[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 19:10:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา : สถาปัตยกรรมต้นแบบปราสาทนครวัด กัมพูชา  (อ่าน 6266 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 มิถุนายน 2559 13:40:37 »


ปุจฉา...?
วิสัชนา...เราสามารถทราบวิวัฒนาการของปราสาทขอม
ได้จากรูปแบบสถาปัตยกรรม






อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ต้นแบบของปราสาทนครวัด
สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่อยู่ในประเทศกัมพูชา

kimleng


อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “ปราสาทหินพิมาย”  ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นแหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่า ในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี คติการนับถือศาสนา และอื่นๆ ของผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ปราสาทหินพิมาย เป็นศาสนสถานโบราณสมัยขอมเรืองอำนาจที่ใหญ่โตและงดงามอลังการ สิ่งก่อสร้างแห่งนี้แสดงถึงบารมีอันยิ่งใหญ่ของผู้สร้าง และพลังแห่งศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อศาสนา

โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมายเป็นระเบียบได้สัดส่วน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๕๖๕ เมตร ยาว ๑,๐๓๐ เมตร  มีปราสาทประธานตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของเมือง ล้อมรอบด้วยแม่น้ำมูลไหลผ่านทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก ด้านทิศใต้มีลำน้ำเค็ม ทางทิศตะวันตกมีลำน้ำจักราชไหลผ่านไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่ท่าสงกรานต์ มีแหล่งน้ำภายในเมืองได้แก่ สระแก้ว สระพลุ่ง และสระขวัญ  และสระน้ำที่ขุดขึ้นนอกเมือง ได้แก่ สระเพลง สระโบสถ์ สระเพลงแห้ง และอ่างเก็บน้ำ (บาราย) ขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ ซึ่งยังคงเหลือร่องรอยโบราณสถานและสระน้ำที่ขุดขึ้นใช้ให้เห็นทางทิศเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออก



ปราสาทนครวัด เมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา
ภาพ : Mckaforce


ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
สร้างเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒
โดยนำสถาปัตยกรรม 'ปราสาทหินพิมาย' ไปเป็นต้นแบบของการก่อสร้าง
ภาพ : Mckaforce

ปราสาทหินพิมายสร้างด้วยหินทราย มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากปราสาทหินแห่งอื่น คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้หรือหันหน้าไปทางเมืองนครวัด ในราชอาณาจักรขอม ซึ่งปราสาทหินแห่งอื่นมักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร มายังเมืองพิมายทางด้านทิศใต้  เพื่อให้เป็นศาสนสถานของพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ภายในปรางค์ประธานประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก ภายนอกสลักภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ภายในประกอบด้วยศาสนสถานอื่นๆ ได้แก่ ธรรมศาลา ปรางค์พรหมทัต ปรางค์หินแดง คลังเงิน บรรณาลัย เป็นต้น  โดยมีลักษณะทางศิลปกรรมแบบปาปวน ซึ่งรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น และศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปะปนอยู่บ้าง

จากการศึกษาโดยการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี มีการกำหนดอายุของหลักฐานต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก หลักฐานทางโบราณคดี และหลักฐานทางด้านศิลปกรรม ที่แตกต่างไปจากที่พบโดยทั่วๆ ไป ของปราสาทแห่งอื่น  เช่น ภาพสลักประดับสถาปัตยกรรม ซึ่งในปราสาทหินแบบศิลปกรรมเขมร นิยมแกะสลักรูปลงในเนื้อหินตามส่วนต่างๆ ของอาคาร ได้แก่ หน้าบัน ทับหลัง เสาประดับกรอบประตู และเสาติดผนัง   รวมทั้งเมืองพิมายในสมัยนั้นเป็นเมืองที่มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรขอม ที่เป็นศูนย์กลางของความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุด ดังนั้น วัฒนธรรมขอมจึงแผ่อิทธิพลขยายเข้ามายังดินแดนอาณาจักรไทยแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผ่านทางกลุ่มชนสองเชื้อชาติที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เป็นเหตุให้มีการเกี่ยวดองเป็นเครือญาติกันด้วยการแต่งงาน สืบเชื้อสายลูกหลานไปสร้างบ้านแปงเมืองขยายขอบเขตขึ้นในถิ่นอื่นๆ  และโดยที่ชาวเขมรโบราณส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์ (ต่อมานับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน) ด้วยเหตุนี้ จึงสันนิษฐานได้ว่า ปราสาทหินพิมายคงสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยได้มีการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมอีกในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘  เพื่อเป็นสถานที่สำหรับกษัตริย์และเจ้านายผู้สูงศักได้ทำพิธีเซ่นไหว้บูชา ประกอบกิจทางศาสนา เผยแผ่ศาสนา ตลอดจนการบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนยามเสด็จมา ณ ศาสนสถานแห่งนี้  

