[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 16:05:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รายการธรรมเป็นสุข ตอน "ชีวิตแท้ งามงด และสดชื่น" สาว ผู้สานธุรกิจหนังสือธรรมะ  (อ่าน 978 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 มิถุนายน 2559 04:26:16 »



<a href="https://www.youtube.com/v/H5jqR1pdz-U" target="_blank">https://www.youtube.com/v/H5jqR1pdz-U</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/SCDhTuBRTVE" target="_blank">https://www.youtube.com/v/SCDhTuBRTVE</a>

รายการธรรมเป็นสุข
ตอน "ชีวิตแท้ งามงด และสดชื่น" ของนักบริหารสาว ผู้สานธุรกิจหนังสือธรรมะ

ออกอากาศวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2556 เวลา 16.00-17.00 น.

วันจันทร์นี้ รายการธรรมเป็นสุขขอเสนอเรื่องราวของคุณโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บุ๊คไทม์ จำกัด สำนักพิมพ์สุขภาพใจ นักบริหารหญิง ผู้เป็นทายาทสืบทอดกิจการสำนักพิมพ์สุขภาพใจ สำนักพิมพ์ซึ่งมีดำเนินรอยธรรมตามคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เธอจะมีธรรมะในการดำเนินชีวิตและการทำงานอย่างไร ติดตามได้วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2556 นี้ เวลา 16.00 น.-17.00 น. ทางช่อง 4050

คลิ๊กที่ลิงค์
part02 : http://youtu.be/SCDhTuBRTVE

อีกมากมาย https://www.youtube.com/playlist?list=PLrd-cRuUByLc-qWAV9A412PB3GKjSqaPe

https://www.youtube.com/user/buddhadasaarchives/videos




โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ สานทางธรรม นำ'สุขภาพใจ'

นักอ่านรุ่นเก๋า ลูกศิษย์ท่านพุทธทาสภิกขุ อาจคุ้นชื่อสำนักพิมพ์ "สุขภาพใจ" แต่วันนี้ โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ นักบริหารสาวจะมาสืบสานหลักธรรมท่าน

นักอ่านรุ่นเก๋า ลูกศิษย์ท่านพุทธทาสภิกขุ อาจคุ้นชื่อสำนักพิมพ์ "สุขภาพใจ" ที่ก่อตั้งโดยบัญชา เฉลิมชัยกิจ มานานแล้ว แต่วันนี้ เด็กหญิงที่เคยตามติดบิดาไปสนทนาธรรม โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ นักบริหารสาว ผู้สืบสานหลักธรรมของเกจิอาจารย์ เชื่อมโลกกับปุถุชนคนรุ่นใหม่

ในโลกพาณิชย์ เด็กที่เกิดมาพร้อมตำแหน่ง "ทายาททางธุรกิจ" ย่อมหนีไม่พ้นต้องสานต่อธุรกิจของครอบครัว ไม่ว่าจะยินยอมเต็มใจหรือเลี่ยงไม่ได้ก็ตาม แต่สำหรับ มี่-โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ เธอเรียกเหตุผลที่เข้ามารับมรดกทางธุรกิจของพ่อว่า "ธรรมะจัดสรร" แม้จะเคยลองไปทำงานเป็นพนักงานเอกชนแห่งอื่นมาแล้ว แต่สุดท้ายเส้นทางชีวิตของเธอก็ถูกกำหนดให้มารับหน้าที่บริหารงานสำนักพิมพ์ต่อจากบิดา ซึ่งเธอเต็มใจรับมาด้วย "หัวใจ"

