือพระเทพสิทธาจารย์ในสมัยต่อมา หรือที่ชาวบ้านญาติโยมพากันเรียกขานว่า “เจ้าคุณปู่” ผู้เป็นปู่ใหญ่ ผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาของชาวจังหวัดนครพนมนั่นเอง ส่วนสามเณรจูม จันทร์วงศ์ นั้นไซร้มิใช่ผู้อื่นไกล ท่านคือ พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) แห่งวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี   ท่านเจ้าคุณองค์นี้ ท่านเป็นพระอุปัชฌายาจารย์ที่มีลูกศิษย์มากมาย ต่างเคารพนับถือยกย่องท่านว่าเป็นปูชนียบุคคลของชาวอีสานในกาลต่อมา

ท่านเจ้าเมืองได้นำพระจันทร์ เขมิโย ไปถวายตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ ที่ยังรออยู่ที่พระธาตุพนม ท่านพระอาจารย์และคณะได้พำนักอยู่ที่ธาตุพนมเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว จึงได้พากันเดินทางธุดงค์กลับจังหวัดอุบลราชธานี รอนแรมผ่านป่าดงดิบผืนใหญ่ชื่อดงบังอี่ที่แสนลำเค็ญ แล้วเข้าเขตอำนาจเจริญ ใช้เวลาร่วมเดือนจึงลุถึงวัดเลียบในตัวเมืองอุบลราชธานี


พ.ศ.๒๔๔๖
ญัตติเป็นพระธรรมยุต
พำนักศึกษาอยู่สำนักเดียวกับหลวงปู่มั่น

เมื่อท่านเดินทางถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว คณะท่านเจ้าคุณปู่ ก็ได้เตรียมตัวซักซ้อมเรียนขานนาคใหม่เพื่อประกอบพิธีทัฬหิกรรมให้ถูกต้อง ตลอดจนข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เป็นเวลา ๔ เดือน โดยมีพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นพระอาจารย์พี่เลี้ยง จนทุกรูปมีความชำนาญและเตรียมการทุกอย่างพร้อมแล้ว พระอาจารย์เสาร์ ก็นำเจ้าคุณปู่และคณะไปประกอบพิธีทำทัฬหิกรรมญัตติเป็นพระภิกษุสามเณรธรรมยุตโดยสมบูรณ์ ณ พระอุโบสถวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖ โดยมี
พระสังฆรักขิโต (พูน) วัดศรีทอง เป็นพระอุปัชฌายะ
พระปัญญาพิศาลเถระ (ฐิตปญฺโญ หนู) ครั้งยังเป็นพระครูอยู่วัดใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระครูประจักษ์อุบลคุณ (ญาณสโย สุ้ย) วัดสุปัฏนาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเดิม คือ “เขมิโย”

หลังจากอุปสมบทแล้ว ทั้งหมดก็พำนักศึกษาอยู่สำนักวัดเลียบ ภายใต้การปกครองดูแลของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเจ้าคุณปู่ท่านชอบการปฏิบัติทางด้านวิปัสสนากัมมัฎฐาน ตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรที่ได้ฝึกหัดอยู่ในสำนักพระอาจารย์ศรีทัศน์ วัดโพนแก้ว อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ผู้เก่งกล้าสามารถฝึกปฏิบัติจนมีบุญบารมีได้เป็นผู้นำชาวบ้านก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทนขึ้นมา เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากการไปจาริกบำเพ็ญสมณธรรมจนถึงเขตประเทศพม่านั้น เมื่อพระอาจารย์ได้รับคัดเลือกให้มาอยู่ในสำนักพ่อแม่ครูบาอาจารย์เช่นนี้จึงเป็นการถูกอัธยาศัยของท่านเป็นอย่างยิ่ง หากมีข้อวัตรปฏิบัติใดที่ยังขัดข้อง ก็ตั้งใจไต่ถามจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ พร้อมทั้งเอาใจใส่ฝึกฝนปฏิบัติอย่างจริงจัง มีความเจริญก้าวหน้าทางจิตอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการศึกษาทางด้านปริยัติธรรมนั้นท่านก็มิได้ทอดทิ้ง ยังคงสนใจใฝ่เรียนรู้ในทุกแขนงวิชาจนมีความรู้ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติอย่างแท้จริง มีจิตใจมั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งเย้ายวนทั้งหลายที่มีมารบกวนสมาธิของท่านเลย



พระธาตุท่าอุเทน


โครงสร้างพระธาตุท่าอุเทน

พระธาตุท่าอุเทน
พระธาตุท่าอุเทน ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากตัวเมืองนครพนมไปทางทิศเหนือเป็นระยะทางประมาณ ๒๘ กิโลเมตร

ประวัติความเป็นมา
ศิลาจารึกหินทรายซึ่งอยู่ที่หน้าประตูด้านตะวันออกริมกำแพงแก้วขั้น ๓ จารึกด้วยอักษรธรรมและไทยน้อยจำนวน ๒๓ บรรทัด ความว่า “ที่วัดอรัญวาสี ท่าอุเทน ศรีสิทธิเดชเดชา บัดนี้อาตมาจักเว้าเรื่องสร้างพระบรมธาตุ พระพุทธศักราช ๒๔๕๓ พระวัสสา มีท่านพระครูศรีทัตถ์เป็นเจ้าศรัทธา ท่านปรารถนาโพธิญาณ ในอนาคตกาลภายภาคหน้า จึงพาพระสงฆ์และสามเณรทั้งปวง บรรดาที่เป็นสานุศิษย์ของท่าน ได้พร้อมกันสร้างพระบรมธาตุองค์นี้ เพื่อให้เป็นที่กราบไหว้ และสักการบูชาแก่เหล่าเทวดาและคนทั้งหลายทั้งปวง พวกข้าพเจ้าได้สร้างแต่ปีกุน เดือน ๓ แรม ๙ ค่ำ ได้ขุดขุม และก่ออูบมุง เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สมโภชครั้งหนึ่ง ตั้งแต่นี้เถิงปีเถาะ เดือน ๓ แรม ๘ ค่ำ ได้ยกเศวตฉัตร ๒๔๕๙ วันเสาร์ ปีมะโรง สร้างกำแพงและถนนจนบริบูรณ์ได้ดั่งคำมักคำปรารถนาพวกข้าพเจ้า แต่พวกข้าพเจ้าสร้างอยู่ภัยพาลและคนพาลมาบังเบียด ท่านพระครูศรีทัตถ์ท่านบ่โกรธ ท่านตั้งต่อโพธิญาณและเมตตา ท่านดี บ่จาคำแข็งตอบมารแลพาลฝูงนั้น พวกข้าทั้งหลายปรารถนายอดแก้วนีรพาน อย่ามีมารแลคนพาลมาประจญเหมือนกันชาตินี้ ภายนอกมีโยมเซาเป็นอุบาสกผู้มีใจใสศรัทธา พร้อมภรรยาและบุตร และสามเณร และอุบาสกอุบาสิกา พ่อแม่ช่างพระคำผง และคนจีน เจ้าพ่อเมือง และบ้านนอกทั้งหลายรวมทั้งหมดมาโมทนา มีทั้งเงิน ทั้งคำ ทั้งแก้ว เครื่องต่างๆ มีประมาณ ๓๐๕ เส้น มีพระครูจันทร์เป็นผู้สำคัญสร้างพระธาตุเป็นที่หาคนเจาะรูปเจาะลาย จึ่งได้ปาลีอยู่ในวัด

จดหมายจากนครพนม
อยู่สำนักวัดเลียบนาน ๕ ปี

จวบจนเวลาล่วงเข้า ๔ ปี พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนม ได้มีหนังสือไปนมัสการพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล อีกฉบับหนึ่งส่งไปกราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ ประจำมณฑลอุบลฯ เพื่อขอนิมนต์ตัวพระภิกษุจันทร์ เขมิโย และคณะกลับไปตั้งสำนักคณะธรรมยุติกนิกายขึ้นที่เมืองนครพนม พระอาจารย์เสาร์จึงได้นำเจ้าคุณปู่เข้าพบกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

