[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 20:22:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue) (ผู้ดูแล: มดเอ๊ก)


.:::

คุณภาพของการอยู่ร่วมกันสร้างได้ด้วย ‘สติสื่อสาร’

:::.
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คุณภาพของการอยู่ร่วมกันสร้างได้ด้วย ‘สติสื่อสาร’  (อ่าน 2299 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2559 06:43:59 »



คุณภาพของการอยู่ร่วมกันสร้างได้ด้วย ‘สติสื่อสาร’ (1)

   มีคำคมประโยคหนึ่งกล่าวไว้ว่า “คนฉลาด…ไม่ใช่ผู้ชนะการโต้แย้ง แต่คนฉลาดคือ ผู้ที่ออกห่างจากการโต้แย้งตั้งแต่เริ่มต้น” น่าสนใจว่า อะไร?
คือเครื่องมือที่ถูกหยิบมาใช้ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวของผู้ฉลาดที่ว่านี้
 
          มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และเครื่องมือสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของการอยู่ร่วมกันระหว่างพวกเราก็คือการสื่อสาร  ด้วยเพราะองค์ประกอบสำคัญบางอย่างภายในสมอง ทำให้มนุษย์มี ‘ต้นทุนพิเศษ’ ที่แตกต่างจากสัตว์อื่นๆในโลก  สิ่งนั้นคือความสามารถในการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาจิตหรือการฝึกสมาธิและสตินั่นเอง หากต้นทุนดังกล่าวนี้ถูกนำไปผนวกเข้ากับทักษะการดำรงชีวิตในด้านต่างๆแล้ว ก็จะยิ่งเติมเต็มคุณภาพในการทำงาน ช่วยสร้างเสริมสัมพันธภาพและความสุขในการดำเนินชีวิตได้ 
       
          โดยปกติแล้ว เมื่อพูดถึงหลักพื้นฐานของการสื่อสาร จะพบว่าทุกคนเป็นคู่สื่อสารโดยเป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งสารในเวลาเดียวกันเสมอ และสารที่ถูกส่งออกไปนั้นเป็นได้ทั้ง วจนภาษา (ภาษาที่เป็นถ้อยคำ) และ อวจนภาษา (ภาษาท่าทาง ซึ่งได้แก่ สายตา สีหน้า น้ำเสียง ท่าทาง ระยะห่างและสัมผัสต่างๆ ฯลฯ)  ความเข้าใจนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะในขณะที่เราเป็นผู้ฟัง เราก็ยังเป็นผู้ส่งสารออกไปด้วยซึ่งก็คืออวจนภาษาต่างๆ ขณะเดียวกันเมื่อเราเป็นผู้พูด  เราก็จะรับสารจากผู้ฟังด้วยเช่นกันว่าเขามีการตอบสนองอย่างไร  ด้วยความเข้าใจในหลักการนี้เอง จะทำให้เกิดการสื่อสารที่ดีทั้งในฐานะผู้รับและผู้ส่งสาร (ทั้งที่เป็นคำพูดและกริยาท่าทาง) แต่ความเป็นจริง--อาจไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป เพราะแม้เราจะเข้าใจพื้นฐานตรงนี้ดี แต่หลายครั้งการส่งและรับสารนั้นต้องล้มเหลว  สาเหตุเพราะถูกอารมณ์และความรู้สึกต่างๆเข้ามาสอดแทรกกลางทาง  ทำให้เกิดความเข้าใจผิด  ต่อต้าน-โต้เถียงและบางครั้งอาจรุนแรงจนถึงขั้นปะทะกันในที่สุด    การพยายามรู้ลมหายใจขณะพูดหรือฟัง หรือการใช้ ‘สติในการสื่อสาร’ จึงเป็นวิธีการของผู้ที่ฝึกจิตสม่ำเสมอเลือกนำมาใช้เพื่อลดปัญหาดังกล่าวและสร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพขึ้นอย่างได้ผล
 
          มีศัพท์ที่น่าสนใจอยู่2คำเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือคำว่า‘ภาษาฉัน’(I-Message) และ‘ภาษาแก’(YOU-Message) ในทางจิตวิทยาพบว่าการใช้‘ภาษาฉัน’เพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกหรือความต้องการ จะทำให้เกิดการสื่อสารที่มีคุณภาพขึ้น ช่วยสร้างความเข้าใจและลดความขัดแย้ง  ต่างกับการสื่อสารที่ใช้‘ภาษาแก’ที่แสดงออกในเชิงตำหนิ สั่งสอนหรือบ่นว่าซึ่งบ่อยครั้งสร้างผลลัพธ์ในทางตรงข้าม 
 
