[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 00:34:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธภูมิศึกษา 'นครกบิลพัสดุ์'  (อ่าน 2436 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 มีนาคม 2559 20:09:22 »

.

http://saisampan.net/pic/images/arx1403867440t.jpg
พุทธภูมิศึกษา 'นครกบิลพัสดุ์'


พุทธภูมิศึกษา 'นครกบิลพัสดุ์'
โดย พระครูนิโครธบุญญากร
บันทึกการบรรยายโดย พระเฉลิมชาติ ชาติวโร

เนื้อหาสาระโดยสรุป
เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงประเด็นปัญหาว่า เพราะอะไรพระพุทธเจ้าจึงประสูติที่ลุมพินี? และพระพุทธเจ้าสามารถเดินได้ ๗ ก้าวเมื่อครั้งมีประสูติกาลจริงหรือไม่?

ซึ่งท่านอาจารย์พระครูฯ ก็ได้ไขปัญหาทีละประเด็น โดยประเด็นแรก คือ “เพราะอะไรพระพุทธเจ้าจึงประสูติที่ลุมพินี” ท่านให้เหตุผลว่า เพราะ
๑.เป็นพุทธพยากรณ์ ที่พระพุทธเจ้าทั้ง ๒๔ พระองค์ที่ผ่านมาได้พยากรณ์เอาไว้ ว่าพระพุทธเจ้าจะต้องมาประสูติที่ลุมพินีวัน และ
๒.เป็นมติของเทวสโมสร ที่มีมติร่วมกันว่าจะมาต้องรับพระโพธิสัตว์เมื่อแรกประสูติที่ลุมพินีวัน

ประเด็นที่ ๒ พระพุทธเจ้าเดินได้ ๗ ก้าวเมื่อประสูติจริงหรือ? ท่านอาจารย์พระครูฯ ตอบว่า เป็นเรื่องจริง โดยอ้างถึงพระพุทธวัจนะที่ได้ตรงตรัสไว้เองถึงการเดินได้ ๗ ก้าวเมื่อครั้งทรงมีพระประสูติกาล ซึ่งมีทั้งหมด ๕ แห่งในพระไตรปิฎก เช่น ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาส ในอัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวรรค ใน มหาปทานสูตร, ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ อรรถกถา เล่มที่ ๗๓ หรือขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๒๕ เป็นต้น... ซึ่งเป็นปกติของพระโพธิสัตว์ในพระชาติที่จะตรัสรู้ ทุกพระองค์จะเดินได้ ๗ ก้าว

จากนั้นได้อธิบายถึงการเปล่งอสภิวาจาของพระมหาบุรุษ ซึ่งไม่ใช่แต่เพียงพระชาติสุดท้ายเท่านั้น ที่พระองค์ทรงตรัสเมื่อแรกประสูติ ในคราวที่ทรงเสวยพระชาติเป็นพระมโหสถและพระเวสสันดรก็ได้เปล่งวาจาเมื่อแรกเกิดเช่นกัน

จากนั้นท่านได้เล่าเรื่องของเทพตาเลจู อันเป็นเทพธิดาผู้พิทักษ์ของประเทศเนปาลมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันเทพธิดาตาเลจูได้มาในรูปแบบของราชกุมารี เด็กน้อยที่ได้รับคัดเลือกมาอย่างพิถีพิถันจากตระกูลศายกวงศ์ ซึ่งคงเป็นที่นับถือของชาวเนปาลมาโดยตลอด แม้ปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไปแล้ว แต่รัฐบาลที่ปกครองตลอดจนประชาชนทั้งหลายก็ยังคงให้ความนับถือราชกุมารีอยู่

จากนั้นท่านอาจารย์พระครูฯ ได้เล่าถึงประวัติของการเกิดขึ้นของเมืองกบิลพัสดุ์อย่างละเอียด... โดยนครกบิลพัสดุ์ ตั้งอยู่ในดงไม้สัก ที่เดิมเป็นอาณาบริเวณอาศรมของกบิลฤาษี กษัตริย์ผู้สละบัลลังก์ออกบวชมุ่งแสวงหาความสงบ จึงได้นามตามชื่อของฤาษีกบิลว่า “นครกบิลพัสดุ์” อาศัยเหตุที่อยูในเขตดงไม้สัก จึงตั้งชื่อแคว้นว่า “สักกชนบท”