ถูกสบประมาท
ในวันที่เข้าพบเจ้าเมืองนั้น เจ้าคุณปู่ได้รับบทเรียนที่ท่านต้องจำจนวันตาย จากท่านเจ้าเมืองกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ในรัชกาลที่ ๕ พระองค์ท่านทอดพระเนตรสำรวจเห็นเจ้าคุณปู่ยังหนุ่มน้อยอยู่เช่นนั้น จึงรับสั่งด้วยความห่วงใยขึ้นว่า “นี้นะหรือ? พระที่ท่านอาจารย์เสาร์จะให้นำคณะธรรมยุติไปตั้งที่เมืองนครพนม ดูรูปร่างลักษณะเล็ก-บาง ยังหนุ่มแน่นมาก จะไม่ทำให้ครูบาอาจารย์และวงศ์ธรรมยุตต้องเศร้าหมองเสียหายไปด้วยหรือ เพราะประสบการณ์ยังอ่อน หาพอที่จะรักษาตัวและหมู่คณะไว้ได้ไม่ จะไปตายเพราะผู้หญิง ฉันเกรงว่าจะเอาบาตรไปทำเป็นรังไก่เสียก่อนสินะซิ

เมื่อถูกสบประมาทเช่นนั้น ท่านเจ้าคุณปู่เล่าว่าท่านยังหนุ่มแน่น ต้องสั่นเทิ้มไปด้วยความน้อยใจ เสียใจจนถึงกับกลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์พาไปด้วยแล้วอยากจะแทรกแผ่นดินหนีไปให้พ้นในบัดนั้นเลยทีเดียว และเพราะคำพูดอันรุนแรงของเจ้าเมืองในครั้งนั้นนั่นเอง ที่ทำให้ท่านยิ่งมุมานะมีใจมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะลบคำสบประมาทนั้น ท่านจึงมุ่งศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ บำเพ็ญสมณธรรม ค้ำตนจนครองเพศบรรพชิตได้ดิบได้ดีสืบต่อมา

ส่วนท่านพระอาจารย์เสาร์ได้ฟังท่านเจ้าเมืองตรัสดังนั้นแล้ว ท่านเพียงแต่ยิ้มแล้วจึงถวายพระพรเล่าถึงปฏิปทา จรรยามารยาท และความหนักแน่นในพระธรรมวินัยของลูกศิษย์ให้ทราบทุกสิ่งทุกประการ หลังจากได้ฟังคำบอกเล่าดังนั้นแล้ว ท่านเจ้าเมืองก็ทรงอนุญาตให้เจ้าคุณปู่และคณะเดินทางกลับไปนครพนม พร้อมกับทรงออกหนังสือรับรองเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้หนึ่งฉบับมีใจความว่า “ให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเส้นทางเดินผ่าน ให้จัดคนตามส่งตลอดทาง พร้อมทั้งให้จัดที่พักแลภัตตาหารถวายด้วย” คณะของเจ้าคุณปู่ใช้เวลาเดินทางรอนแรมมาเป็นเวลา ๒๑ วัน จึงได้ลุถึงเขตเมืองนครพนม ท่านเจ้าเมืองนครพนมก็จัดขบวนออกไปต้อนรับ แห่แหนเข้าเมืองนิมนต์ให้พักอาศัยอยู่ ณ วัดศรีขุนเมือง (วัดศรีเทพประดิษฐาราม)

ท่านเจ้าคุณปู่ได้ปลูกสร้างความเจริญในพระพุทธศาสนาให้คณะสงฆ์ธรรมยุตนครพนมตั้งแต่บัดนั้นมา จวบจนเจ้าคุณปู่ได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพสิทธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดนครพนมฝ่ายธรรมยุติ สมตามเจตจำนงของทุกฝ่าย

นี่คือปฏิปทาอีกอย่างหนึ่งของท่านพระอาจารย์เสาร์ ซึ่งนอกจากการมุ่งปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานแล้ว ท่านยังส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาภาคปริยัติธรรมด้วย เพราะเป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน จะขาดเสียเลยซึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นไม่ได้ ท่านจึงได้สนับสนุนส่งเสริมเป็นอย่างดี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 พฤษภาคม 2561 16:08:30 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2561 15:56:28 »



•  กลับเยี่ยมคำบง หล่อพระพุทธรูป
ผู้เฒ่าชาวบ้านคำบง (บ้านเกิดพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) เล่าว่า เมื่อท่านหลวงปู่มั่นได้ออกจากภูหล่น ท่านได้เดินธุดงค์กับพระอาจารย์ของท่าน (คือท่านพระอาจารย์เสาร์) ไปทางฝั่งลาว แถบฟากซ้ายแม่น้ำโขง ได้เล่าต่ออีกว่าภายหลังจากกลับจากไปธุดงค์ ท่านได้นำทอง ของเก่าแก่หลายอย่างจากทางฝั่งลาวและไทยมาหลอมรวมกัน หล่อเป็นพระพุทธรูปได้ ๒ องค์ ที่สถานที่ชื่อกุดเม็ก โดยทำเตาหลอม เททองหล่อพระด้วยตัวของท่านเอง ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้มีบางท่านก็ว่าท่านหลวงปู่มั่นร่วมกับพระอาจารย์ของท่านได้ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปให้ชาวบ้านคำบงไว้ท่านละองค์ องค์ใหญ่นั้นเป็นของพระอาจารย์ท่านหล่อ อีกองค์ที่เล็กกว่านั้นเป็นฝีมือของท่านหล่อเอง ซึ่งพระพุทธรูปสององค์นี้เป็นทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักราว ๗-๙ นิ้ว ข้าพเจ้าคาดไม่ถึงว่าจะมีน้ำหนักมากมายจนเกือบยกไม่ขึ้นปานนี้ ต่อเมื่อได้ยกพิจารณาดูอย่างละเอียดใกล้ชิดแล้ว จึงได้ทราบว่าเป็นพระพุทธรูปที่หล่อตันทั้งองค์ จะมีกลวงนิดหน่อยก็ตรงส่วนฐานของพระพุทธรูปเท่านั้นเอง พระพุทธรูป ๒ องค์นี้ ชาวบ้านคำบงและพระสงฆ์ทั้งหลายพากันเคารพหวงแหนมาก โดยได้เก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้

• พ.ศ.๒๔๔๙-พ.ศ.๒๔๕๘
สืบค้นหาประวัติไม่ได้

ประวัติท่านพระอาจารย์เสาร์ ณ ห้วงเวลาต่อจากนี้ไปอีกประมาณร่วม ๑๐ ปี (ถึง พ.ศ.๒๔๕๘) ได้ขาดหายไป ไม่มีปรากฏหลักฐานในที่ใดให้สืบค้น เพื่อสืบสานให้เรื่องราวได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงขอนำข้อความในประวัติของหลวงปู่มั่นที่เกี่ยวเนื่องในปี พ.ศ.๒๔๕๘ มาดำเนินเรื่องต่อไป ดังนี้...