กายใจ : เล่าถึงการเข้ามาบริหารธุรกิจสำนักพิมพ์

โชนรังสี : ได้สัมผัสงานหนังสือในสำนักพิมพ์มาตั้งแต่เด็ก คุณพ่อเอาบ้านเป็นออฟฟิศ มี่ก็วิ่งเล่นในสำนักงาน ตั้งแต่สมัยที่สำนักพิมพ์ยังทำอาร์ตเวิร์คด้วยมือ ทากาวแปะอยู่เลย พร้อมกันนั้นเราก็เห็นวรรณรูปและตัวอักษร เช่น อนัตตา มันเป็นอย่างนั้นเอง ตัวกูของกู ตามแนวทางของท่านพุทธทาสมาตลอด เคยไปสวนโมกข์ ที่ไชยยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ตอนนั้นยังเด็ก ก็ดีใจ คิดว่าไปเล่นสนุก ตอนไปที่นั่นชอบดอกบัวอะเมซอนมาก ความรู้สึกตอนนั้นอยากไปนั่งในนั้นจังเลย ทุกวันนี้ยังจำภาพนั้นได้ติดตา และเคยพบสนทนาธรรมกับหลวงตาไสว ท่านสอนลูกศิษย์ผ่านสื่อรูปปั้น เช่นรูปเด็กนอนบนตัก ท่านก็สอนเราว่านี่นะหมายถึงว่านอนสอนง่าย หลวงตาก็จะมีกุศโลบายในการสอน ตอนนั้นเราเห็นผู้ใหญ่คุยกับท่าน พูดอะไรกันก็ไม่รู้ เราไม่เข้าใจ เห็นเขาถกเถียงกัน มี่ก็ยังไม่รู้ว่าเขาเรียกธรรมะ

จากนั้นเราก็ไปใช้ชีวิตทางโลกของเราเหมือนคนอื่นๆ แต่ก็เชื่อว่าเวลาช่วยสอนมนุษย์ ชีวิตมันคือการเดินทาง ไม่รู้จะเดินกี่ก้าว สุดท้ายมันก็ต้องหยุดเดินทาง แต่ระหว่างทาง เราจะทำอะไร จะตกแต่งความรู้สึกนึกคิดให้ชีวิตเราสมดุลได้อย่างไร ความคิดนี้วนเวียนอยู่ตลอด จนคิดว่าถึงเวลาที่เราต้องมาช่วยที่บ้านแล้ว ตอนนั้นคุณพ่อมีอาการน้ำท่วมปอด เราก็อยากเข้ามาช่วยรับผิดชอบงานของคุณพ่อ วันหนึ่งถามคุณพ่อว่าจะให้ช่วยอะไร ท่านบอกทำความสะอาดก่อนเลย แล้วก็ทำไปทั่วบริษัท ทำมาร์เก็ตติ้ง กองบรรณาธิการ จนได้มาบริหารเต็มตัวในปัจจุบัน

ตอนนั้นอยากมีทิศทางของตัวเอง แต่เราไม่มีประสบการณ์ด้านนี้เลย เราก็ต้องค่อยๆเลือกจับไปทีละด้านก่อน แรกๆก็ต้องจูนกับคนที่แตกต่างจากเรา แล้วก็ต้องปรับวิถีชีวิตของเราจากเดิมไปด้วย บางทีก็มีล็อบบี้ เข้าไปคุยกับทีมงาน ทัศนะการทำงาน คือซัพพอร์ตความคิด และไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่เรียนมาแบบลูกเป็ดคือ เรียนทุกอย่างเลย มันได้นำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานตรงนี้ เป็นความสามารถติดตัว ที่เราจะงัดมาใช้ตอนไหนก็ได้ แล้วการเรียบจบมาทางด้าน Logistic Management ก็ได้เอาทักษะความรู้คอมพิวเตอร์ที่ได้ใช้ในการทำงานบริษัทแห่งหนึ่ง ได้เรียนรู้ฐานะความเป็นเจ้านายลูกน้องได้ประมาณ 1 ปีกว่า ก็ทำให้เราได้นำทักษะด้านเน็ตเวิร์กมาใช้กับการทำงานที่นี่ ได้สอนพนักงานในการคิดวิเคราะห์ เอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในธุรกิจ แม้เราใช้ความรู้สึก (Sense) ได้ แต่ก็ต้องประกอบด้วยข้อมูลที่แน่นเหมาะสมด้วย

กายใจ : ตอนนั้นตลาดหนังสือธรรมะเป็นอย่างไร

โชนรังสี : ในช่วงปี 2548 ที่เข้ามาช่วยคุณพ่อใหม่ๆ ตลาดมีคนทำหนังสือท่านพุทธทาสเยอะมาก เราก็เริ่มรู้สึกไม่มั่นคง แต่อยู่ๆคำพูดหนึ่งของพระอาจารย์ที่เคารพก็มาเตือนสติ "ถ้าเราจะทำอะไรอย่างมั่นคง เราก็อย่าหวั่นไหว" เราก็ถามตัวเองต่อว่า นี่อาจเป็นลมพายุพัดหมุนฝุ่นตลบ แต่เรายังหยุดอยู่ตรงนี้ไหม ถ้าเราตัดสินใจเช่นนั้น เมื่อลมสงบ ก็จะเห็นว่าเราก็ยังอยู่นะ อยู่บนวิถีของเรา เรากำลังสร้างอะไรอยู่ เราก็ทำอาชีพของเราต่อไป