“ทำไม เธอถึงมาสายอีกแล้ว!”  กับ “ฉันเป็นห่วงที่เธอมาสาย มีอะไรรึเปล่า”
….คือตัวอย่างของการใช้ ‘ภาษาแก’และ'ภาษาฉัน’ ซึ่งน่าจะช่วยเสริมคำอธิบายในย่อหน้านี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
     
          ในโลกของการสื่อสาร   แม้คนเราจะชอบฟังความจริง…แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะยอมรับความจริงได้  มีข้อคิดที่น่าสนใจจากโสเครติสว่า ก่อนที่แต่ละคนจะพูดหรือสื่อสารอะไรออกไปนั้น  ควรนึกถึงตัวกรอง 3 อย่างก่อนคือ 1. ความจริง 2.สิ่งที่ดี  และ 3. เป็นประโยชน์   ทั้งนี้เพราะบางคำพูดนั้นอาจทำลายหรือทำร้ายคนอื่นได้แม้จะเป็น 'ความจริง’  ขณะที่บางสถานการณ์เราก็ไม่จำเป็นต้องพูดออกไปหากพูดแล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรขึ้น    อย่างไรก็ตาม--จะพบความแตกต่างในทางที่ดีขึ้นเสมอหากการสื่อสารแต่ละครั้งนั้นมีสติกำกับอยู่ด้วย เพราะสติจะสร้างวิธีสื่อสารที่มีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน  สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ   ยิ่งไปกว่านั้น--เมื่อมีสติ  เราจะพบเองว่า 'การปล่อยวาง'นั้นเป็นเรื่องที่สามารถทำได้จริง
     
          เมื่อคนหนึ่งคน…มีอิทธิพลต่อคนอื่นๆ   บางครั้งคนหนึ่งคนก็สร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย  และคนๆเดียวกันนี้อีกเช่นกัน…ยังสามารถเปลี่ยนบรรยากาศในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นให้รื่นรมย์ขึ้นได้  สิ่งที่ไม่ควรลืมถามตัวเองก็คือ จำเป็นหรือไม่...ที่ต้องให้ผู้อื่นเป็นผู้เริ่มก่อน  ในเมื่อหนทางหรือจุดเริ่มต้นซึ่งเป็นพื้นฐานจริงๆนั้น  อยู่ที่จิตใจของตัวเราเอง

จาก http://www.thaimio.com/



คุณภาพของการอยู่ร่วมกันสร้างได้ด้วย ‘สติสื่อสาร’ (2)

“เ ร า ทุ ก ค น ต้ อ ง ก า ร ที่ จ ะ พู ด
แ ต่ สิ่ ง ที่ ต้ อ ง ก า ร ม า ก ก ว่ า นั้ น
คื อ  ต้ อ ง ก า ร ค น ฟั ง”
 
          ว่ากันว่า…สิ่งสวยงามที่สุดอย่างหนึ่งของความเป็นมนุษย์คือการยอมรับและรับฟังซึ่งกันและกัน ซึ่งสอดรับกับสิ่งที่นักจิตวิทยาบอกไว้ว่าหลักพื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์ข้อหนึ่งคือความปรารถนาที่จะได้รับการยอมรับ และ'การฟัง’ก็ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการยกย่องหรือการให้เกียรติที่แต่ละคนสามารถแสดงให้ผู้อื่นเห็นได้  ซึ่งคุณลักษณะนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อจิตใจของมนุษย์ได้รับการพัฒนาหรือยกระดับให้สูงขึ้น   ใจที่เปิดกว้างเพื่อรับฟังผู้อื่น…จึงเป็นกุญแจอีกดอกหนึ่งซึ่งสำคัญมากในการสื่อสาร
 
          แต่ในบรรดาทักษะทั้งหลายที่มีของคนเรา การฟังกลับคือตัวเชื่อมที่อ่อนที่สุดในระบบการสื่อสาร ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะมีความไม่สมดุลเกิดขึ้นระหว่างความเร็วของการพูด (ซึ่งโดยเฉลี่ยอยู่ในอัตรา125คำ/นาที) กับความเร็วของการฟังและการคิดตาม(ซึ่งอัตราอยู่ที่500คำ/นาที) .…นั่นหมายถึงมนุษย์เราสามารถฟังและทำความเข้าใจได้เร็วกว่าพูดถึง4เท่า  ช่องว่างตรงนี้นี่เองที่ทำให้ผู้ฟังมีเวลาว่างระหว่างรอผู้พูด เป็นเหตุให้สมองหันเหความสนใจไปคิดถึงเรื่องอื่นๆ ใจลอย เสียสมาธิ เก็บประเด็นไม่ครบถ้วนส่งผลให้เกิดความล้มเหลวที่จะฟังอย่างมีประสิทธิภาพตามมา
     