• พ.ศ.๒๔๕๘
หลวงปู่มั่นโปรดโยมมารดา

ท่านหลวงปู่มั่นนั้น ท่านมีความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีของท่านเป็นอย่างสูงยิ่ง หลังจากท่านได้ชี้แนะแนวธรรมบางประการแก่ครูอาจารย์ของท่านแล้ว (รายละเอียดมีแจ้งอยู่ในหนังสือประวัติหลวงปู่มั่น) ท่านยังไม่ลืมที่จะกลับบ้านคำบงบ้านเกิดของท่าน ซึ่งได้ตั้งใจไว้ว่าท่านจะโปรดโยมมารดาด้วยธรรมทั้งหลายที่รู้มาแล้ว ยังความปีติยินดีแก่โยมมารดาของท่านเป็นยิ่งนัก ท่านได้เล่าถึงการธุดงค์ บุกป่า ฝ่าเขา เข้าเถื่อนถ้ำ ผจญภยันตรายนานัปการ ทั้งในประเทศและออกนอกประเทศไปทางพม่า ข้ามไปทางดินแดนประเทศลาว ตลอดกระทั่งแม้การพากเพียรปฏิบัติ จนได้รับแสงสว่างอันสมควรแห่งธรรมที่สุดประเสริฐเลิศล้ำนี้

และท่านก็เทศน์โปรดโยมมารดา ชี้แนะให้เห็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์ ซึ่งโยมมารดาจันทร์มีความยินดีเป็นยิ่งนัก เกิดมีศรัทธาอย่างแรงกล้าได้ลาลูกหลานออกบวชเป็นชีโดยมีท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นผู้บวชให้ ซึ่งบางท่านว่าบวชที่บ้านคำบง บางท่านกล่าวว่าได้ติดตามไปบวชชีที่ภูผากูด คำชะอี


• พ.ศ.๒๔๕๙ ถ้ำจำปา ภูผากูด ท่านอยู่ยาวนานร่วม ๕ ปี
พ.ศ.๒๔๕๙ ท่านพระอาจารย์เสาร์ พำนักจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูด ต.หนองสูง อ.คำชะอี จ.นครพนม (ปัจจุบันนี้ขึ้นกับจังหวัดมุกดาหาร) ปัจจุบันภูผากูดเป็นภูเขาขนาดกลางลูกหนึ่งในหมู่เทือกเขาแถบนี้ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากในหมู่บ้าน ต.หนองสูง อ.คำชะอี ตั้งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ราว ๕ ก.ม.เท่านั้น  โดยแยกเข้าทางบ้านคันแท ต.หนองสูง อ.คำชะอี เดินลัดตัดทุ่งนาไปถึงเชิงเขามีป่าโปร่งเป็นที่พักสงฆ์มีนามว่า วัดถ้ำจำปากันตสีลาวาส  มองขึ้นไปตามไหล่เขาจะเห็นจุดที่เป็นเพิงผานี้อยู่สูง  ขึ้นไปพอประมาณ มีทางวกวนขึ้นไปถึงข้างบน ซึ่งมีลานตรงกลางโล่งๆ เป็นหลืบถ้ำใต้ชะง่อนเพิงผา ถ่ายเทอากาศได้ดี มีชื่อเรียกว่า “ถ้ำจำปา” มีศาลาไม้ยกพื้นสูงเพียงเอว สร้างขึ้นใต้เพิงผานี้ชื่อ “ศาลาธรรมสภามังคลา” ห่างออกไปทางขวามือจะเป็นถ้ำลักษณะเดียวกันแต่เล็กกว่าเรียก “ถ้ำแม่ขาว” (แม่ขาวคือแม่ชี) ว่ากันว่าเป็นที่พักของแม่ชีจันทร์ผู้เป็นมารดาของท่านหลวงปู่มั่นนั่นเอง ส่วนถัดไปทางซ้ายมือจะมีพระพุทธรูปใหญ่ปูนปั้นประดิษฐานบนแท่นหินและปูน หันหลังพิงหน้าผา ต่ำลงมาตรงแท่นข้างซ้ายมีรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่ด้วย เลยไปอีกเป็นเนินขวางทางเดินต้องปีนบันไดขึ้นไป ใต้เพิงผาเป็นที่นั่งภาวนาพิจารณาธรรม สภาพป่าเป็นป่าโปร่งไม่เป็นดงทึบมากนัก มีป่าไผ่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้มะค่าอยู่

ด้วยความรอบรู้ชำนาญชีวิตป่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้หาสถานที่พอเหมาะสม ถ้ำที่พักก็อยู่ไม่สูงจนเกินไป ป่าก็โปร่งดีไม่ทึบอับชื้น ข้างล่างมีลำธารน้ำไหลผ่าน สมัยก่อนนั้นพ่อแม่ครูบาอาจารย์เล่าว่าแถวนี้เต็มไปด้วยเสือ ส่งเสียงหยอกล้อกันเพ่นพ่าน ทำให้พระเณรต้องหมั่นเร่งภาวนาจิตอย่างยิ่งยวด ซึ่งสถานที่แห่งนี้เองเป็นที่ที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้เลือกพำนักอยู่ท่ามกลางแมกไม้สัตว์ป่าอย่างสงบยาวนานร่วม ๕ ปี

อยู่มาวันหนึ่ง ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้ทราบถึงวาระจิตท่านหลวงปู่มั่น ว่าเดินทางติดตามหาท่าน และจวนจะถึงภูผากูดนี่แล้ว ท่านก็ได้เตรียมตัวคอยรับศิษย์รักที่จากกันมานานอย่างยินดียิ่ง เมื่อท่านหลวงปู่มั่นเดินทางมาถึง ได้ผ่านลำธารก่อนขึ้นถ้ำเข้ากราบนมัสการท่านพระอาจารย์เสาร์ทันที ทั้งสององค์ท่านได้สนทนาปราศรัยไต่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและกันสมกับที่ได้จากกันไปเป็นเวลานาน แล้วท่านพระอาจารย์เสาร์ก็ได้ให้ท่านหลวงปู่มั่นพำนักจำพรรษาอยู่ด้วยกัน ซึ่งตลอดพรรษานี้ทั้งสององค์ท่านก็ได้ปรึกษาสนทนาธรรมปฏิบัติร่วมกันแทบทุกวัน

ความละเอียดตอนนี้ท่านหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร เขียนถึงในประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตว่า “อยู่มาวันหนึ่งท่านหลวงปู่มั่นเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีจึงเอ่ยขึ้นว่า “ท่านอาจารย์ได้พิจารณาอริยสัจธรรมหรือไม่?

ท่านพระอาจารย์เสาร์ตอบว่า    ‘เราก็ได้พิจารณาเหมือนกัน’
ท่านหลวงปู่มั่นถามต่อ‘ได้ผลเป็นอย่างไรบ้าง?’
ท่านพระอาจารย์เสาร์‘ได้ผลเหมือนกัน แต่มันไม่ชัดเจน’
ท่านหลวงปู่มั่น‘เพราะเหตุอะไรครับ?’
ท่านพระอาจารย์เสาร์‘เราได้พยายามอยู่ คือพยายามพิจารณาถึงแก่ความ ความตาย
แต่ว่าบางคราวมันก็แจ่มแจ้ง และบางคราวมันก็ไม่แจ่มแจ้ง’
ท่านหลวงปู่มั่น‘ถ้าเช่นนั้น คงมีเรื่องอะไรเป็นเครื่องอยู่ หรือกระมัง?’
ท่านพระอาจารย์เสาร์‘เราพยายามพิจารณาอยู่เหมือนกัน แต่ก็หาสิ่งขัดข้องไม่ได้
ความจริงความสว่างของดวงจิตก็ปกติดีอยู่ แม้มันจะดีบ้าง ไม่ดีบ้าง
มันก็เป็นธรรมดาของสมาธิ แต่ว่าเมื่อจิตพิจารณาทีไร รู้สึกว่าไม่ก้าวไป’
ท่านหลวงปู่มั่น‘ถ้าเช่นนั้น คงมีเรื่องอะไรเป็นเครื่องห่วงอยู่ หรือกระมัง?’
ท่านพระอาจารย์เสาร์‘และเธอรู้ไหมว่า เรามีอะไรเป็นเครื่องห่วง’