เชื่อว่าก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่ เริ่มจากแรงบันดาลใจธรรมดา เราก็มา Positioning ตัวเองใหม่ เริ่มจากโอกาส 100 ปีท่านพุทธทาส เราก็จัดทำหนังสือวาระพิเศษนี้ขึ้น ทำกิจกรรมต่างๆที่สวนโมกข์ เราก็มีโอกาสไปนอนที่นั่น ได้สัมผัสธรรมผ่านประสบการณ์จริง ได้เรียนรู้ประวัติท่านพุทธทาส ไปแต่ละสถานที่ หยิบเอาเรื่องนั้นมาเล่า รีวิวสิ่งเหล่านี้ แล้วรีเพลย์ให้ทุกคนรู้ จากนั้นเราก็อยากทำหนังสือหมวดอื่นๆ ที่ดีมาเสริมเรื่อยๆ

ถึงจะมีคนทำหนังสือธรรมะกันมาก แต่เราก็ยังเชื่อมั่นว่า หนึ่งจุดหมาย หลายหนทาง ทุกคนมุ่งประสงค์เดียวกันคือเผยแพร่ธรรม แต่ก็ขึ้นอยู่กับจริตของคนอ่าน เขาชอบสไตล์ไหน แบบใดก็เลือกแบบนั้น บางคนคิดว่าธรรมะของท่านพุทธทาสเป็นเรื่องเข้าใจยาก จริงๆแล้วทางแก้มันง่ายมากคือ อย่าไปเอาเรื่องหรือคำกลอนที่ยากมาอ่าน อย่าง มองแต่แง่ดีเถิด "เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาส่วนดีเขามีอยู่ เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้กับเขาเลย" แค่เอาตรงนี้ไปใช้ เราก็มีความสุขแล้วนะ แต่บางทีมันก็มีเรื่องยากมากเหมือนกัน เช่น โลกุตระธรรม หรือเรื่องการเมือง

แต่เราก็พยายามออกแบบทำให้มันง่ายขึ้น ก็ช่วยเยียวยาเขาได้ ขณะเดียวกันก็ช่วยเยียวยาเราได้ด้วย เพราะธรรมะคือหน้าที่ เป็นธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ และเป็นผลของกฎธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการทำงานก็เหมือนเปิดโอกาสให้เราได้ปฏิบัติธรรมไปในตัว ทุกสิ่งเกิดมาเพื่อให้เราได้เรียนรู้ มีทั้งโศกและปิติ จึงเปลี่ยนเหตุผลที่ตอนแรกๆตั้งใจแค่จะมาช่วยคุณพ่อ เป็นการสืบสานปณิธานท่านพุทธทาส

กายใจ : แล้วธรรมะเข้ามาช่วยในการทำงานได้อย่างไร

โชนรังสี : ไม่มีใครไม่เคยทำผิดหรือถูกตลอดเวลา แต่ธรรมะจะช่วยขัดเกลาเราได้ ให้เราค่อยๆพัฒนาและเปลี่ยนอารมณ์ให้มีความเมตตาและให้โอกาสคน สิ่งที่ไม่ชอบมากที่สุดเลยการเม้ามอย (นินทา) เราไม่สนุกตรงนั้น แต่เราก็ต้องยอมรับว่ามันคือความแตกต่างของคน และด้วยความเป็นนาย เราต้องเป็นคนที่จะทำให้ลูกน้องมีชีวิตที่ง่ายขึ้น เราเป็นซัพพอร์ตเตอร์ (ผู้สนับสนุน) ถ้าลูกน้องทำผิดก็ต้องเปิดโอกาสให้ทำได้ทำใหม่ ถ้าเขาทำไม่ได้ เราเป็นหัวหน้าเราก็ต้องบอกเขา และเรามาช่วยกันทำงาน ต้องช่วยเขาด้วยใจ เพราะเขาก็ทำมาหากินเหมือนกับเรา แต่เราจะทำมาหาเกินกับเขาไม่ได้ ต้องยุติธรรม