          และเมื่อมองออกมานอกตัว ปัญหาหลักในสังคมปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งก็เกิดขึ้นมาจาก"การไม่ฟังกัน" …ภายในครอบครัว พ่อแม่ไม่ฟังลูก ลูกไม่ฟังพ่อแม่ สามีภรรยาไม่ฟังกันฯลฯ ภายในชุมชนหรือองค์กร ภายในประเทศ ภายในโลก…ไม่มีใครยอมหยุดเพื่อฟังกัน แม้โลกเราจะล้ำหน้าไปด้วยเทคโนโลยีระดับสูงมาก สามารถพูดคุยสื่อสารกันข้ามทวีปหรือกระทั่งข้ามดวงดาวกันได้แล้ว แต่เหลือเชื่อที่บ่อยครั้ง--คนในสังคมเดียวกันกลับพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง สื่อสารกันไม่เข้าใจ   ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาเหล่านั้นละเลยหรือขาดการฝึกฝนในเรื่อง"การฟังอย่างลึกซึ้ง" (Deep Listening) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญมากของทุกคนในสังคมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

 ...แล้วหลักการของ"การฟังอย่างลึกซึ้ง"หรือDeep Listeningนั้นเป็นอย่างไร ?
 
คำตอบที่เป็นเทคนิคง่ายๆคือ …//รู้ลมหายใจ....//ฟัง...//ใคร่ครวญ
เป็นการฟังอย่างตั้งใจและฟังเพื่อให้ได้ยิน มีการเฝ้าสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินเสียงต่างๆผ่านเข้ามากระทบ เป็นการฟังแบบ‘มนุษย์สัมผัสมนุษย์’  โดยละวางภาพลักษณ์ อำนาจ การครอบงำ ไม่ด่วนสรุปหรือวิพากษ์วิจารณ์คำพูด ความคิด และผู้พูด แต่จะฟังเพื่อให้ได้ยินทั้งความหมาย(meaning)ที่แท้จริงที่แต่ละคนต้องการสื่อ และความหมายที่คลี่(unfold)ออก มาจากการสนทนานั้น  ขณะเดียวกันก็‘วาง’ชุดความคิด 2 ลักษณะ คือความคิดโต้แย้งกับความคิดที่จะไปต่อยอดหรือความรู้สึกดีๆที่คนอื่นคิดเหมือนเรา พร้อมตระหนักถึงจุดยืนอื่นและการเข้าถึงได้ไม่หมด อย่างไรก็ตาม—แม้ดูแล้วเหมือนไม่ใช่เรื่องยากแต่ทักษะต่างๆเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติจำเป็นต้องผ่านการฝึกฝนจนเป็นนิสัย  ซึ่งการฝึกสมาธิและสติอย่างสม่ำเสมอจะช่วยสนับสนุนให้เกิดทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งนี้ได้ดียิ่งขึ้น

          ในสังคมของการอยู่ร่วม ใช่หรือไม่ว่าสิ่งที่เยียวยาความทุกข์ได้ชงัด คือการมีใครสักคนรับฟังอย่างจริงใจ สิ่งที่ดับอาการโกรธได้เด็ดขาด คือการที่อีกฝ่ายหยุดฟัง  และสิ่งที่ทำให้แต่ละคนรู้สึกว่ายังมีตัวตนอยู่ คือการที่มีคนฟังเสียงของเขาอย่างตั้งใจ การฟังอย่างลึกซึ้งหรือDeep Listening…จึงเสมือนการเยียวยาทางจิตใจที่ดีที่สุดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนั่นเป็นคุณค่าที่เราได้มอบให้กับผู้อื่น องค์กร หรือสังคมที่เราอาศัย แต่สิ่งนอกเหนือไปกว่านั้นคือ คุณค่าที่สะท้อนกลับมาสู่ตัวเราเอง ซึ่งได้แก่ความสุขสงบภายในใจ การหลุดพ้นจากความขัดแย้ง การด่วนตัดสินผู้อื่น หรือการยึดถือความคิดของตัวเองมากจนเกินไป
   
          ที่สำคัญ—'การฟังเป็น' จะทำให้เราคือ‘ชาที่ยังไม่เต็มถ้วย’ซึ่งเป็นสภาวะที่ช่วยเปิดการเรียนรู้และสร้างสุขภาวะให้เกิดขึ้น…ไม่ว่าเราจะอยู่ร่วมกับใครหรือที่ใดก็ตาม

จาก http://www.thaimio.com/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.402 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 16:22:15