ท่านหลวงปู่มั่นเห็นเป็นโอกาสที่จะถวายความรู้ครั้งอยู่ที่ถ้ำสาลิกาโน้น ที่ท่านได้ทราบวาระจิตของท่านพระอาจารย์เสาร์
‘ท่านอาจารย์คงห่วงเรื่องการปรารถนา พระปัจเจกโพธิ กระมังครับ’
พระอาจารย์เสาร์                   ‘แน่ทีเดียว! ในจิตใจเราตั้งอยู่ว่า จะขอให้รู้ธรรมเอง โดยมิต้องให้ใครมาแนะนำ
หรือบอกให้ และมันก็ตั้งอยู่ในใจของเรามาตลอด’
เมื่อได้เช่นนี้ท่านหลวงปู่มั่นจึงกราบขอโอกาส แล้วได้บอกกับพระอาจารย์เสาร์ว่า ‘ขอให้ท่านอาจารย์อย่าเป็นห่วงเลย ขอให้พิจารณาอริยสัจเพื่อความพ้นทุกข์เสียแต่ในชาตินี้เถิด เพราะกระผมเองก็ปรารถนาพระโพธิญาณ และกระผมก็ได้ละความปรารถนานั้นไปแล้ว เนื่องด้วยการท่องเที่ยวในสังสารวัฏนี้มันนานเหลือเกิน’

ในวันนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ต้องประหลาดใจ ที่ศิษย์ของท่านได้ล่วงรู้ถึงความจริงอันปรากฏมีอยู่ ณ ส่วนลึกที่สุดในใจท่าน ซึ่งเรื่องนี้ท่านเองไม่เคยปริปากบอกใครเลยแม้แต่น้อย ฉะนั้นจึงทำให้ท่านรู้สึกว่า ศิษย์ของท่าน คือท่านหลวงปู่มั่นนี้ต้องมีความดี ความจริง ความชัดเจนในใจอย่างแน่นอน


• พบวิมุตติแน่แล้ว
อยู่มาวันหนึ่งท่านพระอาจารย์เสาร์นั่งอยู่ที่สงัดเฉพาะองค์เดียว ท่านเริ่มการพิจารณาถึงอริยสัจ ได้รู้ ได้เห็นตามความเป็นจริงนั้น และในวันนั้นท่านก็ตัดเสียซึ่งความสงสัยได้อย่างเด็ดขาด พอจวนจะถึงกาลปวารณาออกพรรษา ท่านก็ได้ทราบชัดถึงความเป็นจริงทุกประการ ท่านจึงได้บอกกับท่านหลวงปู่มั่นว่า

ท่านพระอาจารย์เสาร์’เราได้เลิกการปรารถนาพระปัจเจกโพธิแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริงแล้ว’

ท่านหลวงปู่มั่นได้ยินดังนั้น ก็เกิดปีติเป็นอย่างมาก และได้ทราบวาระจิตว่า “พระอาจารย์พบทางวิมุติแน่แล้วในอัตภาพนี้”  ซึ่งเรื่องนี้ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี ได้แต่งไว้ในหนังสือประวัติท่านพระอาจารย์ ภูริทตฺตเถระ เช่นกันว่า

ปรารถนาพระปัจเจกพุทธเจ้า  “ท่านพระอาจารย์เสาร์ เดิมทีท่านเคยปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า (ซึ่งการจะบรรลุสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้นั้น จำต้องบำเพ็ญบารมี ท่องเที่ยวเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในวัฏสงสาร รับทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ ต่อไปอีกหลากัปหลายกัลป์) เวลาออกบำเพ็ญเข้มข้น พอเร่งความเพียรเข้ามากๆ ใจก็รู้สึกประหวัดถึงความปรารถนาเดิมเพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แสดงออกเป็นเชิงอาลัยเสียดายความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ยังไม่อยากนิพพานในชาตินี้ ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐานของดจากความปรารถนาเดิมนั้นเสีย และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานบำเพ็ญบุญบารมีในภพชาติต่างๆ เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าอีกต่อไป พอท่านปล่อยวางของดจากความปรารถนาเดิมแล้วนั้น การบำเพ็ญเพียรรู้สึกได้รับความสะดวกแลเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวค้างคาเหมือนแต่ก่อน สุดท้ายท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษม ดังใจหมาย”

ท่านหลวงตาพระมหาบัว เขียนเล่าไว้ต่อไปอีกว่า

นั่งสมาธิตัวลอย “พระอาจารย์เสาร์ ท่านมีแปลกอยู่อย่าง คือ เวลาที่ท่านเข้าที่นั่งสมาธิ ตัวของท่านชอบลอยขึ้นเหนือพื้นเสมอๆ บางครั้งตัวท่านลอยสูงขึ้นผิดสังเกตจนถึงกับท่านเองเกิดความแปลกใจในขณะนั้นว่า ตัวท่านน่าจะลอยขึ้นจากพื้นเป็นแน่แท้ เลยเผลอลืมตาขึ้นดูตัวเองว่าใช่ลอยขึ้นจริงๆ หรือไม่ พอลืมตาดูเท่านั้น ก็ปรากฏว่าตัวท่านตกวูบลงมาก้นกระแทกพื้นดังปังใหญ่ ต้องเจ็บเอวอยู่หลายวัน เพราะตัวท่านลอยขึ้นสูงจากพื้นจริงๆ ในขณะที่ท่านลืมตาดูตัวเองนั้น จิตได้ถอนออกจากสมาธิ จึงไม่มีสติยับยั้งไว้บ้าง ทำให้ท่านตกลงสู่พื้นอย่างแรง ในคราวต่อไปท่านจึงหาอุบาย เวลาท่านนั่งสมาธิพอรู้สึกตัวลอยขึ้นจากพื้น ท่านพยายามตั้งสติให้อยู่ในองค์ของสมาธิแล้วค่อยๆ ลืมตาดูตัวเอง ก็ประจักษ์ว่าตัวท่านได้ลอยขึ้นจริงๆ แต่คราวนี้ไม่ได้ตกวูบลงสู่พื้นเหมือนคราวแรก เพราะท่านตั้งสติคอยประคองจิตให้อยู่ในองค์สมาธิ ท่านจึงรู้เรื่องของท่านได้ดี

ลอยตัวหยิบของใต้หลังคา ท่านพระอาจารย์เสาร์ท่านเป็นผู้ที่มีความละเอียดถี่ถ้วนลึกซึ้งอยู่มาก แม้ท่านจะเห็นด้วยตาแล้วว่าตัวท่านลอยได้ แต่ท่านก็ยังไม่แน่ใจ ท่านจึงคิดวิธีพิสูจน์ได้โดยนำเอาวัตถุชิ้นเล็กๆ ขึ้นไปเหน็บไว้ใต้หลังคามุงกุฏิ แล้วกลับมาทำสมาธิ จนพอจิตสงบ และตัวเริ่มลอยขึ้นไปอีก ท่านพยายามประคองจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิ เพื่อตัวจะได้ลอยขึ้นไปจนถึงวัตถุเครื่องหมายที่นำไปเหน็บไว้ แล้วค่อยๆ เอื้อมมือจับด้วยความมีสติ ดึงเอาวัตถุนั้นติดมือลงมาโดยทางสมาธิภาวนา คือพอหยิบได้วัตถุนั้นแล้วก็ค่อยๆ ถอนจิตออกจากสมาธิ เพื่อกายจะได้ค่อยๆ ลงมาจนถึงพื้นอย่างปลอดภัย แต่ไม่ถึงกับให้จิตถอนออกจากสมาธิจริงๆ เมื่อท่านได้ทดลองจนเป็นที่แน่ใจแล้ว ท่านจึงเชื่อตัวเองว่าตัวของท่านลอยขึ้นได้จริงในเวลาเข้าสมาธิในบางครั้ง แต่มิได้ลอยขึ้นเสมอไป”