การเป็นหัวหน้าที่ดีนั้น หนึ่ง ต้องอยู่บนความเป็นจริง มองให้เห็นเหตุผลและความจริงที่เกิดขึ้น สอง มีการรับฟัง ต้องฟังจริงๆนะ ฟังว่าเขาอยู่บนสถานะใด แล้วถ้าเป็นเราอยู่ในสถานการณ์นี้เราจะคิดอย่างไร จัดการอย่างไร แล้วการดำเนินงานต้องทำไปด้วยกัน ถ้าเคยทำมาก่อนแล้วก็ต้องแนะนำชี้แนะลูกน้องได้ สาม ต้องรู้จริง และต้องเป็นคนที่พร้อมจะพูดความจริง พร้อมจะเดินทางในสิ่งที่ควร สี่ เปิดโอกาส หัวหน้าต้องสร้างระบบให้พวกเขาแสดงความสามารถเต็มที่ ขณะเดียวกันก็อย่าให้ล้ม ต้องช่วยประคับประคองกันไปให้ตลอดรอดฝั่ง

กายใจ : คิดอย่างไรว่าไม่ควรนำธรรมะมาค้าขาย

โชนรังสี : เราไปห้ามความคิดใครไม่ได้ เพราะเมื่อก่อนหนังสือธรรมะมีไว้แจก แต่สิ่งที่เราทำ ไม่ใช่การค้าบุญ แต่เราค้าขายปัญญา เราไม่คิดว่าการค้าขายเรื่องนี้เป็นสิ่งผิด แต่มันคือการขับเคลื่อนความคิดของคนได้ สิ่งนี้จะทำให้มนุษย์ได้เรียนรู้ว่าจะสร้างสมดุลสุขและทุกข์ได้อย่างไร เคยมีลูกค้าบอกกับเราว่า "ดีแล้วที่คุณได้ทำอาชีพที่เป็นกุศล" เราเชื่อว่าการทำหนังสือเป็นสิ่งที่ดี เพราะได้ทำหน้าที่สร้างปฏิสัมพันธ์ในสังคมให้ดีขึ้น

เราคิดแต่ว่าจะทำอย่างไรให้คนเข้าถึงธรรมะได้มากๆ ขณะเดียวกันเราก็มีต้นทุนการค้า หากคนอ่านแค่ต้องการอ่านหนังสือธรรมะ เขาก็สามารถอ่านจากที่ไหนก็ได้ เพราะทุกวันนี้สื่อธรรมะมีมาก แต่หนังสือเป็นเรื่องของรสนิยม คนที่จะเสพธรรมะ เขาอาจใช้ประโยชน์มากกว่าสาระสำคัญที่อยู่ในเล่ม แล้วเราก็เชื่อว่าสื่อมีอิทธิพลมาก คนจะเข้าถึงธรรมะได้ เราต้องทำให้ใกล้ชิดกับเขา เราต้องมองไปถึงผลิตภัณฑ์ที่เขาใช้อยู่เดิมแล้วนำธรรมะไปวางไว้ใกล้ตัวเขา

อย่าง ชุดของขวัญ ดัดแปลงเป็นของตกแต่งและเป็นตัวแทนสิ่งดีๆที่ต้องการส่งต่อ มีทั้งปฏิทินธรรมคำสอนของท่านพุทธทาส และสมุดบันทึก สมุดงานออแกไนซ์ ที่จะมีข้อคิดธรรมแฝงไว้แต่ละหน้า ทั้งมองแต่แง่ดีเถิด หรือดูให้ดีมีแต่ได้ เป็นต้น เพราะเราตั้งใจให้เขาสามารถใช้ได้ทันที สมกับสโลแกนที่คิดกันกับทีมงานว่า "ติดตัว ติดใจ หยิบใช้ ทันเวลา" ต้องเอาเทรนด์ความนิยมมาใช้ ทำให้ร่วมสมัย ทำให้ธรรมะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เข้ากันได้กับชีวิตประจำวันของเขา แต่ก็ต้องไม่ให้หลุดกรอบออกไปเป็นแฟชั่น ต้องอิงกระแสพอสมควร เราประกาศว่าเป็นอีโคเฟรนลี่ ใช้หมึก soy ink และeco fiber และในบางคอลเลคชั่นเราก็ออกแบบให้ปฏิทินสามารถนำไปใช้งานได้หมดจด ไม่เหลือทิ้งเป็นขยะ เพราะเมื่อเรานำธรรมะมาดูแลโลกด้านในแล้ว เราก็ต้องการดูแลโลกใบนี้ร่วมกันด้วย

