[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 09:27:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้าสิบชาติ  (อ่าน 2215 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1012


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.102 Chrome 50.0.2661.102


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 มิถุนายน 2559 11:07:36 »


พระเจ้าสิบชาติ



พระชาติที่ 1 : พระเตมีย์ใบ้

     ในครั้งก่อนนานมาแล้ว พระเจ้ากาสิกราชครองสมบัติในเมืองพาราณสี แต่พระองค์มีราชโอรสและธิดาไม่ ด้วยกลัวว่าจะไม่มีผู้สืบสกุล จึงให้นางจันทเทวีและนางสนมทำพิธีขอพระโอรส พระอัครมเหสีก็ทรงทำตาม จึงได้ทรงครรภ์เมื่อครบกำหนดแล้วก็ทรงประสูติออกมาเป็นราชกุมาร พระเจ้ากาสิกราชทรงดีพระทัยเป็นอันมาก  จัดให้การสมโภชและพระราชทานนางนมให้แก่พระราชกุมารและขนานนามว่า เตมีย์กุมาร เพราะในวันประสูตินั้นฝนได้ตกทั่วทั้งพระนครและเป็นเหตุให้พระทัยของพระองค์และราษฏร์ได้รับความแช่มชื่น เรื่องความกลัวว่าราชวงค์จะสูญสียก็เป็นอันหมดไปพระเจ้ากาสิกราชทรงโปรดปรานพระราชกุมารมาก บางครั้งถึงกับอุ้มออกไปทรงว่าราชการด้วย

วันหนึ่งขณะที่พระราชบิดาอุ้มออกไปทรงว่าราชการอยู่นั้น อำมาตย์ได้นำโจรมาให้ ทรงวินิฉัย 4 คนด้วยกัน พระราชาทรงสั่งให้ลงอาญาโจรเหล่านั้น..คนที่ 1 ให้เฆี่ยนด้วยหนามหวาย และอีกคนให้เอาหอกแทงทรมานให้เจ็บปวดแสนสาหัสคน 1 ให้เอาหลาวเสียบไว้ที้งเป็น..คน 1 ให้คุมขังไว้

พระราชกุมารได้ทรงเห็นเช่นนั้น ก็ระลึกความหลังครั้งไปอยู่นรก ก็คิดว่าพระราชบิดาของเราทำดังนี้น่ากลัวเหลือเกิน ตายไปตกนรกแน่นอน เราเองถ้าใหญ่ขึ้นมาก็ต้องครอบครองแผ่นดิน ก็ต้องทำอย่างพระราชบิดาแน่นอน ทำอย่างไรจึงจะพ้นไปจากการต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้ เทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาของพระราชกุมารในครั้งก่อนสิงอยู่ที่เศวตฉัตร..ได้แนะนำพระราชกุมารให้ปฏิปัติ 3 ประการคือ
     1. จงเป็นคนง่อย
     2. จงเป็นคนหูหนวก 
    3. จงเป็นใบ้ แล้วจะพ้นสิ่งเหล่านี้

นับตั้งแต่นั้นมา เตมีย์ก็เริ่มปฏิบัติไม่พูดไม่จาอะไรทั้งนั้นใครมาพูดก็ทำเป็นไม่ใด้ยิน เอาอุ้มไปวางไว้ที่ไหนก็นั้งอยู่อย่างนั้น ไม่ขยับเขยื้อนไปในที่ใด พระราชบิดาทรงสงสัยว่าแต่ก่อนพระราชกุมารก็เหมือนเด็กทั่วไปรื่นเริงโลดเต้น เจรจาเสียงแจ้วอยู่ตลอดเวลาทำไมกลับมาเงียบขรึมไม่พุดไม่จา ใครจะพูดอะไรก็ไม่ได้ยิน คงจะเกิดโรคภัยชนิดใดขึ้นแน่ จึงให้หมอตรวจ ก็มิได้พบว่าพระราชกุมารเป็นอะไร คงเป็นปกติทุกอย่าง ก็ทรงให้ทดลองหลายอย่างหลายประการ เป็นตันว่าให้อยู่ในที่สกปรก พระเตมีย์อดทนอยู่ได้ แม้จะหิวก็ไม่ทรงกันแสงแม้จะกลัวก็ไม่แสดงอาการอย่างไร เพราะเห็นว่าภัยในนรกร้ายแรงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงคงเฉยๆ ทำเอาพระราชบิดาสิ้นปัญญา

พวกอำมาตย์รับอาสาว่าจะทดลองดูก่อน ก็ทรงอนุญาติให้ ครั้งแรกเมื่อให้พระเตมีย์นั่งอยู่ในเรือนแล้วแกล้งจุดไฟเพื่อจะให้พระเตมีย์กลัว แต่หาได้ทำให้พระเตมีย์หวาดกลัวไม่คงเป็นปกติอยู่ ทดลองอย่างนี้ตั้งปีก็ไม่พบความผิดปกติอย่างไร ต่อไปก็ทดลองด้วยช้างตกมัน โดยนำพระราชกุมารไปประทับนั่งที่พระลานให้มีเด็กห้อมล้อมหมู่มาก แล้วให้ปล่อยช้างที่ฝึกแล้วเชือกหนึ่งวิ่งตรงเข้าไปจะเหยียบพระราชกุมาร เด็กที่ห้อมล้อมอยู่หวาดกลัวร้องไห้พากันวิ่งหนีกระจัดกระจายไป แต่พระเตมีย์ก็คงทำเป็นไม่รู้ชี้เช่นเดิม

ทดลองอย่างนี้สิ้นเวลาตั้งปีก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรขึ้นมา พระกุมารเคยเงียบไม่กระดุกกระดิกอย่างไรก็คงอย่างนั้นแม้ช้างจะจับพระกายขึ้นเพื่อจะฟาดก็ไม่ตกใจกลัวเพราะมุ่งหวังอย่างเดียวจะให้พ้นจากการเป็นพระเจ้าแผ่นดินให้ ต่อไปก็ทดลองด้วยงู ให้พระเตมีย์นั่งอยู่แล้วให้ปล่อยงูมารัด ธรรมดาเด็กย่อมจะกลัวงู อย่าว่าแต่เด็กเลยผู้ใหญ่ก็เถอะ แต่ก็ไม่ทำให้พระเตมีย์หวาดกลัวไปได้ คงนั่งเฉยทำเหมือนรูปปั้นเสีย เล่นเอาอำมาตย์เจ้าปัญญาสั่นหัว

ทดลองอย่างนี้อีกเป็นปีก็ไม่อาจจะจับพิรุธพระกุมารได้ ต่อไปให้ทดลองด้วยการให้พระเตมีย์นี่งอยู่ แล้วให้คนถือดาบวี่งมาจะทำอันตราย แต่พระกุมารทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ หูไม่ได้ยิน ปากก็ไม่มีเสียง กายไม่กระดิกกระเดี้ย ทดลองอย่างนี้อีกเป็นปีก็จับอะไรพระกุมารไม่ได้  ต่อไปก็ทดลองเสียง โดยให้พระเตมีย์นั่งอยู่พระองค์เดียว แล้วจู่ ๆ เสียงอึกทึกครึกโครมก็ดังขึ้นมาแต่พระเตมีย์คงทำไม่ได้ยินเช่นเคย การทดลองของอำมาตย์เป็นระยะทั้งสิ้น 7 ปี หลายปีที่ทำมาก็ไม่สามารถทำให้พระเตมีย์พูดออกมาได้ตั้งแต่ 9 ขวบ จนกระทั่ง 16 ขวบ พระเตมีย์ก็คงทำเช่นนั้น

เมื่อวัยแรกรุ่นย่อมจะชอบใจในกามารมณ์ จึงจัดให้ให้สาวน้อยๆ มาเล้าโลมประการใดๆ กอดรัดบ้าง ลูบโน่นบ้างลูบนี่บ้าง จนกระทั่งเปิดโน่นให้ดูบ้าง เปิดนี่ให้ดูบ้าง จะทำอย่างไรพระเตมีย์ก็คงทำเฉยไม่รู้ไม่ชี้ทองไม่รู้ร้อนตลอดกาล
 
ใครจะพูดอย่างไร จะทำอย่างไรพระเตมีย์ไม่ได้ยินทั้งนั้น ไม่ยอมเคลื่อนไหวไม่ร้องไห้เหมือนเด็กๆ ไม่อ้าปากส่งเสียงอะไรออกมา ผลที่สุดทั้งพระราชบิดาและอำมาตย์ลงความเห็นว่าพระกุมารคงเป็นคนกาลกิณีเสียแล้ว ขืนให้อยู่ต่อไปคงจะเกิดอันตรายขึ้นแก่พระองค์แก่สมบัติและแก่พระอัครมเหสี ควรจะออกไปทิ้งเสียที่ป่าช้าผีดิบนอกเมือง พระราชาก็เห็นด้วย จึงดำริจะให้เอาไปทิ้งเสีย แต่พระเทวีอัครมเหสีมาเฝ้ากราบทูลว่า "ขอเดชะ พระองค์ได้พระราชทานพรไว้แก่ข้าพระองค์บัดนี้หม่อมฉันจะทูลขอพรที่ได้ให้ไว้นั้น"

"พระเทวีเธอขออะไรก็ตรัสไปถ้าไม่หลือวิสัยแล้วจะให้"
"ข้าพระองค์ขอราชสมบัติให้พระเตมีย์"
"อะไรกันพระเทวีก็เจ้าเตมีย์เป็นคนใบ้ แล้วก็หูหนวกเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้อย่างไร"
"ก็พระเตมีย์เป็นอย่างนั้น หม่อมฉันจึงขอพระราชสมบัติ"
"ไม่ได้พระเทวีเลือกอย่างอื่นเถิด"
"หม่อมฉันขอเลือกให้พระเตมีย์ครองแผ่นดินแม้ไม่มากเพียง 7 ปีก็พอ"
"ไม่ได้พระเทวีจะเป็นความเดือดร้อนแก่คนอื่นมากมายนัก ลูกเราไม่มีความสามารถถ้าดีอยู่อย่าว่าแต่ 7 ปีเลย ตั้งใจอยู่แล้วว่าจะให้สมบัติตลอดไป"
"ขอสัก 1 ปีก็แล้วกัน"
"ไม่ได้พระเทวี"
"ถ้าอย่างนั้นขอ 7 วัน หม่อมฉันขอให้พระเตมีย์ได้เป็นสักหน่อยเถิด"

พระเจ้ากาสิกราชก็ยอมตกลง จึงได้ให้ตกแต่งร่างกายของพระเตมีย์ในเครื่องกษัตริย์ แล้วให้เสด็จเลียบพระนครประกาศให้ประชาชนพลเมืองทั่วไปทราบว่า บัดนี้พระเตมีย์ได้เป็นกษัตริย์แม้ใครๆ จะทำอย่างไรพระเตมีย์ยังคงเฉย ร่างกายไม่เคลื่อนไหวเป็นเหมือนหุ่น เขาวางไว้ตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ไม่พูดไม่จาอะไรทั้งสิ้น ใครจะทำอะไรก็ไม่ได้อยู่ในความสนใจของพระกุมารทั้งสิ้น พอครบ 7 วัน พระนางจันทเทวีก็ทรงพระกันแสงเพราะครบกำหนดที่สัญญาไว้กับพระราชาแล้ว พระราชาจึงมอบพระเตมีย์กุมารให้กับนายสุนันทสารถีเอาใส่รถไปฝังเสียที่ป่าช้าดิบภายนอกเมือง นายสุนันทก็เอาพระเตมีย์ใส่ท้ายรถขับออกจากตัวเมืองไปยังป่าช้าผีดิบ แต่หารู้ไม่ว่าทางที่จะไปนั้นม้นไม่ใช่ป่าช้าผีดิบแต่เป็นป่าอีกหนึ่งต่างหาก

ความผิดพลาดของนายสารถี นับตั้งแต่เริ่มเทียมรถม้าแล้วคือ แทนที่จะเอารถสำหรับใส่ศพ กลับเอารถมงคลมาเทียมแทนและเมื่อรับพระเตมีย์แล้วก็คิดว่าจะขับไปป่าช้าผีดิบซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกจึงเป็นอันว่านายสารถีผิดพลาดตลอดมา แต่การผิดพลาดนี้เป็นผลดีของพระเตมีย์ เมื่อถึงป่านอกเมือง ซึ่งนายสุนันทคิดว่าเป็นป่าช้าผีดิบ เขาก็หยุดรถหยิบจอบเสียมลงไปเพื่อจะขุดหลุมฝังพระกุมารเสีย หูของเขายังแว่วพระดำรัสของพระราชาที่ว่า "ลูกข้าคนนี้ เป็นกาลกิณีเองจงเอาไปป่าช้าแล้วขุดหลุมสี่เหลียมให้ลึก แล้วเอาจอบทุบหัวมันเสียก่อนแล้วค่อยฝังมันทีหลัง ช่วยมันหน่อยนะอย่าให้ฝังมันต้องถูกฝังทั้งเป็นเลย"

ในขณะที่นายสารถีกำลังขุดหลุมอยู่ไมไกลจากรถนี้นเอง พระเตมีย์ก็คิดว่าร่างกายของเราไมได้เคลื่อนไหวมาตั้ง 16 ปี จะเป็นอย่างไรบ้างก็ไม่รู้ ก็ทรงกายลุกขึ้นลงมาจากรถทดลองเดินไปมาอยู่ข้างรถ

"ไม่เป็นอะไร มือเท้าไม่ได้เป็นง่อยเปลี้ยเสียแต่อย่างใด แต่กำลังเล่าจะเป็นไฉน"


คิดแล้วก็จับเอางอนรถยกขึ้น เป็นความมหัศจรรย์ พระเตมีย์ยกรถขึ้นกวัดแกว่งได้เหมือนยกเอารถตุ๊กตาเบาแสนเบาแล้วกลับวางอย่างเดิม แลเห็นนายสารถีก้มหน้าก้มตาขุดหลุมอยู่โดยไม่ทราบว่าพระองค์ได้ทำอย่างไรบ้าง จึงเดินเข้าไปยืนอยู่ใกล้ก็ไม่รู้แต่ก็ตกใจเมื่อได้ยินเสียง

"สารถีท่านขุดหลุมสี่เหลียมทำไมกัน" 

เขาเหลียวหน้ามามองแต่ก็จำไม่ได้ว่าเป็นพระกุมารที่ตนนำมาคิดเสียว่าเป็นคนเดินทางผ่านมาเห็นตนกำลังขุดหลุมอยู่ก็แวะเจ้ามาสอบถามดู

"ขุดหลุมฝังคน" เขาตอบสั้น
"ฝังใครกันล่ะ?"   
"ฝังลูกพระเจ้าแผ่นดิน" 
"ฝังทำไมกันล่ะ?"
"เรื่องมันยืดยาวท่านอยากจะรู้ไปทำไม" 
"ก็อยากจะรู้บ้างว่าคนๆ นั้นเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดินจะมาถูกฝังเพราะโทษอะไร" นายสารถีก็ชี้แจงว่า 
"ไม่มีโทษอะไรหรอก แต่พระราชกุมารเป็นคนกาลกิณีขืนปล่อยไว้นานไปความอุบาทว์ ทั้งหลายก็จะเกิดแก่ราชสมบัติ พระเตมีย์จึงแสร้งตรัสถามต่อไปว่า
"คนกาลกิณีน่ะเป็นอย่างไร"
"ก็เป็นคนไม่ดีน่ะสิ" นายสารถีเริ่มฉุน 
"ไม่ดีอย่างไร"   
"เอ ท่านนี่ควรจะไปเป็นศาลตุลาการ แทนที่จะเป็นคนเดินทางเพราะแก่ชักเสียจริง"

พระกุมารก็ไม่ขุ่นเคือง คงมีพระดำรัสเรียบๆ ถามต่อไป
"ข้าพเจ้าอยากรู้จริงๆ ก็เลยรบกวนท่านหน่อย"
"เอ๊าอย่างนั้นคอยฟัง คือว่าพระโอรสของเจ้านายข้าพเจ้าคนนี้ เกิดมามีลักษณะสวยงามน่าเอ็นดูอยู่หรอก แต่เสียอย่างเดียวภายหลังมาเกิดไม่พูดไม่จาแขนขาไม่ยกไม่ก้าว เสียเฉยๆ ยังงั้นเเหละใครจะพูดอะไร หูก็แถมหนวกเสียด้วยเลยเป็นอันว่าเหมือนตุ๊กตาตัวโตๆ ที่เขาตั้งไว้"
"แล้วอะไรอีกล่ะ"
"ก็ไม่ยังไงหรอกพระเจ้าแผ่นดินรอมาถึง 16 ปี ก็ไม่เห็นดีขึ้น เลยตัดสินให้ข้าพเจ้าเอามาฝังเสียหลุมที่ขุดนี่แหละที่จะฝังพระราชกุมาร ท่านเข้าใจหรือยัง"
"ท่านรู้ไหมว่าเราเป็นใคร" จึงมองอย่างพินิจพิจารณา แต่เขาก็จำไม่ได้เพราะผู้ที่เขาเห็นอยู่ตรงหน้าบัดนี้ไม่ใช่พระกุมารผู้เป็นง่อยเปลี้ยเสียแข้งขาเสียแล้ว แม้ว่าหน้าตาจะคล้ายคลึงกับพระกุมารแต่เขาก็ไม่แน่ใจนักจึงทำอ้ำอึ้งอยู่