• เยี่ยงอย่างพระอาจารย์
ท่านปฏิบัติพระอาจารย์เสาร์เหมือนท่านเป็นพระนวกะ

ในระยะนั้นท่านหลวงปู่มั่น ได้พรรษาที่ ๒๖ ท่านได้ปฏิบัติท่านพระอาจารย์เสาร์เหมือนกับท่านเป็นพระใหม่ คือ ปฏิบัติตั้งแต่การล้างบาตร ซักจีวร ปูที่นอน ตักน้ำ ถวายสรง ถูหลังให้ทุกประการ แม้ท่านพระอาจารย์เสาร์จะห้ามอย่างไรก็ตาม ท่านก็ยังปฏิบัติต่อโดยมิได้มีอาการแข็งกระด้างแต่ประการใด นี่คือเยี่ยงอย่างของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่านมีความกตัญญูรู้คุณพระผู้เป็นอาจารย์ ส่วนท่านพระอาจารย์เสาร์ก็ยอมฟังคำแนะนำจากศิษย์ด้วยความตั้งอกตั้งใจ ไม่มีทิฐิถือตนเองเป็นอาจารย์เลย คุณธรรมของพระบุพพาจารย์ทั้งสองท่านช่างประเสริฐยิ่ง

• โยมแม่ชีจันทร์ ท่านติดตามมาอยู่ภูผากูด
ก่อนเข้าพรรษาในปีนี้ ก็ปรากฏว่า มารดาของท่านหลวงปู่มั่นซึ่งกระหายต่อการปฏิบัติธรรมอยู่มิวาย ท่านจึงอุตส่าห์เดินทางมาล้มลุกคลุกคลานไปตามวิบากของคนแก่คนเฒ่า ติดตามมาจนถึงถ้ำจำปา บนภูผากูด เพื่อศึกษาอบรมตนให้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมะปฏิบัติ เมื่อมาถึงถ้ำ ท่านพระอาจารย์เสาร์จึงได้กำหนดบวชชีให้อยู่ปฏิบัติ ณ ถ้ำบนภูผากูดนี้ โดยท่านได้จับจองเอาที่เงื้อมผาแถบนั้นแห่งหนึ่ง เรียกถ้ำแม่ขาว เป็นที่ปฏิบัติธรรม มารดาของท่านหลวงปู่มั่นท่านมีจิตใจมั่นคงเด็ดขาดแม้จะอยู่ในวัยของสังขารร่วงโรยก็ตาม แต่จิตภายในของท่านหาได้เสื่อมถอยไปตามสังขารไม่ กลับมีความแจ่มใสเบิกบานเป็นอย่างยิ่ง ถ้าแม้จิตใจไม่แน่วแน่จริงคงไม่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคนำพาสังขารของท่าน ผ่านป่าผ่านดงที่มองไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน อีกทั้งต้องผ่านเส้นทางสัตว์ป่า จำพวกช้าง เสือ หมี งู ตะขาบป่ามาได้แน่ ด้วยจิตใจที่แจ่มใส มั่นคง สงบ เยือกเย็นนี้ เป็นผลในการภาวนาของแม่ชีจันทร์ ผู้เป็นมารดาของท่านหลวงปู่มั่นเป็นอย่างมาก การปฏิบัติของท่านก้าวหน้ามาก ท่านแม่ชีจันทร์ท่านได้เร่งความเพียรเป็นยิ่งยวด ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืนอยู่ ณ ภูผากูดแห่งนี้เอง นับว่าเป็นวาสนาของท่านแม่ชีจันทร์ที่มีท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านหลวงปู่มั่น จำพรรษาให้การแนะนำและอุบายธรรม


• พระอาจารย์สิงห์หายป่วยแล้วก็ตามมาพบกัน  
สำหรับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ก็ออกติดตามท่านหลวงปู่มั่นมาติดๆ แต่ทว่าพอตอนก่อนจะถึงภูผากูด ก็เกิดมีอันล้มเจ็บเป็นไข้เสียก่อน จึงได้เดินทางกลับไปรักษาตัวอยู่ที่เมืองอุบลฯ ต่อเมื่อหายดีแล้ว จึงได้ออกติดตามมาอีกครั้ง จนมาพบที่ภูผากูดนี้เช่นกัน... หลังจากนั้นก็ได้ออกปฏิบัติจิต ติดตามท่านหลวงปู่มั่นต่อไปทุกหนแห่ง

จากบันทึกในหนังสือ อัตตโนประวัติพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี) กล่าวไว้ตรงกันว่า “...เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม กับพระอาจารย์คำ ได้เดินรุกขมูลไปถึงบ้านนาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (อันเป็นบ้านเกิดขององค์ท่านหลวงปู่เทสก์) เป็นองค์แรก...เรากับบิดาของเราก็ได้ปฏิบัติท่าน ด้วยความเคารพและเลื่อมใสเป็นอย่างดียิ่งฯ”  และกล่าวว่าท่านพระอาจารย์สิงห์มีไข้ป่ากำเริบอยู่ตลอดเวลา หลังวันออกพรรษาปีนั้นแล้วองค์ท่านซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ ๑๔ ปี ก็ติดตามท่านพระอาจารย์สิงห์กลับไปจังหวัดอุบลราชธานี จนต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณร แล้วอยู่เรียนต่อ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๓ ส่วนท่านพระอาจารย์สิงห์ก็ออกเที่ยวรุกขมูลกลับมาทางจังหวัดนครพนม-สกลนคร เพื่อติดตามท่านหลวงปู่มั่นต่อไป


โปรดติดตามตอนต่อไป
p ๘๘
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 พฤษภาคม 2561 16:12:29 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2561 16:31:07 »



• หมดห่วง
เพราะอยู่ในสำนักของพระอาจารย์

หลังจากที่ท่านแม่ชีจันทร์ ผู้เป็นมารดาได้มีที่พำนักอยู่บำเพ็ญเพียร ณ ภูผากูด ภายในสำนักของท่านพระอาจารย์เสาร์แล้ว ทำให้ท่านหลวงปู่มั่นมีความสบายใจ หายห่วง มีความมั่นใจว่า แม่ชีมารดาจันทร์ ต้องพอใจที่จะอยู่พำนักปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์ได้เป็นอย่างดีแน่ จึงได้กล่าวลาและกราบลาท่านทั้งสอง พร้อมนำคณะออกธุดงค์ไปอบรมเผยแพร่ธรรมปฏิบัติไปตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้
- พ.ศ.๒๔๖๐ จำพรรษาอยู่ที่ บ้านดงปอ ห้วยหลวง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
- พ.ศ.๒๔๖๑ จำพรรษาที่ ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย
- พ.ศ.๒๔๖๒ จำพรรษาที่ บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
- พ.ศ.๒๔๖๓ จำพรรษาที่ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย


• พ.ศ.๒๔๖๔
พระอาจารย์เสาร์ไปเยือนเมืองนครพนม
จากประวัติพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย)

พระอาจารย์เสาร์ท่านได้ไปแวะเยี่ยมลูกศิษย์เก่าองค์หนึ่งของท่านนั่นคือ เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย และได้พำนักอยู่ด้วยที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม ซึ่งตอนนั้นยังมีสภาพเป็นป่าใหญ่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญเพียร

จากนั้นหลวงปู่จันทร์ ได้ออกธุดงค์ติดตามไปกับพระอาจารย์เสาร์ โดยมุ่งหน้าข้ามฝั่งโขงไปยังเมืองท่าแขกที่อยู่ตรงข้าม เนื่องจากเป็นเมืองที่มีภูเขาสลับซับซ้อน มีเถื่อนถ้ำเงื้อมผาอยู่มากมาย ควรแก่อัธยาศัยของพระอาจารย์เสาร์ที่จะหยุดยั้งเข้าไปบำเพ็ญภาวนา อีกทั้งเมื่อ ๒๐ ปีก่อนนี้ ท่านเคยพาหลวงปู่มั่นมาธุดงค์ถึงแถบถิ่นนี้จนพากันล้มป่วยด้วยไข้ป่ามาลาเรียเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดกลับเมืองอุบลมาแล้ว มาครั้งนี้ท่านมีความชำนาญขึ้น เมื่อท่านเดินธุดงค์ผ่านไปถึงหมู่บ้านใด ก็จะชี้แจงแสดงธรรมให้ชาวบ้านตั้งมั่นอยู่ในศีลห้า ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่อาศัย

