[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 21:47:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปลูกรัก : อุบัติการแห่งพุทธศาสนามหายาน (ติช นัท ฮันห์)  (อ่าน 1360 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 มิถุนายน 2559 01:50:07 »



...... อุบัติการแห่งพุทธศาสนามหายาน ......

 ......เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนม์อยู่นั้น นอกจาก จะทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ และภิกษุณีแล้ว พระองค์ยังได้ทรงเทศนา โปรดกษัตริย์ อำมาตย์ ปุโรหิต คนกวาดถนน คนเทอุจจาระ ตลอด จนฆราวาสชายหญิงอื่น ๆ อีกนับหมื่นแสน พระสูตรหลายพระสูตร จึงบัญญัติเพื่อชีวิตฆราวาสโดยตรง เช่น พระสูตรอุกรทัตตะ และ พระสูตรวิมลเกียรติ เป็นต้น เมื่อท่านอนาถบิณฑิกะ เศรษฐีผู้อุปถัมภ์ พุทธะ และสังฆะอย่างเข้มแข็ง ได้ฟังพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับความว่าง และความไม่มีตัวตนแล้ว ท่านบังเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ท่านจึง ขอร้องพระอานนท์ให้กราบทูลพระพุทธเจ้า ว่าฆราวาสก็อาจศึกษาและ ปฏิบัติคำสอนอันอัศจรรย์เหล่านั้นได้ ......

......แต่ในระยะหลาย ๆ ศตวรรษหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว การ ปกิบัติธรรมกลายเป็นกิจเฉพาะในหมู่ภิกษุกับภิกษุณี ฆราวาสทำได้ก็แค่ ถวายอาหาร ถวายกุฏิ จีวร และเภสัชให้แก่พระสงฆ์เท่านั้น ในช่วง ร้อยปีแรกหลังพุทธกาล การปฏิบัติธรรมจำกัดอยู่ในวัด จนเกิดปฏิกริยา ขึ้นมาอย่างไม่อาจเลี่ยง พระสูตรอุกรทัตตะถูกบัญญัติขึ้นในบริบททาง สังคมเช่นนี้นี่เอง......

......พระสูตรอุกรทัตตะ ได้ถามคำถามสามข้อคือ ภิกษุต้องปฏิบัติอย่างไร พระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นคนธรรมดาทั่วไปต้องปฏิบัติอย่างไร และพระโพธิสัตว์ เหล่านี้ต้องปฏิบัติอย่างไรท่านจึงจะเท่าเทียมกับภิกษุและภิกษุณีได้ พระสูตร นี้กล่าวว่า หลังจากได้ฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ฆราวาสห้าร้อย คนได้แสดงความจำนงจะเป็นภิกษุและภิกษุณี แต่อีกสองร้อยคนซึ่งดวงจิต บังเกิดความประจักษ์แจ้งขณะฟังธรรมไม่แสดงความประสงค์เช่นนั้น พระอานนท์จึงถามอุกรทัตตะ ...... ทำไมท่านจึงไม่ต้องการเป็นภิกษุเหมือน พวกเรา ...... อุกรทัตตะตอบ ...... เราไม่ต้องการเป็นภิกษุ เพราะถึงเราเป็น ฆราวาสเราก็ปฏิบัติธรรมได้ ............

......ความคิดนี้ได้พัฒนาถึงที่สุดในพระสูตรวิมลเกียรตินิเทศ ฆราวาสคนหนึ่ง ซึ่งปฏิบัติธรรมได้ก้าวหน้ากว่าภิกษุ ภิกษุณี หรือเทพโพธิสัตว์ใด ๆ แสร้ง ทำป่วย พระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระสารีบุตรไปถามข่าวคราวฆราวาสคนนั้น พระสารีบุตรกราบทูลว่า ...... ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คนคนนี้ฉลาดพูดจาฉาด ฉานคล่องแคล่ว โปรดส่งคนอ่นไปเถิดพระเจ้าข้า ...... พระพุทธเจ้าจึงรับสั่ง ให้พระอานนท์ ภิกษุ และโพธิสัตว์ท่านอื่น ๆ อีกหลายท่านไปทำหน้าที่นี้ แต่ไม่มีใครอยากไปเยี่ยมวิมลเกียรติ สุดท้ายพระโพธิสัตว์มัญชุศรีรับอาสา ไป วิมลเกียรติได้แสดงหลายครั้งหลายคราวว่าเขาประจักษ์แจ้งในธรรม ได้ล้ำลึกกว่าพระมัญชุศรีหรือพระโพธิสัตว์ท่านใด ๆ การปรากฏของ วิมลเกียรติในพุทธศาสนามหายานนั้นเป็นธรรมชาติอย่างยิ่ง พระสูตรนี้ โจมตีสถาบันวัดอย่างรุนแรง พยายามเปิดเผยโลกในวัดเพื่อภิกษุและภิกษุณี จะได้ปฏิบัติอย่างใจกว้าง เปิดเผย และมุ่งประโยชน์ของสังคมส่วนรวม ใช่แค่ปฏิบัติเพื่อตนเอง......
 
