[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 21:57:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พญาคันคาก : ชาดกนอกนิบาต ที่มาของประเพณีขอฝนจากเทวดา  (อ่าน 3601 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2559 16:37:49 »




พญาคันคาก
ชาดกนอกนิบาต : วรรณกรรมทางศาสนา
ที่มาของประเพณีขอฝนจากเทวดา

พญาคันคาก เป็นวรรณกรรมชาดกนอกนิบาต (ชาดกที่ไม่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก) เป็นเรื่องความเชื่อของชาวภาคอีสาน ที่นิยมนำเรื่องพญาคันคากมาใช้เทศน์ในพิธีกรรมขอฝนต่อพระยาแถน เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เช่นเดียวกับความเชื่อเรื่องผีตาแฮก และการแห่บั้งไฟ เป็นต้น

ความจริงแล้ว ชาดกนอกนิบาตเรื่องพญาคันคาก เป็นเรื่องของความเชื่ออันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มากกว่าเป็นธรรมะในพระพุทธศาสนา แต่ชาวอีสานได้ปรับเปลี่ยนให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรมทางพุทธศาสนามาแต่สมัยอดีต  การเทศน์เรื่องพญาคันคากนี้ ชาวบ้านจะจัดเป็นพิธีใหญ่และถือเป็นประเพณีเช่นเดียวกับการเทศน์ในงาน “บุญผะเหวส” หรือเทศมหาชาติภาคอีสาน ซึ่งเป็นงานบุญอันศักดิ์สิทธิ์  โดยชาวบ้านจะมาช่วยกันจัดเตรียม-ตกแต่งสถานที่ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน และนิมนต์พระสวดพระคาถาปลาค่อ หรือปลาช่อนเรียกฝน วันละ ๑๐๘ จบ เป็นเวลา ๓วัน และนิมนต์พระมาเทศน์ ๒ ธรรมาสน์

ต้นฉบับเรื่องพญาคันคากมีปรากฏอยู่ทั่วไปเกือบทุกวัดในภาคอีสาน เพราะว่ายังใช้เทศน์อยู่ในพิธีกรรมขอฝน ถ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลหรือต้องการน้ำในการทำการเกษตร  ชาวอีสานเชื่อว่าเป็นเพราะพระยาแถนไม่ยอมให้ฝนตกมายังมนุษยโลก พญาคันคากจึงชักชวนบรรดาสัตว์ทั้งหลาย ไปปราบพระยาแถน พระยาแถนจึงยอมสั่งให้ฝนตกลงมาตามปกติ ความเชื่อในเรื่องนี้ถ้าปีใดฝนไม่ตกชาวบ้านจะร่วมกันจัดพิธีขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เลยทีเดียว


เนื้อเรื่อง พญาคันคาก
นายผ่าน วงศ์อ้วน ได้ปริวรรตจากตัวอักษรไทยน้อย จำนวน ๕ ผูก มาเป็นอักษรไทยปัจจุบัน
พิมพ์เผยแพร่โดยศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม จำนวน ๘๙ หน้า
(เอกสารอัดสำเนา) เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๕ ดังนี้

พระยาหลวงเอกราชและนางสีดา ปกครองเมืองอินทปัตถ์มานาน ประชาชนมีความสุขสมบูรณ์กันถ้วนหน้า พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดในครรภ์นางสีดาในร่างของ คันคาก (คางคก)

ในคืนหนึ่งนางสีดาฝันว่าดวงอาทิตย์ได้ตกลงมาจากฟากฟ้าแล้วลอยเข้ามาในปากของนาง เมื่อนางกลืนลงท้อง เนื้อตัวของนางได้กลายเป็นสีเหลืองสดใสประดุจดังทองคำ ในความฝันยังแสดงให้เห็นว่า นางมีอิทธิฤทธิ์สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ นางได้เหาะไปยังเขาพระสุเมรุแล้วจึงเดินทางกลับมายังปราสาทราชวังในเมืองอินทปัตถ์ดังเดิม  ครั้นสะดุ้งตื่นนางได้เล่าความฝันถวายแก่พระยาหลวงเอกราชพระสวามี พระยาหลวงล่วงรู้ในนิมิตความฝันว่าพระองค์จะมีโอรสที่จะสืบราชสมบัติต่อไป
 
เมื่อครบสิบสองเดือนนางสีดาได้ให้กำเนิดกุมารเป็นตัวคันคาก (คางคก) มีรูปร่างเหลืองอร่ามดั่งทองคำ พระยาหลวงเอกราชดีใจมากได้สั่งให้จัดหาอู่ทองคำมาให้นอน และจัดหาแม่นมมาดูแลอย่างใกล้ชิด ต่อมาท้าวคันคากเจริญวัยเป็นหนุ่ม อายุได้ ๒๐ ปี คิดอยากจะมีคู่ครอง  พระบิดาได้พยายามหาผู้ที่เหมาะสมมาให้แต่ก็หาไม่ได้ ด้วยมีเหตุขัดข้องที่ท้าวคันคากมีรูปกายที่อัปลักษณ์ผิดแผกไปจากมนุษย์คนอื่นๆ พระยาหลวงเอกราชรู้สึกสงสารโอรสเป็นอันมากจึงปลอบใจว่า ขอให้สร้างสมบุญบารมีต่อไปอีก จนกว่าจะกลายร่างเป็นมนุษย์เมื่อใด จะยกทรัพย์สมบัติให้ปกครองบ้านเมืองสืบต่อไป ท้าวคันคากจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า หากตนมีบุญบารมีขอให้ได้หญิงงามมาเป็นคู่ครอง