เชื่อกันว่า คำว่า “พิมาย” น่าจะเป็นคำเดียวกับชื่อ “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรที่จารบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของทางเข้าปราสาทหินพิมาย

ชื่อ “วิมาย” นี้นำหน้าด้วยคำว่า “กมรเตงชคต”  พบในศิลาจารึกในที่อื่นหลายแห่งด้วยกัน เช่น จารึกเขาพนมรุ้ง จารึกเขาพระวิหาร เป็นต้น   จึงอาจจะเป็นคำนำหน้าที่ใช้เรียกรูปเคารพประจำศาสนสถานและอาจเรียกรวมไปถึงศาสนสถานด้วย  

ชื่อ “พิมาย” นั้น ปรากฏเป็นชื่อเมืองอยู่ในศิลาจารึกพบในประเทศกัมพูชาหลายแห่ง แม้รูปคำจะไม่ตรงกันทีเดียวนัก แต่เป็นที่เชื่อกันว่า หมายถึงเมืองพิมายอันเป็นที่ตั้งของปราสาทหินพิมายนี่เอง โดยเรียกว่า “ภีมปุระ” บ้าง (จารึกพระเจ้าอิสาณวรมันที่ ๑ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑๕๙-๑๑๗๒) เรียกเมืองวิมาย หรือวิมายะปุระ บ้าง (จารึกปราสาทพระขรรค์ พุทธศตวรรษที่ ๑๘) โดยเฉพาะข้อความในจารึกปราสาทพระขรรค์ที่กล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดให้สร้างที่พักคนเดินทาง จากราชธานีมายังเมืองพิมาย รวม ๑๗ แห่งด้วยกันนั้น แสดงถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างเมืองวิมายกับอาณาจักรเขมร และแสดงว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญไม่น้อย  จากหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่มีอยู่ในเมืองพิมาย ตลอดจนโบราณสถานที่เชื่อว่าคือที่พักของคนเดินทางที่พบหลายแห่ง ระหว่างเส้นทางโบราณจากเมืองพระนครแห่งอาณาจักรเขมรโบราณมาสู่เมืองพิมาย เป็นสิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า เมืองพิมายนี้ ควรจะเป็นเมืองเดียวกันกับเมืองวิมายที่กล่าวถึงในจารึกปราสาทพระขรรค์



สะพานนาคราช



 

เมื่อเข้าไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมายจะผ่านส่วนนี้เป็นส่วนแรก ถนนที่ตรงจากท่าน้ำผ่านประตูเมืองด้านหน้าจะมาสิ้นสุดลงที่สะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่ด้านหน้าของซุ้มประตู หรือที่มีศัพท์เรียกว่า โคปุระ ด้านทิศใต้ของปรางค์ประธานซึ่งเป็นส่วนหน้าของปราสาท ทั้งนี้อาจมีจุดมุ่งหมายในการสร้างให้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ ตามคติความเชื่อในเรื่องจักรวาลทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ  มีลักษณะเป็นสะพานรูปกากบาท ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๓๑.๗๐ เมตร ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ ๒.๕๐ เมตร ด้านหน้าและด้านข้างลดชั้น ทั้งสามด้านมีบันไดขึ้น-ลง เชิงบันไดทำเป็นอัฒจันทร์รูปปีกกา ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวของนาคราช ชูคอแผ่พังพานเป็นนาค ๗ เศียร เศียรนาคเหล่านี้มีรัศมีติดกันเป็นแผ่นสลักลายในแนวนอน อันเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะเขมรแบบนครวัด ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หันหน้าออกไปยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ ที่เชิงบันไดมีประติมากรรมรูปสิงห์สลักด้วยหินทรายตั้งประดับอยู่ที่เสา