เมื่อเห็นสารถีมองดูด้วยความสงสัยจึงประกาศตนว่า
"สารถี เราคือเตมีย์กุมารที่ท่านจะนำมาฝัง ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่าเป็นคนกาลกิณีหรือเปล่า ดูสิเราเป็นง่อยหรือเปล่า"

นายสารถีได้แต่มองอย่างสงสัย แล้วเอ่ยขึ้นรำพึงกับตัวว่า
"เอ พระกุมารก็ไม่น่าเป็นไปได้ จะว่าไม่ใช่ก็กระไรอยู่"
"เราคือเตมีย์กุมาร โอรสของพระเจ้ากาสิกราชที่ท่านอาศัยเลี้ยงชีพด้วยการเป็นราชบริพารอยู่บัดนี้ อย่าสงสัยเลยท่านขุดหลุมฝังเราน่ะเป็นเรื่องไม่เป็นธรรมเลย"
"ทำไมไม่เป็นธรรม?"
"ท่านมองดูสิว่าเราเป็นคนกาลกิณีหรือเปล่า ท่านได้รับคำสั่งให้ฝังคนกาลกิณีต่างหาก"
"จริงสินะ" สารถีคิดแต่เขาก็อ้ำอึ้งอยู่ไม่รู้จะกล่าวออกว่ากระไรอีก ที่เขาจะนำไปฝังนั้นเอง เขาจึงก้มกราบที่เท้าของพระเตมีย์
"โอ้ ข้าพระบาทเป็นคนโง่เขลา ทั้งนายของตนเองก็จำไม่ได้ เหมือนปาฏิหาริย์ บันดาลให้เกิดไม่น่าเชื่อ"
"ทำไมไม่เชื่อ"
"เพราะพระองค์ไม่เคลื่อนไหวร่างกายตั้งสิบกว่าปีอวัยวะควรจะใช้ไม่ได้ ควรจะเหี่ยวแห้งไป แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่นับว่าเป็นความประหลาดมากทีเดียว"
"เมื่อท่านเห็นเราเป็นอย่างนี้แล้ว ท่านยังจะคิดฝังเราอีกหรือเปล่า"
"ไม่พะย่ะค่ะ ข้าพระบาทเลิกคิดจะทำร้ายพระองค์แล้ว ข้าพระพระองค์เข้าไปเฝ้าพระราชบิดามารดาเพื่อจะได้ครองราชสมบัติต่อไป"
"เราไม่คิดจะกลับไปสู่สถานเช่นนั้นอีก เพราะที่นั้นเป็นเหตุให้กระทำความชั่ว ซึ่งต่อไปจะทำให้บังเกิดในนรกอย่างไม่รู้จะผุดจะเกิดเมื่อไหร่?"

แต่นายสารถีก็ยังแสดงความดีใจ
"ถ้าข้าพระองค์นำพระองค์กลับเข้าไปได้ใครๆ ก็ต้องแสดงความยินดีกับพระองค์ และข้าพระองค์ก็จะได้เงินทองทรัพย์สมบัติผ้าผ่อนและแพรพรรณต่างๆ จากคนเหล่านี้ เป็นต้นว่า พระราชบิดามารดาของพระองค์ก็ทรงยินดี ข้าพระองค์อาจจะได้ยศศักดิ์ บริวารและอะไรต่างๆ ตามความปรารถนาเพราะใคร ๆ แสดงความสามารถที่จะให้พระองค์ไม่กลายเป็นคนง่อยเปลี้ยเสียขาเป็นคนหูหนวกเป็นใบ้มาตั้งสิบกว่าปีก็ไม่สำเร็จ แต่ข้าพระองค์กลับทำได้ เป็นความดีใจที่เหนือความดีใจทั้งหมดที่เคยมี ข้าพระองค์กำลังจะรับความสุข ไม่ต้องลำบากเช่นเดี๋ยวนี้"

"ท่านอย่าเพิ่งดีใจไปก่อนเราจะว่าให้ฟังเราเป็นคนไม่มีญาติขาดมิตร เป็นคนกำพร้า เป็นคนกาลกิณีจนเขาต้องให้ท่านเอาเราไปฝังเสียยังป่าช้าผีดิบ ท่านนำเรากลับไปก็ไม่ดีท่านนั้นเเหละอาจจะกลายเป็นคนกาลกิณีไปก็ได้เพระใครๆ เขาก็เข้าใจอย่างนั้นแล้วท่านจะฝืนความนึกคิดคนอื่นได้อย่างไร เราสละแล้วด้วยประการทั้งปวง บ้านเรือนแว่นแคว้นเราไม่มี เราจะบำเพ็ญพรตรักษาศีลอยู่ในป่านี้โดยไม่กลับไปอีกแล้ว"

"พระองค์น่าจะตรัสกับพระราชบิดามารดาเสียก่อน"

"ไม่ล่ะ เราความเพียรเพื่อจะออกจากเมืองเป็นจำนวนถึง 10 กว่าปี ความตั้งใจของเราจะสำเร็จแล้ว เราจะไม่เข้าไปสู่สถานที่ทำกรรมอีกล่ะ ถ้าเราเป็นพระเจ้าแผ่นดินอาจจะอยู่ไปได้หลายสิบปี แต่เราจะต้องทำกรรมแล้วไปตกอยู่ในนรกตั้งหมื่นปี ท่านลองคิดดูว่าพระเจ้าแผ่นดินจะต้องสั่งให้เขาเฆี่ยนตี ฆ่าคนนี้ ทำทรมานคนโน้น ริบทรัพย์คนนั้นริบทรัพย์คนโน้นวันละเท่าไร ปีละเท่าไร แล้วผลของการกระทำความชั่วนั้นจะไม่ย้อนกลับมาให้ผลเราบ้างหรือ"

นายสารถีอดที่จะค้านไม่ได้
"พระเจ้าแผ่นดินจะทรงทำอย่างนั้น ว่าโดยทางโลกยินยอมว่าเป็นความถูกต้อง เขาให้อำนาจที่จะกระทำ แต่ท่านต้องไม่ลืมนะว่าจะทำอย่างไรก็ไม่ผิดจากทางโลก แต่ทางธรรมไม่เคยยกเว้นให้ใคร ทางธรรมมีอยู่ว่าทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ผลของการทำดีนำไปสู่สวรรค์ ผลของการทำชั่วนำไปสู่นรก"

นายสารถีจึงกราบทูลว่า
"ข้าพระองค์เป็นคนเขลา ยังคิดเป็นความสุขสบายแต่เมื่อพระองค์ดำรัสก็เห็นได้จริงคงอย่างนั้น ทุกคนต้องรักขีวิตร่างกายของตนทั้งนั้น เมื่อใดใครมาทำอันตรายก็เป็นธรรมดาต้องไม่ชอบ เมื่อพระองค์เห็นว่าโลกยุ่งมากนักจะบวช ข้าพระองค์ก็จะบวชเหมือนกัน" พระกุมารดำริว่า

"หากให้นายสารถีบวชเสีย ม้ารถก็เสียหาย และพระราชบิดามารดาคงได้รับความโทมนัสที่จะเอาฝังเสีย ถ้าให้ท่านกลับคืนไปเมืองก็จะทำให้พระองค์เสด็จมาดูเรา ได้รับความโสมนัส และบางทีพระราชบิดาจะกลับใจประพฤติชอบขึ้นมาบ้าง" จึงตรัสว่า

"เธอกลับไปส่งข่าวแก่พระราชบิดามารดาก่อนเถิดแล้วค่อยมาบวชทีหลัง เพราะบวชด้วยความเป็นหนี้ไม่ดีเลย"

นายสารถียินดีจะกลับไปทูลพระเจ้าแผ่นดิน แต่เกรงว่าเมื่อตนไปกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินแล้ว เมื่อเสด็จมาดูไม่พบพระกุมารก็เลยกลายเป็นว่าตนโกหก อาจจะถูกลงพระอาญาได้ จึงทูลขอพระกุมารไว้อย่าได้เสด็จไปที่อื่น ซึ่งพระกุมารก็รับคำนายสารถีถึงได้กลับไป

พระนางจันทรเทวี นับตั้งแต่นายสารถีเอาพระราชกุมารไปแล้วพระองค์ก็คอยเฝ้ามองอยู่ว่าเมื่อไรนายสารถีจะกลับมา จะได้ทราบเรื่องพระโอรสที่รักบ้าง

เมื่อเห็นนายสารถีกลับมาคนเดียวก็แน่พระทัยว่าพระราชโอรสของพระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว น้ำพระเนตรก็ไหลอาบพระปรางด้วยความโทมนัส ตรัสถามนายสารถีว่า

"พ่อสารถี ที่เอาโอรสของเราไปฝังนั้น พ่อได้รับคำสั่งเสียจากโอรสของเราอย่างไรบ้าง และโอรสของเราได้ทำอย่างไร"
"ขอเดชะพระแม่เจ้า ข้าพระบาทจะเล่าเหตุการณ์ที่เกิดกับพระราชกุมารให้ฟังตั้งแต่ต้นจนปลาย"

แล้วเขาก็เล่าตั้งเเต่นำเอาพระโอรสอออกไปขุดหลุมจะฝังพระโอรสก็กลับกลายหายจากง่อยเปลี้ยเสียขา เจรจาได้ทรงพลกำลังยกรถที่ขี่ออกไปกวัดแกว่ง จนกระทั่งตนได้ทราบความจริงว่าทำไมพระกุมารจึงได้ทำอย่างนั้น แล้วเขาก็ลงท้ายว่า "ขอเดชะ บัดนี้พระองค์ทรงผนวชอยู่ในราวเบื้องป่าบูรพาทิศเมืองนี้พระเจ้าข้า"

เท่านั้นเองพระนางก็ลิงโลดพระทัยตรัสออกมาว่า  "โอพ่อเตมีย์ของแม่ไม่ตายดอกหรือ เออ? ดีใจ ดีใจจริงๆ" สองพระกรก็ทาบพระอุระ ข่มความตื้นตันไว้ในพระทัย ถึงพระกาสิกราชก็ดีพระทัยเช่นกัน

การที่พระองค์ให้เอาพระเตมีตย์ไปฝังเสียนั้น ใช่ว่าพระองค์จะชิงชังหรือรังเกลียดก็หามิได้ แท้ที่จริงเพราะพระองค์กลัวอันตรายจะเกิดกับพระราชวงศ์ ตลอดจนพระมเหสีที่รักต่างหาก และนายสารถีก็ได้กราบทูลว่า "พระราชกุมารทรงพระสรีระโฉมงามสง่าเหลือเกินมีสุรเสียงไพเราะตรัสออกมาน่าฟัง เหตุที่เป็นดังนั้นเพราะพระกุมารตรัสเล่าให้ฟังว่า ทรงระลึกชาติได้ได้ว่าครั้งชาติก่อนพระองค์เคยเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้ทำกรรมมีการจับกุมขังเฆี่ยนฆ่านักโทษมีประการต่างๆ ครั้นพระองค์สวรรณคตแล้วได้ไปบังเกิดในนรกเป็นเวลานาน เหมือนคนที่ถูกงูกัด มองเห็นสิ่งอะไรคล้ายกับงูก็ย่อมจะกลัวไปหมด ฉะนั้นข้าพระองค์เองยังอยากจะบวชอยู่ในป่านั้นด้วย แต่พระกุมารไม่ยอมให้ข้าพระองค์บวช บอกให้ข้าพระองค์กลับมาทูลเรื่องราวให้พระองค์ทั้งสองทราบเสียก่อน แล้วจึงค่อยไปบวชภายหลัง ข้าพระองค์จึงได้รีบกลับมากลาบทูลให้ทราบ หากพระองค์อยากจะเสด็จไปสถานที่นั้น ข้าพระองค์จักนำไปเอง”

พระเจ้ากาสิกราชมีพระดำรัสให้เตรียมพโยธาเพื่อจะเสด็จไปเฝ้าพระเตมีย์กุมารซึ่งบวชบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าด้านปราจีนทิศของเมือง แต่การเข้าไปนี้พระราชาเป็นผู้เสด็จเข้าไปก่อนเพื่อสอบถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน พระเทวีจึงเสด็จเข้าไป เมื่อเห็นพระโอรสเสด็จประทับนั่งอยู่ ด้วยความปลื้มปีติพระนางตรงเข้าไปกอดพระบาทของพระโอรส ทรงกันแสงสะอึกสะอึ่นแล้วถอยออกมา "พ่อเตมีย์บริโภคแต่ใบไม้พลไม้ในป่า ทำไมจึงมีร่างกายสดใส"

พระราชาจึงถามพระเตมีย์ว่า เตมีย์กุมารจึงทูลตอบว่า “ขอเดชะการที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุว่าสละความห่วงใยไม่ให้มาเกาะเกี่ยวจิตใจ อะไรที่ล่วงมาแล้วก็ไม่คิดเศร้าโศกไม่คิดอยากได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง พยายามรักษาจิตใจในสิ่งที่เป็นปัจจุปันเท่านั้น จึงทำให้ผิวพรรณของหม่อมฉันไม่เศร้าหมอง”

“เมื่อพ่อไม่เป็นกาลกิณีแล้ว พ่อก็ควรจะกลับไปครองราชสมบัติเพื่อประโยชย์แก่ชนหมู่มากเถิด บัดนี้ก็เอาเบญจราชกกุธภัณฑ์มาด้วยแล้ว และเมื่อกลับไปถึงบ้านเมืองแล้วจะได้ ไปสู่ขอลูกกษัตริย์อื่นให้มาเป็นอัครมเหสี พระกูลวงศ์ของเราก็ไม่เสียไป”

เตมีย์กลับกล่าวตัดบทว่า การบวชควรจะบวชเมื่อยังหนุ่มเพราะสังขารร่างกายของเราตกอยู่ในคติของธรรมดา เกิดแล้วก็เจ็บตายไปตามสภาพรู้ไม่ได้ว่าเราจะตายเมื่อใด

พระราชบิดาก็คงเห็น บางคนลูกตายก่อนพ่อแม่ น้องตายก่อนพี่ เหล่านี้แล้วจะมัวประมาทอยู่ได้อย่างไร โลกถูกครอบงำอยู่ด้วยมฤตยู พระองค์ลองคิดดูช่างหูกเขาจะทอผ้าสักผืนหนึ่ง ทอไปทอไปข้างหน้าก็น้อยเข้าฉันใด ชีวิตของคนเราก็เช่นนั้นพระองค์อย่ามัวประมาทอยู่เลย”

พระราชาได้สดับแล้วก็คิดจะบวชบ้าง แต่ก็คิดจะลองใจเตมีย์กุมารดูอีก ก็ตรัสชวนในราชสมบัติและยกเอากามคุณต่างๆ มาล่อ แต่พระเตมีย์ก็คงยืนยันเช่นนั้นพร้อมกับอธิบายถึงผลภัยของราชสมบัติมีประการต่างๆ ตนพระราชาตกลงพระทัยจะผนวช จึงให้เอากลองไปตีป่าวประกาศว่าใครอยากบวชในพระราชสำนักพระเตมีย์ก็จงบวชเถิด และมิใช่แต่เท่านั้น ยังจารึกแผ่นทองคำไปติดไว้ที่เสาท้องพระโรงว่าใครต้องการทรัพย์สมบัติใดๆ ในคลังหลวงจงมาเอาไปเถิด พร้อมกันนั้นก็ให้เปิดพระคลังทั้งสิบสองพระคลังเพื่อจะให้คนที่ปราถนาจะได้ขนเอา ประชาชนราษฎรพากันแตกตื่นไปบวชในพระราชสำนักพระเตมีย์ บ้านเรือนก็เปิดที้งไว้โดยไม่สนใจ ที่บริเวณสามโยชน์เต็มไปด้วยดาบสและดาสินี บรรดารถและช้างม้าที่พระราชานำมาแต่เมืองก็ปล่อยให้ผุพัง ช้างม้าก็กลายเป็นม้าป่าช้างป่าเกลื่อนไปในป่านั้น