พระโอรสและพระธิดาของพระเจ้าโอกกากราช บรมกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ ๔ คู่ เว้นพระเชษฐภคินีได้เป็นผู้มาสร้างเมืองกบิลพัสดุ์ และได้อภิเษกจับคู่สืบสายโลหิต เพื่อไม่ให้แปดเปื้อนด้วยสายโลหิตอื่นใด เป็นสาเหตุให้เกิดสายพระวงศ์ว่า “ศากยวงศ์” วงศ์ที่เกิดจากสายเลือดตนเอง... ศากยวงศ์แห่งนครกบิลพัสดุ์สืบรัชทายาทติดต่อกันเรื่อยมา จนถึงสมัยแห่งเจ้าผู้ครองนครนามว่า “สุทโธทนราชา” อันมีองค์อัครชายาพระนามว่า “สิริมหามายา” ราชเทวี พระบรมโพธิ์สัตว์จึงอุบัติถือปฏิสนธิในศากยวงศ์นี้ นครแห่งนี้จึงมีนามอีกอย่างหนึ่งว่า “เมืองพุทธบิดา”

ท่านได้อธิบายตำนานการสร้างเมืองกบิลพัสดุ์จนถึงเรื่องราวการประสูติของพระโพธิสัตว์จนกระทั่งถึงเวลา ๑๐.๕๐ น. แล้วจึงยุติการบรรยายในภาคเช้าลง


“พุทธภูมิศึกษาเทวทหนคร”
โดย พระมหาสุพจน์ กิตฺติวณฺโณ - บรรยายแทนโดย พระครูนิโครธบุญญากร

เนื้อหาสาระโดยสรุป

ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาเรื่องเมืองเทวทหะ ท่านพระครูฯ ได้กล่าวถึงรายละเอียดของกุมารี เทพธิดาตาเลจู อีกครั้ง โดยเล่าว่า คนที่จะได้รับคัดเลือกให้เป็นราชกุมารีนั้นไม่ใช่ง่าย เพราะนอกจากจะต้องเป็นสายเลือดของศากยวงศ์แล้ว ยังต้องผ่านการคัดเลือกอีก ๓ ลักษณะด้วยกัน คือ

๑.การตรวจลักษณะทางกายภาค ที่ต้องมีพร้อมทั้ง ๙ ลักษณะ คือ มีรูปร่างกลมเหมือนต้นกล้วย, มีขาเหมือนกวาง, มีอกเหมือนสิงโต, มีลำคอเหมือนหอย คือ เป็นปล้องๆ, มีเสียงใสเหมือนนกการะเวก, มีผมดำสนิท, ลิ้นไม่ยาวและสั้นเกินไป, ไม่มีโรค และต้องไม่มีกลิ่นตัว

๒.การตรวจลักษณะทางด้านจิตใจ ที่ต้องไม่ตกใจง่าย ต้องมีจิตใจเข้มแข็ง และต้องมีเมตตา

๓.การตรวจโดยนำเครื่องทรงของราชกุมารีพระองค์ก่อนๆ มาให้เลือก ว่าชุดไหนเป็นของกุมารีพระองค์ใด

พระราชกุมารีจะต้องผ่านการคัดเลือกตามขั้นตอนดังที่กล่าวมานี้แล้วเท่านั้น จึงจะสามารถขึ้นรับตำแหน่งเป็นที่กราบไหว้เคารพบูชาของประชาชนทั้งประเทศได้ แต่กุมารีจะหมดวาระเมื่อมีเลือดออกจากร่างกาย คือ ส่วนใหญ่หมดวาระตอนมีระดู อายุประมาณ ๑๓-๑๔ แล้วจึงมีการคัดเลือกกุมารีพระองค์ใหม่ โดยเลือกกันตั้งแต่อายุประมาณ ๒ ขวบครึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีกุมารีทั้งหมด ๓ พระองค์ คือ
๑.ในเมืองกาฐมาณฑุ
๒.ในเมืองภัตตาปูร์ และ
๓. นเมืองปาตัน