ถัดจากสะพานนาคราชเข้ามาเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกว่า โคปุระ ของกำแพงปราสาทด้านทิศใต้ ประตูซุ้มนี้ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาทและมีซุ้มประตูลักษณะเดียวกันนี้อีก ๓ ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยมีแนวกำแพงสร้างเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือถึงใต้ ๒๗๗.๕๐ เมตร และกว้างจากตะวันออกไปตะวันตก ๒๒๐ เมตร ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตกมีทับหลังชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปขบวนแห่พระพุทธรูปนาคปรกที่ประดิษฐานอยู่เหนือคานหาม















ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว




ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว (Arched Gateways and Kamphaeng kaew)
ซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพง อยู่ในแนวตรงกันทั้งหมด ๔ ด้าน คือ ทิศเหนือและทิศใต้
อยู่ตรงกึ่งกลางของกำแพงทิศตะวันออกและทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย
 
ผังโดยรอบของซุ้มประตูมีลักษณะเป็นรูปกากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านใน
เชื่อกันว่าเป็นดินแดนเข้าสู่โลกสวรรค์อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า







กำแพงชั้นในของปราสาทก่อด้วยหินทรายสีแดง ยกเว้นส่วนที่ต้องการความแข็งแรงพิเศษ
มีลักษณะต่างจากกำแพงชั้นนอก คือก่อเป็นห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาคลุมยาวต่อเนื่องกัน
ล้อมรอบลานปราสาทชั้นใน อันเป็นลักษณะที่เรียกว่า ระเบียงคด  ภายในสามารถเดินทะลุถึงกันได้โดยตลอด



ลูกมะหวด หมายถึงลูกกรงที่ใช้แทนหน้าต่างปิดตาย มักพบตามปราสาทหิน


ที่ซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ส่วนที่เป็นกรอบประตู กรอบหน้าต่าง เสารับทับหลัง
สร้างด้วยหินทรายสีขาว  ก่อห้องยาวสูงขึ้นมาจากระดับพื้นดินประมาณ ๑ เมตร สูง ๒.๓๕ เมตร
ความยาวของด้านทิศเหนือและทิศใต้ ๗๒ เมตร ด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ยาว ๘๐ เมตร
ผนังด้านในทุกด้านเจาะหน้าต่างเป็นระยะตรงกัน ส่วนผนังด้านนอกปิดทึบแต่ทำเป็นหน้าต่างหลอก
ประดับลูกกรงสลักหินทราย อย่างที่เรียกว่า ลูกมะหวด

ซุ้มประตูและระเบียงคดส่วนใหญ่พังทลายลง เนื่องจากใช้หินทรายซึ่งมีคุณสมบัติผุเปื่อย พังง่าย
เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2559 11:23:50 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2559 11:20:20 »


ปรางค์ประธาน







ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ภายในวงล้อมของระเบียงคด เป็นศูนย์กลางของศาสนสถาน หันหน้าไปทางทิศใต้
สร้างด้วยหินทรายสีขาวทั้งองค์ ต่างจากซุ้มประตู(โคปุระ) กำแพงชั้นในและกำแพงชั้นนอกที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นส่วนใหญ่ 
องค์ปรางค์สูง ๒๘ เมตร ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง ยาวด้านละ ๒๒ เมตร  มีมณฑปสร้างเชื่อมต่อ
กับองค์ปรางค์โดยมีฉนวนกั้น  ทั้งองค์ปรางค์และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ประกอบด้วยฐานเขียงและฐานบัว เป็นชั้นๆ
มีรูปแกะสลักเป็นลายกลีบบัว และลายประจำยาม ส่วนด้านอื่นๆ อีกสามด้านมีมุขยื่นออกไป มีบันไดและประตู
ขึ้นลงสู่องค์ปรางค์ทั้งสี่ด้าน ภายในมีห้องสี่เหลี่ยมอยู่ตรงกลาง เรียกว่า ห้องครรภคฤหะ  (GARBHAGRIHA)
ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสูงสุด จึงจัดเป็นห้องที่สำคัญที่สุดของศาสนสถาน  ซึ่งในครั้งอดีตผู้ที่จะเข้ามาในห้องนี้ได้
คือ กษัตริย์และนักบวชเพียงเท่านั้น    ปัจจุบัน คงเหลืออยู่แต่ร่องรอยของร่องน้ำมนต์ที่มุมห้องด้านทิศตะวันตก
ที่ต่อท่อลอดออกไปยังด้านนอกขององค์ปรางค์ ส่วนสัญลักษณ์สูงสุดหรือรูปเคารพที่ได้เคยประดิษฐานได้สูญหายไปจากห้องนี้นานแล้ว