พระราชาที่อยู่ใกล้เคียงได้ทราบว่ากรุงพาราณสีไม่มีผู้คุ้มครองรักษา ก็ยกพหลโยธาหมายจะยึดครองเอาไว้ในอำนาจ เมื่อมาถึงได้เห็นประกาศที่พระกาสิกราชติดไว้ ก็ทำให้เกิดสงสัยว่าทำไมคนเหล่านี้จึงทิ้งสมบัติทั้งปวงเสีย ออกไปบวชอยู่ในป่าได้ บ้านเรือนราฎรก็ทิ้งไว้ ประตูเมืองก็หาคนปิดมิได้ แต่ทรัพย์สมบัติยังคงอยู่ทุกอย่าง เลยยกพหลโยธาตามออกในป่า พบพระราชาและพลเมืองบวชเป็นฤษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่านั้น และเมื่อได้สดับธรรมะที่พระเตมีย์ให้โอวาทเข้าอีกเลยทำให้คิดจะหลีกเร้นออกหาความสุข พากันสละช้างม้าตลอดจนเครื่องอาวุธ บวชอยู่ในสำนักพระเตมีย์ ในบริเวณป่าดาษดาไปด้วยรถที่ผุพังทรุดโทรม สัตว์ป่าวิ่งกันไปในป่าเกลื่อนไปหมดล้วนแต่เชื่องๆ รวมอยู่ใกล้ๆ กับบรรดาฤษีเหล่านั้นก็บำเพ็ญฌานสมาบัติ ตายไปได้บังเกิดในเทวโลก 


คติเรื่องนี้ที่ควรจะได้ คือการตั้งใจแน่วแน่
อยากจะได้สิ่งอันใดสมดังความตั้งใจอันนั้น
ก็พยายามจนสำเร็จและได้เห็นความ อดทน
อดกลั้นของพระเตมีย์ ซึ่งต้องทำ เป็นคนง่อย
คนใบ้ คนหูหนวกสารพัดเป็นเวลาตั้ง 10 กว่าปี
หากเราจะตั้งใจแล้วพยายามทำก็จะต้องสำเร็จจนได้
ในวันหนึ่ง เรื่องพระเตมีย์ก็จบลงด้วยความสำเร็จทุกประการฉะนี้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1012


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2559 09:55:20 »


พระเจ้าสิบชาติ



พระชาติที่ 2 : พระมหาชนก

ในอดีตที่ล่วงมาแล้ว มีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งนามว่า มหาชนก เสวยราชสมบัติในเมืองมิถิลา ท้าวเธอมีโอรสสองพระองค์ องค์หนึ่งนามว่า อริฎฐชนก อีกองค์หนึ่งมีนามว่าโปลชนก พระองค์ได้ทรงตั้งอริฎฐชนกในตำเเหน่งอุปราช และโปลชนกในตำเเหน่งเสนาบดี ต่อมาเมื่อท้าวเธอสวรรคตแล้ว อุปราชก็ได้ขึ้นครองแผ่นดินเสวยราชสมบัติแทน และได้แต่งตั้งเจ้าโปลชนกผู้เป็นน้องให้เป็นอุปราช ในขณะเมื่อเจ้าอริฎฐชนกเป็นอุราชอยู่นั้นก็รู้สึกว่าเป็นคนยุติธรรมดีอยู่ แต่เมื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้วหูเบา ฟังแต่ถ้อยคำคนประจบสอพลอ เพราะตามธรรมดาคนประจบสอพลอนั้น จะต้องหาเรื่องฟ้องคนนั้นคนนี้อยู่เสมอ เพราะคนไม่ทำงานแต่ก็อยากได้ความชอบ และการได้ความชอบโดยไม่ต้องทำงานวิธีง่ายที่สุดคือเหยียบย่ำผู้อื่นให้ตกแล้วตนจะได้แทนตำแหน่งนั้น

ตามธรรมดาของโลกย่อมจะมีเช่นนี้ตลอดกาล ผู้ทรงอำนาจกับความหูเบามักจะเป็นของคู่กัน ถ้าใครได้อ่านพงศาวดารจีนหรือแม้แต่ประวัติศาตร์ของไทยจะเห็นความหูเบามักจะทำไห้บ้านเมืองต้องพินาศ เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน  

เจ้าอุปราชโปลชนกถูกกล่าวหาจากผู้ใกล้ชิดของพระเจ้ากรุงมิถิลาว่าจะทำการกบฎ เพราะเจ้าอุปราชทรงอำนาจในทางการเมืองมาก ครั้งแรกก็ยังไม่ยอมเชื่อ ครั้งที่สองก็ชักลังเล พอครั้งมี่สามก็ทรงเชื่อเอาเลย ลืมคิดว่าผู้เป็นน้องของพระองค์ที่คลานตามกันออกมาแท้ๆ ลักษณะเช่นนี้เข้าหลักที่ว่า

“อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลักไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว”

แม้ความรักระหว่างพี่กับน้องก็ตัดได้ ถึงกับสั่งให้จับพระมหาอุปราชไปคุมขังไว้ยังที่แห่งหนึ่ง โดยหาความผิดมิได้มีคนควบคุมอยู่อย่างแข็งแรง เจ้าอุปราชถูกควบคุมโดยหาความผิดมิได้ก็คิดจะหลบหนีออกไป จึงตั้งสัตย์อธิษฐานว่า

“ขอเดชะพระเสื้อเมืองทรงเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายตัวข้าพเจ้ามิได้คิดทรยศต่อที่ชายเลย แต่กลับถูกจับคุมขังทำโทษหาความผิดมิได้ ถ้าใจของข้าพเจ้าซื่อสัตย์ต่อพี่ชายจริงแล้ว ขอให้โซ่ตรวนขื่อคาตลอดจนประตูคุก จงเปิดให้ประจักษ์เถิด”

พอสิ้นคำอธิษฐานเท่านั้นด้วยความสัตย์สุจริตของมหาอุปราช บรรรดาเครื่องจองจำทั้งหลายก็หลุดออกจากกายของพระองค์ประตูเรือนจำก็เปิด มหาอุปราชก็เลยหนีออกจากที่นั้นไปซุ่มซ่อนอยู่ตามชายแดน

พวกพลเมืองได้ทราบข่าวอุปราชหนีออกมาและเห็นว่าพระเจ้าแผ่นดินเชื่อถือแต่คำสอพลอถึงกับกำจัดน้องในไส้จึงพากันเห็นใจเจ้าอุปราชๆ ก็ไพล่พลมากขึ้น ตอนนี้พระเจ้าแผ่นดินไม่กล้าส่งคนออกติดตามแล้ว เพราะกลัวจะเกิดศึกกลางเมืองขึ้น เพราะทราบดีว่าถ้าส่งคนออกไปจับเจ้าอุปราชก็คงจะต้องสู้จึงเลยทำเป็นใจดีไม่ติดตาม

เจ้าอุปราชรวบรวมไพล่พลได้พอสมควรแล้วก็คิดว่า “ครั้งก่อนเราซื่อสัตย์ต่อพี่ชาย แต่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎถูกจับคุมขัง จนต้องทำสัตยาอธิษธานจึงหลุดพ้นออกมาได้ ต่อไปนี้เราจะต้องทำความชั่วตอบแทนพี่ชายบ้างล่ะ”

เมื่อตัดสินใจเช่นนี้แล้ว เจ้าโปลชนกก็รวบรวมไพล่พลเสบียงอาหาร พร้อมแล้วก็ยกกองทัพเข้ามายังมิถิลานคร บรรดาหัวเมืองรายทางรู้ว่าเป็นกอง ทัพของพระเจ้าโปลชนกก็ไม่สู้กลับเข้าด้วยเสียอีก เจ้าโปลชนกก็เลยได้คนมากขึ้นอีก ทัพก็ยกมาได้โดยเร็วเพราะหาคนต้านทานมิได้ ตราบจนกระทั่งถึงชานพระนครจึงมีสาส์นส่งเข้าท้ารบว่า “พระเจ้าพี่ ครั้งก่อนหม่อมฉันไม่เคยจะคิดประทุษร้ายพระเจ้าพี่เลย แต่หม่อมฉันก็ต้องถูกจองจำทำโทษที่พระเจ้าพี่เชื่อแต่คำสอพลอ บัดนี้หม่อมฉันจะประทุษร้ายพระเจ้าพี่บ้างล่ะ ถ้าจะไม่ให้เกิดสงคราม ขอให้พระเจ้าพี่มอบราชสมบัติให้หม่อมฉันเสียโดยดี ถ้าไม่ให้ก็จงเร่งเตรียมตัวออกมาชนช้างกับหม่อมฉันในวันรุ่งขึ้น

พระเจ้าอริฎฐชนก พอมาถึงตอนนี้ก็ต้องตกกระไดพลอยโจน จึงคิดจะยกพลออกไปต่อสู้กัน แต่ในขณะนี้นพระอัครมเหสีทรงพระครรภ์อยู่ พระเจ้าอริฎฐชนกจึงตรัสเรียกมาสั่งว่า “น้องหญิง ขึ้นชื่อว่าสงครามแล้วไม่ดีเลย เพราะมีแต่ความพินาศเท่านั้น ประดุจสาดน้ำรด กันก็ย่อมจะเปียกปอนไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย

อีกประการหนึ่งเป็นเรื่องที่คาดหมายลงไปแล้วแน่นอนว่าจะชนะฝ่ายเดียวนั้นก็ไม่ได้ พี่จะยกพลออกไปสู้กับเจ้าโปลชนก หากพี่เป็นอะไรไป เจ้าจงพยายามรักษาครรภ์ให้จงดีเจ้าจงคิดถึงลูกของเราให้มาก” แล้วก็ยกพลออกไป และก็เป็นตามลางสังหรณ์ที่พระเจ้าอริฎฐชนกคาดว่าจะแพ้ก็แพ้จริงๆ เพราะเมื่อได้ชนช้างกับเจ้าโปลชนกก็พลาดพลั้งเสียที ถูกเจ้าโปลชนกฟันสิ้นพระชนม์กับคอช้าง ไพล่พลก็แตกกระจัดกระจายพ่ายหนีอย่างไม่เป็นกระบวน

พระเทวีได้ทราบข่าวว่าพระสวามีสิ้นพระชนม์ และประชาชนพลเมืองแตกตื่นอุ้มลูกจูงหลานหนีข้าศึก พระนางก็เก็บของมีค่าใส่ลงใน กระเช้า เอาผ้าเก่าๆ ปิดแล้วแอาข้าวสารใส่ข้างบน แล้วแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าเก่าๆ ร้องไห้ฟูมฟายหลบหนีปะปนไปกับประชาชนพลเมือง โดยไม่รู้ว่าใครเป็นใคร “จะหนีไปทางใดจึงจะรอดพ้นจากข้าศึก” พระนางคิดอยู่แต่ในใจ แล้วระลึกขึ้นได้ว่า “เมืองกาลจัมปาอยู่ทางทิศเหนือกับมิถิลา ถ้าหากหลบหนีไปเมืองนี้ได้ก็ปลอดภัย” จึงพยายามดั้นด้นไปจนออกประตูด้านเหนือของเมืองได้

ด้วยบุญญาธิการของทารกในครรภ์บันดาลให้ร้อนไปถึงพระอินทร์ เข้าลักษณะที่ว่า “ทิพย์อาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมา กระด้างดังศิลาประหลาดใจ จะมีเหตุมั่นแม่นในแดนดิน" อมรินทร์เร่งคิดสงสัย จึงสอดส่องทิพย์เนตรดูเหตุภัย ก็ได้ทราบว่าพระโพธิสัตว์ซึ่งอยู่ในครรภ์ของพระนางจะได้รับทุกข์ พระนางจะไปเมืองกาลจัมปาแต่ก็ไม่รู้จักหนทาง เดี๋ยวนี้ไปนั่งถามทางผู้คนที่ผ่านไปมาอยู่ ณ ศาลาพักคนเดินทางจำจะต้องอนุเคราะห์ ถ้าไม่อนุเคราะห์หัวเราจะต้องแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง เออ.? คิดดูก็น่าหนักใจแทนพระอินทร์เสียจริง ไม่ว่าคนมีบุญจะตกทุกข์ได้ยากอย่างไร เป็นต้องเดือดร้อนไปกับเขาด้วยเสมอ เวลาเขาเสวยสุขสิไม่ เคยคิดถึงพระอินทร์เลย จึงเนรมิตตนเป็นคนชรา ขับเกวียนผ่านมาทางนั้น พระนางพอเหลือบแลเห็นก็ออกปากถามทันที

“ตาจ๋า หลานอยากจะรู้ว่าเมืองกาลจัมปาอยู่ทางไหน”
“แม่หนูจะไปไหนล่ะ”
“ฉันจะไปเมืองกาลจัมปา”
“ญาติฉันมีอยู่ทางเมืองนั้น สามีออกไปรบข้าศึกก็ตายเสีย ฉันก็เลยจะพึ่งพาอาศัยญาติอยู่”
“ถ้าอย่างนั้นดีทีเดียว ตาก็จะไปเมืองกาลจัมปาเหมือนกันแม่หนูมาขึ้นเกวียนเถิด” เหมือนเทวดามาโปรด และแท้ที่จริงก็เทวดามาโปรดจริงๆ

เมื่อขึ้นเกวียนเพราะความเหนื่อยและเพลียในการที่ระหกระเหิน พระนางก็เอนกายลงพักผ่อนและก็เลยหลับไป นางตื่นขึ้นในตอนเย็น ก็พบว่านางได้ถึงเมืองแห่งหนึ่ง จึงถามตาคนขับเกวียนว่า
"ตาจ๋า เมืองที่เห็นอยู่ข้างหน้านั้นเขาเรียกว่าเมืองอะไร”
“เมืองกาลจัมปาที่แม่หนูต้องการจะมานั้นเเหละ”  
“โอ.? ตา เขาว่าเมืองกาลจัมปาไกลตั้ง 60 โยชน์ทำไมถึงเร็วนัก”
“แม่หนูไม่รู้ดอก ตาเป็นคนเดินทางผ่านไปมาเสมอ ย่อมจะรู้จักทางอ้อม นี่ตามาทางลัดจึงเร็วนัก” เทวดาว่าเข้านั้น

บ้านอยู่ทางเหนือจะต้องรีบไปให้พระนางลงเสียตรงนี้ พระนางจึงลงจากเกวียนไปพักอยู่ที่ศาลาหน้าเมือง คิดไม่ตกว่าจะไปทางไหนดี เพราะเมืองนี้นางไม่รู้จักใครเลย

ในขณะนั้นอาจารย์ผู้ใหญ่ผู้หนึ่งพาลูกศิษย์เดินทาง ผ่านมาทางนั้น เห็นนางนั่งอยู่ในศาลาหน้าตาน่าเอ็นดูเกิดความสงสารเข้าสอบถามได้ความว่า นางหนีภัยมาจากข้าศึกมา ญาติพี่น้องก็ไม่มี

นางดูลักษณะ เห็นว่าเป็นคนดีก็ยอมไปด้วย และได้แสดงตนให้บรรดาศิษย์และคนอื่นทราบว่านางเป็นน้องของอาจารย์ผู้นั้น และได้ไปอาศัยอยู่กับอาจารย์ฐานะน้อง จวบจนกระทั่งนาง ได้คลอดบุตรว่า มหาชนก

มหาชนกเมื่อเติบใหญ่ขึ้นมาไปกับเด็กทั้งปวง ถูกรังแกก็ต่อสู้ เด็กเหล่านั้นสู้ไม่ได้ วิ่งไปบอกพ่อแม่ว่าถูกเด็กลูกไม่มีพ่อทำร้ายเอา เมื่อเด็กพูดกันบ่อยๆ มหาชนกก็เกิดสงสัย วันหนึ่งสบโอกาสจึงถามมารดาว่า

“แม่จ๋า ใครเป็นพ่อฉัน” “ก็ท่านอาจารย์นั้นเเหละเป็นบิดาของเจ้า” ครั้งแรกพระมหาชนกก็เชื่อ แต่เมื่อได้ยินพวกเด็กๆ ยังพูดอยู่เช่นนั้นก็เกิดสงสัย ดีร้ายมารดาเห็นจะไม่บอกกับเราจริงๆ แม้ครั้งที่สองมหาชนกถามมารดาก็ตอบเช่นเดียวกับครั้งแรก มหาชนกจึงคิดหาอุบายจะให้มารดาบอกให้ได้ แม่จ๋า ขอให้บอกความจริงกับฉันเถิดว่า ใครเป็นพ่อของฉัน” “ก็ท่านอาจารย์ยังไงเล่าเป็นพ่อของเจ้า” “ทำไมแม่ให้ฉันเรียกว่าลุงเล่า” “เพราะอาจารย์อยากให้เรียกเช่นนั้น”

มหาชนกก็ยื่นคำขาดว่า “ถ้าแม่ไม่บอกความจริงให้ฉันทราบ ฉันจะกัดนมแม่ให้ขาดเลย” ไม่ใช่แต่พูดเปล่า ๆ มหาชนกเอาฟันดัดหัวนมมารดาจริง ๆ ด้วย แต่ไม่แรงนัก “โอ้ย? แม่เจ็บ” มารดาอุทานออกมา “เมื่อเจ็บแม่ต้องบอกความจริงให้ฉันรู้” “เอาล่ะ แม่จะบอกให้รู้ แต่ที่ยังไม่บอกเจ้าก็เพราะเจ้ายังเล็กนักไม่สามารถทำอะไรได้ เจ้าเป็นลูก

