[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 เมษายน 2567 18:32:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผ้าป่า - ปฐมเหตุและประเภทของผ้าป่า  (อ่าน 1926 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2559 18:10:48 »



ภาพจิตรกรรม วัดหนองแวง
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น


ผ้าป่า - ปฐมเหตุและประเภทของผ้าป่า

ผ้าป่า คือผ้าที่นำไปวางไว้บนกิ่งไม้ ตามทางเดิน หรือกองขยะ เสมือนว่าเป็นผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่า (อาจมีเครื่องบริขารรวมอยู่ด้วยก็ได้) เพื่อให้พระชักเอาไปเป็นทำนองผ้าบังสุกุลโดยไม่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า "ชักผ้าป่า"  ส่วนการถวายผ้าป่านิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินเรียกว่า "ทอดผ้าป่า"  

ความเป็นมาของการทอดผ้าป่าปรากฏอยู่ในคัมภีร์จีวรขันธกะมหาวรรค พระวินัยปิฎกและพระธรรมสังคาหกาจารย์  มีเรื่องราวในครั้งพุทธกาลว่า สมัยนั้นผ้าหายาก พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุใช้ผ้าบังสุกุลที่คนใจบุญนำผ้าไปแขวนไว้ตามต้นไม้ข้างทางหรือตามป่าช้าที่พระเดินผ่าน ทำนองว่าทิ้งแล้ว พระไปพบเข้าจึงหยิบไปทำจีวรโดยถือว่าเป็นผ้าไม่มีเจ้าของนั้น มาซัก ตัด ย้อม และเย็บ สำหรับนุ่งห่ม ส่วนรูปแบบของผ้าในช่วงต้นพุทธกาลนั้นยังไม่ได้กำหนด พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อกันอย่างไม่เป็นระเบียบ ครั้นต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรนาของชาวมคธจึงได้มีพระพุทธดำริให้ตัดผ้าจีวรเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์

จากการที่พระภิกษุต้องหาผ้า ซัก ตัด เย็บเองดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านเห็นใจในความยากลำบากจึงนำผ้าไปทิ้งไว้ตามทางที่พระภิกษุเดินผ่าน เพื่อให้พระภิกษุมาชักบังสุกุลผ้านั้นไปทำเป็นจีวร  และเรียกผ้านั้นว่า “ผ้าป่า”  เรื่องราวปรากฏอยู่ในคัมภีร์อรรถกถาที่กล่าวถึงศรัทธาของอุบาสกอุบาสิกาที่แอบเอาผ้าดิบไปหมกดินหรือวางไว้ในกองขยะในป่า

ต่อมาหมอชีวกโกมารภัจ แพทย์ประจำพระองค์ เห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ต้องเก็บผ้าที่ชาวบ้านทั้งหลายทิ้งตามกองขยะบ้าง  หรือเก็บผ้าที่ห่อศพทิ้งในป่าบ้าง มาทำความสะอาดแล้วเย็บย้อมเพื่อนุ่งห่ม   จึงกราบทูลขอพรว่า “ขอให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้”  พระพุทธองค์ทรงประทานอนุญาตให้ตามที่ขอ   โดยมีดำรัสตรัสว่า “ถ้าภิกษุปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็ให้ถือ ปรารถนาจะรับคฤหบดีจีวรก็ให้รับ”  หมอชีวกโกมารภัจ จึงเป็นอุบาสกคนแรกที่ถวายผ้าแก่ภิกษุ และเรียกผ้าที่ภิกษุรับอย่างนี้ว่า “คฤหบดีจีวร”  แต่พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญพระภิกษุที่ถือผ้าบังสุกุล ทำให้พระภิกษุส่วนใหญ่ยังพอใจจะชักผ้าบังสุกุลอยู่  ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของประเพณีการทอดผ้าป่าขึ้น

การทอดผ้าป่า
พุทธศาสนิกชนจะนำผ้าซึ่งอาจเป็นผ้าสบง หรือจีวร โดยนิยมผูกผ้าทำเป็นรูปตัวชะนีห้อยโหนผูกหรือวางบนกิ่งไม้ที่จัดทำขึ้น  แล้วเสียบไว้ในตะกร้าหรือกระบุงที่บรรจุของบริวาร เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง (เช่น พริก หอม กระเทียม) ผลไม้ เครื่องดื่ม สมุด ดินสอ เครื่องใช้ในครัว (เช่น หม้อ ชาม ช้อน) แล้วชักชวนคนมาบริจาคปัจจัยร่วมด้วย  เมื่อถึงกำหนดจะนำกองผ้าป่าไปตั้งไว้ที่วัด ในสถานที่อันสมควร เช่น ศาลา โบสถ์ หรือวิหาร  แล้วทอดถวายต่อหน้าคณะสงฆ์ มีการสวดมนต์ไหว้พระ รับศีล กล่าวนโมฯ ๓ จบ แล้วว่าตามผู้นำกล่าวคำถวายผ้าป่า ดังนี้