......พระสูตรวิมลเกียรติต่อมาจึงได้แตกลูกแตก หลานไปอีกมาก พระสูตรหนึ่งพูดถึงบุตรของวิมลเกียรติ อีกพระสูตร พูดถึงธิดาของวิมลเกียรติ ส่วนอีกพระสูตรหนึ่งนั้นถึงขั้น แสดงคำ สอนของผู้หญิงซึ่งอดีตเคยเป็นนางคณิกา ประเด็นก็คือพุทธศาสนา นั้นอาจสอนโดยโคร ๆ ก็ได้ที่ประจักษ์แจ้งถึงจิตอันรู้ตื่นรู้เบิกบาน ของตน แม้แต่หญิงงามเมือง ถ้าเธอได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมก็อาจเป็น ครูของเทวดาและมนุษย์ได้ อุดมคติของมหายานเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นคนธรรมดาได้แสดงออกอย่างถึงขั้สูงสุดในพระสูตรเหล่านี้ พระสูตรวิมลเกียรติทำให้เราเห็นว่าภิกษุชั้นเลิศอย่างพระสารีบุตรและ พระโมคคัลลานะก็เป็นนักเรียนที่เรียนได้เชื่องช้าเมื่อเปรียบเทียบกับ พระโพธิสัตว์ผู้ซึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของมหาชนส่วนใหญ่......

......พระสูตรปรัชญาปารมิตาพระสูตรแรก ๆ ได้ประณามทัศนะของภิกษุ ผู้ปฏิบัติเพื่อตัวเองไว้หลายประโยค อัสตะสหศรีกะปรัชญาปารมิตาสูตร มีข้อความว่า ...... ถ้าพระราชินีบรรทมกับบุรุษที่มิใช่ราชาแม้พระนางจะให้ กำเนิดทารก ก็พูดไม่ได้ว่าทารกนั้นมีเลือดขัตติยะ ถ้าการปฏิบัติของเจ้า ไม่เป็นไปด้วยจิตที่ประจักษ์แจ้งเช่นพระโพธิสัตว์ผู้ปฏิบัติเพื่อมวลสรรพ สัตว์แล้วไซร้ ก็ไม่อาจพูดได้ว่าเจ้าเป็นพุทธบุตรพุทธธิดา ถ้าเจ้าปฏิบัติ เพียงเพื่อความหลุดพ้นของตนเอง เจ้าก็ไม่ใช่พุทธบุตรพุทธธิดาที่แท้จริง ............