กษัตริย์เมืองมิถิลานครบิดาของเจ้าชื่ออริฐชนก ถูกเจ้าอุปราชโปลชนกแย่งสมบัติ พ่อเจ้าตายในที่รบ มารดากำลังท้องอยู่ก็หลบหนีเซซัดมาอาศัยอยู่กับท่านอาจารย์ ณ ที่นี้"  และนับตั้งแต่นั้นมาเจ้ามหาชนกแม้จะถูกพวกเด็กๆ ว่าลูกไม่มีพ่อก็ไม่มีความโกรธเคือง และพยายามเล่าเรียนวิชาการทุกประเภท เพื่อต้องการจะกลับไปเอาราชสมบัติคืนให้จงได้ จวบจนกระทั่งอายุได้ 16 ปี เจ้ามหาชนกก็เรียนศิลปศาสตร์ 18 ประการจบหมด ผิวพรรณของเจ้ามหาชนกผ่องใสเปรียบเหมือนทองคำความคิดที่จะเอาสมบัติของพ่อคืนก็มากขึ้น วันหนึ่งจึงเข้าไปถามมารดาว่า “แม่จ๋า แม่จากเมืองมาแต่ตัวหรือว่าได้สมบัติของพ่อมาบ้าง” “เจ้าถามทำไม” “เพราะว่าลูกต้องการจะเอาไปทำทุน แก้แค้นเอาสมบัติของพ่อกลับคืนมา” “แม่เอาแก้วมาด้วย 3 ดวง เป็นแก้ววิเชียน 1 ดวง มณีดวง 1 แก้วมุกดาดวง 1 แก้วทั้ง 3 นี้ มีราคามาก หากจะมาขายก็ได้เป็นเงินเป็นจำนวนมาก พอที่จะทำทุนสำหรับเอาราชสมบัติของพ่อเจ้ากลับคืนมาได้” “ลูกต้องเอาเพียงครึ่งเดียว เพี่อจะทำทุนไปค้าขายยังสุวรรณภูมิ จะได้รวบรวมเงินทองและผู้คนเพื่อชิงเอาราชสมบัติของพระบิดากลับคืนมาให้ได้” “เจ้าอย่าไปค้าขายเลย เอาแก้วสามดวงนี้แหละขายซ่องสมผู้คนเถิด เจ้าไปไกลแม่เป็นห่วง”

เจ้ามหาชนกก็ไม่ยินยอม มารดาจึงเอาเงินทองมาให้ เจ้ามหาชนกก็ซื้อสินค้าบรรทุกสำเภาเตรียมจะไปค้าขาย ณ สุวรรณภูมิกับพวกพ่อค้ามากหน้าหลายตาด้วยกัน เมื่อจัดแจงเรียบร้อยแล้ว มหาชนกก็มาลามารดาเพื่อจะเดินทาง

“เจ้าจงเดินทางโดยสวัสดิภาพ คิดอะไรให้สมปรารถนา” มารดาเจ้ามหาชนกให้พรแถมท้ายว่า “เจ้าจงอย่าจองเวรเลยสมบัติมันเสียไปแล้ว ก็แล้วไปเถิด เรามีอยู่มีกินก็พอสมควรแล้ว” แต่เจ้ามหาชนกก็บอกว่าอยากจะเดินทางท่องเที่ยวเป็นการเปิดหูเปิดตา และจะไปเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ในขณะที่เจ้ามหาชนกลงเรือเพื่อเดินทางไปค้าขายยังสุวรรณภูมินั้น ก็พอกับเจ้าโปลชนกกำลังประชวรหนักอยู่ในเมืองมิถิลานคร หลังจากที่ออกเดินทางเห็นแต่น้ำกับฟ้าแล้วประมาณได้สัก 7 วัน เรือก็ประสบเข้ากับมรสุมอย่างหนัก ผลสุดท้ายเรือบรรทุกสินค้า และผู้โดยสารก็อัปปางลงท่ามกลางเสียงร้องไห้คร่ำครวญของผู้กลัวตาย แต่เจ้ามหาชนกมิได้คร่ำครวญร่ำไรอย่างคนอื่นเขา กับ 15 วา นับว่าเป็นระยะไกลมาก

ขณะที่เรือของเจ้ามหาชนกอับปางนั้น ก็พอดีกับเจ้าโปลชนกซึ่งครองราชสมบัติอยู่ ณ กรุงมิถิลา เสด็จสวรรคตเพราะโรคาพาธ .. เจ้ามหาชนกมิได้ท้อถอย พยายามว่ายน้ำกระเสือกกระสนเพื่อจะให้รอดจากความตาย กล่าวว่านานถึง 7 วัน และในวันที่ 7 กำหนด ได้ว่าเป็นวันอุโบสถ ก็ยังได้สมาทานโดยอธิษธานอุโบสถในขณะลอยคออยู่ในทะเล ..ด้วยบุญบารมีแต่ปางบรรพ์ของเจ้ามหาชนกได้ทำไว้ให้ ร้อนถึงนางเมขลา

ซึ่งกล่าวว่าเป็นผู้รักษาสมุทรดังที่เล่าไว้ในรามเกียรติ์ว่า นางเมขลาเป็นพนักงานรักษาสมุทร มีแก้วประจำตัวอยู่ 1 ดวง ถ้านางโยนขึ้นจะเห็นแสงแวววับจับตา ซึ่งเราเรียกกันว่าฟ้าแล่บ ได้ไปเล่นกับเทพบุตรและนางฟ้าในเวลานักขัตฤกษ์ได้โยนแก้วเล่นแสง แก้วนี้ส่องไปจนรามสูรเห็นก็อยากได้ จึงไปไล่หวังจะได้แก้ว แต่ก็ไม่ได้ เพระนางเมขลาเอาแก้วส่องตาทำให้หน้ามืด เลยโมโหขว้างขวานหวังจะฆ่าซึ่งก็ไม่ถูกนาง ทางมนุษย์เราเรียกฟ้าร้องและฟ้าผ่านั้นเอง นี้แหละเป็นเรื่องของนางเมขลา  

เผอิญวันเรือแตกนั้นนางเมขลากำลังไปประชุมอยู่กับเทพบุตรนางฟ้า จวบจนถึงวันที่ 8 จึงกลับมา ได้เห็นมหาชนกว่ายน้ำอยู่จึงช่วยพาขึ้นจากสมุทรมาไว้ในอุทยานของพระเจ้าโปลชนก แล้วก็กลับไปที่อยู่ เจ้ามหาชนก ก็นอนหลับอยู่ในสวน

เมื่อเจ้ามมหาชนกมาหลับอยู่ในพระราชอุทยาน นั้น พระเจ้ากรุงมิถิลาสวรรคตได้ 7 วันนี้ ราชธิดาของเจ้าโปลชนกพยายามเลือกหาผู้สมควร ให้เสวยราชสมบัติแทนพระบิดา โดยป่าวร้องให้อำมาตย์ข้าราชการมาเฝ้านางจะเลือกเอาเป็นคู่ครอง นางก็ไม่เลือกใคร ต่อมาถึงวาระเศรษฐีคฤหบดีก็ไม่มีใครได้นาง นางจึงปรึกษากับราชปุโรหิตว่า จะทำอย่างไรดีจึงจะได้คนมาครองราชสมบัติ ราชปุโลหิตจึงทูลตอบว่า

“ข้าแต่พระแม่เจ้า ตามโบราณมาถ้าพระเจ้าแผ่นดินไม่มีบุตรชาย ถึงแก่สวรรคตแล้ว อำมาตย์ข้าราชบริพานต่างก็จะเซ่นสรวงสังเวยเทพยดาอารักษ์ เสี่ยงราชรถออกไป ถ้าราชรถไปเกยถูกผู้ใด เห็นทีบุญแล้วก็จงเชิญมาครองราชสมบัติ”

“ถ้าเช่นนั้นท่านอาจารย์จงจัดแจงทำพิธีเสี่ยงราชรถเถิด” ราชปุโรหิตจึงจัดแจงทำบวงสรวงสังเวยอธิษฐานขอไห้ได้ผู้พระทำการสืบราชสมบัติแทน แล้วเทียมรถด้วยม้ามงคลปล่อยออกไป

ม้าที่นำรถนั้นเหมือนจะมีหัวใจ หรือไม่ก็ดูเหมือนมีคนมาชักสายขับขี่ไปให้บ่ายหน้าออกประตูเมืองด้านทิศตะวันออก มุ่งหน้าตรงไปยังอุทยานที่เจ้ามหาชนกนอนหลับอยู่ ราชรถไปถึงสวนหลวงก็เลี้ยวเข้าไปภายในสวน

เมื่อถึงที่เจ้ามหาชนกนอนอยู่ ก็ไป แล่นวนอยู่สามรอบก็หยุดที่ปลายเท้าของเจ้ามหาชนก ราชปุโรหิตที่ตามราชรถไปเห็นดังนั้นจึงคิดว่า

“ถ้าชายคนนี้เป็นผู้ทีบุญ เวลาได้ยินเสียงดุริยดนตรีคงจะไม่ตื่นตกใจ ถ้าไม่มีบุญคงตื่นตกใจหนีเป็นแน่” “จึงสั่งให้ประโคมดนตรีขึ้นพร้อมกันเสียงดังกึกก้อง

เจ้ามหาชนกได้ยินเสียงอึกทึกครึกโครม รู้สึกตัวตื่นขึ้นก็เปิดผ้าคลุมหน้าออกดู ก็เห็นคนชุมนุมกันอยู่มากมายก็รู้ได้ทันทีว่าเรานี่จะถึงแก่สมบัติแล้ว เลยชักผ้าปิดหน้านอนต่อไป ราชปุโรหิตจึงคลานเข้าปลายพระบาท เลิกผ้าคลุมออกพิจารณาดูเท้า แล้วประกาศแก่ชนทั้งปวงที่มาร่วมชุมนุมกันว่า “อย่าว่าแต่จะครองสมบัติในเมืองเท่านี้แม้ราชสมบัติทั้ง 3 ทวิป ท่านผู้นี้ก็สามาถจะครอบครองได้

แล้วจึงสั่งให้ประโคมดนตรีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ดังยิ่งกว่าคราวแรกเสียอีก เจ้ามหาชนกจึงเปิดผ้ามองดู ราชปุโรหิตจึงทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์ อย่าทรงบรรทมอยู่เลย สมบัติในเมืองมิถิลานี้มาถึงแล้ว” เจ้ามหาชนกจึงครัสถามว่า
"พระเจ้าแผ่นดินของพวกท่านไปไหนเสียเล่า จึงมาหาคนอย่างเราไปเป็นพระเจ้าแผ่นดิน”
“ขอเดชะ พระราชาพระองค์ก่อนได้เสด็จสวรรคตได้ 7 วันแล้วพระเจ้าข้า”
“พระราชโอรสของพระแผ่นดินท่านไม่มีหรือ”
“ขอเดชะ ไม่มีพระเจ้าข้า มีแต่พระราชธิดาองค์เดียวเท่านั้น”
"ถ้าอย่างนั้นเราจะรับครองราชสมบัติ”

ราชปุโรหิตจึงเอาเครื่องทรงมาถวายให้เจ้ามหาชนกทรงทำพิธีมอบราชสมบัติมอบราชบัติกัน ณ ที่นั้นเอง แล้วจึงได้เสด็จขึ้นสู่พระราชมณเฑียร

พระราชธิดาคิดจะลองดูว่าคนผู้นี้จะมีปัญญาหรือไม่จึงตรัสให้ราชบุรุษคนหนึ่งไปทูลเจ้ามหาชน ว่าพระราชธิดารับสั่งให้เสด็จเข้าไปเฝ้า แต่เจ้ามหาชนกทำเป็นไม่ใส่ใจ เพียงดำเนินชมปรางค์ปราสาท ที่นั่นก็สวย ที่นี่ก็สวย แม้พระราชธิดาจะใช้ไห้มาเชิญ 2 ครั้ง ก็ยังปฎิบัติเช่น

ต่อมาเมื่อได้เวลาพอสมควรแล้ว เจ้ามหาชนกก็ได้เสด็จขึ้นสู่เรือนหลวง พระราชธิดาเสด็จออกมารับถึงบันได ยื่นพระหัตถ์ให้เจ้ามหาชนกๆ จึงจับมือพระราชธิดาพาเข้าไปประทับภายในพร้อมกับดำรัสเรียกราชปุโรหิตแล้วถามว่า

“พระราชาของพวกท่านจวนจะสวรรคต ได้รับสั่งข้อความว่าอย่างไรไว้บ้าง”
“บอกไว้ว่ามีอะไรบ้าง”
“ขอเดชะ มีรับสั่งไว้หลายประการ”
“ข้อแรก ถ้าผู้ใดทำให้สิวลีราชธิดาของเรายินดีได้ก็ให้ยกราชสมบัติให้ผู้นั้น”
“ข้อนี้ไม่มีปัญหาแล้ว พระนางได้ยื่นมือให้เราพาเข้าในเรือนหลวงแล้ว ข้อต่อไปเล่า”
“ข้อต่อไปนี้ให้ผู้ที่รู้จักบัลลังก์ 4 เหลี่ยม ว่าที่ใดเป็นปลายเท้าและทางใดเป็นทางศีรษะ”

พอได้ยินเจ้ามหาชนกแกล้งทำเป็นไม่สนใจ หันไปสนทนากับสิวลีราชธิดาเสีย พร้อมถอดปิ่นจากศีรษะส่งให้พระราชธิดาซึ่งนางก็รู้ได้เท่าทัน รับปิ่นแล้ววางที่บัลลังก์ 4 เหลี่ยม แล้วหันไปถามปุโรหิต

“ท่านว่าอย่างไรข้อต่อไป”
“ข้อต่อไปคือบัลลังก์ 4 เหลี่ยม ให้รู้จักว่าทางไหนเป็นด้านเท้าและด้านศีรษะ”

เจ้ามหาชนกชี้ไปที่ด้านปิ่นวางอยู่ พลางบอกว่า
“ทางด้านนั้นแหละเป็นด้านศีรษะ”
"ขอเดชะ ข้อที่ 3 เรื่องประลองกำลังพะย่ะค่ะ”
“ลองอย่างไร”
“ที่เมืองนี้มีธนูอยู่คันหนึ่งต้องใช้คนถึง 1000 คน จึงจะดึงสายธนูนี้ได้ ถ้าผู้ใดโก่งคันธนูคันนี้ได้ก็ให้ราชสมบัติแก่ผู้นั้น” “ข้อนี้ไม่ยาก พวกท่านไปเอาธนูคันนั้นมา”

ราชปุโรหิตจึงให้ทหารไปเอาธนูอันใหญ่โตมโหฬารมา ณ ที่นั้น เจ้ามหาชนกก็เสด็จลงไปหยิบคันธนูขึ้นมา ประดุจว่าของเบา แล้วลองขึ้นสายโก่งดูได้อย่างง่ายดายเพระเจ้ามหาชนกทรงกำลังประดุจช้างสาร เสร็จแล้วก็ลดสายวางคันธนูลงดังเก่า

“ข้อต่อไปเป็นเรื่องของการค้นหาขุมทรัพย์”
"พระองค์ตรัสไว้อย่างไร”
"พระองค์ตรัสว่า ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น “เวลานี้ไม่พอจะค้นหาขุมทรัพย์ เอาไว้พรุ่งนี้ค่อยค้นหากันเถิด”

เป็นอันว่าวันนั้นเจ้ามหาชนกได้แสดงทั้งปัญญา และกำลังปรากฎแก่มหาชนทั้งปวงแล้ว

รุ่งขึ้น เจ้ามหาชนกก็ได้ให้ประชุมราชปุโรหิต และเสนาข้าราชบริพารทั้งปวงแล้วถามว่า

“ขุมทรัพย์ข้อต้นของพระราชาว่าอย่างไร”
“ขอเดชะ" ราชปุโรหิตกล่าวว่า “ข้อแรกที่ว่าขุมทรัพย์ ที่ 1 ของเราอยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น”
"พวกท่านคิดว่าอย่วงไร”
“พวกข้าพระองค์คิดว่าขุมทรัพย์นี้คงจะอยู่ในทางทิศตะวันออกของพระราชวัง พระเจ้าข้า”
“แล้วพวกท่านทำอย่างไรต่อไป” พวกข้าพระองค์ก็พากันขุดค้นในภาคพื้นทางด้านตะวันออก ในที่ ๆ สงสัยว่าจะฝังขุมทรัพย์ไว้”
“แล้วได้ผลเป็นอย่างไร”
“ผลคือไม่พบขุมทรัพย์อะไรเลย”
“ก็เป็นอันว่าพวกท่านไม่สามารถจะค้นหาได้แล้วใช่ไหม”
“พระเจ้าข้า”
“พระราชาของพวกท่าน ยังนิมนต์พระเข้ามาในพระราชนิเวศน์เพื่อถวายทานบ้างหรือเปล่า”
"ขอเดชะ ข้อนั้นเป็นกิจวัตรประจำวันของพระราชาของพวกข้าพระองค์ทีเดียว พระองค์นิมนต์พระปัจเจกโพธิมารับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ทุกวัน”
“พวกท่านทราบไหมว่าพระปัจเจกโพธินั้นเวลาพระราชาของพวกท่านเสด็จไปรับที่ใด หรือให้ใครไปคอยรับ”
“ขอเดชะ พระราชาเสด็จประทับยืนคอยรับอยู่ ณ บริเวณพระลานประจำเสมอ โดยมิได้ส่งใครไปคอยรับแทนพระองค์เลย”
“ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงไปขุดในที่ๆ พระราชาของพวกท่านยืนคอยรับอยู่ที่นั้นเถิด”