คำถวายผ้าป่า    
"อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจิวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ บังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ"

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งของบริวารเหล่านี้
แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งของบริวารเหล่านี้
ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และ วามสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ”

ต่อจากนั้นพระภิกษุสงฆ์ผู้ได้รับฉันทานุมัติจากสงฆ์จะลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสุกุลจีวร และกล่าวคำบริกรรมว่า “อิมัง ปังสุกูละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ” แปลว่า “ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า” เสร็จแล้วพระสงฆ์ทั้งหมดอนุโมทนาให้พร จากนั้นผู้นำผ้าป่ามาทอดกรวดน้ำแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลต่อไป

ประเภทของผ้าป่า
มูลเหตุของการทอดผ้าป่า คือ การที่อุบาสกอุบาสิกาในสมัยพุทธกาลผู้ใจบุญนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป ตามคตินิยมของท้องถิ่น โดยมีชื่อเรียกตามวิธีปฏิบัติเป็น ๔ วิธี คือ

๑.ผ้าป่าหางกฐิน  คือการทอดผ้าป่าหลังออกพรรษาแล้ว มักทำต่อจากการทอดกฐินคือเมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผ้าป่าแถมกฐิน
๒.ผ้าป่าโยง คือกองผ้าป่าที่จัดใส่เรือ อาจมีหลายกองก็ได้ แห่ล่องพ่วงแห่ไปตามลำน้ำ ผ่านวัดใดก็ทอดวัดนั้นไปเรื่อยๆ  
๓.ผ้าป่าสามัคคี คือผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญให้ร่วมกันทำบุญตามแต่ศรัทธา จะเป็นกี่กองก็ได้ จัดขึ้นโดยวัตถุประสงค์หาเงินเข้าวัด เพื่อสร้างโบสถ์ วิหาร หรือหาเงินให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนถาวรวัตถุ หรือวัสดุอุปกรณ์
๔.ผ้าป่าโจน* คือการทอดผ้าป่าที่ไม่บอกล่วงหน้าและไม่เฉพาะเจาะจงวัดหรือสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่ง เป็นประเพณีการทำบุญของชาวเมืองเพชรบุรี ภายหลังฤดูกาลทอดกฐิน โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี จะนำอาหารพื้นบ้าน ของใช้ในการทำอาหาร ใส่เรือไปทอดผ้าป่าตามวัดต่างๆ ในเวลาเย็นๆ ใกล้ค่ำ โดยไม่บอกให้เจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์ในวัดรู้ล่วงหน้า  เมื่อนำเรือไปถึงท่าน้ำวัดใด ถ้ามีศาลาริมน้ำตั้งอยู่ก็จะเป็นการดี และสะดวกที่จะนำสิ่งของต่างๆ ในกองผ้าป่านั้นขึ้นไปวางรวมเป็นกองไว้ พร้อมทั้งมีผ้าเหลืองซึ่งมักจะเป็นสบง จีวร หรือผ้าไตรก็ได้ วางไว้บนกองผ้าป่า หรือไม่ก็ใช้ศาลาขึงราวเตี้ยๆ เอาผ้าพาดไว้

เมื่อจัดการเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในการถวายผ้าป่าเสร็จแล้ว ผู้ร่วมมาในขบวนทอดผ้าป่าก็จะธูปเทียนเพื่ออธิษฐานถวายทานครั้งนี้นับว่าเสร็จพิธี พร้อมที่จะลงเรือกลับหรือนำผ้าป่าไปทอดยังวัดอื่นต่อไป แต่ก่อนจะลงเรือก็จะจุดประทัดที่เตรียมไว้มากน้อยตามแต่จะเห็นควร เพื่อเป็นสัญญาณให้เจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์ในวัดนั้นรู้... (* ๔.ผ้าป่าโจน...พระมหาศุภชัย ชยธมฺโม เรียบเรียง)

อนึ่ง ก่อนการเผาศพในปัจจุบันยังมีธรรมเนียมการทอดผ้าบังสุกุลบนหีบศพเพื่อให้พระภิกษุชักเอาไปอีกด้วย.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤษภาคม 2559 18:16:01 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.318 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 มีนาคม 2567 06:17:15