ดังนั้น พระอินทร์จึงได้ลงมาเนรมิตปราสาทแก้วไว้กลางเมือง ปราสาทนี้มีขนาดใหญ่โตมาก มีเสาเป็นหมื่นๆ ต้น มีห้องใหญ่น้อยจำนวนหนึ่งพันห้อง พร้อมทั้งเครื่องประดับตกแต่ง ปราสาทหลังนี้เต็มไปด้วยอัญมณีที่มีค่ายิ่ง นอกจากนี้พระอินทร์ได้ให้นางแก้วมาเป็นชายาท้าวคันคากและได้เนรมิตกายท้าวคันคากให้มีรูปกายงดงามอีกด้วย เสร็จแล้วพระอินทร์จึงเสด็จกลับสู่สวรรค์อันเป็นที่ประทับของพระองค์

ท้าวคันคากและนางแก้วอาศัยอยู่ในปราสาทที่พระอินทร์เนรมิตงามดังไพชยนต์ปราสาทแห่งนี้ ต่อมาเมื่อพระยาหลวงเอกราชและนางสีดาทราบข่าว ได้เสด็จมาเยี่ยมยังปราสาท พร้อมทั้งได้จัดทำพิธีอภิเษกให้ท้าวคันคากเป็นเจ้าเมืองปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์สืบไป นับตั้งแต่พญาคันคากขึ้นครองเมือง บรรดาพญาทั้งหลายตลอดจนบรรดาสัตว์เดรัจฉานได้เข้ามาขอเป็นบริวารอีกมากมาย

พระยาแถน ทราบว่าพญาคันคากได้ขึ้นครองเมืองจึงคิดอิจฉาและไม่พอใจ จึงคิดหาทางกลั่นแกล้ง แต่ก็รู้ดีว่าพญาคันคากมีบุญญาธิการและมีอิทธิฤทธิ์มากเกรงจะเป็นภัยแก่ตน จึงได้วางแผนการโดยที่ไม่ให้ฝนตกลงมายังมนุษยโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตเดือดร้อนกันไปทั่วพิภพ นานถึง ๗ ปี พญาคันคากไม่ทราบว่าจะหาทางแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร จึงลงไปยังใต้พิภพเพื่อปรึกษากับพญานาค พญาหลวงนาโคบอกกับพญาคันคากว่า พระยาแถนประทับอยู่ยังปราสาทเมืองยุคันธร ที่เมืองนี้มีแม่น้ำคงคาอันกว้างใหญ่ไพศาล พระยาแถนมีหน้าที่ดูแลรักษาแม่น้ำยุคันธรแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีเขาสัตบริภัณฑ์ตั้งอยู่รายล้อมเขาพระสุเมรุถึง ๗ ลูก เมื่อครบกำหนดเวลาบรรดานาคจะลงมาเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน ฝนฟ้าก็จะตกต้องตามฤดูกาล แต่บัดนี้พระยาแถนไม่ยอมให้นาคลงไปเล่นน้ำดังแต่ก่อน จึงทำให้เมืองมนุษย์แห้งแล้ง ผู้คน สัตว์ และพืช ล้มตายเป็นอันมาก

พญาคันคากได้ฟังดังนั้นจึงคิดหาทางไปเมืองแถน ได้ไปตามพวกครุฑ นาค ปลวก มาก่อภูเขาเพื่อทำทางขึ้นไปรบกับพระยาแถน  เมื่อทุกอย่างเตรียมพร้อมสรรพแล้ว จึงยกพลไปรบกับพระยาแถน โดยต่างฝ่ายต่างก็มีคาถาอาคม พญาคันคากได้ร่ายเวทมนตร์ให้บังเกิดมีกบเขียดอย่างมากมาย ทำให้ชาวเมืองแถนตกใจกลัวเป็นอย่างยิ่ง พระยาแถนเองก็ใช้คาถาอาคมเป่าให้เกิดมีงูร้ายมากมายหลายชนิด เพื่อมาจับกบและเขียดกิน พญาคันคากได้ให้ครุฑและกามาจิกกินงูที่เกิดจากอาคมพระยาแถน  จนกระทั่งงูเหล่านั้นต้องล้มตาย พระยาแถนจึงให้สุนัขมาวิ่งไล่จับครุฑและกากินเป็นอาหาร พญาคันคากได้ให้เสือโคร่งออกมาจับสุนัขกิน พระยาแถนได้ยิงธนูให้กลายเป็นห่าฝนหอกดาบตกลงมาเสียบคนล้มตายเป็นจำนวนมาก พญาครุฑได้ให้เสือโคร่งออกมาจับสุนัขกิน พระยาแถนได้ยิงธนูให้กลายเป็นห่าฝนหอกดาบตกลงมาเสียบคนล้มตายเป็นจำนวนมาก พญาครุฑได้เนรมิตปีกให้แผ่กว้างเพื่อกำบังห่าฝนหอกดาบ และมีการร่ายเวทมนตร์คาถาอาคมให้ผู้คนที่ล้มตายกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

การสู้รบกันระหว่างพญาคันคากกับพระยาแถนเป็นไปอย่างดุเดือด ต่างคนต่างก็มีคาถาอาคมเพื่อต่อสู้กับศัตรูอย่างฉกาจฉกรรจ์ ปรากฏว่าไม่มีใครแพ้ใครชนะ จึงได้มาชนช้างกัน ในที่สุดพระยาแถนแพ้พญาคันคาก พญาคันคากจึงมีบัญชาให้พระยาแถนยอมให้นาคมาเล่นน้ำ ฝนจะได้ตกบนพื้นพิภพดังเดิม ครั้งนี้นับเป็นการสู้รบที่เรียกว่า มหายุทธ เลยทีเดียว ต่อมาสัตว์ต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นศัตรูกันนับตั้งแต่นั้นมา.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2559 16:40:18 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.315 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 17:01:46