ไม่มีบันทึกไว้ว่า องค์ท่านพักอยู่นานเท่าใดจึงข้ามกลับมา ค้นหลักฐานพบอีกครั้งก็ตอนที่ประวัติหลวงปู่มั่นกล่าวว่า... ท่านหลวงปู่มั่นย้อนกลับไปเยี่ยมแม่ชีจันทร์ ผู้เป็นมารดาและพระอาจารย์เสาร์ผู้เป็นอาจารย์ที่ถ้ำจำปา ภูผากูด


• พ.ศ.๒๔๖๔
หลวงปู่มั่นกลับมาภูผากูด  

ในปีนี้หลวงปู่มั่นย้อนกลับมาเยี่ยมมารดา และพระอาจารย์ พร้อมกับจำพรรษาที่บ้านห้วยทรายใกล้ๆ กับภูผากูด หลังจากออกพรรษาแล้วได้ชักชวนกันออกธุดงค์ไปทางสกลนคร – บ้านม่วงไข่ อ.พรรณานิคม

• พ.ศ.๒๔๖๕ –๒๔๖๗
เสนาสนะป่าหนองบาก บ้านหนองลาด
พรรษาที่ ๔๑ – ๔๓  

พระบูรพาจารย์ใหญ่ทั้ง ๒ ท่าน พร้อมคณะได้ธุดงค์มาพำนักจำพรรษาที่ป่าริมหนองน้ำบาก ใกล้บ้านหนองลาด ต.หนองลาด อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๕ และหลังจากนั้นในพรรษากาลอีก ๒ ปีต่อมา สันนิษฐานว่าท่านพระอาจารย์เสาร์ได้พำนักจำพรรษาอยู่ที่นี่ ส่วนท่านหลวงปู่มั่นได้ไปจำพรรษาที่วัดมหาชัย หนองบัวลำภู อ.หนองบัวลำภู (ปัจจุบัน เป็น จ.หนองบัวลำภู) และวัดป่าสารวารี บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ตามลำดับ

จากการสอบถามพ่อตู้ (พ่อเฒ่า) เถิง วงศ์สายบัว  อายุ ๘๗ ปี ชาวบ้านหนองลาด เมื่อบ่ายวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๐  ได้ทราบว่า... คณะพระธุดงค์ได้มาพักที่ชายป่าริมหนองน้ำบากทางทิศตะวันตกท้ายบ้าน เป็นเวลาราว ๓ พรรษา ซึ่งต่อมาที่ตรงนั้นก็เป็นวัด เรียกว่า วัดป่าหนองบาก ต่อมาเมื่อการศึกษาเข้าถึง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันย้ายวัดไปสร้างใหม่ที่ป่าถัดไปทางทิศเหนือราว ๒ กิโลเมตร ให้ชื่อว่า วัดป่าราษฎร์สามัคคี มีพระบุญธรรม ปญญาสาโร  อายุ ๓๓ ปี ๑๒ พรรษา เป็นเจ้าอาวาสพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๒) มีหลวงพ่อประดิษฐ์ ฐานวโร อายุ ๗๒ ปี ๑๑ พรรษา เป็นเจ้าอาวาสต่อมา

ส่วนบริเวณที่วัดเดิมนั้นก็สร้างเป็นโรงเรียนประชาบาล ชื่อว่า โรงเรียนบ้านหนองลาดวิทยาคาร สืบต่อมาจนบัดนี้

และจากบันทึกในหนังสืออัตตโนประวัติพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี) กล่าวถึงเหตุการณ์ในปี พ.ศ.๒๔๖๖ ว่า “..ท่านอาจารย์สิงห์ได้พาพวกเราออกเดินทางไปนมัสการกราบท่านอาจารย์มั่น ที่บ้านค้อ อ.บ้านผือ ขณะนั้นพระอาจารย์เสาร์ก็อยู่พร้อม เป็นอันว่าเราได้พบท่านอาจารย์ทั้งสอง แลได้กราบนมัสการท่านเป็นครั้งแรกในชีวิตฯ“  ขณะนั้นท่านหลวงปู่เทศก์พึ่งจะอุปสมบทและอยู่จำพรรษาที่วัดสุทัศน์ เมืองอุบลฯ ได้เป็นพรรษาแรกก็ออกธุดงค์ติดตามไปกับคณะท่านพระอาจารย์สิงห์

เหตุการณ์ตอนนี้ มีข้อเกี่ยวเนื่องกับประวัติพระอาจารย์เสาร์ที่หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร กล่าวถึงในหนังสือจนฺทสาโร ซึ่งประพันธ์โดยคุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ความว่า... (พ.ศ.๒๔๖๗) พบท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านพระอาจารย์มั่น

ท่าน (หลวงปู่หลุย) ได้อยู่กับพระอุปัชญาย์พอสมควร แล้วก็ได้เดินทางจากจังหวัดเลยกลับไปอยู่กับท่านพระอาจารย์บุญ ที่อำเภอหนองวัวซออีก และได้ติดตามท่านพระอาจารย์บุญไปยังวัดพระบาทบัวบก ณ ที่นี้เองที่หลวงปู่ได้พบกับ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และได้อยู่ปฏิบัติรับฟังโอวาทจากท่านพระอาจารย์เสาร์ โดยมีท่านพระอาจารย์บุญ เป็นพระพี่เลี้ยงผู้ชี้แนะในข้อที่ท่านไม่เข้าใจอีกชั้นหนึ่งด้วย

จากนั้น ท่านพระอาจารย์บุญก็ได้พาหมู่คณะศิษย์พร้อมด้วยหลวงปู่ไปกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ที่ท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย  คณะท่านพระอาจารย์บุญได้อยู่อบรมรับฟังโอวาทและฝึกปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่น จนกระทั่งจวนจะเข้าพรรษา จึงได้พากันย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดพระบาทบัวบก


• พ.ศ.๒๔๖๗
วัดพระงาม
พรรษาที่ ๔๔  

ในพรรษานี้ พระบูรพาจารย์ทั้งสองท่านได้ธุดงค์ประกาศธรรมเข้าเขตหนองคาย พระอาจารย์เสาร์พักจำพรรษาที่วัดราช ใกล้บ้านน้ำโขง อ.ท่าบ่อ ท่านหลวงปู่มั่นพักอยู่เสนาสนะป่า อ.ท่าบ่อ  ซึ่งต่อมา... ที่นี่ได้เป็นวัดชื่อวัดอรัญวาสี ส่วนท่านอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น ยังจำพรรษาอยู่บ้านหนองลาดบ้านปลาโหล วาริชภูมิ แถบเดิมอยู่

ที่วัดราชนี้เป็นวัดเก่า มีพระพุทธรูปเก่าสมัยเวียงจันทร์ได้ชำรุดทรุดโทรมไป ท่านพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสองได้ช่วยกันบูรณะให้สวยงามดังเดิม ชาวบ้านชาวเมืองได้ไปเห็นเข้าต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่างามแท้ ภายหลังจึงเอ่ยเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดพระงาม” ต่อๆ กันมา จนถึงบัดนี้ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถตลอดมา

ที่ท่าบ่อนี้เป็นสถานที่เหมาะสำหรับบำเพ็ญสมณธรรมยิ่งอีกที่หนึ่ง ของพระเถระทั้งหลายที่น้อมตัวเข้าเป็นศิษย์ร่วมสายธารธรรม อาทิเช่น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโน  พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล  พระอาจารย์เทสก์ เทสรงฺสี  พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ  พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร  พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร  พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน  พระอาจารย์กว่า สุมโม ฯลฯ  ท่านเหล่านี้มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะอยู่ปฏิบัติตามแนวทางสายธรรม ที่ได้รับฟังโอวาทมาอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ซึ่งต่างองค์ต่างได้รับผลทางใจเป็นอย่างสูง ตามภูมิจิต ภูมิธรรมของแต่ละองค์

ออกจากวัดอรัญวาสีแล้วท่านหลวงปู่มั่นได้เดินธุดงค์กลับไปที่ ต.หนองลาด อ.วาริชภูมิ อีกครั้ง  พำนักอยู่แถบถิ่นนั้นจนต่อมาพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ได้นิมนต์ให้ไปโปรดชาวบ้านสามผง ดงพระเนาว์


• ร.๖ เสด็จสวรรคต  
อนึ่ง ปลายปีนี้เป็นปีแห่งการสูญเสียครั้งใหญ่หลวงอีกครั้งหนึ่งของชายไทยทั้งชาติ นั่นคือ การเสด็จสวรรคตขององค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘ หลังจากทรงครองราชย์บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองมาเป็นระยะเวลาได้ ๑๕ ปี

• พ.ศ.๒๔๖๙
บ้านดงยาง อ.หนองหาน
ในปีนี้... ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้เข้ามาจำพรรษายังเขตอุดรธานี

พระอาจารย์เสาร์ หลังจากธุดงค์ออกจากวัดพระงาม อ.ท่าบ่อ จ.หนองคายแล้ว ท่านได้จาริกไปทางแถบเมืองเลย เข้าถึง อ.เชียงคาน... ขึ้นไปถึงภูฟ้า ภูหวง หลังจากนั้นจึงได้วกกลับเข้ามายังเขตจังหวัดอุดรธานี จนไปพำนักจำพรรษา ณ เสนาสนะป่า บ้านดงยาง อ.หนองหาน

พระอาจารย์สิงห์  พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ผู้เป็นน้องร่วมสายโลหิตพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี จำพรรษาที่ป่าบ้านอากาศ ต.อากาศ อ.วานรนิวาส (ปัจจุบันเป็น อ.อากาศอำนวย) จ.สกลนคร  พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน  จำพรรษาที่บ้านโนนแดง  พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร จำพรรษาที่บ้านข่า ใกล้บ้านสามผง  ท่านหลวงปู่มั่น และคณะส่วนหนึ่ง ได้ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่า บ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ใกล้กับวัดโพธิ์ชัย  ตามคำอาราธนานิมนต์ของพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร  อันว่า พระอาจารย์เกิ่ง องค์นี้ท่านเป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของปวงชนแถบลุ่มแม่น้ำสงครามเป็นอันมาก ท่านเป็นถึงเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เป็นอุปัชฌาย์  เป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรมและบาลี และยังเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนประถมศึกษา แห่งตำบลสามผง ที่ตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย องค์ท่านมีนิสัยขยัน อดทน เฉลียวฉลาด เชื่อมั่นในตัวเอง มีความมุ่งมั่นในการงาน มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณทั้งหลาย

เมื่อได้ยินกิตติศัพท์และทราบข่าวว่า ท่านพระอาจารย์มั่น มาพักอยู่ที่บ้านหนองลาด อ.วาริชภูมิ  จึงได้ไปฟังพระธรรมเทศนาและทดลองไต่ถามอรรถปัญหาธรรมต่างๆ พร้อมทั้งเฝ้าสังเกตดูข้อวัตรของท่านอย่างใกล้ชิด จนเกิดความอัศจรรย์ใจในการตอบโต้ชี้แจงอรรถปัญหาที่ค้างคาใจ และเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในแนวทางข้อวัตรของท่าน จึงได้นิมนต์ให้ท่านไปประกาศธรรมจำพรรษาที่บ้านสามผงดังกล่าว

พร้อมได้ถือโอกาสนี้ ขอมอบตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น เฝ้าศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา จนเกิดผลทางใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับในที่สุด ท่านได้ตัดสินใจอย่างอาจหาญ ยอมสละวัด ยอมสละตำแหน่งทั้งหลายที่มีอยู่เดิม ขอญัตติใหม่ พร้อมลูกศิษย์ เป็นพระในคณะธรรมยุติกนิกายหมดทั้งวัด รวมทั้งคณะของท่านอาจารย์สีลาอีกด้วยในภายหลัง

จำนวนพระภิกษุ สามเณรที่ญัตติใหม่ที่บ้านสามผงในครั้งนั้นมีประมาณ ๒๐ รูป รวมทั้งสามเณรสิม วงศ์เข็มมา (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) ที่ได้ไปจากวัดศรีรัตนาราม บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ด้วย ๑ รูป

ข่าวคราวการประกาศธรรมพลิกแผ่นดินบ้านสามผง ในครั้งนี้นั้น  ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของท่านพระอาจารย์มั่น และกิตติศัพท์ของกองทัพธรรมพระกัมมัฏฐานลือเลื่องกระเดื่องไกล เป็นที่อัศจรรย์จากคำร่ำลือของผู้คนในละแวกนั้นมากมายหลายหมู่บ้าน ถึงผู้วิเศษที่สามารถทำให้พระอาจารย์ทั้งสอง ที่พวกเขายอมรับนับถือมาแต่ดั้งเดิมนั้น ได้ยอมศิโรราบ สละสิ้นซึ่งลาภยศสักการะโดยเด็ดขาด ออกติดตามปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานไปด้วยทุกแห่งหน ไม่เว้นแม้แต่พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ที่มีฉายาอีกหนึ่งว่า อาจารย์ดีผีย่าน (ผีย่าน คือ ผีกลัว เพราะท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมีอิทธิฤทธิ์สูงส่งยิ่งนัก) ผู้อยู่ไกลไปถึงบ้านกุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จ.ยโสธร) ก็ได้บุกป่าผ่าดงออกหาของดีของขลังมาถึงบ้านสามผง แล้วล่วงรู้ถึงกิตติศัพท์นี้ จึงได้มากราบฟังธรรมจากองค์ท่านพระอาจารย์มั่น จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า ถึงกับยอมสละตำแหน่งเจ้าอาวาสผู้ยิ่งใหญ่แห่งวัดบ้านกุดแห่ (คือวัดศรีบุญเรืองท่าแขก ที่โด่งดังในสมัยนั้น) ขอญัตติใหม่ในภายหลังด้วยเช่นเดียวกัน

--------------------------------------------------------------------------



พระอาจารย์ เกิ่ง อธิมุตฺตโก
นามเดิม  เกิ่ง  ทันธรรม
บิดา   ทัน  ทันธรรม
มารดา  หนูมั่น   ทันธรรม
เกิด  เป็นบุตรคนที่ ๓  วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๐ ที่บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
การอุปสมบท  ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐   มีพระอาจารย์ คำดี เป็นพระอุปัชฌาย์  พระอาจารย์สาย เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การจาริกเพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติ  พ.ศ.๒๔๖๙ ได้จาริกไปยังถิ่นต่างๆ เพื่อแสวงหาอาจารย์แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อได้ทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นฯ ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่มีชื่อเสียง มาวิเวกและเผยแพร่ธรรมแก่ชาวบ้าน ที่บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จึงได้ชักชวน พระอาจารย์สีลา ติสฺสโร ไปพบ เมื่อได้ฟังธรรมเทศนาพร้อมทั้งเฝ้าดูข้อวัตรปฏิบัติของท่านอาจารย์มั่นอย่างใกล้ชิดแล้วก็เกิดความเลื่อมใส จึงได้อาราธนาท่านไปจำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านสามผง (วัดโพธิ์ชัยในปัจจุบัน)
การขอญัตติ  วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๙ ได้ขอญัตติ เป็นพระภิกษุธรรมยุติกนิกาย โดยมี เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูชิโนวาทธำรง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์  และท่านพระอาจารย์มั่น ฯ  นั่งหัตถบาส ร่วมอยู่ด้วย  ณ อุทกุกเขปสีมา (โบสถ์น้ำ) หนองสามผง บ้านสามผง
มรณภาพ  เมื่อ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๘ ด้วยโรคกระเพาะและลำไส้เรื้อรัง ที่ศาลาการเปรียญวัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม รวมอายุได้ ๗๘ ปี





