[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 00:14:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คำถาม-คำตอบ ธรรมะที่น่าสนใจ  (อ่าน 5130 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 เมษายน 2553 10:32:58 »




คำถาม-คำตอบ ธรรมะที่น่าสนใจ

ถ้าความคิดบังคับไม่ได้ งั้นคุกมีเท่าไหร่ก็ต้องไม่พอขังคนทำผิดสิ

ความคิด เป็นอาการของจิต ที่เกิดขึ้นเมื่อ


๑.จิตนึกคิดปรุงแต่งอารมณ์ภายในใจ (ธัมมารมณ์)
ที่ได้จดจำไว้ทางใจ

๒.จิตนึกคิดปรุงแต่งหลังจากรับรู้อารมณ์ภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส)
ที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย


ดังนั้น ความคิดจึงเกิดขึ้นที่จิตทุกครั้ง

ที่มีอารมณ์(รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์)
มากระทบจิต(ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ภายนอก(รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส)
หรืออารมณ์ภายใน(ธัมมารมณ์) ก็ตาม

โดยธรรมชาติแล้ว จิตมีปกติตกไปในอารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์
ดังนั้นความคิดจึงเกิดขึ้นที่จิตตลอดเวลา ความคิดแล้ว ความคิดเล่า
สับเปลี่ยนหมุนเวียน ทับถมทวีคูณ ตลอดชีวิต โดยไม่สิ้นสุด

เมื่อความคิดเกิดขึ้น ก็จะมีการตอบสนอง
โดยการแสดงออกทางกาย หรือ วาจา ครบ ๓ ทวาร กาย วาจา ใจ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 10:41:51 »


ในพระพุทธศาสนา ความคิด ก็คือ สังขารขันธ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕
เป็นอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์

ดังนั้น ความคิด จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

โดยอธิบายว่า

สังขารขันธ์-ความคิด ไม่เที่ยง
คือ ความคิดจะแปรเปลี่ยนตลอดเวลาไปตามอารมณ์ที่มากระทบจิต

สังขารขันธ์-ความคิด เป็นทุกข์
คือ เพราะความคิดเกิดจากจิตนึกคิดปรุงแต่งไปตามอารมณ์

ดังนั้น ถ้าเป็นอารมณ์ดี ก็จะมีความคิดพอใจ
ปรารถนาจะครอบครองรักษาอารมณ์นั้นๆไว้ให้อยู่นานๆ
ทุกข์ก็เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถครอบครองอารมณ์นั้นๆได้นานๆตามปรารถนา

ถ้าเป็นอารมณ์ไม่ดี ก็จะมีความคิดไม่พอใจ
ปรารถนาจะผลักไสให้พ้นจากอารมณ์นั้นออกไปให้ไวๆ
ทุกข์ก็เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถผลักไสอารมณ์นั้นๆออกไปให้ไวๆตามปรารถนา

สังขารขันธ์-ความคิด เป็นอนัตตา
คือ เพราะความคิดไม่เที่ยง มีความปรวนแปรไปตลอดเวลาตามอารมณ์
และความคิด เป็นทุกข์
ดังนั้นความคิดจึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่อาจพึ่งพาอาศัยได้

เนื่องจากสังขารขันธ์-ความคิด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ดังนั้นจึงมีผู้บัญญัติคำสอนใหม่ขึ้นมา ด้วยความเข้าใจผิดว่า
ความคิดห้ามไม่ได้ บังคับไม่ได้ จะคิดอะไร ปล่อยให้คิดไป จนหยุดคิดเอง
เราแค่ตามดูไปเฉยๆ ห้ามแทรกแซง ห้ามเพ่ง

จึงเกิดคำถามตามหัวเรื่องว่า
ถ้าความคิดห้ามไม่ได้ งั้นคุกมีเท่าไหร่ก็ต้องไม่พอขังคนทำผิดสิ

ความคิดเป็นขันธ์ ๕ ก็จริงอยู่
ขันธ์ ๕ นั้นบังคับไม่ได้ในส่วนที่เกี่ยวกับความเก่าแก่ชราคร่ำคร่า