ครุฑแบก


เรือนยอด หรือ ส่วนยอด ซึ่งเป็นส่วนของหลังคา ทำเป็นชั้นเชิงบาตร คือสร้างเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันขึ้นไป มี ๕ ชั้น
ที่เชิงหลังคาสลักเป็นรูปครุฑแบกอยู่ตรงกลาง โดยรอบด้วยกลีบขนุน รูปเทพต่างๆ และมีเศียรนาคอยู่ที่
มุมกลางของแต่ละมุมเหนือชั้นเชิงบาตร


ชั้นบนสุดของส่วนยอดสลักเป็นรูปดอกบัว



บราลี รูปหัวเม็ด กลึงเป็นลูกแก้ว ซ้อนเป็นชั้นๆ
ใช้ติดประดับรายๆ ไปตามอกไก่หลังคาหรือหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด



มณฑป มุงหลังคาด้วยแผ่นหินซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไปเป็นรูปโค้งลดชั้น ประดับสันหลังคาด้วยบราลี













ปรางค์ประธานของปราสาทหินพิมาย มีการตกแต่งอย่างดงาม โดยแกะสลักลงในเนื้อหิน
เป็นลวดลายประดับตามผนังด้านนอกของอาคารทั้งช่วงล่างและช่วงบน เสาติดผนัง เสาประดับ กรอบประตู
หรือเสารับทับหลังและกรอบหน้าบัน  โดยแกะสลักเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา ผูกเป็นลวดลายต่างๆ
เช่น ลายประจำยาม ลายกรุยเชิง ลายก้านต่อดอก ลายใบไม้ม้่วน ฯลฯ

แต่ที่หน้าบันและทับหลังมักแกะสลักเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับศาสนา จากคัมภีร์ในศาสนาฮินดู
เช่น เรื่องรามายะณะ และเรื่องราวทางพุทธศาสนาในคติมหายาน
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2559 16:50:19 »




โบราณสถาน "อโรคยาศาล"

จากบทความเรื่อง "โรงพยาบาลในจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗" โดย นวพรรณ ภัทรมูล นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ว่า "เมื่อประชาชนมีโรคถึงความหายนะ ตามภาวะแห่งกรรมด้วยการสิ้นไปแห่งอายุเพราะบุญ พระองค์ผู้เป็นราชา ได้กระทำโคที่สมบูรณ์ทั้งสาม เพื่อประกาศยุคอันประเสริฐ" ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของจารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ บอกถึงความมุ่งหมายในการสร้างสถานพยาบาล หรือ "อโรคยาศาล" (คำๆ นี้ปรากฏอยู่ในจารึกบรรทัดที่ ๗ ด้านที่ ๒ ของจารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปแบบและภารกิจของอโรคยาศาล ที่ได้ระบุไว้ในจารึกนั้น ก็เทียบได้กับ "โรงพยาบาล" ในปัจจุบันนั่นเอง

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์มหิธรปุระ โดยทางพระราชบิดา (พระเจ้าธรณินธรวรมันที่ ๒) ส่วนพระราชมารดาเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ พระองค์ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.๑๗๒๔ ทรงมีพระเมตตาต่ออาณาประชาราษฎร์ยิ่ง ทรงโปรดให้สร้างสิ่งอันเป็นสาธารณประโยชน์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาล จำนวนมากถึง ๑๐๒ แห่ง ทั่วราชอาณาจักร ทั้งยังพระราชทานข้าวของเครื่องใช้ตลอดจนยารักษาโรค

อโรคยาศาลประกอบด้วยปรางค์ประธาน มีอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัย สร้างด้วยศิลาแลง หันหน้าสู่ปราสาทประธาน ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ตำแหน่งของบรรณาลัยมักจะอยู่ค่อนไปที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้เสมอ มีซุ้มประตูทางเข้าเรียกว่า โคปุระ ทางด้านหน้าเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ใกล้ๆ จุดกึ่งกลางของกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก

บริเวณด้านนอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เรียกว่า บาราย หรือ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ กรุด้วยศิลาแลง เป็นสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นตามรายทางของอาณาจักรขอมสมัยพระนคร จะเชื่อมกับปราสาทนครธม และปราสาทหินอื่นๆ ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แผ่พระราชอำนาจไปถึงและสร้างปราสาทหินเอาไว้

เหตุที่ทราบว่าเป็นโรงพยาบาลเพราะมีหลักฐานจารึกไว้ ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลคำอ่าน-คำแปลของจารึกในกลุ่มจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ รวม ๖ หลัก ได้แก่
   -จารึกพบที่ จ.สุรินทร์ ๓ หลัก คือ จารึกปราสาท (สร.๔),
   -จารึกตาเมียนโตจ (สร.๑),
   -จารึกสุรินทร์ ๒ (สร.๖)
   -จารึกพบที่ จ.นครราชสีมา ๑ หลัก คือ จารึกเมืองพิมาย (นม.๑๗)
   -จารึกพบที่ จ.บุรีรัมย์ ๑ หลัก คือ จารึกด่านประคำ (บร.๒) และ
   -จารึกพบที่ จ.ชัยภูมิ ๑ หลัก คือ จารึกวัดกู่บ้านหนองบัว (ชย.๖)

เมื่อได้พิจารณาและเปรียบเทียบในส่วนของเนื้อหาแล้วพบว่า ทุกหลักมีเนื้อหาและการเรียงลำดับข้อมูลเหมือนกัน กล่าวคือ

จารึกด้านที่ ๑ จะขึ้นต้นด้วยการกล่าวนมัสการเทพประจำโรงพยาบาล ตามด้วยสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และพระเทวี พร้อมกล่าวถึงมูลเหตุที่สร้างโรงพยาบาล
จารึกด้านที่ ๒ กล่าวถึงจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาล ตลอดจนหน้าที่ของแต่ละคน
จารึกด้านที่ ๓ กล่าวถึงจำนวนสิ่งของเครื่องใช้ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้อุทิศไว้เพื่อใช้ในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง และ
จารึกด้านที่ ๔ กล่าวสรรเสริญและอำนวยพรแด่พระราชาผู้ได้กระทำกุศล อีกทั้งประกาศข้อห้ามต่างๆ ในโรงพยาบาล

เทพประจำโรงพยาบาลมี ๓ องค์ คือ พระไภษัชครุไวทูรย์ (พระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระชินะ ถือเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งผู้ประสาทความไม่มีโรค อีก ๒ องค์เป็นพระชิโนรส คือ พระศรีสูรยไวโรจนจันทโรจิ และพระศรีจันทรไวโรจนโรหินีศะ ผู้ขจัดโรค

ส่วนเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลมีหลายตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งมีจำนวนบุคคลไม่เท่ากันในแต่ละโรงพยาบาล จำนวนคร่าวๆ ได้แก่ แพทย์ ๒ คน เจ้าหน้าที่ดูแลทรัพย์สิน ธุรการ หาข้าวเปลือก หาฟืน จ่ายยา ทำบัตร สถิติ จ่ายสลากยา พลีทาน หาฟืนต้มยา เจ้าหน้าที่หุงต้ม ดูแลรักษาและจ่ายน้ำ หาดอกไม้และหญ้าบูชายัญ เจ้าหน้าที่โม่ยา ตำข้าว เจ้าหน้าที่ประกอบพิธีบูชายัญ เจ้าหน้าที่ดูแลทั่วไป และทำความสะอาดเทวสถาน

เจ้าหน้าที่ที่มีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มคือผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาโรงพยาบาลและส่งยาให้แก่แพทย์ จำนวน ๑๔ คน และเจ้าหน้าที่ที่มีความสำคัญอีกคนหนึ่งคือโหราจารย์ ทั้งนี้ จากจารึกปราสาทและจารึกสุรินทร์ ๒ ระบุไว้ว่าจำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดในโรงพยาบาลมีถึง ๙๘ คน

สำหรับสิ่งของเครื่องใช้ประกอบการรักษาพยาบาล ได้แก่ เครื่องพลีทาน ข้าวสาร เครื่องแต่งตัวยาวเก้าคืบ เสื้อผ้ายาว สิบคืบ เครื่องนุ่งห่มที่มีชายสีแดง เครื่องนุ่งห่มสีขาว ผ้าสีขาว กฤษณา เทียนขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง น้ำมัน เนยใส จันเทศ เกลือ ผลกระวาน ใหญ่เล็ก กำยาน มหาหิงคุ์ น้ำตาลกรวด ไม้จันทน์ เทียนไข อาหารโค ฯลฯ
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 09 มีนาคม 2566 19:26:08 »



องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
เรื่อง : ปราสาทพิมาย (Prasat Phimai)
ที่มาข้อมูล : ศูนย์บริการข้อมูล อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

ปราสาทเป็นอาคารที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางศาสนา ปราสาทประธานของปราสาทพิมายหันหน้าไปทางทิศใต้ ภายในห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ

บริเวณเรือนธาตุ ส่วนทับหลัง หน้าบัน มีการแกะสลักลวดลายและภาพเล่าเรื่องในศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ส่วนยอดหรือชั้นหลังคามีลักษณะซ้อนชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป บนสุดประดับด้วยหม้อน้ำ (กลศ) หรือบัวยอดปราสาท

ส่วนยอดแต่ละชั้นประดับด้วย บันแถลง กลีบขนุน หรือนาคปัก ที่เอนสอบเข้าด้านในทำให้ส่วนยอดมีลักษณะเป็นทรงพุ่ม ซึ่งน่าจะเป็นต้นเค้าให้กับการสร้างส่วนยอดของปราสาทในศิลปะเขมรแบบนครวัดที่พบในประเทศไทยและกัมพูชา

จากรูปแบบของงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม จารึก สันนิษฐานได้ว่าปราสาทพิมายสร้างขึ้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ในรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๕๔๕-๑๕๙๓) หรือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ (พ.ศ.๑๖๒๓-๑๖๕๐) และมีการก่อสร้างเพิ่มในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ.๑๗๒๔-๑๗๖๑)

ด้านหน้าของปราสาทประธานมีปรางค์พรหมทัตและปรางค์หินแดง อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยระเบียงคด มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูซุ้ม(โคปุระ) เป็นทางเข้าทั้งสี่ด้านถัดออกไปเป็นกำแพงชั้นนอกที่มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกัน อาคารทั้งสองเชื่อมต่อกันทางทิศใต้ด้วยชาลาทางเดิน พื้นที่ระหว่างระเบียงคดกับกำแพงชั้นนอกด้านทิศตะวันตกมีอาคารอยู่สองหลัง สันนิษฐานว่าเป็นบรรณาลัย หรืออาคารที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา

ด้านหน้าของโคปุระกำแพงชั้นนอกด้านทิศใต้มีชาลา เรียกว่า สะพานนาคราช ด้านหน้าสุดมีอาคารที่สันนิษฐานว่าเป็น พลับพลาเปลื้องเครื่อง สถานที่เปลี่ยนเครื่องทรงของกษัตริย์หรือผู้นำก่อนที่จะเข้าไปสักการะรูปเคารพที่อยู่ภายใน


 
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
“พุทธศิลป์ในลัทธิตันตรยาน (วัชรยาน) จาก อินเดีย ชวา จัมปา กัมพูชา และ มอญโบราณ"
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1301 กระทู้ล่าสุด 11 มกราคม 2560 13:09:08
โดย มดเอ๊ก
แบบธรรมเนียมพุทธศาสนา ไทย ลาว กัมพูชา
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 651 กระทู้ล่าสุด 18 กรกฎาคม 2564 15:03:59
โดย Kimleng
[ไทยรัฐ] - มีฮอนดะแล้วไง สื่อเวียดนาม วิเคราะห์สาเหตุ ไทย U23 จะอัด กัมพูชา ขาดลอยในซีเกมส์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 208 กระทู้ล่าสุด 14 พฤษภาคม 2565 15:02:43
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - กัมพูชา MOU ซิโนแวคของจีนตั้ง รง.บรรจุ-ปิดผนึกวัคซีนโควิดในประเทศ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 174 กระทู้ล่าสุด 03 มิถุนายน 2565 09:50:51
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - “กัมพูชา” ยกเลิกชิงทอง “เพาะกาย” ในซีเกมส์ เพราะนักกีฬาเจ้าภาพโด๊ปจนโดนแบน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 111 กระทู้ล่าสุด 05 กุมภาพันธ์ 2566 21:11:20
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.476 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 10:19:30