กายใจ : เป้าหมายของ 'สุขภาพใจ' เป็นอย่างไร

โชนรังสี : หลายปีมาแล้วที่เราตั้งจุดมุ่งหมาย ให้สุขภาพใจเป็นคำตอบของสังคมในหลายๆด้าน ไม่ใช่หมายถึงด้านธรรมะอย่างเดียว เรายังมีหมวดพัฒนาตนเอง หรือด้านอื่นๆ ก็ต้องทำ อย่างหนังสือเรียนภาษาจีนและญี่ปุ่นอย่างที่เราชอบ จะมีความลึกซึ้งมากขึ้นกว่าหนังสือสนทนาทั่วไป

แต่เราก็ยังยึดแกนทำหนังสือธรรมะอยู่ เพราะจริงๆแล้วหนังสือธรรมะมันมีอยู่แล้ว แต่มันอยู่ที่ความต้องการของคนๆนั้นว่าจะเลือกแบบไหน เราก็ตอบสนองความต้องการในแบบที่คนอื่นไม่ทำ มีคนถามว่าท่านพุทธทาสทำหนังสือทำไมตั้งหลายเล่ม ก็ตอบว่าไม่ได้ทำให้ทุกคน มันก็เหมือนกับอาหาร มีผัดเผ็ด แกงจืด แกงส้ม ถ้าวันไหนเรามีโรคทางใจ เราอาจต้องการแค่แกงจืด เราก็กินแกงจืด เลือกให้มันเหมาะสมกับเราในขณะนั้น หรือแล้วแต่จะกินกับอะไร มันเป็นสัจธรรมนะ มันเหมือนแต่ละคนก็มีปัญหาใบไม้กำมือเดียว มันก็มีหลากหลายความทุกข์ และมีวิธีที่จะแก้ไขต่างกัน อาจพิมพ์งานสายเซนร่วมด้วย เพราะสามารถตอบโจทย์คนอีกกลุ่มหนึ่งที่เขากำลังศึกษาเรื่องนี้ได้ ด้านธุรกิจก็ต้องทำ ด้านเผยแพร่ธรรมก็ดำเนินต่อไป เราจะมีสโลแกนที่พูดกับทีมงานเสมอว่า เราไม่รีบ แต่เราไม่หยุด เราเดินไปตามกำลังของเรา ถ้าทำเกินกำลังก็คงเดี้ยง

หากถามว่าแล้วเราจะใช้วิธีใดทำตลาดต่อ เราก็ต้องกลับมาวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าก่อนว่า ตั้งแต่ช่วงปี 2541 คนเริ่มหันมาทางธรรมเยอะขึ้น หนังสือแนวนี้ถูกจัดอันดับเป็นหนังสือขายดี (Best Seller) เหตุปัจจัยมันเอื้ออยู่แล้ว แต่ความยากคือการแข่งขัน ซึ่งไม่ใช่แค่หมวดธรรมะ ยังมีกลุ่มหนังสือด้านจิตวิทยาพัฒนาจิตใจ เราก็ทำหนังสือที่ไม่ใช่ธรรมะลึกซึ้งด้วย กับอีกด้านของสื่อใหม่ สื่อดิจิทัล ที่จะมาสู้กับคอนเท้นต์ (เนื้อหา) แต่ที่สำคัญที่สุดคือการแข่งขันกับตัวเอง ถ้ายืนอยู่กับที่ ก็เปรียบได้กับการไม่ได้ก้าวต่อ เรายังต้องพัฒนาตัวเอง มองรอบด้าน และเดินต่อไป

จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/491194

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
รายการธรรมเป็นสุข วัตรทรงธรรมกัลยาณี ภิกษุณีอาราม
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1125 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 04:00:13
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.52 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 17 กุมภาพันธ์ 2567 20:20:54