แต่จิตสามารถบังคับตนเอง
ไม่ให้นึกคิดปรุงแต่งอารมณ์ไปในทางอกุศลได้

และจิตสามารถบังคับตนเอง
ไม่ให้ถืออาวุธไปทำร้ายผู้อื่นก็ได้

ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นกับความยับยั้งชั่งใจที่มีอยู่ประจำใจของแต่ละคน


บางคนเมื่อจิตกระทบอารมณ์ เกิดความคิดไม่พอใจขึ้นมา
ก็จะคิดทำร้ายผู้อื่น แล้วลงมือกระทำทันที
เมื่อทำไปแล้ว ก็ไม่รู้สึกละอายใจเลยสักนิด คิดว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องสาสมแล้ว

ในกรณีเดียวกันนี้ สำหรับบางคนที่ได้ลงมือทำร้ายผู้อื่น
เมื่อทำไปแล้ว ก็จะค่อยระลึกขึ้นได้ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นไม่ถูกไม่ควร

และอีกหลายๆคน เมื่อเกิดความคิดไม่พอใจขึ้นมา
และเมื่อคิดจะทำร้ายผู้อื่น ก็จะคิดพิจารณาก่อนถึงความควรไม่ควร
เมื่อเห็นว่าไม่ควร ก็ไม่ลงมือกระทำ


จากตัวอย่างเล็กๆที่ยกมา แสดงให้เห็นชัดเจนว่า
เราสามารถบังคับจิตไม่ให้นึกคิดปรุงแต่งไปตามอารมณ์
และไม่ให้ลงมือกระทำตอบต่ออารมณ์ได้
ทั้งนี้ขึ้นกับ การอบรมจิต

จิตที่ไม่ได้รับการอบรม ย่อมปรุงแต่งไปตามอารมณ์
เกิดความนึกคิดปรุงแต่ง และแสดงการกระทำตอบโต้ต่ออารมณ์ในทันที

แต่จิตที่ได้รับการอบรม ย่อมมีพลังสติ(มากน้อยตามการอบรม)
ที่จะไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ ไม่แสดงการตอบโต้ต่ออารมณ์ในทันที
และรู้จักปล่อยวางอารมณ์ออกไปได้ในที่สุด
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 11:10:23 »


การอบรมจิตในพระพุทธศาสนาที่ทรงเมตตาสอนให้ปฏิบัติตาม
ก็คือการปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง


เป็นการอบรมจิตให้มีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างต่อเนื่อง
เมื่อมีอารมณ์มากระทบจิต ก็ให้รีบยกจิตเข้าไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติ
(สติปัฏฐาน) อันเป็นการเปลี่ยนอารมณ์จิต

เพราะจิตมีธรรมชาติชอบตกไปในอารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์
การเปลี่ยนอารมณ์จิต ให้ไปตั้งไว้ในอารมณ์ในสติปัฏฐาน ๔ นั้น
เพราะอารมณ์ในสติปัฏฐาน เป็นอารมณ์ที่ปราศจากกาม
เป็นไปเพื่อการเบื่อหน่ายคลายละในที่สุด


ดังนั้นจึงขอสรุปว่า

จิตสามารถห้ามตนเองไม่ให้ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ได้
นั่นคือ เราสามารถห้ามความคิดได้ เราบังคับจิตได้

ไม่ใช่จะคิดอะไร ปล่อยให้คิดไป จนหยุดคิดเอง
ไม่ใช่แค่ตามรู้ตามดูความคิดไปเฉยๆ

ต้องแทรกแซงจิตโดยการเพ่ง
คือ ต้องให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่อย่างต่อเนื่องที่ฐานที่ตั้งสติ (สติปัฏฐาน ๔)
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 11:22:05 »



สติเกิดเองไม่ได้ ต้องเจริญ ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต


● สติแบบที่คนในโลกเข้าใจ ...ระลึกรู้เรื่องอะไร(อารมณ์)ขึ้นมา ก็เรียกว่า มีสติ
รู้แล้วยึด(อารมณ์) ปรุงแต่งไปตามเรื่อง(อารมณ์)ที่ระลึกรู้ขึ้นมา
เป็นกระบวนการเกิดของขันธ์ ๕ ตลอดเวลา ไม่ได้เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
เพราะเมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป
จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