พวกอำมาตย์ได้ยินดังนั้นก็ให้จัดแจงจอบเสียมแล้วพาไปขุดในที่นั้น ก็พบสมบัติของพระราชาเป็นขุมแรก ก็พากันดีประหลาดใจ เมื่อกลับมาก็พากันส่งเสียงด้วยความปีติว่า

“ขอเดชะ ขุมทรัพย์ที่พระองค์ชี้ให้ขุดนั้นพบแล้วพระเจ้าข้า”
“เออ พบแล้ว ขุดขึ้นเสียให้หมด แล้วนำมาเก็บไว้ในพระคลังหลวง”
“พวกข้าพระองค์สงสัย”
“สงสัยอะไรล่ะ”
“ทำไมพระองค์จึงชี้ให้ขุดที่นั้น”
“เพราะพระปัจเจกโพธินั้นเปรียบประดุจพระอาทิตย์เมื่อท่านคอยยืนรับที่ใด ก็เเสดงว่าที่นั้นมีขุมทรัพย์อยู่ เราจึงชี้ให้ท่านขุดในที่นั้น แล้วก็ข้อต่อไปเล่าพระองค์ตรัสว่าอย่างไร”
“ขอเดชะ ข้อต่อไปพระองค์ตรัสว่า ขุมทรัพย์ในที่พระอาทิตย์อัสดง”
“แล้วพวกท่านได้ขุดค้นหากันบ้างหรือเปล่า”
“ข้อนี้เปล่าพระเจ้าข้า เพราะขุมทรัพย์ที่หนึ่งยังไม่ได้เลยคิดเสียว่าเหลวไหลมากกว่า พระเจ้าค่ะ”
“ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจะบอกว่าให้เราทราบได้หรือไม่ว่าเวลาเลี้ยงดูพระปัจเจกโพธิเสร็จแล้ว เวลากลับพระปัจเจกโพธิกลับทางใด”
“แล้วพระราชาของพวกท่านไปส่งเสด็จด้วยหรือเปล่า”
"ไปส่งเสด็จเป็นประจำเลยพระเจ้าค่ะ”
“เวลาไปส่งนั้น พระองค์เสด็จประทับที่ใดล่ะ”
“เวลาไปส่งนั้น พระองค์ประทับยืน ณ สนามท้ายพระราชมณเฑียรเป็นประจำพระเจ้าข้า”
“ถ้าเช่นนั้นพวกท่านลองไปขุดที่ๆ พระราชาเสด็จประทับยืนที่นั้นดู"

พวกอำมาตย์ข้าราชบริพารก็พากันไปขุด ก็พบขุมทรัพย์เป็นครั้งที่ 2 ก็พากันคิดประหลาดใจว่าทำไมพระราชาองค์ใหม่ของพวกเขาจึงชี้ให้ขุดได้แม่นถึงเพียงนี้ เพราะว่าพวกเขาเองพยายามขุดค้นหาจนกระทั่งคิดว่าขุมทรัพย์ดังกล่าวนี้คงเป็นเรื่องเล่าต่อๆ กันมาอย่างไร้สาระโดยไม่มีความจริง จึงพากันโห่ร้องแสดงความยินดีอย่างกึกก้องโกลาหล และพากันเข้ามากราบทูลว่าได้พบสมบัติขุมที่ 2 แล้ว

“ขุมที่ 3 พระราชาของพวกท่านตรัสไว้ว่าอย่างไร”
“ทรงตรัสว่า ขุมที่หนึ่งอยู่ภายใน”
“พวกท่านได้ค้นหาหรือยังว่าอยู่ที่ใด”
“พวกข้าพระเจ้าไม่ได้ค้นหา เพราะคิดว่าคงเหลวเหมือนขุมอื่น ๆ นั้นเเหละ”
“ประตูหลวง พวกท่านได้สังเกตหรือเปล่าว่ามีอะไรที่น่าสงสัยบ้าง”
“พวกข้าพระบาทไม่เคยสงสัย และไม่เคยสังเกตเสียด้วยว่าทีอะไร”  
“พวกท่านลองไปขุดใกล้ ประตูพระราชนิเวศ ในบริเวณภายในประตูดูที ถ้าโชคของเรายังดีก็อาจจะตีปัญหาออก"“ขอเดชะ เวลากลับพระปัจเจกโพธิจะกลับทางท้ายพระราชมณเฑียร”

พวกอำมาตย์ก็พากันไปขุด ก็พบอีกตามความบอก ก็ได้กลับมากราบทูลว่าพบได้แห่งที่ 3 แล้วตามความคาดหมาย ได้ตรัสถามถึงขุมที่ 4 ต่อไป พวกข้าราชบริพารก็ทูลว่า “ขุมหนึ่งอยู่ภายนอก” ก็ทรงชี้ให้ขุดที่ใกล้ประตูพระราชนิเวศ แต่อยู่ภายนอกประตู ก็ได้พบอีก ข้าราชบริพานก็โห่ร้องด้วยความยินดี ว่าพระราชาใหม่ของพวกเรานี้ช่างทรงปัญญาเกินสามัญชนทีเดียว อันขุมทรัพย์นี้พวกเราเที่ยวค้นหาตามที่ต่างๆ จนทอดอาลัยแล้วว่าเป็นของไม่จริง นับเป็นลาภทีพวกเราได้พระราชาที่ทรงปัญญาอย่างนี้ เมื่อกราบทูลให้ทรงทราบว่าได้พบขุมทรัพย์ที่ 4 ก็ตรัสถามว่า

“ทรงตรัสไว้เพียงเท่านี้หรืออย่างไร”
“หามิได้ พระองค์ยังตรัสไว้อีก”
“ตรัสไว้ว่า ขุมทรัพย์อีกขุมหนึ่งไม่ได้อยู่ข้างนอกและข้างใน”
“ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงขุดลงที่ธรณีประตูพระราชนิเวศ” เมื่อพวกอำมาตย์ราชปุโรหิตขุดลงไปที่ธรณีประตู ก็พบขุมทรัพย์ดังกล่าว
“แล้วตรัสอย่างไรอีก”
“ตรัสว่า ขุมหนึ่งอยู่ในที่ขึ้น”
“จงขุดที่ประตูขึ้นพระราชนิเวศ” พวกอำมาตย์ได้พากันขุดลงไป ก็พบขุมทรัพย์อีกขุมหนึ่งในประตูราชนิเวศ
“ตรัสว่า ขุมทรัพย์หนึ่งอยู่ในที่ลง”
“พระราชาของพวกท่านเวลาเสด็จออกจากพระราชนิเวศนั้น โดยปกติเสด็จด้วยอะไร”
“ส่วนมากพระองค์เสด็จทรงคชสาร เสด็จเที่ยวตรวจโรงทานและความทุกข์สุขของราษฎร “แล้วเสด็จกลับลงจากคชสาร ณ ที่ใด”
“ขอเดชะ เสด็จลงเกยชาลาข้างหน้า”
“พวกท่านจงไปขุดที่หน้าเกยเป็นที่เสด็จลงนั้นเถิด”

พวกอำมาตย์พากันไปขุด ก็พบขุมทรัพย์ตามที่คาดและได้ทูลให้ทราบต่อไปว่าพระราชาของพวกเขาได้ตรัสว่า

“ขุมทรัพย์ขุมหนึ่งอยู่ในระหว่างไม้สี่”
“พวกท่านเคยเห็นไม้รังหรือเปล่า”
“เคยเห็นพระเจ้าค่ะ"
"เคยมีอยู่ที่ไหนเล่า”
“อยู่ในพระราชอุทยานพระเจ้าค่ะ”
“ไม้รังนั้นมี 4 ต้น หรือเปล่า”

“ขอเดชะ ไม้รังนั้นมีมากกว่า 4 ต้น แต่ว่ามิได้ขึ้นเป็น 4 เหลี่ยม 4 มุมเลย แต่มีขึ้นเรียงรายกันไป”
“แล้วพวกท่านเข้าใจว่าอย่างไรเล่า”
“พวกข้าพระองค์คิดว่าอยู่ในพระราชอุทยานเป็นแน่พระเจ้าข้า” พวกท่านเคยขุดบ้างหรือเปล่า”
“เปล่าเลยพระเจ้าค่ะ”
“ถ้าพวกท่านไปขุดในพระราชอุทยานก็คงเหนื่อยเปล่าเพราะจะไม่พบขุมทรัพย์ในนั้นเลย”
“ถ้าอย่างนั้นจะให้ขุดที่ใดพระเจ้าค่ะ จึงจะพบขุมทรัพย์”
“ท่านจงขุดที่ทวารทั้ง 4 แห่ง ที่มีพระแท่นทำด้วยไม้รังอยู่”

พวกอำมาตย์ก็ไปขุดก็พบทั้ง 4 แห่ง และได้ทูลต่อไปว่า "พระราชาของพวกข้าพระองค์ได้ตรัสไว้อีกว่า ขุมทรัพย์อยู่ประมาณโยชน์หนึ่ง”

“พวกท่านได้ขุดหาบ้างหรือเปล่าล่ะ”
“พวกข้าพระองค์ได้พาไปขุดในบริเวณในป่าที่ห้างจากเมืองไปประมาณโยชน์หนึ่งพระจ้าค่ะ”
“แล้วไม่พบอะไรเลยเชียวรึ”
"ไม่พบเลยพระเจ้าค่ะ”
“ถ้าเช่นนั้นลองทดลองดูว่าเราจะคิดปัญหานั้นตกหรือไม่พวกท่านจงลองวัดจากแท่นบรรทมไปดูข้างละ 4 ศอก แล้วลองคุดไปดูซิจะพบอะไรบ้าง”

พวกอำมาตย์ได้วัดจากทิศตะวันออกครบ 4 ศอก แล้วก็ขุดลงไปพบขุมทรัพย์ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันตก รวม 4 ทิศ ก็พบทั้งสิ้น จึงพากันมากราบทูล “ขอเดชะ พวกจ้าพระองค์ได้ไปขุดค้นตามที่ทรงแก้ปัญหาแล้ว ปรากฎว่าพบทุกแห่งพระเจ้าค่ะ แต่พวกข้าพระองค์ เกิดสงสัยว่าทำไมพระราชาตรัสว่าขุมทรัพย์อยู่ในโยชน์หนึ่งแต่นี้ห่างจากพระแท่นบรรทมเพียง 4 ศอก เท่านั้น ขอพระองค์ได้โปรดให้ความแจ่มแจ้งด้วยเถิดพระเจ้าค่ะ”

“ถ้าเช่นนั้นพวกท่านฟังให้ดี โยชน์หนึ่งนั้นมี 400 ศอก ใครๆ ก็รู้จักด้วยกันทั้งนั้น เส้นหนึ่งที 20 วาๆ หนึ่งมี 4 ศอก นี่ก็เป็นจำนวนใหญ่ๆ ก็พวกท่านว่าไม่พบในโยชน์หนึ่ง เราคิดว่าศอกอันนั้นจะนับเป็นวาเป็นเส้นเป็นโยชน์นั้นมีเพียง 4 ศอกเท่านั้น เราจึงคิดปัญหาข้อนี้เพียงแค่ 4 ศอก”

พวกอำมาตย์ข้าราชบริพารต่างก็ส่งเสียงแสดงความยินดีกึกก้องไปทั่วพระลาน

“ปริศนาของพระราชาหมดแล้วหรือยัง”
“ยังพระเจ้าค่ะ”
“มีอะไรอีกล่ะ ว่าไปดูทีหรือ”
“พระองค์ตรัสว่า ขุมทรัพย์หนึ่งอยู่ที่ปลายงา”

เจ้ามหาชนกก็ให้ขุดที่โรงไว้คชสาร ตรงที่พญาเศวตกุญชรยืนปลายงาจรดดิน ก็ได้ดังประสงค์ และให้ขุดตามที่อำมาตย์ทั้งหลายบอกปริศนาก็ได้ดังดำรัส ข้าราชบริพารทั้งหลายพากันโห่ร้องกึกก้องสรรเสริญพระปัญญาบารมีของพระองค์เอิกเกริกไปทั่วพระนคร เมื่อไต่ถามทราบว่า หมดข้อความที่พระราชาตรัสไว้แล้วก็ให้จำหน่ายจ่ายแจกพระราชทรัพย์ โดยให้จัดสร้างโรงทาน 6 แห่งคือ กลางเมือง แห่งหนึ่ง ที่ประตูเมืองด้านเหนือ ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านตะวันออก รวม 4 แห่ง และประตูพระราชนิเวศอีกแห่งหนึ่ง

แล้วตรัสให้คนไปรับพระมารดามาจากเมืองกาลจัมปา พร้อมกับให้รางวัลท่านอาจารย์ที่มารดาของพระองค์ไปอาศัยอยู่ ความจริงได้ปรากฎออกมาว่าพระองค์ไม่ใช่ใครอื่นเลยแท้ที่จริงเป็นพระโอรสชองพระเจ้าอริฎฐาชนกนั่นเอง แล้วจึงให้มีการสมโภชในการเสวยราชสมบัติ เมื่อออยู่พระองค์เดียวก็ทรงรำพึงว่า เพราะพระองค์ไม่ทอดทิ้งความเพียรพยายามในการที่เอาตัวรอดจากภัยอันตรายจึงได้ประสบสุขถึงเพียงนี้ ฉะนั้นเกิดเป็นคนควรพยายามเรื่อยไปจนกว่าจะสำเร็จความประสงค์ พระองค์ได้เสวยราชสมบัติอยู่ช้านาน จนมีพระโอรสทรงพระนามว่า ทีฆาวุ เมื่ออายุเจริญวัยแล้วก็ได้ตั้งให้เป็นอุปราช

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กรกฎาคม 2559 09:59:57 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1012


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2559 09:59:09 »



พระเจ้าสิบชาติ
พระชาติที่ 2 : พระมหาชนก
(ต่อ)


วันหนึ่งเจ้าพนักงานพระอุทยาน ได้นำพืชพรรณชนิดต่างๆ มาถวาย ทรงถามได้ความว่า นำมาจากพระราชอุทยานก็คิดจะไปประพาส จึงตรัสสั่งให้ข้าราชบริพารจัดกระบวนไปเสด็จประพาส ในขณะที่ทรงช้างเสด็จถึงประตูสวนก็เห็นมะม่วงต้นหนึ่งมีลูกดก แลดูเต็มต้นไปทั้งต้น กำลังอยากเลยเสด็จลุกขึ้นยืนบนหลังช้าง เก็บมะม่วงลูกหนึ่งมาเสวย แล้วก็เลยเข้าไปประพาสในพระราชอุทยาน ทรงสำราญอยู่ในพระราชอุทยานนั้นจนกระทั่งเย็นจึงเสด็จออกมา พอถึงประตูสวน พระองค์ก็แปลกพระทัยเพราะปรากฎว่ามาม่วงต้นที่มีลูกเต็มไปหมดนั้น จะหาแม้แต่ลูกเดียวก็ไม่พบ แถมข้างล่างยังเต็มไปด้วยกิ่งก้านสาขาที่หัก ใบอ่อนใบแก่หล่นเกลื่อนกลาดไปทั้งบริเวณโคนต้น จึงตรัสถามผู้รักษาสวนว่าเป็นเพราะเหตุอะไรจึงเป็นเช่นนั้น เขากราบทูลให้ทราบว่า เพราะประชาชนเห็นว่ามะม่วงต้นนั้นพระองค์เสวยแล้ว เขาพากันมาเก็บ ต่างยื้อแย่งกัน สภาพของต้นมะม่วงจึงเป็นอย่างที่ทอดพระเนตรบัดนี้

พระองค์ได้ทรงสดับ จึงเกิดความคิดขึ้นว่า มะม่วงต้นนี้เพราะมีลูกจึงต้องมีสภาพเช่นนี้ ถ้าไม่มีลูกก็คงจะไม่ต้องหักยับเยินอย่างนี้ ถ้าเราไม่มีราช สมบัติเสียก็จะหาคนปองร้ายมิได้ พระราชาเสด็จพระนคร เสด็จขึ้นปราสาท. ประทับที่พระทวารปราสาท ทรงมนสิการถึงวาจาของนางมณีเมขลา ในกาลที่นางอุ้มพระมหาสัตว์ขึ้นจากมหาสมุทร. พระราชาทรงจดจำคำพูดของเทวดาไม่ได้ทุกถ้วยคำ เพราะพระสรีระเศร้าหมองด้วยน้ำเค็มตลอดเจ็ดวัน. แต่ทรงทราบว่า เทวดากล่าวชี้ว่าพระองค์จะยังเข้ามรรคาแห่งความสุขไม่ได้ หากไม่กล่าวธรรมให้สาธุชนได้สดับ.