พระอาจารย์ สีลา อิสฺสโร
นามเดิม   สีลา กรมแสนพิมพ์
บิดา  จันทรชมภู กรมแสนพิมพ์
มารดา  บัวทอง กรมแสนพิมพ์
เกิด   เป็นบุตรคนโต ที่บ้านวาใหญ่ ตำบลวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๙
การอุปสมบท ได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ที่วัดโพธิ์ชัย ตำบลวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒   มีพระครูหลักคำ เป็นพระอุปัชฌาย์  พระครูศรีธรรมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การจาริกเพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติ ต่อมาได้พบอาจารย์ เกิ่ง อธิมุตฺตโก ซึ่งมีพรรษาแก่กว่า และได้เป็นสหธรรมิก อยู่ร่วมศึกษาสำนักเดียวกันตลอดมา  พ.ศ.๒๔๖๙ พระอาจารย์ เกิ่ง อธิมุตฺตโก ได้ชักชวนไปพบพระอาจารย์มั่น ที่เสนาสนะป่า บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ได้บังเกิดความเลื่อมใส จึงได้ติดตามพระอาจารย์มั่น ไปบ้านสามผงด้วย
การขอญัตติ  เมื่อ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๙ ได้ตกลงใจญัตติเป็นพระภิกษุธรรมยุติกนิกาย ณ อุทกุกเขปสีมา (โบสถ์น้ำ) ที่หนองสามผง บ้านสามผง โดยมีเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูชิโนวาทธำรงเป็นพระอุปัชฌาย์  พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และมีพระอาจารย์มั่น นั่งหัตถบาส ร่วมอยู่ด้วย
มรณภาพ เมื่อ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๐ ด้วยโรคปอด ณ โรงพยาบาล จังหวัดสกลนคร รวมอายุได้ ๘๑ ปี





พระอาจารย์ ดี ฉนฺโน
นามเดิม   ดี  นามสกุล วงศ์เสนา  เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนบุตร ๙ คน ของหลวงอินทร์ วงศ์เสนา และแม่จันทรา วงศ์เสนา
เกิดที่  บ้านกุดน้ำใส อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๓๕ ในราวประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๕๒  ครอบครัวท่านได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่บ้านกุดแห่ ถือเป็นตระกูลที่เก่าแก่หลักบ้านหลักเมืองตระกูลหนึ่ง
บรรพชา  เป็นสามเณรเมื่อตอนอายุได้ ๑๖ ปี จนเมื่ออายุ ๑๘ ปี ได้ลาสิกขาออกมาช่วยงานทางบ้าน
แต่งงาน กับ นางมี กาฬสุข เมื่อตอนอายุได้ ๒๐ ปี อยู่ด้วยกันได้ ๓ ปี จึงได้หย่าร้างกันและไม่มีบุตร
อุปสมบท หลังจากนั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายมหานิกาย โดยมีพระธรรมบาล วัดบ้านกุดมะฮง เป็นพระอุปัชฌาย์  เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ แล้วมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ จนได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแห่ เป็นพระเถระผู้ใหญ่ นับพรรษาได้ ๒๒ พรรษา วัดบ้านกุดแห่ในยุคนั้นเจริญสูงสุดในท้องถิ่น มีศาลาโรงธรรมที่มีเสาใหญ่ที่สุดวัดโดยรอบได้ ๑ เมตร ถึง ๓๖ ต้น  ท่านสร้างหอไตรอันมีลวดลายวิจิตรสวยงาม ทั้งประดิษฐ์ธรรมาสน์แบบไทยเดิม สร้างกุฏิใหญ่ ๒ หลัง เพราะท่านมีความชำนาญในทางช่างไม้ ช่างก่อสร้าง แกะสลัก เขียนภาพ ช่างเหล็ก ช่างปูน ช่างปั้นดินเผา ช่างทำเครื่องหนัง (เข็มขัด อานม้า รองเท้า กระเป๋าหนัง เป็นต้น) อีกทั้งยังมีความรู้ทางว่านยาแผนโบราณ เก่งทั้งทางคาถาอาคม เชี่ยวชาญในการปราบผีทุกชนิด มีฉายาว่า อาจารย์ดีผีย่าน (คือผีกลัว) อีกทั้งเทศนาโวหารก็เฉียบคม มีชื่อเสียงโด่งดังไปไกล มีลูกศิษย์อยู่มากมาย
ญัตติกรรม  เป็นธรรมยุติกนิกาย เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ที่วัดสร่างโศก จ.ยโสธร (ปัจจุบันคือวัดศรีธรรมาราม) ภายหลังจากที่ได้พบแล้วมีความเลื่อมใส ศึกษาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม  ตั้งแต่ครั้งที่ท่านได้ออกจากวัดบ้านกุดแห่ไปเสาะหาของขลังและเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติม เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔  หลังจากนั้นก็ได้เป็นกำลังสำคัญช่วยกันเผยแพร่การปฏิบัติธรรมในกองทัพธรรมกรรมฐานตลอดภาคอีสานและฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอีกด้วย จนกระทั่งช่วงปี พ.ศ.๒๔๗๙ – ๒๔๘๕ ท่านได้อยู่ด้วยท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
ปลงอายุสังขาร   ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๒ ท่านได้สั่งเสียญาติโยมมอบหมายภารกิจให้พระสิงห์ทอง ปภากโร เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านกุดแห่ สืบแทนท่าน  หลังจากนั้นท่านได้ไปพักรักษาตัวอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ  อ.วารินชำราบ อุบลราชธานี  โดยสุขภาพท่านเจ็บป่วยออดๆ แอดๆ เป็นประจำไม่หายขาด จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพ เมื่อเวลา ๐๕.๓๐ น. ของวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๒ ในอิริยาบถ ท่านั่งอิงหมอนใหญ่อยู่ คล้ายกับนั่งพักผ่อนธรรมดา

หลังจากนั้นอีก ๑ ปี จึงทำพิธีฌาปนกิจศพท่าน ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๓


p.๑๐๐
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 สิงหาคม 2561 16:37:47 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
มรรคผลไม่ได้อยู่ที่นิกาย..หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
vickyvivid 3 2829 กระทู้ล่าสุด 09 พฤศจิกายน 2553 00:13:21
โดย หมีงงในพงหญ้า
ไม่เหมือนคำเขาพูด :หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1584 กระทู้ล่าสุด 22 พฤษภาคม 2555 17:45:34
โดย เงาฝัน
หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล เกจิ ๕ แผ่นดิน "ถ้าศีลบริสุทธิ์ คุณวิเศษจะมีมาเอง
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
Kimleng 0 2601 กระทู้ล่าสุด 06 กันยายน 2556 08:42:54
โดย Kimleng
จตุรารักขกัมมัฏฐาน หลักธรรมของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
เอกสารธรรม
Maintenence 0 9237 กระทู้ล่าสุด 22 ธันวาคม 2557 13:50:10
โดย Maintenence
วัดดอนธาตุ (หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล) จ.อุบลราชธานี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 2961 กระทู้ล่าสุด 15 ตุลาคม 2558 13:31:19
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.908 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 08:45:33