สติแบบที่เข้าใจนี้ มีในคนทุกคน ทุกชาติ ทุกศาสนา

สติแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอน = สัมมาสติ ต่างจากสติแบบที่คนในโลกเข้าใจ
เพราะสัมมาสติ เป็นมรรคจิต เป็นทางเดินของจิตเพื่อความพ้นทุกข์


สัมมาสติ คือ ระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างต่อเนื่อง(สติปัฏฐาน)
จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆที่เข้ามาปรุงแต่งจิต
เป็นกระบวนการยับยั้งการเกิดของขันธ์ ๕ ที่จิต เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
เพราะเมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป
จิตก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 11:31:07 »

● พระพุทธองค์ตรัสว่า

จำเ้พาะในธรรมวินัยนี้(ศาสนาพุทธ)เท่านั้น ที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘

☞ สัมมาสติ อยู่ในองค์อริยมรรค ๘

☞ ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ทรงแสดงกิจที่พึงทำในอริยสัจ ๔ คือ

ทุกข์ เป็นปริญเญยยะ ควรกำหนดรู้
สมุทัย เป็นปหาตัพพะ ควรละ
นิโรธ เป็นสัจฉิกาตัพพะ ควรกระทำให้แจ้ง
มรรค เป็นภาเวตัพพะ ควรเจริญ


เพราะฉะนั้น สัมมาสติ คือ สติในองค์มรรค เกิดขึ้นเองไม่ได้
ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

นั่นคือ ต้องปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือสติปัฏฐาน ๔ ตามเสด็จเท่านั้นจึงจะเกิดสัมมาสติ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 11:35:43 »


การปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ คืออย่างเดียวกัน
เป็นการปฏิบัติทางจิต เป็นทางเดินของจิต
เป็นทางเดียวเท่านั้นที่จะนำจิตให้พ้นจากทุกข์ได้


ดังมีพระพุทธพจน์รับรองไว้ดังนี้

คาถาธรรมบท มรรควรรค (มรรค ๘)

ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่นไม่มี
เพราะเหตุนั้นท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แหละ
เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง
ด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้


☞ มหาสติปัฏฐานสูตร (สติปัฏฐาน ๔)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฯ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 11:59:05 »


การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

บรรพะแรกในการเจริญสติปัฏฐาน ดังแสดงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า...ฯลฯ...


ขั้นตอนเริ่มแรกของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ

ต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติสมาธิ(นั่งสมาธิ) เจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ)
ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สติปัฏฐาน๔ = สัมมาสติ) ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
โดยอาศัยความเพียรประคองจิตให้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สัมมาวายามะ)จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ

เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ(จิตตั้งมั่นชอบ) ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์แล้ว
ก็ย่อมได้ศึกษารู้จักอารมณ์ตามความเป็นจริง
เกิดญาณรู้ตามความเป็นจริง (ปัญญา) คือ รู้อริยสัจ ๔ (สัมมาทิฐิ)
และเกิดพลังปัญญาปล่อยวางความยึดถืออารมณ์ต่างๆออกไปจากจิตได้ตามลำดับ (สัมมาสังกัปปะ)

อนึ่ง ในการเจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ) นั้น จิตจะบรรลุปฐมฌานได้
ต้องสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ = ศีล)ด้วย

ครบ อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ดังนั้นจึงกล่าวว่า การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

เป็นวิธีปฏิบัติทางจิตเพื่อให้จิตพ้นจากทุกข์
เป็นภาเวตัพพะ ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต
เกิดเองไม่ได้


การเจริญสติในชีวิตประจำวัน

เมื่อฝึกเจริญสติปัฏฐาน โดยการหลับตานั่งสมาธิ จนชำนาญแล้ว
หรือก็คือ พิจารณากายในกาย...เวทนาในเวทนา...จิตในจิต...ธรรมในธรรมเป็นภายใน