นางมณีเมขลาให้พระองค์ตั้งสถาบันการศึกษา ให้ชื่อว่า ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย. แม้ในกาลนั้นก็จะสำเร็จกิจและได้มรรคาแห่งบรมสุข. พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า : "ทุกบุคคลจะเป็นพ่อคาวาณิช เกษตรกร กษัตริย์ หรือสมณะ ต้องทำหน้าที่ทั้งนั้น. อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นเราต้องหาทางฟื้นฟูต้นมะม่วงที่มีผล. เมื่อพระองค์ดำริฉะนี้แล้ว พอเสด็จเข้ามาถึงพระราชวังก็ตรัสเรียกอำมาตย์มาสั่งว่า

“ต่อไปนี้ไปปราสาทของเราห้ามคนไปมา นอกจากผู้ที่จะนำอาหารเข้ามาให้เราเท่านั้น เมื่อมีราชกิจใดมีมาพวกท่านจงช่วยกันพิจารณาจัดไปตามความคิด เราจะจำศีลภาวนาสักระยะหนึ่ง”

และนับแต่นั้น พระมหาชนกก็บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในพระปรางค์ประสาทมิได้เสด็จไปทางใดเลย พวกพสกนิกรทั้งหลายพากันสงสัยสนเท่ห์ว่าพระราชาของพวกเขาเสด็จไปอยู่แห่งใด เคยสนุกสนานรื่นเริงในการดูมหรสพก็มิได้มี 

บัดนี้พระองค์ไปที่ใดหรือจะสิ้นพระชนม์เสียแล้ว พากันปรับทุกข์และเล่าลือไปต่างๆ นานา แม้จะมีเสียงเล่าลือใด ๆ แต่พระองค์ตรัสห้ามข่าวสารทั้งปวงสิ้น เมื่อบำเพ็ญสมธรรมอยู่ในปราสาทนานๆ เข้าก็คิดจะออกไปอยู่ป่า เพราะในพระราชวังยังมีเสียงอื้ออึงไม่มีความสงบ วันหนึ่งนายกัลบกมาเพื่อชำระพระเกศา พระมัสสุได้ทรงตรัสให้ปลงเสียทั้งหมด แล้วทรงนุ่งห่ทผ้ากาสาวะ เสด็จประทับอยู่ในปราสาท ตั้งพระทัยว่ารุ่งขึ้นจะเสด็จออกไปบำเพ็ญพรตในป่า

ในวันนั้นเองพระสิวลีเทวีผู้อัครชายา คิดว่าเรามิได้พบเห็นพระสวามีของเราถึง 5 เดือนแล้ว ควรจะไปเยี่ยมเยือนเสียที จึงสั่งให้นางสนมกำนัลตกแต่งร่างกาย แล้วพาไป ณ ปรางค์ปราสาทของพระเจ้ามหาชนก พอย่างขึ้นบนปรางค์ปราสาทก็ให้นึกเอะใจ เพราะปรากฎว่าเส้นพระเกศาซึ่งนายภูษามาลาเก็บรวบรวมไว้ยังมิได้นำไปที่อื่น

และเครื่องทรงพระมหากษัตย์วางอยู่ และขณะนั้นก็ได้เห็นพระปัจเจกโพธิองค์หนึ่งดำเนินสวนทางลับตานางไป นางยังมิทันคิด แต่เมื่อเห็นเส้นพระเกศาและเครื่องทรง จึงคิดได้ว่าเมื่อกี้เห็นจะเป็นพระสวามีเป็นแน่ มิใช่พระปัจเจกโพธิจึงตรัสเรียกนางสนมกำนันว่า

“แม่นางทั้งหลาย พวกเราพากันติดตามพระสวามีเถิดเมื่อกี้ไม่ใช่พระปัจเจกโพธิดอก แต่เป็นพระราชสวามีของพวกเรา” พร้อมทั้งทรงกันแสงไปด้วย แล้วพากันติดตามไปก็ทันพระมหาชนก ต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญรำพันด้วยประการต่างๆ แต่พระมหาชนกก็มิได้เสด็จกลับ

พระราชเทวีก็คิดอุบายให้ประชาชนพลเมืองนำเอาเชื้อไฟมากอง แล้วจุดไฟขึ้นนแทบทั่วพระนคร แล้วไปทูลเชิญให้กลับมาดับไฟเพราะพระราชวังไหม้หมด แต่พระมหาชนกก็มิได้เสด็จกลับ โดยคิดว่า “เราเป็นบรรชิต ไม่มีสมบัติอันใด”

แม้พระราชเทวีจะทำกลอุบายประการใด พระองค์ก็หากลับไม่ คงมุ่งหน้าไปสู่ไพรพฤกษ์ข้างหน้าเท่านั้น พระราชเทวีสนมกำนัล และข้าราชบริพารพากันติดตามไปอ้อนวอนให้เสด็จกลับเข้าครองราชสมบัติดังเก่า แต่พระองค์ก็หากลับไม่ คนเหล่านั้นก็ยังติดตามเรื่อยไป

พระองค์เห็นว่ามหาชนจะทำให้การบำเพ็ญพรตของพระองค์เป็นไปไม่ได้สดวก จึงหันกลับมาขีดเส้น พร้อมกับตรัสถามว่า

“พวกท่านทั้งหลาย ใครเป็นพระเจ้าแผ่นดินของพวกท่าน”
“พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินของพวกข้าพระองค์”
“ถ้าเช่นนั้นใครข้ามเส้นนี้มาจะต้องได้รับพระราชอาญา” แล้วพระองค์ก็เสด็จต่อไป

คนทั้งหมดก็ไม่อาจจะล่วงพระราชอาญาได้ ก็ได้แต่พากันร้องไห้คร่ำครวญรำพันไปด้วยประการต่างๆ พระนางสิวลีถึงกับพระกันแสงกลิ้งเกลือกกันพื้นดิน

จนกระทั่งรอยขีดที่พระราชาขีดไว้ลบเลือนไป คนเหล่านั้นเห็นว่าไม่มีรอยขีดแล้ว ก็พากันติดตามไปอีก พระนารทดาบสเกรงว่าพระมหาชนกจะมีพระทัยท้อแท้ไป จึงมาปลอบใจไม่ให้คลายมานะ ที่จะปฎิบัติธรรมแล้วก็หลีกไป พระมหาชนกก็ดำเนินเรื่อยไปและพระสิวลีเทวีก็เสด็จติดตามไปเช่นเดียวกัน ตราบจนกระทั่งถึงเมืองถุนันนคร พระองค์ก็เสด็จผ่านเข้าไปในเมืองนั้น

ชายคนหนึ่งวางชิ้นเนื้อไว้บนเขียง แล้วตนเองก็หันไปทำงานอื่นเสีย สุนัขเห็นได้ท่วงทีก็วิ่งมาคาบก้อนเนื้อได้ก็วิ่งหนีไป ชายผู้เป็นเจ้าของเนื้อเห็นก็ละจากงานเสียแล้ววิ่งไล่ขับสุนัขไป เมื่อสุนัขวิ่งหนีมาพบพระมหาชนกเดินสวนทางมา อารามกลัวเลยทิ้งก้อนเนื้อเสียแล้ววิ่งหนีต่อไป พระมหาชนกคิดว่าเนื้อก้อนนี้ไม่มีเจ้าของมิได้ ก็หยิบขึ้นมาปัดดินทรายออกเสียแล้วใส่ลงบาตร แล้วเสด็จไปนั่งฉัน ณ ที่แห่งหนึ่ง พระเทวีเห็นอากัปกิริยาเช่นนั้นก็สลดใจว่า แม้แต่สมบัติพัสถานทั้งหลายท่านก็เสียสละหมดแล้ว เสวยได้แม้แต่ของเดนสุนัข เพราะฉะนั้นที่พระองค์จะกลับคืนมาครองเมืองดังเก่าไม่มีแน่แล้วแต่ด้วยความอาลัยก็ยังติดตามพระองค์เรื่อยมา


จนกระทั่งถึงเมืองถุนันนคร เห็นเด็กผู้หญิงมือข้างหนึ่งใส่กำไลสองเส้น ข้างที่มีกำไล สองข้างก็กระทบกันดังกรุ๊งกริ๊งตลอดเวลาที่เคลื่อนไหว พระมหาชนกจึงเสด็จเข้าไปตรัสถามเด็กจึงบอกว่า

“ข้างที่มีสองข้างที่ส่งเสียงดัง เพราะมันกระทบกันกระทั้งกัน ท่านเดินมาด้วยกัน 2 คน จะไปทางใดเล่า”

พระมหาชนกได้ฟังคำกุมาริกาแล้วคิดว่า “สตรีเป็นมลทินของพรมจรรย์ ควรจะให้พระสิวลีแยกทางไปเสีย”

เมื่อถึงหนทางสองแพร่งจึงบอกกับนางว่า “น้องหญิง นับแต่นี้ต่อไปเราแยกทางกันเดินเถิด และอย่าเรียกเราเป็นสามีอีกต่อไป เจ้าจงเลือกทางเอาว่าจะไปทางใดดี”

พระนางสิวลีทรงเศร้าโศกและตรัสตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ ข้าพระบาทมีชาติอันต่ำช้า ขอเลือกไปทางซ้าย ขอพระองค์ เสด็จไปทางขวาเถิด”

บัดนี้พระองค์ไปที่ใดหรือจะสิ้นพระชนม์เสียแล้ว พากันปรับทุกข์และเล่าลือไปต่างๆ นานา แม้ เมื่อพระมหาชนกแยกทางไปแล้ว พระนางมีความอาลัยก็เสด็จตามติดไปด้านเบื่องหลังอีก และเมื่อถูกตัดรอนความเยื่อใย พระนางก็ถึงล้มสลบลง แต่ก็ไม่ทำให้พระมหาชนกกลับคืนความคิดได้ คงเสด็จมุ่งหน้าต่อไปเพื่อหาความสงบสงัด จักได้บำเพ็ญพรตภาวนา เมื่อพระนางสิวลีฟื้นคืนสติขึ้นมา ก็ได้พบพระสวามีของพระนางได้เสด็จไปเสียแล้ว พระนางจึงดำริว่า ราชสมบัติทั้งปวงนี้แม้สวามีของเรายังมิได้อาลัยอาวรณ์ เราจะยินดีเพื่อประโยชน์อะไร จึงรับสั่งให้เรียกข้าราชบริพารมา แล้วอภิเษกให้เจ้าทีฆาวุเสวยราชสมบัติพระองค์เองก็เสด็จออกบรรพชา ตราบจนกระทั่งสิ้นชีพไปบังเกิดบนสวรรค์ทั้งสองพระองค์
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1012


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2559 15:49:01 »


พระเจ้าสิบชาติ



พระชาติที่ 3 : พระสุวรรณสาม

ต่อมาไม่ช้าภรรยาของนายบ้านทั้งสองนั้นเกิดท้องขึ้นพร้อมๆกัน นายบ้านทั้งสองพากันดีอกดีใจมาก เพราะว่าตัวกำลังจะได้เห็นผลของคำสัญญาที่ตกลงกันไว้ เมื่อภรรยาท้องพอสมควรแก่เวลาแล้วก็คลอดบุตรออกมา ภรรยาของอีกบ้านหนึ่งคลอดออกมาเป็นหญิง ส่วนอีกบ้านคลอดออกมาเป็นชาย เขาพากันดีใจมากที่หมู่บ้านทั้งสองจะกลายมาเป็นหมู่บ้านเดียวกัน แม้จะมีแม่น้ำมาแยกก็ตามแต่เพราะทั้งสองบ้านนี้รวมเป็นบ้านเดียวกันได้ ฝ่ายหญิงให้ชื่อว่า "ปาริกา" ส่วนฝ่ายชายชื่อว่า "ทุรุก" แต่ทั้งสองฝ่ายหญิงและฝ่ายชายที่เกิดมานี้ออกจะผิดเพศพ่อกับแม่ไปมากเพราะว่าหมู่บ้านนี้เขาทำการหากินด้วยการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คือเข้าป่าล่าเนื้อเบื่อปลาต่างๆ เอามาเลี้ยงชีวิต แต่เด็กทั้งสองที่เกิดภายหลังหามีจิตใจเป็นเช่นนั้นไม่ กลับมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา แม้เห็นใครทำร้ายชีวิตสัตว์ เขาทั้งสองจะพากันเศร้าสลดว่า เออ?.. คนเหล่านี้ทำกรรมทำชั่ว เมื่อตายไปแล้วก็จะตกนรกตั้งกัลป ไม่มีใครช่วยได้

เมื่อทั้งสองคนนี้ได้เติบโตบรรลุนิติภาวะสมควรแก่การแต่งงานได้แล้ว ครอบครัวทั้งสองฝ่ายก็ได้จัดแจงให้คนทั้งสองได้แต่งงานกัน เมื่อแต่งงานแล้วคนทั้งสองหาได้มีความสนิทเสน่หาในฐานะสามีภรรยากันไม่ เพราะเขาไม่เคยคิดในเรื่องสิ่งเหล่านี้ คิดแต่ว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะพ้นไปจากทุกข์หล่านี้ได้ แม้บิดามารดาจะให้เขาทั้งสองร่ำเรียนวิชาการที่จะสืบสกุล คือให้เป็นพรานต่อไป เขาก็ปฎิเสธ

คือบิดาเคยพูดว่า “เจ้าหนู เจ้านะควรที่จะต้องเรียนวิชายิงธนูเพื่อที่จะเป็นอาชีพเลี้ยงตัวของเจ้า เพราะว่าในเรื่องของการยิงสัตว์แล้วไม่มีใครเกินมือพ่อ หากพ่อออกไปคราวใดเจ้าก็คงจะเคยเห็นว่าจะต้องได้เนื้อสัตว์ มาเสมอๆ เจ้าควรจะต้องฝึกยิงไว้”

แต่ทุรุกกุมารกลับตอบเสียว่า “คุณพ่อครับการทำลายสัตว์เอามาเลี้ยงชีวิตเรากระผมทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นอย่าให้กระผมได้เรียนวิชาเอาไปฆ่าสัตว์เลยครับ

“หน่อยเจ้าหนูเจ้ามันอวดดีจะไม่เหมาะเสียสักหน่อยล่ะกระมัง เจ้าน่ะอยู่ในบ้านพรานแล้วเจ้าจะหากินทางไหน เจ้าไม่มีที่จะไปหากินทางนี้เจ้าจะต้องอดตาย เพราะเมื่อเจ้าได้แต่งงานแต่งการเช่นนี้แล้วเจ้าจะตั้งหลักฐานได้อย่างไร ในเมื่อเจ้าหาทรัพย์ไม่ได้เลยสักอย่างเดียว"
 
“คุณพ่อครับ กระผมตั้งใจว่าจะสร้างตัวด้วยลำแข้งของกระผมเอง ด้วยการที่ไม่ต้องไปเบียดเบียนชีวิตของผู้อื่นเอามาเป็นชีวิตของตัวเอง"

“ไอ้หนู ออกจะอวดดีเกินไปสักหน่อยล่ะกระมังเจ้าควรคิดให้ดีนะว่าพ่อเป็นนายพรานแล้วนี้เป็นหมู่บ้านพราน เมื่อเจ้าทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เจ้าจะอยู่ยังไงคิดดูให้ดี"
 
“พ่อครับ ผมน่ะไม่เคยรังเกียจหมู่บ้านพรานเพราะว่าในใหมู่บ้านนี้น่ะถ้าไม่ใช่ญาติกันก็เป็นมิตรสหายกัน เพราะฉะนั้นกระผมมิได้มีความรังเกียจเลย แต่จิตใจของกระผมน่ะมันไม่อยากจะทำกรรมเหล่านั้นครับ"

“เมื่อเจ้าไม่ทำ พ่อเห็นว่าเจ้าควรที่จะออกไปจากบ้านนี้เพื่อเเสวงหาทางตั้งตัวของเจ้าต่อไปทางอื่นดีกว่า"

“ขอรับคุณพ่อ เมื่อคุณพ่อให้สติผมเช่นนี้ กระผมก็กราบลา และนับแต่นี้เป็นต้นไป กระผมจะขอบวชครับ"

“เอา ตกลง"

เมื่อได้รับคำอนุญาติจากพ่อแม่แล้วทั้งสองคนก็เดินทางออกไปสู่ป่าเพื่อบำเพ็ญพรต่อไป วันนั้นพระอินทร์ก็เผอินเกิดร้อนใจก็เล็งแลทิพย์เนตรลงมาตรวจดูว่าจะมีเห็นอะไรบ้างก็เห็นท่านทั้งสองออกเดินทางมาบำเพ็ญพรตสมควรจะต้องช่วยเหลือถ้าไม่ช่วยเหลือท่านทั้งสองจะลำบาก จึงสั่งให้พระวิษณุกรรมไปเนรมิตบรรณศาลา เพื่อท่านทั้งสองได้อาศัย