 ......ถ้าภิกษุและภิกษุณีไม่เปิดใจกว้างปฏิบัติเพื่อเพื่อนมนุษย์ทุกคน ไม่ ดำเนินตามอุดมคติของพระโพธิสัตว์แล้วไซร้ พวกเขาก็ ...... ไม่ใช่ พุทธบุตรพุทธธิดาที่แท้จริง ...... ในอุกรทัตตะ วิมลเกียรติและปรัชญา ปารมิตาสูตรรุ่นแรก ๆ นั้น แนวคิดของพุทธศาสนามหายานทั้งกว้าง และลึก แต่น้ำเสียงของพระสูตรเหล่านี้ก็เป็นไปในทางโจมตีสถาบัน วัด จึงยากที่จะได้รับความสนใจจากสถาบันเหล่านนั้น ซ้ำยังจะกลาย เป็นปฏิปักษ์กันอีกด้วย แต่เมื่อมาถึงยุคสัทธรรมปุณฑริกสูตร พุทธ ศาสนามหายานได้กลายเป็นสถาบันในโรงเรียน ในวัด และมีรากฐาน เข้มแข็งเป็นคล้าย ๆ พุทธศาสนาฝ่าย ...... โปรเตสแต้นท ...... ซึ่งภิกษุ ภิกษุณี และฆราวาส ทำงานร่วมกันอย่างไกล้ชิด น้ำเสียงของสัทธรรม ปุณฑริกสูตรจึงเป็นไปในทางประนีประนอมมากขึ้น ในวิมลเกียรติสูตร พระสารีบุตรไม่มีความหมายอะไรเลย แต่ในสัทธรรมปุณฑริกสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระเมตตา ทรงเอื้ออาทรอย่างมากมายต่อพระ สารีบุตร ต่อภิกษุและภิกษุณีสาวกของพระองค์ สัทธรรมปุณฑริกสูตร เป็นรากฐานของพุทธศาสนามหายาน เพราะน้ำเสียงของพระสูตร นี้ได้ยื่นมือแห่งความรักความเป็นมิตรไปถึงสถาบันพุทธศาสนาตาม ตามขนบประเพณีดั้งเดิมด้วย......


- จาก ปลูกรัก วิธีฝึกมองอย่างลึกซึ้งตามคติพุทธศาสนามหายาน ผู้เขียน   ติช นัท ฮันห์ -



...... ปลูกรัก คือสิ่งที่หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องความรัก ในเพศบรรพชิตยามวัยหนุ่มของท่าน โดยนำคำสอนต่างๆ ของพระสูตรมหายานมาพิจารณาความรักของท่านได้อย่างลึกซึ้ง จนเข้าถึงความเป็นอิสระจากความรักอันลุ่มหลง ติดยึด และสัมผัสได้ถึงพลังแห่งความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ในจิตแห่งรักที่แท้จริงที่มีต่อสรรพชีวิต อันเป็นความรักที่หนักแน่นมั่นคง......

......ไม่จำกัดอยู่แค่บุคคลเดียว แต่เป็นความรักเมตตาที่พร้อมจะมอบให้กับทุกคน นอกจากคุณจะได้สัมผัสกับความหมายของ รักแรก ที่แท้จริงแล้ว ยังจะได้เรียนรู้ สัมผัสความรักแห่งพระพุทธองค์ โดยผ่านการศึกษาพระสูตรต่างๆ ของมหายาน อันช่วยเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างเกินกว่าความคิด และการกระทำที่เป็นแค่ตัวฉัน ของฉัน ถือเป็นความงดงามอย่างยิ่งที่หลวงปู่สามารถที่จะแลกเปลี่ยนพระสูตรมหายานต่างๆ ในเล่มนี้ ทำให้ได้เรียนรู้เข้าใจในคำสอนของพุทธมหายานมากขึ้น พร้อมทั้งยังได้รดน้ำเมล็ดพันธุ์จิตแห่งรักที่แท้จริงของเรา ผ่านพระสูตรเหล่านั้นด้วย......

จาก http://www.tairomdham.net/index.php?topic=11003.msg40829#msg40829

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ปลูกรัก : หยาดฝนแห่งธรรม (ติช นัท ฮันห์)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1271 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 01:32:39
โดย มดเอ๊ก
ปลูกรัก : จับงูให้ถูกวิธี (ติช นัท ฮันห์)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1042 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 02:00:02
โดย มดเอ๊ก
ปลูกรัก : เพชรตัดมายา (ติช นัท ฮันห์)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 2247 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 02:13:13
โดย มดเอ๊ก
ปลูกรัก : ธรรมสามตรา (ติช นัท ฮันห์)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 962 กระทู้ล่าสุด 01 กรกฎาคม 2559 00:21:46
โดย มดเอ๊ก
ปลูกรัก : ประตูสู่อิสรภาพ (ติช นัท ฮันห์)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1201 กระทู้ล่าสุด 01 กรกฎาคม 2559 00:46:37
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.411 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 20 มีนาคม 2567 10:15:04