จากนั้น เมื่อออกจากสมาธิมาประกอบกิจกรรมการงานในชีวิตประจำวัน
เราก็ใช้ความชำนาญที่ฝึกปล่อยวางอารมณ์ ตอนนั่งสมาธินั้น
มาใช้ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
อันเป็นการพิจารณากายในกาย...เวทนาในเวทนา...จิตในจิต...ธรรมในธรรมเป็นภายนอกนั่นเอง



สรุป

สติ(สัมมาสติ) เป็นองค์มรรค ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต
สติเกิดขึ้นเองไม่ได้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 12:36:33 »





จะใช้หลักอริยสัจ ๔ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ได้อย่างไร ???
 

หลักอริยสัจ ๔ ใช้ได้กับทุกสภาวะในโลก!!!

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมมีประมาณเท่าใด
อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าสังขตธรรมเหล่านั้น

^
สังขตธรรมมีประมาณเท่าใด....อริยมรรคมีองค์ ๘ เลิศกว่าสังขตธรรมเหล่านั้น

ทรงปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำให้ตรัสรู้อริยสัจ ๔
นั่นแสดงว่า บรรดาธรรมะข้ออื่นๆ ซึ่งเป็นสังขตธรรมเช่นกัน
ล้วนแล้วแต่เป็นธรรมที่แตกแขนงออกมาจากอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ อริยสัจ ๔ นั่นเอง

อริยสัจ ๔ ความจริงแท้ ๔ ประการ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
จึงใช้ได้กับทุกสภาวะในโลก...ครับ
โดยต้องปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นการปฏิบัติทางจิต ครับ


ทุกข์

เพราะจิตเรากระสับกระส่ายไปตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
สมุทัย(เหตุแห่งทุกข์)
เพราะจิตออกไปยึดติดกับเรื่องราวต่างๆในโลก เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลก
นิโรธ(ความดับทุกข์)
จิตไม่ออกไปตามกระแสโลก
จิตไม่ยึดติดกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆในโลก
มรรค(ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์)
การปฏิบัติธรรมทำให้จิตมีพลัง ไม่กระสับกระส่ายไปตามกระแสโลก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 13:13:03 »



ทรงสอนกิจที่ควรทำในอริยสัจ ๔ คือ

ทุกข์ ควรกำหนดรู้ (ปริญเญยยะ)
สมุทัย ควรละ (ปหาตัพพะ)
นิโรธ ควรทำให้แจ้ง (สัจฉิกาตัพพะ)
มรรค ควรเจริญ (ภาเวตัพพะ)

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า

ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้
คือ ทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรไม่ได้
เพราะเป็นเรื่องในโลก เป็นเรื่องที่ต้องเป็นไปในโลก
(ข้าวของแพงขึ้นทุกวัน เศรษฐกิจฝืดเคือง)

ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละ

รู้แล้ว ละเสีย (ละเหตุแห่งทุกข์ --- ตัณหา ๓ คือ เหตุแห่งทุกข์)
เพราะความอยากได้ อยากมี อยากเป็น...ตามโลก ทำให้เกิดทุกข์
เมื่อรู้ว่าข้าวของแพงขึ้น เศรษฐกิจฝืดเคือง ก็ต้องไม่ใช้จ่ายในเรื่องที่ไม่จำเป็นทั้งหลาย

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ควรเจริญ

จึงต้องปฏิบัติอริยมรรค ๘ เพื่อให้จิตเกิดพลังละเหตุแห่งทุกข์ได้
ละความอยากได้ อยากมี อยากเป็น...ตามโลก
มีสติยั้งคิดก่อนการใช้จ่ายทุกครั้ง อะไรจำเป็น-ต้องใช้ อะไรไม่จำเป็น-ไม่ต้องใช้

ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง

เมื่อเจริญมรรค จิตจะมีพลังละเหตุแห่งทุกข์ได้
ละความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ตามโลกได้
ก็จะไม่ใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น ก็จะไม่ทุกข์ไปกับเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง...ครับ



Credit by : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=nulek&group=17
Pics by : Google

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 18:37:33 »

สาธุ ๆ ครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.361 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มีนาคม 2567 14:31:17