เมื่อพระวิศณุกรรมเนรมิตศาลาเสร็จแล้วก็เขียนหนังสือบอกไว้ว่า หากผู้ใดมีความประสงค์ที่จะบำเพ็ญภาวนาก็ขอให้ศาลานี้ให้เกิดประโยชน์เถิด เมื่อท่านทั้งสองได้เห็นบรรณศาลาเช่นนั้นก็ดีใจ เมื่อเข้าไปเห็นหนังสือที่เขียนไว้จึงยึดเอาศาลานี้เป็นที่บำเพ็ญพรตของคนทั้งสอง แต่เรื่องของคนทั้งสองคนยังไม่หมด พระอินทร์ได้สอดส่องทิพย์เนตร ก็เห็นว่าต่อไปท่านทั้งสองนี้เนื่องด้วยกรรมเก่าของท่านทั้งสองนี้ถึงกับเสียตา และเมื่อเป็นเช่นนั้นการหาอาหารก็จะลำบาก ควรจะต้องหาใครไว้สักคนหนึ่งเพื่อเอาไว้ช่วยเหลือ จึงใปหาพระดาบสพร้อมกับพูดว่า “ท่านขอรับ ท่านมาอยู่ในป่าสองคนผัวเมียไม่มีคนปฎิบัติหากเป็นอะไรไปแล้วจะได้รับความลำบากมาก”

“โอ? ไม่เป็นไรหรอก เราอยู่ในป่าก็อยู่อย่างสบายแม้เราจะเป็นอะไรไป เราก็คิดสละแล้ว เพราะเราทั้งสามีภรรยานี้ได้สละชีวิตแล้วเพื่อบำเพ็ญพรต”
 
“แต่ท่านครับ ต่อไปท่านจะต่องเสียตา และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วท่านตะหาอาหารที่ไหนได้”
 
“ตามใจมันเถอะ ถ้ามันหาอาหารไม่ได้มันก็ตายเท่านั้นเอง”

“แต่ว่าทำอย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกามเหล่านี้ล่ะ”

“เอ? ถ้าอย่างนั้นจะทำอย่างไรดีเล่าครับ ท่านน่ะจะต้องเสียตา แล้วใครจะปฎิบัติรักษาท่านได้ และเมื่อท่านสิ้นชีวิตเสียแล้ว การบำเพ็ญเพียรภาวนาเพื่อจะบรรลุผลสำเร็จถึงวันข้างหน้าท่านจะทำอย่างไรเล่าครับ เอาล่ะ ผมมีหนทางอย่างหนึ่ง แต่ท่านจะเชื่อหรือไม่ก็ตามใจท่านเถอะครับ คืออย่างงี้ ถึงเวลาภรรยาของท่านจะมีระดู กระผมน่ะอยากให้ท่านเอามือลูบท้องภรรยาท่านสามทีเท่านั้น ท่านก็จะมีลูกไว้ใช้สอย ท่านพอจะทำได้หรือไม่ครับ”

“เออ เท่านี้เหรอ ถ้าเพียงเท่านี้ก็พอจะทำได้หรอก แต่ว่าเรื่องอื่นไม่เอานะ”

เมื่อพูดจาตกลงกันอย่างนี้ เมื่อนางปาริกามีระดูก็ได้บอกกับทุรุกดาบสทราบ ทุรุกจึงได้เอามือลูบท้องของภรรยาสามที และนับแต่นั้นมานางปาริกาก็ตั้งครรภ์

เมื่อครบกำหนดก็คลอดออกมาเป็นเด็กผู้ชาย มีรูปพรรณสวยงาม ผิวเนื้อประดุจทอง เขาเลยตั้งชื่อว่า สุวรรณสาม เจ้าสุวรรณสามนี้น่ะ ตั้งแต่เกิดมาก็มีเมตตาจิตเพราะว่าบิดามารดาเป็นคนดีอยู่แล้ว ก็สอนให้สุวรรณสามนี้ประพฤติดีตลอดมา และก็สอนให้รู้จักทางทำมาหากิน คือทางที่มีผลไม้ท่านก็จะพาสุวรรณสามนี้ให้ไปรู้จักไว้บ้างว่าทางนี้น่ะมีผลไม้ทางโน้นไม่มี ว่าทางนี้จะไปไหนและจะกลับอาศรมได้เวลาใด ก็พยายามแนะนำสั่งสอนตลอดเวลา เจ้าสุวรรณสามก็โตขึ้น

จนกระทั่งวันหนึ่งซึ่งเป็นเวลาที่ท่านจะประสบอุบัติเหตุตามที่พระอินทร์ได้เคยว่าให้ฟังตั้งแต่ก่อน วันนั้นพอออกไปหาผลไม้เผอิญเกิดลมฝน อ้ายลมนี่น่ะมันเกิดขึ้นมามักจะมืดมัว ไอ้ป่าไม้มันก็มืด ท่านทั้งสองก็เลยไปหลบเข้าไปอาศัยอยู่ที่พุ้มไม้แห่งหนึ่งที่พุ่มไม้แห่งนั้นน่ะ เผอิญมันมีงูเห่าอยู่ตัวหนึ่งอยู่ที่นั่น พอเห็นมีคนเข้าไปจะว่าหวงโน่นหวงนี่ก็ใช่ที่ จะเพราะว่าถึงคราวของท่านมากกว่า จึงบังเอิญให้เจ้างูเห่านี่พ้นพิษงูออกมา เมื่อท่านทั้งสองเข้าในที่นั้น พิษนั้นก็เข้าตาของท่านทั้งสอง ท่านทั้งสองก็ตามืดมัวจนกระทั่งมองไม่เห็นอะไรเลยผลที่สุดไปไหนไม่ได้เลยอาหารก็หาไม่ได้

เจ้าสุวรรณสามนั้นคอยอยู่บรรณศาลา ถึงเวลาก็ไม่เห็นพ่อและแม่กลับมา ก็สงสัยในใจอยู่แล้ว จนกระทั่งเวลาเย็นเห็นว่าผิดเวลามากแล้วก็เลยออกตาม ออกตามนี้คือที่หมายความว่า ทางใดที่เคยไปหาผลหมากรากไม้เจ้าสุวรรณสามก็ตามไปทางนั้น ก็พอดีไปพบท่านทั้งสองยังนั่งอยู่ใต้ร่มไม้นั้น เมื่อสอบถามได้ความว่าถูกพิษร้ายจนกระทั่งเสียตา เจ้าสุวรรณสามก็หัวเราะชอบใจ
“ไอ้หนู”
“เจ้าหัวเราะทำไม ?”
“ก็หัวเราะพ่อกับแม่ที่ถูกพิษจนกระทั่งตาบอดน่ะสิ”
“เอ๊ะ? เจ้านี่ พ่อแม่ได้รับความทุกข์เจ้ากลับชอบใจรึ”
“ครับชอบใจ”
“อ้าว? ทำไมเป็นอย่างนั้นไปล่ะ เจ้าคิดจะเป็นคนเนรคุณล่ะสิ”

“เปล่าครับ ไม่ใช่อย่างนั้น ที่ผมดีใจน่ะผมจะได้เลี้ยงพ่อแม่ตามกำลังของผมโดยพ่อกับแม่ปฎิเสธไม่ได้ คราวก่อนผมจะออกไปหาเอง พ่อกับแม่ก็บอกว่าอย่าออกไปเลย ยังมีกำลังหาได้ก็จะหาไปก่อน และเดี๋ยวนี้พ่อกับแม่ก็เป็นคนพิการเสียแล้วไม่สามารถที่จะไปไหนได้ เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของผมที่จะต้องหาเลี้ยงพ่อแม่ นี่แหละครับเป็นเรื่องที่ผมดีใจที่สุด แล้วยังงี้จะไม่ให้ผมหัวเราะได้อย่างไรครับ”

“เออ เมื่อเป็นอย่างนี้จริงๆ พ่อต้องโมทนาด้วย เอาล่ะเดี๋ยวนี้มันก็เย็นแล้ว พ่อตาไม่เห็นอะไรแล้ว เจ้าก็ช่วยพาพ่อกับแม่กลับไปอาศรมของเราเถอะ” เจ้าสุวรรณสามก็พาท่านทั้งสองกลับอาศรม

และนับแต่นั้นเป็นต้นมา เจ้าสุวรรณสามก็ปฎิบัติท่านทั้งสองเป็นอันดี คือสถานที่เดินจงกลมหรือไปถ่ายทุกข์หรือว่าจะไปถ่ายเบาหรือว่าจะไปอาบน้ำอาบท่าก็ดี เจ้าสุวรรณสามก็พยายามหาเชือกเครือเถาต่างๆ มาผูกพอเป็นเครื่องหมายให้ท่านทั้งสองเดินเกาะไปตามราวเหล่านี้ ทำสิ่งเหล่านั้นได้โดยตัวเอง ซึ่งเป็นความสะดวกซึ่งท่านทั้งสองก็ทำได้อย่างสบาย

เจ้าสุวรรณสามก็ออกไปหาผลหมากรากไม้ พร้อมทั้งตักน้ำตักท่ามาไว้เพื่อให้ท่านทั้งสองได้ใช้ เจ้าสุวรรณสามได้ปฎิบัติบิดามารดามาโดยอาการเช่นนี้เป็นปกติ บิดามารดาก็รับความสุขขึ้นกว่าแต่ก่อน

ในเมืองพาราราณสีมีพระราชาองค์หนึ่ง ครอบครองราชสมบัติ ท้าวเธอทรงพระนามว่ากบิลยักษ์ พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ชอบเข้าป่าล่าสัตว์อยู่เป็นนิตย์ เมื่อท้าวเธอชอบเช่นนี้ก็ออกไปล่าสัตว์ แต่ดูก็แปลกประหลาดสักหน่อย เพราะพระเจ้ากบิลยักษ์ไปเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นไม่เอาใครไปด้วยเลย เมื่อออกไปถึงบริเวณสถานที่ซึ่งสุวรรณสามเคยมาตักน้ำเห็นรอยเท้าสัตว์เกลื่อนไปหมดก็ทรงดำริว่า “ตรงนี้เข้าทีมีรอยเท้าสัตว์ลงมากินน้ำมากมาย คงจะได้ยิงสัตว์แน่ล่ะ”

แล้วท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปซุ่มเพื่อยิงสัตว์ เมื่อคอยดูอยู่ได้สักครู่ ก็พอดีกับสุวรรณสามออกมาตักน้ำ มีหมู่เนื้อและกวางแวดล้อมกันมาเป็นหมู่ มาถึงฝั่งน้ำก็ลงไปตักเอาขึ้นมาท้าวกบิลยักษ์ทรงดำริว่า “ผู้นี้จะเป็นเทวดาหรือใครแน่หนอ ดูรูปร่างงดงามเสียเหลือเกิน ถ้าเราปรากฎตัวเข้าไปให้เห็นก็คงจะหนีไปเสีย ทำอย่างไรจึงจะรู้ความเล่า” แล้วพระองค์ก็คิดขึ้นได้ว่า
 
"อย่าเลยเราต้องเอาศรยิงให้ล้มลงก็จะหนีไปไหนไม่ได้"

พอคิดได้เช่นนั้น พระองค์ก็โก่งศรเขม้นมุ่งยิงเจ้าสุวรรณสามทันที ลูกศรเหมือนมีวิญญาณ วิ่งไปเสียบร่างของเจ้าสุวรรณสามเข้า บรรดาสัตว์ก็พากันแตกตื่นหนีไป
 สุวรรณสามพอรู้ว่าถูกศรก็ปลดหม้อน้ำลงจากบ่า ทรุดตัวลงนั่ง ปากก็ร้องถามออกไปว่า“ท่านผู้ใดซึ่งเป็นคนยิง ได้โปรดออกมาเจรจากันสักหน่อยว่าจะต้องการอะไรจึงมายิงข้าพเจ้า ช้างเขาจะยิงก็เพื่องาเสือเล่าก็เพียงเพื่อหนัง ส่วนข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านจะต้องการอะไร จึงมายิงข้าพเจ้า ขอโปรดออกมาเถิด”

พระยากบิลยักษ์ชักเอ๊ะใจ “เอ๊ะ? แปลก ชายคนนี้ถูกเรายิง ยังไม่โกรธเรายิง ยังไม่แสดงอาการโกรธเคืองเลยสักนิดเดียว ยังแถมเรียกเราออกไปเสียด้วยว่าต้องการอะไร” พระองค์ก็ออกไปยังที่สุวรรณสามนอนอยู่ พร้อมกับกล่าวว่า “พ่อหนุ่ม เราเป็นคนยิงเจ้าเอง แต่เพราะความพลาดพลั้งไปเท่านั้น เพราะเราตั้งใจจะยิงเนื้อที่กำลังมาก็พอดีเจ้ามาทำให้เหล่านั้นแตกตื่นหนีไปหมด”

สุวรรณสามพูดขึ้นว่า “ท่านอย่าได้กล่าวเช่นนั้นเลย ท่านเป็นใคร เนื้อในป่าไม่เคยกลัวข้าพเจ้าเลย เพราะข้าพเจ้าเป็นเพื่อนของเขา ไปไหนเคยไปด้วยกัน มาตักน้ำเขาก็จะมาด้วย มากินน้ำกินท่าแล้วกลับไปด้วยกัน ท่านประสงค์อะไรก็ขอให้โปรดบอกเถิด”

พระยากบิลยักษ์ทรงละอายพระทัย แต่ฝืนถามว่า “พ่อหนุ่ม เจ้าเป็นใครอยู่ในป่านี้ เป็นรุกขเทพหรือเจ้าป่าเจ้าเขาประการใด ส่วนตัวเราเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่ในกรุงพาราณสี ออกมาล่าสัตว์ "

สุวรรณสามคิดว่า “หากเราจะหลอกลวงท้าวเธอว่าเป็นอารักขไพรสนฑ์หรือเทวดา พระองค์ก็ทรงเชื่อ แต่จะทีประโยชน์อะไรกับการโกหกเช่นนั้น เราพูดความจริงดีกว่า” จึงได้ตอบท้าวเธอ “ข้าแต่สมมติเทพ ขอให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาวเถิด หม่อมฉันเป็นบุตรฤาษีอยู่ในป่านี้ และที่มาตักน้ำนี้ก็เพื่อจะเอาไปให้บิดามารดาได้อาบกิน”

พระเจ้ากบิลยักษ์ยิ่งคิดสลดพระทัย เพราะแทนที่เจ้าลูกฤาษีจะโกรธเคืองพระองค์ กลับให้ศีลให้พรเสียอีก อนิจจาเราทำกรรมหนักเหลือเกิน แต่ก็ยังไม่แน่ใจจึงถามอีกว่า “พ่อหนุ่มที่เรายิงเจ้านี่ เจ้าไม่โกรธเคืองเราเลยหรือ"

“ข้าพระองค์ไม่โกรธเคืองพระองค์ และไม่เคยคิดจะโกรธเคืองพระองค์ เพราะคิดเสียว่าเป็นกรรมเก่าของข้าพระองค์เอง สงสารแต่พ่อแม่เท่านั้น เพราะท่านทั้งสองตาเสีย ไม่สามารถจะหาเลี้ยงชีพได้”

“พ่อแม่เจ้าเสียตาทั้งสองคนรึ”

“เป็นอย่างนั้นพระเจ้าค่ะ จึงตกเป็นหน้าที่ของพระข้าองค์จะต้องหาเลี้ยงชีพด้วยตนเองได้ แต่เมื่อข้าพระองค์ต้องมาประสบภัยเสียเช่นนี้ท่านทั้งสองก็มีแต่จะรอความตายเท่านั้น”

พระราชายิ่งคิดก็ยิ่งร้อนพระทัย เพราะความวู่วามของเราวูบเดียวเท่านั้นจะล้างชีวิตคนไม่ผิดเสียอีกตั้งหลายคนเราจะทำอย่างไรดี ได้แต่คิดอยู่ในพระทัย ในที่สุดก็ตกลงใจแน่วแน่ว่าจะพยายามไถ่บาปให้น้อยลงบ้าง จึงกล่าวกับสุวรรณสามว่า “พ่อหนุ่ม เราได้ผิดไปแล้วที่ยิงเจ้า ยังแถมจะให้บิดามารดาเจ้าถึงแก่ความตายเสียอีกด้วย เจ้าบอกทางไปบรรณศาลาของเจ้าให้เราทราบ เราจะเลี้ยงบิดามารดาของเจ้าเอง”