ในเมืองกาฐมาณฑุนั้น มีสถูปที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้ ซึ่งยังอยู่มาจนถึงปัจจุบัน... เมืองโปกขรา ในอดีตมีความเชื่อว่า คือ สระอโนดาษ

จากนั้นท่านอาจารย์พระครูฯ ได้กล่าวถึงประวัติของเมืองกบิลพัสดุ์อีกเล็กน้อย ต่อเนื่องจากภาคเช้า โดยกล่าวถึงประวัติของเมืองโดยเชื่อมโยงกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่องสมัยแรก ทรงมีอีกพระนามหนึ่งว่า เจ้าชายอังคีรส อันเป็นพระนามที่พระเจ้าสุทโธทนะชอบเรียก จากนั้นได้เล่าถึงชีวิตในสมัยเมื่อยังทรงประทับอยู่ในพระราชวัง ว่ามีความสุขสบายมากขนาดที่วันหนึ่งได้เสวยอาหารวันละ ๑๘๐ ชนิด ไม่ซ้ำกัน มีปราสาท ๓ ฤดู และมีนางสนมกำนัล ๔ หมื่นนางคอยห้อมล้อมอยู่ตลอด ที่ถึงที่สุดเจ้าชายสิทธัตถะก็ทิ้งความสุขสบายเป็นเป็นโลกียสุขเหล่านั้น เพื่อออกแสวงหาความหลุดพ้นและช่วยเหลือเหล่าสัตว์ให้พ้นวัฏฏทุกข์

จากนั้นได้เข้าสู่เนื้อหาของเมืองเทวทหะ โดยเล่าถึงตำนานการกำเนิดขึ้นของเมืองเทวทหะ แล้วกล่าวถึงสภาพทางภูมิประเทศว่า เมื่อง ๑๔๐ ล้านปีก่อน ภูเขาเขตหิมวันตประเทศ เคยเป็นทะเลมาก่อน เพราะมีการค้นพบซากฟอสซิลเป็นจำนวนมาก แล้วท่านอาจารย์พระครูฯ ได้กล่าวถึงพระนางสิริมหามายา ว่ามีความงามเป็นเลิศหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ ด้วยอิตถีลักษณะ ๖๔ ประการ และลักษณะความสมบูรณ์แบบของผู้ที่จะอุ้มท้องพระโพธิสัตว์อีก ๓๒ ประการ โดยการจะเป็นพุทธมารดาได้ จะต้องอธิษฐานตั้งความปรารถนามาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งพระนางสิริมหามายาและพระนางปชาบดีโคตมี ได้อธิษฐานมาร่วมกันว่า คนหนึ่งจะเป็นผู้ให้กำเนิด และอีกคนหนึ่งจะเป็นผู้เลี้ยงดู

หลังการปรินิพพาน ๗ ปี พระมหากัสสปะ ได้บอกพระเจ้าอชาตศัตรูว่า ต้องการจะรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุไว้เพื่อป้องกันรักษาพระบรมสารีริกธาตุให้อยู่ในที่เดียวกัน จะทำให้ดูแลรักษาได้ง่ายกว่า ท่านสามารถรวบรวมจากพระสถูปได้ทั้งหมด ๗ แห่ง มี ๑ แห่งที่ไม่สามารถนำพระบรมสารีริกธาตุออกมาได้ คือ ที่ “รามคามสถูป” เมืองเทวทหะ ซึงสถูปนี้ก็ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน โดยไม่มีประวัติว่ามีผู้ใดเคยขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมา นอกจากนี้ชาวบ้านยังเล่าขานกันมาว่า ในทุกวันพุธ จะมีเสียงฆ้องเสียงประโคมดนตรีดังขึ้นเอง โดยชาวบ้านเชื่อว่าเป็น “กรกชนาคราช” ที่มีเกล็ดสีขาว คอยปกป้องดูแลพุทธสถานแห่งนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน

“รามคามสถูป” ก็เป็นอีกหนึ่งแห่งที่พระสงฆ์ในโครงการฯ จะได้ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมกันในครั้งที่เข้าศึกษาเชิงปฏิบัติการที่ประเทศเนปาล