“เป็นพระคุณล้นเกล้า ข้าพระองค์คิดถึงแต่บิดามารดาเท่านั้น เมื่อพระองค์จะเลี้ยงท่านทั้งสองแทนข้าพระองค์ ก็นับได้ว่าข้าพระองค์หมดห่วงได้จริง ขอพระองค์จงทรงพระเกษมสำราญไร้โรคาพยาธิเถิด” แล้วเขาก็ได้บอกทางไปยังบรรณศาลาของเขาให้พระเจ้ากบิลยักษ์ได้ทราบ พร้อมกับลมหายใจได้แผ่วเบา สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง สุวรรณสามตายเสียแล้ว พระเจ้ากบิลยักษ์จับเนื้อต้องตัวดู ก็เห็นว่ามือเท้าของเจ้าหนุ่มซึ่งนอนเพราะพิษศรของพระองค์เย็นขึ้นมาทุกขณะแล้ว เห็นว่าตายแน่ก็ตัดสินพระทัยหยิบหม้อน้ำขึ้นแบก สะพายศรไว้กับไหล่ดุ่มเดินไปอาศรมของฤาษีทั้งสอง  พอไปถึงอาศรมเห็นสองดาบสนั่งอยู่หน้าอาศรมคอยการกลับมาของเจ้าสุวรรณสามอยู่ ได้ยินเสียงใช่เท้าก็ทราบว่าไม่ใช่เจ้าสุวรรณสาม เพราะฝีเท้าหนักไม่เหมือนลูกชายของตัวเลย จึงเรียกไปว่า “พ่อสาม พ่อพาใครมาด้วย”
 
พระเจ้ากบิลยักษ์พอได้ยิน ก็ทราบว่าเป็นบิดามารดาของสุวรรณสาม จึงเดินเข้าไปใกล้ วางหม้อน้ำลงพร้อมกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นพระราชาอยู่ในพระนครพาราณสี มาเที่ยวยิงสัตว์ในป่านี้”

“ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญเถิด ขอเชิญพระองค์เสวยน้ำท่าผลาหารที่เจ้าสามบุตรของหม่อมฉันจัดแจงไว้ใกล้ๆ นี้เถิด”

เมื่อสนทนากันพอสมควรแล้ว พระเจ้ากบิลยักษ์ก็บอกให้ทราบว่า เจ้าสุวรรณสามได้ตายไปแ เพราะความเข้าใจผิดของพระองค์เอง ดาบสทั้งสองก็เศร้าโศก และขอให้พาไปที่ศพของเจ้าสุวรรณสาม ซึ่งพระเจ้ากบิลยักษ์ก็ยินยอมพาไป เมื่อไปถึงสถานที่ศพเจ้าสุวรรณสามนอนอยู่ ดาบสทั้งสองก็เข้าไปยังศพของเจ้าสุวรรณสามลูบคลำ เผอิญมารดาไปคลำถูกอกรู้สึกว่ายังอุ่นอยู่ จึงตั้งสัตย์ขอให้เข้าสุวรรณสามได้คืนชีพ แม้นางเทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาเจ้าสามในชาติก่อนซึ่งก็มาด้วยได้อธิษฐานพร้อมบิดาของเจ้าสามก็พลอยอธิษฐานด้วย

ด้วยแรงอธิฐาน ก็ได้บันดาลให้เจ้าสุวรรณสามกลับฟื้นคืนสติขึ้นมาได้ ได้ถามไถ่กันทราบความตลอด จนฟื้นขึ้นมา และเมื่ออาการเป็นไปเช่นนี้ ทั้งหมดก็ได้พากันกลับไปนังสถานที่อยู่ของตน โดยพระเจ้ากบิลยักษ์เมื่อไปถึงสถานที่แล้วก็คิดได้ถึงการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และเห็นว่าสุวรรณสามและดาบสเหล่านี้อยู่ด้วยความสุข จึงได้ลากลับยังสถานที่ของตน
 
คติที่เราจะได้จากเรื่องนี้ก็อยู่ที่ความเมตตากรุณาซึ่งก็จะเป็นคุณช่วยให้เรารอดจากภัยอันตราย และไม่มีเวรไม่มีภัยด้วยประการต่างๆ ทางศาสนาจึงกล่าวว่าเป็นกัลยาธรรม คือเป็นธรรมอันงามที่จะเป็นเครื่องป้องกันมิให้ผู้อื่นทำร้ายได้ ก็เป็นอันว่าจบเรื่องสุวรรณสามเพียงเท่านี้.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1012


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2559 15:22:23 »


พระเจ้าสิบชาติ



พระชาติที่ 4 : พระเนมิราช

พระเนมิราชเรื่องของพระเจ้าเนมิราชนี้ เป็นเรื่องที่อธิษฐานใจในการที่จะดำรงวงศ์ตระกูลของตนให้เป็นมา คือพระเจ้ากรุงมิถิลา ซึ่งเป็นวงศ์ของพระเจ้าเนมิราชนี้ ในบรรดาวงศ์เหล่านี้องค์ใดก็ตามที่ได้ครองราชสมบัติแล้ว พอปรากฎว่าเส้นพระเกศาหงอก โดยภูษามาลาเวลาที่จำเริญพระเกศา หรือว่าตบแต่งพระเกศาเมื่อเห็นเกศาหงอกก็ถอนมาให้ดู  พระเจ้าแผ่นดินเมื่อเห็นพระเกศาหงอกก็จะเวนราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส แล้วตัวเองก็จะออกบรรพชาบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าตราบจนสิ้นชีวิต เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ มาจนกระทั้งจะถึงกษัตริย์องค์สุดท้าย

ท่านกล่าวว่าขณะนั้นเนมิราชยังเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ได้พิจารณาเห็นว่าตนจะต้องสิ้นอายุ และในวงค์นี้ก็กำลังเสื่อมทรุดเพราะว่าไม่มีคนที่จะลงมาบำเพ็ญ โดยอย่างชนิดที่ว่าพอแก่แล้วต้องออกไปบำเพ็ญพรตภาวนา วงค์นี้กำลังเสื่อมทรุดลงไปแล้ว จึงติดว่าอย่าเลย เราจะต้องลงมาเพื่อจะได้สืบวงค์เหล่านี้อีกต่อไป จึงได้จุติลงมาเข้าสู่พระครรภ์ของพระมเหสีพระเจ้ากรุงมิถิลา เมื่อครบกำหนดทศมาสเจ้าเนมิราชก็ประสูติออกจากครรภ์พระมารดา บรรดาโหราทั้งหลายต่างก็พยากรณ์ต้องกันว่า พระราชกุมารพระองค์นี้จะต้องเป็นไปตามวงค์ที่เคยทำมา เพราะฉนั้นเข้าลักษณะ ที่ว่ากงเกวียนกำเกวียนย่อมต้องเวียนไปตามกัน จึงให้นามว่า พระเนมิราช เรื่องของพระเจ้าเนมิราชนี้ เป็นเรื่องที่อธิษฐานใจในการที่จะดำรงวงศ์ตระกูลของตนให้เป็นมา คือพระเจ้ากรุงมิถิลา ซึ่งเป็นวงศ์ของพระเจ้าเนมิราชนี้ ในบรรดาวงศ์เหล่านี้องค์ใดก็ตามที่ได้ครองราชสมบัติแล้ว พอปรากฎว่าเส้นพระเกศาหงอก โดยภูษามาลาเวลาที่จำเริญพระเกศา หรือว่าตบแต่งพระเกศาเมื่อเห็นเกศาหงอกก็ถอนมาให้ดู

พระเจ้าแผ่นดินเมื่อเห็นพระเกศาหงอกก็จะเวนราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส แล้วตัวเองก็จะออกบรรพชาบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าตราบจนสิ้นชีวิต เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ มาจนกระทั้งจะถึงกษัตริย์องค์สุดท้าย

ท่านกล่าวว่าขณะนั้นเนมิราชยังเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ได้พิจารณาเห็นว่าตนจะต้องสิ้นอายุ และในวงค์นี้ก็กำลังเสื่อมทรุดเพราะว่าไม่มีคนที่จะลงมาบำเพ็ญ โดยอย่างชนิดที่ว่าพอแก่แล้วต้องออกไปบำเพ็ญพรตภาวนา วงค์นี้กำลังเสื่อมทรุดลงไปแล้ว จึงติดว่าอย่าเลย เราจะต้องลงมาเพื่อจะได้สืบวงค์เหล่านี้อีกต่อไป จึงได้จุติลงมาเข้าสู่พระครรภ์ของพระมเหสีพระเจ้ากรุงมิถิลา เมื่อครบกำหนดทศมาส เจ้าเนมิราชก็ประสูติออกจากครรภ์พระมารดา บรรดาโหราทั้งหลายต่างก็พยากรณ์ต้องกันว่า พระราชกุมารพระองค์นี้จะต้องเป็นไปตามวงค์ที่เคยทำมา เพราะฉนั้นเข้าลักษณะที่ว่ากงเกวียนกำเกวียนย่อมต้องเวียนไปตามกัน จึงให้นามว่า เนมิราช

แล้วเจ้าเนมิราชนั้น เมื่อเจริญวัยขึ้นพอสมควรแล้ว พระบิดานั้นก็เส้นพระเกศาหงอกก็เลยเวนราชสมบัติให้เจ้าเนมิราชครอบครอง เจ้าเนมิราชปกติเป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรม จำเริญภาวนาอยู่เป็นนิตย์ จึงได้รับสั่งให้ตั้งศาลขึ้นถึงห้าแห่งคือที่ประตูพระนครที่แห่ง และที่กลางเมืองอีกแห่ง ให้ทานแก่บรรดาผู้ที่ยากจนและขัดสนทั้งหลาย ตัวเองก็พยายามสั่งสอนประชาชนพลเมืองให้ประพฤติตนอยู่ในความดี ให้ยินดีแต่ในสิ่งอันอาจได้โดยชอบธรรม

มิใช่เป็นแต่ในเรื่องนิทาน แม้ในเรื่องความจริงของเรากษัตริย์สมัยสุโขทัยท่านยังปฎิบัติเช่นนี้เมือนกัน คือพ่อขุนรามคำแหง มีพระแท่นมนังศิลาอาสน์ตั้งอยู่ในดงตาล วันฟังธรรมคือวันธรรมสวนะ ท่านก็นิมนต์พระสงฆ์มาเทศนาสั่งสอนประชาชนพลเมือง และในวันปกติท่านออกว่าราชการ และสั่งสอนให้ข้าราชการตลอดจนประชาชนพลเมืองตนตั่งอยู่ในศีลในธรรม

มิใช่เป็นแต่ในเรื่องนิทาน แม้ในเรื่องความจริงของเรากษัตริย์สมัยสุโขทัยท่านยังปฎิบัติเช่นนี้เมือนกัน คือพ่อขุนรามคำแหง มีพระแท่นมนังศิลาอาสน์ตั้งอยู่ในดงตาล วันฟังธรรมคือวันธรรมสวนะ ท่านก็นิมนต์พระสงฆ์มาเทศนาสั่งสอนประชาชนพลเมือง และในวันปกติท่านออกว่าราชการ และสั่งสอนให้ข้าราชการ ตลอดจนประชาชนพลเมืองตนตั่งอยู่ในศีลในธรรม

นี่ก็เช่นเดียวกัน เพราะฉนั้นบรรดาพวกที่ได้รับการสั่งสอนเหล่านี้ ตายไปก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกมากมาย พวกเทวดาเหล่านั้นก็พากันคิดว่า เออ? พวกเราน่ะขึ้นมาเกิดบนนี้ได้เพราะอะไร ก็ทราบได้ด่วยการสั่งสอนของเจ้าเนมิราช ก็อยากเห็นพระองค์ จึงพากันไปกราบทูลพระอินทร์ว่า พวกข้าพระองค์นี่อยากเห็นเจ้าเนมิราชสักหน่อย

พระอินทร์เมื่อได้ทราบเช่นนั้น ก็ให้ตุลีเทพบุตรลงไปเชิญพระเจ้าเนมิราชขึ้นมาบนสวรรค์ พระมาคุลีก็รีบลงไปพร้อมทั้งนำเวชยันต์รถทรงของท้าวสักกะ คือพระอินทร์ลงไปด้วย และเมื่อลงไปแล้วจึงเชื้อเชิญให้พระเจ้าเนมิราชขึ้นมา พระเจ้าเนมิราชก็คิดว่าเราได้สั่งสอนให้คนอื่นประพฤติดี ประพฤติชอบแต่คิดว่าสวรรค์เป็นอย่างไรเราก็ไม่เคยเห็น เพราะฉนั้นสมควรจะไปดู จึงได้ลาบรรดาข้าราชการทั้งหลาย พร้อมทั้งบรรดาพระญาติพระวงค์ แล้วขึ้นเวชยันต์ราชรถมากับพระมาตุลี เมื่อถึงระหว่างทาง พระมาตุลีประสงค์จะแสดงตัวว่าตนนี่เป็นสารถีพิเศษ ที่สามารถจะนำไปที่ใดก็ได้ จึงบอกว่า

“ก่อนที่พระองค์จะไปสวรรค์นี้ อยากจะชมนรกบ้างไหม”
“อ๋อ? มันก็ดีนะสิ แต่มันจะไกล มันจะใกล้ขนาดไหนล่ะ”
“ก็ไม่ไกลไม่ใกล้เท่าไหร่หรอกพระเจ้าค่ะ”
“แล้วก็เวลาที่ท่านจะไปถึงสวรรค์มันไม่ช้าเกินไปรึ”
“ไม่ช้าเกินไปหรอกพระเจ้าค่ะ เมื่อพระองค์อยากจะดูล่ะก็ ข้าพเจ้าก็อยากที่จะพาไปดูเหมือนกัน”
“ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าก็อยากจะดู”

ในขณะนั้นเองท้าวสักกะ คืออินทรเทวราช เห็นว่าพรพะมาตุลีไปนาน จึงได้สอดส่องทิพย์เนตรลงไปดู ก็เห็นว่าพระมาตุลีพาพระเนมิราชลงไปชมนรกอยู่ กว่าจะหมดเยือนนรก อายุของพระเนมิราชเห็นจะสิ้นเสียก่อนล่ะกระมัง เมื่อคิดได้เช่นนี้ จึงให้มหาชวนะเทพบุตรลงไปตาม มหาชวนะเทพบุตรไปบอกว่า “ท่านมาตุลี เดี๋ยวนี้ท้าวสักกะกำลังรอท่านอยู่”

พระมาตุลีเมื่อได้ฟังมหาชวนะเทพบุตร ก็แสดงอาการให้พระเนมิราชได้เห็นนรกทั้งหมดโดยพร้อมกันในคราวเดียวพร้อมทั้งบอกถึงกรรมของสัตว์เหล่านั้น แล้วก็พาพระเนมิราชขึ้นมายังสวรรค์ และเมื่อถึงแล้ว พระอินทร์พร้อมทั้งเทพยดาทั้งหลายก็พากันมาสักการบูชา แต่ว่าในขณะที่จะมาาถึงนี่ผ่านวิมานต่างๆ กัน จึงเห็นอากัปกิริยาต่างกัน และลักษณะสัณฐานของสิ่งเหล่านั้นก็ต่างกัน

พระเนมิราชสงสัยก็สอบถามพรพะมาตุลีๆ ก็ชี้แจงให้ฟังทุกประการ เมื่อมาถึงได้รับการสักการบูชา เทวดาพร้อมทั้งพระอินทร์ก็เชื้อเชิญให้อยู่เสวยสมบัติบนสวรรค์ แต่ความ ประสงค์จะทำเช่นนั้น ตัวเองมีแต่ความเศร้าสลดใจที่ได้เห็นกรรมของมนุษย์ทั้งหลายที่ประพฤติชั่วต้องไปตกนรกเสวยกรรมต่างๆ และยินดีที่ได้เห็นมนุษย์ที่ประกอบกรรมดีได้รับผลชอบขึ้นมาเสวยสุขในวิมานเมืองแมน จึงดำริจะสั่งสอนให้สัตว์ทั่งหลายประพฤติชอบมากขึ้นเพื่อจะไปเกิดในสวรรค์ จึงได้ลาพระอินทร์เทพลงมายังเมืองมนุษย์ และมโนปณิฐานของพระองค์ตราบเท่าสิ้นอายุ

คติที่เราได้จากเรื่องนี้คือ เรื่องการตั้งใจมั่นมุ่งหวังอย่างไร ตั้งใจแล้วต้องให้สำเร็จผล อย่าทอดทิ้งเสียกลางคัน แม้พระพุทธเจ้าของเราตั้งอธิษฐานในใจว่าไม่สำเร็จจะไม่ลุกขึ้นและพระองค์ก็สำเร็จจริงๆ ผลดีจึงเกิดแก่พวกเราจนกระทั่งบัดนี้ เพราะมิฉนั้นแล้วพระพุทธศาสนาของเราจะเกิดมีขึ้นไม่ได้เลย และมีอีกอย่างที่ไม่ควรลืมก็คือ ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้รับผลชั่วอย่างแน่นอน.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.718 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 28 กุมภาพันธ์ 2567 06:24:27