จากนั้นพระครูนิโครธบุญญากรได้เปิดโอกาสให้มีการถามคำถาม

พระครูสุตตธรรมประภาส ถามว่า จะยืนยันได้อย่างไรว่าจุดใดเป็นสถานที่ประทับจริงๆ ของเจ้าชายสิทธัตถะ ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์ฝั่งอินเดีย กับฝั่งประเทศเนปาล? ...ตอบ เมืองกบิลพัสดุ์ในประเทศเนปาล มีหลักฐานและการยืนยันจากนักโบราณคดีอย่างชัดเจน ทั้งเรื่องประตูเมืองที่เจ้าชายทรงออกมหาภิเนษกรม หรือซากปราสาท ๓ ฤดู ส่วนฝั่งอินเดียจะเห็นเฉพาะสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและซากสังฆราม

พระครูสังฆรักษ์ไพบูลย์ ถามว่า กบิลพัสดุ์ฝั่งเนปาล เคยมีประวัติการขุดค้นพบพระบรมสารีริกธาตุบ้างหรือไม่ ...ตอบ ทางเนปาลไม่นิยมขุดพระบรมสารีริกธาตุจากพุทธสถาน อย่างในสวนลุมพินีก็มีสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ ซึ่งทางเนปาลก็ไม่ได้ขุด หรือที่รามคาม หรือภายในนครกาฐมาณฑุ ก็ไม่ได้มีการขุดพระบรมสารีริกธาตุขึนมา เพราะชาวเนปาลเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุได้อยู่ในที่อันสมควรแล้ว

พระสุโกศล (จากกัมพูชา) ถามว่า พระนางสิริมหามายา มีชื่อพระบิดาและพระมารดา ปรากฎในคัมภีร์หรือไม่? ...ตอบ มีพระราชบิดา คือ พระเจ้าสีหนุ พระมารดา คือ พระนางกัญจนา

พระสมุห์จิรวัฒน์ อาจารสุโก ถามว่า ราชกุมารีตาเลจู เมื่อได้รับการสถาปณาแล้ว ทางครอบครัวจะอยู่ในฐานะได้ และจะได้รับสวัสดิการใดบ้างหรือไม่ ...ตอบ ทางการจะดูแลให้เบี้ยหวัดตลอดเวลาที่ลูกสาวยังเป็นกุมารีอยู่ แต่จะไม่ได้มีตำแหน่งใดๆ รองรับ

พระครินทร์ ผลญาโณ (หัวหน้ากลุ่มปรินิพพาน) ถามว่า ตอนเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช บางท่านก็กล่าวว่า หนีออกผนวชบ้าง บ้างท่านก็บอกว่าทรงลาพระบิดา พระมารดา พระนางพิมพา แล้วจึงออกบวชบ้าง ตกลงว่าอย่างใดจึงจะเป็นเรื่องจริง ...ตอบ ในคัมภีร์ก็มีบอกไว้ชัดเจนว่า พระองค์ทรงหนีออกผนวช อย่างครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงนิวัติกลับนคร ที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปโปรดพระนางพิมพา แล้วพระนางกราบทูลว่า “หม่อมฉันทำผิดอะไร ทำไมพระองค์จึงไปไม่บอกลา...” อันนี้ก็ชัดเจน ซึ่งเหตุที่พระองค์ไม่บอกใครก็เพราะกลัวว่าจะถูกทัดทาน

พระเงิน (จากประเทศเวียดนาม) ถามว่า เจ้าชายสัทธัตถะออกผนวชที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ห่างจากเมืองกบิลพัสดุ์ไกลหรือไม่? ...ตอบ จุดที่เจ้าชายทรงปลงพระเกศา ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา อยู่ห่างจากเมืองกบิลพัสดุ์ประมาณ ๓๐ กม.

จากนั้นพระครูนิโครธบุญญากรจึงได้ปิดการเรียนการสอนในภาคบ่ายลงที่เวลา ๑๕.๒๐ น.


bodhigaya980.org

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.417 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 21 มีนาคม 2567 00:07:28